โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สันตะสำนัก

ดัชนี สันตะสำนัก

ม่มีความสัมพันธ์ สันตะสำนักราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 251(Holy See) หรือที่บางตำราเรียกว่า อาณาจักรอันศักดิ์สิทธิ์ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 753 คือมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในกรุงโรม และเนื่องจากกรุงโรมมีความสำคัญที่สุดในคริสตจักรโรมันคาทอลิก บิชอปแห่งโรมจึงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาอันเป็นตำแหน่งประมุขของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั้งหมดด้วย สันตะสำนักเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลางของคริสตจักรโรมันคาทอลิก ฉะนั้นเมื่อกล่าวถึง “สันตะสำนัก” จึงหมายถึงองค์กรบริหารส่วนกลางของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั้งหมด และเป็นอาณาจักรทางศาสนาที่เป็นที่ยอมรับตามกฎหมายนานาชาติว่าเป็นรัฐอิสระที่มีประมุขเป็นพระสันตะปาปาและสถาปนาความสัมพันธ์ทางทูตกับประเทศอื่นได้ สันตะสำนักแบ่งการบริหารออกเป็น 4 ระดับ ได้แก.

74 ความสัมพันธ์: บัมแบร์คบุญเกิด กฤษบำรุงพระสันตะปาปาพระคาร์ดินัลพระนางมารีย์พรหมจารีพอล นิวแมนการตัดขาดจากศาสนาการประกาศเป็นนักบุญการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนการเลิกกีดกันชาวคาทอลิกมหาวิหารมะนิลามหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเรมหาวิหารนักบุญเปโตรมุขนายกเกียรตินามมงกุฎพระสันตะปาปารัฐสันตะปาปารัฐผู้คัดเลือกไมนซ์ราชวงศ์หยวนราชอาณาจักรอิตาลีราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญรายชื่อประเทศที่ไม่มีท่าอากาศยานรายชื่อประเทศตามจำนวนประชากร (สหประชาชาติ)รายชื่อประเทศในภาษาต่าง ๆ (D–I)รายชื่อแหล่งมรดกโลกในยุโรปใต้รายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศอิตาลีรายชื่อแหล่งมรดกโลกในนครรัฐวาติกันวัดพระแม่สกลสงเคราะห์ศาสนาคริสต์ศีลศักดิ์สิทธิ์สภาปกครองโรมันสภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทยสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16สมเด็จพระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 6สรรพเทวนิยมสังคายนาวาติกันครั้งที่สองสังฆมณฑล (แก้ความกำกวม)สงครามครูเสดลิโวเนียสนธิสัญญาลาเตรันหน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติอัรบะอีนอัครบิดรอัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรันอัครมุขนายกอารามอันเดชส์อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีอุษา นารายณันอูว์นีดรัวองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลกฌูล มาซาแร็ง...ผู้อ้างตนเป็นพระสันตะปาปาฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัวจอร์จ ดยุกแห่งโฮเฮนเบิร์กข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 67/19คริสตจักรกรุงโรมคริสตจักรละตินคณะพระมหาไถ่คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสคณะผู้แทนทางทูตคณะคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้าคณะนักบวชคาทอลิกปียัซซาดีสปัญญานักบุญคริสโตเฟอร์นิกายในศาสนาคริสต์นครรัฐวาติกันโรมันคาทอลิกในประเทศไทยไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์เอกอัครราชทูตเอกอัครสมณทูตเจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามีเขตผู้แทนพระสันตะปาปาเตแรซแห่งลีซีเยอเตเรซาแห่งอาบีลา.va ขยายดัชนี (24 มากกว่า) »

บัมแบร์ค

ัมแบร์ค (Bamberg) เป็นเมืองในแคว้นบาวาเรียในประเทศเยอรมนีที่ตั้งอยู่ในอัปเปอร์ฟรังโกเนียบนฝั่งแม่น้ำเรกนิทซ์ไม่ไกลจากจุดที่บรรจบกับแม่น้ำไมน์ บัมแบร์คเป็นเมืองเพียงไม่กี่เมืองในประเทศเยอรมนีที่มิได้ถูกทำลายโดยลูกระเบิดในสงครามโลกครั้งที่ 2 บัมแบร์คเป็นที่พำนักของชาวต่างประเทศเกือบ 7,000 คนรวมทั้งกว่า 4,100 คนที่เป็นทหารจากสหรัฐอเมริกา ชื่อเมือง “บัมแบร์ค” เชื่อว่ามีที่มาจากตระกูลบาเบนแบร์ก.

ใหม่!!: สันตะสำนักและบัมแบร์ค · ดูเพิ่มเติม »

บุญเกิด กฤษบำรุง

ญราศีนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง (31 มกราคม พ.ศ. 2438 – 12 มกราคม พ.ศ. 2487) เป็นบาทหลวงชาวนครปฐม สังกัดมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ เมื่อรับศีลอนุกรมเป็นบาทหลวงแล้วได้ทำงานแพร่ธรรมในหลายจังหวัด จนกระทั่งเกิดกรณีพิพาทอินโดจีนขึ้น บาทหลวงบุญเกิดถูกตำรวจจับในข้อหา "กบฏภายนอกราชอาณาจักร" ศาลตัดสินให้จำคุก 15 ปีที่เรือนจำกลางบางขวาง และถึงแก่กรรมด้วยวัณโรคหลังจากติดคุกได้ 3 ปี บาทหลวงบุญเกิดได้รับยกย่องจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกว่าเป็นมรณสักขี และได้รับการประกาศเป็นบุญราศีเมื่อวันที่ 5 มีนาคม..

ใหม่!!: สันตะสำนักและบุญเกิด กฤษบำรุง · ดูเพิ่มเติม »

พระสันตะปาปา

หลุมฝังพระศพพระสันตะปาปาในมหาวิหารนักบุญเปโตร พระสันตะปาปา (Santo Papa; Pope) หมายถึง มุขนายกแห่งคริสตจักรกรุงโรม (Bishop of the Church of Rome) และผู้นำคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลก คริสตจักรนี้ถือว่าพระสันตะปาปาเป็นผู้สืบตำแหน่งจากนักบุญซีโมนเปโตรอัครทูตของพระเยซู สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเป็นพระสันตะปาปาพระองค์ปัจจุบันตามการประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาในวันที่ 13 มีนาคม..

ใหม่!!: สันตะสำนักและพระสันตะปาปา · ดูเพิ่มเติม »

พระคาร์ดินัล

ตราประจำสมณศักดิ์พระคาร์ดินัล คาร์ดินัล (Cardinal) เป็นสมณศักดิ์ชั้นสูง รองจากพระสันตะปาปา ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาพระสันตะปาปา ในการปกครองคริสตจักรโรมันคาทอลิก ตำแหน่งนี้อาจเทียบเท่ากับสมเด็จพระราชาคณะในศาสนาพุทธ หรือสมาชิกวุฒิสภาในทางโลก ในสมัยก่อนตำแหน่งคาร์ดินัลมักเป็นฆราวาส แต่นับตั้งแต่ตราประมวลกฎหมายพระศาสนจักรฉบับล่าสุด (ค.ศ. 1917–83) เฉพาะบาทหลวงและมุขนายกเท่านั้นที่มีสิทธิ์เป็นพระคาร์ดินัลได้ หน้าที่พิเศษอย่างหนึ่งของพระคาร์ดินัลคือ เข้าร่วมการประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาองค์ใหม่ แทนตำแหน่งที่ว่างลง และตนเองก็มีสิทธิ์ได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปาด้วย พระคาร์ดินัลอาจมีตำแหน่งมุขนายกหรือเป็นหัวหน้าปกครองคณะบาทหลวง คณะนักบวชคาทอลิกชาย-หญิง และคริสต์ศาสนิกชนฆราวาส ในมุขมณฑลที่ท่านปกครองด้ว.

ใหม่!!: สันตะสำนักและพระคาร์ดินัล · ดูเพิ่มเติม »

พระนางมารีย์พรหมจารี

ริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกเรียกนางมารีย์ (มารดาพระเยซู) ว่า พระนางมารีย์พรหมจารี (the Blessed Virgin Mary) เพราะเชื่อว่าพระแม่มารีย์เป็นพรหมจารีเสมอ และพระเยซูซึ่งเชื่อว่าเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้าก็มารับสภาพมนุษย์ผ่านทางครรภ์ของพระแม่มารีย์ จึงทำให้พระแม่มารีย์มีสถานะเป็น "พระมารดาพระเจ้า" ด้วย คริสตจักรโรมันคาทอลิกได้รับรองความเชื่อนี้มาตั้งแต่สังคายนาเอเฟซัสครั้งที่หนึ่ง ในปี..

ใหม่!!: สันตะสำนักและพระนางมารีย์พรหมจารี · ดูเพิ่มเติม »

พอล นิวแมน

อล นิวแมน (26 มกราคม ค.ศ. 1925 - 26 กันยายน ค.ศ. 2008) เป็นนักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์ และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง เคยได้รับรางวัลออสการ์ รางวัลบาฟต้า รางวัลการแสดง และรางวัลเกียรติยศอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังเป็นนักแข่งรถ เคยเข้าร่วมแข่งขันรถทางไกล เลอมังส์ 24 ชั่วโมง ได้ตำแหน่งที่สอง ในปี..

ใหม่!!: สันตะสำนักและพอล นิวแมน · ดูเพิ่มเติม »

การตัดขาดจากศาสนา

การตัดขาดจากศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเททพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 204 (excommunication) คือการตำหนิโทษทางศาสนา เพื่อขับไล่บุคคลหนึ่งให้พ้นจากการเป็นสมาชิกของศาสนจักร คำว่า excommunication หมายถึง การไม่ร่วมสมานฉันท์ (communion).

ใหม่!!: สันตะสำนักและการตัดขาดจากศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

การประกาศเป็นนักบุญ

การประกาศเป็นนักบุญ (canonization) เป็นกระบวนการที่คริสตจักรต่าง ๆ เช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ และแองกลิคัน ใช้ดำเนินการเพื่อขึ้นทะเบียนคริสต์ศาสนิกชนผู้ล่วงลับให้เข้าในสารบบนักบุญ.

ใหม่!!: สันตะสำนักและการประกาศเป็นนักบุญ · ดูเพิ่มเติม »

การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชน

การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในจักรวรรดิโรมัน ในภาพคริสตชนสตรีถูกสังหารขณะที่จักรพรรดิเนโรชายพระเนตรมาดู การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชน (ศัพท์โรมันคาทอลิก) หรือ การข่มเหงคริสต์ศาสนิกชน (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Persecution of Christians) หมายถึงการเบียดเบียนศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนยุคแรกถูกเบียดเบียนทั้งจากชาวยิวและจักรวรรดิโรมันซึ่งปกครองดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอยู่ในขณะนั้น การเบียดเบียนครั้งนี้เกิดขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 จนมาสิ้นสุดตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 4 เมื่อจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 และจักรพรรดิลิซิเนียสทรงประกาศพระราชกฤษฎีกาแห่งมิลานเป็นการรับรองเสรีภาพทางศาสนาทั่วทั้งจักรวรรดิโรมัน จนต่อมาศาสนาคริสต์จึงกลายเป็นศาสนาประจำชาติจักรวรรดิโรมันอย่างเป็นทางการ มิชชันนารีและผู้เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ก็มักตกเป็นเป้าของการเบียดเบียน เป็นที่มาให้เกิดมรณสักขีในศาสนาคริสต์เป็นจำนวนมาก แม้แต่ระหว่างนิกายในศาสนาคริสต์เองก็ยังเบียดเบียนกันเพราะกล่าวหาคริสต์ศาสนิกชนนิกายอื่นว่าเป็นพวกนอกรีต เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่มีการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 คริสต์ศาสนิกชนยังคงถูกเบียดเบียนจากชาวมุสลิมและกลุ่มรัฐที่เป็นอเทวนิยม เช่น สหภาพโซเวียต ในปัจจุบัน (ค.ศ. 2012) กลุ่มโอเพนดอรส์ประเมินว่ามีคริสต์ศาสนิกชนราวหนึ่งร้อยล้านคนถูกเบียดเบียน โดยเฉพาะในประเทศมุสลิม เช่น ประเทศอิหร่าน ประเทศซาอุดิอาระเบีย และประเทศคอมมิวนิสต์ เช่น ประเทศเกาหลีเหนือ จากการศึกษาของสันตะสำนักพบว่าร้อยละ 75 ของผู้ที่ถูกฆ่าตายเพราะศาสนาเป็นคริสต์ศาสนิกชน.

ใหม่!!: สันตะสำนักและการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชน · ดูเพิ่มเติม »

การเลิกกีดกันชาวคาทอลิก

แสตมป์ออกในปี ค.ศ. 1929 ฉลองโอกาส “การปลดแอกคาทอลิก” โดยมีภาพเหมือนของแดเนียล โอคอนเนลล์ การเลิกกีดกันคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิก หรือการเลิกกีดกันชาวคาทอลิก (Catholic Emancipation; Catholic relief) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่เป็นการลดหรือการยกเลิกการจำกัดสิทธิของคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกในไอร์แลนด์ ที่เป็นผลมาจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติและกฎหมายของบริเตนในไอร์แลนด์ที่รวมทั้งพระราชบัญญัติสมานฉันท์, the พระราชบัญญัติทดสอบ และ ประมวลกฎหมายอาญาของไอร์แลนด์ ประมวลกฎหมายอาญาเป็นบทบัญญัติหลายฉบับที่บังคับใช้ในไอร์แลนด์ภายใต้การปกครองของบริเตน ที่มีวัตถุประสงค์ในการพยายามยุบเลิกอำนาจของฝ่ายเสียงข้างมากในไอร์แลนด์ผู้เป็นโรมันคาทอลิก การบังคับยกเลิกอำนาจทั้งทางโลกและทางธรรมของพระสันตะปาปาส่งผลกระทบกระเทือนต่อผู้ถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกในไอร์แลนด์เป็นอันมาก หลังจากการเสียชีวิตของเจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวตเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1766เป็นเวลา 70 ปีสถาบันพระสันตะปาปาก็ยอมรับราชวงศ์ฮาโนเวอร์ว่าเป็นราชวงศ์ที่ปกครองอังกฤษ, สกอตแลนด์ และ ไอร์แลนด์โดยถูกต้อง หลังจากนั้นกฎหมายอาญาก็เริ่มได้รับการยุบเลิก พระราชบัญญัติฉบับสำคัญที่สุดของการปลดแอกคาทอลิกคือ พระราชบัญญัติเพื่อการผ่อนปรนสิทธิของโรมันคาทอลิก..

ใหม่!!: สันตะสำนักและการเลิกกีดกันชาวคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารมะนิลา

มหาวิหารมะนิลา (Katedral ng Maynila, Manila Cathedral) มหาวิหารแห่งเมืองหลวงมะนิลา หรือที่รู้จักอย่างไม่เป็นทางการในชื่อมหาวิหารมะนิลาคือ มหาวิหารโรมันคาทอลิกที่ตั้งอยู่ในกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ อุทิศให้กับพระนางมารีย์พรหมจารี ในฐานะแม่พระปฏิสนธินิรมล ซึ่งเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์หลักของฟิลิปปินส์ มหาวิหารใช้งานในฐานะสันตะสำนักของอาร์ชบิชอปแห่งมะนิลา ซึ่งเป็นอาร์ชบิชอปโดยพฤตินัยของประเทศฟิลิปปินส์ มหาวิหารตั้งอยู่ที่ลานโรมในเขตอินตรามูโรส (Intramuros) ของกรุงมะนิลา แต่เดิมมหาวิหารคือโบสถ์ในเขตศาสนาซึ่งถูกบริหารในเขตการปกครองของบิชอปแห่งเม็กซิโกใน..

ใหม่!!: สันตะสำนักและมหาวิหารมะนิลา · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร

มหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร (Basilica di Santa Maria Maggiore) ในภาษาอังกฤษมักเรียกว่า St.

ใหม่!!: สันตะสำนักและมหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารนักบุญเปโตร

มหาวิหารนักบุญเปโตร (Basilica of Saint Peter, Basilica Sancti Petri) รู้จักกันโดยชาวอิตาลีว่า Basilica di San Pietro in Vaticano หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่าเซนต์ปีเตอร์สบาซิลิกา (Saint Peter's Basilica) เป็นมหาวิหารเอกหนึ่งในสี่แห่งในกรุงโรม นครรัฐวาติกัน (อีกสามมหาวิหาร คือ มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน มหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร และมหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพง).

ใหม่!!: สันตะสำนักและมหาวิหารนักบุญเปโตร · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายกเกียรตินาม

ันทบุรี เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายกเกียรตินาม มุขนายกเกียรตินาม (Titular bishop) หรือทับศัพท์ว่าทิทิวลาร์บิชอป ชาวไทยคาทอลิกเรียกว่าพระสังฆราชเกียรตินาม คือบาทหลวงที่ได้รับแต่งตั้งจากพระสันตะปาปาให้เป็นมุขนายก แต่ไม่มีมุขมณฑลปกครองเพราะมุขมณฑลที่ได้รับดูแลนั้นไม่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน.

ใหม่!!: สันตะสำนักและมุขนายกเกียรตินาม · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎพระสันตะปาปา

ตราของพระสันตะปาปาที่ใช้สัญลักษณ์มงกุฎพระสันตะปาปา ตราของนครรัฐวาติกันก็เป็นรูปแบบเดียวกันยกเว้นแต่เฉพาะตำแหน่งของกุญแจเงินกับกุญแจทองจะสลับที่กัน มงกุฎพระสันตะปาปา หรือ มงกุฎสามชั้น (Papal Tiara หรือ Triple Tiara, Triregnum, Trirègne, Trirègne) เป็นมงกุฎที่มีอัญมณีตกแต่งสามชั้นที่เป็นมงกุฎประจำตำแหน่งพระสันตะปาปา ที่ว่ากันว่ามีรากฐานมาจากสมัยไบแซนไทน์และเปอร์เซีย ตราอาร์มของพระสันตะปาปามีรูปมงกุฎมาตั้งแต่สมัยโบราณ พร้อมด้วยกุญแจนักบุญซีโมนเปโตร.

ใหม่!!: สันตะสำนักและมงกุฎพระสันตะปาปา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสันตะปาปา

รัฐสันตะปาปา (Papal States; Pontifical States; Stati Pontificii) หรือ รัฐคริสตจักร (State(s) of the Church; Stato Ecclesiastico; Stato della Chiesa; Stati della Chiesa') “รัฐสันตะปาปา” เป็นหนึ่งในรัฐทางประวัติศาสตร์ของอิตาลีตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 จนกระทั่งอิตาลีรวมตัวกันเป็นประเทศเดียวกันในปี ค.ศ. 1861 โดยการนำของราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย (หลังจากนั้นรัฐพระสันตะปาปาก็ยังมีอยู่จนปี ค.ศ. 1870) รัฐสันตะปาปาเป็นดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองโดยตรงของพระสันตะปาปา ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดมีอาณาบริเวณที่ครอบคลุมบริเวณประเทศอิตาลีสมัยใหม่ที่รวมทั้งโรมันยา, มาร์เก, อุมเบรีย และลาซีโอ อำนาจในการปกครองนี้เรียกว่า อำนาจการปกครองของพระสันตะปาปา (Temporal power) ที่ตรงข้ามกับอำนาจทางศาสนา “Papal States” มักจะเป็นคำที่นิยมมากกว่า ส่วน “Papal State” มักจะใช้กับนครรัฐวาติกันซึ่งเป็นอาณาบริเวณภายในตัวกรุงโรม นครรัฐวาติกันก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: สันตะสำนักและรัฐสันตะปาปา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐผู้คัดเลือกไมนซ์

ราชรัฐอัครมุขนายกไมนซ์ (Archbishopric of Mainz, Erzbistum Mainz) หรือรัฐผู้คัดเลือกไมนซ์ (Electorate of Mainz, Kurfürstentum Mainz หรือ Kurmainz) เป็นราชรัฐอัครมุขนายกที่สำคัญในคริสตจักรและเป็นเขตปกครองทางการเมืองของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ระหว่างปี..

ใหม่!!: สันตะสำนักและรัฐผู้คัดเลือกไมนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์หยวน

ตแดนของจักรวรรดิจีนสมัยราชวงศ์หยวน เครื่องปั้นดินเผา สมัยราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หยวน (หยวนเฉา) (พ.ศ. 1814 - 1911) คือหนึ่งในราชวงศ์ของจักรวรรดิจีน ก่อตั้งขึ้นเมื่อกุบไลข่านผู้นำเผ่าชาวมองโกล ได้โค่นอำนาจราชวงศ์ซ่งลง แล้วเปิดศักราชชาวมองโกลครองประเทศจีน ชาวมองโกลได้เข้ายึดครองภาคเหนือของจีนเป็นเวลากว่าทศวรรษ ได้มีความพยายามเปลี่ยนเป็นจีน ตั้งแต่สมัย มองเกอ ข่าน พระเชษฐาของกุบไลข่าน แต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งในสมัยของกุบไลข่าน ในปี..

ใหม่!!: สันตะสำนักและราชวงศ์หยวน · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอิตาลี

ราชอาณาจักรอิตาลี (Regno d'Italia) เป็นราชอาณาจักรบนคาบสมุทรอิตาลี ซึ่งได้มีการสถาปนาขึ้นใน ค.ศ. 1861 จากการรวมตัวกันของรัฐอิตาลีหลาย ๆ รัฐภายใต้การนำของราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย และดำรงอยู่ตราบจนถึงปี ค.ศ. 1946 เมื่อประชาชนชาวอิตาลีได้มีการลงประชามติให้มีการเปลี่ยนผ่านการปกครองจากระบบราชอาณาจักรไปสู่ความเป็นสาธารณรัฐ อิตาลีได้ประกาศสงครามต่อออสเตรียในปี..

ใหม่!!: สันตะสำนักและราชอาณาจักรอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ"ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" เป็นศัพท์บัญญัติของ (constitutional monarchy) เป็นรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐโดยไม่ทรงมีบทบาททางการเมืองและทรงอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญไม่ว่าเป็นหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์อาจมีพระราชอำนาจโดยพระบารมีและรัฐบาลอาจดำเนินการในพระนาม แต่พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงกำหนดนโยบายสาธารณะหรือเลือกผู้นำทางการเมือง เวอร์นอน บอกดานอร์ (Vernon Bogdanor) นักรัฐศาสตร์ชาวอังกฤษ นิยามว่า ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ "องค์อธิปัตย์ที่ปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง" (a sovereign who reigns but does not rule), excerpted from การปกครองรูปแบบนี้ต่างจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์ทรงควบคุมการตัดสินใจทางการเมืองโดยไม่ทรงถูกรัฐธรรมนูญควบคุมเอาไว้ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บางทีเรียกว่า ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (limited monarchy) สาธารณรัฐอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (crowned republic) หรือราชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา (parliamentary monarchy) นอกจากเป็นศูนย์รวมใจของชนในชาติแล้ว ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญอาจมีพระราชอำนาจอย่างเป็นทางการ เช่น ยุบสภานิติบัญญัติ หรืออนุมัติกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นพระราชอำนาจทางพิธีการ มิใช่เป็นช่องให้พระมหากษัตริย์จัดการการเมืองได้โดยพลการ วอลเทอร์ แบกฮอต (Walter Bagehot) นักทฤษฎีการเมืองชาวอังกฤษ เขียนไว้ในหนังสือ ดิอิงลิชคอนสติติวชัน (The English Constitution) ว่า มีพระราชสิทธิ์สามประการเท่านั้นที่ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญทรงใช้ได้ตามพระทัย คือ แสวงหาคำปรึกษา ประทานคำปรึกษา และประทานคำตักเตือน ประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่โดดเด่น เช่น สหราชอาณาจักรและอดีตเมืองขึ้นทั้งสิบห้าซึ่งล้วนใช้การปกครองที่เรียกว่า "ระบบเวสมินสเตอร์" (Westminster system) ส่วนรัฐสามแห่ง คือ กัมพูชา มาเลเซีย และสันตะสำนัก ใช้ราชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง โดยให้อภิชนกลุ่มเล็ก ๆ เป็นคณะผู้เลือกตั้งองค์อธิปัตย์ขึ้นมาเป็นระยะ ๆ นับแต่เดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: สันตะสำนักและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อประเทศที่ไม่มีท่าอากาศยาน

รายชื่อประเทศที่ไม่มีท่าอากาศยาน นับจาก197 รัฐเอกราช มีเพียง 5 ประเทศที่ไม่มีท่าอากาศยานอยู่ภายในประเทศ ทุกประเทศอยู่ในทวีปยุโรป และแต่ละประเทศมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ และประเทศเหล่านี้ทั้งหมดยกเว้นโมนาโก ไม่มีทางออกสู่ทะเล.

ใหม่!!: สันตะสำนักและรายชื่อประเทศที่ไม่มีท่าอากาศยาน · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อประเทศตามจำนวนประชากร (สหประชาชาติ)

้านล่างนี้เป็นรายชื่อประเทศเรียงตามจำนวนประชากร ที่องค์การสหประชาชาติสำรวจไว้ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม..

ใหม่!!: สันตะสำนักและรายชื่อประเทศตามจำนวนประชากร (สหประชาชาติ) · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อประเทศในภาษาต่าง ๆ (D–I)

รายชื่อประเทศในภาษาต่างๆ ประเทศส่วนใหญ่ของโลกมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปในแต่ละภาษาที่แตกต่างกัน บางประเทศยังได้เกิดการเปลี่ยนแปลงชื่อด้วยเหตุผลทางการเมืองหรืออื่น ๆ บทความนี้พยายามที่จะให้ทางเลือกชื่อทั้งหมดที่รู้จักกันสำหรับทุกประเทศและรัฐอธิปไตย บทความในหมวดหมู่นี้.

ใหม่!!: สันตะสำนักและรายชื่อประเทศในภาษาต่าง ๆ (D–I) · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อแหล่งมรดกโลกในยุโรปใต้

รปใต้.

ใหม่!!: สันตะสำนักและรายชื่อแหล่งมรดกโลกในยุโรปใต้ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศอิตาลี

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกของประเทศอิตาลีทั้งสิ้น 53 แหล่ง เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม 48 แห่ง และมรดกโลกทางธรรมชาติอีก 5 แห่ง.

ใหม่!!: สันตะสำนักและรายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อแหล่งมรดกโลกในนครรัฐวาติกัน

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกของนครรัฐวาติกันทั้งสิ้น 2 แหล่ง เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมทั้ง 2 แหล่ง.

ใหม่!!: สันตะสำนักและรายชื่อแหล่งมรดกโลกในนครรัฐวาติกัน · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระแม่สกลสงเคราะห์

วัดพระแม่สกลสงเคราะห์ (Beata Maria Virginis Omnis Gratiae Mediatricis; The Blessed Virgin Mary The Mediatrix of all Graces Church) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิก ขนาดใหญ่ที่สุดในเขตอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 179 หมู่ 5 ตำบลโสนลอย บนที่ดินบริเวณหลังตลาดสดเทศบาลเมืองบางบัวทอง ริมคลองขุนพระพิมลราชา ใกล้กับถนนกาญจนาภิเษก มีพิธีเสกวัดเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1927 (พ.ศ. 2470) โดยมีการจัดสร้างอาคารวัดขึ้นใหม่อีก 2 ครั้ง ในรอบ 65 ปี ทั้งนี้ วัดพระแม่สกลสงเคราะห์หลังปัจจุบัน มีพิธีเสกเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535) ปัจจุบัน (ตั้งแต่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2009) มีคุณพ่อยอห์น บัปติสตา บุญเสริม เนื่องพลี ดำรงตำแหน่งอธิการ.

ใหม่!!: สันตะสำนักและวัดพระแม่สกลสงเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: สันตะสำนักและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ศีลศักดิ์สิทธิ์

''7 ศีลศักดิ์สิทธิ์'' (''The Seven Sacraments'') โดย โรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน, ราว ค.ศ. 1448 ศีลศักดิ์สิทธิ์ เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ (Sacraments) ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก เป็นเครื่องหมายภายนอกที่แสดงว่าผู้รับศีลศักดิ์สิทธิ์นั้นเป็นคริสต์ศาสนิกชน.

ใหม่!!: สันตะสำนักและศีลศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

สภาปกครองโรมัน

ตราอาร์มของสันตะสำนัก สภาปกครองโรมันราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 405 (Curia Romana กูเรียโรมานา) เป็นองค์การปกครองของสันตะสำนัก ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารงานในคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั้งหมดร่วมกับพระสันตะปาปา คำว่า กูเรีย ในภาษาละตินแปลว่า ราชสำนัก ดังนั้น กูเรียโรมานา จึงแปลตามตัวอักษรว่า ราชสำนักโรม ซึ่งหมายถึงสำนักสันตะปาปา และมีหน้าที่ช่วยเหลือพระสันตะปาปาในการบริหารปกครองศาสนจักร จึงมีลักษณะคล้ายกับรัฐบาลในฝ่ายอาณาจักร และมีสมณะกระทรวงทำหน้าที่คล้ายกระทรวง สภาปกครองโรมันประกอบด้วยองค์กรในระดับต่าง ๆ ดังนี้;สำนักเลขาธิการแห่งรัฐวาติกัน สำนักเลขาธิการแห่งรัฐวาติกัน (The Secretariat of State) เป็นองค์กรที่เก่าแก่ที่สุดในสภาปกครองโรมัน ก่อตั้งมาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถือเป็นรัฐบาลของคริสตจักรโรมันคาทอลิก มีพระคาร์ดินัลเลขาธิการแห่งรัฐเป็นหัวหน้า มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับบทบาททางการเมืองและการทูตของสันตะสำนัก;สมณะกระทรวง สมณะกระทรวง (Congregations) เป็นองค์การปกครองส่วนกลางของคริสตจักรโรมันคาทอลิก มีสมณมนตรีซึ่งล้วนแต่มีสมณศักดิ์เป็นพระคาร์ดินัลเป็นหัวหน้า;ศาลชำนัญพิเศษ ศาลชำนัญพิเศษ (Tribunals) ของสันตะสำนักประกอบด้วย สมณทัณฑสถาน โรมันโรตา และศาลชำนัญพิเศษสูงสุดแห่งพระสมณนาม;สมณะทบวง สมณะทบวง (Pontifical Councils) คือกลุ่มตัวแทน ซึ่งรวมเป็นองค์กรขนาดกลางช่วยเหลือพระสันตะปาปาในการจัดการด้านต่าง ๆ แต่ละสมณะทบวงมีพระคาร์ดินัลหรืออัครมุขนายกเป็นประธาน;สมัชชามุขนายก สมัชชามุขนายก (Synod of Bishops) ก่อตั้งขึ้นสมัยสังคายนาวาติกันครั้งที่สอง ถือเป็นคณะที่ปรึกษาของพระสันตะปาปาในการตัดสินใจ สมาชิกของสมัชชาคัดเลือกมาจากมุขนายกจากภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก โดยมีพระสันตะปาปาดำรงตำแหน่งประธานสมัชชา;สำนักงาน สำนักงาน (Offices) มีอยู่ 3 สำนักงาน ทำหน้าที่ดูแลการเงินและทรัพย์สินของศาสนจักร;สมณะกรรมาธิการ สมณะกรรมาธิการ (Pontifical Commissions) คือคณะกรรมาธิการที่พระสันตะปาปาทรงแต่งตั้งขึ้นจากชาวคาทอลิกผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน;องครักษ์สวิส องครักษ์สวิส (Swiss Guard) เป็นทหารชาวสวิสที่ทำนหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้กับพระสันตะปาปาและศาสนพิธีต่าง ๆ;สำนักงานแรงงานแห่งสันตะสำนัก สำนักงานแรงงานแห่งสันตะสำนัก (Labour Office of the Apostolic See) เป็นหน่วยงานที่สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ทรงตั้งขึ้น มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องแรงงานสัมพันธ์ระหว่างสันตะสำนักกับเหล่าลูกจ้าง;สมณบัณฑิตยสถาน สมณบัณฑิตยสถาน (Pontifical Academies) เป็นสมาคมผู้คงแก่เรียนที่ก่อตั้งโดยสันตะสำนัก ปัจจุบันมีสมณบัณฑิตยสถานอยู่ทั้งสิ้น 11 แห่ง ตั้งอยู่ภายในนครรัฐวาติกัน กรุงโรม.

ใหม่!!: สันตะสำนักและสภาปกครองโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย

ประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทยกรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6 คริสตชนคาทอลิกในประเทศไทยเรียก สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย (The Catholic Bishops' Conference of Thailand) เป็นองค์การปกครองสูงสุดของคริสตจักรโรมันคาทอลิกในประเทศไทย ประกอบด้วยมุขนายกชาวไทยซึ่งเป็นประมุขเขตมิสซังต่าง ๆ ทั่วประเทศไทยทั้งสิบมิสซัง ปัจจุบัน สำนักงานเลขาธิการสภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่เลขที่ 122/6-7 ซอยนาคสุวรรณ ถนนนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: สันตะสำนักและสภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส

มเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส (Francis; Franciscus) เป็นพระสันตะปาปาองค์ที่ 266 มีพระนามเดิมว่า คอร์เค มาเรียว เบร์โกเกลียว (Jorge Mario Bergoglio) พระราชสมภพเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2479.

ใหม่!!: สันตะสำนักและสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16

มเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 (Benedictus XVI, Benedict XVI) พระสันตะปาปากิตติคุณ อดีตประมุขคริสตจักรโรมันคาทอลิก เป็นชาวเยอรมัน มีพระนามเดิมว่า โยเซฟ รัทซิงเงอร์ (Joseph Ratzinger) เกิดเมื่อ 16 เมษายน พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927).

ใหม่!!: สันตะสำนักและสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 6

มเด็จพระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 6 (2 มีนาคม ค.ศ. 1459 - 14 กันยายน ค.ศ. 1523) มีพระนามเดิมว่า Adrian Florisz Boeyens ทรงดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1522 จนกระทั่งสิ้นพระชนม.

ใหม่!!: สันตะสำนักและสมเด็จพระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 6 · ดูเพิ่มเติม »

สรรพเทวนิยม

รรพเทวนิยม (Pantheism) เป็นแนวคิดซึ่งเชื่อว่าเอกภพ (ธรรมชาติ) กับพระเป็นเจ้านั้นเป็นสิ่งเดียวกัน ดังนั้นผู้ที่เชื่อในสรรพเทวนิยมจึงไม่เชื่อในแนวคิดพระเจ้าที่เป็นตัวบุคคล มีรูปร่างแบบมนุษย์ (anthropomorphism) หรือพระผู้สร้าง สรรพเทวนิยมยังได้แสดงแนวคิดที่ว่า "พระเจ้า" นั้นควรถูกมองในวิถีทางที่เกี่ยวข้องกับเอกภพจึงจะดีที่สุดOwen, H. P. Concepts of Deity.

ใหม่!!: สันตะสำนักและสรรพเทวนิยม · ดูเพิ่มเติม »

สังคายนาวาติกันครั้งที่สอง

ังคายนาวาติกันครั้งที่สอง (Concilium Oecumenicum Vaticanum Secundum) เป็นสภาสังคายนาสากลครั้งที่ 21 ที่คริสตจักรโรมันคาทอลิกจัดขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อปรับตัวศาสนจักรให้เข้ากับโลกสมัยใหม่ สังคายนาครั้งนี้สันตะสำนักดำเนินการจัดขึ้นที่มหาวิหารนักบุญเปโตรในนครรัฐวาติกัน ตามรับสั่งของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 23 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม..

ใหม่!!: สันตะสำนักและสังคายนาวาติกันครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สังฆมณฑล (แก้ความกำกวม)

ังฆมณฑล อาจจะหมายถึง.

ใหม่!!: สันตะสำนักและสังฆมณฑล (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสดลิโวเนีย

งเดนมาร์กลอยลงมาจากท้องฟ้าระหว่างยุทธการลินดานิสส์ ค.ศ. 1219 สงครามครูเสดลิโวเนีย (Livonian Crusade) หมายถึงสงครามที่เยอรมนีและเดนมาร์กได้รับชัยชนะและยึดครองลิโวเนียยุคกลางซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่ครอบคลุมดินแดนที่ในปัจจุบันคือลัตเวีย และ เอสโตเนียระหว่างสงครามครูเสดตอนเหนือ ดินแดนริมฝั่งทะเลบอลติกทางตอนเหนือของยุโรปเป็นดินแดนสุดท้ายที่ยังไม่ยอมรับนับถือคริสต์ศาสนา เมื่อวันที่ 2 กุมภาพัน..

ใหม่!!: สันตะสำนักและสงครามครูเสดลิโวเนีย · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาลาเตรัน

นธิสัญญาลาเตรัน เป็นหนึ่งในกลุ่มสนธิสัญญาลาเตรัน..

ใหม่!!: สันตะสำนักและสนธิสัญญาลาเตรัน · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติ

นอกจากองค์การหลักทั้ง 6 องค์กรแล้ว (ยกเว้นคณะมนตรีภาวะทรัสตีแห่งสหประชาชาติที่ได้ยุติการปฏิบัติงานในปี พ.ศ. 2537) ยังมีการตั้งหน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติขึ้นมาทำหน้าที่พิเศษซึ่งเป็นไปตามกฎบัตรสหประชาชาติว่า องค์กรหลักของสหประชาชาติทั้ง 5 สามารถตั้งหน่วยงานพิเศษขึ้นมาเพื่อการทำงานในรูปแบบต่างๆ ได้ หน่วยงานพิเศษที่ตั้งขึ้นมาจากองค์กรหลักของสหประชาชาติทั้ง 5 องค์กรนั้น หน่วยงานพิเศษบางหน่วยงานอาจจะไม่ได้ขึ้นกับองค์กรใดองค์กรหนึ่งของสหประชาชาติเพียงอย่างเดียว บางหน่วยงานพิเศษที่ก่อตั้งขึ้นมานั้นอาจจะขึ้นอยู่กับองค์กรที่มีมากกว่า 1 องค์กรก็ได้หรือก็ขึ้นอยู่กับทุกๆองค์กรในสหประชาชาติก็ได้ ปัจจุบันหน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติมีทั้งสิ้น 15 หน่วยงานพิเศษในเครือสหประชาชาติ รายชื่อหน่วยงานพิเศษในเครือสหประชาชาติมีดังนี้.

ใหม่!!: สันตะสำนักและหน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

อัรบะอีน

รรดามุสลิมหลายล้านคนชุมนุมกันรอบ ๆ มัสยิดฮุซัยน์ในเมืองกัรบะลาอ์ อัลอัรบะอีน (الأربعين) หรือ ชะฮ์ลัม (چهلم, چہلم) แปลตรงตัวว่าสี่สิบ เป็นศาสนพิธีของชาวมุสลิมนิกายชีอะห์ ซึ่งจัดขึ้นหลังจากวันอาชูรออ์เป็นเวลา 40 วัน หรือวันที่ 20 เศาะฟัร เพื่อรำลึกถึงการวายชนม์ของฮุซัยน์บุตรอะลี ซึ่งแข็งข้อไม่ยอมขึ้นต่อราชวงศ์อุมัยยะฮ์จนต้องถูกตัดศีรษะในยุทธการกัรบะลาอ์ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 1223 (10 มุฮัรรอม ฮ.ศ. 61) พิธีนี้จัดขึ้นที่เมืองกัรบะลาอ์ ประเทศอิรัก และมีผู้ร่วมพิธีมากกว่าพิธีฮัจญ์ที่เมืองมักกะห์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย พิธีอัรบะอีนจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: สันตะสำนักและอัรบะอีน · ดูเพิ่มเติม »

อัครบิดร

อัครบิดรคีริลล์แห่งมอสโก อัครบิดรแห่งมอสโกและรัสทั้งปวง องค์ปัจจุบัน (ขวา) และ อัครบิดรสากลบาร์โธโลมิวที่ 1''' อัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลองค์ปัจจุบัน (ซ้าย) อัครบิดรราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 375-6 (patriarch) ชาวออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยเรียกว่า พระสังฆราช และ ชาวโปรเตสแตนต์ในประเทศไทยเรียกว่าอัครปิตา ส่วนชาวโรมันคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่าพระอัยกา ถือเป็นตำแหน่งมุขนายกชั้นสูงสุดในคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และอื่นๆ เช่นออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ โรมันคาทอลิก และอัสซีเรียนแห่งตะวันออก แต่เดิมคัมภีร์ไบเบิลช้คำนี้เพื่อหมายถึง อับราฮัม อิสอัค และยาโคบ ผู้เป็นปฐมบรรพบุรุษของวงศ์วานอิสราเอล และเรียกยุคที่ทั้งสามคนนี้มีชีวิตอยู่ว่ายุคอัครบิดร.

ใหม่!!: สันตะสำนักและอัครบิดร · ดูเพิ่มเติม »

อัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน

อัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน ในพระสันตะปาปา (Arcibasilica Papale di San Giovanni in Laterano) หรือรู้จักกันทั่วไปในชื่อ มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน (Basilica di San Giovanni in Laterano) หรือเรียกอย่างสั้นว่า มหาวิหารลาเตรัน เป็นมหาวิหารเอกในกรุงโรมและเป็นอาสนวิหารประจำตำแหน่งมุขนายกแห่งกรุงโรม นับเป็นมหาวิหารที่เก่าแก่ที่สุดและมีตำแหน่งสูงสุดในบรรดามหาวิหารเอกทั้งสี่แห่งในกรุงโรม และมีสถานะเป็นโบสถ์แม่ของโบสถ์ทั้งปวงในคริสตจักรโรมันคาทอลิก อัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน เป็นมหาวิหารที่เก่าแก่มากที่สุดและมีความอาวุโสสูงสุดในบรรดามหาวิหารเอกทั้งสี่ในพระสันตะปาปาซึ่งทั้งหมดตั้งอยู่ในโรม มีลำดับศักดิ์อยู่เหนือแม้กระทั่งมหาวิหารนักบุญเปโตร และเป็นเพียงอาสนวิหารเพียงแห่งเดียวในโลกที่มีฐานะเป็น อัครมหาวิหาร และเนื่องจากเป็นอาสนวิหารที่เก่าแก่ที่สุด จึงได้รับการยกย่องให้เป็นอาสนวิหารแม่ของศาสนจักรโรมันคาทอลิก หัวหน้าพระคนบัจจุบันคือ พระคาร์ดินัลอากอสตีโน วัลลี ซึ่งเป็นคาร์ดินัลใหญ่แห่งมุขมณฑลโรม ในขณะที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสเป็นแคนันกิตติมศักดิ์ (honorary canon) ประจำมหาวิหารฯ โดยตำแหน่ง ซึ่งตำแหน่งแคนันกิตติมศักดิ์นี้เป็นตำแหน่งที่สืบทอดในหมู่ประมุขแห่งฝรั่งเศสมาตั้งแต่สมัยของพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ด้านหน้าบริเวณทางเข้า มีศิลาจารึกเป็นภาษาละตินขนาดใหญ่ว่า Clemens XII Pont Max Anno V Christo Salvatori In Hon SS Ioan Bapt et Evang ซึ่งแปลอย่างย่อได้ว่า "สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 12 ในปีที่ 5 แห่งสมณสมัย ได้ทรงอุทิศอาคารหลังนี้แก่พระคริสต์เจ้าผู้ช่วยให้รอด ด้วยเกียรติของนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาและนักบุญยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร" หรือมีความหมายก็คือ เดิมดี มหาวิหารแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่พระเยซู และในหลายศตวรรษต่อมาก็ประกาศร่วมอุทิศให้แก่นักบุญยอห์นทั้งสอง คือยอห์นผู้ให้บัพติศมาและยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร อัครมหาวิหารฯตั้งอยู่ในกรุงโรม แต่อยู่นอกเขตแดนของนครรัฐวาติกันประมาณ 4 กิโลเมตรไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ แม้จะไม่ได้อยู่ในวาติกัน แต่อัครมหาวิหารแห่งนี้มีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในฐานะสมบัติของสันตะสำนัก จากผลของสนธิสัญญาลาเตรัน..

ใหม่!!: สันตะสำนักและอัครมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน · ดูเพิ่มเติม »

อัครมุขนายก

2553. อาร์ชบิชอป (Archbishop) หรืออัครมุขนายก ชาวไทยคาทอลิกเรียกว่าพระอัครสังฆราช เป็นตำแหน่งการปกครองระดับสูงในบางคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน ถือว่ามีสถานะเหนือกว่ามุขนายกกรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6 (bishop) การเป็นอัครมุขนายกหมายถึงการได้ปกครองอัครมุขมณฑล (archdiocese) ซึ่งเป็นมุขมณฑลที่มีความสำคัญเป็นกรณีพิเศษ หรือในกรณีของแองกลิคันคอมมิวเนียนจะหมายถึงกลุ่มมุขมณฑลที่รวมกันเป็นภาคคริสตจักร เช่น ภาคแคนเทอร์เบอรีที่ปกครองโดยอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป “อัครมุขนายก” มีฐานะเท่าเทียมกับมุขนายกในด้านการศาสนา แต่มีอภิสิทธิ์บางอย่างมากกว่า ฉะนั้นถ้าผู้ที่เป็นมุขนายกอยู่แล้วได้รับการแต่งตั้ง (appointment) เป็นอัครมุขนายกก็ไม่จำเป็นต้องรับการอภิเษก (consecration) อีก มีแต่พิธีเข้ารับตำแหน่ง (installation) แต่ถ้าผู้ที่ได้รับตำแหน่งไม่ได้เป็นมุขนายกมาก่อน ผู้นั้นก็ต้องเข้าพิธีอภิเษกเพื่อรับศีลอนุกรมเสียก่อนที่จะทำหน้าที่เป็นอัครมุขนายก คำว่า “Archbishop” มาจากภาษากรีกว่า “αρχι” ที่แปลว่า “ที่หนึ่ง” หรือ “หัวหน้า” และคำว่า “επισκοπος” ที่แปลว่า “ปกครองดูแล” “อัครมุขนายก” ปกครอง “อัครมุขมณฑล” หรือภาคคริสตจักร ถ้าเป็นในสมัยโบราณโดยเฉพาะในสมัยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ อัครมุขนายกก็จะปกครอง “รัฐอัครมุขนายก” เช่น อาร์ชบิชอปแห่งไมนซ์ (Archbishop of Mainz) ผู้ปกครอง “ราชรัฐอัครมุขนายกไมนซ์” (Archbishopric of Mainz).

ใหม่!!: สันตะสำนักและอัครมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

อารามอันเดชส์

อารามอันเดชส์ (Andechs Abbey) เป็นแอบบีย์โรมันคาทอลิกตั้งอยู่ที่หมู่บ้านอารามอันเดชส์ในประเทศเยอรมนี สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบบาโรกที่มาเปลี่ยนแปลงใน ค.ศ. 1712 อารามอันเดชส์ของคณะเบเนดิกติน เดิมเป็นสถานที่สำหรับการจาริกแสวงบุญตั้งอยู่บนเนินริมทะเลสาบอัมเมอร์เซในบาวาเรียเหนือ แอบบีมีชื่อเสียงในการที่เป็นสิ่งก่อสร้างแบบบาโรก นอกจากจะเป็นแอบบีย์แล้วก็ยังมีชื่อในการผลิตเบียร์ คีตกวีคาร์ล ออร์ฟ (Carl Orff) ถูกบรรจุไว้ชาเปลด้านข้างภายในแอบบี.

ใหม่!!: สันตะสำนักและอารามอันเดชส์ · ดูเพิ่มเติม »

อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี

อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 43 (Archbishop of Canterbury) เป็นอัครมุขนายกและผู้นำหลักของคริสตจักรแห่งอังกฤษ เป็นประมุขเชิงสัญลักษณ์ของแองกลิคันคอมมิวเนียนทั่วโลกและบิชอปประจำมุขมณฑลแคนเทอร์เบอรี อัครมุขนายกแห่งแคนเทอร์เบอรีคนปัจจุบันคือศาสนาจารย์จัสติน เวลบี (Justin Welby) เป็นอัครมุขนายกคนที่ 105 ซึ่งสืบตำแหน่งที่ตกทอดมากว่า 1400 ปีจากนักบุญออกัสตินแห่งแคนเทอร์เบอรีผู้ก่อตั้งคริสตจักรโรมันคาทอลิกในอังกฤษในปี..

ใหม่!!: สันตะสำนักและอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี · ดูเพิ่มเติม »

อุษา นารายณัน

อุษา นารายณัน (उषा नारायणन; พ.ศ. 2446 – 24 มกราคม พ.ศ. 2558) หรือนามเดิมว่า ทินต์ ทินต์ (တင့်တင့်) เป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของประเทศอินเดียช่วงปี..

ใหม่!!: สันตะสำนักและอุษา นารายณัน · ดูเพิ่มเติม »

อูว์นีดรัว

อูว์นีดรัว (Unidroit) ชื่อเต็มว่า สถาบันระหว่างประเทศเพื่อสร้างเอกภาพให้แก่กฎหมายเอกชน (International Institute for the Unification of Private Law; Institut international pour l'unification du droit privé) เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมุ่งสร้างเอกภาพให้แก่กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล (กฎหมายเอกชนระหว่างประเทศ) มีชื่อจากการร่างสนธิสัญญาและจัดทำกฎหมายแม่แบบ (model law) อูว์นีดรัวสถาปนาขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: สันตะสำนักและอูว์นีดรัว · ดูเพิ่มเติม »

องค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก

ำนักงานกลางขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลกในเจนีวา องค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (Organisation Mondiale de la Propriété Intelectuelle หรือ OMPI, World Intellectual Property Organization หรือ WIPO) เป็นหนึ่งในองค์การเฉพาะทางของสหประชาชาติ องค์การได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: สันตะสำนักและองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก · ดูเพิ่มเติม »

ฌูล มาซาแร็ง

รูปของมาซาแร็ง ฌูล พระคาร์ดินัลมาซาแร็ง (Jules Cardinal Mazarin) ดยุกแห่งเรอแตล มาแยน และเนอแวร์ เกิดที่ราชอาณาจักรเนเปิลส์ ในปี..

ใหม่!!: สันตะสำนักและฌูล มาซาแร็ง · ดูเพิ่มเติม »

ผู้อ้างตนเป็นพระสันตะปาปา

ผู้อ้างตนเป็นพระสันตะปาปา หรือ พระสันตะปาปาซ้อน (antipope) หมายถึง พระคาร์ดินัลที่อ้างตนเป็นพระสันตะปาปา ประมุขแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิกอย่างไม่ถูกต้อง จึงเป็นปรปักษ์ของพระสันตะปาปาพระองค์จริงที่ได้รับเลือกมาอย่างถูกต้องตามกฎหมายศาสนจักร การกล่าวหาบุคคลใดเป็นว่าพระสันตะปาปาซ้อนนั้นค่อนข้างสับสน เนื่องจากนักวิชาการในคริสตจักรโรมันคาทอลิกเองยังมีความเห็นไม่สอดคล้องกัน ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นพระสันตะปาปาซ้อนในสมัยหนึ่ง จึงอาจได้รับการยอมรับรับว่าเป็นพระสันตะปาปาถูกต้องในสมัยหลังก็ได้ เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาซิลเวสเตอร์ที่ 3 ช่วงเวลาที่มีพระสันตะปาปาซ้อนเกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนานที่สุดคือช่วงที่เกิดศาสนเภทตะวันตกตั้งแต..

ใหม่!!: สันตะสำนักและผู้อ้างตนเป็นพระสันตะปาปา · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว

ัง บัปติสต์ ปาลเลอกัวซ์ พร้อมด้วยเด็กไทยชื่อแก้ว และเด็กญวนชื่อชมถ่ายที่ปารีส เมื่อ พ.ศ. 2397 ฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว (Jean-Baptiste Pallegoix.) หรือที่รู้จักในนามพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ เป็นบาทหลวงสังกัดคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ปฏิบัติหน้าที่มิชชันนารีในประเทศไทยในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีสมณศักดิ์เป็นประมุขมิสซังสยามตะวันออก (apostolic vicar of Eastern Siam) และมุขนายกเกียรตินามแห่งมาลลอสหรือมัลลุส (titular bishop of Mallos/Mallus) ท่านได้นำวิทยาการการถ่ายรูปเข้ามาในประเทศไทย และนอกจากนี้ท่านยังจัดทำพจนานุกรมสี่ภาษาเล่มแรกของไทยขึ้นชื่อ สัพะ พะจะนะ พาสา ไท โดยมีภาษาทั้งสี่ที่ว่านี้คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาละติน.

ใหม่!!: สันตะสำนักและฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ ดยุกแห่งโฮเฮนเบิร์ก

อร์จ ดยุกแห่งโฮเฮนเบิร์ก.

ใหม่!!: สันตะสำนักและจอร์จ ดยุกแห่งโฮเฮนเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 67/19

้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 67/19 เป็นข้อมติที่ยกระดับปาเลสไตน์ขึ้นเป็นสถานะรัฐผู้สังเกตการณ์ที่มิใช่สมาชิกในสหประชาชาติ ข้อมติดังกล่าวได้รับมติเห็นชอบจากสมัยประชุมที่ 67 แห่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: สันตะสำนักและข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 67/19 · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักรกรุงโรม

ริสตจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Church) คริสตจักรโรมัน (Roman Church) หรือคริสตจักรกรุงโรม (Church of Rome) ในปัจจุบันอาจหมายถึง.

ใหม่!!: สันตะสำนักและคริสตจักรกรุงโรม · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักรละติน

ริสตจักรละติน หรือ พระศาสนจักรละติน (Latin Church) คือคริสตจักรโรมันคาทอลิกเฉพาะถิ่นที่ใช้จารีตพิธีกรรมละติน มีประวัติศาสตร์ยาวนานนับแต่สมัยอัครทูต และเป็นคริสตจักรหลักและดั้งเดิมในศาสนาคริสต์ตะวันตก ในปี..

ใหม่!!: สันตะสำนักและคริสตจักรละติน · ดูเพิ่มเติม »

คณะพระมหาไถ่

ณะพระมหาไถ่ (Congregation of the Most Holy Redeemer; Redemtorists) เป็นคณะนักบวชธรรมทูตโรมันคาทอลิกที่นักบุญอัลฟอนโซ มาเรีย เด ลีกูโอรีได้ก่อตั้งขึ้น ณ เมืองสกาลา แคว้นกัมปาเนีย ประเทศอิตาลี ในตอนแรกมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำงานช่วยเหลือชาวชนบทที่ถูกทอดทิ้งรอบ ๆ เมืองเนเปิลส์ นักบวช (religious) ของคณะนี้มีทั้งบาทหลวงและภราดา ปฏิบัติงานอยู่ใน 77 ประเทศทั่วโลก.

ใหม่!!: สันตะสำนักและคณะพระมหาไถ่ · ดูเพิ่มเติม »

คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส

ณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (Missions Étrangères de Paris; M.E.P) เป็นคณะชีวิตแพร่ธรรมของคริสตจักรโรมันคาทอลิก (ไม่ใช่คณะนักบวชคาทอลิก) สมาชิกประกอบด้วยบาทหลวงประจำมุขมณฑลและฆราวาสที่อุทิศตนทำงานเป็นมิชชันนารีในต่างประเทศ คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสก่อตั้งราว..

ใหม่!!: สันตะสำนักและคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส · ดูเพิ่มเติม »

คณะผู้แทนทางทูต

ณะผู้แทนทางทูต (diplomatic mission) หรือ คณะผู้แทนต่างชาติ (foreign mission) เป็นกลุ่มบุคคลจากรัฐหรือองค์การหนึ่ง (เรียกว่า ผู้ส่ง) ซึ่งไปอยู่ในอีกรัฐหนึ่ง (เรียกว่า ผู้รับ) เพื่อเป็นปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการในรัฐผู้รับ แทนรัฐหรือองค์การผู้ส่ง ในทางปฏิบัติแล้ว คณะผู้แทนทางทูตมักได้แก่กลุ่มผู้แทนที่มาพำนักอยู่ในรัฐผู้รับ กลุ่มหลัก คือ คณะเอกอัครราชทูต (embassy) แต่สถานที่พำนักไม่จำเป็นต้องเป็นเมืองหลวงของรัฐผู้รับเสมอไป ส่วนคณะกงสุล (consulate) เป็นคณะผู้แทนทางทูตที่มีขนาดเล็กกว่าคณะเอกอัครราชทูต และมักตั้งอยู่นอกเมืองหลวง (แต่อาจตั้งอยู่ในเมืองหลวงได้ ถ้าไม่มีคณะเอกอัครราชทูตในเมืองหลวง) คณะผู้แทนถาวรซึ่งไม่พำนักอยู่ในรัฐผู้รับก็มี.

ใหม่!!: สันตะสำนักและคณะผู้แทนทางทูต · ดูเพิ่มเติม »

คณะคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้า

ณะภราดาไม่สวมรองเท้าแห่งพระนางมารีย์พรหมจารีแห่งภูเขาคาร์แมล (Ordo Fratrum Discalceatorum Beatissimae Mariae Virginis de Monte Carmelo: Order of Discalced Brothers of the Blessed Virgin Mary of Mount Carmel) เรียกโดยย่อว่าคณะคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้า (Order of Discalced Carmelites) เป็นคณะนักบวชภิกขาจารในคริสตจักรโรมันคาทอลิก ซึ่งแยกตัวออกมาจากคณะคาร์เมไลท์เดิม โดยมีนักบุญเตเรซาแห่งอาบีลาและนักบุญยอห์นแห่งไม้กางเขนร่วมกันดำเนินการปฏิรูป นักบุญที่มีชื่อเสียงอีกองค์ในคณะนี้คือนักบุญเตแรซแห่งลีซีเยอ.

ใหม่!!: สันตะสำนักและคณะคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้า · ดูเพิ่มเติม »

คณะนักบวชคาทอลิก

ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก คณะนักบวช หรือ สถาบันนักบวช (religious institute) เป็นสถาบันชีวิตที่ถวายแล้วประเภทหนึ่ง สมาชิกประกอบด้วยชาวคาทอลิกที่สละชีวิตทางโลกมาถือคำปฏิญาณของนักบวชตลอดชีวิต เพื่ออุทิศตนทำงานรับใช้พระศาสนจักรเพียงอย่างเดียว และอยู่รวมกันเป็นคณะ (order/society/congregation) โดยแต่ละคณะมีแนวทางการทำงานและเน้นวัตรปฏิบัติแตกต่างกันไป นอกจากเรียกว่า "คณะนักบวช" แล้ว ราชบัณฑิตยสถานยังใช้คำว่า คณะนักพรต และ คณะนักบวชถือพรต โดยถือว่ามีความหมายเดียวกันราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 163, 421-2 ส่วนประมวลกฎหมายพระศาสนจักร ค.ศ. 1983 ฉบับภาษาไทย ใช้คำว่า คณะสถาบันนักพรต.

ใหม่!!: สันตะสำนักและคณะนักบวชคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

ปียัซซาดีสปัญญา

ปียัซซาดีสปัญญาเมื่อมองจากบันไดสเปน ปียัซซาดีสปัญญา หรือ จัตุรัสสเปน (Piazza di Spagna) เป็นลานกว้างซึ่งตั้งอยู่ด้านล่างของบันไดสเปน ถือเป็นจุดท่องเที่ยวยอดนิยมในกรุงโรม ประเทศอิตาลี ใจกลางจัตุรัสมีน้ำพุโด่งดังที่ชื่อว่าฟอนตานาเดลลาบาร์คัชชา จัตุรัสนี้สร้างขึ้นพร้อมกับบันไดสเปนในปี..

ใหม่!!: สันตะสำนักและปียัซซาดีสปัญญา · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญคริสโตเฟอร์

นักบุญคริสโตเฟอร์ (Saint Christopher; Άγιος Χριστόφορος) เป็นชาวคานาอัน ต่อมาได้นับถือศาสนาคริสต์และพลีชีพเป็นมรณสักขีในรัชสมัยจักรพรรดิเดซิอุสแห่งจักรวรรดิโรมันราวคริสต์ศตวรรษที่ 3 และเป็นหนึ่งในนักบุญผู้ช่วยศักดิ์สิทธิ์สิบสี่องค์ คริสตจักรโรมันคาทอลิกถือว่านักบุญคริสโตเฟอร์เป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ผู้เดินทางและนักกีฬา แต่เมื่อปี..

ใหม่!!: สันตะสำนักและนักบุญคริสโตเฟอร์ · ดูเพิ่มเติม »

นิกายในศาสนาคริสต์

นิกายในศาสนาคริสต์ (Christian denominations) คือการแบ่งสาขาของศาสนาคริสต์ตามแนวปรัชญาและหลักการปฏิบัติ ในแต่ละนิกาย (denomination) ก็แบ่งย่อยเป็นคริสตจักร (church) รายการข้างล่างนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น.

ใหม่!!: สันตะสำนักและนิกายในศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

นครรัฐวาติกัน

นครรัฐวาติกัน (State of the Vatican City; Stato della Città del Vaticano) เป็นนครรัฐที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลซึ่งน้อยที่สุดในโลกทั้งในแง่พื้นที่และประชากร ตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี เป็นที่ประทับของพระสันตะปาปา ซึ่งเป็นประมุขสูงสุดแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก ศูนย์กลางคือมหาวิหารนักบุญเปโตร ซึ่งออกแบบโดยมีเกลันเจโล การปกครองเป็นแบบอำนาจเบ็ดเสร็จ อำนาจตกอยู่ที่พระสันตะปาปาเพียงผู้เดียว จะหมดวาระก็ต่อเมื่อสิ้นพระชนม์ ปัจจุบัน สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556.

ใหม่!!: สันตะสำนักและนครรัฐวาติกัน · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิกในประเทศไทย

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ขณะเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ระหว่างเสด็จเยือนประเทศไทย คริสตจักรโรมันคาทอลิกในประเทศไทย หรือที่ชาวคาทอลิกเรียกโดยย่อว่า พระศาสนจักรในประเทศไทย เป็นประชาคมของคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิก มีการปกครองตนเองภายใต้การควบคุมของสันตะสำนักราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 468 ตามสถิติคาทอลิกในประเทศไท..

ใหม่!!: สันตะสำนักและโรมันคาทอลิกในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์

อานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ มีพระนามเต็มว่า ไดอานา ฟรานเซส (อังกฤษ: Diana Frances) สกุลเดิม สเปนเซอร์ (อังกฤษ: Spencer) ประสูติ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 — สิ้นพระชนม์ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2540 เป็นพระชายาองค์แรกของเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ มกุฎราชกุมารอังกฤษ ไดอานาถือกำเนิดในตระกูลขุนนางที่สืบทอดเชื้อสายจากราชวงศ์อังกฤษโบราณ  เป็นบุตรีคนที่ 3 ของ จอห์น สเปนเซอร์ ไวเคานต์อัลธอร์พ และฟรานเซส โรช ในวัยเด็กไดอานาพักอาศัยที่คฤหาสน์พาร์กเฮาส์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในพื้นที่ตำหนักซานดริงแฮม ไดอานาเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนที่ประเทศอังกฤษและได้เข้าศึกษาต่อเป็นเวลาสั้นๆ ในโรงเรียนการเรือนที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์  เมื่ออายุได้ 14 ปี ไดอานาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น เลดี้ เมื่อบิดาสืบทอดฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็น เอิร์ลแห่งสเปนเซอร์ ไดอานาเริ่มเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกเมื่อเป็นเข้าพิธีหมั้นหมายกับเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ใน..

ใหม่!!: สันตะสำนักและไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

เอกอัครราชทูต

เอกอัครราชทูต (ambassador) เป็นนักการทูตตำแหน่งสูงสุด ซึ่งจัดการแทนประเทศหนึ่ง ๆ และปรกติมักได้รับการส่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง ไปยังรัฐบาลต่างด้าว หรือไปยังองค์การระหว่างประเทศ ในความหมายธรรมดา คำ "ทูต" (ambassador) หมายถึง บุคคลซึ่งรัฐบาลประเทศหนึ่งส่งไปประจำอีกประเทศหนึ่งเพื่อให้จัดการแทนตน และไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีตำแหน่งใด โดยรัฐผู้รับ (host state) จะให้ทูตมีเขตอำนาจอยู่ใน สถานทูต (embassy) ซึ่งตั้งอยู่ในดินแดนของรัฐผู้รับ และรัฐผู้รับจะให้ความคุ้มกัน (immunity) แก่พัทธสีมา ที่ดิน ทรัพย์สิน บุคคล ฯลฯ ของสถานทูต บางประเทศอาจแต่งตั้งบุคคลผู้เป็นที่เลื่อมใสกว้างขวางให้เป็นเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง (ambassador-at-large) เพื่อให้จัดการเพียงบางอย่างโดยเฉพาะ หรือรับผิดชอบท้องที่อันจำกัด ขณะที่เอกอัครราชทูตมักมีอำนาจจัดการทั่วไป สำหรับประเทศในเครือจักรภพ มักเรียกเอกอัครราชทูตว่า ข้าหลวงใหญ่ (high commissioner) และคณะผู้แทนทางทูตจะเรียก คณะข้าหลวงใหญ่ (high commission) แทน ส่วนเอกอัครราชทูตของอาณาจักรอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy See) นั้นเรียก เอกอัครสมณทูต (nuncio) หมวดหมู่:นักการทูต.

ใหม่!!: สันตะสำนักและเอกอัครราชทูต · ดูเพิ่มเติม »

เอกอัครสมณทูต

อาร์ชบิชอป โจวันนี ดานีเอลโล (Giovanni d’Aniello) อดีตเอกอัครสมณทูตวาติกันประจำประเทศไทย กัมพูชา พม่า และลาวhttp://haab.catholic.or.th/photo/ambassador/jovanne.html แต่งตั้งสมณทูตองค์ใหม่ เอกอัครสมณทูต (nuncio; apostolic nuncio) เรียกโดยย่อว่าพระสมณทูต.

ใหม่!!: สันตะสำนักและเอกอัครสมณทูต · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี

้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี ในสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก (พระนามเต็ม: อ็องรี มารี ฌ็อง อ็องดร์ เดอ ลาบอร์ด เดอ มงเปอซา; 11 มิถุนายน พ.ศ. 2477 - 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561) สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก พระองค์ประสูติที่เมืองตาลงซ์ แคว้นกีรงด์ สาธารณรัฐฝรั่งเศส เป็นโอรสในเคาต์อ็องดร์ เดอ ลาบอร์ด เดอ มงเปอซา และเรอเน ดูร์เซโน อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมาร์เกรเธอแห่งเดนมาร์ก เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1967 ในขณะที่มีพระอิสริยยศเป็นเจ้าหญิงผู้เป็นทายาทโดยสันนิษฐานแห่งราชบัลลังก์เดนมาร์ก.

ใหม่!!: สันตะสำนักและเจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี · ดูเพิ่มเติม »

เขตผู้แทนพระสันตะปาปา

ฟร็องซัว ปาลูว์ (François Pallu) มุขนายกเกียรตินามแห่งเฮลีโอโปลิส (Heliopolis) และประมุขมิสซังตังเกี๋ย เขตผู้แทนพระสันตะปาปา (Apostolic vicariate) หรือมิสซัง เป็นเขตอำนาจทางอาณาเขตของคริสตจักรโรมันคาทอลิกที่ตั้งขึ้นในประเทศหรือแว่นแคว้นที่มีการเผยแพร่ศาสนาคริสต์แล้ว แต่ยังไม่ได้รับสถานะเป็น "มุขมณฑล" ตามปกติแล้วทุกคริสตจักรท้องถิ่นจะต้องปกครองตนเองภายใต้การนำของผู้ปกครองคือมุขนายก แต่กรณีที่คริสตจักรเพิ่งตั้งใหม่ หรือยังมีจำนวนคริสตชนน้อย ยังไม่พร้อมที่จะปกครองตนเอง พระสันตะปาปาจะทรงถือสิทธิ์ปกครองคริสตจักรนั้น แล้วส่งผู้แทนหรือวิคาร์ (vicar) ไปทำหน้าที่ปกครองแทน ด้วยเหตุนี้จึงเรียกผู้ปกครองนั้นว่าผู้แทนพระสันตะปาปา (apostolic vicar) (เพราะพระสันตะปาปาทรงสืบตำแหน่งมาจากอัครทูต (apostle)) บางตำราก็เรียกว่าประมุขมิสซัง หรือผู้แทนสันตะสำนักประมวลกฎหมายพระศาสนจักร บรรพ ๒ ประชากรของพระเจ้า, กรุงเทพฯ: แผนกคำสอน เขตมิสซังกรุงเทพฯ, 2543, หน้า 97-8 และเรียกเขตปกครองนั้นว่าเขตผู้แทนพระสันตะปาปา (apostolic vicariate) นอกจากนี้ยังนิยมเรียกในชื่ออื่นอีก เช่น มิสซัง (mission) เทียบมุขมณฑล หรือเขตปกครองโดยผู้แทนสันตะสำนักด้วย บุคคลที่ดำรงตำแหน่งผู้แทนพระสันตะปาปาโดยปกติจะได้รับแต่งตั้งให้เป็นมุขนายกเกียรตินาม (titular bishop) ด้วยเพื่อเป็นเกียรติในการทำงานและมีศักดิ์ศรีอย่างมุขนายกเขตมิสซังอื่น.

ใหม่!!: สันตะสำนักและเขตผู้แทนพระสันตะปาปา · ดูเพิ่มเติม »

เตแรซแห่งลีซีเยอ

นักบุญเตแรซแห่งลีซีเยอ (Sainte Thérèse de Lisieux) หรือนักบุญเทเรซาแห่งพระกุมารเยซูและพระพักตร์ศักดิ์สิทธิ์ (Saint Thérèse of the Child Jesus and the Holy Face) เป็นนักพรตหญิงโรมันคาทอลิกคณะคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้าชาวฝรั่งเศส ได้รับการแต่งตั้งเป็นนักปราชญ์แห่งคริสตจักรในปี..

ใหม่!!: สันตะสำนักและเตแรซแห่งลีซีเยอ · ดูเพิ่มเติม »

เตเรซาแห่งอาบีลา

นักบุญเตเรซาแห่งอาบีลา (Santa Teresa de Ávila, นักบุญเทเรซา แห่งอาวีลา, นักบุญเทเรซา แห่งอาวีล.) หรือนักบุญเทเรซาแห่งพระเยซู (Santa Teresa de Jesús) เป็นนักพรตหญิงโรมันคาทอลิกชาวสเปน นักการปฏิรูปคาทอลิก ผู้ก่อตั้งคณะคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้า ได้รับการแต่งตั้งเป็นนักปราชญ์แห่งคริสตจักรในปี..

ใหม่!!: สันตะสำนักและเตเรซาแห่งอาบีลา · ดูเพิ่มเติม »

.va

.va เป็นโดเมนอินเทอร์เน็ตระดับบนสุดตามรหัสประเทศ (ccTLD) สำหรับ ประเทศนครรัฐวาติกัน และเป็นการบริหารโดยสำนักงานอินเทอร์เน็ตของสันตะสำนัก.

ใหม่!!: สันตะสำนักและ.va · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Holy SeeSee of Romeสำนักกรุงโรมอาณาจักรอันศักดิ์สิทธิ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »