โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สินสาธร ทาวเวอร์

ดัชนี สินสาธร ทาวเวอร์

กรุงเทพมหานครในยามสนธยา (สินสาธร ทาวเวอร์ คือตึกที่สูงที่สุดในภาพ) สินสาธร ทาวเวอร์ (Sinn Sathorn Tower) เป็นตึกระฟ้าในกรุงเทพมหานคร มีความสูงทั้งหมด 195 เมตร มีจำนวนชั้นทั้งสิ้น 43 ชั้น ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 77/8 ถนนกรุงธนบุรี ใกล้เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน (สะพานสาธร) แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน มีพื้นที่ทั้งหมด 120,000 ตารางเมตร เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2532 เสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2536 มีจำนวนทั้งสิ้น 255 ยูนิต แต่ละหน่วยมีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 170 ตารางเมตร ถึง 352 ตารางเมตร ค่าใช้จ่ายในการสร้าง 2,000 ล้านบาท โดยบริษัท สินเอสเตทพร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ร่วมกับอีกหลายบริษัท นับเป็นตึกที่สูงที่สุดในฝั่งธนบุรี และสูงเป็นอันดับ 25 ในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน สินสาธร ทาวเวอร์ เป็นอาคารที่สูงเป็นอันดับที่ 27 ของประเทศไทย เปิดดำเนินการเป็นอาคารให้เช่าสถานที่ของบริษัท ห้างร้านต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2540 ถูกใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ชุด เจมส์ บอนด์ ในตอน พยัคฆ์ร้ายไม่มีวันตาย (Tomorrow Never Dies) โดยสมมติให้เป็นออฟฟิศของวายร้ายในเรื่อง อีเลียส คาเวอร์ ในประเทศเวียดนาม โดยที่เจมส์ บอนด์ ตัวเอกในเรื่องกระโดดลงมาจากยอดตึกพร้อมกับนางเอก โดยที่สวมกุญแจมืออยู่ นับเป็นฉากที่สำคัญอีกฉากหนึ่งในเรื่อง.

8 ความสัมพันธ์: รายชื่อภาพยนตร์ต่างประเทศที่ถ่ายทำในประเทศไทยรายชื่ออาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทยสถานีกรุงธนบุรีสถานีโทรทัศน์ไอทีวีอาคารใบหยก 2จิวเวอร์รี่ เทรด เซ็นเตอร์เจมส์ บอนด์007 พยัคฆ์ร้ายไม่มีวันตาย

รายชื่อภาพยนตร์ต่างประเทศที่ถ่ายทำในประเทศไทย

รายชื่อภาพยนตร์ต่างประเทศที่ถ่ายทำบางส่วนหรือทั้งหมดในประเทศไท.

ใหม่!!: สินสาธร ทาวเวอร์และรายชื่อภาพยนตร์ต่างประเทศที่ถ่ายทำในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่ออาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทย

ตึกระฟ้าในกรุงเทพมหานคร อาคารมหานคร เคยเป็นหนึ่งในตึกที่สูงที่สุดในประเทศไทย1  รายชื่ออาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทยในปัจจุบัน.

ใหม่!!: สินสาธร ทาวเวอร์และรายชื่ออาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

สถานีกรุงธนบุรี

นีกรุงธนบุรี (Krung Thon Buri Station รหัสสถานี S7) เป็นสถานีรถไฟลอยฟ้า ในเส้นทางรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สายสีลม ส่วนต่อขยายตากสิน-บางหว้า ช่วงที่ 1 (สะพานตากสิน-แยกตากสิน) ยกระดับเหนือถนนกรุงธนบุรี ใกล้ สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน และ ถนนเจริญนคร ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: สินสาธร ทาวเวอร์และสถานีกรุงธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

สถานีโทรทัศน์ไอทีวี

นีโทรทัศน์ไอทีวี (Independent Television ชื่อย่อ: itv) เริ่มต้นออกอากาศอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 เวลา 19.00 น. โดยเริ่มต้นจากการนำเสนอ ข่าวภาคค่ำประจำวัน เพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์ การเป็น สถานีโทรทัศน์เพื่อข่าวสาร และสาระความรู้ โดยผู้ประกาศข่าวคู่แรกของสถานี คือ กิตติ สิงหาปัด และ เทพชัย หย่อง ออกอากาศทางช่อง 26และช่อง 29 โดยมี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เป็นเจ้าของคลื่นความถี่ และผู้กำกับสัมปทาน เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งที่ 6 ที่ให้บริการแบบไม่ต้องเสียค่าบริการ แห่งประเทศไทย จนกระทั่งต้องยุติการออกอากาศ ตั้งแต่เวลา 24.00 น. ของวันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2550 เนื่องจากไม่สามารถจ่ายค่าสัมปทานส่วนต่างๆ และค่าปรับแก่ สปน.ได้ตามเวลาที่กำหน.

ใหม่!!: สินสาธร ทาวเวอร์และสถานีโทรทัศน์ไอทีวี · ดูเพิ่มเติม »

อาคารใบหยก 2

ตึกใบหยก 2 (Baiyoke Tower II) เป็นตึกระฟ้าในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันเป็นตึกที่สูงเป็นลำดับที่ 4ของประเทศไทย และเคยเป็นตึกที่สูงที่สุดในประเทศไทยระหว่าง..

ใหม่!!: สินสาธร ทาวเวอร์และอาคารใบหยก 2 · ดูเพิ่มเติม »

จิวเวอร์รี่ เทรด เซ็นเตอร์

วเวอร์รี่ เทรด เซ็นเตอร์ (Jewelry Trade Center) คือตึกระฟ้าสูง 59 ชั้น ตั้งอยู่ในเขตอัญมณีของถนนสีลม กรุงเทพมหานคร ออกแบบโดย HOK สร้างเสร็จสมบูรณ์ใน..

ใหม่!!: สินสาธร ทาวเวอร์และจิวเวอร์รี่ เทรด เซ็นเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์ บอนด์

มส์ บอนด์ (James Bond) เป็นตัวละครสมมติ สร้างโดย เอียน เฟลมมิ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2496 ซึ่งปรากฏอยู่ในนวนิยาย 12 ตอนและรวมเรื่องสั้นอีก 2 เล่ม ต่อมาหลังจากเขาเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2507 มีนักประพันธ์อีกหลายคนได้สิทธิ์ในการประพันธ์ เจมส์ บอนด์ ต่อ ได้แก่ คิงส์ลีย์ เอมิส, คริสโตเฟอร์ วูด, จอห์น การ์ดเนอร์, เรย์มอนด์ เบ็นสัน, เซบาสเตียน ฟอล์ค, เจฟฟรีย์ ดีฟเวอร์ และ วิลเลียม บอยด์ นอกจากนี้ยังมีผลงานประพันธ์ของ ชาร์ลี ฮิกสัน ในชุด ยังบอนด์ และ เคต เวสต์บรูค ประพันธ์ในรูปแบบไดอารีของตัวละคร มิสมันนีเพนนี เจมส์ บอนด์ ยังได้ถูกดัดแปลงออกมาเป็นสื่อต่างๆ เช่น ละครโทรทัศน์, ละครวิทยุ, การ์ตูน, วิดีโอเกมและภาพยนตร์ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากทั่วโลก โดยเป็นภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินสูงสุดอันดับที่ 4 เริ่มจากเรื่อง พยัคฆ์ร้าย 007 (Dr.No) เมื่อปี พ.ศ. 2505 โดยมี ฌอน คอนเนอรี รับบท เจมส์ บอนด์ ปัจจุบันออกฉายแล้วทั้งหมด 24 ภาค ผลิตโดย อีโอเอ็น โปรดักชันส์ ภาคล่าสุด ชื่อว่า องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย (Spectre) แดเนียล เคร็ก เป็นเจมส์ บอนด์ ครั้งที่ 4 และเป็นคนที่ 6 ที่รับบทนี้ นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์ที่ไม่ใช่ของ อีโอเอ็น คือ ทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007 (Casino Royale) เมื่อปี พ.ศ. 2510 เดวิด นิเวน เป็นเจมส์ บอนด์ และ พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ (Never Say Never Again) เมื่อปี พ.ศ. 2526 ซึ่งเป็นการรีเมค ธันเดอร์บอลล์ 007 (Thunderball) โดย ฌอน คอนเนอรี กลับมารับบทเป็นเจมส์ บอนด์ อีกครั้ง ตัวเลข 007 ที่อยู่ท้ายชื่อของเจมส์ บอนด์ หมายถึงรหัสลับประจำตัวที่ใช้เรียกแทนตัวเขาในฐานะของสายลับคนหนึ่ง โดยเลข 00 ที่นำหน้าเลข 7 อยู่นั้น ถือเป็นสัญลักษณ์ที่แจ้งให้ทราบว่า ตัวเขาเป็นสายลับที่ได้รับอนุญาตให้สามารถสังหารชีวิตผู้อื่นได้โดยไม่ผิดกฎหมายสมเกียรติ อ่อนวิมล.

ใหม่!!: สินสาธร ทาวเวอร์และเจมส์ บอนด์ · ดูเพิ่มเติม »

007 พยัคฆ์ร้ายไม่มีวันตาย

ปสเตอร์ต้นฉบับของ "พยัคฆ์ร้ายไม่มีวันตาย" 007 พยัคฆ์ร้ายไม่มีวันตาย หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า Tomorrow Never Dies เป็นภาพยนตร์เรื่องที่ 18 ในภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ ซีรีส์ ที่ค่ายภาพยนตร์อีโอเอ็นโปรดัคชั่น (EON Production) จัดทำขึ้น และเป็นครั้งที่ 2 ที่ เพียร์ซ บรอสแนน แสดงเป็น เจมส์ บอนด์ ให้กับค่ายอีโอเอ็นนี้ ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายในพ.ศ. 2540 โดยดัดแปลงจากบทประพันธ์ของเรย์มอน เบนสัน กำกับโดย โรเจอร์ สปอตติสวูด ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาคต่อของ พยัคฆ์ร้าย 007 รหัสลับทลายโลก โดยมีภาคต่อจากนี้คือ 007 พยัคฆ์ร้ายดับแผนครองโลก ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ทุนรวมทั้งสิ้น 110 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเทียบเท่าเงิน 147,763,240 ดอลลาร์สหรัฐในพ.ศ. 2551 ภาพยนตร์เรื่องนี้กวาดรายได้มารวมทั้งสิ้น 346.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเทียบเท่าเงิน 465,588,535 ดอลลาร์สหรัฐใน พ.ศ. 2551 เป็นภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ ที่ขายดีเป็นอันดับที่ 15 จากภาพยนตร์ เจมส์ บอนด์ อย่างเป็นทางการ 22 เรื่อง.

ใหม่!!: สินสาธร ทาวเวอร์และ007 พยัคฆ์ร้ายไม่มีวันตาย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Sinsathorn Towerสินสาทร ทาวเวอร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »