โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สิทธิ

ดัชนี สิทธิ

ทธิ คือ หลักเสรีภาพหรือการให้สิทธิ์ทางกฎหมาย สังคมหรือจริยศาสตร์ นั่นคือ สิทธิเป็นกฎเชิงบรรทัดฐานพื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งที่ประชาชนมีหรือเป็นของประชาชนตามบางระบบกฎหมาย ขนบธรรมเนียมทางสังคม หรือทฤษฎีจริยศาสตร์ สิทธิมีความสำคัญยิ่งในสาขาวิชาดังกล่าว เช่น กฎหมายและจริยศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทฤษฎีความยุติธรรมและกรณียกรรม มักถือว่าสิทธิเป็นพื้นฐานของอารยธรรม ถือว่าเป็นเสาหลักซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคมและวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ความขัดแย้งทางสังคมพบได้ในประวัติศาสตร์ของสิทธิแต่ละอย่างและพัฒนาการของมัน ตามสารานุกรมปรัชญาสแตนฟอร์ด "สิทธิให้โครงสร้างแก่ระบอบการปกครอง เนื้อหากฎหมาย และลักษณะของศีลธรรมซึ่งรับรู้ในปัจจุบัน".

43 ความสัมพันธ์: พฤติกรรมผู้บริโภคกฎบัตรซาราโกซากฎหมายเกี่ยวกับต้นไม้ใหญ่ในเมืองในประเทศไทยการกระจายอย่างเป็นธรรมการยอมรับความต่างทางศาสนาการอุปถัมภ์การค้าประเวณีเด็กการนับรวมทุกกลุ่มคนการเพิ่มอำนาจภาวะผู้นำตามหลักจริยธรรมระบบพ่อปกครองลูกรัฐธรรมนูญนิยมรายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดลัทธิอำนาจนิยมวิทวัส ท้าวคำลือสัญชาติสิทธิชนพื้นเมืองสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองสิทธิมนุษยชนสิทธิสตรีสิทธิธรรมชาติและสิทธิทางกฎหมายสิทธิแรงงานสิทธิในการป้องกันตัวสิทธิในความเป็นส่วนตัวสถาบันนิยมสงวนลิขสิทธิ์หลักนิติธรรมอักษรล่าแสน The Alphabet Thailandอัยการอำนาจอธิปไตยของปวงชนอนุสรณ์สถาน 14 ตุลาจุดสุดเสียวไทยแลนด์ทาสความสามารถของบุคคลความเสมอภาคทางสังคมความเห็นพ้องประชาธิปไตยประชาธิปไตยเชิงเนื้อหาประชาธิปไตยเสรีนิยมปรีดี พนมยงค์เอกสิทธิ์เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร4 ต่อ 4 แฟมิลี่เกม

พฤติกรรมผู้บริโภค

ติกรรมผู้บริโภค คือการศึกษาปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์การ และกระบวนการที่พวกเขาเหล่านั้นใช้เลือกสรร รักษา และกำจัด สิ่งที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ บริการ ประสบการณ์ หรือแนวคิด เพื่อสนองความต้องการและผลกระทบที่กระบวนการเหล่านี้มีต่อผู้บริโภคและสังคม พฤติกรรมผู้บริโภคเป็นการผสมผสานจิตวิทยา สังคมวิทยา มานุษยวิทยาสังคม และเศรษฐศาสตร์ เพื่อพยายามทำความเข้าใจกระบวนการการตัดสินใจของผู้ซื้อ ทั้งปัจเจกบุคคลและกลุ่มบุคคล พฤติกรรมผู้บริโภคศึกษาลักษณะเฉพาะของผู้บริโภคปัจเจกชน อาทิ ลักษณะทางประชากรศาสตร์และตัวแปรเชิงพฤติกรรม เพื่อพยายามทำความเข้าใจความต้องการของประชาชน พฤติกรรมผู้บริโภคโดยทั่วไปก็ยังพยายามประเมินสิ่งที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคโดยกลุ่มบุคคลเช่นครอบครัว มิตรสหาย กลุ่มอ้างอิง และสังคมแวดล้อมด้วย การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคมีรากฐานมาจากพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค ซึ่งแสดงบทบาทที่แตกต่างกันสามบทบาทได้แก่ ผู้ใช้ ผู้จ่าย และผู้ซื้อ ผลการวิจัยได้แสดงว่าพฤติกรรมผู้บริโภคนั้นยากที่จะพยากรณ์ แม้กระทั่งโดยผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นเอง การตลาดความสัมพันธ์คือสิ่งหนึ่งที่ทรงคุณค่าและมีอิทธิพลสำหรับการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค เพราะมันมีจุดสนใจที่โดดเด่นในการรื้อฟื้นความหมายที่แท้จริงของการตลาด ด้วยการยอมรับความสำคัญของลูกค้าหรือผู้ซื้อ การรักษาผู้บริโภค การจัดการความสัมพันธ์ต่อผู้บริโภค การปรับตามปัจเจกบุคคล การปรับตามผู้บริโภค และการตลาดหนึ่งต่อหนึ่ง ก็เป็นสิ่งที่ได้ให้ความสำคัญมากขึ้น การทำหน้าที่เชิงสังคมสามารถจัดประเภทเป็นทางเลือกของสังคมและการทำหน้าที่สวัสดิการ พฤติกรรมผู้บริโภคมีผลต่อความสำเร็จของธุรกิจ ดังนั้นการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคจะทำให้สามารถสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดที่สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภคและความสามารถในการค้นหาทางแก้ไข พฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในสังคมได้ถูกต้องและสอดคล้องกับความสามารถในการตอบสนองของธุรกิจมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญจะช่วยในการพัฒนาตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคที่ฉลาด นอกจากจะต้องมีหลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อสินค้าบริการแล้ว จะต้องรอบรู้เท่าทันกลวิธี เทคนิค และกลฉ้อฉลต่าง ๆ ที่ใช้ในการขายสินค้าและบริการ รวมถึงสามารถปกป้องสิทธิที่ตนเองพึงได้รับด้วย การเรียนรู้การเป็น ผู้บริโภคที่ฉลาด จะทำให้ทราบและสามารถลำดับความสำคัญของทางเลือกต่าง ๆ ในการใช้เงิน ตลอดจนรู้จักหลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อและใช้สินค้าและบริการ.

ใหม่!!: สิทธิและพฤติกรรมผู้บริโภค · ดูเพิ่มเติม »

กฎบัตรซาราโกซา

กฎบัตรซาราโกซา 2551 (THE 2008 ZARAGOZA CHARTER) การจัดแสดงนิทรรศการนานาชาติ ณ เมืองซาราโกซา เป็นการจัดแสดงนิทรรศการครั้งแรกที่กำหนดแนวคิดหลัก คือ น้ำและการพัฒนาที่ยั่งยืน (Water and Sustainable Development) และจัดแสดงที่ริมฝั่งแม่น้ำเอโบร เมืองซาราโกซา ราชอาณาจักรสเปน โดยมีประเทศต่างๆ เข้าร่วมงานถึง 104 ประเทศ องค์กรระดับนานาชาติ 3 แห่ง ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเมืองต่างๆในราชอาณาจักรสเปน องค์การนิทรรศการนานาชาติ หรือ BIE หรือ (The Bureau International des Expositions; International Exhibitions Bureau) ได้ให้คำแนะนำแนวคิดการจัดแสดงนิทรรศการครั้งนี้ให้สอดคล้องกับงานขององค์การสหประชาชาติเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ BIE ตั้งเป้าหมายการจัดนิทรรศการระดับนานาชาติที่แสดงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยตรง และเป็นการให้ความรู้แก่สาธารณชน การจัดงานที่ซาราโกซาครั้งนี้ตั้ง เป้าหมาย ให้ผู้เข้าชมหลายล้านคนได้รับความรู้เกี่ยวกับน้ำและปัญหาในการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากงานนี้จะเป็นแหล่งรวมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแล้ว กิจกรรมของการประชุมสัมมนาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ (Water Tribune)เป็นการถ่ายทอดความรู้และทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ ตลอดจนความท้าทายในการจัดการทรัพยากรน้ำที่มนุษยชาติกำลังประสบอยู่ในปัจจุบันและในอนาคต ตลอดระยะเวลา 93 วันของการจัดแสดงนิทรรศการ เวทีนี้เป็นกิจกรรมใหญ่ที่สุดและรวบรวมกิจกรรมระดับนานาชาติเกี่ยวกับน้ำและการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งหมดไว้ การประชุมสัมมนาทรัพยากรน้ำนี้ เสร็จสิ้นก่อนวันปิดงานแสดงนิทรรศการเป็นเวลา 2 วัน โดยการนำเสนอบทสรุปและการวิเคราะห์ในรูปของกฎบัตรซาราโกซา 2008 (The 2008 Zaragoza Charter).

ใหม่!!: สิทธิและกฎบัตรซาราโกซา · ดูเพิ่มเติม »

กฎหมายเกี่ยวกับต้นไม้ใหญ่ในเมืองในประเทศไทย

ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่ออกมาเป็นการเฉพาะสำหรับการจัดการหรืออนุรักษ์ต้นไม้ในเมืองโดยตรง มีเพียงบางมาตราในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่กล่าวถึงความรับผิดทางละเมิด เช่น มาตรา 434 ว่าด้วยความเสียหายเกี่ยวกับการบกพร่องในการปลูกหรือค้ำจุนต้นไม้หรือกอไผ่ และบทบัญญัติในบรรพ 4 หมวด 2 ว่าด้วยแดนแห่งกรรมสิทธิ์และการใช้กรรมสิทธิ์ เป็นต้น กับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรับผิดจากต้นไม้โดยอนุโลมอาจสรุปเฉพาะที่เกี่ยวกับต้นไม้ดังนี้:-.

ใหม่!!: สิทธิและกฎหมายเกี่ยวกับต้นไม้ใหญ่ในเมืองในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

การกระจายอย่างเป็นธรรม

การกระจายอย่างเป็นธรรม (Distributive Justice) เป็นหลักการพื้นฐานที่สุดที่ใช้กำกับหรือกำหนดโครงสร้างความสัมพันธ์ของคนและสถาบันในสังคม อันเกี่ยวข้องกับการกระจายประโยชน์ และสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม การเข้าถึงทรัพยากร รวมถึงโอกาสที่จะได้รับสิทธิบางอย่าง และการกำหนดภาระหน้าที่ให้แก่สมาชิกในสังคม (Kurian, 2011: 446; Rawls, 1971: 4) การกระจายอย่างเป็นธรรมมีหลายแนวคิดแตกต่างกันออกไป เช่น หลักการกระจายที่เน้นความเท่าเทียมกันอย่างเด็ดขาด (Strict Egalitarianism) หลักการกระจายแบบประโยชน์นิยม (Utilitarianism–Based Principle) หลักที่มีฐานจากความแตกต่าง (Difference-Based Principle) หลักการกระจายแบบเสรีภาพนิยม ที่ขึ้นอยู่กับความสามารถของคนบุคคล (Libertarian Principle) และหลักการกระจายตามความเหมาะสม (Desert-based Principle) เป็นต้น.

ใหม่!!: สิทธิและการกระจายอย่างเป็นธรรม · ดูเพิ่มเติม »

การยอมรับความต่างทางศาสนา

ทศกาลฮานาคาห์สัญลักษณ์ของศาสนายูดายที่อ๊อกซฟอร์ด การยอมรับความต่างทางศาสนา (Religious toleration) คือภาวะของการยอมรับหรือการอนุญาตความเชื่อหรือการปฏิบัติของศาสนาอื่นที่แตกต่างไปจาศาสนาของตนเอง ในประเทศที่มีศาสนาประจำชาติ “การยอมรับ” หมายความว่ารัฐบาลอนุญาตการปฏิบัติสักการะของศาสนาหรือความเชื่อที่แตกต่างไปจากศาสนาประจำชาติ และไม่เบียดเบียนผู้ถือศาสนาอื่นเหล่านั้น หลักการนี้เป็นหลักการฝักฝ่ายซึ่งอาจจะยังคงตามมาด้วยการเลือกปฏิบัติทางศาสนา (การยอมรับความต่างทางศาสนาเพียงแต่หมายถึงการละเว้นจากการเบียดเบียนผู้ถือปฏิบัติศาสนาที่ต่างออกไปจากศาสนาประจำชาติ ซึ่งแตกต่างจากเสรีภาพทางศาสนา ซึ่งถือว่าทุกศาสนามีความเท่าเทียมกัน) การยอมรับในบางสถานการณ์เป็น “เอกสิทธิ์” ที่มอบให้โดยรัฐบาล (ที่อาจจะออกมาเป็นกฎหมายหรือใบอนุญาต) ไม่ถือว่าเป็น สิทธิ รัฐบาลมักจะยอมรับศาสนาบางศาสนาเท่านั้น และไม่ยอมรับศาสนาบางศาสนาหรือลัทธิ การยอมรับความต่างทางศาสนาในรูปแบบของการปฏิบัติของรัฐบาลมิได้เกิดขึ้นอย่างชัดแจ้งมาจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 16 ฉะนั้นจึงเป็นการยากที่จะใช้ในการกล่าวถึงหัวข้อเช่นการไล่ทำร้ายและสังหารคริสเตียนในจักรวรรดิโรมันเป็นต้น ในประวัติศาสตร์การยอมรับความต่างทางศาสนาเป็นประเด็นที่มักจะสร้างข้อขัดแย้งภายในศาสนาเอง และ ระหว่างศาสนาต่างๆ ปัญหามิได้เพียงอยู่ที่การอนุญาตหรือไม่อนุญาตศาสนาที่ต่างออกไป แต่ผู้เป็นประมุขจะเป็นผู้ที่ยอมรับให้ผู้อยู่ในการปกครองนับถือที่ต่างออกไปได้ด้วย ในยุคกลางการยอมรับผู้ถือศาสนายูดายเป็นหัวข้อที่สร้างความขัดแย้งโดยทั่วไปในคริสต์ศาสนจักร ในปัจจุบันประเด็นสำคัญคือการยอมรับผู้ถือศาสนาคริสต์ในประเทศอิสลาม.

ใหม่!!: สิทธิและการยอมรับความต่างทางศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

การอุปถัมภ์

การอุปถัมภ์ ในความหมายโดยทั่วไป คือ การค้ำจุน การค้ำชู การสนับสนุน การเลี้ยงดู ในทางการเมืองซึ่งใช้คำว่า ระบบอุปถัมภ์ หมายถึง การได้รับสิทธิพิเศษจากผู้ใหญ่หรือญาติมิตรของตน เป็นระบบที่ตรงกันข้ามกับระบบความชอบธรรมซึ่งนิยมใช้เป็นหลักในปัจจุบัน ระบบอุปถัมภ์ (Patronage System) เป็นรูปแบบความสัมพันธ์ทางสังคมในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 5 – 16 และในสังคมไทยจะมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกันในสมัยพระบรมไตรโลกนาถจนถึงรัชกาลที่ 5 แห่งรัตนโกสินทร์ คำว่า “ผู้อุปถัมภ์” (patron) เป็นคำที่มาจากภาษาละติน คือ pratronus หมายถึง บุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอมหรือรับรอง (sanction) โดยคนเหล่านี้ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้ที่มีอำนาจด้อยกว่าหรือเป็น “ผู้รับอุปถัมภ์” (client) ที่ต้องการความช่วยเหลือหรือป้องกัน โดยผู้อุปถัมภ์จะให้ประโยชน์กับผู้รับอุปถัมภ์โดยหวังจะได้ประโยชน์ตอบแทนกลับมาในรูปแบบของสินค้า ความจงรักภักดี การสนับสนุนทางการเมืองในรูปแบบต่างๆ ความสัมพันธ์ในเชิงตอบแทนซึ่งกันและกัน (reciprocal relationships) โดยทั่วไปความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสองฝ่ายนี้ ฝ่ายผู้รับอุปถัมภ์มักจะเป็นผู้เสียเปรียบเพราะโดยคำจำกัดความว่าเป็นผู้ที่อ่อนแอกว่าทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมือง (Kurian, 2011: 1199-1200).

ใหม่!!: สิทธิและการอุปถัมภ์ · ดูเพิ่มเติม »

การค้าประเวณีเด็ก

การค้าประเวณีเด็ก (Prostitution of children, child prostitution) เป็นการค้าประเวณีที่เกี่ยวกับเด็ก เป็นรูปแบบหนึ่งของการฉวยประโยชน์การค้าทางเพศจากเด็ก เด็กในที่นี้มักจะหมายถึงผู้เยาว์ หรือบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ในเขตกฎหมายโดยมาก การค้าประเวณีเด็กผิดกฎหมายโดยเป็นส่วนของกฎหมายห้ามการค้าประเวณีโดยทั่ว ๆ ไป การค้าประเวณีเด็กมักจะปรากฏในรูปแบบของการค้าเซ็กซ์ (sex trafficking) ที่เด็กถูกลักพาตัว หรือถูกหลอกให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการค้าเพศ หรือว่า เป็นเซ็กซ์เพื่อการอยู่รอด ที่เด็กจะร่วมกิจกรรมทางเพศแลกเปลี่ยนกับปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อชีวิตรวมทั้งอาหารและที่อยู่อาศัย การค้าประเวณีเด็กมักจะเกี่ยวข้องกับสื่อลามกอนาจารเด็ก และบางครั้งจะเกิดขึ้นคาบเกี่ยวกัน และมีคนที่เดินทางไปต่างประเทศเพื่อจะเที่ยวเซ็กซ์ทัวร์เด็ก งานวิจัยแสดงว่า อาจจะมีเด็กมากถึง 10 ล้านคนทั่วโลกที่ค้าประเวณี โดยมีปัญหาหนักที่สุดในทวีปอเมริกาใต้และเอเชีย แต่ก็เป็นปัญหาทั่วโลก ทั้งในประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาแล้ว สหประชาชาติได้กำหนดว่า การค้าประเวณีเด็กผิดกฎหมายสากล โดยมีการรณรงค์และองค์กรต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านการปฏิบัติการเช่นนี้ เด็กโดยมากที่เกี่ยวข้องเป็นหญิง อาจจะอายุเพียงแค่ 4-5 ขวบ เรียนน้อยมากและถูกคนแปลกหน้าหลอกได้ง.

ใหม่!!: สิทธิและการค้าประเวณีเด็ก · ดูเพิ่มเติม »

การนับรวมทุกกลุ่มคน

การนับรวมทุกกลุ่มคน (Inclusiveness or Inclusion) หมายถึง การเปิดช่องทางให้ปัจเจกบุคคลและกลุ่มทุกกลุ่มเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมของพลเมือง มีความเท่าเทียมกันทางสังคมในด้านสิทธิเสรีภาพ มีโอกาสและความเสมอภาคในกระบวนการอภิปรายถกเถียงและการตัดสินใจในทางการเมือง โดยการนับประชาชนทุกคนในสังคมให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นพลเมืองที่มีสิทธิเสรีภาพอย่างเสมอหน้ากัน ทุกคนสามารถเข้าถึงอำนาจตามกฎหมายในการมีส่วนร่วมทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง อย่างไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ความเป็นส่วนหนึ่งของสังคมของพลเมืองจึงเป็นการรวมประชาชนทุกฝั่งฝ่ายเข้าเป็นสังคมเดียว ความหมายดังกล่าวจึงตรงข้ามกับความเหนือกว่าเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะบุคคล (exclusiveness) ซึ่งหมายถึงการให้สิทธิพิเศษแก่คนบางกลุ่ม จนกลายเป็นอภิสิทธิชนในสังคม.

ใหม่!!: สิทธิและการนับรวมทุกกลุ่มคน · ดูเพิ่มเติม »

การเพิ่มอำนาจ

การเพิ่มอำนาจ (Empowerment) เป็นคำศัพท์ที่ใช้กล่าวถึงบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ตลอดเวลาในอดีตไม่มีอำนาจ (powerless) แต่มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญในทางบริบทสังคม การเมือง ทำให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลดังกล่าวสามารถมีอำนาจที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งในด้านของการเจรจาต่อรอง การตัดสินใจ และความสามารถในการกำหนดเส้นทางหรือวิถีชีวิตของตัวเอง คำว่าการเพิ่มอำนาจจึงมักใช้กับประชาชนหรือกลุ่มทางสังคมที่ไม่ได้รับสิทธิ เสรีภาพจากรัฐ หรือเป็นกลุ่มที่ถูกกดขี่ขูดรีดจากระบบเศรษฐกิจ และเกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญ ไม่ว่าจะมาจากวิกฤติเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงกฎหมาย หรือการรวมตัวเคลื่อนไหวทางสังคม ทำให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลดังกล่าวมีอำนาจมากยิ่งขึ้น หรือเป็นสาเหตุให้เกิดการเพิ่มอำนาจในการต่อสู้ต่อรองให้กลุ่มที่เคยไม่มีอำนาจดังกล่าว (Kurian, 2011: 504-505).

ใหม่!!: สิทธิและการเพิ่มอำนาจ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะผู้นำตามหลักจริยธรรม

วะผู้นำตามหลักจริยธรรม เป็นภาวะผู้นำที่ถูกชี้นำโดยการเคารพความเชื่อทางจริยธรรมและคุณค่า ตลอดจนเพื่อศักดิ์ศรีและสิทธิของผู้อื่น จึงเกี่ยวข้องกับแนวคิด เช่น ความไว้วางใจ, ความซื่อสัตย์, การพิจารณา, เสน่ห์ และความเป็นธรรม จริยธรรมเกี่ยวข้องกับชนิดของคุณค่าและศีลธรรมของแต่ละบุคคล หรือสังคมเห็นสมควรหรือเหมาะสม นอกจากนี้ จริยธรรมยังเกี่ยวข้องกับความดีงามของบุคคล และแรงจูงใจของพวกเขา ซึ่งทางเลือกของผู้นำยังได้รับอิทธิพลจากการพัฒนาด้านคุณธรรมของพวก.

ใหม่!!: สิทธิและภาวะผู้นำตามหลักจริยธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ระบบพ่อปกครองลูก

ปิชาธิปไตย (Paternalism) เป็นคำศัพท์ที่ใช้เรียกลักษณะการปกครองแบบโบราณที่ผู้ปกครองเป็นเสมือน “พ่อ” และประชาชนเปรียบเสมือน “ลูก” ในทางคำศัพท์จะใช้เรียกแทนพฤติกรรมของบุคคล องค์กร หรือการปกครองที่จำกัดสิทธิเสรีภาพและความอิสระของประชาชน ในบางความหมายจะใช้แทนการเรียกระบบสังคมที่จำกัดสิทธิของคนบางกลุ่มและให้คนบางกลุ่มที่เป็นส่วนน้อยของสังคมมีสิทธิพิเศษที่เหนือกว่าคนส่วนใหญ่ หรือใช้เรียกกฎหมายที่เข้ามาจำกัดสิทธิส่วนบุคคลมากเกินไป เช่น กฎหมายห้ามขายสุราและของมึนเมาในวันสำคัญทางศาสนา เป็นต้น ทั้งนี้การแปลคำว่า Paternalism เป็น “ปิตาธิปไตย” เนื่องจาก Paternalism มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินคำว่า Pater หมายถึง พ่อ ซึ่งเมื่อรวมกับคำว่า –ism หมายถึง ลัทธิ ทำให้กลายเป็นคำว่าปิตาธิปไตย แต่ต้องไม่สับสนกับคำว่า Patriarchy หรือ ระบบนิยมชาย ที่หมายถึงระบบสังคมที่ลักษณะบางอย่างแสดงออกถึงการให้คุณค่าความเป็นชายมากกว่าและทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ (Kurian, 2011: 1196).

ใหม่!!: สิทธิและระบบพ่อปกครองลูก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญนิยม

รัฐธรรมนูญนิยม (Constitutionalism) เป็นแนวคิดที่ต้องการวางหลักเกณฑ์ในการมองรัฐธรรมนูญให้มีความเป็นกฎหมายสูงสุด และคุ้มครองสิทธิของประชาชนโดยแท้จริง แนวคิดนี้ยังกล่าวว่าหากรัฐใดมีรัฐธรรมนูญ แต่ไม่กล่าวถึงโครงสร้างแห่งหลักประกันสิทธิของประชาชนในรัฐ รัฐธรรมนูญนั้นก็เป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่สมบูรณ์ หรือไม่เป็นรัฐธรรมนูญ แนวคิดรัฐธรรมนูญนั้นมีมากมายแตกต่างกันแตกหากเชื่อในเรื่องของการมีกฎหมายสูงสุดอันเป็นหลักประกันสิทธิของประชาชนเหมือนกันก็ย่อมเรียกว่า รัฐธรรมนูญนิยม วัตถุประสงค์ของกระแสแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยมนี้เน้นการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างรัฐในฐานะผู้ปกครองซึ่งมีอำนาจสูงสุดกับประชาชนผู้อยู่ใต้ปกครอง โดยรัฐจะต้องให้การรับรองและคุ้มครองซึ่งสิทธิเสรีภาพของผู้ใต้ปกครองและประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมในการปกครองหรือในการใช้อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ทั้งนี้จะต้องมีการสร้างระบบควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจและมีการปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพเพื่อจะได้บรรลุวัตถุประสงค์ของแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยมที่มีแนวคิดในการสร้างมาตรการขึ้นมาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญฉบับเก่านั่นเอง.

ใหม่!!: สิทธิและรัฐธรรมนูญนิยม · ดูเพิ่มเติม »

รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด

ต่อไปนี้เป็น รายชื่อคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด เรียงลำดับตามตัวอักษรของ คำที่เขียนถูก ตามที่ปรากฏในพจนานุกรมภาษาไทยหรือตามประกาศของหน่วยงานราชการไทย หมายเหตุ: การเขียนสะกดคำในนี้เป็นกรณีทั่วไป แต่ในกรณีเฉพาะ เช่น เป็นวิสามานยนาม อาทิ เป็นชื่อบุคคล ชื่อสถานที่ หรือในทางร้อยกรอง สามารถเขียนสะกดคำแตกต่างได้.

ใหม่!!: สิทธิและรายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิอำนาจนิยม

อำนาจนิยม (authoritarianism) เป็นรูปแบบการจัดระเบียบทางสังคมซึ่งมีลักษณะของการอ่อนน้อมต่ออำนาจหน้าที่ ตามปกติมักตรงข้ามกับปัจเจกนิยมและอิสรนิยม ในทางการเมือง รัฐบาลอำนาจเป็นรัฐบาลซึ่งอำนาจหน้าที่ทางการเมืองกระจุกตัวอยู่กับนักการเมืองกลุ่มเล็ก อำนาจนิยม เป็นระบอบการเมืองที่มีฐานอยู่บนอุดมการณ์ทางการเมืองแบบเผด็จการชนิดที่ผู้ปกครองสามารถใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหนือรัฐ หรือกลุ่มคนใดๆ ในการธำรงไว้ซึ่งเป้าหมายสูงสุด คือ การรักษาอำนาจของตน (Kurian, 2011: 103) โดยมักจะไม่คำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นที่เป็นปฏิปักษ์กับผู้นำ ควบคุมสื่อมวลชน ผูกขาดการใช้อำนาจและจำกัดการตรวจสอบ กล่าวได้ว่า ระบอบอำนาจนิยมเป็นระบอบการเมืองที่ใช้แพร่หลายมากที่สุดเป็นระยะเวลายาวนานที่สุด ในประวัติศาสตร์การปกครองของมนุษยชาติ ทุกวันนี้ “อำนาจนิยม” เป็นคำที่ถูกใช้ถึงบ่อยครั้งที่สุด เมื่อกล่าวถึงระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ลักษณะสำคัญของระบอบอำนาจนิยม คือ การกระทำและการตัดสินใจของผู้ปกครองไม่ถูกจำกัดโดยสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของประชาชน ในขณะที่สิทธิ เสรีภาพของประชาชนมีอยู่อย่างจำกัด กล่าวอีกนัยหนึ่ง สิทธิทางการเมืองของประชาชน หากมีอยู่บ้าง ก็จำกัดเต็มที ด้วยเหตุที่ผู้ปกครองอำนาจนิยมจะสร้างกฎระเบียบ มาตรการที่เข้มงวด เพื่อจำกัดกิจกรรมของบุคคลและกลุ่มบุคคลที่ต้องการมีส่วนร่วมในการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม ในระบอบอำนาจนิยม ประชาชนส่วนใหญ่ในสังคมมักไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงออกทางการเมืองใดๆ ยกเว้น กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากอำนาจรัฐ ฉะนั้น การต่อสู้ทางการเมืองในรูปแบบการชุมนุมประท้วงและเดินขบวนตามจังหวะและโอกาส จึงแทบจะเป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมชนิดเดียวที่ทำได้ ในขณะที่เสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชนที่จะวิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามต่อระบบการเมืองจะถูกตรวจสอบ หากฝ่าฝืนจะมีมาตรการลงโทษ อำนาจนิยมมีลักษณะของอำนาจที่เข้มข้นและรวมเข้าสู่ศูนย์กลางอย่างมาก ซึ่งรักษาไว้โดยการปราบปรามทางการเมืองและการกีดกันคู่แข่งที่เป็นไปได้ รัฐบาลอำนาจนิยมใช้พรรคการเมืองและองค์การมวลชนเพื่อระดมคนมารอเป้าหมายของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ในระบอบอำนาจนิยม ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตประจำวันในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับมิติทางการเมืองได้อย่างปกติ สามารถเลือกประกอบอาชีพ นับถือศาสนา และสังสรรค์หาความสุขได้โดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงจากรัฐบาล แต่กระนั้น ในบางประเทศสิทธิและเสรีภาพในการดำเนินชีวิตอาจถูกควบคุมโดยธรรมเนียมปฏิบัติ บรรทัดฐานหรือความเชื่อทางศาสนาที่เข้มงวด ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งหรือคนละส่วนกับอำนาจรัฐในระบบการเมืองก็ได้ ประเทศที่จัดได้ว่าเป็นระบอบอำนาจนิยม เช่น อิหร่าน สหภาพเมียนมาร์ (พม่า--Union of Myanmar) ซาอุดิอาระเบีย และอินโดนีเซีย ภายใต้นายพลซูฮาร์โต เป็นต้น ข้อมูลที่น่าสนใจ คือ ประสบการณ์ทางการเมืองของประเทศในลาตินอเมริกา นำมาสู่คำเรียกขาน “ระบอบราชการอำนาจนิยม” (bureaucratic authoritarianism) ที่ใช้อธิบายประเทศจำนวนหนึ่งที่เคยเป็นประชาธิปไตย แต่เกิดหักเหจนในที่สุดระบอบประชาธิปไตยต้องล่มสลาย และถูกแทนที่ด้วยแนวร่วมระหว่างคณะทหารกับพลเรือนที่ทำการรัฐประหารยึดกุมสถาบันการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ชนชั้นนำที่ประกอบด้วย ทหาร ข้าราชการพลเรือน นักเทคนิคระดับสูง (technocrats) ตลอดจนนักธุรกิจชั้นนำดำเนินนโยบายที่เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม แต่ปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย และการเข้ามาแข่งขันในตลาดการเมือง โดยคณะทหารและระบบราชการดังกล่าว แสดงบทบาททางการเมืองในฐานะที่เป็นสถาบัน ไม่ใช่ตัวบุคคล นักวิชาการลาตินอเมริกาวิเคราะห์ว่า ระบอบราชการอำนาจนิยม เป็นผลจากการพัฒนาอุตสาหกรรมทุนนิยมแบบพึ่งพา ประเทศที่จัดว่าใช้ระบอบราชการอำนาจนิยม เช่น บราซิล อาร์เจนตินา และ ชิลี ในยุคปัจจุบันที่ปรากฏมากที่สุดคือ “อำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง” (electoral authoritarianisms) หรือระบอบอำนาจนิยมที่มีเปลือกนอกฉาบด้วยผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งปรากฏให้เห็นในหลายประเทศแถบตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ (Linz, 2000: 34; Badie, 2011: 107) ในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน กระบวนการอันสำคัญและจำเป็นกระบวนการหนึ่งที่มิอาจขาดหายไปได้เลยก็คือ การเลือกตั้ง (election) เพราะเป็นกระบวนการที่จะทำให้ประชาชนเจ้าของอำนาจได้แสดงออกซึ่งเจตจำนงเสรีของแต่ละบุคคล ทว่าการเลือกตั้งก็อาจมิใช่ตัวบ่งชี้ถึงความเป็นประชาธิปไตยเสมอไป เพราะระบอบอำนาจนิยมในหลายประเทศได้อาศัยกระบวนการเลือกตั้งมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมในการปกครอง และการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเพื่อประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง ด้วยการอ้างเสียงสนับสนุนข้างมาก ทำให้เกิดอำนาจนิยมแบบใหม่ที่เรียกว่า อำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง (electoral authoritarianism) ทำให้เกิดข้อถกเถียงว่า การเลือกตั้งมิได้เท่ากับการมีประชาธิปไตยเสมอไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การเลือกตั้งเป็นปัจจัยที่ “จำเป็น” แต่อาจไม่ “เพียงพอ” ที่จะแบ่งระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ออกจากระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เส้นแบ่งใหม่ที่เกิดขึ้นระหว่างการเลือกตั้งของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย และระบอบอำนาจนิยมที่แฝงเร้นอยู่ในคราบประชาธิปไตยตัวแทนจอมปลอม (authoritarianism disguised in the form of representative democracy) จึงอยู่ที่มิติด้านคุณภาพของการเลือกตั้งและประสิทธิภาพของกลไกตรวจสอบด้วย กล่าวคือ การเลือกตั้งจะต้องเป็นการเลือกตั้งที่เสรี เที่ยงธรรม และโปร่งใส (free, fair, and transparent election) ที่ปราศจากการแทรกแซงจากปัจจัยภายนอกอื่นๆ อาทิ การซื้อสิทธิ์ขายเสียง การแทรกแซงของคณะทหาร ไม่มีการครอบงำ หรือจำกัดคู่แข่งทางการเมืองในกระบวนการเลือกตั้ง จึงจะนับได้ว่าเป็นการเลือกตั้งที่เพียงพอและจำเป็นที่จะนำไปสู่ระบอบเสรีประชาธิปไตยได้อย่างแท้จริง (Badie, 2011: 112-114) และเมื่อได้ชัยชนะและมีเสียงข้างมากแล้ว หากใช้กลไกเสียงข้างมากบ่อนทำลายกลไกตรวจสอบ ก็อาจนำไปสู่อำนาจนิยมซึ่งเกิดขึ้นภายใต้เสื้อคลุมประชาธิปไตย นอกจากนั้น ความแตกต่างระหว่างอำนาจนิยมและประชาธิปไตยที่สำคัญไม่แพ้การเลือกตั้ง คือ การมีหลักนิติธรรมที่ไม่เอนเอียง มีรัฐบาลที่ตรวจสอบได้ และมีกระบวนการยุติธรรมที่เป็นอิสระปราศจากการแทรกแซงหรืออคต.

ใหม่!!: สิทธิและลัทธิอำนาจนิยม · ดูเพิ่มเติม »

วิทวัส ท้าวคำลือ

วิทวัส ท้าวคำลือ (ชื่อเล่น: มาร์ค ตั้งตามนามของมาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร) เป็นผู้เข้าประกวดเรียลลิตีโชว์ ในรายการทรู อะคาเดมี แฟนเทเชีย ซีซันที่ 7 ซึ่งจัดโดยทรูวิชันส์ จากเว็บไซต์ เขามีชื่อเสียงเมื่อตกเป็นประเด็นถกเถียงในอินเทอร์เน็ต และกลายเป็นข่าวตามสื่อมวลชนแขนงต่างๆ เนื่องจากการลงข้อความวิพากษ์วิจารณ์อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในเฟซบุ๊ก จนกระทั่งในช่วงท้ายปี หนังสือพิมพ์ข่าวสดจัดอันดับให้เขาเป็น 1 ใน 10 บุคคลแห่งปี พ.ศ. 2553 ปัจจุบัน วิทวัสกลับสู่วงการบันเทิงไทยอีกครั้ง ด้วยการเป็นนักแสดงภาพยนตร.

ใหม่!!: สิทธิและวิทวัส ท้าวคำลือ · ดูเพิ่มเติม »

สัญชาติ

ัญชาติ (Nationality) หมายถึง ประเทศที่ที่บุคคลคนนั้นเกิด โดยไม่นับเชื้อชาติ การเปลี่ยนสัญชาตินั้นทำได้ แต่ต้องว่าตามกฎหมายของแต่ละประเทศ สัญชาตินั้นสำคัญมากเพราะจะทำให้คนอื่นรู้ว่าคุณเกิดที่ไหน ดังนั้นในแบบกรอกหลายอย่าง จึงมีช่องสัญชาติให้เติม สำหรับหนังสือเดินทาง จะต้องมีสัญชาติติดตัวอยู่ เพื่อที่จะได้รู้ว่าเดินทางมาจากประเทศอะไร.

ใหม่!!: สิทธิและสัญชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สิทธิชนพื้นเมือง

ทธิชนพื้นเมือง (Indigenous Rights) หมายถึงสิทธิของกลุ่มชนซึ่งเป็นชนพื้นเมืองอยู่แต่ดั้งเดิมมาก่อนที่ประชาชนซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะอพยพมาตั้งถิ่นฐานหรือทำการรุกรานจับจองเป็นอาณานิคม เช่น ชาวอเมริกันพื้นเมือง (อินเดียนแดง) เผ่าต่าง ๆ ในอเมริกา ชาวอะบอริจินในออสเตรเลีย ชาวมาวรีในนิวซีแลนด์ เป็นต้น โดยที่คำว่าชนพื้นเมือง หมายถึงกลุ่มชนซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ก่อนการก่อตั้งอาณานิคมหรือรัฐชาติและมีระบบการเมืองและวัฒนธรรมต่างไปจากการเมืองและวัฒนธรรมหลักของรัฐซึ่งพื้นที่ของชนพื้นเมืองนั้นตั้งอยู่ หลักเกณฑ์ที่สหประชาชาติใช้ในการพิจารณาชนพื้นเมือง คือ (อ้างอิงจาก สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ).

ใหม่!!: สิทธิและสิทธิชนพื้นเมือง · ดูเพิ่มเติม »

สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

ทธิพลเมือง (Civil Rights) หมายถึง การที่พลเมืองของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐสมัยใหม่สามารถกระทำได้ภายใต้กรอบของกฎหมายบ้านเมืองของสังคมนั้นๆ ด้วยเหตุนี้ สิทธิพลเมืองจึงซ้อนทับอยู่กับสิทธิทางการเมือง (political rights) เนื่องจากในสังคม และการเมืองการปกครองสมัยใหม่นั้น เสรีภาพจัดได้ว่าเป็นคุณธรรมรากฐานประการหนึ่งที่ระบบการเมือง และระบบกฎหมายจะต้องธำรงรักษาไว้ ทว่าหากพลเมืองทุกคนมีเสรีภาพอย่างไม่จำกัดแล้วไซร้ การใช้เสรีภาพของพลเมืองคนหนึ่งๆ ก็อาจนำมาซึ่งการละเมิดการมีเสรีภาพของพลเมืองคนอื่นๆ ในรัฐได้เช่นกัน ดังนั้น เสรีภาพของพลเมืองจึงต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายที่รัฐกำหนดว่า สิ่งใดที่พลเมืองไม่อาจกระทำเพราะจะเป็นการละเมิดเสรีภาพของผู้อื่น หรือ สิ่งใดที่พลเมืองสามารถกระทำได้อย่างอิสระโดยปราศจากการควบคุมของรัฐ เป็นที่มาของการเกิดสิ่งซึ่งเรียกว่า สิทธิทางการเมือง หรือ สิทธิพลเมือง (Kurian, 2011: 235) ซึ่งในแง่นี้สิทธิพลเมืองจะมีความหมายและขอบเขตแคบกว่าสิทธิมนุษยชน (Human Rights) เพราะสิทธิพลเมืองจะเป็นสิทธิที่พลเมืองทุกๆ คนมีในฐานะพลเมืองของรัฐ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามความคุ้มครองโดยกฎหมายของรัฐที่ตนเป็นพลเมืองอยู่ แต่สิทธิมนุษยชนนั้นเป็นสิทธิสากลที่มนุษย์ทุกผู้คนบนโลกนี้ พึงมีเหมือนๆ กันไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ใด หรือ เป็นพลเมืองของรัฐใดก็ตาม สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง หรือ สิทธิทางแพ่งและสิทธิทางการเมือง คือความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ที่มอบให้พลเมืองทุกคนตามกฎหมาย สิทธิพลเมืองนั้นเป็นสิทธิที่แยกออกจาก "สิทธิมนุษยชน" และ "สิทธิธรรมชาติ" กล่าวคือสิทธิพลเมืองเป็นสิทธิที่มอบให้โดยชาติและมีอยู่ภายในเขตแดนนั้น ในขณะที่สิทธิธรรมชาติหรือสิทธิมนุษยชนนั้น เป็นสิทธิที่นักวิชาการจำนวนมากอ้างว่าปัจเจกบุคคลมีอยู่แต่กำเนิดโดยธรรมชาต.

ใหม่!!: สิทธิและสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

สิทธิมนุษยชน

ทธิมนุษยชน (human rights) เป็นหลักทางศีลธรรมหรือจารีตJames Nickel, with assistance from Thomas Pogge, M.B.E. Smith, and Leif Wenar, December 13, 2013, Stanford Encyclopedia of Philosophy,, Retrieved August 14, 2014ซึ่งอธิบายมาตรฐานตายตัวของพฤติกรรมมนุษย์ และได้รับการคุ้มครองสม่ำเสมอเป็นสิทธิทางกฎหมายในกฎหมายท้องถิ่นและกฎหมายระหว่างประเทศ ปกติเข้าใจว่าเป็นสิทธิพื้นฐานที่ไม่โอนให้กันได้ "ซึ่งบุคคลมีสิทธิในตัวเพียงเพราะผู้นั้นเป็นมนุษย์" และซึ่ง "มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน"Burns H. Weston, March 20, 2014, Encyclopedia Britannica,, Retrieved August 14, 2014 โดยไม่คำนึงถึงชาติ สถานที่ ภาษา ศาสนา ชาติพันธุ์กำเนิดหรือสถานภาพอื่นใด สิทธิมนุษยชนใช้ได้ทุกที่ทุกเวลาในแง่ที่เป็นสากล และสมภาคในแง่ที่เหมือนกับสำหรับทุกคนThe United Nations, Office of the High Commissioner of Human Rights,, Retrieved August 14, 2014 สิทธิดังกล่าวต้องการความร่วมรู้สึกและหลักนิติธรรมGary J. Bass (book reviewer), Samuel Moyn (author of book being reviewed), October 20, 2010, The New Republic,, Retrieved August 14, 2014 และกำหนดพันธะต่อบุคคลให้เคารพสิทธิมนุษยชนของผู้อื่น สิทธิดังกล่าวไม่ควรถูกพรากไปยกเว้นอันเป็นผลของกระบวนการทางกฎหมายที่ยึดพฤติการณ์แวดล้อมจำเพาะ ตัวอย่างเช่น สิทธิมนุษยชนอาจรวมเสรีภาพจากการจำคุกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย การทรมานและการประหารชีวิตMerriam-Webster dictionary,, Retrieved August 14, 2014, "rights (as freedom from unlawful imprisonment, torture, and execution) regarded as belonging fundamentally to all persons" ลัทธิสิทธิมนุษยชนมีอิทธิพลสูงในกฎหมายระหว่างประเทศ สถาบันโลกและภูมิภาค การกระทำของรัฐและองค์การนอกภาครัฐก่อพื้นฐานของนโยบายสาธารณะทั่วโลก แนวคิดสิทธิมนุษยชนเสนอว่า "หากวจนิพนธ์สาธารณะสังคมโลกยามสงบสามารถกล่าวเป็นภาษาศีลธรรมร่วมได้ สิ่งนั้นคือสิทธิมนุษยชน" การอ้างอย่างหนักแน่นโดยลัทธิสิทธิมนุษยชนยังกระตุ้นกังขาคติและการอภิปรายเกี่ยวกับเนื้อหา สภาพและการให้เหตุผลว่าชอบด้วยกฎหมายซึ่งสิทธิมนุษยชนตราบจนทุกวันนี้ ความหมายแน่ชัดของคำว่า "สิทธิ" นั้นมีการโต้เถียงและเป็นหัวข้อการอภิปรายทางปรัชญาต่อไป ขณะที่มีการเห็นพ้องต้องกันว่าสิทธิมนุษยชนครอบคลุมสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีด้วยความเป็นธรรม การคุ้มครองจากการเป็นทาส การห้ามพันธุฆาต เสรีภาพในการพูดMacmillan Dictionary,, Retrieved August 14, 2014, "the rights that everyone should have in a society, including the right to express opinions about the government or to have protection from harm"หรือเสรีภาพที่จะได้รับการศึกษา แต่ยังเห็นไม่ลงรอยกันเกี่ยวกับว่าสิทธิใดบ้างต่อไปนี้ควรรวมอยู่ในกรอบทั่วไปของสิทธิมนุษยชน นักคิดบางคนเสนอว่าสิทธิมนุษยชนควรเป็นข้อกำหนดพื้นฐานเพื่อเลี่ยงการละเมิดที่ร้ายแรงที่สุด ขณะที่บางคนมองว่าเป็นมาตรฐานขั้นสูง ความคิดพื้นฐานดังกล่าวจำนวนมากซึ่งขับเคลื่อนขบวนการสิทธิมนุษยชนพัฒนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองและความเหี้ยมโหดของฮอโลคอสต์ จนลงเอยด้วยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีมติเห็นชอบปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในกรุงปารีสในปี 2491 คนโบราณไม่มีแนวคิดสิทธิมนุษยชนสากลสมัยใหม่แบบเดียวกัน การบุกเบิกวจนิพนธ์สิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริงนั้นคือมโนทัศน์สิทธิธรรมชาติซึ่งปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีกฎหมายธรรมชาติยุคกลางซึ่งโดดเด่นขึ้นระหว่างยุคภูมิธรรมยุโรปโดยมีนักปรัชญาอย่างจอห์น ล็อก, ฟรานซิส ฮัตชิสัน (Francis Hutcheson) และฌ็อง-ฌัก บือลามาคี (Jean-Jacques Burlamaqui) และซึ่งมีการเสนออย่างโดดเด่นในวจนิพันธ์การเมืองของการปฏิวัติอเมริกาและการปฏิวัติฝรั่งเศส จากรากฐานนี้ การให้เหตุผลสิทธิมนุษยชนสมัยใหม่กำเนิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 อาจเป็นปฏิกิริยาต่อความเป็นทาส การทรมาน พันธุฆาตและอาชญากรรมสงคราม โดยความตระหนักถึงความเปราะบางของมนุษย์ในตัวและเป็นเงื่อนไขก่อนความเป็นไปได้ของสังคมยุติธรรม.

ใหม่!!: สิทธิและสิทธิมนุษยชน · ดูเพิ่มเติม »

สิทธิสตรี

ทธิสตรี (Women's rights) คือ สิทธิและการให้สิทธิแก่สตรีและเด็กหญิงในสังคมต่างๆ ทั่วโลก ในบางแห่ง กฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น และพฤติกรรมมีส่วนให้การสนับสนุนและสร้างสิทธิเหล่านี้ขึ้นมาเป็นอย่างขนบ ธรรมเนียมประเพณี ในขณะที่ในที่อื่นๆ ผู้คนเพิกเฉยสิทธิสตรีและยับยั้งสิทธิเหล่านี้ สิทธิสตรีแตกต่างจากแนวคิดในมุมมองที่กว้างขึ้นในเรื่องสิทธิมนุษย์โดย พิจารณาจากข้ออ้างต่างๆแสดงความลำเอียงทางประเพณีหรือทางประวัติศาสตร์ที่มี มา ข้ออ้างดังกล่าวต่อต้านการใช้สิทธิสตรีและเด็กหญิงและให้การยอมรับผู้ชายและ เด็กผู้ชายมากกว่าHosken, Fran P., 'Towards a Definition of Women's Rights' in Human Rights Quarterly, Vol.

ใหม่!!: สิทธิและสิทธิสตรี · ดูเพิ่มเติม »

สิทธิธรรมชาติและสิทธิทางกฎหมาย

สิทธิทางกฎหมาย (บางครั้งเรียกสิทธิพลเมือง) คือสิทธิที่ถ่ายทอดมาจากระบบการปกครองเฉพาะอย่าง และถูกกำหนดลงในบทบัญญัติบางรูปแบบ เช่น กฎหมาย จารีต หรือความเชื่อ ในขณะที่สิทธิธรรมชาติ (บางครั้งเรียก จริยสิทธิ์ หรือ สิทธิอันมิอาจเพิกถอนได้) เป็นสิทธิที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากกฎหมาย จารีต หรือความเชื่อของสังคมหรือการปกครองใด สิทธิธรรมชาติจึงจำเป็นต้องเป็นเรื่องสากล ในขณะที่สิทธิทางกฎหมายนั้นสัมพันธ์กับการเมืองและวัฒนธรรม สิทธิธรรมชาติ เป็นสิทธิที่ไม่อาจแบ่งแยกหรือโอนให้กันได้ นักปรัชญาและนักรัฐศาสตร์บางส่วน แยกสิทธิทางกฎหมายและสิทธิธรรมชาติออกจากกัน หมวดหมู่:ทฤษฎีกฎหมาย หมวดหมู่:สิทธิมนุษยชน de:Unveräußerliches Gut.

ใหม่!!: สิทธิและสิทธิธรรมชาติและสิทธิทางกฎหมาย · ดูเพิ่มเติม »

สิทธิแรงงาน

ทธิแรงงาน (Labour Rights) หมายถึงสิทธิของผู้ใช้แรงงานในความสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง ทั้งสิทธิทางกฎหมายและสิทธิมนุษยชน เช่น อัตราค่าจ้าง จำนวนชั่วโมงการทำงาน สภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในที่ทำงาน สิทธิในการจัดตั้งสหภาพแรงงาน เป็นต้น สิทธิแรงงานมักจะได้รับการรับรองโดยการออกฎหมายว่าด้วยสิทธิแรงงาน การจำกัดชั่วโมงการทำงาน และการกำหนดอัตราค่าแรงขั้นต่ำ.

ใหม่!!: สิทธิและสิทธิแรงงาน · ดูเพิ่มเติม »

สิทธิในการป้องกันตัว

สิทธิในการป้องกันตัว คนทุกคนมีสิทธิป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่นได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้ใดจำต้องกระทำการเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้าย อันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้น เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด" การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้นจะต้องเป็นการกระทำที่พอสมควรแก่เหตุเท่านั้น ถ้าเป็นการกระทำ ที่เกินสมควรแก่เหตุ หรือเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันไม่เป็นการกระทำที่ ชอบด้วยกฎหมาย แต่กฎหมายให้อำนาจศาลที่จะลงโทษผู้กระทำน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับ ความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ และถ้าการกระทำนั้นเกิดขึ้นจากความตื่นเต้น ความตกใจ หรือความกลัว ศาลจะไม่ลงโทษผู้กระทำก็ได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 69 หมวดหมู่:นิติศาสตร์ หมวดหมู่:กฎหมาย หมวดหมู่:กฎหมายอาญา.

ใหม่!!: สิทธิและสิทธิในการป้องกันตัว · ดูเพิ่มเติม »

สิทธิในความเป็นส่วนตัว

ทธิในความเป็นส่วนตัว เป็นหลักขั้นพื้นฐานของกฎหมายไทย อันจะเห็นได้จากการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550ซึ่งได้รับการยอมรับจากนานาอารยประเทศ จึงถือได้ว่า สิทธิในความเป็นส่วนตัวนี้ ถือได้ว่าสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันมีการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวในส่วนของการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT ย่อจาก information technology และการสื่อสารเป็นอย่างมากทั่วทุกมุมโลก โดยเน้นหนักไปใบส่วนของข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารแบบไร้สาย การละเมิดสิทธิเหล่านี้นับวันจะยิ่งมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวล.

ใหม่!!: สิทธิและสิทธิในความเป็นส่วนตัว · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันนิยม

ันนิยม (Institutionalism) เป็นแนวคิดที่ใช้อธิบายชีวิตทางสังคมการเมือง ภายใต้กรอบความคิดว่าพฤติกรรมของมนุษย์หรือตัวแสดงทางการเมืองต่าง ๆ จะถูกกำหนดและกำกับโดยบริบทเชิง “สถาบัน” ที่คอยจัดความสัมพันธ์ที่มีอยู่ในสังคม ซึ่งสถาบันจะมีกฎ ระเบียบ กติกา และบรรทัดฐานบางอย่างในการกำกับมนุษย์ในสังคม และมนุษย์จะแสดงพฤติกรรมผ่านสถานภาพและบทบาทของตัวเองออกมาเป็นหน้าที่ของตน ทั้งบทบาทและหน้าที่ดังกล่าวจะถูกกำกับโดยองค์กร หรือสถาบันทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เช่น สถาบันการเมือง สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา องค์กรเศรษฐกิจ เป็นต้น และมนุษย์หนึ่งคนสามารถอยู่ในความสัมพันธ์ของหลายสถาบันและจะมีบทบาทหน้าที่หลายอย่างควบคู่กันไป ตัวอย่างเช่น ชายไทยอายุ 20 ปี ภายใต้สถาบันการเมืองจะมีบทบาทเป็นพลเมือง มีสิทธิและหน้าที่ในการไปเลือกตั้ง ภายใต้สถาบันศาสนาอาจมีบทบาทเป็นพุทธมามกะ หรือผู้สืบสานศาสนาอื่นใดที่นับถือ ภายใต้สถาบันการศึกษามีบทบาทเป็นนิสิตนักศึกษาจึงมีหน้าที่ในการเรียน และมีหน้าที่ต้องไปเกณฑ์ทหารหรือเรียนรักษาดินแดน เนื่องจากกฎหมายที่ออกโดยรัฐบาลซึ่งเป็นสถาบันการเมืองกำหนดเช่นนั้น (Peters, 2005: 1-3).

ใหม่!!: สิทธิและสถาบันนิยม · ดูเพิ่มเติม »

สงวนลิขสิทธิ์

งวนลิขสิทธิ์ (Thai) เป็นวลีที่กำเนิดขึ้นในกฎหมายลิขสิทธิ์โดยเป็นส่วนหนึ่งของข้อความสงวนลิขสิทธิ์ วลีดังกล่าวระบุว่าผู้ถือลิขสิทธิ์สงวน หรือถือสิทธิ์ทั้งหมดซึ่งกำหนดโดยกฎหมายลิขสิทธิ์ เช่น การแจกจ่าย การแสดง และการสร้างสรรค์ผลงานดัดแปลง ไว้เพื่อการใช้สอยของตน นั่นคือ พวกเขาไม่ได้สละซึ่งสิทธิ์ใด ๆ ที่กล่าวมา กฎหมายลิขสิทธิ์ในประเทศส่วนใหญ่ไม่กำหนดใหต้องมีประกาศดังนี้แล้ว แต่วลีดังกล่าวยังมีอยู่ หลายคนอาจเข้าใจจากการใช้โดยทั่วไปว่าวลีดังกล่าวหมายความถึงสิทธิตามกฎหมายใด ๆ หากเดิมวลีดังกล่าวเกี่ยวข้องเฉพาะกับลิขสิทธิ์เท่านั้น ในอดีต วลีดังกล่าวจำเป็นต้องระบุตามผลของอนุสัญญาบัวโนสไอเร..

ใหม่!!: สิทธิและสงวนลิขสิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

หลักนิติธรรม

หลักนิติธรรม (Rule of Law) หากพิจารณาในฐานะแนวคิดของชาวตะวันตกนั้นก็จะพบว่ามีรากเหง้ามาแต่ครั้งสมัยกรีกโบราณจากข้อถกเถียงสำคัญที่ว่า การปกครองที่ดีนั้นควรจะเป็นการปกครองด้วยสิ่งใด ระหว่างกฎหมายที่ดีที่สุด กับ สัตบุรุษ (คนดี) โดยอริสโตเติล (Aristotle) ได้สรุปว่า กฎหมายเท่านั้นที่ควรจะเป็นผู้ปกครองสูงสุดในระบอบการเมือง (Aristotle, 1995: 127) และจากข้อสรุปของอริสโตเติลตรงนี้นี่เอง ที่ได้พัฒนาไปสู่แนวคิดพื้นฐานสำคัญของรัฐสมัยใหม่ในอีกหลายพันปีถัดมาว่า การปกครองที่ดีนั้นควรจะต้องให้กฎหมายอยู่สูงสุด (supremacy of law) และทุกๆ คนต้องมีสถานะที่เสมอภาค และเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย กล่าวคือ แม้ตามหลักการของการแบ่งแยกอำนาจ ผู้ปกครองจะมีอำนาจอันชอบธรรมในการออกและบังคับใช้กฎหมาย แต่ตัวผู้ปกครอง หรือ รัฐเองก็จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่พวกเขาออก และบังคับใช้ด้วยเฉกเช่นเดียวกันกับพลเมืองคนอื่นๆ ในรัฐ เพื่อที่จะทำให้การเมืองนั้นวางอยู่บนรากฐานของกฎหมาย และรัฐบาลนั้นเป็นรัฐบาลที่จำกัด (limited government) โดยตัวกฎหมายเป็นสำคัญ.

ใหม่!!: สิทธิและหลักนิติธรรม · ดูเพิ่มเติม »

อักษรล่าแสน The Alphabet Thailand

อักษรล่าแสน The Alphabet Thailand หรือเรียกโดยย่อว่า อักษรล่าแสน เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ ที่ผลิตโดยบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ดำเนินรายการโดย ณัฏฐ์ปวินท์ กุลกัลยาดี (เจ็ม) และ มารุต ชื่นชมบูรณ์ (อาร์ต) เริ่มออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 7 มกราคม..

ใหม่!!: สิทธิและอักษรล่าแสน The Alphabet Thailand · ดูเพิ่มเติม »

อัยการ

ำสำคัญ "อัยการ" มีความหมายว่า การของเจ้า, โดยสามารถหมายถึง.

ใหม่!!: สิทธิและอัยการ · ดูเพิ่มเติม »

อำนาจอธิปไตยของปวงชน

อำนาจอธิปไตยของปวงชน (Sovereignty of the People or Popular Sovereignty) หมายถึงแนวคิดที่ว่าแหล่งที่มาของอำนาจสูงสุดของรัฐ หรือ อำนาจอธิปไตยมีที่มาจากพลเมืองทุกๆคนภายในรัฐ จึงทำให้บางครั้งแนวคิดนี้ถูกเรียกว่าอธิปไตยของมหาชน (popular sovereignty) ซึ่งก็มีความหมายในลักษณะเดียวกัน เพียงแต่เน้นให้เห็นถึงรากฐานของอำนาจอธิปไตยที่มีความโยงใยกับประชาชนจำนวนมากในสังคมในระบอบประชาธิปไตย หรือ ก็คือแนวคิดที่ว่า “อำนาจเป็นของปวงประชามหาชน” (power belongs to the people) (Kurian, 2011: 1580-1581).

ใหม่!!: สิทธิและอำนาจอธิปไตยของปวงชน · ดูเพิ่มเติม »

อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา

ูปวีรชน 14 ตุลา อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา เป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่รำลึกถึงผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ในวันที่ 14 - 16 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ตั้งอยู่เลขที่ 14/16 ถนนราชดำเนินนอก แขวงเสาชิงช้า บริเวณสี่แยกคอกวัว สร้างเสร็จในปี..

ใหม่!!: สิทธิและอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา · ดูเพิ่มเติม »

จุดสุดเสียวไทยแลนด์

ียวไทยแลนด์ หรือ จุดสุดเสียว Thailand เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์กลางแจ้ง โดยซื้อลิขสิทธิ์รูปแบบส่วนหนึ่งของรายการ "Muhan Dojeon" (무한도전) (Infinite Challenge) ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท Munhwa Broadcasting Corporation (MBC) จากประเทศเกาหลีใต้ นำมาทำเป็นรูปแบบรายการของประเทศไทย ผลิตรายการโดยบริษัท แฮฟเอกู๊ดดรีม เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (บริษัทในเครือเอชกรุ๊ป) เริ่มออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 2 มิถุนายน..

ใหม่!!: สิทธิและจุดสุดเสียวไทยแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ทาส

''Le Marché aux esclaves'', ตลาดค้าทาส ฌอง-เลออง เจอโรม ราว ค.ศ. 1884) ทาส หมายถึง บุคคลซึ่งถูกนับสิทธิเสมือนสิ่งของของผู้อื่น ไม่มีอิสระในการดำรงชีวิต และมีหน้าที่รับใช้ผู้อื่นโดยมิได้รับการตอบแทนจากเจ้าของ (นายทาส) เช่น การรับใช้ทางด้านแรงงาน และหากไม่เชื่อฟังคำสั่ง อาจถูกลงโทษได้ตามแต่นายทาสจะกำหนด ยกเว้นเป็นการกระทำอันทำให้ถึงแก่ความต.

ใหม่!!: สิทธิและทาส · ดูเพิ่มเติม »

ความสามารถของบุคคล

วามสามารถของบุคคล (competence of person) ในทางนิติศาสตร์นั้นได้แก่ความสามารถสองประการ คือ ความสามารถที่บุคคลจะมีสิทธิ และความสามารถที่บุคคลจะใช้สิทธิ บุคคลจะใช้สิทธิกระทำการใด กฎหมายบัญญัติให้ต้องมีความสามารถจะกระทำการนั้นก่อน เพื่อป้องกันความเสียหายอันจะเกิดแก่บุคคลนั้นเองและบุคคลอื่น บุคคลประเภทที่กฎหมายสันนิษฐานว่าไม่อยู่ในภาวะที่จะบริหารความสามารถของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ ผู้เยาว์ (minor), คนวิกลจริต (person of unsound mind), คนไร้ความสามารถ (incompetent person) และคนเสมือนไร้ความสามารถ (quasi-incompetent person) ซึ่งความสามารถตามกฎหมายของบุคคลเหล่านี้จะถูกจำกัดมากน้อยแล้วแต่กรณี นิติกรรมที่บุคคลเหล่านี้จะกระทำ กฎหมายจึงกำหนดเงื่อนไขไว้ต่าง ๆ เพื่อพิทักษ์ประโยชน์ของเขาเหล่านั้นโดยเฉพาะ อย่างไรก็ดี นิติบุคคล (juristic person) ซึ่งมิใช่บุคคลแท้ ๆ ก็อาจมีความสามารถตามกฎหมายเช่นบุคคลธรรมดา (natural person) ได้ เว้นแต่เป็นเรื่องที่ตามสภาพแล้วไม่สามารถกระทำได้เองจริง ๆ เช่น การมีครอบครัว หรือเข้าสมรส เป็นต้น.

ใหม่!!: สิทธิและความสามารถของบุคคล · ดูเพิ่มเติม »

ความเสมอภาคทางสังคม

วามเสมอภาค (Equality) เป็นมโนทัศน์พื้นฐานที่สุดเรื่องหนึ่งไม่ว่าจะกล่าวในมิติทางการเมืองหรือในทางเศรษฐกิจ คนทั่วไปมักสับสนคำว่า “เสมอภาค” กับ “เหมือนกัน” (sameness) กล่าวคือ คิดว่าการรับรองความเสมอภาคของมนุษย์เท่ากับการทำให้มนุษย์ทุกคนเท่ากัน จนมักโต้แย้งว่าความเสมอภาคไม่มีทางเป็นไปได้ จึงควรทำความเข้าใจเบื้องต้นว่าหลักการของความเสมอภาค ไม่ได้และไม่เคยเรียกร้องให้มนุษย์ทุกคนต้องเหมือนกันหมด เพราะมนุษย์ย่อมแตกต่างกันเป็นธรรมชาติทั้งโดยชาติพันธุ์ รูปร่าง ผิวพรรณ เพศสภาพ บุคลิก ความเชื่อ ศาสนา วัฒนธรรม และอื่นๆ แต่ความแตกต่างนั้นไม่ได้เป็นเหตุผลทำให้มนุษย์ต้องไม่เสมอภาคกัน เพราะความเสมอภาค (Equality) ตรงข้ามกับความไม่เสมอภาค (Inequality) ไม่ได้ตรงข้ามกับคำว่าความแตกต่าง (Difference) อย่างที่หลายคนทึกทัก นั่นหมายความว่า มนุษย์เราแตกต่างกันโดยธรรมชาติ แต่ก็สามารถและควรเท่าเทียมกันได้ (different but Equal) ดังนั้นเมื่อกล่าวว่า คนเสมอภาคกัน จึงไม่ได้หมายความว่าคนเหมือนกันทุกด้านไม่ว่าจะเป็นชาติตระกูล หน้าตา ความสามารถ สติปัญญา แต่การที่บอกว่าเสมอภาคกันมีความหมายว่า มนุษย์เท่าเทียมกันทั้งในความเป็นมนุษย์ และตามกฎหมายของรัฐ (Kurian, 2011: 515) ดังที่มีวลีสำคัญที่สะท้อนความเสมอภาคคือ “Equality Before the Law” ซึ่งหมายความว่าบุคคลทุกผู้ทุกนามย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามกระบวนของกฎหมายอย่างเป็นธรรม หรือความเสมอภาคกันในทางการเมืองคือ พลเมืองที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดย่อมสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้อย่างเท่าเทียมกัน ในบางกรณี ที่ความเสมอภาคยึดโยงเข้ากับหลักความเป็นธรรม (Justice) จะนำไปสู่การปฏิบัติต่อผู้คนที่แตกต่างกันด้วยมาตรการเฉพาะเพื่อช่วยให้ความแตกต่างกันโดยธรรมชาติได้รับการแก้ไขให้เกิดความเสมอภาคมากขึ้น เช่น มาตรการช่วยเหลือคนด้อยโอกาส คนทุพพลภาพ เพื่อความเสมอภาคในสังคม ดังนั้น การมองอย่างฉาบฉวยว่าการเรียกร้องให้คนเท่ากันหมายถึงการเรียกร้องให้คนเหมือนกันนั้น จึงเป็นความเข้าใจผิดในประเด็นพื้นฐาน.

ใหม่!!: สิทธิและความเสมอภาคทางสังคม · ดูเพิ่มเติม »

ความเห็นพ้อง

วามเห็นพ้อง, ฉันทานุมัติ หรือ ฉันทามติ (consensus) มาจากภาษาละตินว่า cōnsēnsus หรือ cōnsentiō หมายถึง ความรู้สึกร่วมกัน (feel together) โดยพจนานุกรมฉบับ Merriam-Webster’s ให้ความหมายของ consensus ไว้ว่าเป็นข้อตกลงร่วมกันที่มีลักษณะเป็นการยอมรับแบบเอกฉันท์ (unanimity) หัวใจของความเห็นพ้องมีสาระสำคัญอยู่ที่การประนีประนอมระหว่างกัน และจัดกระบวนการให้คนในสังคมหรือชุมชนมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็น เป้าหมายของความเห็นพ้องมีเพื่อเป็นเครื่องรับประกันว่าสมาชิกทุกคนในชุมชนจะสามารถแสดงความคิดเห็นและหาข้อตกลงร่วมกันได้ ความเห็นพ้องมักเชื่อมโยงกับการตัดสินใจ (consensus decision making) ซึ่งหมายถึงกระบวนการตัดสินใจโดยกลุ่มคนที่เน้นความยินยอมและเห็นชอบร่วมกันจากผู้มีส่วนร่วมทุกคน ดังนั้น ความเห็นพ้องในกระบวนการตัดสินใจจึงหมายถึงทางออกแห่งปัญหาซึ่งเป็นที่ยอมรับร่วมกัน ได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่าย ถึงแม้อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดในใจของคนทุกคน.

ใหม่!!: สิทธิและความเห็นพ้อง · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตย

รัฐที่มิได้มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ นครรัฐวาติกัน ประเทศซาอุดิอาระเบีย UAE กาตาร์ โอมาน ฟิจิและบรูไน ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์หลังการก่อการกำเริบเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาล ประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนในรัฐสภา จากนั้น สมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยจะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีการระบุว่าความเสมอภาคและอิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับแต่โบราณกาลR.

ใหม่!!: สิทธิและประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยเชิงเนื้อหา

ประชาธิปไตยเชิงเนื้อหา (Substantive Democracy) เป็นรูปแบบหนึ่งของประชาธิปไตยที่เน้นเรื่องของผลลัพธ์ (outcome) ของกระบวนการและกลไกต่างๆ ในระบอบประชาธิปไตย โดยเกณฑ์หรือมาตรวัดความเป็นประชาธิปไตยเชิงเนื้อหามักประกอบด้ว.

ใหม่!!: สิทธิและประชาธิปไตยเชิงเนื้อหา · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยเสรีนิยม

รัฐสภาของประเทศฟินแลนด์ (Eduskunta) - มีประเทศและอาณาเขตหลายแห่งที่เรียกได้ว่า มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปเป็นแห่งแรก รัฐ Grand Duchy of Finland (ก่อนจะเป็นประเทศฟินแลนด์) ได้มีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2449 ประชาธิปไตยเสรีนิยม หรือ ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม (Liberal democracy) หรือบางครั้งเรียกว่า ประชาธิปไตยแบบตะวันตก เป็นทั้งคตินิยมทางการเมืองและระบอบการปกครองรูปแบบหนึ่ง ที่การปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนจะดำเนินการใต้หลักเสรีนิยม คือ การพิทักษ์สิทธิของปัจเจกบุคคล ซึ่งโดยทั่วไปจะระบุไว้ในกฎหมาย ระบอบมีลักษณะเฉพาะ คือ.

ใหม่!!: สิทธิและประชาธิปไตยเสรีนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ปรีดี พนมยงค์

ตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ หรือ อำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 – 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526) เป็นรัฐบุรุษอาวุโส ผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน..

ใหม่!!: สิทธิและปรีดี พนมยงค์ · ดูเพิ่มเติม »

เอกสิทธิ์

เอกสิทธ์ หมายถึง สิทธิพิเศษเฉพาะบุคคลบางคนหรือบางประเภทที่มีคุณลักษณะพิเศษบางประการ ทำให้มีความชอบธรรมในการอ้างสิทธิดังกล่าวเหนือบุคคลอื่น เช่น เอกสิทธิ์การทูต เอกสิทธิ์ของสมาชิกรัฐสภา เอกสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ได้แก่ เอกสิทธิ์ของสมาชิกรัฐสภา บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 130 ได้กำหนดให้เอกสิทธิ์แก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาไว้ ได้แก่ เอกสิทธิ์ในการแถลงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น ออกเสียงลงคะแนน ผู้ใดจะนำไปฟ้องร้องไม่ได้ เว้นแต่เป็นการกล่าวถ้อยคำในการประชุมที่มีการถ่ายทอดสดทางวิทยุหรือโทรทัศน์ ซึ่งมีลักษณะเป็นความผิดอาญาหรือทางแพ่งต่อบุคคลอื่นที่มิใช่รัฐมนตรี หรือสมาชิกแห่งสภา เอกสิทธิ์นี้ให้แก่สมาชิกรัฐสภา เพื่อให้สมาชิกรัฐสภาซึ่งเป็นผู้แทนของประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องเกรงว่าจะถูกคนใดฟ้องร้อง การอภิปรายในการประชุมสภาที่สมาชิกสภาแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม แม้จะทำให้ผู้อื่นเสียหาย หรือมีความผิดฐานหมื่นประมาท ก็ไม่ถูกฟ้องทั้งทางแพ่งและทางอาญา หมวดหมู่:กฎหมาย.

ใหม่!!: สิทธิและเอกสิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร

รือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร เกิดขึ้นจากการรวมตัวของนักศึกษา นักกิจกรรม และนักเคลื่อนไหวที่ไม่เห็นด้วยกับการก่อรัฐประหารโดยคณะรัฐประหารที่เรียกตัวเองว่า คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การเกิดขึ้นของเครือข่าย เริ่มจากการประชุมกันของนักกิจกรรม(รุ่นใหม่) และนักศึกษาประมาณ 70-80 ในวันที่ 20 กันยายน (หนึ่งวันหลังการต้านรัฐประหาร) ผ่านการบอกข่าวตามเครือข่ายและองค์กรของตัวเอง มีจำนวนหนึ่งที่เป็นปัจเจกไม่ได้สังกัดเครือข่ายอะไร แต่ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาและนักกิจกรรมที่ทำงานอย่างต่อเนื่องและอาจจะเรียกได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีความก้าวหน้าทางการเมืองกลุ่มหนึ่งในภาคประชาชนไทย สมาชิกส่วนใหญ่ได้มีการทำงานร่วมกันมาก่อน หลายๆส่วนได้ทำงานร่วมกันในองค์กรพัฒนาเอกชน และได้รณรงค์ร่วมกันในหลายๆ ครั้ง เครือข่ายต้องการสร้างพื้นที่ทางการเมืองให้สำหรับคนที่มีความเห็นต่างจากการก่อรัฐประหาร มุมมองในสังคมไทยไม่ได้มีแค่ “เอารัฐประหาร ไม่เอาทักษิณ” หรือ “เอาทักษิณ ไม่เอารัฐประหาร” และเนื่องจากการก่อรัฐประหารเป็นการแสดงทัศนะว่าประชาชนไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้เอง ไม่สามารถตัดสินใจอนาคตของตัวเองได้ พลังประชาชนไม่มีค่า แต่กลับต้องพึ่งทหารหรือ “พระเอกขี่ม้าขาว” ในการแก้ไขปัญหาวิกฤติอะไร ประเทศไทยได้ผ่านรัฐประหารมาแล้วเป็นเวลาหลายสิบครั้ง ถ้าการก่อรัฐประหารครั้งนี้ได้รับการตอบรับ ครั้งต่อไปเมื่อมีวิกฤติทหารก็สามารถสร้างความชอบธรรมโดยก่อรัฐประหารได้อีกในอนาคต อีกทั้งการรัฐประหารครั้งนี้ได้มีการเกิดขึ้นของวัฒนธรรมความรุนแรงที่ไม่คำนึงถึง “หลักการ” ทางประชาธิปไตย เช่น กลุ่มที่ ยอมรับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการทำผิดกฎหมายตามหลักสากลต่างๆ ยอมรับการปิดวิทยุชุมชนที่ภาคเหนือกว่า 300 สถานี ยอมรับการกักขังอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ.

ใหม่!!: สิทธิและเครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร · ดูเพิ่มเติม »

4 ต่อ 4 แฟมิลี่เกม

4 ต่อ 4 แฟมิลี่เกม (Family Feud Thailand.) หรือมักเรียกโดยย่อว่า 4 ต่อ 4 เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์แนวทายปัญหา (ควิซโชว์) โดยมีรูปแบบรายการต้นฉบับมาจากรายการ "แฟมิลีฟิวด์" (Family Feud) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม..

ใหม่!!: สิทธิและ4 ต่อ 4 แฟมิลี่เกม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สิทธิ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »