เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

สัทธรรมปุณฑรีกสูตร

ดัชนี สัทธรรมปุณฑรีกสูตร

ัทธรรมปุณฑรีกสูตร ฉบับอักษรฮันจา (อักษรจีนที่ใช้ในประเทศเกาหลี) สมัยราชวงศ์โครยอ เขียนขึ้นราว ค.ศ. 1340 สัทธรรมปุณฑรีกสูตร (सद्धर्मपुण्डरीकसूत्र) เป็นพระสูตรที่สำคัญในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนิกชนมหายานโดยเฉพาะในประเทศเอเชียตะวันออก เป็นสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าเทศนาในช่วง 8 ปีสุดท้ายก่อนปรินิพพาน สมัยแห่งการบันทึกพระสูตรเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกนั้นไม่มีมติที่แน่นอน ซึ่งการค้นพบต้นฉบับของสัทธรรมปุณฑริกสูตรในหลายสถานที่จากหลากหลายภูมิภาค สัทธรรมปุณฑริกสูตรมีการแปลเป็นหลายภาษา และมีการคัดลอกต้นฉบับตลอดช่วงเวลาอันยาวนาน อันเป็นข้อพิสูจน์ว่าสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนจำนวนมากในหลากหลายเชื้อชาติ โดยมีการค้นพบต้นฉบับภาษาต่าง ๆ อันได้แก่ สันสกฤต บาลี คานธารี โขตาน ซากา โตคาเรียน ซอกเดีย อุยกูร์เก่า ทิเบต จีน มองโกเลีย แมนจู ซีเซี่ย(ตันกัต) เกาหลี เวียดนาม เป็นต้น ตัวอย่างของสะสมจากสถาบันต้นฉบับภาษาตะวันออกแห่งสมาคมวิทยาศาสตร์รัสเซียมีต้นฉบับคัมภีร์ภาษาสันสกฤต คัดลอกด้วยตัวอักษรพราหมีเตอร์กีสถานใต้ ราวคริสต์ศตวรรษที่ 8-9 ต้นฉบับแปลภาษาจีน คัดลอกราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 ต้นฉบับแปลภาษาอุยกูร์เก่า คัดลอกราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 ในปัจจุบันมีการแปลเป็นภาษา อังกฤษ อิตาเลียน เกาหลี เยอรมัน ฝรั่งเศส ไทย ลาว กรีก สเปน เป็นต้น วินเตอร์นิตซ์ได้เสนอความเห็นว่า พระนาคารชุนได้อ้างถึงข้อความจากสัทธรรมปุณฑรีกสูตรอยู่หลายตอน เพราะฉะนั้นต้นฉบับเดิมย่อมต้องมีอยู่แล้วใน..

สารบัญ

  1. 29 ความสัมพันธ์: บัวขาว (แก้ความกำกวม)บารมีพระมหากัจจายนะพระมัญชุศรีโพธิสัตว์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์พระประภูตรัตนะพระนิชิเร็งพระไตรปิฎกภาษาจีนกวนอิมภาษาสันสกฤตมหายานยุคเฮอังศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นสึเนะซะบุโร มะกิงุชิหาริตีฮิโระชิ โฮโจธิดาพญามังกรตำนานเก็นจินะมุเมียวโฮเร็งเงะเคียวนิชิเร็งชูนิชิเร็งโชชูนิชิเร็นนิกายแทโกโจะเซ โทะดะไถหนันไดซะกุ อิเกะดะไดโงะฮนซงเบ็นไซเต็งเทียนไถ

บัวขาว (แก้ความกำกวม)

ัวขาว อาจหมายถึง ชื่อต่อไปนี้.

ดู สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและบัวขาว (แก้ความกำกวม)

บารมี

รมี (pāramī; pāramitā) ปฏิปทาอันยวดยิ่ง มีความหมาย 2 ประการ ประการแรก คือ บรม แปลว่าดีเลิศ สูงสุด และประการต่อมาหมายถึง การไป คือ ไปให้ถึงอีกฝังหนึ่ง คุณธรรมที่ประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งยวด คือ ความดีที่บำเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลุซึ่งจุดหมายอันสูง เช่น พระพุทธเจ้า พระอสีติมหาสาวก เป็นต้น.

ดู สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและบารมี

พระมหากัจจายนะ

รูปปั้นของพระมหากัจจายนะหรือพระสังกัจจายน์ พระมหากัจจายนะ (มหากจฺจายน, มหากาตฺยายน) เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในพระอสีติมหาสาวกของพระโคตมพุทธเจ้า ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร ในประเทศไทยนอกจากชื่อตามภาษาบาลีแล้ว ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ "พระสังกัจจายน์" หรือ "พระสังกระจาย" พระมหากัจจายนะเกิดในตระกูลพราหมณ์ตระกูลหนึ่งในกรุงอุชเชนี ได้ศึกษพระเวทตามอย่างตระกูลพราหมณ์ทั้งหลาย ท่านเป็นศิษย์ของอสิตดาบสแห่งเขาวินธัย (ผู้ทำนายว่าเจ้าชายสิทธิตถะจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิหรือพระพุทธเจ้าในอนาคต) พระมหากัจจายนะพร้อมด้วยมิตรอีก 7 คนได้อาราธนาพระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรมเทศนา และได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในระหว่างฟังธรรมนั้นเอง หลังจากนั้นท่านจึงทูลขออุปสมบทต่อพระพุทธเจ้า และได้เผยแผ่ศาสนาพุทธอยู่ในแคว้นอวันตีจนมีผู้เข้ามาเป็นสาวกในพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก ในสัทธรรมปุณฑรีกสูตร บรรพที่ 6 ว่าด้วยการพยากรณ์ ได้กล่าวถึงพุทธพยากรณ์ว่า พระมหากัจจายนะ พระสุภูติ พระมหากัสสปะ และพระมหาโมคคัลลานะ (ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น) หลังจากได้สดับพระสูตรนี้แล้ว จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต.

ดู สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและพระมหากัจจายนะ

พระมัญชุศรีโพธิสัตว์

ระมัญชุศรีโพธิสัตว์ (मञ्जुश्री Mañjuśrī; 文殊 Wénshū หรือ 文殊師利菩薩 Wénshūshili Púsà; もんじゅ Monju; འཇམ་དཔལ་དབྱངས། Jampelyang; मंजुश्री Manjushree) เป็นพระโพธิสัตว์ในกลุ่มตถาคตโคตรของพระไวโรจนพุทธะ ชื่อของท่านแปลว่า แสงอันอ่อนหวานหรืออ่อนโยน เป็นพระโพธิสัตว์ที่มีผู้นับถือในทิเบตรองลงมาจากพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ชื่อของท่านมีปรากฏในพระสูตรต่างๆมากมาย เช่น สัทธรรมปุณฑรีกสูตร ถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์ฝ่ายปัญญาและมีหน้าที่คุ้มครองนักปราชญ.

ดู สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและพระมัญชุศรีโพธิสัตว์

พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์

ระอวโลกิเตศวร เป็นพระโพธิสัตว์องค์สำคัญของพระพุทธศาสนามหายาน ที่มีผู้เคารพศรัทธามากที่สุด และเป็นบุคลาธิษฐานแห่งมหากรุณาคุณของพระพุทธเจ้าทั้งปวง เรื่องราวของพระอวโลกิเตศวรปรากฏอยู่ทั่วไปในคัมภีร์สันสกฤตของมหายาน อาทิ ปรัชญาปารมิตาสูตร สัทธรรมปุณฑรีกสูตร และการัณฑวยูหสูตฺร.

ดู สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์

พระประภูตรัตนะ

ระประภูตรัตนะ เป็นพระพุทธเจ้าตามความเชื่อของฝ่ายมหายาน นิยมนับถือในประเทศจีน แต่ไม่พบในอินเดีย ในคัมภีร์สัทธรรมปุณฑรีกสูตรกล่าวว่าเป็นพระพุทธเจ้าในอดีตที่จะปรากฏพระองค์ทุกครั้งที่มีการแสดงพระสัทธรรมปุณฑริกสูตร ซึ่งรวมทั้งในการแสดงพระสูตรนี้ของพระศากยมุนีพุทธเจ้าด้วย เป็นหนึ่งในคำสอนที่ยืนยันความเชื่อของฝ่ายมหายานว่าความเป็นพระพุทธเจ้ามิได้สิ้นสุดลงที่การปรินิพพานแต่จะคงอยู่ในโลกต่อไปในอนาคตอันยาวนานด้ว.

ดู สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและพระประภูตรัตนะ

พระนิชิเร็ง

อนุสาวรีย์พระนิชิเร็น ด้านนอกฮอนโนะจิ ใน อำเภอเทะระมะชิ กรุงเกียวโต พระนิชิเร็ง (日蓮) หรือ พระนิชิเร็งไดโชนิน (ใช้ในนิกายนิชิเร็งโชชู) เป็นพระภิกษุชาวญี่ปุ่น ซึ่งนิกายนิชิเร็งโชชูเชื่อว่าท่านเป็นพระพุทธเจ้าแท้จริง ท่านคือผู้สถาปนาและริเริ่มเผยแผ่คำสอน "นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว" บนพื้นฐานของสัทธรรมปุณฑรีกสูตร อันเป็นต้นกำเนิดของศาสนาพุทธนิกายนิชิเร็ง ซึ่งปัจจุบันได้แตกกิ่งก้านออกไปเป็นนิกายย่อย ๆ ประมาณ 32 นิกายในญี่ปุ่น และมีหลายลัทธิยืมคำสอนของท่านไปใช้ด้วย นิกายหลัก ๆ ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือนิชิเร็งโชชูและนิชิเร็งชู แต่นิกายแรกจะเป็นที่รู้จักมากกว่าเพราะมีสานุศิษย์กระจายอยู่ทั่วโลกแม้แต่ในเมืองไทย ตลอดชีวิตของพระนิชิเร็ง ท่านทุ่มเทเผยแผ่คำสอน โดยท่านเรียกร้องให้ชาวญี่ปุ่นละทิ้งคำสอนของนิกายและความเชื่อต่าง ๆ หันมายึดมั่นในสัทธรรมปุณฑรีกสูตรแต่เพียงพระสูตรเดียว เพราะท่านกล่าวว่าเป็นพระสูตรที่สูงส่งที่สุดและเป็นเจตนาที่แท้จริงของพระศากยมุนีพุทธเจ้า เมื่อทำเช่นนั้นแล้วจึงจะช่วยให้ประเทศญี่ปุ่นสงบสุข มั่นคง รอดพ้นจากปัญหานานาประการทั้งจากภัยธรรมชาติ ฤดูกาลแปรปรวน โรคระบาด เศรษฐกิจตกต่ำรุนแรง กบฏภายใน และภัยจากจักรวรรดิมองโกล ซึ่งญี่ปุ่นกำลังเผชิญอยู่ในขณะนั้น แต่หนทางในการเผยแผ่คำสอนของพระนิชิเร็งไม่เรียบง่าย บางครั้งถึงขั้นต้องแลกกับชีวิต ด้วยเหตุนี้วงการพุทธศาสนามหายานจึงสดุดีท่านว่า ผู้อุทิศชีวิตต่อสัทธรรมปุณฑรีกสูตร.

ดู สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและพระนิชิเร็ง

พระไตรปิฎกภาษาจีน

ระไตรปิฎกภาษาจีน (大藏經 Dàzàngjīng ต้าจั้งจิง) เป็นพระไตรปิฎกที่รวบรวมเอาคัมภีร์ทั้งของทั้งสามนิกายคือ ๑.ฝ่ายนิกายหินยานเรียกส่วนนี้ว่าอาคม.

ดู สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและพระไตรปิฎกภาษาจีน

กวนอิม

กวนอิม ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ กวนอิน ตามสำเนียงกลาง เป็นพระโพธิสัตว์ในตามคติมหายาน เป็นองค์เดียวกันกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในภาษาสันสกฤต ซึ่งมีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานในประเทศอินเดีย และได้ผสมผสานกับตำนานเรื่องเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน ของศาสนาพื้นบ้านจีนจนก่อให้เกิดเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคสตรีขึ้น เพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้นดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร ซึ่งเป็นการผสมผสานกลมกลืนทางความเชื่อที่ปราศจากข้อขัดแย้ง เนื่องจากในสัทธรรมปุณฑรีกสูตรได้อธิบายว่า พระอวโลกิเตศวรนั้นสามารถแบ่งภาคเพื่อโปรดสรรพสัตว์ได้มากมายทั้งปางบุรุษและสตรี และเป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์มหายานที่เมื่อเข้าไปสู่ดินแดนอื่นทั้งทิเบต จีน หรือญี่ปุ่น ย่อมผสมผสานกลมกลืนได้กับเทพท้องถิ่นนั้น ๆ อย่างในกรณีพระอวโลกิเตศวรนี้ Sir Charles Eliot ได้ตั้งข้อสังเกตว่า "คงเนื่องมาจากความสับสนทางความคิดของชาวจีนในยุคนั้น ซึ่งบูชาเทพเจ้าต่าง ๆ ของตนอยู่แล้ว และเมี่ยวซ่านก็เป็นเทพวีรชนดั้งเดิมอยู่ก่อน พออารยธรรมพระโพธิสัตว์จากอินเดียแผ่เข้าไปถึง ได้เกิดการผสานทางวัฒนธรรมเปลี่ยนชื่อเสียงคงไว้เพียงแต่คุณลักษณะต่าง ๆ พอให้แยกออกว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์" เจ้าแม่กวนอิมเป็นผู้.

ดู สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและกวนอิม

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ดู สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและภาษาสันสกฤต

มหายาน

มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน.

ดู สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและมหายาน

ยุคเฮอัง

อัง อยู่ในช่วง ค.ศ. 794 - ค.ศ. 1185 ในปลายศตวรรษที่ 8 มีการย้ายเมืองหลวงไปที่ เฮอังเกียว (平安京 Heian-kyou) หรือเมืองเคียวโตะในปัจจุบัน นับเป็นยุคทองของประเทศญี่ปุ่น ที่ทั้งศิลปะและวัฒนธรรมรุ่งเรืองถึงขีดสุด มีการพัฒนาปรับปรุงวัฒนธรรมต่างๆ ที่หยิบยืมมาจากประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ถัง และลัทธิขงจื้อ จนกลายเป็นวัฒนธรรมแบบเฉพาะตัวของญี่ปุ่น เฮอัง (平安,Heian) แปลว่า ความสงบสันต.

ดู สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและยุคเฮอัง

ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น

ระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นโดยผ่านเกาหลี ในหนังสือประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นชื่อ นิฮงโชคิ ได้บันทึกไว้ว่า วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.

ดู สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น

สึเนะซะบุโร มะกิงุชิ

Tsunesaburo Makiguchi, founder and first president of Soka Gakkai สึเนะซะบุโร มะกิงุชิ เกิดเมื่อวันที่ เกรกอเรียน 23 กรกฎาคม ปี ค.ศ. 1871 เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นนายกสมาคมสร้างคุณค่าคนแรก อุทิศชีวิตแด่สัทธรรมปุณฑรีกสูตร ทำให้สมาคมสร้างคุณค่ายืดหยัดมาจนถึงปัจจุบัน ก่อนที่จะถึงแก่มรณกรรมในเรือนจำซุงะโมะเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ.

ดู สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและสึเนะซะบุโร มะกิงุชิ

หาริตี

หารีตี (Hārītī) เป็นยักขินีในเมืองเปศวาร์และในเทพปกรฌัมทางภูมิภาคต้าเซี่ยซึ่งมีที่มาจากเทวีสวัสวดีในวัฒนธรรมฮินดู แต่ต่างกันอย่างสิ้นเชิงตรงที่นางหารีตีเป็นปอบกินคน นางมีบุตรนับร้อยและรักบุตรเป็นอันมาก แต่จับบุตรของผู้อื่นมาเป็นภักษาหารให้แก่บุตรนาง ครั้นพระพุทธศาสนาเข้ามาสู่แว่นแคว้นดังกล่าวจากทางแม่น้ำสินธุ ก็เกิดเรื่องเล่าใหม่ว่า สตรีผู้หนึ่งซึ่งบุตรถูกนางหาริตีลักไปได้วอนขอให้พระโคตมพุทธเจ้าทรงช่วยปกป้องบุตรนางด้วย พระองค์จึงทรงลักพาไอชี (Aiji) บุตรสุดท้องของนางหารีตีไปซ่อนไว้ได้บาตร นางหารีตีออกตามหาบุตรไปทั่วท้องจักรวาลแต่ก็ไม่พบ ที่สุด นางจึงมาอ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาว่า นางเองบุตรหายไปหนึ่งเวลายังเป็นทุกข์ร้อนถึงเพียงนี้ แล้วบิดามารดาผู้อื่นซึ่งบุตรถูกนางลักไปฆ่ากินนั้นจนล่วงลับตลอดไปนั้นจะไม่ร้อนรนเป็นร้อยเท่าพันเท่าหรือ นางหารีตีเมื่อเข้าใจถึงความทุกข์ทรมานใจของบิดามารดาผู้อื่น จึงปวารณาตัวเป็นผู้คุ้มครองเด็กและเป็นอุบาสิกา ทั้งหันไปบริโภคผลมณีพืชแทนเนื้อเด็ก ภายหลัง นางกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการพิทักษ์รักษาเด็ก การคลอดง่าย การเลี้ยงดูอุ้มชูเด็กอย่างมีความสุข ชีวิตคู่ผัวตัวเมียสุขสันต์ปรองดอง และชีวิตครอบครัวร่มเย็นมั่นคง นางหาริตียังคุ้มครองพุทธศาสนิกชนผู้ปฏิบัติสัทธรรมปุณฑรีกสูตร และสตรีไร้บุตรยังมักกราบไหว้นางหาริตีเพื่อขอบุตรด้วย กล่าวได้ว่า เมื่อพระพุทธศาสนามาถึงดินแดนเปศวาร์แล้ว นางหาริตีก็เปลี่ยนจากยักขินีตามวัฒนธรรมเปอร์เซียดั้งเดิมไปเป็นผู้อภิบาลพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ทำนองเดียวกับที่ในช่วงต้นพระพุทธศาสนาใช้กลืนลัทธิวิญญาณนิยม ต่อมา วัฒนธรรมเกี่ยวกับนางหาริตีก็แพร่หลายไปในเอเชียตะวันออกเช่นญี่ปุ่น และหาริตีในวัฒนธรรมญี่ปุ่นนั้นเรียก "คิชิโมะจิง" หรือ "คิชิโบะจิง".

ดู สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและหาริตี

ฮิโระชิ โฮโจ

รชิ โฮโจ นายกสมาคมโซคา งัคไกคนที่4 และเป็นนักการเมืองญี่ปุ่นเกิดเมื่อวันที่11 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 และถึงแก่กรรมวันที่18 กรกฎาคม พ.ศ.

ดู สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและฮิโระชิ โฮโจ

ธิดาพญามังกร

ทวรูปของธิดาพญามังกร ธิดาพญามังกร หรือที่ชาวไทยนิยมเรียกทับศัทพ์ภาษาจีนว่า เง็กนึ้ง เป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์โดยนิยมประดิษฐานนับถือคู่กันกับสุธนกุมาร.

ดู สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและธิดาพญามังกร

ตำนานเก็นจิ

มุราซากิ ชิคิบุ ตำนานเก็นจิ (源氏物語; Genji Monogatari) เป็นงานเขียนของ มุราซากิ ชิคิบุ นางข้าหลวงในราชสำนักญี่ปุ่นสมัยเฮอัน หรือ เฮอันเคียว ซึ่งมีชิวิตอยู่ราวต้นศตวรรษที่ 11 ว่ากันว่า นี่คือนวนิยายที่เก่าแก่ที่สุดเรื่องหนึ่งของโลก และมีการจัดกิจกรรมฉลองครบรอบ 1000 ปี ในปี 2008 ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยมีหลักฐานสนับสนุนจากเนิ้อความใน มุราซากิ ชิคิบุ นิกกิ (Murasaki Shikibu Nikki บันทึกของมุราซากิ ชิคิบุ) ซึ่งเธอได้เขียนบันทึกนั้นในวันที่ 1 เดือนพฤศจิกายน.1008 ว่า ฟุจิวะระ โนะ คินโตะ (Fujiwara no Kinto) นักปราชญ์ราชบัณฑิตชั้นแนวหน้าในยุคนั้น ชื่นชมในงานเขียนของเธอเป็นอันมาก และบันทึกนี้ยืนยันกับเราให้ทราบว่า เธอเขียน บท วะกะมุราซากิ จบในเวลานั้นเอง (1 พฤศจิกายน ค ศ.1008) บางข้อมูลอ้างว่า มุราซากิ ชิคิบุ เริ่มเขียน ตำนานเก็นจิที่วัดอิชิยะมะเดระ ในคืนวันจันทร์เต็มดวงของวันที่ 15 เดือนสิงหาคม ปี.

ดู สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและตำนานเก็นจิ

นะมุเมียวโฮเร็งเงะเคียว

ตัวอย่างของ "โกะฮนซน" (御本尊) มัณฑละอักษรภาพซึ่งมีมนต์ "นะมุเมียวโฮเร็งเงะเคียว" เป็นประธานหลักของมัณฑละ นะมุเมียวโฮเร็งเงะเคียว หรือ นัมเมียวโฮเร็งเงะเคียว เป็นมนต์ที่ใช้สวดเป็นบทหลักในศาสนาพุทธนิกายนิชิเร็ง มีความหมายว่า "ขอนอบน้อมแด่สัทธรรมปุณฑรีกสูตร" มนต์นี้ถูกอ้างอิงถึงในชื่อ ไดโมะคุ (題目) หรือเรียกอย่างยกย่องว่า โอไดโมะคุ (お題目) ซึ่งได้มีการเผยแพร่ครั้งแรกโดยพระนิชิเร็ง พระภิกษุในศาสนาพุทธชาวญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 28 เดือนสี่ทางจันทรคติญี่ปุ่น ค.ศ.

ดู สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและนะมุเมียวโฮเร็งเงะเคียว

นิชิเร็งชู

นิชิเรนชู (日蓮宗: "Nichiren School") เป็นนิกายหนึ่งของศาสนาพุทธมหายาน นิกายนิชิเรน ที่ถูกตั้งขึ้นโดยศิษย์ของพระนิชิเรน นิกายนี้เป็นที่รู้จักในทางนานาชาติน้อยกว่า นิชิเรนโชชู ในทางนานาชาติ นิชิเรนชู จะหมายถึง นิกายสายคุอนจิ นิกายนิชิเรนชู ไม่ยอมรับที่ นิชิเรนโชชู อ้างว่าพระนิชิเรนได้แต่งตั้ง พระนิกโค ให้เป็นผู้สืบทอดของท่านอย่างถูกต้อง แม้ว่าพระนิกโคเองเดิมทีจะเป็นสหายของพระสงฆ์อาวุโสที่เป็นผู้ก่อตั้งนิกายนิชิเรนชูก็ตามที นิกายนี้เชื่อว่า พระพุทธะที่ปรากฏในคัมภีร์สัทธรรมปุณฑริกสูตรคือ พระศากยมุนีพุทธเจ้า ไม่ใช่ พระนิชิเรน อย่างที่นิชิเรนโชชูกล่าวอ้าง โดยเชื่อว่า พระนิชิเรนนั้นเป็นเพียง พระโพธิสัตว์โจเกียว หรือ พระวิศิษฐ์จาริตรโพธิสัตว์ มาปรากฏตัวตามคำพยากรณ์ในสัทธรรมปุณฑริกสูตรบทที่ 21 ที่มาทำหน้าที่เผยแผ่คำสอนหลังการปรินิพพานของพระศากยมุนีพุทธเจ้าเท่านั้น.

ดู สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและนิชิเร็งชู

นิชิเร็งโชชู

อนุสาวรีย์พระนิชิเร็น ด้านนอกฮอนโนะจิ ใน อำเภอเทะระมะชิ กรุงเกียวโต นิกายนิชิเรนโชชู (日蓮正宗) คือหนึ่งในนิกายฝ่ายมหายานของพระพุทธศาสนา นิกายนิชิเรน โดยยึดตามคำสอนของ พระนิชิเร็นไดโชนิน ซึ้งเชื่อในหมู่ผู้นับถือว่าคือพระพุทธเจ้าแท้จริง มีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น การปฏิบัติที่รู้จักกันดีคือการสวดไดโมขุ หรือ ธรรมสารัตถที่ว่านัม-เมียวโฮ-เร็งเง-เคียว นิกายนี้จัดเป็นนิกายที่มีคำสอนตรงกันข้ามและหักล้างนิกายอื่นๆอย่างชัดเจน อาทิเช่น นิกายเซน, นิกายชินงอน, นิกายสุขาวดี, วัชรยาน เป็นต้น ซึ่งนิชิเรน ได้เห็นความเบี่ยนเบนทางคำสอนของพระพุทธศาสนา และได้หักล้างความเบี่ยนเบนต่างๆเหล่านั้น สาวกคนสำคัญของพระนิชิเร็นไดโชนิน พระนิกโค โชนิน เป็นผู้ก่อตั้งวัดใหญ่ไทเซขิจิ ปัจจุบันมีพุทธศาสนิกชนแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก มีวัดสาขาและศูนย์กลางเผยแผ่ประจำในประเทศต่างๆเช่น อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เกาหลี ไต้หวัน อินโดนีเซีย ศรีลังกา สิงคโปร์ กานา บราซิล อาร์เจนตินา ฮ่องกง มาเลเซีย สเปน อินเดีย เป็นต้น คำสอนของนิกายได้รับการดัดแปลงและเผยแพร่โดยองค์กรทางพุทธศาสนาบางองค์กรจนแตกต่างไปในปัจจุบัน ดังนั้นนิกายนิชิเรนโชชูจึงไม่มีความเกี่ยวข้องกับองค์กรเหล่านั้นแต่อย่างใด นิชิเรนโชชูได้มีการจัดพิธีเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ 750 ปีแห่งการก่อตั้งนิกายเมื่อปี ค.ศ.

ดู สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและนิชิเร็งโชชู

นิชิเร็น

ทธศาสนานิชิเร็น (日蓮系諸宗派, นิชิเร็น-เคอิ โช ชูฮะ) เป็นหนึ่งในนิกายทางมหายานของพุทธศาสนา ที่ยึดตามคำสอนของ พระสงฆ์ชาวญี่ปุ่นชื่อ พระนิชิเร็ง (ค.ศ.

ดู สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและนิชิเร็น

นิกายแทโก

นิกายแทโก (ฮันกึล 태고종 ฮันจา 太古宗) เป็นหนึ่งใน 2 คณะนิกายพุทธศาสนาในเกาหลีใต้ จัดเป็นสายหนึ่งของนิกายฉาน หรือนิกายซอน (เซ็น) สืบเนื่องจากแต่เดิมนั้นเกาหลีมีเพียงคณะนิกายเดียว แต่หลังตกเป็นอาณานิคมญี่ปุ่นแล้ว พุทธบริษัทญี่ปุ่นได้นำส่งเสริมแกมบังคับให้คณะสงฆ์เกาหลีแต่งงานมีครอบครัว ตามธรรมเนียมปฏิบัติของคณะสงฆ์ญี่ปุ่น ในช่วงเวลา 30 ปีที่ตกเป็นอาณานิคม มีทั้งฝ่ายคล้อยตาม และฝ่ายต่อต้าน ทำให้ในทางปฏิบัติคณะสงฆ์เกาหลีแยกเป็น 2 คณะ คือคณะที่รักษาพรหมจรรย์ และคณะที่ไม่รักษาพรหมจรรย์ เมื่อเกาหลีใต้ได้เอกราชแล้ว ประธานาธิบดี อี ซึง-มัน จึงออกกฎหมายแยกคณะสงฆ์ชัดเจนในทางนิตินัย กลายเป็นนิกายโชเก และนิกายแทโก คณะสงฆ์ทั้ง 2 ถือปราติโมกษ์ (หรือ "ปาฏิโมกข์" ในภาษาบาลี) ของนิกายธรรมคุปต์ ภิกษุมีสิกขาบท 250 ข้อ ถือศีลโพธิสัตว์ครุกาบัติ 10 ข้อ และลหุกาบัติ 48 ข้อ รวมเป็น 308 ข้อ เช่นเดียวกับภิกษุในจีนและเวียดนาม แต่คณะแทโกบางส่วนยังไม่ยอมสละธรรมเนียมญี่ปุ่น จึงบูชาปราติโมกษ์แต่มิได้ถือ หากไพล่ไปถือแต่ศีลโพธิสัตว์แทน จึงยังคงมีเหย้าเรือนเหมือนฆราวาส หากแต่โกนศีรษะและครองจีวรเหมือนบรรพชิต กระนั้นก็ตาม มีคณะแทโกสายเคร่งครัด ถือปราติโมกษ์เคร่งครัด รักษาพรหมจรรย์เหมือนคณะโชเก คิดเป็นสัดส่วน 40% อีก 60% ที่เหลือเป็นกึ่งฆราวาส กึ่งบรรพชิต โดยคำสอนแล้วนิกายนี้เหมือนกับนิกายโชเก คือการสืบทอดการปฏิบัติแบบนิกายซอน นอกจากนี้ยังมีการสืบทอดพิธีกรรมแบบโบราณบางอย่างที่นิกายโชเกไม่มี เช่นพิธียองซานแจ (영산재) หรือการจำลองเหตุการณ์เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงสัทธรรมปุณฑรีกสูตร มีการประกอบดนตรี และการร่ายรำแบบโบราณ สมัยราชวงศ์โครยอ ถือเป็นมรดกที่แตะต้องมิได้ของชาติเกาหลีใต้ ลักษณะพิเศษอีกประการของนิกายแทโก คือครองสังฆาฏิสีแดง อันเป็นสีดั้งเดิมของคณะสงฆ์เกาหลีแต่โบราณ สืบทอดมาตั้งแต่สมัยท่านแทโก โพอู คณาจารย์นิกายซอนในสมัยราชวงศ์โครยอ ซึ่งนิกายแทโก ถือเป็นบูรพาจารย์ท่านสำคัญ.

ดู สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและนิกายแทโก

โจะเซ โทะดะ

ซ โทะดะ เกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2443 ใน จังหวัดอิชิกะวะเป็นนายกสมาคมโซกา งัคไค ท่านที่ 2 เป็นอาจารย์ของไดซาขุ อิเคดะ ท่านได้ยืนหยัดต่อสู้เพื่อสมาคม และเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการบูรณะ วัดใหญ่ไทเซขิจิ ร่วมกับลูกศิษย์ คือ ดร.ไดซาจุ อิเคดะ และสมาชิกสมาคมสร้างคุณค่า ให้มีสภาพที่ดีขึ้นหลังจากตกต่ำในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 จนถึงแก่มรณกรรมวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.

ดู สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและโจะเซ โทะดะ

ไถหนัน

หนัน ชื่ออย่างเป็นทางการว่า นครไถหนัน (Táinán Shì; Tainan City) เป็นเมืองหนึ่งในภาคใต้ของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และเป็นเขตปกครองประเภทเทศบาลพิเศษ ด้านตะวันตกและด้านใต้ติดกับช่องแคบไต้หวัน มีสมญาว่า "เมืองหงส์" (Fènghuáng Chéng; Phoenix City) โดยเปรียบกับหงส์จีนซึ่งเชื่อว่า มีฤทธิ์ฟื้นคืนชีพได้ เพราะเมืองนี้ผ่านร้อนผ่านหนาวแล้วกลับรุ่งเรืองหลายครั้ง เดิมที บริษัทอินเดียตะวันออก (East India Company) ของชาววิลันดา ก่อตั้งเมืองนี้ขึ้นในช่วงวิลันดาครองไต้หวัน เพื่อเป็นนิคมการค้าเรียกว่า "ป้อมวิลันดา" (Rèlánzhē Chéng; Fort Zeelandia) แต่เมื่อเจิ้ง เฉิงกง (Zhèng Chénggōng) ขุนพลจักรวรรดิหมิง นำทัพขับไล่ต่างชาติออกจากเกาะไต้หวันได้อย่างราบคาบในปี 1661 เขาก็สถาปนาอาณาจักรตงหนิง (Dōngníng; Tungning) ขึ้นบนเกาะ และใช้นิคมดังกล่าวเป็นเมืองหลวงจนถึงปี 1683 เมื่อราชวงศ์ชิงสถาปนาการปกครองบนเกาะไต้หวันได้เป็นผลสำเร็จ อาณาจักรตงหนิงก็กลายเป็นเพียงมณฑลไต้หวันอันเป็นหนึ่งในมณฑลของจักรวรรดิชิง และนิคมดังกล่าวก็เป็นเมืองเอกของมณฑลไต้หวัน จนมีการย้ายเมืองเอกไปที่ไทเป (Táiběi; Taipei) เมื่อปี 1887 คำว่า "ไถหนัน" แปลว่า ไต้หวันใต้ คู่กับ "ไถเป่ย์" คือ ไทเป ที่แปลว่า ไต้หวันเหนือ "ไถจง" ที่แปลว่า ไต้หวันกลาง และ "ไถตง" ที่แปลว่า ไต้หวันตะวันออก ชื่อเก่าของไถหนันคือ "ต้า-ยฺเหวียน" (Dàyuán; Tayouan) แปลว่า ต่างชาติ และมีผู้ถือว่า ชื่อนี้เป็นที่มาของชื่อ "ไต้หวัน" ปัจจุบัน นอกจากเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไต้หวันแล้ว ไถหนันยังเป็นแหล่งวัฒนธรรมขนานเอก เพราะมีวัฒนธรรมท้องถิ่นนานัปการ เช่น อาหารพื้นเมืองเลื่องชื่อ พิธีกรรมลัทธิเต๋าซึ่งรักษาไว้เป็นอย่างดี กับทั้งประเพณีชาวบ้านเกี่ยวกับการใช้ชีวิตตั้งแต่ครรภ์มารดาจนถึงเชิงตะกอน.

ดู สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและไถหนัน

ไดซะกุ อิเกะดะ

ซาขุ อิเคดะ หรือ เกิดเมื่อวันที่ 2 มกราคม..

ดู สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและไดซะกุ อิเกะดะ

ไดโงะฮนซง

งะฮนซง เป็นสิ่งสักการบูชาสูงสุดของศาสนาพุทธนิกายนิชิเร็งโชชู คำว่า "ได" (大) แปลว่า "ยิ่งใหญ่, สูงสุด" ส่วน "โงะฮนซน" (御本尊) หมายถึง สิ่งสักการะ คำว่า "ไดโงะฮนซง" จึงแปลว่า "สิ่งสักการะสูงสุด" ไดโงะฮนซนมีลักษณะเป็นรูปมัณฑละ (มณฑล) จารึกภาษาจีนและภาษาสันสกฤต ซึ่งทำจากไม้การบูร โดยหลักแล้วมัณฑละดังกล่าวประกอบด้วยนามของพุทธะ พระโพธิสัตว์ เทพในพุทธศาสนา และคุรุอาจารย์ต่างๆ ในศาสนาพุทธเป็นจำนวนมาก รายล้อมรอบอักษรคันจิ (อักษรจีน) ที่อยู่ศูนย์กลางมัณฑละ ซึ่งจารึกเป็นคาถาว่า "นัมเมียวโฮเร็งเงเคียวนิชิเร็ง" ตามประวัติกล่าวว่าโงะฮนซงถูกจารึกขึ้นโดยพระนิชิเร็ง (หรือ "นิชิเร็งไดโชนิง" ในหมู่สานุศิษย์แห่งนิกายนิชิเร็งโชชู) เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ.

ดู สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและไดโงะฮนซง

เบ็นไซเต็ง

็นไซเต็ง หรือที่เรียกอย่างสั้นว่า เบ็นเต็ง เป็นเทพีองค์หนึ่งตามคติพุทธศาสนาแบบญี่ปุ่น เป็นเทพีองค์เดียวกับพระสรัสวดีของคติศาสนาพราหมณ์-ฮินดู คติการนับถือเบ็นไซเต็ง เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6-8 ผ่านการแปล สุวรรณประภาสสูตร (Suvarṇa-prabhāsa Sūtra; 金光明経) จากภาษาจีนสู่ญี่ปุ่น โดยเนื้อหาให้พระคัมภีร์ดังกล่าวมีเนื้อหาเกี่ยวกับเบ็นไซเต็ง และยังปรากฏใน สัทธรรมปุณฑรีกสูตร (Saddharma Puṇḍarīka Sūtra; 妙法蓮華経) ที่ปรากฏองค์พร้อมกับเครื่องดนตรีญี่ปุ่นดั้งเดิมที่เรียกว่า บิวะ (琵琶) ต่างกับพระสรัสวดีที่ถือ พิณ (วีณา) เบ็นไซเต็ง เป็นหนึ่งในเทพแห่งโชคลาภทั้งเจ็ด และเป็นเทพีแห่งกวี อักษรศาสตร์ นาฏกรรม และดนตรี เชื่อกันว่าผู้ใดนับถือเทวีพระองค์นี้ก็จะพบแสงสว่างแห่งปัญญา ในอดีตเกชะนิยมบูชาเบ็นไซเต็งเพราะเชื่อว่าจะทำให้มีความสามารถเชิงระบำรำฟ้อน ส่วนพวกตีนแมวและพวกย่องเบาเองก็นิยมบูชาเทวีพระองค์นี้เช่นกัน เพราะเชื่อว่าเบ็นไซเต็งจะดลบันดาลให้ภารกิจลุล่วงไปด้วยดี.

ดู สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและเบ็นไซเต็ง

เทียนไถ

นิกายสัทธรรมปุณฑริกสูตร หรือ นิกายเทียนไถ (天台宗 Tiāntái) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาพุทธในประเทศจีน ก่อตั้งโดยฉีอี้ นับถือสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นคัมภีร์หลัก.

ดู สัทธรรมปุณฑรีกสูตรและเทียนไถ

หรือที่รู้จักกันในชื่อ พระสูตรบัวขาวปุณฑริกสูตร