โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สำเภา

ดัชนี สำเภา

ำเภาในศตวรรษที่ 13 สมัยราชวงศ์ซ่ง สำเภา เป็นเรือที่มีท้ายเรือสูงและยื่นออกไป หัวเรือต่ำ มีจุดเด่นที่ใช้ใบแขวนชนิดที่มีพรวนใบ (ก้างใบ) ซึ่งมีลักษณะคล้ายพัดขนาดใหญ่ ใบแขวนแบบจีนนี้มีใช้กับเรือต่าง ๆ หลายชนิดในแถบเอเชียอาคเนย์ แต่บางเรือสำเภาบางลำที่มีการติดเครื่องยนต์จะไม่ใช้ใบ ส่วนเรืออื่น ๆ ใช้ใบแขวนชนิดตั้ง (ขอบล่างของใบข้างหนึ่งผูกยึดกับโคนเสา).

36 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระรังสีมุนีสัมพุทธเจ้าพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภายานพาหนะรถตุ๊ก ๆ หัวกบลอดลายมังกรวัดชลอวัดบางพลับวัดยางบางจากวัดยานนาวาวัดถ้ำตะโกวัดท้องคุ้ง (จังหวัดลพบุรี)วัดดอนไก่ดีวัดคุ้งตะเภาสกุลปลาหัวโตสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีหมู่บ้านคุ้งตะเภาหม่อมเจ้าฉวีวาด ปราโมชหนูตะเภาอำเภอปากพนังอี ซุน-ชินธนบัตร 500 บาทดิอะเมซิ่งเรซ 10คณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตราประจำจังหวัดของไทยตำนานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรปลาลิ่นปลาซ่งปลาเฉาไทยเชื้อสายจีนเชสซีเกาะเกร็ดเรือเรือไทยเอเชียนเกมส์ 2010

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ มหาเจษฎาบดินทร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (31 มีนาคม พ.ศ. 2330 - 2 เมษายน พ.ศ. 2394) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระองค์แรกที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเรียม (ภายหลังได้รับสถาปนา เป็นสมเด็จพระศรีสุลาไลย) เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันจันทร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม เวลาค่ำ 10.30 น. (สี่ทุ่มครึ่ง) ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 9 ขึ้น 7 ค่ำ ปีวอก ซึ่งตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 สิริดำรงราชสมบัติได้ 27 ปี ทรงมีเจ้าจอมมารดาและเจ้าจอม 56 ท่าน มีพระราชโอรสธิดาทั้งสิ้น 51 พระองค์ เสด็จสวรรคตเมื่อวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน โทศก จุลศักราช 1212 เวลา 7 ทุ่ม 5 บาท ตรงกับวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 สิริพระชนมายุ 64 พรรษ.

ใหม่!!: สำเภาและพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระรังสีมุนีสัมพุทธเจ้า

ระรังสีมุนีสัมพุทธเจ้า มีปรากฏในเรื่อง อนาคตวงศ์ ว่า หลังจากหมดยุคศาสนาของพระธรรมสามีสัมพุทธเจ้าแล้ว เกิดแผ่นดินใหม่ที่ไม่มีพระพุทธเจ้าเลยอยู่นานถึง 8 กัปป์ หลังจากนั้นเกิดแผ่นดินใหม่ ชื่อว่า มัณฑกัปป์ จะมีพระพุทธเจ้า 2 พระองค์บังเกิดขึ้น องค์แรก คือ พระนารทะสัมพุทธเจ้า องค์ถัดไปคือ พระรังสีมุนีสัมพุทธเจ้า ในสมัยพระสมณโคตมะพุทธเจ้า นี้ ท่านคือ โสณพราหมณ์ โดยพระองค์ได้บำเพ็ญบารมี 30 ทัศน์มาอย่างยิ่งยวด โดยมีปรมัตถบารมีหนึ่งคือ ในสมัยพระกัสสปะพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ได้เกิดเป็นมาณพ ชื่อว่า มาฆมานพ อาชีพเป็นพ่อค้าทางเรือสำเภา วันหนึ่ง นำของชิ้นหนึ่งไปขายได้กำไร 10 เท่าและนำเงินทองที่ได้มานั้นใส่เรือ แต่ประสบเหตุเรือล่ม ทรัพย์สินที่ได้มาจมหายทั้งหมด แต่ตัวเองสามารถเอาตัวรอดมาได้ ครั้นต่อมา ก็นำของชนิดเดิมไปขายอีกได้กำไร 10 เท่าอีก นำทรัพย์กลับมาบ้านได้ 7 วันก็เพลิงไหม้ บ้านและทรัพย์สินเสียหายจำนวนมาก ต่อมาก็นำสินค้าชนิดเดิมไปขายก็ได้กำไรมา 10 เท่าแต่ว่าพอนำทรัพย์กลับมาบ้านแล้ว กลับถูกโจรปล้นทรัพย์สินที่ได้มาทั้งหมด แต่ก็ยังไม่ละความพยายามนำของชิ้นเดิมไปขายอีก ก็ได้กำไร 10 เท่าอีกเช่นเดิม แต่คราวนี้พอนำเงินกลับมาบ้าน ก็ถูกเรียกเก็บทรัพย์สินทั้งหมดนั้นเข้าสู่ท้องพระคลัง มาฆมาณพ เมื่อเสียทรัพย์ถึง 4 ครั้งก็ทะเลาะกับภรรยา จนถึงขั้นต้องหย่าร้างกัน ได้ทรัพย์สินจากการแบ่งกับภรรยาเป็นผ้าแดง 1 ผืน และทอง 1 แสน ออกจากบ้านเดินทางไปเรื่อยๆ จนถึงเมืองโกสัมพี ครั้งนั้น มีพระสาวก รูปหนึ่งของ พระกกุสันธะพุทธเจ้า ออกจากญาณสมาบัติ ก็ตรวจดูสรรพสัตว์ ด้วยทิพยจักษุ ก็พบ มาฆมาณพ เข้าข่ายญาณก็ทราบว่าอนาคตจะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เหาะไปโปรดในทางที่มาณพกำลังเดินทางมา เมื่อมาณพเดินมาพบพระสาวกนี้ ก็เกิดเลื่อมใส จิตใจปลาบปลื้ม จึงได้ถวายทรัพย์สินทั้งหมดและอธิษฐานขอให้ได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เมื่อพระสาวกได้รับของและกล่าวอนุโมทนาแล้ว ก็เหาะกลับไป ในที่ที่ถวายทานเกิดต้นกัลปพฤกษ์ 1 ต้น และมาณพนั้นก็ได้อาศัยต้นไม้นี้เลี้ยงชีพสืบมา วันหนึ่งกษัตริย์เมืองโกสัมพี พร้อมทั้งเหล่าข้าราชบริพาร เสด็จผ่านมาเห็นมาณพอยู่ใต้ต้นกัลปพฤกษ์ ก็เกิดความสนใจเข้าไปทอดพระเนตร ก็ถูกเทวดา ที่ทำหน้าที่รักษาอยู่ไม่ให้เข้าไป พระองค์จึงทรงกริ้ว สั่งให้ทหารทำการเผา แต่ก็เกิดมีดอกบัวเกิดขึ้นมารองรับมาณพนั้น จึงสั่งให้ทหารจับมาณพ ไปโยนทิ้งลงน้ำ ก็เกิดอัศจรรย์มีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับ ทำให้มาณพนั้นไม่ได้รับอันตรายใดๆ กษัตริย์จึงถามกับมาณพนั้นว่า ใครให้ต้นกัลปพฤกษ์มา มาณพจึงเล่าความจริงให้ฟัง แต่กษัตริย์ไม่เชื่อ รับสั่งให้มาณพนำพระสาวกรูปนั้นมายืนยัน มาณพจึงอธิษฐานถึงพระสาวกนั้น พระสาวกรูปนั้นทราบด้วยทิพยจักษุ ก็เหาะมาและบอกกล่าวถึงโทษของการประทุษร้ายมาณพนี้ จะทำให้บ้านเมืองจมลงในแผ่นดิน กษัตริย์ได้ฟังดังนั้นก็กลัว จึงขอโทษและยกให้มาณพเป็นน้องชายของพระองค์ พระรังสีมุนีสัมพุทธเจ้ามีพระวรกายสูง 60 ศอก มีพระชนมายุ 5 พันปี และมีพระพุทธรัศมีสีทอง สว่างทั้งกลางวันและกลางคืน.

ใหม่!!: สำเภาและพระรังสีมุนีสัมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา

ัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา (อังกฤษ: Wat Kungtapao Local Museum) เป็นแหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่นขนาดเล็ก ตั้งอยู่ที่ วัดคุ้งตะเภา หมู่ 4 หมู่บ้านคุ้งตะเภา ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ จัดแสดงเอกสารโบราณและโบราณวัตถุของวัดและชุมชนหมู่บ้านคุ้งตะเภา บริหารจัดการในรูปแบบกรรมการโดยวัดและชุมชน ในความอุปถัมภ์ของมูลนิธิ 250 ปี วัดคุ้งตะเภา พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2549 โดยดำริของพระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ (แสงสิน) และพระมหาเทวประภาส วชิรญาณเมธี ที่ได้เก็บรวบรวมโบราณวัตถุและศิลปวัตถุของวัด เพื่อเป็นสถานที่จัดแสดงเอกสารโบราณและวัตถุโบราณของวัด และที่ทางวัดได้รับบริจาคจากชาวบ้าน เช่น พระพุทธรูปโบราณ สมุดไทย สมุดข่อย ใบลาน เพื่อให้คนในท้องถิ่นได้ศึกษาขนบวัฒนธรรมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในอดีตของบรรพบุรุษ และเพื่อให้คนในท้องถิ่นได้รับรู้และเกิดความภาคภูมิใจในมรดกและความเป็นมาของชุมชนบ้านคุ้งตะเภาที่มีอายุความเป็นมายาวนานมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา ตั้งอยู่ที่อาคารอสีติวัสสายุมงคลมหาศาลาการเปรียญ ภายในวัดคุ้งตะเภา ใกล้กับจุดตัดสี่แยกคุ้งตะเภา ติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ทางผ่านสำคัญก่อนขึ้นสู่จังหวัดแพร่ เปิดให้ประชาชนได้เข้าชมทุกวันธรรมสวนะ ตั้งแต่เวลา 8.20 - 17.30 น. โดยไม่เก็บค่าเข้าชม.

ใหม่!!: สำเภาและพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดคุ้งตะเภา · ดูเพิ่มเติม »

ยานพาหนะ

ักรยานยนต์เป็นยานพาหนะชนิดหนึ่ง ยานลอยตัวเป็นพาหนะชนิดหนึ่ง ยานพาหนะ หมายถึงวัตถุหรือสิ่งประดิษฐ์ที่ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตซึ่งสามารถเคลื่อนย้ายขนส่งไปได้ ยานพาหนะส่วนใหญ่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ อาทิ จักรยาน รถยนต์ จักรยานยนต์ รถไฟ เรือ และเครื่องบิน เป็นต้น หรือไม่ได้สร้างขึ้นโดยมนุษย์แต่สามารถเคลื่อนย้ายขนส่งไปได้ เช่น ภูเขาน้ำแข็งหรือท่อนซุงลอยน้ำ เป็นต้น ยานพาหนะสามารถชักจูงโดยสัตว์ เช่น รถม้าหรือเกวียนเทียมวัว อย่างไรก็ตามตัวสัตว์เองนั้นก็ไม่ได้เรียกว่าเป็นยานพาหนะ ซึ่งรวมไปถึงมนุษย์ที่เคลื่อนย้ายขนส่งมนุษย์ด้วยกันเอง (คนอุ้มคน) ก็ไม่ได้เรียกว่าเป็นยานพาหนะ แต่สัตว์และมนุษย์เหล่านั้นจะเรียกว่าเป็น พาหนะ (ไม่มีคำว่ายาน) ยานพาหนะแบ่งตามการเคลื่อนย้ายได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ยานพาหนะส่วนใหญ่ที่เคลื่อนย้ายขนส่งบนพื้นจะมีล้อ เช่น เกวียน, จักรยาน,รถยนต์ และรถไฟ และส่วนยานพาหนะที่ไม่ได้เคลื่อนที่บนพื้นมักถูกเรียกว่า craft เช่น watercraft, sailcraft, aircraft (อากาศยาน), hovercraft (ยานสะเทินน้ำสะเทินบก) และ spacecraft (ยานอวกาศ).

ใหม่!!: สำเภาและยานพาหนะ · ดูเพิ่มเติม »

รถตุ๊ก ๆ หัวกบ

รถตุ๊ก ๆ หัวกบในปัจจุบัน รถตุ๊ก ๆ หัวกบ เป็นรถบรรทุกสามล้อขนาดเล็ก ที่ใช้ในการขนส่งสิ่งของสำหรับอุตสาหกรรมขนาดเล็กจากประเทศญี่ปุ่น ถูกดัดแปลงมาจากรถบรรทุกสามล้อขนาดใหญ่ เพื่อใช้เป็นยานพาหนะสามล้อขนส่งสำหรับธุรกิจขนาดเล็กในสมัยก่อน โดยเน้นการออกแบบตัวรถและสีของรถให้เป็นเอกลักษณ์ มีลักษณะตัวรถในรูปแบบของกระบะสามล้อขนาดเล็ก ไม่มีหลังคาครอบด้านหลัง อีกทั้งหัวรถยังมีลักษณะคล้ายกับหัวกบ จึงทำให้รถบรรทุกสามล้อขนาดเล็กคันนี้ เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในประเทศแถบเอเชียรวมทั้งประเทศไทย ปัจจุบัน รถตุ๊ก ๆ หัวกบ กลายเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของอำเภอเมืองตรัง แม้จะมีอายุที่มากกว่าครึ่งศตวรรษแล้วก็ตาม แต่ในปัจจุบันชาวตรังยังคงใช้รถตุ๊ก ๆหัวกบเป็นรถโดยสารบริเวณรอบอำเภอเมืองตรัง จึงเป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจนักถ้าหากจะเห็นนักท่องเที่ยวที่ไปเที่ยวจังหวัดตรังส่วนใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ มักจะไม่พลาดโปรแกรมนั่งรถตุ๊ก ๆ หัวกบตระเวนรอบเมืองตรัง.

ใหม่!!: สำเภาและรถตุ๊ก ๆ หัวกบ · ดูเพิ่มเติม »

ลอดลายมังกร

ลอดลายมังกร เป็นนวนิยายที่ประพันธ์โดย ประภัสสร เสวิกุล ว่าด้วยเรื่องราวของชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ที่ชื่อ เหลียง สือพาณิชย์ ที่สร้างเนื้อสร้างตัวจากเสื่อผืนหมอนใบจนกลายเป็นมหาเศรษฐี ได้รับรางวัลชมเชยประเภทนวนิยาย จากการประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2533.

ใหม่!!: สำเภาและลอดลายมังกร · ดูเพิ่มเติม »

วัดชลอ

วัดชลอ ตั้งอยู่ที่ตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ริมถนนบางกรวย-ไทรน้อย วัดนี้มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้เสด็จทางชลมารคมาตามลำน้ำเจ้าพระยาผ่านเมืองนนทบุรีเรื่อยมาทางคลอง "ลัด" ในปัจจุบันเรียกว่า "คลองบางกรวย" พระองค์ทรงเห็นว่า ที่ตรงนี้น่าจะมีการสร้างวัดขึ้นมาสักวัดหนึ่ง แต่เนื่องจากบริเวณนั้นในอดีตเคยมีเรือสำเภาจากเมืองจีนล่มและจมลง มีลูกเรือล้มตายมาก มีความเชื่อว่าเป็นที่อาถรรพ์ ในระหว่างการก่อสร้างก็มีอุปสรรคนานัปการ จึงทรงเสี่ยงสัตยาธิษฐานกับเทพยดาและมีพระสุบินนิมิตไปว่า ชายจีนชรามากราบทูลว่า ต้องสร้างโบสถ์เป็นรูปเรือสำเภาเพื่อการแก้เคล็ด จึงทรงสร้างโบสถ์เป็นรูปเรือสำเภา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ได้พระราชทานนามวัดดังกล่าวว่า "วัดชลอ" วัดชลอถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่ามาโดยตลอด เพิ่งจะมีพระภิกษุมาจำพรรษาในรัชกาลที่ 3 หรือรัชกาลที่ 4 สิ่งที่น่าชมในวัดนี้คือ โบสถ์เรือหงส์ใหญ่ที่สุดในโลก เริ่มก่อสร้างในปี..

ใหม่!!: สำเภาและวัดชลอ · ดูเพิ่มเติม »

วัดบางพลับ

งพลับ หมวดหมู่:อำเภอบางคนที หมวดหมู่:โบราณสถานในจังหวัดสมุทรสงคราม วัดบางพลับ ตั้งอยู่ที่หมู่ ๔ ตำบลบางพรม อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๑๓ ตอนพิเศษ ๕๐ ง วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๓๙ เป็นวัดเก่าที่ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างแต่สันนิษฐานว่าสร้าง ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและแสดงให้เห็นว่าเป็นวัดที่เคยรุ่งเรืองมาในอดีต อย่างไรก็ตามวัดนี้มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ สงครามค่ายบางกุ้ง คือ เป็นวัดที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลองตรงข้ามค่ายบางกุ้ง เคยเป็นที่พักของกองทัพไทย สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ในการยกทัพมารบกับพม่า เดิมชื่อว่า บ้านพักทัพ ต่อมาเปลี่ยนเป็นบางพลับ มีโบราณสถานโบราณวัตถุที่มีคุณค่า ที่พอจะวินิจฉัยว่าเป็นวัดเก่าแก่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน ได้แก.

ใหม่!!: สำเภาและวัดบางพลับ · ดูเพิ่มเติม »

วัดยางบางจาก

วิหารหลวงพ่อนพเก้า หลวงพ่อนพเก้า วัดยางบางจาก เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งในฝั่งธนบุรี ติดคลองบางจาก ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 128 ซอยเพชรเกษม 28 ถนนเพชรเกษม แขวงคูหาสวรรค์ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหานิก.

ใหม่!!: สำเภาและวัดยางบางจาก · ดูเพิ่มเติม »

วัดยานนาวา

วัดยานนาวา พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ติดถนนเจริญกรุง แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร เป็นวัดโบราณมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ "วัดคอกควาย" เนื่องจากมีชาวทวายมาลงหลักปักฐานอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และชาวทวายจะนำกระบือที่เลี้ยงไว้มาทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน หมู่บ้านบริเวณนั้นจึงได้ชื่อเรียกกันต่อมาว่า "บ้านคอกควาย" ในสมัยกรุงธนบุรีได้รับการยกฐานะวัดคอกควายขึ้นเป็นพระอารามหลวง เรียกชื่อใหม่ว่า "วัดคอกกระบือ" ต่อมารัชกาลที่ 1 ทรงสร้างพระอุโบสถใหม่ ครั้นถึงรัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และสร้างเรือสำเภาพระเจดีย์แทนพระสถูปเจดีย์ทั่วไป เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เห็นรูปแบบเรือสำเภาซึ่งกำลังจะหมดไปจากเมืองไทย จึงได้เปลี่ยนชื่อจากวัดคอกกระบือเป็น "วัดยานนาวา" ด้านในมีพระบรมสารีริกธาตุพระพุทธเจ้าให้สักการ.

ใหม่!!: สำเภาและวัดยานนาวา · ดูเพิ่มเติม »

วัดถ้ำตะโก

วัดถ้ำตะโก หรือ ถ้ำตะโกพุทธโสภา ตั้งอยู่ในตำบลเขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี.

ใหม่!!: สำเภาและวัดถ้ำตะโก · ดูเพิ่มเติม »

วัดท้องคุ้ง (จังหวัดลพบุรี)

วัดท้องคุ้ง เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในตำบลบ้านชี อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี วัดท้องคุ้งเป็นวัดวัดราษฏร์มหานิกาย อยู่ริมถนนสายบางงา-บ้านหมี่ ตำบลบ้านชี สิ่งที่น่าสนใจ คือ มีสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ เช่น วิหารสร้างอยู่บนเรือสำเภา ศาลาธรรมสังเวช เป็นรูปรถยนต์โดยสาร อุโบสถบนเรือสำเภากลางน้ำ ถ้าล่องเรือมาตามลำน้ำบางขามจะเห็น ลักษณะอุโบสถสร้างบนเรือสำเภาลอยน้ำอยู่ในแม่น้ำบางขาม ที่มีลักษณะที่โดดเด่นสวยงาม นอกจากนี้ยังมีศาลาธรรมสังเวช สร้างประยุกต์เป็นรูปรถโดยสารประจำทาง ปัจจุบันมี เป็นวัดที่สำคัญแห่งหนึ่งของอำเภอบ้านหมี่และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของอำเภอบ้านหมี่อีกด้วย ไฟล์:Lopburi14.jpg|พระอุโบสถบนเรือสำเภา ไฟล์:Lopburi12.jpg|ศาลาการเปรียญ.

ใหม่!!: สำเภาและวัดท้องคุ้ง (จังหวัดลพบุรี) · ดูเพิ่มเติม »

วัดดอนไก่ดี

วัดดอนไก่ดี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน ตำบลตลาดกระทุ่มแบน อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร.

ใหม่!!: สำเภาและวัดดอนไก่ดี · ดูเพิ่มเติม »

วัดคุ้งตะเภา

วัดคุ้งตะเภา เป็นวัดโบราณในเขตการปกครองของคณะสงฆ์มหานิกาย และเป็น 1 ใน 9 วัดศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านคุ้งตะเภา ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ใกล้กับจุดตัดสี่แยกคุ้งตะเภา บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 11 (ถนนสายเอเชีย) วัดคุ้งตะเภา เป็นวัดโบราณมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และได้รับสถาปนาขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อปีขาล โทศก จุลศักราช 1132 อันเป็นปีที่พระองค์เสด็จขึ้นมาปราบปรามชุมนุมเจ้าพระฝางเมืองสวางคบุรี และประทับชำระคณะสงฆ์ จัดการหัวเมืองฝ่ายเหนือใหม่ตลอดฤดูน้ำ ดังปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ซึ่งวัดคุ้งตะเภา เป็นเพียงวัดแห่งเดียวในปริมณฑลเมืองพิชัยและสวางคบุรี ที่ปรากฏหลักฐานการสถาปนาวัดในปีนั้น ตำนานวัดเล่าสืบกันมานับร้อยปีว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้คนย้ายกลับมาตั้งครัวเรือน สร้างวัดและศาลาการเปรียญขึ้นใหม่ ณ ริมคุ้งสำเภา พร้อมทั้งตรัสเรียกชื่อวัดที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ว่า "วัดคุ้งตะเภา" ปัจจุบันทางราชการได้นำชื่อคุ้งตะเภาไปใช้ตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านและชื่อตำบลคุ้งตะเภาสืบมาจนปัจจุบัน วัดแห่งนี้เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา เคยเป็นวัดที่สถิตย์ของพระครูสวางคมุนี เจ้าคณะใหญ่เมืองฝางมาตั้งแต่โบราณ โดยเป็นวัดที่เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และสองพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นที่เคารพศรัทธายิ่งของชาวตำบลคุ้งตะเภา ซึ่งพระพุทธรูปทั้งสององค์นั้นจัดได้ว่าเป็น 2 ใน 9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญคู่บ้านคู่เมืองอุตรดิตถ์ คือ พระพุทธสุวรรณเภตรา และ พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี ปัจจุบันวัดคุ้งตะเภาเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ 3 (สำนักปฏิบัติธรรมภายใต้การกำกับของมหาเถรสมาคม)หนังสือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ที่ พศ ๐๐๐๙/๐๕๓๖๕ เรื่อง แจ้งมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๙ เรื่อง ขออนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ ๓ วัดคุ้งตะเภา ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๙มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๙ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม มติที่ ๓๓๘/๒๕๕๙ เรื่อง ขออนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ ๓ และเป็นวัดประจำตำบลที่มีสถิติพระภิกษุสามเณรจำพรรษามากที่สุดในตำบลคุ้งตะเภา เป็นศูนย์กลางทางด้านศาสนศึกษาของคณะสงฆ์และคฤหัสถ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาโดยพฤตินัย โดยเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่มูลนิธิ ๒๕๐ ปี วัดคุ้งตะเภา ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ สำนักเลขานุการรองเจ้าคณะอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ฝ่ายการศึกษาคณะสงฆ์ สำนักศาสนศึกษาประจำตำบล และหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลคุ้งตะเภา (อปต.) ซึ่งเป็นหน่วยอบรมฯ ที่มีผลงานดีเด่นระดับจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมี พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ (แสงสิน) เป็นเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา (จร.).

ใหม่!!: สำเภาและวัดคุ้งตะเภา · ดูเพิ่มเติม »

สกุลปลาหัวโต

กุลปลาหัวโต (Silver carp, Bighead carp) เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืด 3 ชนิด ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาที่ต้นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนแถบแม่น้ำฮวงโหและแม่น้ำสาขา ได้แก.

ใหม่!!: สำเภาและสกุลปลาหัวโต · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

มเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (แต้จิ๋ว: Dênchao; 17 เมษายน พ.ศ. 2277 – 6 เมษายน พ.ศ. 2325) มีพระนามเดิมว่า สิน เป็นคนไทยเชื้อสายจีน เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ก่อตั้งอาณาจักรธนบุรี และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวของราชอาณาจักรนั้น เดิมพระองค์เป็นนายทหารในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ต่อม..

ใหม่!!: สำเภาและสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

หมู่บ้านคุ้งตะเภา

หมู่บ้านคุ้งตะเภา หรือ บ้านคุ้งตะเภา เดิมชื่อว่า "ทุ่งบ้านคุ้งตะเภา" เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ในตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ นับเป็นหมู่บ้านในแถบลุ่มแม่น้ำน่านฝั่งขวาตอนบนที่เคยอยู่ในการปกครองของหัวเมืองพิชัยที่เก่าแก่ที่สุดหมู่บ้านหนึ่ง รองจากเมืองฝางสว่างคบุรีที่มีที่ตั้งอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำน่านฝั่งขวาตอนบนเช่นเดียวกัน หมู่บ้านคุ้งตะเภาเป็นชุมชนคนไทยดั้งเดิมที่ตั้งอยู่ปลายเหนือสุดของวัฒนธรรมที่ราบลุ่มภาคกลางตอนบน ตัวหมู่บ้านอยู่ติดริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสองระดับ โดยพื้นที่ติดริมแม่น้ำน่านจะเป็นที่ระดับต่ำมีชั้นลดจากที่ราบปกติ เดิมตัวหมู่บ้านตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มชั้นลดดินตะกอนแม่น้ำพัดดังกล่าว แต่ในปัจจุบันบ้านเรือนส่วนใหญ่ได้ย้ายขึ้นมาตั้งอยู่บนที่ราบภาคกลางริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 11 โดยพื้นที่เกษตรกรรมของหมู่บ้านส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ทิศตะวันออกของหมู่บ้านและที่ราบลุ่มตะกอนแม่น้ำพัดริมแม่น้ำน่านด้านตะวันตกของหมู่บ้าน ชาวบ้านคุ้งตะเภาในปัจจุบันส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท มีประเพณีและวัฒนธรรมคล้ายกับหมู่บ้านชนบททั่วไปในแถบภาคกลางตอนบน โดยมีวัดประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง สถานีอนามัย 1 แห่ง และ โรงเรียนระดับพื้นฐาน 1 โรง เส้นทางคมนาคมหลักคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ด้านเศรษฐกิจ ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันมีนายสมชาย สำเภาทอง เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านคุ้งต.

ใหม่!!: สำเภาและหมู่บ้านคุ้งตะเภา · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมเจ้าฉวีวาด ปราโมช

หม่อมเจ้าฉวีวาด ปราโมช ประสูติระหว่างปี 2397-2399 เป็นพระธิดาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปราโมช กรมขุนวรจักรธรานุภาพ (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) กับหม่อมราชวงศ์ดวงใจ ปราโมช (หลานปู่ในกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข) เมื่อทรงเจริญวัยทรงได้รับการหมั้นหมายกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่มารู้ภายหลังว่าท่านทรงมีหม่อมชื่อหม่อมสุ่น คัคณางค์ ณ อยุธยา อยู่ในวังแล้วคนหนึ่ง ด้วยทรงมีความคิดแนวก้าวหน้า ท่านจึงไม่ทรงยินยอม ทรงบังคับให้กรมหลวงพิชิตปรีชากรทรงเลิกรากับหม่อมสุ่น แต่กรมหลวงพิชิตปรีชากรทรงไม่ยินยอม นอกจากหม่อมเจ้าฉวีวาดไม่ทรงยินยอมด้วยแล้ว ทั้งยังแสดงพระอาการเอาแต่พระทัยผิดวิสัยกุลสตรีในสมัยนั้น คือทรงโยนพระของหมั้นทิ้งทางพระบัญชรตำหนักเรี่ยราดกับพื้น จนกรมหลวงพิชิตปรีชากร ทรงต้องให้มหาดเล็กมาเก็บคืนไป หม่อมเจ้าฉวีวาด ปราโมช เสกสมรสกับพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมลักษณวงศ์ กรมหมื่นวรวัฒน์สุภากร พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงมีความสนิทสนมกับครอบครัวนายโทมัส น็อกซ์ กงสุลอังกฤษ ในเวลาต่อมาท่านได้ทรงก้าวเข้าไปพัวพันกับความขัดแย้งระหว่างวังหลวงและวังหน้า โดยในวันรุ่งขึ้นหลังเหตุระเบิดที่ตึกดินในวังหลวง ท่านทรงว่าจ้างเรือสำเภาขนสมบัติและผู้ติดตามหนีไปยังเขมร พร้อมคณะละครของเจ้าจอมมารดาอัมพา ในรัชกาลที่ 2 ซึ่งถือเป็นคณะละครที่มีชื่อเสียงที่สุดในราชสำนักสยาม จนเรือถึงราชสำนักเขมร ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากพระบาทสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์ (พระนามเดิม คือ นักองค์ราชาวดี) ด้วยความพอพระทัยในหม่อมเจ้าฉวีวาด ปราโมชและคณะละครที่ท่านนำมา โรงละครโรงใหญ่ของเจ้าจอมมารดาอำภา ไกรฤกษ์ ได้กลายเป็นต้นแบบของละครในประเทศเขมรปัจจุบันนี้ ครั้งเวลาล่วงเลยไป ท่านคืนสู่สยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงบวชเป็นรูปชี ทรงใช้พระชนม์ชีพอย่างสงบ และสิ้นชีพิตักษัยเมื่อมีพระชนมายุได้ 80 ปี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช กล่าวอ้างในหนังสือ "โครงกระดูกในตู้" ว่าพระบาทสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์โปรดสถาปนาหม่อมเจ้าฉวีวาด ปราโมช เป็นพระชายา มีพระอิสริยยศเป็นพระราชเทวี มีพระราชโอรสพระองค์หนึ่งคือ พระองค์เจ้านโรดม พานคุลี จึงมีการกล่าวถึง "โครงกระดูกในตู้" ว่าให้ข้อมูลเกี่ยวกับหม่อมเจ้าฉวีฉาดผิดจากข้อเท็จจริงทั้งในเว็บพันทิป และเรือนไทย โดยได้ให้ข้อมูลว่าหม่อมเจ้าฉวีวาดมิได้เสกสมรสกับพระบาทสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์ และไม่มีความเกี่ยวข้องกับวิกฤตวังหน้า แท้จริงแล้วหม่อมเจ้าฉวีวาด ปราโมชได้สมรสกับสามัญชนกัมพูชา 5 คน มีบุตรชายเพียงคนเดียวคือ นุด หรือ น.

ใหม่!!: สำเภาและหม่อมเจ้าฉวีวาด ปราโมช · ดูเพิ่มเติม »

หนูตะเภา

หนูตะเภา (Guinea pig, Cavy) เป็นสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทฟันแทะ ชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้ แถบประเทศเปรู เป็นสัตว์เลี้ยง และสัตว์ทดลองที่ได้รับความนิยม ในประเทศไทย ยังนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หนูแกสบี โดยมักใช้กับสายพันธุ์สัตว์เลี้ยงจากต่างประเทศที่ได้รับการพัฒนา มีลักษณะภายนอกแตกต่างจากหนูตะเภาทั่วไปที่มีในประเทศไทย ไม่ปรากฏการใช้ชื่อนี้ในภาษาอื่น.

ใหม่!!: สำเภาและหนูตะเภา · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอปากพนัง

อำเภอปากพนัง เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมร.

ใหม่!!: สำเภาและอำเภอปากพนัง · ดูเพิ่มเติม »

อี ซุน-ชิน

อี ซุน-ชิน (28 เมษายน พ.ศ. 2087 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2141) คือแม่ทัพเรือของเกาหลีในยุคราชวงศ์โชซ็อน ที่มีชื่อเสียงจากการนำกองทัพเรือเกาหลีเข้าต่อสู้กับกองทัพเรือญี่ปุ่น ในการรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135-2141) ในยุคราชวงศ์โชซ็อน เขาเข้าร่วมรบในฐานะผู้บัญชาการที่ 1 แห่งจังหวัดทหารเรือคย็องซัง, ช็อลลา และชุงช็อง ราชทินนามของเขาคือ "Samdo Sugun Tongjesa" (ฮันกึล: 삼도수군통제사, ฮันจา: 三道水軍統制使) ซึ่งแปลว่า ผู้บัญชาการ 3 จังหวัดทหารเรือ ซึ่งเป็นราชทินนามสำหรับผู้ที่ครองตำแหน่ง ผู้บัญชาการหน่วยรบทางทะเลของราชวงศ์โซซอน มาจนถึง พ.ศ. 2439 อี ซุน-ชินมีชื่อเสียงด้วยการเอาชนะกองทัพญี่ปุ่นในขณะที่ฝ่ายตนมีจำนวนน้อยกว่ามากได้ และการประดิษฐ์เรือรบเต่า (คอบุกซ็อน, 거북선) ซึ่งเป็นเรือรบหุ้มเกราะโลหะลำแรกของโลกอีกด้วย เขาได้รับการยกย่องในฐานะแม่ทัพเรือไร้พ่าย และอาจหาญด้วยวีรกรรมการที่ตนนั้นถูกกระสุนปืนไฟยิงแต่มีคำสั่งให้ลูกน้องมัดตนไว้กับเสากระโดงเรือจนกว่าจะตายและให้แม่ทัพรองสวมเกราะของตนเพื่อขวัญกำลังใจของทหารเรือเกาหลีซึ่งมีเพียงไม่กี่คนในโลกนี้ที่ได้รับการยกย่องเช่นนี้ เขาเสียชีวิตในยุทธนาวีที่โนรยัง (อ่านว่า โน-รยัง) จากการถูกยิงด้วยกระสุนปืนไฟหนึ่งนัด ในวันที่16 ธันวาคม พ.ศ. 2141 ราชสำนักโชซ็อนยกย่อง เขาด้วยการพระราชทานราชทินนาม และยศให้หลายตำแหน่ง รวมทั้งชื่อที่ตั้งให้เป็นเกียรติอย่าง "ชุงมูกง" (Chungmugong,충무공, 忠武公, ขุนศึกผู้จงรัก), "ซ็อนมูอิลดึงกงชิน" (Seonmu Ildeung Gongsin, 선무일등공신, 宣武一等功臣, นายทหารผู้ควรได้รับการยกย่องชั้น1แห่งราชวงศ์โซซอน) และตำแหน่งอีก 2 คือ "ย็องอึยจ็อง" (Yeongijeong, 영의정, 領議政, Prime Minister), และ "ท็อกพุงบูว็อนกุน" (Deokpung Buwongun, 덕풍부원군, 德豊府院君, เจ้าชายแห่งราชสำนักจากท็อกพุง) และได้รับพระราชทานราชทินนามจากจักรพรรดิว่านลี่แห่งราชวงศ์หมิงว่า "จอมพลเรือแห่งจักรวรรดิหมิง".

ใหม่!!: สำเภาและอี ซุน-ชิน · ดูเพิ่มเติม »

ธนบัตร 500 บาท

นบัตร 500 บาท เป็นธนบัตรหมุนเวียนในสกุลเงินบาท.

ใหม่!!: สำเภาและธนบัตร 500 บาท · ดูเพิ่มเติม »

ดิอะเมซิ่งเรซ 10

อะเมซิ่ง เรซ 10 (The Amazing Race 10) เป็นฤดูกาลที่ 10 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีม ๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอ.

ใหม่!!: สำเภาและดิอะเมซิ่งเรซ 10 · ดูเพิ่มเติม »

คณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ณะบัญชีเป็นคณะที่เกิดขึ้นพร้อมกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยกรุงเทพ นับเป็นคณะแรกของมหาวิทยาลั.

ใหม่!!: สำเภาและคณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ · ดูเพิ่มเติม »

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 ตุลาคมพ.ศ. 2481 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเริ่มเปิด "แผนกวิชาการบัญชี" และ "แผนกวิชาพาณิชยศาสตร์" สังกัดคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 จึงได้สถาปนาเป็นคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยที่ผลิตบุคลากรเพื่อสนองความต้องการของธุรกิจของประเทศซึ่งมีการพัฒนาและเจริญก้าวหน้ามากขึ้น คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับหนึ่งของไทยในสาขา การเงินและการบัญชี (อันดับที่ 101 - 150 ของโลก และเป็นแห่งเดียวในประเทศที่ติดอันดับ) และ การบริหารธุรกิจและการจัดการ (อันดับที่ 151 - 200 ของโลก) จากการจัดอันดับของ QS world university ranking by Subjecthttps://www.topuniversities.com/subject-rankings/2017.

ใหม่!!: สำเภาและคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

ตราประจำจังหวัดของไทย

ตราประจำจังหวัดของไทย มีพัฒนาการมาจากตราประจำตำแหน่งของเจ้าเมืองในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และตราประจำธงประจำกองลูกเสือ 14 มณฑล ในสมัยรัชกาลที่ 6 - 7 ในสมัยที่จอมพลแปลก พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น รัฐบาลได้กำหนดให้แต่ละจังหวัดมีตราประจำจังหวัดของตนเองใช้เมื่อ พ.ศ. 2483 โดยกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบตราตามแนวคิดที่แต่ละจังหวัดกำหนดไว้ ปัจจุบัน เมื่อมีการตั้งจังหวัดขึ้นใหม่ ก็จะมีการออกแบบตราประจำจังหวัดด้วยเสมอ แต่ตราของบางจังหวัดที่ใช้อยู่นั้นบางตราก็ไม่ใช่ตราที่กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบ บางจังหวัดก็เปลี่ยนไปใช้ตราประจำจังหวัดเป็นแบบอื่นเสียก็มี บางที่ลักษณะของตราก็เพี้ยนไปจากลักษณะที่กรมศิลปากรออกแบบไว้ แต่ยังคงลักษณะหลัก ๆ ของตราเดิมไว้อยู่บ้างก็มี.

ใหม่!!: สำเภาและตราประจำจังหวัดของไทย · ดูเพิ่มเติม »

ตำนานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

ระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (หรือ วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร ประวัติความเป็นมาของพระแก้วมรกตนี้ได้มีกล่าวไว้ในตำนานซึ่งมีรายละเอียดดังนี้.

ใหม่!!: สำเภาและตำนานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร · ดูเพิ่มเติม »

ปลาลิ่น

ปลาลิ่น หรือปลาเกล็ดเงิน หรือปลาหัวโต เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypophthalmichthys molitrix ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีส่วนหัวโต ตาเล็กอยู่ต่ำกว่ามุมปาก ปากและข้างแก้มกว้าง ครีบหลังเล็กอยู่ประมาณกึ่งกลางลำตัว ครีบก้นเล็ก ครีบหางเว้าลึก เกล็ดเล็กแบบขอบเรียบ ด้านท้องเป็นสันแคบ ตัวมีสีเงินคล้ำที่ด้านหลัง และสีเงินแวววาวที่ด้านท้อง หัวมีสีคล้ำอมแดงหรือสีเนื้อ ครีบมีลักษณะสีจาง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30-50 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 105 เซนติเมตร หนักได้ถึง 50 กิโลกรัม เป็นปลาพื้นเมืองของจีนแผ่นดินใหญ่มีถิ่นกำเนิดในแม่น้ำฮวงโหและแม่น้ำอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกัน เป็นปลาที่ชาวจีนนิยมบริโภคเพราะมีรสชาติดีแม้ว่าจะมีก้างเยอะก็ตาม ปัจจุบัน นิยมเลี้ยงในบ่อและถูกปล่อยลงในแหล่งน้ำที่ถูกสร้างขึ้น เช่น บ่อปลาในโครงการต่าง ๆ ของกรมประมงหรือหมู่บ้านหรืออ่างเก็บน้ำ โดยให้ปลาลิ่นกินเศษอาหารและแพลงก์ตอนจากการกินพืชจำพวกหญ้า และมูลจากปลาชนิดอื่น เช่น ปลาไน (Cyprinus carpio) เป็นต้น ขยายพันธุ์ได้ด้วยการผสมเทียมเท่านั้น ไม่พบการแพร่พันธุ์เองในแหล่งน้ำธรรมชาติของไทย ถูกนำเข้ามาในประเทศในปี พ.ศ. 2465 - พ.ศ. 2475 โดยถูกนำเข้ามาพร้อมกับชาวจีนทางเรือสำเภา และต่อมากรมประมงและคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ทำการทดลองผสมเทียมขึ้นจนสำเร็จจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: สำเภาและปลาลิ่น · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซ่ง

ปลาซ่ง หรือ ปลาซ่งฮื้อ หรือ ปลาหัวโต (Bighead carp) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) สกุล Hypophthalmichthys มีลักษณะแบบเดียวกับ ปลาลิ่น (H. molitrix) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน รวมทั้งมีขนาดและถิ่นกำเนิดในแหล่งเดียวกันอีกด้วย แต่ทว่าปลาซ่งจะมีส่วนหัวที่โตกว่าปลาลิ่น และส่วนท้องมนกลมไม่เป็นสันแคบเหมือนปลาลิ่น ถูกนำเข้ามาสู่ประเทศไทยราวปี พ.ศ. 2465-พ.ศ. 2475 โดยเรือสำเภาของชาวจีนจากเมืองซัวเถา ต่อมากรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ด้วยวิธีการฉีดฮอร์โมนและผสมเทียม ซึ่งปลาในธรรมชาติจะไม่วางไข่เอง ซึ่งจะทีชื่อเรียกรวม ๆ กันว่า "ปลาจีน" ปัจจุบัน ปลาในสกุล Hypophthalmichthys ทั้ง 2 ชนิด รวมทั้งปลาเฉา (Ctenopharyngodon idella) เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญของหลายประเทศในโลก รวมทั้งนิยมในการตกเป็นเกมกีฬา สำหรับในประเทศไทย เป็นที่นิยมรับประทานมากโดยเฉพาะชาวจีนหรือชาวไทยเชื้อสายจีน และนิยมเลี้ยงปลาทั้ง 3 ชนิดนี้รวมกันในบ่อเพื่อกินแพลงก์ตอนที่ทำให้น้ำเขียว และกินมูลจากปลาชนิดอื่น.

ใหม่!!: สำเภาและปลาซ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเฉา

ปลาเฉา (Grass Carp) หรือ เฉาฮื้อ หรือ ปลากินหญ้า เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Ctenopharyngodon มีรูปร่างยาวทรงกระบอก ส่วนหัวเล็กและกลมมน ในช่องคอมีฟันที่แข็งแรง ไม่มีหนวด ครีบหลังและครีบก้นค่อนข้างเล็กไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหางเว้าลึก เกล็ดค่อนข้างใหญ่ ลำตัวด้านบนมีสีคล้ำหรือสีน้ำตาลอมทอง ครีบสีคล้ำ ด้านท้องสีจาง บริเวณฐานของเกล็ดบนของลำตัวส่วนมากมีสีคล้ำ ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 1 เมตร แต่โดยเฉลี่ยจะยาวประมาณ 50-70 เซนติเมตร ตัวผู้ในช่วงเจริญพันธุ์จะปรากฏตุ่มคล้ายสิวขึ้นมาที่ครีบอก และก้านครีบด้านในที่เป็นหยัก หัวและหน้าผาก มีการกระจายพันธุ์ในบริเวณแม่น้ำอามูร์ทางภาคตะวันออกของจีนและรัสเซีย กินอาหารจำพวกหญ้าและพืชน้ำทุกชนิด โดยมักจะหากินตามก้นแม่น้ำ ปัจจุบัน ถือเป็นปลาเศรษฐกิจตัวหนึ่งที่สำคัญ เนื่องจากมีการนำเข้าและเพาะเลี้ยงกันไปในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เช่นเดียวกับปลาในสกุล Hypophthalmichthys รวมถึงเป็นปลาที่นิยมในการตกปลาอีกด้วย ซึ่งจะมีชื่อเรียกรวม ๆ กันในภาษาไทยว่า "ปลาจีน" สำหรับในประเทศไทย ได้นำเข้ามาทางเรือสำเภาโดยชาวจีนผ่านทางฮ่องกง ในปี พ.ศ. 2465 โดยได้ถูกนำเข้ามาเลี้ยงอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นอาหาร ต่อมากรมประมงได้ทดลองเพาะขยายพันธุ์ด้วยการฉีดฮอร์โมนจนสำเร็จในปี พ.ศ. 2509 จึงได้มีการขยายพันธุ์ปลาชนิดนี้ในประเทศได้สำเร็จจนถึงปัจจุบัน โดยที่ปลาจะไม่ไข่เองตามธรรมชาติแต่จะเกิดจากการฉีดฮอร์โมนกระตุ้น.

ใหม่!!: สำเภาและปลาเฉา · ดูเพิ่มเติม »

ไทยเชื้อสายจีน

วไทยเชื้อสายจีน คือ ชาวจีนที่เกิดในประเทศไทยและเป็นเชื้อสายของผู้อพยพชาวจีน หรือชาวจีนโพ้นทะเล คนไทยเชื้อสายจีน มีประมาณ 9.4 ล้านคนในประเทศไทย หรือร้อยละ 14 ของประชากรทั้งประเทศ และยังมีอีกจำนวนมากไม่สามารถนับได้ เพราะที่กลมกลืนกับคนไทยไปแล้วโดยการแต่งงานข้ามเชื้อชาติ ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากบรรพบุรษจะมาจากจังหวัดแต้จิ๋ว ในมณฑลกวางตุ้ง ทางตอนใต้ของจีน พูดภาษาแต้จิ๋ว ซึ่งเป็นภาษากลุ่มหมิ่นหนาน รองลงมาคือมาจาก แคะ ฮกเกี้ยน และไหหลำ.

ใหม่!!: สำเภาและไทยเชื้อสายจีน · ดูเพิ่มเติม »

เชสซี

ซี (Chessie) เป็นชื่อเรียกสิ่งมีชีวิตลึกลับชนิดหนึ่ง โดยเชื่อว่าเป็นสัตว์ประหลาดขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในอ่าวเชสปิก ในรัฐแมริแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยรายงานแรกที่ระบุถึงการพบเห็นเชสซี เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1943 เมื่อชาวประมงท้องถิ่นสองราย อ้างว่าพบเห็นอะไรบางอย่างอยู่ห่างจากเรือของพวกเขาราว 75 หลา (69 เมตร) ไปทางขวา เจ้าสิ่งนั่นมันลอยอยู่ในน้ำ มีสีดำ และมีส่วนหัวขนาดใหญ่เหมือนลูกฟุตบอล มีลักษณะเหมือนม้า มีความยาวทั้งหมดราว 12 ฟุต (2.3 เมตร) และดูเหมือนมันจะหมุนหัวและตัวไปมาหลายรอบ จากนั้นในปี ค.ศ. 1982 มีหนุ่มสาวคู่หนึ่งสามารถถ่ายภาพเคลื่อนไหวไว้ได้ด้วยกล้องวิดีโอด้วยความบังเอิญ ใกล้กับเกาะเคนท์ สิ่งที่เห็นได้จากในภาพนั้น คือ อะไรบางอย่างมีสีน้ำตาลเคลื่อนไหวข้างเรือเหมือนงูทะเล โดยรายงานส่วนใหญ่นั้น มักจะระบุตรงกันว่า สัตว์ประหลาดตัวนี้มีรูปร่างเหมือนงู ความยาวแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ 25-40 ฟุต (12 เมตร) โดยว่ายน้ำโดยใช้ร่างกายที่เป็นเส้นโค้งเคลื่อนที่ผ่านไป มีการพบเห็นอีกสองครั้งในกลางปี ค.ศ. 1977 และ ค.ศ. 1980 แต่ถึงแม้ว่าจะมีพยานผู้พบเห็นและมีภาพเคลื่อนไหวบันทึกได้ แต่ก็ไม่มีหลักฐานใด ๆ ที่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะยืนยันได้ถึงการมีอยู่จริงของมัน ซึ่งสัตว์ชนิดนี้ ได้ถูกเรียกขานว่า "เชสซี" ให้คล้ายกับ "เนสซี" หรือสัตว์ประหลาดล็อกเนสส์ ที่พบในทะเลสาบล็อกเนสส์ ประเทศสก็อตแลนด์ ซึ่งอ่าวเชสปิกนี้ ถือเป็นอ่าวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีอาณาบริเวณกว้างกว่า 4,479 ตารางไมล์ (11,600 ตารางกิโลเมตร) และจุดที่ลึกที่สุดประมาณ 175 ฟุต (53 เมตร) ในปี..

ใหม่!!: สำเภาและเชสซี · ดูเพิ่มเติม »

เกาะเกร็ด

กาะเกร็ด เป็นเกาะแม่น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และมีฐานะเป็นตำบลหนึ่งในท้องที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 4.2 ตารางกิโลเมตรหรือ 2,625 ไร่ เป็นที่อยู่ของชาวไทยเชื้อสายมอญที่มีอาชีพปั้นเครื่องปั้นดินเผาเป็นส่วนใหญ่ เกาะเกร็ดเกิดจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อปี พ.ศ. 2265 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ คลองลัดดังกล่าวเรียกว่า "คลองลัดเกร็ดน้อย" หรือ "คลองเตร็ดน้อย"พระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม.

ใหม่!!: สำเภาและเกาะเกร็ด · ดูเพิ่มเติม »

เรือ

รือ เป็นยานพาหนะที่ใช้เดินทางทางน้ำ เรือโดยทั่วไปโครงสร้างประกอบด้วยตัวเรือเป็นโครงสร้างที่สามารถลอยน้ำได้ (ซึ่งอาจเป็นส่วนเดียวหรือสองส่วนขนาดกันก็ได้ แต่ไม่รวมถึงแพซึ่งปกติโครงสร้างลอยน้ำจะทำจากกระบอกกลวงหลายๆท่อนผูกติดกัน) กับ ส่วนที่เป็นการขับเคลื่อนของเรือ เช่น ไม้พาย (เรือพาย หรือ เรือแจว) เครื่องยนต์หางยาว (เรือหางยาว) ใบเรือ เรือใบ เป็นต้น อาร์คิมีดีส ค้นพบหลักที่ทำให้สิ่งต่างๆลอยได้ เริ่มต้นจากเขาโดดลงอ่างอาบน้ำ และสังเกตว่า น้ำจะกระฉอนออกไป ขณะที่เรือลอยอยู่ในน้ำ เรือก็"แทนที่"น้ำในรูปแบบเดียวกัน และยังค้นพบอีกว่า น้ำส่วนที่เรือเข้าไปแทนที่จะต้านกลับด้วยแรงที่เท่ากับน้ำหนักของเรือ ความหนาแน่นของเรือเป็นสิ่งสำคัญ ความหนาแน่นคือ น้ำหนักวัตถุที่วัดได้ต่อหนึ่งปริมาตรของวัตถุนั้น หากเรือหรือวัตถุใดๆก็ตามมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ สิ่งนั้นจะลอยได้ แต่หากวัตถุมีความหนาแน่นมากกว่าก็จะจม.

ใหม่!!: สำเภาและเรือ · ดูเพิ่มเติม »

เรือไทย

รือไทย คือเรือในประเทศไท.

ใหม่!!: สำเภาและเรือไทย · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียนเกมส์ 2010

อเชียนเกมส์ 2010 เป็นการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 16 จัดขึ้นที่นครกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 12 ถึง 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 นับเป็นนครแห่งที่สองของจีน ที่เป็นเจ้าภาพการแข่งขันรายการนี้ หลังจากเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 11 ที่กรุงปักกิ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2533 โดยในการแข่งขันครั้งนี้มี 45 ประเทศเข้าร่วม กีฬาที่จัดแข่งขัน 42 ชนิด รวมจำนวนเหรียญทอง 476 เหรียญ ทั้งนี้ ยังมีเมืองใกล้เคียงอีกสามแห่ง ร่วมเป็นเจ้าภาพกับกว่างโจวด้วยคือ เมืองตงก่วน โฝซาน และซั่นเหว่ย นอกจากนั้น ในเอเชียนเกมส์ครั้งนี้ ยังมีการเริ่มทดลองบังคับใช้กฎระเบียบใหม่ๆ เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 17 ในปี พ.ศ. 2557 ที่นครอินชอน ของสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) อีกด้ว.

ใหม่!!: สำเภาและเอเชียนเกมส์ 2010 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Junk (ship)เรือสำเภาเรือสำเภาจีน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »