เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

สีฝุ่นเทมเพอรา

ดัชนี สีฝุ่นเทมเพอรา

ระแม่มารีและพระบุตรโดยดุชโช, เทมเพอราและทองบนไม้, ค.ศ. 1284, เซียนา นิคโคโล เซมิเทโคโล ค.ศ. 1367 สีฝุ่นเทมเพอรา (tempera, egg tempera) เป็นสิ่งที่ใช้ในการเขียนภาพที่แห้งง่ายและถาวรที่ประกอบด้วยรงควัตถุผสมกับของเหลวที่เป็นตัวเชื่อม (มักจะใช้สารกลูเตน (Gluten)) เช่นไข่แดงหรือสารที่เป็นตัวเชื่อม (Sizing) อื่นๆ นอกจากนั้นเทมเพอราก็ยังหมายถึงจิตรกรรมที่เขียนด้วยสารผสมดังกล่าวด้วย การเขียนด้วยวิธีนี้เป็นวิธีที่ทำให้ภาพที่เขียนมีอายุยืนนานเช่นภาพที่เขียนในคริสต์ศตวรรษที่หนึ่งก็ยังมีอยู่ให้เห็น เทมเพอราที่ผสมด้วยไข่เป็นวิธีที่ใช้ในการเขียนภาพโดยทั่วไปมาจนหลังคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อมาแทนที่ด้วยการเขียนด้วยสีน้ำมัน เทมเพอราอีกประเภทหนึ่งที่ผสมระหว่างรงควัตถุกับสารที่เป็นกาวที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและมักจะเรียกโดยผู้ผลิตในสหรัฐอเมริกาว่าสีโปสเตอร.

สารบัญ

  1. 9 ความสัมพันธ์: พระคัมภีร์คนยากการบูรณะจิตรกรรมฝาผนังโบสถ์น้อยซิสทีนจิตรกรรมฝาผนังจิตรกรรมแผงดุชโชฉากแท่นบูชาวิลทันนายช่างแห่งนักบุญไจลส์ไข่แดงเคซีน

พระคัมภีร์คนยาก

หน้าต่าง “พระคัมภีร์คนยาก” ที่ มหาวิหารแคนเทอร์เบอรีจากคริสต์ศตวรรษที่ 13 ที่อาจจะสร้างจากชิ้นส่วนของบานหน้าต่างเดิมสองบาน รายละเอียดจากหน้าต่างสองหน้าต่างจากมหาวิหารแคนเทอร์เบอรีที่เป็นเรื่องสองเรื่องที่ต่างกัน แต่ตัวแบบสองตัวในภาพทางด้านซ้ายเป็นตัวเดียวกัน และเสา โต๊ะ เชิงเทียน และหนังสือ ภาพซ้ายสร้างในสมัยกลาง และภาพขวาในสมัยวิกตอเรีย พระคัมภีร์คนยาก (Poor Man's Bible) คำว่า “พระคัมภีร์คนยาก” ในปัจจุบันหมายถึงงานศิลปะภายในคริสต์ศาสนสถานที่อาจจะเป็นงานชิ้นเดียวหรืองานชุดที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนสาระของคัมภีร์ไบเบิลต่อประชากรส่วนใหญ่ที่ไร้การศึกษา ศิลปะ “พระคัมภีร์คนยาก” อาจจะเป็นงานประติมากรรม งานแกะสลัก จิตรกรรม งานโมเสก หรือหน้าต่างประดับกระจกสี ในโบสถ์บางแห่งหน้าต่างบานเดียวก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็น “พระคัมภีร์คนยาก” ขณะที่ในโบสถ์อื่นทั้งโบสถ์อาจจะตกแต่งด้วยบทบรรยายพระคัมภีร์ไบเบิลอันซับซ้อนภายใต้หัวใจของเรื่องที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

ดู สีฝุ่นเทมเพอราและพระคัมภีร์คนยาก

การบูรณะจิตรกรรมฝาผนังโบสถ์น้อยซิสทีน

จิตรกรรมฝาผนังภายในโบสถ์น้อยซิสทีน พระเจ้าสร้างอาดัม" โดยมีเกลันเจโลก่อนการปฏิสังขรณ์ พระเจ้าสร้างอาดัม" หลังจากที่ได้รับการปฏิสังขรณ์แล้ว การบูรณะจิตรกรรมฝาผนังโบสถ์น้อยซิสทีน (Restoration of the Sistine Chapel frescoes) เป็นโครงการบูรณะจิตรกรรมฝาผนังภายในที่สำคัญที่สุดในบรรดาโครงการบูรณะศิลปะของคริสต์ศตวรรษที่ 20 โบสถ์น้อยซิสทีนนั้นสมเด็จพระสันตะปาปาซิกส์ตุสที่ 4 ทรงให้สร้างขึ้นภายในวังพระสันตะปาปา ณ ด้านเหนือของนครรัฐวาติกัน ติดกับมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ โดยสร้างเสร็จใน..

ดู สีฝุ่นเทมเพอราและการบูรณะจิตรกรรมฝาผนังโบสถ์น้อยซิสทีน

จิตรกรรมฝาผนัง

วาติกัน, โรม ประเทศอิตาลี จิตรกรรมฝาผนังโดยดิโอนิเซียส (Dionisius) เล่าเรื่องนักบุญนิโคลัส จิตรกรรมฝาผนัง จากมหากาพย์ “ไตรภูมิดานเต” ของดานเตโดยโดเมนิโค ดิ มิเคลลิโน (Domenico di Michelino) ที่มหาวิหารฟลอเรนซ์ จิตรกรรมฝาผนังจากบาวาเรียประเทศเยอรมนี “ที่ฝังศพของนักดำน้ำ” พบเมื่อปีค.ศ.

ดู สีฝุ่นเทมเพอราและจิตรกรรมฝาผนัง

จิตรกรรมแผง

"ฉากแท่นบูชาเกนต์" โดยยัน ฟัน ไอก์ และพี่ชาย, ค.ศ. 1432. ฉากแท่นบูชา (altarpiece) บนแผ่นไม้ เขียนทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จิตรกรรมแผง (panel painting) คือการเขียนภาพบนแผ่นไม้ อาจจะเป็นแผ่นเดียวหรือหลายแผ่นเชื่อมต่อกันเป็นเนื้อเดียว ซึ่งแตกต่างกับบานพับภาพที่จะแยกจากกัน (บานพับภาพ มักรวมเรียกเป็นส่วนหนึ่งของจิตรกรรมแผง) แผ่นไม้ใช้เป็นพื้นสำหรับวาดภาพจนกระทั่งถูกแทนที่ด้วยผ้าใบในคริสต์ศตวรรษที่ 16 นอกเหนือไปจากการวาดบนผนัง หรือบนหนังสัตว์ ซี่งวัสดุชนิดหลังนี้นิยมใช้ในการวาดหนังสือวิจิตร หรือเขียนภาพสำหรับใส่กรอ.

ดู สีฝุ่นเทมเพอราและจิตรกรรมแผง

ดุชโช

นักบุญปีเตอร์ และ นักบุญแอนดรูจาก “Maestà” “พระแม่มารีและพระบุตร” ดุชโช ดี บูโอนินเซญญา (Duccio di Buoninsegna) (เกิดราว ค.ศ.

ดู สีฝุ่นเทมเพอราและดุชโช

ฉากแท่นบูชาวิลทัน

นักบุญเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพเสียบด้วยตราของพระมหากษัตริย์อังกฤษ (''l.'') และ กวางขาวของของพระเจ้าริชาร์ด (''r.'') ฉากแท่นบูชาวิลทัน หรือ บานพับภาพวิลทัน (Wilton Diptych) เป็นบานพับภาพฉากแท่นบูชาขนาดเล็กที่เขียนบนแผ่นไม้สองแผ่นสองด้านที่ยึดติดกันด้วยบานพับ งานฉากแท่นบูชาวิลทันเป็นงานศิลปะที่หายากที่เป็นจิตรกรรมแผงเพียงไม่กี่ชิ้นที่ยังหลงเหลือมาจากปลายยุคกลางของอังกฤษ “ฉากแท่นบูชาวิลทัน” ที่เขียนขึ้นราวระหว่างปี ค.ศ.

