เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น

ดัชนี สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น

รองเท้านารีปีกแมลงปอ หรือ รองเท้านารีสุขะกูล (''Paphiopedilum sukhakulii'') เป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่นที่พบได้เฉพาะภูเขาหินทรายในป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 1,000-1,500 เมตร ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเท่านั้น''กล้วยไม้เมืองไทย'', รศ.ดร.

สารบัญ

  1. 79 ความสัมพันธ์: ชมพูเชียงดาวกบชะง่อนผาภูหลวงกบมะเขือเทศกบหนังห้อยการท่องเที่ยวในประเทศมาดากัสการ์กุหลาบพันปีภูเขาโต๊ะมังกรโกโมโดม้าลายเกรวีรองเท้านารีปีกแมลงปอลิงคีปูนจีวงศ์คางคกหมอตำแยวงศ์เพียงพอนสกุลสหยัดเรียสกุลปลาทองทะเลสยามมนัสอรพิมอิกัวนาบกอิมพาลาจิมิ เฮนดริกซ์จิ้งเหลนด้วงถ้ำพระวังแดงทะเลทรายนามิบดอยเชียงดาวความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศบราซิลความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศญี่ปุ่นความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศมาดากัสการ์ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศจีนความหลากหลายทางชีวภาพในเบอร์มิวดาคางคกไวโอมิงงูปาล์มงูแมวเซางูเส้นด้ายบาร์เบโดสงูเห่าพ่นพิษตับอักเสบ บีตาลน้ำเงินตาลแดงตาลเหลืองตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิคตุ่นปากเป็ดซาลาแมนเดอร์ยักษ์ญี่ปุ่นประเทศตองงาปลาชะโอนถ้ำปลาชะโดอินเดียปลากัดช้างปลาหมอลายเมฆปลาหมอแคระแม่กลองปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาปลาดินสอแดงปลาตะเพียนลายหมากรุก... ขยายดัชนี (29 มากกว่า) »

ชมพูเชียงดาว

มพูเชียงดาว เป็นพืชเฉพาะถิ่นที่พบทางภาคเหนือของประเทศไทย อยู่ในวงศ์ดอกดิน (Orobanchaceae) ลักษณะเป็นไม้ล้มลุกสูง 40-60 เซนติเมตร ลำต้นมีขน ใบเรียงเป็นวง 3-4 ใบ รูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 1.5-4.5 เซนติเมตร ใบจักลึกแบบขนนก ขอบจักซี่ฟัน มีประมาณ 5-12 คู่ ดอกออกเป็นช่อแบบกระจะ ยาวได้ถึง 40 เซนติเมตร หลอดกลีบเลี้ยงยาว 0.8-1 เซนติเมตร เป็นสันตื้น ๆ ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ดอกสีชมพูถึงม่วงเข้ม หลอดกลีบดอกยาวประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบปากบนรูปหมวกงุ้มเข้า ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร กลีบปากล่างบานออกมี 3 กลีบ ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร กลีบกลางกลม ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร กลีบข้างรูปรี ยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้เกลี้ยง โคนอับเรณูแหลม ผลรูปไข่ ยาว 0.8-1.2 เซนติเมตร ปลายมีติ่งแหลม ภายในมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและชมพูเชียงดาว

กบชะง่อนผาภูหลวง

กบชะง่อนผาภูหลวง (Phu Luang cliff frog; ชื่อวิทยาศาสตร์: Huia aureola) เป็นกบเฉพาะถิ่นชนิดใหม่ที่ค้นพบใน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย ค้นพบโดย นายธัญญา จั่นอาจ จากองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ขนาดตัวยาว 63-96.5 มิลลิเมตร หัวแคบเรียว มีขนาดด้านยาวมากกว่าด้านกว้าง จุดกลางหน้าผาก เห็นได้ชัดเจนแผ่นหูเห็นได้ชัดเจน มีถุงใต้คางที่บริเวณมุมของคอ ปลายนิ้วขยายออกเป็นแผ่นขนาดใหญ่ ผิวหนังเรียบ ยกเว้นที่ผิวใต้ต้นขา มีตุ่มหยาบไม่มีต่อมที่โคนขาหน้า สันต่อมที่เหนือแผ่นหูเห็นไม่ชัด ไม่มีสันต่อมที่ขอบหลัง หัวและลำตัวด้านหลังสีเขียว ด้านข้างของหัวและสีข้างสีน้ำตาลเข้ม ผิวด้านท้ายของต้นขาหน้า ครึ่งด้านท้องของสีข้าง ผิวของต้นขา แข้ง และตีนดำพร้อมด้วยลวดลายสีเหลืองสด ขอบปากบนมีเส้นสีเหลือง ขอบปากล่างดำ ใต้คอมีแต้มสีน้ำตาล ถุงใต้คอดำ ท้องขาว แผ่นพังผืดที่ยึดระหว่างนิ้วตีนสีน้ำตาลอมม่วงพบอาศัยเฉพาะในบริเวณลำธารต้นน้ำในป่าดิบเขาของจังหวัดเลย ตัวเมียใหญ่กว่าตัวผู้ ประมาณ 10 มิลลิเมตร อาศัยบนต้นน้ำสูงเกิน 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล พบตัวเมียน้อยกว่าตัวผู้.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและกบชะง่อนผาภูหลวง

กบมะเขือเทศ

กบมะเขือเทศ หรือ อึ่งมะเขือเทศ (Tomato frogs) สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในสกุล Dyscophus ในวงศ์อึ่งอ่าง (Microhylidae) ในวงศ์ย่อย Dyscophinae ซึ่งมีเพียงสกุลเดียวเท่านั้น เป็นสัตว์ที่พบเฉพาะถิ่นที่มาดากัสการ์ที่เดียวเท่านั้น กะโหลกมีกระดูกเอธมอยด์หนึ่งคู่ และมีกระดูกพรีโวเมอร์ขนาดใหญ่หนึ่งชิ้น มีฟันที่กระดูกแมกซิลลา กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของไดพลาสิโอซีลัส กระดูกหัวไหล่มีกระดูกไหปลาร้าและกระดูกโพรโคราคอยด์ อายุโดยเฉลี่ย 6-8 ปี เมื่อโตเต็มที่มีสีตั้งแต่สีส้มเหลืองหรือสีแดงเข้ม กบมะเขือเทศจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 9-14 เดือน ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 4 นิ้ว ขณะที่ตัวผู้ประมาณ 2-3 นิ้ว ตัวเมียส่วนใหญ่มีสีแดงส้มหรือสีแดงเข้มสดใส ส่วนท้องมักจะมีสีเหลืองเข้มและบางครั้งก็มีจุดสีดำบนลำคอ แต่ตัวผู้มิได้สีสีสดใสเช่นนั้น แต่จะเป็นสีส้มทึบทึบหรือน้ำตาลส้ม เมื่อยังไม่โตเต็มที่จะมีสีทึบทึมและจะพัฒนาไปสู่สีสดใสเมื่อโตเต็มที่ เป็นสัตว์ที่อยู่ในรายชื่อสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ อาศัยอยู่ตามพื้นล่างของป่า ผสมพันธุ์ในช่วงฤดู​​ฝนในเวลากลางคืน วางไข่ในน้ำ ลูกอ๊อดอาศัยอยู่ในน้ำ กินแมลงและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กเป็นอาหาร.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและกบมะเขือเทศ

กบหนังห้อย

กบหนังห้อย (Titicaca water frog, Saggy-skinned frog) สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจำพวกกบชนิดหนึ่ง มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่น กบหนังห้อย จัดอยู่ในวงศ์ Leptodactylidae ซึ่งเป็นวงศ์กบที่มีจำนวนสมาชิกมาก นับเป็นวงศ์ใหญ่ กระจายพันธุ์ตั้งแต่อเมริกากลาง, แคริบเบียน จนถึงอเมริกาใต้ กบหนังห้อยมีลักษณะเด่น คือ มีผิวหนังที่ใหญ่มาก จนห้อยย้อยและพับโก่งตัวขึ้นอย่างเป็นระเบียบ ซึ่งผิวหนังที่พับย่นนี้มีเพื่อสำหรับหายใจในน้ำที่มีอุณหภูมิเย็นจัดและในระดับที่ลึก เนื่องจากเป็นกบที่พบเฉพาะทะเลสาบตีตีกากา ในประเทศโบลิเวีย ใกล้กับเทือกเขาแอนดีส ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ตั้งอยู่บนที่สูงถึง 3,800 เมตรจากระดับน้ำทะเล นับเป็นทะเลสาบแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่บนที่สูงแห่งหนึ่งของโลก ทำให้มีปริมาณออกซิเจนต่ำ และอุณหภูมิของน้ำเย็นยะเยือก ซึ่งผิวหนังที่พับย่นของกบหนังห้อยเป็นการปรับตัวเพื่อให้เข้ากับการอาศัยในสภาพแวดล้อมแห่งนี้ โดยภายในผิวหนังมีหลอดเลือดฝอยหนาแน่นมากเพื่อช่วยแลกเปลี่ยนออกซิเจน และมีลักษณะการว่ายน้ำแบบส่ายไปมาเพื่อให้น้ำปะทะกับผิวหนังให้มากที่สุดเพื่อหายใจ ปอดมีขนาดเล็กกว่ากบวงศ์อื่น ๆ ถึง 4 เท่า และมีปริมาณแมตาบอลิสซึมต่ำมากที่สุดชนิดหนึ่งของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำทั้งหมด กบหนังห้อยจะอาศัยเฉพาะอยู่แต่ในน้ำชั่วชีวิต นิ้วตีนทั้ง 4 ข้างมีพังผืดขนาดใหญ่มากเชื่อมต่อกัน จึงเป็นกบที่กระโดดไม่ได้ โดยปกติจะหลบซ่อนตัวอยู่ในกอพืชน้ำและสาหร่าย มีขนาดโตเต็มที่ราว 25-30 เซนติเมตร กบตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้หลายเท่า ซึ่งขนาดที่ใหญ่ที่สุด ถูกบันทึกไว้ในปี..

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและกบหนังห้อย

การท่องเที่ยวในประเทศมาดากัสการ์

แม้จะมีศักยภาพสูงสำหรับการท่องเที่ยว แต่การท่องเที่ยวในประเทศมาดากัสการ์ก็ยังล้าหลัง สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของประเทศมาดากัสการ์คือชายหาดกับความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและป่าไม้ของเกาะนี้ต่างก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะDavid Newsome, Susan A.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและการท่องเที่ยวในประเทศมาดากัสการ์

กุหลาบพันปี

กุหลาบพันปี (Azalea) เป็นชื่อสกุลของไม้ดอกในสกุล Rhododendron ในวงศ์กุหลาบป่า (Ericaceae) มีมากกว่า 1,000 ชน.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและกุหลาบพันปี

ภูเขาโต๊ะ

ูเขาโต๊ะจากชายหาดเมืองเคปทาวน์ ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ภูเขาโต๊ะ (Table Mountain) เป็นภูเขาที่มีด้านบนสุดหรือยอดเขาราบเรียบดูแลดูเหมือนโต๊ะ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองเคปทาวน์ ในแอฟริกาใต้ มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร สูง 1,086 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติภูเขาโต๊ะ และรวมอยู่ในภูมิภาคเคปฟลอรัล ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติของแอฟริกาใต้เมื่อปี..

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและภูเขาโต๊ะ

มังกรโกโมโด

มังกรโกโมโด (Komodo dragon; ชื่อวิทยาศาสตร์: Varanus komodoensis) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในอันดับกิ้งก่าชนิดหนึ่ง มีถิ่นอาศัยอยู่บนเกาะโกโมโด, รินจา, ฟลอเรส และกีลีโมตังในประเทศอินโดนีเซีย อยู่ในวงศ์และสกุลเดียวกับเหี้ย (Varanidae) จัดเป็นตะกวดชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ ตัวโตเต็มวัยมีขนาดความยาวโดยเฉลี่ย 2-3 เมตร (6.6 ถึง 9.8 ฟุต) และมีน้ำหนักประมาณ 90 กิโลกรัม (150 ปอนด์) มังกรโกโมโดมีรูปร่างหน้าตาเหมือนตัวเงินตัวทองชนิดอื่นทั่วไป แต่ทว่ามีลำตัวใหญ่และยาวกว่ามาก มีลำตัวสีเทาออกดำกว.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและมังกรโกโมโด

ม้าลายเกรวี

ม้าลายเกรวี หรือ ม้าลายอิมพีเรียล (Grévy's zebra, Imperial zebra) เป็นม้าลายที่มีขนาดใหญ่ที่สุด สามารถพบได้ในป่าของประเทศเคนยาและประเทศเอธิโอเปีย เมื่อเทียบกับม้าลายชนิดอื่น ม้าลายเกรวีตัวสูงกว่า หูใหญ่กว่า และลายแคบกว่า ม้าลายชนิดนี้ถูกตั้งชื่อเป็นเกียรติแก ชูเลส เกรวี ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยรัฐบาลของแอบบินซินเนีย ในพื้นที่ตอนกลางของประเทศเคนยาม้าลายเกรวีจะอาศัยอยู่ร่วมกันกับม้าลายธรรม.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและม้าลายเกรวี

รองเท้านารีปีกแมลงปอ

รองเท้านารีปีกแมลงปอ หรือ รองเท้านารีสุขะกูล เป็นกล้วยไม้ถิ่นเดียวในสกุลรองเท้านารี พบได้เพียงในทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเท่านั้น ค้นพบครั้งแรกโดย ประสงค์ สุขะกูล ในปี พ.ศ.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและรองเท้านารีปีกแมลงปอ

ลิงคีปูนจี

ลิงคีปูนจี หรือ ลิงมังกาเบย์ที่ราบสูง (Kipunji, Highland mangabey) เป็นลิงชนิดหนึ่งจำพวกลิงโลกเก่าที่พบในทวีปแอฟริกา จัดเป็นลิงชนิดใหม่ของโลกที่เพิ่งถูกค้นพบเมื่อปี..

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและลิงคีปูนจี

วงศ์คางคกหมอตำแย

วงศ์คางคกหมอตำแย หรือ วงศ์กบทาสี (accessdate, Midwife toads) เป็นวงศ์ของกบขนาดเล็ก ใช้ชื่อวงศ์ว่า Alytidae กบในวงศ์นี้มีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบ 8 ปล้อง กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของโอพิสโธซีลัส กระดูกหัวไหล่เป็นแบบอย่างของอาร์กซิเฟอรัล กระดูกแอสทรากาลัสและกระดูกแคลคาเนียมเชื่อมรวมกันเฉพาะส่วนตัวและส่วนปลาย ไม่มีชิ้นกระดูกแทรกระหว่างกระดูกนิ้วสองชิ้นสุดท้าย ลูกอ๊อดมีโครงสร้างปากแบบมีจะงอยปากและมีตุ่มฟัน ช่องเปิดของห้องเหงือกมีช่องเดียวอยู่ในแนวตรงกลางระหว่างของลำตัว ส่วนใหญ่เป็นกบที่อาศัยเฉพาะถิ่นในยุโรป แต่ก็มีบางส่วนที่พบได้ในภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกา และสูญพันธุ์ไปแล้วที่อิสราเอล เดิมกบในวงศ์นี้ ได้เคยถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ที่ใช้ชื่อว่า Discoglossidae แต่ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เห็นว่าชื่อที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีการตั้งมาก่อน จึงใช้ชื่อนี้.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและวงศ์คางคกหมอตำแย

วงศ์เพียงพอน

ระวังสับสนกับ: วงศ์พังพอน วงศ์เพียงพอน หรือ วงศ์วีเซล (weasel family, mustelid) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Mustelidae (มาจากภาษาละตินคำว่า Mustela หมายถึง "เพียงพอน") ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในวงศ์นี้ คือ มีหัวกลม ใบหูสั้นกลม ขาสั้นเตี้ย ลำตัวเพรียวยาว หางยาว มีขนที่อ่อนนุ่มและหนาทั้งตัวและหาง อุ้งเล็บตีนแหลมคม ในปากมีฟันที่แหลมคม มีฟันตัดเหมาะสมสำหรับการกินเนื้อ ซึ่งสามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน เป็นสัตว์ที่คล่องแคล่วว่องไว ปราดเปรียว และกินอาหารได้หลากหลายไม่เลือกทั้งพืชและสัตว์ หลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพียงพอน จะล่ากระต่ายกินเป็นอาหาร ทั้งที่เป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่า โดยทำการล่าเป็นฝูงและมุดเข้าไปลากดึงเอาถึงในโพรงจากลำตัวที่เพรียวยาว ลักษณะเด่นคือประการ คือ ส่วนมากยกเว้นนากทะเล จะมีต่อมกลิ่นใกล้กับรูทวาร ซึ่งผลิตสารเคมีที่เป็นของเหลวเหมือนน้ำมันสีเหลือง มีกลิ่นฉุนสำหรับใช้ประกาศอาณาเขตและใช้เป็นการประกาศทางเพศ และเมื่อปฏิสนธิแล้ว ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิจะยังไม่ฝังตัวเข้ากับผนังมดลูก แต่จะลอยอยู่อย่างนั้น ซึ่งอาจกินเวลานับ 10 เดือน จะฝังตัวเฉพาะเมื่อถึงฤดูกาลที่อาหารอุดมสมบูรณ์เท่านั้น ก่อนที่จะพัฒนาต่อมาเป็นตัวอ่อนและพัฒนาต่อมาจนกระทั่งคลอดออกมาในฤดูที่อาหารอุดมสมบูรณ์ อุณหภูมิอากาศพอเหมาะแก่ลูกอ่อนที่เกิดขึ้นมา ซึ่งตัวแม่จะออกลูกและเลี้ยงดูลูกไว้ในโพรงดินหรือโพรงไม้ ลูกอ่อนจะยังไม่ลืมตา และมีขนบาง ๆ ปกคลุมตัวเท่านั้น จนกระทั่งอายุได้ราว 2-3 เดือน จึงจะเริ่มหย่านม และออกมาใช้ชีวิตเองตามลำพังเมื่ออายุได้ราว 1 ปี พบกระจายพันธุ์ไปในหลายพื้นที่รอบโลก ทั้งในป่าทึบ, ที่ราบสูง, พื้นที่ชุ่มน้ำ, ชายฝั่งทะเล ตลอดจนชุมชนเมืองของมนุษย์ จนกระทั่งหลายชนิดเป็นสัตว์รังควานสร้างความเสียหายให้แก่มนุษ.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและวงศ์เพียงพอน

สกุลสหยัดเรีย

กุลสหยัดเรีย เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Sahyadria ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) คำว่า Sahyadria มาจากคำว่า "Sahyadri" (สหยัดรี) ซึ่งเป็นชื่อท้องถิ่นของเทือกเขาเวสเทิร์นกาตส์ ในภาคตะวันตกของอินเดีย ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของปลาในสกุลนี้ จัดเป็นปลาที่พบได้เฉพาะถิ่น ปัจจุบัน จำแนกออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่Raghavan, R., Philip, S., Ali, A.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและสกุลสหยัดเรีย

สกุลปลาทองทะเล

ปลาทองทะเล เป็นสกุลของปลาทะเลขนาดเล็กที่อยู่ในสกุล Pseudanthias ในวงศ์ย่อย Anthiinae ของวงศ์ปลากะรัง หรือปลาเก๋า (Serranidae) เป็นปลาขนาดเล็กมีสีสันและลวดลายสดใส พบได้ในแนวปะการังของมหาสมุทรอินเดีย และแถบอินโด-แปซิฟิก จึงเป็นที่นิยมของนักประดาน้ำและการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม หลายชนิดจัดเป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและสกุลปลาทองทะเล

สยามมนัส

มมนัส เป็นพืชชนิดเดียวในสกุล Siamanthus และเป็นพืชถิ่นเดียวที่พบทางภาคใต้ของไทย แถบจังหวัดนราธิวาส ลักษณะเป็นไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1.5 เมตร แตกกอแน่น เหง้ามีเส้นใยหนาแน่น ใบเป็นรูปหอก ปลายแหลมยาว โคนเรียวสอบ ขอบมีขนยาว ก้านใบยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ช่อดอกออกที่ยอด มีได้ถึง 20 ดอก ดอกสีส้มอมแดงออกเดี่ยว ๆ บนแกนช่อ ไม่มีใบประดับ ก้านดอกยาวได้ถึง 3 เซนติเมตร หลอดกลีบเลี้ยงยาว 3-4 เซนติเมตร หลอดกลีบดอกยาว 5-6 เซนติเมตร ไม่มีแผ่นเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันด้านข้าง ก้านชูอับเรณูยาวได้ถึง 2 เซนติเมตร อับเรณูยาว 2.5-3 เซนติเมตร ผลรูปแถบแบบแห้งแตกห้อยลง ยาว 5-11 เซนติเมตร เมล็ดเป็นเหลี่ยมขนาดประมาณ 2 มิลลิเมตร.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและสยามมนัส

อรพิม

อรพิม หรือ คิ้วนาง เป็นไม้เถาเนื้อแข็งในสกุลชงโค มีมือเกาะ มีขนสีน้ำตาลที่กิ่งอ่อน ใบประกอบ ดอกมี 5 กลีบ สีขาว 4 กลีบ สีเหลือง 1 กลีบ ติดฝักเป็นรูปดาบ เปลือกบาง ผิวเรียน เมล็ดข้างในแบน มีจำนวนมาก แก้ท้องเสีย แก้ปวดศีรษะ ขับเสมหะ แก้บิด จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นที่พบได้ในประเทศไทยเท่านั้น และเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี โดยชื่อวิทยาศาสตร์นั้น ตั้งขึ้นเป็นเกียรติแก่ พระยาวินิจวนันดร (โต โกเมศ) นักพฤษศาสตร์ชาวไทย ที่ได้รับการยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งพฤษศาสตร์ไทย".

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและอรพิม

อิกัวนาบก

อิกัวนาบก (Land iguana) เป็นกิ้งก่าสกุลหนึ่ง ในวงศ์อิกัวนา (Iguanidae) จัดอยู่ในสกุล Conolophus (มาจากภาษากรีกสองคำ: conos (κώνος) หมายถึง "หนาม" และ lophos (λοφος) หมายถึง "หงอน" โดยมีความหมายถึง หนามบนสันหลัง) จัดเป็นสัตว์ถิ่นเดียวที่พบเฉพาะบนหมู่เกาะกาลาปาโกสเท่านั้น โดยถือว่าเป็นอิกัวนาอีกจำพวกหนึ่งที่มีความโดดเด่นของที่นี่นอกเหนือไปจากอิกัวนาทะเล ซึ่งอิกัวนาบกนั้นมีรูปร่างลักษณะ ตลอดจนพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากอิกัวนาทะเลพอสมควร เนื่องจากเป็นสัตว์ที่หากินแต่เฉพาะบนบก กินพืชเป็นอาหาร โดยพืชที่นิยมกินเป็นพืชจำพวกกระบองเพชร โดยเฉพาะกระบองเพชรซันตาเฟ ซึ่งก็เป็นพืชถิ่นเดียวของหมู่เกาะกาลาปาโกสเช่นเดียวกัน ดังนั้นกระบองเพชรซันตาเฟจึงมีลักษณะลำต้นและกิ่งก้านที่สูงและยาว รวมถึงมีหนามแหลมเพื่อป้องกันตัวเองจากการกินของอิกัวนา ดังนั้น อิกัวนาบกเองก็มีวิวัฒนาการของตัวเอง โดยปรับตัวให้สามารถกินอาหารได้หลากหลายขึ้น เช่น เปลี่ยนมากินแมลงเล็ก ๆ เป็นอาหารด้วย อิกัวนาบก เป็นสัตว์ที่ไม่มีอุปนิสัยดุร้าย แม้จะมีรูปร่างหน้าตาที่น่ากลัวเหมือนกับอิกัวนาทะเล โดยพบกระจายพันธุ์ได้น้อยกว่าอิกัวนาทะเลพอสมควร โดยธรรมชาติเป็นสัตว์ที่ไม่ค่อยขยับเขยื้อนตัว เนื่องจากเป็นสัตว์กินพืช จึงจะขยับตัวหรือเคลื่อนไหวต่อเมื่อกินอาหารเท่านั้น เกาะที่สามารถพบอิกัวนาบกได้มากที่สุด คือ เกาะซันตาเฟ หรือเกาะบาร์ริงตัน และเกาะเซาท์พลาซา สามารถจำแนกได้เป็น 3 ชน.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและอิกัวนาบก

อิมพาลา

อิมพาลา (Impala) เป็นสัตว์กีบคู่มีเขาใหญ่เป็นเกลียว ซึ่งอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Aepycerotinae ในวงศ์ใหญ่ Bovidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับวัวหรือแพะ, แกะ จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้และสกุลนี้ คำว่า "อิมพาลา" มาจากภาษาซูลู ซึ่งเป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกสัตว์ชนิดนี้ ถูกบันทึกไว้ครั้งแรกเป็นลายลักษณ์อักษรในปี..

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและอิมพาลา

จิมิ เฮนดริกซ์

มส์ มาร์แชลล์ เฮนดริกซ์ (James Marshall Hendrix) หรือชื่อเกิด จอห์นนี อัลเลน เฮนดริกซ์ (Johnny Allen Hendrix) (27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942 - 18 กันยายน ค.ศ.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและจิมิ เฮนดริกซ์

จิ้งเหลนด้วง

''Amphisbaena alba'' เป็นจิ้งเหลนด้วงในวงศ์ Amphisbaenidae พบได้ในป่าทึบอเมริกาใต้ จิ้งเหลนด้วง หรือ แมงปากจอบ หรือ ปากจอบ (Worm skink, Legless lizard) เป็นชื่อสามัญของสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ จำพวกจิ้งเหลนหรือกิ้งก่า จิ้งเหลนด้วง มีรูปร่างโดยรวม คือ ลำตัวเป็นเกล็ดมันวาว ตัวอ้วนกลม มีจุดเด่น คือ ไม่มีขา หรือมีขาแต่ก็เล็กมาก ทำให้แลดูคล้ายงู จึงทำให้ต้องอาศัยและหากินเฉพาะบนพื้นดินเท่านั้น หลายชนิดมักจะฝังตัวหรือหลบซ่อนตัวใต้กองใบไม้หรือในโพรงพื้นดิน หลายชนิดเป็นสัตว์เฉพาะถิ่น ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย เช่น จิ้งเหลนด้วงปักธงชัย (Davewakeum miriamae) ที่พบได้เฉพาะป่าสะแกราชเท่านั้น, จิ้งเหลนด้วงลาย (Isopachys gyldenstolpei) และOphioscincus anguinoides เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้จัดอยู่ในวงศ์ Scincidae หรือจิ้งเหลน และวงศ์ที่พบในต่างประเทศ เช่น Amphisbaenidae ที่พบในทวีปอเมริกา เป็นต้นวีรยุทธ์ เลาหะจินดา, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หน้า 373-397 (พ.ศ.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและจิ้งเหลนด้วง

ถ้ำพระวังแดง

้ำพระวังแดง เป็นถ้ำหินปูนมีความยาวถึง 13 กิโลเมตร นับว่าเป็นถ้ำที่มีความยาวที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและถ้ำพระวังแดง

ทะเลทรายนามิบ

right ทะเลทรายนามิบ (Namib Desert) ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งประเทศนามิเบีย ทอดตัวยาวตั้งแต่ประเทศแองโกลาทางทิศเหนือทาบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกในประเทศนามิเบีย ไปสุดที่แม่น้ำออเรนจ์ตรงพรมแดนระหว่างประเทศนามิเบียกับประเทศแอฟริกาใต้ มีความยาวประมาณ 2,000 กิโลเมตร มีช่วงความกว้างตั้งแต่ 10-160 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 50,000 ตารางกิโลเมตร เป็นหนึ่งในทะเลทรายที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของโลก โดยคาดว่ามีอายุอย่างน้อย 55 ล้านปี สภาพโดยทั่วไปเวิ้งว้างและเต็มไปด้วยหมอก ทะเลทรายนามิบถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนโดยแม่น้ำควีเซบซึ่งไหลลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกที่อ่าววอลว.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและทะเลทรายนามิบ

ดอยเชียงดาว

ระอาทิตย์ตกบนยอดดอยเชียงดาว ดอยเชียงดาว หรือ ดอยหลวงเชียงดาว (Doi Chiang Dao, Doi Luang Chiang Dao) เป็นดอยหรือยอดเขาที่มีความสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย รองมาจากดอยอินทนนท์และดอยผ้าห่มปก ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูง 2,275 เมตร (7,136 ฟุต) จากระดับน้ำทะเล ชื่อในสมัยก่อนเรียกว่า "ดอยอ่างสลุง" ชื่อกันตามตำนานพื้นเมืองว่าเป็นสถานที่ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาพร้อมพระอรหันต์ 8 รูป ทรงลงสรงน้ำในสลุงทองคำหรือบริเวณอ่างสลุง จึงเรียกดอยแห่งนี้ว่า "ดอยหลวง" เนื่องจากเป็นดอยที่มีขนาดสูงใหญ่ ("หลวง" ในภาษาเหนือ หมายถึง "ใหญ่") เพี้ยนเป็น "ดอยหลวงเพียงดาว" จนกลายมาเป็น "ดอยหลวงเชียงดาว" หรือ "ดอยเชียงดาว" ในปัจจุบัน เป็นที่ตั้งของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว อุณหภูมิตามปกติจะถูกปกคลุมด้วยเมฆหมอกตลอดปีโดยเฉพาะในฤดูหนาวและฤดูฝน อากาศหนาวเย็นตลอดฤดูหนาวและฤดูฝนอากาศชุ่มชื้นมาก เป็นแหล่งที่มีพืชพรรณหลากหลายและมีหลายชนิดที่เป็นพืชถิ่นเดียวไม่พบในส่วนอื่น ๆ ของประเทศไทย มีทั้งพืชเขตร้อน, กึ่งเขตร้อนและพืชเขตอบอุ่น จึงเป็นสถานที่ ๆ พบความหลากหลายทางชีวภาพมาก เนื่องจากเป็นเขาหินปูน เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัย เกิดขึ้นในยุคเพอร์เมียน มีอายุระหว่าง 230–250 ล้านปี เป็นหมู่หินราชบุรีของไทย ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนทะเล และซากสัตว์ที่มีหินปูน สันนิษฐานว่า พื้นที่ในบริเวณนี้ในอดีตเคยเป็นท้องทะเลมาก่อนที่การตกตะกอนทับถมของซากสิ่งมีชีวิต เช่น ปะการังและหอย เป็นแหล่งนิยมสำหรับการดูนก มีนกอาศัยอยู่ที่นี่มากกว่า 300 ชนิด รวมถึงสัตว์ป่าชนิดอื่นที่หายาก เช่น ผีเสื้อสมิงเชียงดาว, ไก่ฟ้าหางลายขวาง, กวางผา รวมถึงเลียงผา ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวน เป็นต้น.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและดอยเชียงดาว

ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศบราซิล

นกทูแคนดำอกขาว เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นในเขตสะวันนาของบราซิล มีกบลูกศรพิษหลายพันธุ์ ดังเช่น กบพิษลายสีเหลืองตัวนี้ ที่สามารถพบได้ในป่าของประเทศบราซิล ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศบราซิล ประกอบด้วยสัตว์, เห็ดรา และพืช ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในประเทศนี้ของทวีปอเมริกาใต้ โดยหลักแหล่งของพวกมันมีสภาพเป็นป่าดิบชื้นแอมะซอนถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณหนึ่งในสิบของสปีชีส์ทุกชนิดที่มีอยู่ในโลก นับได้ว่าประเทศบราซิล เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดกว่าประเทศใด ๆ ในโลก โดยมีสายพันธุ์พืชซึ่งเป็นที่รู้จักราว 55,000 สปีชีส์, ปลาน้ำจืดราว 3,000 สปีชีส์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอีกกว่า 689 สปีชีส์ ประเทศนี้ยังได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับสามของประเทศที่มีจำนวนสายพันธุ์สัตว์ปีกมากที่สุดถึง 1,832 สปีชีส์ และอยู่ในอันดับสองของประเทศที่มีสายพันธุ์สัตว์เลื้อยคลานมากที่สุดถึง 744 สปีชีส์ ส่วนจำนวนของสายพันธุ์เชื้อรายังไม่ทราบแน่ชัด แต่ก็ถือว่ามีเป็นจำนวนมหาศาลDa Silva, M.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศบราซิล

ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศญี่ปุ่น

วามหลากหลายทางชีวภาพในประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วยพืชประจำเขตภูมิภาค, สัตว์ประจำเขตภูมิภาค และที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ เกาะของประเทศญี่ปุ่นจะยึดระยะทางยาวจากเหนือจรดใต้ และครอบคลุมหลากหลายของเขตภูมิอากาศ ส่งผลให้เกิดความหลากหลายของสายพันธุ์สัตว์ป่าเป็นอย่างมาก แม้จะมีการแยกเกาะญี่ปุ่นจากแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชียก็ตาม ในภาคเหนือของประเทศ จะมีสายพันธุ์แบบที่มีอยู่ในภูมิภาคซับอาร์กติกเป็นจำนวนมาก ส่วนทางภาคใต้จะมีสายพันธุ์แบบที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามแบบฉบับของภูมิภาคเขตร้อน โดยในพื้นที่เหล่านี้จะมีหลายสายพันธุ์ที่ปรากฎอยู่ในประเทศจีนและประเทศเกาหลี นอกจากนี้ ประเทศญี่ปุ่นยังมีสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นจำนวนมากที่ไม่สามารถพบที่อื่นใดนอกจากนี้ได้.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศญี่ปุ่น

ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศมาดากัสการ์

ลีเมอร์หางแหวน (''Lemur catta'') เป็นสายพันธุ์ลีเมอร์ที่คุ้นเคยมากที่สุดของประเทศมาดากัสการ์ องค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศมาดากัสการ์ สะท้อนให้เห็นถึงความจริงที่ว่าเป็นเกาะที่แยกออกจากแผ่นดินใหญ่มาประมาณ 88 ล้านปี การแยกในยุคก่อนประวัติศาสตร์คือการแยกมหาทวีปกอนด์วานาออกเป็นผืนทวีปแอนตาร์กติกา-มาดากัสการ์-อินเดีย โดยแยกไปจากผืนทวีปแอฟริกา-อเมริกาใต้เมื่อประมาณ 135 ล้านปีที่ผ่านมา จากนั้น มาดากัสการ์ก็ได้แยกออกจากอินเดียเมื่อประมาณ 88 ล้านปีที่ผ่านมา ส่งผลให้พืชและสัตว์มีการพัฒนาแยกความสัมพันธ์ในหมู่เครือญาติ ผลมาจากการแยกของเกาะจากทวีปใกล้เคียงเป็นเวลาที่ยาวนาน ทำให้มาดากัสการ์เป็นบ้านของพืชและสัตว์ที่มีความอุดมสมบูรณ์ไม่เหมือนที่ใดในโลก ซึ่งประมาณได้ว่าร้อยละ 90 ของทุกสายพันธุ์พืชและสัตว์ที่พบในมาดากัสการ์เป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น ซึ่งประกอบด้วยลีเมอร์ (ชนิดของกลุ่มไพรเมตสตรีปซิไรนิ), ฟอสซาที่กินเนื้อเป็นอาหาร รวมถึงนกจำนวนมาก จากนิเวศวิทยาที่โดดเด่นนี้ ได้ทำให้นักนิเวศวิทยาบางส่วน อ้างถึงมาดากัสการ์ว่าเป็น "ทวีปที่แปด" และเกาะได้รับการจำแนกประเภทของสิ่งมีชีวิตโดยองค์กรอนุรักษ์พลังงานระหว่างประเทศ ในฐานะที่เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีว.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศมาดากัสการ์

ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศจีน

ัตว์ใกล้สูญพันธุ์และได้รับการป้องกัน ลิงจมูกเชิด สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นอีกสายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ ภูมิประเทศที่มีขนาดใหญ่และหลากหลายของประเทศจีน เป็นบ้านที่มีความหลากหลายและความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์ป่าอย่างลึกซึ้ง ในฐานะที่เป็นหนึ่งใน 17 ประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในโลก จากประมาณการ ประเทศจีนมีสัตว์มีกระดูกสันหลัง 7,516 สายพันธุ์ ซึ่งประกอบด้วย ปลา 4,936 สายพันธุ์, นก 1,269 สายพันธุ์, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม 562 สายพันธุ์, สัตว์เลื้อยคลาน 403 สายพันธุ์ และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 346 สายพันธุ์ ในแง่ของจำนวนของสายพันธุ์ ประเทศจีนมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมากเป็นอันดับสามของโลก,.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศจีน

ความหลากหลายทางชีวภาพในเบอร์มิวดา

ต้นซีดาร์เบอร์มิวดา ในเขตชานเมืองของแฮมิลตัน พืชและสัตว์ของเบอร์มิวดาเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศที่มีลักษณะเฉพาะ เนื่องจากการแยกเบอร์มิวดาจากแผ่นดินใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนือ ความหลากหลายของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและหมู่เกาะในรูปแบบเขตภูมินิเวศที่ต่างกัน นั่นคือ ป่าสนเบอร์มิวดากึ่งเขตร้อน.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและความหลากหลายทางชีวภาพในเบอร์มิวดา

คางคกไวโอมิง

งคกไวโอมิง (Wyoming toad; หรือ Bufo baxteri) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำหายากที่ปัจจุบันยังเหลือรอดเฉพาะในสถานที่เพาะเลี้ยง และในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแห่งชาติทะเลสาบมอร์เทนสัน ในรัฐไวโอมิง สหรัฐอเมริกาเท่านั้น ถูกขึ้นทะเบียนอยู่ในรายชื่อสัตว์ใกล้สูญพันธุ์เมื่อ..

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและคางคกไวโอมิง

งูปาล์ม

งูปาล์ม หรือ งูเขียวปาล์ม หรือ งูปาล์มแดง (Palm pit viper, Javanese pit viper, Flat-nosed pit viper) เป็นงูพิษชนิดหนึ่ง ในจำพวกงูเขียวหางไหม้ งูปาล์ม เป็นงูเขียวหางไหม้ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 35 เซนติเมตร มีสีและลวดลายปะปนกันหลายสี มีสีพื้นสีเขียว สีน้ำตาล และสีน้ำตาลอมแดง มีจุดประสีขาว ส่วนท้องสีน้ำตาลม่วง มีสิ่งที่ทำให้แตกต่างจากงูเขียวหางไหม้ชนิดอื่น คือ มีเกล็ดจมูกเชิดงอนขึ้น เกล็ดบนตาแหลมสูงทำให้แลดูเด่นชัด ไม่เหมือนงูเขียวหางไหม้ชนิดอื่น ๆ ซึ่งในครั้งแรกเข้าใจว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของสีลวดลายหรือเป็นความแตกต่างระหว่างเพศของตัวผู้และตัวเมียของงูที่พบในเขตประเทศมาเลเซียและไม่พบในประเทศไทย แต่เมื่อนำมาเลี้ยงดูและศึกษาแล้วพบว่ามีลักษณะเช่นนี้เหมือนกันทั้งตัวผู้และตัวเมีย งูปาล์ม เดิมเคยเชื่อว่าเป็นงูถิ่นเดียวที่พบได้เฉพาะในภาคใต้ของไทย พบครั้งแรกโดยเกาะพาดอยู่กลางป่าหวาย ที่อำเภอท่าฉางเขตติดต่อกับจังหวัดนครศรีธรรมราช จึงได้ชื่อว่า "งูปาล์ม" และได้ให้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trimeresurus wiroti เพื่อเป็นเกียรติให้แก่ น.อ.(พิเศษ) วิโรจน์ นุตพันธุ์ นักวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวไทย แต่แท้จริงแล้ว งูปาล์มพบได้ทั่วไปตั้งแต่ภาคใต้ของไทยไปจนถึงมาเลเซียตะวันออกและอินโดนีเซีย โดยตัวอย่างต้นแบบแรกพบที่เกาะชวา โดยที่ไม่มีชนิดย่อ.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและงูปาล์ม

งูแมวเซา

งูแมวเซา เป็นงูพิษชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Daboia siamensis ในวงศ์ Viperidae.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและงูแมวเซา

งูเส้นด้ายบาร์เบโดส

งูเส้นด้ายบาร์เบโดส (Barbados threadsnake) เป็นงูเส้นด้ายตาบอดสปีชีส์หนึ่งในวงศ์ Leptotyphlopidae เป็นงูขนาดเล็กที่สุดในโลก พบในเกาะในแคริบเบียนของประเทศบาร์เบโดส และพบในเมืองอาบูเกีย (Abu Qir) ในประเทศอียิปต์ http://species.asu.edu/2009_species04 งูชนิดนี้ได้รับการบรรยายและระบุแยกตัวเป็นสปีชีส์ในปี..

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและงูเส้นด้ายบาร์เบโดส

งูเห่าพ่นพิษ

งูเห่าพ่นพิษสีทอง (''Naja sumatrana'') เป็นงูเห่าพ่นพิษที่พบได้ในประเทศไทย งูเห่าพ่นพิษ (Spitting cobra) เป็นงูเห่ากลุ่มหนึ่ง ที่สามารถพ่นพิษออกจากต่อมพิษได้ แทนที่จะกัดเหมือนงูเห่าหรืองูทั่วไป งูเห่าพ่นพิษ สามารถพ่นพิษได้ไกลถึง 2 เมตร โดยแรงบีบจากกล้ามเนื้อบีบต่อมพิษและบังคับออกผ่านไปยังข้างหน้าหลุมที่ซอกของเขี้ยว แต่เดิมเคยเชื่อว่า งูเห่าพ่นพิษออกมาจากการไล่ลมออกจากปอดเพื่อขับพิษไปข้างหน้า ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าผิด พิษของงูเห่าพ่นพิษหากถูกผิวหนังจะไม่เกิดผลใด ๆ แต่ถ้าโดนเข้าตา จะทำให้ตาบอดได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธีและท่วงทันเวลา เพราะมีฤทธิ์ทำให้กระจกตาบวม ซึ่งงูก็จะเล็งที่ตาของศัตรูที่มาคุกคามด้วย ซึ่งพิษของงูเห่าพ่นพิษมีผลกระทบและทำให้เหยื่อมีอาการอัมพาตได้รุนแรงกว่างูเห่าทั่วไป งูเห่าพ่นพิษมีรูปร่างและลักษณะทั่วไปคล้ายกับงูเห่าชนิดที่พ่นพิษไม่ได้ หากแก่การแยกแยะได้จากลักษณะภายนอก พบแพร่กระจายพันธุ์ได้ทั้งในทวีปเอเชียและแอฟริกา สำหรับในประเทศไทยมีงูเห่าพ่นพิษอยู่ 2 ชน.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและงูเห่าพ่นพิษ

ตับอักเสบ บี

ตับอักเสบ บี (hepatitis B) เป็นโรคตับชนิดหนึ่งที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ผู้ป่วยที่ติดเชื้อครั้งแรกส่วนใหญ่ไม่มีอาการ บางรายจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตัวเหลือง อ่อนเพลีย ปัสสาวะเข้ม และปวดท้องได้ ส่วนใหญ่อาการเหล่านี้จะเป็นอยู่ประมาณ 2-3 สัปดาห์ และมีเพียงส่วนน้อยที่อาการดำเนินไปอย่างรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตในการติดเชื้อครั้งแรกนี้ ระยะฟักตัวอาจยาวนานได้ถึง 30-180 วัน ผู้ป่วยที่ติดเชื้อนี้ตั้งแต่แรกเกิดจะเกิดตับอักเสบเรื้อรังได้ถึง 90% ในขณะที่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อในภายหลังที่อายุมากกว่า 5 ปี จะเกิดตับอักเสบเรื้อรังเพียง 10% ผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบบีส่วนใหญ่จะไม่มีอาการอยู่เป็นเวลานาน แต่ในระยะท้ายๆ อาจเกิดตับแข็งหรือมะเร็งตับขึ้นได้ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตถึง 15-25% ของผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสบี เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ติดต่อผ่านการสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่ง ในพื้นที่ที่มีความชุกสูง มักพบว่าผู้ป่วยที่พบบ่อยที่สุดคือทารกที่ติดเชื้อจากแม่ในขณะคลอด หรือเด็กที่ได้สัมผัสเลือดของผู้ที่มีเชื้อ ส่วนในพื้นที่ที่มีความชุกต่ำ ผู้ป่วยที่พบบ่อยได้แก่ผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดและผู้ป่วยที่รับเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ การเป็นผู้ให้บริการด้านสุขภาพ (เช่น ทำงานในโรงพยาบาล) การรับเลือด การฟอกเลือด การใช้ชีวิตอยู่กับผู้ติดเชื้อ การเดินทางไปยังประเทศที่มีความชุกของโรคสูง และการเป็นผู้อาศัยในสถานบำบัด ในสมัยคริสตทศวรรษ 1980 มีผู้ป่วยจำนวนมากได้รับเชื้อผ่านการสักและการฝังเข็ม แต่ปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีปลอดเชื้อเจริญรุดหน้ามากขึ้นก็พบผู้ติดเชื้อผ่านช่องทางเหล่านี้น้อยลง เชื้อไวรัสตับอักเสบบีไม่สามารถติดต่อได้ผ่านการจับมือ ใช้อุปกรณ์ในการกินอาหารร่วมกัน การจูบ การกอด การไอ จาม หรือการให้นมบุตร ปัจจุบันสามารถตรวจพบเชื้อได้เร็วที่สุดประมาณ 30-60 วันหลังได้รับเชื้อ การวินิจฉัยส่วนใหญ่ทำได้โดยการตรวจเลือดหาชิ้นส่วนของไวรัส (แอนติเจน) และการตรวจหาสารภูมิคุ้มกันต่อไวรัสซึ่งสร้างโดยร่างกายของผู้ติดเชื้อ (แอนติบอดี) ไวรัสนี้เป็นไวรัสตับอักเสบชนิดหนึ่งจากทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี ดี และอี ตั้งแต..

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและตับอักเสบ บี

ตาลน้ำเงิน

ตาลน้ำเงิน (Blue Latan Palm) เป็นปาล์มในสกุล Latania เป็นปาล์มเฉพาะถิ่นของหมู่เกาะแมสการีนในมหาสมุทรอินเดีย ลักษณะเป็นปาล์มต้นเดี่ยว สูงได้ถึง 8 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร ใบรูปพัดสีเขียวอมน้ำเงิน ช่อดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ยาว 1.5 เมตร ออกระหว่างกาบใบ ผลรูปไข่ขนาด 5 เซนติเมตร เมื่อสุกมีสีเขียวเข้ม นิยมปลูกเป็นไม้ประดั.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและตาลน้ำเงิน

ตาลแดง

ตาลแดง (Red Latan Palm) เป็นปาล์มในสกุล Latania เป็นปาล์มเฉพาะถิ่นของเกาะเรอูว์นียงในหมู่เกาะแมสการีน ลักษณะเป็นปาล์มต้นเดี่ยว สูงได้ถึง 8 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร ใบรูปพัด เมื่อต้นยังเล็ก ก้านใบ สะดือใบ และขอบใบมีสีแดงเข้ม ช่อดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ออกระหว่างกาบใบ ยาว 1.5 เมตร ผลรูปไข่ขนาด 5 เซนติเมตร เมื่อสุกมีสีเขียวอมน้ำตาล นิยมปลูกเป็นไม้ประดั.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและตาลแดง

ตาลเหลือง

ตาลเหลือง (Yellow Latan Palm) เป็นปาล์มในสกุล Latania เป็นปาล์มเฉพาะถิ่นของเกาะโรดรีเกสในหมู่เกาะแมสการีน ลักษณะเป็นปาล์มต้นเดี่ยว สูงได้ถึง 8 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร ใบรูปพัดสีเหลืองอมเขียว เมื่อต้นยังเล็ก ก้านใบและสะดือใบมีสีเหลืองหรือเหลืองอมส้ม ช่อดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ออกระหว่างกาบใบ ผลรูปไข่ขนาด 5 เซนติเมตร เมื่อสุกมีสีเขียวอมน้ำตาล นิยมปลูกเป็นไม้ประดั.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและตาลเหลือง

ตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิค

ตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิค (Satanic leaf-tailed gecko) สัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง จำพวกตุ๊กแก จัดเป็นตุ๊กแกหางใบไม้ชนิดหนึ่ง ตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิค พบกระจายพันธุ์เฉพาะบนเกาะมาดากัสการ์เท่านั้น เป็นตุ๊กแกที่มีลักษณะพิเศษ คือ สามารถพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างดีเยี่ยม มีร่างกายที่บิดงอ ผิวหนังที่มีเส้นเลือดโปดปูน และส่วนหางที่แบนราบแลดูคล้ายใบไม้แห้งอย่างมาก ทำให้สามารถพรางตัวเป็นใบไม้แห้งได้อย่างแนบเนียน ผิวหนังมีหลายสีด้วยกัน เช่น สีเขียวมะกอก หรือสีน้ำตาลมีจุดดำกระจายอยู่ตามตัว ขนาดโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 10-13 นิ้ว มีดวงตากลมใหญ่ไร้เปลือกตา โดยจะมีเพียงเยื่อใส ๆ ห่อหุ้มป้องกันดวงตาเท่านั้น ดวงตาสีน้ำตาลอมชมพู มีจุดสีแดงตรงกลาง ตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิค เป็นสัตว์หากินในเวลากลางคืน โดยพฤติกรรมจะซุ่มอยู่นิ่ง ๆ เกาะอยู่ตามต้นไม้หรือใบไม้หรือมอสในพื้นที่ป่าดิบชื้นทางภาคตะวันออกของเกาะมาดากัสการ์ กินแมลง และแมงหลายชนิดเป็นอาหาร ในตัวที่มีขนาดลำตัวใหญ่อาจกินสัตว์ที่มีขนาดใหญ่เช่น หนู หรือนกขนาดเล็กได้ด้วย ทำตัวกลมกลืนกับธรรมชาติ จำแนกเพศได้โดยการพิจารณาจากสีผิว ตัวเมียจะมีลำตัวสีเทา ขณะที่ตัวผู้จะเป็นสีน้ำตาลแกมเหลือง และมีปุ่มสองปุ่มคล้ายไข่บริเวณโคนหาง ตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิค นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์แปลก โดยทำการเลี้ยงในตู้กระจกและปรับสภาพแวดล้อมเลียนแบบธรรมชาติเช่นเดียวกับสัตว์เลื้อยคลานลักษณะคล้ายกัน จัดเป็นตุ๊กแกที่เลี้ยงง่าย ไม่มีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ผู้เลี้ยงสามารถป้อนอาหารให้กินด้วยมือได้ และสามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้ในที่เลี้ยง โดยไข่ใช้เวลาฟักประมาณ 30 วัน และนานที่สุด คือ 90-120 วัน โดยสถานที่แรกที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ คือ สวนสัตว์ซานดิเอโก ด้วยความแปลกทางรูปร่างตลอดจนพฤติกรรม ทำให้ตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิคได้กลายเป็นอินเทอร์เน็ตมีม โดยถูกตั้งข้อสังเกตว่ามีลักษณะคล้ายกับมังกร ซึ่งเป็นสัตว์ในจินตนาการไม่มีอยู่จริง และถูกตัดต่อภาพให้มีปีกเหมือนกับมังกร.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิค

ตุ่นปากเป็ด

ตุ่นปากเป็ด (Platypus, Watermole, Duckbill, Duckmole, Duck-billed platypus) เป็นสัตว์ประจำท้องถิ่นของออสเตรเลีย แม้ว่าตุ่นปากเป็ดจะมีเพียงสปีชีส์เดียว แต่มีชื่อเรียกมากมายหลายชื่อ เช่น และมีชื่อที่ชาวอะบอริจินตั้งให้อีกหลายชื่อ ได้แก่ mallangong, boondaburra และ tambreet พบตุ่นปากเป็ดเฉพาะในแถบตะวันออกของออสเตรเลียเท่านั้น ตุ่นปากเป็ดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับโมโนทรีมาตา (Monotremata) เช่นเดียวกับอีคิดน.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและตุ่นปากเป็ด

ซาลาแมนเดอร์ยักษ์ญี่ปุ่น

กะโหลกซาลาแมนเดอร์ยักษ์ญี่ปุ่น ซาลาแมนเดอร์ยักษ์ญี่ปุ่น (Japanese giant salamander; オオサンショウウオ, ハンザキ–โอซานโชอูโอ, ฮานซะกิ) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Andrias japonicus จัดอยู่ในวงศ์ซาลาแมนเดอร์ยักษ์ (Cryptobranchidae).

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและซาลาแมนเดอร์ยักษ์ญี่ปุ่น

ประเทศตองงา

ตองงา (อังกฤษและTonga) มีชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรตองงา (Kingdom of Tonga; Puleʻanga Fakatuʻi ʻo Tonga ปูเลอางา ฟากาตูอีโอโตงา) เป็นประเทศหมู่เกาะในภูมิภาคพอลินีเชีย ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างประเทศนิวซีแลนด์กับรัฐฮาวายของสหรัฐอเมริกา โดยทะเลอาณาเขตทางตะวันตกติดกับประเทศฟิจิ ส่วนทางตะวันออกติดกับหมู่เกาะคุก นีวเว และอเมริกันซามัว ในขณะที่ทางทิศเหนือติดกับหมู่เกาะวาลิสและฟูตูนา ประเทศซามัว และอเมริกันซามัว ชื่อประเทศในภาษาตองงาแปลว่าทิศใต้ นอกจากนี้ประเทศนี้ได้รับฉายาว่า หมู่เกาะมิตรภาพ จากกัปตันเจมส์ คุก ประเทศตองงาเป็นประเทศขนาดเล็กมีเนื้อที่เพียง 747 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอันดับที่ 189 ของโลก หมู่เกาะตองงาประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ประมาณ 169 เกาะ โดยมีเพียง 36 เกาะเท่านั้นที่มีผู้อยู่อาศัย เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะโตงาตาปู ซึ่งเป็นที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองคือนูกูอาโลฟา เกาะส่วนใหญ่ของตองงาเป็นเกาะที่เกิดจากการทับถมของปะการัง ประชากรของตองงามีทั้งสิ้น 103,036 คน นับเป็นอันดับที่ 192 ของโลก สันนิษฐานว่ามนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยในตองงาครั้งแรกเมื่อ 826 ± 8 ปีก่อนคริสตกาล ตองงาเริ่มก่อตั้งอาณาจักรเป็นของตนเองในปี..

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและประเทศตองงา

ปลาชะโอนถ้ำ

ปลาชะโอนถ้ำ หรือ ปลาชะโอนถ้ำวังบาดาล (Cave sheatfish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) เป็นปลาที่มีถิ่นอาศัยเพียงถิ่นเดียว มีลำตัวสีขาวเผือกอมเหลืองทั้งตัวคล้ายภาวะผิวเผือก ตามีขนาดเล็กมากและเป็นสีแดง โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มที่พบในถ้ำวังบาดาล ภายในอุทยานแห่งชาติเอราวัณ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งปลากลุ่มนี้จะมีลักษณะดังที่กล่าวข้างต้น และกลุ่มที่อยู่นอกถ้ำหรือพบในถ้ำอื่น จะมีลำตัวสีเทาอมน้ำตาลเท่านั้น มีขนาดยาวเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร ถูกค้นพบครั้งแรกในปี พ.ศ.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและปลาชะโอนถ้ำ

ปลาชะโดอินเดีย

ปลาชะโดอินเดีย (Malabar snakehead) ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) ปลาชะโดอินเดีย มีลักษณะคล้ายกับปลาชะโด (C.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและปลาชะโดอินเดีย

ปลากัดช้าง

ปลากัดช้าง หรือ ปลากัดน้ำแดง ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างป้อมสั้น ครีบหลังยาว ครีบท้องเป็นเส้นยาว ครีบก้นยาว ปลายครีบเรียวยาว ครีบหางค่อนข้างใหญ่ หัวโต ปากกว้าง เกล็ดใหญ่ ส่วนหัวละลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนหรือสีน้ำตาลแดง มีลายใต้คางซึ่งมีลักษณะเหมือนสัญลักษณ์พาย (π) อันเป็นที่มาของชื่อวิทยาศาสตร์ ใต้ขอบตาเป็นสีส้มเข้มในตัวผู้ ครีบสีจางมีเหลือบสีเขียวอ่อน ปากสีคล้ำ มีรอยสีคล้ำเป็นรูปโค้งและมีแถบ 2 แถบติดกันที่ใต้คางและริมฝีปากล่าง นับเป็นหนึ่งในปลากัดอมไข่ ที่พบได้ในประเทศไทย จัดเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุด โดยสามารถโตเต็มที่ได้ถึง 12 เซนติเมตร แต่เฉลี่ยทั่วไป 9 เซนติเมตร ซึ่งนับว่าใหญ่ที่สุดด้วยในบรรดาปลากัดทั้งหมดที่พบในประเทศไทย พบในป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส ของประเทศไทย โดยอาศัยในน้ำที่มีสีชาหรือสีแดง อันเกิดจากการทับถมของซากพืชเป็นเวลานาน และมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างค่อนข้างต่ำ (ประมาณ pH 5-6) เป็นปลาที่ไม่ดุร้าย ก้าวร้าว เหมือนพวกปลากัดประเภทก่อหวอด จึงสามารถเลี้ยงรวมกันได้หลาย ๆ ตัว สถานภาพเป็นปลาที่ถูกคุกคามทางด้านถิ่นที่อยู่อาศัยในธรรมชาติ จัดเป็นปลาเฉพาะถิ่น ปัจจุบัน สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในสถานที่เลี้ยง.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและปลากัดช้าง

ปลาหมอลายเมฆ

ปลาหมอลายเมฆ หรือ ปลาหมอนิมโบโครมิส (Sleeper cichlid) เป็นปลาน้ำจืดในสกุล Nimbochromis (/นิม-โบ-โคร-มิส/) ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) จัดเป็นปลาหมอสีที่พบได้เฉพาะในทะเลสาบมาลาวี รวมถึงแหล่งน้ำอื่นใกล้เคียงเท่านั้น ปลาหมอลายเมฆ มีลักษณะเฉพาะ คือ ตามลำตัวมีลวดลายที่ดูแปลก เป็นจ้ำ ๆ มีสีน้ำตาลอยู่บนพื้นสีเหลือง ดูคล้ายกากบาทหรือตัวอักษร X หรือลายพรางของทหาร สีบริเวณส่วนหัวเป็นสีน้ำเงิน มีขนาดประมาณ 25-30 เซนติเมตร โดยที่คำว่า Nimbochromis ที่ใช้เป็นชื่อสกุลนั้นมาจากภาษาละติน 2 คำ คือ Nimbo ที่หมายถึง "เมฆในฤดูฝน" และ chromis ที่หมายถึง "ปลาหมอสี" อันหมายถึง ลวดลายบนตัวปล.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและปลาหมอลายเมฆ

ปลาหมอแคระแม่กลอง

ปลาหมอแคระแม่กลอง ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอแคระ (Babidae) มีช่วงลำตัว ช่วงระหว่างตา และจุดเริ่มต้นของครีบหลังยาว โดยรวม จึงเป็นปลาที่มีลำตัวค่อนข้างยาวอาศัยอยู่ในลำธารที่มีระบบนิเวศจำเพาะ ที่มีปรับเปลี่ยนหมุนเวียนไปตามฤดูกาล ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอีกหลายชนิดที่อาศัยอยู่ในที่เดียวกันและได้วิวัฒนาการปรับตัวตามการผันแปรตามฤดูกาลของลำธาร ค้นพบครั้งแรกโดย นณณ์ ผาณิตวงศ์ นักสำรวจธรรมชาติและนักมีนวิทยาชาวไทยที่ต้นแม่น้ำแควน้อย ในพื้นที่อำเภอสังขละบุรี และ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรีเท่านั้น จึงเป็นปลาประจำถิ่นของประเทศไท.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและปลาหมอแคระแม่กลอง

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

้เฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาที่เดียวเท่านั้น ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นปลาที่พบได้ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นแม่น้ำหลักของประเทศอีกลุ่มแม่น้ำหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมีการค้นพบปลาในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานี้แล้วไม่ต่ำกว่า 350 ชนิด นับเป็นอันดับ 2 รองจากลุ่มแม่น้ำโขงหนังสือปลาไทยคืนถิ่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยา กรมประมง มีนาคม..

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

ปลาดินสอแดง

ปลาดินสอแดง (Coral red pencilfish) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาดินสอ (Lebiasinidae) นับเป็นปลาดินสอชนิดหนึ่งที่มีสีสันสวยงามที่สุด มีสีแดงสดทั่วทั้งตัว และมีลวดลายตัดแนวขวางเป็นเส้นสีดำ มีลักษณะเหมือนกันทั้งตัวผู้และตัวเมีย แต่ตัวผู้มักมีพฤติกรรมชอบอวดสีสันและลวดลายตามลำตัวข่มกันมากกว่า เป็นปลาขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ประมาณ 25–30 มิลลิเมตร เป็นปลาที่พบได้เฉพาะในแคว้นโลเรโต ประเทศเปรูเท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำหรือแม่น้ำขนาดเล็กที่มีพืชน้ำขึ้นอย่างหนาแน่น หรือในพื้นที่ป่าที่น้ำท่วมหรือน้ำที่มีสีชา นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยนิยมเลี้ยงเป็นฝูงในตู้ไม้น้ำ ปัจจุบันเป็นปลาที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและปลาดินสอแดง

ปลาตะเพียนลายหมากรุก

ปลาตะเพียนลายหมากรุก (Checker barb, Checkered barb, Checkerboard barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ถูกบรรยายทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกเมื่อปี..

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและปลาตะเพียนลายหมากรุก

ปลาฉลามหางไหม้ (ไทย)

ปลาหางไหม้ หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาฉลามหางไหม้ (Burnt-tailed barb, Siamese bala-shark) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ปลาหางไหม้ มีรูปร่างและทรวดทรงที่เพรียวยาว ตาโต ปากเล็ก ขยับปากอยู่ตลอดเวลา ใต้คางมีแผ่นหนังเป็นถุงเปิดออกด้านท้าย ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย เกล็ดมีขนาดเล็กสัดส่วนของครีบทุกครีบเหมาะสมกับลำตัว โดยเฉพาะครีบหางซึ่งเว้าเป็นแฉกลึก สีของลำตัวเป็นสีเงินแวววาว ด้านหลังสีเขียวปนเทา ครีบหลัง ครีบท้อง ครีบก้นและครีบหาง สีส้มแดงและขอบเป็นแถบดำ อันเป็นที่มาของชื่อ ว่ายน้ำได้ปราดเปรียวมาก และกระโดดขึ้นได้สูงจากน้ำมาก มีขนาดโตเต็มราว 20–30 เซนติเมตร นิยมอยู่เป็นฝูง หากินตามใต้พื้นน้ำ ในอดีตพบชุกชุมในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในประเทศไทย แต่ปัจจุบันไม่พบแล้ว เชื่อว่าได้สูญพันธุ์ไปจนหมดแล้ว สันนิษฐานว่าเป็นผลมาจากการจับจากธรรมชาติเพื่อจำหน่ายเป็นปลาสวยงาม แต่ก็เพียงข้อสันนิษฐาน โดยถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตถิ่นเดียว แม้จะมีรายงานพบในลุ่มแม่น้ำโขง ในเวียดนาม, กัมพูชา และลาว แต่ทว่าก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยัน และไม่เป็นที่ยอมรับจาก IUCN ซึ่งในอดีตปลาหางไหม้ได้ถูกใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ร่วมกับปลาฉลามหางไหม้ชนิดที่พบในประเทศอินโดนีเซีย (B.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและปลาฉลามหางไหม้ (ไทย)

ปลาแชด

ปลาแชด (Shad ITIS) เป็นวงศ์ย่อยของปลาที่อยู่ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alosinae พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก ประมาณ 30 ชนิด พบได้ทั้งในทะเล, ชายฝั่ง, แม่น้ำ หรือในแหล่งน้ำจืด และในที่ประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล เป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง แบ่งออกเป็นสกุลต่าง ๆ เช่น Alosa (ปลาแฮร์ริ่งแม่น้ำ), Hilsa (ปลามงโกรย) หรือ Tenualosa (ปลาตะลุมพุก).

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและปลาแชด

ปาล์มขุนหมากรุก

ปาล์มขุนหมากรุก (wine palm) เป็นปาล์มเฉพาะถิ่นของเกาะฮิสปันโยลา อยู่ในสกุล Pseudophoenix เป็นปาล์มต้นเดี่ยว สูงได้ถึง 15 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 30-40 เซนติเมตร ลำต้นด้านล่างคอดตรงแต่กลางลำป่องออก คอใบยาว 50-60 เซนติเมตร ใบรูปขนนก ช่อดอกออกระหว่างกาบใบ เป็นดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ผลกลมเมื่อสุกเป็นสีแดง ขนาด 2-2.5 เซนติเมตร ปาล์มขุนหมากรุกนิยมปลูกเป็นปาล์มประดับ ชาวพื้นเมืองเกาะฮิสปันโยลาใช้น้ำเลี้ยงต้นมาหมักเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและปาล์มขุนหมากรุก

ปาล์มเจ้าเมืองถลาง

ปาล์มเจ้าเมืองถลาง (White Elephant Palm, White Backed Palm) หรือ ปาล์มพระยาถลาง ทังหลังขาว ชิงหลังขาว เป็นปาล์มชนิดเดียวในสกุล Kerriodoxa เป็นปาล์มเฉพาะถิ่นที่พบทางภาคใต้ของประเทศไทย ลักษณะเป็นปาล์มลำเดี่ยวขนาดกลาง สูงได้ถึง 12 เมตร ขึ้นรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือสีเขียวเข้ม แผ่ออก 25-35 ใบ ใต้ใบสีขาวเป็นมัน ก้านใบสีเกือบดำ ยาวได้ถึง 2 เมตร ช่อดอกออกระหว่างกาบใบ 2-4 ช่อ ผลทรงกลมแบนสีเหลืองอมส้ม.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและปาล์มเจ้าเมืองถลาง

ปาล์มเคราฤๅษี

ปาล์มเคราฤๅษี (old man palm) เป็นปาล์มเฉพาะถิ่นที่พบในประเทศคิวบา ลักษณะเป็นปาล์มต้นเดี่ยว สูงได้ถึง 10 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 10-15 เซนติเมตร มีเส้นใยสีน้ำตาลคลุมลำต้น ใบรูปพัดขอบใบจักเว้าลึก แผ่นใบกลม ช่อดอกสมบูรณ์เพศ ยาว 70-80 เซนติเมตร ออกระหว่างกาบใบ ผลกลมขนาด 2 เซนติเมตร เมื่อสุกมีสีม่วง ปาล์มเคราฤๅษีมี 2 ชนิดย่อยที่ได้รับการยอมรับคือ Coccothrinax crinita subsp.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและปาล์มเคราฤๅษี

ปูนา

ำหรับปูนาในสกุลอื่นดูที่ Sayamia ปูนา (Ricefield crabs) เป็นสิ่งมีชีวิตประเภทปูน้ำจืดในวงศ์ Parathelphusidae ในสกุล Somanniathelphusa แหล่งที่อยู่มักจะอยู่ในนาข้าวจึงเรียกว่าปูนา ปูนาแพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงบางพื้นที่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออก เกษรกรผู้ปลูกข้าวในไทย ถือว่าปูนาเป็นศัตรูพืชของข้าว เพราะปูจะกัดกินต้นข้าวที่ปักดำใหม่ ๆ ทำให้ชาวนาต้องปักดำซ้ำหลายครั้ง นอกจากนี้ ปูยังขุดรูตามคันนา ทำให้คันนาไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ แต่ปูนาก็เป็นอาหารราคาถูกและหาง่ายโดยเฉพาะกับวิถีชีวิตผู้คนในชนบท และเป็นส่วนประกอบสำหรับปรุงเป็นอาหารประเภทต่าง ๆ เช่น ส้มตำ ในประเทศไทยพบมี 8 ชนิด ในภาคต่าง ๆ ดังนี้ 1.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและปูนา

นกกินแมลงเด็กแนน

นกกินแมลงเด็กแนน หรือ นกกินแมลงหน้าผากน้ำตาล (Rufous-fronted babbler, Deignan's babbler) นกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกินแมลงและนกกะราง (Timaliidae) มีความยาวลำตัววัดจากปลายปากถึงปลายหางประมาณ 15 เซนติเมตรขนบนลำตัวสีเหลือง ขนบนกระหม่อมสีน้ำตาลแดง ปากสั้นโค้งเล็กน้อย ปลายแหลมสีน้ำตาลเข้ม กินแมลงเป็นอาหาร เดิม นกชนิดนี้เคยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stachyris rodolphei แต่ปัจจุบันยอมรับว่าเป็นชนิดเดียวกันกับ Stachyridopsis rufifrons จึงใช้ชื่อนี้ในปัจจุบัน และอาจจะยังเป็นชนิดเดียวกันกับ Stachyris ambigua ด้วย เป็นนกที่พบได้เฉพาะภาคเหนือ ที่ดอยหลวงเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ที่เดียวเท่านั้น จัดเป็นนกเฉพาะถิ่น ปัจจุบันพบได้น้อยมาก มีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและนกกินแมลงเด็กแนน

นกสาลิกาดง

นกสาลิกาดง (Blue magpie) เป็นสกุลของนกเกาะคอนสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Urocissa ในวงศ์นกกา (Corvidae) เป็นนกที่มีสีสันสวยงาม โดยมากจะเป็นสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน และขนหางยาวมาก พบกระจายพันธุ์เฉพาะในป่าของเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจะงอยปากที่หนาและแข็งแรง มีลักษณะใกล้เคียงกับนกในสกุล Cissa พบทั้งหมด 5 ชนิด โดยในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียว คือ.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและนกสาลิกาดง

นกอินทรีฟิลิปปิน

นกอินทรีฟิลิปปิน (Philippine eagle) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อนกอินทรีกินลิง คือนกอินทรีชนิดหนึ่งในตระกูลสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น วงศ์เหยี่ยวและอินทรีในเขตป่าของฟิลิปปินส์ นกชนิดนี้มีสีน้ำตาลและขนนกสีขาว และมีหงอนที่ดกหนา โดยสัดส่วนทั่วไปวัดความยาวได้ 86-102 เซนติเมตร (2.82 ถึง 3.35 ฟุต) และมีน้ำหนัก 4.7-8.0 กิโลกรัม (10.4-17.6 ปอนด์) นกชนิดนี้ได้รับการพิจารณาว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดานกอินทรีที่ยังมีอยู่ในโลกในด้านความยาว แต่นกอินทรีทะเลชเตลเลอร์ (Steller's sea eagle) และนกอินทรีฮาร์ปี (harpy eagle) มีขนาดใหญ่กว่าในด้านน้ำหนักและความใหญ่โต ท่ามกลางนกที่มีพลังและความหายากที่สุดในโลก นกอินทรีฟิลิปปินได้รับการประกาศเป็นนกประจำชาติของฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นนกที่อยู่ในอันตรายเข้าขั้นวิกฤต เนื่องจากการสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัยหลักจากการตัดไม้ทำลายไม้ในขอบเขตของมัน การล่านกอินทรีฟิลิปปินมีโทษภายในกฎหมายฟิลิปปินส์ โดยมีโทษจำคุก 12 ปี และค่าปรับสูง.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและนกอินทรีฟิลิปปิน

นกอินทรีปาปัว

นกอินทรีปาปัว (Papuan eagle) หรือที่รู้จักในชื่ออินทรีฮาร์ปีปาปัว อินทรีนิวกินี และอินทรีกาปุล มีความยาว 75-90 เซนติเมตร ความยาวปีก 157 เมตร น้ำหนัก 1600-2400 กรัม เป็นนกล่าเหยื่อชนิดหนึ่ง มีขนสีน้ำตาลเทาและหงอนสั้น ปีกสามแถบ จะงอยปากที่ทรงพลัง ม่านตาใหญ่ หางกลมยาวและส่วนท้องสีขาว นกชนิดนี้มีขาไร้ขนที่ยาวและมีพลังด้วยกรงเล็บที่แหลมคม ลักษณะของเพศผู้และเมียใกล้เคียงกัน โดยตัวเมียใหญ่กว่าตัวผู้เล็กน้อย มันเป็นสมาชิกของสัตว์ที่มีวงศ์เดียวคือ Harpyopsis นกอินทรีปาปัวเป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นในป่าฝนเขตร้อนที่ไม่ถูกรบกวนของเกาะนิวกินี ซึ่งนกชนิดนี้กลายเป็นนักล่าหลักของเกาะ อาคารของมันประกอบด้วยสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง เช่น คอมมอนบรัชเทลพอสซั่ม หรือคาพูลในภาษาท้องถิ่น ซึ่งกลายเป็นอีกชื่อหนึ่งของมัน อย่างไรก็ตามมันก็เป็นอาหารของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ นก และงู นกอินทรีปาปัวเป็นหนึ่งในสี่ของกลุ่มนกอินทรีขนาดใหญ่ที่สุด สายพันธุ์อื่น ๆ ได้แก่ นกอินทรีเครสทิดในทวีปอเมริกา นกอินทรีฮาร์ปีในทวีปอเมริกาใต้ นกอินทรีฟิลิปปินในประเทศฟิลิปปินส์ นกอินทรีปาปัวคือนกภูเขาโดยพื้นฐานซึ่งทำรังอยู่บนต้นไม้ป่าสูง แต่อาจจะถูกพบในระดับน้ำทะเลในบางพื้นที่ซึ่งป่ายังคงไม่ถูกรบกวน เนื่องจากการสูญเสียพื้นที่ป่าอย่างต่อเนื่อง จำนวนประชากรที่เล็กน้อย และการล่าเพื่อเอาขนของมันซึ่งใช้ในโอกาสงานพิธี นกอินทรีปาปัวจึงถูกจัดให้เป็นสัตว์เกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติของสายพันธุ์ที่ถูกคุกคาม และถูกขึ้นบัญชีบนภาคผนวกที่ 2 ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES).

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและนกอินทรีปาปัว

นกน้อย สิทธิประเสริฐ

นกน้อย สิทธิประเสริฐ (ชื่อจริง: นเรศ เอี่ยนเหล็ง; เกิด: 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529; ที่อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่) นักมวยสากลอาชีพชาวไทย ในสังกัดเพชรยินดีบ็อกซิ่งโปรโมชั่น โดยชื่อ "นกน้อย" นั้นมาจากนกแต้วแร้วท้องดำ ซึ่งเป็นนกที่หาได้ยาก ใกล้สูญพันธุ์ โดยพบได้เฉพาะที่อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ อันเป็นถิ่นกำเนิดของนกน้อยเท่านั้น นกน้อยมีโอกาสขึ้นชิงแชมป์โลกในรุ่นฟลายเวท (112 ปอนด์) ของสมาคมมวยโลก (WBA) กับคะซุโตะ อิโอะกะ เจ้าของตำแหน่งชาวญี่ปุ่น ในวันที่ 23 เมษายน..

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและนกน้อย สิทธิประเสริฐ

นกเจย์สีน้ำตาลซินเจียง

นกเจย์สีน้ำตาลซินเจียง หรือ นกเจย์สีน้ำตาลทากลามากัน (Biddulph's ground jay, Xinjiang ground jay) เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกนกเจย์ อยู่ในวงศ์นกกา (Corvidae) จัดเป็นนกเจย์พื้นดินชนิดหนึ่ง เป็นนกขนาดเล็กขนาดไม่ใหญ่เกินไปกว่าฝ่ามือมนุษย์ มีขนตามลำตัวสีน้ำตาล ตัวผู้มีแถบลายพาดที่ใบหน้าสีดำ ขณะที่ยังเป็นลูกนกจะมีขนปุกปุยและไม่มีแถบสีดำ เป็นนกที่พบได้เฉพาะถิ่นที่พบได้ในประเทศจีนเท่านั้น โดยพบในทะเลทรายทากลามากัน ในมณฑลซินเจียง ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจีน นกตัวผู้จะเป็นฝ่ายหาเลี้ยงลูก โดยจิกหากินตามพื้นดิน อาหาร ได้แก่ เมล็ดพืชและแมลงต่าง ๆ รวมถึงอาจพลิกกิ่งไม้หากินได้ด้วย โดยมีถุงเก็บอาหารในลำคอเหมือนนกชนิดอื่นในวงศ์กาทั่วไป.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและนกเจย์สีน้ำตาลซินเจียง

นกเค้าป่าหลังจุด

นกเค้าป่าหลังจุด (Spotted wood-owl) เป็นนกเค้าแมวในสกุล Strix มีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างแปลก เนื่องจากพบในที่ไม่ต่อเนื่องในหลายพื้นที่รอบเกาะบอร์เนียว แต่กลับไม่พบบนเกาะ มีสามชนิดย่อยคือ.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและนกเค้าป่าหลังจุด

น้ำตกคอนพะเพ็ง

น้ำตกคอนพะเพ็ง (ນ້ຳຕົກຕາດຄອນພະເພັງ) เป็นน้ำตกขนาดใหญ่และมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในภูมิภาคอินโดจีน น้ำตกคอนพะเพ็งเป็นน้ำตกที่มีหลายชั้น ตั้งอยู่บนแก่งหินขนาดใหญ่ขวางกั้นเส้นทางการไหลของแม่น้ำโขงทั้งสาย มีลักษณะต่างระดับกันสูงประมาณ 10 เมตร จัดเป็นน้ำตกที่ได้รับน้ำจากแม่น้ำโขงตอนล่าง น้ำตกคอนพะเพ็งมีความสูง 21 เมตร (69 ฟุต) กระแสน้ำไหลเชี่ยว 9.7 กิโลเมตร (6.0 ไมล์) ปริมาณน้ำตกลงมาด้วยความเร็วประมาณ 11,000 ลูกบาศก์เมตร/วินาที (390,000 ลูกบาศก์ฟุต/วินาที) แม้ว่าปริมาณสูงสุดในบันทึกได้ถึงกว่า 49,000 ลูกบาศก์เมตร/วินาที (1,700,000 ลูกบาศก์ฟุต/วินาที) น้ำตกคอนพะเพ็งได้รับฉายาว่า "ไนแอการาแห่งเอเชีย" ตั้งอยู่ในแขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว ห่างจากเมืองปากเซประมาณ 150 กิโลเมตร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อและสวยงามมากแห่งหนึ่งของประเทศลาว โดยคำว่า "คอน" หมายถึง "แก่ง" หรือ "เกาะ" "พะเพ็ง" หมายถึง "พระจันทร์วันเพ็ญ" นอกจากนี้แล้ว น้ำตกคอนพะเพ็งยังเป็นสถานที่อาศัยของสัตว์น้ำหายากหลายชนิด เช่น ปลาค้อคอนพะเพ็ง ที่เป็นปลาค้อเฉพาะถิ่นที่พบได้ในแถบนี้เท่านั้น และเป็นแหล่งอาศัยของโลมาหัวบาตร หรือ "ปลาข่า" (ປາຂ່າ) ในภาษาลาว โลมาเพียงไม่กี่ชนิดที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดได้ของโลก รวมถึงเป็นแหล่งกำเนิดของปลาบึก ซึ่งเป็นปลาหนังน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย เป็นต้น น้ำตกคอนพะเพ็ง น้ำตกคอนพะเพ็ง.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและน้ำตกคอนพะเพ็ง

แมวตีนดำ

แมวตีนดำ (Black-footed cat) เป็นสัตว์ในตระกูลแมวที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก และเป็นแมวถิ่นเดียวที่พบในเขตแห้งแล้งทางตะวันตกเฉียงใต้ของตอนใต้ทวีปแอฟริกา ได้รับการจัดเป็นชนิดที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์โดย IUCN เมื่อปี..

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและแมวตีนดำ

แม่น้ำสาละวิน

แม่น้ำสาละวิน (Salween River; သံလွင်မြစ်; 40px; กะเหรี่ยงสะกอ: โคโหล่โกล) เป็นแม่น้ำสายที่ยาวเป็นอันดับที่ 26 ของโลก ยาว 2,800 กิโลเมตร และเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับสองของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ รองมาจากแม่น้ำโขง จากไทยพีบีเอส มีต้นกำเนิดจากการละลายของหิมะเหนือเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ที่ซึ่งเรียกแม่น้ำนี้ว่า นู่เจียง (怒江) หมายถึง "แม่น้ำพิโรธ" และผ่านประเทศพม่าผ่านรัฐฉาน รัฐกะยา รัฐกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นแม่น้ำกั้นพรมแดน ระหว่างพม่ากับไทยที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน และไหลลงมาบรรจบกับแม่น้ำเมย หลังจากนั้นแม่น้ำสาละวินจึงไหลวกกลับเข้าประเทศพม่า และไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะ รัฐมอญ แม่น้ำสาละวินมีต้นกำเนิดที่เดียวกับแม่น้ำโขง และแม่น้ำแยงซี โดยแบ่งแยกออกจากกันอย่างชัดเจนจากต้นกำเนิด และเนื่องจากเป็นน้ำที่เกิดจากการละลายของหิมะ อุณหภูมิของน้ำในแม่น้ำสาละวินจึงมีความเย็นกว่าน้ำในแม่น้ำอื่น ๆ ในประเทศไทย บางช่วงมีความลึกมากและน้ำไหลแรง นอกจากนี้ ในประเทศ จีน แม่น้ำสาละวิน เป็น 1 ในแม่น้ำ 3 สาย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น "มรดกโลก" ร่วมกับ แม่น้ำโขง และ แม่น้ำแยงซี ในเขตพื้นที่มณฑลยูนนาน ภายใต้ชื่อ พื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน โดยพื้นที่ดังกล่าว นับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลายทางชีวภาพสูง.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและแม่น้ำสาละวิน

โอล์ม

อล์ม (Olm, Human fish) เป็นซาลาแมนเดอร์ชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์หมาน้ำ (Proteidae) จัดเป็นซาลาแมนเดอร์เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Proteus (เคยมีอีกชนิดหนึ่ง คือ P.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและโอล์ม

โซโคตรา

ซโคตรา (Socotra, Soqotra) หรือ ซุกุฏรอ (سُقُطْرَى‎) เป็นชื่อกลุ่มของเกาะ 4 เกาะในทะเลอาหรับและเป็นชื่อเกาะที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มเกาะนั้น โซโคตราตั้งอยู่ใกล้เส้นทางการเดินเรือที่สำคัญและเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเยเมนอย่างเป็นทางการ กลุ่มเกาะนี้เคยขึ้นกับเขตผู้ว่าการเอเดนอยู่เป็นเวลานาน ใน..

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและโซโคตรา

ไก่ป่าลังกา

ก่ป่าลังกา หรือ ไก่ป่าศรีลังกา หรือ ไก่ป่าซีลอน (Sri Lanka junglefowl, Ceylon junglefowl; ทมิฬ: காட்டுக்கோழி) เป็นไก่ป่าชนิดหนึ่ง ไก่ป่าลังกา นับเป็นไก่ป่าชนิดที่ใกล้เคียงกับไก่ป่า (G.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและไก่ป่าลังกา

ไรน้ำนางฟ้า

รน้ำนางฟ้า (Fairy shrimp) เป็นครัสเตเชียนจำพวกแบรงคิโอโพดาจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในสกุล Streptocephalus และวงศ์ Streptocephalidae มีลักษณะคล้ายไรทะเลหรืออาร์ทีเมีย แต่มีขนาดตัวโตกว่า คือ ไม่มีเปลือก ตัวใส มีขาว่ายน้ำ 11 คู่ ลำตัวยาว 1 - 3 เซนติเมตร ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย และมีพฤติกรรมว่ายน้ำแบบหงายท้องโดยใช้ขาช่วยกรรเชียงนำโบก พัดอาหารเข้าปาก บริเวณหัวมีตาขนาดใหญ่ที่มีก้านยาว 1 คู่ มีหนวด 2 คู่ ส่วนหางแยกเป็นสองแฉกมีสีแดงส้ม ตัวเมียมีถุงไข่ 1 ถุง อยู่ทางด้านท้อง หนวดคู่ที่ 2 ของตัวผู้เปลี่ยนแปลงไปใช้สำหรับจับตัวเมียเวลาผสมพันธุ์ และใช้ในการจำแนกชนิด ไข่ที่ตัวเมียสร้างขึ้นจะพัฒนาให้มีเปลือกหนา ไรน้ำนางฟ้า จะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดต่าง ๆ ที่มีขนาดเล็ก เช่น คูน้ำข้างถนน หรือนาข้าว แม้กระทั่งแหล่งน้ำชั่วคราว เช่น ปลักควาย หรือรอยเท้าควายในเลน ยามฤดูฝน อาหารของไรน้ำนางฟ้า ได้แก่ แพลงก์ตอนสัตว์, โปรโตซัว, อินทรียสารและแพลงก์ตอนพืช ฤดูที่พบ คือ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงสิงหาคม คือ ในฤดูฝน วงจรชีวิต คือ ไข่มีเปลือกหนา เป็นซีส ฝังอยู่ในพื้นดินหรือโคลน โดยจะพบในบ่อเล็กบ่อน้อย เมื่อน้ำท่วมขังก็จะฟักเป็นตัวออกมา ส่วนแหล่งน้ำขนาดใหญ่จะไม่พบไรน้ำนางฟ้า ไรน้ำนางฟ้าจะมีชีวิตอยู่ได้ในระยะเวลาสั้น ๆ ไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น ไรน้ำนางฟ้า แบ่งออกได้ราว ๆ 50-60 ชนิด (ดูเนื้อหาข้างล่าง) พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ แอฟริกา, ออสเตรเลีย, ยูเรเชีย, อเมริกากลาง และอเมริกาเหนือ ซึ่งเดิมเคยเป็นมหาทวีปกอนด์วานา เป็นต้น ส่วนในประเทศไทย มีทั้งหมด 3 ชนิด ซึ่งทั้ง 3 ชนิดนั้น ล้วนแต่เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นทั้งหมด ได้แก่ ไรน้ำนางฟ้าสิรินทร (Streptocephalus sirindhornae) พบครั้งแรกที่จังหวัดหนองบัวลำภู และพบได้ทั่วประเทศ, ไรน้ำนางฟ้าไทย (Branchinella thailandensis) มิได้จัดอยู่ในสกุล Streptocephalus ไข่มีขนาดใหญ่กว่าไรน้ำนางฟ้าสิรินธรสองเท่า และไรน้ำนางฟ้าสยาม (Streptocephalus siamensis) พบครั้งแรกที่จังหวัดสุพรรณบุรี และกาญจนบุรี เป็นชนิดที่หาได้ยากมาก นอกจากนี้แล้วยังพบได้ที่ประเทศลาว ไรน้ำนางฟ้า มีคุณค่าทางสารอาหารสูง ปัจจุบันได้มีการเพาะเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารให้แก่สัตว์น้ำต่าง ๆ ทั้งเป็นอาหารให้แก่ตัวอ่อน, เป็นอาหารให้แก่สัตว์น้ำเศรษฐกิจ และสัตว์น้ำสวยงาม โดยปัจจุบันสามารถเพาะเลี้ยงได้แล้วตลอดทั้งปี นอกจากนี้แล้ว ไรน้ำนางฟ้ายังมีชื่อเรียกตามภาษาถิ่นต่าง ๆ เช่น "แมงอ่อนช้อย", "แมงแงว", "แมงหางแดง" และ"แมงน้ำฝน" เป็นต้น.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและไรน้ำนางฟ้า

เกาะฟายาล

เกาะฟายาล (Faial Island) เป็นเกาะของประเทศโปรตุเกส ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติก มีเมืองสำคัญได้แก่ ออร์ตา เกาะนี้ชาวเฟลมิชเริ่มเข้าไปตั้งถิ่นฐานในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 หมวดหมู่:เกาะในประเทศโปรตุเกส หมวดหมู่:ภูเขาไฟในประเทศโปรตุเกส.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและเกาะฟายาล

เกาะมาดากัสการ์

right เกาะมาดากัสการ์ (Madagascar Island) เกาะมาดากัสการ์ตั้งอยู่ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกาบนมหาสมุทรอินเดีย มีช่องแคบโมซัมบิกคั่นระหว่างเกาะกับฝั่งทวีปแอฟริกาห่างกันเพียง 300 ไมล์ เกาะมาดากัสการ์มีพื้นที่ 587,713 ตารางกิโลเมตร ถือเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ขนาดเท่า ๆ กับประเทศสเปน และเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งทั้งเกาะเป็นอาณาเขตของประเทศมาดากัสการ์ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะเป็นภูเขาสูงและที่ราบสูงในระดับตั้งแต่ 800-1800 เมตร มีที่ราบลุ่มอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเกาะมีความยาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ คำว่า "มาดากัสการ์" มีความหมายว่า "ดินแดนแห่งบรรพบุรุษ" เนื่องจากชาวพื้นเมืองที่นี่มีความเชื่อว่า เมื่อตายไปแล้ว วิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตจะยังคงปกป้องสิ่งที่ชีวิตที่เหลือ เกาะมาดากัสการ์เริ่มมีมนุษย์เข้ามาอาศัยราว 2,000 ปีที่แล้ว ไม่ใช่มาจากผืนแผ่นดินใหญ่แอฟริกา หากแต่อพยพมาไกลจากอินโดนีเซีย เกาะมาดากัสการ์เกิดขึ้นมาครั้งเมื่อติดเป็นผืนแผ่นดินเดียวกับมหาทวีปกอนด์วานา ที่ถือกำเนิดเมื่อ 180 ล้านปีก่อน จนกระทั่ง 140 ล้านปีก่อน กอนด์วานาได้แตกตัวแยกออกจากกัน เกาะมาดากัสการ์ได้แยกตัวออกมาจากทวีปแอฟริกาเมื่อ 70 ล้านปีก่อน โดยเริ่มแรกอยู่ติดกับส่วนที่เป็นอินเดียในปัจจุบัน จากนั้นเมื่อ 40 ล้านปีก่อน อินเดียได้แยกตัวลอยขึ้นเหนือไปชนกับภูมิภาคเอเชียใต้ จนให้เกิดเป็นแนวเทือกเขาหิมาลัย ในขณะที่เกาะมาดากัสการ์ได้อยู่ในแนวภูมิอากาศที่แห้งแล้ง ส่งผลให้ทางตอนใต้ของเกาะมีสภาพที่แห้งแล้ง แต่ต่อมาได้ค่อย ๆ เคลื่อนที่อย่างช้า ๆ จนกระทั่งอยู่ใน ณ ที่อยู่ปัจจุบัน เมื่อ 60 ล้านปีก่อน และได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลนที่พัดกระหน่ำชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา ซึ่งอิทธิพลทำให้เกาะมาดากัสการ์มีสภาพอากาศและภูมิประเทศที่หลากหลายแตกต่างกันอย่างสุดขั้วในปัจจุบัน โดยมีฤดูแล้งนานถึงครึ่งปี และอีกครึ่งปีฝนตกหนัก ซึ่งปริมาณน้ำฝนที่ตกมาเฉลี่ยวันละ 10 นิ้ว ส่งผลให้น้ำท่วมเอ่อล้นเกิดเป็นแม่น้ำและทะเลสาบหลายแห่ง และทุกวันนี้ตัวเกาะก็ยังคงเคลื่อนที่ต่อไปในทางเหนือเฉลี่ยปีละ 3-4 นิ้ว นั่นจึงทำให้เกาะมาดากัสการ์มีลักษณะของพืชพันธุ์และสัตว์ที่หลากหลายแห่งหนึ่งของโลก จนได้รับสมญาว่า "ทวีปที่ 8 ของโลก" ในบางประเภทพบได้แต่เฉพาะบนเกาะนี้เท่านั้น จากการปรับตัววิวัฒนาการให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่อาศัย เช่น ลีเมอร์ ซึ่งสภาพความหลากหลายของพืชและสัตว์บนเกาะถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนโดยบริษัท ดรีมเวิร์กสแอนิเมชัน เรื่อง มาดากัสการ์ ในปี ค.ศ.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและเกาะมาดากัสการ์

เสือลายเมฆ

ือลายเมฆ (Clouded leopard) เสือใหญ่ประเภทหนึ่ง อยู่ในวงศ์เสือและแมว (Felidae).

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและเสือลายเมฆ

เหี้ยดำ

หี้ยดำ หรือ มังกรดำ (Black water monitor, Black dragon) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Varanus komaini มีรูปลักษณะทั่วไปคล้ายเหี้ย มีขนาดใกล้เคียงกับเหี้ยทั่วไป เมื่อโตเต็มวัยจากปลายหัวถึงโคนหาง 9ฟุต สีดำด้านทั้งตัว บางตัวก็มีจุดและลายแทรกอยู่บ้าง แต่ลายจะจาง ท้องสีเทา ลิ้นสีน้ำเงินเข้ม เหี้ยดำพบได้เฉพาะบริเวณชายทะเลหรือป่าชายเลนและบนเกาะเล็ก ๆ ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทยเท่านั้น โดยสถานที่ค้นพบครั้งแรกคืออำเภอละงู จังหวัดสตูล และสถานที่ ๆ พบเหี้ยดำจะไม่พบเหี้ยเลย ในประเทศไทยหายากมาก และมีรายงานพบทางประเทศมาเลเซีย บริเวณ ปีนัง และ อินโดนีเซีย บริเวณ ลัมปุง และบางหมู่เกาะทางตอนเหนือของอินโดนีเซีย ปัจจุบัน เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่อยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ CITES2 และถือเป็นสัตว์เฉพาะถิ่น.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและเหี้ยดำ

เออร์มิน

ออร์มิน หรือ สโทธ หรือ เพียงพอนหางสั้น (Ermine, Stoat, Short-tailed weasel) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมกินเนื้อขนาดเล็กจำพวกวีเซล หรือเพียงพอน เออร์มิน เป็นสัตว์ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ที่ทวีปยุโรป, ยูเรเชีย และอเมริกาเหนือ เป็นสัตว์นักล่าที่หากินสัตว์ขนาดเล็กต่าง ๆ ไม่เลือก เป็นอาหาร เป็นสัตว์ที่ถูกล่าเพื่อนำหนังและขนทำเป็นเสื้อขนสัตว์ สีขนของเออร์มินจะเปลี่ยนไปเป็นสีขาวล้วนในช่วงฤดูหนาว สีขนโดยปกติจะเป็นสีน้ำตาลที่ส่วนหลัง บริเวณท้องซีดจางกว่า หางเป็นพุ่มพวงปลายหางแหลมเป็นสีดำ สามารถแบ่งออกได้เป็นชนิดย่อยทั้งสิ้น 37 ชนิด ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียมาก พฤติกรรมในธรรมชาติ ตัวเมียจะผสมพันธุ์ระหว่างเดือนกันยายนและพฤศจิกายนและมีระยะเวลาการตั้งท้องนาน 8-11 เดือน ออกลูกเพียงปีละครั้ง ครั้งหนึ่งประมาณ 6-13 ตัว มีพฤติกรรมอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจาย สามารถพบเห็นได้ตามหาดทรายจนถึงบนชนบทที่อยู่สูง โดยสามารถพบได้ในทุกความสูงจากระดับน้ำทะเล เออร์มินชอบที่จะอยู่ในป่าที่เป็นถิ่นกำเนิดดั้งเดิม, ป่าละเมาะ, เนินทราย และพุ่มหญ้า จัดเป็นสัตว์ที่มีความว่องไวมากและจากการที่เป็นสัตว์ที่กินอาหารไม่เลือก จึงสร้างความเสียหายใหญ่หลวงให้แก่นก และสัตว์อื่น ๆ เพราะสามารถล่านกตลอดจนไข่กินเป็นอาหารได้ และจัดเป็นสัตว์รังควานอีกชนิดหนึ่ง เออร์มินได้ถูกนำเข้าไปในนิวซีแลนด์ ซึ่งดั้งเดิมไม่เคยมีสัตว์กินเนื้อมาก่อน ปัจจุบันเออร์มินได้กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นไปแล้ว ที่คุกคามสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นที่มีเฉพาะในนิวซีแลนด์หลายชนิด เช่น นกกีวี หรือนกแก้วคาคาโป โดยเออร์มินจะเข้าไปกินไข่หรือล่าตัวอ่อนนกเหล่านี้ ซึ่งเป็นนกบินไม่ได้เป็นอาหาร อันเป็นสาเหตุหนึ่งของการใกล้สูญพัน.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและเออร์มิน

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว

อยหลวงเชียงดาว (กลาง) ดอยนาง (ขวา) ทะเลเมฆ ณ ดอยหลวงเชียงดาว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 521 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 325,625 ไร่ ครอบคลุมเนื้อที่ของตำบลเมืองแหง ในอำเภอเวียงแหง ตำบลเมืองงาย ตำบลเมืองคอง ตำบลเชียงดาว และตำบลแม่นะ มีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน สภาพป่าเป็นป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าสน สลับกับทุ่งหญ้า โดยมีจุดน่าสนใจ คือ ดอยหลวงเชียงดาว ซึ่งเป็นภูเขาหินปูนที่สูงที่สุดในประเทศไทย มีความสูง 2,275 เมตร นับเป็นดอยหรือภูเขาที่มีความสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย รองจากดอยอินทนนท์ และดอยผ้าห่มปก ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว

เขตอนุรักษ์แห่งชาติแซมบูรู

ทัศนียภาพของเขตอนุรักษ์แห่งชาติแซมบูรู เขตอนุรักษ์แห่งชาติแซมบูรู (Samburu National Reserve) เป็นเขตอนุรักษ์ธรรมชาติตั้งอยู่ในภาคกลางตอนบนของประเทศเคนยา มีพื้นที่กว้างประมาณ 165 ตารางกิโลเมตร (64 สแควร์ไมล์) และอยู่ห่างจากกรุงไนโรบี 350 กิโลเมตร มีอาณาเขตทางตอนใต้ติดต่อกับเขตอนุรักษ์บัฟฟาโลสปริงและเขตอนุรักษ์ชาบา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่แห้งแล้ง มีภูมิประเทศที่สวยงาม และอุดมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของเคนยา และเป็นถิ่นที่อยู่ของปาล์มดูม อันเป็นพืชถิ่นเดียวที่ขึ้น ณ ที่แห่งนี้ เขตอนุรักษ์แห่งชาติแซมบูรู มีสัตว์ป่าที่ถือว่าเป็นไฮไลต์หรือเป็นที่ดึงดูดใจเป็นที่สนใจแก่นักท่องเที่ยว 5 ชนิด ที่เรียกว่าเป็น "ผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 5 แห่งแซมบูรู" ได้แก่ ยีราฟลายร่างแห, นกกระจอกเทศโซมาลี, ม้าลายเกรวี, เกรินุก และไบซาออริกซ.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและเขตอนุรักษ์แห่งชาติแซมบูรู

Bothrops insularis

Bothrops insularis หรือที่รู้จักกันในชื่อ โกลเดนแลนซ์เฮดCampbell JA, Lamar WW.

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและBothrops insularis

Hyelaphus

Hyelaphus เป็นสกุลของกวางขนาดเล็กสกุลหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยทั่วไปแล้วมีลำตัวสีน้ำตาล ทั้งหมดเป็นชนิดที่ถูกคุกคามในธรรมชาติ และใน 2 จาก 3 ชนิด เป็นชนิดที่พบกระจายพันธุ์เฉพาะบนเกาะเล็ก ๆ แต่เดิมสกุลนี้เคยถูกจัดให้เป็นสกุลย่อยของสกุล Axis แต่ปัจจุบันด้วยหลักฐานทางพันธุกรรมพบว่ากลับมีความใกล้ชิดกับสกุล Rusa มากกว่า จำให้ถูกแยกออกเป็นสกุลต่างหากPitraa, Fickela, Meijaard, Groves (2004).

ดู สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นและHyelaphus

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Endemic speciesEndemism

ปลาฉลามหางไหม้ (ไทย)ปลาแชดปาล์มขุนหมากรุกปาล์มเจ้าเมืองถลางปาล์มเคราฤๅษีปูนานกกินแมลงเด็กแนนนกสาลิกาดงนกอินทรีฟิลิปปินนกอินทรีปาปัวนกน้อย สิทธิประเสริฐนกเจย์สีน้ำตาลซินเจียงนกเค้าป่าหลังจุดน้ำตกคอนพะเพ็งแมวตีนดำแม่น้ำสาละวินโอล์มโซโคตราไก่ป่าลังกาไรน้ำนางฟ้าเกาะฟายาลเกาะมาดากัสการ์เสือลายเมฆเหี้ยดำเออร์มินเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาวเขตอนุรักษ์แห่งชาติแซมบูรูBothrops insularisHyelaphus