โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หอศิลป์อุฟฟีซี

ดัชนี หอศิลป์อุฟฟีซี

หอศิลป์อุฟฟิซิ (ภาษาอิตาลี: Galleria degli Uffizi) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี “หอศิลป์อุฟฟิซิ” เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก่าที่สุดและมีชื่อเสียงที่สุดในบรรดาพิพิธภัณฑ์ศิลปะในโลก ตัวพิพิธภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของ “พาลัซโซ เดกลิ อุฟฟิซิ” ซึ่งเป็นพาลัซโซ (Palazzo) ในเมืองฟลอเรนซ.

51 ความสัมพันธ์: ชายหนุ่มกับแอปเปิล (ราฟาเอล)บาคคัส (คาราวัจโจ)ชีมาบูเอฟรานเชสโคที่ 2 กอนซากา มาควิสแห่งมานตัวฟลอเรนซ์พระคริสต์ทรงรับพิธีล้าง (แวร์รอกกีโอ)พระคัมภีร์คนยากพระนางพรหมจารีและพระกุมารกับนักบุญอันนา (มาซัชโช)พระแม่มารีบนระเบียง (บอตติเชลลี)พระแม่มารีในกรอบกลม (มีเกลันเจโล)พิพิธภัณฑสถานการพิสูจน์โดยไฟของโมเสส (จอร์โจเน)กำเนิดวีนัส (บอตติเชลลี)ภาพเหมือนของชายกับเหรียญโคสิโมผู้อาวุโส (บอตติเชลลี)ภาพเหมือนของโคสิโม เดอ เมดิชิภาพเหมือนของเอลิซาเบตตา กอนซากาภาพเหมือนของเอเลเนอร์แห่งโทเลโดภาพเหมือนตนเองยุทธการที่ซานโรมาโน (อุชเชลโล)รายชื่อภาพเขียนโดยการาวัจโจรายชื่อภาพเขียนโดยราฟาเอลรายชื่อภาพเขียนโดยทิเชียนรายชื่อภาพเขียนโดยซานโดร บอตติเชลลีรายชื่อภาพเขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชีฤดูใบไม้ผลิ (บอตติเชลลี)ลูคัส ครานัควีนัสแห่งเออร์บิโนศิลปะทรงกลมฮันส์ ฮอลไบน์ (ผู้ลูก)ฮือโค ฟัน เดอร์คุสจอร์โจเนจอห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์จัมบัตติสตา ปิตโตนีจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีจิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกดุชโชคำพิพากษาของซาโลมอน (จอร์โจเน)งานสะสมชุดโจวีโอฉากประดับแท่นบูชาฉากแท่นบูชาปอร์ตีนารีปาโอโล โจวีโอแม่พระรับสาร (ดา วินชี)แม่พระรับสารแห่งเชสเตลโลโบสถ์น้อยซัสเซตตีโกซีโม ตูราโลเรนโซ กอสตาเมดูซา (การาวัจโจ)เมดีชีเลออโคออนและบุตรเลโอนาร์โด ดา วินชี...เจนตีเล ดา ฟาบรีอาโน ขยายดัชนี (1 มากกว่า) »

ชายหนุ่มกับแอปเปิล (ราฟาเอล)

หนุ่มกับแอปเปิล (Young Man with an Apple) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยราฟาเอล จิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิในเมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ราฟาเอลเขียนภาพ “ชายหนุ่มกับแอปเปิล” ในปี ค.ศ. 1505 และเป็นภาพที่มักจะมีความเกี่ยวข้องกับภาพ “นักบุญไมเคิล” และภาพ “นักบุญจอร์จ” ผู้เป็นแบบเชื่อกันมานานว่าเป็นฟรานเชสโค มาเรียที่ 1 เดลลา โรเวเร.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและชายหนุ่มกับแอปเปิล (ราฟาเอล) · ดูเพิ่มเติม »

บาคคัส (คาราวัจโจ)

ัส (ภาษาอังกฤษ: Bacchus) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิ, ฟลอเร็นซ์ในประเทศอิตาลี ภาพ “บาคคัส” เขียนราวปี ค.ศ. 1595 เป็นภาพของเทพบาคคัสหนุ่มสวมช่อใบองุ่นบนหัวมีผ้าห่มหลวมๆ นอนเอนท่าแบบคลาสสิกมือขวาเล่นชายผ้าผูกเอว บนโต๊ะหน้าตัวแบบมีชามผลไม้และขวดไวน์ขวดใหญ่ตั้งอยู่ ในมือซ้ายของตัวแบบถือแก้วไวน์ที่เทจากขวดไวน์ยื่นออกมาจากตัวมายังผู้ดูเหมือนกับจะชวนผู้ชมภาพเข้าไปร่วมด้วย “เทพบาคคัส” ซึ่งเป็นภาพที่เขียนไม่นานหลังจากที่คาราวัจโจเข้าไปพำนักอาศัยกับคาร์ดินัลฟรานเชสโค มาเรีย เดล มอนเต ผู้เป็นผู้อุปถัมภ์สำคัญคนแรก เป็นงานที่สะท้อนให้เห็นความสนใจในลัทธิมนุษยนิยมของผู้มีการศึกษาในแวดวงของคาร์ดินัลเดล มอนเต ไม่ว่าคาราวัจโจจะตั้งใจหรือไม่ก็ตามภาพนี้แสดงความมีอารมณ์ขันที่เห็นได้จากใบหน้าอันแดงก่ำของบาคคัส และเป็นภาพของเด็กหนุ่มที่ห่มตัวด้วยผ้าผืนหลวมๆ นอนเอนสลึมสลือท่าทางมึนในพาลัซโซของคาร์ดินัลเดล มอนเตในกรุงโรม ลักษณะของบาคคัสที่แสดงในภาพนี้มิได้ทำให้ผู้ชมภาพเชื่อว่าเป็นเทพบาคคัสจริงๆ นอกจากนั้นริ้วในแก้วไวน์ทำให้ดูเหมือนว่าบาคคัสคงจะถืออยู่ได้ไม่นานก่อนที่หกลงมาจากแก้ว ผลไม้และขวดไวน์เป็นสิ่งที่นักวิชาการสนใจกันมานานกว่าตัวเทพบาคคัสเอง นักวิชาการตีความหมายว่าผลไม้ที่อยู่ในสภาพที่กินไม่ได้อาจจะหมายถึงความเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนของสิ่งต่างๆ ในโลก หลักจากภาพได้รับการทำความสะอาดก็พบว่ามีเงาของจิตรกรกำลังเขียนภาพสะท้อนอยู่บนขวดไวน์ เทพบาคคัสยื่นแก้วให้ด้วยมือซ้ายทำให้สันนิษฐานกันว่าคาราวัจโจใช้กระจกส่องช่วยในการเขียนโดยตรงบนผืนผ้าใบแทนที่จะเขียนลายเส้นหรือร่างก่อน แต่แขนหรือมือซ้ายที่เห็นอันที่จริงเป็นมือขวา ที่ตรงกับที่นักชีวประวัติจิโอวานนิ บากลิโอเนกล่าวว่าคาราวัจโจใช้กระจกช่วยในการเขียนภาพในสมัยต้นๆ จิตรกรอังกฤษเดวิด ฮ็อคนีย์ (David Hockney) ศึกษาวิธีเขียนของคาราวัจโจในวิทยานิพนธ์ที่รู้จักกันในชื่อวิทยานิพนธ์ฮ็อคนีย์-ฟาลโค (Hockney-Falco thesis) ที่ตั้งสมมุติฐานว่าจิตกรยุคเรอเนสซองซ์ และต่อมาใช้กล้องลูซิดา (camera lucida) เป็นอุปกรณ์ช่วยในการเขียน.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและบาคคัส (คาราวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

ชีมาบูเอ

“จิตรกรรมมาเอสตา” ค.ศ. 1280-ค.ศ. 1285 ที่หอศิลป์อุฟฟิซิ, ฟลอเรนซ์ “Crucifix” ค.ศ. 1287-ค.ศ. 1288 ที่ บาซิลิกาดิซานตาโครเช (Basilica di Santa Croce)ฟลอเรนซ์ เชนนี ดิ เป็บโป (จิโอวานนี) ชิมาบูเย (ภาษาอิตาลี: Cenni di Pepo (Giovanni) Cimabue) หรือที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า เบนชิเวียนี ดิ เป็บโป (Bencivieni Di Pepo) หรือในภาษาอิตาลีสมัยใหม่ว่า เบนเวนูโต ดิ จุยเซ็พปี (Benvenuto Di Giuseppe) (ประมาณ ค.ศ. 1240-ประมาณ ค.ศ. 1302) เป็นจิตรกรและช่างโมเสกชาวอิตาลีจากเมืองฟลอเรนซ์ (ผู้เป็นอาจารย์ของจอตโต ดี บอนโดเน) ชิมาบูเยมีบทบาทสำคัญต่องานจิตรกรรมในประเทศอิตาลี และถือว่าเป็นจิตรกรคนสำคัญคนสุดท้ายของสมัยศิลปะไบแซนไทน์ ศิลปะยุคนี้ประกอบด้วยโครงสร้างและทิวทัศน์ที่ยังเป็นสองมิติและเป็นสมัยที่เน้นการตกแต่ง (highly stylized) คล้ายจิตรกรรมฝาผนังในวัดไทย ชิมาบูเยเป็นผู้ริเริ่มการวาดแบบใกล้เคืยงธรรมชาติดังจะเห็นได้จากรูปคนที่ขนาดสัดส่วนเท่าคนจริงและการเริ่มใช้แสงเงาบ้างเล็กน้อ.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและชีมาบูเอ · ดูเพิ่มเติม »

ฟรานเชสโคที่ 2 กอนซากา มาควิสแห่งมานตัว

ฟรานเชสโคที่ 2 กอนซากา มาควิสแห่งมานตัว หรือ ฟรานเชสโคที่ 2 กอนซากา หรือ 'ที่ 4' (Francesco II Gonzaga, Marquess of Mantua) (10 สิงหาคม ค.ศ. 1466 - 29 มีนาคม ค.ศ. 1519) ฟรานเชสโคที่ 2 กอนซากาเป็นประมุขผู้ปกครองมานตัว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1484 จนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1466.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและฟรานเชสโคที่ 2 กอนซากา มาควิสแห่งมานตัว · ดูเพิ่มเติม »

ฟลอเรนซ์

ฟลอเรนซ์ (Florence) หรือ ฟีเรนเซ (Firenze) เป็นเมืองหลวงของแคว้นทัสกานีและมณฑลฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ระหว่าง..

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและฟลอเรนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระคริสต์ทรงรับพิธีล้าง (แวร์รอกกีโอ)

ูบทความหลักที่ พระเยซูรับศีลจุ่ม พระเยซูรับศีลจุ่ม (The Baptism of Christ) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยอันดรีย เดล เวอร์โรชชิโอและห้องเขียนภาพ เวอร์โรชชิโอเป็นจิตรกรสมัยเรอเนซองส์ชาวอิตาลี ภาพเขียนปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิ, ฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี เวอร์โรชชิโอเขียนภาพ “พระเยซูรับศีลจุ่ม” เสร็จราวปี ค.ศ. 1475 เป็นภาพที่ได้รับจ้างโดยวัดซานซาลวิในฟลอเรนซ์ และตั้งอยู่ที่วัดจนปี..

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและพระคริสต์ทรงรับพิธีล้าง (แวร์รอกกีโอ) · ดูเพิ่มเติม »

พระคัมภีร์คนยาก

หน้าต่าง “พระคัมภีร์คนยาก” ที่ มหาวิหารแคนเทอร์เบอรีจากคริสต์ศตวรรษที่ 13 ที่อาจจะสร้างจากชิ้นส่วนของบานหน้าต่างเดิมสองบาน รายละเอียดจากหน้าต่างสองหน้าต่างจากมหาวิหารแคนเทอร์เบอรีที่เป็นเรื่องสองเรื่องที่ต่างกัน แต่ตัวแบบสองตัวในภาพทางด้านซ้ายเป็นตัวเดียวกัน และเสา โต๊ะ เชิงเทียน และหนังสือ ภาพซ้ายสร้างในสมัยกลาง และภาพขวาในสมัยวิกตอเรีย พระคัมภีร์คนยาก (Poor Man's Bible) คำว่า “พระคัมภีร์คนยาก” ในปัจจุบันหมายถึงงานศิลปะภายในคริสต์ศาสนสถานที่อาจจะเป็นงานชิ้นเดียวหรืองานชุดที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนสาระของคัมภีร์ไบเบิลต่อประชากรส่วนใหญ่ที่ไร้การศึกษา ศิลปะ “พระคัมภีร์คนยาก” อาจจะเป็นงานประติมากรรม งานแกะสลัก จิตรกรรม งานโมเสก หรือหน้าต่างประดับกระจกสี ในโบสถ์บางแห่งหน้าต่างบานเดียวก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็น “พระคัมภีร์คนยาก” ขณะที่ในโบสถ์อื่นทั้งโบสถ์อาจจะตกแต่งด้วยบทบรรยายพระคัมภีร์ไบเบิลอันซับซ้อนภายใต้หัวใจของเรื่องที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและพระคัมภีร์คนยาก · ดูเพิ่มเติม »

พระนางพรหมจารีและพระกุมารกับนักบุญอันนา (มาซัชโช)

ูบทความหลักที่ แม่พระและพระกุมาร พระนางพรหมจารีและพระกุมารกับนักบุญอันนา (Virgin and Child with St. หรือ Sant'Anna Metterza) เป็นจิตรกรรมแผงที่เขียนโดยมาซัชชีโอจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาชาวอิตาลี ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อุฟฟิซิที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี มาซาชิโอ เขียนภาพ “พระนางพรหมจารีและพระกุมารกับนักบุญอันนา” ระหว่างปี ค.ศ. 1424 ถึงปี ค.ศ. 1425 และอาจจะเขียนร่วมกับมาโซลีโน ดา ปานีกาเล (Masolino da Panicale) แม่พระและพระกุมารเป็นงานชิ้นแรกชิ้นหนึ่งของมาซัชชีโอ ทูตสวรรค์ที่บอบบางและใช้สีอ่อนเป็นลักษณะการเขียนของสมัยกอธิคของมาโซลีโน ทูตสวรรค์ทางด้านบนขวาเป็นของมาซัชชีโอ ส่วนนักบุญอันนาที่จางลงไปทำให้สันนิษฐานได้ยาก แต่มือที่ดูเหมือนจะสำรวจความลึกของช่องว่างในภาพอาจจะเป็นความคิดของมาซัชชีโอ ภาพ “พระนางพรหมจารีและพระกุมารกับนักบุญอันนา” เป็นงานเขียนสำหรับโบสถ์ซันอัมโบรจิโอในฟลอเร็นซ์ ตามที่จอร์โจ วาซาริกล่าวว่เป็นภาพที่ตั้งภายในประตูชาเปลที่นำไปสู่ห้องของชี รูปพระกุมารเป็นภาพเด็กที่ดูเหมือนจริงซึ่งต่างจากรูปเด็กสมัยกอธิคที่แข็งกว่า ภาพเขียนนี้เป็นภาพเขียนแรกๆ ที่แสดงให้เห็นถึงผลของแสงธรรมชาติที่ส่องลงมากระทบตัวแบบซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้มาซาชิโอแตกต่างจากจิตรกรอื่นและเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเขียนภาพแบบยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาต่อม.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและพระนางพรหมจารีและพระกุมารกับนักบุญอันนา (มาซัชโช) · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่มารีบนระเบียง (บอตติเชลลี)

ระแม่มารีบนระเบียง (Madonna della Loggia) เป็นจิตรกรรมแผงที่เขียนโดยซานโดร บอตติเชลลี จิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ภาพ “พระแม่มารีบนระเบียง” เขียนโดยซานโดร บอตติเชลลีในปี ค.ศ. 1467.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและพระแม่มารีบนระเบียง (บอตติเชลลี) · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่มารีในกรอบกลม (มีเกลันเจโล)

ระแม่มารีในกรอบกลม (Doni Tondo หรือ Doni Madonna) เป็นจิตรกรรมสีน้ำมันบนแผงไม้ที่เขียนโดยไมเคิล แอนเจโล จิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลี ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิในฟลอเรนซ์ในอิตาลี ภาพ “พระแม่มารีในกรอบกลม” เขียนราวปี ค.ศ. 1503 เป็นหนึ่งในสี่จิตรกรรมแผงเท่านั้นที่ไมเคิล แอนเจโลเขียน และเป็นเพียงงานชิ้นเดียวในสี่ชิ้นที่ยังคงมีอยู่และยังอยู่ในกรอบเดิมที่ออกแบบโดยไมเคิล แอนเจโลเอง ภาพนี้อาจจะจ้างโดยอักโนโล โดนิช่างทอผ้าผู้มั่งคั่งในโอกาสวันที่สมรสกับมัดดาเลนา สตรอซซิจากตระกูลสตรอซซิตระกูลผู้มีอิทธิพลของฟลอเรนซ์ ภาพเขียนเป็นแบบ “ศิลปะทรงกลม” ซึ่งมักเป็นเป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงานในสมัยเรอเนซองส์ งานชิ้นนี้เขียนขึ้นหลังจากการเขียนปิเอต้าแต่ก่อนที่จะเขียนภาพบนเพดานในชาเปลซิสติน เป็นภาพที่ได้รับอิทธิพลจากงานเขียนภาพ “พระแม่มารีและพระบุตรกับนักบุญแอนน์” โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี และงานเขียนของลูคา ซินยอเรลลิ และ ประติมากรรมคาเมโอในพาลัซโซเมดิชิ ภาพ “พระแม่มารีในกรอบกลม” เป็นภาพของพระแม่มารี โจเซฟ และพระทารกเยซู และนักบุญจอห์นแบ็พทิสต.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและพระแม่มารีในกรอบกลม (มีเกลันเจโล) · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑสถาน

ท้องฟ้าจำลอง พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ พิพิธภัณฑ์ที่เปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้แห่งแรกของโลก ตั้งอยู่ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส หอศิลป์อุฟฟีซี เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในอิตาลี เกาะพิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่ที่เบอร์ลิน พิพิธภัณฑ์บริติช ตั้งอยู่ที่ลอนดอน พิพิธภัณฑ์อินเดีย ตั้งอยู่ที่โกลกาตา ประเทศอินเดีย เป็นพิพิธภัณฑเก่าและใหญ่ที่สุดในอินเดีย พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติฟินแลนด์ ตั้งอยู่ที่เฮลซิงกิ พิพิธภัณฑสถาน หรือ พิพิธภัณฑ์ เป็นอาคารหรือสถาบัน ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเก็บรักษาวัตถุที่มนุษย์ทำขึ้น.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและพิพิธภัณฑสถาน · ดูเพิ่มเติม »

การพิสูจน์โดยไฟของโมเสส (จอร์โจเน)

การพิสูจน์โดยไฟของโมเสส (The Test of Fire of Moses) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยจอร์โจเนจิตรกรคนสำคัญชาวอิตาลีของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิในฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี จอร์โจเนเขียนภาพ “การพิสูจน์โดยไฟของโมเสส” ราวระหว่างปี ค.ศ. 1500 ถึงปี ค.ศ. 1501 ซึ่งเป็นปีหลังจากที่ย้ายไปเวนิส ภาพการพิสูจน์เป็นภาพที่มีเนื้อหาและขนาดใกล้เคียงกับภาพ “การตัดสินของซาโลมอน” ที่ก็เป็นงานสะสมของหอศิลป์อุฟฟิซิเช่นกัน เนื้อหาของภาพ “การพิสูจน์โดยไฟของโมเสส” มาจากคัมภีร์ทาลมุดและอาจจะเป็นงานที่ได้รับการจ้างให้เขียน โดยผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษาทางวัฒนธรรมอย่างสูงเท่าใดนักและมีได้ปฏิบัติตามหลักทางการของโรมันคาทอลิก การวางภาพตามแนวนอนคล้ายคลึงกันกับงานเขียน “อุปมานิทัศน์ศักดิ์สิทธิ์” โดยจิโอวานนี เบลลินี ที่ให้ความสำคัญแก่การเขียนภูมิทัศน์ รายละเอียดของการเขียนภูมิทัศน์แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลที่ได้รับจากลักษณะการเขียนทางตอนเหนือของยุโรป.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและการพิสูจน์โดยไฟของโมเสส (จอร์โจเน) · ดูเพิ่มเติม »

กำเนิดวีนัส (บอตติเชลลี)

กำเนิดวีนัส (The Birth of Venus) เป็นจิตรกรรมที่เขียนโดยซานโดร บอตติเชลลีจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิ, ฟลอเร็นซ์ในประเทศอิตาลี ซานโดร บอตติเชลลีเขียนภาพ “กำเนิดวีนัส” ระหว่างปี ค.ศ. 1484 ถึงปี ค.ศ. 1486 ที่เป็นภาพของวีนัสลอยมาเกยฝั่งอย่างผู้หญิงเต็มตัว.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและกำเนิดวีนัส (บอตติเชลลี) · ดูเพิ่มเติม »