ดู สีฝุ่นเทมเพอราและฉากแท่นบูชาวิลทัน

นายช่างแห่งนักบุญไจลส์

นายช่างแห่งเซนต์ไจลส์ (Maître de Saint-Gilles, Master of Saint Giles) เป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศส-เฟล็มมิชของยุคเนเธอร์แลนด์ตอนต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ผู้มีงานเขียนอยู่ในบริเวณที่อาจจะเป็นปารีส ลักษณะการเขียนเป็นแบบสมัยปลายกอธิค ที่จะเน้นพื้นผิวและแสดงและความเที่ยงตรงของรายละเอียดตามความเป็นจริงภายในที่มีลักษณะคล้ายกับการเขียนภาพของยุคเนเธอร์แลนด์ตอนต้น ไม่เป็นที่ทราบแน่นอนว่านายช่างแห่งเซนต์ไจลส์เป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศสที่อาจจะไปฝึกงานอยู่ในบริเวณกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ หรือชาวดัตช์ที่ย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในฝรั่งเศส สมญานามดังกล่าวตั้งขึ้นโดยแม็กซ์ ยาคอป ฟรีดเลนเดอร์ผู้ทำการวิจัยลักษณะการเขียนบางส่วนของศิลปินไม่ทราบนามผู้นี้ โดยเริ่มจากจิตรกรรมแผงสองแผงที่อุทิศให้แก่นักบุญไจลส์ ("ปาฏิหาริย์" และ "มิซซา") ที่เป็นของหอศิลป์แห่งชาติในลอนดอน ซึ่งเป็นบานซ้ายของฉากแท่นบูชา และจิตรกรรมแผงอีกสองแผงของของฉากแท่นบูชาเดียวกันที่ในปัจจุบันอยู่ที่วอชิงตัน ฝีมือของผู้ช่วยเห็นได้ในภาพ "การถวายศีลจุ่มแด่พระเจ้าโคลวิส" ของหอศิลป์แห่งชาติในวอชิงตัน ดี.ซี.

ดู สีฝุ่นเทมเพอราและนายช่างแห่งนักบุญไจลส์

ไข่แดง

แดงลอยอยู่ในไข่ขาว ไข่แดง เป็นส่วนประกอบของไข่ โดยอยู่ภายในเปลือกไข่ ประกอบด้วยสารอาหารไว้ใช้เลี้ยงตัวอ่อน เมื่อรวมกับไข่ขาวจะเป็นเซลล์เดียวจนกว่าจะมีการปฏิสน.

ดู สีฝุ่นเทมเพอราและไข่แดง

เคซีน

ซีน (Casein มาจากภาษาละตินว่า caseus ซึ่งแปลว่า ชีส) เป็นชื่อของกลุ่มฟอสโฟโปรตีน คือ αS1, αS2, β, κ โปรตีนเหล่านี้พบโดยทั่วไปในนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งเป็นส่วนถึง 80% ของโปรตีนในนมวัว และประมาณ 20%-45% ของโปรตีนในนมมนุษย์ เคซีนใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างรวมทั้งเป็นส่วนประกอบหลักของชีส สารเติมแต่งอาหาร และตัวยึดในไม้ขีดไฟ โดยเป็นอาหาร เคซีนประกอบด้วยกรดอะมิโน คาร์โบไฮเดรต และสารอนินทรีย์สองอย่างคือแคลเซียมและฟอสฟอรั.

ดู สีฝุ่นเทมเพอราและเคซีน

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Egg temperaTemperaจิตรกรรมสีฝุ่นเทมเพอราจิตรกรรมสีฝุ่นเท็มเพอราจิตรกรรมเทมเพอราเทมเพอราเทมเพอราไข่