โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

ดัชนี สัตว์มีกระดูกสันหลัง

ัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrate) สิ่งมีชีวิตประเภทนี้มีกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังเริ่มมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาประมาณ 505 ล้านปี ในยุคแคมเบรียนกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่วงยุคแคมเบรียน โครงกระดูกของไขสันหลัง ถูกเรียกว่ากระดูกสันหลัง Vertebrate เป็นไฟลัมย่อยที่ใหญ่ที่สุดใน Chordates รวมทั้งยังมีสัตว์ที่คนรู้จักมากที่สุดอีกด้วย (ยกเว้นแมลง) ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (รวมทั้งมนุษย์) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะของไฟลัมย่อยนี้คือระบบของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เช่นเดียวกับระบบประสาทส่วนกลางที่ถูกวางในกระดูกสันหลังเป็นส่วน ๆ สัตว์มีกระดูกสันหลัง คือกระดูกสันหลังจะอยู่เป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์ กระดูกสันหลังจะต่อกันเป็นข้อๆ ยืดหยุ่น เคลื่อนไหวได้มีหน้าที่ช่วยพยุงร่างกายให้เป็นรูปร่างทรวดทรงอยู่ได้และยังช่วยป้องกันเส้นประสาทอีกด้วย สัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง นักวิทยาศาสตร์ยังแบ่งออกเป็น 5 พวกคือ.

284 ความสัมพันธ์: ชั้นปลากระดูกแข็งชีววิทยาบทนำวิวัฒนาการช้างพุ่มไม้แอฟริกาช้างป่าแอฟริกาช้างแอฟริกาฟาโกไซโทซิสพลาสโมเดียมกบชะง่อนผาภูหลวงกระดูกกระดูกสันหลังกระดูกนิ้วมือท่อนกลางกระดูกนิ้วมือท่อนต้นกระดูกนิ้วมือท่อนปลายกระดูกนิ้วเท้าท่อนกลางกระดูกนิ้วเท้าท่อนต้นกระดูกนิ้วเท้าท่อนปลายกระดูกแข้งกระดูกโกลนกระต่ายกล้ามเนื้อไอริส สฟิงคเตอร์กวางรูซากะโหลกศีรษะการกลายเป็นหินการตอบสนองโดยสู้หรือหนีการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยงการปรับตาดูใกล้ไกลการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาการเจริญของประสาทในมนุษย์การเจริญเรตินาขึ้นมาทดแทนกาลานุกรมวิวัฒนาการมนุษย์กำเนิดประสาทกิ้งก่ากิ้งก่าบาซิลิสก์กิ้งก่ามอนิเตอร์กิ้งก่าหนามมังกรโกโมโดม็อบ (แก้ความกำกวม)ยุคไทรแอสซิกระบบการทรงตัวระบบการได้ยินระบบรับความรู้สึกทางกายระบบประสาทระบบประสาทกลางระบบไหลเวียนริ้นน้ำเค็มร่องกลางลำดับสงวนลำไส้เล็กส่วนกลางลำไส้เล็กส่วนต้น...ลำไส้เล็กส่วนปลายลิมโฟไซต์ลิสแซมฟิเบียวัฏจักรแคลเซียมวิลเดอบีสต์วิลเดอบีสต์เคราขาววิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมวิวัฒนาการของการเห็นเป็นสีในไพรเมตวิวัฒนาการของมนุษย์วิวัฒนาการของตาวุลเวอรีนวงศ์พังพอนวงศ์กิ้งก่าบาซิลิสก์วงศ์กิ้งก่าคาเมเลี่ยนวงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งวงศ์ย่อยงูแมวเซาวงศ์ย่อยงูเขียววงศ์ย่อยตะพาบหับวงศ์ย่อยแมววงศ์อึ่งกรายวงศ์งูพิษเขี้ยวหลังวงศ์งูก้นขบวงศ์งูดินวงศ์งูแมวเซาวงศ์งูแสงอาทิตย์วงศ์งูโบอาวงศ์งูเส้นด้ายวงศ์งูเหลือมวงศ์ปลาปอดแอฟริกาวงศ์ใหญ่ตะพาบและเต่าจมูกหมูวงศ์เอลิฟานติดีสกุลปลาปักเป้าตุ๊กแกสกุลเตตราโอดอนสภาวะตื่นตัวสมองสมองส่วนกลางสมองส่วนหน้าสัตววิทยาสัตว์มีแกนสันหลังสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกสัตว์ปีกสัตว์เลื้อยคลานสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสิงโตสเตอรอยด์หมาหมาจิ้งจอกหม้อข้าวหม้อแกงลิงหลอดอาหารหัวใจหูชั้นในหูชั้นในรูปหอยโข่งหนอง (ฝี)หนูพุกหน่วยรับกลิ่นออสตราโคเดิร์มอะมิกดะลาอันดับกบอันดับทัวทาราอันดับปลาหนังอันดับปลาปักเป้าอาริสโตเติลอิกัวนาหมวกเหล็กอินซูลินอึ่งน้ำเต้าอุรังอุตังสุมาตราอีเห็นน้ำมลายูผิวหนังจอตาจิตพยาธิวิทยาสัตว์จิ้งจกบ้านหางหนามจิ้งเหลนจระเข้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทากิฟูงุทาคินขาความหลากหลายทางชีวภาพความเจ็บปวดควายป่าแอฟริกาคอคอร์ปัส คาโลซัมคอร์เทกซ์คัพภวิทยาคิโนซีเลียมคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์งูงูพิษเฟียงูกรีนแมมบาตะวันออกงูกรีนแมมบาตะวันตกงูกะปะงูก้นขบงูลายสองูสามเหลี่ยมงูสิงงูหลามงูหลามบอลงูหลามต้นไม้สีเขียวงูหลามแอฟริกางูหางกระดิ่ง (สกุล)งูหางกระดิ่งแคระงูหางกระดิ่งไซด์ไวน์เดอร์งูหางแฮ่มกาญจน์งูอนาคอนดาเหลืองงูจงอางงูทะเลงูทับทางงูดินงูดินบ้านงูดินหางยาวงูตาแมวงูปล้องฉนวนงูปาล์มงูแบล็กแมมบางูแมมบางูแมวเซางูแมวเซาอินเดียงูแสมรังงูแสมรังเกล็ดเบลเชอร์งูแสงอาทิตย์งูไทปันธรรมดางูเส้นด้ายบาร์เบโดสงูเหลือม (สกุล)งูเห่าน้ำงูเขียวพระอินทร์งูเขียวหางไหม้งูเขียวหางไหม้ท้องเหลืองตะพาบม่านลายตะพาบไบคอลโลไซต์ตับตับอ่อนตัวกระตุ้นตัวรับรู้สารเคมีตัวรับแรงกลตุ๊กแกหางใบไม้ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพซาลาแมนเดอร์ซานเตียโก รามอน อี กาฮาลซีกสมองปมประสาทฐานประสาทกายวิภาคศาสตร์ประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์ประสาทสัมผัสปลาปลากระดูกอ่อนปลาก้างพระร่วงปลามีเกราะปลาม้าลายปลาสร้อยลูกกล้วยปลาออร์ปลาจุมพรวดปลาที่มีครีบเป็นพู่ปลาขวานปลาปอดปลาปอดแอนเนคเทนปลาปอดเอธิโอปิคัสปลาปักเป้าทอง (สกุล)ปลาปักเป้าควายปลาปักเป้าตาแดงปลาปักเป้าแอมะซอนปลาปักเป้าแคระปลาไม่มีขากรรไกรปลาไฮนีเรียปลาเพียวปอดปาดเขียวตีนดำป่องรู้กลิ่นนกกระจอกเทศนกกระเรียนไทยนกกะปูดใหญ่นกกาเหว่านกล่าเหยื่อนกดำน้ำน้อยดีนกดำน้ำไร้ปีกนกตะขาบทุ่งนกนางแอ่นนกเด้าลมนากทะเลนิวคลีโอโพลิฮีโดรไวรัสนิวเคลียส (ระบบประสาท)น้ำอสุจิน้ำดีแบคทีเรียดื้อยาแกนประสาทนำออกแร้งโลกใหม่แอมฟิอูมาสองนิ้วแฮมสเตอร์แฮ็กฟิชแผนที่ภูมิลักษณ์โรคพิษสุนัขบ้าโครงกระดูกแกนโคอาทีไฟลัมย่อยไทต์ จังก์ชันไข้ไดโนเสาร์ไตเฟอร์ริตินเพรียงหัวหอมเพนกวินเพนกวินลายเพนกวินหางแปรงเพนกวินแอฟริกันเกล็ดปลาเมือกเมียร์แคตเมแทบอลิซึมเม็ดเลือดแดงเยื่อบุผิวรับกลิ่นเยื่อกั้นหูชั้นในเสือโคร่งเอ็กโทเดิร์มเฮลล์เบนเดอร์เทสโทสเตอโรนเคลดเตตราโครมาซีเต่าปากแม่น้ำเซลล์รับแสงเซลล์ขนเซลล์ประสาทเปลือกสมองเนื้อเยื่อคัพภะเนื้อเยื่อประสาทเนื้อเยื่อใต้หนังเนื้อเยื่อเกี่ยวพันBothrops insularisCervusLateral geniculate nucleusMuller gliaNepenthes rajahOccluding junctionRucervusSaccadeStereociliaSuperior colliculus ขยายดัชนี (234 มากกว่า) »

ชั้นปลากระดูกแข็ง

ปลากระดูกแข็ง (ชั้น: Osteichthyes, Bony fish) จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ซึ่งอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา เป็นปลาที่จัดอยู่ในชั้น Osteichthyes พบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โครงร่างภายในเป็นกระดูกแข็งทั้งหมด ก้านครีบอาจเป็นกระดูกอ่อนหรือกระดูกแข็งก็ได้ มีกระดูกสันหลัง ปากอยู่ปลายสุดด้านหน้า มีฟัน ตาขนาดใหญ่ ไม่มีหนังตา ขากรรไกรเจริญดี หายใจด้วยเหงือก มีฝาปิดเหงือก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมองมี 10 คู่ มีถุงรับกลิ่น 1 คู่ แยกเพศ ปฏิสนธิภายนอก ออกลูกเป็นไข่ มีบางชนิดที่ออกลูกเป็นตัว.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและชั้นปลากระดูกแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ชีววิทยา

ีววิทยา (Biology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

บทนำวิวัฒนาการ

"ต้นไม้บรรพชีวินวิทยาของสัตว์มีกระดูกสันหลัง" จากหนังสือ ''วิวัฒนาการมนุษย์'' ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5 (ลอนดอน, 1910) ของเฮเกิล (Ernst Haeckel) ประวัติวิวัฒนาการของสปีชีส์ต่าง ๆ สามารถจัดเป็นรูปต้นไม้วิวัฒนาการชาติพันธุ์ โดยมีสาขามากมายงอกออกจากลำต้นเดียวกัน วิวัฒนาการ (evolution) เป็นการเปลี่ยนแปลงในสรรพชีวิตตลอดหลายรุ่น และศาสตร์ชีววิทยาวิวัฒนาการ (evolutionary biology) เป็นศึกษาว่าเกิดขึ้นอย่างไร ประชากรสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาผ่านการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมซึ่งเข้ากับการเปลี่ยนแปลงลักษณะปรากฏของสิ่งมีชีวิต การเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมรวมทั้งการกลายพันธุ์ ซึ่งเกิดจากความเสียหายของดีเอ็นเอหรือข้อผิดพลาดในการถ่ายแบบดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิต เมื่อความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากรเปลี่ยนไปอย่างไม่เจาะจงแบบสุ่มเป็นเวลาหลายรุ่นเข้า การคัดเลือกโดยธรรมชาติจะเป็นเหตุให้พบลักษณะสืบสายพันธุ์มากขึ้นหรือน้อยลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขึ้นอยู่กับความสำเร็จทางการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเช่นนั้น โลกมีอายุประมาณ 4,540 ล้านปี และหลักฐานสิ่งมีชีวิตเก่าแก่ที่สุดโดยไม่มีผู้คัดค้านสืบอายุได้อย่างน้อย ระหว่างมหายุคอีโออาร์เคียนหลังเปลือกโลกเริ่มแข็งตัว หลังจากบรมยุคเฮเดียนก่อนหน้าที่โลกยังหลอมละลาย มีซากดึกดำบรรพ์แบบเสื่อจุลินทรีย์ (microbial mat) ในหินทรายอายุ ที่พบในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย หลักฐานรูปธรรมของชีวิตต้น ๆ อื่นรวมแกรไฟต์ซึ่งเป็นสสารชีวภาพในหินชั้นกึ่งหินแปร (metasedimentary rocks) อายุ ที่พบในกรีนแลนด์ตะวันตก และในปี 2558 มีการพบ "ซากชีวิตชีวนะ (biotic life)" ในหินอายุ ในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย Early edition, published online before print.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและบทนำวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

ช้างพุ่มไม้แอฟริกา

้างพุ่มไม้แอฟริกา หรือ ช้างสะวันนาแอฟริกา (African bush elephant, African savanna elephant) หรือที่นิยมเรียกกันว่า ช้างแอฟริกา หรือ ช้างแอฟริกัน เป็นช้างชนิดหนึ่งที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ช้างพุ่มไม้แอฟริกา นับเป็นช้างขนาดใหญ่ที่สุด และถือเป็นสัตว์บกและสัตว์กินพืชที่ใหญ่และหนักที่สุดในโลกอีกด้วย ช้างพุ่มไม้แอฟริกา เดิมเคยถูกจัดเป็นชนิดเดียวกับช้างป่าแอฟริกา (L. cyclotis) โดยเป็นชนิดย่อยของกันและกัน ก่อนที่จะแยกออกจากกันในปี ค.ศ. 2010 จากการศึกษาทางดีเอ็นเอ โดยช้างพุ่มไม้แอฟริกานั้นมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า ล่ำสันกว่า แพร่กระจายพันธุ์ได้กว้างกว่า โดยกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของทะเลทรายสะฮาราลงไป รวมถึงมีพฤติกรรมการอยู่อาศัยที่แตกต่างออกไปด้วย กล่าวคือ จะอาศัยอยู่ตามทุ่งโล่งหรือตามพุ่มไม้ต่าง ๆ มากกว่าป่าทึบ เป็นสัตว์ที่ไม่กลัวแดดและความร้อน หากินและอพยพได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ช้างพุ่มไม้แอฟริกา อาจจะมีความสูงถึงเกือบ 4 เมตร เมื่อวัดจากเท้าถึงหัวไหล่ แต่โดยเฉลี่ยทั่วไปจะมีความสูงประมาณ 3.3 เมตร น้ำหนักประมาณ 5.5 ตัน ขณะที่ตัวเมียจะมีขนาดเล็กลงมากว่าหน่อย คือ สูง 2.8 เมตร และมีน้ำหนัก 3.7 ตันโดยเฉลี่ย ขณะที่มีงายาวได้ถึง 20 นิ้ว น้ำหนักงา 200 ปอนด์ มีงาทั้งตัวผู้และตัวเมีย แต่งาของตัวผู้จะสั้นและอวบใหญ่กว่า ส่วนงาของตัวเมียจะยาวกว่า แต่มีความเรียวบางกว่า เท้าหน้ามี 4 เล็บ และเท้าหลังมี 3 เล็บ มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 50 ปี นับว่าน้อยกว่าช้างเอเชีย ช้างพุ่มไม้แอฟริกา จะอยู่รวมกันเป็นฝูง มีตัวเมียที่อาวุโสสูงสุดเป็นจ่าฝูง เป็นตัวนำพาสมาชิกในฝูงตัวอื่น ๆ ขณะที่ตัวผู้ที่โตเต็มที่มักจะออกไปอยู่เองเป็นอิสระ ช้างพุ่มไม้แอฟริกามีอุปนิสัยดุร้าย ก้าวร้าวมากกว่าช้างเอเชีย จึงฝึกให้เชื่องได้ยากกว่า มีเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้นที่สามารถฝึกให้เชื่อฟังมนุษย์ได้ โดยปกติ ตัวเมียจะเป็นอันตรายมากกว่าตัวผู้ อาจเป็นเพราะต้องดูแลปกป้องลูกช้าง และสมาชิกในฝูงกว่า แต่ช้างตัวผู้ที่โตเต็มที่สามารถฆ่าสัตว์ใหญ่แม้กระทั่งแรดได้ ทั้ง ๆ ที่แรดมิได้เป็นสัตว์ที่คุกคามเลย แต่เป็นเพราะมาจากความก้าวร้าว ในแต่ละปี ช้างพุ่มไม้แอฟริกา จะบุกรุกและทำลายบ้านเรือนของชาวพื้นเมืองแอฟริกัน เพราะพื้นที่อยู่อาศัยและทำการเกษตรของมนุษย์กับช้างทับซ้อนกัน มีผู้ถูกฆ่ามากกว่า 500 คน โดยก่อนที่จะบุกรุก ช้างพุ่มไม้แอฟริกาจะทำการชูงวง ที่มีกล้ามเนื้อมากกว่า 100,000 มัด เต็มไปด้วยพละกำลัง และกางหูออก เมื่อจะวิ่งเข้าใส่ จะทำการย่อเข่าลงมาเล็กน้อย แม้จะมีขนาดลำตัวใหญ่ที่ใหญ่โต แต่ก็สามารถวิ่งได้เร็วกว่ามนุษย์ โดยวิ่งได้เร็วถึง 30 ไมล์/ชั่วโมงหน้า 91-94, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม, 2518) ปัจจุบัน มีรายงานการพบช้างพุ่มไม้แอฟริการ้อยละ 30 ที่ไม่มีงา แต่ช้างที่ไม่มีงานั้นกลับดุร้าย และอันตรายยิ่งกว่าช้างที่มีงา โดยจะพุ่งเข้าใส่เลยทันที สันนิษฐานว่าเป็นเพราะพันธุกรรมตกทอดกันมา จากการถูกมนุษย์ล่าเอางาElephant, "Rouge Nature With Dave Salmoni" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: พฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม 2555.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและช้างพุ่มไม้แอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ช้างป่าแอฟริกา

้างป่าแอฟริกา (African forest elephant) เป็นช้างชนิดหนึ่ง เดิมเคยถูกจัดให้เป็นชนิดเดียวกันกับช้างพุ่มไม้แอฟริกา (L. africana) โดยใช้ชื่อว่า L. africana cyclotis จนกระทั่งในปี..

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและช้างป่าแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ช้างแอฟริกา

้างแอฟริกา หรือ ช้างแอฟริกัน (African elephant) เป็นช้างสกุลหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา จากหลักฐานฟอสซิลที่ค้นพบทำให้ทราบว่า ช้างแอฟริกาอาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกามาตั้งแต่ยุคไพลสโตซีน ช้างแอฟริกา จัดอยู่ในสกุล Loxodonta (/โล-โซ-ดอน-ตา/; เป็นภาษากรีกแปลว่า "ฟันเอียงข้าง") ซึ่งปัจจุบันหลงเหลือเพียง 2 ชนิด คือ.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและช้างแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ฟาโกไซโทซิส

กระบวนการฟาโกไซโทซิส (Phagocytosis แปลตรงตัวแปลว่า "การกินเซลล์") หรือการกลืนกินของเซลล์ คือรูปแบบหนึ่งของการย่อยอาหารในเซลล์ หรือเอนโดไซโทซิส (Endocytosis) โดยที่อนุภาคขนาดใหญ่ (อาจเป็นสิ่งแปลกปลอมหรืออาหาร) ถูกโอบล้อมรอบโดยเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์ (ส่วนมากจะใหญ่กว่าอนุภาคที่ทำการโอบ) และถูกนำเข้าไปอยู่ภายในเซลล์ (คล้ายกับการกิน) เพื่อทำให้อนุภาคกลายเป็นฟาโกโซม (Phagosome) หรือฟูดแวคิวโอล (Food vacuole) ซึ่งก็คือช่องว่างในเซลล์ที่มีอาหารหรือสิ่งแปลกปลอมบรรจุอยู่นั่นเอง ในสัตว์นั้น กระบวนการฟาโกไซโทซิสจะมีเซลล์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะเรียกว่า ฟาโกไซต์ (Phagocytes) ซึ่งจะทำหน้าที่ในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย ซึ่งก็คือการกำจัดเชื้อโรคนั่นเอง ส่วนในสัตว์มีกระดูกสันหลังนั้น ยังมีเซลล์อื่นนอกจากฟาโกไซต์ ทำหน้าที่เดียวกันอยู่ คือแมโครเฟจ (Macrophages) ที่มีขนาดใหญ่กว่าฟาโกไซต์ และกรานูโลไซต์ (Granulocytes) ที่มีขนาดเล็กกว่า โดยที่เซลล์ทั้งสองแบบนี้ล้วนอยู่ในเม็ดเลือดขาวทั้งสิ้น สิ่งที่ถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมที่จะถูกกำจัดโดยวิธีการฟาโกไซโทซิสได้แก่ แบคทีเรีย, เซลล์เนื้อเยื่อที่ตายแล้ว และอนุภาคแร่ธาตุขนาดเล็ก ในกรณีที่แบคทีเรียนั้นอาจทำให้เซลล์ที่ทำการฟาโกไซโทซิสติดเชื้อได้จะถูกเคลือบด้วยแอนติบอดีก่อนที่จะถูกโอบเข้าไป แต่ในกรณีของแบคทีเรียที่เป็นเชื้อของโรคบางชนิดเช่นโรคเรื้อน และวัณโรค ซึ่งเมื่อถูกนำเข้าไปในเซลล์ผ่านกระบวนการฟาโกไซโทซิสแล้ว จะไม่สามารถถูกทำลายได้โดยเซลล์ฟาโกไซต์ที่ได้โอบเชื้อเข้าไป โดยจะเรียกเชื้อโรคเหล่านี้รวมไปถึงทุกสิ่งที่ขัดขวางหรือยับยั้งกระบวนการฟาโกไซโทซิสว่าแอนติฟาโกไลติก (Antiphagolytic) จากการรู้ถึงความสามารถของเชื้อโรคในการต่อต้านเซลล์ฟาโกไซต์ธรรมดาๆ ได้ ทำให้สรุปได้ว่าแมโครเฟจ และกรานูโลไซต์ (ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นแกรนูโลไซต์ประเภทนิวโทรฟิล, Neutrophil granulocytes) นั้นอาจถือได้ว่าเป็น "ฟาโกไซต์ที่เก่งกว่า" แต่นี่เป็นเพียงแค่ผลสรุปของการวิจัยเซลล์ประเภทนี้หลายๆ การวิจัยที่ตรงกันเท่านั้น ส่วนจุดที่สำคัญที่สุดในกระบวนการฟาโกไซโทซิสก็คือความสามารถในการควบคุมการอักเสบของมัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับอนุภาคที่ถูกโอบ โดยกระบวนการฟาโกไซโทซิสนี้สามารถบรรเทาอาการอักเสบได้ หรือในกรณีของเซลล์ที่ตายแบบอะพอพโทซิส จะช่วยชะลอการหายอักเสบของเซลล์เหล่านั้น กระบวนการฟาโกไซโทซิสยังมีส่วนเกี่ยวข้องในการต้านทางต่อภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะช่วยป้องกันการอักเสบกับส่วนต่างๆ ของร่างกายที่เป็นปกติ โดยการกำจัดสิ่งแปลกปลอมก่อนที่แอนติบอดีจะกำจัดซึ่งจะทำให้เกิดอาการอัก.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและฟาโกไซโทซิส · ดูเพิ่มเติม »

พลาสโมเดียม

พลาสโมเดียม (Plasmodium) เป็นสกุลของเชื้อปรสิตโปรโตซัวชนิดหนึ่งซึ่งทำให้เกิดโรคมาลาเรีย ในวงชีวิตของเชื้อชนิดนี้ต้องการโฮสต์สองตัวได้แก่พาหะที่เป็นยุงและโฮสต์ที่เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง มีเชื้อพลาสโมเดียมไม่ต่ำกว่าสิบชนิดที่สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อในมนุษย์ได้ ส่วนชนิดอื่นๆ ก็ทำให้เกิดการติดเชื้อในสัตว์ชนิดอื่นเช่นนก สัตว์เลื้อยคลาน หรือสัตว์ฟันแทะ เป็นต้น หมวดหมู่:ปรสิตวิทยา หมวดหมู่:ปรสิต.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและพลาสโมเดียม · ดูเพิ่มเติม »

กบชะง่อนผาภูหลวง

กบชะง่อนผาภูหลวง (Phu Luang cliff frog; ชื่อวิทยาศาสตร์: Huia aureola) เป็นกบเฉพาะถิ่นชนิดใหม่ที่ค้นพบใน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย ค้นพบโดย นายธัญญา จั่นอาจ จากองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ขนาดตัวยาว 63-96.5 มิลลิเมตร หัวแคบเรียว มีขนาดด้านยาวมากกว่าด้านกว้าง จุดกลางหน้าผาก เห็นได้ชัดเจนแผ่นหูเห็นได้ชัดเจน มีถุงใต้คางที่บริเวณมุมของคอ ปลายนิ้วขยายออกเป็นแผ่นขนาดใหญ่ ผิวหนังเรียบ ยกเว้นที่ผิวใต้ต้นขา มีตุ่มหยาบไม่มีต่อมที่โคนขาหน้า สันต่อมที่เหนือแผ่นหูเห็นไม่ชัด ไม่มีสันต่อมที่ขอบหลัง หัวและลำตัวด้านหลังสีเขียว ด้านข้างของหัวและสีข้างสีน้ำตาลเข้ม ผิวด้านท้ายของต้นขาหน้า ครึ่งด้านท้องของสีข้าง ผิวของต้นขา แข้ง และตีนดำพร้อมด้วยลวดลายสีเหลืองสด ขอบปากบนมีเส้นสีเหลือง ขอบปากล่างดำ ใต้คอมีแต้มสีน้ำตาล ถุงใต้คอดำ ท้องขาว แผ่นพังผืดที่ยึดระหว่างนิ้วตีนสีน้ำตาลอมม่วงพบอาศัยเฉพาะในบริเวณลำธารต้นน้ำในป่าดิบเขาของจังหวัดเลย ตัวเมียใหญ่กว่าตัวผู้ ประมาณ 10 มิลลิเมตร อาศัยบนต้นน้ำสูงเกิน 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล พบตัวเมียน้อยกว่าตัวผู้.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและกบชะง่อนผาภูหลวง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูก

กระดูกต้นขาของมนุษย์ กระดูก เป็นอวัยวะที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างแข็งภายใน (endoskeleton) ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง หน้าที่หลักของกระดูกคือการค้ำจุนโครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การสะสมแร่ธาตุและการสร้างเซลล์เม็ดเลือด กระดูกเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อกระดูก (osseous tissue) ที่มีความแข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา การเจริญพัฒนาของเนื้อเยื่อกระดูกในรูปแบบที่แตกต่างกัน ทำให้กระดูกเป็นอวัยวะที่มีหลายรูปร่างลักษณะ เพื่อให้สอดคล้องกันกับการทำงานของกระดูกในแต่ละส่วน เช่นกะโหลกศีรษะ (skull) ที่มีลักษณะแบนแต่แข็งแรงมาก เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนของสมอง หรือกระดูกต้นขา (femur) ที่มีลักษณะยาวเพื่อเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของรยางค์ล่าง เป็นต้น.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลัง มองจากด้านข้าง ส่วนต่างๆของแนวกระดูกสันหลัง ส่วนต่างๆกระดูกสันหลังหนึ่งชิ้น มองจากทางด้านข้าง กระดูกสันหลังส่วนคอ ชิ้นแรก มองจากทางด้านบน แนวกระดูกสันหลังส่วนคอตอนต้น แสดงกระดูกและเอ็นของข้อต่อบริเวณท้ายทอย กระดูกสันหลังส่วนอก มองจากทางด้านบน กระดูกสันหลัง (Vertebral column) ในกายวิภาคของมนุษย์ คือกระดูกแกนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ตั้งแต่ส่วนต้นคอ ลงมาจนถึงส่วนก้น ภายในมีไขสันหลัง ซึ่งอยู่ในช่องไขสันหลังอีกทีหนึ่ง.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกนิ้วมือท่อนกลาง

กระดูกมือของมนุษย์ กระดูกนิ้วมือท่อนกลาง (Intermediate phalanges) เป็นกระดูกที่พบในรยางค์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังส่วนใหญ่ ในมนุษย์กระดูกเหล่านี้เป็นกระดูกที่อยู่ที่ปล้องกลางระหว่างข้อนิ้วของนิ้วมือ สำหรับในสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่น กระดูกนิ้วมือท่อนต้นจะปรากฏในตำแหน่งที่คล้ายๆ กับมือของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นในอุ้งเท้า, ปีก, กีบ, หรือครีบ กระดูกนิ้วมือท่อนกลางเป็นกระดูกนิ้วมืที่มีความยาวปานกลางเมื่อเทียบกับกระดูกนิ้วมือชิ้นอื่นๆ หมวดหมู่:กระดูกของรยางค์บน.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและกระดูกนิ้วมือท่อนกลาง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกนิ้วมือท่อนต้น

กระดูกมือของมนุษย์ กระดูกนิ้วมือท่อนต้น (Proximal phalanges) เป็นกระดูกที่พบในรยางค์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังหลายชนิด ในมนุษย์กระดูกเหล่านี้เป็นกระดูกที่อยู่ที่โคนของนิ้วมือ ซึ่งนูนออกมาสังเกตได้ชัด เรียกว่า ข้อนิ้วมือ หรือ มะเหงก (knuckle) สำหรับในสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่น กระดูกนิ้วมือท่อนต้นจะปรากฏในตำแหน่งที่คล้ายๆ กับมือของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นในอุ้งเท้า, ปีก, หรือครีบ ในสัตว์หลายชนิด กระดูกนี้เป็นกระดูกนิ้วมือชิ้นที่ยาวที่สุด หมวดหมู่:กระดูกของรยางค์บน.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและกระดูกนิ้วมือท่อนต้น · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกนิ้วมือท่อนปลาย

กระดูกมือของมนุษย์ กระดูกนิ้วมือท่อนปลาย (Distal phalanges) เป็นกระดูกที่พบในรยางค์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังหลายชนิด ในมนุษย์กระดูกเหล่านี้เป็นกระดูกนิ้วมือที่อยู่ปลายสุดของนิ้วมือ สำหรับในสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่น กระดูกนิ้วมือท่อนต้นจะปรากฏในตำแหน่งที่คล้ายๆ กับมือของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นในครีบของปลาวาฬหรือปีกของนก โดยทั่วไป กระดูกนิ้วมือท่อนปลายจะถูกต่อด้วยกรงเล็บ สำหรับในไพรเมต (primate) กระดูกนิ้วมือท่อนปลายถูกคลุมด้วยเล็บ กระดูกชิ้นนี้เป็นกระดูกนิ้วมือชิ้นที่เล็กที่สุด หมวดหมู่:กระดูกของรยางค์บน.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและกระดูกนิ้วมือท่อนปลาย · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกนิ้วเท้าท่อนกลาง

กระดูกเท้าของมนุษย์ กระดูกนิ้วเท้าท่อนกลาง (Intermediate phalanges) เป็นกระดูกที่พบในรยางค์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังส่วนใหญ่ ในมนุษย์กระดูกเหล่านี้เป็นกระดูกที่อยู่ที่ปล้องกลางระหว่างข้อนิ้วของนิ้วเท้า สำหรับในสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่น กระดูกนิ้วเท้าท่อนต้นจะปรากฏในตำแหน่งที่คล้ายๆ กับเท้าของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นในอุ้งเท้า, ปีก, กีบ, หรือครีบ กระดูกนิ้วเท้าท่อนกลางเป็นกระดูกนิ้วมืที่มีความยาวปานกลางเมื่อเทียบกับกระดูกนิ้วเท้าชิ้นอื่นๆ หมวดหมู่:กระดูกของรยางค์ล่าง.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและกระดูกนิ้วเท้าท่อนกลาง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกนิ้วเท้าท่อนต้น

กระดูกเท้าของมนุษย์ กระดูกนิ้วเท้าท่อนต้น (Proximal phalanges) เป็นกระดูกที่พบในรยางค์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังหลายชนิด ในมนุษย์กระดูกเหล่านี้เป็นกระดูกที่อยู่ที่โคนของนิ้วเท้า ซึ่งนูนออกมาสังเกตได้ชัด เรียกว่า ข้อนิ้วเท้า หรือ มะเหงก (knuckle) สำหรับในสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่น กระดูกนิ้วเท้าท่อนต้นจะปรากฏในตำแหน่งที่คล้ายๆ กับเท้าของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นในอุ้งเท้า, ปีก, หรือครีบ ในสัตว์หลายชนิด กระดูกนี้เป็นกระดูกนิ้วเท้าชิ้นที่ยาวที่สุด หมวดหมู่:กระดูกของรยางค์ล่าง.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและกระดูกนิ้วเท้าท่อนต้น · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกนิ้วเท้าท่อนปลาย

กระดูกเท้าของมนุษย์ กระดูกนิ้วเท้าท่อนปลาย (Distal phalanges) เป็นกระดูกที่พบในรยางค์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังหลายชนิด ในมนุษย์กระดูกเหล่านี้เป็นกระดูกนิ้วเท้าที่อยู่ปลายสุดของนิ้วเท้า สำหรับในสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่น กระดูกนิ้วเท้าท่อนต้นจะปรากฏในตำแหน่งที่คล้าย ๆ กับเท้าของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นในครีบของปลาวาฬหรือปีกของนก โดยทั่วไป กระดูกนิ้วเท้าท่อนปลายจะถูกต่อด้วยกรงเล็บ สำหรับในไพรเมต (primate) กระดูกนิ้วเท้าท่อนปลายถูกคลุมด้วยเล็บ กระดูกชิ้นนี้เป็นกระดูกนิ้วเท้าชิ้นที่เล็กที่สุด หมวดหมู่:กระดูกของรยางค์ล่าง.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและกระดูกนิ้วเท้าท่อนปลาย · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกแข้ง

กระดูกแข้ง หรือ กระดูกทิเบีย (tibia) เป็นหนึ่งในสองกระดูกของขาท่อนล่างใต้เข่า มีขนาดใหญ่กว่ากระดูกน่อง พบในสัตว์มีกระดูกสันหลัง.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและกระดูกแข้ง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกโกลน

กระดูกโกลน (stapes or stirrup) เป็นกระดูกหูขนาดเล็กรูปร่างเหมือนโกลน อยู่ภายในหูชั้นกลางซึ่งติดต่อกับกระดูกทั่ง (incus) และช่องรูปไข่ (fenestra ovalis) ซึ่งอยู่ชิดกับเวสทิบูลของหูชั้นใน กระดูกชิ้นนี้เป็นกระดูกที่เล็กและเบาที่สุดในร่างกายมนุษย์ กระดูกโกลนทำหน้าที่ส่งผ่านความสั่นสะเทือนของเสียงจากกระดูกทั่งไปยังเยื่อแผ่นในหูชั้นในภายในช่องรูปไข่ กระดูกโกลนมีกล้ามเนื้อที่ช่วยให้เสถียรชื่อว่า กล้ามเนื้อสเตปีเดียส (stapedius) ซึ่งเลี้ยงโดยเส้นประสาทเฟเชียล (facial nerve) ในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ไม่ใช่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม กระดูกที่มีต้นกำเนิดเดียว (homologous) กับกระดูกโกลนมักเรียกว่า คอลัมเมลลา (columella) อย่างไรก็ตาม ในสัตว์เลื้อยคลานจะใช้คำเรียกได้ทั้งสองคำ.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและกระดูกโกลน · ดูเพิ่มเติม »

กระต่าย

กระต่ายสายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ดวอฟ ซึ่งเป็นกระต่ายสายพันธุ์เล็ก และนิยมเป็นสัตว์เลี้ยงกันมากที่สุดชนิดหนึ่ง กระต่าย (Rabbit) เป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับกระต่าย (Lagomorpha) ในวงศ์ Leporidae กระต่ายแม้จะมีฟันแทะเหมือนกับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) แต่ถูกจัดออกมาเป็นอันดับต่างหาก เนื่องมีจำนวนฟันที่ไม่เท่ากัน เพราะกระต่ายมีฟันแทะที่ขากรรไกรบน 2 แถว เรียงซ้อนกันแถวละ 2 ซี่ ฟันกรามบนข้างละ 6 ซี่ และฟันกรามล่างข้างละ 5 ซี่ เมื่อเวลาเคี้ยวอาหาร กระต่ายจะใช้ฟันทั้ง 2 ด้านเคี้ยวสลับกันไป ต่างจากสัตว์ฟันแทะโดยทั่วไปที่เคี้ยวเคลื่อนหน้าเคลื่อนหลัง ซึ่งสามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า (1\tfrac, C\tfrac, P\tfrac, M\tfrac) X 2.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและกระต่าย · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อไอริส สฟิงคเตอร์

กล้ามเนื้อไอริส สฟิงคเตอร์ (iris sphincter muscle, pupillary sphincter, circular muscle of iris, circular fibers) เป็นกล้ามเนื้อในส่วนม่านตา อยู่รอบดวงตาและทำหน้าที่คล้ายหูรูดในการหดหรี่ม่านตา กล้ามเนื้อนี้พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ในชั้นเซฟาโลโปดา (cephalopoda) บางชนิด ในมนุษย์ กล้ามเนื้อนี้ทำหน้าที่หดหรี่ม่านตาเมื่อภาพที่รับมีแสงจ้า (รีเฟล็กซ์ม่านตา (pupillary reflex)) หรือในรีเฟล็กซ์ปรับสายตา (accommodation reflex) ขนาดของกล้ามเนื้อนี้กว้างประมาณ 0.75 มม.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อไอริส สฟิงคเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กวางรูซา

กวางรูซา (Rusa) เป็นสกุลของกวางในสกุล Rusa พบกระจายพันธฺุ์ในทางตอนใต้ของทวีปเอเชีย มักจะได้รับการจัดให้อยู่ในสกุล Cervus แต่จากการศึกษาทางพันธุกรรมพบว่า สมควรจัดให้อยู่ในสกุลนี้ แบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด โดย 3 ชนิดมีการกระจายค่อนข้างแคบในฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย แต่จะมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นทางด้านอินเดียตะวันออกและทางตอนใต้ของจีนและทิศใต้ของหมู่เกาะซุนดา ทั้งหมดกำลังถูกคุกคามจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยและการล่าสัตว.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและกวางรูซา · ดูเพิ่มเติม »

กะโหลกศีรษะ

วาดแสดงมุมมองจากทางด้านหน้าของกะโหลกศีรษะของมนุษย์ กะโหลกศีรษะ เป็นโครงสร้างของกระดูกที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างที่สำคัญของส่วนศีรษะในสัตว์ในกลุ่มเครนิเอต (Craniate) หรือสัตว์ที่มีกะโหลกศีรษะ ซึ่งรวมทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด กะโหลกศีรษะทำหน้าที่ปกป้องสมองซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบประสาท รวมทั้งเป็นโครงร่างที่ค้ำจุนอวัยวะรับสัมผัสต่างๆ ทั้งตา หู จมูก และลิ้น และยังทำหน้าที่เป็นทางเข้าของทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ การศึกษาเกี่ยวกับกะโหลกศีรษะมีประโยชน์อย่างมากหลายประการ โดยเฉพาะการศึกษาในเชิงกายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบระหว่างสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ด้านบรรพชีวินวิทยาและความเข้าใจถึงลำดับทางวิวัฒนาการ นอกจากนี้การศึกษาลงไปเฉพาะกะโหลกศีรษะมนุษย์ก็มีประโยชน์อย่างมากในการศึกษาด้านนิติเวชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ รวมทั้งมานุษยวิทยาและโบราณคดี.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและกะโหลกศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

การกลายเป็นหิน

ในทางธรณีวิทยาการกลายเป็นหิน (Petrifaction)คือกระบวนการที่อินทรียสารกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ผ่านการแทนที่วัสดุเดิมและการเติมช่องว่างของรูพรุนเดิมด้วยแร่ ซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหินเป็นหนึ่งในตัวอย่างของกระบวนการนี้ แต่สิ่งมีชีวิตทั้งหมดตั้งแต่แบคทีเรียไปจนถึงสัตว์มีกระดูกสันหลังสามารถกลายเป็นหินได้ (แม้ว่ากระดูกและเปลือกจะอยู่ได้นานกว่าผิวหนังและเนื้อเยื้อ) การกลายเป็นกินเกิดขึ้นผ่านการรวมกันของสองกระบวนการที่คล้ายกันคือกระบวนการเกิดแร่ในช่องว่าง (Permineralization) และกระบวนการแทนที่ (replacement) กระบวนการเหล่านี้สร้างตัวอย่างแบบจำลองของต้นฉบับซึ่งมีขนาดลักษณะใกล้เคียงกันในระดับจุล.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและการกลายเป็นหิน · ดูเพิ่มเติม »

การตอบสนองโดยสู้หรือหนี

ู้หรือหนีดี การตอบสนองโดยสู้หรือหนี หรือ การตอบสนองแบบสู้หรือหนี (fight-or-flight response, hyperarousal, acute stress response) เป็นปฏิกิริยาทางสรีรภาพที่เกิดตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่รู้สึกว่าเป็นอันตราย เสี่ยงต่อถูกทำร้าย หรือเสี่ยงต่อชีวิต โดยมี.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและการตอบสนองโดยสู้หรือหนี · ดูเพิ่มเติม »

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง (หรือ การทำให้เชื่อง) หรือ การปรับตัวเป็นไม้เลี้ยง (domestication, domesticus) เป็นทฤษฎีวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันระหว่างพืชหรือสัตว์ กับมนุษย์ผู้มีอิทธิพลในการดูแลรักษาและการสืบพันธุ์ของพวกมัน เป็นกระบวนการที่ประชากรสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมผ่านรุ่นโดยการคัดเลือกพันธุ์ (selective breeding) เพื่อเน้นลักษณะสืบสายพันธุ์ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ โดยมีผลพลอยได้เป็นความเคยชินของสิ่งมีชีวิตต่อการพึ่งมนุษย์ ทำให้พวกมันสูญเสียความสามารถในการดำรงชีวิตอยู่ตามธรรมชาติ ชาลส์ ดาร์วินเข้าใจถึงลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จำนวนไม่มากจำนวนหนึ่ง ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงต่างจากบรรพบุรุษพันธุ์ป่า เขายังเป็นบุคคลแรกที่เข้าใจความแตกต่างระหว่างการคัดเลือกพันธุ์แบบตั้งใจ ที่มนุษย์เลือกลักษณะสืบสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตโดยตรงเพื่อจะได้ลักษณะตามที่ต้องการ กับการคัดเลือกที่ไม่ได้ตั้งใจ ที่ลักษณะมีวิวัฒนาการไปตามการคัดเลือกโดยธรรมชาติ หรือตามการคัดเลือกอื่น ๆ สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงจะต่างจากสิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าทางพันธุกรรม และในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ก็ยังมีความแตกต่างกันระหว่างลักษณะสืบสายพันธุ์ที่นักวิจัยเชื่อว่า จำเป็นในระยะต้น ๆ ของกระบวนการปรับนำมาเลี้ยง (domestication trait) และลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อ ๆ มาหลังจากที่สิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าและพันธุ์เลี้ยงได้แยกออกจากกันแล้ว (improvement trait) คือลักษณะที่จำเป็นโดยทั่วไปมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงทั้งหมด และเป็นลักษณะที่คัดเลือกในระยะต้น ๆ ของกระบวนการ ในขณะที่ลักษณะที่พัฒนาต่อ ๆ มาจะมีอยู่ในบางพวกของสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ถึงแม้ว่าอาจจะมีแน่นอนในพันธุ์ (breed) ใดพันธุ์หนึ่งโดยเฉพาะ หรือในกลุ่มประชากรในพื้นที่โดยเฉพาะ การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง (domestication) ไม่ควรสับสนกับการทำสัตว์ให้เชื่อง (taming) เพราะว่า การทำให้เชื่องเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของสัตว์ป่า ให้กลัวมนุษย์น้อยลงและยอมรับการมีมนุษย์อยู่ใกล้ ๆ ได้ แต่ว่าการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง เป็นการเปลี่ยนพันธุกรรมของสัตว์พันธุ์ที่นำมาเลี้ยงอย่างถาวร เป็นการเปลี่ยนความรู้สึกของสัตว์ต่อมนุษย์โดยกรรมพันธุ์ สุนัขเป็นสิ่งมีชีวิตแรกที่ปรับนำมาเลี้ยง และแพร่หลายไปทั่วทวีปยูเรเชียก่อนการสิ้นสุดสมัยไพลสโตซีน ก่อนการเกิดขึ้นของเกษตรกรรม และก่อนการนำสัตว์อื่น ๆ ต่อ ๆ มามาเลี้ยง ข้อมูลทั้งทางโบราณคดีและทางพันธุกรรมแสดงนัยว่า การแลกเปลี่ยนยีน (gene flow) ที่เป็นไปทั้งสองทางระหว่างสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงกับพันธุ์ป่า เช่น ลา ม้า อูฐทั้งพันธุ์โลกเก่าและโลกใหม่ แพะ แกะ และหมู เป็นเรื่องสามัญ และเพราะความสำคัญของการนำสิ่งมีชีวิตมาเลี้ยงต่อมนุษย์ และคุณค่าของมันโดยเป็นแบบจำลองของกระบวนการวิวัฒนาการและของการเปลี่ยนแปลงทางประชากร การศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ จึงดึงดูดความสนใจของนักวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ รวมทั้งโบราณคดี บรรพชีวินวิทยา มานุษยวิทยา พฤกษศาสตร์ สัตววิทยา พันธุศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมสาขาต่าง ๆ สุนัขและแกะเป็นสิ่งมีชีวิตพันธุ์แรก ๆ ที่มนุษย์ปรับนำมาเลี้ยง.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง · ดูเพิ่มเติม »

การปรับตาดูใกล้ไกล

การปรับตาดูไกลและใกล้ '''Lens'''.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและการปรับตาดูใกล้ไกล · ดูเพิ่มเติม »

การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา

quote.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา · ดูเพิ่มเติม »

การเจริญของประสาทในมนุษย์

การศึกษาการเจริญของประสาทใช้ทั้งประสาทวิทยาศาสตร์และชีววิทยาการเจริญเพื่ออธิบายกลไกของเซลล์และโมเลกุลที่ทำให้ระบบประสาทซับซ้อนกำเนิดขึ้นระหว่างการเจริญของเอ็มบริโอและตลอดชีวิต จุดกำหนดการเจริญของประสาทเอ็มบริโอบางจุดมีการเกิดและการเปลี่ยนสภาพของเซลล์ประสาทจากสารตั้งต้นสเต็มเซลล์ การย้ายที่ของเซลล์ประสาทที่ยังเจริญไม่เต็มวัยจากที่เกิดในเอ็มบริโอไปตำแหน่งสุดท้าย การเติบโตของแกนประสาทนำออกจากเซลล์ประสาทและการชี้ทาง (guidance) ของโกรธโคน (growth cone) เคลื่อนที่ตลอดเอ็มบริโอสู่คู่หลังประสานประสาท การสร้างจุดประสานประสาทระหว่างแกนประสาทนำออกกับคู่หลังประสานประสาทของมัน การเล็มประสาท (neuron pruning) ที่เกิดในวัยรุ่น และสุดท้ายการเปลี่ยนแปลงในจุดประสานประสาทตลอดชีวิตซึ่งคาดว่าเป็นฐานของการเรียนรู้และความจำ โดยตรงแบบ กระบวนการเจริญของประสาทเหล่านี้สามารถแบ่งได้กว้าง ๆ เป็นสองประเภท คือ กลไกไม่อาศัยกิจกรรม (activity-independent mechanism) และกลไกอาศัยกิจกรรม (activity-dependent mechanism) กลไกไม่อาศัยกิจกรรมโดยทั่วไปเชื่อว่าเกิดขึ้นเป็นกระบวนการเปลี่ยนไม่ได้ที่กำหนดโดยโปรแกรมพันธุกรรมที่อยู่ในเซลล์ประสาทแต่ละเซลล์ ซึ่งรวมการเปลี่ยนสภาพ การย้ายที่และการชี้ทางไปยังพื้นที่เป้าหมายแรกเริ่ม คิดว่ากระบวนการเหล่านี้ไม่ขึ้นกับกิจกรรมประสาทและประสบการณ์รับความรู้สึก เมื่อแกนประสาทนำออกถึงพื้นที่เป้าหมายของมัน กลไกอาศัยกิจกรรมจะเข้ามามีบทบาท กิจกรรมประสาทและประสบการณ์รับความรู้สึกจะเป็นสื่อกลางการสร้างจุดประสานประสาทใหม่ ตลอดจนสภาพพลาสติกจุดประสานประสาท ซึ่งจะมีส่วนต่อการปรับปรุงวงจรประสาทอายุน้อ.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและการเจริญของประสาทในมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

การเจริญเรตินาขึ้นมาทดแทน

bipolar cell ซึ่งส่งข้อมูล 30% ที่เหลือผ่านการควบคุมโดย amacrine cell และ retinal ganglion cell (ชั้นสีม่วง) แล้วจึงดำเนินไปถึงเส้นประสาทตา จะมีกระบวนการประมวลผลในชั้นต่าง ๆ เหล่านี้ คือ ขั้นต้น เซลล์รับแสงส่งข้อมูลดิบเป็นจุด ๆ และต่อจากนั้น ชั้นต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะทำการระบุรูปร่างแบบง่าย ๆ เช่นจุดสว่างตรงกลางล้อมรอบด้วยจุดมืด หรือขอบเส้น หรือการเคลื่อนไหว (ดัดแปลงจากรูปวาดของซานเตียโก รามอน อี กาฮาล) รูปตัดผ่านเรตินา การเจริญเรตินาขึ้นมาทดแทน"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ regeneration ว่า "การงอกใหม่, การเจริญทดแทน, การซ่อม" (Retinal regeneration) เป็นการคืนสภาพหน้าที่ของเรตินาในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีปัญหาเกี่ยวกับเรตินา ในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร "Proceedings of the National Academy of Sciences (รายงานการประชุมของบัณฑิตสถานวิทยาศาสตร์แห่งชาติ)" กลุ่มนักวิจัยของ Nuffield Laboratory of Ophthalmology (แล็บจักษุวิทยานัฟฟิลด์) นำโดย ดร.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและการเจริญเรตินาขึ้นมาทดแทน · ดูเพิ่มเติม »

กาลานุกรมวิวัฒนาการมนุษย์

แสดงต้นไม้บรรพชีวินวิทยาของสัตว์มีกระดูกสันหลังทำใน ปี ค.ศ. 1879 (ของ Ernst Haeckel) ประวัติวิวัฒนาการของสปีชีส์ต่าง ๆ ได้รับการพรรณนาว่าเป็นต้นไม้วิวัฒนาการชาติพันธุ์ โดยมีสาขาต่าง ๆ มากมายแยกออกจากลำต้นต้นเดียว แม้ว่าข้อมูลที่ใช้สร้างต้นไม้นี้จะล้าสมัยแล้ว แต่ก็ยังแสดงหลักการบางอย่างที่ต้นไม้ที่ทำขึ้นในปัจจุบันอาจจะทำให้เห็นได้ไม่ชัดเจน "พุ่มไม้" ด้านบนขวาสุดเป็นพวกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรวมทั้งมนุษย์ กาลานุกรมวิวัฒนาการมนุษย์ (timeline of human evolution) แสดงเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ในกระบวนการวิวัฒนาการของมนุษย์และของบรรพบุรุษมนุษย์ ซึ่งรวมคำอธิบายสั้น ๆ เกี่ยวกับสัตว์บางประเภท บางสปีชีส์ หรือบางสกุล ซึ่งอาจจะเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ บทความไม่มุ่งจะแสดงกำเนิดของชีวิตซึ่งกล่าวไว้ในบทความกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต แต่มุ่งจะแสดงสายพันธุ์ที่เป็นไปได้สายหนึ่งที่ดำเนินมาเป็นมนุษย์ ข้อมูลของบทความมาจากการศึกษาในบรรพชีวินวิทยา ชีววิทยาพัฒนาการ (developmental biology) สัณฐานวิทยา และจากข้อมูลทางกายวิภาคและพันธุศาสตร์ การศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการมนุษย์เป็นส่วนสำคัญของมานุษยวิท.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและกาลานุกรมวิวัฒนาการมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

กำเนิดประสาท

กำเนิดประสาท (Neurogenesis) เป็นกระบวนการที่เซลล์ประสาท (หรือนิวรอน) เกิดจากเซลล์ประสาทต้นกำเนิด (neural stem cell) และ progenitor cell กลไกทางพันธุกรรมที่เฉพาะเจาะจงจะเป็นตัวกำหนดชะตาของเซลล์ โดยทั้งนิวรอนแบบเร้าและแบบยับยั้งมากมายหลายประเภท ก็จะเกิดจากเซลล์ประสาทต้นกำเนิดที่ต่าง ๆ กัน กำเนิดประสาทจะเกิดในช่วงการเกิดเอ็มบริโอในสัตว์ทั้งหมด และเป็นกระบวนการสร้างนิวรอนทั้งหมดในสัตว์ โดยก่อนช่วงกำเนิดประสาท เซลล์ประสาทต้นกำเนิดจะแบ่งตัวจนมีจำนวน progenitor cell ที่พอเพียง ยกตัวอย่างเช่น เซลล์ประสาทต้นกำเนิดหลักของสมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่เรียกว่า radial glial cell จะอยู่ในเขตเริ่มก่อตัวที่เรียกว่า ventricular zone ซึ่งอยู่ข้างโพรงสมองที่กำลังพัฒนาขึ้น เซลล์ต้นกำเนิดจะแบ่งตัวจนกระทั่งกลายเป็นนิวรอนลูก (daughter neuron) ที่ไม่แบ่งตัวอีก และดังนั้น นิวรอนทั้งหมดจะอยู่ในสภาพ post-mitotic (คือจะไม่แบ่งตัวอีก) และนิวรอนในระบบประสาทกลางมนุษย์โดยมากจะดำรงอยู่ตลอดชีวิตของบุคคล ปัจจัยระดับโมเลกุลและทางพันธุกรรมมีอิทธิพลต่อกำเนิดประสาท ที่เด่น ๆ รวมวิถีการส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ที่เรียกว่า Notch pathway จึงมียีนเป็นจำนวนมากที่สัมพันธ์กับการควบคุมวิถีการส่งสัญญาณนี้ ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กำเนิดประสาทในผู้ใหญ่ (adult neurogenesis) พบว่าเกิดในเขตหลัก ๆ 3 เขตในสมอง คือ dentate gyrus ของฮิปโปแคมปัส, subventricular zone ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ผนังด้านข้างตลอดโพรงสมองข้าง, และ olfactory bulb ซึ่งเป็นโครงสร้างประสาทเกี่ยวกับการได้กลิ่น แต่ในสัตว์มีกระดูกสันหลังบางอย่าง กำเนิดประสาทเพื่อทดแทนเซลล์เก่าก็เกิดได้ด้วยเหมือนกัน และโดยนัยเดียวกัน ยาแก้ซึมเศร้าหลายอย่างพบว่าเพิ่มอัตรากำเนิดประสาทในฮิปโปแคมปั.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและกำเนิดประสาท · ดูเพิ่มเติม »

กิ้งก่า

กิ้งก่า (Lizard, Iguana, Gecko, Skink; ภาษาไทยถิ่นเหนือ: จั๊กก่า; ภาษาไทยถิ่นอีสาน: กะปอม) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในอันดับย่อย Lacertilia หรือ Sauria ในอันดับใหญ่ Squamata หรือ อันดับกิ้งก่าและงู โดยสัตว์ในอันดับนี้รวมถึงงูที่อยู่ในอันดับย่อย Serpentes ด้วย เหตุที่จัดอยู่ในอันดับเดียวกันเพราะมีลักษณะร่วมบางประการมากถึง 70 อย่าง คำว่า "Lacertilia" มาจากภาษาละตินคำว่า "lacerta" ในความหมายเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วกิ้งก่ามี 4 ขา มีเกล็ดปกคลุมลำตัว แต่บางสกุลหรือบางชนิดก็ไม่มีขาหรือมีแต่ก็เล็กมากจนสังเกตได้ยาก เช่น จิ้งเหลนด้วง ในวงศ์จิ้งเหลน (Scincidae) หรือในวงศ์ Amphisbaenidae กิ้งก่าโดยมากแล้วเป็นสัตว์กินเนื้อ โดยจะกินแมลงและสัตว์ขาปล้องเป็นหลัก แต่สำหรับในวงศ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น วงศ์เหี้ย (Varanidae) จะกินสัตว์มีกระดูกสันหลังด้วย แต่ขณะที่บางชนิด เช่น อีกัวน่าเขียว (Iguana iguana) ที่พบในอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้ กินพืชและผักเป็นอาหารหลัก กิ้งก่าพบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกมุมโลก ยกเว้นในบริเวณอาร์กติก แถบขั้วโลกเหนือและทวีปแอนตาร์กติกา แถบขั้วโลกใต้ มีขนาดแตกต่างกันมากตั้งแต่เพียงไม่กี่เซนติเมตร จนถึงเกือบ 3 เมตร ในมังกรโคโมโด (Varanus komodoensis) ที่หนักได้ถึงเกือบ 100 กิโลกรัม ซึ่งนับเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในอันดับย่อยนี้ ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานไว้แล้วกว่า 19 วงศ์ ประมาณ 555 สกุล รวมทั้งหมดราว 4,184 ชนิด ซึ่งจำนวนนี้ไม่แน่นอน เพราะมีการสำรวจค้นพบชนิดใหม่ ๆ ขึ้นทุกปี โดยวงศ์ที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด คือ Scincidae ที่มีประมาณ 1,000 ชนิด รองลงไป คือ Gekkonidae หรือ ตุ๊กแกกับจิ้งจก มีประมาณ 900 ชนิด ส่วนในวงศ์ Agamidae ก็มีประมาณเกือบ 500 ชน.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและกิ้งก่า · ดูเพิ่มเติม »

กิ้งก่าบาซิลิสก์

ำหรับสัตว์ประหลาดในเทพปกรณัมกรีก ดูที่: บาซิลิสก์ สำหรับจักรพรรดิโรมัน ดูที่: บาซิลิสคัส กิ้งก่าบาซิลิสก์ หรือ กิ้งก่าพระเยซู (Basilisk lizard, Jesus lizard) เป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่าสกุลหนึ่ง อยู่ในสกุล Basiliscus อยู่ในวงศ์ Corytophanidae (บางข้อมูลจัดให้อยู่ในวงศ์ย่อย Corytophaninae ในวงศ์ใหญ่ Iguanidaeวีรยุทธ์ เลาหะจินดา, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก. หน้า 375-376. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ธันวาคม พ.ศ. 2552 ISBN 978-616-556-016-0) กิ้งก่าบาซิลิสก์ โดยรวมจะมีเกล็ดสีเขียว, ขาว และดำ มีครีบบนหลังขนาดใหญ่เหมือนปลา สำหรับตัวผู้จะมีหงอนขนาดใหญ่แลดูเด่นด้วย มีความยาวเฉลี่ยประมาณ 70-75 มิลลิเมตร (2.8–3.0 นิ้ว) และมีน้ำหนักประมาณ 80 กรัม (3.2 ออนซ์) และยาวได้เต็มที่ถึง 80 เซนติเมตร กิ้งก่าบาซิลิสก์ จะอาศัยและหากินบนพื้นดินใกล้ริมน้ำ จะขึ้นต้นไม้เพื่อหลบเลี่ยงศัตรู และมีความสามารถพิเศษคือ มีความว่องไวมากจนสามารถวิ่งได้บนผิวน้ำ โดยใช้ขาคู่หลัง โดยจังหวะเปลี่ยนก้าวของกิ้งก่าบาซิลิสก์ใช้เวลาเพียงแค่ 0.052 วินาที ซึ่งการเคลื่อนที่อันรวดเร็วนี้ อุ้งเท้าของกิ้งก่าบาซิลิสก์จะสร้างฟองอากาศลงไปในน้ำด้วย จากการวิเคราะห์จากภาพถ่ายสรุปได้ว่ามีพลังงาน 3 อย่างที่ช่วยพยุงตัวไม่ให้กิ้งก่าบาซิลลิสก์จมน้ำ คือ แรงบาซิลิสก์ ซึ่งเกิดจากเท้ากระทุ้งผิวน้ำทำให้เกิดแรงพยุงตัว แรงต้านทานและแรงลอยตัวจากอากาศที่ช่วยพยุงตัวไว้ไม่ให้จม โดยจะจุ่มเท้าอีกข้างก่อนที่แรงจะหมด คิดคำนวณแล้ว พบว่ากิ้งก่าบาซิลิสก์สามารถเคลื่อนที่บนผิวน้ำได้ถึง 5 ก้าว ภายในเวลาเพียง 0.25 วินาที อันเป็นความเร็วที่แม้แต่กล้องความเร็วสูงก็ไม่อาจจับภาพได้ทัน หากเปรียบเป็นมนุษย์ ที่มีน้ำหนัก 80 กิโลกรัมต้องไปวิ่งบนผิวน้ำด้วยความเร็ว 106 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นอกจากนี้แล้ว กิ้งก่าบาซิลิสก์ยังสามารถดำน้ำและซ่อนตัวในน้ำได้ด้วยชั่วระยะเวลาหนึ่งเพื่อหลบหลีกศัตรู จากความสามารถพิเศษอันนี้ กอรปกับลักษณะของร่างกายที่ดูโดดเด่น ทำให้ได้ชื่อสามัญว่า "กิ้งก่าบาซิลิสก์" เหมือนกับ บาซิลิสก์ สัตว์ประหลาดคล้ายมังกรผสมไก่ตามเทพปกรณัมกรีก และ "กิ้งก่าพระเยซู" ที่เหมือนพระเยซูที่แสดงปาฏิหารย์เดินบนผิวน้ำได้ตามพระคัมภีร์ไบเบิล ในบทแมทธิวที่ 14:22-34 กิ้งก่าบาซิลิสก์ กระจายพันธุ์ตามป่าร้อนชื้นของภูมิภาคอเมริกากลาง เป็นกิ้งก่าที่ไม่ดูแลไข่และตัวอ่อน ซึ่งกิ้งก่าบาซิลิสก์วัยอ่อนก็สามารถวิ่งบนผิวน้ำได้แล้ว จำแนกออกได้เป็น 4 ชนิด (บางข้อมูลให้มี 2 ชนิด) ได้แก่ ภาพกิ้งก่าบาซิลิสก์วิ่งบนผิวน้ำ.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและกิ้งก่าบาซิลิสก์ · ดูเพิ่มเติม »

กิ้งก่ามอนิเตอร์

กิ้งก่ามอนิเตอร์ (Monitor lizard) เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับกิ้งก่าและงู (Squamata) สกุลหนึ่ง ในวงศ์เหี้ย (Varanidae) ในวงศ์ย่อย Varaninae โดยใช้ชื่อสกุลว่า Varanus (/วา-รา-นัส/) ซึ่งคำ ๆ นี้มีที่มาจากภาษาอาหรับคำว่า "วารัล" (ورل) ซึ่งแปลงเป็นภาษาอังกฤษได้หมายถึง "เหี้ย" หรือ "ตะกวด" จัดเป็นเพียงสกุลเดียวในวงศ์นี้ที่ยังสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากสกุลอื่น ๆ ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว โดยกำเนิดมาตั้งแต่ยุคครีเตเชียสมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสัตว์เลื้อยคลานยุคก่อนประวัติศาสตร์ขนาดใหญ่อย่างโมซาซอร์และงู มีลักษณะโดยรวมคือ กระดูกพอเทอรีกอยด์ไม่มีฟัน มีกระดูกอยู่ในถุงอัณฑะ และมีตาที่สาม มีขนาดความยาวแตกต่างหลากหลายกันไป ตั้งแต่มีความยาวเพียง 12 เซนติเมตร คือ ตะกวดหางสั้น (V. brevicauda) ที่พบในพื้นที่ทะเลทรายของประเทศออสเตรเลีย และใหญ่ที่สุด คือ มังกรโคโมโด (V. komodoensis) ที่พบได้เฉพาะหมู่เกาะโคโมโด ในประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น ที่มีความยาวได้ถึง 3.1 เมตร และจัดเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดของวงศ์นี้และอันดับกิ้งก่าและงู โดยชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ เมกะลาเนีย (V. priscus) ที่มีความยาวถึง 6 เมตร แต่ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ปัจจุบันพบได้เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่ออสเตรเลีย มีส่วนหัวเรียวยาว คอยาว ลำตัวยาวและหางเรียวยาว ส่วนใหญ่อาศัยบนพื้นดิน แต่มีบางชนิดมีพฤติกรรมที่อาศัยอยู่บนต้นไม้มากกว่า หลายชนิดดำรงชีวิตแบบสะเทินน้ำสะเทินบกและมีหางแบนข้างมากสำหรับใช้ในการว่ายน้ำ ส่วนมากเป็นสัตว์หากินในเวลากลางวัน เป็นสัตว์กินเนื้อที่ล่าเหยื่อด้วยฟันที่ยาวโค้งแหลมคมและมีขากรรไกรแข็งแรง กินอาหารได้หลากหลายทั้งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและสัตว์มีกระดูกสันหลัง รวมถึงซากสัตว์ด้วย โดยในทางชีววิทยาจัดเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเนื่องเป็นผู้สิ่งปฏิกูล กำจัดซากสิ่งแวดล้อม ทุกชนิดสืบพันธุ์ด้วยการวางไข่ พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ทั้งซับสะฮารา, จีน, เอเชีย และคาบสมุทรอินโดออสเตรเลียนไปจนถึงออสเตรเลี.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและกิ้งก่ามอนิเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กิ้งก่าหนาม

ำหรับกิ้งก่าหนามชนิดที่พบในทะเลทรายของออสเตรเลีย ดูที่: กิ้งก่าปีศาจหนาม กิ้งก่าหนาม (Horned lizards) เป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่าจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในสกุล Phrynosoma ในวงศ์กิ้งก่าหนามอเมริกาเหนือ (Phrynosomatidae) (บางข้อมูลจัดให้อยู่ในวงศ์อีกัวนา (Iguanidae) โดยถือเป็นวงศ์ย่อยออกมา) มีรูปร่างตัวอ้วนป้อม ลำตัวสั้น หางสั้น แลดูคล้ายกบหรือคางคก มีลักษณะเด่น คือ มีหนามสั้น ๆ อยู่รอบลำตัวและส่วนหัว ซึ่งพัฒนามาจากเกล็ด ในส่วนที่เป็นเขาจริง ๆ เป็นกระดูกแข็งมีอยู่ส่วนหัว กระจายพันธุ์อยู่ในพื้นที่แห้งแล้งที่เป็นทะเลทรายทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกาต่อกับภาคเหนือของเม็กซิโก เช่น เท็กซัส และนิวเม็กซิโก มีพฤติกรรมที่อยู่เฉย ๆ นิ่ง ๆ กับพื้น เมื่อเคลื่อนที่ก็ช้ากว่ากิ้งก่าทั่วไป หากินแมลงเล็ก ๆ เช่น มด ด้วยการนิ่งอยู่เฉย ๆ แล้วตวัดกินเอา กิ้งก่าหนามมีวิธีการป้องกันตัวที่นับได้ว่าหลากหลายและแปลกประหลาดมากอย่างหนึ่ง ในอาณาจักรสัตว์โลกทั้งหมด เมื่อถูกคุกคาม สามารถที่จะพองตัวขึ้นมาเพื่อให้หนามเล็ก ๆ บนตัวทิ่มแทงผู้รุกรานได้ รวมถึงการเปลี่ยนสีเพื่อพรางตัวกลมกลืนไปกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นพื้นกรวดทรายหรือพุ่มไม้เตี้ย ๆ ได้อย่างดีเยี่ยมและรวดเร็ว อีกทั้งยังมีเส้นขีดสีขาว 2 เส้น บนหลังที่ดูคล้ายกับกิ่งไม้หรือหญ้าแห้ง ๆ อีกด้วย และการป้องกันตัวที่พิเศษที่สุด คือ การสามารถพ่นเลือดออกจากตาเพื่อไล่ผู้รุกรานให้หนีไปได้ด้วย ในเลือดนั้นมีสารเคมีบางอย่างที่ยังไม่มีการศึกษาไปถึงว่าเป็นอะไร แต่เป็นสารเคมีที่มีกลิ่นฉุน มีรสชาติที่ไม่พิศมัย สร้างความรำคาญแก่สัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่ เช่น หมาจิ้งจอก, หมาโคโยตี้ ที่จับกินเป็นอาหาร ที่เมื่อโดนเลือดนี้พ่นเข้าใส่ จะปล่อยตัวกิ้งก่าทันที และเอาหัวถูไถไปกับวัสดุต่าง ๆ เพื่อลบกลิ่นและเลือดให้ออก กิ้งก่าหนามพ่นเลือดได้จากการบีบของกล้ามเนื้อในเปลือกตาให้พ่นออกมาเข้าปากของผู้ที่มารุกราน ซึ่งกิ้งก่าหนามจะใช้วิธีนี้ต่อเมื่อถูกคาบอยู่ในปากหรืออยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ปากแล้วเท่านั้น โดยเลือดที่ถูกบีบพุ่งออกมานั้น เกิดจากเส้นเลือดดำที่ปิดตัวเอง ทำให้เกิดความดันขึ้นในโพรงกะโหลก จนตาทั้ง 2 ข้างพองออก เลือดแดงจะรวมตัวกันเป็นจำนวนมากในเส้นเลือดฝอยจนมากพอในปริมาณที่จะปล่อยพุ่งออกมาได้ จากการศึกษาพบว่าสามารถพ่นได้มากถึง 54 ครั้ง ภายในเวลาไม่ถึง 2 นาที แม้จะดูว่าเสียเลือดไปเป็นจำนวนมาก แต่กิ้งก่าหนามจะไม่เป็นอะไรเลย และร่างกายสามารถผลิตเลือดใหม่ขึ้นทดแทนได้ในเวลาไม่นานBLOOD SQUIRTING LIZARD, "Nick Baker's Weird Creatures" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและกิ้งก่าหนาม · ดูเพิ่มเติม »

มังกรโกโมโด

มังกรโกโมโด (Komodo dragon; ชื่อวิทยาศาสตร์: Varanus komodoensis) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในอันดับกิ้งก่าชนิดหนึ่ง มีถิ่นอาศัยอยู่บนเกาะโกโมโด, รินจา, ฟลอเรส และกีลีโมตังในประเทศอินโดนีเซีย อยู่ในวงศ์และสกุลเดียวกับเหี้ย (Varanidae) จัดเป็นตะกวดชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ ตัวโตเต็มวัยมีขนาดความยาวโดยเฉลี่ย 2-3 เมตร (6.6 ถึง 9.8 ฟุต) และมีน้ำหนักประมาณ 90 กิโลกรัม (150 ปอนด์) มังกรโกโมโดมีรูปร่างหน้าตาเหมือนตัวเงินตัวทองชนิดอื่นทั่วไป แต่ทว่ามีลำตัวใหญ่และยาวกว่ามาก มีลำตัวสีเทาออกดำกว.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและมังกรโกโมโด · ดูเพิ่มเติม »

ม็อบ (แก้ความกำกวม)

ม็อบ (Mob) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและม็อบ (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

ยุคไทรแอสซิก

อร์เมียน←ยุคไทรแอสซิก→ยุคจูแรสซิก ยุคไทรแอสซิก (Triassic) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก ตรงกับช่วงเวลาประมาณ 251 ± 0.4 ถึง 199.6 ± 0.6 ล้านปีก่อน ยุคไทรแอสซิกเป็นยุคแรกของมหายุคมีโซโซอิก อยู่หลังยุคเพอร์เมียนและอยู่หน้ายุคจูแรสซิก จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดยุคไทรแอสซิกกำหนดจากเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์มากมาย ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวสามารถกำหนดจากชั้นหินได้แน่นอน แต่ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นยังไม่สามารถระบุได้ละเอียดจริง ๆ มีค่าความผิดพลาดได้หลายล้านปี ในยุคไทรแอสซิก สิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในทะเลมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จากพื้นผิวโลกที่มีสภาพแย่ลงอย่างรวดเร็วหลังการสูญพันธุ์ในช่วงรอยต่อระหว่าง ยุคเพอร์เมียน และ ยุคไทรแอสซิก ปะการังในกลุ่มเฮกซะคอราลเลีย (hexacorallia) ถือกำเนิดขึ้น พืชดอกอาจจะวิวัฒนาการในยุคนี้ รวมกระทั่งสัตว์มีกระดูกสันหลังที่บินได้คือเทอโรซอร์ (Pterosaur).

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและยุคไทรแอสซิก · ดูเพิ่มเติม »

ระบบการทรงตัว

ห้องหูชั้นใน (labyrinth of the inner ear) ของหูด้านขวา ประกอบด้วย '''คอเคลีย''' (cochlea) เป็นอวัยวะปลายประสาทของระบบการได้ยิน ส่วนอวัยวะรับความรู้สึกของระบบการทรงตัวรวมทั้ง '''หลอดกึ่งวงกลม''' (semicircular ducts) ซึ่งทำหน้าที่รับรู้การเคลื่อนไหวแบบหมุน (คือความเร่งเชิงมุม) '''saccule''' และ '''utricle''' ทำหน้าที่รับรู้ความเร่งเชิงเส้น คอเคลียและ vestibular system ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยมาก ระบบการทรงตัว (vestibular system) เป็นระบบรับความรู้สึกที่ให้ข้อมูลสำคัญที่สุดเกี่ยวกับการกำหนดรู้การทรงตัว (equilibrioception หรือ sense of balance) และการรู้ทิศทางของร่างกายภายในปริภูมิ (spatial orientation) ระบบการทรงตัวพร้อมกับคอเคลียซึ่งเป็นส่วนของระบบการได้ยิน เป็นส่วนประกอบของห้องหูชั้นใน (labyrinth of the inner ear) สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยมาก เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายมีทั้งแบบหมุนและแบบเลื่อน ระบบการทรงตัวจึงมีส่วนประกอบสองอย่างเหมือนกัน คือ ระบบหลอดกึ่งวงกลม (semicircular canal) ซึ่งบอกการเคลื่อนไหวแบบหมุน และระบบ otoliths ซึ่งบอกความเร่งในแนวเส้น ระบบการทรงตัวโดยหลักจะส่งข้อมูลไปยังโครงสร้างประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของตา เช่นการเคลื่อนไหวแบบ vestibulo-ocular reflex ซึ่งจำเป็นในการเห็นที่ชัดเจน และไปยังกล้ามเนื้อที่ทำให้สามารถทรงตัวไว้ได้ ระบบการทรงตัวมีบทบาทในเรื่อง.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและระบบการทรงตัว · ดูเพิ่มเติม »

ระบบการได้ยิน

ระบบการได้ยิน (auditory system) เป็นระบบรับความรู้สึก/ระบบประสาทสัมผัส ซึ่งรวมทั้งอวัยวะการฟังคือหู และระบบประสาทเกี่ยวกับการฟัง กายวิภาคของหู แม้ว่าช่องหูจะยาวเกินสัดส่วนในรูป.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและระบบการได้ยิน · ดูเพิ่มเติม »

ระบบรับความรู้สึกทางกาย

การเห็นบกพร่อง สัมผัสเป็นประสาทสัมผัสที่สำคัญเพื่อรับรู้สิ่งแวดล้อม ระบบรับความรู้สึกทางกาย"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ somato-gnosis ว่า "ความรู้สึก-ทางกาย" และของ sensory ว่า "-รับความรู้สึก" แต่สิ่งที่ตีพิมพ์ในวรรณกรรมมักใช้คำอังกฤษว่า somatosensory system โดยไม่แปล (somatosensory system) เป็นส่วนของระบบรับความรู้สึกที่สามารถรับรู้อย่างหลายหลาก ประกอบด้วยตัวรับความรู้สึก/ปลายประสาทรับความรู้สึก (sensory receptor) ที่ระบบประสาทนอกส่วนกลาง และศูนย์ประมวลผลต่าง ๆ ที่ระบบประสาทกลางมากมาย ทำให้รับรู้ตัวกระตุ้นได้หลายแบบรวมทั้งสัมผัส อุณหภูมิ อากัปกิริยา และโนซิเซ็ปชั่น (ซึ่งอาจให้เกิดความเจ็บปวด) ตัวรับความรู้สึกมีอยู่ที่ผิวหนัง เนื้อเยื่อบุผิว กล้ามเนื้อโครงร่าง กระดูก ข้อต่อ อวัยวะภายใน และระบบหัวใจและหลอดเลือด ถึงแม้จะสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งโบราณว่า สัมผัสเป็นความรู้สึกอย่างหนึ่งในทวารทั้ง 5 (เช่น "โผฏฐัพพะ" ในพระพุทธศาสนา) แต่ความจริงแล้ว "สัมผัส" เป็นความรู้สึกต่าง ๆ หลายแบบ ดังนั้น การแพทย์จึงมักจะใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "somatic senses (ความรู้สึกทางกาย)" แทนศัพท์ว่า "touch (สัมผัส)" เพื่อให้ครอบคลุมกลไกความรู้สึกทางกายทั้งหมด ความรู้สึกทางกายบางครั้งเรียกว่า "somesthetic senses" โดยที่คำว่า "somesthesis" นั้น รวมการรับรู้สัมผัส (touch) การรับรู้อากัปกิริยา และในบางที่ การรับรู้วัตถุโดยสัมผัส (haptic perception) ระบบรับความรู้สึกทางกายมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งเร้ามากมายหลายแบบ โดยอาศัยตัวรับความรู้สึกประเภทต่าง ๆ รวมทั้งตัวรับอุณหภูมิ โนซิเซ็ปเตอร์ ตัวรับแรงกล และตัวรับรู้สารเคมี ข้อมูลความรู้สึกจะส่งไปจากตัวรับความรู้สึกผ่านเส้นประสาทรับความรู้สึก (sensory nerve) ผ่านลำเส้นใยประสาทในไขสันหลัง ตรงเข้าไปยังสมอง การประมวลผลโดยหลักเกิดขึ้นที่คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (primary somatosensory cortex) ในสมองกลีบข้าง cortical homunculus ที่แสดงไว้โดยไวล์เดอร์ เพ็นฟิลด์ กล่าวอย่างง่าย ๆ ที่สุด ระบบรับความรู้สึกทางกายจะเริ่มทำงานเมื่อตัวรับความรู้สึกที่กายเขตหนึ่งเริ่มทำงาน โดยถ่ายโอนคุณสมบัติของตัวกระตุ้นบางอย่างเช่นความร้อนไปเป็นสัญญาณประสาท ซึ่งในที่สุดก็จะเดินทางไปถึงเขตสมองที่มีหน้าที่เฉพาะเจาะจงต่อเขตกายนั้น และเพราะเฉพาะเจาะจงอย่างนี้ จึงสามารถระบุเขตกายที่เกิดความรู้สึกโดยเฉพาะซึ่งเป็นผลแปลของสมอง ความสัมพันธ์จุดต่อจุดเช่นนี้ปรากฏเป็นแผนที่ผิวกายในสมองที่เรียกว่า homunculus แปลว่า "มนุษย์ตัวเล็ก ๆ" และเป็นส่วนสำคัญในการรับรู้ความรู้สึกที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แต่แผนที่ในสมองเช่นนี้ ไม่ใช่ว่าจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ และจริง ๆ สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างน่าทึ่งใจ เพื่อตอบสนองต่อโรคหลอดเลือดสมองหรือความบาดเจ็บอื่น.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและระบบรับความรู้สึกทางกาย · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาท

ระบบประสาทของมนุษย์ ระบบประสาทของสัตว์ มีหน้าที่ในการออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และประมวลข้อมูลที่รับมาจากประสาทสัมผัสต่างๆ และสร้างคำสั่งต่าง ๆ (action) ให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงาน (ดูเพิ่มเติมที่ ระบบประสาทกลาง) ระบบประสาทของสัตว์ที่มีสมองจะมีความคิดและอารมณ์ ระบบประสาทจึงเป็นส่วนของร่างกายที่ทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหว (ยกเว้นสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เช่น ฟองน้ำ) สารเคมีที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทหรือเส้นประสาท (nerve) เรียกว่า สารที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ซึ่งมักจะมีผลทำให้เป็นอัมพาต หรือตายได้.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและระบบประสาท · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาทกลาง

แผนภาพแสดงซีเอ็นเอส:'''1.''' สมอง'''2.''' ระบบประสาทกลาง (สมองและไขสันหลัง) '''3.''' ไขสันหลัง ระบบประสาทกลาง หรือ ระบบประสาทส่วนกลาง หรือ ซีเอ็นเอส (central nervous system; ตัวย่อ: CNS) เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดของระบบประสาท ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่ร่วมกับระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system) ในการควบคุมพฤติกรรม โครงสร้างของระบบประสาทกลางจะอยู่ภายในช่องลำตัวด้านหลัง (dorsal cavity) สมองอยู่ในช่องลำตัวด้านศีรษะ (cranial cavity) และไขสันหลังอยู่ในช่องไขสันหลัง (spinal cavity) โครงสร้างเหล่านี้ถูกปกคลุมด้วยเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง (meninges) สมองยังถูกปกคลุมด้วยกะโหลกศีรษะและไขสันหลังยังมีกระดูกสันหลังช่วยป้องกันการกระทบกระเทือน.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและระบบประสาทกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ระบบไหลเวียน

ระบบไหลเวียน หรือ ระบบหัวใจหลอดเลือด เป็นระบบอวัยวะซึ่งให้เลือดไหลเวียนและขนส่งสารอาหาร (เช่น กรดอะมิโนและอิเล็กโทรไลต์) ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ฮอร์โมน และเม็ดเลือดเข้าและออกเซลล์ในร่างกายเพื่อหล่อเลี้ยงและช่วยต่อสู้โรค รักษาอุณหภูมิและ pH ของร่างกาย และรักษาภาวะธำรงดุล มักมองว่าระบบไหลเวียนประกอบด้วยทั้งระบบหัวใจหลอดเลือด ซึ่งกระจายเลือด และระบบน้ำเหลือง ซึ่งไหลเวียนน้ำเหลือง ทั้งสองเป็นระบบแยกกัน ตัวอย่างเช่น ทางเดินน้ำเหลืองยาวกว่าหลอดเลือดมาก เลือดเป็นของเหลวอันประกอบด้วยน้ำเลือด เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดซึ่งหัวใจทำหน้าที่ไหลเวียนผ่านระบบหลอดเลือดสัตว์มีกระดูกสันหลัง โดยน้ำออกซิเจนและสารอาหารไปและของเสียกลับจากเนื้อเยื่อกาย น้ำเหลือง คือ น้ำเลือดส่วนเกินที่ถูกกรองจากของเหลวแทรก (interstitial fluid) และกลับเข้าสู่ระบบน้ำเหลือง ระบบหัวใจหลอดเลือดประกอบด้วยเลือด หัวใจและหลอดเลือด ส่วนระบบน้ำเหลืองประกอบด้วยน้ำเหลือง ปุ่มน้ำเหลืองและหลอดน้ำเหลือง ซึ่งคืนน้ำเลือดที่กรองมาจากของเหลวแทรกในรูปน้ำเหลือง มนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นมีระบบหัวใจหลอดเลือดแบบปิด คือ เลือดไม่ออกจากเครือข่ายหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำและหลอดเลือดฝอย แต่กลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางกลุ่มมีระบบหัวใจหลอดเลือดแบบเปิด ในทางตรงข้าม ระบบน้ำเหลืองเป็นระบบเปิดซึ่งให้ทางที่จำเป็นแก่ของเหลวระหว่างเซลล์ส่วนเกินกลับเข้าสู่หลอดเลือดได้ ไฟลัมสัตว์ไดโพลบลาสติก (diploblastic) บางไฟลัมไม่มีระบบไหลเวียน.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและระบบไหลเวียน · ดูเพิ่มเติม »

ริ้นน้ำเค็ม

ริ้นน้ำเค็ม (biting midges, no-see-ums, midgies, sandflies, punkies) อยู่ในวงศ์ Ceratopogonidae อันดับ Diptera มีประมาณ 4,000 ชนืด ขนาดเล็ก (ยาว 1-5 มิลลิเมตรแต่ส่วนมากประมาณ 3 มิลลิเมตร) พบในน้ำหรือบริเวณใกล้ๆน้ำ ทั่วโลก ตัวเมียของหลาย ชนิด กิน เลือด จากสัตว์ สกุล Culicoides Forcipomyia (Lasiohelea) และ Leptoconops กิน เลือด สัตว์มีกระดูกสันหลัง บางชนิดของสกุล Atrichopogon และ Forcipomyia เป็น ปรสิตภายนอก ของแมลงขนาดใหญ่ สกุล Dasyhelea กินน้ำหวาน สกุล อื่นๆเป็น ตัวห้ำ ของแมลงขนาดเล็กๆ ตัวอ่อน พบในสถานที่ชื้น เช่น ใต้ เปลือกไม้ ไม้ผุ ส่วนผสมของปุ๋ย โคลน ขอบลำธาร โพรงต้นไม้ หรือในพืชที่อุ้มน้ำ (เช่น phytotelmata) หลาย ชนิด ของกลุ่ม hematophagic (กินเลือด) เป็นแมลงรบกวนที่ ชายหาด หรือ ภูเขา บางชนิด เป็น แมลงผสมเกสร ที่สำคัญของ พืชไร่ ในเขตร้อน เช่น โกโก้ ชนิดที่ดูดเลือดอาจเป็น พาหะนำโรค ของ โรค ที่เกิดจาก ไวรัส โปรโตซัว และ หนอนฟิลาเรียล การกัดของสกุล Culicoides เป็นสาเหตุให้เกิดอาการแพ้ใน สัตว์กลุ่มม้า (equine) มีชื่อโรคว่า sweet itch และทำให้มนุษย์เกิดการคันมาก เป็นแนวแดงเป็นสัปดาห์ การแพ้เกิดจากปฏิกิริยาของโปรตีนในน้ำลาย ชนิดที่มีขนาดเล็กมากสามารถลอดผ่านช่องตะแกรงของ มุ้งลวดหน้าต่าง ธรรมดา ช่องของ เต๊นท์ พวกนี้ถูกดักจับได้ด้วยตาข่ายพิเศษที่ถี่กว่าปกต.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและริ้นน้ำเค็ม · ดูเพิ่มเติม »

ร่องกลาง

ในทางประสาทกายวิภาคศาสตร์ ร่องกลาง (Central sulcus) เป็นรอยพับในซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลัง อาจเรียกว่า central fissure เดิมเรียกว่า ร่องของโรลันโด (fissure of Rolando หรือ Rolandic fissure) ตามชื่อของลุยจี โรลันโด (Luigi Rolando, 1773-1831) ศาสตราจารย์ทางกายวิภาคศาสตร์ชาวอิตาลี ร่องกลางเป็นบริเวณที่สำคัญของสมอง ซึ่งแยกสมองกลีบข้าง (parietal lobe) และสมองกลีบหน้า (frontal lobe) และแยกระหว่างไพรมารี มอเตอร์ คอร์เท็กซ์ (primary motor cortex) หรือคอร์เท็กซ์สั่งการปฐมภูมิ และไพรมารี โซมาโตเซนซอรี คอร์เท็กซ์ (primary somatosensory cortex) หรือคอร์เท็กซ์รับความรู้สึกส่วนกายปฐมภูม.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและร่องกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ลำดับสงวน

accessdate.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและลำดับสงวน · ดูเพิ่มเติม »

ลำไส้เล็กส่วนกลาง

ลำไส้เล็กส่วนกลาง (Jejunum) เป็นส่วนที่สองของลำไส้เล็กในมนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูง เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์เลื้อยคลาน และนก ลำไส้เล็กส่วนกลางอยู่ระหว่างลำไส้เล็กส่วนต้นและลำไส้เล็กส่วนปลาย ในมนุษย์โตเต็มวัย ลำไส้เล็กมีความยาวประมาณ 6-7 เมตร สองในห้าของความยาวลำไส้เล็กคือความยาวของลำไส้เล็กส่วนกลาง ซึ่งเท่ากับความยาวประมาณ 2.5 เมตร โดยลำไส้เล็กส่วนกลางนี้เป็นส่วนที่มีวิลไลมากที่สุดและมีการดูดซึมมากที่สุดด้ว.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและลำไส้เล็กส่วนกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ลำไส้เล็กส่วนต้น

ลำไส้ส่วนต้นหรือดูโอดีนัม (Duodenum) เป็นลำไส้เล็กส่วนแรกในสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูงส่วนใหญ่ รวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ปีก ในปลา ส่วนของลำไส้เล็กนั้นไม่ชัดเจน และอาจใช้คำว่า ลำไส้เล็กหน้าหรือลำไส้เล็กต้น (proximal intestine) แทน ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ลำไส้เล็กส่วนต้นอาจเป็นที่ดูดซึมเหล็กหลัก ลำไส้เล็กส่วนต้นอยู่ก่อนลำไส้เล็กส่วนกลาง (jejunum) และลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum) และเป็นลำไส้เล็กส่วนที่สั้นที่สุด เป็นที่ที่เกิดการย่อยเชิงเคมีมากที.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและลำไส้เล็กส่วนต้น · ดูเพิ่มเติม »

ลำไส้เล็กส่วนปลาย

ลำไส้เล็กส่วนปลาย (Ileum) เป็นส่วนปลายสุดของลำไส้เล็กในสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูง เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์เลื้อยคลาน และนก ลำไส้เล็กส่วนปลายอยู่ถัดมาจากลำไส้เล็กส่วนต้นและลำไส้เล็กส่วนกลาง ลำไส้เล็กส่วนปลายในมนุษย์มีความยาวประมาณ 2-4 เมตร และค่า pH จะอยู่ระหว่าง 7 ถึง 8.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและลำไส้เล็กส่วนปลาย · ดูเพิ่มเติม »

ลิมโฟไซต์

ลิมโฟไซต์ (lymphocyte) เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์มีกระดูกสันหลัง รวมถึงมนุษย์ อาจแบ่งออกเป็นเซลล์เอ็นเค (natural killer/NK cell, ทำหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกันแบบพื้นฐานและการทำลายเซลล์) เซลล์ที (ระบบภูมิคุ้มกันแบบปรับตัวและการทำลายเซลล์) และเซลล์บี (ระบบภูมิคุ้มกันแบบปรับตัว ทำงานผ่านแอนติบอดี) เป็นเซลล์ที่พบเป็นส่วนใหญ่ในระบบน้ำเหลือง (lymph) จึงได้ชื่อว่าลิมโฟไซต์ ("เซลล์น้ำเหลือง") * หมวดหมู่:น้ำเหลือง หมวดหมู่:เนื้อเยื่อน้ำเหลือง หมวดหมู่:ระบบน้ำเหลือง หมวดหมู่:ระบบภูมิคุ้มกัน.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและลิมโฟไซต์ · ดูเพิ่มเติม »

ลิสแซมฟิเบีย

ลิสแซมฟิเบีย (ชั้นย่อย: Lissamphibia) เป็นชั้นย่อยของสัตว์มีกระดูกสันหลังในชั้นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibia) โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lissamphibia จากการศึกษาทางด้ายภายวิภาคศาสตร์และระดับโมเลกุลพบว่า ลิสแซมฟิเบียเป็นวิวัฒนาการเดี่ยวแยกจากสัตว์สี่เท้ากลุ่มอื่นที่ดำรงชีวิตและสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนปัจจุบัน กล่าวคือ เมื่อระยะเวลาราว 30 ล้านปีมาแล้ว ที่ได้มีสัตว์สี่เท้าถือกำเนิดขึ้นมา เป็นช่วงปลายยุคคาร์บอนิเฟอรัส ซึ่งช่วงนี้มีความสำคัญมากกับวิวัฒนาการของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำกลุ่มแรก รวมทั้งวิวัฒนาการของสัตว์กลุ่มแอมนิโอต เนื่องจากในช่วงนี้หลักฐานทางซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์สี่ขาหลายกลุ่มปะปนกัน เช่น เทมโนสปอนเดิล, แอนธราโคซอร์, แอมนิโอตกลุ่มแรก เป็นต้น ปัจจุบัน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำทั้งหมดที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ต่างก็เป็นลิสแซมฟิเบียทั้งหมด คือ Anura, Caudata และGymnophiona และเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในยุคพาลีโอโซอิกตอนปลายอีกด้ว.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและลิสแซมฟิเบีย · ดูเพิ่มเติม »

วัฏจักรแคลเซียม

วัฏจักรแคลเซียมเป็นการหมุนเวียนของแคลเซียมในสิ่งแวดล้อม แคลเซียมเป็นธาตุที่มีความสำคัญต่อการทำงานของเอนไซม์หลายชนิดและเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ของแบคทีเรีย การตกตะกอนและการละลายในรูป CaCO3 และ Ca2 มีความสำคัญอย่างมากในสิ่งแวดล้อม การตกตะกอนของ CO32- เกี่ยวข้องกับการสร้างโครงสร้างภายนอกของจุลินทรีย์และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ส่วนสัตว์มีกระดูกสันหลังจะสะสม CO32- ในกระดูกและฟัน เป็นแสดงถึงวัฏจักรแคลเซียม Ca2ละลายน้ำได้ดีกว่าCaCO3 สมดุลระหว่าง CO32- และ HCO3- ควบคุมโดยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ละลายน้ำในรูป H2CO3 การเพิ่มไฮโดรเจนอิออนทำให้การละลายของ CO32- ดีขึ้น ส่วนสภาวะที่เป็นกลางหรือเบส จะทำให้ CO32- ตกตะกอนได้ดีขึ้น โดยในสภาวะที่เป็นเบสนี้จะมี Ca2+มาก CO32- จึงตกตะกอนในรูป CaCO3 กระบวนการที่มีผลต่อการตกตะกอนของ CaCO3 โดยสิ่งมีชีวิตคือกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งโดยทั่วไปในน้ำทะเล Ca2+จะอยู่ในรูปของ Ca2 ที่สมดุลกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถูกใช้ไปในการสังเคราะห์ด้วยแสง ทำให้ Ca2 ถูกเปลี่ยนเป็น CaCO3 มากขึ้น กลไกนี้มีความสำคัญมากในแนวปะการัง แม้ว่าในน้ำทะเลจะมี Mg2+ อยู่มากและมีพฤติกรรมคล้าย Ca2+แต่เนื่องจาก MgCO3 ละลายน้ำได้ดีกว่า CaCO3 Ca2+ จึงถูกนำไปใช้ในโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตมากกว.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและวัฏจักรแคลเซียม · ดูเพิ่มเติม »

วิลเดอบีสต์

วิลเดอบีสต์ (wilderbeast, wildebeest) หรือ นู (gnu) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทหนึ่ง จำพวกแอนทีโลป ในวงศ์ Bovidae จัดอยู่ในสกุล Connochaetes.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและวิลเดอบีสต์ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเดอบีสต์เคราขาว

วิลเดอบีสต์เคราขาว หรือ วิลเดอบีสต์ธรรมดา หรือ วิลเดอบีสต์สีน้ำเงิน หรือ กนู (White-bearded wildebeest, Common wildebeest, Blue wildebeest, Gnu) เป็นสัตว์กีบคู่จำพวกแอนทีโลปชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ Alcelaphinae.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและวิลเดอบีสต์เคราขาว · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

วิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (evolution of mammalian auditory ossicles) เป็นเหตุการณ์ทางวิวัฒนาการที่มีหลักฐานยืนยันดีที่สุด และสำคัญที่สุด เหตุการณ์หนึ่ง โดยมีทั้งซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ (transitional fossil) จำนวนมากและตัวอย่างที่เยี่ยมของกระบวนการ exaptation คือการเปลี่ยนจุดประสงค์ของโครงสร้างที่มีอยู่แล้วในระหว่างวิวัฒนาการ ในสัตว์เลื้อยคลาน แก้วหูจะเชื่อมกับหูชั้นในผ่านกระดูกท่อนเดียว คือ columella ในขณะที่ขากรรไกรล่างและบนจะมีกระดูกหลายท่อนที่ไม่พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คือ ในช่วงวิวัฒนาการของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กระดูกชิ้นหนึ่งของขากรรไกรล่างและบน (articular และ quadrate) หมดประโยชน์โดยเป็นข้อต่อ และเกิดนำไปใช้ใหม่ในหูชั้นกลาง ไปเป็นตัวเชื่อมกับกระดูกโกลนที่มีอยู่แล้ว รวมกันกลายเป็นโซ่กระดูกสามท่อน (โดยเรียกรวมกันว่ากระดูกหู) ซึ่งถ่ายทอดเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า และดังนั้นช่วยให้ได้ยินได้ดีกว่า ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กระดูกหูสามท่อนนี้เรียกว่า กระดูกค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลน ตามลำดับ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์ปีกยังต่างจากสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ เพราะมีคอเคลียที่วิวัฒนาการเกิดขึ้น หลักฐานว่า กระดูกค้อนและกระดูกทั่งมีกำเนิดเดียวกัน (homologous) กับกระดูก articular และ quadrate ของสัตว์เลื้อยคลานเบื้องต้นมาจากคัพภวิทยา แล้วต่อมา การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพมากมายก็ได้ยืนยันข้อสรุปนี้ โดยให้ประวัติการเปลี่ยนสภาพอย่างละเอียด ส่วนวิวัฒนาการของกระดูกโกลนจาก hyomandibula เป็นเหตุการณ์ต่างหากที่เกิดขึ้นก่อน.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและวิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการของการเห็นเป็นสีในไพรเมต

วิวัฒนาการของการเห็นเป็นสีในไพรเมต (evolution of color vision in primates) เป็นเหตุการณ์พิเศษในบรรดาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในเคลดยูเธอเรีย แม้บรรพบุรุษสัตว์มีกระดูกสันหลังของไพรเมตจะเห็นเป็นสีด้วยเซลล์รูปกรวยในจอตา 4 ประเภท (tetrachromacy) แต่บรรพบุรุษที่เป็นสัตว์เลือดอุ่นหากินกลางคืนต่อมา ก็ได้เสียเซลล์รูปกรวย 2 ประเภทไปในยุคไดโนเสาร์ ดังนั้น ปลาใน Infraclass "Teleostei" สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์ปีกล้วนแต่เห็นภาพสีด้วยเซลล์รูปกรวย 4 ประเภท ในขณะที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด ยกเว้นไพรเมตและสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องบางชนิด ล้วนแต่เห็นเป็นสีด้วยเซลล์รูปกรวยเพียง 2 ประเภท (dichromacy) ไพรเมตเห็นภาพสีด้วยเซลล์รูปกรวย 3 ประเภท (Trichromacy) ที่ตอบสนองสูงสุดต่อคลื่นแสงสีม่วง (คลื่นสั้น S) สีเขียว (คลื่นกลาง M) และสีเหลือง-เขียว (คลื่นยาว L) โดยมีโปรตีนอ็อปซิน (Opsin) เป็นสารรงควัตถุไวแสง (photopigment) หลักในตา และลำดับ/โครงสร้างของอ็อปซินจะเป็นตัวกำหนดความไวสี/สเปกตรัมต่าง ๆ ของเซลล์รูปกรวย แต่ก็ไม่ใช่ว่า ไพรเมตทั้งหมดจะสามารถเห็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ประเภท ลิงวงศ์ใหญ่ "catarrhinni" ซึ่งรวมลิงโลกเก่าและเอป ปกติจะเห็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ประเภท คือทั้งตัวผู้ตัวเมียมีอ็อปซิน 3 ประเภทที่ไวต่อความยาวคลื่นแสงแบบสั้น กลาง และยาว ส่วนในสปีชีส์เกือบทั้งหมดของลิงโลกใหม่ ตัวผู้ทั้งหมดและตัวเมียพันธุ์แท้ จะเห็นภาพสีด้วยเซลล์เพียง 2 ประเภท และตัวเมียพันธุ์ผสม จะเห็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ประเภท ซึ่งเป็นภาวะที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า allelic/polymorphic trichromacy (การเห็นภาพสีด้วยเซลล์รูปกรวย 3 ประเภทเหตุอัลลีลหรือภาวะพหุสัณฐาน) ในบรรดาลิงโลกใหม่ ลิงสกุล Alouatta (Howler monkey) ปกติจะเห็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ประเภท.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและวิวัฒนาการของการเห็นเป็นสีในไพรเมต · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการของมนุษย์

''Homo sapiens sapiens'' ชาวอาข่าในประเทศไทย วิวัฒนาการของมนุษย์ (Human evolution) เป็นกระบวนการวิวัฒนาการที่นำไปสู่การปรากฏขึ้นของ "มนุษย์ปัจจุบัน" (modern human มีนามตามอนุกรมวิธานว่า Homo sapiens หรือ Homo sapiens sapiens) ซึ่งแม้ว่าจริง ๆ แล้วจะเริ่มต้นตั้งแต่บรรพบุรุษแรกของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด แต่บทความนี้ครอบคลุมเพียงแค่ประวัติวิวัฒนาการของสัตว์อันดับวานร (primate) โดยเฉพาะของสกุล โฮโม (Homo) และการปรากฏขึ้นของมนุษย์สปีชีส์ Homo sapiens ที่จัดเป็นสัตว์วงศ์ลิงใหญ่เท่านั้น การศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการมนุษย์นั้นต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายสาขา รวมทั้งมานุษยวิทยาเชิงกายภาพ (หรือ มานุษยวิทยาเชิงชีวภาพ), วานรวิทยา, โบราณคดี, บรรพชีวินวิทยา, พฤติกรรมวิทยา, ภาษาศาสตร์, จิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการ (evolutionary psychology), คัพภวิทยา และพันธุศาสตร์ กระบวนการวิวัฒนาการเป็นความเปลี่ยนแปลงของลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตผ่านหลายชั่วยุคชีวิต เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความหลายหลากกับสิ่งมีชีวิตในทุกระดับชั้น รวมทั้งระดับสปีชีส์ ระดับสิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิต และแม้กระทั่งโครงสร้างระดับโมเลกุลเช่นดีเอ็นเอและโปรตีน สิ่งมีชีวิตทั้งหมดในโลกสืบสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกันที่มีชีวิตประมาณ 3.8 พันล้านปีก่อน การเกิดสปีชีส์ใหม่ ๆ และการแยกสายพันธุ์ออกจากกันของสิ่งมีชีวิต สามารถอนุมานได้จากลักษณะสืบสายพันธุ์ทางสัณฐานและทางเคมีชีวภาพ หรือโดยลำดับดีเอ็นเอที่มีร่วมกัน คือ ลักษณะสืบสายพันธุ์และลำดับดีเอ็นเอที่มีกำเนิดเดียวกัน จะมีความคล้ายคลึงกันระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันเร็ว ๆ นี้มากกว่าระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันมานานแล้ว ดังนั้นความคล้ายคลึงกันและความแตกต่างกันจึงสามารถใช้สร้างแบบของต้นไม้สายพันธุ์สิ่งมีชีวิต ที่แสดงความสัมพันธ์เชิงญาติ โดยใช้สิ่งมีชีวิตที่ยังมีอยู่หรือใช้ซากดึกดำบรรพ์เป็นหลักฐานข้อมูล รูปแบบความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในโลกเปลี่ยนแปลงไปเพราะการเกิดขึ้นของสปีชีส์ใหม่ ๆ และการสูญพันธุ์ไปของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ งานวิจัยต่าง ๆ ทางพันธุศาสตร์แสดงว่า สัตว์อันดับวานรรวมทั้งมนุษย์แยกออกจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทอื่น ๆ เมื่อประมาณ โดยมีซากดึกดำบรรพ์ปรากฏเป็นครั้งแรกสุดเมื่อประมาณ ส่วนลิงวงศ์ชะนี (Hylobatidae) แยกสายพันธุ์ออกจากสายพันธุ์วงศ์ลิงใหญ่ (Hominidae) รวมทั้งมนุษย์ ซึ่งเป็นวงศ์หนึ่ง ๆ ของสัตว์อันดับวานรนั้น เมื่อ แล้วลิงวงศ์ Ponginae (ลิงอุรังอุตัง) ก็แยกออกจากสายพันธุ์เมื่อประมาณ จากนั้น การเดินด้วยสองเท้า (bipedalism) ซึ่งเป็นการปรับตัวพื้นฐานที่สุดของสัตว์เผ่า Hominini ซึ่งเป็นสายพันธุ์ของมนุษย์ที่ลิงชิมแปนซีได้แยกออกไปแล้ว ก็เริ่มปรากฏในสัตว์สองเท้าแรกสุดในสกุล Sahelanthropus หรือ Orrorin โดยมีสกุล Ardipithecus ซึ่งเป็นสัตว์สองเท้าที่มีหลักฐานชัดเจนกว่า ตามมาทีหลัง ส่วนลิงกอริลลาและลิงชิมแปนซีแยกออกจากสายพันธุ์ในช่วงเวลาใกล้ ๆ กัน คือลิงกอริลลาเมื่อ และลิงชิมแปนซีเมื่อ โดยอาจจะมี Sahelanthropus เป็นบรรพบุรุษสุดท้ายร่วมกันระหว่างชิมแปนซีและมนุษย์ สัตว์สองเท้ายุคเริ่มต้นเหล่านี้ในที่สุดก็วิวัฒนาการมาเป็นเผ่า hominini เผ่าย่อย Australopithecina (australopithecine ปกติรวมสกุล Australopithecus, Paranthropus, และในบางที่ Ardipithecus) ที่ และหลังจากนั้นจึงเป็นเผ่าย่อย Hominina ซึ่งรวมเอามนุษย์สกุล โฮโม เท่านั้น มนุษย์สกุลโฮโมที่มีหลักฐานยืนยันพวกแรกที่สุดเป็นสปีชีส์ Homo habilis ซึ่งเกิดขึ้นประมาณ โดยเชื่อกันว่า สืบสายพันธุ์มาจาก homonin ในสกุล Australopithecus เป็นสปีชีส์แรก ๆ ที่มีหลักฐานชัดเจนว่าใช้เครื่องมือหิน และการปรับตัวของสายพันธุ์มนุษย์อีกอย่างหนึ่งคือ การขยายขนาดของสมอง (encephalization) ก็ได้เริ่มขึ้นที่มนุษย์ยุคต้นนี้ ซึ่งมีขนาดสมองที่ประมาณ 610 ซม3 คือมีขนาดใหญ่กว่าของลิงชิมแปนซีเล็กน้อย (ระหว่าง 300-500 ซม3) มีนักวิทยาศาสตร์ที่เสนอว่า นี้อยู่ในช่วงเวลาที่ยีนมนุษย์ประเภท SRGAP2 มีจำนวนเป็นสองเท่าเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาของสมองกลีบหน้าได้รวดเร็วกว่าในสัตว์อื่น ๆ ต่อมา มนุษย์สปีชีส์ Homo erectus/ergaster ก็เกิดขึ้นในช่วงประมาณ ที่มีปริมาตรกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของลิงชิมแปนซีคือ 850 ซม3 การขยายขนาดของสมองเช่นนี้เทียบเท่ากับมีเซลล์ประสาทเพิ่มขึ้น 125,000 เซลล์ทุกชั่วยุคคน สปีชีส์นี้เชื่อว่าเป็นพวกแรก ๆ ที่สามารถควบคุมไฟ และใช้เครื่องมือหินที่มีเทคโนโลยีที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เป็นมนุษย์สกุล Homo พวกแรกที่อพยพออกไปตั้งถิ่นฐานทั่วทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย และทวีปยุโรป อาจเริ่มตั้งแต่ ดังนั้น การวิวัฒนาการของสายพันธุ์มนุษย์ก่อนหน้านี้ล้วนเป็นไปในแอฟริกาเท่านั้น ส่วนกลุ่มมนุษย์โบราณที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Archaic humans ก็เกิดวิวัฒนาการขึ้นต่อมาประมาณ 600,000 ปีก่อน สืบสายพันธุ์มาจาก H. erectus/ergaster เป็นกลุ่มมนุษย์ที่อาจเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน โดยเฉพาะคือมนุษย์โบราณ H. heidelbergensis/rhodesiensis หลังจากนั้น มนุษย์สปีชีส์ ''Homo sapiens'' ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน (anatomically modern human) ก็เกิดขึ้นโดยมีวิวัฒนาการมาจากมนุษย์โบราณในยุคหินกลาง (แอฟริกา) คือประมาณ 300,000 ปีก่อน ตามทฤษฎี "กำเนิดมนุษย์ปัจจุบันเร็ว ๆ นี้จากแอฟริกา" มนุษย์ปัจจุบันได้วิวัฒนาการในทวีปแอฟริกาแล้วจึงอพยพออกจากทวีปประมาณ 50,000-100,000 ปีก่อน (ต่างหากจากมนุษย์ในยุคก่อน ๆ) ไปตั้งถิ่นฐานแทนที่กลุ่มมนุษย์สปีชีส์ H. erectus, H. denisova, H. floresiensis และ H. neanderthalensis ในที่ต่าง ๆ ที่เป็นเชื้อสายของมนุษย์ที่อพยพออกมาจากทวีปแอฟริกาในยุคก่อน ๆ โดยอาจได้ผสมพันธุ์กับมนุษย์โบราณก่อน ๆ เหล่านั้น หลักฐานโดยดีเอ็นเอในปี..

