โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หมัด (สัตว์)

ดัชนี หมัด (สัตว์)

หมัด (Flea) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง อยู่ในไฟลัมอาร์โธรพอด เป็นแมลงที่ไม่มีปีกขนาดเล็ก ซึ่งมีขนาดความยาวตลอดลำตัวราว 2-2.5 มิลลิเมตร ลำตัวด้านข้างแบน มีขาคู่หลังยาวใช้สำหรับการกระโดด ลำตัวเป็นปล้อง และมีหัวขนาดใหญ่ หมัดถือได้ว่าเป็นปรสิตสำหรับคน และสัตว์เลี้ยง หมัดเมื่อโตตัวเต็มวัยจะวางไข่ในบริเวณขนของสัตว์ หรือ บริเวณที่สัตว์นอนอยู่ โดยวางไข่ครั้งละ 3-18 ฟอง ซึ่งตลอดช่วงอายุของตัวเมียจะวางไข่ได้หลายร้อยฟอง ช่วงระยะการเป็นตัวอ่อนจะกินเวลาประมาณ 9-15 วัน แล้วจึงกลายเป็นดักแด้ ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงเต็มวัย ช่วงชีวิตของหมัดจากไข่จนเติบโตเต็มวัยจะอยู่ที่ประมาณ 18 วันไปจนถึงหลายเดือน.

7 ความสัมพันธ์: บทนำวิวัฒนาการกาฬโรคสถาบันปาสเตอร์หมัดนกพิราบโรคระบาดครั้งใหญ่ในลอนดอนเดอะม็อกซี่โชว์

บทนำวิวัฒนาการ

"ต้นไม้บรรพชีวินวิทยาของสัตว์มีกระดูกสันหลัง" จากหนังสือ ''วิวัฒนาการมนุษย์'' ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5 (ลอนดอน, 1910) ของเฮเกิล (Ernst Haeckel) ประวัติวิวัฒนาการของสปีชีส์ต่าง ๆ สามารถจัดเป็นรูปต้นไม้วิวัฒนาการชาติพันธุ์ โดยมีสาขามากมายงอกออกจากลำต้นเดียวกัน วิวัฒนาการ (evolution) เป็นการเปลี่ยนแปลงในสรรพชีวิตตลอดหลายรุ่น และศาสตร์ชีววิทยาวิวัฒนาการ (evolutionary biology) เป็นศึกษาว่าเกิดขึ้นอย่างไร ประชากรสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาผ่านการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมซึ่งเข้ากับการเปลี่ยนแปลงลักษณะปรากฏของสิ่งมีชีวิต การเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมรวมทั้งการกลายพันธุ์ ซึ่งเกิดจากความเสียหายของดีเอ็นเอหรือข้อผิดพลาดในการถ่ายแบบดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิต เมื่อความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากรเปลี่ยนไปอย่างไม่เจาะจงแบบสุ่มเป็นเวลาหลายรุ่นเข้า การคัดเลือกโดยธรรมชาติจะเป็นเหตุให้พบลักษณะสืบสายพันธุ์มากขึ้นหรือน้อยลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขึ้นอยู่กับความสำเร็จทางการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเช่นนั้น โลกมีอายุประมาณ 4,540 ล้านปี และหลักฐานสิ่งมีชีวิตเก่าแก่ที่สุดโดยไม่มีผู้คัดค้านสืบอายุได้อย่างน้อย ระหว่างมหายุคอีโออาร์เคียนหลังเปลือกโลกเริ่มแข็งตัว หลังจากบรมยุคเฮเดียนก่อนหน้าที่โลกยังหลอมละลาย มีซากดึกดำบรรพ์แบบเสื่อจุลินทรีย์ (microbial mat) ในหินทรายอายุ ที่พบในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย หลักฐานรูปธรรมของชีวิตต้น ๆ อื่นรวมแกรไฟต์ซึ่งเป็นสสารชีวภาพในหินชั้นกึ่งหินแปร (metasedimentary rocks) อายุ ที่พบในกรีนแลนด์ตะวันตก และในปี 2558 มีการพบ "ซากชีวิตชีวนะ (biotic life)" ในหินอายุ ในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย Early edition, published online before print.

ใหม่!!: หมัด (สัตว์)และบทนำวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

กาฬโรค

กาฬโรค (plague) เป็นโรคติดเชื้อถึงตายที่เกิดจากเอ็นเทอโรแบคทีเรีย Yersinia pestis ซึ่งตั้งตามชื่อนักวิทยาแบคทีเรียชาวฝรั่งเศส-สวิส อเล็กซานเดอร์ เยอร์ซิน กาฬโรคเป็นโรคที่อยู่ในสัตว์ฟันแทะ และหมัดเป็นตัวแพร่สู่มนุษย์ โรคดังกล่าวรู้จักกันตลอดประวัติศาสตร์ เนื่องจากขอบเขตการเสียชีวิตและการทำลายล้างที่โรคอื่นเทียบไม่ได้ กาฬโรคเป็นโรคระบาดหนึ่งในสามโรคที่ต้องรายงานต่อองค์การอนามัยโลก (อีกสองโรค คือ อหิวาตกโรคและไข้เหลือง) กระทั่งเดือนมิถุนายน 2550 กาฬโรคสามารถแพร่ในอากาศ ผ่านการสัมผัสโดยตรง หรือโดยอาหารหรือวัสดุที่ปนเปื้อน ขึ้นอยู่กับการติดเชื้อที่ปอดหรือสภาพสุขาภิบาล อาการของกาฬโรคขึ้นอยู่กับบริเวณที่มีเชื้อมากในแต่ละบุคคล เช่น กาฬโรคที่ต่อมน้ำเหลือง (bubonic plague) กาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษ (septicemic plague) ในหลอดเลือด กาฬโรคแบบมีปอดบวม (pneumonic plague) ในปอด ฯลฯ กาฬโรครักษาได้หากตรวจพบเร็ว และยังระบาดอยู่ในบางส่วนของโลก.

ใหม่!!: หมัด (สัตว์)และกาฬโรค · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันปาสเตอร์

ูนย์การแพทย์สถาบันปาสเตอร์ ถนนโวชิราด์ (Vaugirard) กรุงปารีส สถาบันปาสเตอร์ หรือสถานปาสเตอร์ (อังกฤษ: Pasteur Institute, ฝรั่งเศส: Institut Pasteur) เป็นองค์กรวิจัยซึ่งไม่หวังผลกำไร เริ่มดำเนินการขึ้นในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2430 และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2431 วัตถุประสงค์ของสถาบันคือ เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าวิจัยในด้านชีววิทยา จุลชีพ โรค และวัคซีน ปัจจุบันมีสาขาในประเทศต่าง ๆ หลายประเทศ ผู้ก่อตั้งสถาบันคือ หลุยส์ ปาสเตอร์ นักเคมีชาวฝรั่งเศสผู้วางรากฐานการแพทย์สมัยใหม่ โดยได้คิดค้นการพาสเจอไรซ์ซึ่งเป็นเทคนิคการฆ่าเชื้อในอาหารแบบหนึ่ง นอกจากนี้เขายังได้คิดค้นวัคซีนต้านไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า และแบคทีเรียโรคแอนแทรกซ์ สถาบันปาสเตอร์ถือเป็นสถาบันแนวหน้าในการต่อสู้กับโรคติดต่อนานาชนิดมากว่าศตวรรษแล้ว เช่น โรคคอตีบ บาดทะยัก โปลิโอ ตลอดจนเป็นสถานที่ทำงานของนักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลหลายคน.

ใหม่!!: หมัด (สัตว์)และสถาบันปาสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

หมัด

ำสำคัญ "หมัด" สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: หมัด (สัตว์)และหมัด · ดูเพิ่มเติม »

นกพิราบ

thumb นกพิราบ เป็นนกในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbidae) โดยปกติคำว่า "นกพิราบ" จะหมายถึงนกพิราบเลี้ยง (รวมถึงนกพิราบแฟนซีด้วย) ส่วนนกพิราบนอกเหนือจากนี้จะเรียกว่า "นกพิราบป่า" นกพิราบป่ามีขนสีเทาอ่อน มีแถบสีดำสองแถบบนปีกแต่ละข้าง แต่ทั้งนกป่าและนกเลี้ยงนั้นมีความหลากหลายของสีและรูปแบบของขนเป็นอย่างมาก มีความแตกต่างระหว่างเพศเล็กน้อย นกชนิดนี้มักมีคู่ครองตัวเดียว มีลูกครั้งละ 2 ตัว พ่อและแม่ช่วยกันเลี้ยงดู โดยที่เมื่อจับคู่กันแล้วจะไม่แยกจากกันเลยตลอดชีวิต แม้ว่าคู่จะตายไปแล้ว ซึ่งนกพิราบป่านั้นเป็นที่รวมของเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ ที่ติดต่อมาสู่มนุษย์ได้ อาทิ โรคสมองอักเสบจากเชื้อรา, ปอดอักเสบ, ท้องเสีย, เครียด หรือแม้กระทั่งหมัดจากตัวนก นกพิราบมีถิ่นอาศัยในสิ่งแวดล้อมเปิดและกึ่งเปิดในพื้นที่เกษตรกรรมและในเมือง หน้าผาและขอบหินถูกใช้เป็นที่ทำรังวางไข่ของนกในป่า นกพิราบมีถิ่นกำเนิดในยุโรป แอฟริกาเหนือ และทางตะวันตกของเอเชีย ก่อนที่จะแพร่กระจายไปตามเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก เพราะเป็นนกที่มีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะในเมืองได้ดีมาก คาดว่ามีประชากรนกในธรรมชาติประมาณ 17 - 28 ล้านตัวในยุโรป ปัจจุบันนกพิราบเป็นนกที่พบได้ในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา นกพิราบ เป็นนกที่มนุษย์คุ้นเคยเป็นอย่างดี ในสมัยโบราณจะใช้ในการสื่อสาร เนื่องจากเป็นนกที่มีประสาทสัมผัสเป็นอย่างดีในการที่จะหาทางกลับมาสู่ถิ่นฐานที่จากมา แม้ว่าจะอยู่ไกลแค่ไหนก็ตามด้วยการใช้สนามแม่เหล็กโลกแบบเดียวกับเต่าทะเล อีกทั้งยังใช้แสงแดดและจมูกในการดมกลิ่นอีกด้วย อีกทั้ง ยังนิยมเลี้ยงกันเพื่อการบินแข่งขันกันด้วย และเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจเพื่อบริโภคเนื้อ และมีการพัฒนาสายพันธุ์ต่าง ๆ ให้มีลักษณะสวยจากธรรมชาติเพื่อการเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม นอกจากนี้แล้ว นกพิราบยังถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ในทางสากลหมายถึง "สันติภาพ" โดยมักใช้รูปนกพิราบคาบช่อมะกอก คำว่า "พิราบ" ในภาษาไทยนั้น มาจากคำว่า "วิราว", "พิราว" หรือ "พิราพ" ซึ่งเป็นภาษาสันสกฤตแปลว่า "เสียงร้อง".

ใหม่!!: หมัด (สัตว์)และนกพิราบ · ดูเพิ่มเติม »

โรคระบาดครั้งใหญ่ในลอนดอน

“Bill of Mortality” ค.ศ. 1665 โรคระบาดครั้งใหญ่ในกรุงลอนดอน หรือ โรคระบาดครั้งใหญ่ (Great Plague of London,The Great Plague) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1665 ถึงปี ค.ศ. 1666 ที่เชื่อกันว่าเป็นการระบาดครั้งใหญ่ของกาฬโรคในประเทศอังกฤษที่คร่าชีวิตประชากรไปประมาณ 75,000 ถึง 100,000 คน ราวหนึ่งในห้าของประชากรทั้งกรุงลอนดอนขณะนั้น โดยเป็นผลมาจากการระบาด ของแบคทีเรียชื่อ "เยอร์ซีเนียเพสติส" (Yersinia pestis) ซึ่งมีหมัดเป็นพาหะนำโรค กระนั้น เหตุการณ์นี้มีความรุนแรงเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ “กาฬโรคที่ระบาดในยุโรปและอังกฤษ” ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นระหว่างปี ค.ศ. 1347 ถึงปี ค.ศ. 1353 เหตุการณ์ในกรุงลอนดอนครั้งนี้ได้รับการขนานนามต่อมาว่า “โรคระบาดครั้งใหญ่” โดยเป็นการระบาดของโรคครั้งใหญ่และครั้งสุดท้ายในอังกฤษ แม้ว่าเชื้อโรคที่ทำให้เกิดการระบาดสันนิษฐานกันว่าเป็น “กาฬโรค” และเชื้อโรคในตระกูลเดียวกันแต่ก็ไม่มีหลักฐานที่แน่นอนที่พิสูจน์ข้อสันนิษฐานนี้ นักวิชาการสมัยใหม่ตั้งข้อเสนอว่าอาการและระยะเวลาเพาะของเชื้อที่ทำให้เกิดโรคเป็นตัวเดียวกับเชื้อโรคที่คล้ายคลึงกับ "ไข้เลือดออกเหตุไวรัส" (viral hemorrhagic fever).

ใหม่!!: หมัด (สัตว์)และโรคระบาดครั้งใหญ่ในลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

เดอะม็อกซี่โชว์

อะม็อกซี่โชว์ (The Moxy Show; อีกชื่ออื่นว่า เดอะม็อกซี่ไพเรทโชว์ และ เดอะม็อกซี่แอนด์ฟลีโชว์) เป็นการ์ตูนทีวีแอนิเมชันของประเทศสหรัฐอเมริกา ผลิตโดย เทอร์เนอร์ โปรดักชั่น สำหรับช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์ค ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2536 เดิมเป็น เดอะม็อกซี่ไพเรทโชว์, และประกอบด้วยการ์ตูนคลาสสิกที่แบ่งเป็นภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ คั่นระหว่างหน้าเนื้อเรื่อง ม็อกซี่ และ ฟลี ตามลำดับสุนัขและหมัด ฉายทางช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์คเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2536 จนถึงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2543 รวมทั้งการฉายซ้ำ แต่ฉายตอนสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2538 ซึ่งเป็นเพียงตอนเดียวสำหรับเดอะม็อกซี่แอนด์ฟลีโชว์, ถือว่าเป็นการ์ตูนเรื่องแรกของการ์ตูนเน็ตเวิร์ค, แต่ Space Ghost Coast to Coast เป็นการ์ตูนเรื่องแรกของการ์ตูนเน็ตเวิร์ค ที่ผลิตเต็มสมบูรณ์แ.

ใหม่!!: หมัด (สัตว์)และเดอะม็อกซี่โชว์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »