โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หอยเชอรี่

ดัชนี หอยเชอรี่

หอยเชอรี่ หรือ หอยโข่งอเมริกาใต้ หรือ หอยเป๋าฮื้อน้ำจืด (อังกฤษ: Golden applesnail, Channeled applesnail; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pomacea canaliculata) เป็นหอยน้ำจืดจำพวกหอยฝาเดียว มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้.

10 ความสัมพันธ์: ชั้นแกสโทรโพดาก้อยรายการสัตว์หิ่งห้อยหนูพุกปลาหมอหอยปลาคู้นากหญ้าเชอรี่เอื้องหมายนา

ชั้นแกสโทรโพดา

ั้นแกสโทรโพดา (ชั้น: Gastropoda) หรือที่เรียกกันในชื่อสามัญว่า หอยฝาเดียว หรือ หอยฝาเดี่ยว หรือ หอยกาบเดี่ยว หรือ หอยกาบเดียว หรือ หอยเปลือกเดี่ยว หรือ หอยเปลือกเดียว เป็นหนึ่งในลำดับของไฟลัมมอลลัสคา ในสิ่งมีชีวิต สัตว์ในชั้นนี้มีการสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันมีอยู่ระหว่าง 60,000-80,000 ชนิด จัดเป็นมอลลัสคาที่มีวิวัฒนาการสูงสุดรองจากมอลลัสคาในชั้นเซฟาโลพอดหรือหมึกและหอยงวงช้าง.

ใหม่!!: หอยเชอรี่และชั้นแกสโทรโพดา · ดูเพิ่มเติม »

ก้อย

ก้อยปลา ก้อย เป็นอาหารท้องถิ่นทางภาคอีสาน คล้ายกับลาบและส้มตำ นิยมปรุงจากเนื้อสัตว์ดิบรวมถึงไข่และตัวอ่อนของแมลงทีกินได้ เช่น เนื้อวัว เนื้อกวาง เนื้อเก้ง เนื้อหมูป่า เนื้อปลา (ตะเพียน หรือ ปลาขาว) กุ้งฝอย หอยเชอรี่ กิ้งก่า ไข่มดแดง ไข่แมงมัน ตัวอ่อนตัวต่อเป็นต้น ไม่นิยมปรุงจากเนื้อสัตว์ปีก เช่น นก เป็ด ไก่ เพราะจะมีกลิ่นคาวและเหม็นสาบรุนแรง.

ใหม่!!: หอยเชอรี่และก้อย · ดูเพิ่มเติม »

รายการสัตว์

รายชื่อสัตว์ เป็นการรวบรวมรายชื่อของสัตว์ทุกไฟลัมและสปีชีส์ไว้ เพื่อเป็นการสะดวกต่อค้นหา การศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับสัตว์ ได้แก่ สัตว์บก • สัตว์น้ำ • สัตว์ปีก • สัตว์เลื้อยคลาน • สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เรียงตามลำดับตัวอักษร สำหรับผู้ที่จะเพิ่มเติมรายชื่อสัตว์ ขอให้เรียงลำดับตามตัวอักษร เพื่อให้ง่ายต่อการเพิ่มเติมรายชื่อ ในส่วนของรายชื่อสัตว์ที่มีคนเริ่มเขียนบทความแล้วดูได้ที่ หมวดหมู่ รายชื่อสัตว์ และ สัตว์ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ หมวดหมู่:สัตว์.

ใหม่!!: หอยเชอรี่และรายการสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

หิ่งห้อย

หิ่งห้อย หรือ ทิ้งถ่วง เป็นแมลงปีกแข็งหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Lampyridae ในอันดับ Coleoptera ทั่วทั้งโลกมีหิ่งห้อยประมาณ 2,000 ชน.

ใหม่!!: หอยเชอรี่และหิ่งห้อย · ดูเพิ่มเติม »

หนูพุก

หนูพุก หรือ หนูแผง (Bandicoot rats) เป็นสกุลของสัตว์ฟันแทะในวงศ์ Murinae ในวงศ์ใหญ่ Muridae ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bandicota (มาจากภาษาเตลูกู คำว่า pandikokku หมายถึง "หนูหมู") หนูพุก มีรูปร่างลักษณะทั่วไปคล้ายกับหนูทั่วไปในวงศ์ Murinae แต่ทว่ามีรูปร่างที่ใหญ่กว่าหนูในสกุล Rattus มาก และมีจุดเด่นที่มีขนสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลดำที่รุงรังไม่เป็นระเบียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขนบริเวณหลังที่เป็นแผงแข็ง หลังตีนเป็นสีดำ หางยาวมีเกล็ดสีเดียว เป็นหนูที่มีอุปนิสัยดุร้าย เมื่อถูกคุกคามจะขู่และพร้อมที่จะกัด หนุพุก แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด พบได้ในประเทศไทย 2 ชน.

ใหม่!!: หอยเชอรี่และหนูพุก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอหอย

''Lamprologus ocellatus'' กับเปลือกหอยว่างเปล่า จัดเป็นปลาหมอหอยชนิดที่ได้รับความนิยมที่สุด ปลาหมอหอย (Shell dweller, Shelldweller, Shell-breeding, Ostracophil) เป็นชื่อสามัญเรียกปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) กลุ่มหนึ่ง ที่มีพฤติกรรมการอาศัยตลอดจนผสมพันธุ์และวางไข่ไว้ในเปลือกหอย ปลาหมอหอย โดยมากเป็นปลาหมอสีขนาดเล็ก ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 2 นิ้ว (พบใหญ่ที่สุด 6 นิ้ว) จะพบอาศัยอยู่ในทะเลสาบแทนกันยีกาและทะเลสาบมาลาวี ในทวีปแอฟริกา จะอาศัยและผสมพันธุ์วางไข่และเลี้ยงดูลูกปลาในเปลือกหอยที่ว่างเปล่าเสมือนรัง โดยจะเป็นเปลือกหอยที่เป็นหอยเปลือกเดี่ยว ชนิด Neothauma tanganyicense และสกุล Lanistes ของปลาที่พบในทะเลสาบมาลาวี ปลาหมอหอย มีอุปนิสัยซื่อสัตย์และจงรักภักดีกับคู่ของตัว มีพฤติกรรมหวงที่อยู่อาศัย เมื่อมีอันตรายเข้ามาใกล้ปลาหมอหอยจะเข้าไปหลบชั้นในสุดของเปลือกหอย และเมื่อปลาหมอหอยทั้งเพศผู้และเพศเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์ จะจับคู่กันและช่วยกันทำความสะอาดเปลือกหอยและรอบ ๆ บริเวณเปลือกหอย เมื่อถึงเวลาวางไข่จะเข้าไปวางไข่อยู่ในเปลือกหอยและคอยเลี้ยงลูกอยู่ในเปลือกหอยจนลูกอายุได้ประมาณ 1 เดือนจึงออกจากเปลือกหอย ในระหว่างที่เฝ้าไข่หรือเลี้ยงลูก ปลาหมอหอยจะคอยว่ายวนเวียนอยู่บริเวณหอยที่อาศัยอยู่ ไม่ให้ปลาตัวอื่นมาใกล้ ถ้าปลาตัวไหนว่ายมาใกล้ ๆ จะทำการขับไล่ไปทันที พฤติกรรมดังกล่าวจึงเสมือนกับว่าหวงเปลือกหอยของตัวเองมาก ปลาหมอหอย มีประมาณ 15 ชนิด ล้วนแต่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ด้วยความที่มีสีสันและพฤติกรรมที่แปลก น่าสนใจ ในประเทศไทยมีการนำเข้าและเลี้ยงกันประมาณ 10 ชนิด เช่น Lamprologus ocellatus ที่ได้ชื่อว่าเป็นปลาหมอหอยชนิดที่ได้รับความนิยมที่สุด โดยเฉพาะในตัวที่มีสีเหลืองสดหรือสีทอง, L. meleagris และหลายชนิดในสกุล Neolamprologus เช่น N. brevis, N. similis, N. boulengeri, N. cauodopuntatus, Altolamprologus compressiceps และA. calvus สามารถเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์ได้ในตู้กระจก โดยวิธีการเลี้ยงทำไปโดยง่าย โดยพื้นตู้ควรปูด้วยทรายละเอียดและโปรยเปลือกหอยประเภทหอยเปลือกเดี่ยวลงไปให้ทั่ว เช่น หอยเชอรี่, หอยโข่ง หรือหอยหวาน เพราะเมื่อถึงเวลาผสมพันธุ์ ปลาทั้งตัวผู้และตัวเมียจะทำการคัดเลือกเปลือกหอย และทำความสะอาดรอบ ๆ บริเวณที่วางเปลือก และจะขุดดึงเปลือกหอยให้ฝังลึกลงไปในพื้นทรายให้เห็นโผล่มาเฉพาะบริเวณรูเปลือกเท่านั้น ส่วนเปลือกหอยอันอื่นที่ไม่ได้ใช้ จะอมทรายมาเทกลบเพื่อไม่ให้ปลาตัวอื่นมาใช้ได้ เมื่อรังถูกสร้างเสร็จแล้ว ปลาทั้งคู่จะอาศัยหากิน ตลอดจนว่ายเข้าออกบริเวณาปากเปลือกหอยของตนเท่านั้น จนกระทั่งมีลูกปลาตัวเล็ก ๆ ลูกปลาก็จะว่ายอยู่บริเวณปากเปลือกหอยที่เป็นรังของตน พร้อมด้วยปลาพ่อแม่เป็นผู้ดูแล และจะผลุบหลบเข้าไปในเปลือกหอยเมื่อเห็นว่ามีภัยอันตรายเข้ามาคุกคาม.

ใหม่!!: หอยเชอรี่และปลาหมอหอย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาคู้

ปลาคู้ หรือ ปลาเปคู (Pacu ปากู) หรือที่นิยมเรียกกันในเชิงการเกษตรว่า ปลาจะละเม็ดน้ำจืด เป็นชื่อสามัญที่เรียกปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่งในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) ในวงศ์ย่อย Serrasalminae หรือวงศ์ย่อยของปลาปิรันยา ปลาคู้มีรูปร่างโดยรวมคล้ายกับปลาปิรันยาซึ่งอยู่ในวงศ์ย่อยเดียวกัน หากแต่อยู่ต่างสกุลกัน โดยปลาคู้นั้นจะมีรูปร่างที่ใหญ่โตกว่าปลาปิรันยามาก โดยอาจยาวได้ถึง 80-110 เซนติเมตร และอาจหนักได้เกือบ 40 กิโลกรัม และมีพฤติกรรมที่ต่างกัน คือ ปลาคู้จะกินได้ทั้งพืชและสัตว์ โดยบางครั้งอาจจะขึ้นไปบนผิวน้ำเพื่อรอกินผลไม้หรือลูกไม้ที่ร่วงหล่นจากต้นได้เลย ขณะที่ปลาปิรันยาจะกินแต่เนื้อเพียงอย่างเดียว อีกประการหนึ่งที่แตกต่างกัน คือ ฟันและกรามของปลาคู้แม้จะแข็งแรงและแหลมคม แต่ก็ไม่เป็นซี่แหลมเหมือนปลาปิรันยา และกรามล่างจะไม่ยื่นยาวออกมาจนเห็นได้ชัด ปลาคู้มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง กระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้เช่น อเมซอน, โอรีโนโก เป็นต้น รูปแสดงให้เห็นถึงฟันของปลาคู้ ปลาที่ได้ชื่อว่าเป็น ปลาคู้ จะเป็นปลาที่อยู่ในสกุล Acnodon, Colossoma, Metynnis, Mylesinus, Mylossoma, Ossubtus, Piaractus, Tometes และUtiaritichthys เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาเศรษฐกิจในหลายส่วนของโลกรวมถึงในประเทศไทยด้วย เนื่องจากเป็นปลาที่โตได้เร็วมาก กินเก่ง กินอาหารได้ไม่เลือก อีกทั้งยังพบว่าเป็นปลาที่ช่วยในการกำจัดหอยเชอรี่อันเป็นศัตรูข้าวที่สำคัญได้อีกด้วย ประกอบกับเนื้อมีรสชาติอร่อยสามารถปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย อีกทั้งนิยมตกกันเป็นเกมกีฬาด้วย แต่ด้วยความแพร่หลายนี้ ทำให้กลายเป็นปัญหาของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในบางพื้นที่ สำหรับในประเทศไทย ชนิดของปลาคู้ที่นำเข้ามาและนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย คือ ปลาคู้แดง (Piaractus brachypomus) และปลาคู้ดำ (Colossoma macropomum) ซึ่งเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งทั้งสองชนิดนี้ยังนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามด้วย ปลาคู้ แม้จะได้ชื่อว่าไม่เป็นปลาอันตรายต่อมนุษย์เท่ากับปลาปิรันยา แต่ที่ปาปัวนิวกินีและสหรัฐอเมริกา กลับมีปลาคู้ที่มีพฤติกรรมกัดอัณฑะของผู้ที่ตกปลาหรือลงไปว่ายน้ำในแม่น้ำถึงขั้นเสียชีวิตมาแล้ว.

ใหม่!!: หอยเชอรี่และปลาคู้ · ดูเพิ่มเติม »

นากหญ้า

นากหญ้า (Coipú, Nutria) เป็นสัตว์ฟันแทะชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Myocastor coypus อยู่ในวงศ์ Myocastoridae จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Myocastor และวงศ์นี้ ด้วยความที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายนาก ซึ่งอยู่ในวงศ์ Lutrinae ซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อ จึงได้ชื่อสามัญว่า "Nutria" ซึ่งในภาษาสเปนหมายถึง "นาก" และกลายมาเป็นชื่อสามัญในภาษาไทยด้วย นากหญ้ามีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ ทางตอนใต้ของบราซิล ปารากวัย อุรุกวัย เวเนซุเอลา โบลิเวีย อาร์เจนตินา ชิลี มีทั้งหมด 4 ชนิดย่อย จัดเป็นสัตว์ฟันแทะที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งเหมือนบีเวอร์หรือคาปิบารา เมื่อโตเต็มที่มีความยาวได้ 37-70 เซนติเมตร หางยาว 24-45 เซนติเมตร น้ำหนักตั้งแต่ 3.5-10 กิโลกรัม บางตัวอาจหนักได้ถึง 17 กิโลกรัม ตัวผู้มีน้ำหนักมากกว่าตัวเมีย 3-5 เท่า มีหัวกลม ปากสั้น คอสั้น ใบหูกลมและเล็ก หนวดเป็นเส้นหนา เท้าหลังมีนิ้วทั้งหมด 4 นิ้ว พังผืดยึดระหว่างนิ้วเพื่อช่วยในการว่ายน้ำ ยกเว้นนิ้วสุดท้าย ขณะที่เท้าหน้ามี 5 นิ้ว มีหางยาว ขนชั้นนอกยาวและหยาบ ขณะที่ขนชั้นในอ่อนนุ่ม ขนมีน้ำมันบาง ๆ เคลือบอยู่เป็นมันและไม่อุ้มน้ำขณะว่ายน้ำ ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนกับขนของนาก ซึ่งสีขนอาจแปรเปลี่ยนไปได้ตามฤดูกาล ตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนจนถึงดำแกมแดง ในขณะที่บางตัวอาจมีแต้มสีขาวบริเวณปาก มีพฤติกรรมความเป็นอยู่คล้ายกับนาก คือ จะอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงในพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยขุดโพรงริมตลิ่งหรือสร้างรังบนกอพืชน้ำอยู่ แต่กินอาหารจำพวกหญ้าและพืชน้ำและหอยทั้งหอยฝาเดียวและหอยฝาคู่ในบางครั้งด้วย ว่ายน้ำและดำน้ำเก่ง โดยสามารถดำน้ำได้นานถึง 7 นาที เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 4 เดือน ขณะที่มีน้ำหนักตัวประมาณ 2-3 กิโลกรัม ตัวเมียมีวงรอบผสมพันธุ์ทุก ๆ 23-26 วัน ตลอดทั้งปี ออกลูกครั้งละ 2-7 ตัว โดยพบมากสุดถึง 13 ตัว ตั้งท้องนาน 123-150 วัน ลูกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวประมาณ 225 กรัม โดยมีขนปกคลุมทั้งลำตัวและดวงตาปิด จะอาศัยอยู่กับแม่ไป 6-10 ปี ตัวเมียมีเต้านม 4-5 คู่ อยู่ด้านข้างลำตัวซึ่งเหมาะกับแก่การให้นมลูกขณะที่ว่ายน้ำไปด้วยได้ มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 10 ปี นากหญ้า ถือเป็นสัตว์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ และด้วยความที่มีขนที่มีลักษณะคล้ายขนของนาก จึงทำให้มีความต้องการขนทำเป็นเสื้อขนสัตว์แทนนาก ที่ถูกล่าอย่างหนักจนถูกขึ้นชื่อไว้เป็นสัตว์อนุรักษ์ในหลายประเทศ จึงมีการเพาะเลี้ยงกันเป็นสัตว์เศรษฐกิจและมีการส่งออกจากทวีปอเมริกาใต้ไปยังหลายภูมิภาคของโลก เช่น ยุโรป อเมริกาเหนือ แอฟริกา รวมถึงเอเชีย ซึ่งในหลายพื้นที่ได้กลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม เพราะกลายมาเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่คุกคามความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตพื้นถิ่นในที่นั้น ๆ อีกทั้งยังเป็นพาหะของโรคกลัวน้ำอีกด้วย สำหรับในประเทศไทยเอง ก็ประสบกับปัญหานี้ด้วยเช่นนี้ ได้มีการนำเข้านากหญ้าครั้งแรกมาจากแอฟริกา โดยชาวไต้หวัน โดยถูกเลี้ยงไว้ที่จังหวัดราชบุรี ต่อมาก็ถูกนำไปเลี้ยงให้กว้างขวางยิ่งขึ้นโดยทหารบกชั้นประทวนผู้หนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ. 2537 ก่อนที่จะแพร่หลายในฐานะเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่ แต่ทว่าเมื่อได้มีการเลี้ยงกันอย่างจริงจังแล้ว ปรากฏว่า ผลตอบรับกลับไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิด จึงทำให้มีการปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ และกลายเป็นหนึ่งในสัตว์ที่เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในประเทศไทย เช่นเดียวกับ หอยเชอรี่ ปลาซัคเกอร์ หรือตะพาบไต้หวัน.

ใหม่!!: หอยเชอรี่และนากหญ้า · ดูเพิ่มเติม »

เชอรี่

อรี่ หรือ เชอรี สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: หอยเชอรี่และเชอรี่ · ดูเพิ่มเติม »

เอื้องหมายนา

วาด – เอื้องหมายนา เอื้องหมายนา (หรือ Cheilocostus speciosus; Indian Head Ginger) หรือ เอื้องเพชรม้า เป็นพืชล้มลุกอายุหลายฤดู จัดอยู่ในวงศ์เอื้องหมายนา ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ มีเหง้าใต้ดิน ใช้เป็นไม้ประดับได้ เจริญได้ดีทั้งในที่ได้รับร่มเงาบ้าง หรือกลางแสงแดดจัดที่มีความชื้นสูง เอื้องหมายนาเป็นพืชมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและเป็นพืชประจำถิ่นในประเทศอินเดีย ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงเกาะนิวกินี.

ใหม่!!: หอยเชอรี่และเอื้องหมายนา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Golden applesnailPomacea canaliculata

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »