เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

หอมใหญ่

ดัชนี หอมใหญ่

หอมใหญ่ เป็นพืชหัว (bulb) ปลูกได้ในช่วงฤดูหนาว สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิดที่มีการระบายน้ำและอากาศดี เจริญได้ดีที่ค่าความเป็นกรด-เบสช่วง 6.0–6.8 อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 15–24 องศาเซลเซียส และมีความเค็มของดินปานกลาง เป็นพืชล้มลุก ตระกูลเดียวกับหอมแดง ต้นสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร ลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน มีลักษณะกลม มีเปลือกนอกบางๆหุ้มอยู่ เมื่อแห้งจะมีสีน้ำตาลอ่อน ภายในเป็นกาบสีขาวซ้อนกัน ลักษณะของดอกมีสีขาว เป็นช่อ มีดอกย่อยเป็นจำนวนมาก ก้านช่อดอกยาว แทงออกจากลำต้นใต้ดิน ช่วงเวลาในการเพาะปลูกและเก็บผลผลิต: ให้ผลผลิต 2 ครั้งใน 1 ปี คือ ช่วงเดือน มกราคม ถึง เมษายน และในช่วงเดือน พฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์http://www.adirek.com/stwork/fruitvet/hom.htm.

สารบัญ

  1. 59 ความสัมพันธ์: ชับแชชาวพม่าชาวไซย่าชีสเบอร์เกอร์พูแดจีแกกอยโตรเจนการผัดกิมจิภาษาดารีมหาหิงคุ์มะตะบะมัสตาร์ดดีฌงมีโกเร็งมีเซียมยากิโซบะรายชื่อตัวละครในเอ็กซีคิวชั่นแนลราดิชละก์ซาหอมออสโซบูโกอาร์โรซอาลากูบานาอาหารม้งอาหารตามสั่งอาหารไทยอาหารเชนอาหารเยอรมันอูรัปฮอตดอกจังหวัดเชียงใหม่ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)ข้าวผัดอเมริกันดิอะเมซิ่งเรซ 15คิมชีจีแกคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 54คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 55ตอร์ตียาเดปาตาตัสต้มจิ๋วซอสทาร์ทาร์ซัมบัลซุปกัมบิงซีนีกังประเทศตองงาปอโตเฟอนิวคลีโอลินน้ำจิ้มน้ำตาแกงโมโม (อาหาร)โดมทรงหัวหอมเบเกิล... ขยายดัชนี (9 มากกว่า) »

ชับแช

ับแช เป็นอาหารเกาหลีชนิดหนึ่ง ได้จากการนำวุ้นเส้นที่ทำจากแป้งมันเทศไปผัดในน้ำมันงากับผักชนิดต่าง ๆ (ตามปกติจะใช้แคร์รอต, หัวหอม, ผักโขม และเห็ดหั่นเป็นเส้นบาง ๆ) ปรุงรสด้วยซีอิ๊วและน้ำตาลทราย ตกแต่งด้วยเมล็ดงาและพริกหั่นแฉลบ จะเสิร์ฟขณะร้อนหรือเย็นก็ได้ ชาวเกาหลีมักทำชับแชรับประทานกันในงานเลี้ยงและโอกาสพิเศษ โดยเพิ่มเนื้อวัวและผักตามฤดูกาลเข้าไป โดยทั่วไปมักเสิร์ฟอาหารจานนี้เป็นกับข้าว แต่จะเสิร์ฟเป็นอาหารจานหลักก็ได้ บ่อยครั้งจะเสิร์ฟกับข้าวสวย หากมีข้าวด้วยจะเรียกอาหารจานนี้ว่า ชับแชบับ (잡채밥) โดยคำว่า พับ (밥) แปลว่า "ข้าว".

ดู หอมใหญ่และชับแช

ชาวพม่า

ม่า (บะหม่า หลุ มฺโย้, คำเมือง: ม่าน) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ในประเทศพม่า พบมากในประเทศพม่า ชาวพม่าส่วนใหญ่อาศัยอยู่แถบแม่น้ำอิรวดี ชาวพม่าส่วนใหญ่ใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาที่พูดกันในชีวิตประจำวัน.

ดู หอมใหญ่และชาวพม่า

ชาวไซย่า

วไซย่า คือ สิ่งมีชีวิตสายพันธุ์หนึ่งที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์ แต่จะมีหางและแข็งแกร่ง มีพลังเหนือมนุษย์ ชาวไซย่าจักรวาลที่7จักรวาลของโกคู มีดาวเคราะห์บ้านเกิดคือดาวเคราะห์เบจิต้า ซึ่งดาวเคราะห์ที่ชาวไซย่าจักรวาลที่7อาศัยและตั้งอาณานิคมนั้นเคยมีชื่อว่าดาวเคราะห์พืช และมีแรงโน้มถ่วงที่มากกว่าโลก แต่ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็นดาวเคราะห์เบจิต้า แต่ได้ถูกทำลายโดยฟรีเซอร์ แต่ก็ยังมีผู้ที่เหลือรอดอยู่แค่ 5 คน คือ คาคาล็อต,ราดิซ,เบจิต้า,ทาร์เบิ้ล และนัปปะ ส่วนชาวไซย่าจักรวาลที่6 มีดาวบ้านเกิดคือดาวเคราะห์ซาลาดะ ชาวไซย่าจักรวาลที่6จะมีนิสัยไม่เบียดเบียนดาวเคราะห์อื่นๆเหมือนจักรวาลที่7 และจะต่อสู้เพื่อปกป้องพวกพ้องและดวงดาวของตัวเอง.

ดู หอมใหญ่และชาวไซย่า

ชีสเบอร์เกอร์

ีสเบอร์เกอร์ (cheeseburger) เป็นแฮมเบอร์เกอร์ซึ่งมีเนยแข็งวางอยู่บนเนื้อ ส่วนใหญ่จะนำเนยแข็งวางลงบนแผ่นเนื้อในระหว่างที่กำลังร้อนอยู่บนเตาย่าง เพื่อที่จะให้เนยแข็งละลายลงบนแผ่นเนื้อ ภายในตัวชีสเบอร์เกอร์มักมีส่วนผสมอื่น ๆ อีก เช่น ผักกาดหอม มะเขือเทศ หอมใหญ่ แตงกวาดอง มัสตาร์ด มายองเนส ซอสมะเขือเทศ และบางครั้งอาจใส่เบคอนด้วย ชีสเบอร์เกอร์เป็นอาหารอเมริกันที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เนื่องจากที่ว่าเป็นอาหารที่นิยมรับประทานตามร้านอาหารจานด่วนอเมริกันต่าง ๆ คำว่า "ชีสเบอร์เกอร์" เป็นคำทับศัพท์จากภาษาอังกฤษซึ่งแปลว่า "แฮมเบอร์เกอร์เนยแข็ง" โดยคำ "เบอร์เกอร์" (burger) เป็นคำที่ย่อมาจากคำว่า "แฮมเบอร์เกอร์" (hamburger) อีกที.

ดู หอมใหญ่และชีสเบอร์เกอร์

พูแดจีแก

ูแดจีแก (부대찌개, แปลว่า "สตูกองทัพ") เป็นอาหารประเภท จีแก (ซุปเกาหลีมีลักษณะเหมือนกับสตูของตะวันตก) ไม่นานนักหลังจากสงครามเกาหลี อาหารเป็นที่ขาดแคลนไปทั่วทั้งโซล ผู้คนจำนวนหนึ่งจึงใช้วัตถุดิบที่เหลือจากกองทัพสหรัฐอเมริกาที่ประจำการในเกาหลีใต้ ในพื้นที่รอบ ๆ อึยจ็องบูและพย็องแท็ก (หรือซงทันในขณะนั้น) หรือมุนซัน วัตถุดิบประกอบไปด้วยฮอตดอก, เนื้อกระป๋อง (สแปม) หรือแฮม ผสมกันลงไปในน้ำซุปรสเผ็ดดั้งเดิมของเกาหลีปรุงรสด้วย โคชูจัง (พริกแดงที่มีลักษณะเหนียว) และกิมจิ พูแดจีแกยังคงได้รับความนิยมอยู่ในเกาหลีใต้ โดยในปัจจุบันมักผสมเครื่องปรุงสมัยใหม่เข้าไปด้วย เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป, อเมริกันชีสที่หั่นเป็นแผ่นบาง ๆ ส่วนเครื่องปรุงอื่น ๆ ก็ประกอบไปด้วยเนื้อบด, ไส้กรอกหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ, ถั่วกระป๋อง, ''มีนารี'', หอมใหญ่, หอมต้นเดี่ยว, ต็อก, เต้าหู้, พริก, มะกะโรนี, กระเทียม, เห็ด และผักอื่น ๆ ตามฤดูกาล.

ดู หอมใหญ่และพูแดจีแก

กอยโตรเจน

กะหล่ำปลี บรอกโคลี กระเทียม กอยโตรเจน (goitrogen) เป็นสารเคมีในพืชชนิดหนึ่งที่พบมากในพืชตระกูลกะหล่ำ และพืชตระกูลหอม มีฤทธิ์ในการยับยั้งการสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ทำให้ร่างกายนำไอโอดีนในเลือดไปใช้ได้น้อยกว่าปกติ หากรับประทานผักผลไม้ที่มีสารชนิดนี้มากเกินไปอาจจะทำให้มีอาการท้องอืดและทำให้ร่างกายได้ขาดสารไอโอดีนจนทำให้เป็นโรคคอพอกได้ พืชที่มีสารกอยโตรเจน ได้แก่ กะหล่ำปลี หัวผักกาด บรอกโคลี คะน้า หัวหอม กระเทียม ฯลฯ สารกอยโตรเจนในพืชเมื่อโดนความร้อนจะสลายตัวอย่างรวดเร็ว ดังนั้นควรปรุงให้สุกก่อนรับประทาน นอกจากนั้นยังมีพืชบางชนิดที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ จะมีสารที่ออกฤทธิ์ตรงข้ามกับกอยโตรเจน กล่าวคือกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้มากขึ้น.

ดู หอมใหญ่และกอยโตรเจน

การผัด

การผัด มันฝรั่งผัดเบคอน และหอมใหญ่ Ddeokbokki: เค้กข้าวแบบเกาหลีผัดกับผักและหมู การผัดหอมใหญ่และพริกหยวกในกระทะแบน การผัด (Stir frying) เป็นวิธีการทำอาหารในน้ำมันและไขมัน ซึ่งเป็นเทคนิกการทำอาหารซึ่งเกิดขึ้นเป็นเวลานานกว่า 2,500 ปีมาแล้ว การผัดในอาหารไทยส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากอาหารจีน.

ดู หอมใหญ่และการผัด

กิมจิ

กิมจิผักกาดขาว กิมจิ (คิมชี) มีข้อสันนิษฐานกันว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า "ชิมเช" ที่แปลว่าผักดองเค็ม กิมจิเป็นอาหารเกาหลีประเภทผักดองที่อาศัยภูมิปัญญาก้นครัวของชาวเกาหลี ด้วยการหมักพริกสีแดงและผักต่างๆ โดยทั่วไปจะเป็นผักกาดขาว ชาวเกาหลีนิยมรับประทานกิมจิเกือบทุกมื้อ และยังนำไปปรุงเป็นส่วนประกอบอาหารอีกหลายอย่าง เช่น ข้าวต้ม ข้าวสวย ซุป ข้าวผัด สตู บะหมี่ จนถึงพิซซาและเบอร์เกอร์ ปัจจุบันกิมจิมีมากกว่า 187 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีรสเผ็ด เปรี้ยว และมีกลิ่นฉุน แม้ปัจจุบันมีบริษัทอาหารผลิตกิมจิสำเร็จรูปหรือแบบสดขายตามห้างสรรพสินค้าก็ตาม แต่ชาวเกาหลีก็ยังนิยมทำกิมจิกินเองที่บ้าน ใส่เกลือ พริก.

ดู หอมใหญ่และกิมจิ

ภาษาดารี

ษาดารี (Dari; ภาษาเปอร์เซีย: دری Darī, ออกเสียง) หรือ ภาษาเปอร์เซียดารี (Dari Persian; ภาษาเปอร์เซีย: فارسی دری - Fārsīy e Darī) หรือ ภาษาเปอร์เซียตะวันออก เป็นชื่อที่ใช้เรียกภาษาเปอร์เซียสำเนียงหนึ่งที่ใช้พูดในอัฟกานิสถาน และเป็นชื่อทางการที่รัฐบาลอัฟกานิสถานใช้ในรัฐธรรมนูญ ภาษาดารีเป็นภาษาราชการในอัฟกานิสถานรองจากภาษาพัชโต และใช้เป็นภาษากลางในอัฟกานิสถาน.

ดู หอมใหญ่และภาษาดารี

มหาหิงคุ์

ลักษณะขวดมหาหิงคุ์ที่ใช้ประกอบอาหาร มหาหิงคุ์ (हींग. ถอดรูปได้เป็น หีค หรือ หีงคะ ชื่อภาษาอังกฤษคือ asafoetida หรือเรียกสั้น ๆ ว่า hing) เป็นยางที่หลั่งจากพืชหลายชนิดในสกุลมหาหิงคุ์ (Ferula) ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในประเทศอิหร่าน อัฟกานิสถาน และนิยมเพาะปลูกใกล้กับประเทศอินเดีย มหาหิงคุ์มีกลิ่นเหม็นฉุน รสเผ็ดร้อน นิยมใช้ทำยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อในเด็ก นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาระบาย ยาแก้ไข้หวัด และใช้ผสมอาหารได้อีกด้ว.

ดู หอมใหญ่และมหาหิงคุ์

มะตะบะ

มะตะบะไส้กล้วย มะตะบะ (Murtabak)เป็นอาหารของไทยมุสลิม มาจากอินเดีย ทำจากโรตีชนิดหนึ่ง ซึ่งทำมาจากแป้งโรตี ห่อด้วยใส้ต่าง ๆ มีอยู่ 2 ชนิด ได้แก.

ดู หอมใหญ่และมะตะบะ

มัสตาร์ดดีฌง

มัสตาร์ดดีฌงในช้อนชา มาย (Maille) มัสตาร์ดดีฌง (moutarde de Dijon) เป็นมัสตาร์ดสูตรดั้งเดิมสูตรหนึ่งของฝรั่งเศส ได้ชื่อนี้มาจากชื่อเมืองดีฌงซึ่งเป็นศูนย์กลางการทำมัสตาร์ดในยุคกลางตอนต้นและได้รับพระราชทานสิทธิพิเศษในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีการนำมัสตาร์ดสูตรนี้มาใช้เป็นครั้งแรกบนโต๊ะเสวยของพระเจ้าฟีลิปที่ 6 ในปี ค.ศ.

ดู หอมใหญ่และมัสตาร์ดดีฌง

มีโกเร็ง

มีโกเร็ง (mi goreng, mie goreng; mi goreng, mee goreng) แปลตรงตัวว่าบะหมี่ผัด เป็นอาหารที่พบทั่วไปในอินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นการนำบะหมี่สีเหลืองมาผัดกับกระเทียม หอมหัวใหญ่หรือหัวหอม ใส่ไก่หรือเนื้อ พริก ผัก มะเขือเทศ ไข่ และผักดอง ในอินโดนีเซียจะพบอาหารนี้ได้ทั่วไป จัดเป็นอาหารที่มีรสเผ็ด มีโกเร็งแบบของอินโดนีเซียเป็นที่นิยมในต่างประเทศด้วย โดยเฉพาะออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ อาหารนี้มาจากบะหมี่ผัดของจีนที่เรียกเชาแมน (chow mein) โดยชาวจีนที่อพยพมาสู่อินโดนีเซียและมาเลเซียเป็นผู้นำเข้ามา คล้ายกับยากิโซบะของญี่ปุ่น เพียงแต่มีโกเร็งใช้เครื่องปรุงแบบอินโดนีเซีย เช่นใช้ซีอิ๊วหวาน เปลี่ยนจากหมูเป็นกุ้ง ไก่ หรือเนื้อสัตว์ เนื่องจากผู้บริโภคเป็นมุสลิม.

ดู หอมใหญ่และมีโกเร็ง

มีเซียม

มีเซียม (mi siam, mee siam, "หมี่สยาม"; 麵暹.) เป็นเส้นหมี่ผัดกับซอสรสเปรี้ยว เผ็ด และหวาน เป็นอาหารที่นิยมในสิงคโปร์และมาเลเซีย เป็นหมี่แห้งที่ปรุงด้วยการผัดเส้นหมี่เข้ากับน้ำซอสรสจัดที่ปรุงไว้ อาหารชนิดนี้ในประเทศไทยเรียกหมี่กะทิ ซึ่งเป็นอาหารที่นิยมในภาคกลาง โดยเป็นการผัดเส้นหมี่เข้ากับซอสที่ทำมาจากกะทิ ใส่หมู เต้าเจี้ยว น้ำมะขามเปียก อาจแต่งสีด้วยซอสแดงหรือซอสมะเขือเทศ ในสิงคโปร์และมาเลเซีย อาหารนี้เป็นอาหารของชาวจีนช่องแคบ แต่ปัจจุบันมีผู้ปรุงทั้งชาวอินเดีย ชาวมลายู และชาวจีน อาหารจานนี้รับประทานกับเต้าเจี้ยว ไข่ต้ม และน้ำมะขามเปียก ส่วนผักกินกับหอมหัวใหญ่หั่นและกุยช่าย หมวดหมู่:อาหารมาเลเซีย หมวดหมู่:อาหารสิงคโปร์ หมวดหมู่:ก๋วยเตี๋ยว.

ดู หอมใหญ่และมีเซียม

ยากิโซบะ

กิโซบะ (ผัดบักวีต) เป็นอาหารญี่ปุ่นประเภทบะหมี่ผัด ถึงแม้ว่าโซบะจะหมายถึงบักวีต แต่ในความเป็นจริงแล้ว เส้นยากิโซบะทำมาจากแป้งสาลีผสมไข่ไก่ คล้ายบะหมี่จีน เรียกว่า ชูกาเม็ง (中華麺) ยากิโซบะมีที่มาจากเฉ่าเมี่ยน บะหมี่ผัดของจีน เริ่มแพร่หลายในร้านขายอาหารข้างถนนในญี่ปุ่นช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ยากิโซบะเตรียมได้จากการผัดเส้นชูกาเม็งกับเนื้อหมู ผัก (นิยมใช้กะหล่ำปลี, หอมใหญ่หรือแคร์รอต) ผัดกับซอสยากิโซบะหรือซอสวุร์สเตอร์เชอร์ เกลือและพริกไทย โรยหน้าด้วยอาโอโนริ (ผงสาหร่าย) เบนิโชงะ (ขิงดอง) คัตสึโอบูชิ (ปลาแห้ง) และมายองเนส ยากิโซบะเสิร์ฟเป็นอาหารจานหลักและเครื่องเคียง ในร้านสะดวกซื้อหรือบางเทศกาลของญี่ปุ่นมีการจำหน่ายขนมปังยาวคล้ายฮอตดอกที่ตรงกลางเสิร์ฟด้วยยากิโซบะ โรยหน้าด้วยขิงดองและมายองเนสด้านบน เรียกว่า ยากิโซบาปัง (焼きそばパン) ส่วนในเมืองโคกูระ จังหวัดฟูกูโอกะ มีการดัดแปลงนำเส้นอูดงมาใช้แทนเส้นบะหมี่ เรียกว่า ยากิอูดง (焼きうどん) หลังปี..

ดู หอมใหญ่และยากิโซบะ

รายชื่อตัวละครในเอ็กซีคิวชั่นแนล

ตัวละครในเอ็กซีคิวชั่นแนล เป็นตัวละครจากการ์ตูนไทยเรื่อง เอ็กซีคิวชั่นแนล มหาสงครามออนไลน์ถล่มจักรวาล.

ดู หอมใหญ่และรายชื่อตัวละครในเอ็กซีคิวชั่นแนล

ราดิช

ราดิซ เป็นตัวละครจากการ์ตูนเรื่องดราก้อนบอล ซึ่งชาวดาวไซย่ามีสถานภาพเป็นนักรบที่เก่งกาจ และกลายร่างเป็นลิงยักษ์ได้เมื่อเห็นพระจันทร์เต็มดวงตราบเท่าที่ตนยังมีหางอยู่ (โดยปกติแล้วจะมีหางเหมือนลิง).

ดู หอมใหญ่และราดิช

ละก์ซา

ละก์ซา (laksa) หรือที่ในภาษามลายูปัตตานีเรียกว่า ละซอ (ออกเสียง) เป็นอาหารประเภทก๋วยเตี๋ยวรสเผ็ดของชาวเปอรานากัน อันเป็นการผสมผลานระหว่างวัฒนธรรมจีนและมลายูในประเทศมาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย รวมทั้งทางใต้ของประเทศไท.

ดู หอมใหญ่และละก์ซา

หอม

หอม อาจหมายถึง.

ดู หอมใหญ่และหอม

ออสโซบูโก

นื้อที่ใช้ทำออสโซบูโก ออสโซบูโก (ossobuco) เป็นอาหารอิตาลีที่มีต้นกำเนิดในเมืองมิลาน ปรุงจากเนื้อวัวส่วนน่องหรือเนื้อน่องลายตัดตามขวาง นำมาคลุกแป้งแล้วทอดให้พอสุกWaverley Root, The Food of Italy, 1971, p.

ดู หอมใหญ่และออสโซบูโก

อาร์โรซอาลากูบานา

อาร์โรซอาลากูบานา (arroz a la cubana) หรือบางครั้งเรียกว่า อาร์โรซกูบาโน (arroz cubano) แปลว่า "ข้าวแบบคิวบา" เป็นอาหารสเปนชนิดหนึ่งPaul Richardson, (2008), A Late Dinner: Discovering the Food of Spain, Primera Ed., Bloomsbury Publising, โดยมีส่วนประกอบหลักได้แก่ ข้าวสวย ไข่ดาว และกล้วยทอด ราดด้วยซอสมะเขือเทศผัด เป็นอาหารยอดนิยมชนิดหนึ่งซึ่งมักจะเสิร์ฟเป็นอาหารจานแรกตามร้านอาหารและโรงอาหารในสเปน นอกจากนี้อาร์โรซอาลากูบานายังเป็นที่นิยมในเปรูและฟิลิปปินส์เช่นกัน โดยได้รับการเผยแพร่และเป็นที่รู้จักในฟิลิปปินส์ตั้งแต่สมัยที่หมู่เกาะแห่งนี้เป็นอาณานิคมของสเปน.

ดู หอมใหญ่และอาร์โรซอาลากูบานา

อาหารม้ง

ซุปหัวแพะของชาวม้งในตลาดเวียดนาม อาหารม้งเป็นอาหารของชาวม้งที่พบส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีนตอนใต้ และชุมชนม้งอเมริกันในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นอาหารที่มีเอกลักษณ์ แต่ได้รับอิทธิพลจากอาหารลาว อาหารไทย อาหารเวียดนามและอาหารจีน อาหารม้งแตกต่างกันไปบ้างตามภูม.

ดู หอมใหญ่และอาหารม้ง

อาหารตามสั่ง

้าวผัด หนึ่งในอาหารตามสั่งที่นิยม อาหารตามสั่ง เป็นอาหารที่ทำตามที่ลูกค้าสั่ง มักเป็นอาหารที่ใช้วัตถุดิบง่าย ๆ การทำที่ไม่ยุ่งยากมาก มีสถานที่ตั้งร้าน ที่อาจเป็นบ้านของตนเองหรือร้านเช่า มีทำเลตั้งอยู่แหล่งชุมชน หรือหมู่บ้านจัดสรร หรืออาจใกล้กับสถานที่ราชการ สำนักงาน มหาวิทยาลัย โรงเรียน ตลาด เป็นต้น วัตถุดิบของอาหาร ประเภทผักเช่น ผักคะน้า ผักกาดขาว กะหล่ำปลี ข้าวโพดอ่อน แครอท มะเขือเทศ ผักชี ต้นหอม กะเพรา หอมหัวใหญ่ มะนาว มะกรูด โหระพา พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า กระเทียม หอมแดง ส่วนวัตถุดิบประเภทเนื้อสัตว์เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อวัว กุ้ง ปลาหมึก ปลา เครื่องปรุงอาหารทั่วไปได้แก่ น้ำมันพืช น้ำมันหอย น้ำปลา ซีอิ๊วขาว ซีอิ๊วดำ น้ำซอส (ถั่วเหลือง) น้ำตาลทราย เกลือป่น พริกไทยป่น ไข่ไก่ เมนูอาหารตามสั่งที่เป็นที่นิยมได้แก่ ข้าวผัดกะเพรา ไข่ดาว, ข้าวผัด, ข้าวไข่เจียว, ข้าวหมูกระเทียม, ข้าวราดผัดผัก, ถั่วฝักยาวผัดพริกแกงราดข้าว, ผัดพริกสดราดข้าว, สุกี้, ราดหน้า ผัดซีอิ๊ว.

ดู หอมใหญ่และอาหารตามสั่ง

อาหารไทย

ต้มยำกุ้ง อาหารไทย เป็นอาหารประจำของประเทศไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีต จนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของไทย อาหารที่ขึ้นชื่อที่สุดของคนไทย คือ น้ำพริกปลาทู พร้อมกับเครื่องเคียงที่จัดมาเป็นชุด จากผลการสำรวจ 50 อาหารที่อร่อยที่สุดในโลกปี 2554 โดยซีเอ็นเอ็น (CNN) ผลปรากฏว่า อาหารไทยติดหลายอันดับ ได้แก่ ส้มตำ อันดับที่ 46, น้ำตกหมู อันดับที่ 19, ต้มยำกุ้ง อันดับที่ 8 และ แกงมัสมั่น ติดอันดับที่ 1.

ดู หอมใหญ่และอาหารไทย

อาหารเชน

อาหารแบบดั้งเดิมของผู้นับถือศาสนาเชน เป็นมังสวิรัติอย่างสมบูรณ์และยังไม่รับประทานหัวหอมและกระเทียมใกล้เคียงกับอาหารแบบ shojin-ryori ของญี่ปุ่น อาหารที่รับประทานได้เรียก สัตวิก (satvic) ส่วนหัวหอมและกระเทียมถือว่าเป็นตามาสิก (tamasic) อาหารเชนที่เข้มงวดจะไม่รับประทานมันฝรั่งและรากพืชอื่นๆ เพราะเมื่อรากถูกดึงขึ้น ต้นพืชจะตาย เนื่องมาจากความเชื่อของศาสนาเชนที่ถือว่าทุกอย่างมีวิญญาณ เชนจะไม่ใช้ความรุนแรงในระดับที่เข้มงวดมากและเคารพต่อชีวิตของพืชด้วย พวกเขาต้องแน่ใจว่าการดำเนินชีวิตของพวกเขาจะไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อสิ่งมีชีวิตใดๆ ทำให้อาหารเชนประกอบด้วยธัญพืชเช่นข้าวสาลี ข้าว เพราะพืชเหล่านี้จะให้ผลก็ต่อเมื่ออายุของพวกเขาจะสิ้นสุดลง ผักและผลไม้ที่รับประทานได้จะต้องสุกบนต้นและร่วงหล่น นอกจากนี้ยังหลีกเลี่ยงสุราใด ๆ เพื่อให้พวกเขาสามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีสติ ปรัชญาอาหารด้านอื่น ๆ ของพวกเขาคือพวกเขาให้อาหารแก่คนยากจนเป็นประจำ ไม่ทิ้งอาหารใด ๆ ดื่มน้ำที่กรองแล้ว และกินอาหารหลังจากพระอาทิตย์ขึ้นและก่อนพระอาทิตย์ตกดิน (เพื่อหลีกเลี่ยงการรับประทานแมลงที่อาจจะมาตอมอาหาร) เป็นที่รู้จักกันมากว่าอาหารเชนไม่รับประทานอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของอาหารอินเดียเช่นหัวหอมและมันฝรั่ง ด้วยเหตุนี้อาหารเชนได้พัฒนาสิ่งใหม่ๆที่ไม่ซ้ำกันขึ้นมาแทน เช่นใช้เปลือกแตงโมแทนมันฝรั่ง หรือการใส่ผลไม้สดเช่นองุ่นและมะม่วงในแกง.

ดู หอมใหญ่และอาหารเชน

อาหารเยอรมัน

อาหารการกินของชาวเยอรมันจะต่างกันไปตามภูมิภาค แคว้นทางใต้ เช่น บาวาเรีย (Bavaria) อาหารจะคล้ายกับประเทศเพื่อนบ้านทางตอนใต้ คือ สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรีย ส่วนทางตะวันตกจะกรุ่นไปด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมฝรั่งเศส ในขณะที่อาหารทางตะวันออกจะใกล้เคียงกับอาหารทางยุโรปตะวันออก และอาหารบริเวณชายฝั่งทางตอนเหนือจะใกล้เคียงกับอาหารแถบสแกนดิเนเวี.

ดู หอมใหญ่และอาหารเยอรมัน

อูรัป

อูรัป (ล่างขวา) ซึ่งกินกับนาซีกูนิง อูรัป (urap) หรือ อูรัป-อูรัป (urap-urap) หรือยำมะพร้าว เป็นยำผักสุกตามฤดูกาลและใส่มะพร้าวแห้ง เป็นอาหารอินโดนีเซียที่พบได้ทั่วไป โดยเฉพาะในอาหารชวา สามารถกินเดี่ยว ๆ ในรูปของอาหารมังสวิรัติได้ หรือเป็นเครื่องเคียงของอาหารจานเนื้อ เช่นในอาหารชวาใช้กินกับตุมเปิง (ข้าวพูนสูงเป็นรูปกรวย) หรือนาซีกูนิง (ข้าวหุงกับกะทิ ใส่ขมิ้น).

ดู หอมใหญ่และอูรัป

ฮอตดอก

อตดอก (hot dog, hotdog) เป็นไส้กรอกนึ่งหรือย่างซึ่งวางในขนมปังที่ผ่ากลางแนวยาว โดยรับประทานในรูปแบบคล้ายแซนด์วิช ชื่อของฮอตดอกอาจทำให้บางบุคคลคิดว่ามีเนื้อสุนัขเป็นส่วนประกอบหลัก แต่เนื้อสัตว์ที่นิยมใช้ทำฮอตดอกคือเนื้อวัว, หมู หรือ ไก่ หรืออาจเป็นเนื้อสัตว์สามหรือสองชนิดนี้ผสมรวมกันก็ได้ เครื่องปรุงที่นิยมรับประทานข้างเคียงได้แก่ มัสตาร์ด, ซอสมะเขือเทศ, หอมใหญ่, มายองเนส, แตงกวาดอง, เนยแข็ง, ชีลีกอนการ์เน และเซาเออร์เคราท์ โดยทั่วไปมักเชื่อว่าฮอตดอกมีแหล่งกำเนิดจากชาวเยอรมันที่อพยพไปอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา จนทำให้เป็นอาหารข้างถนนที่มีความนิยมสูงในสหรัฐอเมริกา โดยถือว่าเป็นอาหารอเมริกันได้เลยทีเดียว ในสหรัฐอเมริกา ฮอตดอกส่วนใหญ่มักมีจำหน่ายตามรถขายอาหารเคลื่อนที่ซึ่งมักอยู่ใกล้บริเวณสนามเบสบอล จนทำให้เป็นอาหารที่ชาวอเมริกันทุกคนนึกถึงเมื่อไปชมเบสบอล แต่ความจริงแล้ว ฮอตดอกถือกำเนิดมานานกว่า 3,500 ปีแล้วในยุคบาบิโลเนีย มีลักษณะเป็นเนื้อหมักเครื่องเทศ ยัดไว้ในไส้สัตว์ ชาวโรมันเรียกอาหารประเภทนี้ว่า "Salsus" และเป็นที่ของคำว่า "Sausage" หรือไส้กรอกในภาษาอังกฤษ ในยุคกลาง เมืองต่าง ๆ ของทวีปยุโรปได้พัฒนาสูตร รสชาติ และรูปร่างของไส้กรอกของตนเอง และตั้งชื่อไส้กรอกตามชื่อเมืองที่เป็นถิ่นกำเนิด เช่น ไส้กรอกเวียนนา เป็นต้น ที่มาของคำว่า "ฮอตดอก" ที่แปลว่า "หมาร้อน" มาจาก ในปี..

ดู หอมใหญ่และฮอตดอก

จังหวัดเชียงใหม่

ังหวัดเชียงใหม่ (40px เจียงใหม่) เป็นจังหวัดหนึ่งของไทย ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ มีประชากร 1,746,840 คน มากเป็นอันดับ 5 ของประเทศ ในจำนวนนี้เป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและชานเมือง 960,906 คน โดยจังหวัดเชียงใหม่ทิศเหนือติดต่อกับรัฐฉานของเมียนมา จังหวัดเชียงใหม่ จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สองของประเทศไทย รองจากกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ โดยมีอำเภอเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของจังหวัด เมื่อ พ.ศ.

ดู หอมใหญ่และจังหวัดเชียงใหม่

ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)

#ทอร์เบราว์เซอร์ --> ทอร์ (Tor) เป็นซอฟต์แวร์เสรี (ฟรี) ที่ช่วยให้สื่อสารทางอินเทอร์เน็ตอย่างนิรนามได้ด้วยการจัดเส้นทางการสื่อสารแบบหัวหอม รวมทั้งช่วยให้สามารถเรียกดูเว็บไซต์บางแห่งที่ถูกเซ็นเซอร์ได้ ส่วนชื่อเป็นอักษรย่อจากโปรเจ็กต์ซอฟต์แวร์ดั้งเดิมคือ "The Onion Router" (เราเตอร์หัวหอม) ทอร์ส่งการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายทั่วโลก ฟรี ให้บริการโดยอาสาสมัคร และมีสถานีส่งต่อ/รีเลย์มากกว่า 7,000 สถานี เพื่อซ่อนตำแหน่งและการใช้งานของผู้ใช้จากใครก็ได้ที่ทำการเพื่อสอดแนมทางเครือข่าย หรือเพื่อวิเคราะห์การสื่อสาร เพราะการใช้ทอร์จะทำให้ตามรอยกิจกรรมทางอินเทอร์เน็ตกลับไปหาผู้ใช้ได้ยากขึ้น ซึ่งรวมทั้ง "การเยี่ยมใช้เว็บไซต์ การโพสต์ข้อความออนไลน์ การส่งข้อความทันที และรูปแบบการสื่อสารอื่น ๆ" ทอร์มุ่งหมายเพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ รวมทั้งป้องกันเสรีภาพและให้สมรรถภาพในการสื่อสารอย่างเป็นส่วนตัว โดยป้องกันการสื่อสารไม่ให้เฝ้าสังเกตได้ การจัดเส้นทางแบบหัวหอม (Onion routing) ทำให้เกิดผลโดยการเข้ารหัสลับในชั้นโปรแกรมประยุกต์ของโพรโทคอลสแตกที่ใช้ในการสื่อสาร โดยทำเป็นชั้น ๆ เหมือนกับของหัวหอม คือทอร์จะเข้ารหัสข้อมูล รวมทั้งเลขที่อยู่ไอพีของโหนดหรือสถานีต่อไปเป็นชั้น ๆ แล้วส่งข้อมูลผ่านวงจรเสมือนที่ประกอบด้วยสถานีรีเลย์ของทอร์ที่เลือกโดยสุ่มเป็นลำดับ ๆ สถานีรีเลย์แต่ละสถานีจะถอดรหัสชั้นการเข้ารหัสชั้นหนึ่ง เพื่อหาว่า สถานีไหนเป็นรีเลย์ต่อไปในวงจร แล้วส่งข้อมูลเข้ารหัสที่เหลือไปให้ สถานีสุดท้ายจะถอดรหัสชั้นลึกสุด แล้วส่งข้อมูลดั้งเดิมไปยังเป้าหมายโดยไม่เปิดเผยและก็ไม่รู้ด้วยถึงเลขที่อยู่ไอพีซึ่งเป็นแหล่งเบื้องต้น เพราะการจัดเส้นทางการสื่อสารจะปิดไว้ส่วนหนึ่ง ณ สถานีเชื่อมต่อทุก ๆ สถานีภายในวงจร วิธีการนี้กำจัดจุด ๆ เดียวชนิดที่การสอดแนมทางเครือข่ายอาจกำหนดต้นปลายการสื่อสาร แต่ฝ่ายตรงข้ามก็อาจพยายามระบุผู้ใช้โดยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งอาจทำได้โดยการถือเอาประโยชน์จากจุดอ่อนของซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ เช่น สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐมีเทคนิคที่ใช้จุดอ่อนหนึ่งที่ตั้งชื่อรหัสว่า EgotisticalGiraffe ในเว็บเบราว์เซอร์มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ล้าสมัยรุนหนึ่ง ที่เคยรวมแจกจ่ายกับชุดโปรแกรมทอร์ และโดยทั่วไป สำนักงานจะเพ่งเล็งเฝ้าสังเกตผู้ใช้ทอร์ในโปรแกรมการสอดแนม XKeyscore ขององค์กร การโจมตีทอร์เป็นประเด็นงานวิจัยที่ยังดำเนินการอยู่ ซึ่งโปรเจ็กต์ทอร์เองก็สนับสนุน อย่างไรก็ดี ไม่ใช่เพียงแค่ครั้งหนึ่งเท่านั้นเมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 ที่ทอร์ได้พัฒนาขึ้นโดยบุคคลที่อยู่ใต้สัญญาการว่าจ้างจากสำนักงานโปรเจ็กต์การวิจัยก้าวหน้าของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ (DARPA) และจากแล็บวิจัยกองทัพเรือสหรัฐ (U.S.

ดู หอมใหญ่และทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)

ข้าวผัดอเมริกัน

้าวผัดอเมริกัน ข้าวผัดอเมริกัน (American fried rice) เป็นข้าวผัดที่ผัดด้วยซอสมะเขือเทศ นิยมผัดกับเนยมากกว่าน้ำมัน มักใส่ลูกเกดด้วยเสมอ อาจมีเมล็ดถั่วลันเตา หัวหอมหั่นชิ้นเล็ก ๆ และแฮมหั่นชิ้นเล็ก ๆ ผัดรวมกันด้วยก็ได้ โดยมีไก่ทอด ไก่ย่าง ไก่อบ ไส้กรอก แฮม และไข่ดาว เป็นเครื่องประกอ.

ดู หอมใหญ่และข้าวผัดอเมริกัน

ดิอะเมซิ่งเรซ 15

อะเมซิ่ง เรซ 15 (The Amazing Race 15) เป็นฤดูกาลที่ 15 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส ซึ่งฤดูกาลนี้จะเริ่มฉายในวันที่ 28 กันยายน..

ดู หอมใหญ่และดิอะเมซิ่งเรซ 15

คิมชีจีแก

มชีจีแก หรือ ซุปกิมจิ เป็นอาหารเกาหลีมีลักษณะซุปและจัดเสิร์ฟในหม้อร้อน โดยมีส่วนประกอบได้แก่ กิมจิ (คิมชี) หัวหอม เต้าหู้ และเนื้อสัตว์ซึ่งอาจจะเป็นเนื้อหมูหรืออาหารทะเล คิมชีจีแกมีรสชาติเผ็ดกลมกล่อม.

ดู หอมใหญ่และคิมชีจีแก

คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 54

ันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร (ยศขณะนั้น)นายกรัฐมนตรีคนที่ 23หัวหน้าคณะรัฐมนตรีคณะที่ 54 คณะรัฐมนตรีคณะที่ 54 (17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.

ดู หอมใหญ่และคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 54

คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 55

ณะรัฐมนตรีคณะที่ 55 (11 มีนาคม พ.ศ. 2548 - 19 กันยายน พ.ศ. 2549) พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร (ยศขณะนั้น) เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2548 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ นายโภคิน พลกุล ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 11 มีนาคม 2548 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี.

ดู หอมใหญ่และคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 55

ตอร์ตียาเดปาตาตัส

ียวสเปน (tortilla española) หรือ ไข่เจียวมันฝรั่ง (tortilla de patatas) เป็นอาหารสเปนแบบต้นฉบับ ประกอบด้วยไข่เจียว ซึ่งนำไปทอดกับมันฝรั่ง แต่ในบางพื้นภาค สามารถใส่หัวหอมและกระเทียมได้ด้วยแล้วแต่ความชอบของผู้บริโภค ไข่เจียวสเปนคือหนึ่งในตาปา (ของว่างเรียกน้ำย่อย) ที่พบได้มากที่สุดทั่วไปในประเทศสเปน และเป็นอาหารจานโปรดเมื่อชาวสเปนไปปิกนิกเพราะสามารถรับประทานแบบร้อนหรือเย็นได้ บางครั้งเราเรียกแต่ละส่วนของไข่เจียวสเปนที่จัดเป็นตาปานี้ว่า "ปินโชเดตอร์ติยา" (pincho de tortilla) เพราะแผ่นไข่เจียวมีการตัดออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ โดยแต่ละชิ้นมีการเสียบด้วยไม้จิ้มฟันดั่งอาหารค็อกเทล.

ดู หอมใหญ่และตอร์ตียาเดปาตาตัส

ต้มจิ๋ว

ต้มจิ๋วหรือต้มจิ่ว เป็นอาหารไทยโบราณ เป็นต้มรสเผ็ดร้อน เค็มนำเปรี้ยว ใส่ใบโหระพา หอมหัวใหญ่ นิยมต้มกับเนื้อวัวที่ติดเอ็นหรือเนื้อน่องลาย ใส่อบเชย มันฝรั่งหรือมันเทศ มะเขือเทศ โรยหอมเจียว ลักษณะคล้ายซุปหางวัว.

ดู หอมใหญ่และต้มจิ๋ว

ซอสทาร์ทาร์

ซอสทาร์ทาร์ (tartar sauce; ในสหราชอาณาจักร, นิวซีแลนด์และออสเตรเลีย สะกด tartare sauce) เป็นซอสที่มีส่วนผสมหลักคือ มายองเนส รสหวานมันเปรี้ยว ใช้ทานคู่กับอาหารทะเล ซอสทาร์ทาร์ปรากฏอยู่ในหนังสือทำอาหารมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 โดยมาจากภาษาฝรั่งเศส คือ sauce tartare สันนิษฐานว่ามาจากนามของชาวตาตาร์ ชนเผ่าเร่ร่อนในเอเชียกลาง สูตรของซอสชนิดนี้มีหลากหลาย นอกจากมายองเนส (หรือผสมไข่แดง, มัสตาร์ด, น้ำส้มสายชูและน้ำมันพืช เข้าด้วยกัน) ยังมีส่วนผสมอื่น ๆ เช่น หัวหอม, พริกไทยดำ, พาร์สลีย์ และผักดอง ซอสทาร์ทาร์นิยมทานร่วมกับอาหารทะเล โดยเฉพาะกับเนื้อปล.

ดู หอมใหญ่และซอสทาร์ทาร์

ซัมบัล

ซัมบัล (อินโดนีเซียและsambal) เป็นอาหารที่ปรุงจากพริก มีลักษณะคล้ายน้ำพริกในอาหารไทย เป็นที่นิยมในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และภาคใต้ของฟิลิปปินส์ และศรีลังกา รวมทั้งในเนเธอร์แลนด์และซูรินามซึ่งได้รับอิทธิพลจากอาหารชวา ทำได้ทั้งจากพริกขี้หนูและพริกอื่น ๆ บางชนิดมีรสเผ็ดมาก ซัมบัลเป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากคำในภาษาชวาว่า ซัมเบ็ล ซึ่งยืมมาใช้ในภาษามาเลเซียและภาษาอินโดนีเซี.

ดู หอมใหญ่และซัมบัล

ซุปกัมบิง

ซุปกัมบิง (มลายูและsup kambing) หรือ ซปกัมบิง (sop kambing) เป็นซุปเนื้อแพะที่พบทั่วไปในอาหารมาเลเซียและอาหารอินโดนีเซีย ใส่เนื้อแพะ มะเขือเทศ เซเลอรี หัวหอม ขิง แคนเดิลนัต และใบมะกรูด สีของซุปออกสีเหลือง ในอินโดนีเซียจะใส่เครื่องเทศ ส่วนผสมคล้ายกับซุปบุนตุตหรือซุปหางวัว นิยมใช้เนื้อแพะส่วนที่เป็นซี่โครง ถ้าใส่เครื่องในของหัวแพะ เรียก "ซุปเกอปาลากัมบิง" ซึ่งจะใส่ทั้งลิ้น หู ปาก เนื้อ ตา และบางครั้งใส่สมองด้วย ในอินโดนีเซีย อาหารนี้เป็นที่นิยมทั่วไป แต่มีความเกี่ยวข้องกับอาหารมลายูและอาหารเบอตาวีที่พบทั่วไปในชวา ชาวชวานิยมนำเนื้อแพะไปปรุงเป็นตงเซ็งหรือกูไลแบบชวามากกว่า ในเทศกาลอีดิลอัฎฮา ซุปกัมบิงเป็นที่นิยมรับประทานคู่ไปกับกูไลและสะเต๊ะแพะ ในมาเลเซีย ซุปกัมบิงได้รับอิทธิพลจากอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์มลายูและอินเดียซึ่งใช้เครื่องเท.

ดู หอมใหญ่และซุปกัมบิง

ซีนีกัง

ซีนีกัง เป็นอาหารฟิลิปปินส์ประเภทต้ม มีรสเปรี้ยว ปรุงกับเนื้อสัตว์ได้หลายชนิด เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว ไก่ ปลา กุ้ง ผักที่นิยมใส่ได้แก่ ผักบุ้ง ผักกาดไร่ ผักกวางตุ้ง ผักกาดหัว เผือก มะเขือม่วง กระเจี๊ยบเขียว พริกชี้ฟ้า มะเขือเทศ หอมแดง ถั่วฝักยาว ถั่วแขก ถั่วพู ปรุงรสเปรี้ยวด้วยมะขามหรือใส่ผักที่มีรสเปรี้ยวลงไป เช่น มะม่วงดิบ ยอดมะขาม ฝักมะขามอ่อน ตะลิงปลิง ฝรั่งสุก หรือกระท้อนดิบ ซีนีกังที่ทำจากเนื้อหมู ซีนัมปาลูกังมาโนก (ซีนีกังที่ทำจากไก่ใส่ใบมะขามอ่อน).

ดู หอมใหญ่และซีนีกัง

ประเทศตองงา

ตองงา (อังกฤษและTonga) มีชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรตองงา (Kingdom of Tonga; Puleʻanga Fakatuʻi ʻo Tonga ปูเลอางา ฟากาตูอีโอโตงา) เป็นประเทศหมู่เกาะในภูมิภาคพอลินีเชีย ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างประเทศนิวซีแลนด์กับรัฐฮาวายของสหรัฐอเมริกา โดยทะเลอาณาเขตทางตะวันตกติดกับประเทศฟิจิ ส่วนทางตะวันออกติดกับหมู่เกาะคุก นีวเว และอเมริกันซามัว ในขณะที่ทางทิศเหนือติดกับหมู่เกาะวาลิสและฟูตูนา ประเทศซามัว และอเมริกันซามัว ชื่อประเทศในภาษาตองงาแปลว่าทิศใต้ นอกจากนี้ประเทศนี้ได้รับฉายาว่า หมู่เกาะมิตรภาพ จากกัปตันเจมส์ คุก ประเทศตองงาเป็นประเทศขนาดเล็กมีเนื้อที่เพียง 747 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอันดับที่ 189 ของโลก หมู่เกาะตองงาประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ประมาณ 169 เกาะ โดยมีเพียง 36 เกาะเท่านั้นที่มีผู้อยู่อาศัย เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะโตงาตาปู ซึ่งเป็นที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองคือนูกูอาโลฟา เกาะส่วนใหญ่ของตองงาเป็นเกาะที่เกิดจากการทับถมของปะการัง ประชากรของตองงามีทั้งสิ้น 103,036 คน นับเป็นอันดับที่ 192 ของโลก สันนิษฐานว่ามนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยในตองงาครั้งแรกเมื่อ 826 ± 8 ปีก่อนคริสตกาล ตองงาเริ่มก่อตั้งอาณาจักรเป็นของตนเองในปี..

ดู หอมใหญ่และประเทศตองงา

ปอโตเฟอ

ปอโตเฟอ (pot-au-feu,, แปลตามตัวอักษรว่า "หม้อบนไฟ") เป็นสตูเนื้อแบบฝรั่งเศส เชฟแรมง บล็อง กล่าวว่า ปอโตเฟอเป็นอาหารที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศฝรั่ง.

ดู หอมใหญ่และปอโตเฟอ

นิวคลีโอลิน

นิวคลีโอลิน (Nucleolin) เป็นโปรตีนที่พบในเซลล์ยูคาริโอต ในมนุษย์กำหนดโดยยีน NCL เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ไรโบโซม พบในบริเวณที่คล้ายเส้นใยในนิวคลีโอลัส ในพืชพบครั้งแรกในรากหอมหัวใหญ่ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคลายตัวของโครมาติน พบร่วมกับส่วนประกอบอื่นของนิวคลีโอลัสระหว่างการแบ่งเซลล์แบบไมโทซ.

ดู หอมใหญ่และนิวคลีโอลิน

น้ำจิ้ม

''น้ำจิ้มแป๊ะซะ'' น้ำจิ้ม เป็นเครื่องชูรสอาหารที่แพร่หลายในประเทศไทย ประกอบไปด้วยรสเค็ม, รสหวาน, รสเผ็ด และรสเปรี้ยว โดยน้ำจิ้มมักจะเหลวมากกว่าน้ำพริก ยกเว้นซอสศรีราชาซึ่งสามารถเรียกได้ทั้งน้ำจิ้มศรีราชาและน้ำพริกศรีราชา น้ำจิ้มสามารถรับประทานกับอาหารประเภทย่างและนึ่งได้ โดยน้ำจิ้มนี้ประกอบไปด้วยกระเทียม, น้ำปลา, น้ำมะนาว และพริกขี้หนู.

ดู หอมใหญ่และน้ำจิ้ม

น้ำตา

กายวิภาคของอวัยวะอันเกี่ยวข้องกับน้ำตาBreak a) ต่อมน้ำตาBreak b) จุดน้ำตาชั้นบนBreak c) ท่อทางเดินน้ำตาชั้นบนBreak d) ถุงน้ำตาBreak e) จุดน้ำตาชั้นล่างBreak f) ท่อทางเดินน้ำตาชั้นล่างBreak g) คลองท่อน้ำตา น้ำตา เกิดจากการหลั่งน้ำตา (Lacrimation หรือ lachrymation) ที่มีหน้าที่ทำความสะอาดและหล่อลื่นดวงตาเพื่อตอบสนองต่ออาการระคายเคืองตา น้ำตาที่เกิดจากการร้องไห้มีผลมาจากความรู้สึกรุนแรงภายใน เช่น ความโศกเศร้า ความปิติยินดี อารมณ์ ความกลัวเกรง หรือความยินดี การหัวเราะและการหาวก็สามารถทำให้เกิดน้ำตาได้.

ดู หอมใหญ่และน้ำตา

แกง

อาหารไทยประเภทแกง เป็นอาหารที่มีความหลากหลาย และมีความแตกต่างไปในแต่ละภาค โดยเอกลักษณ์ร่วมกันของอาหารประเภทนี้คือใส่น้ำพริกแกงที่ประกอบด้วยพริก กะปิ และเครื่องแกงอื่น.

ดู หอมใหญ่และแกง

โมโม (อาหาร)

มโม (མོག་མོག་; Wylie: mog mog) เป็นเกี๊ยวหรือขนมจีบที่มีต้นกำเนิดในทิเบต กลายเป็นอาหารประจำชาติของชาวเนวาร์ ชาวเชอร์ปา ชาวลิมบู Gurungs และ Magars ของเนปาลและชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ของประเทศเนปาล คล้ายกับ buuz ของมองโกเลียและ jiaozi ของจีน คำว่า "โมโม" ในภาษาทิเบตเป็นคำยืมจากภาษาจีน mómo (馍馍).

ดู หอมใหญ่และโมโม (อาหาร)

โดมทรงหัวหอม

รายละเอียดของโดมทรงหัวหอมบนมหาวิหารเซนต์เบซิล ในกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย โดมทรงหัวหอม (луковичная глава; onion dome) เป็นอาคารทรงโดมแบบหนึ่ง มักจะสร้างเป็นโบสถ์ของศาสนาคริสต์นิกายรัสเซียนออร์ทอดอกซ์ ส่วนที่เป็นโดมนั้นจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่าส่วนฐานที่รองรับด้านล่าง และมักมีความสูงมากกว่าความกว้าง อาคารขนาดเหล่านี้มียอดแหลมและลายเกลียวคล้ายกับหัวหอม ด้วยเหตุนี้จึงนิยมเรียกกันว่า "โดมทรงหัวหอม" หลังคาครอบที่สำคัญแบบอื่น ๆ ของโบสถ์นิกายนี้ คือ "โดมทรงหมวกเหล็ก" (helmet dome) (เช่น โดมของวิหารเซนต์โซเฟีย ในเมืองนอฟกอรอด และวิหารอัสสัมชัญ ในเมืองวลาดีมีร์ ประเทศยูเครน นอกจากนี้ยังมี "โดมทรงลูกแพร์" (pear domes) เช่น วิหารเซนต์โซเฟียในเมืองเคียฟ และ "โดมดอกบัวตูม" (bud dome) สถาปัตยกรรมบาโรก (เช่น โบสถ์เซนต์แอนดรูส์ในเคียฟ).

ดู หอมใหญ่และโดมทรงหัวหอม

เบเกิล

กิลกับครีมชีส และ ปลาแซลมอนรมควัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของครัวอเมริกัน-ยิว เบเกิล (bagel, beigel) กำเนิดในประเทศโปแลนด์ มีลักษณะเป็นรูปวงแหวน ทำจากแป้งสาลี ขนาดประมาณ 1 กำมือ นำไปต้มในน้ำเดือดสักพักหนึ่ง แล้วนำไปอบต่อ จะได้เนื้อภายในที่แน่นและนิ่ม กับเนื้อภายนอกสีอมน้ำตาล มักโรยหน้าด้วยงาดำ บ้างอาจโรยเกลือบนเบเกิล ทั้งยังมีแป้งประเภทต่าง ๆ ที่ใช้เป็นวัตถุดิบ เช่น ข้าวไรย์ หรือแป้งจากธัญพืชไม่ขัดสีEncyclopædia Britannica (2009), retrieved February 24, 2009 from Encyclopædia Britannica Online เบเกิลเป็นที่นิยมในประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในเมืองที่มีประชากรชาวยิวอาศัยจำนวนมาก วิธีการทำเบเกิลนั้นมีหลากหลาย เช่น เบเกิลที่ทำในเบเกอรี หรือเบเกิลประเภทแช่แข็งที่หาซื้อได้ตามซูเปอร์มาร์เก็ตในประเทศเหล่านั้น เบเกิลชนิดที่เป็นวงกลมและมีรูตรงกลางออกแบบมาเมื่อหลายร้อยปีก่อน ซึ่งมีข้อดีหลาย ๆ อย่าง นอกจากการอบ ยังสามารถหยิบจับง่ายและยังเป็นจุดเด่นทำให้น่าสนใจอีกด้ว.

ดู หอมใหญ่และเบเกิล

เพรียงหัวหอม

รียงหัวหอม (Sea squirts) เป็นสัตว์ในกลุ่มยูโรคอร์ดาตา คือ เป็นสัตว์ทะเลมีแกนสันหลัง รูปร่างคล้ายหัวหอม เมื่อถูกสัมผัสจะปล่อยน้ำออกจากตัว มีกลิ่นคล้ายหอมแดง ขนาดประมาณ 3-8 เซนติเมตร อาศัยเกาะกับวัตถุใต้น้ำ อยู่แบบเดี่ยว ๆ หรือเป็นกลุ่มก็ได้ พบตามเขตน้ำตื้น แนวปะการัง โขดหิน ทราย หรือโคลนในทะเล ตัวอ่อนมีลักษณะคล้ายลูกอ๊อดของกบ การสืบพันธุ์มีทั้งแบบอาศัยเพศที่ปฏิสนธิภายนอก และแบบไม่อาศัยเพศโดยการแตกหน่อ เพรียงหัวหอม แม้จะเป็นสัตว์ที่แลดูคล้ายฟองน้ำ แต่เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการสูงกว่าหน้า 66–89, ความงามใต้โลกน้ำแข็ง โดย โลรอง บาเลสต.

ดู หอมใหญ่และเพรียงหัวหอม

เฝอ

ฝอเนื้อไก่ เฝอ (phở, ออกเสียง: เฝ่อเอ๋อ เสียงเอกท้ายจัตวา) เป็นอาหารเวียดนามชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายก๋วยเตี๋ยวของไทย แต่ต่างกันที่เส้น น้ำซุป และเครื่องเคียง และบางครั้งก็เรียกเป็น ก๋วยเตี๋ยว/กวยจั๊บ-เวียดนาม/ญวน เฝอเป็นอาหารที่ประกอบด้วยเส้นก๋วยเตี๋ยวที่เรียกว่า บั๊ญเฝอ (bánh phở) คล้ายเส้นเล็กแต่กว้างกว่า หรือเป็นเส้นกลมสีขาวขนาดใหญ่กว่าขนมจีนเล็กน้อย ในน้ำซุปที่เคี่ยวจากเนื้อวัว (หรือเนื้อไก่) กระดูก หางวัว และเครื่องเทศบางชนิด เช่น อบเชยไซ่ง่อน เมล็ดดอกจัน ขิง กานพลู กระวานดำ เป็นต้น และตกแต่งด้วยหัวหอม ต้นหอม ผักชี ผักชีฝรั่ง สะระแหน่ โหระพา มะนาวหรือเลมอน ถั่วงอก และพริกหยวก ซึ่งสี่อย่างหลังมักจะแยกไว้เป็นอีกจานต่างหาก เพื่อให้ผู้รับประทานเติมได้ตามชอบ สำหรับซอสบางอย่างที่เป็นที่นิยมได้แก่ ซอสฮอยซิน น้ำปลา และซอสพริกศรีร.

ดู หอมใหญ่และเฝอ

เม็ดพาชีเนียน

ม็ดพาชีเนียน (Pacinian corpuscles) หรือ Lamellar corpuscles (เม็ดเป็นชั้น ๆ) เป็นตัวรับแรงกล (mechanoreceptor) หุ้มปลายพิเศษหลักอย่างหนึ่งในสี่อย่างที่ผิวหนังซึ่งไม่มีขน เป็นปลายประสาทที่หุ้มด้วยเซลล์ซึ่งไม่ใช่เซลล์ประสาท (schwann cell) มีลักษณะเป็นชั้น ๆ คล้ายหัวหอมที่เต็มไปด้วยน้ำในระหว่างชั้น โดยชั้นนอกสุดจะหนาเป็นพิเศษและชั้นในสุดจะต่างจากชั้นอื่น ๆ ทั้งทางกายวิภาคและทางเคมีภูมิคุ้มกัน เม็ดอยู่ในผิวหนังที่ไวต่อแรงสั่นและการเปลี่ยนแรงดัน โดยอยู่ในหนังแท้ใต้ผิวหนังประมาณ 2-3 มม.

ดู หอมใหญ่และเม็ดพาชีเนียน

เรินดัง

รินดัง (rendang) เป็นอาหารที่ปรุงด้วยเนื้อที่มีรสเผ็ด จุดกำเนิดเป็นอาหารของชาวมีนังกาเบาในอินโดนีเซีย และเป็นที่นิยมไปทั่วประเทศ เป็นอาหารที่ชาวมีนังกาเบาใช้ในงานเฉลิมฉลองและต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ นอกจากนั้น ยังเป็นที่นิยมในมาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน ภาคใต้ของไทย และภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ลักษณะของอาหารคล้ายแกง แต่โดยวิธีการปรุงไม่จัดว่าเป็นแกง.

ดู หอมใหญ่และเรินดัง

เฮืองเปี๊ยะ

ืองเปี๊ยะ (Heong Peng;; ภาษาจีนฮกเกี้ยน Heong Peah) เป็นอาหารประเภทแพสตรี รูปร่างเป็นทรงกลม ค่อนข้างแบน ไส้เหนียว รสหวาน ทำจากมอลต์และหัวหอม หุ้มด้วยแป้ง อบให้กรอบ โรยงา พบได้ทั่วไปในอีโปะฮ์ และพบได้ทั่วไปในมาเลเซียและสิงคโปร์ อาหารนี้เป็นที่นิยมของชาวจีนในมาเลเซียโดยเฉพาะภาคเหนือของมาเลเซี.

ดู หอมใหญ่และเฮืองเปี๊ยะ

เทศกาลกินเจ

ทศกาลกินเจ หรือ กินแจ (九皇勝會 Jiǔ huán Shèng huì; ฮกเกี้ยน: กิ้วอ๋องเซ่งโห่ย; Nine Emperor Gods Festival หรือ 九皇大帝誕; ฮกเกี้ยน: กิ้วอ๋องไต่เต้ตั้น) หรือบางแห่งเรียกว่า ประเพณีถือศีลกินผัก เป็นประเพณีแบบลัทธิเต๋ารวม 9 วัน กำหนดเอาวันตามจันทรคติ คือ เริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนของทุกปี มีจุดเริ่มต้นจากประเทศจีนมานานแล้ว โดยมีตำนานเล่าขานกันหลายตำนาน ปัจจุบัน เทศกาลกินเจจัดขึ้นในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ตลอดจนหมู่เกาะเรียวในอินโดนีเซียและอาจมีในบางประเทศเอเชีย เช่น ภูฏาน ญี่ปุ่น เกาหลี และประเทศจีน(ประกอบด้วยฮ่องกงและมฑทณไต้หวัน) ซึ่งการกินเจในเดือน 9 นี้ เชื่อกันว่าน่าจะเกิดขึ้นเมื่อราว..

ดู หอมใหญ่และเทศกาลกินเจ

เดาน์อูบีตุมบุก

น์อูบีตุมบุก (daun ubi tumbuk, แปลตรงตัว "ใบมันสำปะหลังตำ") เป็นอาหารจานผักในอาหารปาดัง ทำจากใบมันสำปะหลัง โดยนำใบมันสำปะหลังมาตำในครกไม้หรือปั่น นำมาปรุงกับเครื่องเทศผัด ซึ่งอย่างน้อยที่สุดจะใส่พริกและหัวหอม บางครั้งจะเพิ่มข่า แคนเดิลนัต กระเทียม ตะไคร้ และเครื่องเทศอื่น ๆ เติมกะทิและปลาแห้ง บางครั้งใส่มะเขือพวง การปรุงในยุโรปสามารถใช้ใบคะน้าแทนได้ เดาน์อูบีตุมบุกที่ปรุงโดยชาวดายักในกาลีมันตันจะต้มใบมันสำปะหลังกับหัวหอม ไขมันสัตว์ และเกลือ.

ดู หอมใหญ่และเดาน์อูบีตุมบุก

เค้กหัวหอม

้กหัวหอม (Onion Cake) เป็นเค้กคาวหรือหวานที่ใช้หัวหอมใหญ่เป็นวัตถุดิบหลัก มีเค้กหัวหอมหลายชนิดที่รับประทานในจีน เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ เวลส์และประเทศอื่นๆ เค้กหัวหอมมีหลายรูปแบบและประเภทได้แก่ เล่าปิง พาจอน แพนเค้กต้นหอม เทเซนนีโอนอด และ ซวีเบลคูเชน.

ดู หอมใหญ่และเค้กหัวหอม

เซอรุนเด็ง

ซอรุนเด็ง (serundeng) เป็นมะพร้าวขูดแบบอินโดนีเซียที่ใช้เป็นเครื่องเคียง โดยจะผสมกับเครื่องเทศ หอมใหญ่ พริก กระเทียม ผักชี ขมิ้น น้ำตาล มะขาม ใบเบย์ ใบมะกรูด และข่าซึ่งนำมาบดและผัดให้สุก นำมะพร้าวไปอบให้เหลืองแล้วผสมกับเครื่องที่ผัดไว้ ใส่ถั่วลิสงอบ การใช้กากมะพร้าวที่ไม่ผ่านการคั้นกะทิออกไปจะมีรสชาติดีกว่า นอกจากนั้น ยังนำไปผสมกับเนื้อสัตว์ในอาหารสูตรต่าง ๆ เช่น เซอรุนเด็งดากิง (ผสมกับเนื้อวัว) ใช้โรยบนโซโตหรือข้าวเหนียว ในอินโดนีเซีย เนื้อเซอรุนเด็งมีรสหวานเพราะเพิ่มน้ำตาลมะพร้าว และมีความเกี่ยวข้องกับอาหารชวา เซอรุนเด็งในรูปเครื่องจิ้มแห้ง พบในอาหารเบอตาวีในจาการ์ตาและอาหารมากัสซาร์ในซูลาเวซีใต้ ใช้กินกับโซโต ข้าวเหนียวหรือบูราซา (ข้าวหุงกะทิห่อใบตอง) ในมาเลเซีย คำว่าเซอรุนดิงหมายถึงเนื้อสัตว์ที่มีลักษณะเป็นฝอยไม่ว่าจะใส่มะพร้าวอบหรือไม่ แต่ในอินโดนีเซียเรียกเนื้อสัตว์ลักษณะเป็นฝอยว่าอาบน.

ดู หอมใหญ่และเซอรุนเด็ง

หรือที่รู้จักกันในชื่อ หอมหัวใหญ่หอมแขก

เพรียงหัวหอมเฝอเม็ดพาชีเนียนเรินดังเฮืองเปี๊ยะเทศกาลกินเจเดาน์อูบีตุมบุกเค้กหัวหอมเซอรุนเด็ง