สารบัญ
5 ความสัมพันธ์: รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)ถนนบริพัตรถนนบำรุงเมืองแยกสำราญราษฎร์แยกแม้นศรี
รายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)
ราณสถานที่มีรายชื่อในหน้านี้ตั้งอยู่ในพื้นที่สีแดงบนแผนที.
ดู สะพานสมมตอมรมารคและรายชื่อโบราณสถานในกรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร)
ถนนบริพัตร
นนบริพัตร (Thanon Paribatra) ถนนสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่ตัดตรงในลักษณะขวางตัดกับถนนสายอื่น ๆ เริ่มต้นตั้งแต่ที่ถนนดำรงรักษ์ บริเวณด้านข้างพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ พื้นที่แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ทอดผ่านสะพานมหาดไทยอุทิศ ข้ามคลองมหานาค ผ่านวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ผ่านแยกเมรุปูนจุดตัดกับถนนบำรุงเมือง ในพื้นที่แขวงบ้านบาตร จากนั้นตัดผ่านถนนหลวง ที่เชิงสะพานระพีพัฒนภาค ข้ามคลองรอบกรุง จากนั้นผ่านเชิงสะพานดำรงสถิต ข้ามคลองโอ่งอ่าง บริเวณคลองถม และไปสิ้นสุดที่ถนนเยาวราช บริเวณเชิงสะพานภาณุพันธ์ ที่แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ ชื่อ "บริพัตร" นั้นตั้งขึ้นเพื่อเป็นพระเกียรติแก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต หรือทูลกระหม่อมบริพัตร พระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี องค์ผู้ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงเป็นต้นราชสกุลบริพัตร.
ดู สะพานสมมตอมรมารคและถนนบริพัตร
ถนนบำรุงเมือง
นนบำรุงเมือง ช่วงผ่านเสาชิงช้า ถนนบำรุงเมือง (Thanon Bamrung Mueang) ตั้งต้นจากถนนอัษฎางค์ที่แยกสะพานช้างโรงสี ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนเฟื่องนครและถนนตะนาว และเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวัดราชบพิธกับแขวงศาลเจ้าพ่อเสือและแขวงเสาชิงช้าไปจนถึงเสาชิงช้า จากนั้นตัดกับถนนอุณากรรณเข้าสู่ท้องที่แขวงสำราญราษฎร์ ตัดกับถนนมหาไชย (แยกสำราญราษฎร์) ข้ามคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) เข้าสู่ท้องที่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ตัดกับถนนบริพัตร (แยกเมรุปูน) ตัดกับถนนวรจักรและถนนจักรพรรดิพงษ์ (แยกแม้นศรี) เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงคลองมหานาคกับแขวงวัดเทพศิรินทร์ ผ่านสามแยกที่ตัดกับถนนยุคล 2 (แยกยุคล 2) และสามแยกที่ตัดกับถนนพลับพลาไชย (แยกอนามัย) ไปจนถึงถนนกรุงเกษม (แยกกษัตริย์ศึก) โดยมีถนนที่ต่อเนื่องไปคือถนนพระรามที่ 1 ถนนบำรุงเมืองเป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างตามแบบตะวันตก หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนเจริญกรุงซึ่งเป็นถนนสมัยใหม่ และเป็นที่นิยมใช้สัญจรไปมาของชาวไทยและชาวยุโรป ใน พ.ศ.
ดู สะพานสมมตอมรมารคและถนนบำรุงเมือง
แยกสำราญราษฎร์
แยกสำราญราษฎร์ (Samran Rat Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดถนนบำรุงเมืองและถนนมหาไชย ในพื้นที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งสำราญราษฎร์เป็นชื่อที่ทางการตั้งให้แทนชื่อย่านที่เรียกดั้งเดิมว่า ประตูผี.
ดู สะพานสมมตอมรมารคและแยกสำราญราษฎร์
แยกแม้นศรี
แยกแม้นศรี (Maen Si Intersection) เป็นสี่แยกหนึ่งที่เป็นทางตัดกันระหว่างถนนบำรุงเมือง, ถนนวรจักร และถนนจักรพรรดิพงษ์ ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ชื่อ "แม้นศรี" มาจากชื่อของหม่อมห้ามท่านหนึ่งในสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) คือ "หม่อมแม้น" เมื่อหม่อมแม้นถึงแก่อนิจกรรม พระองค์ได้จัดพิธีศพให้อย่างยิ่งใหญ่ เนื่องจากเป็นหม่อมที่ทรงโปรดมาก และได้อุทิศเงินซึ่งได้รับจากผู้ช่วยพิธีศพ สร้างสะพานข้ามคลองเล็ก ๆ ด้านถนนบำรุงเมือง ซึ่งขบวนพิธีต้องผ่าน เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ และอุทิศส่วนกุศลให้กับหม่อมแม้น คือ "สะพานแม้นศรี" โดยเปิดใช้เมื่อวันที่ 31 มกราคม..
ดู สะพานสมมตอมรมารคและแยกแม้นศรี
หรือที่รู้จักกันในชื่อ สี่แยกเมรุปูนแยกเมรุปูน