เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา

ดัชนี หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา

หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา หรือ หลอดความร้อน หรือ หลอดไส้ (incandescent light bulb, incandescent lamp หรือ incandescent light globe) ให้แสงสว่างโดยการให้ความร้อนแก่ไส้หลอดที่เป็นลวดโลหะกระทั่งมีอุณหภูมิสูงและเปล่งแสง หลอดแก้วที่เติมแก๊สเฉื่อยหรือเป็นสุญญากาศป้องไม่ให้ไส้หลอดที่ร้อนสัมผัสอากาศ ในหลอดฮาโลเจน กระบวนการทางเคมีคืนให้โลหะเป็นไส้หลอด ซึ่งขยายอายุการใช้งาน หลอดไฟฟ้านี้ได้รับกระแสไฟฟ้าจากเทอร์มินอลต่อสายไฟ (feed-through terminal) หรือลวดที่ฝังในแก้ว หลอดไฟฟ้าส่วนใหญ่ใช้ในเต้ารับซึ่งสนับสนุนหลอดไฟฟ้าทางกลไกและเชื่อมกระแสไฟฟ้าเข้ากับเทอร์มินัลไฟฟ้าของหลอด หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาผลิตออกมาหลายขนาด กำลังส่องสว่าง และอัตราทนความต่างศักย์ ตั้งแต่ 1.5 โวลต์ถึงราว 300 โวลต์ หลอดประเภทนี้ไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์ควบคุมภายนอก มีค่าบำรุงรักษาต่ำ และทำงานได้ดีเท่ากันทั้งไฟฟ้ากระแสสลับหรือกระแสตรง ด้วยเหตุนี้ หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาจึงใช้กันอย่างกว้างขวางในครัวเรือนและไฟฟ้าใช้ในเชิงพาณิชย์ ตลอดจนไฟฟ้าแบบพกพา อย่างเช่น ไฟตั้งโต๊ะ ไฟหน้ารถยนต์ และไฟฉาย และไฟฟ้าสำหรับตกแต่งและโฆษณา บ้างใช้ประโยชน์จากใช้ความร้อนที่เกิดขึ้นจากไส้หลอดของหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา อาทิ เครื่องฟักไข่ กล่องฟักไข่สำหรับสัตว์ปีก ไฟความร้อนสำหรับสวนจำลองสภาพแวดล้อม (vivarium) ของสัตว์เลื้อยคลาน การให้ความร้อนอินฟราเรดในกระบวนการให้ความร้อนและอบแห้งในอุตสาหกรรม ความร้อนส่วนเกินนี้เพิ่มพลังงานที่ต้องใช้ในระบบปรับอากาศของอาคาร หลอดไฟฟ้าแบบอื่นค่อย ๆ แทนที่การใช้งานของหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาหลายด้าน อาทิ หลอดฟลูออเรสเซนต์, หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (หลอดตะเกียบ), หลอดฟลูออเรสเซนต์แคโทดเย็น, หลอดอัดก๊าซความดันสูง และไดโอดเปล่งแสง เทคโนโลยีที่ใหม่กว่าเหล่านี้พัฒนาอัตราส่วนแสงที่มองเห็นได้ต่อการผลิตความร้อน เขตอำนาจบางแห่ง เช่น สหภาพยุโรป อยู่ในระหว่างกระบวนการเลิกใช้หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาและหันไปใช้หลอดไฟที่มีประสิทธิภาพด้านพลังงานมากกว.

สารบัญ

  1. 13 ความสัมพันธ์: การเปล่งแสงลูกบอลไทม์สแควร์สหรัฐหลอดฟลูออเรสเซนต์หลอดแสงจันทร์หลอดแฮโลเจนหลอดไฟฟ้าประสิทธิภาพการแปลงพลังงานไฟฉายไดโอดเพชรโฮปเออร์วิง แลงมิวร์31 ธันวาคม

การเปล่งแสง

รื่องโลหะร้อนเปล่งแสงในช่วงที่มองเห็นได้ รังสีความร้อนนี้ยังขยายไปในช่วงอินฟราเรด ซึ่งมองไม่เห็นด้วยตามนุษย์และกล้องที่จับภาพนี้ แต่กล้องอินฟราเรดจะเห็น การเปล่งแสง (incandescence) คือ การปลดปล่อยแสง ซึ่งเป็นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่มองเห็นได้ จากวัตถุร้อนเนื่องจากอุณหภูมิของมัน ในเชิงปฏิบัติ สสารในสถานะของแข็งหรือของเหลวเกือบทุกชนิดเริ่มเปล่งแสงที่อุณหภูมิประมาณ 798K (525°C) โดยมีสีแดงมัวมาก เพราะไม่มีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นซึ่งทำให้เกิดแสงอันเป็นผลมาจากกระบวนการคายความร้อน ขีดจำกัดนี้เรียกว่า จุดเดรพเพอร์ การเปล่งแสงนั้นไม่ได้หายไปอย่างสิ้นเชิงในอุณหภูมิต่ำกว่านั้น เพียงแต่อ่อนเกินไปในสเปกตรัมที่มองเห็นได้กว่าที่จะสังเกตได้ การเปล่งแสงนั้นเกิดขึ้นในหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา ซึ่งไส้หลอดนั้นได้รับความร้อนจนถึงอุณหภูมิที่ส่วนหนึ่งของรังสีตกอยู่ในช่วงสเปกตรัมที่มองเห็นได้ อย่างไรก็ดี รังสีส่วนใหญ่ปลดปล่อยในช่วงคลื่นอินฟราเรดของสเปกตรัม จึงทำให้หลอดไส้เป็นแหล่งกำเนิดแสงที่ค่อนข้างไร้ประสิทธิภาพ หลอดฟลูออเรสเซนต์ไม่ได้ทำงานโดยหลักการเปล่งแสง แต่ใช้การปล่อยเนื่องจากความร้อนและการกระตุ้นของอะตอมเนื่องจากการชนกับอิเล็กตรอนพลังงานสูงแทน ในหลอดไส้ มีเพียงอิเล็กตรอนบนยอดแถบเท่านั้นที่สามารถชนได้ ขณะที่อุณหภูมิที่สูงขึ้นสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ แต่ปัจจุบันยังไม่มีวัสดุที่สามารถทนอุณหภูมิเช่นนั้นได้ซึ่งเหมาะที่จะใช้ในหลอดไฟ.

ดู หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาและการเปล่งแสง

ลูกบอลไทม์สแควร์

ลูกบอลไทม์สแควร์ปัจจุบันใน ค.ศ. 2012 ลูกบอลไทม์สแควร์ (Times Square Ball) เป็นลูกบอลเวลา (time ball) ซึ่งตั้งอยู่ในไทม์สแควร์ นครนิวยอร์ก บนหลังคาของวันไทม์สแควร์ ลูกบอลนี้เป็นส่วนขึ้นชื่อของการเฉลิมฉลองวันสิ้นปีในไทม์สแควร์ที่รู้จักกันในภาษาปากว่า การหย่อนลูกบอล (ball drop) ซึงลูกบอลเคลื่อนที่ลง 43 เมตรใน 60 วินาทีตามเสาธงซึ่งได้รับการออกแบบเป็นพิเศษเริ่มตั้งแต่ 11:59:00 p.m.

ดู หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาและลูกบอลไทม์สแควร์

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ดู หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาและสหรัฐ

หลอดฟลูออเรสเซนต์

หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดต่างๆ จากบนลงล่าง: หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (หลอดตะเกียบ) 2 หลอด, หลอดฟลูออเรสเซนต์ธรรมดา 2 หลอด เทียบขนาดกับไม้ขีดไฟด้านซ้ายมือ โถงทางเดินที่ติดตั้งหลอดฟลูออเรสเซนต์ หลอดฟลูออเรสเซนต์, หลอดเรืองแสง, หลอดวาวแสง (fluorescent tube) หรือที่เรียกกันติดปากว่าหลอดนีออน เป็นหลอดไฟฟ้าระบบปล่อยประจุ ที่บรรจุไอปรอทความดันต่ำไว้พรรณชลัท สุริโยธิน.

ดู หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาและหลอดฟลูออเรสเซนต์

หลอดแสงจันทร์

ฟสนามที่ใช้หลอดแสงจันทร์ขนาด 175 วัตต์ ภาพนี้เป็นภาพหลังหลอดติด 15 วินาที หลอดแสงจันทร์ขนาด 175 วัตต์. อุปกรณ์แท่งขนาดเล็กที่ติดอยู่ด้านล่างหลอดเป็นตัวต้านทานที่จ่ายไฟให้กับส่วนขั้วสตาร์ตเตอร์ ไฟถนนที่ใช้หลอดแสงจันทร์ขนาด 250 วัตต์ หลอดแสงจันทร์ หรือ หลอดไฟไอปรอท (mercury-vapor lamp) เป็นหลอดไฟฟ้าระบบปล่อยประจุชนิดหนึ่งพรรณชลัท สุริโยธิน.

ดู หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาและหลอดแสงจันทร์

หลอดแฮโลเจน

หลอดแฮโลเจน หลอดแฮโลเจน หรือรู้จักกันในชื่อ หลอดแฮโลเจนทังสเตน เป็นหลอดไส้ที่มีไส้หลอดเป็นทังสเตน ซึ่งบรรจุในแก๊สเฉื่อยและแฮโลเจนปริมาณน้อย เช่น ไอโอดีนหรือโบรมีน วัฏจักรแฮโลเจนเคมีนำทังสเตนที่ระเหยไปกลับมาเป็นไส้หลอดอีกครั้ง ซึ่งขยายอายุการใช้งานของหลอด ด้วยเหตุนี้ หลอดแฮโลเจนจึงสามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูงกว่าหลอดเติมแก๊สมาตรฐานที่มีกำลังและอายุการใช้งานเท่ากัน หลอดแฮโลเจนจึงมีประสิทธิศักย์ความสว่างสูงกว่า (10-30 ลูเมน/วัตต์) หลอดนี้ให้แสงที่มีอุณหภูมิสีสูงกว่า และด้วยขนาดที่เล็กกว่า หลอดแฮโลเจนใช้งานได้เต็มที่กับระบบของแสงซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าในแง่ของวิธีที่หลอดทอดแสงที่ปลดปล่อยออกมา หมวดหมู่:อุปกรณ์ไฟฟ้า หมวดหมู่:ตะเกียงและหลอดไฟฟ้า de:Glühlampe#Sonderformen.

ดู หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาและหลอดแฮโลเจน

หลอดไฟฟ้า

หลอดไฟฟ้า หรือ หลอดไฟ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าเพื่อทำให้เกิดแสงสว่าง.

ดู หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาและหลอดไฟฟ้า

ประสิทธิภาพการแปลงพลังงาน

ลังงานเป้าหมายที่ได้จากการแปลงจะน้อยกว่าพลังงานที่ใส่เข้าไปในเครื่องแปลงเสมอ ประสิทธิภาพการแปลงพลังงาน (energy conversion efficiency) คืออัตราส่วนระหว่างพลังงานเป้าหมายที่ออกจากเครื่องแปลงพลังงาน ต่อพลังงานที่ใส่เข้าไปในเครื่องแปลง เพราะโดยธรรมชาติแล้วในกระบวนการแปลงพลังงานจะมีพลังงานส่วนที่สูญเสีย (ถูกแปลงเป็นพลังงานชนิดที่ไม่ต้องการ) เสมอ.

ดู หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาและประสิทธิภาพการแปลงพลังงาน

ไฟฉาย

สิทธิบัตรของเดวิด มิเซล (David Misell) หมายเลข 617,592 ไฟฉาย (flashlight หรือ torch) เป็นแหล่งกำเนิดแสงกำลังไฟฟ้ามือถือ แหล่งกำเนิดแสงมักเป็นหลอดไส้ขนาดเล็กหรือไดโอดเปล่งแสง ไฟฉายแบบทั่วไปมีแหล่งกำเนิดแสงติดในแผ่นสะท้อนแสง, เลนส์เพื่อป้องกันแหล่งกำเนิดแสงและแผ่นสะท้อนแสง, แบตเตอรีหรือแหล่งพลังงานอื่น และสวิตช์ นอกเหนือไปจากไฟฉายมือถือวัตถุประสงค์ทั่วไป ยังมีการพัฒนาไฟฉายอีกหลายแบบเพื่อการใช้งานพิเศษ เช่น ไฟฉายติดศีรษะหรือหมวกนิรภัยออกแบบมาสำหรับคนงานเหมืองและผู้ออกค่ายเพื่อให้มีมือว่าง ไฟฉายบางแบบสามารถใช้ใต้น้ำหรือในบรรยากาศที่ติดไฟง่าย หมวดหมู่:แหล่งกำเนิดแสง kn:ಲಾಂದ್ರ.

ดู หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาและไฟฉาย

ไดโอด

อดชนิดต่าง ๆ ไดโอด (diode) เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ชนิดสองขั้วคือขั้ว p และขั้ว n ที่ออกแบบและควบคุมทิศทางการไหลของประจุไฟฟ้า มันจะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลในทิศทางเดียว และกั้นการไหลในทิศทางตรงกันข้าม เมื่อกล่าวถึงไดโอด มักจะหมายถึงไดโอดที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor diode) ซึ่งก็คือผลึกของสารกึ่งตัวนำที่ต่อกันได้ขั้วทางไฟฟ้าสองขั้ว ส่วนไดโอดแบบหลอดสูญญากาศ (Vacuum tube diode) ถูกใช้เฉพาะทางในเทคโนโลยีไฟฟ้าแรงสูงบางประเภท เป็นหลอดสูญญากาศที่ประกอบด้วยขั้วอิเล็ดโทรดสองขั้ว ซึ่งจะคือแผ่นตัวนำ (plate) และแคโทด (cathode) ส่วนใหญ่เราจะใช้ไดโอดในการยอมให้กระแสไปในทิศทางเดียว โดยยอมให้กระแสไฟในทางใดทางหนึ่ง ส่วนกระแสที่ไหลทิศทางตรงข้ามกันจะถูกกั้น ดังนั้นจึงอาจถือว่าไดโอดเป็นวาล์วตรวจสอบแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ซึ่งนับเป็นประโยชน์อย่างมากในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ใช้เป็นตัวเรียงกระแสไฟฟ้าในวงจรแหล่งจ่ายไฟ เป็นต้น อย่างไรก็ตามไดโอดมีความสามารถมากกว่าการเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เปิด-ปิดกระแสง่าย ๆ ไดโอดมีคุณลักษณะทางไฟฟ้าที่ไม่เป็นเชิงเส้น ดังนั้นมันยังสามารถปรับปรุงโดยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของพวกมันที่เรียกว่ารอยต่อ p-n มันถูกนำไปใช้ประโยชน์ในงานที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ นั่นทำให้ไดโอดมีรูปแบบการทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น ซีเนอร์ไดโอด เป็นไดโอดชนิดพิเศษที่ทำหน้าที่รักษาระดับแรงดันให้คงที่ วาริแอกไดโอดใช้ในการปรับแต่งสัญญาณในเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ ไดโอดอุโมงค์หรือทันเนลไดโอดใช้ในการสร้างสัญญาณความถี่วิทยุ และไดโอดเปล่งแสงเป็นอุปกรณ์ที่สร้างแสงขึ้น ไดโอดอุโมงค์มีความน่าสนใจตรงที่มันจะมีค่าความต้านทานติดลบ ซึ่งเป็นประโยชน์มากเมื่อใช้ในวงจรบางประเภท ไดโอดตัวแรกเป็นอุปกรณ์หลอดสูญญากาศ โดยไดโอดแบบสารกึ่งตัวนำตัวแรกถูกค้นพบจากการทดสอบความสามารถในการเรียงกระแสของผลึกโดยคาร์ล เฟอร์ดินานด์ บรวน นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ในปี..

ดู หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาและไดโอด

เพชรโฮป

รโฮป (Hope Diamond) เป็นเพชรขนาดใหญ่ หนัก 45.52 กะรัต (9.10 กรัม) สีน้ำเงินเข้ม ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาสมิธโซเนียนในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

ดู หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาและเพชรโฮป

เออร์วิง แลงมิวร์

ออร์วิง แลงมิวร์ (Irving Langmuir; 31 มกราคม ค.ศ. 1881 – 16 สิงหาคม ค.ศ. 1957) เป็นนักเคมีและนักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน เป็นผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี..

ดู หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาและเออร์วิง แลงมิวร์

31 ธันวาคม

วันที่ 31 ธันวาคม เป็นวันที่ 365 ของปี (วันที่ 366 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เป็น "วันสิ้นปี" ก่อนวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันสุดท้ายของปี โดยวันรุ่งขึ้นเป็นวันที่ 1 มกราคม ของปีถัดไป.

ดู หลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาและ31 ธันวาคม

หรือที่รู้จักกันในชื่อ หลอดความร้อนหลอดไส้หลอดไฟไส้💡