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและวิวัฒนาการของมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการของตา

วิวัฒนาการของตา (evolution of the eye) เป็นประเด็นการศึกษาที่ดึงดูดความสนใจ เพราะเป็นตัวอย่างพิเศษที่แสดงวิวัฒนาการเบนเข้าของอวัยวะที่สัตว์กลุ่มต่าง ๆ มากมายมี คือตาที่ซับซ้อนและทำให้สามารถมองเห็นได้วิวัฒนาการเกิดขึ้นอย่างเป็นอิสระกว่า 50-100 ครั้ง ตาที่ซับซ้อนดูเหมือนจะวิวัฒนาการขึ้นภายในไม่กี่ล้านปีในช่วง Cambrian explosion (เหตุการณ์ระเบิดสิ่งมีชีวิตยุคแคมเบรียน) ที่สิ่งมีชีวิตได้เกิดวิวัฒนาการอย่างรวดเร็ว หลักฐานว่าตาได้วิวัฒนาการขึ้นก่อนยุคแคมเบรียนยังไม่มี แต่มีอย่างหลากหลายในชั้นหิน/สิ่งทับถม Burgess shale (ในเทือกเขาร็อกกีของประเทศแคนาดา) ในกลางยุคแคมเบรียน และในหมวดหิน Emu Bay Shale ในออสเตรเลียซึ่งเก่าแก่กว่าเล็กน้อย ตาได้ปรับตัวอย่างหลายหลากตามความจำเป็นของสัตว์ ความต่างกันรวมทั้งความชัด (visual acuity) พิสัยความยาวคลื่นแสงที่สามารถเห็น ความไวในแสงสลัว ๆ สมรรถภาพในการตรวจจับการเคลื่อนไหวหรือการแยกแยะวัตถุ และการเห็นเป็นสี.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและวิวัฒนาการของตา · ดูเพิ่มเติม »

วุลเวอรีน

ำหรับตัวละครในมาร์เวลคอมิกส์ ดูที่ วูล์ฟเวอรีน (ตัวละคร) วุลเวอรีน (wolverine)Wozencraft, W. C. (16 November 2005).

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและวุลเวอรีน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์พังพอน

ระวังสับสนกับ: วงศ์เพียงพอน วงศ์พังพอน (mongoose; ไทยถิ่นเหนือ: จ่อน) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Herpestidae เดิมเคยถูกรวมเป็นวงศ์เดียวกับ วงศ์ Viverridae หรือ วงศ์ชะมดและอีเห็น.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและวงศ์พังพอน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กิ้งก่าบาซิลิสก์

วงศ์กิ้งก่าบาซิลิสก์ (Helmet lizard) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่าวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Corytophanidae (ในขณะที่บางข้อมูลใช้เป็นวงศ์ย่อย Corytophaninae อยู่ในวงศ์ใหญ่ Iguanidae) ลักษณะทั่วไปของกิ้งก่าในวงศ์นี้ คือ มีช่องเปิดบริเวณที่แอ่งเบ้าตาไม่ใหญ่ กระดูกจูกัลและสควาโมซัลเชื่อมต่อกันเป็นพื้นที่กว้าง ช่องเปิดพาไรทัลอยู่ที่กระดูกฟรอนทัล กระดูกพาลาทีนไม่มีฟันแต่กระดูกพเทอรีกอยด์มีฟัน ตัวผู้ไม่มีต่อมทางด้านในของต้นขาหลัง มีรูปร่างเรียวยาวและมีระยางค์ขาทั้ง 4 ข้างยาว หางยาว ที่สำคัญมีสันบนหัวในตัวผู้ ใช้สำหรับจำแนกเพศและป้องกันตัว มีความยาวประมาณ 9-20 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในป่าโปร่ง-ป่าดิบชื้น ในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ จนถึงอเมริกากลาง มีทั้งหากินบนพื้นดินและบนต้นไม้ เป็นกิ้งก่าที่ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ มีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่ออกลูกเป็นตัว โดยสมาชิกที่เป็นรู้จักกันเป็นอย่างดี คือ กิ้งก่าบาซิลิสก์ ที่สามารถวิ่งบนผิวน้ำได้ด้วยความรวดเร็ววีรยุทธ์ เลาหะจินดา, หน้า 376.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและวงศ์กิ้งก่าบาซิลิสก์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กิ้งก่าคาเมเลี่ยน

วงศ์กิ้งก่าคาเมเลี่ยน (Chameleon) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่า ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและวงศ์กิ้งก่าคาเมเลี่ยน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่ง

วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Crotalinae, Rattlesnake, Pit viper) เป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ Viperidae ที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดและพบกระจายพันธุ์ได้กว้างขวางที่สุด มีลักษณะโดยรวม คือ มีแอ่งรับรู้คลื่นอินฟราเรดระหว่างช่องเปิดจมูกกับตา กระดูกพาลาทีนมีก้านกระดูกโคเอนัลชิ้นเล็ก กระดูกพรีฟรอนทัลไม่มีก้านกระดูกออร์ไบทัล มีขนาดความยาวตั้งแต่ 30 เซนติเมตรจนถึงร่วม 3.7 เมตร กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในหลายพื้นที่ของโลก ตั้งแต่ยุโรปจนถึงทวีปเอเชีย และทวีปอเมริกาเหนือจนถึงอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ในหลากหลายภูมิประเทศ ตั้งแต่ทะเลทรายที่ร้อนและแห้งแล้ง ไปจนถึงที่ราบสูงหรือที่ราบต่ำในป่าดิบหรือบนภูเขาสูงที่ชุ่มชื้น โดยมากจะอาศัยและหากินบนพื้นดิน แต่บางชนิดก็ดำรงชีวิตอยู่บนต้นไม้หรือใช้ชีวิตแบบครึ่งบกครึ่งน้ำ หากินในเวลากลางคืน โดยใช้แอ่งรับรู้คลื่นอินฟราเรดตรงระหว่างตากับจมูกจับความร้อนที่ออกจากร่างกายของเหยื่อ ซึ่งได้แก่ นกหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น สัตว์ฟันแทะชนิดต่าง ๆ ในชนิดที่ดำรงชีวิตแบบครึ่งบกครึ่งน้ำก็จับปลาหรือกบกินเป็นอาหาร แพร่พันธุ์ด้วยการออกลูกเป็นตัว ยกเว้นสกุล Calloselasma หรือ งูกะปะ, Lachesis และบางชนิดของสกุล Trimeresurus ที่วางไข่ มีทั้งหมด 18 สกุล ประมาณ 155 ชนิด โดยสกุลที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ งูหางกระดิ่งที่อยู่ในสกุล Crotalus และSistrurus ที่มีจุดเด่น คือ ปลายหางเป็นปล้องของสารประกอบเคอราติน เรียงตัวต่อเนื่องกันซึ่งเป็นส่วนของผิวหนังลำตัวที่ยังหลงเหลืออยู่จากการลอกคราบแต่ละครั้ง เมื่อสั่นหางส่วนนี้แล้วจะทำให้เกิดเสียงจากการปล้องแต่ละปล้องนั้นเสียดสีกระทบกัน เพื่อใช้เป็นสัญญาณเตือนและข่มขู่สัตว์ที่ใหญ่กว่าที่คุกคาม สำหรับในประเทศไทย มีงูในวงศ์ย่อยนี้ 16 ชนิด ได้แก่ งูกะปะ (Calloselasma rhodostoma) ที่พบมากในสวนยางและสวนปาล์มน้ำมันทางภาคใต้, งูหางแฮ่มกาญจน์ (Trimeresurus kanburiensis), งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง (T. trigonocephalus), งูหางแฮ่มภูเขา (Ovophis monticola) เป็นต้น.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและวงศ์ย่อยงูหางกระดิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยงูแมวเซา

วงศ์ย่อยงูแมวเซา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Viperinae; Pitless viper, True viper, Old World viper, True adder) เป็นวงศ์ย่อยของงูในวงศ์ Viperidae มีรูปร่างโดยรวม คือ ไม่มีแอ่งรับรู้ถึงคลื่นอินฟราเรดเหมือนงูในวงศ์ย่อย Crotalinae กระดูกพาลาทีนไม่มีก้านกระดูกโคเอนัล กระดูกพรีฟอนทัลไม่มีก้านกระดูกออร์ไบทัล มีขนาดลำตัวปานกลาง โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 30 เซนติเมตร โดยในชนิด Bitis gabonica เป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ยาวได้มากกว่า 2 เมตร พบอาศัยในพื้นที่มีสภาพนิเวศกว้างขวางมากตั้งแต่ในป่าดิบชื้นจนถึงทะเลทราย แพร่กระจายพันธุ์ในพื้นที่ที่เป็นเส้นศูนย์สูตรจนถึงขั้วโลก ออกหากินทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน โดยช่วงเวลาที่หากินสัมพันธ์กับสภาวะอากาศและระดับอุณหภูมิในแต่ละพื้นที่ เช่น สกุล Vipera ที่พบในทวีปยุโรปออกหากินในเวลากลางวัน แต่สกุล Cerastes ที่พบในทะเลทรายออกหากินในเวลากลางคืน โดยมีพฤติกรรมทั้งหากินในระดับพื้นดินและบนต้นไม้ในระดับต่ำ เช่น สกุล Atheris เป็นต้น กินอาหารซึ่งได้แก่ สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก ขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบวางไข่และออกลูกเป็นตัว มีทั้งสิ้น 12 สกุล 65 ชนิด กระจายไปในทวีปยุโรป, แอฟริกา, เอเชีย สำหรับในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียว คือ งูแมวเซา (Daboia russellii) ซึ่งเป็นงูที่มีพิษร้ายแรงมากในการทำลายระบบโลหิต และจัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Daboia.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและวงศ์ย่อยงูแมวเซา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยงูเขียว

ำหรับงูเขียวจำพวกอื่น ดูที่: งูเขียวหางไหม้ วงศ์ย่อยงูเขียว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Colubrinae) เป็นวงศ์ย่อยของงูในวงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง (Colubridae) ซึ่งนับเป็นวงศ์ใหญ่ที่มีจำนวนของงูในโลกนี้ประมาณร้อยละ 70 โดยในวงศ์ย่อยงูเขียวนี้ ก็ถือเป็นวงศ์ที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดในวงศ์งูพิษเขี้ยวหลังอีกเช่นกัน มีความหลากหลายและความต้องการทางนิเวศวิทยาและพฤติกรรมหลากหลายที่สุด อีกทั้งไม่มีลักษณะจำเฉพาะที่จะใช้ระบุได้ โดยมีสกุลประมาณ 100 สกุล (ดูในตาราง) ประมาณ 650 ชนิด แพร่กระจายอยู่ทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกาและเกาะบางเกาะในมหาสมุทรเท่านั้นที่ไม่มีงูในวงศ์ย่อยนี้ โดยชนิดที่ตัวเล็กที่สุด คือ Tantilla reticta ที่มีความยาวลำตัวประมาณ 16-19 เซนติเมตร และใหญ่ที่สุดคือ Ptyas carinatus ที่มีความยาว 3.7 เมตร ส่วนมากขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ มีน้อยมากที่ออกลูกเป็นตัว มีหลายชนิดที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเนื่องจากมีสีสันที่สวยงามและอุปนิสัยไม่ดุร้าย รวมทั้งมีพิษอ่อนหรือไม่มีพิษเลย อาทิ งูคิงเสน็ก (Lampropeltis spp.) หรืองูคอนสเน็ก (Pantherophis guttatus) ที่พบในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง เป็นต้น ส่วนในประเทศไทย งูในวงศ์ย่อยนี้ โดยมากจะถูกเรียกชื่อสามัญว่างูเขียว (ยกเว้น งูเขียวหางไหม้ ซึ่งอยู่ในวงศ์ Viperidae) มีอยู่ประมาณ 74 ชนิด อาทิ งูเขียวปากแหนบ (Ahaetulla nasuta), งูเขียวปากจิ้งจก (A. prasina), งูเขียวปากจิ้งจกมลายู (A. mycterizans), งูเขียวดอกหมาก (Chrysopelea ornata), งูแม่ตะงาว (Boiga multimaculata), งูปล้องทอง (B. dendrophila), งูพงอ้อท้องเหลือง (Calamaria pavimentata) เป็นต้น.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและวงศ์ย่อยงูเขียว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยตะพาบหับ

วงศ์ย่อยตะพาบหับ (Flap-shelled turtle) เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับเต่า ในวงศ์ Trionychidae หรือตะพาบ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyclanorbinae ลักษณะโดยรวมของตะพาบในวงศ์ย่อยนี้คือ กระดูกฮัยโปพลาสทรอนเชื่อมรวมกับกระดองท้อง และกระดองท้องมีแผ่นกระดูกบริเวณต้นขา มีขนาดกระดองตั้งแต่ 30-60 เซนติเมตร จึงจัดเป็นตะพาบขนาดเล็ก อาศัยอยู่ในน้ำจืดและหากินตามพื้นล่างของแหล่งน้ำ ว่ายน้ำเพื่อเสาะแสวงหาอาหารหรือฝังตัวอยู่ในโคลนเพื่อรอเหยื่อให้เข้ามาใกล้ กินได้ทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลัง เช่น ปลา และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น กุ้ง, ปู หรือหอย พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่แถบซาฮาราและแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือ และอนุทวีปอินเดีย สำหรับในประเทศไทยมีตะพาบในวงศ์ย่อยนี้เพียงชนิดเดียว คือ ตะพาบหับพม่า แบ่งออกได้เป็น 6 ชนิด ใน 3 สกุล ได้แก.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและวงศ์ย่อยตะพาบหับ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยแมว

วงศ์ย่อยแมว หรือ วงศ์ย่อยเสือเล็ก (Cats) เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อ ในวงศ์แมว (Felidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Felinae ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในวงศ์ย่อยนี้ คือ เป็นเสือขนาดเล็กหรือชื่อสามัญนิยมเรียกว่า "แมว" มีลักษณะเด่น คือ ตีนมีซองหุ้มเล็บ แต่กระดูกกล่องเสียงไม่มีแถบเส้นเสียง จึงคำรามไม่ได้ จึงร้องได้แต่เป็นเสียงธรรมดา โดยขนาดใหญ่ที่สุด คือ เสือชีตาห์ ที่พบในทวีปแอฟริกา (บางข้อมูลก็จัดให้แยกเป็นวงศ์ย่อยออกไป) และสิงโตภูเขา ที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ สัตว์ในวงศ์ย่อยนี้ที่เก่าที่สุดที่มีการบันทึกไว้ได้ คือ Felis attica ที่สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคไมโอซีนยุคสุดท้าย (9 ล้านปีก่อน) ในแถบยูเรเชียตะวันตก เป็นวงศ์ย่อยที่แยกออกมาจากวงศ์ Pantherinae หรือเสือใหญ่ หรือเสือที่คำรามได้ เมื่อ 11.5 ล้านปีก่อน กระโดดขึ้น ↑.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและวงศ์ย่อยแมว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์อึ่งกราย

วงศ์อึ่งกราย (Asian toads) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ในอันดับกบ (Anura) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Megophryidae มีลักษณะเด่น คืิอ มีกระดูกสันหลังหน้ากระดูกก้นกบ 8 ปล้อง กระดูกสันหลังมีเซนทรัมเป็นแบบอย่างของแอมฟิซีลัส กระดูกหัวไหล่เป็นแบบอย่างของอาร์กซิฟเอรัล กระดูกแอสทรากาลัสและกระดูกแคลคาเนียมเชื่อมรวมกันเฉพาะส่วนต้นและส่วนปลาย ไม่มีชิ้นกระดูกแทรกระหว่างกระดูกนิ้ว 2 ชิ้นสุดท้าย ผิวหนังลำตัวมีต่อมเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้แล้วหลายชนิดของทั้งตัวผู้และตัวเมียยังมีกลุ่มของต่อมบริเวณขาหนีบและซอกขาหน้า มีขนาดตัวตั้งแต่ 2-12 เซนติเมตร อาศัยอยู่บนพื้นล่างของป่าหรือบริเวณใกล้ลำห้วยหรือลำธาร ส่วนใหญ่มีสีลำตัวกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม วางไข่ในแหล่งน้ำ โดยขณะผสมพันธุ์ตัวผู้จะกอดรัดตัวเมียในตำแหน่งเอว ลูกอ๊อดมีรูปร่างและโครงสร้างของปากแตกต่างกัน บางสกุลมีปากเป็นรูปกรวยและไม่มีจะงอยปาก รวมทั้งไม่มีตุ่มฟัน อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่ง แต่ขณะที่บางสกุลมีคุณสมบัติแตกต่างจากเหล่านี้สิ้นเชิง และอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำเชี่ยว เป็นต้น แพร่กระจายพันธุ์อยู่เฉพาะทวีปเอเชีย เช่น จีน, ปากีสถาน, อินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, หมู่เกาะฟิลิปปิน และเกาะสุมาตรา ในประเทศไทยพบประมาณ 25 ชน.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและวงศ์อึ่งกราย · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง

วงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง (Colubrid, Typical snake) เป็นวงศ์ของงูมีพิษวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Colubridae นับเป็นวงศ์ของงูที่มีปริมาณสมาชิกในวงศ์มากที่สุด ด้วยมีมากมายถึงเกือบ 300 สกุล และมีทั้งหมดในปัจจุบัน (ค.ศ. 2014) 1,938 ชนิด และจำแนกออกเป็นวงศ์ย่อย ๆ ได้อีก 12 วงศ์ (ดูในตาราง) โดยใช้ชื่อวงศ์ว่า Colubridae รูปร่างโดยรวมของงูในวงศ์นี้คือ กระดูกพรีแมคซิลลาไม่มีฟัน กระดูกแมคซิลลาเรียงตัวตามยาวและมีฟันชนิดที่ต่างกันไป แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ aplyph, opisthoglyph, proteroglyph ช่องเปิดของตาอยู่ตรงรอยต่อระหว่างกระดูกฟรอนทัล-กระดูกพาไรทัล-กระดูกพาราสฟีนอยด์ ขากรรไกรล่างไม่มีกระดูกโคโรนอยด์และกระดูกเดนทารีมีฟัน ไม่มีกระดูกเชิงกราน ไม่มีปิดข้างซ้ายหรือมีแต่ก็น้อยมาก มีท่อนำไข่ทั้งสองข้างและเจริญเท่ากัน โดยรวมแล้วพิษของงูในวงศ์นี้เมื่อเทียบกับงูพิษวงศ์อื่นแล้ว เช่น วงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) หรือวงศ์งูหางกระดิ่ง (Viperidae) นับว่ามีพิษร้ายแรงน้อยกว่ามาก หรือบางชนิดก็ไม่มีพิษเลย คำว่า "Colubridae" ที่ใช้เป็นชื่อวงศ์นั้น มาจากภาษาละตินว่า "coluber" แปลว่า "งู".

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและวงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์งูก้นขบ

วงศ์งูก้นขบ (Pipe snakes) เป็นวงศ์ของงูไม่มีพิษวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Cylindrophiidae ซึ่งในวงศ์นี้มีเพียงสกุลเดียว คือ Cylindrophis มีรูปร่างโดยรวม คือ กระดูกพรีแมคซิลลาไม่มีฟัน กระดูกแมคซิลลาเรียงตัวตามยาวและมีฟัน ช่องเปิดของตาอยู่ตรงรอยต่อระหว่างกระดูกฟรอนทัลกับกระดูกพาไรทัล ขากรรไกรล่างมีกระดูกโคโรนอยด์และกระดูกเดนทารีมีฟันหรือไม่มีฟัน มีกระดูกของรยางค์ขาคู่หลังที่ยังลดรูปไม่หมดและเป็นแท่งขนาดเล็กที่มองเห็นได้ทางช่องเปิดทวารร่วม มีกระดูกเชิงกรานขนาดเล็กที่ยังลดรูปไม่หมดฝังอยู่ในกล้ามเนื้อลำตัว มีปอดข้างซ้ายแต่มีขนาดเล็ก มีท่อนำไข่ทั้งสองข้างเจริญเท่ากัน มีรูปร่างกลมและลำตัวใหญ่ มีความยาวตั้งแต่ 30-90 เซนติเมตร หางสั้นและปรับปรุงให้ส่วนหางแลดูคล้ายส่วนหัว รวมทั้งมีพฤติกรรมใช้หางเพื่อป้องกันตัวจากผู้คุกคามตลอดจนมีพฤติกรรมแสร้งตาย เมื่อถูกคุกคาม เกล็ดบริเวณใต้หางขยายเป็นแผ่นแข็งใหญ่เหมือนกับเกล็ดใต้หางของูวงศ์ Uropeltidae แต่พื้นผิวของตัวเกล็ดเรียบ มีลักษณะเป็นมันเงาวาว เกล็ดด้านท้องใหญ่กว่าเกล็ดด้านหลังเล็กน้อย อาศัยอยู่ในโพรงดินในพื้นที่ทั่วไปทั้งในป่าและพื้นที่ทำการเกษตรที่มีดินร่วนซุยและชุ่มชื้น หากินในเวลากลางคืนบนพื้นผิวดิน กินทั้งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ ไส้เดือน และสัตว์มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ ปลาไหล และงูด้วยกันชนิดอื่น ออกลูกเป็นตัว ในปัจจุบันจำแนกเป็น 10 ชนิด (ดูในตาราง) พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ศรีลังกาจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และหมู่เกาะอินดีสตะวันออกและหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยมีงูในวงศ์นี้เพียงชนิดเดียว คือ งูก้นขบ (C. ruffus).

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและวงศ์งูก้นขบ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์งูดิน

วงศ์งูดิน (Typical blind snake) เป็นวงศ์ของงูจำพวกงูดินวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Typhlopidae ลักษณะของงูดินในวงศ์นี้ คือ กระดูกพรีแมคซิลลาไม่มีฟัน กระดูกแมคซิลลาเรียงตัวตามขวางและไม่มีฟัน ช่องเปิดตาอยู่ที่กระดูกฟรอนทัล ขากรรไกรล่างมีกระดูกโคโรนอยด์และกระดูกเดนทารีไม่มีฟัน ไม่มีกระดูกของระยางค์ขาแต่มีกระดูกเชิงกรานขนาดเล็กที่ยังลดรูปไม่หมดฝังอยู่ในกล้ามเนื้อลำตัว ปอดข้างซ้ายเล็กมากหรือลดรูปไม่หมด ไม่มีท่อนำไข่ข้างซ้าย มาีลำตัวเรียวยาว ชนิดที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ Ramphotyphlops braminus ที่มีความยาวประมาณ 14-18 เซนติเมตร และชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ Rhinotyphlops schlegelii ที่ยาว 90 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความแตกต่างกันมากทั้งพื้นที่แห้งแล้งจนถึงป่าดิบชื้น ส่วนมากอาศัยอยู่ในโพรงและในจอมปลวกโดยใช้เส้นทางเดินของปลวกทั้งบนพื้นดินและต้นไม้ กินมดและปลวก รวมถึงสัตว์ขาปล้องที่มีลำตัวนุ่มนิ่มเป็นอาหาร แพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนทั่วทั้งโลกทั้งที่เป็นพื้นแผ่นดินใหญ่และเกาะกลางมหาสมุทร แบ่งออกได้ทั้งหมด 6 สกุล พบประมาณ 210 ชนิด ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ทั้งหมด แต่ก็มีบางชนิดที่มีการขยายพันธุ์ได้โดยไม่มีการปฏิสนธิ สำหรับในประเทศไทยพบประมาณ 12 ชนิด ล้วนแต่เป็นงูดินในวงศ์นี้ทั้งหม.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและวงศ์งูดิน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์งูแมวเซา

วงศ์งูแมวเซา หรือ วงศ์งูหางกระดิ่ง หรือ วงศ์งูพิษเขี้ยวพับ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Viperidae, Viper, Rattlesnake) เป็นวงศ์ของงูวงศ์หนึ่ง ที่มีพิษร้ายแรงมากวงศ์หนึ่ง ที่ทำอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ ให้ตายได้ด้วยน้ำพิษ มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวป้อมและมีหัวค่อนข้างเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีขนาดใหญ่กว่าส่วนคอมาก เกล็ดบนหัวมีขนาดเล็กยกเว้นสกุล Causus ที่เป็นแผ่นใหญ่ มีแอ่งรับรู้สึกคลื่นความร้อนอินฟราเรดอยู่ระหว่างช่องเปิดจมูกกับตาหรืออยู่ทางด้านล่างของเกล็ดที่ปกคลุมหัว กระดูกพรีแมคซิลลาไม่มีฟัน กระดูกแมคซิลลาหมุนได้ และมีเขี้ยวพิษขนาดใหญ่เพียงซี่เดียวที่เป็นท่อกลวง เขี้ยวเคลื่อนไหวได้จากการปรับปรุงให้รอยต่อระหว่างกระดูกแมคซิลลากับกระดูกพรีฟรอนทัลขยับได้ ฟันเขี้ยวจะยกตั้งขึ้นเมื่ออ้าปากและเอนราบไปกับพื้นล่างของปากเมื่อหุบปาก ช่องเปิดของตาอยู่ตรงรอยต่อระหว่างกระดูกฟรอนทัลกับกระดูกพาไรทัลหรือกระดูกฟรอนทัล-กระดูกพาไรทัล-กระดูกพาราสฟีนอยด์ ขากรรไกรล่างไม่มีกระดูกโคโรนอยด์ ไม่มีกระดูกเชิงกราน ไม่มีปอดข้างซ้ายหรือมีแต่เล็กมาก มีท่อนำไข่ทั้งสองข้างและเจริญเท่ากัน เป็นวงศ์ที่มีขนาดใหญ่ มีจำนวนสมาชิกประมาณ 221 ชนิด ประมาณ 32 สกุล และแบ่งออกเป็นวงศ์ย่อยได้อีก 4 วงศ์ แพร่กระจายไปทุกมุมโลก ยกเว้นบางพื้นที่ เช่น ทวีปอเมริกาใต้, ทวีปออสเตรเลีย, บางส่วนในทวีปเอเชีย และทวีปแอนตาร์กติกา โดยสมาชิกในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จักดี คือ งูหางกระดิ่ง คือ งูที่อยู่ในวงศ์ย่อย Crotalinae ที่พบได้ในทะเลทรายในทวีปอเมริกาเหนือจนถึงอเมริกากลาง สำหรับในทวีปเอเชีย ชนิด Azemiops feae พบได้ในพม่า, จีนตอนกลาง และเวียดนาม จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์ย่อย Azemiopinae สำหรับในประเทศไทยจัดว่าเป็นงูที่มีพิษร้ายแรง ได้แก่ งูกะปะ หรือ งูปะบุก (Calloselasma rhodostoma) ที่จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Crotalinae และงูแมวเซา (Daboia russellii) ที่อยู่ในวงศ์ย่อย Viperinae เป็นต้น.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและวงศ์งูแมวเซา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์งูแสงอาทิตย์

วงศ์งูแสงอาทิตย์ (Sunbeam snakes) เป็นวงศ์ของงูไม่มีพิษวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Xenopeltidae มีทั้งหมดเพียง 2 ชนิด และสกุลเดียวเท่านั้น คือ Xenopeltis คือ งูแสงอาทิตย์ (X. unicolor) ที่พบได้กว้างไกลในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียอาคเนย์ และ งูแสงอาทิตย์ไหหลำ (X. hainanensis) ที่พบได้บนเกาะไหหลำ และมณฑลที่ใกล้เคียงกันเท่านั้นของจีน ลักษณะโดยรวมของงูในวงศ์นี้ คือ กระดูกแมคซิลลาเรียงตัวตามแนวยาวและมีฟัน ช่องเปิดของตาอยู่ตรงรอยต่อระหว่างกระดูกฟรอนทัลกับกระดูกพาไรทัล ขากรรไกรล่างมีกระดูกโคโรนอยด์และกระดูกเดนทารี มีฟันจำนวนมาก ไม่มีกระดูกเชิงกราน มีปอดข้างซ้ายขนาดใหญ่ มีท่อนำไข่ทั้งสองข้างและเจริญเท่ากัน มีลำตัวกลมยาว มีขนาดยาวได้เต็มที่ถึง 1.3 เมตร แต่โดยเฉลี่ยคือ 80 เซนติเมตร หัวป้านและมีหางสั้น แผ่นเกล็ดบนหัวใหญ่ แต่เกล็ดปกคลุมลำตัวด้านหลังและด้านท้องเล็ก เกล็ดเรียบเป็นมันแวววาว พื้นผิวของเกล็ดเมื่อสะท้อนกับแสงแดดจะเกิดเป็นเหลือบสี อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ มีอุปนิสัยอาศัยอยู่ในโพรง แต่ส่วนมากจะใช้โพรงของสัตว์อื่น อาศัยได้ในพื้นที่ที่ความหลากหลายมาก ตั้งแต่ป่าสมบูรณ์จนถึงพื้นที่เกษตรกรรมของมนุษย์ หากินทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน มักอาศัยอยู่ในที่ ๆ มีน้ำ กินอาหารได้หลากหลายรวมถึงสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกกลุ่ม แต่ในวัยอ่อนจะมีฟันที่ดัดแปลงมาเพื่อกินจิ้งเหลนโดยเฉพาะ แพร่ขยายพันธุ์โดยการวางไข่ และวางไข่ได้มากถึง 17 ฟอง.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและวงศ์งูแสงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์งูโบอา

วงศ์งูโบอา หรือ วงศ์งูเหลือมโบอา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Boidae; Boa, Anaconda) เป็นวงศ์ของงูที่ไม่มีพิษขนาดใหญ่วงศ์หนึ่ง มีรูปร่างคล้ายกับงูในวงศ์งูเหลือม (Pythonidae) จึงมักสร้างความสับสนให้อยู่เสมอ ๆ มีลักษณะโดยรวม คือ กระดูกพรีแมคซิลลาไม่มีฟัน กระดูกแมคซิลลาเรียงตัวตามยาวและมีฟัน ช่องเปิดตาอยู่ตรงรอยต่อระหว่างกระดูกฟรอนทัลกับกระดูกพาไรทัล กระดูกซูปราออคซิพิทัลมีสันใหญ่ ขากรรไกรล่างมีกระดูกโคโรนอยด์ มีกระดูกระยางค์ขาคู่หลังที่ยังลดรูปไม่หมดและเป็นแท่งขนาดเล็กที่มองเห็นได้ทางช่องเปิดทวารร่วม และมีกระดูกเชิงกรานขาคู่หลังที่ยังลดรูปไม่หมดฝังอยู่ในกล้ามเนื้อ ปอดข้างซ้ายค่อนข้างเจริญ มีท่อนำไข่ทั้งสองข้างเจริญเท่ากัน งูในวงศ์นี้ มีทั้งหมด 8 สกุล แบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย มีทั้งสิ้น 43 ชนิด กระจายพันธุ์ไปในหลายพื้นที่รอบโลก ทั้ง ทวีปเอเชีย, ทวีปแอฟริกา, ทวีปอเมริกาใต้ ทั้งที่เป็นแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะต่าง ๆ กลางทะเล เช่น ศรีลังกา, เกาะมาดากัสการ์, หมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ เช่น ฟิจิ, หมู่เกาะโซโลมอน, เมลานีเซีย และตองกา เป็นต้น โดยตัวอย่างงูในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ งูอนาคอนดา คือ งูที่อยู่ในสกุล Eunectes ที่อยู่ในวงศ์ย่อย Boinae ซึ่งโตเต็มที่ยาวได้ถึง 11.5 เมตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนิด Eunectes murinus หรือ งูอนาคอนดาเขียว ที่เป็นงูที่มีน้ำหนักตัวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยอาจมีน้ำหนักได้ถึง 250 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในป่าดิบชื้นของลุ่มแม่น้ำอเมซอน ทวีปอเมริกาใต้.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและวงศ์งูโบอา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์งูเส้นด้าย

วงศ์งูเส้นด้าย (Slender blind snake, Thread snake) เป็นวงศ์ของงูจำพวกงูดินวงศ์หนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Leptotyphlopidae ลักษณะเด่นของงูดินวงศ์นี้ คือ กระดูกพรีแมคซิลลาไม่มีฟัน กระดูกแมคซิลลาเรียงตัวตามยาวและไม่มีฟัน ช่องเปิดของตาอยู่ที่กระดูกฟรอนทัล ขากรรไกรล่างมีกระดูกโคโรนอยด์และกระดูกเดนทารีมีฟัน 4-5 ซี่ ไม่มีกระดูกของระยางค์ขาแต่มีกระดูกเชิงกรานขนาดเล็กที่ยังลดรูปไม่้หมดฝังอยู่ในกล้ามเนื้อลำตัว ไม่มีปอดข้างซ้าย ไม่มีท่อนำไข่ข้างซ้าย มีลักษณะลำตัวเรียวยาวมาก มีความยาวของลำตัวตั้งแต่ 15-25 เซนติเมตร แต่บางชนิด เช่น Leptotyphlops macrolepis และ L. occidentalis มีความยาวกว่า 30 เซนติเมตร แต่ในชนิด ''L. carlae กลับมีความยาวเพียง 10 เซนติเมตร นับเป็นงูชนิดที่ีมีขนาดเล็กที่สุดในโลก อาศัยอยู่ในพื้นที่ ๆ มีความแตคกต่้างกันมากทั้งแห้งแล้งและชุ่มชื้น กินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังโดยเฉพาะปลวกเป็นอาหารหลัก สามารถเสาะแสวงหารังปลวกได้จากสารเคมีในตัวปลวก เนื่องจากอาศัยอยู่ในจอมปลวกจึงพบบางชนิด เช่น L. dulcis บนต้นไม้สูงจากพื้นดินโดยเลื้อยไปในภายในรังของปลวกที่อยู่ตามต้นไม้ พบประมาณ 90 ชนิด ทุกชนิดแพร่ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ทั้งหมด แบ่งออกได้เป็น 2 สกุล คือ.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและวงศ์งูเส้นด้าย · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์งูเหลือม

วงศ์งูเหลือม (Python) เป็นวงศ์ของงูไม่มีพิษขนาดใหญ่ นับเป็นงูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ใช้ชื่อวงศ์ว่า Pythonidae มีลักษณะโดยรวม คือ มีกระดูกพรีแมคซิลลามีฟันยกเว้นในสกุล Aspidites ที่ไม่มี กระดูกแมคซิลลาเรียงตัวกันตามยาว ช่องเปิดตาอยู่ตรงรอยต่อระหว่างกระดูกฟรอนทัลกับกระดูกพาไรทัล ขากรรไกรมีกระดูกโคโรนอยด์ มีกระดูกของรยางค์ต่อระหว่างกระดูกฟรอนทัลกับกระดูกพาไรทัล ขากรรไกรล่างมีกระดูกโคโรนอยด์ มีกระดูกของรยางค์ขาคู่หลังที่ยังลดรูปไม่หมดและเป็นแท่งขนาดเล็กที่มองเห็นได้ทางช่องเปิดทวารร่วม มีกระดูกเชิงกรานขนาดเล็กที่ยังลดรูปไม่หมดฝังอยู่ในกล้ามเนื้อของลำตัว มีปอดข้างซ้ายใหญ่ มีท่อนำไข่มั้งสองข้างเจริญเท่ากัน มีแอ่งรับคลื่นความร้อนกระจายอยู่บริเวณขอบปากบนและล่าง เป็นงูขนาดใหญ่และไม่มีพิษ จึงมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงและเรี่ยวแรงพละกำลังมาก จึงใช้วิธีการรัดเหยื่อจนกระดูกหักและขาดใจตายจึงกลืนกินเข้าไปทั้งตัว ล่าเหยื่อด้วยการรอให้เข้ามาใกล้แล้วจึงเข้ารัด มีการกระจายพันธุ์ในหลายภูมิประเทศทั้งป่าดิบชื้น, ทะเลทราย ไปจนเกาะแก่งต่าง ๆ กลางทะเล หรือในชุมชนเมือง ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ พบตั้งแต่ทะเลทรายซาฮาราในทวีปแอฟริกา, เอเชียใต้, เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงออสเตรเลีย มีขนาดตั้งแต่ 30 เซนติเมตร จนถึงกว่า 10 เมตร แต่มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 1 เมตร หากินทั้งบนบก, ในน้ำ และบนต้นไม้ โดยกินสัตว์เลือดอุ่นจำพวกสัตว์ปีกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นหลัก ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ ตัวเมียจะเป็นผู้ดูแลไข่ด้วยการกกจนกระทั่งฟักเป็นตัว ปริมาณไข่ขึ้นอยู่กับอายุและความแข็งแรงของตัวเมีย มีทั้งหมด 8 สกุล 26 ชนิด เป็นงูที่มนุษย์รู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดี คือ งูหลาม (Python bivittatus) และงูเหลือม (P. reticulatus) ซึ่งเป็นงูที่มีขนาดใหญ่และยาวที่สุดในโลก ในประเทศไทยพบ 3 ชนิด คือ งูหลาม, งูเหลือม และงูหลามปากเป็ด (P. curtus) หลายชนิดนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง และมีราคาแพงอย่างยิ่งในตัวที่มีสีสันหรือลวดลายแปลกไปจากธรรมชาติ ซึ่งสามารถเพาะขยายพันธุ์กันได้ในที่เลี้ยง เช่น งูหลามบอล (P. regius) หลายชนิดใช้เนื้อ, กระดูกและหนังเป็นประโยชน์ได้ เช่น ใช้ทำเครื่องดนตรีบางประเภท หรือทำเป็นอุปกรณ์ใช้งาน เช่น กระเป๋า, รองเท้า, เข็มขัด หรือทำเครื่องรางของขลัง.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและวงศ์งูเหลือม · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาปอดแอฟริกา

วงศ์ปลาปอดแอฟริกา (วงศ์: Protopteridae; African lungfish) เป็นวงศ์ของปลาในชั้นปลาที่มีครีบเป็นพู่ (Sarcopterygii) ในชั้นย่อยปลาปอด (Dipnoi) ในอันดับ Lepidosireniformes หรือปลาปอดยุคใหม่ (ร่วมอันดับเดียวกับปลาปอดอเมริกาใต้).

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและวงศ์ปลาปอดแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ใหญ่ตะพาบและเต่าจมูกหมู

วงศ์ใหญ่ตะพาบและเต่าจมูกหมู (Soft-shell turtle, Pignose turtle) เป็นวงศ์ใหญ่ของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับเต่า (Testudines) ในอันดับย่อย Cryptodira ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trionychia หรือ Trionychoidea เป็นเต่าที่มีกระดองแบนราบ ตีนทั้ง 4 ข้าง เป็นใบพาย ใช้สำหรับว่ายน้ำได้ดี มีจมูกแหลมยาว เพราะเป็นเต่าที่อาศัยและหากินในน้ำเป็นหลัก จะขึ้นมาบนบกก็ต่อเมื่ออาบแดดหรือวางไข่ในตัวเมียเท่านั้น กระจายพันธุ์ทั้งในทวีปเอเชีย, แอฟริกา, อเมริกาเหนือ และโอเชียเนีย ปัจจุบัน มีเพียง 2 วงศ์ รวมกันแล้วประมาณ 14 สกุล คือ.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและวงศ์ใหญ่ตะพาบและเต่าจมูกหมู · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เอลิฟานติดี

วงศ์เอลิฟานติดี (อังกฤษ: Elephant) เป็นวงศ์ตามการอนุกรมวิธาน ได้แก่สัตว์จำพวกช้าง คือ ช้างและแมมมอธ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Elephantidae เป็นสัตว์บกเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดใหญ่ที่มีงวงและงา สกุลและชนิดส่วนใหญ่ในวงศ์นี้ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว เหลือเพียงสองสกุลเท่านั้นที่ยังมีชีวิตอยู่ ได้แก่ Loxodonta (ช้างแอฟริกา) และ Elephas (ช้างเอเชีย) เท่านั้น และเหลือเพียง 3 ชนิดเท่านั้น วงศ์ดังกล่าวได้รับการตั้งชื่อโดยจอห์น เอ็ดเวิร์ด เกรย์ นักสัตววิทยาชาวอังกฤษ ในปี..

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและวงศ์เอลิฟานติดี · ดูเพิ่มเติม »

สกุลปลาปักเป้าตุ๊กแก

กุลปลาปักเป้าตุ๊กแก เป็นสกุลของปลาน้ำกร่อยและน้ำเค็มจำพวกหนึ่ง ในอันดับปลาปักเป้า วงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Chelonodon (/ซี-ลอน-โอ-ดอน/) มีลักษณะที่สำคัญทางอนุกรมวิธาน คือ ครีบหลังอยู่ใกล้กับครีบหาง มีก้านครีบแขนง 9-16 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบแขนง 8-15 ก้าน เยื่อจมูกยื่นออกมาเป็นแผ่น ใต้ครีบหลังและโคนหางมีจุดสีดำขนาดใหญ่ 1 จุด พบทั้งหมด 3 ชนิด ทั้งหมดเป็นปลาน้ำเค็มหมด และเป็นปลาที่ปรับตัวให้อาศัยอยู่ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อยเพียงชนิดเดียวเท่านั้น ได้แก.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและสกุลปลาปักเป้าตุ๊กแก · ดูเพิ่มเติม »

สกุลเตตราโอดอน

กุลเตตราโอดอน เป็นสกุลของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาปักเป้า จัดอยู่ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Tetraodon (/เต-ตรา-โอ-ดอน/) มีรูปร่างโดยรวม ป้อมสั้น อ้วนกลม ครีบทั้งหมดสั้น ครีบหลังมีก้านครีบแขนง 12-14 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบแขนง 10-12 ก้าน เยื่อจมูกยื่นออกมาเป็นหลอด ปลายแยกเป็นสองแฉก ใต้ผิวหนังมีเกล็ดที่พัฒนาเป็นหนามเล็ก ๆ ซ่อนอยู่ ผิวหนังมักมีจุดสีดำแตกต่างกันไปตามแต่ชนิด เมื่อตกใจหรือต้องการป้องกันตัว สามารถพองลมให้ใหญ่ขึ้นมาได้ ในปากมีฟันที่แหลมคมใช้สำหรับขบกัดเปลือกของสัตว์น้ำมีกระดอง ต่าง ๆ ได้ รวมถึงหอย ซึ่งเป็นอาหารหลัก มีอุปนิสัยดุร้าย มักจะชอบกัดกินเกล็ดหรือครีบหางของปลาชนิดต่าง ๆ ที่ติดอวนของชาวประมงอยู่เสมอ ๆ นอกจากนี้แล้วยังสามารถซ่อนตัวใต้พื้นทรายเพื่ออำพรางตัวหาอาหารได้ในบางชนิด ในบางชนิดก็สามารถเปลี่ยนสีลำตัวได้ และยังสามารถเป่าน้ำจากปากเพื่อคุ้ยหาอาหารในพื้นทรายได้ด้วย ภายในตัวและอวัยวะภายในมีสารพิษที่เรียกว่า เตโตรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) อยู่ เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยรวมแล้ว ปลาในสกุลนี้จะว่ายน้ำได้ช้ากว่าปลาปักเป้าในสกุลอื่น เช่น Takifugu หรือ Auriglobus เนื่องจากมีครีบที่สั้นและรูปร่างที่อ้วนกลมกว่า พบได้ทั้งทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด โดยกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปแอฟริกาจนถึงเอเชีย มีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและใช้บริโภคในบางท้องถิ่น.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและสกุลเตตราโอดอน · ดูเพิ่มเติม »

สภาวะตื่นตัว

ใน สรีรวิทยาและจิตวิทยา สภาวะตื่นตัว หรือ ความตื่นตัว (arousal) เป็นสภาวะของการตื่นตัวหรือการตอบสนองต่อตัวกระตุ้น จะมีความตื่นตัวได้ก็ต่อเมื่อมีการทำงานในระบบ reticular activating system (ตัวย่อ RAS)ในก้านสมอง ในระบบระบบประสาทอิสระ (autonomic nervous system) และในระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มระดับการเต้นของหัวใจและความดันเลือด และสภาวะความตื่นตัวทางความรู้สึก ทางการเคลื่อนไหว และทางความพร้อมเพรียงในการตอบสนองต่อตัวกระตุ้น มีระบบประสาทหลายระบบที่เกี่ยวข้องกัน ที่เรียกรวมๆ กันว่า ระบบความตื่นตัวนี้ ระบบสำคัญ 4 ระบบในก้านสมอง ซึ่งมีการเชื่อมต่อกับเปลือกสมองทั้งหมด มีหน้าที่การงานเกี่ยวกับสารสื่อประสาทรวมทั้งอะเซทิลโคลิน (acetylcholine) นอเรพิเนฟรีน (norepinephrine) โดพามีน (dopamine) และเซโรโทนิน (serotonin) เมื่อระบบสำคัญเหล่านี้ทำงานอยู่ เขตประสาทส่วนต่างๆ ที่รับสารสื่อประสาทเหล่านั้น ก็จะเริ่มมีความไวและมีการตอบสนองต่อสัญญาณที่เข้ามาในเขตประสาท.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและสภาวะตื่นตัว · ดูเพิ่มเติม »

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและสมอง · ดูเพิ่มเติม »

สมองส่วนกลาง

ในทางกายวิภาคศาสตร์ สมองส่วนกลาง หรือ มีเซนเซฟาลอน (Mesencephalon; Midbrain) เป็นโครงสร้างหนึ่งของสมอง ประกอบด้วยเทคตัม (tectum) (หรือคอร์พอรา ควอไดรเจมินา (corpora quadrigemina)), เทกเมนตัม (tegmentum), เวนทริคิวลาร์ มีโซซีเลีย (ventricular mesocoelia), และซีรีบรัล พีดังเคิล (cerebral peduncle) นอกจากนี้ก็มีนิวเคลียสและมัดใยประสาทจำนวนมากมาย ด้านบนของสมองส่วนกลางเชื่อมกับไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) ซึ่งประกอบด้วยทาลามัส ไฮโปทาลามัส ฯลฯ ส่วนด้านท้ายของสมองส่วนกลางเชื่อมกับพอนส์ (pons) สมองส่วนกลางเป็นส่วนหนึ่งของก้านสมอง ภายในมีส่วนเรียกว่าซับสแตนเชีย ไนกรา (substantia nigra) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมระบบสั่งการของเบซัล แกงเกลีย (basal ganglia) ซึ่งริเริ่มและควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย สมองส่วนกลางพัฒนามาจากกระเปาะกลางของท่อประสาทหรือนิวรัล ทูบ (neural tube) ซึ่งจะพัฒนาเป็นสมองส่วนต่างๆ ต่อไป ในจำนวนกระเปาะทั้งสามของนิวรัล ทูบ พบว่าสมองส่วนกลางเป็นส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างพัฒนาการน้อยที่สุดทั้งในแง่รูปแบบพัฒนาการและโครงสร้างภายในของมัน สมองส่วนกลางของมนุษย์มีต้นกำเนิดเดียวกับ archipallium ซึ่งเป็นวิวัฒนาการของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลังโบราณส่วนใหญ่ สารโดพามีนซึ่งสร้างในซับสแตนเชีย ไนกรามีบทบาทในการปรับตัวและการจูงใจในสิ่งมีชีวิตตั้งแต่มนุษย์ไปจนถึงสัตว์ชั้นต่ำอย่างเช่นแมลง.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและสมองส่วนกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สมองส่วนหน้า

ในกายวิภาคศาสตร์ของสมองของสัตว์มีกระดูกสันหลัง สมองส่วนหน้า หรือ โปรเซนเซฟาลอน (prosencephalon หรือ forebrain) เป็นส่วนของสมองที่อยู่ด้านบนที่สุด เป็นหนึ่งในส่วนหลักของสมองในขณะที่มีการเจริญของระบบประสาทกลาง อันได้แก่ สมองส่วนหน้า, สมองส่วนกลาง (midbrain หรือ mesencephalon) และสมองส่วนท้าย (hindbrain หรือ rhombencephalon) ในระยะที่สมองเจริญออกเป็น 5 กระเปาะ สมองส่วนหน้าจะแบ่งออกเป็นสมองส่วนไดเอนเซฟาลอน (ได้แก่ พรีทาลามัส, ทาลามัส, ไฮโปทาลามัส, ซับทาลามัส, อิพิทาลามัส และพรีเทคทัม) และ เทเลนเซฟาลอน (ซีรีบรัม).

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและสมองส่วนหน้า · ดูเพิ่มเติม »

สัตววิทยา

ัตววิทยา (Zoology, มาจากภาษากรีกโบราณ ζῷον (zoon) หมายถึง "สัตว์" และ λόγος หมายถึง "วิทยาการ หรือ ความรู้") จัดเป็นศาสตร์ด้านชีววิทยาสาขาหนึ่ง เกี่ยวข้องกับสมาชิกในอาณาจักรสัตว์ และชีวิตสัตว์โดยทั่วไป โดยเป็นการศึกษาเรื่องสัตว์ ตั้งแต่พวกสัตว์ชั้นต่ำพวก ฟองน้ำ แมงกะพรุน พยาธิตัวแบน พยาธิตัวกลม กลุ่มหนอนปล้อง สัตว์ที่มีข้อปล้อง กลุ่มสัตว์พวกหอย ปลาดาว จนถึง สัตว์มีกระดูกสันหลัง และ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตววิทยาศึกษาโดยรวมเกี่ยวกับร่างกายของสัตว์ ไม่ได้เน้นส่วนใดส่วนหนึ่ง และกระบวนการสำคัญในการดำรงชีพ แต่ศึกษาความสัมพันธ์ของสัตว์หรือกลุ่มสัตว์กับสภาพแวดล้อม เนื่องจากเป็นขอบเขตการศึกษาที่กว้าง จึงมักจะแบ่งย่อยเป็นสาขาอื่นๆ อีก เช่น วิทยาเซลล์, วิทยาตัวอ่อน, สัณฐานวิทยา, โบราณชีววิทยา, พันธุศาสตร์และวิวัฒนาการ, อนุกรมวิธาน, พฤติกรรมวิทยา, นิเวศวิทยา และสัตวภูมิศาสตร์ เป็นต้น สัตววิทยานั้นมีการศึกษามาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ และจักรวรรดิโรมัน จากงานของฮิปโปเครเตส, อะริสโตเติล, และพลินี นักธรรมชาตินิยมสมัยต่อมาเจริญรอยตามอริสโตเติล จนในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เมื่อมีการพิมพ์แพร่หลาย ความรู้เหล่านี้ก็กว้างขวางขึ้น มีการศึกษาและเผยแพร่มากขึ้น เช่น วิลเลียม ฮาร์วีย์ (การไหลเวียนของเลือด), คาโรลุส ลินเลียส (ระบบการตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์), ฌอร์ฌ-หลุยส์ เลอแกลร์ก กงต์เดอบูว์ฟง (ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ) และฌอร์ฌ กูว์วีเย (กายวิภาคเปรียบเทียบ) ซึ่งเป็นการศึกษาในขั้นลึกของสัตววิทยา จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ของการศึกษาสัตววิทยา ก็เมื่อชาลส์ ดาร์วิน ได้ตีพิมพ์หนังสือ กำเนิดพงศ์พันธุ์ (On the Origin of Species by Means of Natural Selection) ซึ่งได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต นับแต่นั้นการศึกษาด้านพันธุศาสตร์เริ่มมีความจำเป็นในการศึกษาทางชีววิทยา และการศึกษาในแนวลึกเฉพาะด้านเริ่มมีมากขึ้น และยังมีการศึกษาคาบเกี่ยวกันในแต่ละสาขาวิชาด้วย สำหรับสถาบันที่เปิดสอนศาสตร์ด้านสัตววิทยานั้น ในประเทศไทย ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ต้องผ่านการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ที่มีหลักสูตร สาขาวิชาสัตววิทยา และสาขาวิชาชีววิทยา เช่น คณะวิทยาศาสตร์ คณะเกษตร คณะประมง เช่น คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หลักสูตร 4 ปี สำเร็จการศึกษาได้วุฒิปริญญาตรี เป็นต้น และเมื่อศึกษาจบแล้ว สามารถเข้าทำงานในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนได้ต่าง ๆ หลากหล.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

ัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibians) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้น Amphibia อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก มีลักษณะเฉพาะ คือ ผิวหนังมีต่อมเมือกทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นตลอดเวลา ผิวหนังเปียกลื่นอยู่เสมอ ไม่มีเกล็ดตัวไม่แห้งหรือไม่มีขน หายใจด้วยเหงือก, ปอด, ผิวหนัง หรือผิวในปากในคอ โดยชั้นผิวหนังนั้นมีลักษณะพิเศษสามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เนื่องจากมีโครงข่ายหลอดเลือดฝอยจำนวนมาก เพื่อใช้ในการหายใจ สืบพันธุ์โดยการผสมพันธุ์ภายนอกลำตัว สืบพันธุ์เมื่ออายุ 2–3 ปี ออกลูกเป็นไข่อยู่ในน้ำ ไม่มีเปลือก วางไข่เป็นกลุ่มในน้ำมีสารเป็นวุ้นหุ้ม ลูกอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างคล้ายปลาเรียกว่า "ลูกอ๊อด" อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วมีปอดหายใจ ขึ้นบกได้ แต่ต้องอยู่ใกล้น้ำ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทั้งภายนอกและภายในอย่างสิ้นเชิง ไปตามวงจรชีวิต ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนรูปร่างอาศัยอยู่บนบก หายใจด้วยปอดหรือผิวหนัง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งในช่วงระหว่างฤดูหนาวถึงฤดูร้อน ส่วนใหญ่จะขุดรูจำศีล เพื่อหนีความแห้งแล้ง มิให้ผิวหนังแห้ง ถ้าผิวหนังแห้งจะหายใจไม่ได้และตายในที่สุด เพราะก๊าชจากอากาศต้องละลายไปกับน้ำเมือกที่ผิวหนัง แล้วจึงแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต ระยะนี้จะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้า ๆ นิวต์และซาลามานเดอร์ก็เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหมือนกัน แต่แตกตางกันตรงที่นิวต์และซาลามานเดอร์จะยังคงหางของมันไว้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกถือเป็นสัตว์เลือดเย็นเช่นเดียวกับสัตว์พวกปลา หรือแมลง หรือสัตว์เลื้อยคลาน ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานสัตว์ในชั้นแล้วกว่า 6,500 ชน.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

สิงโต

งโต (Lion) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในวงศ์ Felidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมว สิงโตมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera leo มีขนาดลำตัวใหญ่ ขนาดไล่เลี่ยกับเสือโคร่งทั่วไป (P. tigris) ซึ่งเป็นสัตว์ในสกุล Panthera เหมือนกัน จัดเป็นสัตว์ในวงศ์ Felidae ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรองมาจากเสือโคร่งไซบีเรีย (P. t. altaica) พื้นลำตัวสีน้ำตาล ไม่มีลาย ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีขนสร้อยคอยาว ขนปลายหางเป็นพู่ ชอบอยู่เป็นฝูงตามทุ่งโล่ง มีน้ำหนักประมาณ 250 กิโลกรัม (550 ปอนด์) ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า มักทำหน้าที่ล่าเหยื่อ มีน้ำหนักประมาณ 180 กิโลกรัม (400 ปอนด์) มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาและประเทศอินเดีย ในป่าธรรมชาติ สิงโตมีอายุขัยประมาณ 10-14 ปี ส่วนสิงโตที่อยู่ในกรงเลี้ยงมีอายุยืนถึง 20 ปี.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและสิงโต · ดูเพิ่มเติม »

สเตอรอยด์

ตอรอยด์ (อังกฤษ: steroid) เป็นลิพิดที่มีคุณสมบัติพิเศษ โดยที่โครงสร้างคาร์บอนจะเป็นวงแหวน 4 วงเชื่อมต่อกัน ความแตกต่างของชนิดสเตอรอยด์จะผันแปรไปตามฟังก์ชันนัลกรุป (functional group) ที่ติดอยู่กับวงแหวนเหล่านี้ มีสเตอรอยด์แตกต่างกันนับร้อยชนิดที่สามารถตรวจพบในพืชและสัตว์ ตัวอย่างบทบาทสำคัญของสเตอรอยด์ในสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่คือ ฮอร์โมน Steroid skeleton. Carbons 18 and above can be absent. ในสรีรวิทยาและการแพทย์ของมนุษย์ สารสเตอรอยด์ที่สำคัญส่วนใหญ่ คือ คอเลสเตอรอล, สเตอรอยด์, ฮอร์โมน และสารตั้งต้น (precursor) และเมแทบอไลต์ คอเลสเตอรอลเป็นสารประกอบประเภท สเตอรอยด์แอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ในสัตว์ แต่อย่างไรก็ดี ถ้ามันมีปริมาณมากเกินไปจะทำให้เกิดโรค และภาวะผิดปกติมากมาย เช่น ภาวะผนังเส้นโลหิตแดงหนาและมีความยึดหยุ่นน้อยลง (atherosclerosis) สเตอรอยด์อื่นส่วนใหญ่ถูกสังเคราะห์จาก คอเลสเตอรอลฮอร์โมนต่าง ๆ เช่น ฮอร์โมนเพศของสัตว์มีกระดูกสันหลัง (vertebrate) ก็เป็นสเตอรอยด์ที่สร้างจากคอเลสเตอรอล สเตอรอยด์แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและสเตอรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

หมา

หมา หรือคำสุภาพว่า สุนัข (ชื่อวิทยาศาสตร์: malie suimak หรือ Canis familiaris)Wang, Xiaoming; Tedford, Richard H.; Dogs: Their Fossil Relatives and Evolutionary History.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและหมา · ดูเพิ่มเติม »

หมาจิ้งจอก

หมาจิ้งจอก หรือ สุนัขจิ้งจอก หรือเรียกสั้น ๆ ว่า จิ้งจอก (fox, jackal; อีสาน: หมาจอก) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม วงศ์ Canidae ในเผ่า Vulpini ลักษณะทั่วไปของหมาจิ้งจอกจะมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่าสุนัขบ้านทั่วไป และคล้ายกับสุนัขไทยพื้นเมือง จมูกแหลมยาว หูใหญ่ชี้ตั้ง ฟันกรามแข็งแรงและแหลมคม หางยาวเป็นพวง ขนสีน้ำตาลแกมเหลือง หมาจิ้งจอกมีทั้งหมด 27 ชนิด ใน 5 สกุล พบได้ทั่วโลก แม้กระทั่งขั้วโลกเหนือ สามารถปรับตัวให้เข้ากับทุกสภาพแวดล้อมได้ สำหรับในประเทศไทย หมาจิ้งจอกจัดอยู่ในสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป..

