สารบัญ
42 ความสัมพันธ์: บัชชาร อัลอะซัดพ.ศ. 2488พระเจ้าฟารูกแห่งอียิปต์การแทรกแซงทางทหารในลิเบีย พ.ศ. 2554ฝ่ายค้านซีเรียภาษาอาหรับรัฐสมาชิกองค์การความร่วมมืออิสลามรัฐอาหรับรายชื่อรัฐที่ได้รับการรับรองอย่างไม่สมบูรณ์รายการธงรัฐอาหรับสหพันธรัฐอาหรับ (แก้ความกำกวม)สงครามกลางเมืองซีเรียสงครามอ่าวเปอร์เซียสตัฟฟัน เด มิสตูราอาหรับขบวนการแนวร่วมปลดแอกแห่งชาติปัตตานีข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1970ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์คณะผู้แทนทางทูตของประเทศกาตาร์คณะผู้แทนทางทูตของประเทศอิรักคณะผู้แทนทางทูตของประเทศจอร์แดนคณะผู้แทนทางทูตของประเทศคูเวตคณะผู้แทนทางทูตของประเทศซาอุดีอาระเบียคณะผู้แทนทางทูตของประเทศซีเรียคณะผู้แทนทางทูตของประเทศโอมานคณะผู้แทนทางทูตของประเทศเยเมนคณะผู้แทนทางทูตของประเทศเลบานอนประวัติศาสตร์บาห์เรนประเทศอิสราเอลประเทศอียิปต์ประเทศคอโมโรสประเทศซีเรียประเทศโมร็อกโกประเทศเวเนซุเอลาประเทศเซาท์ซูดานปาเลสไตน์ (แก้ความกำกวม)โลกอาหรับเวสเทิร์นสะฮาราเอกอัครสมณทูต1 E+13 m²22 มีนาคม
บัชชาร อัลอะซัด
ัชชาร ฮาฟิซ อัลอะซัด (بشار حافظ الأسد; เกิด 11 กันยายน พ.ศ. 2508) เป็นประธานาธิบดีซีเรีย ผู้บัญชาการทหารกองทัพซีเรีย เลขาธิการพรรคบะอัษซึ่งเป็นพรรครัฐบาล และเลขาธิการภูมิภาคของสาขาพรรคในประเทศซีเรีย ในปี 2543 เขาสืบทอดตำแหน่งจากฮาฟิซ อัลอะซัด บิดา ผู้ปกครองประเทศซีเรียเป็นเวลา 30 ปีจนถึงแก่อสัญกรรม เขาได้รับความเห็นชอบจากเขตเลือกตั้งซีเรียสองครั้งในปี 2543 และ 2550 ในการลงประชามติโดยไร้คู่แข่ง เดิมประชาคมนานาชาติมองเขาว่าเป็นนักปฏิรูปมีศักยะ แต่สหรัฐ สหภาพยุโรปและส่วนใหญ่ของสันนิบาตอาหรับเรียกร้องให้เขาลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีหลังข้อกล่าวหาเขาสั่งปราบปรามและการล้อมทางทหารต่อผู้ชุมนุมอาหรับสปริง จนนำสู่สงครามกลางเมืองซีเรีย During the Syrian Civil War, an inquiry by the United Nations reported finding evidence which implicated Assad in war crimes.
ดู สันนิบาตอาหรับและบัชชาร อัลอะซัด
พ.ศ. 2488
ทธศักราช 2488 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1945 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.
พระเจ้าฟารูกแห่งอียิปต์
ระเจ้าฟารูกที่ 1 แห่งอียิปต์ (อาหรับ:فاروق الأول Fārūq al-Awwal) (11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1920-18 มีนาคม ค.ศ. 1965) กษัตริย์แห่งอียิปต์และซูดาน และองค์อธิปัตย์แห่งนิวเบีย, คูร์ดูฟาน และดาร์ฟูร์ แห่งราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี โดยพระองค์ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าฟูอัดที่ 1 แห่งอียิปต์ พระราชบิดา ส่วนพระขนิษฐาของพระองค์ เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์ ได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี เป็นราชินีแห่งอิหร่าน ก่อนเกิดการปฏิวัติอียิปต์ ค.ศ.
ดู สันนิบาตอาหรับและพระเจ้าฟารูกแห่งอียิปต์
การแทรกแซงทางทหารในลิเบีย พ.ศ. 2554
รือรบสหรัฐยิงขีปนาวุธโทมาฮอว์กทำลายเป้าหมายของกองกำลังฝ่ายนิยมกัดดาฟีในลิเบีย การแทรกแซงทางทหารในลิเบี..
ดู สันนิบาตอาหรับและการแทรกแซงทางทหารในลิเบีย พ.ศ. 2554
ฝ่ายค้านซีเรีย
ฝ่ายค้านซีเรีย (المعارضة السورية al-Muʕaraḍah as-Sūrīyah) เป็นคำรวม ๆ สำหรับเอนทิตีการเมืองอันมีแนวร่วมแห่งชาติซีเรีย (Syrian National Coalition) และกลุ่มซีเรียต่อต้านรัฐบาลเป็นตัวแทน โดยมีการควบคุมดินแดนบางส่วนและเป็นรัฐบาลซีเรียทางเลือก โดยอ้างว่าแทนสาธารณรัฐอาหรับซีเรียอย่างชอบธรรม ฝ่ายค้านซีเรียวิวัฒนานับแต่เริ่มสงครามกลางเมืองซีเรีย ตั้งแต่กลุ่มที่เรียกร้องให้เปลี่ยนรัฐบาลในซีเรียและผู้ที่คัดค้านรัฐบาลบะอัธ ก่อนหน้าสงครามกลางเมือง คำว่า "ฝ่ายค้าน" ใช้เรียกตัวแสดงทางการเมืองตามประเพณี ตัวอย่างเช่น คณะกรรมการประสานงานแห่งชาติเพื่อการเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตย (National Coordination Committee for Democratic Change) กล่าวคือ กลุ่มและปัจเจกชนที่มีประวัติขัดแย้งกับรัฐซีเรีย ระยะการก่อการกำเริบซีเรีย ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2554 ถึงต้นเดือนสิงหาคม 2554 มีลักษณะการต่อสู้ปราศจากความรุนแรงในหมู่ผู้เข้าร่วมการก่อการกำเริบเหมือนกัน ฉะนั้น ความขัดแย้งจึงยังไม่มีลักษณะเป็น "สงครามกลางเมือง" จนเริ่มมีการจัดระเบียบการต่อสู้ด้วยอาวุธในฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ซึ่งเกิดเริ่มตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2554 ทำให้ความขัดแย้งนี้เข้ากับนิยามการเมืองระหว่างประเทศของสงครามกลางเมือง กลุ่มค้านในซีเรียเปลี่ยนทิศทางในปลายปี 2554 ระหว่างสงครามกลางเมืองซีเรีย เมื่อกลุ่มรวมกันตั้งสภาแห่งชาติซีเรีย (SNC) ซึ่งได้รับการสนับสนุนและรับรองระหว่างประเทศอย่างสำคัญเป็นคู่เจรจา สภาแห่งชาติซีเรียได้รับการรับรองหรือสนับสนุนบ้างโดยรัฐสมาชิกสหประชาติอย่างน้อย 17 รัฐ โดยมีสามรัฐ (ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักรและสหรัฐ) เป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สภาแห่งชาติซีเรียถือว่าได้รับอิทธิพลจากภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood) และมีสมาชิกของกลุ่มนี้จำนวนมาก แนวร่วมอิสลาม (Islamic Front) ทหารอาสาสมัครซุนนีอิสลามต่อต้านรัฐบาลสำคัญระหว่างสงครามซีเรีย เข้ากับสภาแห่งชาติซีเรีย กลุ่มรวมฝ่ายค้านที่ใหญ่กว่า คือ แนวร่วมกำลังปฏิวัติและฝ่ายค้านซีเรียแห่งชาติ (National Coalition for Syrian Revolutionary and Opposition Forces) ตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555 สภาความร่วมมืออ่าวรับรองว่าเป็น "ผู้แทนโดยชอบของชาวซีเรีย" และสันนิบาตอาหรับรับรองว่าเป็น "ผู้แทนความปรารถนาของชาวซีเรีย" แนวร่วมแห่งชาติซีเรียต่อมาได้นั่งแทนซีเรียในสันนิบาตอาหรับ ส่วนผู้แทนของบะอัธซีเรียถูกระงับ สภาแห่งชาติซีเรีย ซึ่งเดิมเป็นส่วนหนึ่งของแนวร่วมแห่งชาติซีเรีย ถอนตัวเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2557 เพื่อประท้วงการตัดสินใจของแนวร่วมในการเข้าประชุมการเจรจาเจนีวา กลุ่มฝ่ายค้านจัดการเจรจาปรองดองในอัสตานา ประเทศคาซัคสถาน ในเดือนตุลาคม 2558.
ดู สันนิบาตอาหรับและฝ่ายค้านซีเรีย
ภาษาอาหรับ
ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.
ดู สันนิบาตอาหรับและภาษาอาหรับ
รัฐสมาชิกองค์การความร่วมมืออิสลาม
รัฐสมาชิกขององค์การฯ แสดงด้วยสีเขียว รัฐสังเกตการณ์แสดงด้วยสีแดง และรัฐที่ถูกคัดค้านแสดงด้วยสีน้ำเงิน องค์การความร่วมมืออิสลามที่ก่อตั้งเมื่อ..
ดู สันนิบาตอาหรับและรัฐสมาชิกองค์การความร่วมมืออิสลาม
รัฐอาหรับ
นี่คือรายชื่อของประเทศในรัฐอาหรั.
รายชื่อรัฐที่ได้รับการรับรองอย่างไม่สมบูรณ์
รัฐสมาชิกสหประชาชาติ ไม่ได้รับการรับรองจากรัฐสมาชิกอย่างน้อยหนึ่งประเทศ การขาดการรับรองทางการทูตเป็นอุปสรรคต่อหน่วย (entity) ทางภูมิรัฐศาสตร์ร่วมสมัยซึ่งปรารถนาจะได้รับการรับรองเป็นรัฐเอกราชโดยนิตินัย ในอดีต เคยมีหน่วยที่คล้ายกัน และปัจจุบันมีหน่วยที่ประกาศอิสรภาพ ซึ่งมีการควบคุมดินแดนของตนโดยพฤตินัย โดยมีการรับรองแปรผันตั้งแต่ได้รับการรับรองจากรัฐที่ได้รับการรับรองอื่นแทบทั้งหมดไปจนถึงแทบไม่มีรัฐใดรับรองเลย มีสองลัทธิแต่เดิมที่มให้การตีความว่าเมื่อใดรัฐเอกราชโดยนิตินัยควรได้รับการรับรองเป็นสมาชิกประชาคมระหว่างประเทศ ทฤษฎี "ประกาศ" (declarative) นิยามรัฐเป็นบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศหากเป็นไปตามเกณฑ์ต่อไปนี้: 1) มีดินแดนแน่นอน 2) มีประชากรถาวร 3) มีรัฐบาล และ 4) มีความสามารถสร้างความสัมพันธ์กับรัฐอื่น ตามทฤษฎีประกาศ สภาพเป็นรัฐของหน่วยไม่ขึ้นอยู่กับการรับรองของรัฐอื่น ทว่า ทฤษฎี "ก่อตั้ง" นิยามรัฐว่าเป็นบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศหากได้รับการรับรองจากรัฐอื่นซึ่งเป็นสมาชิกประชาคมระหว่างประเทศอยู่แล้ว หลายหน่วยอ้างลัทธิข้างต้นหนึ่งหรือทั้งสองลัทธิเพื่ออ้างความชอบของการอ้างสิทธิ์สภาพเป็นรัฐของหน่วย ตัวอย่างเช่น มีหน่วยที่เป็นไปตามเกณฑ์ทฤษฎีประกาศ (คือ มีการควบคุมเหนือดินแดนที่อ้างสิทธิ์อย่างสมบูรณ์หรือบางส่วนโดยพฤตินัย มีรัฐบาลและประชากรถาวร) แต่สภาพเป็นรัฐของหน่วยเหล่านั้นไม่ได้รับการรับรองจากรัฐอย่างน้อยหนึ่งรัฐ การไม่รับรองมักเป็นผลแห่งข้อขัดแย้งกับประเทศอื่นซึ่งอ้างว่าหน่วยเหล่านั้นเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของตน ในกรณีอื่น หน่วยที่ได้รับการรับรองบางส่วนสองหน่วยหรือกว่านั้นอาจอ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่เดียวกัน ซึ่งแต่ละหน่วยมีการควบคุมบางส่วนของพื้นที่นั้นโดยพฤตินัย (เช่นในกรณีสาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐจีน และเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้) หน่วยซึ่งได้รับการรับรองจากรัฐส่วนน้อยของโลกปกติอ้างอิงลัทธิประกาศเพื่อสร้างความชอบธรรมแก่การอ้างสิทธิ์ของตน.
ดู สันนิบาตอาหรับและรายชื่อรัฐที่ได้รับการรับรองอย่างไม่สมบูรณ์
รายการธงรัฐอาหรับ
รายการภาพธงชาติของรัฐสันนิบาตอาหรับ หมายเหตุ: ประเทศที่พิมพ์ตัวหนาเป็นรัฐที่ได้รับการยกย่องจากรัฐอธิปไตยแล้ว.
ดู สันนิบาตอาหรับและรายการธงรัฐอาหรับ
สหพันธรัฐอาหรับ (แก้ความกำกวม)
หพันธรัฐอาหรับ อาจหมายถึง.
ดู สันนิบาตอาหรับและสหพันธรัฐอาหรับ (แก้ความกำกวม)
สงครามกลางเมืองซีเรีย
งครามกลางเมืองซีเรีย เป็นการขัดกันด้วยอาวุธหลายฝ่ายที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศซีเรีย โดยมีต่างชาติเข้าแทรกแซง ความไม่สงบเริ่มในต้นฤดูใบไม้ผลิปี 2554 ในบริบทการประท้วงอาหรับสปริง โดยมีการประท้วงทั่วประเทศต่อรัฐบาลประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัด ซึ่งกำลังของเขาสนองโดยการปราบปรามอย่างรุนแรง ความขัดแย้งค่อย ๆ กลายจากการประท้วงของประชาชนเป็นการกบฏมีอาวุธหลังการล้อมทางทหารหลายเดือน รายงานสหประชาชาติฉบับหนึ่งในปลายปี 2555 อธิบายความขัดแย้งว่า "มีสภาพนิยมนิกาย (sectarian) อย่างเปิดเผย" ระหว่างกำลังรัฐบาล ทหารอาสาสมัครซึ่งส่วนใหญ่เป็นอะละวี (Alawite) และกลุ่มชีอะฮ์อื่น ต่อสู้กับกลุ่มกบฏซึ่งมีซุนนีครอบงำเป็นส่วนใหญ่ แม้ทั้งฝ่ายค้านและกำลังรัฐบาลต่างปฏิเสธ ทีแรกรัฐบาลซีเรียอาศัยกองทัพเป็นหลัก แต่ตั้งแต่ปี 2557 หน่วยป้องกันท้องถิ่นซึ่งประกอบจากอาสาสมัครที่เรียก กำลังป้องกันชาติ (National Defence Force) ได้มีบทบาทมากขึ้น ค่อย ๆ กลายเป็นกำลังทหารหลักของรัฐซีเรีย รัฐบาลซีเรียได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิค การเงิน การทหารและการเมืองจากประเทศรัสเซีย อิหร่านและอิรักมาตั้งแต่ต้น ในปี 2556 ฮิซบุลลอฮ์ที่อิหร่านสนับสนุนเข้าร่วมสงครามโดยสนับสนุนกองทัพซีเรีย รัสเซียเข้าร่วมปฏิบัติการทางอากาศตั้งแต่เดือนกัยายน 2558 เนื่องจากการเกี่ยวพันของต่างชาติ ความขัดแย้งนี้จึงถูกเรียกว่าเป็น สงครามตัวแทน ระหว่างชาติซุนนีและชีอะฮ์ภูมิภาค ที่สำคัญที่สุดคือความขัดแย้งตัวแทนระหว่างซาอุดีอาระเบียและอิหร่าน ในเดือนกันยายน 2558 รัสเซีย อิรัก อิหร่านและซีเรียตั้งห้องปฏิบัติการร่วม (ศูนย์สารสนเทศ) ในกรุงแบกแดดเพื่อประสานงานกิจกรรมของพวกตนในประเทศซีเรีย วันที่ 30 กันยายน 2558 ประเทศรัสเซียเริ่มการทัพทางอากาศของตนโดยเข้ากับฝ่ายและด้วยคำขอของรัฐบาลซีเรีย จึงเกิดสงครามตัวแทนระหว่างสหรัฐและรัสเซีย ซึ่งนักวิจารณ์บางส่วนบรรยายสถานการณ์ว่าเป็น "ก่อนสงครามโลกโดยมีประเทศเกือบโหลพัวพันในสองความขัดแย้งที่ทับซ้อนกัน" ฝ่ายค้านมีอาวุธประกอบด้วยหลายกลุ่มซึ่งก่อตั้งในห้วงความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองทัพซีเรียเสรี (FSA) ซึ่งเป็นผู้แรกที่หยิบอาวุธในปี 2554 และแนวร่วมอิสลามซึ่งก่อตั้งในปี 2556 ฝ่ายทางตะวันออก รัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์ (ISIL) กลุ่มนักรบญิฮัดซึ่งกำเนิดในประเทศอิรัก ได้ชัยชนะทางทหารอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศซีเรียและอิรัก จนลงเอยด้วยพิพาทกับกบฏอื่น ฝ่ายแนวร่วมนานาชาติที่มีสหรัฐเป็นผู้นำมีการสถาปนาขึ้นในปี 2557 โดยมีวัตถุประสงค์ที่ประกาศไว้ว่าเพื่อตอบโต้ ISIL และได้ดำเนินการโจมตีทางอากาศต่อ ISIL ในซีเรีย ตลอดจนเป้าหมายบะอัธซีเรียและให้การสนับสนุนต่อสหพันธรัฐประชาธิปไตยซีเรียเหนือ สหรัฐเลิกให้การสนับสนุนด้านอาวุธโดยตรงต่อ FSA ในปี 2560; ปลายปี 2560 อิทธิพลและดินแดนควบคุมของ ISIL เสื่อมลง จนซีเรียประกาศว่าประเทศได้รับการปลดปล่อยจาก ISIL แล้ว ด้านตุรกีมีความเกี่ยวข้องในสงครามตั้งแต่ปี 2559 และสนับสนุนฝ่ายค้านซีเรียอย่างแข็งขันและยึดพื้นที่ได้เป็นบริเวณกว้างทางภาคเหนือของประเทศซีเรีย องค์การระหว่างประเทศกล่าวหารัฐบาลซีเรีย ISIL และกำลังฝ่ายค้านอื่นว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง โดยเกิดการสังหารหมู่หลายครั้ง ความขัดแย้งนี้ทำให้เกิดการย้ายประชากรอย่างสำคัญ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 สหประชาชาติประกาศเริ่มการเจรจาสันติภาพซีเรียเจนีวาที่สหประชาชาติเป็นสื่อกลางอย่างเป็นทางการ โดยการสู้รบยังดำเนินไปโดยไม่มีทีท่าลดลง.
ดู สันนิบาตอาหรับและสงครามกลางเมืองซีเรีย
สงครามอ่าวเปอร์เซีย
งครามอ่าวเปอร์เซีย หรือ สงครามอ่าว (Gulf War, 2 สิงหาคม 2533 – 28 กุมภาพันธ์ 2534) ชื่อรหัสปฏิบัติการโล่ทะเลทราย (Operation Desert Shield, 2 สิงหาคม 2533 – 17 มกราคม 2534) เป็นปฏิบัติการนำสู่การสั่งสมกำลังและการป้องกันของซาอุดีอาระเบียและปฏิบัติการพายุทะเลทราย (Operation Desert Storm, 17 มกราคม 2534 – 28 กุมภาพันธ์ 2534) ในระยะสู้รบ เป็นสงครามในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียระหว่างกำลังผสมจาก 34 ชาตินำโดยสหรัฐอเมริกาต่อประเทศอิรักหลังการบุกครองและผนวกคูเวตของอิรัก สงครามนี้มีชื่ออื่น เช่น สงครามอ่าวเปอร์เซีย, สงครามอ่าวครั้งที่หนึ่ง, สงครามคูเวต, สงครามอิรัก ซึ่งคำว่า "สงครามอิรัก" ต่อมาใช้เรียกการบุกครองอิรักเมื่อปี 2546 แทน การยึดครองคูเวตของกองทัพอิรักซึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2533 นั้นถูกนานาชาติประณาม และสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติพลันใช้วิธีการบังคับทางเศรษฐกิจต่ออิรัก ประธานาธิบดี จอร์จ เอช.
ดู สันนิบาตอาหรับและสงครามอ่าวเปอร์เซีย
สตัฟฟัน เด มิสตูรา
ตัฟฟัน เด มิสตูรา (Staffan de Mistura) เป็นนักการทูตอิตาลี-สวีเดนที่มีประสบการณ์ยาวนานและอดีตสมาชิกของรัฐบาลอิตาลี หลังจากอาชีพ 40 ปีในหลายหน่วยงานของสหประชาชาติ เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวง (รัฐมนตรีชั้นรอง) สำหรับการต่างประเทศในรัฐมนตรีอิตาลีที่นำโดยมารีโอ มอนตี ปัจจุบัน เขาเป็นผู้อำนวยการวิลลาซันมีเกเลในกาปรี และทูตพิเศษแห่งสหประชาชาติเพื่อรับมือวิกฤติซีเรีย ตำแหน่งสหประชาชาติของเด มิสตูรา ก่อนหน้าประกอบด้วยผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติในประเทศอิรัก (ค.ศ.
ดู สันนิบาตอาหรับและสตัฟฟัน เด มิสตูรา
อาหรับ
กลุ่มประเทศอาหรับ อาหรับ (عربي, ʿarabi พหูพจน์ العرب al-ʿarab, Arab) คือบุคคลกลุ่มบุคคลที่มีชาติพันธุ์ พูดภาษา หรือมีวัฒนธรรมที่เรียกว่า “อาหรับ”เป็นชนชาติหนึ่งที่อาศัยในบริเวณคาบสมุทรอาหรับที่เป็นทะเลทราย รวมทั้งชนชาติที่พูดภาษาอาหรับในเอเชียตะวันตก และแอฟริกาเหนือ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม คำว่าอาหรับในตระกูลภาษาเซมิติกแปลว่าทะเลทรายหรือผู้อาศัยอยู่ในทะเลทราย ส่วนใหญ่ดำรงชีพแบบเร่ร่อน จึงแปลคำว่าอาหรับว่าเร่ร่อนได้ด้วย ชาวอาหรับเป็นชาวเซมิติกเช่นเดียวกับชาวยิว จัดอยู่ในพวกคอเคเซอยด์ ในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเก่ากล่าวว่าอับราฮัมมีลูกชาย 2 คน คนโตชื่ออิสไมส์หรืออิสมาอีลเป็นต้นตระกูลของชาวอาหรับ คนที่ 2 ชื่อไอแซกเป็นต้นตระกูลของชาวยิว ก่อนที่มุฮัมมัดจะประกาศศาสนาอิสลามชาวอาหรับจะอยู่กันเป็นเผ่า จงรักภักดีต่อเผ่าของตนมาก วิถีชีวิตของชาวอาหรับมีสองแบบ คือแบบอยู่เป็นหมู่บ้าน มีอาชีพค้าขายและทำการเกษตร อีกกลุ่มหนึ่งใช้ชีวิตแบบเร่ร่อนเรียกว่าเบดูอิน อาศัยอยู่ในกระโจมเพื่อเคลื่อนย้ายได้สะดวก ชาวเบดูอินกับชาวอาหรับที่ตั้งถิ่นฐานมักดูถูกกัน ไม่ลงรอยกัน หลังจากมุฮัมมัดประกาศศาสนาอิสลาม จึงเกิดความสามัคคีในหมูชาวอาหรับ ผู้นับถือศาสนาอิสลามในยุคแรกๆมักถูกกลั่นแกล้งและปราบปรามจึงเกิดการทำญิฮาดหรือการต่อสู้เพื่อศาสนาขึ้น ปัจจุบันประเทศที่จัดว่าเป็นประเทศอาหรับเป็นสมาชิกของสันนิบาตอาหรับ ในปัจจุบันมีสมาชิก 21 ประเทศ ได้แก่ แอลจีเรีย จิบูตี บาห์เรน อิรัก จอร์แดน คูเวต เลบานอน ลิเบีย มอริตาเนีย โมร็อกโก โอมาน ปาเลสไตน์ กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย โซมาเลีย ซูดาน ซีเรีย ตูนีเซีย อียิปต์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ เยเมน ในปัจจุบันยังมีความขัดแย้งในหมู่ชาวอาหรับอยู่ เช่น ปัญหาปาเลสไตน์ ความขัดแย้งทางศาสนา เช่น ความขัดแย้งระหว่างชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ในเลบานอน ความขัดแย้งระหว่างชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่และชีอะห์ เป็นต้น ภาษาอาหรับเป็นภาษาที่เก่ากว่าวัฒนธรรมอาหรับที่เริ่มเผยแพร่ในตะวันออกกลางตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 2 เมื่ออาหรับคริสเตียนเช่นกาสนาวิยะห์ ลักห์มิยะห์ และ Banu Judham เริ่มโยกย้ายเข้าไปตั้งถิ่นฐานในทะเลทรายซีเรียและในบริเวณลว้าน ภาษาอาหรับเพิ่มความสำคัญมากขึ้นพร้อมกับการรุ่งเรืองของศาสนาอิสลามในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในการเป็นภาษาของอัลกุรอาน และวัฒนธรรมอาหรับก็เริ่มเผยแพร่ออกไปพร้อมกับการขยายดินแดนของอิสลาม.
ขบวนการแนวร่วมปลดแอกแห่งชาติปัตตานี
วนการแนวร่วมปลดแอกแห่งชาติปัตตานี (Barisan Nasional Pembebasan Patani, BNPP) เป็นองค์กรเคลื่อนไหวเพื่อแบ่งแยกดินแดนปัตตานีรุ่นแรก ๆ เกิดจากการรวมตัวของทายาทเจ้าเมืองเก่าที่สูญเสียอำนาจ และความไม่พอใจในนโยบายของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่กำหนดนโยบายรัฐนิยมบังคับสวมหมวก และนโยบายอื่น ๆ ที่ขัดต่อหลักศาสนาอิสลาม ผู้ก่อตั้งคือนายอดุลย์ ณ สายบุรี เวลาที่จัดตั้งขึ้นไม่แน่นอน อยู่ระหว่าง..
ดู สันนิบาตอาหรับและขบวนการแนวร่วมปลดแอกแห่งชาติปัตตานี
ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1970
้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1970 (United Nations Security Council Resolution 1970) เป็นข้อมติอันคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีขึ้นโดยเอกฉันท์เมื่อวันที่ 26 กุมภาพัน..
ดู สันนิบาตอาหรับและข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1970
ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล
วามขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล (الصراع العربي الإسرائيلي Al-Sura'a Al'Arabi A'Israili; הסכסוך הישראלי-ערבי Ha'Sikhsukh Ha'Yisraeli-Aravi) หมายถึงความตึงเครียดทางการเมืองและความขัดแย้งทางทหารระหว่างสันนิบาตอาหรับและอิสราเอล และระหว่างชาวอาหรับกับชาวอิสราเอล ต้นตอของความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลสมัยใหม่นี้เกิดจากความรุ่งเรืองของขบวนการไซออนิสต์และลัทธิชาตินิยมอาหรับช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดินแดนที่ชาวยิวมองว่าเป็นบ้านเกิดทางประวัติศาสตร์ของพวกตนนั้น ก็ถูกมองโดยขบวนการรวมอาหรับว่าเป็นดินแดนประวัติศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันเป็นของชาวอาหรับปาเลสไตน์ และเป็นดินแดนของมุสลิมในบริบทรวมอิสลาม ความขัดแย้งระหว่างชาวยิวและชาวอาหรับปาเลสไตน์อุบัติขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ระหว่างเหตุจลาจลนบีมูซาเมื่อปี 1920 และบานปลายเป็นสงครามกลางเมืองเต็มขั้นในปี 1947 และขยายเป็นประเทศสันนิบาตอาหรับทั้งหมดเมื่อมีการสถาปนารัฐอิสราเอลสมัยใหม่ขึ้นในเดือนพฤษภาคม 1948 เมื่อเวลาผ่านไป ความขัดแย้งดังกล่าว ซึ่งเริ่มต้นเป็นความขัดแย้งทางการเมืองและชาตินิยมเหนือความปรารถนาดินแดนที่แข่งกันหลังจักรวรรดิออตโตมันล่มสลาย ได้เปลี่ยนแปลงจากความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลในภูมิภาคเต็มขั้น ไปเป็นความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ที่จำกัดบริเวณกว่า โดยความเป็นปรปักษ์เต็มขั้นส่วนใหญ่สิ้นสุดลงด้วยการหยุดยิง หลังสงครามเดือนตุลาคม ปี 1973 ต่อมา มีการลงนามความตกลงสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์ในปี 1979 และอิสราเอลกับจอร์แดนในปี 1994 ข้อตกลงออสโลนำไปสู่การสถาปนาองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ในปี 1993 แม้จะยังไม่บรรลุความตกลงสันติภาพขั้นสุดท้ายก็ตาม ปัจจุบัน การหยุดยิงยังมีผลระหว่างอิสราเอลกับซีเรีย เช่นเดียวกับเลบานอนที่เพิ่งลงนามไป (ตั้งแต่ปี 2006) ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกาซาที่ปกครองโดยฮามาส แม้จะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสันนิบาตอาหรับ แต่โดยปกตินับเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ จึงเป็นความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลด้วย แม้จะบรรลุความตกลงสันติภาพและการหยุดยิงต่าง ๆ แต่โลกอาหรับและอิสราเอลโดยทั่วไปยังหมางใจกันอยู่เหนือบางดินแดน.
ดู สันนิบาตอาหรับและความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล
ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์
วามขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ เป็นการต่อสู้ที่กำลังดำเนินอยู่ระหว่างชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความขัดแย้งนี้เกิดเป็นวงกว้าง และบางครั้งยังใช้คำนี้อ้างอิงถึงความขัดแย้งนิกายในปาเลสไตน์ในอาณัติระหว่างยีชูฟ (yishuv) ขบวนการไซออนิสต์กับประชากรอาหรับภายใต้การปกครองของอังกฤษ ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ก่อเกิดเป็นส่วนสำคัญของความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลที่ใหญ่กว่า ถูกเรียกอย่างกว้างขวางว่าเป็น "ความขัดแย้งที่หายยากที่สุด" ของโลก แม้มีกระบวนการสันติภาพระยะยาวและการปรองดองทั่วไปของอิสราเอลกับอียิปต์และจอร์แดน แต่อิสราเอลและปาเลสไตน์ไม่สามารถบรรลุความตกลงสันติภาพขั้นสุดท้ายได้ ประเด็นสำคัญที่ยังเหลืออยู่ คือ การรับรองร่วมกัน เขตแดน ความมั่นคง สิทธิน้ำ การควบคุมเยรูซาเลม นิคมอิสราเอล เสรีภาพในการเคลื่อนไหวของปาเลสไตน์ และการแก้ไขการอ้างสิทธิการเดินทางกลับสำหรับผู้ลี้ภัยของปาเลสไตน์ ความรุนแรงของความขัดแย้งในภูมิภาคอันอุดมไปด้วยแหล่งความสนใจทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและศาสนาทั่วโลก กลายมาเป็นวัตถุประสงค์ของการประชุมระหว่างประเทศจำนวนมากว่าด้วยสิทธิทางประวัติศาสตร์ ประเด็นความมั่นคงและสิทธิมนุษยชน และเป็นปัจจัยขัดขวางการท่องเที่ยวและการเข้าถึงพื้นที่ซึ่งพิพาทกันอย่างดุเดือดโดยทั่วไป มีความพยายามหลายครั้งเพื่อเป็นนายหน้าทางแก้สองรัฐ (two-state solution) อันเกี่ยวข้องกับการสถาปนารัฐปาเลสไตน์เอกราชขึ้นคู่กับรัฐอิสราเอล (หลังการสถาปนาอิสราเอลในปี 2491) ในปี 2550 ตามการหยั่งเสียงจำนวนหนึ่ง ทั้งชาวอิสราเอลและปาเลสไตน์ส่วนใหญ่เห็นชอบทางแก้สองรัฐเป็นวิธีแก้ไขความขัดแย้งมากกว่าทางแก้อื่น ยิ่งไปกว่านั้น สาธารณชนยิวส่วนใหญ่ยังมองว่าข้อเรียกร้องรัฐเอกราชของชาวปาเลสไตน์ชอบธรรม และคิดว่าประเทศอิสราเอลสามารถตกลงให้จัดตั้งรัฐเช่นว่าได้ ความไม่ไว้วางใจร่วมกันและความไม่ลงรอยอย่างสำคัญหยั่งลึกในประเด็นพื้นฐาน เช่นเดียวกับกังขาคติต่อกันและกันเกี่ยวกับการผูกมัดตามพันธกรณีที่รักษาในความตกลงท้ายที่สุด ในสังคมอิสราเอลและปาเลสไตน์ ความขัดแย้งนี้ก่อให้เกิดมุมมองและความคิดเห็นหลากหลาย ซึ่งเน้นการแบ่งแยกลึกล้ำซึ่งไม่ได้มีเฉพาะระหว่างชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์เท่านั้น แต่ยังภายในแต่ละสังคมด้วย ลักษณะเด่นของความขัดแย้งนี้เป็นระดับความรุนแรงที่สังเกตได้แทบตลอดระยะของความขัดแย้ง มีการสู้รบโดยกองทัพตามแบบ กลุ่มกึ่งทหาร กลุ่มก่อการร้ายและปัจเจกบุคคล กำลังพลสูญเสียมิได้จำกัดแต่เฉพาะทหาร แต่ทั้งสองฝ่ายยังสูญเสียประชากรพลเรือนไปเป็นอันมาก มีตัวแสดงระหว่างประเทศที่โดดเด่นเกี่ยวข้องในความขัดแย้งนี้ด้วย สองภาคีที่เข้าร่วมการเจรจาโดยตรง คือ รัฐบาลอิสราเอลและองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ การเจรจาอย่างเป็นทางการมีผู้แทนระหว่างประเศเป็นสื่อกลาง เรียก กลุ่มสี่ว่าด้วยตะวันออกกลาง (Quartet on the Middle East) ซึ่งมีผู้แทนทางการทูตพิเศษเป็นผู้แทน ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา รัสเซีย สหภาพยุโรปและสหประชาชาติ สันนิบาตอาหรับเป็นอีกตัวแสดงหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งเสนอแผนสันติภาพทางเลือด อียิปต์ สมาชิกผู้ก่อตั้งสันนิบาตอาหรับ ในอดีตเคยเป็นผู้มีส่วนหลัก นับแต่ปี 2549 ฝ่ายปาเลสไตน์แตกแยกด้วยความขัดแย้งระหว่างสองกลุ่มแยกหลัก คือ ฟาตาห์ พรรคเด่นเดิม และผู้ท้าชิงเลือกตั้งในภายหลัง ฮามาส หลังฮามาสชนะการเลือกตั้งในปี 2549 สหรัฐ สหภาพยุโรป และอิสราเอลปฏิเสธการรับรองรัฐบาลฮามาสและเงินทุนให้องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ส่วนมากถูกระงับ หนึ่งปีให้หลัง หลังการยึดอำนาจในฉนวนกาซาของฮามาสในเดือนมิถุนายน 2550 ดินแดนซึ่งรับรองอย่างเป็นทางการเป็นรัฐปาเลสไตน์ (อดีตองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ องค์การปกครองชั่วคราวของปาเลสไตน์) ถูกแบ่งระหว่างฟาตาห์ในเวสต์แบงก์และฮามาสในฉนวนกาซา การแบ่งการปกครองระหว่างภาคีนี้ส่งผลให้การปกครองสองพรรคขององค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง การเจรจาสันติภาพรอบล่าสุดเริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2556 และกำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน ในวันที่ 7 ธันวาคม..2560 ภายหลังประธานาธิบดี ดอนัลด์ ทรัมป์ รับรอง กรุงเยรูซาเล็ม ให้เป็นเมืองหลวงของประเทศอิสราเอล การเจรจาสันติภาพก็มีแนวโน้มว่าจะจบลง สงครามรอบใหม่เริ่มขึ้นภายหลังการประกาศรับรองดังกล่าว ในวันที่ 9 ธันวาคม..
ดู สันนิบาตอาหรับและความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์
คณะผู้แทนทางทูตของประเทศกาตาร์
ประเทศที่มีคณะผู้แทนทางการทูตกาตาร์ รายชื่อสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของประเทศกาตาร์ในต่างประเทศ (ไม่รวมสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์).
ดู สันนิบาตอาหรับและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศกาตาร์
คณะผู้แทนทางทูตของประเทศอิรัก
ประเทศที่มีคณะผู้แทนทางการทูตอิรัก รายชื่อสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของประเทศอิรักในประเทศต่าง ๆ (ไม่รวมสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์).
ดู สันนิบาตอาหรับและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศอิรัก
คณะผู้แทนทางทูตของประเทศจอร์แดน
ประเทศที่มีคณะผู้แทนทางการทูตจอร์แดน รายชื่อสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของจอร์แดนในประเทศต่าง ๆ (ไม่รวมสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์).
ดู สันนิบาตอาหรับและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศจอร์แดน
คณะผู้แทนทางทูตของประเทศคูเวต
นทูตและสถานกงสุลของประเทศคูเวตในประเทศต่าง.
ดู สันนิบาตอาหรับและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศคูเวต
คณะผู้แทนทางทูตของประเทศซาอุดีอาระเบีย
รายชื่อสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของประเทศซาอุดีอาระเบียในประเทศต่าง ๆ (ไม่รวมสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์).
ดู สันนิบาตอาหรับและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศซาอุดีอาระเบีย
คณะผู้แทนทางทูตของประเทศซีเรีย
รายชื่อสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของประเทศซีเรียในประเทศต่าง ๆ (ไม่รวมสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์).
ดู สันนิบาตอาหรับและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศซีเรีย
คณะผู้แทนทางทูตของประเทศโอมาน
ประเทศที่มีคณะผู้แทนทางการทูตโอมาน รายชื่อสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของประเทศโอมานในประเทศต่าง ๆ (ไม่รวมสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์).
ดู สันนิบาตอาหรับและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศโอมาน
คณะผู้แทนทางทูตของประเทศเยเมน
ประเทศที่มีคณะผู้แทนทางการทูตเยเมน สถานทูตและสถานกงสุลเยเมนในประเทศต่าง.
ดู สันนิบาตอาหรับและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศเยเมน
คณะผู้แทนทางทูตของประเทศเลบานอน
ประเทศที่มีคณะผู้แทนทางการทูตเลบานอน รายชื่อสถานทูตและสถานกงสุลเลบานอนในประเทศต่าง.
ดู สันนิบาตอาหรับและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศเลบานอน
ประวัติศาสตร์บาห์เรน
ห์เรนเป็นรัฐที่มีความรุ่งเรืองมานาน โดยเป็นเมืองท่าและศูนย์กลางการค้าในอ่าวเปอร์เซีย มีชื่อเสียงทางด้านไข่มุก และการต่อเรือ บาหเรนเป็นดินแดนในอารักขาของอังกฤษตั้งแต..
ดู สันนิบาตอาหรับและประวัติศาสตร์บาห์เรน
ประเทศอิสราเอล
ประเทศอิสราเอล (Israel; יִשְׂרָאֵל; إِسْرَائِيل) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐอิสราเอล (State of Israel; מְדִינַת יִשְׂרָאֵל; دَوْلَة إِسْرَائِيل) เป็นประเทศในตะวันออกกลางบนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและชายฝั่งเหนือของทะเลแดง มีเขตแดนทางบกติดต่อกับประเทศเลบานอนทางทิศเหนือ ประเทศซีเรียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศจอร์แดนทางทิศตะวันออก ดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาของปาเลสไตน์ทางทิศตะวันออกและตะวันตกตามลำดับ และประเทศอียิปต์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศอิสราเอลมีภูมิลักษณ์หลากหลายแม้มีพื้นที่ค่อนข้างเล็ก เทลอาวีฟเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศ ส่วนที่ตั้งรัฐบาลและเมืองหลวงตามประกาศคือ เยรูซาเลม แม้อำนาจอธิปไตยของรัฐเหนือเยรูซาเลมยังไม่มีการรับรองในระดับนานาประเทศThe Jerusalem Law states that "Jerusalem, complete and united, is the capital of Israel" and the city serves as the seat of the government, home to the President's residence, government offices, supreme court, and parliament.
ดู สันนิบาตอาหรับและประเทศอิสราเอล
ประเทศอียิปต์
รณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt; جمهورية مصر العربية) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (Egypt; مصر มิส-ร) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรไซนาย (เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ ชื่อ "อียิปต์" (Egypt) มาจากชื่อภาษาละตินว่า "ไอกิปตุส" (Aegyptus) และชื่อภาษากรีกว่า "ไอกึปตอส" (Αιγυπτος) ทั้งสองรูปมีที่มาอีกทอดหนึ่งจากภาษาอียิปต์ว่า "ฮิ-คุ-ปตาห์" (Hi-ku-ptah) ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองที.
ดู สันนิบาตอาหรับและประเทศอียิปต์
ประเทศคอโมโรส
อโมโรส (Comoros; جزر القمر; Comores) หรือชื่อทางการว่า สหภาพคอโมโรส (Union of the Comoros; คอโมโรส: Udzima wa Komori; الاتحاد القمري; Union des Comores) เป็นประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย ตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกา บริเวณจุดเหนือสุดของช่องแคบโมซัมบิก ระหว่างทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศมาดากัสการ์และทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศโมซัมบิก ประเทศอื่นๆ ที่อยู่ใกล้กับคอโมโรสคือประเทศแทนซาเนียที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือและประเทศเซเชลส์ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีเมืองหลวงคือ โมโรนี บนเกาะกร็องด์กอมอร์ ภาษาราชการมี 3 ภาษาคือ อาหรับ คอโมโรส และฝรั่งเศส ศาสนาของประชากรส่วนใหญ่คือศาสนาอิสลาม ด้วยเนื้อที่เพียง 1,660 ตารางกิโลเมตร (640 ตารางไมล์) (ไม่รวมเกาะมายอตที่ยังมีปัญหากันอยู่) ทำให้คอโมโรสเป็นประเทศที่เล็กที่สุดเป็นอันดับ 3 ในทวีปแอฟริกา โดยมีประชากรทั้งหมดประมาณ 798,000 คน (ไม่รวมมายอต) ในฐานะที่เป็นประเทศที่เกิดขึ้นจากอารยธรรมที่แตกต่างกัน ทำให้หมู่เกาะนี้มีชื่อเสียงในด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่หลากหลาย ผู้ตั้งรกรากบนเกาะนี้เป็นกลุ่มแรกๆ คือ กลุ่มคนที่พูดภาษาบันตู จากแอฟริกาตะวันออก พร้อมด้วยชาวอาหรับและการอพยพเข้ามาของชาวออสโตรนีเชียน หมู่เกาะคอโมโรสประกอบไปด้วย 3 เกาะใหญ่และหมู่เกาะเล็ก ๆ อีกมากมายซึ่งตั้งอยู่บนหมู่เกาะภูเขาไฟคอโมโรส เกาะที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในชื่อฝรั่งเศสของพวกเขา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือสุด คือ เกาะกร็องด์กอมอร์หรืออึงกาซีจา มอเอลีหรืออึมวาลี อ็องฌูอ็องหรืออึนซวานี นอกจากนี้ประเทศยังอ้างสิทธิเหนือเกาะอีกแห่งที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้สุดคือเกาะมายอตหรือมาโอเร ถึงแม้ว่าเกาะมายอตจะมีการประกาศอิสรภาพจากฝรั่งเศสแล้วตั้งแต่ปี 2517 แต่ก็ไม่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลคอโมโรสและยังคงถูกปกครองโดยฝรั่งเศสต่อไป (ในฐานะดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศส) ฝรั่งเศสได้คัดค้านมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติทียืนยันอธิปไตยของคอโมโรสเหนือเกาะนี้The first UN General Assembly Resolution regarding the matter, " (PDF)", United Nations General Assembly Resolution A/RES/31/4, (21 October 1976) states "the occupation by France of the Comorian island of Mayotte constitutes a flagrant encroachment on the national unity of the Comorian State, a Member of the United Nations," rejecting the French-administered referendums and condemning French presence in Mayotte.
ดู สันนิบาตอาหรับและประเทศคอโมโรส
ประเทศซีเรีย
ประเทศซีเรีย (Syria; سورية ซูริยา) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย (Syrian Arab Republic; الجمهورية العربية السورية) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศตะวันตกจดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทิศตะวันออกจดประเทศอิรัก ทิศใต้จดประเทศจอร์แดน และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศอิสราเอล กรุงดามัสกัส เมืองหลวง เป็นนครที่มีผู้อยู่อาศัยต่อเนื่องที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประเทศซีเรียเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ภูเขาสูงและทะเลทราย มีประชากรกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาหลากหลาย ส่วนมากเป็นชาวอาหรับ ซึ่งรวมอลาวียะห์ ดรูซ มุสลิมซุนนีย์และคริสต์ศาสนิกชน กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ได้แก่ ชาวอาร์มีเนีย อัสซีเรีย เคิร์ดและเติร์ก ชาวอาหรับซุนนีย์เป็นกลุ่มประชากรใหญ่ที่สุดในประเทศซีเรีย ในภาษาอังกฤษ เดิมชื่อ "ซีเรีย" สมนัยกับเลแวนต์ (ภาษาอาหรับว่า al-Sham) ขณะที่รัฐสมัยใหม่ครอบคลุมที่ตั้งของราชอาณาจักรและจักรวรรดิโบราณหลายแห่ง รวมถึงอารยธรรมเอบลา (Ebla) ในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ในสมัยอิสลาม ดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ และเมืองเอกในรัฐสุลต่านมัมลุกในอียิปต์ รัฐซีเรียสมัยใหม่สถาปนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยเป็นอาณาเขตในอาณัติของฝรั่งเศส และเป็นรัฐอาหรับใหญ่ที่สุดที่กำเนิดขึ้นจากเลแวนต์อาหรับที่เดิมออตโตมันปกครอง ประเทศซีเรียได้รับเอกราชในเดือนเมษายน 2489 เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา สมัยหลังได้รับเอกราชมีความวุ่นวาย และกลุ่มรัฐประหารและความพยายามรัฐประหารสะเทือนประเทศในสมัยปี 2492–2514 ระหว่างปี 2501 ถึง 2504 ประเทศซีเรียเข้าร่วมสหภาพช่วงสั้น ๆ กับอียิปต์ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยรัฐประหาร ประเทศซีเรียอยู่ภายใต้กฎหมายฉุกเฉินระหว่างปี 2506 ถึง 2554 ระงับการคุ้มครองพลเมืองส่วนใหญ่ของรัฐธรรมนูญอย่างชะงัด และระบบรัฐบาลถูกพิจารณาว่าไม่เป็นประชาธิปไตย บัชชาร อัลอะซัดเป็นประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2543 สืบทอดจากฮาเฟซ อัลอะซัด บิดา ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2513 ถึง 2543 ประเทศซีเรียเป็นสมาชิกสหประชาชาติและขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ปัจจุบันถูกระงับสมาชิกภาพจากสันนิบาตอาหรับและองค์การความร่วมมืออิสลาม และระงับตนเองจากสหภาพเพื่อเมดิเตอร์เรเนียน นับแต่เดือนมีนาคม 2554 ประเทศซีเรียเกิดสงครามกลางเมืองในห้วงการก่อการกำเริบ (ถือว่าเป็นผลขยายของอาหรับสปริง) ต่ออะซัดและรัฐบาลพรรคบะอัธ กลุ่มต่อต้านตั้งรัฐบาลทางเลือกขึ้น คือ แนวร่วมแห่งชาติซีเรีย (Syrian National Coalition) ในเดือนมีนาคม 2555 ต่อมา ผู้แทนรัฐบาลนี้ได้รับเชิญให้แทนที่ประเทศซีเรียในสันนิบาตอาหรั.
ดู สันนิบาตอาหรับและประเทศซีเรีย
ประเทศโมร็อกโก
มร็อกโก (ชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรโมร็อกโก, เป็นรัฐเดี่ยวและรัฐเอกราชที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคมาเกร็บในแอฟริกาเหนือ เป็นหนึ่งในถิ่นกำเนินชนเบอร์เบอร์ ในทางภูมิศาสตร์โมร็อกโกมีเทือกเขาหินขรุขระตรงกลาง มีทะเลทรายขนาดใหญ่และมีชายฝั่งยาวมาตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติกจนถึงทะเลเมดิเตอเรเนียน โมร็อกโกมีพื้นที่ประมาณ 710,850 ตารางกิโลเมตรและประชากรกว่า 33.8 ล้านคน เมืองหลวงชื่อราบัตและมีเมืองใหญ่สุดชื่อกาซาบล็องกา นอกจากนี้ยังมีเมืองสำคัญอื่น ๆ อีกอาทิมาร์ราคิช แทงเจียร์ ซาเล่ห์ แฟ็ส แม็กแน็สและ วัจด้า ในทางประวัติศาสตร์โมร็อกโกเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคมีความเป็นอิสระและไม่ได้ถูกยุ่งเกียวหรือรุกรานโดยเพื่อนบ้านตั้งแต่สุลต่าน โมเลย์ อิดริส ที่ 1ก่อตั้งรัฐโมร็อกโกครั้งแรกใน พ.ศ.
ดู สันนิบาตอาหรับและประเทศโมร็อกโก
ประเทศเวเนซุเอลา
ประเทศเวเนซุเอลา (เบ-เน-ซเว-ลา) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐโบลีวาร์แห่งเวเนซุเอลา (Bolivarian Republic of Venezuela, República Bolivariana de Venezuela) เป็นประเทศบนชายฝั่งทางเหนือของทวีปอเมริกาใต้ มีอาณาเขตจรดประเทศโคลอมเบียทางทิศตะวันตก จรดบราซิลทางทิศใต้ และจรดกายอานาทางทิศตะวันออก เวเนซุเอลามีดินแดนราว 916,445 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรโดยประมาณ 29,105,632 คน เวเนซุเอลาถูกพิจารณาว่าเป็นรัฐที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงอย่างยิ่ง โดยถิ่นที่อยู่มีตั้งแต่เทือกเขาแอนดีสทางตะวันตกไปถึงป่าฝนแอ่งแอมะซอนทางใต้ ผ่านที่ราบยาโนสอันกว้างใหญ่และชายฝั่งแคริบเบียนในตอนกลางและสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอรีโนโกทางตะวันออก เวเนซุเอลาเป็นสหพันธรัฐที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ประกอบด้วย 23 รัฐ, แคปิทอลดิสตริกท์ (Capital District) ซึ่งมีกรุงการากัส และเฟเดอรัลดีเพนเดนซี (Federal Dependency) ซึ่งประกอบด้วยหมู่เกาะนอกชายฝั่งเวเนซุเอลา เวเนซุเอลาอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนทั้งหมดของกายอานาที่อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเอสกวีโบ ซึ่งผืนดิน 159,500 ตารางกิโลเมตรนี้ถูกตั้งฉายาว่า กายอานาเอสกวีบา หรือ "เขตที่ถูกเรียกร้องคืน" เวเนซุเอลาเป็นหนึ่งในประเทศที่กลายเป็นเมืองที่สุดในละตินอเมริกา ชาวเวเนซุเอลาส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในนครทางเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรุงการากัส เมืองหลวงของประเทศ ซึ่งเป็นนครใหญ่สุดเช่นกัน นับแต่การค้นพบน้ำมันในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เวเนเซุเอลากลายเป็นหนึ่งในประเทศผู้ส่งออกน้ำมันของโลก และมีน้ำมันสำรองใหญ่ที่สุด จากเดิมที่เวเนซุเอลาเป็นประเทศด้อยพัฒนาที่ส่งออกโภคภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น กาแฟและโกโก้ แต่น้ำมันขึ้นมาครองการส่งออกและรายได้ภาครัฐอย่างรวดเร็ว ปริมาณน้ำมันที่มากเกินความต้องการในคริสต์ทศวรรษ 1980 นำไปสู่วิกฤตหนี้สินภายนอกและวิกฤตเศรษฐกิจอันยาวนาน ซึ่งเงินเฟ้อแตะ 100% ในปี 2539 และอัตราความยากจนพุ่งแตะ 66% ในปี 2538 โดยที่ในปี 2541 จีดีพีต่อหัวร่วงลงอยู่ระดับเดียวกับปี 2506 หรือลดลงหนึ่งในสามจากจุดสูงสุดในปี 2521 การฟื้นตัวของราคาน้ำมันหลังปี 2544 กระตุ้นเศรษฐกิจเวเนซูเอลาและอำนวยการบริโภคทางสังคม แม้ผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลกปี 2551 จะทำให้เกิดเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหม่ อย่างไรก็ดี จนถึงปี 2553 เศรษฐกิจเวเนซูเอลากลับมาเติบโตอีกครั้ง เวเนซุเอลายังได้อ้างว่าตนตั้งอยู่ในตะวันออกกลางและสันนิบาตอาหรั.
ดู สันนิบาตอาหรับและประเทศเวเนซุเอลา
ประเทศเซาท์ซูดาน
ซาท์ซูดาน (South Sudan) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐเซาท์ซูดาน (Republic of South Sudan) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออก เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดมีชื่อว่า จูบา ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐอิเควทอเรียลกลางที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศ เซาท์ซูดานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ทางตะวันออกมีอาณาเขตติดต่อกับเอธิโอเปีย ทางใต้ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ทางตะวันตกติดต่อกับสาธารณรัฐแอฟริกากลาง และทางเหนือติดต่อกับซูดาน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นบึงตมซึ่งเกิดขึ้นจากแม่น้ำไนล์ขาว หลังจากซูดานได้รับเอกราชเมื่อปี..
ดู สันนิบาตอาหรับและประเทศเซาท์ซูดาน
ปาเลสไตน์ (แก้ความกำกวม)
ปาเลสไตน์ เป็นภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ในตะวันออกกลาง อาจหมายถึง.
ดู สันนิบาตอาหรับและปาเลสไตน์ (แก้ความกำกวม)
โลกอาหรับ
แผนที่โลกอาหรับ โดยอิงนิยามดินแดนมาตรฐานของโลกอาหรับซึ่งประกอบด้วยรัฐและดินแดนอันเป็นสมาชิกสันนิบาตอาหรับ โลกอาหรับ หมายถึง รัฐ ดินแดนและประชากรที่พูดภาษาอาหรับในแอฟริกาเหนือ เอเชียตะวันตกและที่อื่นใดFrishkopf: 61: "No universally accepted definition of 'the Arab world' exists, but it is generally assumed to include the twenty-two countries belonging to the Arab League that have a combined population of about 280 million (Seib 2005, 604).
เวสเทิร์นสะฮารา
วสเทิร์นสะฮารา (Western Sahara; الصحراء الغربية; เบอร์เบอร์: Taneẓroft Tutrimt; Sáhara Occidental) เป็นดินแดนที่มีข้อพิพาทและถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของโมร็อกโกในภูมิภาคมาเกร็บ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา ทิศเหนือติดกับประเทศโมร็อกโก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศแอลจีเรีย ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับประเทศมอริเตเนีย ส่วนทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแอตแลนติก มีพื้นที่ประมาณ 266,000 ตารางกิโลเมตร (103,000 ตารางไมล์) เป็นหนึ่งในดินแดนที่มีประชากรเบาบางที่สุดในโลก เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบทะเลทราย มีประชากรประมาณ 500,000 คน เกือบร้อยละ 40 อาศัยอยู่ที่เอลอายูน ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเวสเทิร์นสะฮารา เวสเทิร์นสะฮาราถูกสเปนปกครองจนถึงปลายคริสตศวรรษที่ 20 หลังจากนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งในรายชื่อดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเองของสหประชาชาติตั้งแต่ปี 2506 เป็นต้นมา ซึ่งเกิดจากข้อเรียกร้องของโมร็อกโก เป็นดินแดนที่มีประชากรและพื้นที่มากที่สุดที่อยู่ในรายชื่อนี้ ในปี 2508 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้มีมติครั้งแรกเกี่ยวกับเวสเทิร์นสะฮารา ในการขอให้สเปนให้เอกราชแก่ดินแดนนี้ หนึ่งปีต่อมามติใหม่ได้รับการรับรองจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเพื่อขอให้มีการลงประชามติโดยสเปนเกี่ยวกับการตัดสินใจด้วยตนเอง ในปี 2518 สเปนได้ยกเลิกการบริหารจัดการดินแดนนี้ไปสู่การจัดการบริหารร่วมโดยโมร็อกโก (ซึ่งได้เรียกร้องสิทธิเหนือดินแดนนี้มาตั้งแต่ปี 2500)และมอริเตเนีย สงครามปะทุขึ้นระหว่างประเทศเหล่านี้กับขบวนการชาตินิยมซาห์ราวี แนวร่วมโปลีซารีโอซึ่งได้ประกาศให้ดินแดนนี้กลายเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีมีรัฐบาลพลัดถิ่นอยู่ในทินดูฟ แอลจีเรีย ต่อมา มอริเตเนียได้ถอนการอ้างสิทธิเหนือดินแดนในปี 2522 และในที่สุดโมร็อกโกก็ได้ควบคุมดินแดนส่วนใหญ่รวมทั้งเมืองสำคัญและทรัพยากรธรรมชาติ องค์การสหประชาชาติพิจารณาว่าแนวร่วมโปลีซารีโอเป็นตัวแทนที่ถูกต้องตามกฎหมายของชาวซาห์ราวีและยืนยันว่าชาวซาห์ราวีมีสิทธิในการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง ในปี 2560 ไม่มีรัฐสมาชิกสหประชาชาติใดให้การยอมรับอำนาจอธิปไตยของโมร็อกโกเหนือดินแดนเวสเทิร์นสะฮารา อย่างไรก็ตาม หลายประเทศได้แสดงการสนับสนุนต่อการรับรองในอนาคตเกี่ยวกับการผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโมร็อกโกในฐานะดินแดนปกครองตนเองของราชอาณาจักร กล่าวโดยสรุป การผนวกดินแดนยังไม่ได้รับความสนใจมากนักในประชาคมนานาชาติเนื่องจากมีกรณีพิพาทเรื่องของการผนวกดินแดนอื่นๆ อีก (เช่น การผนวกดินแดนของรัสเซียในคาบสมุทรไครเมีย) ตั้งแต่ที่สหประชาชาติผลักดันให้มีการทำข้อตกลงหยุดยิงในปี 2534 สองในสามของดินแดน(รวมถึงส่วนใหญ่ของชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก) ถูกปกครองโดยรัฐบาลโมร็อกโกซึ่งได้รับการสนับสนุนแบบลับๆ จากฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา ขณะที่ส่วนที่เหลือถูกปกครองโดยสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากแอลจีเรีย ในระดับนานาชาติ ประเทศต่างๆ เช่น รัสเซียอยู่ในฐานะที่คลุมเครือและเป็นกลางในการอ้างสิทธิของทั้ง 2 ฝ่าย แต่ก็ได้กดดันให้ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันในการแก้ปัญหาอย่างสันติ ทั้งโมร็อกโกและโปลีซาริโอต่างพยายามที่จะเพิ่มแรงสนับสนุนในการรับรองดินแดนอย่างเป็นทางการจากชาติต่าง ๆ โดยเฉพาะชาติจากแอฟริกา เอเชีย และลาตินอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา แนวร่วมโปลีซาริโอได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการสำหรับการจัดตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีจาก 37 ประเทศ และยังเป็นสมาชิกของสหภาพแอฟริกาต่อไป ขณะที่โมร็อกโกได้รับการยอมรับหรือสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศในแอฟริกาหลายแห่ง และส่วนใหญ่จากโลกมุสลิมและสันนิบาตอาหรับ ตลอดสองทศวรรษหลัง การยอมรับที่มีต่อทั้งสองฝ่ายขยายเพิ่มและถดถอยลงตามการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก.
ดู สันนิบาตอาหรับและเวสเทิร์นสะฮารา
เอกอัครสมณทูต
อาร์ชบิชอป โจวันนี ดานีเอลโล (Giovanni d’Aniello) อดีตเอกอัครสมณทูตวาติกันประจำประเทศไทย กัมพูชา พม่า และลาวhttp://haab.catholic.or.th/photo/ambassador/jovanne.html แต่งตั้งสมณทูตองค์ใหม่ เอกอัครสมณทูต (nuncio; apostolic nuncio) เรียกโดยย่อว่าพระสมณทูต.
ดู สันนิบาตอาหรับและเอกอัครสมณทูต
1 E+13 m²
1 E+13 m² เป็นอันดับของขนาดของสิ่งที่มีพื้นที่ระหว่าง 10 ล้าน ถึง 100 ล้านตารางกิโลเมตร ---- พื้นที่ขนาดน้อยกว่า 10 ล้านตารางกิโลเมตร ---- ทวีปยุโรป มีพื้นที่ประมาณ 10 ล้าน ตร.กม.
22 มีนาคม
วันที่ 22 มีนาคม เป็นวันที่ 81 ของปี (วันที่ 82 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 284 วันในปีนั้น.