ภาพเหมือนของชายกับเหรียญโคสิโมผู้อาวุโส (บอตติเชลลี)

หมือนของชายกับเหรียญโคสิโมผู้อาวุโส (ภาษาอังกฤษ: Portrait of a Man with a Medal of Cosimo the Elder) เป็นจิตรกรรมแผงที่เขียนโดยซานโดร บอตติเชลลีจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิที่ฟลอเร็นซ์ในประเทศอิตาลี ซานโดร บอตติเชลลีเขียนภาพ “ภาพเหมือนของชายกับเหรียญโคสิโมผู้อาวุโส” ระหว่างปี ค.ศ. 1474 ถึงปี ค.ศ. 1475 เมื่อบอตติเชลลีเขียนภาพเสร็จก็จะเห็นอิทธิพลของอันโตนิโอ พอลลาอูโล (Antonio Pollaiuolo) ได้อย่างชัดเจนและในการใช้ความอ่อนไหวของเส้นที่ทำให้เห็นความกระวนกระวายของความรู้สึกที่ออกมาจากภาพ ชายที่เป็นแบบไม่ทราบกันว่าเป็นใครแต่เป็นภาพเหมือนที่ไม่เหมือนภาพเหมือนใดในสมัยต้นเรอเนซองส์ ผู้นั่งแบบมองตรงมายังผู้ชมภาพในมือถือเหรียญที่เป็นภาพด้านข้างของโคสิโม เดอ เมดิชิผู้ที่เสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1464 บอตติเชลลีทำตัวเหรียญด้วยพลาสเตอร์หล่อปิดทอง ภาพเหมือนเป็นภาพครึ่งตัวที่ฉากหลังเป็นภูมิทัศน์กว้างไกลที่เห็นแม่น้ำอยู่ลิบๆ ที่สว่างซึ่งเป็นลักษณะการเขียนแบบเฟล็มมิช ศีรษะของตัวแบบอยู่เหนือขอบฟ้าโดยมีแสงส่องจากทางด้านซ้ายของภาพทำให้เน้นใบหน้าที่คมคาย เงาเข้มทางด้านข้างของใบหน้าอยู่ใกล้กับผู้ชมภาพ ฝีมือวาดมือที่ไม่ค่อยดีนักแสดงให้เห็นว่ายังเป็นการทดลองเขียนและเป็นภาพเหมือนภาพแรกๆ ของภาพเหมือนที่เขียนในอิตาลีที่รวมการวาดมือในภาพด้วย เหรียญที่ระลึกของโคสิโมสร้างระหว่างปี ค.ศ. 1465 ถึงปี ค.ศ. 1470 ซึ่งทำให้เกิดการสันนิษฐานกันไปต่างๆ ว่าผู้นั่งเป็นแบบเป็นใครแต่ก็ยังสรุปไม่ได้ว่าจะเป็นญาติสนิทหรือผู้สนับสนุนตระกูลเมดิชิ (ภาพเป็นของงานสะสมชิ้นหนึ่งของคาร์ดินัลคาร์โล เดอ เมดิชิ) หรืออาจจะเป็นน้องชายของบอตติเชลลีผู้เป็นช่างทองและช่างทำเหรียญของตระกูลเมดิชิก็ได้ นักวิชาการบางคนเสนอว่าอาจจะเป็นบอตติเชลลีเองเพราะใบหน้าแบบคล้ายคลึงกับภาพเหมือนตนเองในภาพ “การประสูติของพระเยซู” ที่บาซิลิกาซานตามาเรียโนเวลลาที่ฟลอเรนซ.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและภาพเหมือนของชายกับเหรียญโคสิโมผู้อาวุโส (บอตติเชลลี) · ดูเพิ่มเติม »

ภาพเหมือนของโคสิโม เดอ เมดิชิ

หมือนของโคสิโม เดอ เมดิชิ (ภาษาอังกฤษ: Portrait of Cosimo I de’ Medici) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยบรอนซิโนจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี บรอนซิโนเขียนภาพ “ภาพเหมือนของโคสิโม เดอ เมดิชิ” เสร็จในปี ค.ศ. 1545 เพราะตำแหน่งช่างเขียนประจำสำนักของตระกูลเมดิชิบรอนซิโนจึงมืโอกาสเขียนภาพของแกรนด์ดยุคโคสิโม เดอ เมดิชิหลายภาพ ภาพนี้เป็นภาพขณะที่โคสิโมยังหนุ่มที่จอร์โจ วาซารีบรรยายว่าเป็นภาพดยุคที่ “ใส่เสื้อเกราะขาวเต็มยศและวางมือบนหมวก” สันนิษฐานกันว่าภาพเขียนที่วิลลาของพอจจิโอ อา คาเอียโนในปี ค.ศ. 1545 และมีการอ้างอิงในจดหมายบางฉบับ ภาพเขียนแสดงให้เห็นความเด็ดเดี่ยวและความมีอำนาจเหนือผู้อื่นของโคสิโมโดยมีแสงส่องมาบนใบหน้าทางด้านข้างและสะท้อนบนเสื้อเกราะโลห.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและภาพเหมือนของโคสิโม เดอ เมดิชิ · ดูเพิ่มเติม »

ภาพเหมือนของเอลิซาเบตตา กอนซากา

หมือนของเอลิซาเบตตา กอนซากา (ภาษาอังกฤษ: Portrait of Elisabetta Gonzaga) เป็นภาพเหมือนที่เขียนโดยราฟาเอลจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิ, ฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ราฟาเอลเขียน “ภาพเหมือนของเอลิซาเบตตา กอนซากา” ราวปี ค.ศ. 1504 สตรีในภาพคือเอลิซาเบตตา กอนซากา (Elisabetta Gonzaga) รายละเอียดในภาพก็เป็นเสื้อที่ตกแต่งด้วยลายปะและจี้เป็นรูปแมงป่องเดิมกล่ากันว่าเขียนโดยตั้งแต่อันเดรีย มานเทนยา ไปจนถึง อัลเบรชท์ ดือเรอร.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและภาพเหมือนของเอลิซาเบตตา กอนซากา · ดูเพิ่มเติม »

ภาพเหมือนของเอเลเนอร์แห่งโทเลโด

หมือนของเอเลเนอร์แห่งโทเลโดและลูกชาย (ภาษาอังกฤษ: Portrait of Eleonora of Toledo and Her Son) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยอักโนโล บรอนซิโนจิตรกรสมัยเรอเนซองส์ชาวอิตาลี ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิที่ฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี อักโนโล บรอนซิโนเขียนภาพ “ภาพเหมือนของเอเลเนอร์แห่งโทเลโด” เสร็จในปี ค.ศ. 1545 เป็นภาพของ เอเลเนอร์แห่งโทเลโดภรรยาของโคสิโมที่ 1 เดอเมดิชิ ดยุคแห่งทัสเคนี เอเลเนอร์นั่งโดยมีมือขวาวางบนไหล่ลูกชายคนหนึ่ง ท่าทางที่นั่งและการใช้ลายทับทิมบนเสื้อผ้าเป็นการแสดงฐานะของความเป็นแม่ ลูกที่ยืนอยู่ในภาพบ้างก็ว่าอาจจะเป็น ฟรานเชสโค (Francesco I de' Medici) (เกิด ค.ศ. 1541), หรือ จิโอวานนิ (Cardinal Giovanni de' Medici) (เกิด ค.ศ. 1543) หรือ กราเซีย (เกิด ค.ศ. 1547) ถ้าเป็นคนหลังภาพเขียนก็น่าจะเขียนระหว่างปี ค.ศ. 1550 ถึงปี ค.ศ. 1553 แต่เป็นที่ตกลงกันโดยทั่วไปว่าปีที่เขียนคือปี ค.ศ. 1545 ฉะนั้นลูกจึงควรจะเป็นจิโอวานนิ เมื่อร่างของเอเลเนอร์ถูกขุดขึ้นมาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 กล่าวกันว่าเอเลเนอร์ใส่ชุดเดียวกับชุดที่ใส่ในภาพเขียน ตาข่ายคลุมผมที่เกือบเหมือนกับอันที่ใช้ในรูปอาจจะทำให้เกิดการสับสน แต่การค้นคว้าต่อมาพิสูจน์ว่าเป็นชุดอีกชุดหนึ่งที่แสดงในหนังสือ “Patterns of Fashion” โดย แจเน็ต อาร์โนลด์ (Janet Arnold) และ “Moda a Firenze”โดย โรเบิร์ตตา ออร์ซิ ลันดินิและบรูนา นิคโคลิ ชิ้นส่วนที่ยังเหลืออยู่ของเสื้อชุดนั้นยังคงเก็บรักษาไว้ในพาลัซโซพิตติในฟลอเรนซ.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและภาพเหมือนของเอเลเนอร์แห่งโทเลโด · ดูเพิ่มเติม »

ภาพเหมือนตนเอง

หมือนตนเองของอัลเบรชท์ ดือเรอร์, ค.ศ. 1493. สีน้ำมันเดิมบนหนัง, พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์, ปารีส ภาพนี้เป็นภาพเหมือนตนเองอย่างเป็นทางการภาพแรก ๆ ดือเรอร์แต่งตัวแบบอิตาลีที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จระดับสากล ภาพเหมือนตนเอง (Self-portrait) คือภาพเหมือนของศิลปินเองผู้อาจจะวาด เขียนด้วยสี ถ่ายภาพ หรือแกะสลักด้วยตนเอง แม้ว่าศิลปินจะสร้างภาพเหมือนของตนเองมาแต่โบราณ แต่ก็ไม่ได้ทำกันอย่างแพร่หลาย หรือบอกได้ว่าเป็นภาพเหมือนของศิลปินเองจริง ๆ หรือวาดเป็นบุคคลหัวใจของภาพมาจนกระทั่งเมื่อต้นยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในกลางคริสต์ทศวรรษ1400 กระจกที่มีคุณภาพดีขึ้นและราคาถูกลงทำการเขียนภาพเหมือนบนจิตรกรรมแผง จิตรกร ประติมากร และช่างแกะพิมพ์มีการทำกันมากขึ้น ตัวอย่างแรกก็ได้แก่ "ภาพเหมือนของชายคนหนึ่ง (ภาพเหมือนตนเอง?)" ที่เขียนโดยยัน ฟัน ไอก์ ของปี..

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและภาพเหมือนตนเอง · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ซานโรมาโน (อุชเชลโล)

ทธการที่ซานโรมาโน (Battaglia di San Romano) เป็นจิตรกรรมสีฝุ่นบนไม้สามภาพที่เขียนโดยปาโอโล อุชเชลโล จิตรกรสมัยเรอแนซ็องส์คนสำคัญชาวอิตาลี ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์แห่งชาติในลอนดอน, หอศิลป์อุฟฟีซีในฟลอเรนซ์ และพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ในปารีส ปาโอโล อุชเชลโลเขียนภาพ "ยุทธการที่ซานโรมาโน" ในปี ค.ศ. 1432 เป็นภาพที่บรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุทธการที่ซานโรมาโน ในปี..

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและยุทธการที่ซานโรมาโน (อุชเชลโล) · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อภาพเขียนโดยการาวัจโจ

รายชื่อภาพเขียนโดยการาวัจโจ เป็นรายการภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยการาวัจโจ ผู้เป็นจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญของประเทศอิตาลีในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและรายชื่อภาพเขียนโดยการาวัจโจ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อภาพเขียนโดยราฟาเอล

ูบทความหลักที่ ราฟาเอล พระเยซูคืนชีพ” ภาพเหมือนของสันตะปาปาจูเลียสที่ 2” “สปาสซิโม” ภาพเหมือนของบัลทาซาร์ คาสติกลิโอเน” “ภาพเหมือนของฟรานเชสโค มาเรียที่ 1 เดลลา โรเวเร” ภาพเหมือนชายหนุ่ม, 1514, โปแลนด์, หายระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นักบุญจอร์จ” นักบุญจอร์จและมังกร” รายชื่อภาพเขียนโดยราฟาเอล (ภาษาอังกฤษ: List of works by Raphael เป็นรายการภาพเขียนสีน้ำมันและจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนโดยราฟาเอล ซานซิโอ ที่รู้จักกันสั้นๆ ว่า “ราฟาเอล” ผู้เป็นจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญของประเทศอิตาลี ราฟาเอลมีงานเขียนมากมายแม้ว่าจะเสียชีวิตเมื่ออายุได้เพียง 37 ปีและงานเกือบทั้งหมดก็ยังคงมีอยู่โดยเฉพาะงานที่ทำในวังวาติกันที่ราฟาเอลและผู้ช่วยตกแต่งด้วยจิตรกรรมฝาผนังที่มารู้จักกันว่า “ห้องราฟาเอล” งานเขียนของราฟาเอลมิใช่เป็นงานที่มีฝีมือเป็นเอกแต่ยังเป็นงานที่มีอิทธิพลต่อนักเขียนมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ19.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและรายชื่อภาพเขียนโดยราฟาเอล · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อภาพเขียนโดยทิเชียน

ูบทความหลักที่ ทิเชียน รายชื่อภาพเขียนโดยทิเชียน เป็นรายการภาพเขียนที่เขียนโดยทิเชียนจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ผู้มีความสำคัญในการเขียนภาพเขียนสีน้ำมัน ทิเชียนเป็นจิตรกรผู้นำของศิลปะเรอเนซองส์อิตาลีแบบเวนิส รายการข้างล่างนี้เป็นรายการที่ไม่สมบูรณ์ (และอาจจะรวมทั้งงานเขียนที่ไม่ได้ระบุเป็นการแน่นอนว่าเป็นของทิเชียน).

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและรายชื่อภาพเขียนโดยทิเชียน · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อภาพเขียนโดยซานโดร บอตติเชลลี

ูบทความหลักที่ ซานโดร บอตติเชลลี “ภาพเหมือนตนเอง” รายชื่อภาพเขียนโดยซานโดร บอตติเชลลี เป็นรายชื่อจิตรกรรมและจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนโดยซานโดร บอตติเชลลีจิตรกรคนสำคัญของอิตาลีในยุคเรอเนซองส์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 15.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและรายชื่อภาพเขียนโดยซานโดร บอตติเชลลี · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อภาพเขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี

ูบทความหลักที่ เลโอนาร์โด ดา วินชี รายชื่อภาพเขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี เป็นรายการภาพเขียนสีน้ำมันและจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชีจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลี มีภาพเขียนทั้งหมดด้วยกันสิบห้าชิ้นที่ระบุว่าเป็นงานเขียนของเลโอนาร์โด ดา วินชีซึ่งรวมทั้ง จิตรกรรมแผง, จิตรกรรมฝาผนัง, ภาพร่าง, และงานที่ยังอยู่ในระหว่างการตระเตรียม ภาพเขียนหกภาพยังไม่เป็นที่ตกลงกันแน่นอนว่าเขียนโดยเลโอนาร์โดหรือไม่ สี่ภาพเพิ่งได้รับการยืนยันว่าเลโอนาร์โดเป็นผู้เขียนและอีกสองภาพหายไป ในบรรดาภาพเขียนทั้งหมดไม่มีภาพใดที่เลโอนาร์โด ดา วินชีลงชื่อ ฉะนั้นการที่จะบ่งว่าเป็นงานเขียนของเลโอนาร์โดหรือไม่จึงขึ้นอยู่กับการศึกษาและการวิจัยของผู้เชี่ยวชาญ การที่เลโอนาร์โด มีผลงานเพียงไม่กี่ชิ้นก็อาจจะเป็นเพราะเป็นผู้มีความสนใจในสิ่งรอบตัวต่าง ๆ และความชอบทดสอบสิ่งใหม่ ๆ นอกจากนั้นยังชอบผัดวันประกันพรุ่ง แต่กระนั้นงานของเลโอนาร์โดก็เป็นงานที่มีความสำคัญเป็นอันมากในทางศิลปะและมีอิทธิพลต่อจิตรกรอื่น.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและรายชื่อภาพเขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูใบไม้ผลิ (บอตติเชลลี)

ูใบไม้ผลิ (Primavera) เป็นจิตรกรรมที่เขียนโดยซานโดร บอตติเชลลีจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญของอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิในเมืองฟลอเร็นซ์ในประเทศอิตาลี ซานโดร บอตติเชลลีเขียนภาพ “ฤดูใบไม้ผลิ” ราวปี ค.ศ. 1482 ในปี..

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและฤดูใบไม้ผลิ (บอตติเชลลี) · ดูเพิ่มเติม »

ลูคัส ครานัค

ลูคัส ครานัค ผู้อาวุโส (Lucas Cranach der Ältere; Lucas Cranach the Elder; 4 ตุลาคม ค.ศ. 1472 - 16 ตุลาคม ค.ศ. 1553) เป็นจิตรกรสมัยศิลปะเรอแนซ็องส์คนสำค้ญของประเทศเยอรมนีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 ผู้มีความสำคัญในการเขียนภาพสีน้ำมัน ทำภาพพิมพ์ ภาพพิมพ์แกะไม้ และสลักโลหะ (engraving) ชื่อเมื่อแรกเกิดของลูคัสคือ "ลูคัส ซุนเดอร์" หรือ "ซอนเดอร์" ที่โครนัคในอัปเปอร์ฟรังโคเนีย ต่อมาภายหลังชื่อก็ถูกรวมกับชื่อเมืองเกิดเป็นชื่อ "ลูคัส ครานัค" ลูคัสอาจจะเรียนศิลปะการเขียนภาพจากบิดาหรืออาจจะจากปรมาจารย์ทางภาคใต้ของเยอรมนี เช่นเดียวกับศิลปินร่วมสมัยเช่นมัททีอัส กรือเนวัลด์ ผู้ที่ทำงานที่บัมแบร์กและอาชัฟเฟินบูร์ก บัมแบร์กเป็นเมืองหลวงของสังฆมณฑลที่เมืองโครนัคตั้งอยู.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและลูคัส ครานัค · ดูเพิ่มเติม »

วีนัสแห่งเออร์บิโน

วีนัสแห่งเออร์บิโน (ภาษาอังกฤษ: Venus of Urbino) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยทิเชียนจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลี ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิ, ฟลอเรนซ์ ในประเทศอิตาลี ทิเชียนเขียนภาพ “วีนัสแห่งเออร์บิโน” ในปี ค.ศ. 1538 ที่เป็นภาพเปลือยของหญิงสาวที่แสดงตัวเป็นวีนัสนอนเอนอยู่บนโซฟาหรือเตียงในห้องที่ตกแต่งอย่างหรูหราของวังเรอเนซองส์ ภาพนี้มีพื้นฐานมาจากภาพเขียนของจอร์โจเนชื่อ “วีนัสหลับ” (Sleeping Venus) ที่เขียนเมื่อราวปี ค.ศ. 1510 แต่ภาพของทิเชียนแสดงความมี sensuality มากกว่าเมื่อเทียบกับงานของจอร์โจเนที่ดูจะห่างเหิน ทิเชียนไม่ได้ใช้อุปมานิทัศน์ใดๆ ในรูปแบบที่ทำกันมา (วีนัสไม่มีสัญลักษณ์อะไรที่บ่งว่าเป็นวีนัส) แต่เป็นภาพที่ดึงดูดความรู้สึกเร้าใจอย่างไม่มีการหลีกเลี่ยง ความรูสึกที่เปิดเผยของวีนัสเป็นสิ่งที่มักจะสังเกตได้จากภาพนี้ วีนัสมองตรงมายังผู้ชมภาพ ราวกับไม่มีรู้สึกอย่างใดต่อความเปล่าเปลือยของร่างกาย ในมือขวาถือช่อดอกไม้ขณะที่มือซ้ายปิดระหว่างขาเหมือนจะยั่วความรู้สึกของผู้ดูอยู่กลางภาพ ฉากหลังด้านหน้ามีสุนัขซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความจงรักภักดีนอนหลับอยู่ปลายเตียง ภาพของสุนัขมักจะเป็นสัญลักษณ์ของความซื่อตรงแต่เพราะสุนัขนอนหลับก็อาจจะเป็นนัยว่าสตรีในภาพอาจจะไม่ซื่อตรงต่อคนรักและไปมีความสัมพันธ์กับคนอื่น จุยโดบาลโดที่ 2 เดลลา โรเวเร ดยุคแห่งเออร์บิโน (Guidobaldo II della Rovere) เป็นผู้จ้างทิเชียนให้เขียนภาพนี้ เดิมใช้ตกแต่ง “หีบคาสโซเน” (cassone) ซึ่งเป็นหีบที่ตามธรรมเนียมในอิตาลีให้เป็นของขวัญแต่งงาน สาวใช้ในฉากหลังของภาพกำลังรื้อหีบที่คล้ายคลึงกันดูเหมือนจะหาเสื้อผ้าของวีนัส ที่ออกจะแปลกคือเป็นภาพที่ดยุคตั้งใจจะใช้สอนจุยเลีย วารานาเจ้าสาวที่ยังเด็กของดยุคแต่หัวเรื่องของภาพกลับเป็นสตรีที่เร้าใจผู้ได้เห็น เนื้อหาการสั่งสอนของภาพอธิบายนักประวัติศาสตร์ศิลปะโรนา กอฟเฟ็นในปี ค.ศ. 1997 ในหนังสือ “Sex, Space, and Social History in Titian’s Venus of Urbino” ในปี ค.ศ. 1880 มาร์ค ทเวน วิจารณ์ “วีนัสแห่งเออร์บิโน” ในหนังสือ “A Tramp Abroad” ว่าเป็น “the foulest, the vilest, the obscenest picture the world possesses” และกล่าวต่อไปว่าเป็นภาพที่เขียนสำหรับ โรงอาบน้ำ (Bagnio) แต่ถูกปฏิเสธเพราะออกจะแรงไปหน่อย แต่ก็กล่าวว่าเป็นภาพที่แรงไปสำหรับไม่ว่าจะเป็นที่ไหนนอกจากสำหรับหอศิลป์สาธารณะ “วีนัสแห่งเออร์บิโน” เป็นแรงบันดาลใจของภาพเขียนต่อมาเช่นภาพ “โอลิมเปีย” โดย เอดวด มาเนท์ ซึ่งวีนัสในภาพหลังเป็นโสเภณี นอกจากนั้นก็ยังเป็นแรงบันดาลใจของตัวละครฟิอัมเม็ตตา บิอันชินีในหนังสือ “In the Company of the Courtesan” โดยซาราห์ ดูนันท.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและวีนัสแห่งเออร์บิโน · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะทรงกลม

ประติมากรรมภาพนูนทอนโดโดยอันเดรอา เดลลา รอบเบีย (Andrea della Robbia) ที่หน้าโรงพยาบาลที่พิสโตเอีย จิตรกรรมทรงกลม “พระแม่มารีถือผลทับทิม” โดย ซานโดร บอตติเชลลี, ราว ค.ศ. 1487 (หอศิลป์อุฟฟิซิ) ศิลปะทรงกลม (Tondo พหูพจน์ Tondi หรือ Tondos) เป็นคำที่ใช้ในสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาที่หมายถึงจิตรกรรมหรือประติมากรรมที่เป็นทรงกลม เป็นคำที่มาจากภาษาอิตาลีว่า “rotondo” ที่แปลว่า “กลม” คำนี้มักจะไม่ใช้กับภาพเขียนขนาดเล็กที่มีลักษณะกลมแต่มักจะใช้กับภาพเขียนที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางกว่าสองฟุตขึ้นไป ฉะนั้นจึงไม่รวมจุลจิตรกรรมภาพเหมือน (portrait miniature) แต่สำหรับประติมากรรมแล้วคำนี้ยืดหยุ่นกว่า ศิลปินสร้างงานลักษณะนี้มาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ จิตรกรรมทรงกลมมักจะเขียนบนแจกันเครื่องปั้นดินเผาของกรีกจากสมัยที่เรียกว่าทอนดี และภายในก้นชามไวน์ก้นตื้นที่เรียกว่าคิลิกซ์ (Kylix) ที่เป็นทรงกลมอยู่แล้ว ศิลปะลักษณะมาฟื้นฟูทำกันอีกครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 โดยเฉพาะในอิตาลี แต่ตั้งแต่นั้นมาความนิยมก็ลดถอยลง แต่ในภาพเขียน “ทัศน์สุดท้ายของอังกฤษ” (The Last of England) โดยจิตรกรชาวอังกฤษฟอร์ด แมดด็อกซ บราวน์ (Ford Madox Brown) ในปี..

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและศิลปะทรงกลม · ดูเพิ่มเติม »

ฮันส์ ฮอลไบน์ (ผู้ลูก)

ันส์ ฮอลไบน์ ผู้ลูก (Hans Holbein the Younger; ค.ศ. 1497 - ระหว่างวันที่ 7 ถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1543) เป็นจิตรกรและช่างพิมพ์ของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนเหนือคนสำค้ญของประเทศเยอรมนีในคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีความเชี่ยวชาญในการเขียนภาพพิมพ์แบบเรอเนสซองซ์ตอนเหนือ ฮอลไบน์เป็นที่รู้จักจากภาพเหมือน และงานภาพพิมพ์แกะไม้ (woodcut) ในชุด "Dance of Death" ฮันส์ ฮอลไบน์ถือกันว่าเป็นช่างเขียนภาพเหมือนคนสำคัญของยุคภาพเหมือนสมัยใหม่ตอนต้น (Early Modern Period) ซึ่งเป็นช่วงเวลาระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 18 นอกจากภาพเหมือนแล้วฮอลไบน์ก็ยังมีงานเขียนที่เกี่ยวกับศาสนา งานเสียดสี และงานโฆษณาชวนเชื่อของการปฏิรูปศาสนา และมีบทบาทสำคัญในการประวัติศาสตร์ของการออกแบบหนังสือ สร้อย "ผู้ลูก" เพื่อให้ต่างจากบิดาผู้มีชื่อเดียวกัน --ฮันส์ ฮอลไบน์ ผู้พ่อ) ผู้เป็นจิตรกรมีชื่อของสมัยกอทิกตอนปลาย ฮอลไบน์เกิดที่เอาก์สบวร์ค ทำงานส่วนใหญ่ในบาเซิลเมื่อเริ่มเป็นศิลปิน ในระยะแรกก็เขียนจิตรกรรมฝาผนังและศิลปะคริสต์ศาสนางานศาสนา และออกแบบหน้าต่าประดับกระจกสีและหนังสือสำหรับพิมพ์ บางครั้งก็จะเขียนภาพเหมือนและมีชื่อเสียงขึ้นเมื่อเขียนภาพเหมือนของนักมนุษยนิยมเดสิเดอริอัส อีราสมัสแห่งรอตเตอร์ดาม เมื่อการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์ขยายไปถึงบาเซิล ฮอลไบน์ก็ทำงานให้ลูกค้าฝ่ายปฏิรูป ขณะที่ในขณะเดียวกันก็ทำงานให้กับลูกค้าที่ต้องการภาพทางศาสนาแบบดั้งเดิม งานของฮอลไบน์ของปลายสมัยกอทิกมีลักษณะที่เพิ่มคุณค่าของภาพที่มาจากแนวโน้มของศิลปะอิตาลี ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ และจากลัทธิมนุษยนิยมยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา ผลที่ออกมาคืองานที่มีความงามเป็นเอกลักษณ์ของฮอลไบน์เอง ฮอลไบน์เดินทางไปยังอังกฤษในปี..

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและฮันส์ ฮอลไบน์ (ผู้ลูก) · ดูเพิ่มเติม »

ฮือโค ฟัน เดอร์คุส

ือโค ฟัน เดอร์คุส (Hugo van der Goes; ราว ค.ศ. 1440 - ราว ค.ศ. 1482) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (เรอแนซ็องส์) ของตระกูลการเขียนภาพแบบเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 เขาเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมันและบานพับภาพ ฮือโค ฟัน เดอร์คุสเกิดเมื่อราว ค.ศ. 1440 ที่เมืองเกนต์ เสียชีวิตที่ใกล้เมืองบรัสเซลส์เมื่อราว ค.ศ. 1482 ฮือโคเป็นสมาชิกของสมาคมช่างเขียนแห่งเกนต์ในฐานะมาสเตอร์ในปี ค.ศ. 1467 ในปี ค.ศ. 1468 ฮือโคก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตกแต่งเมืองบรูชเพื่อเตรียมการฉลองการเสกสมรสระหว่างชาร์ลพระเศียรล้าน ดุ๊กแห่งเบอร์กันดี (Charles the Bold) กับมาร์กาเรตแห่งยอร์ก (Margaret of York) และเป็นผู้ตกแต่งตราประจำพระองค์สำหรับขบวนการเสด็จเข้าเมืองเกนต์ของพระเจ้าชาร์ลในปี ค.ศ. 1469 และต่อมาในปี ค.ศ. 1472 ฮือโคก็ได้รับเลือกให้เป็นอธิการของสมาคมในปี ค.ศ. 1473 หรือปี ค.ศ. 1474 ในปี ค.ศ. 1475 หรือหลายปีต่อมา ฮือโคก็บวชเป็นพระที่สำนักสงฆ์โรดโกลสเตอร์ (Rood Klooster) ไม่ไกลจากบรัสเซลส์ที่เป็นของนิกายวินเดิสไฮม์ (Windesheim Congregation) และยังคงทำงานจิตรกรรมต่อจนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1482 หรือในปี ค.ศ. 1483 ในปี ค.ศ. 1480 ฮือโคถูกเรียกตัวไปเมืองเลอเฟินเพื่อไปเขียน "Justice Scenes" ที่ดีร์ก เบาตส์ เขียนค้างไว้ก่อนที่จะเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1475 หลังจากนั้นไม่นานขณะที่ฮือโคเดินทางกลับจากโคโลญกับพระในสำนักก็เกิดความรู้สึกอยากจะฆ่าตัวตายและประกาศตัวเองว่าเป็นผู้ที่ถูกแช่ง แต่เมื่อกลับมาถึงโรดโกลสเตอร์ ฮือโคก็หายและเสียชีวิตที่นั่น ระยะเวลาที่พำนักที่สำนักสงฆ์ถูกบันทึกโดยคัสปาร์ โอฟเฮยส์ (Gaspar Ofhuys) นักบวชอีกองค์หนึ่ง รายงานโดยแพทย์ชาวเยอรมันฮีเยโรนือมุส มึนเซอร์ (Hieronymus Münzer) ในปี ค.ศ. 1495 ทีกล่าวถึงจิตรกรชาวเกนต์ตกอยู่ในอารมณ์เศร้าเพราะความกดดันที่จะเขียนภาพให้ดีเท่าฉากแท่นบูชาเกนต์ อาจจะหมายถึงฮือโค งานเขียนชิ้นที่สำคัญที่สุดที่ยังเหลืออยู่คือฉากแท่นบูชาปอร์ตีนารี (หอศิลป์อุฟฟีซี เมืองฟลอเรนซ์) ที่เป็นงานที่จ้างสำหรับวัดซานเอจีดีโอในโรงพยาบาลของวัดซานตามารีอานูโอวาในฟลอเรนซ์ โดยตอมมาโซ ปอร์ตีนารี (Tommaso Portinari) ผู้จัดการสาขาบรูชของธนาคารเมดีชี ฉากแท่นบูชามาถึงฟลอเรนซ์ในปี ค.ศ. 1483 หลายปีหลังจากที่ฮือโคเขียนเสร็จ เป็นงานที่ชื่นชมกันในฟลอเรนซ์ จอร์โจ วาซารีในหนังสือ "ชีวิตศิลปิน" ของปี ค.ศ. 1550 เรียกฮือโคว่า "Ugo d'Anversa" (ฮือโคแห่งแอนต์เวิร์ป) ซึ่งเป็นหลักฐานเดียวที่ยืนยันว่าฮือโคเป็นผู้เขียนภาพ งานชิ้นอื่นใช้การวิจัยลักษณะการเขียนโดยการเปรียบเทียบกับฉากแท่นบูชานี้ในการบ่งว่าฮือโคเป็นผู้วาด ดูเหมือนว่าฮือโคจะทิ้งงานร่างไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจจะใช้โดยผู้นิยมในการสร้างงานเขียนที่ฮือโคไม่ได้วาดด้วยตนเอง ร่างภาพ "เจค็อบและเรเชล" อยู่ที่ไครสต์เชิร์ช เชื่อเป็นงานที่ลงชื่อในจำนวนไม่กี่ชิ้นที่เหลืออยู.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและฮือโค ฟัน เดอร์คุส · ดูเพิ่มเติม »

จอร์โจเน

“ภาพเหมือนตนเอง?” (ราว ค.ศ. 1500-1510) “ลอรา” (ค.ศ. 1506) พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์, เวียนนา จอร์โจเน (ภาษาอังกฤษ: Giorgione หรือ Giorgio Barbarelli da Castelfranco) (ราว ค.ศ. 1477 - ค.ศ. 1510) เป็นจิตรกรสมัยศิลปะเรอเนซองส์คนสำคัญของเวนิสในประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึง 16 มีชื่อเสียงว่าเขียนภาพอย่างมีอรรถรส (elusive poetic quality) ทั้งๆ ที่มีภาพที่เป็นที่ทราบแน่นอนว่าเขียนโดยจอร์โจเนเพียงประมาณ 6 ภาพไม่นับภาพอื่นที่สันนิษฐานว่าเขียนโดยจอร์โจเนด้วย เพราะความที่ไม่ทราบว่าเป็นใครแน่และความหมายของภาพเขียนจึงทำให้งานเขียนของจอร์โจเนเป็นงานที่ยังลึกลับต่อการตีความหมายที่สุดในบรรดางานจิตรกรรมตะวันตก.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและจอร์โจเน · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์

อห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์ (ภาษาอังกฤษ: John Singer Sargent) (12 มกราคม ค.ศ. 1856 - 14 เมษายน ค.ศ. 1925) เป็นจิตรกรคนสำคัญของสหรัฐอเมริกาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพภูมิทัศน์, ภาพเหมือน และ การใช้สีน้ำ ซาร์เจนท์เกิดที่ฟลอเรนซ์ ที่ประเทศอิตาลี บิดามารดาเป็นชาวอเมริกัน ซาร์เจนท์ศึกษาที่อิตาลีและเยอรมนี ต่อมาที่ปารีสกับอีมิล โอกุสต์ คาโรลุส-ดูแรง (Emile Auguste Carolus-Duran) ในชีวิตซาร์เจนท์เขียนจิตรกรรมสีน้ำมันด้วยกันทั้งสิ้นราว 900 ภาพ และอีก 2,000 ภาพเขียนด้วยสีน้ำ นอกจากนั้นก็ยังมีงานเขียนภาพร่าง และภาพวาดลายเส้นด้วยถ่านอีกด้ว.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและจอห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์ · ดูเพิ่มเติม »

จัมบัตติสตา ปิตโตนี

ัมบัตติสตา ปิตโตนี (Giambattista Pittoni) หรือ โจวันนี บัตติสตา ปิตโตนี (Giovanni Battista Pittoni; 6 มิถุนายน ค.ศ. 1687 - 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1767) เป็นจิตรกรยุคบาโรกตอนปลายและโรโกโกชาวเวนิสในคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนังและจิตรกรรมสีน้ำมัน. ปิตโตนี เป็นหนึ่งในจิตรกรที่สำคัญที่สุดของประวัติศาสตร์ศิลปะอิตาเลียนทั้งหมดและตัวแทนชั้นนำของการวาดภาพชาวเวนิสศตวรรษที่ 18, ในช่วงเวลาที่เขาเป็นจิตรกรที่ถูกแสวงหามากที่สุดโดยครอบครัวของกษัตริย์ของยุโรปทั้งหม.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและจัมบัตติสตา ปิตโตนี · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี

การแต่งงานของเวอร์จินแมรี” ภาพ “พระแม่มารีกับไม้ปั่นด้าย” โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี (Italian Renaissance painting) คือสมัยประวัติศาสตร์ของจิตรกรรมที่เริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ไปจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เกิดขึ้นในบริเวณของประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ซึ่งในขณะนั้นแบ่งการปกครองเป็นอาณาบริเวณต่างๆ จิตรกรในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีแม้ว่าจะขึ้นอยู่กับราชสำนักหรือสำนัก หรือเมือง แต่ก็มีโอกาสได้ท่องเที่ยวอย่างกว้างไกลไปทั่วอิตาลี และมักจะได้รับฐานะเป็นทูตในการเผยแพร่อิทธิพลความคิดทั้งทางศิลปะและปรัชญา เมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและโดยเฉพาะในสาขาจิตรกรรมก็คือเมืองฟลอเรนซ์ที่อ่านประกอบได้ในบทความ “ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา”, ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี และ “สถาปัตยกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา” จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีแบ่งเป็นสี่สมัย.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก

ตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก (Early Netherlandish painting) เป็นงานจิตรกรรมของจิตรกรในบริเวณกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ของสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาตอนเหนือโดยเฉพาะในบริเวณเมืองบรูชและเกนต์ ที่เริ่มในช่วงเวลาเดียวกับที่ยัน ฟัน ไอก์ เริ่มอาชีพเป็นจิตรกร ฟัน ไอก์มีชื่อเสียงจนกระทั่งได้รับชื่อว่าเป็นจิตรกรอะเพลลีสคนใหม่ของยุโรปตอนเหนือ เรื่อยมาจนถึงภาพเขียนโดยกาเริล ฟัน มันเดอร์ (Karel van Mander) ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 และมาจบลงด้วยเคราร์ด ดาฟิด ราว ค.ศ. 1520 ยุคนี้เป็นช่วงเวลาไล่เลี่ยกับสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีตอนต้นและตอนสูง แต่เป็นขบวนการศิลปะที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมที่ต่างจากลัทธิมนุษยนิยมเรอเนสซองซ์ที่รุ่งเรืองในเวลาเดียวกันในตอนกลางของอิตาลีJanson, H.W. Janson's History of Art: Western Tradition.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและจิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก · ดูเพิ่มเติม »

ดุชโช

นักบุญปีเตอร์ และ นักบุญแอนดรูจาก “Maestà” “พระแม่มารีและพระบุตร” ดุชโช ดี บูโอนินเซญญา (Duccio di Buoninsegna) (เกิดราว ค.ศ. 1255-ค.ศ. 1260 -- เสียชีวิตราว ค.ศ. 1318-ค.ศ. 1319) เป็นจิตรกรที่สำคัญที่สุดและมีอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของประเทศอิตาลี เกิดที่เซียนนาในแคว้นทัสเคนี วัสดุที่ดุชโชใช้วาดส่วนใหญ่เป็นสีฝุ่นผสมไข่ (tempera) หัวข้อที่วาดเช่นเดียวกับศิลปินสมัยนั้นจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับคริสต์ศาสนา ดุชโชมีอิทธิพลต่อซิโมเน มาร์ตินิ พี่น้อง อัมโบรจิโอ ลอเร็นเซ็ตติ และ เปียโตร ลอเร็นเซ็ตติ และอื่นๆ งานของดุชโชก็ได้แก่ “พระแม่มารีรูเชลไล” (Madonna Rucellai) ที่เขียนเมื่อ..

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและดุชโช · ดูเพิ่มเติม »

คำพิพากษาของซาโลมอน (จอร์โจเน)

ำพิพากษาของซาโลมอน (The Judgement of Salomon) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยจอร์โจเนจิตรกรคนสำคัญชาวอิตาลีของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิในฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี จอร์โจเนเขียนภาพ “คำพิพากษาของซาโลมอน” ราวระหว่างปี ค.ศ. 1500 ถึงปี ค.ศ. 1501 เป็นภาพที่มีเนื้อหาและขนาดใกล้เคียงกับภาพ “การพิสูจน์โดยไฟของโมเสส” ที่ก็เป็นงานสะสมของหอศิลป์อุฟฟิซิเช่นกัน ภาพ “คำพิพากษาของซาโลมอน” แสดงซาโลมอนกษัตริย์ของชาวยิวบนบัลลังก์พร้อมด้วยข้าราชสำนัก โดยมีสตรีสองคนอ้างสิทธิว่าเป็นแม่ที่แท้จริงชองเด็กที่นอนอยู่บนดิน และทูลขอให้พระองค์ตัดสิน คำพิพากษาของซาโลมอนทำให้ทราบว่าสตรีคนใดที่ไม่ใช่แม่ที่แท้จริง ภาพแบ่งครึ่งด้วยต้นโอ้คสูงใหญ่สองต้นที่แบ่งภูมิทัศน์ในฉากหลังเป็นสองส่วน.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและคำพิพากษาของซาโลมอน (จอร์โจเน) · ดูเพิ่มเติม »

งานสะสมชุดโจวีโอ

ระเบียงแรกของหอศิลป์อุฟฟิซิ ภาพเหมือนในชุด “งานสะสมชุดโจวีโอ” เป็นภาพเขียนขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ติดกับเพดานที่เป็นลวดลาย งานสะสมชุดโจวีโอ หรือ ภาพเหมือนชุดโจวีโอ (Giovio Series, Giovio Collection หรือ Giovio Portraits) เป็นภาพเหมือน 484 ภาพที่รวบรวมโดยนักประวัติศาสตร์ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและนักประวัติศาสตร์ปาโอโล โจวีโอ (ค.ศ. 1483-ค.ศ. 1552) เป็นภาพชุดที่ประกอบด้วยบุคคลสำคัญๆ ทางวรรณคดี, นักการปกครอง, รัฐบุรุษ และคนสำคัญอื่นๆ ที่เขียนจากตัวจริง โจวีโอตั้งใจจะสะสมเพื่อเป็นในเป็นหลักฐานของสารธารณะชนของบุคคลสำคัญ เดิมภาพเขียนชุดนี้เก็บรักษาไว้ในคฤหาสน์ที่สร้างเฉพาะในการเก็บสะสมภาพเขียนบนฝั่งทะเลสาบโคโม แม้ว่าภาพเดิมจะไม่มีเหลืออยู่แล้วแต่ชุดที่ก็อปปีสำหรับโคสิโมที่ 1 เดอ เมดิชิปัจจุบันตั้งแสดงอย่างถาวรอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิในเมืองฟลอเรนซ.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและงานสะสมชุดโจวีโอ · ดูเพิ่มเติม »

ฉากประดับแท่นบูชา

ฉากประดับแท่นบูชา (Altarpiece) คือภาพหรืองานแกะสลักนูนที่เป็นภาพที่เกี่ยวกับคริสต์ศาสนาที่แขวนหน้าแท่นบูชา ฉากแท่นบูชามักจะประกอบด้วยแผงสองหรือสามแผง ประกอบกันที่เรียกว่า “จิตรกรรมแผง” และมักจะเรียกว่า “บานพับภาพ” ซึ่งอาจจะเป็นสองหรือสามบานหรือมากกว่านั้น บางครั้งฉากแท่นบูชาอาจจะเป็นกลุ่มประติมากรรม บางครั้งฉากแท่นบูชาก็อาจจะตั้งบนแท่นบูชา ถ้าแท่นบูชาเป็นแท่นลอยที่มองได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังก็จะมีฉากแท่นบูชาได้ทั้งสองด้าน นอกจากนั้นก็ยังอาจจะตกแต่งด้วยภาพเขียนฉากกางเขนหรือชั้นแท่นบู.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและฉากประดับแท่นบูชา · ดูเพิ่มเติม »

ฉากแท่นบูชาปอร์ตีนารี

ฉากแท่นบูชาปอร์ตีนารี (Portinari-triptiek; Trittico Portinari; Portinari Altarpiece) เป็นบานพับภาพที่เขียนโดยฮือโค ฟัน เดอร์คุส จิตรกรสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาชาวดัตช์ของตระกูลการเขียนภาพแบบเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟีซี เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ฟัน เดอร์คุสเขียนภาพ "ฉากแท่นบูชาปอร์ตีนารี" ราวปี ค.ศ. 1475 เป็นภาพการชื่นชมของคนเลี้ยงแกะ เป็นงานที่ได้รับจ้างสำหรับวัดโรงพยาบาลซานตามารีอานูโอวาในฟลอเรนซ์โดยนายธนาคารชาวอิตาลี ตอมมาโซ ปอร์ตีนารี ที่พำนักอยู่ที่เมืองบรูชเป็นเวลากว่าสี่สิบปีในฐานะผู้แทนของธนาคารเมดีชีของตระกูลเมดีชี ปอร์ตีนารีเองปรากฏในแผงซ้ายของฉากแท่นบูชากับลูกชายสองคน คือ อันโตนีโอและปีเจลโล ส่วนมารีอา ดี ฟรันเชสโก บารอนเชลลี (ภรรยา) กับมาร์การีตา (ลูกสาว) อยู่บนแผงขวา ทุกคนในภาพมีนักบุญผู้พิทักษ์ของแต่ละคน (ยกเว้นปีเจลโล) กล่าวคือ บนแผงซ้ายเป็นนักบุญทอมัสอัครสาวกถือหอกและนักบุญแอนโทนีอธิการถือกระดิ่ง บนแผงซ้ายนักบุญมารีย์ชาวมักดาลาถือผอบน้ำมันหอม และนักบุญมาร์กาเรตแห่งแอนติออกถือหนังสือและมีมังกรที่เท้า แผงกลางประกอบด้วยคนเลี้ยงแกะสามคนคุกเข่าทำความเคารพพระบุตร ฟัน เดอร์คุสเขียนฉากบ้าน ๆ อย่างเป็นจริงเป็นจังและได้บรรยากาศ นอกจากนั้นในภาพก็มีเทวดาที่ลอยอยู่เหนือและที่คุกเข่ารอบพระแม่มารีและพระบุตรผู้ที่มิได้นอนในกองฟางแต่นอนอยู่กลางลานโดยมีรัศมีรอบ การเขียนที่มีลักษณะแปลกเช่นนี้อาจจะเขียนตามทิพยทัศน์ของนักบุญบริจิตแห่งสวีเดนก่อนที่จะเสียชีวิตที่บรรยายถึงการเห็นแสงสว่างส่องออกมาจากร่างของพระบุตร แจกันดอกไม้ ในฉากหลัง ฟัน เดอร์คุสเขียนฉากที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหลัก กล่าวคือ บนแผงซ้ายฉากหลังเป็นภาพนักบุญโจเซฟพาพระแม่มารีผู้ทรงครรภ์เดินทางหนีไปอียิปต์; แผงกลางทางด้านขวาเป็นภาพเทวดาที่ประกาศข่าวการกำเนิดของพระเยซูแก่คนเลี้ยงแกะ และแผงขวาเป็นภาพการเดินทางของแมไจสามคนมายังเบทเลเฮม ด้านหน้าของภาพเป็นภาพนิ่งขนาดเล็กของแจกันดอกไม้สองแจกันและข้าวสาลีกำมือหนึ่ง (ซึ่งหมายถึงเบทเลเฮม "เมืองแห่งขนมปัง") ที่อาจจะเป็นนัยถึงศีลมหาสนิทหรือทุกขกิริยาของพระเยซู กำข้าวสาลีอาจจะหมายถึงพระกระยาหารมื้อสุดท้าย ที่พระเยซูแบ่งขนมปังกับอัครสาวก ดอกลิลลีสีส้มในแจกันเป็นสัญลักษณ์ของทุกขกิริยาของพระเยซูที่จะมาถึง ดอกไอริสสีขาวเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ขณะที่ดอกไอริสสีม่วงและก้านดอกแอควิลีเจีย (Aquilegia caerulea) เป็นสัญลักษณ์ของความเศร้าเจ็ดอย่างของพระแม่มารี (Seven sorrows of the Virgin) ฉะนั้นภาพการกำเนิดนี้จึงเป็นภาพที่เป็นเหตุการณ์ที่จะนำมาซึ่งความตายของพระเยซูในที่สุด เมื่องานชิ้นนี้ไปถึงฟลอเรนซ์ในปี..

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและฉากแท่นบูชาปอร์ตีนารี · ดูเพิ่มเติม »

ปาโอโล โจวีโอ

“ปาโอโล โจวีโอ” ปาโอโล โจวีโอ (Paolo Giovio หรือ Paulo Jovio) (19 เมษายน ค.ศ. 1483 - 11 ธันวาคมค.ศ. 1552) เป็นนายแพทย์, นักประวัติศาสตร์, และนักเขียนชีวประวัติชาวอิตาลี แต่เป็นที่รู้จักกันในฐานะนักประวัติศาสตร์ และเป็นผู้ประพันธ์งานประวัติศาสตร์ร่วมสมัย “Historiarum sui temporis libri XLV”, หนังสือรวมชีวประวัติของบุคคลสำคัญ “Vitae virorum illustrium (1549‑1557) ” และ “Elogia virorum bellica virtute illustrium (1554) ” (หนังสือสรรเสริญผู้กล้าหาญในสงคราม) ปาโอโล โจวีโอเป็นที่รู้จักกันในการเป็นผู้บันทึกพงศาวดารเกี่ยวกับสงครามอิตาลี (Italian Wars) โจวีโอเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ในยุทธการต่างๆ ด้วยตนเองหลักฐานที่เขียนจึงถือกันว่าเป็นเอกสารชิ้นสำคัญของสมัยนั้น.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและปาโอโล โจวีโอ · ดูเพิ่มเติม »

แม่พระรับสาร (ดา วินชี)

ูบทความหลักที่ แม่พระรับสาร แม่พระรับสาร (ภาษาอังกฤษ: Annunciation) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชีจิตรกรสมัยเรอเนซองส์ชาวอิตาลี ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิ, ฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี เลโอนาร์โดเขียนภาพ “แม่พระรับสาร” ระหว่างปี ค.ศ. 1472 ถึงปี ค.ศ. 1475 เป็นภาพเหตุการณ์เทวดาเกเบรียลต่อพระแม่มารีย์ว่าจะทรงให้กำเนิดแก่พระเยซู เป็นฉากที่ดา วินชีตั้งในลานในสวนในวิลลาที่ฟลอเรนซ์ เทวดาถือดอกลิลลิ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ของพระแม่มารี กล่าวกันว่าปีกที่วาดดาวิชิวาดจากปีกของนกที่กำลังบิน แต่ปีกถูกวาดให้ยาวขึ้นโดยจิตรกรรุ่นต่อมา เมื่อหอศิลป์อุฟฟิซิได้ภาพมาในปี..

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและแม่พระรับสาร (ดา วินชี) · ดูเพิ่มเติม »

แม่พระรับสารแห่งเชสเตลโล

แม่พระรับสารแห่งเชสเตลโล (Annunciazione di Cestello) เป็นจิตรกรรมแผงที่เขียนโดยซันโดร บอตตีเชลลี จิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟีซีที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ภาพ “แม่พระรับสารแห่งเชสเตลโล” เขียนราวระหว่างปี ค.ศ. 1489 ถึง ค.ศ. 1490 ภาพนี้เป็นงานจ้างของคอนแวนต์เชสเตลโลในฟลอเรนซ์ (ปัจจุบันคือโบสถ์ซันตามาเรียมัดดาเลนาแห่งปัซซี (Santa Maria Maddalena de'Pazzi)) บอตตีเชลลีสามารถใช้ทัศนมิติในการมองลึกเข้าไปในโครงสร้างของห้องข้ามพื้นกระเบื้องตามแนวเส้นที่แคบลง ออกไปยังภูมิทัศน์ภายนอก ท่าทางที่อ่อนไหวอย่างมีชีวิตจิตใจของทั้งพระแม่มารีย์ขัดกับช่องไดนามิค (spatial dynamics) ที่ดึงสายตาไปยังฉากหลัง ลักษณะสามเหลี่ยมเริ่มจากชายเสื้อของทูตสวรรค์กาเบรียลต่อไปยังมือที่ยกขึ้น ขึ้นไปยังพระหัตถ์ของพระแม่มารีย์ที่ยกขึ้นขวางพระอุระ เครื่องทรงของทูตสวรรค์ที่จีบพับเป็นลอนใหญ่ทำให้มีความรู้สึกว่าเหมือนจะเพิ่งบินลงมา ทูตสวรรค์เกเบรียลคุกเข่าต่อหน้าพระแม่มารีย์เผยอปากพร้อมที่จะแจ้งสารที่เขียนเป็นภาษาละตินที่เขียนไว้บนกรอบเดิมว่า “พระจิตเจ้าจะเสด็จลงมาเหนือท่านและพระอานุภาพของพระผู้สูงสุดจะแผ่เงาปกคลุมท่าน” (ลูกา 1:35).

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและแม่พระรับสารแห่งเชสเตลโล · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์น้อยซัสเซตตี

ปลซาสเซ็ตติ (ภาษาอังกฤษ: Sassetti Chapel; ภาษาอิตาลี: Cappella Sassetti) เป็นชาเปลที่ตั้งอยู่ภายในวัดซานตาทรินิตาที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี สิ่งที่สำคัญที่สุดภายในชาเปลคืองานจิตรกรรมฝาผนังชิ้นเอกโดยโดเมนนิโค เกอร์ลันเดาที่เป็นภาพชุดชีวิตของนักบุญฟรานซิสแห่งอาซิซ.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและโบสถ์น้อยซัสเซตตี · ดูเพิ่มเติม »

โกซีโม ตูรา

ม ทูรา (Cosimo Tura หรือ Il Cosmè หรือ Cosmè Tura) (ราว ค.ศ. 1430 - ค.ศ. 1495) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีตอนต้นของตระกูลการเขียนภาพแบบเฟอร์ราราของคริสต์ศตวรรษที่ 15 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและโกซีโม ตูรา · ดูเพิ่มเติม »

โลเรนโซ กอสตา

ลอเรนโซ คอสตา (Lorenzo Costa) (ค.ศ. 1460 - 5 มีนาคม ค.ศ. 1535) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาชาวอิตาลีของคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง ลอเรนโซ คอสตาเกิดในปี ค.ศ. 1460 ที่เมืองเฟอร์ราราในประเทศอิตาลีแต่ย้ายไปอยู่โบโลนยาเมื่ออายุยี่สิบกว่าๆ และเป็นผู้มีอิทธิพลต่อตระกูลการเขียนภาพแบบเซียนา แต่จิตรกรหลายคนที่ทำงานอยู่ทั้งในเฟอร์ราราและโบโลนยาถือว่าลอเรนโซ คอสตาเป็นผลผลิตของตระกูลการเขียนภาพแบบเฟอร์รารา มีการกล่าวอ้างว่าคอสตาได้รับการฝึกหัดจากโคสิโม ตูรา (Cosimo Tura) ในปี..

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและโลเรนโซ กอสตา · ดูเพิ่มเติม »

เมดูซา (การาวัจโจ)

มดูซา (Medusa) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยการาวัจโจ จิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลี ภาพ “เมดูซา” เขียนราวเสร็จในปี ค.ศ. 1597 ภาพแรกที่เขียนเขียนในปี ค.ศ. 1596 ที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า เมอร์ทูลา ซึ่งเป็นชื่อของกวีที่เขียนเกี่ยวกับเมดูซาและลงชื่อ มิเคล เอ เอฟ (มิเคล อันเจโล เอ เอฟ) และปัจจุบันเป็นงานสะสมส่วนบุคคล ขนาดของภาพใหญ่กว่าฉบับที่สองเล็กน้อย (60 x 55 เซนติเมตร) ที่มิได้ลงชื่อที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์อุฟฟิซิ, ฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ในตำนานเทพเจ้ากรีก เพอร์ซิอุสใช้หัวขาดของอสูรกายเมดูซาที่มีผมเป็นงูเป็นเกราะในการเปลี่ยนศัตรูให้เป็นหิน แต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมดูซาก็ถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของชัยชนะของเหตุผลต่อความรู้สึก ที่อาจจะเป็นสาเหตุของที่มาของภาพนี้เมื่อคาร์ดินัลฟรานเชสโค มาเรีย เดล มอนเตผู้อุปถัมภ์จ้างให้การาวัจโจวาดภาพที่สองเป็นโล่ห์เกียรติยศแก่เฟอร์ดินานโดที่ 1 เดอ เมดิชิ แกรนด์ดยุคแห่งทัสเคนีในปี ค.ศ. 1601 เดล มอนเตเป็นผู้แทนของตระกูลเมดิชิในกรุงโรมและได้มีโอกาสเห็นภาพ “เมดูซา” ภาพแรกที่การาวัจโจเขียน ฉะนั้นจึงได้จ้างให้เขียนเมื่อเฟอร์ดินานโดจัดระเบียบสิ่งที่เกี่ยวกับอาวุธและการต่อสู่้ที่สะสมไว้ใหม่ ภาพ “เมดูซา เมอร์ทูลา” พบในห้องเขียนภาพของการาวัจโจเมื่อเสียชีวิตไปแล้ว กวีจามบัตติสตา มาริโน (Giambattista Marino) อ้างว่าภาพเมดูซาของเมดิชิเป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญของดยุคในการได้รับชัยชนะต่อการต่อสู้กับศัตรู ในปี..

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและเมดูซา (การาวัจโจ) · ดูเพิ่มเติม »

เมดีชี

ตระกูลเมดีชี (Medici) เป็นตระกูลที่มีอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองของฟลอเรนซ์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 สมาชิกจากตระกูลนี้ 3 คนได้เป็น พระสันตะปาปา (สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10, สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7, และ สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 11) และนักปกครองของฟลอเรนซ์เองโดยเฉพาะโลเรนโซ เด เมดีชี ก็เป็นผู้อุปถัมภ์งานชิ้นสำคัญๆ ในสมัยเรอเนซองส์ ต่อมาตระกูลเมดีชีก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ของฝรั่งเศสและอังกฤษ ความมีอิทธิพลของตระกูลเมดีชีสามารถทำให้ฟลอเรนซ์กลายมามีบทบาทสำคัญต่อความรุ่งเรืองของศิลปะและสถาปัตยกรรม ตระกูลเมดีชีและตระกูลสำคัญอื่นๆของประเทศอิตาลีในสมัยนั้นเช่น ตระกูลวิสคอนติ (Visconti) ตระกูลสฟอร์เซ (Sforza) ตระกูลต่างๆ จากมิลาน ตระกูลเอสเตแห่งเฟอร์รารา (Este of Ferrara) ตระกูลกอนซากาจากมานตัว (Gonzaga of Mantua) และตระกูลอื่นๆ ต่างก็มีส่วนสำคัญในความเจริญของศิลปะเรอเนซองส์ และ สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์ ธนาคารเมดีชีเป็นธนาคารที่มั่งคั่งที่สุดในทวีปยุโรปและกล่าวกันว่าตระกูลเมดีชีเป็นตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในยุโรปสมัยนั้น ซึ่งทำให้สามารถสร้างอำนาจทางการเมืองโดยเริ่มจากฟลอเรนซ์และอิตาลีจนในที่สุดก็ขยายไปทั่วยุโรป สิ่งที่ตระกูลเมดีชีเป็นต้นตำรับทางการบัญชีคือการปรับปรุงวิธีทำบัญชีโดยการลงหลักฐานที่สามารถทำให้ติดตามเงินเข้าเงินออกได้ง่ายขึ้น (double-entry bookkeeping system).

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและเมดีชี · ดูเพิ่มเติม »

เลออโคออนและบุตร

ลออโคออนและบุตร (Laocoön and His Sons) หรือ กลุ่มเลออโคออน (Laocoön Group) เป็นประติมากรรมหินอ่อนขนาดใหญ่ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วาติกันในนครรัฐวาติกันในประเทศอิตาลี นักประพันธ์และนักปรัชญาพลินิผู้อาวุโสกล่าวว่าเป็นงานที่อาจจะสร้างโดยประติมากรสามคนจากเกาะโรดส์: อเจซานเดอร์แห่งโรดส์ (Agesander of Rhodes), เอธีโนโดรอส (Athenodoros) หรือโพลิโดรัส (Polydorus) ประติมากรรมชิ้นนี้เป็นภาพของนักบวชโทรจันเลออโคออนและบุตรอันทิฟานทีส (Antiphantes) และ ไทม์บราเอียส (Thymbraeus) ถูกกำลังถูกรัดโดยงูทะเล.

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและเลออโคออนและบุตร · ดูเพิ่มเติม »

เลโอนาร์โด ดา วินชี

ลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) เป็นชาวอิตาลี (เกิดที่เมืองวินชี วันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1452 - เสียชีวิตที่เมืองออมบัวซ์ ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1519) เป็นอัจฉริยบุคคลที่มีความสามารถหลากหลาย เป็นทั้ง สถาปนิกแบบเรอเนซองส์ นักดนตรี นักกายวิภาคศาสตร์ นักประดิษฐ์ วิศวกร ประติมากร นักเรขาคณิต นักวาดภาพ นักดาราศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ ดา วินชี มีงานศิลปะที่มีชื่อเสียงหลายชิ้น เช่น พระกระยาหารมื้อสุดท้าย และ โมนา ลิซ่า งานของ ดา วินชี ยังสร้างคุณประโยชน์กับวิชากายวิภาคศาสตร์ ดาราศาสตร์ เป็นบุคคลแรกที่วางรากฐานด้านการบิน รวมถึงวิศวกรรมโยธา ด้วยความที่เป็นบุรุษที่มีจิตวิญญาณที่รักในศาสตร์หลายแขนง เลโอนาร์โดทำให้เกิดจิตวิญญาณของสหวิทยาการในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และกลายเป็นบุคคลสำคัญของยุคนั้น นักประวัติศาสตร์และนักวิชาการหลายคนต่างยกย่องเลโอนาร์โดเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลมและเป็นผู้รู้รอบด้าน หรือ "ชายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา" (Renaissance Man) บุคคลที่มี "ความอยากรู้อยากเห็นอย่างไม่มีข้อกังขา" และ "จินตนาการที่สร้างสรรค์ขึ้นเรื่อย ๆ".

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและเลโอนาร์โด ดา วินชี · ดูเพิ่มเติม »

เจนตีเล ดา ฟาบรีอาโน

็นทิเล ดา ฟาบริอาโน (Gentile da Fabriano) (ราว ค.ศ. 1370 - ราว ค.ศ. 1427) เป็นจิตรกรที่มีลักษณะการเขียนแบบกอธิคนานาชาติของคริสต์ศตวรรษที่ 15 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง และจิตรกรรมสีฝุ่นบนไม้ เจ็นทิเล ดา ฟาบริอาโนเกิดราว ค.ศ. 1370 ใกล้เมืองฟาบริอาโนในประเทศอิตาลีปัจจุบัน มารดาของฟาบริอาโนเสียชีวิตก่อน..

ใหม่!!: หอศิลป์อุฟฟีซีและเจนตีเล ดา ฟาบรีอาโน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Galleria degli UffiziUffiziUffizi Galleryหอศิลป์อุฟฟิซิอุฟฟิซิอุฟฟิซีพิพิธภัณฑ์อุฟฟิซิแกลเลอรีอุฟฟิซิแกลเลอรีอุฟฟิซี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »