เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

สารต้านฮิสตามีน

ดัชนี สารต้านฮิสตามีน

รต้านฮิสตามีน (antihistamine) หรือ ทั่วไปเรียกว่า ยาแก้แพ้ เป็น ยา ที่ใช้กำจัดหรือลดผลของ ฮิสตามีน (histamine) ซึ่งเป็นเป็นสารเคมีที่ถูกปลดปล่อยภายในร่างกายจาก ปฏิกิริยาภูมิแพ้ (allergic reactions) โดยผ่านการกระทำที่ ตัวรับฮิสตามีน (histamine receptors) สารที่มีผลในการรักษาจะออกฤทธิ์ในการยับยั้งตัวรับฮีสทามีนนี้จึงถูกเรียกว่า สารต้านฮีสตามีน - สารอื่นที่มีผลต้านฮีสทามีนแต่ไม่ออกฤทธิ์ที่ ตัวรับฮิสตามีน จะไม่เป็นสารต้านฮีสทามีนที่แท้จริง โดยทั่วไป สารต้านฮีสตามีนจะหมายถึง ตัวรับปฏิปักษ์ H1 ซึ่งเรียกว่า สารต้านฮิสตามีน-H1 เราพบว่า สารต้านฮิสตามีน-H1เป็น ตัวทำการกลับ (inverse agonist) ที่ตัวรับฮิสตามีน-H1มากกว่าที่จะเป็น ตัวรับปฏิปักษ์ per se.

สารบัญ

  1. 21 ความสัมพันธ์: ATC รหัส DATC รหัส M03ATC รหัส N04ATC รหัส Rฟลูอ็อกเซทีนภูมิแพ้ยาแก้ซึมเศร้าสุขศาสตร์การหลับฮิสตามีนผิวหนังอักเสบทอนไซลามีนคลอเฟนะมีนคัดจมูกคโลนะเซแพมโรควิตกกังวลไปทั่วไฮดรอกซิซีนเฟกโซเฟนาดีนเยื่อจมูกอักเสบเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้CYP2A6CYP3A4

ATC รหัส D

ยากลุ่ม ATC รหัส D ตจวิทยา (Dermatologicals) ของระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์ (Anatomical Therapeutic Chemical Classification System).

ดู สารต้านฮิสตามีนและATC รหัส D

ATC รหัส M03

วนของ ระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์ (Anatomical Therapeutic Chemical Classification System) M ระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้าง (Musculo-skeletal system).

ดู สารต้านฮิสตามีนและATC รหัส M03

ATC รหัส N04

วนของ ระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์ (Anatomical Therapeutic Chemical Classification System) N ระบบประสาท (Nervous system).

ดู สารต้านฮิสตามีนและATC รหัส N04

ATC รหัส R

กลุ่ม ATC รหัส R ระบบทางเดินหายใจ (Respiratory system) ของระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์ (Anatomical Therapeutic Chemical Classification System).

ดู สารต้านฮิสตามีนและATC รหัส R

ฟลูอ็อกเซทีน

ฟลูอ็อกเซทีน (Fluoxetine) หรือชื่อทางการค้าคือ โปรแซ็ค (Prozac) และ ซาราเฟ็ม (Sarafem) เป็นยาแก้ซึมเศร้าแบบรับประทานประเภท selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI) ใช้รักษาโรคซึมเศร้า (MDD) โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) โรคหิวไม่หายแบบทานแล้วอาเจียน (bulimia nervosa) โรคตื่นตระหนก (panic disorder) และความละเหี่ยก่อนระดู (premenstrual dysphoric disorder ตัวย่อ PMDD) เป็นยาที่อาจลดความเสี่ยงการฆ่าตัวตายในคนไข้อายุเกิน 65 ปี และเป็นยาที่ใช้รักษาการหลั่งน้ำอสุจิเร็ว (premature ejaculation) ได้ด้วย ผลข้างเคียงที่สามัญก็คือนอนไม่หลับ ไม่อยากอาหาร ปากแห้ง เป็นผื่น และฝันผิดปกติ ผลข้างเคียงที่รุนแรงรวมทั้งเซโรโทนินเป็นพิษ (serotonin syndrome) อาการฟุ้งพล่าน การชัก โอกาสเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงขึ้นสำหรับคนอายุต่ำกว่า 25 ปี และความเสี่ยงการเลือดออกสูงขึ้น --> ถ้าหยุดแบบฉับพลัน อาจมีอาการหยุดยา ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับความวิตกกังวล ความเวียนหัวคลื่นไส้ และการรับรู้สัมผัสที่เปลี่ยนไป ยังไม่ชัดเจนว่า ยาปลอดภัยสำหรับหญิงมีครรภ์หรือไม่ --> แต่ว่าถ้าทานยาอยู่แล้ว ก็ยังเหมาะสมที่จะทานต่อไปเมื่อให้นมลูก กลไกการทำงานของยายังไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่ายาเพิ่มการทำงานของระบบเซโรโทนินในสมอง บริษัท Eli Lilly and Company ค้นพบยาในปี..

ดู สารต้านฮิสตามีนและฟลูอ็อกเซทีน

ภูมิแพ้

ูมิแพ้ (allergy) คือความผิดปกติจากภาวะภูมิไวเกินของระบบภูมิคุ้มกัน อาการภูมิแพ้เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ตอบสนองต่อสสารที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายซึ่งมีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ ซึ่งสารที่ก่อให้เกิดการตอบสนองนั้นเรียกว่า สารก่อภูมิแพ้ โดยอาการตอบสนองต่อสารเหล่านี้ไม่ใช่ความผิดปกติแต่กำเนิด, สามารถคาดเดาได้ และไม่เรื้อรัง ภูมิแพ้เป็นหนึ่งในความผิดปกติจากภาวะภูมิไวเกินและถูกเรียกในเชิงวิชาการว่า ประเภทที่หนึ่ง (type I) หรือ ประเภทเฉียบพลัน (immediate) อาการภูมิแพ้เหล่านี้เฉพาะเจาะจงเนื่องจากเกิดขึ้นโดยการกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มากเกินไป คือ แมสต์เซลล์ และเบโซฟิล โดยแอนติบอดีที่ชื่อว่า อิมมูโนโกลบูลินอี (IgE) การกระตุ้นนี้ส่งผลให้เกิดการอักเสบซึ่งมีระดับตั้งแต่ทำให้ระคายเคืองไปจนถึงการเสียชีวิต ภูมิแพ้ระดับเบา เช่น เยื่อจมูกอักเสบ พบได้ทั่วไปในหมู่ประชากรของมนุษย์และก่อให้เกิดอาการ เช่น ตาแดง, การคัน, น้ำมูกไหล, กลาก, ลมพิษ และหอบหืด ซึ่งภูมิแพ้นี้เองที่ในบางสถานการณ์อาจจะเป็นต้นเหตุสำคัญในอาการหอบหืด ในคนไข้บางราย อาการแพ้รุนแรงต่อสภาวะแวดล้อม, สารก่อภูมิแพ้ทางโภชนาการ หรือยาบางชนิด อาจส่งผลให้เกิดอาการตอบสนองที่เป็นอันตรายต่อชีวิตที่เรียกว่าแอนาฟิแล็กซิส นอกจากนี้อาการแพ้อาหารหรืออาการตอบสนองต่อพิษของการกัดต่อยจากแมลง เช่น ต่อและผึ้ง ก็มักเกี่ยวข้องกับอาการรุนแรงเหล่านี้ การทดสอบหลากหลายวิธีเพื่อวินิจฉัยอาการภูมิแพ้ เช่น การนำสารก่อภูมิแพ้ที่น่าจะเป็นไปได้ทาลงบนผิวหนังเพื่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น อาการบวม หรือการทดสอบเลือด ต่างก็สามารถช่วยให้ค้นพบสารก่อภูมิแพ้แบบเจาะจงที่เป็นอิมมูโนโกลบูลินอีได้ การรักษาภูมิแพ้ เช่น การหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ หรือการรับประทานยาต้านฮิสทามีน ก็สามารถป้องกันการเกิดอาการภูมิแพ้แบบเจาะจงได้ หรือไม่ว่าจะเป็นการรับสารสเตอรอยด์ซึ่งจะช่วยปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกัน และยาบรรเทาอาการคัดจมูกก็สามารถบรรเทาอาการแพ้ลงได้ ส่วนมากแล้วยาเหล่านี้เป็นยาที่ใช้รับประทาน ยกเว้นอะดรีนาลินที่จำเป็นต้องรับผ่านทางการฉีดยา นอกจากนี้แล้วยังมีอีกวิธีคือการบำบัดด้วยสารก่อนภูมิแพ้ ซึ่งจะฉีดสารก่อนภูมิแพ้เข้าไปในร่างกายทีละน้อยเพื่อให้ร่างกายสร้างระบบภูมิคุ้มกันต่ออาการแพ้นั้นได้เอง.

ดู สารต้านฮิสตามีนและภูมิแพ้

ยาแก้ซึมเศร้า

แผงยาโปรแซ็ก (ฟลูอ๊อกซิติน) ซึ่งเป็นยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI) โครงสร้างทางเคมีของ venlafaxine ซึ่งเป็นยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม Serotonin-norepinephrine reuptake inhibitor (SNRI) ยาแก้ซึมเศร้า (Antidepressant) เป็นยาเพื่อรักษาโรคซึมเศร้าและโรคอื่น ๆ รวมทั้ง dysthymia, โรควิตกกังวล, โรคย้ำคิดย้ำทำ, ความผิดปกติในการรับประทาน (eating disorder), ความเจ็บปวดเรื้อรัง, ความเจ็บปวดเหตุประสาท (neuropathic pain), และในบางกรณี อาการปวดระดู การกรน โรคไมเกรน โรคสมาธิสั้น การติด การติดสารเสพติด และความผิดปกติในการนอน โดยสามารถใช้เดี่ยว ๆ หรือรวมกับยาชนิดอื่น ๆ ตามที่แพทย์สั่ง กลุ่มยาแก้ซึมเศร้าที่สำคัญที่สุดรวมทั้ง selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs), serotonin-norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs), tricyclic antidepressants (TCAs), monoamine oxidase inhibitors (MAOIs), reversible monoamine oxidase A inhibitors (rMAO-A inhibitors), tetracyclic antidepressants (TeCAs), และ noradrenergic and specific serotonergic antidepressant (NaSSAs) โดยมียาสมุนไพรจากพืช Hypericum perforatum (St John's wort) ที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าเหมือนกัน.

ดู สารต้านฮิสตามีนและยาแก้ซึมเศร้า

สุขศาสตร์การหลับ

ตร์การหลับ หรือ สุขอนามัยการนอนหลับ (Sleep hygiene) เป็นการปรับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมที่แนะนำเพื่อคุณภาพการนอนที่ดี ข้อแนะนำเหล่านี้พัฒนาในคริสต์ทศวรรษ 1970 เพื่อช่วยคนไข้โรคนอนไม่หลับระดับอ่อนและกลาง แต่โดยปี 2557 หลักฐานประสิทธิผลของข้อแนะนำแต่ละอย่างยัง "จำกัดและไม่ชัดเจน" ผู้รักษาอาจประเมินอนามัยการนอนของผู้ที่มีปัญหานอนหลับหรือภาวะอื่น ๆ เช่น ความซึมเศร้า แล้วให้คำแนะนำตามการประเมิน รวมทั้งไม่ออกกำลังกายหรือใช้หัวคิดใกล้เวลานอน, จำกัดความกังวล, จำกัดอยู่ในที่สว่าง ๆ หลาย ชม.

ดู สารต้านฮิสตามีนและสุขศาสตร์การหลับ

ฮิสตามีน

ีสตามีน (Histamine) เป็นสารที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการอักเสบ หลั่งจากมาสต์เซลล์ (Mast cell) เบโซฟิล และเกล็ดเลือด เมื่อเนื้อเยื่อถูกทำลาย ฮีสตามีนที่หลังมาจากเซลล์เหล่านี้จะจับกับตัวรับ (Receptor) ที่เส้นเลือดฝอยและเส้นเลือดดำขนาดเล็ก (Venule) ทำให้เส้นเลือดขยายตัวและเพิ่มการไหลผ่านของพลาสมาในเส้นเลือ.

ดู สารต้านฮิสตามีนและฮิสตามีน

ผิวหนังอักเสบ

(Dermatitis หรือ Eczema) คือ โรคที่เกิดจากการอักเสบของผิวหนัง ซึ่งแสดงออกมาได้หลายรูปแบบ แล้วแต่ระยะของโร.

ดู สารต้านฮิสตามีนและผิวหนังอักเสบ

ทอนไซลามีน

ทอนไซลามีน (Thonzylamine) คือสารต้านฮิสตามีนและแอนติโคลิเนอร์จิกใช้เป็นยาแก้คัน หมวดหมู่:เอมีน หมวดหมู่:ยา หมวดหมู่:สารต้านฮิสทามีน.

ดู สารต้านฮิสตามีนและทอนไซลามีน

คลอเฟนะมีน

ลอเฟนะมีน (Chlorphenamine) ซึ่งเป็นชื่อสากล หรือ คลอเฟนิรามีน (chlorpheniramine) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา (USAN) และเคยใช้ในประเทศอังกฤษ (BAN) เป็นยาที่ขายในรูปแบบ chlorphenamine maleate เป็นสารต้านฮิสทามีนประเภท alkylamine รุ่นแรกที่ใช้ป้องกันอาการแพ้ เช่น เยื่อจมูกอักเสบและลมพิษ ผลระงับประสาทของมันค่อนข้างอ่อนเทียบกับสารต้านฮิสทามีนรุ่นแรกอื่น ๆ คลอเฟนะมีนเป็นสารต้านฮิสทามีนที่ใช้มากที่สุดในสัตวแพทย์สำหรับสัตว์เล็ก แม้จะไม่ได้อนุมัติให้ใช้เป็นยาแก้ซึมเศร้าหรือยาแก้วิตกกังวล (anxiolytic) คลอเฟนะมีนก็มีฤทธิ์เหล่านั้นด้วย คลอเฟนะมีนเป็นส่วนของกลุ่มสารต้านฮิสทามีน ที่รวมเฟนิรามีน, สารอนุพันธ์แบบเฮโลเจน (halogenated) ของเฟนิรามีน, และยาอื่น ๆ รวมทั้ง fluorpheniramine, เดกซ์คลอเฟนิรามีน, บรอมเฟนิรามีน, เดกซ์บรอมเฟนิรามีน, deschlorpheniramine, ไตรโพรลิดีน, และ iodopheniramine สารต้านฮิสทามีนประเภท alkylamine แบบเฮโลเจนทั้งหมดรวมทั้งคลอเฟนะมีน มี optical isomerism เช่นกัน และคลอเฟนะมีนที่วางขายจะอยู่ในรูปแบบ chlorphenamine maleate แบบแรซิมิก เทียบกับเดกซ์คลอเฟนิรามีน ซึ่งเป็น dextrorotary stereoisomer.

ดู สารต้านฮิสตามีนและคลอเฟนะมีน

คัดจมูก

ัดจมูก หรือ อาการจมูกคั่ง (Nasal congestion) เป็นอาการอุดกั้นของช่องจมูก เนื่องมาจากเยื่อบุจมูกบวมจากการอักเสบของหลอดเลือด อาการคัดจมูกเกิดจากหลายสาเหตุ และทำให้เกิดอาการหลากหลายตั้งแต่สร้างความรำคาญจนถึงทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ในทารกแรกเกิดซึ่งสามารถหายใจได้เฉพาะทางจมูกเท่านั้น หากเกิดอาการคัดจมูกในอายุ 2-3 เดือนแรกจะรบกวนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และทำให้เกิดการหายใจอึดอัดเป็นอันตรายถึงชีวิต ส่วนอาการคัดจมูกในเด็กโตและวัยรุ่นมักเพียงสร้างความรำคาญ อาการคัดจมูกอาจรบกวนการเจริญของหู การได้ยินและการพูด อาการคัดจมูกอย่างมากอาจรบกวนการนอนหลับ ทำให้กรน และเกี่ยวข้องกับการหยุดหายใจขณะนอนหลับ อาการคัดจมูกในเด็กทำให้ทอนซิลคอหอยโต ก่อให้เกิดการหยุดหายใจขณะนอนหลับเรื้อรังร่วมกับภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อย (hypoxia) และภาวะหัวใจข้างซ้ายล้มเหลว ซึ่งการรักษาคือการผ่าตัดเอาต่อมทอนซิลและทอนซิลคอหอยออก อาการจมูกคัดอาจทำให้ปวดศีรษะและใบหน้าเล็กน้อยได้ ก่อให้เกิดความไม่สบายตัว.

ดู สารต้านฮิสตามีนและคัดจมูก

คโลนะเซแพม

ลนะเซแพม (Clonazepam) เป็นยากันชักและรักษาโรคตื่นตระหนก และความผิดปกติของการเคลื่อนไหวที่เรียกว่า อาการนั่งไม่ติดที่ (akathisia) เป็นยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน --> ใช้โดยการรับประทาน มีผลภายในหนึ่ง ชม.

ดู สารต้านฮิสตามีนและคโลนะเซแพม

โรควิตกกังวลไปทั่ว

รควิตกกังวลไปทั่ว (Generalized anxiety disorder ตัวย่อ GAD) หรือโรควิตกกังวลทั่วไปเป็นโรควิตกกังวลอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความกังวลที่เกินควร ควบคุมไม่ได้ และบ่อยครั้งไม่สมเหตุผล เป็นความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งมักจะขวางชีวิตประจำวัน เพราะคนไข้มักคิดว่าจะมีเหตุการณ์ร้าย หรือกังวลมากเกินไปเกี่ยวกับเรื่องทั่ว ๆ ไป เช่น สุขภาพ การเงิน ความตาย ปัญหาครอบครัว ปัญหากับเพื่อน ปัญหากับคนอื่น หรือปัญหาการงาน คนไข้มักจะมีอาการทางกายต่าง ๆ รวมทั้ง ความล้า อยู่ไม่สุข ปวดหัว คลื่นไส้ มือเท้าชา กล้ามเนื้อเกร็ง ปวดกล้ามเนื้อ กลืนไม่ลง มีกรดในกระเพาะมาก ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย หายใจไม่ออก ไม่มีสมาธิ สั่น กล้ามเนื้อกระตุก หงุดหงิด กายใจไม่สงบ นอนไม่หลับ หน้าหรือตัวร้อน (hot flashes) เป็นผื่น และไม่สามารถควบคุมความกังวลได้International Classification of Diseases ICD-10.

ดู สารต้านฮิสตามีนและโรควิตกกังวลไปทั่ว

ไฮดรอกซิซีน

รอกซิซีน (Hydroxyzine) เป็นสารต้านฮิสตามีนรุ่นแรกที่อยู่ในกลุ่ม diphenylmethane และ piperazine ซึ่งสังเคราะห์ขึ้นเป็นครั้งแรกโดยบริษัทเบลเยียม (Union Chimique Belge) ในปี 2499 และยังเป็นยาที่ใช้อย่างกว้างขวางทุกวันนี้ เนื่องจากฤทธิ์ต้านหน่วยรับความรู้สึกหลายอย่างในสมอง ยาจึงมีฤทธิ์คลายกังวลที่มีกำลัง ต้านความหมกมุ่น และรักษาโรคจิตอย่างอ่อน ๆ ทุกวันนี้ มันมักจะใช้โดยหลักเพื่อคลายกังวลและความเครียดที่สัมพันธ์กับโรคจิตประสาท (psychoneurosis) และเป็นยาเพิ่ม (adjunct) ในโรคทางกายอื่น ๆ ที่คนไข้รู้สึกกังวล เนื่องจากฤทธิ์ต้านฮิสตามีน จึงสามารถใช้รักษาความคัน ภาวะรู้สึกเจ็บมากกว่าปรกติ (hyperalgesia) และความคลื่นไส้ที่เกิดจากการป่วยจากการเคลื่อนไหว (เช่นเมารถเมาเรือ) และยังใช้ในบางกรณีเพื่อบรรเทาผลการขาดยากลุ่มโอปิออยด์ แม้ว่ามันจะมีฤทธิ์ระงับประสาท (sedative) ให้นอนหลับ (hypnotic) และคลายกังวล (anxiolytic) แต่มันไม่มีลักษณะของสารที่ใช้เสพติด รวมทั้งการติดและโอกาสเป็นพิษเหมือนกับยาอื่น ๆ ที่มีฤทธิ์คล้าย ๆ กัน ยาสามารถใช้เพิ่มผลระงับความเจ็บปวดของยากลุ่มโอปิออยด์ต่าง ๆ และบรรเทาผลข้างเคียงของพวกมัน เช่น ความคัน ความคลื่นไส้ และการอาเจียน การซื้อยาในบางประเทศต้องอาศัยใบสั่งยาจากแพทย์ โดยขายในสองรูปแบบ คือ pamoate และ hydrochloride salt ยาที่คล้าย/สัมพันธ์กับไฮดร๊อกซิซีนรวมทั้ง ไซคลิซีน, บิวคลิซีน และ meclizine ซึ่งมีประโยชน์ ข้อบ่งใช้ ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวัง และผลข้างเคียงเหมือนกับไฮดร๊อกซิซีน สารต้านฮิสตามีนรุ่นสองคือ เซทิไรซีน จริง ๆ ก็คือ เมแทบอไลต์ของไฮดร๊อกซิซีนที่เกิดในร่างกายมนุษย์ แต่ว่าโดยที่ไม่เหมือนกับไฮดร๊อกซิซีน เซทิไรซีนดูเหมือนจะไม่ข้ามตัวกั้นเลือด-สมอง (blood-brain barrier) อย่างสำคัญ แม้ว่าจะมีรายงานว่ามีผลต่อกล้ามเนื้อและมีฤทธิ์ระงับประสาท ดังนั้น ทำให้เป็นสารต้านฮิสตามีนที่ดี เพราะมีผลระงับความกังวลและฤทธิ์ต่อจิตใจอย่างอื่น ๆ น้อยลง แต่ว่าก็ยังสามารถมีผลต่อกล้ามเนื้อและทำให้ง่วงนอนสำหรับคนไข้บางคนได้.

ดู สารต้านฮิสตามีนและไฮดรอกซิซีน

เฟกโซเฟนาดีน

ฟกโซเฟนาดีน (fexofenadine, ชื่อการค้า Allegra, Telfast, Fastofen, Tilfur, Vifas, Telfexo, Allerfexo) เป็นสารต้านฮิสทามีน ซึ่งใช้รักษาไข้ละอองฟางและอาการแสดงภูมิแพ้ที่ใกล้เคียงกัน มันถูกพัฒนาให้ใช้แทนและเป็นทางเลือกของเทอร์เฟนาดีน ซึ่งเป็นสารต้านฮิสทามีนที่ทำให้เกิดความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะได้ เฟกโซเฟนาดีน เช่นเดียวกับสารต้นฮิสทามีนรุ่นที่สองและที่สามอื่น ๆ ที่ยังไม่พร้อมจะแพร่ข้ามโครงสร้างกั้นระหว่างเลือดกับสมอง และทำให้เกิดความง่วงน้อยกว่าสารต้านฮิสทามีนรุ่นที่หนึ่ง เฟกโซเฟนาดีนออกฤทธิ์โดยเป็นสารต้านตัวรับ H1 สารดังกล่าวถูกเรียกว่าเป็นทั้งสารต้านฮีสทามีนรุ่นที่สองและที่สาม.

ดู สารต้านฮิสตามีนและเฟกโซเฟนาดีน

เยื่อจมูกอักเสบ

ื่อจมูกอักเสบ (Rhinitis) หรือ ไข้หวัดอักเสบ (Coryza) เป็นการระคายเคืองและการอักเสบของเยื่อเมือกภายในจมูก มักจะแสดงอาการทั่วไปเช่นคัดจมูก, มีน้ำมูก, จาม และ น้ำเมือกหยด โรคนี้ถือเป็นโรคสามัญที่ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศมักจะป่วยเป็นประจำ การอักเสบอาจเกิดจากเชื้อไวรัส, แบคทีเรีย, จุลปรสิต หรือ ละออง นอกจากนี้ อากาศหนาวก็เป็นสาเหตุได้เช่นเดียวกัน ซึ่งในบรรดาสาเหตุทั้งหมดนี้ เยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้เป็นกรณีที่พบได้มากที่สุด ภาวะเยื่อจมูกอักเสบอาจแสดงอาการอื่นร่วมด้วยอาทิ คันจมูก, ไอ, ปวดหัว, ล้า, ละเหี่ย และรับรู้ช้าลง และยังอาจส่งผลให้มองเห็นพร่ามัวและเกิดการบวมบริเวณรอบดวงตา นอกจากนี้ การอักเสบยังก่อให้เกิดเมือกจำนวนมาก ซึ่งนำมาซึ่งภาวะคัดจมูกและมีน้ำมูก ในกรณีของการอักเสบจากภูมิแพ้นั้นมีสาเหตุมาจากการสลายเกล็ดของแมสต์เซลล์ ซึ่งเมื่อเซลล์ถูกสลายเกล็ดจะปล่อยฮิสตามีนและสารอื่นๆออกมาที่ทำร่างกายเมื่อยล้าและละเหี่ย สามารถทำการป้องกันการเป็นเยื่อจมูกอักเสบได้โดยรับวัคซีนจำพวกวัคซีนไข้หวัดใหญ่, วัคซีนต้านอดีโนไวรัส, วัคซีนโรคหัด, วัคซีนโรคหัดเยอรมัน, วัคซีนต้านเยื่อหุ้มสมองอักเสบ, วัคซีนป้องกันเชื้อฮีโมฟิลุสชนิดบี, วัคซีนโรคคอตีบ และหากเป็นโรคนี้แล้ว ยาทานจำพวกสารต้านฮิสทามีนหรือคอร์ดิโคสเตียรอยด์จะช่วยทุเลาอาการลงได้.

ดู สารต้านฮิสตามีนและเยื่อจมูกอักเสบ

เยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้

ื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (allergic rhinitis) เป็นภาวะที่มีการอักเสบของเยื่อจมูก ซึ่งเกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันมีปฏิกิริยาไวเกินกับสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ ผู้ป่วยอาจมีอาการน้ำมูกไหล คัดจมูก จาม ตาแดง คันตา น้ำตาไหล และตาบวม น้ำมูกของผู้ป่วยมักเป็นน้ำมูกใส อาการมักเริ่มกำเริบภายในไม่กี่นาทีหลังสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ อาการเหล่านี้อาจส่งผลต่อการนอน การทำงาน และการเรียนได้ ผู้ป่วยที่แพ้ละอองเกสรมักมีอาการในช่วงใดช่วงหนึ่งของปี ผู้ป่วยโรคนี้หลายรายจะมีโรคอื่นๆ ในกลุ่มภูมิแพ้ร่วมด้วย ได้แก่ โรคหืด เยื่อตาอักเสบจากภูมิแพ้ และผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ ผู้ป่วยมักถูกกระตุ้นให้มีอาการเมื่อสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อม เช่น ละอองเกสร ขนสัตว์เลี้ยง ฝุ่น หรือเชื้อรา การเกิดภูมิแพ้เหล่านี้เป็นผลจากทั้งพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมประกอบกันทำให้เกิดโรค ปัจจัยบางอย่างช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ เช่น การใช้ชีวิตวัยเด็กในฟาร์ม การมีพี่น้องหลายคน เป็นต้น กลไกของการเกิดโรคที่สำคัญอยู่ที่สารภูมิคุ้มกันชนิดไอจีอี ซึ่งสามารถจับกับสารก่อภูมิแพ้และกระตุ้นให้เกิดการปล่อยสารการอักเสบหลายๆ อย่างออกมาภายในร่างกาย เช่นมีการปล่อยฮิสตามีนออกมาจากเม็ดเลือดขาวชนิดแมสท์เซลล์ การวินิจฉัยทำได้โดยดูจากประวัติผู้ป่วย ร่วมกับการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง หรือตรวจเลือดหาไอจีอีที่จำเพาะต่อการก่อภูมิแพ้ชนิดต่างๆ การทดสอบเหล่านี้บางครั้งอาจให้ผลบวกลวง (ผลการทดสอบบ่งชี้ว่าเป็นโรค แต่จริงๆ แล้วไม่ได้เป็นโรค) ได้ อาการของเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้จะคล้ายคลึงกับโรคหวัด แต่ต่างกันตรงนี้ภูมิแพ้จะเป็นนานกว่าคือเป็นมากกว่า 2 สัปดาห์ และมักจะไม่มีไข้ การได้มีโอกาสสัมผัสสัตว์ในวัยเด็กอาจเป็นปัจจัยที่ช่วยลดความเสี่ยงของการป่วยโรคนี้ในตอนโตได้ ยาที่ช่วยบรรเทาอาการของโรคได้มีหลายอย่าง เช่น สเตอรอยด์ ยาต้านฮิสตามีน เช่น ไดเฟนไฮดรามีน โครโมลินโซเดียม และยาต้านลิวโคไทรอีน เช่น มอนทีลูคาสท์ ผู้ป่วยบางรายอาจใช้ยาแล้วลดอาการได้ไม่ดีนัก หรือใช้แล้วมีผลข้างเคียง การทำภูมิคุ้มกันบำบัดต่อสารก่อภูมิแพ้เป็นวิธีหนึ่งที่อาจได้ผล ทำโดยค่อยๆ ให้สารก่อภูมิแพ้ในขนาดน้อยแก่ผู้ป่วย แล้วค่อยๆ เพิ่มขนาดขึ้นไปตามแนวทางที่กำหนด อาจให้ด้วยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง หรือเป็นเม็ดอมใต้ลิ้นก็ได้ ผลการรักษามักคงอยู่ได้ 3-5 ปี และอาจมีประโยชน์อื่นคงอยู่นานกว่านั้น เยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้เป็นโรคภูมิแพ้ที่พบบ่อยที่สุด ในประเทศตะวันตกพบว่าปีหนึ่งๆ จะมีผู้ป่วยถึง 10-30% ในประชากร ส่วนในไทยพบ 23-30% พบบ่อยที่สุดในคนอายุ 20-40 ปี โรคนี้ถูกบรรยายไว้อย่างถูกต้องเป็นครั้งแรกเมื่อคริสตศตวรรษที่ 10 โดยแพทย์และปราชญ์ชาวเปอร์เซียชื่อมุฮัมหมัด อัล-รอสี ต่อม..

ดู สารต้านฮิสตามีนและเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้

CYP2A6

รงสร้างผลึกของไมโครโซมอล P450 2A6 ของมนุษย์ที่จับอยู่กับสารยับยั้งชนิด (5-(Pyridin-3-yl)furan-2-yl)methanamine (รหัสทะเบียนโปรตีน: '''2fdw''') ไซโทโครม P450 2A6 (Cytochrome P450 2A6; ชื่อย่อ: CYP2A6) เป็นโปรตีนในมหาสกุลไซโทโครม P450 ซึ่งเป็นระบบเอนไซม์ออกซิเดซอเนกประสงค์ของร่างกายมนุษย์ โดยการแสดงออกของ CYP2A6 นั้นจะถูกควบคุมโดยยีน CYP2A6 บน โครโมโซมคู่ที่ 19 โลคัส 19q13.2 และถือเป็นยีนอีกชนิดหนึ่งในกลุ่มยีน cytochrome P450 โดย CYP2A6 ของมนุษย์จะมีหน้าที่ในกระตุ้นการเกิดเมแทบอลิซึมของสารซีโนไบโอติคในร่างกาย นอกจากนี้ CYP2A6 ยังถือเป็นเอนไซม์หลักที่จะมีการแสดงออกเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของนิโคตินและโคตินีน เมื่อมีสารทั้งสองเข้ามาในระบบ นอกเหนือจากนั้นจะเป็นการเมแทบอไลซ์ยาชนิดต่างๆ สารก่อมะเร็ง อัลคาลอยด์จำพวกคูมารีน โดย CYP2A6 เป็นเอนไซม์เพียงชนิดเดียวในร่างกายมนุษย์ที่มีความสามารถในการกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยา 7-hydroxylation เพื่อเมแทบอไลซ์คูมาริน โดยสารที่เกิดจากปฏิกิริยาการเมแทบอไลซ์นี้คือ 7-hydroxycoumarin ซึ่งใช้เป็นตัวชี้วัดการทำงานของ CYP2A6 ทั้งนี้ CYP2A6 เดิมชื่อ CYP2A3 ถือเป็นสมาชิกของกลุ่มเอนไซม์ขนาดใหญ่ของไซโทโครม P450 ที่มียีนควบคุมอยู่บนโครโมโซม 19q เช่นเดียวกันเอนไซม์อื่นในสกุลย่อย CYP2A, CYP2B และ CYP2F แต่ในภายหลังมีการพิจารณาเปลี่ยนชื่อเอนไซม์นี้จาก CYP2A3 เป็น CYP2A6 เนื่องจากชื่อเดิมซ้ำซ้อนกับ CYP2A3 ที่พบในหนู แต่มีโครงสร้างและหน้าที่แตกต่างกัน.

ดู สารต้านฮิสตามีนและCYP2A6

CYP3A4

ซโทโครม P450 3A4 (Cytochrome P450 3A4; ชื่อย่อ: CYP3A4) เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อร่างกายมนุษย์ ส่วนใหญ่พบได้ที่ตับและลำไส้ โดยเอนไซม์นี้จะทำหน้าที่ออกซิไดซ์โมเลกุลอินทรีย์แปลกปลอมขนาดเล็ก (ซีโนไบโอติค) เช่น สารพิษ หรือยา เพื่อให้ร่างกายสามารถกำจัดสารแปลกปลอมเหล่านี้ออกไปได้ ยารักษาโรคส่วนใหญ่มักถูกทำให้หมดฤทธิ์ได้โดยเอนไซม์ CYP3A4 แต่ในทางตรงกันข้าม กลับมียาบางชนิดที่ถูกทำให้มีฤทธิ์ในการรักษาได้ด้วยเอนไซม์นี้ อย่างไรก็ตาม สารบางอย่าง เช่น น้ำเกรปฟรูต และยาบางชนิดอาจมีฤทธิ์รบกวนการทำงานของเอนไซม์ CYP3A4 ได้ โดยผลที่เกิดขึ้นจากอันตรกิริยาระหว่างสารเหล่านี้กับเอนไซม์ CYP3A4 อาจเพิ่มหรือลดประสิทธิภาพการรักษาของยาที่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้วยเอนไซม์ CYP3A4 ได้ CYP3A4 เป็นเอนไซม์ในกลุ่มออกซิไดซิงเอนไซม์ตระกูลไซโตโครม P450 ซึ่งเอนไซม์สมาชิกอื่นในกลุ่มเอนไซม์นี้ล้วนมีส่วนสำคัญยิ่งในกระบวนการเปลี่ยนแปลงยาหลายชนิดที่แตกต่างกันออกไป แต่ CYP3A4 เป็นเอนไซม์มีส่วนเกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลงยาได้หลากหลายชนิดมากที่สุด CYP3A4 เป็นเอนไซม์ที่เป็นสารฮีโมโปรตีนเช่นเดียวกันกับเอนไซม์อื่นในตระกูลนี้ กล่าวคือ เป็นโปรตีนที่มีกลุ่มของฮีมซึ่งมีอะตอมของธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ ในมนุษย์ โปรตีน CYP3A4 จะถูกเข้ารหัสโดยยีน CYP3A4 ซึ่งยีนนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีน cytochrome P450 บน โครโมโซมคู่ที่ 7 โลคัส 7q21.1.

ดู สารต้านฮิสตามีนและCYP3A4

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Antihistamineยาต้านฮิสตามีนยาแก้แพ้