สารบัญ
การคุมกำเนิด
ตัวอย่างยาเม็ดคุมกำเนิด ประสิทธิผลของวิธีคุมกำเนิดแบบต่าง ๆ การคุมกำเนิด (birth control) คือเทคนิคและวิธีการที่ใช้ในการป้องกันการปฏิสนธิหรือขัดขวางการตั้งครรภ์ การคุมกำเนิดถูกใช้มาแต่โบราณ ทว่าวิธีที่ปลอดภัยและได้ผลดีพึ่งมีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 การวางแผน เตรียมการ และการใช้การคุมกำเนิดถูกเรียกว่าเป็นการวางแผนครอบครัว บางวัฒนธรรมไม่สนับสนุนและจำกัดการเข้าถึงวิธีการคุมกำเนิดเพราะเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ไม่เป็นที่ต้องการทางศีลธรรม ศาสนา หรือการเมือง วิธีที่ซึ่งให้ประสิทธิผลสูงสุดคือการทำหมัน โดยการตัดหลอดนำอสุจิ (vasectomy)ในเพศชายและการผูกท่อรังไข่ในเพศหญิง การใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิด (IUD) และการใช้ยาฝังคุมกำเนิด ตามมาด้วยการใช้ฮอร์โมน เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะผิวหนัง วงแหวนช่องคลอด และการฉีดฮอร์โมน วิธีที่ได้ผลรองลงมาได้แก่วิธีการนับระยะปลอดภัยและวิธีการที่ใช้สิ่งกีดขวาง เช่น ถุงยางอนามัย หมวกครอบปากมดลูก และฟองน้ำคุมกำเนิด วิธีที่ได้ผลน้อยที่สุดได้แก่การใช้สารฆ่าเชื้ออสุจิ (spermicide) และการหลั่งนอกช่องคลอด การทำหมันให้ประสิทธิผลสูงแต่มักเป็นการคุมกำเนิดที่ถาวร ต่างกับวิธีอื่นซึ่งเป็นการคุมแบบชั่วคราวและสามารถย้อนกลับได้เมื่อหยุดใช้ การปฏิบัติทางเพศที่ปลอดภัย เช่นการใช้ถุงยางอนามัยชายหรือหญิงยังสามารถป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ส่วนวิธีการคุมกำเนิดแบบอื่นไม่ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เทคนิคการคุมกำเนิดฉุกเฉินสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ใช้ภายใน 72 ถึง 120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน บางคนเชื่อว่าการไม่มีเพศสัมพันธ์เป็นการคุมกำเนิดแบบหนึ่ง ทว่าเพศศึกษาแบบที่สอนให้งดเว้นอย่างเดียวอาจเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหากไม่สอนควบคู่ไปกับการใช้การคุมกำเนิด เพราะการไม่ยอมทำตาม ในประเทศไทย พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น..
ดู สารฆ่าเชื้ออสุจิและการคุมกำเนิด
การเปรียบเทียบวิธีคุมกำเนิด
วิธีคุมกำเนิดแต่ละแบบมีความต้องการจากผู้ใช้ ผลข้างเคียง และประสิทธผลต่างกัน โดยแต่ละแบบอาจไม่เหมาะสำหรับบางคน การคุมกำเนิดโดยใช้สิ่งกีดขวางบางชนิด สารฆ่าเชื้ออสุจิ หรือการหลั่งนอกจำเป็นต้องใช้หรือปฏิบัติทุกครั้งที่ร่วมเพศ ส่วนวิธีอื่น เช่น ฝาหรือหมวกครอบปากมดลูก ฟองน้ำคุมกำเนิด และถุงยางอนามัยหญิง สามารถใส่ไว้ก่อนหลายชั่วโมงก่อนร่วมเพศ โดยต้องถอดถุงยางอนามัยหญิงทันทีหลังร่วมเพศและก่อนยืนขึ้น ส่วนวิธีคุมกำเนิดโดยใช้สิงกีดขวางบางแบบสำหรับผู้หญิงอาจต้องทิ้งไว้ในช่องคลอดหลายชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ สารฆ่าเชื้ออสุจิอาจถูกใช้ไม่กี่นาทีหรือหลายชั่วโมงก่อนร่วมเพศขึ้นอยู่กับแบบที่ใช้ นอกจากนี้ยังควรใส่ถุงยางอนามัยชายขณะองคชาตแข็งตัวก่อนสอดใส่ หลังการทำหมันทั้งหญิงและชาย ติดตั้งห่วงอนามัยคุมกำเนิด หรือฝังฮอร์โมน ก็ไม่ต้องทำอะไรก่อนร่วมเพศเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ห่วงอนามัยคุมกำเนิดต้องติดตั้งและถอดออกโดยแพทย์เท่านั้น และอาจต้องเปลี่ยนทุก 5–12 ปี ขึ้นอยู่กับแบบ ผู้ใช้สามารถไปพบแพทย์เพื่อถอดห่วงอนามัยออกได้ทุกเมื่อหากต้องการมีลูก ในทางตรงข้าม การทำหมันเป็นวิธีคุมกำเนิดแบบถาวรและไม่ต้องทำอะไรอีกหลังการผ่าตัด ยาคุมกำเนิดแบบฝังใช้ได้เป็นเวลา 3 ปี โดยผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไรหลังการฝังจนต้องถอดออก ยาเม็ดคุมกำเนิดจะต้องรับประทานทุกวันถึงจะให้ผลดี ส่วนวิธีอื่นที่ใช้ฮอร์โมนอาจมีความต้องการน้อยกว่า เช่น ยาแปะที่ต้องเปลี่ยนทุกอาทิตย์ วงแหวนคุมกำเนิดที่ต้องเปลี่ยนสองครั้งต่อเดือน ยาฉีกคุมกำเนิดที่ต้องฉีดทุกเดือน และยาฉีดเมดรอกซีโปรเจสเตอโรน (MPA) ที่ต้องฉีดทุกสามเดือน หากใช้การนับระยะปลอดภัยต้องวัดสัญญาณการเจริญพันธุ์เป็นประจำทุกวันเพื่อเฝ้าดูและบันทึก หากต้องการคุมกำเนิดโดยการให้นมลูก (LAM) จำเป็นต้องให้นมลูกทุก ๆ 4–6 ชั่วโมง.
ดู สารฆ่าเชื้ออสุจิและการเปรียบเทียบวิธีคุมกำเนิด
ยาฝังคุมกำเนิด
ติดตั้งสำหรับ ''Implanon'' ตัวอย่างของยาฝังคุมกำเนิดแบบฝังใต้ผิวหนัง ยาฝังคุมกำเนิด (contraceptive implant) เป็นอุปกรณ์ปลูกฝังทางการแพทย์ใช้เพื่อคุมกำเนิด อาจทำโดยการปล่อยฮอร์โมนเพื่อยับยั้งการตกไข่หรือการพัฒนาของตัวอสุจิ, การใช้ทองแดงเป็นสารฆ่าเชื้ออสุจิในมดลูก, หรืออาจใช้วิธีกีดขวางโดยไม่ใช้ฮอร์โมน ยาฝังคุมกำเนิดถูกออกแบบเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในประเทศไทย พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น..
ดู สารฆ่าเชื้ออสุจิและยาฝังคุมกำเนิด
ห่วงอนามัยคุมกำเนิด
ห่วงอนามัยคุมกำเนิด หรือ ไอยูดี (Intrauterine device, IUD, intrauterine contraceptive device, IUCD, ICD, coil) เป็นอุปกรณ์คุมกำเนิดขนาดเล็ก มักมีรูปร่างคล้ายตัว T ใช้โดยการใส่เข้าไปในมดลูกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ การใช้ห่วงอนามัยเป็นหนึ่งในวิธีคุมกำเนิดระยะยาวที่ย้อนกลับได้ ผู้ใช้ห่วงอนามัยและยาคุมกำเนิดแบบฝังมีความพึงพอใจสูงสุดเมื่อเทียบกับผู้ใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่น หลักฐานทางงานวิจัยสนับสนุนทั้งประสิทธิผลและความปลอดภัยของห่วงอนามัย เมื่อใช้กับวัยรุ่นและคนที่ไม่เคยมีลูก เมื่อถอดห่วงอนามัยออกความเจริญพันธุ์ของผู้ใช้จะกลับมาอย่างรวดเร็วแม้จะใช้มาเป็นเวลานาน โอกาสล้มเหลวของห่วงอนามัยชนิดเคลือบทองแดงอยู่ที่ประมาณ 0.8% ส่วนแบบหลั่งฮอร์โมนอยู่ที่ประมาณ 0.2% ในการใช้ปีแรกCS1 maint: Extra text: authors list Category:CS1 maint: Extra text: authors list ห่วงอนามัยหุ้มทองแดงอาจเพิ่มปริมาณของประจำเดือนและอาจทำให้ปวดท้องมากขึ้น ส่วนห่วงอนามัยแบบหลั่งฮอร์โมนอาจทำให้ประจำเดือนมาน้อยลงหรือไม่มาเลย อาการปวดประจำเดือนสามารถบรรเทาด้วยยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAID) ผลกระทบที่อาจตามมาได้แก่ expulsion (2-5%) และมดลูกฉีกขาดที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก (น้อยกว่า 0.7%) ห่วงอนามัยไม่ส่งผลกรทบต่อการให้นมบุตร และสามารถติดตั้งทันทีหลังคลอดลูก นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทันทีหลังการทำแท้ง การใช้ห่วงอนามัยเพื่อคุมกำเนิดเริ่มขึ้นในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 แบบจำลองก่อนหน้านี้ถูกเรียกว่า Dalkon shield ซึ่งถูกพบว่าเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน (pelvic inflammatory disease) อย่างไรก็ตาม ห่วงอนามัยรุ่นปัจจุบันไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงนี้หากผู้ใช้ไม่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ตอนช่วงเวลาติดตั้ง.
ดู สารฆ่าเชื้ออสุจิและห่วงอนามัยคุมกำเนิด
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Spermicide