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและหมาจิ้งจอก · ดูเพิ่มเติม »

หม้อข้าวหม้อแกงลิง

ทความนี้เป็นบทความสำหรับชื่อวงศ์ และสกุล หม้อข้าวหม้อแกงลิง (nepenthes; ชื่อสามัญ: tropical pitcher plants หรือ monkey cups) (nə'pεnθiːz / มาจากภาษากรีก: ne.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและหม้อข้าวหม้อแกงลิง · ดูเพิ่มเติม »

หลอดอาหาร

หลอดอาหาร (อังกฤษ: oesophagus/esophagus/œsophagus; กรีก: οἰσοφάγος) เป็นอวัยวะของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่เป็นท่อกลวงประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่อาหารจะผ่านจากคอหอยไปยังกระเพาะอาหาร ในมนุษย์ หลอดอาหารต่อเนื่องกับส่วนกล่องเสียงของคอหอย (laryngeal part of the pharynx) ที่ระดับของกระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นที่ 6.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและหลอดอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

หัวใจ

หัวใจ เป็นอวัยวะกล้ามเนื้อซึ่งสูบเลือดทั่วหลอดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยการหดตัวเป็นจังหวะซ้ำ ๆ พบในสัตว์ทุกชนิดที่มีระบบไหลเวียน ซึ่งรวมสัตว์มีกระดูกสันหลังด้วย หัวใจสัตว์มีกระดูกสันหลังนั้นประกอบด้วยกล้ามเนื้อหัวใจและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเป็นหลัก กล้ามเนื้อหัวใจเป็นกล้ามเนื้อลายที่อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ พบเฉพาะที่หัวใจ และทำให้หัวใจสามารถสูบเลือดได้ หัวใจมนุษย์ปกติเต้น 72 ครั้งต่อนาที ซึ่งจะเต้นประมาณ 2,500 ล้านครั้งในช่วงอายุเฉลี่ย 66 ปี และสูบเลือดประมาณ 4.7-5.7 ลิตรต่อนาที หนักประมาณ 250 ถึง 300 กรัมในหญิง และ 300 ถึง 350 กรัมในชาย คำคุณศัพท์ cardiac มาจาก kardia ในภาษากรีก ซึ่งหมายถึงหัวใจ หทัยวิทยาเป็นแขนงแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับโรคและความผิดปกติของหัวใ.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

หูชั้นใน

หูชั้นใน หูชั้นใน (inner ear, internal ear, auris interna) เป็นหูชั้นในสุดของสัตว์มีกระดูกสันหลัง มีหน้าที่ตรวจจับเสียงและการทรงตัว ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มันจะประกอบด้วยกระดูกห้องหูชั้นใน (bony labyrinth) ซึ่งเป็นช่อง ๆ หนึ่งในกระดูกขมับของกะโหลกศีรษะ เป็นระบบท่อที่มีส่วนสำคัญสองส่วน คือ.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและหูชั้นใน · ดูเพิ่มเติม »

หูชั้นในรูปหอยโข่ง

หูชั้นในรูปหอยโข่ง หรือ อวัยวะรูปหอยโข่ง หรือ คอเคลีย (cochlea,, จาก κοχλίας, kōhlias, แปลว่า หมุนเป็นวงก้นหอย หรือเปลือกหอยทาก) เป็นอวัยวะรับเสียงในหูชั้นใน เป็นช่องกลวงมีรูปร่างเป็นก้นหอยโข่งอยู่ในกระดูกห้องหูชั้นใน (bony labyrinth) โดยในมนุษย์จะหมุน 2.5 ครั้งรอบ ๆ แกนที่เรียกว่า modiolus และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 9 มม.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและหูชั้นในรูปหอยโข่ง · ดูเพิ่มเติม »

หนอง (ฝี)

ตาเป็นหนองจากอาการเยื่อตาอักเสบ หนอง (Pus) เป็นของเหลวเยิ้มสีขาวเหลือง สีเหลือง หรือสีน้ำตาลเหลืองซึ่งเกิดจากการอักเสบอันมีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย พบในสัตว์มีกระดูกสันหลัง หมวดหมู่:สารน้ำในร่างกาย หมวดหมู่:ระบบภูมิคุ้มกัน.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและหนอง (ฝี) · ดูเพิ่มเติม »

หนูพุก

หนูพุก หรือ หนูแผง (Bandicoot rats) เป็นสกุลของสัตว์ฟันแทะในวงศ์ Murinae ในวงศ์ใหญ่ Muridae ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bandicota (มาจากภาษาเตลูกู คำว่า pandikokku หมายถึง "หนูหมู") หนูพุก มีรูปร่างลักษณะทั่วไปคล้ายกับหนูทั่วไปในวงศ์ Murinae แต่ทว่ามีรูปร่างที่ใหญ่กว่าหนูในสกุล Rattus มาก และมีจุดเด่นที่มีขนสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลดำที่รุงรังไม่เป็นระเบียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขนบริเวณหลังที่เป็นแผงแข็ง หลังตีนเป็นสีดำ หางยาวมีเกล็ดสีเดียว เป็นหนูที่มีอุปนิสัยดุร้าย เมื่อถูกคุกคามจะขู่และพร้อมที่จะกัด หนุพุก แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด พบได้ในประเทศไทย 2 ชน.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและหนูพุก · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยรับกลิ่น

รงสร้างของ rhodopsin ซึ่งเป็น G protein-coupled receptor ที่หน่วยรับกลิ่นจะมีโครงสร้างคล้าย ๆ doi.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและหน่วยรับกลิ่น · ดูเพิ่มเติม »

ออสตราโคเดิร์ม

ภาพวาดของออสตราโคเดิร์ม (เฉพาะรูปด้านบนเท่านั้น รูปด้านล่างเป็นภาพวาดของปลามีเกราะหรือพลาโคเดิร์ม ซึ่งไม่ใช่ออสตราโคเดิร์ม) ออสตราโคเดิร์ม (Ostracoderm) เป็นปลาโบราณที่สูญพันธุ์ไปแล้ว เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่เกิดขึ้นเป็นกลุ่มแรกๆ พบเป็นซากฟอสซิลอายุระหว่างยุคออร์โดวิเชียนจนถึงยุคดีโวเนียน ในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป ถือเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่เกิดก่อนสัตว์กลุ่มอื่นๆ ความยาวไม่เกิน 30 ซม..

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและออสตราโคเดิร์ม · ดูเพิ่มเติม »

อะมิกดะลา

มองมนุษย์แบ่งหน้าหลัง อะมิกดะลามีสีแดงเข้ม อะมิกดะลา (พหูพจน์: amygdalae ออกเสียงว่า เอกพจน์: amygdala หรือ corpus amygdaloideum มาจาก ἀμυγδαλή, amygdalē, แปลว่า อัลมอนด์, ทอนซิล แสดงไว้ในตำรากายวิภาคของเกรย์ ว่า nucleus amygdalæ) เป็นกลุ่มของนิวเคลียสรูปอัลมอนด์ ฝังลึกอยู่ในสมองกลีบขมับส่วนกลาง (medial temporal lobe) ในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ซับซ้อนรวมทั้งมนุษย์ด้วย อะมิกดะลามีบทบาทที่สำคัญที่สุดในการปฏิบัติการในระบบความจำ กับในการตอบสนองโดยความรู้สึก และเป็นส่วนหนึ่งของระบบลิมบิก.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและอะมิกดะลา · ดูเพิ่มเติม »

อันดับกบ

กบ เป็นอันดับของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anura (/อะ-นู-รา/) มีรูปร่างโดยรวม คือ เป็นสัตว์ไม่มีหาง เพราะกระดูกสันหลังส่วนหางได้เชื่อมรวมเป็นชิ้นเดียวยาว กระดูกสันหลังลดจำนวนลงมาจากสัตว์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์เพราะมีไม่เกิน 9 ปล้อง มีขาหลังยาวจากการยืดของกระดูกทิเบียกับกระดูกฟิบูลาและของกระดูกแอสทรากากัสกับกระดูกแคลลาเนียม โดยมีบางส่วนเชื่อมติดกันและเต็มไปด้วยมัดกล้ามเนื้อแข็งแรง เพื่อใช้ในการกระโดด มีส่วนหัวที่ใหญ่และแบนราบ ปากกว้างมาก กบในระยะวัยอ่อนจะมีลักษณะแตกต่างไปจากตัวเต็มวัยอย่างชัดเจน เรียกว่า "ลูกอ๊อด" โดยมีรูปร่างคล้ายปลา มีส่วนหัวที่โตมาก มีหาง ไม่มีฟัน โดยในส่วนโครงสร้างของจะงอยปากเป็นสารประกอบเคอราติน หายใจด้วยเหงือกเหมือนซาลาแมนเดอร์ พฤติกรรมการกินอาหารของลูกอ๊อดจะแตกต่างกันไป โดยอาจจะกินแบบกรองกิน หรือกินพืช และกินสัตว์ เมื่อเปลี่ยนรูปร่างเป็นตัวเต็มวัยจึงเปลี่ยนลักษณะการกิน รวมทั้งเปลี่ยนสภาพโครงสร้างของอวัยวะระบบย่อยอาหารรวมทั้งระบบอวัยวะอย่างอื่น ซึ่งการเปลี่ยนรูปร่างของกบนั้นจะต่างจากซาลาแมนเดอร์เป็นอย่างมาก การสืบพันธุ์ของกบนั้นมีหลากหลายมาก ส่วนการปฏิสนธิจะเกิดขึ้นภายนอกตัว โดยทั้ง 2 เพศมีพฤติกรรมกอดรัดกันระหว่างผสมพันธุ์ กบส่วนมากจะป้องกันดูแลไข่ นอกจากบางชนิดเท่านั้นที่เก็บไข่ไว้บนหลัง ที่ขา ในถุงบนหลัง หรือในช่องท้อง หรือบางชนิดวางไข่ติดไว้กับพืชน้ำที่เติบโตในน้ำหรือบนกิ่งไม้ของต้นไม้เหนือน้ำและเฝ้าไข่ไว้ การปฏิสนธิที่เกิดขึ้นภายในตัวจะพบเพียงกับกบบางชนิดเท่านั้น เช่น Ascaphus truei เป็นต้น และการเจริญของเอมบริโอภายในไข่และวัยอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างเป็นเหมือนตัวเต็มวัยเลย โดยไม่ผ่านขั้นการเป็นลูกอ๊อดเกิดขึ้นกับหลายสกุลในหลายวงศ์ อาทิ สกุล Hemiphractus และStefania เป็นต้น กบ เป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดมาแล้วราว 200 ล้านปีก่อน และเป็นสัตว์ที่อยู่รอดพ้นมาได้จากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เมื่อ 65 ล้านปีก่อน ที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการศึกษาถึงเรื่องนี้ เชื่อว่า เพราะกบเป็นสัตว์ที่หลบซ่อนตัวอยู่ใต้ดินได้อย่างเป็นดี และเป็นสัตว์ที่ปรับตัวได้ดีให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศแบบใหม่ จากการศึกษาพบว่า กบในยุคปัจจุบันราวร้อยละ 88 เป็นกบที่มีที่มาจากอดีตที่สามารถย้อนไปไกลได้ถึง 66–150 ล้านปีก่อน โดยศึกษาจากการตรวจสอบทางพันธุกรรมและเปรียบเทียบระดับยีนและโมเลกุลระหว่างกบในยุคปัจจุบัน และซากดึกดำบรรพ์ของกบในยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยพบว่า กบใน 3 วงศ์ คือ Microhylidae หรืออึ่งอ่าง, Natatanura ที่พบในทวีปแอฟริกา และHyloidea ที่พบในทวีปอเมริกาใต้ เป็นกบที่สืบสายพันธุ์มาจากกบในยุคก่อนประวัติศาสตร์ และปัจจุบันได้มีการสืบสายพันธุ์และแตกแขนงทางชีววิทยาไปทั่วโลก ปัจจุบัน ได้มีการอนุกรมวิธานกบออกเป็นวงศ์ทั้งหมด 27 วงศ์ ใน 419 สกุล ปัจจุบันพบแล้วกว่า 6,700 ชนิด นับว่าเป็นอันดับที่มีความหลากหลายมากที่สุดของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และก็ยังคงมีการค้นพบชนิดใหม่ขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ประมาณ 60 ชนิดต่อปี โดยกบส่วนใหญ่จะพบในเขตร้อน โดยใช้หลักการพิจารณาจาก โครงสร้างกระดูก, กล้ามเนื้อขา, รูปร่างลักษณะของลูกอ๊อด และรูปแบบการกอดรัด เป็นต้น.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและอันดับกบ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับทัวทารา

อันดับทัวทารา (Tuatara) เป็นอันดับของสัตว์เลื้อยคลานอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhynchocephalia สัตว์เลื้อยคลานในอันดับนี้ เดิมเคยมีอยู่หลากหลายชนิด และหลายวงศ์ มีการแพร่กระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง แต่จนถึงปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปเกือบหมดแล้ว ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันนี้อยู่เพียงวงศ์เดียว และมีถิ่นกำเนิดและกระจายพันธุ์เฉพาะในหมู่เกาะของนิวซีแลนด์เท่านั้น สันนิษฐานว่าสัตว์เลื้อยคลานในอันดับทัวทาราเป็นบรรพบุรุษของ Squamata หรือ งูและกิ้งก่า เนื่องจากมีลักษณะร่วมกันหลายประการ เช่น ช่องเปิดทวารร่วมเป็นรอยผ่าตามขวางลำตัว, ลิ้นมีรอยหยักทางด้านหน้า, กระบวนการลอกของผิวหนัง, การเกาะติดของฟันติดกับพื้นผิวกระดูกโดยตรง, ตำแหน่งที่ปล่อยหางหลุดจากลำตัว, มีถุงขนาดเล็กที่อยู่ด้านท้ายของห้องทวารร่วมซึ่งเปรียบเทียบได้กับถุงพีนิสของงูและกิ้งก่า รวมทั้งโครงสร้างทางกายวิภาคหลายประการ แต่ก็ยังมีลักษณะที่แตกต่างไปออกจาก Squamata เช่น กระดูกควาเดรทเป็นชิ้นเล็ก, มีกระดูกแกสทราเลียในกล้ามเนื้อผนังช่องท้อง, ฟันบนกระดูกพาลาทีนมีขนาดใหญ่, ก้านกระดูกโคโรนอยด์ของขากรรไกรล่างเป็นชิ้นใหญ่ เป็นต้น.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและอันดับทัวทารา · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาหนัง

อันดับปลาหนัง หรือ ตระกูลปลาหนัง (Catfish) เป็นอันดับทางอนุกรมวิธานของปลากระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Siluriformes (/ซิ-ลู-ริ-ฟอร์-เมส/) อันดับปลาหนังเป็นอันดับที่มีจำนวนปลามากถึง 35 วงศ์ และ 2,867 ชนิด ซึ่งประกอบไปด้วยปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ปลาดุก, ปลาสวาย, ปลาบึก, ปลาเนื้ออ่อน, ปลาก.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและอันดับปลาหนัง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาปักเป้า

อันดับปลาปักเป้า (Puffers, Sunfishes, Triggerfishes, Filefishes) เป็นชื่อเรียกของปลาอันดับ Tetraodontiformes มีอยู่หลายชนิด หลายวงศ์ หลายสกุล อาศัยอยู่ทั้งในทะเล น้ำกร่อย และน้ำจืด โดยมากมีลำตัวกลม ครีบและหางเล็ก จึงว่ายน้ำได้เชื่องช้าดูน่ารัก หัวโต ฟันแหลมคมใช้สำหรับขบกัดสัตว์น้ำมีเปลือกต่าง ๆ เป็นอาหาร คนที่ลงเล่นน้ำจึงมักถูกกัดทำร้ายเป็นแผลบ่อย ๆ เมื่อตกใจหรือข่มขู่สามารถสูดน้ำหรือลมเข้าช่องท้องให้ตัวพองออกได้หลายลูกโป่ง ในบางชนิดมีหนามด้วย แต่การที่ปลาพองตัวออกเช่นนี้ จะมีผลกระทบต่ออวัยวะภายใน ในบางครั้ง เช่น ปลาตกใจอาจไปกระทบกับถุงลมซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ใช้ในการทรงตัวเมื่ออยู่ใต้น้ำ ให้แตกได้ ปลาปักเป้าที่เป็นเช่นนี้จะไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ แต่จะลอยตัวอยู่บนผิวน้ำไปอย่างนั้น จนกระทั่งตาย เนื่องจากไม่สามารถป้องกันตัวหรือหากินได้อีก ปลาในอันดับนี้ที่รู้จักกันดี คือ ปลาปักเป้า ปักเป้าทุกชนิดเป็นปลาที่มีพิษในตัว โดยเฉพาะอวัยวะภายในและรังไข่ แม้บริโภคเพียงเล็กน้อยก็อาจถึงแก่ความตายได้ แต่บางชนิดในบางแหล่งน้ำหรือบางภูมิภาคก็มีผู้จับมาบริโภค โดยต้องรู้วิธีชำแหละเป็นพิเศษ เช่น ประเทศญี่ปุ่น นิยมบริโภคปลาปักเป้าโดยทำเป็นซูชิ จนเป็นอาหารประจำชาติญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อเป็นที่รู้จัก วงศ์ปลาปักเป้ามีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 วงศ์ คือ Diodontidae ปลาในวงศ์นี้มีฟัน 2 ซี่ Tetraodontidae ปลาในวงศ์นี้มีฟัน 4 ซี่ และ Triodontidae ปลาในวงศ์นี้ลักษณะลำตัวแบนข้าง สำหรับในประเทศไทยพบปลาทั้ง 3 วงศ์นี้ ทั้งหมด 42 ชนิด เป็นชนิดในน้ำจืด 9 ชนิด อีก 33 ชนิด เป็นชนิดในน้ำกร่อยรวมถึงทะเล ในประเทศไทย มีการนำปลาปักเป้ามาจำหน่ายในท้องตลาดในชื่อปลาเนื้อไก่ ซึ่งผู้บริโภคอาจได้รับพิษทำให้รู้สึกชาที่ริมฝีปาก ลิ้น ปลายนิ้วมือ คลื่นไส้วิงเวียน แขนขาไม่มีแรง ยืนและเดินไม่ได้ หายใจลำบาก หมดสติ และอาจจะอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วได้ เนื่องจากสารพิษชื่อว่า เตโตรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) ในหนังปลา ไข่ปลา เนื้อปลา ตับ และลำไส้ มีความทนต่อความร้อนสูง ความร้อนในการปรุงอาหาร การหุงต้ม การแปรรูป ไม่สามารถทำลายสารพิษดังกล่าวได้ ส่วนปลาในวงศ์อื่นแต่อยู่ในอันดับนี้ คือ ปลาแสงอาทิตย์ (Mola mola) ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในอันดับนี้ด้วย รวมทั้งปลาวัว (Balistidae) เป็นต้น.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและอันดับปลาปักเป้า · ดูเพิ่มเติม »

อาริสโตเติล

อาริสโตเติล หรือ แอริสตอเติล (Αριστοτέλης; Aristotle) (384 ปีก่อนคริสตกาล – 7 มีนาคม 322 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักปรัชญากรีกโบราณ เป็นลูกศิษย์ของเพลโต และเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช ท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่ง ในโลกตะวันตก ด้วยผลงานเขียนหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์ กวีนิพนธ์ สัตววิทยา การเมือง การปกครอง จริยศาสตร์ และชีววิทยา นักปรัชญากรีกโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคืออาริสโตเติล เพลโต (อาจารย์ของอาริสโตเติล) และโสกราตีส (ที่แนวคิดของเขานั้นมีอิทธิพลอย่างสูงกับเพลโต) พวกเขาได้เปลี่ยนโฉมหน้าของปรัชญากรีก สมัยก่อนโสกราตีส จนกลายเป็นรากฐานสำคัญของปรัชญาตะวันตกในลักษณะปัจจุบัน โสกราตีสนั้นไม่ได้เขียนอะไรทิ้งไว้เลย ทั้งนี้เนื่องจากผลของแนวคิดปรากฏในบทสนทนาของเพลโตชื่อ เฟดรัส เราได้ศึกษาแนวคิดของเขาผ่านทางงานเขียนของเพลโตและนักเขียนคนอื่นๆ ผลงานของเพลโตและอริสโตเติลเป็นแก่นของปรัชญาโบราณ อริสโตเติลเป็นหนึ่งในไม่กี่บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษาแทบทุกสาขาวิชาที่มีในช่วงเวลาของเขา ในสาขาวิทยาศาสตร์ อริสโตเติลได้ศึกษา กายวิภาคศาสตร์, ดาราศาสตร์, วิทยาเอ็มบริโอ, ภูมิศาสตร์, ธรณีวิทยา, อุตุนิยมวิทยา, ฟิสิกส์,และ สัตววิทยา ในด้านปรัชญา อริสโตเติลเขียนเกี่ยวกับ สุนทรียศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, จริยศาสตร์, การปกครอง, อภิปรัชญา, การเมือง, จิตวิทยา, วาทศิลป์ และ เทววิทยา เขายังสนใจเกี่ยวกับ ศึกษาศาสตร์, ประเพณีต่างถิ่น, วรรณกรรม และ กวีนิพนธ์ ผลงานของเขาเมื่อรวบรวมเข้าด้วยกันแล้ว สามารถจัดว่าเป็นสารานุกรมของความรู้สมัยกรีก.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและอาริสโตเติล · ดูเพิ่มเติม »

อิกัวนาหมวกเหล็ก

อิกัวนาหมวกเหล็ก หรือ กิ้งก่าบาซิลิสก์หมวกเหล็ก (Helmeted iguana, Helmeted basilisk) เป็นกิ้งก่าสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Corytophanes ในวงศ์กิ้งก่าบาซิลิสก์ (Corytophanidae) มีลักษณะต่างจากกิ้งก่าบาซิลิสก์ ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน คือ มีสันบนหัวทั้งตัวผู้และตัวเมีย ซึ่งใช้ประโยชน์จากสันนี้เพื่อป้องกันตัวโดยหันข้างลำตัวให้กับสัตว์ผู้ล่าหรือศัตรู เพื่อลวงให้เห็นว่ามีขนาดตัวใหญ่ เป็นกิ้งก่าที่อาศัยอยู่บนต้นไม้เท่านั้น และจะลงมาหากินบนพื้นดินเฉพาะวางไข่เท่านั้น พบกระจายพันธุ์เฉพาะอเมริกากลาง คือ ตอนใต้ของเม็กซิโก ไปจนถึงตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้เท่านั้น.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและอิกัวนาหมวกเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

อินซูลิน

ผลึกของอินซูลิน อินซูลิน (อังกฤษ: Insulin) มาจากภาษาละติน insula หรือ "island" - "เกาะ" เนื่องจากการถูกสร้างขึ้นบน "ไอส์เล็ตส์ออฟแลงเกอร์ฮานส์" ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์ในตับอ่อน) คือฮอร์โมนชนิดอนาโบลิกโพลีเพบไทด์ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นสารตัวกระทำในคาร์โบไฮเดรทชนิดโฮมีโอสตาซิส มีผลต่อการเผาผลาญไขมันเปลี่ยนการทำงานของตับให้ทำหน้าที่เก็บหรือปลดปล่อยกลูโคส และทำให้เกิดการทำงานของลิพิด (ไขมัน) ในเลือดและในเนื้อเยื่ออื่น เช่นไขมันและกล้ามเนื้อ ปริมาณของอินซูลินที่เวียนอยู่ในร่างกายมีผลกระทบสูงมากในวงกว้างในทุกส่วนของร่างกาย ในวงการแพทย์ อินซูลินถูกใช้ในการรักษาโรคเบาหวานบางชนิด คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภท 1 ต้องอาศัยอินซูลินจากนอกร่างกาย (เกือบทั้งหมดใช้วิธีฉีดเข้าใต้ผิวหนัง) เพื่อช่วยให้รอดชีวีตจากการขาดฮอร์โมน คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 จะต่อต้านอินซูลิน หรือ ผลิตอินซูลินน้อย หรือทั้งสองอย่าง ผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2 บางรายต้องการอินซูลินเฉพาะเมื่อยาอื่นที่ใช้รักษาอยู่ไม่เพียงพอในการควบคุมระดับกลูโคสในเลือด อินซูลิน ประกอบด้วยกรดอะมิโน 51 ชนิดรวมกันอยู่ และมีน้ำหนักโมเลกุล 5808 Da โครงสร้างของอินซูลิน ผันแปรเล็กน้อยตามชนิดของสัตว์ อินซูลินที่มีแหล่งมาจากสัตว์จะแตกต่างกันในเชิงขีดความสามารถในการควบคุมพลังการทำงาน (เช่น การเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท) ในมนุษย์ อินซูลินจากสุกรมีความคล้ายคลึงกับอินซูลินของมนุษย์มากที.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและอินซูลิน · ดูเพิ่มเติม »

อึ่งน้ำเต้า

อึ่งน้ำเต้า (Ornate Narrow-mouthed Frog) เป็นอึ่งชนิดหนึ่ง ในสกุล Microhyla พบในเอเชียใต้.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและอึ่งน้ำเต้า · ดูเพิ่มเติม »

อุรังอุตังสุมาตรา

อุรังอุตังสุมาตรา (Sumatran orangutan) เป็นหนึ่งในอุรังอุตังสองสปีชีส์ ซึ่งพบเฉพาะบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น อุรังอุตังชนิดนี้หายากและมีขนาดตัวเล็กกว่าอุรังอุตังบอร์เนียว (P. pygmaeus) อุรังอุตังสุมาตราเพศผู้มีความสูงได้ถึง 1.4 เมตร และหนัก 90 กิโลกรัม ขณะที่เพศเมียจะมีขนาดตัวเล็กกว่า โดยเฉลี่ยแล้วจะสูง 90 เซนติเมตร และหนัก 45 กิโลกรัม.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและอุรังอุตังสุมาตรา · ดูเพิ่มเติม »

อีเห็นน้ำมลายู

อีเห็นน้ำมลายู หรือ อีเห็นน้ำซุนดา (Otter civet) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในอันดับสัตว์กินเนื้อ มีรูปร่างอ้วน ขาสั้น ขนตามลำตัวเป็นสีน้ำตาลเข้ม หรือดำสนิท ลักษณะเด่นคือ หัวค่อนข้างแบน จมูกและปากยื่นออกมามีสีขาว จมูกมีขนาดใหญ่ รูจมูกด้านบนเปิดขึ้นและสามารถปิดได้เมื่ออยู่ใต้น้ำ ใบหูมีขนาดเล็กและมีลิ้นปิดหูไม่ให้น้ำเข้าขณะว่ายน้ำ ห่างค่อนข้างสั้นเมื่อเทียบกับความยาวลำตัว มีพังผืดยืดระหว่างนิ้วคล้ายกับนิ้วเท้าของนากเล็กเล็บสั้น (Amblonyx cinerea) มีความยาวลำตัวและหัว 70-80 เซนติเมตร ความยาวหาง 12-20 เซนติเมตร น้ำหนัก 3-5 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์อยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำของภาคใต้ของไทย, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะชวาและเกาะบอร์เนียว มีพฤติกรรมอาศัยและหากินตามลำพัง โดยล่าพวกสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เช่น กุ้ง, หอย, ปู, ปลา และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น หนู สามารถปรับตัวให้อาศัยแบะหากินอยู่ในน้ำได้ดีเช่นเดียวกับนาก มักอาศัยอยู่ในป่าพรุหรือพื้นที่ชุ่มน้ำอื่น ๆ ปีนต้นไม้ได้เก่ง บางครั้งพบว่าอาจปีนต้นไม้เพื่อกินผลไม้สุกได้.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและอีเห็นน้ำมลายู · ดูเพิ่มเติม »

ผิวหนัง

ผิวหนัง คือ สิ่งปกคลุมชั้นนอกที่อ่อนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง สิ่งปกคลุมสัตว์อื่น เช่น โครงร่างแข็งภายนอกของสัตว์ขาปล้องมีจุดกำเนิดการเจริญ โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีต่างออกไป ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผิวหนังเป็นอวัยวะใหญ่สุดของระบบผิวหนัง ซึ่งประกอบขึ้นจากเนื้อเยื่อเอ็กโทเดิร์มหลายชั้น และป้องกันกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและอวัยวะภายในที่อยู่ข้างใต้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดมีขนที่ผิวหนังด้วย ผิวหนังเป็นส่วนที่เปิดออกสู่สิ่งแวดล้อมและเป็นด่านป้องกันด่านแรกจากปัจจัยภายนอก ตัวอย่างเช่น ผิวหนังมีบทบาทสำคัญในการปกป้องร่างกายจากจุลชีพก่อโรคProksch E, Brandner JM, Jensen JM.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและผิวหนัง · ดูเพิ่มเติม »

จอตา

ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง เรตินา หรือ จอตา"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" หรือ จอประสาทตา (retina, พหูพจน์: retinae, จากคำว่า rēte แปลว่า ตาข่าย) เป็นเนื้อเยื่อมีลักษณะเป็นชั้น ๆ ที่ไวแสง บุอยู่บนผิวด้านในของดวงตา การมองเห็นภาพต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นได้โดยอาศัยเซลล์ที่อยู่บนเรตินา เป็นตัวรับและแปลสัญญาณแสงให้กลายเป็นสัญญาณประสาทหรือกระแสประสาท ส่งขึ้นไปแปลผลยังสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำให้เราสามารถมองเห็นภาพต่างๆได้ คือ กลไกรับแสงของตาฉายภาพของโลกภายนอกลงบนเรตินา (ผ่านกระจกตาและเลนส์) ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับฟิลม์ในกล้องถ่ายรูป แสงที่ตกลงบนเรตินาก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทางเคมีและไฟฟ้าที่เป็นไปตามลำดับ ซึ่งนำไปสู่การส่งสัญญาณประสาทโดยที่สุด ซึ่งดำเนินไปยังศูนย์ประมวลผลทางตาต่าง ๆ ในสมองผ่านเส้นประสาทตา ในสัตว์มีกระดูกสันหลังในช่วงพัฒนาการของเอ็มบริโอ ทั้งเรตินาทั้งเส้นประสาทตามีกำเนิดเป็นส่วนหนึ่งของสมอง ดังนั้น เรตินาจึงได้รับพิจารณาว่าเป็นส่วนของระบบประสาทกลาง (CNS) และจริง ๆ แล้วเป็นเนื้อเยื่อของสมอง"Sensory Reception: Human Vision: Structure and function of the Human Eye" vol.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและจอตา · ดูเพิ่มเติม »

จิตพยาธิวิทยาสัตว์

ตพยาธิวิทยาสัตว์ (Animal psychopathology) เป็นการศึกษาโรคจิตและพฤติกรรมในสัตว์ที่ไม่ใช่มนุษย์ โดยประวัติแล้ว ศาสตร์มักจะเอามนุษย์เป็นศูนย์ (มานุษยประมาณนิยม) เมื่อศึกษาจิตพยาธิวิทยาในสัตว์เพื่อใช้เป็นแบบจำลองสำหรับโรคจิตในมนุษย์ แต่จากมุมมองทางวิวัฒนาการ จิตพยาธิของสัตว์จะพิจารณาได้อย่างเหมาะสมกว่าว่า เป็นพฤติกรรมที่ไม่ปรับตัว (non-adaptive) เพราะความพิการทางความรู้คิด ความพิการทางอารมณ์ หรือความทุกข์บางอย่าง บทความนี้แสดงจิตพยาธิสัตว์จำนวนหนึ่งแต่ไม่สมบูรณ.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและจิตพยาธิวิทยาสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

จิ้งจกบ้านหางหนาม

้งจกบ้านหางหนาม (Spiny-tailed house gecko, Common house gecko) สัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง จำพวกจิ้งจกบ้าน อยู่ในวงศ์จิ้งจกและตุ๊กแก (Gekkonidae) จิ้งจกบ้านหางหนาม นับเป็นจิ้งจกอีกชนิดหนึ่งที่พบได้หลากหลายและกว้างขวางที่สุด เป็นจิ้งจกที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเริ่มแพร่พันธุ์ในหลายประเทศทั่วโลก ทั้งแอฟริกาตะวันออก, นิวกินี, เม็กซิโก, มาดากัสการ์ และออสเตรเลีย พบเห็นได้ทั่วไปตามที่พักอาศัย เช่น บ้านเรือน โดยเฉลี่ยลำตัวจะมีความยาว 3 นิ้ว ตัวเต็มวัยอาจจะถึง 5 นิ้ว มีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงเข้ม หางค่อนข้างกลม มีหนามอยู่บริเวณด้านข้าง ตัวเมียวางไข่คราวละ 2 ฟอง ไข่จะใช้เวลาฟักประมาณ 50-65 วัน ตัวอ่อนที่ออกจากไข่จะมีขนาดประมาณ 2 นิ้ว วงจรชีวิตมีอายุประมาณ 5-10 ปี การงอกใหม่ของหางจิ้งจกใช้เวลาประมาณ 2-6 สัปดาห์ ระยะเวลาขึ้นอยู่กับขนาดของหางที่ขาดหายไป.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและจิ้งจกบ้านหางหนาม · ดูเพิ่มเติม »

จิ้งเหลนจระเข้

้งเหลนจระเข้ (Crocodile skink) สัตว์เลื้อยคลานสกุลหนึ่ง จำพวกจิ้งเหลน (Scincidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Tribolonotus เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก มีลักษณะเด่นคือ ลำตัวมีผิวเรียบลื่นเหมือนจิ้งเหลนทั่วไป แต่ว่ามีเกล็ดแข็งที่เป็นหนามแหลมลักษณะคล้ายกับเกล็ดของจระเข้ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและจิ้งเหลนจระเข้ · ดูเพิ่มเติม »

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานครราชกิจจานุเบกษ.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

ทากิฟูงุ

ทากิฟูงุ (Takifugu; トラフグ属.) เป็นชื่อวิทยาศาสตร์เรียกสกุลหนึ่งของปลาปักเป้าในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อสามัญภาษาญี่ปุ่นว่า "ฟูงุ" (河豚-แปลว่า หมูแม่น้ำ) เนื่องจากเป็นปลาปักเป้าสกุลที่นิยมนำมาทำซาชิมิหรือปลาดิบ อาหารญี่ปุ่นที่มีชื่อไปทั่วโลก โดยใช้ชื่อสกุลว่า Takifugu.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและทากิฟูงุ · ดูเพิ่มเติม »

ทาคิน

ทาคิน (Takin) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง (Phylum Chordata) ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Class Mammalia) เป็นสัตว์ประจำชาติของภูฏาน ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงในพื้นที่หนาวเย็น มีหน้าและเขาคล้ายแพะ แต่ว่าไม่มีเครา ตัวใหญ่ประมาณวัว เมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักประมาณ 250 กิโลกรัม ทาคินจะกินใบไผ่ หน่อไม้ เป็นอาหารหลัก.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและทาคิน · ดูเพิ่มเติม »

ขา

แผนภาพของขาแมลง ขา เป็นส่วนหนึ่งในร่างกายของสัตว์ที่รองรับน้ำหนักทั้งหมด อยู่ระหว่างข้อเท้าและสะโพก ใช้ในการเคลื่อนที่ ปลายสุดของขามักเป็นโครงสร้างที่พัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงเป็นโครงสร้างอื่นที่รับน้ำหนักของสัตว์บนพื้น (ดู เท้า) รยางค์ล่าง (lower limb) ของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีสองขา (bipedal vertebrate) มักจะเป็นขาของสัตว์นั้นๆ ส่วนรยางค์บน (upper limb) มักจะเป็นแขนหรือปีก จำนวนขาของสัตว์มักเป็นจำนวนคู่ นักอนุกรมวิธานอาจจัดสัตว์ออกเป็นกลุ่มตามจำนวน.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและขา · ดูเพิ่มเติม »

ความหลากหลายทางชีวภาพ

วามหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตน้อยนิด พันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก หรือง่ายๆ คือ การที่มีชนิดพันธุ์ (Species) สายพันธุ์ (Genetic) และระบบนิเวศ (Ecosystem.) ที่แตกต่างหลากหลายบนจักรวาล ความหลากหลายทางชีวภาพสามารถพิจารณาได้จากความหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ระหว่างชนิดพันธุ์ และระหว่างระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างสายพันธุ์ ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ ความแตกต่างระหว่างพันธุ์พืชและสัตว์ต่างๆ ที่ใช้ในการเกษตร ความแตกต่างหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ทำให้สามารถเลือกบริโภคข้าวเจ้า หรือข้าวเหนียว ตามที่ต้องการได้ หากไม่มีความหลากหลายของสายพันธุ์ต่างๆ แล้ว อาจจะต้องรับประทานส้มตำปูเค็มกับข้าวจ้าวก็เป็นได้ ความแตกต่างที่มีอยู่ในสายพันธุ์ต่างๆ ยังช่วยให้เกษตรกรสามารถเลือกสายพันธุ์ปศุสัตว์ เพื่อให้เหมาะสมตามความต้องการของตลาดได้ เช่น ไก่พันธุ์เนื้อ ไก่พันธุ์ไข่ดก วัวพันธุ์นม และวัวพันธุ์เนื้อ เป็นต้น ความหลากหลายระหว่างชนิดพันธุ์ สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปถึงความแตกต่างระหว่างพืชและสัตว์แต่ละชนิด ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่อยู่ใกล้ตัว เช่น สุนัข แมว จิ้งจก ตุ๊กแก กา นกพิราบ และนกกระจอก เป็นต้น หรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่าเขาลำเนาไพร เช่น เสือ ช้าง กวาง กระจง เก้ง ลิง ชะนี หมี และวัวแดง เป็นต้น พื้นที่ธรรมชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างหลากหลาย แต่ว่ามนุษย์ได้นำเอาสิ่งมีชีวิตมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และอุตสาหกรรม น้อยกว่าร้อยละ 5 ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ในความเป็นจริงพบว่ามนุษย์ได้ใช้พืชเป็นอาหารเพียง 3,000 ชนิด จากพืชมีท่อลำเลียง (vascular plant) ที่มีอยู่ทั้งหมดในโลกถึง 320,000 ชนิด ทั้งๆ ที่ประมาณร้อยละ 25 ของพืชที่มีท่อลำเลียงนี้สามารถนำมาบริโภคได้ สำหรับชนิดพันธุ์สัตว์นั้น มนุษย์ได้นำเอาสัตว์เลี้ยงมาเพื่อใช้ประโยชน์เพียง 30 ชนิด จากสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมดที่มีในโลกประมาณ 50,000 ชนิด (UNEP 1995) ความหลากหลายระหว่างระบบนิเวศเป็นความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งซับซ้อน สามารถเห็นได้จากความแตกต่างระหว่างระบบนิเวศประเภทต่างๆ เช่น ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า ป่าชายเลน ทะเลสาบ บึง หนอง ชายหาด แนวปะการัง ตลอดจนระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ทุ่งนา อ่างเก็บน้ำ หรือแม้กระทั่งชุมชนเมืองของเราเอง ในระบบนิเวศเหล่านี้ สิ่งมีชีวิตก็ต่างชนิดกัน และมีสภาพการอยู่อาศัยแตกต่างกัน ความแตกต่างหลากหลายระหว่างระบบนิเวศ ทำให้โลกมีถิ่นที่อยู่อาศัยเหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ระบบนิเวศแต่ละประเภทให้ประโยชน์แก่การดำรงชีวิตของมนุษย์แตกต่างกัน หรืออีกนัยหนึ่งให้ 'บริการทางสิ่งแวดล้อม' (environmental service) ต่างกันด้วย อาทิเช่น ป่าไม้ทำหน้าที่ดูดซับน้ำ ไม่ให้เกิดน้ำท่วมและการพังทลายของดิน ส่วนป่าชายเลนทำหน้าที่เก็บตะกอนไม่ให้ไปทบถมจนบริเวณปากอ่าวตื้นเขิน ตลอดจนป้องกันการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งจากกระแสลมและคลื่นด้วย เป็นต้น.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและความหลากหลายทางชีวภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ความเจ็บปวด

วามเจ็บปวด (Pain) เป็นความทุกข์ทางกายที่เกิดเพราะสิ่งเร้าที่รุนแรงหรืออันตราย แต่เพราะมันเป็นปรากฏการณ์ที่ซับซ้อน ที่เป็นอัตวิสัย การนิยามมันจึงเป็นเรื่องยาก องค์การมาตรฐานสากล International Association for the Study of Pain (IASP) ได้กำหนดนิยามที่ใช้อย่างกว้างขวางว่า "ความเจ็บปวดเป็นประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสและทางอารมณ์ ที่สัมพันธ์กับโอกาสหรือการเกิดขึ้นจริง ๆ ของความเสียหายในเนื้อเยื่อ หรือที่บอกโดยใช้คำซึ่งกล่าวถึงความเสียหายเช่นนั้น" Derived from ในการวินิจฉัยทางการแพทย์ ความเจ็บปวดพิจารณาว่าเป็นอาการของโรคที่เป็นเหตุ ความเจ็บปวดปกติจะจูงใจให้บุคคลถอยตัวออกจากสถานการณ์ที่ทำให้เสียหาย ให้ปกป้องรักษาอวัยวะที่บาดเจ็บเมื่อกำลังหาย และให้หลีกเลี่ยงประสบการณ์คล้าย ๆ กันในอนาคต ความเจ็บปวดโดยมากจะหายไปเองเมื่อหมดสิ่งเร้าอันตรายและเมื่อแผล/การบาดเจ็บหายดี แต่ก็อาจคงยืนต่อไปได้ ความเจ็บปวดบางอย่างสามารถเกิดแม้เมื่อไม่มีสิ่งเร้าอันตราย ไม่มีความเสียหาย และไม่มีโรค ในประเทศพัฒนาแล้ว ความเจ็บปวดเป็นเหตุสามัญที่สุดให้คนไข้หาหมอ มันเป็นอาการสามัญที่สุดในโรคต่าง ๆ และสามารถบั่นทอนคุณภาพและความเป็นอยู่ในชีวิตของคนไข้ ยาแก้ปวดธรรมดา ๆ ใช้ได้ในกรณี 20-70% ปัจจัยทางจิตอื่น ๆ รวมทั้งการได้ความช่วยเหลือจากสังคม การสะกดจิต ความตื่นเต้น หรือเครื่องล่อความสนใจต่าง ๆ มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อความทุกข์เนื่องจากความเจ็บปว.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและความเจ็บปวด · ดูเพิ่มเติม »

ควายป่าแอฟริกา

วายป่าแอฟริกา (African buffalo, Cape buffalo) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในวงศ์วัวและควาย (Bovidae) วงศ์ย่อยวัวและควาย (Bovinae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Syncerus ควายป่าแอฟริกามีลักษณะรูปร่างคล้ายกับควายป่า (Bubalus arnee) และควายบ้าน (B. bubalis) ที่พบในทวีปเอเชีย แต่ทว่ามีรูปร่างที่บึกบึนกว่ามาก มีนิสัยว่องไว่และดุร้ายยิ่งกว่างควายป่าเอเชียอย่างมาก และมีส่วนโคนเขาที่ย้อนเข้าหากัน ในตัวผู้จะหนา และโคนเขาชนกัน ขณะที่ตัวเมียจะมีเขาที่เล็กกว่า และโคนเขาไม่ชนกัน ลำตัวมีสีเข้ม กีบเท้ามีลักษณะโค้งกลมขนาดใหญ่ ลำตัวมีความยาว 2.1–3.4 เมตร น้ำหนักมากกว่า 700 กิโลกรัมขึ้นไป มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 22–25 ปี พบกระจายพันธุ์ในแอฟริกาใต้ บริเวณที่เป็นทุ่งหญ้าสะวันน่า และบึงน้ำขนาดใหญ่ทั่วไป กินหญ้าและใบไม้เป็นอาหาร เมื่อโตเต็มวัยมักอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ ชอบที่จะแช่ปลักโคลนเหมือนควายในทวีปเอเชีย โดยมีตัวเมียและลูกเป็นส่วนใหญ่ของฝูง โดยมีตัวผู้ที่มีอายุมากที่สุดเป็นจ่าฝูง มีระยะเวลาตั้งท้องนานประมาณ 340 วัน เมื่อถูกคุกคามจากสัตว์อื่น เช่น สิงโต ทั้งฝูงจะหันบั้นท้ายเข้าชนกัน เพื่อป้องกันลูกควายวัยอ่อนที่ยังป้องกันตัวไม่ได้ ให้อยู่ในวงล้อมป้องกันจากการถูกโจมตี ควายป่าแอฟริกาได้รับความสนใจในเชิงการท่องเที่ยวดูสัตว์ โดยถูกจัดให้เป็น 1 ใน 5 ผู้ยิ่งใหญ่ของสัตว์ป่าแอฟริกา อันประกอบไปด้วย สิงโต, ช้างแอฟริกา, ควายป่า, แรด และเสือดาว.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและควายป่าแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

คอ

อ เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีรยางค์หลายชนิด เป็นโครงสร้างที่แยกศีรษะออกจากลำตัว.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและคอ · ดูเพิ่มเติม »

คอร์ปัส คาโลซัม

ำภาษาละตินว่า Corpus callosum (แปลว่า ส่วนแข็ง) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า colossal commissure เป็นกลุ่มใยประสาทที่กว้างและแบนใต้เปลือกสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีรก ประเภท eutheria อยู่ที่ร่อง longitudinal fissure (ที่แบ่งสมองออกเป็น 2 ข้าง) เป็นโครงสร้างที่เชื่อมซีกสมองซ้ายขวาเข้าด้วยกัน และอำนวยให้เขตในสมองทั้งสองซีกสื่อสารกันได้ เป็นส่วนเนื้อขาว (ส่วนในสมองที่โดยมากประกอบด้วยแอกซอน) ที่ใหญ่ที่สุดในสมองมีแอกซอนส่งเชื่อมซีกสมองถึง 200-250 ล้านแอกซอน.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและคอร์ปัส คาโลซัม · ดูเพิ่มเติม »

คอร์เทกซ์

อร์เทกซ์ (cortex) มาจากคำในภาษาละตินที่แปลว่า เปลือก เปลือกไม้ เปลือกผลไม้ เปลือกเนยแข็ง หนังสัตว์ เปลือกหอย แกลบ เปลือกเมล็ด อาจจะหมายถึง.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและคอร์เทกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

คัพภวิทยา

ตัวอ่อนระยะมอรูลา (Morula), ระยะ 8 เซลล์ '''1''' - มอรูลา (morula), '''2''' - บลาสตูลา (blastula) เอ็มบริโอมนุษย์ อายุครรภ์ 6 สัปดาห์หลังประจำเดือนครั้งสุดท้าย คัพภวิทยา หรือ วิทยาเอ็มบริโอ (Embryology) เป็นการศึกษาการเจริญของเอ็มบริโอ เอ็มบริโอคือขั้นหนึ่งของการเจริญของสิ่งมีชีวิตก่อนคลอดหรือออกจากไข่ หรือในพืชคือในระยะก่อนการงอก (germination) คัพภวิทยาหมายถึงการเจริญของไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว (ไซโกต) และมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ หลังจากระยะแยก (cleavage) เซลล์ที่กำลังแบ่งตัว หรือมอรูลา (morula) จะกลายมาเป็นลูกบอลกลวง หรือบลาสตูลา (blastula) ซึ่งมีการเจริญของรูหรือช่องที่ปลายด้านหนึ่ง ในสัตว์ บลาสตูลาจะมีการเจริญแบ่งได้ออกเป็น 2 ทาง ทำให้สามารถแบ่งสัตว์ในอาณาจักรสัตว์ออกเป็น 2 ประเภท ประเภทแรกคือหากมีการเจริญของรูในบลาสตูลา (บลาสโตพอร์ (blastopore)) กลายเป็นปากของสัตว์ จะเรียกว่าพวกโพรโตสโตม (protostome) แต่หากรูนั้นเจริญเป็นทวารหนัก จะเรียกว่าพวกดิวเทอโรสโตม (deuterostome) สัตว์พวกโพรโตสโตมได้แก่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลง หนอน และพวกหอยกับปลาหมึก ในขณะที่พวกดิวเทอโรสโตมได้แก่สัตว์ที่วิวัฒนาการสูงเช่นสัตว์มีกระดูกสันหลัง (vertebrates) บลาสตูลาจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นโครงสร้างที่เรียกว่า แกสตรูลา (gastrula) '''1''' - บลาสตูลา (blastula), '''2''' - แกสตรูลา (gastrula) และบลาสโตพอร์ (blastopore); '''สีส้ม'''แทนเอ็กโทเดิร์ม, '''สีแดง'''แทนเอนโดเดิร์ม แกสตรูลาและบลาสโตพอร์จะเจริญไปเป็นชั้นต่างๆ 3 ชั้น (germ layers) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอวัยวะและเนื้อเยื่อในร่างกายทั้งหม.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและคัพภวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

คิโนซีเลียม

นซีเลียม (kinocilium) เป็นซีเลียชนิดพิเศษที่ยอดของเซลล์ขนในเยื่อรับความรู้สึกของหูชั้นในของสัตว์มีกระดูกสันหลัง.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและคิโนซีเลียม · ดูเพิ่มเติม »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการสถาปนาเป็นคณะที่ 7 ของมหาวิทยาลัย โดยเปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์ทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก นอกจากนี้ ยังเปิดสอนหลักสูตรเตรียมแพทย์ ให้กับวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า อีกด้ว.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

งู

งู เป็นสัตว์เลื้อยคลานอันดับหนึ่ง ไม่มีขา ไม่มีเปลือกตา มีเกล็ดปกคลุมผิวหนังทั่วทั้งลำตัว ลักษณะลำตัวยาวซึ่งโดยขนาดของความยาวนั้น จะขึ้นอยู่กับชนิดของงู ปราดเปรียวและว่องไวในการเคลื่อนที่ มีลิ้นสองแฉกเพื่อใช้สำหรับรับความรู้สึกทางกลิ่น จัดอยู่ในชั้น Reptilia, ตระกูล Squamata, ตระกูลย่อย Serpentes โดยทั่วไปแล้วงูจะกลัวและไม่กัด นอกเสียจากถูกรบกวนหรือบุกรุก จะเลื้อยหลบหนีเมื่อมีสิ่งใดเข้ามาใกล้บริเวณที่อยู่ ออกล่าเหยื่อเมื่อรู้สึกหิว โดยกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร ยกเว้นงูบางชนิดที่กินงูด้วยกันเอง เช่น งูจงอาง สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืดและในเวลากลางคืน โดยทั่วไปจะออกลูกเป็นไข่ ยกเว้นแต่งูที่มีพิษซึ่งมีผลโดยตรงทางด้านโลหิต (วงศ์งูหางกระดิ่ง((Viperidae)) ซึ่งจะออกลูกเป็นตัว เช่น งูแมวเซา ธรรมชาติโดยทั่วไป งูจะลอกคราบเมื่อมันเริ่มโตขึ้น ทำให้ผิวหนังของงูเริ่มแข็งและคับขึ้น ซึ่งงูจะลอกคราบบ่อยครั้งเมื่องูยังมีอายุไม่มากนัก ซึ่งภายหลังจากการลอกคราบของงู จะทำให้ผิวหนังเก่าหลุดออก แต่เซลล์สีที่ทำให้งูมีสีสันยังคงอยู่ในตัวงู ทำให้เกล็ดที่ปกคลุมผิวหนัง มีสีสันสดใสรวมทั้งทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน มีงูถูกค้นพบแล้วประมาณ 2,700 ชนิด แต่เป็นงูไม่มีพิษประมาณ 2,300 ชนิด สำหรับในประเทศไทยมีงูจำนวนมากตามสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ทั่วทุกภูมิภาพของประเทศไทยสามารถพบเห็นงูได้มากกว่า 180 ชนิด โดยเป็นงูที่มีพิษจำนวน 46 ชนิด และสามารถจำแนกงูที่มีพิษออกได้อีก 2 ประเภทคือ.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงู · ดูเพิ่มเติม »

งูพิษเฟีย

งูพิษเฟีย (Fea's viper; 白頭蝰亞科) เป็นงูเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์ย่อย Azemiopinae และสกุล Azemiops ในวงศ์ใหญ่ Viperidae งูชนิดนี้ถูกตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแด่ ลีโอนาร์โด เฟีย นักธรรมชาติวิทยาชาวอิตาเลียน โดยจอร์จ อัลเบิร์ต บุลเลเยอร์ นักมีนวิทยาและนักวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวฝรั่งเศส-เบลเยียม มีลักษณะโดยรวมคือ ระหว่างตาและช่องจมูกไม่มีแอ่งรับคลื่นอินฟราเรด กระดูกพาลาทีนมีก้านกระดูกโคเอนัลชิ้นใหญ่ ทางด้านท้ายของกระดูกฟรีฟอนทัลและค่อนไปทางด้านในมีก้านกระดูกออร์ไบทัล มีสีลำตัวที่โดดเด่นชัดเจนมาก โดยตามลำตัวเป็นสีฟ้าเทาอมดำและมีแต้มระหว่างเกล็ดเว้นระยะห่างกันประมาณ 1-2 ชิ้น มีลายแถบสีส้มขาว หัวมีขนาดเล็กเป็นสีส้มเหลืองตัดกับลำตัว ม่านตาเป็นสีส้มเหลืองในแนวตั้ง มีขนาดความยาวประมาณ 60-70 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์อยู่ตามกองใบไม้กิ่งไม้ตามพื้นดินของป่าที่มีความชื้นสูงและอุณหภูมิต่ำไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะในป่าไผ่และป่าเฟิร์นบนภูเขาสูงในระดับ 800-1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกหากินในเวลากลางคืนและกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในแถบเทือกเขาตั้งแต่ตอนเหนือของเวียดนาม, ภาคใต้ของจีน (มณฑลฟูเจี้ยน, มณฑลกวางสี, มณฑลเจียงซี, มณฑลกุ้ยโจว, มณฑลยูนนาน, มณฑลเสฉวน และมณฑลเจ้อเจียง), ตอนใต้ของธิเบต และในรัฐคะฉิ่น ทางภาคเหนือของพม่า งูชนิดนี้มีพิษที่คล้ายคลึงกับพิษของงูชนิด Tropidolaemus wagleri และไม่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือ.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูพิษเฟีย · ดูเพิ่มเติม »

งูกรีนแมมบาตะวันออก

งูกรีนแมมบาตะวันออก (Eastern green mamba) เป็นงูขนาดกลางถึงใหญ่ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) มีพิษร้ายแรง มีถิ่นกำเนิดในชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกาใต้ไปจนถึงแทบทุกพื้นที่ของแอฟริกาตะวันออก.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูกรีนแมมบาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

งูกรีนแมมบาตะวันตก

งูกรีนแมมบาตะวันตก (Western green mamba, West African green mamba, Hallowell's green mamba) เป็นงูพิษร้ายแรงในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) เป็นงูที่มีสีเขียวตลอดทั้งตัว มีลักษณะคล้ายกับงูกรีนแมมบาตะวันออก (D. angusticeps) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน (Dendroaspis spp.) แต่ว่าถูกจัดให้เป็นชนิดต่างกัน เนื่องจากมีลักษณะทางกายภาพที่ต่างกัน คือ มีความยาวที่มากกว่างูกรีนแมมบาตะวันออก กล่าวคือ มีความยาวโดยเฉลี่ย 1.8 เมตร และมีโทนสีของลำตัวหลากหลายแตกต่างกันมากกว่า กล่าวคือ มีทั้งสีเขียวมรกต, สีเขียวมะกอก หรือแม้แต่สีเขียวอมฟ้า อีกทั้งมีอุปนิสัยที่ดุร้ายก้าวร้าวกว่างูกรีนแมมบาตะวันออก อาศัยและหากินเป็นหลักบนต้นไม้ งูกรีนแมมบาตะวันตก มีถิ่นกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปแอฟริกาตอนกลางในฝั่งทิศตะวันตก ซึ่งเป็นคนละส่วนกับถิ่นแพร่กระจายพันธุ์ของงูกรีนแมมบาตะวันออก ซึ่งทั้งคู่เป็นงูที่มีพิษร้ายแรงต่อระบบประสาทเช่นเดียวกัน โดยมีพิษร้ายแรงใกล้เคียงกับงูเห่า (Naja spp.) ทั้งคู่มีการนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงในหมู่ของผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์แปลก ๆ โดยที่งูกรีนแมมบาตะวันตกจะมีราคาซื้อขายแพงกว่างูกรีนแมมบาตะวันออก.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูกรีนแมมบาตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

งูกะปะ

งูกะปะ เป็นงูพิษที่มีพิษรุนแรงมาก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Calloselasma rhodostoma จัดเป็นงูเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Calloselasma โดยไม่มีชนิดย่อ.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูกะปะ · ดูเพิ่มเติม »

งูก้นขบ

งูก้นขบ (Red-tailed pipe snakeSpecies at The Reptile Database. Accessed 17 August 2007.) เป็นงูไม่มีพิษชนิดหนึ่ง ยาวได้ถึง 1 เมตรBurnie D, Wilson DE.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูก้นขบ · ดูเพิ่มเติม »

งูลายสอ

งูลายสอ (Painted keelbacks) เป็นงูขนาดเล็กในสกุล Xenochrophis (/ซี-โน-โคร-ฟิส/) ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง (Colubridae) เป็นงูขนาดเล็กที่ไม่มีพิษ แต่มีนิสัยดุร้าย ลำตัวมักมีลายดำบนพื้นสีเหลือง อาศัยหากินอยู่ตามพื้นดินและในน้ำ ไม่ขึ้นต้นไม้ ออกหากินในเวลากลางวัน.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูลายสอ · ดูเพิ่มเติม »

งูสามเหลี่ยม

งูสามเหลี่ยม หรือ งูทับทางเหลือง (Banded krait; ชื่อวิทยาศาสตร์ Bungarus fasciatus) เป็นชนิดของงูมีพิษชนิดหนึ่ง พบในอินเดีย, บังคลาเทศ, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงเอเชียตะวันออก มีหัวกลม ลำตัวเรียวยาว 1 ถึง 2 เมตร ปลายหางมักทู่ บางตัวหัวแบนเล็กน้อย ลำตัวเป็นสันสามเหลี่ยมชัดเจน อันเป็นที่มาของชื่อเรียก เลื้อยช้าแต่ว่ายน้ำได้เร็ว เป็นงูที่มีความว่องไวปราดเปรียวในน้ำ สีของลำตัวเป็นปล้องดำสลับเหลืองทั้งตัว เวลากัดไม่มีการแผ่แม่เบี้ยเหมือนงูในสกุล Naja ในประเทศไทยจะพบได้ทุกภาค แต่จะพบได้มากในภาคใต้ รวมถึงป่าพรุโต๊ะแดง กินอาหาร จำพวก หนู, กบ, เขียด หรือปลา รวมถึงงูด้วยกันขนาดเล็กด้วย หากินในเวลากลางคืน มักขดนอนตามโคนกอไม้ไผ่, ป่าละเมาะ, พงหญ้าริมน้ำ เป็นงูที่ไม่ดุ ไม่ฉกกัด นอกจากจะมีคนเดินไปเหยียบหรือเดินผ่านขณะที่งูสามเหลี่ยมกำลังไล่กัดงูซึ่งเป็นอาหารก่อน งูกินปลา งูเขียว ปกติตอนกลางวันจะซึมเซา แต่ตอนกลางคืนจะว่องไว มีพิษทำลายระบบประสาทและโลหิตรวมกัน เมื่อถูกกัดจะมีอาการชักกระตุก ปวดช่องท้อง มีเลือดออกเป็นจุด ๆ ใต้ผิวหนัง มีเลือดออกตามไรฟันและไอเป็นเลือด มีการแพร่ขยายพันธุ์โดยการวางไข่ครั้งละ 8-12 ฟอง.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูสามเหลี่ยม · ดูเพิ่มเติม »

งูสิง

งูสิง (Rat snakes) เป็นสกุลของงูไม่มีพิษหรือพิษอ่อนสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Ptyas ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง (Colubridae) งูสิง โดยทั่วไปเป็นงูที่มีลักษณะคล้ายกับงูเห่า โดยเมื่อถูกคุกคามมักจะขู่ฟ่อเหมือนงูเห่า แต่ไม่มีแม่เบี้ย และเมื่อถูกรบกวนหนักเข้าก็จะเลื้อยหนี เพราะไม่มีพิษ มีความว่องไวและคล่องแคล่วกว่างูเห่า งูสิง ได้ชื่อว่ามีเนื้อที่อร่อยและนิยมปรุงเป็นอาหาร โดยเฉพาะชาวชนบทโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสานของไท.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูสิง · ดูเพิ่มเติม »

งูหลาม

งูหลาม หรือ งูหลามพม่า (Burmese python) เป็นงูขนาดใหญ่ ไม่มีพิษ.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูหลาม · ดูเพิ่มเติม »

งูหลามบอล

งูหลามบอล หรือที่นิยมเรียกว่า บอลไพธอน (Ball python) เป็นงูในวงศ์งูหลาม งูเหลือม (Pythonidae) ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Python regius โดยที่ไม่มีชนิดย่อ.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูหลามบอล · ดูเพิ่มเติม »

งูหลามต้นไม้สีเขียว

งูหลามต้นไม้สีเขียว (Green tree python) เป็นงูไม่มีพิษชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Morelia viridis อยู่ในวงศ์งูเหลือม (Pythonidae) งูเมื่อโตเต็มวัยแล้วจะมีสีของช่วงหลังเป็นสีเขียวสดใสหรือสีฟ้าเป็นแต้ม และช่วงท้องเป็นสีเหลืองอ่อนหรือสีขาวตลอดแนวกระดูกสันหลัง ในขณะที่ยังเป็นตัวอ่อนส่วนใหญ่จะเป็นสีเหลืองสดใสตลอดลำตัว แต่ในบางพื้นที่อาจจะมีช่วงหลังเป็นสีแดง, ส้มหรือเขียว ร่างกายมีกล้ามเนื้อแข็งแรงมีส่วนหัวและลำตัวสั้น ตามีขนาดใหญ่โดยที่มีม่านตาอยู่ในแนวตั้ง และมีแอ่งจับคลื่นความร้อนบริเวณริมฝีปากเช่นเดียวกับงูในวงศ์เดียวกันนี้ชนิดอื่น ๆ โดยใช้เป็นเครื่องมือตรวจจับคลื่นความร้อนจากสัตว์เลือดอุ่นโดยเฉพาะในเวลากลางคืนเพื่อจับเป็นอาหาร มีความยาวเต็มที่ประมาณ 150-200 เซนติเมตร เป็นงูที่สามารถพบได้ในหลายพื้นที่ของเกาะนิวกินีตลอดจนหลายเกาะของอินโดนีเซียจนถึงรัฐควีนส์แลนด์ ของออสเตรเลีย สามารถพบได้ทั้งในป่าพรุ, ป่าดิบแล้ง ตลอดจนถึงพื้นที่ทำการเกษตร โดยสามารถพบได้จนถึงพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 2,000 เมตร โดยมากจะหาอาหารในเวลากลางคืน ได้แก่ กิ้งก่าและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก โดยจะหากินหลักบนต้นไม้ แต่บางครั้งก็จะลงพื้นดินมาหาอาหารได้ด้วย จัดเป็นงูชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูหลามต้นไม้สีเขียว · ดูเพิ่มเติม »

งูหลามแอฟริกา

งูหลามแอฟริกา (African rock python) เป็นงูขนาดใหญ่ไม่มีพิษชนิดหนึ่งจำพวกงูหลาม งูหลามแอฟริกาโดยทั่วไปจะมีสีน้ำตาลและมีลวดลายประจำตัวสีน้ำตาลอ่อนและเขียวเข้มปนเหลือง ด้านล่างลำตัวมีสีขาวครีม จัดเป็นงูอีกชนิดหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีความยาวเฉลี่ย 6 เมตร (20 ฟุต) หรือมากกว่า พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทางตอนใต้ของซาฮาร่า, แอฟริกาตะวันออก, โมซัมบิก, ซิมบับเวและในภาคตะวันออกของแอฟริกาใต้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) งูหลามแอฟริกา จัดเป็นงูขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา กินสัตว์ขนาดใหญ่กว่าเป็นอาหารได้ เช่น แอนทิโลป, จระเข้ แม้กระทั่งวิลเดอบีสต์ และมีรายงานว่าทำร้ายและฆ่ามนุษย์ได้ด้วย ด้วยขากรรไกรที่ไม่เชื่อมต่อกันและกระดูกซี่โครงที่สามารถยืดขยายได้และไม่มีกระดูกช่วงอกเหมือนงูชนิดอื่น ๆ แต่โดยปกติแล้วจะกินอาหารจำพวกสัตว์ขนาดเล็ก เช่น นก, หนู, กระรอก เป็นอาหารมากกว่า ตัวเมียวางไข่ได้ถึง 100 ฟอง ระยะเวลาการกกไข่อยู่ที่ระหว่าง 2-3 เดือน ลูกงูที่เพิ่งฟักออกจากไข่มีความยาวประมาณ 50-60 เซนติเมตร ลูกงูที่เพิ่งฟักออกจากไข่จะมีสีเดียวกัน และจะมีสีที่เข้มขึ้นเมื่อเติบโตขึ้นตามวัย งูตัวเมียจะมีความดุร้ายอย่างในช่วงการกกไข่ งูหลามแอฟริกา มีความดุร้ายก้าวร้าวกว่างูหลามพม่า (P. bivittatus) และปัจจุบันมีรายงานการเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในสหรัฐอเมริกาเช่นเดียวกับงูหลามพม่าไปแล้ว โดยสามารถแพร่กระจายพันธุ์ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเอเวอร์เกลดส์ รัฐฟลอริดา และจากการศึกษาพบว่าสามารถที่จะผสมข้ามพันธุ์กับงูหลามพม่าได้ด้ว.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูหลามแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

งูหางกระดิ่ง (สกุล)

งูหางกระดิ่ง (Rattlesnakes; Crótalo) เป็นสกุลของงูพิษที่อยู่ในวงศ์งูแมวเซา (Viperidae) และวงศ์ย่อยงูหางกระดิ่ง (Crotalinae) ใช้ชื่อสกุลว่า Crotalus (/โคร-ทา-ลัส/) โดยคำว่า Crotalus นั้นมาจากภาษากรีกคำว่า krotalon หมายถึง "สั่น" หรือ "Castanet" มีลักษณะเด่น คือ เมื่อลอกคาบแล้ว เกล็ดบางส่วนที่ปลายหางจะไม่ลอกหลุดหมดไป เกล็ดเหล่านี้จะมีลักษณะเป็นปล้อง ๆ เป็นสารประกอบเคอราติน เรียงตัวต่อเนื่องกันซึ่งเป็นส่วนซึ่งเมื่อสั่นเกล็ดส่วนนี้แล้วจะทำให้เกิดเสียงจากการปล้องแต่ละปล้องนั้นเสียดสีกระทบกัน เพื่อใช้เป็นสัญญาณเตือนและข่มขู่สัตว์ที่ใหญ่กว่าที่คุกคาม อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ นอกจากนี้แล้วยังมีหัวมีลักษณะแบน ดูคล้ายรูปสามเหลี่ยม รูม่านตาคล้ายรูม่านตาของแมว คือ เป็นรูปวงรีวางตัวในแนวตั้ง และจะมีความกว้างของหัวเป็นสองเท่าของลำคอ สามารถเห็นแอ่งรับรู้ความร้อนอินฟาเรดระหว่างตา และรูจมูกของแต่ละข้างของหัว ซึ่งเป็นบริเวณที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม ทำให้งูสามารถรู้ตำแหน่งของเหยื่อได้แม้ในความมืด เนื่องจากเป็นงูที่หากินในเวลากลางคืน โดยกินเหยื่อเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น หนู, กระต่าย หรือแพรรีด็อก เป็นต้น และหากินตามพื้นดินมากกว่าขึ้นต้นไม้ เป็นงูที่ออกลูกเป็นไข่ แต่ไข่จะฟักในตัวแม่งู ลูกงูจะออกมาในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ครั้งละ 5-12 ตัว ลูกงูที่ออกมามีความยาวประมาณ 6-8 นิ้ว (15-20 เซนติเมตร) ลูกงูจะมีปล้องเกล็ดที่หาง 1 ปล้อง สามารถผลิตพิษได้แต่จำนวนน้อย และพิษยังไม่รุนแรงมาก และจะโตเต็มวัยเมื่ออายุได้ 3 ปี สีของลำตัวต่างกันไปตามชนิด และระยะของการลอกคราบ โดยมีสีสันที่หลากหลายได้แก่ สีน้ำตาล, สีเหลือง, สีเทา, สีดำ, สีคล้ายกับฝุ่นชอล์ก และสีเขียวมะกอก เป็นต้น Kardong, K. V. and Bels, V. L. (1998).

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูหางกระดิ่ง (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

งูหางกระดิ่งแคระ

งูหางกระดิ่งแคระ หรือ งูหางกระดิ่งเล็ก (Pigmy rattlesnakes, MassasaugasWright AH, Wright AA. 1957. Handbook of Snakes. Comstock Publishing Associates. (7th printing, 1985). 1105 pp. ISBN 0-8014-0463-0.) เป็นสกุลของงูพิษในสกุล Sistrurus ในวงศ์งูหางกระดิ่ง (Viperidae) จัดเป็นงูหางกระดิ่งจำพวกหนึ่ง ที่ไม่ใช่สกุล Crotalus ที่มีขนาดใหญ่กว่า โดยคำว่า Sistrurus แปลว่า "หางกระดิ่ง" (Σείστρουρος, Seistrouros) ซึ่งเป็นภาษากรีกที่มีที่มาจากเครื่องดนตรีของอียิปต์โบราณที่ชื่อซิสทรัม งูหางกระดิ่งแคระ มีลักษณะคล้ายกับงูหางกระดิ่งทั่วไป คือ ส่วนของปลายหางเป็นปล้องของสารประกอบเคอราตินที่เรียงตัวต่อเนื่องกันซึ่งเป็นส่วนของคราบผิวหนังลำตัวที่ยังเหลืออยู่จากการลอกคราบแต่ละครั้ง เมื่อสั่นหางจะเกิดเสียงดังจากการกระทบกันของปล้องของคราบผิวหนังเพื่อใช้เป็นสัญญาณเตือนภัยแก่สัตว์อื่น แต่มีขนาดเล็กกว่า และมีการเรียงตัวของเกล็ดต่างกัน เกล็ดแผ่นใหญ่ที่ส่วนหัวมี 9 แผ่น (เหมือนกับสกุล Agkistrodon) ขณะที่งูหางกระดิ่งทั่วไป (รวมถึงงูสกุลอื่นในวงศ์เดียวกันเกือบทั้งหมด) หัวจะปกคลุมด้วยเกล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก พบกระจายพันธุ์ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของแคนาดา, ภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา รวมถึงตอนเหนือและภาคกลางของเม็กซิโก.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูหางกระดิ่งแคระ · ดูเพิ่มเติม »

งูหางกระดิ่งไซด์ไวน์เดอร์

งูหางกระดิ่งไซด์ไวน์เดอร์ หรือ งูไซด์ไวน์เดอร์ (Sidewinder, Sidewinder rattlesnake, Horned rattlesnakeCarr A. 1963. The Reptiles. Life Nature Library. Time-Life Books, New York. LCCCN 63-12781.) เป็นงูพิษขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่แถบทะเลทราย จัดเป็นงูจำพวกงูหางกระดิ่ง อยู่ในวงศ์งูแมวเซา (Viperidae) และวงศ์ย่อยงูหางกระดิ่ง (Crotalinae) จัดเป็นงูหางกระดิ่งชนิดที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 1.5-2.5 ฟุต แต่ตัวที่มีความยาวกว่า 30 นิ้ว มักไม่ค่อยพบ มีลักษณะเด่น คือ มีติ่งเล็ก ๆ เหนือตาคล้ายกับเขา ซึ่งเป็นอวัยวะที่ใช้ในการปกป้องดวงตา มีเกล็ดตามลำตัวสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลเข้ม สำหรับการปรับตัวให้กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม ที่เป็นทราย งูหางกระดิ่งไซด์ไวน์เดอร์ มีการเคลื่อนที่ด้วยการเหวี่ยงตัวไปข้าง ๆ ด้วยการควบคุมตัวให้ตกลงสู่พื้นในแนวดิ่งเพื่อหลีกเลี่ยงการลื่นไถล เพื่อทำให้เกิดแรงผลักและทำให้ลำตัวเคลื่อนไปข้างหน้าขณะเดียวกันลำตัวถูกยกขึ้นสูงจากพื้นวัสดุแล้วตกลงในแนวดิ่ง จึงสามารถเคลื่อนไปข้างหน้าได้ แต่ทิศทางการเลื้อยอาจดูเฉียงไปด้านข้างเล็กน้อย ทั้งนี้เพราะรูปแบบการเคลื่อนที่แบบนี้เหมาะมากสำหรับการเคลื่อนที่ของสัตว์ที่ไม่มีขาบนพื้นทราย ที่อ่อนนุ่มแบบนี้ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญที่ใช้เรียกด้วย งูหางกระดิ่งไซด์ไวน์เดอร์ เป็นงูที่ออกหากินในเวลากลางคืน ด้วยการตรวจจับคลื่นอินฟาเรดจากความร้อนของตัวเหยื่อ ซึ่งเหยื่อ โดยมากจะได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น หนู หรือสัตว์ฟันแทะและกิ้งก่าชนิดต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในทะเลทราย แพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคใต้ของสหรัฐอเมริกา เช่น รัฐเท็กซัส, ยูทาห์, เนวาดา, อริโซนา, แคลิฟอร์เนีย และตอนเหนือของเม็กซิโก แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย ตามแต่ละถิ่นที่อยู่อาศัย (ดูในตาราง) รอยบนพื้นทราย ที่เป็นงูเหวี่ยงตัวผ่าน เป็นงูที่ออกลูกเป็นตัวได้มากกว่าครั้งละ 18 ตัว.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูหางกระดิ่งไซด์ไวน์เดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

งูหางแฮ่มกาญจน์

งูหางแฮ่มกาญจน์ (Kanburi pitviperGumprecht A, Tillack F, Orlov NL, Captain A, Ryabov S. 2004.) เป็นงูที่มีพิษที่มีขนาดใหญ่อยู่ในสกุลเดียวกันกับงูเขียวหางไหม้ วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่ง อาศัยในบริเวณที่ชุ่มชื้นและป่าชายเลน พบในในประเทศไทย บริเวณเขตจังหวัดกาญจนบุรี เลย และระนอง ศูนย์รวบรวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไท.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูหางแฮ่มกาญจน์ · ดูเพิ่มเติม »

งูอนาคอนดาเหลือง

งูอนาคอนดาเหลือง (Yellow anaconda) เป็นงูไม่มีพิษขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จำพวกงูอนาคอนดา จัดอยู่ในวงศ์งูโบอา (Boidae) มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 3 เมตร นับว่าน้อยกว่างูอนาคอนดาเขียว (E. murinus) มาก แต่ก็มีตัวเมียที่ใหญ่ได้ถึง 6.3 เมตร พบในอาร์เจนตินาAnimal Planet Showcase.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูอนาคอนดาเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

งูจงอาง

งูจงอาง (King Cobra) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นงูพิษขนาดใหญ่ โดยทั่วไปมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 3.5 - 4.5 เมตร จัดเป็นงูพิษที่มีขนาดยาวที่สุดในโลก ซึ่งตัวที่ยาวเป็นสถิติโลกมีความยาวถึง 5.67 เมตร เป็นงูจงอางไทยลำตัวสีชมพู ถูกยิงได้ที่จังหวัดนครศรีธรรมร..

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูจงอาง · ดูเพิ่มเติม »

งูทะเล

งูทะเล เป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกสัตว์เลื้อยคลานจำพวกงู ที่อาศัยและดำรงชีวิตอยู่ในทะเลตลอดชีวิต ไม่เคยขึ้นมาบนบกเลย ยกเว้นการผสมพันธุ์และวางไข่ในบางชนิด งูทะเลเป็นงูที่อยู่ในวงศ์ย่อย Hydrophiinae และ Laticaudinae งูทะเลทุกชนิดอาศัยอยู่ในทะเลหรือปากแม่น้ำชายฝั่งหมด ยกเว้น ชนิด Hydrophis semperi และ Laticauda crokeri เท่านั้น ที่พบอาศัยอยู่ในทะเลสาบน้ำจืดในประเทศฟิลิปปิน.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูทะเล · ดูเพิ่มเติม »

งูทับทาง

งูทับทาง หรือ งูสามเหลี่ยม (Kraits) เป็นสกุลของงูพิษสกุลหนึ่ง ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Bungarus มีลักษณะเด่นคือ มีลำตัวเป็นสันสามเหลี่ยมชัดเจน ลำตัวยาว อาศัยอยู่ตามพื้นดิน มีเขี้ยวพิษคล้ายกับงูเห่า (Naja spp.) ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน มีต่อมพิษอยู่บริเวณท้ายหัวทั้งสองข้าง พิษมีฤทธิ์มากในทางทำลายระบบประสาท มีอันตรายถึงแก่ชีวิต มีความยาวโดยเฉลี่ย 1–1.5 เมตร พบใหญ่ที่สุด 2 เมตร แต่ไม่มีตัวใดที่มีความยาวเกิน 4 เมตร เป็นงูที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร เช่น งู หรือสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก ออกหากินในเวลากลางคืน เมื่อกัดจะไม่มีการแผ่แม่เบี้ยหรือพังพานเหมือนงูเห่า พบกระจายพันธุ์ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย เช่น ศรีลังกา, บังกลาเทศ, อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงอินโดนีเซีย และบอร์เนียว งูตัวเมียจะวางไข่ครั้งละ 12–14 ฟอง ในกองหรือเศษซากใบไม้กิ่งไม้ต่าง ๆ จนกว่าไข่จะฟักเป็นตัว.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูทับทาง · ดูเพิ่มเติม »

งูดิน

งูดิน (Blind snake, Thread snake) เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกงูกลุ่มหนึ่ง จัดอยู่ในอันดับฐาน Scolecophidia จัดเป็นงูขนาดเล็กที่สุด เป็นงูไม่มีพิษ มีลักษณะลำตัวยาวเรียว ปกคลุมด้วยเกล็ดมันวาว ขนาดเท่ากันตลอดลำตัวรวมทั้งเกล็ดท้อง มักมีสีน้ำตาลหรือดำ ลิ้นมี 2 แฉก มีขนาดลำตัวตั้งแต่ความยาวไม่กี่เซนติเมตรลักษณะคล้ายไส้เดือนหรือไส้ดินสอ ไปจนถึงความยาวกว่า 30 เซนติเมตร ตาขนาดเล็กมากอยู่ใต้เกล็ด บางชนิดมองไม่เห็นเลยจนเสมือนว่าตาบอด งูดิน มักพบเจอได้บ่อย ๆ บนพื้นดินช่วงหลังฝนตกใหม่ ๆ ดำรงชีวิตโดยการกินไข่และตัวอ่อนของมดและปลวกรวมถึงสัตว์ขาปล้องขนาดเล็กเป็นอาหาร.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูดิน · ดูเพิ่มเติม »

งูดินบ้าน

งูดินบ้าน หรือ งูดินธรรมดา (Brahminy blind snake, Common blind snake) เป็นงูดินชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ Typhlopidae ลำตัวเรียวยาวและกลมสม่ำเสมอตลอดความยาวลำตัว ส่วนของหัวกว้างเท่ากับลำตัว ส่วนปลายของหัวมน หางสั้นมากและส่วนปลายของหางมีหนามแข็ง ตาเล็กมากแต่มองเห็นได้ชัดเจน ผิวหนังลำตัวมีเกล็ดขนาดเล็กปกคลุมและพื้นผิวเกล็ดเรียบเป็นมัน เกล็ดรอบลำตัวในแนวกึ่งกลางตัว จำนวน 20 เกล็ด at the.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูดินบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

งูดินหางยาว

งูดินหางยาว (Long-tailed blind snake) งูดินจำพวกหนึ่ง อยู่ในสกุล Ramphotyphlops ในวงศ์งูดิน (Typhlopidae) งูดินในสกุลนี้ มีแท่งกระดูกอยู่ภายในถุงพีนิสซึ่งแตกต่างจากของสกุลอื่นที่มีเฉพาะตัวถุงพีนิส และในชนิด R. braminus มีชุดโครโมโซมเป็นไตรพลอยด์ และมีกระบวนการเกิดโดยไม่มีการปฏิสนธิได้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายพันธุ์ของงูดินนี้กว้างมากเนื่องจากไข่ติดไปกับรากของต้นไม้ที่ถูกนำไปในพื้นที่อื่นรวมทั้งเกาะกลางมหาสมุทร เช่น หมู่้เกาะฮาวาย หรือเกาะมาดากัสการ์ สามารถแบ่งออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ 49 ชน.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูดินหางยาว · ดูเพิ่มเติม »

งูตาแมว

งูตาแมว หรือ งูแมว (Cat-eyed snakes, Cat snakes, Boigas) เป็นสกุลของงูในสกุล Boiga ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง (Colubridae) ในวงศ์ย่อยงูเขียว (Colubrinae) เป็นงูที่มีถิ่นกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชีย, อินเดีย และออสเตรเลีย เป็นงูที่มีพิษแต่ทว่าพิษไม่ร้ายแรงและเป็นอันตรายต่อมนุษย์ หากถูกรบกวนจะมีพฤติกรรมยกหัวและลําตัวสวนหนา (ประมาณ 1/3 ของความยาวลําตัว) สูงขึ้นมาจากพื้นดิน พับลําตัวไป-มาโดยมีหัวอยูในตําแหนงตรงกลางของรอยพับ พร้อมทั้งโยกลําตัวให้เอนไป-มาทางด้านหน้าและทางดานหลัง แกวงหางคอนข้างถี่และอ้าปากกว้าง ต่อจากนั้นยืดลําตัวและพุงเข้าฉกหรือกัดอยางรวดเร็ว แลวดึงลําตัวกลับไปอยู่ในตําแหนงเดิม ได้รับความนิยมในแง่ของการเป็นสัตว์เลี้ยงในหลายชนิด เป็นงูที่ออกลูกเป็นไข่ หากินในเวลากลางคืน จับสัตว์ขนาดเล็ก เช่น กิ้งก่า, จิ้งจก, งูขนาดเล็ก หรือนกเป็นอาหาร.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูตาแมว · ดูเพิ่มเติม »

งูปล้องฉนวน

งูปล้องฉนวน (Wolf snakes) เป็นงูในสกุล Lycodon (/ไล-โค-ดอน/) จัดอยู่ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง (Colubrida) มีลักษณะโดยรวมเป็นงูลำตัวเรียว มีความยาวประมาณ 40-60 เซนติเมตร มักมีลายเป็นปล้องสีนํ้าตาลหรือดําสลับขาว ไม่มีพิษ โดยคำว่า Lycodon มาจากภาษากรีกคำว่า "λύκος" (lykos) หมายถึง "หมาป่า" และ "οδόν" (odon) หมายถึง "ฟัน" อันหมายถึง ลักษณะของฟันที่ขากรรไกรและฟันคู่หน้าล่าง.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูปล้องฉนวน · ดูเพิ่มเติม »

งูปาล์ม

งูปาล์ม หรือ งูเขียวปาล์ม หรือ งูปาล์มแดง (Palm pit viper, Javanese pit viper, Flat-nosed pit viper) เป็นงูพิษชนิดหนึ่ง ในจำพวกงูเขียวหางไหม้ งูปาล์ม เป็นงูเขียวหางไหม้ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 35 เซนติเมตร มีสีและลวดลายปะปนกันหลายสี มีสีพื้นสีเขียว สีน้ำตาล และสีน้ำตาลอมแดง มีจุดประสีขาว ส่วนท้องสีน้ำตาลม่วง มีสิ่งที่ทำให้แตกต่างจากงูเขียวหางไหม้ชนิดอื่น คือ มีเกล็ดจมูกเชิดงอนขึ้น เกล็ดบนตาแหลมสูงทำให้แลดูเด่นชัด ไม่เหมือนงูเขียวหางไหม้ชนิดอื่น ๆ ซึ่งในครั้งแรกเข้าใจว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของสีลวดลายหรือเป็นความแตกต่างระหว่างเพศของตัวผู้และตัวเมียของงูที่พบในเขตประเทศมาเลเซียและไม่พบในประเทศไทย แต่เมื่อนำมาเลี้ยงดูและศึกษาแล้วพบว่ามีลักษณะเช่นนี้เหมือนกันทั้งตัวผู้และตัวเมีย งูปาล์ม เดิมเคยเชื่อว่าเป็นงูถิ่นเดียวที่พบได้เฉพาะในภาคใต้ของไทย พบครั้งแรกโดยเกาะพาดอยู่กลางป่าหวาย ที่อำเภอท่าฉางเขตติดต่อกับจังหวัดนครศรีธรรมราช จึงได้ชื่อว่า "งูปาล์ม" และได้ให้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trimeresurus wiroti เพื่อเป็นเกียรติให้แก่ น.อ.(พิเศษ) วิโรจน์ นุตพันธุ์ นักวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวไทย แต่แท้จริงแล้ว งูปาล์มพบได้ทั่วไปตั้งแต่ภาคใต้ของไทยไปจนถึงมาเลเซียตะวันออกและอินโดนีเซีย โดยตัวอย่างต้นแบบแรกพบที่เกาะชวา โดยที่ไม่มีชนิดย่อ.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูปาล์ม · ดูเพิ่มเติม »

งูแบล็กแมมบา

งูแบล็กแมมบา (Black mamba, Common black mamba, Black-mouthed mamba) งูพิษร้ายแรงมากชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dendroaspis polylepis อยู่ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) พบกระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา ในแถบตอนใต้และตอนกลาง งูแบล็กแมมบา มีรูปร่างเพรียวยาว มีลำตัวสีน้ำตาลเทา ท้องมีสีเทาขาวจนไปถึงสีเหลืองหรือเขียว เส้นขอบปากมีสีน้ำตาลดำ คอแบน ภายในปากสีดำสนิท มีต่อมพิษขนาดใหญ่ ตากลมโตขนาดใหญ่ มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 2 เมตร แต่มีขนาดยาวเต็มที่เกือบ 4 เมตร งูแบล็กแมมบาเป็นงูที่มักไม่ขึ้นต้นไม้ แต่จะหากินและอาศัยบนพื้นเป็นหลัก เป็นงูที่เลื้อยคลานได้ไวมาก โดยสามารถเลื้อยได้ไวถึง 20 กิโลเมตร/ชั่วโมง จึงถูกจัดให้เป็นงูที่ไวที่สุดในโลก นอกจากนี้แล้ว งูแบล็กแมมบายังได้ถูกจัดให้เป็นงูที่อันตรายและเป็นงูพิษที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา ด้วยความเป็นงูที่หากินบนพื้นเป็นหลัก คล่องแคล่วว่องไว อีกทั้งยังเป็นงูที่ไม่กลัวมนุษย์ มีอุปนิสัยดุร้ายก้าวร้าว เมื่อปะทะกับมนุษย์ซึ่ง ๆ หน้า จะไม่หลบหนีเหมือนงูชนิดอื่น ๆ โดยคำว่า "แมมบา" นั้น หมายถึง "โลงศพ" เนื่องจากมีส่วนหัวแลดูคล้ายโลงศพของชาวตะวันตก ซึ่งชื่อนี้มีนัยถึงถึง "ความตายที่มาเยือน" งูแบล็กแมมบา ใช้พิษในการหากินโดยใช้กัดเหยื่อให้ตาย แล้วจึงกลืนเข้าไปทั้งตัว ซึ่งได้แก่ กระต่าย, นก, ค้างคาว และสัตว์ฟันแทะ รวมถึงกบหรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำทั่วไป และยังกินงูด้วยกันเป็นอาหารได้อีกด้วย มีพฤติกรรมออกหากินในเวลากลางวัน พิษของงูแบล็กแมมบานั้นถือว่าร้ายแรงมาก ถูกจัดให้เป็นงูที่มีพิษอันตรายมากที่สุดติด 1 ใน 10 อันดับของโลก ก่อนหน้าที่จะมีการพัฒนาเซรุ่มแก้พิษนั้น ผู้ที่โดนกัดจะถึงแก่ความตายทั้งหมด โดยการกัดครั้งหนึ่งจะปล่อยพิษออกมาประมาณ 100-250 มิลลิกรัม มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ผู้ที่ถูกกัดจะเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจล้มเหลวในเวลาเพียง 20 นาที แต่โดยเฉลี่ยคือ 2-4 ชั่วโมง จากความล่าช้าของการรักษา งูแบล็กแมมบาสามารถที่จะฉกกัดได้อย่างว่องไว และสามารถขู่ แผ่แม่เบี้ย และชูหัวได้เหมือนกับงูเห่า (Naja spp.) หรืองูจงอาง (Ophiophagus hannah) ซึ่งอยู่ร่วมวงศ์กัน แม้จะไม่ใหญ่เท่า แต่ก็สามารถฉกและชูหัวได้สูงถึง 2 เมตร.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูแบล็กแมมบา · ดูเพิ่มเติม »

งูแมมบา

งูแมมบา (Mambas) เป็นงูพิษร้ายแรงมากสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Dendroaspis จัดอยู่ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา งูในสกุลงูแมมบานั้น เป็นงูที่มีลำตัวเรียวยาว มีส่วนหัวขนาดเล็ก มีตากลมโต มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 1.5-2 เมตร พบใหญ่ที่สุดได้ถึง 4 เมตร และเป็นงูที่มีความว่องไวมาก สามารถเลื้อยคลานได้เร็วถึง 12-20 กิโลเมตร/ชั่วโมง บนพื้นดิน จนถูกจัดให้เป็นงูที่เลื้อยไวที่สุดบนโลกมาแล้ว งูแมมบานั้น จะมีสีเดียวตลอดทั้งลำตัว โดยจะมีทั้งสีน้ำตาล, สีเขียว หรือเหลือบสีต่าง ๆ บนเกล็ด รวมถึงสีขาวอมเทาหรือเทาตุ่น ๆ ด้วย ในบางชนิด มีเกล็ดเรียบลื่น เกล็ดบนหัวมีขนาดใหญ่ มุมปากยาว ดวงตามีขนาดกลมโต มีความแตกต่างกันมากระหว่างเพศ โดยงูตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย เป็นงูที่ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ ดำรงชีวิตทั้งบนต้นไม้และพื้นดิน กินอาหารได้แก่ สัตว์ขนาดเล็กต่าง ๆ รวมทั้งงูด้วยกันเองด้วย งูแมมบานั้นได้ถูกอนุกรมวิธานออกเป็นชนิดได้ 4 ชนิด คือ.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูแมมบา · ดูเพิ่มเติม »

งูแมวเซา

งูแมวเซา เป็นงูพิษชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Daboia siamensis ในวงศ์ Viperidae.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูแมวเซา · ดูเพิ่มเติม »

งูแมวเซาอินเดีย

งูแมวเซาอินเดีย หรือ งูพิษรัสเซลล์ (botSomaweera A. 2007. Checklist of the Snakes of Sri Lanka. Peradeniya, Sri Lanka: Department of Zoology, Faculty of Science, University of Peradeniya. at. Retrieved 14 March 2007., Russell's viper at. Retrieved 20 October 2006.) งูพิษชนิดหนึ่ง ที่พบได้ในทวีปเอเชียในหลากหลายประเทศ จัดเป็นงูเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Daboia ในวงศ์ Viperidae โดยถูกตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่แพทริก รัสเซลล์ นักฟิสิกส์และธรรมชาติวิทยาชาวสกอต และชื่อสกุล Daboia มาจากภาษาฮินดีที่มีความหมายถึง "ซ่อนลวดลาย" หรือ "ผู้แฝงตัว"Weiner ESC, Simpson JA, Editors.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูแมวเซาอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

งูแสมรัง

งูแสมรัง เป็นสกุลของงูพิษ จำพวกงูทะเลสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hydrophis (/ไฮ-โดร-พิส/) ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) เป็นงูที่มีพิษร้ายแรงมากสกุลหนึ่ง.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูแสมรัง · ดูเพิ่มเติม »

งูแสมรังเกล็ดเบลเชอร์

งูแสมรังเกล็ดเบลเชอร์ (Faint-banded sea snake, Belcher's sea snake) เป็นงูชนิดหนึ่ง จำพวกงูทะเล ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) งูแสมรังเกล็ดเบลเชอร์ มีความยาวเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 0.5-1 เมตร (ประมาณ 20-40 นิ้ว) ความยาวของผู้ใหญ่ มีลำปล้องสีเข้มตัดสลับกันไปทั้งตลอดลำตัว งูแสมรังเกล็ดเบลเชอร์กระจายพันธุ์ทั่วในมหาสมุทรอินเดีย, ทะเลฟิลิปปิน, อ่าวไทย, นิวกินี จนถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย โดยถือว่าเป็นงูพิษที่มีพิษร้ายแรงมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก โดยมีพิษรุนแรงกว่างูไทปันโพ้นทะเล (Oxyuranus microlepidotus) ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกันถึง 100 เท่า โดยมีการประมาณกันว่า พิษเพียงน้อยนิดของงูแสมรังเกล็ดเบลเชอร์สามารถฆ่ามนุษย์ได้มากกว่า 1,000 ราย แต่โอกาสที่มีผู้ถูกกัดนั้นน้อยมาก เพราะตามธรรมชาติแล้วงูแสมรังเกล็ดเบลเชอร์มีนิสัยขี้อาย หาตัวยาก และปล่อยพิษในปริมาณที่น้อย มีเพียงชาวประมงโชคร้ายบางรายเท่านั้นที่โดนงูแสมรังเกล็ดเบลเชอร์ที่ติดอวนขึ้นมากัดเข้า และถ้าโชคร้ายหากถูกปล่อยพิษออกมา โอกาสรอดชีวิตนั้นมีน้อยมาก ผู้ที่โดนกัดจะมีอาการทางระบบกล้ามเนื้อเริ่มจากปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เป็นอัมพาตและมักเสียชีวิตจากอาการไตว.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูแสมรังเกล็ดเบลเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

งูแสงอาทิตย์

งูแสงอาทิตย์ (Sunbeam snake) เป็นงูไม่มีพิษ มีลำตัวยาวทรงกระบอก หัวแบนเรียว ตามีขนาดเล็ก ลำตัวมีความยาวประมาณ 120 เซนติเมตร ลำตัวสีดำถึงสีน้ำตาลเข้ม ส่วนท้องมีสีขาว ส่วนหัวแบนเรียว ตาเล็ก ลักษณะเด่นคือเกล็ดลำตัวเรียบเป็นเงาแวววาบสะดุดตาเมื่อสะท้อนแสงแดด อันเป็นที่มาของชื่อ พบได้ตั้งแต่ภาคใต้ของจีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยไม่มีชนิดย่อย ตัวอย่างต้นแบบแรกพบที่ชวา จัดเป็นงูโบราณจากลักษณะที่ยังคงปอดทั้งสองข้างเอาไว้ ซึ่งงูทั่วไปจะเหลือปอดซ้ายเพียงข้างเดียวเพื่อความสะดวกในการเก็บปอดภายในลำตัวแคบๆ ยาว ๆ มักพบเห็นได้ในพื้นที่ที่มีกิ้งก่า, กบ, หนู และสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ ซึ่งเป็นอาหาร รวมถึงกินงูด้วยกันชนิดอื่น เช่น ลูกงูเห่าจุดประกาย 7 WILD, งูแสงอาทิต.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูแสงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

งูไทปันธรรมดา

งูไทปันธรรมดา (Coastal taipan หรือ Common taipan) เป็นงูไทปันขนาดใหญ่ มีพิษร้ายแรงของวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า มันมีถิ่นกำเนิดในพื้นที่ชายฝั่งของทางเหนือและทางตะวันออกของประเทศออสเตรเลีย และเกาะนิวกินี มีความยาวได้ถึง 3 เมตร จากการศึกษาแอลดี 50 มันเป็นงูบกที่มีพิษร้ายแรงเป็นอันดับสามในโลก.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูไทปันธรรมดา · ดูเพิ่มเติม »

งูเส้นด้ายบาร์เบโดส

งูเส้นด้ายบาร์เบโดส (Barbados threadsnake) เป็นงูเส้นด้ายตาบอดสปีชีส์หนึ่งในวงศ์ Leptotyphlopidae เป็นงูขนาดเล็กที่สุดในโลก พบในเกาะในแคริบเบียนของประเทศบาร์เบโดส และพบในเมืองอาบูเกีย (Abu Qir) ในประเทศอียิปต์ http://species.asu.edu/2009_species04 งูชนิดนี้ได้รับการบรรยายและระบุแยกตัวเป็นสปีชีส์ในปี..

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูเส้นด้ายบาร์เบโดส · ดูเพิ่มเติม »

งูเหลือม (สกุล)

งูเหลือม หรือ งูหลาม (Pythons) เป็นสกุลของงูไม่มีพิษในวงศ์งูเหลือม (Pythonidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Python (/ไพ-ธอน/) มีทั้งหมด 10 ชนิด (ดูในตาราง) แพร่กระจายพันธุ์ทั้งแต่ทวีปแอฟริกา, เอเชีย และออสเตรเลีย ในแอฟริกาพบได้ตั้งแต่ใต้ทะเลทรายซาฮาราลงไป จนถึงแอฟริกาตอนใต้ และพบในเกาะมาดากัสการ์ ในเอเชีย พบได้ตั้งแต่อนุทวีปอินเดีย, เอเชียอาคเนย์ทั้งที่เป็นแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะกลางทะเล และบางส่วนในเอเชียตะวันออก เช่น ภาคใต้ของจีน, ฮ่องกง และเกาะไหหลำ เป็นงูที่ใช้พละกำลังจากกล้ามเนื้อที่ลำตัวรัดเหยื่อจนกระดูกหักและขาดใจตาย ก่อนจะกลืนกินเข้าไปทั้งตัว ในบางครั้งที่เหยื่อมีขนาดใหญ่อาจใช้เวลาหลายชั่วโมง โดยเหยื่อที่กินส่วนมากจะเป็นสัตว์เลือดอุ่น ทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหรือสัตว์ปีก แพร่ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ หาเหยื่อได้ทั้งบนดิน, ต้นไม้ และในน้ำ ซึ่งแตกต่างออกไปตามชนิด โดยคำว่า Python นั้น มาจากภาษากรีก คือคำว่า "πύθων/πύθωνας" มีที่มาจากเทพปกรณัมกรีก เมื่อมหาเทพซูสได้มีจิตปฏิพัทธ์ต่อ นางเลโต ทำให้ เทพีฮีรา มเหสีเอกเกิดความหึงหวงจึงกลั่นแกล้งด้วยการส่ง งูเหลือมที่เลี้ยงไว้ไปตามรังควาน นางจึงต้องอุ้มครรภ์หนีซอกซอนไปจนถึงเกาะดีลอส โปเซดอนมีความสงสารบันดาลให้เกาะผุดขึ้นในทะเล เพื่อให้นางได้ประสูติ เทพอพอลโล กับ เทพีอาร์เตมิส บนเกาะนั้น ทันทีที่ประสูติจากครรภ์มารดา เทพอพอลโล ก็จับงูเหลือมฆ่าทิ้งเสีย จึงได้รับการขนานนามว่า ไพธูส (Pytheus) ซึ่งแปลว่า “ผู้สังหารงูเหลือม”.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูเหลือม (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

งูเห่าน้ำ

งูเห่าน้ำ (Water cobras) เป็นสกุลของงูพิษสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Boulengerina ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) คำว่า Boulengerina ที่ใช้เป็นชื่อสกุลนั้น มาจากชื่อของจอร์จ อัลเบิร์ต บุนเลเยอร์ นักสัตววิทยาชาวเบลเยี่ยม-อังกฤษWallach, V., W. Wüster & D. Broadley 2009 In praise of subgenera: taxonomic status of cobras of the genus Naja Laurenti (Serpentes: Elapidae).

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูเห่าน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

งูเขียวพระอินทร์

ำหรับเขียวพระอินทร์อย่างอื่นดูที่: ปลาเขียวพระอินทร์ งูเขียวพระอินทร์ หรือ งูเขียวดอกหมาก (อังกฤษ: Golden tree snake; ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Chrysopelea ornata) เป็นงู ลักษณะลำตัวเรียวยาว ปราดเปรียว เกล็ดสีเขียวแกมเหลืองลายดำ สามารถเลื้อยไต่ไปบนกิ่งไม้ได้อย่างคล่องแคล่ว มีพิษอ่อนแต่ไม่ร้ายแรงมาก ผู้ถูกกัดจะมีอาการอักเสบ และบวมที่บริเวณบาดแผล.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูเขียวพระอินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

งูเขียวหางไหม้

ำหรับงูเขียวจำพวกอื่น ดูที่: งูเขียว งูเขียวหางไหม้ (Green pit vipers, Asian pit vipers Mehrtens JM.) เป็นงูที่อยู่ในสกุล Trimeresurus ในวงศ์งูพิษเขี้ยวพับ (Viperidae) มีรูปร่างโดยรวม คือ มีหัวยาวมนใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยม คอเล็ก ตัวอ้วนสั้น ปลายหางมีสีแดง ลำตัวมีสีเขียวอมเหลืองสด บางตัวมีสีเขียวอมน้ำเงิน หางสีแดงสด บางตัวมีหางสีแดงคล้ำเกือบเป็นสีน้ำตาล อันเป็นที่มาของชื่อ จัดเป็นงูพิษอ่อน ผิดไปจากงูสกุลหรือชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน โดยผู้ที่ถูกกัดจะไม่ถึงกับเสียชีวิต นอกจากเสียแต่ว่ามีโรคหรืออาการอื่นแทรกแซง โดยผู้ที่ถูกกัดจะมีอาการปวดอย่างรุนแรงทันทีที่ถูกกัด แล้วค่อย ๆหายใน 5-6 ชั่วโมง บริเวณที่ถูกกัดจะบวมอย่างรวดเร็วในระยะ 3-4 วันแรก จากนั้นจะค่อย ๆ ยุบบวมในเวลา 5-7 วัน อาจจะมีเลือดออกจากรอยเขี้ยว แต่ไม่มาก หากมีอาการมากกว่านี้ถือว่าเป็นอาการหนัก เป็นงูที่เลื้อยช้า ๆ ไม่รวดเร็ว มีนิสัยดุและฉกกัดเมื่อเข้าใกล้ ชอบอาศัยตามซอกชายคา, กองไม้, กระถางต้นไม้, กอหญ้า ออกหากินในเวลากลางคืนทั้งบนต้นไม้ และตามพื้นดินที่มีหญ้ารก ๆ โดยกิน นก, จิ้งจก, ตุ๊กแก, สัตว์ฟันแทะ รวมถึงสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร ขณะเกาะนอนบนกิ่งไม้ จะใช้ลำตัวและหางรัดพันยึดกับกิ่งไม้ไว้ โดยปกติ เป็นงูที่ออกลูกเป็นตัวครั้งละประมาณ 8-12 ตัว แต่ก็มีบางชนิดเหมือนกันที่ออกลูกเป็นไข่ พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงหมู่เกาะแปซิฟิก พบประมาณ 35 ชนิด ในประเทศไทย พบชุกชุมในภาคกลางและภาคตะวันออก เช่น งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง (T. trigonocephalus), งูเขียวหางไหม้ลายเสือ (T. purpureomaculatus), งูหางแฮ่มกาญจน์ (T. kanburiensis), งูปาล์ม (T. puniceus) เป็นต้น โดยมีชนิดที่ค้นพบใหม่ คือ งูเขียวหางไหม้ภูเก็ต (T. phuketensis) ที่พบในป่าดิบชื้น ในจังหวัดภูเก็ต เมื่อเดือนตุลาคม..

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูเขียวหางไหม้ · ดูเพิ่มเติม »

งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง

งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง (Green pit viper) เป็นงูพิษชนิดหนึ่ง ลำตัวสีเขียวอมเหลืองสด บนตัวสีเขียวอมน้ำเงิน หางสีแดงชัดเจน ท้องเหลืองหรือขาว งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง ปกติเลื้อยช้าๆไม่รวดเร็ว มีนิสัยดุ สามารถจะฉกศัตรูเมื่อศัตรูเข้าใกล้ได้อย่างรวดเร็ว ชอบนอนขดอยู่ตามพุ่มไม้เตี้ยๆ กอหญ้า กระถางต้นไม้ขณะเกาะนอนบนไม้ จะใช้ลำตัวและหางรัดพันยึดกับกิ่งไม้ไว้ ออกหากินในเวลากลางคืนทั้งตามพื้นดินที่มีหญ้ารกๆ และบนต้นไม้ ชอบกินหนู กบ เขียด เป็นอาหาร ออกลูกเป็นตัวครั้งละ 7-15 ตัว พบงูหางเขียวไหม้ท้องเหลืองชุกชุมในจังหวัดภาคกลาง เช่น กรุงเทพฯ นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี อ่างทอง นอกจากประเทศไทยแล้วยังพบในอินเดีย จีน พม่า และ ศรีลังก.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและงูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ตะพาบม่านลาย

ตะพาบม่านลาย (Narrow headed softshell turtles) เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลานจำพวกตะพาบ 3 ชนิด ใช้ชื่อสกุลว่า Chitra (/ชิ-ตร้า/) มีรูปร่างโดยรวมคือ เป็นตะพาบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก หัวและตามีขนาดเล็ก เมื่อโตเต็มที่ ขนาดกระดองยาวได้ถึงเมตรเศษ น้ำหนักกว่า 120–200 กิโลกรัม กระดองแบนเรียบสีครีมหรือสีเนื้อ มีจุดเด่นที่เป็นลักษณะสำคัญ คือ มีลายสีน้ำตาลแลดูสวยงาม ที่ขนาดและลักษณะแตกต่างออกไปในช่วงวัยและชนิดพันธุ์ หัวเล็ก เท้าเป็นแผ่นผังผืด มีเล็บใหญ่แข็งแรง กรามแข็งแรงใช้สำหรับขบกัดสัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็งและสัตว์มีกระดูกสันหลังบางประเภท เช่น กบหรือเขียด เป็นอาหารได้เป็นอย่างดี พบกระจายพันธุ์เฉพาะแม่น้ำขนาดใหญ่บางสายเท่านั้น ในอนุทวีปอินเดียและภูมิภาคอินโดจีน เช่น ไทย, พม่า, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ปัจจุบันจำแนกออกได้ 3 ชนิด คือ.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและตะพาบม่านลาย · ดูเพิ่มเติม »

ตะพาบไบคอลโลไซต์

ตะพาบไบคอลโลไซต์ (Bicallosite softshell turtles) เป็นสกุลของตะพาบในสกุล Rafetus (/รา-เฟ-ตุส/) เป็นตะพาบที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ในทวีปเอเชีย เป็นตะพาบขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่งของโลก เมื่อโตเต็มที่น้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม มีความยาวกว่า 0.9144 เมตร และมีอายุยืนยาวได้มากกว่า 100 ปี ปัจจุบัน ได้ถูกจำแนกออกเป็น 2 ชนิด โดยอีกชนิดหนึ่งนั้น คือ ตะพาบฮหว่านเกี๊ยม (Rafetus leloii, ชื่อพ้อง R. vietnamensis) มีตัวอย่างที่มีชีวิตที่รับรู้กันในปัจจุบันเพียงตัวเดียวเท่านั้น คือ ที่ทะเลสาบฮหว่านเกี๊ยม ในประเทศเวียดนาม โดยถือเป็นชื่อพ้องรองของ ตะพาบยักษ์แยงซีเกียง (Rafetus swinhoei) โดยนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและตะพาบไบคอลโลไซต์ · ดูเพิ่มเติม »

ตับ

ตับ (liver) เป็นอวัยวะสำคัญที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์บางชนิด ในร่างกายมนุษย์ อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม มีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการกำจัดพิษในเมแทบอไลท์ (metabolites) (สารที่ได้จากขบวนการเมแทบอลิซึม) การสังเคราะห์โปรตีน และการผลิตสารชีวเคมีต่างๆที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ถ้าตับล้มเหลว หน้าที่ของตับไม่สามารถทดแทนได้ในระยะยาว โดยที่เทคนิคการฟอกตับ (liver dialysis) อาจช่วยได้ในระยะสั้น ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมแทบอลิซึมหลายประการในร่างกาย เช่นการควบคุมปริมาณไกลโคเจนสะสม การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง การสังเคราะห์พลาสมาโปรตีน การผลิตฮอร์โมน และการกำจัดพิษ ตับยังเป็นต่อมช่วยย่อยอาหารโดยผลิตน้ำดีซึ่งเป็นสารประกอบอัลคาไลน์ช่วยย่อยอาหารผลิตโดยขบวนการผสมกับไขมัน (emulsification of lipids) ถุงนํ้าดีจะใช้เป็นที่เก็บน้ำดีนี้ ถุงน้ำดีมีลักษณะเป็นถุงอยู่ใต้ตับ ก่อนอาหารถุงน้ำดีจะป่องมีขนาดเท่าผลลูกแพร์เล็กเต็มไปด้วยน้ำดี หลังอาหาร น้ำดีจะถูกนำไปใช้หมด ถุงน้ำดีจะแฟบ เนื้อเยื่อของตับมีความเป็นพิเศษอย่างมาก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย hepatocytes ที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีปริมาณสูง รวมทั้งการสังเคราะห์และการแตกตัวของโมเลกุลที่ซับซ้อนขนาดเล็กที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตปกติ หน้าที่การทำงานทั้งหมดอาจแตกต่างกันไป แต่ในตำราประมาณว่ามีจำนวนประมาณ 500 อย่าง.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและตับ · ดูเพิ่มเติม »

ตับอ่อน

ตับอ่อน (pancreas) เป็นอวัยวะซึ่งเป็นต่อมในระบบย่อยอาหารและระบบต่อมไร้ท่อในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ในมนุษย์ ตับอ่อนอยู่ในช่องท้องหลังกระเพาะอาหาร เป็นต่อมไร้ท่อซึ่งผลิตฮอร์โมนสำคัญหลายชนิด รวมถึงอินซูลิน กลูคากอน โซมาโตสเตติน และแพนคริเอติกพอลิเพพไทด์ซึ่งไหลเวียนอยู่ในเลือด ตับอ่อนยังเป็นอวัยวะย่อยอาหาร โดยหลั่งน้ำย่อยตับอ่อนซึเอนไซม์ย่อยอาหารที่ช่วยการย่อยและดูดซึมสารอาหารในลำไส้เล็ก เอนไซม์เหล่านี้ช่วยสลายคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและลิพิดในไคม์ (chyme) และตับอ่อนมักหลั่งเอนไซม์ คือ trypsinogen chymotrypsinogen procarboxypeptidase.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและตับอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

ตัวกระตุ้น

ในสรีรวิทยา ตัวกระตุ้น"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ stimulus ว่า "ตัวกระตุ้น" หรือ "สิ่งเร้า" หรือ ตัวเร้า หรือ สิ่งเร้า หรือ สิ่งกระตุ้น (stimulus, พหูพจน์ stimuli) เป็นความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่ตรวจจับได้โดยสิ่งมีชีวิตหรืออวัยวะรับรู้ความรู้สึก โดยปกติ เมื่อตัวกระตุ้นปรากฏกับตัวรับความรู้สึก (sensory receptor) ก็จะก่อให้เกิด หรือมีอิทธิพลต่อปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ของเซลล์ ผ่านกระบวนการถ่ายโอนความรู้สึก (transduction) ตัวรับความรู้สึกเหล่านี้สามารถรับข้อมูลทั้งจากภายนอกร่างกาย เช่นตัวรับสัมผัส (touch receptor) ในผิวหนัง หรือตัวรับแสงในตา และทั้งจากภายในร่างกาย เช่น ตัวรับสารเคมี (chemoreceptors) และตัวรับแรงกล (mechanoreceptors) ตัวกระตุ้นภายในมักจะเป็นองค์ประกอบของระบบการธำรงดุล (homeostaticภาวะธำรงดุล (Homeostasis) เป็นคุณสมบัติของระบบหนึ่ง ๆ ที่ควบคุมสิ่งแวดล้อมภายในของระบบ และมักจะดำรงสภาวะที่สม่ำเสมอและค่อนข้างจะคงที่ขององค์ประกอบต่าง ๆ เช่นอุณหภูมิและค่าความเป็นกรด control system) ของร่างกาย ส่วนตัวกระตุ้นภายนอกสามารถก่อให้เกิดการตอบสนองแบบทั่วระบบของร่างกาย เช่นการตอบสนองโดยสู้หรือหนี (fight-or-flight response) การจะตรวจพบตัวกระตุ้นได้นั้นขึ้นอยู่กับระดับของตัวกระตุ้น คือต้องเกินระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน (absolute thresholdในประสาทวิทยาและจิตฟิสิกส์ ระดับขีดเริ่มเปลี่ยนสัมบูรณ์ (absolute threshold) เป็นระดับที่ต่ำสุดของตัวกระตุ้นที่จะตรวจพบได้ แต่ว่า ในระดับนี้ สัตว์ทดลองบางครั้งก็ตรวจพบตัวกระตุ้น บางครั้งก็ไม่พบ ดังนั้น การจำกัดความอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระดับของตัวกระตุ้นที่ต่ำที่สุดที่สามารถตรวจพบได้ 50% ในโอกาสทั้งหมดที่ตรวจ) ถ้าสัญญาณนั้นถึงระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน ก็จะมีการส่งสัญญาณนั้นไปยังระบบประสาทกลาง ซึ่งเป็นระบบที่รวบรวมสัญญาณต่าง ๆ และตัดสินใจว่าจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นอย่างไร แม้ว่าร่างกายโดยสามัญจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้น แต่จริง ๆ แล้ว ระบบประสาทกลางเป็นผู้ตัดสินใจในที่สุดว่า จะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นนั้นหรือไม.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและตัวกระตุ้น · ดูเพิ่มเติม »

ตัวรับรู้สารเคมี

ในระบบประสาท ตัวรับรู้สารเคมี (chemoreceptor, chemosensor) เป็นปลายประสาทรับความรู้สึกที่ถ่ายโอนข้อมูลทางเคมีไปเป็นศักยะงานเพื่อส่งไปยังระบบประสาทกลาง โดยทั่ว ๆ ไปก็คือ เป็นตัวรับรู้สิ่งเร้าคือสารเคมีในสิ่งแวดล้อม เมื่อสิ่งเร้าในสิ่งแวดล้อมสำคัญต่อการรอดชีวิต สิ่งมีชีวิตจะต้องตรวจจับสิ่งเร้านั้นได้ และเพราะกระบวนการของชีวิตทั้งหมดมีกระบวนการทางเคมีเป็นมูลฐาน จึงเป็นเรื่องธรรมดาว่า การตรวจจับและการรับรู้สิ่งเร้าภายนอกจะเป็นปรากฏการณ์ทางเคมี แน่นอนว่า สารเคมีในสิ่งแวดล้อมสำคัญต่อการรอดชีวิต และการตรวจจับสิ่งเร้าเคมีจากภายนอก อาจเชื่อมกับการทำงานทางเคมีของเซลล์โดยตรง การรับรู้สารเคมีสำคัญในการตรวจหาสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งอาหาร ที่อยู่ สัตว์ชนิดเดียวกันรวมทั้งคู่ และสัตว์ล่าเหยื่อ ยกตัวอย่างเช่น สำหรับสัตว์ล่าเหยื่อ เหยื่ออาจจะได้ทิ้งกลิ่นหรือฟีโรโมนไว้ในอากาศหรือบนพื้นผิวที่เคยอยู่ เซลล์ที่ศีรษะ ปกติในทางเดินอากาศหรือปาก จะมีตัวรับสารเคมีบนผิวที่จะเกิดปฏิกิริยาเมื่อสัมผัสกับสารที่เป็นเป้าหมาย แล้วก็จะส่งข้อมูลทางเคมีหรือทางเคมีไฟฟ้าไปยังศูนย์ คือสมองหรือไขสันหลัง ระบบประสาทกลางก็จะตอบสนองด้วยปฏิกิริยาทางกายเพื่อล่า/หาอาหารซึ่งช่วยให้รอดชีวิต.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและตัวรับรู้สารเคมี · ดูเพิ่มเติม »

ตัวรับแรงกล

ตัวรับแรงกล (mechanoreceptor) เป็นปลายประสาทรับความรู้สึกที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นแรงกล เช่น สัมผัสหรือเสียง มีตัวรับแรงกลประเภทต่าง ๆ ในระบบประสาทมากมายโดยต่อไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น ในระบบรับความรู้สึกทางกาย ตัวรับแรงกลทำให้รู้สัมผัสและอากัปกิริยาได้ (โดยมี Pacinian corpuscle เป็นตัวไวแรงกลมากที่สุดในระบบ) ในการรับรู้สัมผัส ผิวหนังที่ไม่มีขน/ผม (glabrous skin) ที่มือและเท้า ปกติจะมีตัวรับแรงกล 4 อย่างหลัก ๆ คือ Pacinian corpuscle, Meissner's corpuscle, Merkel nerve ending, และ Ruffini ending และผิวที่มีขนก็มีตัวรับแรงกล 3 อย่างเหมือนกันยกเว้น Meissner's corpuscle บวกเพิ่มกับตัวรับแรงกลอื่น ๆ รวมทั้งตัวรับความรู้สึกที่ปุ่มรากผม ในการรับรู้อากัปกิริยา ตัวรับแรงกลช่วยให้รู้ถึงแรงหดเกร็งของกล้ามเนื้อและตำแหน่งของข้อต่อ มีประเภทรวมทั้ง muscle spindle 2 ชนิด, Golgi tendon organ, และ Joint capsule ในบรรดาตัวรับแรงกลทั้งหมด เซลล์ขนในคอเคลียของระบบการได้ยินไวที่สุด โดยมีหน้าที่ถ่ายโอนคลื่นเสียงในอากาศเป็นสัญญาณประสาทเพื่อส่งไปยังสมอง แม้แต่เอ็นปริทันต์ (periodontal ligament) ก็มีตัวรับแรงกลด้วย ซึ่งช่วยให้กรามผ่อนแรงเมื่อกัดถูกวัตถุที่แข็ง ๆ งานวิจัยเรื่องตัวรับแรงกลในมนุษย์ได้เริ่มขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 ที่นักวิชาการคู่หนึ่ง (Vallbo และ Johansson) วัดปฏิกิริยาของตัวรับแรงกลที่ผิวหนังกับอาสาสมัคร ตัวรับแรงกลที่ผิวหนังรวมทั้ง Pacinian corpuscle (ป้ายที่ตรงกลางล่าง) และ Meissner’s corpuscle (ป้ายที่บนขวา) ซึ่งช่วยให้รับรู้สัมผัสที่ผิวหนัง.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและตัวรับแรงกล · ดูเพิ่มเติม »

ตุ๊กแกหางใบไม้

ตุ๊กแกหางใบไม้ หรือ ตุ๊กแกหางแบน (Leaf-tail gecko, Leaf-tailed gecko, Flat-tailed gecko) เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกตุ๊กแก ที่อยู่ในสกุล Uroplatus โดยที่คำว่า Uroplatus เป็นภาษาละตินมาจากภาษากรีก 2 คำ คือ "ourá" (οὐρά) หมายถึง "หาง" และ "platys" (πλατύς) หมายถึง "แบน" ตุ๊กแกหางใบไม้ เป็นตุ๊กแกที่มีลักษณะเด่น คือ มีร่างกายที่บิดงอและแบนราบ ทำให้มีลักษณะกลมกลืนไปกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างดีเยี่ยม โดยเฉพาะส่วนหางที่แบนราบและมีลักษณะคล้ายกับใบไม้มาก จึงเป็นสัตว์ที่สามารถแฝงตัวตามธรรมชาติได้เป็นอย่างดี เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน มีดวงตากลมโตจึงสามารถมองเห็นในเวลากลางคืนได้เป็นอย่างดี โดยที่ไม่มีเปลือกตา ตุ๊กแกหางใบไม้มีความสามารถในการมองในที่มืดดีกว่ามนุษย์ถึง 350 เท่า และสามารถเห็นสีต่าง ๆ ได้แม้ในแสงจันทร์สลัว ๆ กินแมลงต่าง ๆ รวมถึงสัตว์ไม่มีกระดูกชนิดต่าง ๆ เป็นอาหารเหมือนตุ๊กแกทั่วไป ที่ฝ่าตีนและนิ้วมีปุ่มสุญญากาศใช้ยึดเกาะติดกับผนังได้เป็นอย่างดี โดยพฤติกรรมมักจะอยู่นิ่ง ๆ ทำตัวกลมกลืนไปกับต้นไม้หรือใบไม้ มีขนาดตั้งแต่ 30 เซนติเมตร รวมทั้งส่วนหาง จนถึง 10 เซนติเมตร ซึ่งเป็นขนาดเล็กสุด ตัวเมียวางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง จัดเป็นสัตว์เฉพาะถิ่น ที่พบได้บนเกาะมาดากัสการ์ที่เดียวเท่านั้น อาศัยอยู่ในป่าทั่วไปทั้งป่าดิบ หรือป่าเสื่อมโทรม.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและตุ๊กแกหางใบไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ

ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ (transitional fossil) เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่เหลืออยู่ของสิ่งมีชีวิตใดก็ได้ ที่มีลักษณะสืบสายพันธุ์ซึ่งทั้งกลุ่มสิ่งมีชีวิตบรรพบุรุษของมันและกลุ่มลูกหลานของมันมีร่วมกัน ซึ่งเป็นหลักฐานที่สำคัญเป็นเศษ ในกรณีที่กลุ่มลูกหลานมีกายวิภาคและการดำรงชีวิตที่ต่างกันอย่างมากจากกลุ่มบรรพบุรุษ ซากดึกดำบรรพ์เช่นนี้เป็นเครื่องเตือนใจว่า การแบ่งหน่วยอนุกรมวิธานเป็นอะไรที่มนุษย์สร้างขึ้นในภายหลัง แล้วกำหนดใส่สิ่งมีชีวิตที่มีมาก่อนและมีความแตกต่างแบบต่อเนื่อง ปกติจะไม่มีทางรู้ได้ว่า ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพหนึ่ง ๆ อยู่ใกล้จุดที่สิ่งมีชีวิตกลุ่มต่าง ๆ วิวัฒนาการเบนออกจากกันแค่ไหน เพราะบันทึกซากดึกดำบรรพ์ไม่สมบูรณ์ ดังนั้น จึงไม่สามารถสมมุติได้ว่า สิ่งมีชีวิตช่วงเปลี่ยนสภาพหนึ่งเป็นบรรพบุรุษโดยตรงของกลุ่มสิ่งมีชีวิตต่อ ๆ มา แม้นักวิทยาศาสตร์อาจจะใช้มันเป็นแบบของบรรพบุรุษ ในปี..

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ซาลาแมนเดอร์

ซาลาแมนเดอร์ (salamander) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ จัดอยู่ในอันดับ Caudata และ Urodela.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและซาลาแมนเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ซานเตียโก รามอน อี กาฮาล

ซานเตียโก รามอน อี กาฮาล (Santiago Ramón y Cajal) ForMemRS (1 พฤษภาคม 2395 – 18 ตุลาคม 2477) เป็นแพทย์ อาจารย์ พยาธิแพทย์ นักมิญชวิทยาและนักประสาทวิทยาศาสตร์ชาวสเปน ได้รับรางวัลรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปี..1906 (พ.ศ. 2449) จากการศึกษาระบบประสาทด้วยการย้อมสี เป็นบุตรของ คุสโต รามอน กาซาซุส กับอันโตเนีย กาฮาล การสำรวจรุ่นบุกเบิกของเขาเกี่ยวกับโครงสร้างจุลทรรศน์ของสมอง เป็นงานต้นฉบับในประสาทวิทยาศาสตร์ จึงได้รับการพิจารณาว่าเป็นบิดาของประสาทวิทยาศาสตร์ เขามีความชำนาญในการวาดรูปและภาพวาดเซลล์สมองเป็นร้อย ๆ ของเขาก็ยังถูกใช้ในการศึกษาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและซานเตียโก รามอน อี กาฮาล · ดูเพิ่มเติม »

ซีกสมอง

ซีกสมอง หรือ ซีกสมองใหญ่' (cerebral hemisphere, hemispherium cerebri) เป็นคู่ของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ที่แยกออกจากกันโดยระนาบแบ่งซ้ายขวา คือ medial longitudinal fissure (ช่องตามยาวแนวกลาง) ดังนั้น จึงพรรณนาสมองได้ว่าแบ่งออกเป็นสมองซีกซ้าย (left cerebral hemisphere) และสมองซีกขวา (right cerebral hemisphere) สมองแต่ละซีกมีชั้นด้านนอกเป็นเนื้อเทาที่เรียกว่าเปลือกสมอง (cerebral cortex) มีชั้นด้านในเป็นเนื้อขาวที่พยุงรับชั้นด้านนอก.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและซีกสมอง · ดูเพิ่มเติม »

ปมประสาทฐาน

ปมประสาทฐาน หรือ Basal ganglia หรือ basal nuclei (nuclei basales, ตัวย่อ BG) เป็นกลุ่มของนิวเคลียสที่อยู่ในเขตต่าง ๆ ของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ทำกิจหน้าที่เป็นหน่วยเดียวกัน นิวเคลียสเหล่านั้นอยู่ที่ฐานของซีรีบรัม และมีการเชื่อมต่อกันอย่างหนาแน่นกับเปลือกสมอง ทาลามัส และเขตอื่น ๆ ในสมอง basal ganglia มีบทบาทในหน้าที่หลายอย่างรวมทั้ง การสั่งการเคลื่อนไหวใต้อำนาจจิตใจ การเรียนรู้เชิงกระบวนวิธี (procedural learning) ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมซ้ำซากหรือพฤติกรรมเป็นนิสัย เป็นต้นว่าการขบฟัน การเคลื่อนไหวของตา กิจทางประชาน (cognitive functions) และกิจที่เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก ในปัจจุบัน ทฤษฎีที่ได้รับความนิยมแสดงความเกี่ยวข้องของ basal ganglia ในการเลือกการกระทำ (action selection) ซึ่งก็คือ การตัดสินใจว่า ในบรรดาหลายพฤติกรรมที่เลือกได้ จะลงมือกระทำพฤติกรรมอะไรในเวลานั้น ๆ งานวิจัยแบบทดลองแสดงว่า basal ganglia มีอิทธิพลแบบยับยั้ง (Inhibition) ในระบบสั่งการหลายระบบ และว่า เมื่อการยับยั้งนั้นมีการระงับ ระบบสั่งการหนึ่ง ๆ จึงจะสามารถเริ่มปฏิบัติการได้ การเลือกพฤติกรรมที่เกิดขึ้นใน basal ganglia ได้รับอิทธิพลจากสัญญาณจากส่วนต่าง ๆ จำนวนมากในสมอง รวมทั้ง prefrontal cortex ซึ่งมีบทบาทสำคัญใน executive functions ส่วนประกอบหลักของ basal ganglia ก็คือ striatum (caudate nucleus และ putamen), globus pallidus (หรือเรียกว่า pallidum), substantia nigra, nucleus accumbens, และ subthalamic nucleus.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและปมประสาทฐาน · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทกายวิภาคศาสตร์

มหกายวิภาคของสมองมนุษย์ ประสาทกายวิภาคศาสตร์ (Neuroanatomy) เป็นสาขาหนึ่งของวิชากายวิภาคศาสตร์ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับการจัดเรียงโครงสร้างทางกายวิภาคของระบบประสาท ซึ่งในสัตว์มีกระดูกสันหลังจะประกอบเส้นประสาทจำนวนมากที่กระจายตัวจากสมองไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้งโครงสร้างภายในของสมองซึ่งมีความซับซ้อนมาก การศึกษาประสาทกายวิภาคศาสตร์จึงมีการพัฒนาอย่างเป็นระเบียบในตัวมันเอง และยังเป็นสาขาวิชาที่มีการศึกษาเป็นพิเศษในวิชาประสาทวิทยาศาสตร์ การอธิบายความแตกต่างของโครงสร้างและส่วนของสมองจะเน้นไปถึงการศึกษาการทำงานของมัน ดังเช่นการศึกษาของนักประสาทวิทยาศาสตร์จะมาจากการศึกษาความผิดปกติ (damage หรือ lesion) ของสมองในแต่ละส่วนว่ามีผลอย่างไรต่อพฤติกรรมหรือการทำงานของประสาท.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและประสาทกายวิภาคศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์

Koch 2004, Figure 1.1 ''The Neuronal Correlates of Consciousness'' p. 16. ประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์ (neural correlates of consciousness, ตัวย่อ NCC) คือเซตที่เล็กที่สุดของปรากฏการณ์ในเซลล์ประสาท และการประกอบกันของเซลล์ประสาทพอที่จะให้เกิดอารมณ์ที่รับรู้ (conscious percept) นักวิทยาศาสตร์ประสาทใช้วิธีการทดลองเป็นหลักเพื่อที่จะค้นพบประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์ เซตได้รับการกำหนดให้เล็กที่สุดเพราะว่า ถ้าสมองเป็นเพียงธรรมชาติเดียวที่ก่อให้เกิดการรับรู้อารมณ์ สิ่งที่จะต้องสืบหาก็คือ ส่วนไหนของสมองเป็นส่วนสำคัญให้เกิดการรู้อารมณ.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทสัมผัส

ประสาทสัมผัส (Sense)"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" ให้ความหมายของ sense ว่า ความรู้สึก, การรับรู้, การกำหนดรู้, ประสาทสัมผัส เป็นสมรรถภาพในสรีระของสิ่งมีชีวิตที่ให้ข้อมูลเพื่อให้เกิดการรับรู้ (perception) มีการศึกษาประเด็นเกี่ยวกับการทำงาน การจำแนกประเภท และทฤษฎีของประสาทสัมผัส ในวิชาหลายสาขา โดยเฉพาะในวิทยาศาสตร์ประสาท จิตวิทยาปริชาน (หรือประชานศาสตร์) และปรัชญาแห่งการรับรู้ (philosophy of perception) ระบบประสาทของสัตว์นั้นมีระบบรับความรู้สึกหรืออวัยวะรับความรู้สึก สำหรับความรู้สึกแต่ละอย่าง มนุษย์เองก็มีประสาทสัมผัสหลายอย่าง การเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การได้กลิ่น การถูกต้องสัมผัส เป็นประสาทสัมผัสห้าทางที่รู้จักกันมาตั้งแต่โบราณ แต่ว่า ความสามารถในการตรวจจับตัวกระตุ้นอื่น ๆ นอกเหนือจากนั้นก็ยังมีอยู่ รวมทั้ง อุณหภูมิ ความรู้สึกเกี่ยวกับเคลื่อนไหว (proprioception) ความเจ็บปวด (nociception) ความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัว และความรู้สึกเกี่ยวกับตัวกระตุ้นภายในต่าง ๆ (เช่นมีเซลล์รับความรู้สึกเชิงเคมี คือ chemoreceptor ที่ตรวจจับระดับความเข้มข้นของเกลือและคาร์บอนไดออกไซด์ ที่อยู่ในเลือด) และความสามารถต่าง ๆ เหล่านี้สามารถเรียกว่าเป็นประสาทสัมผัสโดยต่างหากได้เพียงไม่กี่อย่าง เพราะว่า ประเด็นว่า อะไรเรียกว่า ประสาทสัมผัส (sense) ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ทำให้ยากที่จะนิยามความหมายของคำว่า ประสาทสัมผัส อย่างแม่นยำ สัตว์ต่าง ๆ มีตัวรับความรู้สึกเพื่อที่จะสัมผัสโลกรอบ ๆ ตัว มีระดับความสามารถที่ต่าง ๆ กันไปแล้วแต่สปีชีส์ เมื่อเทียบกันแล้ว มนุษย์มีประสาทสัมผัสทางจมูกที่ไม่ดี และสัตว์เหล่าอื่นก็อาจจะไม่มีประสาทสัมผัส 5 ทางที่กล่าวถึงไปแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง สัตว์บางอย่างอาจจะรับข้อมูลเกี่ยวกับตัวกระตุ้นและแปลผลข้อมูลเหล่านั้นต่างไปจากมนุษย์ และสัตว์บางชนิดก็สามารถสัมผัสโลกโดยวิธีที่มนุษย์ไม่สามารถ เช่นมีสัตว์บางชนิดสามารถสัมผัสสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก สามารถสัมผัสแรงดันน้ำและกระแสน้ำ.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและประสาทสัมผัส · ดูเพิ่มเติม »

ปลา

ปลา (อังกฤษ: Fish) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอ.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและปลา · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดูกอ่อน

ปลากระดูกอ่อน (ชั้น: Chondrichthyes; Cartilaginous fish) เป็นชั้นของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีโครงสร้างกระดูกประกอบไปด้วยเซลล์กระดูกอ่อนอย่างเดียว โดยมีหินปูนมาประกอบเป็นบางส่วน ส่วนมากมีเหงือกแยกออกเป็นช่อง 5 ช่อง มีเกล็ดแบบพลาคอยด์ ที่จะไม่โตไปตามตัว มีลักษณะสากเมื่อสัมผัส ตัวผู้มีรยางค์เพศที่ครีบท้องเป็นติ่งยื่นเรียก แคลสเปอร์ หรือที่ในภาษาไทยเรียก เดือย โดยมากจะออกลูกเป็นตัว ขากรรไกรแยกออกจากกะโหลก ปลาจำพวกนี้พบทั่วโลกประมาณ 800 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ ส่วนมากเป็นปลาทะเล ในน้ำจืดมีเพียงไม่กี่สิบชนิด มีหลายอันดับ หลายวงศ์ หลายสกุล โดยปลาในกลุ่มปลากระดูกอ่อนนี้ที่รู้จักกันดี ก็ได้แก่ ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน เป็นต้น ปลากระดูกอ่อนส่วนใหญ่มีรูปร่างเรียวยาว ยกเว้น ปลากระเบน ที่มีรูปร่างแบน ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เช่น ปลากระเบนน้ำจืด มีขนาดแตกต่างกันตามแต่ละสกุล แต่ละชนิด ตั้งแต่มีความยาวเพียงไม่ถึงหนึ่งฟุต จนถึง 20 เมตร หนักถึง 34 ตัน คือ ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและปลากระดูกอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาก้างพระร่วง

ปลาก้างพระร่วง (glass catfish, ghost catfish, phantom catfish, Thai glass catfish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในสกุล Kryptopterus นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่าจะนำมาบริโภค พบได้ทั่วไปในตลาดซื้อขายปลาน้ำจืดสวยงามโดยเป็นปลาส่งออกที่ขึ้นชื่อชนิดหนึ่ง แต่อนุกรมวิธานของปลาชนิดนี้เป็นที่สับสนกันมานานและเพิ่งได้รับการจำแนกอย่างชัดเจนในปี..

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและปลาก้างพระร่วง · ดูเพิ่มเติม »

ปลามีเกราะ

ปลามีเกราะ หรือ ปลาหุ้มเกราะ (Armored fish) เป็นปลายุคก่อนประวัติศาสตร์ในชั้น Placodermi หรือ Placoderm ซึ่งปัจจุบันสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว บรรพบุรุษของปลาถือกำเนิดขึ้นมาในยุคออร์โดวิเชียน (500 ล้านปีก่อน) โดยวิวัฒนาการมาจากสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า แอมฟิออกซัส ที่มีกระดูกอ่อนเป็นกระดูกแกนหลักในร่างกาย และกลายมาเป็นปลาปากกลมที่ไม่มีขากรรไกร หลังจากนั้นก็กลายมาเป็นปลาที่มีเกล็ดแข็งเหมือนเกราะหนาหุ้มตัว จากนั้นในยุคดีโวเนียน (360 ล้านปีก่อน) จึงเป็นปลาที่มีเกล็ดหุ้มร่างกายอย่างหนาแน่นคล้ายชุดเกราะ มีขากรรไกร ก็คือ ปลามีเกราะปรากฏขึ้นมา โดยแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ ๆ คือ เกราะบริเวณส่วนหัว และเกราะบริเวณลำตัว ปลามีเกราะมีกระจายพันธุ์แพร่หลายทั้งในน้ำจืดและทะเล แบ่งออกได้เป็นอันดับต่าง ๆ ถึง 10 อันดับ (ดูในตาราง) ปลามีเกราะแพร่พันธุ์ด้วยการแพร่พันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยออกเป็นไข่ แต่ก็มีบางจำพวกที่ค้นพบว่าคลอดลูกเป็นตัวด้วย โดยปลามีเกราะขนาดใหญ่ที่สุด คือ ดังเคิลออสเตียส ที่มีส่วนหัวและริมฝีปากที่แหลมคมขนาดใหญ่ใช้แทนฟัน มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 10 เมตร มีน้ำหนักได้ถึง 3.6-4 ตัน.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและปลามีเกราะ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาม้าลาย

ปลาม้าลาย (Zebra danio, Zebrafish) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกปลาซิว ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลำตัวเรียวยาว มีสีที่ลำตัวเป็นสีเหลือบน้ำเงิน สลับด้วยสีเขียวมะกอกดำจำนวน 3 เส้น เป็นแนวยาวตลอดลำตัวจนถึงส่วนหางทำให้มองเห็นลักษณะลวดลายคล้ายม้าลาย อันเป็นลักษณะเด่น อันเป็นที่มาของชื่อเรียก บริเวณใต้ปากมีหนวดอยู่จำนวน 2 เส้น มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5 เซนติเมตร มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดียทางทิศตะวันออก มีพฤติกรรมอยู่รวมตัวกันเป็นฝูง ว่ายหากินและอาศัยอยู่บริเวณผิวน้ำ มีความว่องไว ปราดเปรียวมาก มักจะว่ายน้ำอยู่ตลอดเวลา ตัวเมียมีลำตัวป้อมและสั้นกว่าตัวผู้ เป็นปลาที่สวยงามชนิดหนึ่ง จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำเช่นเดียวกับปลาซิวชนิดอื่น ๆ มีการเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว โดยไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 2-3 วัน ปัจจุบันมีการเพาะขยายพันธุ์อย่างหลากหลาย มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีเครื่องครีบยาวกว่าปกติ และมีการศึกษาด้านพันธุกรรมของปลา จนสามารถผลิตออกมาเป็นปลาเรืองแสงได้ โดยใช้เป็นต้นแบบในการศึกษาพัฒนาการของตัวอ่อนสัตว์มีกระดูกสันหลังและลักษณะต่าง ๆ อีกทั้งยังใช้เป็นดัชนีชี้วัดมลพิษต่าง ๆ ในแหล่งน้ำอีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ปลาม้าลายยังมีความสำคัญในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวคือ ด้วยความที่ขณะที่เป็นตัวอ่อนหรือเอมบริโอ ปลาม้าลายจะมีลำตัวใส นักวิทยาศาสตร์ทางด้านชีววิทยาเซลล์จึงใช้ในการศึกษาและทดลองแทนมนุษย์ เนื่องจากจากการศึกษาพบว่า ปลาม้าลายมีระบบอวัยวะภายในต่าง ๆ คล้ายกับมนุษย์ เช่น สมอง, หัวใจ, ตับและไต และลำดับจีโนมแสดงให้เห็นว่าภายในลำตัวมียีนที่ก่อให้เกิดในมนุษย์มากถึงร้อยละ 84 โดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ในออสเตรเลีย ได้ทำการศึกษาวิจัยมาตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและปลาม้าลาย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสร้อยลูกกล้วย

ปลาสร้อยลูกกล้วย หรือ ปลามะลิเลื้อยสำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและปลาสร้อยลูกกล้วย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาออร์

ปลาออร์ หรือ ปลาริบบิ้น (Oarfish, King of herrings; 皇帶魚; พินอิน: huángdài yú) เป็นปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Regalecus glesne อยู่ในวงศ์ Regalecidae มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับพญานาคตามความเชื่อของไทย หรือมังกรทะเลในความเชื่อในยุคกลางของชาวตะวันตก โดยมีความยาวได้สูงสุดยาวถึง 9 เมตร และหนัก 300 กิโลกรัม แต่ก็มีบันทึกไว้ในบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ด้วยว่า ปลาชนิดนี้เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ยาวที่สุดในโลก โดยอาจยาวได้ถึง 11 เมตร ในขณะที่รายงานไม่ยืนยันอีกบางกระแสระบุว่าอาจยาวถึง 15 เมตร หรือกว่านั้น มีส่วนหัวที่ใหญ่ ลำตัวแบนสีเงิน มีจุดสีฟ้าและดำประปราย มีครีบหลังสีชมพูแดง บนหัวที่อวัยวะแลดูคล้ายหงอนเป็นจุดเด่น เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในท้องทะเลลึกระหว่าง 50–250 เมตร จึงพบเห็นได้ยากมาก แต่มีผู้พบเห็นกันเป็นระยะ ๆ ในหลายพื้นที่ ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของออสเตรเลีย เรื่อยไปจนถึงทะเลนอกชายฝั่งเม็กซิโก และแถบหมู่เกาะเบอร์มิวดา ส่วนใหญ่มักถูกคลื่นซัดออกมาเกยหาด หรือไม่ก็เกิดอาการผิดปกติขึ้นกับปลา เช่น ป่วย หรือใกล้ตาย น้อยครั้งที่จะมีการพบเห็นขณะมีชีวิตอยู่ ภาพถ่ายของปลาออร์ ที่เคยเชื่อกันว่าเป็นพญานาคที่ประเทศลาว เป็นปลาที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร ไม่เป็นอันตรายและไม่ทำร้ายมนุษย์ แม้จะมีรายงานไม่ยืนยันจากนักวิจัยในนิวซีแลนด์ที่ระบุว่าถ้าหากแตะไปที่ตัวของมันขณะยังมีชีวิตอยู่จะปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมาช็อตได้ ปลาออร์เมื่อปรากฏตัวขึ้นมามักจะปรากฏเป็นข่าวครึกโครมอยู่เป็นระยะ ๆ ว่าเป็นพญานาคหรือสัตว์ประหลาด อาทิ ในกลางปี ค.ศ. 1996 ได้ปรากฏภาพถ่ายใบหนึ่งของกลุ่มทหารชาวอเมริกันอุ้มปลาชนิดนี้ แพร่กระจายกันทั่วไปในสังคมไทย ทำให้เกิดความเชื่อว่า นั่นเป็นพญานาคที่จับได้จากแม่น้ำโขง และเชื่อว่า ภาพถ่ายนั้นถ่ายที่ค่ายทหารแห่งหนึ่งในประเทศลาวและถ่ายมานานแล้วกว่า 30 ปี ในยุคสงครามเวียดนาม แต่แท้จริงแล้วเป็นภาพที่ถ่ายในค่ายทหารที่เกาะโคโรนาโด รัฐแคลิฟอร์เนีย ในปีเดียวกันนั้นเอง และเป็นปลาที่อยู่จับได้ในมหาสมุทรแปซิฟิก แถบทวีปอเมริกาใต้.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและปลาออร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาจุมพรวด

ปลาจุมพรวด หรือ ปลาตีนจุดฟ้า (Blue-spotted mudskipper, Boddart's goggle-eyed goby) เป็นปลากระดูกแข็งทะเลและน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) ในวงศ์ย่อยปลาตีน (Oxudercinae) มีรูปร่างเหมือนปลาตีนทั่วไป โดยมีจุดเด่น คือ มีลำตัวสีเข้มจนเกือบดำ และมีจุดสีฟ้ากระจายอยู่ทั่วตัว ซึ่งเชื่อว่าแถบสีข้างลำตัวนี้ สามารถบ่งบอกถึงอารมณ์ของปลาในตอนนั้นได้อีกด้วย หากช่วงเวลาไหนอารมณ์ดีรู้สึกปลอดภัย แถบสีก็จะเห็นเด่นชัด แต่ถ้าหากอยู่ในอารมณ์ตื่นตกใจ แถบสีข้างลำตัวก็จะจางจนบางครั้งแทบมองไม่เห็น เป็นปลาตีนขนาดเล็ก มีขนาดความยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดได้ถึง 22 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในป่าชายเลนที่เป็นพื้นโคลนเลนตั้งแต่อ่าวเปอร์เซีย, อินโด-แปซิฟิก, อินเดีย, จีนตอนเหนือ จนถึงนิวกินี เป็นปลาตีนอีกชนิดหนึ่ง ที่ถูกจับมากินโดยคนพื้นถิ่น และจับเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและปลาจุมพรวด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีครีบเป็นพู่

ปลาที่มีครีบเป็นพู่ หรือ ปลาครีบเป็นพู่ (Lobe-finned fishes) เป็นปลาที่อยู่ในชั้นใหญ่ Sarcopterygii (มาจากภาษากรีกคำว่า σαρξ (sarx), "เนื้อ" และ πτερυξ (pteryx), "ครีบ") หรือในบางครั้งอาจใช้ชื่อว่า Crossopterygii (แปลว่า "Fringe-finned fish", มาจากภาษากรีก κροσσός krossos, "ชายขอบ") เป็นปลาที่มีลักษณะแตกต่างจากปลาในชั้นอื่น ๆ คือ มีเกล็ดเป็นแบบ Cosmoid มีลักษณะเฉพาะ คือ ครีบที่บริเวณหน้าอกวิวัฒนาการจากครีบธรรมดา ๆ มาเป็นเสมือนอวัยวะที่ใช้เคลื่อนไหวได้เหมือนการเดินในน้ำ โดยลักษณะของครีบจะเป็นพู่เนื้อหรือเนื้อเยื่อ มีความแข็งแรงมาก โดยมีแกนกระดูก จึงเป็นเสมือนรอยต่อของการวิวัฒนาการของปลาซึ่งเป็นสัตว์น้ำอาศัยอยู่ในน้ำได้อย่างเดียว ขึ้นมาอยู่บนบกกลายเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำก่อนจะวิวัฒนาการเป็นสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ในชั้นอื่น ๆ ต่อไป ปลาที่มีครีบเป็นพู่ ถือกำเนิดมาในยุคซิลูเรียนตอนปลาย (418 ล้านปีก่อน) ในทะเลและค่อยคืบคลานสู่แหล่งน้ำจืดที่มีลักษณะเป็นหนองหรือคลองบึง สันนิษฐานว่าการที่พัฒนาเช่นนี้ คงเป็นเพราะต้องการหนีจากปลาที่เป็นปลากินเนื้อขนาดใหญ่ที่ครองพื้นที่ทะเลในขณะนั้น เช่น ดังเคิลออสเตียส เป็นต้น ปัจจุบัน ปลาในชั้นนี้ได้สูญพันธุ์หมดแล้ว คงเหลือไว้เพียง 2 จำพวกเท่านั้น คือ ปลาซีลาแคนท์ ที่ครั้งหนึ่งเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว กับปลาปอด ที่กลายมาเป็นปลาน้ำจืดอย่างถาวร และได้มีพัฒนาถุงลมที่ใช้ในการว่ายน้ำและทรงตัวเหมือนปลาทั่วไป กลายเป็นอวัยวะที่ใช้ในการหายใจคล้ายกับปอดของสัตว์บก สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เป็นอย่างดี จึงทำให้อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่คุณภาพน้ำแย่ มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและปลาที่มีครีบเป็นพู่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาขวาน

ปลาขวานทะเลลึก (Deep Sea Hatchetfish) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ปลาขวานนั้น ชื่อก็บอกอย่างตรงตัวแปลว่า ขวานด้ามเล็ก ๆ ซึ่งถูกตั้งมาจากลักษณะของตัวมันที่มองแล้วคล้ายกับขวานอย่างชัดเจน ส่วนลักษณะลำตัวของมันจะบางคล้ายกับใบมีดของขวานด้ว.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและปลาขวาน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปอด

ปลาปอดในสวนสัตว์พาต้า ปลาปอด (Lungfish, Salamanderfish, Amphibious fish) เป็นปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่งที่อยู่ในชั้นย่อย Dipnoi เป็นปลาเพียงจำพวกเดียวในโลกที่ยังมีการสืบสายพันธุ์จนปัจจุบันนี้ที่หายใจด้วยอวัยวะที่คล้ายกับปอดของสัตว์ทั่วไป โดยไม่ใช้เหงือกเหมือนปลาชนิดอื่น ๆ ปลาปอดได้ชื่อว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต เพราะเป็นปลาที่ไม่ได้เปลี่ยนรูปร่างมากนักจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยปลาปอดจัดอยู่ในชั้นใหญ่ Sarcopterygii ซึ่งจะมีลักษณะเด่น คือ มีพู่เนื้อหรือเนื้อเยื่อเป็นครีบ มีครีบหางเดี่ยว มีครีบ 2 คู่ มีเกล็ดแบบ Cosmoid ซึ่งแตกต่างไปจากปลาชนิดอื่น ๆ ในโลก ซึ่งปลาในกลุ่มนี้จะแยกออกได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ 1.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและปลาปอด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปอดแอนเนคเทน

ปลาปอดแอนเนคเทน (West african lungfish) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Protopterus annectens อยู่ในวงศ์ปลาปอดแอฟริกา (Protopteridae) มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายปลาไหล มีลำตัวสีเทาหรือสีน้ำตาล มีลวดลายสีดำทั้งตัว แต่จะไม่เป็นกลุ่มก้อนเดียวกันแบบปลาปอดเอธิโอปิคัส (P. aethiopicus) จะงอยปากจะยื่นยาวออกมาและเชิดขึ้น หัวมีลักษณะคล้ายงูเหลือมหรืองูหลาม เป็นปลาที่มีพละกำลังมาก ขนาดยาวเต็มที่ได้ถึง 1 เมตร จัดเป็นปลาปอดชนิดที่พบเห็นได้บ่อยและเป็นที่รู้จักดีที่สุด สามารถขุดรูจำศีลได้ในฤดูที่น้ำแล้ง มีพฤติกรรมรักสงบ แต่จะดุร้าย ก้าวร้าว สามารถขบกัดได้รุนแรงเมื่อหากินและเพื่อป้องกันตัว ปลาปอดแอนเนคเทนสามารถแบ่งออกเป็นชนิดย่อยได้อีก 2 ชนิด คือ.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและปลาปอดแอนเนคเทน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปอดเอธิโอปิคัส

ปลาปอดเอธิโอปิคัส หรือ ปลาปอดลายหินอ่อน (Marbled lungfish, Leopard lungfish) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Protopterus aethiopicus อยู่ในวงศ์ปลาปอดแอฟริกา (Protopteridae) มีรูปร่างเรียวยาวคลายปลาไหล รูปร่างทั่วไปคล้ายปลาปอดแอนเนคเทน (P. annectens) แต่ปลาปอดเอธิโอปิคัสมีส่วนหัวที่กลมมนกว่า และมีลวดลายบนลำตัวเชื่อมติดกันและเรียวยาวคล้ายหินอ่อน ขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 2 เมตร หนักถึง 71 กิโลกรัม จัดว่าเป็นปลาปอดชนิดที่ความใหญ่ที่สุดในโลก พบอาศัยอยู่ในทะเลสาบวิกตอเรียและหนองน้ำ ทะเลสาบรอบ ๆ บริเวณทวีปแอฟริกาฝั่งตะวันออก ในฤดูร้อนที่หนองน้ำแห้งแล้ง สามารถขุดรูจำศีลได้นานถึง 1 ปี และสามารถอยู่บนพื้นดินที่ชุ่มชื้นได้นานถึง 3 ปี ปลาปอดเอธิโอปิคัสจะผสมพันธุ์กันในช่วงฤดูน้ำหลาก ปลาตัวเมียหลาย ๆ ตัว จะวางไข่ในโพรงเดียวกันได้ โดยที่ตัวผู้จะเป็นฝ่ายขุดและทำความสะอาดรัง ซึ่งตัวผู้เหล่านี้จะทำการปกป้องดูแลไข่ และตัวอ่อน อาหารที่สำคัญของปลาโตเต็มวัย และกลุ่มที่อยู่ในช่วงก่อนที่จะโตเต็มวัยนั้น จะเป็นพวกหอย แต่ในขณะที่ยังเป็นปลาวัยเล็กกว่า 35 เซนติเมตรจะกินแมลงเป็นสำคัญ ปลาปอดเอธิโอปิคัส สามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิดย่อยได้อีกตามลวดลาย ขนาด และสถานที่ที่พบ คือ.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและปลาปอดเอธิโอปิคัส · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปักเป้าทอง (สกุล)

ปลาปักเป้าทอง (Green puffer, Golden puffer) เป็นสกุลของปลาปักเป้า ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Auriglobus (/ออ-ริ-โกล-บัส/) มีรูปร่างคือ ลำตัวแบนข้างและตาโตมากกว่าสกุล Tetraodon มาก พื้นลำตัวเป็นสีเหลืองทองเหลือบเขียวแวววาว โดยที่ไม่มีลวดลายใด ๆ ทั้งสิ้น ใต้ท้องสีขาว ครีบหลังและครีบก้นใหญ่ ครีบหางปลายตัดตรง ทำให้ว่ายน้ำได้รวดเร็วกว่า อีกทั้งยังพองลมได้ใหญ่กว่าด้วย มักหากินในระดับผิวน้ำจนถึงกลางน้ำ พบอาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ำ เป็นสกุลปลาที่มีขนาดเล็ก ใหญ่ที่สุดประมาณ 20 เซนติเมตร เล็กที่สุดเพียง 7 เซนติเมตร เท่านั้น เดิมเคยถูกจัดให้อยู่ในสกุล Chonerhinos แต่พบมีความแตกต่างจากหลักสัณฐานวิทยา จึงได้ย้ายมาอยู่ในสกุลปัจจุบันตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและปลาปักเป้าทอง (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปักเป้าควาย

ปลาปักเป้าควาย หรือ ปลาปักเป้าสุวัตถิ (Arrowhead puffer; Kottelat, M. (2013): The Raffles Bulletin of Zoology, 2013, Supplement No. 27: 1–663.) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในอันดับปลาปักเป้า ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) โดยได้รับการตั้งชื่อสายพันธุ์เพื่อเป็นเกียรติแด่ ศาสตราจารย์โชติ สุวัตถิ อดีตคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.สืบสิน สนธิรัตน และ ทรงพรรณ สุนทรสถิตย์ โดยเก็บตัวอย่างต้นแบบแรกได้จากลุ่มแม่น้ำโขงที่จังหวัดหนองคาย มีจุดเด่นคือ มีปากที่เรียวยาวปากงอนขึ้นด้านบน และยังมีลายลักษณะคล้ายหัวลูกศรที่บริเวณด้านบนระหว่างตาทั้งสองข้าง ลำตัวมีสีส้มแดงและมีจุดดำกระจายอยู่ทั่ว จัดเป็นปลาปักเป้าที่พบในน้ำจืดชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในประเทศไทย ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 11 เซนติเมตร พบได้ในภาคอีสาน ในลุ่มแม่น้ำโขงและแควสาขา มีพฤติกรรมชอบฝังตัวใต้ทรายใต้พื้นน้ำเพื่อซุ่มล่าเหยื่อ ปลาปักเป้าควายจัดเป็นปลาปักเป้าชนิดหนึ่งที่มีอุปนิสัยไม่ดุร้ายมากนัก จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาตู้สวยงาม.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและปลาปักเป้าควาย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปักเป้าตาแดง

ปลาปักเป้าตาแดง (Redeye puffers) เป็นชื่อสกุลของปลาปักเป้าจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Carinotetraodon (/คา-ริ-โน-เต-ตรา-โอ-ดอน/; โดยคำว่า carina เป็นภาษาละตินหมายถึง "กระดูกงูเรือ" และtetraodon คือ สกุล Tetraodon ซึ่งเป็นสกุลที่มีจำนวนสมาชิกมากของปลาปักเป้าในวงศ์นี้ ที่เคยจัดให้อยู่ในสกุลเดียวกันมาก่อน) มีรูปร่างโดยรวม เป็นปลาขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ไม่เกิน 4 นิ้ว ซึ่งนับว่าเล็กที่สุดในบรรดาปลาปักเป้าทั้งหมด มีรูปร่างคล้ายปลาปักเป้าในสกุล Tetraodon ซึ่งเคยอยู่ร่วมสกุลเดียวกันมาก่อน แต่ทว่ามีขนาดเล็กกวากันมาก ปลาปักเป้าในสกุลนี้มีจุดเด่น คือ มีดวงตาสีแดงคล้ายทับทิม ซึ่งสามารถกลิ้งกลอกไปมาได้ ตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างระหว่างเพศอย่างเห็นได้ชัด โดยตัวผู้จะมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า ลำตัวโดยมากจะเป็นสีแดงหรือสีเทาอมแดง ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็ก มีลำตัวสีเขียวมีลาดพาดตามลำตัว แต่สีพื้นของตัวผู้โดยปกติและเมื่อยังเล็กอยู่ก็เป็นสีเดียวกับตัวเมีย และสามารถปรับเปลี่ยนสีตามอารมณ์และสภาพแวดล้อมได้ด้วย ในการผสมพันธุ์ตัวผู้จะเปลี่ยนสีให้เข้มและพองผิวหนังลำตัวจนกลายเป็นเหนียงบริเวณใต้คางและใต้ท้อง พบในน้ำกร่อยและน้ำจืด ในภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและปลาปักเป้าตาแดง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปักเป้าแอมะซอน

ปลาปักเป้าแอมะซอน (South American puffers, Amazon puffers, Brazilian puffers) เป็นชื่อของปลาปักเป้า 2 ชนิดที่อยู่ในสกุล Colomesus ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) ทั้ง 2 ชนิดนี้ได้แก่ C. psittacus และ C. asellus จัดเป็นปลาปักเป้าที่มีขนาดเล็ก มีนิสัยไม่ดุร้ายและชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำมีเปลือก อาทิ กุ้ง, หอย หรือปู มีการกระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำแอมะซอนแถบประเทศเปรู, เวเนซุเอลา, โคลอมเบีย, กายอานา และบราซิล ความแตกต่างของทั้ง 2 ชนิดนี้ กล่าวคือ C. psittacus มีขนาดความยาวเต็มที่ได้ถึง 30 เซนติเมตร และเป็นปลาสองน้ำที่อพยพไปมาระหว่างน้ำจืด-น้ำกร่อย-ทะเล ในขณะที่ C. asellus มีขนาดเล็กกว่า โดยมีขนาดเฉลี่ยประมาณ 8 เซนติเมตร โตเต็มที่ได้ถึง 15 เซนติเมตร และมีแถบสีดำที่บริเวณหลังและเป็นวงแหวนบริเวณโคนครีบหาง และจะอาศัยอยู่เฉพาะแค่ในน้ำกร่อยกับน้ำจืดเท่านั้น ทั้ง 2 ชนิดนี้ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในชนิด C. asellus มีการจำหน่ายในประเทศไทยด้วย จัดเป็นปลานำเข้าที่ราคาไม่แพง.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและปลาปักเป้าแอมะซอน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปักเป้าแคระ

ปลาปักเป้าแคระ หรือ ปลาปักเป้าปิ๊กมี่ (Dwarf pufferfish, Malabar pufferfish, Pea pufferfish, Pygmy pufferfish) เป็นปลาปักเป้าชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae).

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและปลาปักเป้าแคระ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไม่มีขากรรไกร

ปลาไม่มีขากรรไกร (Jawless fish) เป็นปลาที่อยู่ในชั้นใหญ่ Agnatha (กรีก: ไม่มีขากรรไกร) เป็นปลาในชั้นหนึ่ง ที่แตกต่างไปจากปลากระดูกแข็ง หรือ ปลากระดูกอ่อน ซึ่งเป็นปลาส่วนใหญ่ที่พบได้ทั่วไปและเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี โดยปลาในชั้นนี้จะไม่มีกรามหรือขากรรไกร แต่จะมีปากแบบวงกลมและมีฟันแหลมคมจำนวนมากอยู่รอบ ๆ ใช้สำหรับดูดเลือดและเนื้อเยื่อของปลาชนิดอื่นกินเป็นอาหาร มีลำตัวยาวเหมือนปลาไหล มีโครงสร้างของกระดูกเป็นกระดูกอ่อน พบได้ทั้งน้ำจืดและทะเล บรรพบุรุษของปลาไม่มีขากรรไกร วิวัฒนาการมาจากปลาในชั้นออสตราโคเดิร์มซึ่งสูญพันธ์ไปแล้ว ฟอสซิลที่ถูกค้นพบครั้งล่าสุด พบว่า มีอายุกว่า 500 ล้านปีมาแล้ว และฟอสซิลที่ถูกค้นพบนั้นมีความสลับซับซ้อนมาก จึงเป็นที่น่าคาดการได้ว่า ออสตราโคเดิร์ม เก่าแก่มาก และน่าจะสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ปลาไม่มีขากรรไกร สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ Petromyzontida และ Myxini ซึ่งในปัจจุบัน กลุ่ม Petromyzontida มีเหลืออยู่เพียงประเภทเดียว คือ ปลาแลมป์เพรย์ ส่วน Myxini ก็เหลือเพียงประเภทเดียวเช่นกัน คือ แฮคฟ.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและปลาไม่มีขากรรไกร · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไฮนีเรีย

ไฮโนเรีย (Hyneria) เป็นปลาดึกดำบรรพ์ชนิดหนึ่ง อาศัยอยู่ในยุคดีโวเนียน เมื่อประมาณ 360 ล้านปีก่อน ยาวประมาณ 5 เมตร และหนัก 2 ตัน มันกระดูกที่มีครีบแข็งแรงมากและอาจจะขึ้นไปบนบกได้ด้วย ไฮโนเรียเป็นหนึ่งในหลายชนิดของปลาครีบ ในกลุ่มTristichopteridae ที่พบในช่วงปลายยุคดีโวเนียน มันกินปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และฉลามน้ำกร่อยอย่างสเตธาแคนธัส ไฮโนเรียยังปรากฏในสารคดี ของบีบีซี เรื่องwalking with monstersหรืออสูรร้ายโลกล้านปี โดยมันใช้ครีบของมันขึ้นมาหาด เพื่อจับไฮโนเพทอน ซึ่งเป็นสัตว์สะเทินสะเทินบกชนิดหนึ่งในยุคนั้น ไฮโนเรียในวอคกิ้ง วิด มอนสเตอร์ หมวดหมู่:ปลายุคก่อนประวัติศาสตร์.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและปลาไฮนีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเพียว

ปลาเพียว (Asian glassfishes, Asian glass catfishes) สกุลของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาหนังจำพวกหนึ่งในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) โดยที่ชื่อสกุล Kryptopterus นั้นมาจากภาษากรีกโบราณคำว่า kryptós (κρυπτός, "ซ่อน") กับ ptéryx (πτέρυξ, "ครีบ") อันเนื่องจากปลาในสกุลนี้มีครีบหลังที่เล็กมาก ซึ่งแตกต่างจากปลาสกุลอื่นในวงศ์เดียวกัน จัดเป็นปลาขนาดเล็ก มีลำตัวยาวแบนข้าง ลำตัวบางใสมีสีเดียวจนในบางชนิดสามารถมองทะลุเห็นกระดูกภายในได้เหมือนเอกซเรย์ มีหนวด 2 คู่ หนวดคู่แรกบนขากรรไกรบน ส่วนคู่ที่ 2 อยู่บนขากรรไกรล่าง สั้นหรือยาวแล้วแต่ละชนิด โดยหนวดที่มุมปากยาวเลยช่องเหงือก หนวดที่คางเล็กและสั้น ปากแคบ มุมปากยื่นไม่ถึงนัยน์ตา มีก้านครีบ 1-2 ก้าน ครีบหลังเล็ก หรือบางชนิดก็ไม่มี ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 4-8 ก้าน นิยมอยู่กันเป็นฝูง โดยมีพฤติกรรมรวมกัน คือ มักอยู่รวมกันเป็นฝูงโดยหันหน้าไปทางเดียวกันในระดับกลางน้ำ เมื่อแตกตื่นตกใจมักจะแตกหนีไปคนละทิศละทาง จนหายตกใจแล้วค่อยกลับมารวมตัวกันอีก.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและปลาเพียว · ดูเพิ่มเติม »

ปอด

ปอด คำว่าปอดในภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า lung ในทางการแพทย์สิ่งที่เกี่ยวกับปอดใช้คำว่า Pulmonary นำหน้าสิ่งนั้น ๆ ในมนุษย์นั้นมีปอดอยู่ในทรวงอก มีสองข้าง คือขวาและซ้าย ปอดมีลักษณะนิ่ม ร่างกายจึงมีกระดูกซี่โครงคอยปกป้องปอดไว้อีกชั้นหนึ่ง ปอดแต่ละข้างจะมีถุงบาง ๆ 2 ชั้นหุ้มอยู่ เรียกว่า เยื่อหุ้มปอด เยื่อหุ้มปอดที่เป็นถุงบาง ๆ 2 ชั้นนี้เรียกว่า เยื่อหุ้มปอดชั้นในและ เยื่อหุ้มปอดชั้นนอก เยื่อหุ้มปอดชั้นในจะแนบติดไปกับผิวของปอด ส่วนเยื่อหุ้มปอดชั้นนอกจะแนบติดไปกับช่องทรวงอก ระหว่างเยื่อหุ้มปอด 2 ชั้นบางๆนี้จะมีช่องว่าง เรียกว่า ช่องเยื่อหุ้มปอด ในช่องเยื่อหุ้มปอดจะมีของเหลวคอยหล่อลื่นอยู่ เรียกว่า ของเหลวเยื่อหุ้มปอด ของเหลวนี้จะช่วยให้เยื่อหุ้มปอดแต่ละชั้นสไลด์ไปมาระหว่างกันได้โดยไม่เสียดสีกัน และของเหลวเยื่อหุ้มปอดก็ยังช่วยยึดเยื่อหุ้มปอดทั้งสองชั้นไว้ไม่ให้แยกจากกันโดยง่าย ปอดข้างซ้ายนั้นมีขนาดเล็กกว่าปอดข้างขวา เพราะปอดข้างซ้ายต้องเว้นที่เอาไว้ให้หัวใจอยู่ในทรวงอกด้วยกันด้ว.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและปอด · ดูเพิ่มเติม »

ปาดเขียวตีนดำ

ปาดเขียวตีนดำ (Wallace's frog, Wallace's flying frog) เป็นปาดชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปาดโลกเก่า (Rhacophoridae) มีขนาดความยาวลำตัว 80-100 มิลลิเมตร โดยเพศผู้จะมีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย ปาดเขียวตีนดำเป็นหนึ่งในปาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุล Rhacophorus ซึ่งตาและหูของปาดเขียวตีนดำมีขนาดใหญ่ ส่วนของขาทั้ง 4 มีขนาดยาว และบริเวณระหว่างนิ้วมีพังผืดอยู่ตลอดความยาวนิ้ว ประกอบกับบริเวณข้างลำตัวซึ่งมีผิวหนังที่สามารถยืดได้ระหว่างขาหน้าและขาหลัง ทำให้สามารถกระโดดหรือร่อนจากบนต้นไม้สูงลงสู่บริเวณพื้นที่ต่ำกว่าได้ * (2003): AmphibiaWeb -. Version of 2003-APR-12.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและปาดเขียวตีนดำ · ดูเพิ่มเติม »

ป่องรู้กลิ่น

granule cell #granule cell --> ป่องรู้กลิ่น หรือ ป่องรับกลิ่น (olfactory bulb, bulbus olfactorius, ตัวย่อ OB) เป็นโครงสร้างทางประสาทแบบเป็นชั้น ๆ ที่สมองส่วนหน้าของสัตว์มีกระดูกสันหลัง (โดยในมนุษย์จะอยู่ที่ด้านหน้าส่วนล่าง) ซึ่งมีบทบาทในการได้กลิ่น ป่องรับกลิ่นรับข้อมูลขาเข้ามาจากเซลล์ประสาทรับกลิ่นที่เยื่อรับกลิ่นซึ่งบุโพรงจมูกเป็นบางส่วน แล้วส่งข้อมูลขาออกผ่านลำเส้นใยประสาท lateral olfactory tract ไปยังเปลือกสมองส่วนการรู้กลิ่น แม้การแปลผลกลิ่นอย่างแม่นยำของป่องรู้กลิ่นจะยังไม่ชัดเจน แต่ก็เชื่อว่ามันทำหน้าที่เป็นตัวกรอง/ฟิลเตอร์ ที่อาจมีบทบาทต่าง ๆ รวมทั้ง แยกแยะกลิ่น, เพิ่มความไวการตรวจจับกลิ่น, กรองกลิ่นพื้นหลังเพื่อเพิ่มสัญญาณกลิ่นที่เลือก, และอำนวยให้สมองระดับสูงควบคุมระดับสัญญาณจากป่องรับกลิ่นตามสภาวะทางสรีรภาพของสัตว.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและป่องรู้กลิ่น · ดูเพิ่มเติม »

นกกระจอกเทศ

นกกระจอกเทศ (Ostrich) จัดอยู่ในประเภทสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริก.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและนกกระจอกเทศ · ดูเพิ่มเติม »

นกกระเรียนไทย

thumb thumb นกกระเรียนไทย หรือ นกกระเรียน (sarus crane) เป็นนกขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่นกอพยพ พบในบางพื้นที่ของอนุทวีปอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศออสเตรเลีย เป็นนกบินได้ที่สูงที่สุดในโลก เมื่อยืนจะสูงถึง 1.8 เมตร สังเกตเห็นได้ง่าย ในพื้นที่ชุ่มน้ำเปิดโล่ง นกกระเรียนไทยแตกต่างจากนกกระเรียนอื่นในพื้นที่เพราะมีสีเทาทั้งตัวและมีสีแดงที่หัวและบริเวณคอด้านบน หากินในที่ลุ่มมีน้ำขังบริเวณน้ำตื้น กินราก หัว แมลง สัตว์น้ำ และสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กเป็นอาหาร นกกระเรียนไทยเหมือนกับนกกระเรียนอื่นที่มักมีคู่ตัวเดียวตลอดชีวิต นกกระเรียนจะปกป้องอาณาเขตและเกี้ยวพาราสีโดยการกางปีก ส่งเสียงร้อง กระโดดซึ่งดูคล้ายกับการเต้นรำ ในประเทศอินเดียนกกระเรียนเป็นสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์ในชีวิตแต่งงาน เชื่อกันว่าเมื่อคู่ตาย นกอีกตัวจะเศร้าโศกจนตรอมใจตายตาม ฤดูผสมพันธุ์หลักอยู่ในฤดูฝน คู่นกจะสร้างรังเป็น "เกาะ" รูปวงกลมจากกก อ้อ และพงหญ้า มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบสองเมตรและสูงเพียงพอที่จะอยู่เหนือจากน้ำรอบรัง นกกระเรียนไทยกำลังลดลงอย่างรวดเร็วในคริสต์ศตวรรษที่ผ่านมา คาดกันว่าประชากรมีเพียง 10 หรือน้อยกว่า (ประมาณร้อยละ 2.5) ของจำนวนที่มีอยู่ในคริสต์ทศวรรษ 1850 ประเทศอินเดียคือแหล่งที่มั่นของนกชนิดนี้ ที่ซึ่งนกเป็นที่เคารพและอาศัยอยู่ในพื้นที่การเกษตรใกล้กับมนุษย์ นกกระเรียนนั้นสูญหายไปจากพื้นที่การกระจายพันธุ์ในหลาย ๆ พื้นที่ในอดีต.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและนกกระเรียนไทย · ดูเพิ่มเติม »

นกกะปูดใหญ่

นกกะปูดใหญ่ หรือ นกกดเพลิง birds of Thailand (Greater coucal, Crow pheasant) เป็นนกขนาดใหญ่ในวงศ์นกคัคคู (Cuculidae) แต่ไม่ใช่นกปรสิต เป็นนกประจำถิ่นที่มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในเอเชีย จากประเทศอินเดียไปทางตะวันออกถึงจีนและลงไปทางใต้ถึงอินโดนีเซีย แบ่งออกเป็นหลายชนิดย่อย นกกะปูดใหญ่มีขนาดใหญ่คล้ายอีกา มีหางยาว และมีปีกสีน้ำตาลทองแดง พบในแหล่งที่อยู่อาศัยหลากหลายจากป่าถึงพื้นเพาะปลูก และสวนในเมืองใหญ่ เป็นนกมักมีพฤติกรรมปีนป่ายตามพุ่มไม้หรือเดินอยู่ตามพื้นดินเพื่อหาแมลง ไข่ หรือลูกนกชนิดอื่นกินเป็นอาหาร.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและนกกะปูดใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

นกกาเหว่า

นกกาเหว่า หรือ นกดุเหว่า (Asian koel) เป็นนกชนิดหนึ่งในวงศ์นกคัคคู (Cuculidae) พบในเอเชียใต้ จีน เอเชียอาคเนย์รวมทั้งประเทศไทย เป็นญาติใกล้ชิดกับ E. melanorhynchus (black-billed koel) และกับ E. orientalis (Pacific koel) โดยทั้งสองบางครั้งจัดเป็นสปีชีส์ย่อยของ E. scolopaceus เป็นญาติใกล้ชิดกับ E. melanorhynchus (black-billed koel) และกับ E. orientalis (Pacific koel) โดยทั้งสองบางครั้งจัดเป็นสปีชีส์ย่อยของ E. scolopaceus เป็นนกปรสิตที่วางไข่ให้กาและนกอื่น ๆ เลี้ยง เป็นนกจำพวกคัคคูที่ไม่เหมือนพันธุ์อื่น ๆ เพราะโดยมากกินผลไม้ (frugivore) เมื่อเติบใหญ่ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ชื่อว่า "กาเหว่า" และชื่ออื่น ๆ อีกหลายภาษารวมทั้งชื่ออังกฤษว่า "koel" เป็นชื่อเลียนเสียงนก เป็นนกที่ใช้เป็นสัญลักษณ์อย่างมากมายในวรรณกรรมอินเดี.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและนกกาเหว่า · ดูเพิ่มเติม »

นกล่าเหยื่อ

หยี่ยว เป็นนกล่าเหยื่อประเภทหนึ่ง นกล่าเหยื่อ (Bird of prey, Raptor-มาจากภาษาละตินคำว่า rapere หมายถึง "บังคับด้วยกำลัง") เป็นชื่อสามัญเรียกโดยรวมของนกกลุ่มที่หากินในเวลากลางวัน และกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร รวมถึงอาจกินซากเป็นอาหารด้วย นกล่าเหยื่อจะมีหลักการบินโดยใช้ความรู้สึกกระตือรือร้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมองเห็น นกกลุ่มนี้เป็นนกที่ล่าสัตว์มีกระดูกสันหลังเป็นส่วนใหญ่รวมทั้งนกด้วยกันจำพวกอื่น ๆ โดยมีกรงเล็บและจะงอยปากที่ค่อนข้างใหญ่และประสิทธิภาพและเหมาะสำหรับการฉีกขาดเนื้อ ส่วนใหญ่ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ จัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร Brown, Leslie (1997).

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและนกล่าเหยื่อ · ดูเพิ่มเติม »

นกดำน้ำน้อยดี

นกดำน้ำน้อยดี (Good little diver) เป็นนกประเภทเพนกวินสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Eudyptula เป็นเพนกวินที่พบกระจายพันธุ์ได้ในออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, ทัสมาเนีย และหมู่เกาะแชทัม เป็นเพนกวินขนาดเล็กที่สุด ในบางข้อมูลจัดให้มีเพียงแค่ชนิดเดียว แต่นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่ามีชนิดที่แยกจากกัน แต่บางคนอาจจะเชื่อว่าเป็นเพียงชนิดย่อย บางคนเชื่อว่าเป็นเพียงความแตกต่างกันทางมอร์พ จากการวิเคราะห์ไมโตคอนเดรียดีเอ็นเอ แสดงให้เห็นว่ามีแน่นอน 2 ชนิดที่เกี่ยวข้องกันBanks, Jonathan C.; Mitchell, Anthony D.; Waas, Joseph R. & Paterson, Adrian M. (2002): An unexpected pattern of molecular divergence within the blue penguin (Eudyptula minor) complex.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและนกดำน้ำน้อยดี · ดูเพิ่มเติม »

นกดำน้ำไร้ปีก

นกดำน้ำไร้ปีก (Flightless diver) เป็นเพนกวินในสกุล Aptenodytes (จากภาษากรีกโบราณ “a” ที่แปลว่า “ปราศจาก”, “pteno-”/πτηνο ที่แปลว่า “ขน” หรือ “ปีก” และ “dytes”/ “δυτης” ที่แปลว่า “นักดำน้ำ”) ประกอบด้วยเพนกวิน 2 ชนิดที่เรียกรวมกันว่า "เพนกวินใหญ่" เป็นเพนกวินขนาดใหญ่ที่สุด จำแนกออกได้เป็น 2 ชนิด นกดำน้ำไร้ปีก หรือเพนกวินใหญ่ เป็นเพนกวินที่พบกระจายพันธุ์ในแถบซีกโลกทางใต้ เช่น มหาสมุทรใต้, ทวีปแอนตาร์กติกา หรือขั้วโลกใต้ จากการศึกษาทางสันฐานวิทยาและโมเลกุล พบว่าเพนกวินสกุลนี้เป็นต้นสายพันธุ์ของเพนกวินทั้งหมดในปัจจุบัน โดยถือกำเนิดมานานกว่้า 40 ล้านปีมาแล้ว.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและนกดำน้ำไร้ปีก · ดูเพิ่มเติม »

นกตะขาบทุ่ง

นกตะขาบทุ่ง หรือ นกขาบ (Indian roller, Blue jay) เป็นนกประจำถิ่นที่พบในทวีปเอเชีย บริเวณตั้งแต่ประเทศอิรัก อนุทวีปอินเดีย จนถึงคาบสมุทรอินโดจีน พบได้ทั่วไปตามต้นไม้ริมทางหรือสายไฟ ทุ่งนา ป่าโปร่ง ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ฝั่งอันดามัน นกตะขาบทุ่งเป็นนกหนึ่งในสองชนิดของวงศ์นกตะขาบ (Coraciidae) ที่พบในประเทศไทย ซึ่งอีกชนิดคือ นกตะขาบดง (Eurystomus orientalis) นกตะขาบทุ่งมีขนาดใกล้เคียงกับนกพิราบ อาหารคือแมลง สัตว์ตัวเล็ก ๆ หรือกิ้งก่าในบางครั้ง.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและนกตะขาบทุ่ง · ดูเพิ่มเติม »

นกนางแอ่น

ำหรับนกที่มีขนาดเล็กกว่า ที่อยู่ในวงศ์ Apodidae หรือ "นกแอ่น" ดูที่: นกแอ่น นกนางแอ่น หรือ นกอีแอ่นบรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและนกนางแอ่น · ดูเพิ่มเติม »

นกเด้าลม

นกเด้าลม จัดอยู่ในประเภทสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นนกขนาดเล็กที่มีหางยาว.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและนกเด้าลม · ดูเพิ่มเติม »

นากทะเล

ำหรับนากทะเลที่อยู่ในสกุล Lontra ดูที่: นากทะเลอเมริกาใต้ นากทะเล (Sea otters) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเล ประเภทหนึ่งโดยอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งตอนเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก ในวัยเจริญพันธุ์จะมีน้ำหนักประมาณ 14–45 กิโลกรัม (31–99 ปอนด์) นากทะเลเป็นสัตว์ในวงศ์เพียงพอน (Mustelidae) ชนิดหนึ่ง และเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทางทะเลที่มีขนาดเล็กที่สุดอีกด้วย นากทะเลนั้นไม่เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเลทั่วไปเพราะมีฉนวนกันความร้อนด้วยขนที่หนาแน่น จึงทำให้นากทะเลสามารถหาอาหารในทะเลเป็นเวลานาน ๆ ได้ นากทะเลจะอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง โดยจะดำดิ่งสู่พื้นทะเลเพื่อหาอาหาร อาหารที่ชอบคือ สาหร่ายทะเล (ถ้าเป็นสาหร่ายเคลท์จะชอบมาก) เม่นทะเล หอยต่าง ๆ กุ้งบางชนิด และปลาบางชนิด นอกจากนี้นากทะเลยังเป็นสัตว์ที่สามารถวัดความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ได้อีกด้วย ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าพฤติกรรมการกินอาหารของนากทะเลที่ใช้หินทุบเปลือกหอยบนหน้าอกตัวเองนั้นเป็นพฤติกรรมที่มีมานานเป็นระยะเวลานับหลายล้านปี ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยถือว่าเป็นพฤติกรรมการกินอาหารที่พัฒนาขึ้นมาจากการกินหรือหาอาหารทั่วไปของสัตว์โลก และเป็นสัตว์ทะเลชนิดแรกที่มีพัฒนาการเช่นนี้ โดยการสังเกตพฤติกรรมแม้แต่ลูกนากทะเลกำพร้าในสถานที่เลี้ยงก็ยังพบว่ามีพฤติกรรมเช่นนี้ ในอดีตจำนวนากทะเลอยูที่ประมาณ 1,000–2,000 ตัวเท่านั้นเพราะถูกล่าอย่างหนักในปี..

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและนากทะเล · ดูเพิ่มเติม »

นิวคลีโอโพลิฮีโดรไวรัส

นิวคลีโอโพลิฮีโดรไวรัส (Nuclear Polyhedrosis Virus, NPV) เป็นกลุ่มของไวรัสชนิดแรกที่พบทำให้เกิดโรคกับแมลงโดยเฉพาะกับสัตว์ในไฟลั่ม Arthropoda ไม่มีผลต่อระบบสิ่งมีชีวิตอื่นที่เป็นพวกสัตว์มีกระดูกสันหลังหรือพืช นอกจากนี้ยังมีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม จึงมีการนำไวรัสชนิดนี้มาใช้ในการกำจัดแมลงศัตรูพืชทางการเกษตรเพื่อแก้ปัญหาสารพิษตกค้างและช่วยลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ต่อสุขภาพของตัวเกษตรกรผู้ใช้รวมถึงผู้บริโภคด้ว.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและนิวคลีโอโพลิฮีโดรไวรัส · ดูเพิ่มเติม »

นิวเคลียส (ระบบประสาท)

ในทางประสาทกายวิภาคศาสตร์ นิวเคลียส (nucleus) หมายถึงกลุ่มของเซลล์ประสาทที่อยู่กันอย่างหนาแน่นภายในสมอง ในภาพตัดกายวิภาคบริเวณนิวเคลียสจะเป็นส่วนเนื้อเทา (gray matter) ที่ถูกรายล้อมด้วยเนื้อขาว (white matter) ซึ่งเป็นส่วนใยประสาท นิวเคลียสมีลักษณะโครงสร้างซับซ้อนประกอบด้วยเซลล์ประสาทหลายชนิดเรียงตัวกันเป็นกลุ่มหรือเป็นชั้นๆ เพื่อทำหน้าที่ร่วมกัน ในสมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังประกอบด้วยนิวเคลียสต่างๆ มากนับร้อยนิวเคลียส คำว่านิวเคลียสในบางครั้งอาจอนุโลมหมายถึงกลุ่มของเซลล์ประสาทที่กระจายตัวเป็นบริเวณกว้างแต่สามารถระบุแยกได้ อาทิ เรติคิวลาร์นิวเคลียสของทาลามัส (reticular nucleus of the thalamus) ซึ่งเป็นชั้นบางๆ ของเซลล์ประสาทชนิดยับยั้ง (inhibitory neuron) ที่อยู่ล้อมรอบทาลามัส ส่วนของสมองที่สำคัญบางตำแหน่งมีลักษณะเป็นกลุ่มของนิวเคลียสที่ทำงานประสาทกันระหว่างโครงสร้าง ได้แก่ ทาลามัสและไฮโปทาลามัสซึ่งประกอบด้วยโครงสร้างย่อยลงไปอีกมากมาย เมดัลลา ออบลองกาตาและพอนส์ก็ประกอบด้วยนิวเคลียสเล็กๆ จำนวนมากทำหน้าที่ทั้งรับความรู้สึก สั่งการ และการควบคุมการทำงานของร่างกาย ในระบบประสาทนอกส่วนกลางจะเรียกกลุ่มของเซลล์ประสาทว่า ปมประสาท (ganglion) แทน.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและนิวเคลียส (ระบบประสาท) · ดูเพิ่มเติม »

น้ำอสุจิ

น้ำอสุจิ น้ำอสุจิ (Semen, seminal fluid) เป็นสารประกอบอินทรีย์เหลวที่อาจมีตัวอสุจิอยู่ ในภาษาบาลี อะ แปลว่าไม่ สุจิ หรือสุจี แปลว่าสะอาด น้ำอสุจิ จึงแปลว่า น้ำที่ไม่สะอาด เป็นน้ำที่หลั่งออกจากอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์และจากอวัยวะทางเพศอื่น ๆ ของสัตว์เพศชาย และสามารถทำการผสมพันธุ์กับไข่ของเพศหญิงได้ ในมนุษย์ น้ำอสุจิมีองค์ประกอบอื่น ๆ นอกจากตัวอสุจิ คือมีเอนไซม์ต่าง ๆ และน้ำตาลประเภทฟรุกโทส ที่ช่วยเลี้ยงตัวอสุจิให้ดำรงรอดอยู่ได้ และเป็นสื่อเพื่อที่ตัวอสุจิจะเคลื่อนที่ หรือ "ว่ายน้ำ" ไปได้ น้ำอสุจิโดยมากเกิดจากต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ seminal vesicle ว่า "ถุงน้ำอสุจิ, ถุงพักน้ำอสุจิ" (หรือมีชื่ออื่นว่า ถุงน้ำอสุจิ, ถุงพักน้ำอสุจิ) ซึ่งเป็นอวัยวะอยู่ที่เชิงกราน แต่ว่าตัวอสุจิเองสร้างจากอัณฑะ ส่วนกระบวนการที่นำไปสู่การปล่อยน้ำอสุจิเรียกว่า การหลั่งน้ำอสุจิ ในมนุษย์ น้ำอสุจิเป็นของเหลวสีขาวข้นที่หลั่งออกโดยผู้ชาย เมื่อถึงจุดสุดยอด เมื่อมีเพศสัมพันธ์ เมื่อมีการสำเร็จความใคร่ หรือเมื่อขับออกตามธรรมชาติที่เรียกว่าฝันเปียก โดยจะมีการหลั่งน้ำอสุจิแต่ละครั้งประมาณ 3-4 ซีซี มีจำนวนตัวอสุจิเฉลี่ยประมาณ 300-500 ล้านตัว.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและน้ำอสุจิ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำดี

น้ำดี (bile or gall) เป็นของเหลวสีเหลืองหรือเขียว มีรสขม หลั่งออกมาจากเซลล์ตับ (hepatocyte) ที่อยู่ในตับของสัตว์มีกระดูกสันหลังเกือบทุกชนิด ในสัตว์หลายชนิด น้ำดีจะถูกเก็บไว้ที่ถุงน้ำดีในระหว่างมื้ออาหาร และเมื่อมีการรับประทานอาหารน้ำดีจะถูกปล่อยออกมาเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) ที่ซึ่งน้ำดีจะไปทำหน้าที่ช่วยในการย่อยอาหารจำพวกล.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและน้ำดี · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรียดื้อยา

date.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและแบคทีเรียดื้อยา · ดูเพิ่มเติม »

แกนประสาทนำออก

แกนประสาท หรือ แอกซอน หรือ ใยประสาท (axon มาจากภาษากรีกคำว่า ἄξων คือ áxōn แปลว่า แกน) เป็นเส้นใยเรียวยาวที่ยื่นออกจากเซลล์ประสาทหรือนิวรอน และปกติจะส่งกระแสประสาทหรือคำสั่งออกจากตัวเซลล์เพื่อสื่อสารกับเซลล์อื่น ๆ หน้าที่ของมันก็เพื่อส่งข้อมูลไปยังนิวรอน กล้ามเนื้อ และต่อมต่าง ๆ ในเซลล์ประสาทรับความรู้สึกบางอย่างซึ่งมีรูปร่างเป็น pseudounipolar neuron (เซลล์ประสาทขั้วเดียวเทียม) เช่นที่รับความรู้สึกสัมผัสและอุณหภูมิ กระแสประสาทจะวิ่งไปตามแอกซอนจากส่วนปลายเข้าไปยังตัวเซลล์ แล้วก็จะวิ่งออกจากตัวเซลล์ไปยังไขสันหลังตามสาขาอีกสาขาของแอกซอนเดียวกัน ความผิดปกติของแอกซอนอาจเป็นเหตุให้เกิดความผิดปกติทางประสาทซึ่งมีผลต่อทั้งเซลล์ประสาทในส่วนนอกและส่วนกลาง ใยประสาทสามารถจัดเป็นสามหมวดคือ ใยประสาทกลุ่มเอเด็ลตา (A delta) กลุ่มบี (B) และกลุ่มซี (C) โดยกลุ่มเอและบีจะมีปลอกไมอีลินในขณะที่กลุ่มซีจะไร้ปลอก แอกซอนเป็นส่วนยื่นที่ประกอบด้วยโพรโทพลาสซึมอย่างหนึ่งในสองอย่างที่ยื่นออกจากตัวเซลล์ประสาท ส่วนยื่นอีกอย่างเรียกว่า ใยประสาทนำเข้า/เดนไดรต์ (dendrite) แอกซอนจะต่างจากเดนไดรต์หลายอย่าง รวมทั้งรูปร่าง (เดนไดรต์มักจะเรียวลงเทียบกับแอกซอนที่จะคงขนาด) ความยาว (เดนไดรต์มักจะจำกัดอยู่ในปริภูมิเล็ก ๆ รอบ ๆ ตัวเซลล์ ในขณะที่แอกซอนอาจยาวกว่ามาก) และหน้าที่ (เดนไดรต์เป็นส่วนรับสัญญาณในขณะที่แอกซอนจะเป็นส่วนส่งสัญญาณ) แต่ลักษณะที่ว่านี้ทั้งหมดล้วนแต่มีข้อยกเว้น แอกซอนจะหุ้มด้วยเยื่อที่เรียกว่า axolemma ไซโทพลาซึมของแอกซอนมีชื่อโดยเฉพาะว่าแอกโซพลาซึม (axoplasm) ส่วนสุดของแอกซอนที่แตกเป็นสาขา ๆ เรียกว่า telodendron/telodendria ส่วนสุดของ telodendron ซึ่งป่องเรียกว่าปลายแอกซอน (axon terminal) ซึ่งเชื่อมกับ dendron หรือตัวเซลล์ของนิวรอนอีกตัวหนึ่ง จุดเชื่อที่ว่านี้เรียกว่าจุดประสานประสาท/ไซแนปส์ นิวรอนบางอย่างไม่มีแอกซอนและจะส่งสัญญาณผ่านเดนไดรต์ ไม่มีนิวรอนใด ๆ ที่มีแอกซอนมากกว่าหนึ่งอัน แต่ในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นแมลงและปลิง แอกซอนบางครั้งจะมีส่วนต่าง ๆ ที่ทำงานแทบเป็นอิสระต่อกันและกัน แอกซอนโดยมากจะแตกสาขา และในบางกรณีจะมีสาขาจำนวนมหาศาล แอกซอนจะเชื่อมกับเซลล์อื่น ๆ โดยปกติกับนิวรอนอื่น ๆ แต่บางครั้งก็เชื่อมกับกล้ามเนื้อหรือเซลล์ต่อม ผ่านจุดต่อที่เรียกว่า จุดประสานประสาท/ไซแนปส์ ที่ไซแนปส์ เยื่อหุ้มเซลล์ของแอกซอนจะเข้าไปเกือบชิดกับเยื่อหุ้มของเซลล์เป้าหมาย และโครงสร้างพิเศษระดับโมเลกุลจะเป็นตัวส่งสัญญาณไฟฟ้าหรือเคมี-ไฟฟ้าข้ามช่อง ยังมีไซแนปส์ในระหว่างอื่น ๆ ของแอกซอนซึ่งไม่ใช่ส่วนปลาย โดยเรียกว่า en passant synapse หรือ in passing synapse ไซแนปส์อื่น ๆ จะอยู่ที่ปลายสาขาต่าง ๆ ของแอกซอน แอกซอนหนึ่งใยพร้อมกับสาขาทั้งหมดรวม ๆ กัน อาจเชื่อมกับส่วนต่าง ๆ ในสมองและมีจุดเชื่อมคือไซแนปส์เป็นพัน.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและแกนประสาทนำออก · ดูเพิ่มเติม »

แร้งโลกใหม่

แร้งโลกใหม่ (New world vulture) เป็นวงศ์ของนกล่าเหยื่อขนาดใหญ่ ในวงศ์ Cathartidae โดยนกในวงศ์นี้จะพบแพร่กระจายพันธุ์เฉพาะซีกโลกที่เรียกว่า "โลกใหม่" เท่านั้น คือ ทวีปอเมริกา ทั้ง อเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ แร้งโลกใหม่ เป็นนกที่กินซากสัตว์เป็นอาหารเช่นเดียวกับแร้งโลกเก่า (Aegypiinae) ที่พบในทวีปเอเชีย, แอฟริกา และบางส่วนของยุโรป แต่ทว่ามีลักษณะหลายประการที่แตกต่างกัน คือ แร้งโลกใหม่ในหลายชนิดจะหาอาหารด้วยการใช้ประสาทการดมกลิ่นแทนที่จะการมองเห็น เช่นเดียวกับแร้งโลก หรือนกล่าเหยื่อจำพวกอื่น ๆ และทำให้การจัดอันดับของแร้งโลกใหม่นั้นไม่มีข้อยุติ โดยบางข้อมูลจะจัดให้อยู่ในอันดับ Accipitriformes เช่นเดียวกับนกล่าเหยื่อจำพวกอื่น แต่ในบางข้อมูลก็จัดให้อยู่ในอันดับ Ciconiiformes อันเป็นอันดับเดียวกับพวกนกกระสา โดยเชื่อว่ามีวิวัฒนาการมาจากนกกระสา หรือกระทั่งอยู่ในอันดับ Cathartiformes ซึ่งเป็นอันดับของตนเองไปเลยก็มี.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและแร้งโลกใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

แอมฟิอูมาสองนิ้ว

แอมฟิอูมาสองนิ้ว (Two-toed amphiuma, Conger eel, Congo snake, Blind eel) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดหนึ่ง ในวงศ์แอมฟิอูมา (Amphiumidae) มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายปลาไหลหรืองู ลำตัวลื่นเต็มไปด้วยเมือก ตามีขนาดเล็กมาก ผิวหนังเป็นสีน้ำเงินเข้มหรือดำ ส่วนหัวแหลมยาว ปากกว้างมาก ภายในปากมีฟันที่แหลมคม ขามีขนาดเล็กและสั้นมาก มีนิ้วเท้าทั้งหมด 2 นิ้ว อันเป็นที่มาของชื่อเรียก มีความยาวได้ถึง 120 เซนติเมตร น้ำหนัก 1,042 กรัม นับเป็นแอมฟิอูมาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำแถบรัฐลุยเซียนา, เวอร์จิเนีย, นอร์ทแคโรไลนา, เซาท์แคโรไลนา และฟลอริดา ออกหากินในเวลากลางคืน โดยกินสัตว์ขนาดเล็กกว่าได้หลากหลาย ทั้ง ปลา, แมลง, กุ้ง, ปู, หอย รวมถึงสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก เช่น นกหรือหนูได้ด้วย โดยเป็นสัตว์ที่มีนิสัยดุร้าย ก้าวร้าว มีฤดูกาลขยายพันธุ์ระหว่างเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม ตัวเมียวางไข่ราว 200 ฟอง นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง สำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์แปลก โดยเลี้ยงในตู้ปลาและจัดสภาพแวดล้อมให้เหมือนในธรรมชาต.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและแอมฟิอูมาสองนิ้ว · ดูเพิ่มเติม »

แฮมสเตอร์

แฮมสเตอร์ (Hamster) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Cricetinae ในวงศ์ Cricetidae มีหลากหลายสกุล หลายชน.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและแฮมสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แฮ็กฟิช

แฮ็กฟิช (hagfish, slim eel) เป็นปลาในชั้นปลาไม่มีขากรรไกรเพียงหนึ่งในสองจำพวกที่ยังสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน (อีกหนึ่งจำพวก คือ ปลาแลมป์เพรย์) ที่อยู่ในชั้น Myxini ซึ่งมีเพียงอันดับเดียว คือ Myxiniformes และวงศ์เดียว คือ Myxinidae แฮ็กฟิชเป็นปลาที่อยู่ในทะเล โดยการกินปลาตาย หรือใกล้ตายรวมทั้งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม เช่น หนอนปล้อง มอลลัสคาและครัสเตเชียนเป็นอาหาร จึงต่างจากปลาแลมป์เพรย์ที่ใช้ชีวิตเหมือนเป็นปรสิต และไม่ได้เป็นสัตว์ล่าเหยื่อ แต่ค่อนมาทางกินซากสัตว์มากว่า แฮ็กฟิชมีต่อมเมือกทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่กระจายอยู่ที่ผิวหนังและมีต่อมเมือกเรียงตัวเป็นแนวอยู่ทางด้านข้างตลอดความยาวของลำตัว มีคำกล่าวว่า แฮ็กฟิช 1 ตัว สามารถทำให้น้ำ 1 ถัง แปรสภาพเป็นก้อนวุ้นสีขาวภายใน 1 นาที จากเมือกของตัวที่ปล่อยออกมา ซึ่งมีความเหนียวมากกว่าใยแมงมุมด้วยซ้ำ สามารถใช้ในการห้ามเลือดได้ และนักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาเพื่อที่นำไปพัฒนาในการสร้างใยสังเคราะห์ แฮ็กฟิชมีประมาณ 67 ชนิด ชนิดที่รู้จักกันดีในทวีปอเมริกาเหนือ ในมหาสมุทรแอตแลนติก คือ ชนิด Myxine glutinosa และในมหาสมุทรแปซิฟิก คือ แฮ็กฟิชแปซิฟิก (Eptatretus stonti) แฮ็กฟิชจะกินปลาตายหรือปลาใกล้ตายโดยการกัดไชเข้าไปทางทวารหรือถุงเหงือก ซึ่งปากของแฮ็กฟิชจะอยู่ส่วนล่างของหัวต่ำลงมาเมื่อเปรียบเทียบกับปลาแลมป์เพรย์ แล้วกินส่วนของตัวปลาที่อ่อนนุ่มเหลือไว้แต่หนังและกระดูก นอกจากนี้แฮ็กฟิชยังกินปลาที่ติดอวนลอยอยู่ ทำความเสียหายให้แก่ชาวประมง แต่หลังจากมีการประมงโดยใช้อวนลากขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพสูง ปัญหาที่เกิดจากแฮ็กฟิชจึงลดลง และในบางประเทศ ก็มีการปรุงแฮ็กฟิชรับประทานเป็นอาหารเช่นเดียวกับปลาแลมป์เพรย์ เช่น ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เป็นต้น ในน่านน้ำไทยเคยมีรายงานพบแฮ็กฟิชด้วย ในฝั่งทะเลอันดามันในเขตที่ลึกกว่า 200 เมตร.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและแฮ็กฟิช · ดูเพิ่มเติม »

แผนที่ภูมิลักษณ์

"แผนที่ภูมิลักษณ์""ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ topography ว่า "ภูมิลักษณ์" หรือ "ลักษณะภูมิประเทศ" (topographic map) หรือ "แผนที่ topographic" ของระบบประสาท เป็นการส่งข้อมูลอย่างเป็นระเบียบของพื้นผิวในร่างกายที่เกิดความรู้สึก เช่นที่เรตินาหรือผิวหนัง หรือในระบบปฏิบัติงานเช่นระบบกล้ามเนื้อ ไปยังโครงสร้างต่าง ๆ ของสมองในระบบประสาทกลาง แผนที่ภูมิลักษณ์มีอยู่ในระบบรับความรู้สึกทั้งหมด และในระบบสั่งการ (motor system) ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและแผนที่ภูมิลักษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

โรคพิษสุนัขบ้า

รคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ (rabies, hydrophobia) เป็นโรคไวรัสที่ทำให้เกิดการอักเสบเฉียบพลันของสมองในมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นชนิดอื่น อาการเริ่มต้นมีไข้และอาการเป็นเหน็บ ณ ตำแหน่งสัมผัส อาการเหล่านี้ตามด้วยอาการต่อไปนี้อย่างหนึ่งหรือมากกว่า ได้แก่ การเคลื่อนไหวรุนแรง ความตื่นเต้นควบคุมไม่ได้ กลัวน้ำ ไม่สามารถขยับร่างกายบางส่วน สับสนและไม่รู้สึกตัว เมื่อเกิดอาการแล้ว จะลงเอยด้วยถึงแก่ชีวิตแทบทั้งสิ้น ช่วงเวลาระหว่างการติดต่อโรคและการเริ่มแสดงอาการนั้นปกติระหว่างหนึ่งถึงสามเดือน ทว่า ช่วงเวลานี้มีได้ตั้งแต่น้อยกว่าหนึ่งสัปดาห์จนถึงกว่าหนึ่งปี เวลานี้ขึ้นอยู่กับระยะทางที่ไวรัสเข้าระบบประสาทส่วนกลาง โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากลิสซาไวรัส (lyssavirus) ได้แก่ ไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า (rabies virus) และลิสซาไวรัสค้างคาวออสเตรเลีย (Australian bat lyssavirus) โรคพิษสุนัขบ้าแพร่เมื่อสัตว์ที่ติดเชื้อข่วนหรือกัดสัตว์อื่นหรือมนุษย์ น้ำลายจากสัตว์ที่ติดเชื้อยังสามารถส่งผ่านโรคพิษสุนัขบ้าได้หากสัมผัสกับตา ปากหรือจมูก ทั่วโลก หมาเป็นสัตว์ที่เกี่ยวข้องมากที่สุด ผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้ากว่า 99% ในประเทศที่หมามีโรคเป็นปกติเกิดจากหมากัด ในทวีปอเมริกา ค้างคาวกัดเป็นแหล่งที่พบมากที่สุดของการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าในมนุษย์ และผู้ป่วยน้อยกว่า 5% มาจากหมา สัตว์ฟันแทะติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าน้อยมาก ไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าเดินทางไปสมองโดยตามประสาทส่วนปลาย โรคนี้สามารถวินิจฉัยได้หลังเริ่มแสดงอาการแล้วเท่านั้น โครงการควบคุมสัตว์และให้วัคซีนลดความเสี่ยงของโรคพิษสุนัขบ้าจากหมาในหลายภูมิภาคของโลก มีการแนะนำให้การสร้างภูมิคุ้มกันแก่บุคคลก่อนสัมผัสสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง กลุ่มเสี่ยงสูงมีผู้ที่ทำงานกับค้างคาวหรือผู้ที่ใช้เวลานานในพื้นที่ของโลกที่มีโรคพิษสุนัขบ้าเป็นปกติ ในผู้ที่สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าและบ้างทีอิมมูโนโกลบูลินโรคพิษสุนัขบ้ามีผลป้องกันโรคหากบุคคลได้รับการรักษาก่อนเริ่มมีอาการโรคพิษสุนัขบ้า การล้างแผลถูกกัดและข่วนด้วยน้ำสบู่ โพวิโดนไอโอดีนหรือสารชะล้างเป็นเวลา 15 นาทีอาจลดจำนวนอนุภาคไวรัสและอาจมีผลบ้างในการป้องกันการแพร่เชื้อ มีเพียงไม่กี่คนที่รอดชีวิตจากการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าหลังแสดงอาการ และได้รับการรักษาใหญ่ที่เรียก มิลวอกีโพรโทคอล (Milwaukee protocol) โรคพิษสุนัขบ้าเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 26,000 ถึง 55,000 คนต่อปี การเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้ากว่า 95% เกิดในทวีปแอฟริกาและเอเชีย โรคพิษสุนัขบ้าพบในกว่า 150 ประเทศและทุกทวีปยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา กว่า 3 พันล้านคนอาศัยอยู่ในบริเวณของโลกที่พบโรคพิษสุนัขบ้า หลายประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น สหรัฐและยุโรปตะวันตก ไม่มีโรคพิษสุนัขบ้าในหมา หลายประเทศเกาะขนาดเล็กไม่มีโรคพิษสุนัขบ้าเล.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและโรคพิษสุนัขบ้า · ดูเพิ่มเติม »

โครงกระดูกแกน

แผนภาพแสดงโครงกระดูกแกน โครงกระดูกแกน (axial skeleton) เป็นชุดของกระดูกที่ประกอบด้วยกระดูกในร่างกายมนุษย์จำนวน 80 ชิ้นในศีรษะและลำตัวของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่ กะโหลกศีรษะมนุษย์ (human skull), กระดูกหูในหูชั้นกลาง (ossicles), กระดูกไฮออยด์ (hyoid bone) ในลำคอ, หน้าอก และกระดูกสันหลัง โครงกระดูกแกนและโครงกระดูกรยางค์รวมกันเป็นโครงกระดูกมนุษ.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและโครงกระดูกแกน · ดูเพิ่มเติม »

โคอาที

อาที (Coati) จากสกุล Nasua and Nasuella เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจากวงศ์แร็กคูนชนิดหนึ่ง เป็นสัตว์ออกหากินในเวลากลางวัน ซึ่งแตกต่างจากสัตว์ในวงศ์แร็กคูนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นสัตว์กลางคืน โคอาทีมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ อเมริกากลาง และบริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและโคอาที · ดูเพิ่มเติม »

ไฟลัมย่อย

ฟลัมย่อย (subphylum) เป็นขั้นอนุกรมวิธานขั้นหนึ่งในการจำแนกสัตว์ในทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งอยู่ระหว่าง ไฟลัม (phylum) และ ชั้นใหญ่ (superclass) ไฟลัมย่อยเทียบเท่ากับ ส่วนย่อย (subdivision) ในพืชและฟังไจ ไฟลัมบางประเภทเท่านั้นที่มีไฟลัมย่อย ดังตัวอย่างต่อไปนี้.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและไฟลัมย่อย · ดูเพิ่มเติม »

ไทต์ จังก์ชัน

รงสร้างของไทต์ จังก์ชัน ภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล้กตรอนแบบส่องผ่าน ของproximal convoluted tubule จากเนื้อเยื่อไตของหนูที่กำลังขยาย ~55,000x and 80 kV แสดงไทต์ จังก์ชัน เส้นเข้มสามเส้นแสดงโปรตีนที่อยู่หนาแน่น เส้นสีจางแสดงช่องว่างระหว่างเซลล์ ไทต์ จังก์ชัน (Tight junction) ค้นพบเมื่อ..

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและไทต์ จังก์ชัน · ดูเพิ่มเติม »

ไข้

้ หรือ อาการตัวร้อน ปรับปรุงเมื่อ 6..

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและไข้ · ดูเพิ่มเติม »

ไดโนเสาร์

นเสาร์ (dinosaur) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของสัตว์ดึกดำบรรพ์ในอันดับใหญ่ Dinosauria ซึ่งเคยครองระบบนิเวศบนพื้นพิภพ ในมหายุคมีโซโซอิก เป็นเวลานานถึง 165 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลาน แต่อันที่จริงไดโนเสาร์เป็นสัตว์ในอันดับหนึ่งที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างสัตว์เลื้อยคลานและนก คำว่า ไดโนเสาร์ ในภาษาอังกฤษ dinosaur ถูกตั้งขึ้นโดย เซอร์ ริชาร์ด โอเวน นักบรรพชีวินวิทยา ชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นการผสมของคำในภาษากรีกสองคำ คือคำว่า deinos (δεινός) (ใหญ่จนน่าสะพรึงกลัว) และคำว่า sauros (σαύρα) (สัตว์เลื้อยคลาน) หลายคนเข้าใจผิดว่า ไดโนเสาร์ คือสัตว์ที่อาศัยอยู่ในมหายุคมีโซโซอิกทั้งหมด แต่จริง ๆ แล้ว ไดโนเสาร์ คือสัตว์ชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่บนพื้นดินเท่านั้น สัตว์บกบางชนิดที่คล้ายไดโนเสาร์ สัตว์น้ำและสัตว์ปีกที่มีลักษณะคล้ายไดโนเสาร์ ไม่ถือว่าเป็นไดโนเสาร์ เป็นเพียงสัตว์ชนิดที่อาศัยอยู่ในยุคเดียวกับไดโนเสาร์เท่านั้น แม้ว่าไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ไปนานหลายล้านปีแล้ว แต่คำว่าไดโนเสาร์ก็ยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไดโนเสาร์นั้นนับว่าเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยปริศนาและความน่าอัศจรรย์เป็นอันมากนั่นเอง.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและไดโนเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไต

ตเป็นอวัยวะรูปถั่วซึ่งมีหน้าที่ควบคุมสำคัญหลายอย่างในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ไตนำโมเลกุลอินทรีย์ส่วนเกิน (เช่น กลูโคส) ออก และด้วยฤทธิ์นี้เองที่เป็นการทำหน้าที่ที่ทราบกันดีที่สุดของไต คือ การขับของเสียจากเมแทบอลิซึม (เช่น ยูเรีย แม้ 90% ของปริมาณที่กรองถูกดูดกลับที่หน่วยไต) ออกจากร่างกาย ไตเป็นอวัยวะสำคัญในระบบปัสสาวะและยังมีหน้าที่ธำรงดุล เช่น การกำกับอิเล็กโทรไลต์ การรักษาสมดุลกรด–เบส และการกำกับความดันเลือด (ผ่านการรักษาสมดุลเกลือและน้ำ) ไตทำหน้าที่เป็นตัวกรองเลือดตามธรรมชาติ และนำของเสียที่ละลายได้ในน้ำออก ซึ่งจะถูกส่งไปยังกระเพาะปัสสาวะ ในการผลิตปัสสาวะ ไตขับของเสีย เช่น ยูเรียและแอมโมเนียม และยังทำหน้าที่ดูดน้ำ กลูโคสและกรดอะมิโนกลับ ไตยังผลิตฮอร์โมน เช่น แคลซิไตรออล อีริโธรพอยอิติน และเอนไซม์เรนิน ซึ่งเรนินออกฤทธิ์ต่อไตโดยอ้อมในการยับยั้งป้อนกลับ (negative feedback) ไตอยู่หลังช่องท้องในหลังเยื่อบุช่องท้อง (retroperitoneum) ไตรับเลือดจากคู่หลอดเลือดแดงไต และเทเข้าสู่คู่หลอดเลือดดำไต ไตแต่ละข้างขับปัสสาวะสู่ท่อไต อันเป็นโครงสร้างคู่และเทเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ สรีรวิทยาไตเป็นการศึกษาการทำหน้าที่ของไต ขณะที่วักกวิทยา (nephrology) เป็นแพทยศาสตร์เฉพาะทางว่าด้วยโรคไต โรคของไตมีหลากหลาย แต่ผู้ที่มีโรคไตแสดงลักษณะพิเศษทางคลินิกบ่อยครั้ง ปัญหาทางคลินิกเกี่ยวกับไตที่พบบ่อย รวมถึงกลุ่มอาการไตอักเสบ (nephritic) และเนโฟรติก (nephrotic) ถุงน้ำไต ไตบาดเจ็บเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคนิ่วไต และการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ มีมะเร็งของไตหลายอย่าง มะเร็งของไตในผู้ใหญ่ที่พบมากที่สุด คือ มะเร็งเซลล์ไต มะเร็ง ถุงน้ำและปัญหาของไตอื่นบางอย่างสามารถรักษาได้ด้วยการตัดไต เมื่อการทำหน้าที่ของไต ซึ่งวัดได้โดยอัตราการกรองของโกลเมอรูลัส (glomerular filtration rate) ต่ำอย่างต่อเนื่อง การแยกสารผ่านเยื่อและการปลูกถ่ายไตอาจเป็นทางเลือกการรักษา นิ่วในไตปกติไม่เป็นอันตราย แต่อาจทำให้เกิดการปวด และการเกิดนิ่วซ้ำ ๆ เรื้อรังสามารถทำให้ไตเกิดแผลเป็น การนำนิ่วในไตออกเกี่ยวข้องกับการรักษาด้วยอัลตราซาวน์เพื่อสลายนิ่วเป็นชิ้นที่เล็กลง ซึ่งจะผ่านทางเดินปัสสาวะ กลุ่มอาการทั่วไปหนึ่งของนิ่วในไต คือ การปวดแปลบ (sharp) ถึงปวดจนรบกวนการใช้ชีวิต (disabling pain) ในตอนกลาง/ข้างของหลังส่วนล่างหรือขาหนี.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและไต · ดูเพิ่มเติม »

เฟอร์ริติน

ฟอร์ริติน (Ferritin) เป็นโปรตีนในเซลล์ทั่วไปที่สะสมธาตุเหล็กและปล่อยมันอย่างเป็นระบบ โปรตีนนี้มีในสิ่งมีชีวิตเกือบทั้งหมด รวมทั้งสาหร่าย แบคทีเรีย พืชชั้นสูง และสัตว์ ในมนุษย์ มันมีหน้าที่เป็นสารบัฟเฟอร์เพื่อไม่ให้ขาดเหล็กหรือมีเหล็กเกิน และพบในเนื้อเยื่อโดยมากในรูปแบบของโปรตีนในไซโตซอล (ในไซโทพลาซึมของเซลล์) แต่ก็มีส่วนหนึ่งที่อยู่ในเลือดโดยทำหน้าที่เป็นตัวขนส่งธาตุเหล็ก ระดับเฟอร์ริตินในเลือดยังเป็นตัวชี้ทางชีวภาพ (biomarker) ของปริมาณธาตุเหล็กที่สะสมในร่างกาย และดังนั้น จึงสามารถตรวจสอบเพื่อวินิจฉัยภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก (iron-deficiency anemia) เฟอร์ริตินเป็นคอมเพล็กซ์โปรตีนรูปทรงกลมที่มีหน่วยย่อย 24 หน่วยและเป็น "โปรตีนเก็บธาตุเหล็กในเซลล์" หลักทั้งในโพรแคริโอตและยูแคริโอต โดยเก็บเหล็กในรูปแบบที่ละลายน้ำได้และไม่มีพิษ ส่วนเฟอร์ริตินที่ไม่รวมเข้ากับธาตุเหล็กก็จะเรียกว่า apoferritin.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและเฟอร์ริติน · ดูเพิ่มเติม »

เพรียงหัวหอม

รียงหัวหอม (Sea squirts) เป็นสัตว์ในกลุ่มยูโรคอร์ดาตา คือ เป็นสัตว์ทะเลมีแกนสันหลัง รูปร่างคล้ายหัวหอม เมื่อถูกสัมผัสจะปล่อยน้ำออกจากตัว มีกลิ่นคล้ายหอมแดง ขนาดประมาณ 3-8 เซนติเมตร อาศัยเกาะกับวัตถุใต้น้ำ อยู่แบบเดี่ยว ๆ หรือเป็นกลุ่มก็ได้ พบตามเขตน้ำตื้น แนวปะการัง โขดหิน ทราย หรือโคลนในทะเล ตัวอ่อนมีลักษณะคล้ายลูกอ๊อดของกบ การสืบพันธุ์มีทั้งแบบอาศัยเพศที่ปฏิสนธิภายนอก และแบบไม่อาศัยเพศโดยการแตกหน่อ เพรียงหัวหอม แม้จะเป็นสัตว์ที่แลดูคล้ายฟองน้ำ แต่เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการสูงกว่าหน้า 66–89, ความงามใต้โลกน้ำแข็ง โดย โลรอง บาเลสต.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและเพรียงหัวหอม · ดูเพิ่มเติม »

เพนกวิน

นกวิน (Penguin) เป็นนกที่อยู่ในวงศ์ Spheniscidae อันดับ Sphenisciformes.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและเพนกวิน · ดูเพิ่มเติม »

เพนกวินลาย

นกวินลาย (Banded penguin) เป็นเพนกวินสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Spheniscus (แปลว่า "รูปลิ่ม") เพนกวินในสกุลนี้เป็นเพนกวินขนาดกลาง มีรูปร่างและลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ มีลายพาดสีดำตรงหน้าอกบนพื้นลำสีขาว และมีจุดกลมดำเล็ก ๆ บนหน้าท้อง ซึ่งจุดนี้จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัวเหมือนลายนิ้วมือของมนุษย์ ซึ่งจุดนี้อาจเป็นสีชมพู หรือขาวก็ได้ เป็นเพนกวินที่อาศัยอยู่ในเขตอบอุ่นของซีกโลกทางใต้ เช่น อเมริกาใต้, แอฟริกาใต้ หรือหมู่เกาะกาลาปากอส มีพฤติกรรมวางไข่บนพื้นดิน และเจริญเติบโตขึ้นในโพรงดิน ในบางครั้ง เพนกวินสกุลนี้ยังมีชื่อเรียกอื่น เช่น "เพนกวินแจ็ค-แอส" เนื่องจากมีเสียงร้องเหมือนลา ปัจจุบัน หลงเหลืออยู่ทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและเพนกวินลาย · ดูเพิ่มเติม »

เพนกวินหางแปรง

นกวินหางแปรง หรือ เพนกวินขาก้น (Brush tailed penguin, Bottom-legged) เป็นสกุลของนกบินไม่ได้ จำพวกเพนกวินสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Pygoscelis เพนกวินหางแปรง จากการศึกษาดีเอ็นเอและไมโตคอนเดรียพบว่า การได้แยกสายวิวัฒนาการมาจากเพนกวินสกุลอื่น ๆ เป็นเวลานานกว่า 38 ล้านปีมาแล้ว หลังจาก 2 ล้านปีของการกำเนิดบรรพบุรุษของเพนกวินสกุล Aptenodytes ในทางกลับกัน เพนกวินอะเดลี่ได้มีวิวัฒนาการของตัวเองจากชนิดอื่น ๆ ในสกุลราว 19 ล้านปีก่อน.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและเพนกวินหางแปรง · ดูเพิ่มเติม »

เพนกวินแอฟริกัน

นกวินแอฟริกัน หรือ เพนกวินตีนดำ (African penguin, Black-footed penguin) เป็นเพนกวินชนิดหนึ่ง เพนกวินแอฟริกัน เป็นเพนกวินขนาดเล็ก มีลำตัวยาวประมาณ 68–70 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 2–5 กิโลกรัม ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย มีจะงอยปากที่แหลมกว่าเพนกวินฮัมโบลด์ ซึ่งเป็นเพนกวินที่อยู่ร่วมสกุลเดียวกัน เดิมได้ชื่อว่า "เพนกวินลา" (Jackass penguin) เนื่องจากมีเสียงร้องเหมือนลา ต่อมาได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเพนกวินแอฟริกัน เพราะเป็นเพนกวินเพียงชนิดเดียวที่พบได้ในทวีปแอฟริกา โดยจะพบได้ตามชายฝั่งแถบแหลมกูดโฮป ในแอฟริกาใต้ และพบได้มากที่สุด ที่ชายหาดโบลส์เดอร์ ริมฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ประเทศแอฟริกาใต้ นิคมใหญ่ของเพนกวินแอฟริกัน ที่ชายหาดโบลส์เดอร์ เพนกวินแอฟริกัน เป็นนกที่จับคู่อยู่เพียงคู่เดียวตลอดชีวิต มีพฤติกรรมการอยู่รวมกันเป็นนิคมใหญ่ เมื่ออากาศร้อนจะขุดหลุมฝังตัวในพื้นทรายและอ้าปากรับลมเพื่อระบายความร้อนออกจากตัว จัดเป็นเพนกวินอีกชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ร่วมกับมนุษย์ได้เป็นอย่างดี.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและเพนกวินแอฟริกัน · ดูเพิ่มเติม »

เกล็ดปลา

กล็ดแบบกลมที่ปกคลุมปลายี่สกเทศ ผิวหนังของปลาส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยเกล็ด เกล็ดปลาแต่ละชนิดนั้นมีความแตกต่างกันทั้งด้านขนาด รูปทรง โครงสร้างและขอบเขต โดยมีตั้งแต่แผ่นเกราะแข็งแรงทื่อในปลาอย่างปลามีดโกนและปลาปักเป้ากล่อง ไปจนถึงมีขนาดเล็กจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าหรือไม่มีเลยในปลาอย่างปลาไหลและปลาตกเบ็ด สามารถใช้กายสัณฐานของเกล็ดในการระบุชนิดของปลาได้ ปลากระดูกอ่อน (เช่น ปลาฉลามและปลากระเบน) มีเกล็ดแบนราบ (placoid) ปกคลุม ส่วนปลากระดูกแข็งส่วนใหญ่มีเกล็ดทรงกลม (cycloid) อย่างปลาแซลมอนและปลาคาร์พ หรือเกล็ดแบบซี่ (ctenoid) อย่างปลาเพิร์ช หรือเกล็ดกระดูกแข็ง (ganoid) อย่างปลาสเตอร์เจียนและปลาการ์ บางชนิดมีสคิวต์ (scute) ปกคลุม และบางชนิดไม่มีสิ่งปกคลุมผิวหนัง เกล็ดปลาเป็นส่วนหนึ่งของระบบส่วนห่อหุ้มของปลา และผลิตจากชั้นเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของหนังแท้ ซึ่งทำให้เกล็ดปลาแตกต่างจากเกล็ดสัตว์เลื้อยคลาน การเจริญของเกล็ดอาศัยยีนเดียวกับที่เกี่ยวข้องกับการเจริญของฟันและขนในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เกล็ดแบนราบของปลากระดูกอ่อนยังเรียก เด็นทิเคิลหนังแท้ (dermal denticle) และสมนัยเชิงโครงสร้างกับฟันของสัตว์มีกระดูกสันหลัง มีการเสนอว่า เกล็ดของปลากระดูกแข็งมีโครงสร้างเหมือนกับฟัน แต่อาจกำเนิดจากเนื้อเยื่อคนละชนิดกัน ปลาส่วนใหญ่มีชั้นเมือกป้องกันปกคลุมอยู.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและเกล็ดปลา · ดูเพิ่มเติม »

เมือก

มูกหรือเมือก (mucus) ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสิ่งคัดหลั่งลื่นที่เยื่อเมือกสร้างขึ้นปกคลุม น้ำเมือกตรงแบบผลิตจากเซลล์ที่พบในต่อมมูก เซลล์มูกหลั่งผลิตภัณฑ์ที่มีไกลโคโปรตีนและน้ำสูง น้ำเมือกยังอาจเกิดจากต่อมผสม (mixed gland) ซึ่งมีทั้งเซลล์หลั่งน้ำใสและหลั่งเมือก เมือกเป็นคอลลอยด์หนืดซึ่งมีเอนไซม์ระงับเชื้อ (เช่น ไลโซไซม์) อิมมูโนโกลบูลิน เกลืออนินทรีย์ โปรตีนอย่างแลกโตเฟอร์ริน และไกลโคโปรตีนซึ่งรู้จักกันในชื่อ มิวซิน ซึ่งผลิตโดยเซลล์กลอเบล็ต (goblet cell) ในเยื่อเมือกและต่อมชั้นใต้เยื่อเมือก เมือกนี้ทำหน้าที่ปกป้องเซลล์เนื้อเยื่อบุผิว (บุท่อ) ในระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ปัสสาวะและเพศ การเห็นและการได้ยินในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผิวหนังในสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และเหงือกในปลา การทำหน้าที่หลักของเมือกนี้ คือ ปกป้องต่อสิ่งก่อโรคอย่างเห็ดรา แบคทีเรียและไวรัส ในร่างกายมนุษย์โดยเฉลี่ยผลิตเมือกราวหนึ่งลิตรต่อวัน.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและเมือก · ดูเพิ่มเติม »

เมียร์แคต

มียร์แคต (Meerkat, Suricate) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีขนาดลำตัวเล็ก น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม (2 ปอนด์) และสูงประมาณ 50 เซนติเมตร (20 นิ้ว) จัดอยู่ในวงศ์พังพอน (Herpestidae) มีถิ่นอาศัยอยู่ในทะเลทรายคาลาฮารีทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Suricata และแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) เมียร์แคตมีอุ้งเล็บที่มีลักษณะโค้งเพื่อใช้ในการขุด และมีจมูกไวมาก มีขนสั้นสีน้ำตาล มีขนเป็นแนวเส้นขนานพาดข้ามหลัง อาศัยและหาอาหารในโพรงดินที่ขุดขึ้น โดยอาหารได้แก่ แมลงชนิดต่าง ๆ รวมถึงสัตว์มีกระดูกสันหลังตัวเล็ก ๆ อีกด้วย อีกทั้งยังสู้และกินสัตว์มีพิษต่าง ๆ ได้อีกด้วย เช่น แมงป่อง ตะขาบ งูพิษ เป็นต้น มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่บางครั้งอาจมีสมาชิกถึง 30 ตัว และอยู่ร่วมกับสัตว์ขนาดเล็กชนิดอื่น ๆ เช่น กระรอกดิน ไม่ชอบอยู่กับที่ ชอบยืนชะเง้อคอ เพื่อตรวจดูและดมกลิ่นในบริเวณรอบ ๆ จะออกมารับแสงแดดในช่วงเวลาเช้าเพื่อให้ร่างกายอบอุ่น เมียร์แคตถือได้ว่าเป็นสัตว์มีประสาทสัมผัสและการระแวดระวังภัยที่ดีมาก โดยเฉพาะเรื่องการรับฟังเสียงจะสามารถได้ยินเสียงในรัศมีถึง 160 ฟุต (50 เมตร) และจะอพยพย้ายที่อยู่เมื่อมีภัย ทั้งนี้โพรงของเมียร์แคตมีความลึกลงไปในใต้ดิน โพรงดินที่สร้างขึ้นสามารถเชื่อมต่อกัน ทำให้มีช่องทางเข้าออกมากขึ้นและช่วยให้มีทางหลบหนีเมื่อมีภัยมา เมียร์แคตจะขยายพันธุ์เมื่อมีอายุประมาณ 1 ปี จะออกลูกตามโพรง ช่วงฤดูผสมพันธุ์คือเดือนตุลาคม-มีนาคม ระยะเวลาตั้งท้องประมาณ 11 สัปดาห์ ออกลูกครั้งละ 2-5 ตัว.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและเมียร์แคต · ดูเพิ่มเติม »

เมแทบอลิซึม

กระบวนการสร้างและสลาย หรือ เมแทบอลิซึม (metabolism) มาจากภาษากรีก μεταβολή ("metabolē") มีความหมายว่า "เปลี่ยนแปลง" เป็นกลุ่มปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อค้ำจุนชีวิต วัตถุประสงค์หลักสามประการของเมแทบอลิซึม ได้แก่ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานในการดำเนินกระบวนการของเซลล์ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน ลิพิด กรดนิวคลิอิกและคาร์โบไฮเดรตบางชนิด และการขจัดของเสียไนโตรเจน ปฏิกิริยาเหล่านี้มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเติบโตและเจริญพันธุ์ คงไว้ซึ่งโครงสร้างและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม "เมแทบอลิซึม" ยังสามารถหมายถึง ผลรวมของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดที่เกิดในสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการย่อยและการขนส่งสสารเข้าสู่เซลล์และระหว่างเซลล์ กลุ่มปฏิกิริยาเหล่านี้เรียกว่า เมแทบอลิซึมสารอินเทอร์มีเดียต (intermediary หรือ intermediate metabolism) โดยปกติ เมแทบอลิซึมแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ แคแทบอลิซึม (catabolism) ที่เป็นการสลายสสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น การสลายกลูโคสให้เป็นไพรูเวต เพื่อให้ได้พลังงานในการหายใจระดับเซลล์ และแอแนบอลิซึม (anabolism) ที่หมายถึงการสร้างส่วนประกอบของเซลล์ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ทั้งนี้ การเกิดแคแทบอลิซึมส่วนใหญ่มักมีการปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนการเกิดแอแนบอลิซึมนั้นจะมีการใช้พลังงานเพื่อเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเคมีของเมแทบอลิซึมถูกจัดอยู่ในวิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) ซึ่งสารเคมีชนิดหนึ่งๆ จะถูกเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนจนกลายเป็นสารชนิดอื่น โดยอาศัยการเข้าทำปฏิกิริยาของใช้เอนไซม์หลายชนิด ทั้งนี้ เอนไซม์ชนิดต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดเมแทบอลิซึม เพราะเอนไซม์จะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านั้น โดยการเข้าจับกับปฏิกิริยาที่เกิดเองได้ (spontaneous process) อยู่แล้วในร่างกาย และหลังการเกิดปฏิกิริยาจะมีปลดปล่อยพลังงานออกมา พลังงานที่เกิดขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาเคมีอื่นของสิ่งมีชีวิตที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้เองหากปราศจากพลังงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า เอนไซม์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เอนไซม์ยังทำหน้าที่ควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมในกระบวนการการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมของเซลล์หรือสัญญาณจากเซลล์อื่น ระบบเมแทบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตจะเป็นตัวกำหนดว่า สารใดที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นพิษสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น โปรคาริโอตบางชนิดใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสารอาหาร ทว่าแก๊สดังกล่าวกลับเป็นสารที่ก่อให้เกิดพิษแก่สัตว์ ทั้งนี้ ความเร็วของเมแทบอลิซึม หรืออัตราเมแทบอลิกนั้น ส่งผลต่อปริมาณอาหารที่สิ่งมีชีวิตต้องการ รวมไปถึงวิธีที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะได้อาหารมาด้วย คุณลักษณะที่โดดเด่นของเมแทบอลิซึม คือ ความคล้ายคลึงกันของวิถีเมแทบอลิซึมและส่วนประกอบพื้นฐาน แม้จะในสปีชีส์ที่ต่างกันมากก็ตาม ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกที่ทราบกันดีว่าเป็นสารตัวกลางในวัฏจักรเครปส์นั้นพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีการศึกษาในปัจจุบัน ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างแบคทีเรีย Escherichia coli ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ขนาดใหญ่อย่างช้าง ความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดใจของวิถีเมแทบอลิซึมเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจเป็นผลเนื่องมาจากวิถีเมแทบอลิซึมที่ปรากฏขึ้นในช่วงแรกของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการ และสืบมาจนถึงปัจจุบันเพราะประสิทธิผลของกระบวนการนี้.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและเมแทบอลิซึม · ดูเพิ่มเติม »

เม็ดเลือดแดง

ซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกายมนุษย์ เม็ดเลือดแดง (red blood cell, Erythrocyte: มาจากภาษากรีก โดย erythros แปลว่า "สีแดง" kytos แปลว่า "ส่วนเว้า" และ cyte แปลว่า "เซลล์") มีหน้าที่ในการส่งถ่ายออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เม็ดเลือดแดงมีขนาดประมาณ 6-8 ไมครอน มีลักษณะค่อนข้างกลม เว้าบริเวณกลางคล้ายโดนัท ไม่มีนิวเคลียส มีสีแดง เนื่องจากภายในมีสารฮีโมโกลบิน โดยในกระแสเลือดคนปกติจะพบเม็ดเลือดแดงที่เจริญเติบโตเต็มที่ (Mature red cell) มีเพียงไม่เกิน 2% ที่สามารถพบเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน (Reticulocyte) ได้.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและเม็ดเลือดแดง · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อบุผิวรับกลิ่น

ื่อบุผิวรับกลิ่น (olfactory epithelium).

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและเยื่อบุผิวรับกลิ่น · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อกั้นหูชั้นใน

ื่อกั้นหูชั้นใน หรือ เยื่อฐาน (Basilar membrane) ภายในหูชั้นในรูปหอยโข่ง (คอเคลีย) เป็นโครงสร้างแข็ง ๆ ที่แยกท่อสองท่อซึ่งเต็มไปด้วยน้ำ ซึ่งก็คือช่อง scala media และ scala tympani (ดูรูป) และวิ่งไปตามก้นหอยของคอเคลี.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและเยื่อกั้นหูชั้นใน · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่ง

ือโคร่ง หรือ เสือลายพาดกลอน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อันดับสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris ในวงศ์ Felidae จัดเป็นสัตว์ที่มีขนาดที่สุดในวงศ์นี้ และเป็นเสือชนิดที่ใหญ่ที่สุดด้ว.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและเสือโคร่ง · ดูเพิ่มเติม »

เอ็กโทเดิร์ม

อ็กโทเดิร์ม (ectoderm) เป็นเนื้อเยื่อแรกที่ปกคลุมพื้นผิวของร่างกาย เกิดขึ้นมาเป็นชั้นแรกและอยู่ชั้นนอกสุดของ germ layer กล่าวโดยทั่วไป เอ็กโทเดิร์มเจริญไปเป็นระบบประสาท, หนังกำพร้า, และส่วนนอกของระบบปกคลุมร่างกาย ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง เอ็กโทเดิร์มแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ external ectoderm (หรือ surface ectoderm), นิวรัล เครสต์ (neural crest), และนิวรัล ทูบ (neural tube) ซึ่งสองอันหลังนี้เรียกรวมกันว่า นิวโรเอ็กโทเดิร์ม (neuroectoderm).

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและเอ็กโทเดิร์ม · ดูเพิ่มเติม »

เฮลล์เบนเดอร์

ลล์เบนเดอร์ (Hellbender, Hellbender salamander) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดใหญ่ จำพวกซาลาแมนเดอร์ยักษ์ชนิดหนึ่ง นับเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Cryptobranchus เฮลล์เบนเดอร์ เป็นซาลาแมนเดอร์ยักษ์เพียงชนิดเดียวที่พบได้ในสหรัฐอเมริกา และเป็นซาลาแมนเดอร์ยักษ์ 1 ใน 3 ชนิดที่สืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้เป็นเวลากว่า 300 ล้านปีมาแล้ว โดยที่ชื่อ "เฮลล์เบนเดอร์" นั้น มีความหมายว่า "เลื้อยมาจากนรก" โดยไม่ทราบสาเหตุที่มาของชื่อนี้ ขณะที่ชื่อสกุลมาจากภาษากรีกโบราณคำว่า kryptos หมายถึง "หลบซ่อน" และ branchion หมายถึง "เหงือก" นอกจากนี้แล้วยังมีชื่อสามัญอื่น ๆ อีก เช่น "นากเมือก" (Snot otter), "หมาปีศาจ" (Devil dog) และ "ปีศาจโคลน" (Mud-devil) เป็นต้น ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเชื่อกันว่า เฮลล์เบนเดอร์เป็นสัตว์มีพิษและเป็นภัยคุกคามต่อการประมง เฮลล์เบนเดอร์มีลักษณะคล้ายกับซาลาแมนเดอร์ยักษ์ที่พบในจีน และญี่ปุ่น คือ มีส่วนหัวแบนที่กว้างและแผ่แบน รอบ ๆ ปากมีตุ่มที่เป็นประสาทสัมผัสตรวจจับการสั่นสะเทือนของน้ำ ตามีขนาดเล็ก ปากกว้าง มุมปากยาวจากตาข้างหนึ่งจรดตาอีกข้างหนึ่ง ลำตัวแบนเรียวยาว หางมีแผ่นครีบ และไวต่อความรู้สึก ผิวหนังย่นเพื่อใช้ในการหายใจแลกเปลี่ยนออกซิเจน เพราะเป็นซาลาแมนเดอร์ที่ใช้ผิวหนังในการหายใจ แต่ทว่ามีความยาวน้อยกว่า โดยเฮลล์เบนเดอร์โตได้เต็มที่ประมาณ 2 ฟุต หรือ 75 เซนติเมตร มีอายุได้ยาวนานถึง 30 ปี เฮลล์เบนเดอร์ อาศัยอยู่ในลำธารน้ำที่ไหลแรงและสะอาด มีปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำสูง ในป่าทึบบนภูเขาที่ห่างไกลของสหรัฐอเมริกา เมื่อถูกคุกคามจะปล่อยเมือกจำนวนมากที่มีรสชาติขม เพื่อป้องกันมิให้ถูกกินจากสัตว์นักล่า เฮลล์เบนเดอร์ตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่และตัวอ่อน ตัวอ่อนจะมีพู่เหงือกภายนอกเหมือนกับซาลาแมนเดอร์หลายชนิดทั่วไป ออกหากินในเวลากลางคืน โดยกินสัตว์น้ำต่าง ๆ เช่น เครย์ฟิช เป็นอาหาร ในขณะที่ยังเป็นตัวอ่อนจะกินแมลงน้ำ ในเวลากลางวันจะหลบซ่อนตัวอยู่ภายในโพรงหินหรือใต้ก้อนหิน เนื่องจากมีลำตัวและส่วนหัวที่แบน เพื่อป้องกันตัวเองและมิให้ถูกกระแสน้ำพัดไป เพราะเฮลล์เบนเดอร์โดยเฉพาะที่ยังเป็นตัวเล็กจะตกเป็นอาหารของสัตว์อื่นได้ เช่น เต่า หรืองู รวมถึงปลาเทราต์ เฮลล์เบนเดอร์ตะวันตก หรือเฮลล์เบนเดอร์โอซาร์คส์ เฮลล์เบนเดอร์แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย คือ ชนิดตะวันออก และชนิดตะวันตก โดยชนิดตะวันออกนั้นยังมีจำนวนประชากรมากอยู่และปลอดภัยจากการถูกคุกคาม แต่ในชนิดตะวันตก โดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ในภูเขาโอซาร์คส์ ทางแถบตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา มีจำนวนประชากรที่ลดลงอย่างต่อเนื่องมากว่า 30 ปีแล้ว ตั้งแต่ทศวรรษที่ 70 จากการถูกจับไปเป็นสัตว์เลี้ยง รวมถึงภัยคุกคามอย่างอื่น ได้แก่ มลภาวะในน้ำ และเชื้อราไคทริด ที่เป็นภัยคุกคามสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกในปัจจุบัน เฮลล์เบนเดอร์ที่ติดเชื้อรานี้จะทำให้เกิดแผลต่าง ๆ ตามร่างกาย ทำให้นิ้วตีนกุดหรือขาดไป และตายในที่สุด แม้จะสามารถงอกอวัยวะใหม่ได้เมื่อขาดไป แต่หากกระดูกภายในได้หักไปแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะงอกใหม่ได้อีก หรือแม้แต่เฮลล์เบนเดอร์ที่มีจำนวนนิ้วงอกมากกว่าปกติก็มี ซึ่งเชื้อราไคทิรดนี้เชื่อว่าแพร่ระบาดมาจากกบที่นำเข้ามาจากแอฟริกา เพื่อเป็นสัตว์เลี้ยง นอกจากนี้แล้วยังโดนคุกคามจากปลาเทราต์ ซึ่งเป็นปลากินเนื้อขนาดใหญ่ โดยเฉพาะ ปลาเทราต์สีน้ำตาล เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เฮลล์เบนเดอร์ตะวันตกต้องพิการ ในปัจจุบัน ได้มีการให้ทุนจากกรมประมงและสัตว์ป่า สหรัฐอเมริกา (FWS) แก่ผู้ที่ทำการวิจัยและฝึกเฮลล์เบนเดอร์ในวัยอ่อนให้ระวังการจู่โจมของปลาเทราต์สีน้ำตาล ในสถานที่เลี้ยง ก่อนที่จะนำปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติต่อไป โดยให้เฮลล์เบนเดอร์รู้จักหลบเลี่ยงเมื่อได้กลิ่นของปลาเทราต์The Hellbender, "Nick Baker's Weird Creatures".

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและเฮลล์เบนเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เทสโทสเตอโรน

ทสโทสเตอโรน (Testosterone) เป็นฮอร์โมนหลักในกลุ่มฮอร์โมนเพศชายและสเตอรอยด์การสร้าง (anabolic steroid) ประเภทหนึ่งที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังโดยมาก มีบทบาทสำคัญในพัฒนาการของเนื้อเยื่อในระบบสืบพันธุ์ชาย เช่น อัณฑะและต่อมลูกหมาก ตลอดจนส่งเสริมลักษณะเฉพาะทางเพศทุติยภูมิ เช่น การเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อกับกระดูก และการเกิดขนตัว นอกจากนั้นแล้ว ฮอร์โมนยังเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ต่อสุขภาพและความอยู่เป็นสุข ตลอดจนป้องกันโรคกระดูกพรุน ระดับฮอร์โมนที่ไม่พอในชาย อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่าง ๆ เช่น ความอ่อนแอและการเสียกระดูก ฮอร์โมนอาจใช้เพื่อรักษาอวัยวะเพศชายทำงานไม่พอ (male hypogonadism) และมะเร็งเต้านมบางชนิด เนื่องจากระดับฮอร์โมนจะลดลงเรื่อย ๆ ตามอายุ แพทย์บางครั้งจะให้ฮอร์โมนสังเคราะห์กับชายสูงอายุเพื่อแก้ปัญหาการขาด เทสโทสเตอโรนเป็นสเตอรอยด์ในกลุ่ม androstane ที่มีกลุ่มคีโทนและไฮดรอกซิลที่ตำแหน่ง 3 และ 17 ตามลำดับ ซึ่งสามารถสังเคราะห์จากคอเลสเตอรอลในหลายขั้นตอน และตับจะเปลี่ยนมันเป็นเมแทบอไลต์ที่ไม่มีฤทธิ์ ฮอร์โมนสามารถเข้ายึดและออกฤทธิ์ต่อตัวรับแอนโดรเจน (androgen receptor) ในนิวเคลียสของเซลล์ ในมนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลังโดยมาก อัณฑะเป็นอวัยวะที่หลั่งฮอร์โมนในชาย และรังไข่ในหญิงแม้ในระดับที่ต่ำกว่า ต่อมหมวกไตก็หลั่งฮอร์โมนแม้เล็กน้อยด้วย โดยเฉลี่ย ในชายผู้ใหญ่ ระดับเทสโทสเตอโรนจะอยู่ที่ 7-8 เท่าของหญิงผู้ใหญ่ เพราะฮอร์โมนมีเมแทบอลิซึมที่สูงกว่าในชาย การผลิตแต่ละวันจะมากกว่าหญิงประมาณ 20 เท่า หญิงยังไวต่อฮอร์โมนมากกว่าชายอีกด้ว.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและเทสโทสเตอโรน · ดูเพิ่มเติม »

เคลด

แผนภาพวิวัฒนาการชาติพันธุ์ (Cladogram) หรือพงศาวลีของกลุ่มสิ่งมีชีวิต โดยลำต้น (เส้นตั้ง) ที่ฐานแต่ละฐานจะเป็นบรรพบุรุษร่วมกันสุดท้ายของสิ่งมีชีวิตที่เป็นลูกหลานภายในพุ่มไม้ที่อยู่เหนือลำต้นนั้น ๆ กลุ่มย่อยสีน้ำเงินและสีแดง (ซ้ายและขวาสุด) เรียกว่า clade เพราะเป็นกลุ่ม "จากชาติพันธุ์เดียว" (monophyletic) โดยแต่ละกลุ่มจะมีบรรพบุรุษร่วมกันที่ฐาน ส่วนกลุ่มย่อยสีเขียวไม่เรียกว่า clade เพราะเป็นกลุ่ม paraphyletic และไม่รวมเอากลุ่มย่อยสีน้ำเงินแม้จะสืบทอดมาจากบรรพบุรุษร่วมกันซึ่งอยู่ที่ฐานของกลุ่มสีเขียว เคลด (clade จาก κλάδος, klados แปลว่า "สาขา") เป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่รวมเอาบรรพบุรุษที่มีร่วมกันและลูกหลานของมันทั้งหมด โดยแสดงเป็น "สาขา" เดียวจากต้นไม้ชีวิต บรรพบุรุษร่วมกันอาจเป็นสิ่งมีชีวิตหนึ่งหน่วย กลุ่มประชากร สปีชีส์ (ไม่ว่าจะสูญพันธุ์ไปแล้วหรือยังมีอยู่) เป็นต้น จนไปถึงระดับอาณาจักร เคลดเป็นโครงสร้างซ้อนใน คือจะมีเคลดภายในเคลดเพราะสาขาใหญ่หนึ่ง ๆ จะแยกออกเป็นสาขาย่อย ๆ การแยกออกจะสะท้อนให้เห็นถึงประวัติวิวัฒนาการ เพราะแสดงกลุ่มประชากรที่แยกจากกันแล้ววิวัฒนาการแยกกันต่างหาก ๆ เคลดจะมาจากชาติพันธุ์เดียว (monophyletic) ในทศวรรษ 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา วิธีการศึกษาแบบแคลดิสติกส์ (คือใช้แนวคิดแบบเคลด) ได้ปฏิวัติการจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิต และได้แสดงความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการที่น่าทึ่งใจระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ โดยมีผลเป็นนักอนุกรมวิธานพยายามหลีกเลี่ยงการให้ชื่อกับหน่วยที่ไม่ใช่เคลด คือหน่วยที่ไม่ได้มาจากชาติพันธุ์เดียว (monophyletic).

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและเคลด · ดูเพิ่มเติม »

เตตราโครมาซี

ีที่เซลล์รูปกรวยของนกรับได้ (ในตัวอย่างนี้ เป็นของวงศ์นกกระติ๊ด) ซึ่งขยายการเห็นสีของนกไปในช่วงความถี่แสงอัลตราไวโอเลตFigure data, uncorrected absorbance curve fits, from Hart NS, Partridge JC, Bennett ATD and Cuthill IC (2000) Visual pigments, cone oil droplets and ocular media in four species of estrildid finch. Journal of Comparative Physiology A186 (7-8): 681-694. ภาวะ Tetrachromacy เป็นภาวะที่มีทางประสาทต่างหาก 4 ทางในการส่งข้อมูลเกี่ยวกับสี หรือมีเซลล์รูปกรวย 4 ประเภทในตา สัตว์ที่มีภาวะ Tetrachromacy เรียกว่า tetrachromat ในสัตว์ประเภท tetrachromat การเห็นสีต่าง ๆ จะมี 4-มิติ ซึ่งหมายความว่า เพื่อที่จะเทียบสีที่สัตว์เห็น จะต้องใช้การผสมรวมกันของแม่สีอย่างน้อย 4 สี นกหลายประเภทเป็น tetrachromat และแม้แต่สปีชีส์ต่าง ๆ ของปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน และแมลง ก็เป็น tetrachromat ด้ว.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและเตตราโครมาซี · ดูเพิ่มเติม »

เต่าปากแม่น้ำ

ต่าปากแม่น้ำ (River terrapins) เป็นสกุลของเต่าสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Batagur (/บา-ตา-เกอ/) ในวงศ์เต่านา (Geoemydidae) เป็นเต่าที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำกร่อยใกล้ทะเล เช่น ปากแม่น้ำ หรือชะวากทะเล พบกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชียในส่วนของเอเชียอาคเนย์และเอเชียใต้.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและเต่าปากแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์รับแสง

ซลล์รับแสง (photoreceptor cell) เป็นเซลล์ประสาท (นิวรอน) พิเศษในจอประสาทตาที่มีสมรรถภาพในการถ่ายโอนแสงไปเป็นพลังประสาท ความสำคัญทางชีวภาพของเซลล์รับแสงก็คือความสามารถในการแปลงแสงที่เห็นได้ไปเป็นสัญญาณที่สามารถเร้ากระบวนการต่าง ๆ ทางชีวภาพ จะกล่าวให้ชัดเจนกว่านี้ก็คือ มีโปรตีนหน่วยรับแสงในเซลล์ที่ดูดซึมโฟตอน ซึ่งนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในความต่างศักย์ของเยื่อหุ้มเซลล์ เซลล์รับแสงแบบคลาสิกก็คือเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวย แต่ละอย่างล้วนแต่ให้ข้อมูลที่ใช้ในระบบการมองเห็นเพื่อสร้างแบบจำลองของโลกภายนอกที่เห็นทางตา เซลล์รูปแท่งนั้นบางกว่าเซลล์รูปกรวย และมีความกระจัดจายไปในจอประสาทตาที่แตกต่างกัน แม้ว่า กระบวนการเคมีที่ถ่ายโอนแสงไปเป็นพลังประสาทนั้นคล้ายคลึงกัน มีการค้นพบเซลล์รับแสงประเภทที่สามในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ซึ่งก็คือ photosensitive retinal ganglion cell เป็นเซลล์ที่ไม่ได้มีส่วนให้เกิดการเห็นโดยตรง แต่เชื่อกันว่า มีส่วนช่วยในระบบควบคุมจังหวะรอบวัน (circadian rhythms) และปฏิกิริยาปรับรูม่านตาแบบรีเฟล็กซ์ เซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยมีหน้าที่แตกต่างกัน คือ เซลล์รูปแท่งไวแสงเป็นพิเศษ มีปฏิกิริยาต่อโฟตอนเพียงแค่ 6 อนุภาค ดังนั้น ในที่มีระดับแสงต่ำ การเห็นเกิดจากสัญญาณที่มาจากเซลล์รูปแท่งเท่านั้น ซึ่งอธิบายว่า ทำไมเราจึงไม่สามารถเห็นภาพสีได้ในที่สลัว ซึ่งก็คือเพราะมีแต่เซลล์รูปแท่งเท่านั้นที่ทำงานได้ในระดับแสงนั้น และเซลล์รูปกรวยเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเห็นภาพสี ส่วนเซลล์รูปกรวยต้องใช้แสงระดับที่สูงกว่ามาก (คือต้องมีโฟตอนมากระทบมากกว่า) ก่อนที่จะเกิดการทำงาน ในมนุษย์ มีเซลล์รูปกรวยสามประเภท จำแนกโดยการตอบสนองต่อความยาวคลื่นแสงที่ต่าง ๆ กัน การเห็นสี (ในภาพ) เป็นการประมวลผลจากสัญญาณที่มาจากเซลล์รูปกรวยสามประเภทเหล่านี้ โดยน่าจะผ่านกระบวนการ opponent process เซลล์รูปกรวยสามอย่างนี้ตอบสนอง (โดยคร่าว ๆ) ต่อแสงที่มีความยาวคลื่นขนาดสั้น (S) ขนาดกลาง (M) และขนาดยาว (L) ให้สังเกตว่า การยิงสัญญาณของเซลล์รับแสงนั้นขึ้นอยู่เพียงกับจำนวนโฟตอนที่ได้รับเท่านั้น (กำหนดโดยทฤษฎี principle of univariance) ส่วนการตอบสนองที่ต่าง ๆ กันของเซลล์รูปกรวยขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้ของโปรตีนรับแสงของเซลล์ที่จะดูดซึมแสงที่ความยาวคลื่นนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น เซลล์รูปกรวยแบบ L มีโปรตีนรับแสงที่ดูดซึมแสงที่มีความยาวคลื่นขนาดยาว (หรือออกสีแดง ๆ) แม้ว่า แสงที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าอาจจะทำให้เกิดการตอบสนองในระดับเดียวกัน แต่จะต้องเป็นแสงที่สว่างกว่ามาก จอประสาทตามมนุษย์มีเซลล์รูปแท่งประมาณ 120 ล้านเซลล์ และมีเซลล์รูปกรวยประมาณ 6 ล้านเซลล์ สัตว์ต่าง ๆ สปีชีส์มีอัตราส่วนของเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่า เป็นสัตว์กลางวันหรือสัตว์กลางคืน นอกจากเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยแล้ว ยังมี retinal ganglion cell (ตัวย่อ RGC) ประมาณ 1.5 เซลล์ในมนุษย์ และมี 1-2% ที่ไวแสง บทความนี้กล่าวถึงเซลล์รับแสงของสัตว์มีกระดูกสันหลัง เซลล์รับแสงของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่นแมลงและมอลลัสกามีความแตกต่างจากสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งในโครงสร้างและในกระบวนการเคมีชีว.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและเซลล์รับแสง · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ขน

ซลล์ขน (Hair cell) เป็นเซลล์รับความรู้สึก (sensory receptor) ของทั้งระบบการได้ยินและระบบการทรงตัว (vestibular system) ในหูชั้นในของสัตว์มีกระดูกสันหลัง โดยตรวจจับการเคลื่อนไหวของน้ำในระบบผ่านกระบวนการถ่ายโอนแรงกล (mechanotransduction) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เซลล์ขนรับเสียงอยู่ในอวัยวะของคอร์ติ ซึ่งอยู่บนเยื่อกั้นหูชั้นใน (basilar membrane) ในอวัยวะรูปหอยโข่ง (คอเคลีย) ชื่อของเซลล์มาจากมัดขนที่เรียกว่า stereocilia ที่ยื่นออกมาจากเยื่อหุ้มเซลล์ด้านบน (apical) เข้าไปในน้ำของท่อคอเคลีย (cochlear duct) เซลล์ขนในคอเคลียของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสามารถแบ่งโดยกายวิภาคและหน้าที่เป็นสองอย่าง คือ เซลล์ขนด้านนอก (outer hair cell, OHC) และเซลล์ขนด้านใน (inner hair cell, IHC) ความเสียหายต่อเซลล์ขนทำให้ได้ยินน้อยลง และเพราะว่า เซลล์ขนไม่สามารถเกิดใหม่ ดังนั้น ความเสียหายก็จะคงยืน แต่ว่า ก็ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เช่น ปลาม้าลายและสัตว์ปีกที่เซลล์ขนสามารถเกิดใหม่ได้ คอเคลียของมนุษย์มี IHC ประมาณ 3,500 ตัว และ OHC 12,000 ตัว OHC มีหน้าที่ขยายเสียงเบา ๆ ที่เข้ามาในคอเคลีย (แต่ไม่ขยายเสียงที่ดังถึงระดับหนึ่งแล้ว) ซึ่งอาจเกิดจากการเคลื่อนไหวของมัดขน หรือว่า จากการเคลื่อนไหวของตัวเซลล์เองที่ได้พลังงานจากไฟฟ้า ส่วน IHC จะเปลี่ยนแรงสั่นของเสียงในน้ำไปเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งผ่านโสตประสาท (auditory nerve) ไปยังก้านสมอง และต่อไปยังคอร์เทกซ์การได้ยิน (auditory cortex) เพื่อแปลและประมวลผลต่อ ๆ ไป.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและเซลล์ขน · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ประสาท

ซลล์ประสาท หรือ นิวรอน (neuron,, หรือ) เป็นเซลล์เร้าได้ด้วยพลัง ของเซลล์อสุจิที่ทำหน้าที่ประมวลและส่งข้อมูลผ่านสัญญาณไฟฟ้าและเคมี โดยส่งผ่านจุดประสานประสาท (synapse) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อโดยเฉพาะกับเซลล์อื่น ๆ นิวรอนอาจเชื่อมกันเป็นโครงข่ายประสาท (neural network) และเป็นองค์ประกอบหลักของสมองกับไขสันหลังในระบบประสาทกลาง (CNS) และของปมประสาท (ganglia) ในระบบประสาทนอกส่วนกลาง (PNS) นิวรอนที่ทำหน้าที่โดยเฉพาะ ๆ รวมทั้ง.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและเซลล์ประสาท · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกสมอง

ปลือกสมอง"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑"หรือ ส่วนนอกของสมองใหญ่ หรือ คอร์เทกซ์สมองใหญ่"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ cerebral ว่า "-สมองใหญ่" หรือ "-สมอง" หรือ เซรีบรัลคอร์เทกซ์ หรือบางครั้งเรียกสั้น ๆ เพียงแค่ว่า คอร์เทกซ์ (แต่คำว่า คอร์เทกซ์ สามารถหมายถึงส่วนย่อยส่วนหนึ่ง ๆ ในเปลือกสมองด้วย) (Cerebral cortex, cortex, Cortex cerebri) เป็นชั้นเนื้อเยื่อเซลล์ประสาทชั้นนอกสุดของซีรีบรัม (หรือเรียกว่าเทเลนฟาลอน) ที่เป็นส่วนของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลังบางพวก เป็นส่วนที่ปกคลุมทั้งซีรีบรัมทั้งซีรีเบลลัม มีอยู่ทั้งซีกซ้ายซีกขวาของสมอง เปลือกสมองมีบทบาทสำคัญในระบบความจำ ความใส่ใจ ความตระหนัก (awareness) ความคิด ภาษา และการรับรู้ (consciousness) เปลือกสมองมี 6 ชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเซลล์ประสาทต่าง ๆ กัน และการเชื่อมต่อกับสมองส่วนอื่น ๆ ที่ไม่เหมือนกัน เปลือกสมองของมนุษย์มีความหนา 2-4 มิลลิเมตร ในสมองดอง เปลือกสมองมีสีเทา ดังนั้น จึงมีชื่อว่าเนื้อเทา มีสีดังนั้นก็เพราะประกอบด้วยเซลล์ประสาทและแอกซอนที่ไม่มีปลอกไมอีลิน เปรียบเทียบกับเนื้อขาว (white matter) ที่อยู่ใต้เนื้อเทา ซึ่งประกอบด้วยแอกซอนที่โดยมากมีปลอกไมอีลิน ที่เชื่อมโยงกับเซลล์ประสาทในเขตต่าง ๆ ของเปลือกสมองและในเขตอื่น ๆ ของระบบประสาทกลาง ผิวของเปลือกสมองดำรงอยู่เป็นส่วนพับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ จนกระทั่งว่า ผิวเปลือกสมองของมนุษย์มากกว่าสองในสามส่วน อยู่ใต้ช่องที่เรียกว่า "ร่อง" (sulci) ส่วนใหม่ที่สุดของเปลือกสมองตามวิวัฒนาการชาติพันธุ์ ก็คือ คอร์เทกซ์ใหม่ (neocortex) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไอโซคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้น 6 ชั้น ส่วนที่เก่าแก่ที่สุดก็คือฮิปโปแคมปัส หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาร์คิคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้น 3 ชั้นเป็นอย่างมาก และแบ่งเขตออกเป็นฟิลด์ย่อยของฮิปโปแคมปัส (Hippocampal subfields) เซลล์ในชั้นต่าง ๆ ของเปลือกสมองเชื่อมต่อกันเป็นแนวตั้ง รวมตัวกันเป็นวงจรประสาทขนาดเล็กที่เรียกว่า "คอลัมน์ในคอร์เทกซ์" (cortical columns) เขตต่าง ๆ ในคอร์เทกซ์ใหม่ สามารถแบ่งออกเป็นเขตต่าง ๆ ที่เรียกว่า เขตบร็อดแมนน์ (Brodmann areas) แต่ละเขตมีลักษณะต่าง ๆ กันเป็นต้นว่า ความหนา ชนิดของเซลล์โดยมาก และตัวบ่งชี้สารเคมีประสาท (neurochemical markers).

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและเปลือกสมอง · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อคัพภะ

อวัยวะที่เจริญมาจาก Germ layer ในแต่ละชั้น ชั้นเนื้อเยื่อคัพภะ (Germ layer) เป็นเนื้อเยื่อ (กลุ่มของเซลล์) ที่เกิดขึ้นระหว่างการเกิดเอ็มบริโอ (embryogenesis) ของสัตว์ แม้ว่ามักกล่าวถึงในแง่การเจริญในสัตว์มีกระดูกสันหลัง แต่ความจริงแล้วสัตว์ทุกชนิดที่มีวิวัฒนาการซับซ้อนกว่าฟองน้ำ มีการสร้างชั้นเนื้อเยื่อปฐมภูมิ (primary tissue layers, บางครั้งเรียกว่า primary germ layers) 2 หรือ 3 ชั้น แล้ว สัตว์ที่มีสมมาตรในแนวรัศมี เช่น ไนดาเรีย (cnidarian) หรือทีโนฟอรา (ctenophore) สร้าง germ layer ขึ้นมา 2 ชั้น ได้แก่ เอ็กโทเดิร์ม และเอนโดเดิร์ม จึงเรียกว่า ไดโพลบลาสติก (diploblastic) ส่วนสัตว์ที่มีสมมาตรแบบ 2 ด้านคือตั้งแต่หนอนตัวแบนจนถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจะมีการสร้างเนื้อเยื่อชั้นที่ 3 ขึ้นมา เรียกว่า เมโซเดิร์ม จึงเรียกสัตว์ชนิดนี้ว่า ไตรโพลบลาสติก (triploblastic) Germ layer จะเจริญต่อไปเป็นเนื้อเยื่อและอวัยวะของสัตว์ทุกชนิดผ่านกระบวนการเกิดอวัยวะ (organogenesis).

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและเนื้อเยื่อคัพภะ · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อประสาท

ตัวอย่างของเนื้อเยื่อประสาท เนื้อเยื่อประสาท (Nervous tissue) เป็นหนึ่งในเนื้อเยื่อของสัตว์มีกระดูกสันหลัง เนื้อเยื่อประสาททำหน้าที่ในการติดต่อสื่อสารระหว่างส่วนต่างๆ ของร่างกาย เนื้อเยื่อนี้ประกอบด้วยเซลล์ประสาทหรือนิวรอน (neuron) ทำหน้าที่ส่งกระแสประสาท (impulse) และเซลล์เกลีย (glia หรือ neuroglia) ทำหน้าที่ช่วยในการส่งสัญญาณประสาทและให้สารอาหารต่างๆ แก่เซลล์ประสาท เนื้อเยื่อประสาทในสิ่งมีชีวิตรวมตัวกันเป็นระบบประสาท เนื้อเยื่อประสาทประกอบขึ้นมาจากเซลล์ประสาทที่มีที่มาแตกต่างกันมากมาย ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันที่แอกซอน (หรือ แกนประสาท) ซึ่งเป็นส่วนเส้นใยที่ยืดยาวออกมาจากตัวเซลล์ ทำหน้าที่ในการส่งสัญญาณศักยะทำงาน (action potential signals) ไปยังเซลล์ประสาทถัดไป.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและเนื้อเยื่อประสาท · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อใต้หนัง

นื้อเยื่อใต้หนัง (subcutaneous tissue, มาจากsubcutaneous "ใต้ผิวหนัง") หรือเรียกเนื้อใต้หนัง (subcutis), ชั้นใต้หนัง (hypodermis, hypoderm มาจากภาษากรีก แปลว่า "ใต้ผิวหนัง") หรือแผ่นพังผืดตื้น (superficial fascia) เป็นชั้นล่างสุดของระบบผิวหนังในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ประเภทของเซลล์ที่พบในชั้นใต้หนัง คือ เซลล์สร้างเส้นใย (fibroblast) เซลล์ไขมัน และแมโครฟาจ ชั้นใต้หนังพัฒนามาจากเมโซเดิร์ม แต่ไม่ได้พัฒนามาจากบริเวณเดอร์มาโตม (dermatome) ของเมโซเดิร์มเหมือนกับหนังแท้ ในสัตว์ขาปล้อง ชั้นใต้หนังเป็นเซลล์ชั้นหนังกำพร้าที่หลั่งผิวนอกเคลือบไคติน คำนี้ยังหมายถึง ชั้นเซลล์ที่อยู่ใต้ epidermis ของพืช ชั้นใต้หนังมีหน้าที่เก็บสะสมไขมันเป็นหลัก ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดโปร่งบางและกลีบย่อยไขมัน พบหลอดเลือดและเส้นประสาทขนาดใหญ่กว่าที่พบในหนังแท้.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและเนื้อเยื่อใต้หนัง · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

นื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue) เป็นหนึ่งในสี่เนื้อเยื่อสัตว์พื้นฐาน (อันได้แก่ เนื้อเยื่อบุผิว, เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน, เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ, และ เนื้อเยื่อประสาท) เนื้อเยื่อนี้มีลักษณะสำคัญร่วมกันคือ.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน · ดูเพิ่มเติม »

Bothrops insularis

Bothrops insularis หรือที่รู้จักกันในชื่อ โกลเดนแลนซ์เฮดCampbell JA, Lamar WW.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและBothrops insularis · ดูเพิ่มเติม »

Cervus

Cervus (/เซอ-วัส/) เป็นสกุลของกวาง ที่พบกระจายพันธุ์ในยูเรเชีย, แอฟริกาเหนือ และบางส่วนของอเมริกาเหนือ เดิมสกุลนี้เคยถูกจัดให้เป็นสกุลหลักของกวาง ร่วมกับสกุลอื่น ๆ คือ Dama, Elaphurus และ Hyelaphus และจนถึงปลายปี..

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและCervus · ดูเพิ่มเติม »

Lateral geniculate nucleus

Lateral geniculate nucleus (ตัวย่อ LGN แปลว่า นิวเคลียสงอคล้ายเข่าด้านข้าง) เป็นศูนย์ถ่ายทอดสัญญาณประสาทหลักจากจอตา ไปยังระบบประสาทกลาง อยู่ในส่วนทาลามัสของสมอง และยังมีส่วนอื่นที่เรียกว่า medial geniculate nucleus ซึ่งเป็นส่วนที่มีหน้าที่คล้ายกันแต่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณเกี่ยวกับเสียง LGN รับสัญญาณโดยตรงจาก.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและLateral geniculate nucleus · ดูเพิ่มเติม »

Muller glia

Muller glia หรือ Muller cells เป็นเซลล์เกลียที่พบในเรตินาของสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นเซลล์ที่ช่วยสนับสนุนเซลล์อื่น ๆ ซึ่งคล้ายกับเซลล์เกลียในที่อื่น ๆ แต่ว่า มีการพบในปลาม้าลายว่า ถ้าเกิดความเสียหายที่เรตินา จะมีการเปลี่ยนสภาพแบบถดถอย"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" (dedifferentiation) ไปเป็นเซลล์ต้นกำเนิด (progenitor cell) ซึ่งก็จะสามารถแบ่งตัวและเจริญพัฒนาไปเป็นเซลล์เรตินาแบบเฉพาะอย่างอื่น ๆ ได้ รวมกระทั่งแม้แต่เซลล์รับแสง (photoreceptor cell) ซึ่งอาจมีความเสียหาย นอกจากนั้นแล้ว งานวิจัยอื่น ๆ ยังพบอีกด้วยว่า ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Muller glia ทำหน้าที่เป็นตัวนำแสงส่งต่อไปให้กับเซลล์รับแสงคือเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรว.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและMuller glia · ดูเพิ่มเติม »

Nepenthes rajah

Nepenthes rajah (มาจากภาษามลายู: rajah.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและNepenthes rajah · ดูเพิ่มเติม »

Occluding junction

Occluding junction คือรอยต่อระหว่างเซลล์ประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นรอยต่อที่มีลักษณะเป็นความสัมพันธ์แบบเซลล์กับเซลล์ ทำหน้าที่ในการอุดกั้นหรือปิดกั้นแนวการลำเลียงสารตรงบริเวณรอยต่อของเซลล์สองเซลล์ ทำให้สารต่างๆไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านบริเวณรอยต่อนั้นไปได้ บริเวณที่พบ Occluding junction ได้แก่ เซลล์เยื่อบุโพรงต่างๆ ตามอวัยวะที่เป็นท่อ หรือเยื่อบุผิว เช่น กระเพาะปัสสาวะ หลอดเลือด หลอดอาหาร เป็นต้น.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและOccluding junction · ดูเพิ่มเติม »

Rucervus

Rucervus (/รู-เซอ-วัส/) เป็นสกุลของกวางที่กระจายพันธุ์ในอินเดีย, เนปาล, อินโดจีน และเกาะไหหลำ ของจีน ส่วนใหญ่สูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยจากการทำลายป่า รวมทั้งถูกล่า และมีบางชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้ว กวางในสกุลนี้เคยถูกรวมเป็นสกุลเดียวกันกับสกุล Cervus แต่ถูกจัดให้เป็นสกุลต่างหาก ตามหลักของความแตกต่างทางสัณฐานวิทยา ตามหลักฐานทางพันธุกรรมแล้ว ละองละมั่งควรจะใช้สกุล Cervus ขณะที่ทั้ง 2 ชนิดที่เหลือยังใช้ที่สกุล Rucervus อยู่ หรืออย่างน้อยก็ย้ายไปในสกุล AxisPitraa, Fickela, Meijaard, Groves (2004).

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและRucervus · ดูเพิ่มเติม »

Saccade

รอยทางจุดการทอดสายตาที่เกิดจากการขยับตาแบบ saccades ของมนุษย์ ในขณะที่กราดดูใบหน้า saccade (อ่านว่า เซะคาด) เป็นการเคลื่อนไหวอย่างเร็ว ๆ ของตา ของศีรษะ หรือของส่วนอื่นในร่างกาย หรือของอุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง และยังหมายถึงการเปลี่ยนความถี่อย่างรวดเร็วของสัญญาณส่ง หรือความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างอื่น ๆ ได้อีกด้วย Saccades เป็นการเคลื่อนไหวตาทั้งสองข้างไปยังทิศทางเดียวกัน พร้อม ๆ กัน อย่างรวดเร็วCassin, B. and Solomon, S. Dictionary of Eye Terminology.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและSaccade · ดูเพิ่มเติม »

Stereocilia

ในหูชั้นในของสัตว์ต่าง ๆ มากมาย Stereocilia เป็นออร์แกเนลล์ของเซลล์ขนซึ่งตอบสนองต่อการไหวของน้ำเพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ รวมทั้งการได้ยินและการทรงตัว Stereocilia ยาวประมาณ 10-50 ไมโครเมตร และมีลักษณะบางอย่างคล้าย ๆ กับ microvilli เซลล์ขนจะแปลความดันในน้ำและสิ่งเร้าเชิงกลอื่น ๆ ให้เป็นกระแสไฟฟ้าผ่าน microvilli จำนวนมากซึ่งเป็นลำตัวของ stereocilia มี Stereocilia ทั้งในระบบการได้ยินและระบบการทรงตัว (Vestibular system) Stereocilia ของหูชั้นในของก.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและStereocilia · ดูเพิ่มเติม »

Superior colliculus

optic tectum หรือเรียกสั้น ๆ ได้ว่า tectum เป็นโครงสร้างคู่ที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในสมองส่วนกลางของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โครงสร้างนี้มักจะเรียกกันว่า superior colliculus (ตัวย่อ SC) เป็นโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นชั้น ๆ แม้ว่าจำนวนชั้นจะแตกต่างกันไปในสัตว์สปีชีส์ต่าง ๆ ชั้นนอก ๆ มีหน้าที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัส และรับข้อมูลมาจากทั้งตาและระบบรับความรู้สึกอื่น ๆ ส่วนชั้นที่ลึก ๆ ลงไปมีหน้าที่เกี่ยวกับการสั่งการ (motor) มีความสามารถในการเริ่มการเคลื่อนไหวของตาและเริ่มการตอบสนองในระบบอื่น ๆ ส่วนชั้นในระหว่างกลางมีนิวรอนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัสหลายทาง และเกี่ยวกับการสั่งการด้วย หน้าที่ทั่ว ๆ ไปของเทคตัมก็คือ ชี้ทางการตอบสนองทางพฤติกรรมไปยังตำแหน่งต่าง ๆ โดยมีกายเป็นศูนย์กลาง ชั้นแต่ละชั้นของเทตตัมมีแผนที่ภูมิลักษณ์ของโลกรอบตัวที่ใช้พิกัดแบบ retinotopy และการทำงานของนิวรอนจุดหนึ่งในแผนที่ทำให้เกิดการตอบสนองทางพฤติกรรมตรงตำแหน่งในปริภูมิที่สัมพันธ์กับจุดในแผนที่นั้น ในไพรเมต งานศึกษาเรื่องของ SC โดยมากเป็นไปเกี่ยวกับการควบคุมการทอดสายต.

ใหม่!!: สัตว์มีกระดูกสันหลังและSuperior colliculus · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

VertebrataVertebrate

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »