โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สิงโตทะเล

ดัชนี สิงโตทะเล

งโตทะเล หรือ หมีทะเล (Sea lions, Sea bears) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Otariidae ในอันดับ Pinnipedia หรือแมวน้ำ จัดเป็นแมวน้ำมีหูจำพวกหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ตามชายฝั่งทะเลทั่วโลก ตั้งแต่ทะเลเขตหนาวแถบขั้วโลกเหนือหรืออาร์กติก และเขตร้อนหรือเขตอบอุ่นในทวีปแอฟริกาหรืออเมริกาใต้ หรือบริเวณเส้นศูนย์สูตร เช่น เกาะกาลาปากอส สิงโตทะเล มีลักษณะแตกต่างจากแมวน้ำ คือ มีใบหูขนาดเล็กที่ข้างหัวทั้งสองข้าง สามารถใช้ครีบทั้งสี่ข้างนั้นคืบคลานไปมาบนบกได้อย่างคล่องแคล่วเหมือนเดิน ต่างจากแมวน้ำที่ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ เมื่ออยู่บนบกครีบของแมวน้ำใช้ได้เพียงแค่คืบคลานหรือกระเถิบตัวเพื่อให้เคลื่อนที่เท่านั้น สิงโตทะเลโดยทั่วไปมีอายุโดยเฉลี่ย 20–30 ปี อาหารหลัก คือ ปลาและปลาหมึก มีลักษณะและขนาดแตกต่างกันไปตามชนิดในแต่ละภูมิภาค โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ สิงโตทะเลสเตลลาร์ (Eumetopias jubatus) ที่ตัวผู้อาจยาวได้ถึง 3 เมตร น้ำหนักประมาณ 1,000 กิโลกรัม สิงโตทะเลชนิดที่พบได้บ่อย คือ สิงโตทะเลแคลิฟอร์เนีย (Zalophus californianus) ตัวผู้มีความยาว 2.41 เมตร เมื่อโตเต็มที่ น้ำหนัก 300 กิโลกรัม.

25 ความสัมพันธ์: พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำซุมิดะพิสัยการได้ยินการรับรู้รสมอร์โกวร์รายการสัตว์วอลรัสวาฬมีฟันวาฬเพชฌฆาตวงศ์ปลาฉลามครีบดำสวนสัตว์กิซาสัตว์กินเนื้อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทางทะเลสิงโต (แก้ความกำกวม)สิงโตทะเลกาลาปาโกสหมากรุกลูอิสขบวนการเทพสวรรค์ โกเซย์เจอร์ปลากะตักปลาฉลามขาวปลาฉลามเสือปลาแสงอาทิตย์ปลาแฮลิบัตแพนอเมริกันเกมส์ 1995แมวน้ำมีหูโลมามหาสมุทรเพนกวินเจนทู

พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำซุมิดะ

ัณฑ์สัตว์น้ำซุมิดะ (Sumida Aquarium; すみだ水族館.) เป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำซุมิดะ ตั้งชื่อตามแม่น้ำซุมิดะ อันเป็นแม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านกรุงโตเกียว ซึ่งเป็นสถานที่ตั้ง พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำซุมิดะตั้งอยู่บนชั้นที่ 5 ของหอคอยโตเกียวสกายทรี ซึ่งเป็นหอคอยแห่งใหม่ของกรุงโตเกียว ที่มีความสูงถึง 634 เมตร นับเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกรองมาจากอาคารเบิร์จคาลิฟา ซึ่งเป็นอาคารที่สูงที่สุดในโลก ที่ดูไบ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำซุมิดะ เป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำขนาดเล็ก เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 พร้อมกับหอคอยโตเกียวสกายทรี เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 น. - 21.00 น. อัตราเข้าชม ผู้ใหญ่คนละ 2,000 เยน เด็กคนละ 600-1,500 เยน.

ใหม่!!: สิงโตทะเลและพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำซุมิดะ · ดูเพิ่มเติม »

พิสัยการได้ยิน

ัยการได้ยิน (Hearing range) หมายถึงพิสัยความถี่เสียงที่มนุษย์หรือสัตว์อื่น ๆ ได้ยิน แม้ก็อาจหมายถึงระดับความดังเสียงได้ด้วยเหมือนกัน มนุษย์ปกติจะได้ยินในพิสัยความถี่ 20-20,000 เฮิรตซ์ (Hz) แต่ก็จะต่างไปตามบุคคลพอสมควรโดยเฉพาะเสียงความถี่สูง และการสูญความไวเสียงความถี่สูงอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามอายุก็เป็นเรื่องปกติ ความไวต่อความถี่ต่าง ๆ แม้ในบุคคลก็ยังไม่เท่ากันอีกด้วย (ดูหัวข้อ เส้นชั้นความดังเสียงเท่า) มีสัตว์หลายอย่างที่สามารถได้ยินเสียงเกินพิสัยของมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น โลมาและค้างคาวสามารถได้ยินเสียงสูงจนถึง 100,000 Hz ช้างสามารถได้ยินเสียงต่ำจนถึง 14-16 Hz ในขณะที่วาฬบางชนิดสามารถได้ยินเสียงต่ำในน้ำจนถึง 7 Hz.

ใหม่!!: สิงโตทะเลและพิสัยการได้ยิน · ดูเพิ่มเติม »

การรับรู้รส

ตุ่มรับรส (Taste bud) รส หรือ รสชาติ (Taste, gustatory perception, gustation) เป็นเรื่องเกี่ยวกับประสาทสัมผัสหนึ่งในห้า (นับตามโบราณ) โดยเป็นความรู้สึกที่ได้จากระบบรู้รส (gustatory system) รสเป็นความรู้สึกที่ได้เมื่อสารในปากก่อปฏิกิริยาเคมีกับเซลล์รับรส (taste receptor cell) ที่อยู่ในตุ่มรับรส (taste bud) ในช่องปากโดยมากที่ลิ้น รสพร้อม ๆ กับกลิ่น และการกระตุ้นที่ประสาทไทรเจมินัล (ซึ่งทำให้รู้เนื้ออาหาร ความเจ็บปวด และอุณหภูมิ) จะเป็นตัวกำหนดความอร่อยของอาหารหรือสารอื่น ๆ กล่าวอีกอย่างก็คือ ระบบรู้รสจะตรวจจับโมเลกุลอาหารและเครื่องดื่มเป็นต้น โดยมากที่ละลายในน้ำหรือไขมันได้ ซึ่งเมื่อรวมกับข้อมูลจากระบบรู้กลิ่นและระบบรับความรู้สึกทางกาย จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของสารอาหาร ปริมาณ และความปลอดภัยของสิ่งที่เข้ามาในปาก มีรสชาติหลัก ๆ 5 อย่างคือ หวาน เปรี้ยว เค็ม ขม และอุมะมิ ซึ่งรู้ผ่านวิถีประสาทที่แยกจากกัน ส่วนการรับรู้รสแบบผสมอาจเกิดขึ้นที่เปลือกสมองส่วนการรู้รสโดยประมวลข้อมูลที่ได้ในเบื้องต้นจากหน่วยรับรสหลัก ๆ การรับรู้รสจะเริ่มตั้งแต่สารที่มีรสทำปฏิกิริยากับน้ำลายซึ่งท่วมตุ่มรับรสที่อยู่บนโครงสร้างต่าง ๆ เช่นปุ่มลิ้น ทำให้โมเลกุลรสมีโอกาสทำปฏิกิริยากับหน่วยรับรสที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรสซึ่งอยู่รวมตัวกันที่ตุ่มรับรส รสหวาน อุมะมิ และขม จะเริ่มจากการจับกันของโมเลกุลกับ G protein-coupled receptors ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรส ส่วนความเค็มและความหวานจะรู้ได้เมื่อโลหะแอลคาไลหรือไอออนไฮโดรเจน (ตามลำดับ) ไหลเข้าไปในเซลล์รับรส ในที่สุดเซลล์รับรสก็จะลดขั้วแล้วส่งสัญญาณกลิ่นผ่านใยประสาทรับความรู้สึกไปยังระบบประสาทกลาง สมองก็จะประมวลผลข้อมูลรสซึ่งในที่สุดก็ทำให้รู้รส รสพื้นฐานจะมีส่วนต่อความรู้สึกอร่อยของอาหารในปาก ปัจจัยอื่น ๆ รวมทั้งกลิ่น ที่ตรวจจับโดยเยื่อบุผิวรับกลิ่นในจมูก, เนื้ออาหาร ที่ตรวจจับโดยตัวรับแรงกล และประสาทกล้ามเนื้อต่าง ๆ เป็นต้น, อุณหภูมิที่ตรวจจับโดยปลายประสาทรับร้อน, ความเย็น (เช่นที่ได้จากเมนทอล) กับรสเผ็สที่ได้จากตัวรับรู้สารเคมี, รูปลักษณ์ที่ปรากฏของอาหาร ที่เห็นได้ผ่านเซลล์รับแสงในจอตา, และสภาพทางจิตใจเอง เพราะเรารู้ทั้งรสที่เป็นอันตรายและมีประโยชน์ รสพื้นฐานทั้งหมดสามารถจัดเป็นไม่น่าพอใจ (aversive) หรือทำให้อยากอาหาร (appetitive) ความขมช่วยเตือนว่าอาจมีพิษ ในขณะที่ความหวานช่วยระบุอาหารที่สมบูรณ์ด้วยพลังงาน สำหรับมนุษย์ การรู้รสจะเริ่มลดลงราว ๆ อายุ 50 ปี เพราะการเสียปุ่มลิ้นและการผลิตน้ำลายที่น้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุมักทานรสจัดขึ้นเทียบกับเด็ก เช่น ต้องเติมเกลือ เติมพริกเป็นต้น ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อผู้มีความดันโลหิตสูงหรือมีปัญหาธำรงดุลอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย มนุษย์สามารถรู้รสแบบผิดปกติเพราะเป็นโรค dysgeusia สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดไม่ได้รู้รสได้เหมือน ๆ กัน สัตว์ฟันแทะบางชนิดสามารถรู้รสแป้ง (ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถ) แมวไม่สามารถรู้รสหวาน และสัตว์กินเนื้อหลายอย่างรวมทั้งหมาไฮยีน่า ปลาโลมา และสิงโตทะเลต่างก็ได้เสียการรู้รสชาติอาจถึง 4 อย่างจาก 5 อย่างที่บรรพบุรุษของพวกมันรู้.

ใหม่!!: สิงโตทะเลและการรับรู้รส · ดูเพิ่มเติม »

มอร์โกวร์

มอร์โกวร์ (Morgawr; ในภาษาคอร์นวอลล์หมายถึง "ยักษ์ทะล") เป็นสัตว์ประหลาดทะเลจำพวกงูทะเลในความเชื่อพื้นบ้านของแถบคอร์นวอลล์ ที่มีผู้อ้างว่าพบเห็นใกล้อ่าวฟัลมัส ในมณฑลคอร์นวอลล์ ประเทศอังกฤษ รายงานแรกของมอร์โกวร์ระบุว่าพบเห็นใกล้เพนเดนนิสพอยส์ในปี..

ใหม่!!: สิงโตทะเลและมอร์โกวร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการสัตว์

รายชื่อสัตว์ เป็นการรวบรวมรายชื่อของสัตว์ทุกไฟลัมและสปีชีส์ไว้ เพื่อเป็นการสะดวกต่อค้นหา การศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับสัตว์ ได้แก่ สัตว์บก • สัตว์น้ำ • สัตว์ปีก • สัตว์เลื้อยคลาน • สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เรียงตามลำดับตัวอักษร สำหรับผู้ที่จะเพิ่มเติมรายชื่อสัตว์ ขอให้เรียงลำดับตามตัวอักษร เพื่อให้ง่ายต่อการเพิ่มเติมรายชื่อ ในส่วนของรายชื่อสัตว์ที่มีคนเริ่มเขียนบทความแล้วดูได้ที่ หมวดหมู่ รายชื่อสัตว์ และ สัตว์ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ หมวดหมู่:สัตว์.

ใหม่!!: สิงโตทะเลและรายการสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

วอลรัส

วอลรัส (walrus) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดเดียวในวงศ์ Odobenidae และสกุล Odobenus อาศัยอยู่แถบขั้วโลกเหนือ รูปร่างคล้ายสิงโตทะเล แต่ตัวใหญ่กว่ามากและมีเขี้ยวยาว วอลรัสเพศผู้โตเต็มวัยอาจมีน้ำหนักได้มากถึง 2,000 กิโลกรัม และมีอายุยืนถึง 20-30 ปี วอลรัสมีความสำคัญต่อชนพื้นเมืองที่อาศัยในเขตอาร์กติก การล่าวอลรัสในช่วงศตวรรษที่ 19-20 ส่งผลให้จำนวนวอลรัสลดลง.

ใหม่!!: สิงโตทะเลและวอลรัส · ดูเพิ่มเติม »

วาฬมีฟัน

ฟันของวาฬสเปิร์ม ซึ่งเป็นวาฬมีฟันที่มีขนาดใหญ่ที่สุด วาฬมีฟัน (Toothed whales) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในน้ำทั้งทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืดบ้างบางส่วน เป็นอันดับย่อยของอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) ใช้ชื่ออันดับย่อยว่า Odonceti (/โอ-ดอน-โต-เซ-เตส/) วาฬมีฟันนั้นประกอบไปด้วยวาฬและโลมา เป็นสัตว์กินเนื้อ ด้วยการไล่ล่าสัตว์น้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร เช่น ปลา รวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลบางจำพวก เช่น สิงโตทะเล หรือแมวน้ำ ได้ในบางชนิด ขณะที่บางชนิดกินสัตว์มีเปลือกแข็งอย่าง หอย หรือครัสเตเชียน ได้ด้วย มีขนาดลำตัวเล็กกว่าวาฬไม่มีฟันมาก วาฬมีฟัน บางชนิดมีฟันเพียง 2-3 ซี่ แต่ส่วนมากจะมีฟันแข็งแรงเรียงเป็นแถวทั้งขากรรไกรบนและล่าง โดยวาฬมีฟันที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ วาฬสเปิร์ม ที่มีความยาวได้ถึง 60 ฟุต มีรูปร่างคล้ายลูกอ๊อดขนาดใหญ่ มีหัวเป็นสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่มากที่ภายในมีไขมันและน้ำมันอยู่เป็นจำนวนมาก วาฬสเปิร์มสามารถดำน้ำได้ลึกและกินหมึกเป็นอาหาร โดยเฉพาะอย่างหมึกยักษ์ ขณะที่วาฬมีฟันที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ โลมาลาพลาตา อาศัยอยู่ตามแถบชายฝั่ง, ปากแม่น้ำ ของทวีปอเมริกาใต้ฝั่งแอตแลนติก ที่มีความยาวเต็มที่ไม่ถึง 2 เมตร นับเป็นสัตว์ในอันดับนี้ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกด้วย วาฬเพชฌฆาต หรือวาฬออร์กา นับเป็นวาฬมีฟันที่มีลำตัวยาวประมาณ 30 ฟุต เป็นวาฬที่มีศักยภาพในการไล่ล่าสูง โดยจะทำการล่าเป็นฝูงและสามัคคีกัน ซึ่งวาฬเพชฌฆาตนอกจากจะล่าปลาขนาดเล็กกินเป็นอาหารด้วยแล้ว ยังอาจจะกินปลาขนาดใหญ่และเป็นอันตรายอย่าง ปลาฉลามขาว รวมถึงสัตว์เลือดอุ่นทะเล เช่น นกทะเล, นกเพนกวิน, แมวน้ำ, สิงโตทะเล หรือแม้แต่วาฬหรือโลมาด้วยกันเป็นอาหารได้ด้วยวาฬและโลมา หน้า 37-42, "สัตว์สวยป่างาม" (ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล, สิงหาคม 2518) วาฬีมีฟันชนิดหนึ่ง คือ นาร์วาล เป็นวาฬที่อาศัยอยู่เป็นฝูงเฉพาะมหาสมุทรอาร์กติกในแถบขั้วโลกเหนือ มีลักษณะเฉพาะ คือ มีฟันที่แปลก วาฬนาร์วาลจะมีฟัน 2 ซี่เมื่อแรกเกิด แต่นาร์วาลตัวผู้เมื่อเจริญเติบโตขึ้นฟันข้างซ้ายจะยาวไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งกลายเป็นสิ่งที่แหลมยาวเหมือนงาช้างหรือเขาสัตว์ ลักษณะม้วนเป็นเกลียวที่ยาวได้ถึง 3 เมตร (10 ฟุต) เหมือนยูนิคอร์น ในเทพปกรณัมกรีก ซึ่งนาร์วาลจะใช้เขาแหลมนี้ในการเจาะเซาะน้ำแข็งในการว่ายน้ำ รวมถึงใช้ต่อสู้ป้องกันตัวและแย่งชิงตัวเมียด้วย ซึ่งตัวเมียจะมีเขานี้เพียงสั้น ๆ รวมถึงใช้ขุดหาอาหารตามพื้นน้ำเป็นอาหาร ส่วนใหญ่ได้แก่ ปลาลิ้นหมา และครัสเตเชียน และหอยต่าง ๆ มนุษย์จะใช้ประโยชน์จากวาฬมีฟันด้วยการใช้ฟันและเขี้ยวแกะสลักมาแต่โบราณ นับเป็นของหายาก ล้ำค่า ขณะที่เขาของนาร์วาล ในอดีตมีความเชื่อว่าเป็นเขาของยูนิคอร์นจริง ๆ ถือเป็นของล้ำค่าและเป็นเครื่องประดับที่มีร.

ใหม่!!: สิงโตทะเลและวาฬมีฟัน · ดูเพิ่มเติม »

วาฬเพชฌฆาต

วาฬเพชฌฆาต หรือ วาฬออร์กา (Killer whale, Orca) เป็นสปีชี่ส์ที่ใหญ่ที่สุดในในวงศ์โลมามหาสมุทร (Delphinidae) สามารถพบเห็นได้ในมหาสมุทรทั่วโลก ตั้งแต่แถบอาร์กติกและแอนตาร์กติกา จนถึงทะเลในแถบเขตร้อน จนอาจเรียกได้ว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถพบเห็นได้ทั่วโลกมากที่สุดนอกเหนือจากมนุษ.

ใหม่!!: สิงโตทะเลและวาฬเพชฌฆาต · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาฉลามครีบดำ

วงศ์ปลาฉลามครีบดำ (Requim shark, Whaler shark) เป็นวงศ์ของปลากระดูกอ่อนจำพวกปลาฉลามวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Carcharhinidae อยู่ในอันดับปลาฉลามครีบดำ (Carcharhiniformes) มีรูปร่างโดยรวม คือ เพรียวยาวเป็นทรงกระสวย ครีบหลังมีสองตอน โดยเฉพาะครีบหลังตอนแรกมีลักษณะแหลมสูง ดูเด่น ไม่มีหนามแข็งหน้าครีบหลัง มีช่องเปิดเหงือกห้าช่องอยู่ทางด้านข้างของส่วนหัว ส่วนใหญ่มีช่องรับน้ำขนาดเล็กอยู่หลังตา ตามีทรงกลม ปากเป็นรูปสามเหลี่ยมโค้ง ภายในมีฟันแหลมคมอยู่จำนวนมาก เป็นปลาที่มีความว่องไวปราดเปรียวมาก เป็นปลาที่ล่าเหยื่อและหากินบริเวณกลางน้ำและผิวน้ำในบางครั้ง โดยปกติแล้ว จะกินปลาชนิดอื่นเป็นอาหาร โดยอาศัยโครงสร้างฟันที่แหลมคม ประกอบกับการว่ายน้ำที่คล่องแคล่วและรวดเร็วขณะโจม แต่บางชนิดอาจมีพฤติกรรมโจมตีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล เช่น แมวน้ำ หรือสิงโตทะเล เป็นอาหารได้ด้วย จมูกมีความไวมากสำหรับการได้กลิ่น โดยเฉพาะกลิ่นคาวเลือดและได้ยินเสียงได้ไกลถึง 2 กิโลเมตร ในบางสกุลจะมีพฤติกรรมอย่รวมกันเป็นฝูง ออกลูกเป็นตัว จะอาศัยหากินในทะเลเปิดทั่วโลกในเขตอบอุ่นและเขตร้อน ในบางครั้งอาจเข้าหากินได้ใกล้ชายฝั่งหรือบริเวณที่เป็นน้ำจืดหรือน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน เช่น ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus), ปลาฉลามหัวบาตร (C. leucas) และปลาฉลามแม่น้ำ (Glyphis spp.) ซึ่งเป็นปลาฉลามเพียงจำพวกเดียวแท้ ๆ ในกลุ่มปลาฉลามที่อาศัยและเติบโตในน้ำจืดสนิท มีทั้งหมด 12 สกุล ประมาณ 57 ชนิด โดยชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ปลาฉลามเสือ (Galeocerdo cuvier) ที่ยาวได้ถึง 7 เมตร.

ใหม่!!: สิงโตทะเลและวงศ์ปลาฉลามครีบดำ · ดูเพิ่มเติม »

สวนสัตว์กิซา

วนสัตว์กิซา เป็นสวนสัตว์ขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ มีพื้นที่เกือบ 100 ไร่ (0.40 กม. 2) เป็นที่จัดแสดงสัตว์ป่า สัตว์ปีก ทุกชนิด มีทั้ง อูฐ หมีดำ สิงโตทะเลแคลิฟอร์เนีย ยีราฟ ฮิปโปโปเตมัส สิงโตทะเล นกกระจอกเทศ ลิงหลากหลากชนิด นกมอคอรว์สีแดง.

ใหม่!!: สิงโตทะเลและสวนสัตว์กิซา · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์กินเนื้อ

ัตว์กินเนื้อ หรือ คาร์นิวอรา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Order Carnivora) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หมายถึงสัตว์ที่กินเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก ไม่ว่าเนื้อสัตว์นั้นจะมาจากสัตว์ที่มีชีวิตอยู่หรือว่าตายแล้ว สัตว์บางชนิดจำเป็นที่จะต้องกินเนื้อเพื่อความอยู่รอด อันเนื่องมาจากพันธุกรรม เราเรียกสัตว์ในกลุ่มนี้ว่า "true carnivore" (สัตว์กินเนื้อแท้) หรือ "obligate carnivores" (สัตว์กินเนื้อโดยบังคับ) สัตว์ในกลุ่มนี้อาจกินพืชผักหรืออาหารชนิดอื่นได้ แต่มันจะต้องกินเนื้อเพื่อเป็นแหล่งสารอาหารหลักของมัน กายวิภาคของสัตว์ในกลุ่มนี้ ทำให้มันไม่สามารถย่อยอาหารจำพวกพืชได้อย่างมีประสิท.

ใหม่!!: สิงโตทะเลและสัตว์กินเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทางทะเล

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทางทะเล (Marine mammals) คือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่อาศัยอยู่ในทะเลหรืออาศัยอยู่ใกล้ทะเล โดยสัตว์ในกลุ่มนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 129 ชนิด (Species) ตัวอย่างของสัตว์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ แมวน้ำ วาฬ โลมา วอลรัส หมีขั้วโลก ฯลฯPompa, S., Ehrlich, P. R. & Ceballos, G. (2011) "Global distribution and conservation of marine mammals".

ใหม่!!: สิงโตทะเลและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทางทะเล · ดูเพิ่มเติม »

สิงโต (แก้ความกำกวม)

งโต อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สิงโตทะเลและสิงโต (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

สิงโตทะเลกาลาปาโกส

งโตทะเลกาลาปาโกส (Galápagos sea lion) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อ จำพวกสิงโตทะเลชนิดหนึ่ง สิงโตทะเลกาลาปาโกส อยู่ในสกุลเดียวกันกับสิงโตทะเลแคลิฟอร์เนีย (Z. californianus) แต่มีขนาดเล็กกว่า นับเป็นสิงโตทะเลหรือแมวน้ำเพียงชนิดเดียวเท่านั้น ที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิหนาวเย็น หรือเขตขั้วโลก แต่อาศัยอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร สันนิษฐานว่าคงเป็นเพราะในโลกยุคน้ำแข็ง มีกระแสน้ำเย็นทั้งเหนือและใต้ได้พัดพาเอาบรรพบุรุษของสิงโตทะเลกาลาปาโกส เดินทางมายังที่หมู่เกาะกาลาปาโกส อันเป็นสถานที่แห่งเดียวที่จะมีการพบเห็นสิงโตทะเลกาลาปาโกสได้ สิงโตทะเลกาลาปาโกส พบอาศัยอยู่แทบทุกเกาะในหมู่เกาะกาลาปาโกส ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักประมาณ 225 กิโลกรัม โดยจะมีอาณานิคมหรืออาณาเขตเป็นของตนเอง ประกอบด้วยตัวเมียราว 30 ตัว และลูก ๆ อีกจำนวนหนึ่ง ตัวผู้จะแสดงความเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองด้วยการดำผุดดำว่ายในน้ำใกล้ชายฝั่ง เพื่อป้องกันตัวผู้ตัวอื่นบุกรุกเข้ามา ซึ่งการกระทำเช่นนี้จะทำให้ตัวผู้ตัวนั้นเหนื่อยล้าในเวลาประมาณ 4-8 สัปดาห์ เป็นการเปิดโอกาสให้ตัวผู้ตัวอื่นเข้ามาแย่งอาณาเขตและตัวเมียทั้งหมด ตัวผู้ที่พ่ายแพ้จะหลบไปพักฟื้นกันเป็นกลุ่มในสถานที่อื่น ซึ่งจะมีแต่ตัวผู้ที่มีสภาพเช่นเดียวกันรวมตัวกัน เพื่อรอเวลาบุกชิงอาณาเขตคืน สิงโตทะเลกาลาปาโกสกินปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ เป็นอาหารหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาซาร์ดีน สามารถออกไปหาอาหารได้ไกลถึง 15 กิโลเมตรในทะเล แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะะจอกับศัตรูตามธรรมชาติด้วย เช่น ปลาฉลาม และวาฬเพชฌฆาต สิงโตทะเลกาลาปาโกส มีฤดูผสมพันธุ์ที่ยาวนานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-มกราคม ในปีถัดไป ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกสิงโตทะเลจะดูดกินนมแม่จนอายุได้ 1 ขวบ และจะได้รับการป้องกันดูแลจนอายุได้ 3 ขวบ ในขณะที่แม่สิงโตทะเลออกไปหาอาหาร จะมีสิงโตทะเลตัวเมียตัวอื่นทำหน้าที่ดูแลแทน ขณะเดียวกันสิงโตทะเลตัวผู้ก็จะทำหน้าที่เฝ้าระวังภัยให้เช่นกัน สิงโตทะเลตัวเมียและลูกอ่อน สิงโตทะเลกาลาปาโกส เป็นสัตว์ที่ไม่เกรงกลัวมนุษย์ มักเข้ามาอยู่ใกล้ ๆ เมื่อพบเจอมนุษย์ รวมถึงดำน้ำใกล้กับนักดำน้ำด้วย จึงถือเป็นสิ่งที่ดึงดูดใจประการหนึ่งที่เรียกผู้คนให้เดินทางมาท่องเที่ยวที่หมู่เกาะกาลาปาโกส นอกจากนี้แล้วยังมีพฤติกรรมแย่งกินปลาจากร้านขายปลาบนเกาะซานตาครูซ ของหมู่เกาะกาลาปาโกสกับนกกระทุงสีน้ำตาล (Pelecanus occidentalis) อีกด้ว.

ใหม่!!: สิงโตทะเลและสิงโตทะเลกาลาปาโกส · ดูเพิ่มเติม »

หมากรุกลูอิส

200px หมากรุกลูอิส (Lewis Chessmen) เป็นหนึ่งในหมากรุกที่มีชื่อเสียงที่สุดในช่วงศตวรรษที่ 12 ตัวหมากรุกหลายตัวทำจากงาของสิงโตทะเล มีรูปทั้งพระราชา พระราชินี บาทหลวง อัศวิน คาดว่าทำในนอร์เวย์ช่วงราว..1150-1200 และมีผู้ค้นพบที่เกาะ ไอส์ ออฟ ลูอิส ในประเทศสกอตแลนด์ ช่วงปล..1800 เพียง 78 ตัว ปัจจุบันถูกจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์อังกฤษในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ 67 ตัว และในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสกอตแลนด์ ในเมืองเอดินเบอระ ประเทศสกอตแลนด์ อีก 11 ตัว.

ใหม่!!: สิงโตทะเลและหมากรุกลูอิส · ดูเพิ่มเติม »

ขบวนการเทพสวรรค์ โกเซย์เจอร์

วนการเทพสวรรค์ โกเซย์เจอร์ เป็นภาพยนตร์แนวขบวนการนักสู้ลำดับที่ 34 ของประเทศญี่ปุ่น เริ่มออกอากาศที่ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 จนถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 ทางสถานีทีวีอาซาฮี ทุกเช้าวันอาทิตย์ เวลา 7.30-8.00 น. ในช่วงซูเปอร์ฮีโร่ ไทม์ มีตอนพิเศษทางโรงภาพยนตร์ทั้งหมด 4 ตอน ได้แก่ ขบวนการ ซามูไร ชินเคนเจอร์ VS โกออนเจอร์ THE MOVIE BANG! ฉายวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 2010, ขบวนการ เทพสวรรค์ โกเซย์เจอร์ EPIC ON THE MOVIE (เอพพิค ออน เดอะ มูฟวี่), เทนโซ เซนไท โกเซย์เจอร์ VS ชินเคนเจอร์ เอพพิค ON จอเงิน ฉายวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 2011 และ โกไคเจอร์ โกเซย์เจอร์ ซูเปอร์เซนไท 199 ฮีโร่ ไดเคซเซน(ゴーカイジャー ゴセイジャー スーパー戦隊199ヒーロー 大決戦) ตอนพิเศษทางโอวีเอ อีก1ตอน คือ คาเอรุเทคิตะ เทนโซ เซนไท โกเซย์เจอร์ last epic (การกลับมาอีกครั้งของ เทนโซ เซนไท โกเซย์เจอร์ last epic) ขบวนการ ซามูไร ชินเคนเจอร์ VS โกออนเจอร์ THE MOVIE BANG! จัดจำหน่ายโดย บริษัท ดรีมวิชชั่น ขบวนการ เทพสวรรค์ โกเซย์เจอร์ EPIC ON THE MOVIE จัดจำหน่ายโดย บริษัท ดรีมเอ็กซ์เพร.

ใหม่!!: สิงโตทะเลและขบวนการเทพสวรรค์ โกเซย์เจอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะตัก

ำหรับปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ดูที่: ปลาซิวข้าวสาร ปลาข้าวสาร ปลากะตัก หรือ ปลาไส้ตัน (Anchovy) เป็นปลาทะเลขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Stolephorus จัดอยู่ในวงศ์ปลาแมว (Engraulidae) ลักษณะโดยทั่วไปเป็นปลาผิวน้ำขนาดเล็ก อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ลำตัวเรียวยาว แบนข้างมีสันหนามที่ท้อง ขากรรไกรบนยาวเลยหลังตา ครีบหลังตอนเดียว ครีบหางเว้าลึก มีแถบสีเงินพาดตามแนวความยาวของลำตัว ปลากะตัก ในประเทศไทยเป็นพันธุ์ปลาขนาดเล็กกว่าปลากะตักประเทศอื่นๆ ซึ่งมีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 2-5 เซนติเมตร มีอายุขัยโดยเฉลี่ยไม่เกิน 3 ปี เป็นปลาที่หากินตามผิวน้ำ มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ โดยอยู่ห่างจากชายฝั่งประมาณ 0.5-1.5 ไมล์ทะเล ตามบริเวณชายฝั่งและหมู่เกาะต่าง ๆ กินแพลงก์ตอนต่าง ๆ เป็นอาหาร ทั้งแพลงก์ตอนพืช เช่น ไดอะตอม และแพลงก์ตอนสัตว์เช่น ตัวอ่อนของครัสเตเชียน, โคพีพอด หรือไข่ของหอยสองฝา เป็นต้น และสำหรับห่วงโซ่อาหารในทะเล ปลากะตักก็เป็นอาหารสำคัญของปลาและสัตว์น้ำขนาดใหญ่กว่า เช่น แมวน้ำ, สิงโตทะเล, โลมา, วาฬ และปลาฉลาม ปลากะตัก พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตน่านน้ำของอินโด-แปซิฟิก ในน่านน้ำไทยพบ 11 ชนิด จากการศึกษาของ ทศพร วงศ์รัตน์ ในปี ค.ศ. 1985 จากทั้งหมด 20 ชนิด (เดิมมีอยู่ 18 ชนิด) เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญต่อมนุษย์ โดยสามารถนำไปแปรรูปต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น น้ำปลา, ปลาป่น, ปลาแห้ง, บูดู รวมทั้งการบริโภคสด ปลากะตัก นอกจากปลาไส้ตันแล้ว ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ปลากล้วย, ปลาหัวอ่อน, ปลาจิ้งจั๊ง, ปลามะลิ, ปลาหัวไม้ขีด, ปลาเส้นขนมจีน, ปลายู่เกี้ย, ปลาเก๋ย เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ปลากะตักตากแห้งมีชื่อเรียกว่า ปลาข้าวสาร นิยมรับประทานเป็นกับแกล้มกับอาหารชนิดอื่น.

ใหม่!!: สิงโตทะเลและปลากะตัก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามขาว

ปลาฉลามขาว (Great white shark) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง มีขนาดตัวที่ค่อนข้างใหญ่ พบได้ตามเขตชายฝั่งแถบทะเลใหญ่ มีความยาวประมาณ 6 เมตร น้ำหนักประมาณ 2250 กิโลกรัม ทำให้ปลาฉลามขาวเป็นปลากินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก รวมถึงเป็นสัตว์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย และเป็นสิ่งมีชีวิตสปีชี่ส์เดียวในสกุล Carcharodon ที่ยังคงสืบทอดเผ่าพันธุ์อยู่ในปัจจุบัน โดยเป็นปลาที่ถือกำเนิดมาแล้วนานกว่า 16 ล้านปี.

ใหม่!!: สิงโตทะเลและปลาฉลามขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามเสือ

ปลาฉลามเสือ (Tiger shark) ปลากระดูกอ่อนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จำพวกฉลาม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Galeocerdo cuvier ในวงศ์ Carcharhinidae เป็นปลาเพียงชนิดเดียวในสกุล Galeocerdo.

ใหม่!!: สิงโตทะเลและปลาฉลามเสือ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแสงอาทิตย์

ำหรับปลาแสงอาทิตย์ที่เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ดูที่: ปลาซันฟิช ปลาแสงอาทิตย์ หรือ ปลาโมลา โมลา (Ocean sunfish, Pacific sunfish, Sunfish, Mola mola) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาแสงอาทิตย์ (Molidae) ในอันดับปลาปักเป้า (Tetraodontiformes).

ใหม่!!: สิงโตทะเลและปลาแสงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแฮลิบัต

ปลาแฮลิบัตด้านบนและด้านล่าง ปลาแฮลิบัต (Halibut) เป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกปลาในอันดับปลาซีกเดียว ในสกุล Hippoglossus ซึ่งอยู่ในวงศ์ Pleuronectidae รวมถึงปลาซีกเดียวชนิดอื่น ในวงศ์อื่นบางชนิดด้วย โดยคำว่า "แฮลิบัต" มีที่มาจากคำในภาษาอังกฤษกลางว่า haly (ศักดิ์สิทธิ์) และ butt (ปลาซีกเดียว) เป็นปลาที่ได้รับความนิยมในวันสำคัญทางศาสนาคริสต์คาทอลิก ปลาแฮลิบัตเป็นปลาซีกเดียวที่มีขนาดใหญ่ นับเป็นปลาซีกเดียวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีความยาวเต็มที่ที่พบคือเกือบ 3 เมตร น้ำหนักกว่า 50 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์ในซีกโลกทางเหนือที่มีอุณหภูมิหนาวเย็น ทั้งมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิก ปลาแฮลิบัตรมควัน เนื้อของปลาแฮลิบัตมีสีขาว เนื้อแน่นคล้ายปลาหิมะ ไขมันต่ำ มีราคาแพง สามารถนำไปปรุงอาหารได้หลากหลายรายการ เช่น ฟิชแอนด์ชิป นับเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง ปลาแฮลิบัตเป็นปลาที่หากินและอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล ลักษณะเหมือนกับปลาซีกเดียวทั่วไป คือ ลำตัวด้านบนที่มีตา จะเป็นสีน้ำตาลหรือเขียว ด้านล่างจะราบแบนเป็นสีขาวสะอาด ในระยะที่เป็นปลาวัยอ่อน ตาทั้งสองข้างจะยังอยู่คนละซีกเหมือนปลาทั่วไป และว่ายน้ำเหมือนปลาแซลมอน จนกระทั่งอายุได้หกเดือนจึงจะกลับด้านมาอยู่ซีกเดียวกัน กินอาหารตามพื้นทะเล ได้แก่ สัตว์ทะเลต่าง ๆ รวมถึงปลาแฮลิบัตหรือปลาซีกเดียวตัวอื่น ๆ ด้วย และตกเป็นอาหารของสัตว์ทะเลนักล่า เช่น วาฬเพชฌฆาต, สิงโตทะเล, ปลาฉลามแซลมอน ปลาแฮลิบัตในแสตมป์ของหมู่เกาะแฟโร.

ใหม่!!: สิงโตทะเลและปลาแฮลิบัต · ดูเพิ่มเติม »

แพนอเมริกันเกมส์ 1995

กีฬาแพนอเมริกันเกมส์ 1995 (1995 Juegos Panamericanos) การแข่งขันนี้จัดขึ้นที่มาร์เดลปลาตา ประเทศอาร์เจนตินา ระหว่างวันที่ 12 – 26 มีนาคม..

ใหม่!!: สิงโตทะเลและแพนอเมริกันเกมส์ 1995 · ดูเพิ่มเติม »

แมวน้ำมีหู

แมวน้ำมีหู (Eared seals) เป็นวงศ์ที่จัดอยู่ในวงศ์ใหญ่สัตว์ตีนครีบ มี 15 สปีชีส์ ใน 7 สกุล (อีกสปีชีส์หนึ่งสูญพันธุ์ไปแล้วในช่วงปี ค.ศ. 1947) วงศ์แมวน้ำมีหูมีสองวงศ์ย่อย ได้แก่ วงศ์ย่อยสิงโตทะเล กับ วงศ์ย่อยแมวน้ำขน (fur seals) วงศ์แมวน้ำมีหูเป็นวงศ์ที่แตกต่างจากวงศ์แมวน้ำแท้ (true seals) และ วงศ์วอลรัส แมวน้ำมีหูเป็นสัตว์กึ่งบกกึ่งน้ำ โดยออกหากินและเดินทางในน้ำ แต่ผสมพันธุ์และพักผ่อนบนแผ่นดินหรือน้ำแข็ง อาศัยอยู่ในอากาศที่ค่อนข้างหนาว อยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรใต้ มหาสมุทรอินเดียตอนใต้และมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ จะไม่ค่อยอาศัยในมหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: สิงโตทะเลและแมวน้ำมีหู · ดูเพิ่มเติม »

โลมามหาสมุทร

รีบหลังของโลมามหาสมุทร โลมามหาสมุทร หรือ โลมาทะเล (Oceanic dolphins, Marine dolphins) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Delphinidae โลมามหาสมุทร จัดเป็นวาฬมีฟัน (Odontoceti) เป็นโลมาวงศ์ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีที่สุดวาฬและโลมา หน้า 37-42, "สัตว์สวยป่างาม" (ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล, สิงหาคม 2518) มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับโลมาทั่วไป คือ มีขนาดลำตัวใหญ่แต่เพรียวยาวคล้ายตอร์ปิโดหรือทรงกระสวย มีครีบและหางใช้สำหรับว่ายน้ำ ครีบหางเป็นแผ่นแบนในแนวนอน ใช้สำหรับว่ายในแนวขึ้นลง ลักษณะเด่นของโลมามหาสมุทร คือ ครีบหลังมีลักษณะยาวและโค้งไปทางด้านหลังเหมือนคลื่น ส่วนจมูกโดยมากจะแหลมยาวเหมือนปากขวด แต่ก็มีบางสกุล บางชนิดที่กลมมนเหมือนบาตรพระหรือแตงโม ทุกชนิดเป็นสัตว์กินเนื้อที่ไล่ล่าสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร โดยเฉพาะปลาขนาดเล็ก ๆ เช่น ปลาซาร์ดีน, ปลากะตัก หรือปลาแฮร์ริ่ง แต่ก็มีบางชนิดที่มีขนาดใหญ่ สามารถล่าสัตว์อย่างอื่น เช่น นกเพนกวิน, นกทะเล, แมวน้ำ, สิงโตทะเล เป็นอาหารได้ มีฟันแหลมคมเรียงตามยาวในปาก ระหว่าง 100-200 ซี่ มีพฤติกรรมอยู่รวมเป็นฝูง บางฝูงอาจอยู่รวมกันได้หลายร้อยตัวและอาจถึงพันตัว กระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลเปิด, มหาสมุทรต่าง ๆ โดยเฉพาะในเขตร้อนและเขตอบอุ่น แต่ก็มีบางชนิดเช่นกันที่ปรับตัวให้อาศัยในน้ำกร่อยและน้ำจืดสนิทได้ เช่น ปากแม่น้ำ, ป่าชายเลน หรือแม้แต่ในทะเลสาบน้ำจืด หรือแม่น้ำสายใหญ่ เป็นสัตว์ที่ชาญฉลาด มีอุปนิสัยขี้เล่น ร่าเริง ชอบเล่นสนุก ด้วยการว่ายน้ำแข่งกัน กระโดดขึ้นเหนือน้ำ หรือว่ายแข่งกับไปเรือของมนุษย์ มีการติดต่อสื่อสารกันด้วยส่งคลื่นเสียงใต้น้ำด้วยระบบเอคโคโลเคชั่นหรือโซนาร์ ในความถี่ระหว่าง 80-200 เฮิรตซ์ โลมามหาสมุทร ขนาดเล็กที่สุด คือ โลมาฮาวี่ไซด์ มีความยาวเพียง 1.2 เมตร น้ำหนักเพียง 40 กิโลกรัม และขนาดที่ใหญ่ที่สุด คือ วาฬเพชฌฆาต ที่มีความยาวเกือบ 10 เมตร น้ำหนักกว่า 10 ตัน.

ใหม่!!: สิงโตทะเลและโลมามหาสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

เพนกวินเจนทู

นกวินเจนทู (Gentoo penguin) เป็นนกที่บินไม่ได้จำพวกเพนกวินชนิดหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ในซีกโลกทางตอนใต้ เช่น หมู่เกาะฟอล์กแลนด์, เกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช เป็นต้น เพนกวินเจนทูเป็นหนึ่งในสมาชิกสามชนิดในสกุล Pygoscelis โดยหลักฐานทางนิวเคลียร์ดีเอ็นเอแสดงให้เห็นว่า เพนกวินเจนทูแบ่งแยกออกจากเพนกวินชนิดอื่น ๆ ประมาณ 38 ล้านปีที่ผ่านมา ประมาณ 2 ล้านปีหลังจากบรรพบุรุษของเพนกวินสกุล Aptenodytes ปรากฏออกมา อย่างไรก็ตาม เพนกวินในสกุลเดียวกันชนิดอื่นอย่างเพนกวินอาเดลีแยกออกจากสมาชิกชนิดอื่น ๆ ประมาณ 19 ล้านปีที่ผ่านมา ส่วนเพนกวินชินสแตรปและเพนกวินเจนทูออกตัวออกมาเมื่อประมาณ 14 ล้านปีมาแล้ว เพนกวินเจนทูเป็นเพนกวินที่มีความสูงเมื่อยืนเต็มที่ประมาณ 75 เซนติเมตร ทำให้เป็นเพนกวินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกรองมาจากเพนกวินจักรพรรดิและเพนกวินราชา แต่เพนกวินเจนทูว่องไวมากเมื่ออยู่ในน้ำ โดยสามารถทำความเร็วได้ถึง 35 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ด้วยปีกที่ยาวใหญ่เหมือนครีบและรูปร่างที่เพรียวเหมือนตอร์ปิโด ทำให้เป็นนกที่ว่ายได้เร็วที่สุดในโลก โดยล่าเคย, หมึก และครัสเตเชียนเป็นอาหาร มีลักษณะเด่นคือ มีแถบสีขาวบริเวณขมับทั้งสองข้าง จะงอยปากเป็นสีเหลืองส้ม และพังผืดที่ตีนเป็นสีเหลืองสดใส เพนกวินเจนทูเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 2 ปี แต่นกที่ยังอายุไม่ถึงก็จะมีการสร้างรังก่อนเพื่อเรียนรู้ วางไข่และเลี้ยงลูกทีละ 2 ตัว ซึ่งพ่อแม่นกจะประสบปัญหาในการป้อนอาหารให้ลูก บางครั้งพ่อแม่นกอาจใช้วิธีวิ่งหนีเพื่อให้ลูกนกวิ่งตาม เพนกวินเจนทู มีศัตรูตามธรรมชาติ เช่น แมวน้ำเสือดาว, สิงโตทะเล, ปลาฉลาม, วาฬเพชฌฆาต ลูกนกและไข่นกก็ตกเป็นอาหารของนกทะเลอย่างนกสกิวอาหรือเหยี่ยวคาราคาราได้Wildest Islands, สารคดีทางแอนนิมอลแพลนเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: อาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม 2556.

ใหม่!!: สิงโตทะเลและเพนกวินเจนทู · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

OtariinaeSea lionวงศ์ย่อยสิงโตทะเลหมีทะเล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »