โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สวนสัตว์เชียงใหม่

ดัชนี สวนสัตว์เชียงใหม่

300px 300px สวนสัตว์เชียงใหม่ เป็นสวนสัตว์ในความดูแลขององค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้นดอยสุเทพ บนถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่ 8.00 น. - 17.00 น. มีสัตว์อยู่ในสวนสัตว์จำนวนมาก เช่น เม่น นกยูง เสือโคร่ง เสือขาว กวาง แรด ฮิปโปเตมัส ช้าง หมี อีเห็น ยีราฟ และยังมีส่วนจัดแสดงหมีแพนด้า ช่วงช่วง และ หลินฮุ่ย ทูตจากประเทศจีน ภายในสวนสัตว์เชียงใหม่มีโบราณสถานที่ชื่อว่าวัดกู่ดินขาว ที่เป็นซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเวียงเจ็ดลิน และมีการแสดงความสามารถของสัตว์ เช่น นกมาคอว์ นาก นกกระทุง และมีส่วนจัดแสดงเพนกวินและแมวน้ำ นอกจากนี้ สวนสัตว์เชียงใหม่ยังเป็นที่ตั้งของ เชียงใหม่ ซู อควาเรียม ศูนย์แสดงพันธ์สัตว์น้ำครบวงจร ที่มีอุโมงค์น้ำความยาวกว่า 133 เมตร ซึ่งจัดว่ายาวที่สุดในโลก แบ่งเป็นอุโมงค์น้ำเค็ม 66.5 เมตร และอุโมงค์น้ำจืด 66.5 เมตร โดยเชียงใหม่ ซู อควาเรียมได้รวบรวมปลาน้ำจืดแห่งลุ่มแม่น้ำโขงและโลกใต้ทะเลด้วยกัน เพื่อให้ชีวิตน้อยใหญ่ได้อาศัยพึ่งพิง.

45 ความสัมพันธ์: ชะมดชะมดเช็ดช่วงช่วงพ.ศ. 2552มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่รายชื่อระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลรายชื่อสวนสัตว์รายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทยรายชื่อของสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำรถไฟฟ้าในเทศบาลนครเชียงใหม่และพื้นที่ต่อเนื่องละองละมั่งวัดกู่ดินขาววัดฝายหินวัดศรีโสดาสวนสัตว์สวนสัตว์ดุสิตสวนสนุกสื่อลามกแพนด้าหมึกพอลหลินฮุ่ยหลินปิงห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย)อำเภอเมืองเชียงใหม่อีเห็นข้างลายองค์การสวนสัตว์ฮิปโปโปเตมัสแคระจังหวัดเชียงใหม่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1004ตำบลสุเทพตุลาคม พ.ศ. 2546ปลากระเบนลายแมลงวันนกกระเรียนมงกุฎเทานกสาลิกาเขียวนิลกายแพนด้ายักษ์แรดอินเดียโมโนเรลสวนสัตว์เชียงใหม่ไฮแรกซ์หินเก้งธรรมดาเวียงเจ็ดลินเสือโคร่งขาวเทศบาลนครเชียงใหม่12 ตุลาคม27 พฤษภาคม

ชะมด

ัตว์จำพวกชะมดและอีเห็นหลายชนิด (จากซ้ายไปขวา คือ สกุล ''Paradoxurus'', ''Genetta'', ''Paguma'' และ ''Arctictis'') ชะมด หรือ เห็นอ้ม ในภาษาอีสาน (civet) เป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ Viverridae (ในอดีตเคยจัดให้พังพอนอยู่ในวงศ์นี้ด้วย) โดยคำว่า "ชะมด" ในภาษาไทย สันนิษฐานว่ามาจากคำในภาษาอาหรับว่า "อัซซะบาด" (الزباد) ชะมดมีรูปร่างโดยรวม คือ ใบหน้าแหลม รูปร่างเพรียว ตัวมีสีเทาหรือนํ้าตาล มีลายจุดสีดำตามยาวทั่วตัว หางและขนหางยาวมีลายเป็นปล้อง สามารถยืดหดเล็บได้เหมือนแมว มักออกหากินในเวลากลางคืน เป็นสัตว์ที่กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ เป็นสัตว์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิประเทศได้หลากหลาย โดยสามารถอาศัยอยู่ในชายป่าใกล้ชุมชนหรือแหล่งเกษตรกรรมของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี รวมถึงพื้นที่ชุ่มน้ำคล้ายนากด้วยในบางชนิดVeron, G., Gaubert, P., Franklin, N., Jennings, A. P. and Grassman Jr., L. I. (2006).

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และชะมด · ดูเพิ่มเติม »

ชะมดเช็ด

มดเช็ด หรือ ชะมดเชียง หรือ มูสัง (Indian small civet) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดหนึ่ง จัดเป็นชะมดขนาดเล็ก ขาสั้น หูทั้งสองข้างอยู่ใกล้กัน เมื่อมองไกล ๆ อาจคล้ายแมว จนตามลำตัวมีสีน้ำตาลเหลือง และมีจุดสีดำขนาดเล็กแทรกอยู่ทั่วไปตามลำตัว มีแถบสีดำและขาวบริเวณลำคอ หางมีวงสีดำ 6-9 ปล้องพาดขวางอยู่ ทำให้มีดูมีลักษณะเป็นปล้องสีดำ ไม่มีขนแผงสันหลัง ปลายหางมีสีขาว ขาหลังมีต่อมกลิ่นที่ใช้สื่อสารระหว่างพวกเดียวกัน และจัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล ViverriculaBlanford, W. T. (1888–91).

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และชะมดเช็ด · ดูเพิ่มเติม »

ช่วงช่วง

วงช่วง ภายในอาคารจัดแสดง ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศจีน กำลังตรวจสุขภาพลูกแพนด้าเพศเมีย ที่เกิดจากการผสมเทียม ระหว่างช่วงช่วงกับหลินฮุ่ย อาคารจัดแสดงช่วงช่วง และหลินฮุ่ย ในสวนสัตว์เชียงใหม่ ช่วงช่วง (อักษรจีนตัวย่อ: 创创, Chuàng Chuàng) เป็นชื่อของแพนด้ายักษ์เพศผู้ ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ให้ประเทศไทยยืมจัดแสดงที่ สวนสัตว์เชียงใหม่ ในฐานะทูตสันถวไมตรีไทย-จีน โดยจัดแสดงคู่กับ หลินฮุ่ย แพนด้ายักษ์เพศเมีย ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 มีชื่อไทยว่า "เทวัญ" และมีชื่อล้านนาว่า "คำอ้าย" ช่วงช่วง เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ที่ศูนย์วิจัยและอนุรักษ์แพนด้ายักษ์ เขตอนุรักษ์วู่หลง เมืองเฉินตู มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน เกิดจากแพนด้าตัวผู้ชื่อ ชิงชิง และแพนด้าตัวเมียชื่อ ไป่แฉว ปัจจุบันน้ำหนัก 150 กิโลกรัม.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และช่วงช่วง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2552

ทธศักราช 2552 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2009 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีสุดท้ายในคริสต์ทศวรรษ 2000.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และพ.ศ. 2552 · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (Rajamangala University of Technology Lanna) เป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของรัฐ ได้รับการยกฐานะขึ้นจากวิทยาเขต ของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล โดยชื่อ "ราชมงคล" นั้น ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2533 พร้อมทั้งพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญ "พระมหาพิชัยมงกุฎ" และ "พระราชลัญจกร" ประจำพระองค์ ให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นศูนย์กลางการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในภูมิภาคภาคเหนือของประเทศไทย โดยมีการเรียนการสอน 4 ระดับ คือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จะได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัย ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ในช่วงเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคมเป็นประจำทุกปี.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่ (ชื่อเดิม: วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ) เคยเป็นวิทยาเขตในสังกัด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัดการเรียนการสอนในระดับต่ำกว่าปริญญา และระดับปริญญา เป็นวิทยาเขตที่มีจำนวนนักศึกษาและบุคลากรมากที่สุด ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ในปี..

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อระบบรถไฟฟ้าโมโนเรล

รถโมโนเรลในกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย รายชื่อระบบรถไฟฟ้าโมโนเรล โดยแสดงเฉพาะที่เปิดให้บริการเท่านั้น.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และรายชื่อระบบรถไฟฟ้าโมโนเรล · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสวนสัตว์

;.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และรายชื่อสวนสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย

ต่อไปนี้ เป็นรายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย เรียงตามรายชื่อ 76 จังหวัด พร้อมกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และรายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อของสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ

นแสดงพันธุ์สัตว์น้ำรัฐจอร์เจีย. วาฬเบลูก้า จัดแสดงใน สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำแวนคูเวอร์.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และรายชื่อของสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟฟ้าในเทศบาลนครเชียงใหม่และพื้นที่ต่อเนื่อง

รถไฟฟ้าในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่และพื้นที่ต่อเนื่อง หมายถึง โครงข่ายระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ที่ใช้ยานพาหนะที่แล่นบนรางโดยใช้พลังงานไฟฟ้า (electric railways) เป็นส่วนหนึ่งของระบบขนส่งหลัก มีพื้นที่รับผิดชอบให้บริการในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ รวมถึงพื้นที่ที่มีความเกี่ยวเนื่องโดยรอบ แต่ยังไม่มีการเปิดให้บริการจริง โดยยังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาและออกแบบโครงการ อนึ่ง คำว่า "รถไฟฟ้า" ในที่นี้ เป็นคำที่ใช้กันโดยทั่วไปอย่างไม่เป็นทางการ หมายถึงโครงข่ายระบบขนส่งทั้งโครงข่าย มิได้หมายความความถึงเฉพาะตัวยานพาหนะ โดยจะหมายถึงโครงข่ายระบบขนส่งที่ใช้ยานพาหนะที่แล่นบนรางโดยใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่าย แต่มักจะไม่หมายรวมถึงรถราง (tram) และรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (monorail).

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และรถไฟฟ้าในเทศบาลนครเชียงใหม่และพื้นที่ต่อเนื่อง · ดูเพิ่มเติม »

ละองละมั่ง

thumb thumb ละองละมั่ง (Eld's deer, Thamin, Brow-antlered deer; Pitraa, Fickela, Meijaard, Groves (2004). Evolution and phylogeny of old world deer. Molecular Phylogenetics and Evolution 33: 880–895.) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่ง เป็นกวางขนาดกลาง ขนตามลำตัวสีน้ำตาลแดง แต่สีขนจะอ่อนลงเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน ขนหยาบและยาว ในฤดูหนาวขนจะยาวมาก แต่จะร่วงหล่นจนดูสั้นลงมากในช่วงฤดูร้อน ในตัวผู้จะเรียกว่า ละอง ตัวเมียซึ่งไม่มีเขาจะเรียกว่า ละมั่ง แต่จะนิยมเรียกคู่กัน สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากภาษาเขมรคำว่า "ลำเมียง" (រេបីស) ละองตัวที่ยังโตไม่เต็มวัยจะมีขนแผงคอที่ยาว ลูกแรกเกิดจะมีจุดสีขาวกระจายอยู่รอบตัว และจุดนี้จะจางหายเมื่ออายุมากขึ้น ขอบตาและริมฝีปากล่างมีสีขาว มีความยาวลำตัวและหัว 150–170 เซนติเมตร ความยาวหาง 220–250 เซนติเมตร น้ำหนัก 95–150 กิโลกรัม ถูกแบ่งออกเป็น 3 ชนิดย่อย ในประเทศไทยพบ 2 ชนิดได้แก่ ละองละมั่งพันธุ์ไทยที่สวนสัตว์เชียงใหม่ ละองละมั่งพันธุ์พม่า ซันไก.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และละองละมั่ง · ดูเพิ่มเติม »

วัดกู่ดินขาว

วัดกู่ดินขาว จัดเป็นโบราณสถานในบริเวณของสวนสัตว์เชียงใหม่ มีความสัมพันธ์กับเมืองโบราณของเวียงเจ็ดลิน ตามประวัติล้านนา กล่าวถึงว่าเป็นการตั้งถิ่นฐานชุมชน ในระยะก่อนสร้างเมืองเชียงใหม่ และเมืองหริภุญไชย ราวพุทธศตวรรษที่ 13 (พ.ศ. 1201-พ.ศ. 1300) และมีการพัฒนาการสืบเนื่องมาในระยะหลังเรื่อยมา วัดกู่ดินขาวจัดเป็นวัดเพียงแห่งเดียวของเวียงเจ็ดลินที่ยังเหลือหลักฐานการก่อสร้างที่ค่อนข้างสมบูรณ์ในเขตสวนสัตว์เชียงใหม่ ซึ่งตั้งอยู่นอกเขตกำแพงเวียงเจ็ดลินทางทิศใต้ กลุ่มโบราณสถานของวัดกู่ดินขาว ประกอบไปด้วย เจดีย์รายประธาน เจดีย์ 8 เหลี่ยมและกำแพงแก้วเขตพุทธวาศ ทางน่าสนใจคือ เรื่องเทคโนโลยีและวิศวกรรมการในการก่อสร้าง โดยใช้อิฐก้อนใหญ่ๆและเผาแกร่ง และด้านโครงสร้าง รับน้ำหนักในส่วนขององค์เจดีย์ประธาน ซึ่งไม่เคยพบอิฐขนาดใหญ่ และเทคนิคการทำโครงสร้างเช่นนี้ในโบราณสถานที่อื่น.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และวัดกู่ดินขาว · ดูเพิ่มเติม »

วัดฝายหิน

วัดฝายหิน ตั้งอยู่ ณ หมู่บ้านฝายหิน เลขที่ 67 หมู่ 1 ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดในความอุปถัมภ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อยู่บริเวณเชิงดอยสุเทพ หมู่บ้านฝายหิน ด้านหลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และถนนทางขึ้นสถานีส่งโทรทัศน์ช่อง 7 ทางเดียวกันกับทางขึ้นสวนสัตว์เชียงใหม่ด้านประตูหลัง วัดฝายหินเป็นวัดโบราณ เคยเป็นที่สถิตของพระอภัยสาระทะ สังฆปาโมกข์ อดีตปฐมสังฆราชาแห่งล้านนาไทย (เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่รูปแรก) ในปี..

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และวัดฝายหิน · ดูเพิ่มเติม »

วัดศรีโสดา

วัดศรีโสดา พระอารามหลวง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่ที่บ้านน้ำตกห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่บนถนนขึ้นดอยสุเทพ วัดศรีโสดาเป็นวัด 1 ใน 4 วัดที่ครูบาศรีวิชัยสร้างขึ้น โดยท่านได้ตั้งชื่อวัดให้มีความหมายเทียบพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา 4 ชั้น ได้แก่ วัดโสดาบัน วัดสกิทาคามี วัดอนาคามี และวัดอรหันต์ ต่อมา วัดโสดาบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดศรีโสภา ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานว่าเปลี่ยนในสมัยใด แต่สันนิษฐานว่าที่เติมคำว่า ศรี น่าจะนำมาจากชื่อครูบาศรีวิชัยเพื่อเป็นอนุสรณีย์น้อมรำลึกคุณูปการที่ท่านสร้างวัดนี้ขึ้นมา วัดตั้งอยุ่ใกล้กับสถานที่สำคัญ คือ สวนสัตว์เชียงใหม่ ลักษณะเด่นของวัด คือ เป็นวัดที่มีพระภิกษุสามเณรชาวเขาอาศัยอยู่มากที่สุดเพราะมีโครงการพระธรรมจาริกส่วนภูมิภาคตั้งอยู่ เปิดการเรียนการสอน ดังนี้.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และวัดศรีโสดา · ดูเพิ่มเติม »

สวนสัตว์

แพนด้ายักษ์ในสวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์ (Zoo, Zoological park) คือ สถานที่จัดแสดงสัตว์ป่านอกถิ่นอาศัย โดยมีวัตถุประสงคในการรวบรวมสัตวนานาชนิดไวเพื่อประโยชน์ในการศึกษา และอํานวยบริการแก่ประชาชน รวมทั้งสงเสริมและจัดใหมีการบำรุงและผสมพันธุสัตวตางๆ ไวเพื่อมิใหสูญพันธุ โดยมีหน้าที่สำคัญคือ 1.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และสวนสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สวนสัตว์ดุสิต

thumb thumb ป้ายเขาดินวนา ลานกิจกรรม หน้าบริเวณทางเข้าฝั่งถนนอู่ทองใน สวนสัตว์ดุสิต หรือ เขาดินวนา (Dusit Zoo) เป็นสวนสัตว์แห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่เลขที่ 71 ถนนพระรามที่ 5 แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ใกล้กับสนามเสือป่าและพระที่นั่งอนันตสมาคม มีเนื้อที่ 118 ไร.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และสวนสัตว์ดุสิต · ดูเพิ่มเติม »

สวนสนุก

กระเช้าลอยฟ้าในสวนสนุกดรีมเวิลด์ สวนสนุก คือ สถานที่ที่ให้บริการเครื่องเล่นต่างๆ เช่น รถไฟเหาะตีลังกา เรือไวกิ้ง รวมถึงมีการแสดง เช่น โชว์พาเหรด การ์ตูนโชว์ บางที่ก็ จัดให้มีสวนน้ำ จุดมุ่งหมาย คือให้ ผู้มาใช้บริการได้พักผ่อนหย่อนใจ โดยมากลูกค้ามักจะเป็นเด็ก ๆ และครอบครัว สวนสนุกในความหมายของไทยรวมลักษณะอื่นของ ธีมปาร์ค (Theme Park) หรือ อุทยานแนวคิดอื่น ๆ เข้าไป เช่น สวนสนุกที่มีแนวคิดเป็นเมืองภาพยนตร์ เช่น มูฟวี่เวิลด์ (Movie World) ยูนิเวอร์แซลสตูดิโอ (Universal Studio) บางแห่งก็รวมเอาสวนสัตว์ เข้าไปด้วย หรืออาจผนวกเข้ากับอุทยานเพื่อการเรียนรู้อื่น ๆ ที่แทรกส่วนบันเทิงเข้าไป เช่น พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และสวนสนุก · ดูเพิ่มเติม »

สื่อลามกแพนด้า

วนสัตว์ซานดิเอโก สื่อลามกแพนด้า (หรือ วิดีโอโป๊แพนด้า) หมายถึงภาพยนต์ที่แสดงการผสมพันธุ์ของแพนด้า จัดทำเพื่อกระตุ้นพฤติกรรมสืบพันธุ์ของแพนด้ายักษ์ในสวนสัตว์ ปกติแล้วพบว่าสัตว์ไม่ค่อยมีความกระตือรือร้นในการผสมพันธุ์เมื่ออยู่ในสวนสัตว์ ทำให้สปีชีส์อยู่ในความเสี่ยงต่อการสูญพัน.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และสื่อลามกแพนด้า · ดูเพิ่มเติม »

หมึกพอล

'''หมึกพอล''' หมึกยักษ์ที่มีชื่อเสียงในการทายผลการแข่งขันกีฬาฟุตบอล หมึกพอล (Paul the Octopus, Paul Oktopus) เป็นหมึกยักษ์ที่มีประวัติในการทำนายผลการแข่งขัน ของฟุตบอลทีมชาติเยอรมนี ในการแข่งขันระดับนานาชาติ อย่างถูกต้องหลายครั้ง, Mirror.co.uk, 26 June 2010, Spiegel Online, 23 June 2010 หมึกพอลเกิดที่ประเทศอังกฤษ โดยในระยะแรก อาศัยอยู่ที่ซีไลฟ์ปาร์ก เมืองเวย์เมาท์ ของอังกฤษ แต่ต่อมาย้ายไปอยู่ที่ ซีไลฟ์อควาเรียม ในเมืองโอเบอร์เฮาเซิน ประเทศเยอรมนี ก่อนการแข่งขันฟุตบอลของทีมชาติเยอรมนี หมึกพอลจะเลือกกินหอยแมลงภู่ที่ใส่ไว้ในกล่องพลาสติกใส ที่หนึ่งกล่องจะติดภาพธงชาติเยอรมนี และอีกกล่องจะติดภาพธงชาติของทีมคู่แข่งขันกับเยอรมนี โดยถ้าพอลเลือกกินในกล่องไหน คือการทำนายว่า ทีมนั้นได้รับชัยชนะ ระหว่างการแข่งขันของทีมชาติเยอรมนี ในฟุตบอลยูโร 2008 มีสถิติว่า หมึกพอลทำนายถูกต้อง มากกว่าร้อยละ 80 และในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 หมึกพอลทำนายการแข่งขันของทีมชาติเยอรมนี ถูกต้องทั้งหมด (7 ครั้ง) ที่รวมถึงทายว่าทีมชาติเยอรมนีแพ้ให้ทีมชาติเซอร์เบียในรอบแบ่งกลุ่ม และทายว่าแพ้ให้ทีมชาติสเปนในรอบรองชนะเลิศ และในรอบชิงที่ 3 ทายว่าทีมชาติเยอรมนีชนะทีมชาติอุรุกวัย นอกจากนี้ยังสามารถทายผลการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 นัดชิงชนะเลิศระหว่างทีมชาติเนเธอร์แลนด์และทีมชาติสเปนว่าทีมชาติสเปนจะชนะได้ถูกต้องอีกด้วย หมึกพอลเริ่มเป็นที่สนใจของผู้คนตั้งแต่นัดที่เยอรมนีชนะอังกฤษ จนกระทั่งในการทำนายผลการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ครั้งสุดท้าย มีการถ่ายทอดสดไปทั่วทวีปยุโรป และสร้างกระแสให้สวนสัตว์ต่างๆ ทั่วโลก นำเอาสัตว์มาทำนายผลการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศของฟุตบอลโลกครั้งนี้ เช่น หลินปิง แพนด้ายักษ์ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ ของไทย เป็นต้น หมึกพอลตายเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม..

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และหมึกพอล · ดูเพิ่มเติม »

หลินฮุ่ย

หลินฮุ่ย กำลังหยอกล้อกับช่วงช่วง ภายในอาคารจัดแสดง ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศจีน กำลังตรวจสุขภาพลูกแพนด้าเพศเมีย ที่เกิดจากการผสมเทียม ระหว่างช่วงช่วงกับหลินฮุ่ย อาคารจัดแสดงช่วงช่วง และหลินฮุ่ย ในสวนสัตว์เชียงใหม่ หลินฮุ่ย (ภาษาจีน: 林惠, Lin Hui) เป็นชื่อของแพนด้ายักษ์เพศเมีย ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ให้ประเทศไทยยืมจัดแสดงที่ สวนสัตว์เชียงใหม่ ในฐานะทูตสันถวไมตรีไทย-จีน เป็นเวลา 10 ปี โดยจัดแสดงคู่กับ ช่วงช่วง แพนด้ายักษ์เพศผู้ ตั้งแต่วันที่ 12 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 มีชื่อไทยว่า "เทวี" และมีชื่อล้านนาว่า "คำเอื้อย" หลินฮุ่ย เกิดเมื่อวันที่ 28 กันยายน..

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และหลินฮุ่ย · ดูเพิ่มเติม »

หลินปิง

หลินปิง ถ่ายเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 หลินปิง (จีน: 林冰; Lin Bing) เป็นแพนด้ายักษ์เพศเมียในสวนสัตว์เชียงใหม่ เกิดเมื่อวันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 จากการผสมเทียม ระหว่างช่วงช่วงและหลินฮุ่ย นับเป็นแพนด้าตัวแรกของโลกที่เกิดในประเทศเขตศูนย์สูตร ในเดือนนอกฤดูผสมพันธุ์ของหมีแพนด้า หลินปิง เป็นชื่อที่ได้รับการลงคะแนนเป็นอันดับ 1 โดยคนไทย ทางจดหมายและไปรษณียบัตร ถึง 13 ล้านฉบับ จาก 4 ชื่อ (อันดับ 2 “ขวัญไทย” 3.5 ล้านฉบับ อันดับ 3 “ไทจีน” 2.5 ล้านฉบับ อันดับ 4 “หญิงหญิง” 2 ล้านฉบับ).

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และหลินปิง · ดูเพิ่มเติม »

ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย)

ริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด เป็นหน่วยงานตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร จัดตั้งขึ้นตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน..

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองเชียงใหม่

มืองเชียงใหม่ (70px เมืองเจียงใหม่) เป็นศูนย์กลางการบริหาร ความเจริญศูนย์กลางธุรกิจ และวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่ นับเป็นเมืองที่มีความเจริญมากที่สุดของจังหวัดและของภาคเหนือ และเป็นเมืองอันดับสองรองจากกรุงเทพมหานคร อำเภอเมืองเชียงใหม่มีเขตนครเชียงใหม่และปริมณฑลล้อมรอบ ได้แก่ เมืองลำพูน หางดง สันกำแพง สารภี แม่ริม สันทราย สันป่าตอง ฯลฯ.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และอำเภอเมืองเชียงใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

อีเห็นข้างลาย

อีเห็นข้างลาย หรือ อีเห็นธรรมดา หรือ มูสังหอม ในภาษาใต้ (Asian palm civet) เป็นอีเห็นขนาดเล็ก สีขนตามลำตัวเป็นสีเทาเข้มจนเกือบดำ ยกเว้นบริเวณรอบจมูก หู ขา และปลายหางมีสีดำมีลายสีขาวพาดขวางบริเวณหน้าผาก หลังมีจุดเล็ก ๆ สีดำเรียงตัวเป็นแนวยาว 3 เส้น จากไหล่ถึงโคนหาง หางมีความยาวพอ ๆ กับลำตัว ขนปลายหางบางตัวอาจมีสีขาว มีต่อมน้ำมันและจะส่งกลิ่นออกมาเมื่อเวลาตกใจ ซึ่งต่อมน้ำมันนี้จะแตกต่างจากชะมดหรืออีเห็นชนิดอื่น ๆ ตัวเมียมีเต้านม 3 คู่ มีความยาวลำตัวและหัว 43–71 เซนติเมตร ความยาวหาง 40.6–66 เซนติเมตร น้ำหนัก 2–5 กิโลกรัม อีเห็นข้างลายมีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางมาก โดยพบตั้งแต่รัฐชัมมูและกัศมีร์ และภาคใต้ของอินเดีย, ศรีลังกา, เนปาล, รัฐสิกขิม, ภูฏาน, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, เกาะสุมาตรา, เกาะชวา, เกาะบอร์เนียว, เกาะซูลาเวซี และหมู่เกาะซุนดาน้อย และมีชนิดย่อยมากถึง 30 ชนิด (ดูในตาราง) มีพฤติกรรมมักอาศัยและหากินตามลำพัง สามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายได้ ตั้งแต่ ป่าดิบชื้น, ป่าดิบแล้ง ไปจนถึงชายป่าที่ใกล้กับพื้นที่เกษตรกรรมของมนุษย์ กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ เช่น สัตว์ขนาดเล็กจำพวกแมลง และน้ำหวานของเกสรดอกไม้ ออกหากินในเวลากลางคืน นอนหลับในเวลากลางวัน ใช้เวลาส่วนมากตามพื้นดินและจะใช้เวลาน้อยมากอยู่บนต้นไม้ ออกลูกครั้งละ 2–4 ตัว โดยจะเลี้ยงลูกอ่อนไว้ตามโพรงไม้หรือโพรงหิน อีเห็นข้างลายไม่ได้ถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2546 ปัจจุบันทางสวนสัตว์เชียงใหม่ได้มีโครงการในการเพาะเลี้ยงอีเห็นข้างลาย เพื่อผลิต "กาแฟขี้ชะมด" ซึ่งเป็นกาแฟที่ได้จากมูลของอีเห็นข้างลาย มีราคาซื้อขายที่สูงมาก และในการเพาะเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์ในการนี้ที่จังหวัดตรังโดยเอกชนด้วยหน้า 27, อะเมซซิง..."กาแฟขี้ชะมดตรัง" โดย มนตรี สังขาว.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และอีเห็นข้างลาย · ดูเพิ่มเติม »

องค์การสวนสัตว์

องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (อสส.) (The Zoological Park Organization under the Royal Patronage of His Majesty the King) หรือ องค์การสวนสัตว์ เป็นองค์การในพระบรมราชูปถัมภ์ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นรัฐวิสาหกิจ ประเภทสังคมและเทคโนโลยี สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการจัดหารวบรวมสัตว์ป่านานาชนิด การให้การศึกษา การอนุรักษ์และขยายพันธุ์ การวิจัย และการจัดสวนสัตว์ให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยังเป็นหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ประสานงานและดำเนินการด้านต่างๆ ให้สวนสัตว์ ปัจจุบันมีสวนสัตว์อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบ 7 แห่ง และ 1 โครงการจัดตั้ง คือ สวนสัตว์ดุสิต, สวนสัตว์เปิดเขาเขียว, สวนสัตว์เชียงใหม่, สวนสัตว์นครราชสีมา, สวนสัตว์สงขลา, สวนสัตว์อุบลราชธานี, สวนสัตว์ขอนแก่น และ โครงการคชอาณาจักร จังหวัดสุรินทร.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และองค์การสวนสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮิปโปโปเตมัสแคระ

ปโปโปเตมัสแคระ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ฮิปโปแคระ (Pygmy hippopotamus; หรือ Hexaprotodon liberiensis) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกินพืชชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ฮิปโปโปเตมัส (Hippopotamidae) ฮิปโปโปเตมัสแคระ จัดเป็นสัตว์เพียง 1 ใน 2 ชนิดเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์นี้ ที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน อีกชนิดหนึ่งนั้นคือ ฮิปโปโปเตมัส (Hippopotamus amphibius) ซึ่งถือเป็นญาติสนิท ฮิปโปโปเตมัสแคระมีรูปร่างทั่วไปคล้ายฮิปโปโปเตมัส แต่ว่ามีรูปร่างแตกต่างกันมากทีเดียว โดยมีขนาดเพียง 1 ใน 10 ของฮิปโปโปเตมัสเท่านั้น มีความสูงจากกีบเท้าจนถึงหัวไหล่ไม่เกิน 1 เมตร (3 ฟุต) มีความยาวลำตัวประมาณ 75–100 เซนติเมตร (2.46–3.28 ฟุต) และน้ำหนักประมาณ 180–275 กิโลกรัม (397–606 ปอนด์) อายุขัยไม่เป็นที่ทราบแน่นอน แต่อายุในที่เลี้ยงสูงสุด 30–55 ปี เชื่อว่าในธรรมชาติไม่น่าจะมีอายุได้ยาวนานขนาดนี้ มีสีผิวที่เข้มกว่าฮิปโปโปเตมัส คือ มีสีเขียวเข้มหรือน้ำตาลเข้ม ส่วนหัวกลมกว่าฮิปโปโปเตมัส ส่วนหลังโค้งขึ้นและลาดต่ำลงมาทางก้น ผิวหนังเรียบลื่น ตามลำตัวแทบไม่มีขน ยกเว้นขนเพียงไม่กี่เส้น ที่บริเวณริมฝีปากและหาง เบ้าตาอยู่ด้านข้างของหัว และมีเหงื่อใส ไม่เข้มเป็นสีแดงเหมือนเลือดแบบฮิปโปโปเตมัส อีกทั้งฮิปโปโปเตมัสแคระ ยังมีอุปนิสัยและพฤติกรรมต่างจากฮิปโปโปเตมัสอีกด้วย กล่าวคือ เป็นสัตว์ที่รักสันโดษ อยู่ตามลำพังเพียงตัวเดียว ขี้อาย และหวาดกลัวมนุษย์ เป็นสัตว์ที่แม้ประสาทการมองเห็นไม่ดี แต่ประสาทการดมกลิ่นนั้นดีเยี่ยม กินอาหารจำพวก พืชผักชนิดต่าง ๆ เช่น มันเทศ, ผลไม้ที่หล่นตามพื้น, หญ้า รวมถึงกินดินโป่งเพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ร่างกายเหมือนกับสัตว์กินพืชชนิดอื่นด้วย โดยจะพบกระจายพันธุ์ได้เฉพาะในพื้นที่ชุ่มน้ำในป่าดิบชื้นของภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกเท่านั้น คือ แถบประเทศไลบีเรีย, กินี, เซียร์ราลีโอน และโกตดิวัวร์ พฤติกรรมโดยทั่วไปยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด รวมถึงมีภาพบันทึกความเป็นอยู่ในธรรมชาติทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวเพียงไม่กี่ภาพเท่านั้น เท่าที่ทราบ คือ เป็นสัตว์หากินกลางคืน ในเวลากลางวันจะหลบซ่อนตัวหรือแช่น้ำ จะรวมตัวกันเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์ มีแหล่งอาศัยโดยใช้เขี้ยวคู่หน้าที่แหลมยาวขุดโพรงดินริมตลิ่งน้ำใช้เป็นที่อยู่อาศัย ในที่ ๆ มีกิ่งไม้หรือรากไม้หรือวัสดุธรรมชาติต่าง ๆ มาปกปิดไว้ ความยาวของโพรงอาจยาวได้ถึง 9 เมตร นับว่าใหญ่กว่าขนาดตัวของฮิปโปโปเตมัสแคระมาก และอาจมีทางเข้ามากกว่าหนึ่งทาง โดยจะดำน้ำเข้าไป และเชื่อว่าใช้เป็นที่เลี้ยงดูลูกอ่อนด้วย ลักษณะของหัวกะโหลก ฮิปโปโปเตมัสแคระคู่ แม้ฮิปโปโปเตมัสแคระจะเป็นสัตว์ที่สันโดษ อยู่อาศัยและหากินเพียงตัวเดียว แต่จากการศึกษาก็พบว่า ฮิปโปโปเตมัสแคระสามารถใช้เส้นทางการหากินร่วมกันมากกว่าหนึ่งตัวได้ ทั้งตัวผู้และตัวเมีย แม้จะไม่ใช่ฤดูผสมพันธุ์ ฮิปโปโปเตมัสแคระมีการประกาศอาณาเขตด้วยการถ่ายปัสสาวะและมูลโดยใช้หางสะบัดใส่ตามโคนต้นไม้หรือตามทางเดินหาอาหาร และมีทฤษฎีว่า ฮิปโปโปเตมัสแคระมีพฤติกรรมในการปล่อยฟีโรโมนคล้ายแมว เมื่อฮิปโปโปเตมัสแคระตัวเดิมเดินมาพบกับฟีโรโมนของตัวเอง จะเป็นแรงกระตุ้นให้รู้สึกสดชื่นและคึกคัก ปัจจุบัน สถานะในธรรมชาติของฮิปโปโปเตมัสแคระจัดว่าเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากถูกคุกคามถิ่นที่อยู่อาศัยเพราะการตัดไม้ทำลายป่า อีกทั้งยังถูกล่าเพื่อเอาเนื้อมาบริโภค และนำหนังมาทำเป็นแส้ของชาวพื้นเมืองแอฟริกาด้วย โดยฮิปโปโปเตมัสแคระมีการคุ้มครองที่อุทยานแห่งชาติตาอีในโกตดิวัวร์ แต่ในไลบีเรียที่อยู่ติดกันกลับไม่มีกฎหมายคุ้มครอง เนื้อของฮิปโปโปเตมัสแคระนั้นมีรสชาติอร่อยเหมือนเนื้อหมูป่า จึงนิยมซื้อขายกันในตลาดค้าสัตว์ป่าเถื่อน ฮิปโปโปเตมัสแคระ ในธรรมชาติปัจจุบันเหลือเพียงไม่เกิน 3,000 ตัว แต่ส่วนที่เลี้ยงในสวนสัตว์ทั่วทั้งโลกมีประมาณ 350 ตัว และมีการคลอดลูก ในประเทศไทยมีเลี้ยงเช่นที่ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว และสวนสัตว์เชียงใหม่ โดยชื่อเรียกสามัญในภาษาอังกฤษคล้ายกับวัว คือ ตัวผู้เรียกว่า bull ตัวเมียเรียกว่า cow ขณะที่ลูกฮิปโปโปเตมัสแคระเรียกว่า calf ส่วนฝูงฮิปโปโปเตมัสแคระเรียกว่า herd หรือ bloa.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และฮิปโปโปเตมัสแคระ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเชียงใหม่

ังหวัดเชียงใหม่ (40px เจียงใหม่) เป็นจังหวัดหนึ่งของไทย ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ มีประชากร 1,746,840 คน มากเป็นอันดับ 5 ของประเทศ ในจำนวนนี้เป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและชานเมือง 960,906 คน โดยจังหวัดเชียงใหม่ทิศเหนือติดต่อกับรัฐฉานของเมียนมา จังหวัดเชียงใหม่ จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สองของประเทศไทย รองจากกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ โดยมีอำเภอเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2552 มีการจัดตั้งอำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นอำเภอลำดับที่ 25 ของจังหวัด และลำดับที่ 878 ของประเทศ ซึ่งเป็นอำเภอล่าสุดของไทย จังหวัดเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนาแต่โบราณ มี "คำเมือง" เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านประเพณีวัฒนธรรม และมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยเริ่มวางตัวเป็นนครสร้างสรรค์ และได้รับการประกาศเป็นเมืองสร้างสรรค์ของโลกทางด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2560 ปัจจุบันกำลังพิจารณาสมัครเมืองมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และจังหวัดเชียงใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1004

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1004 (ต่อเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ - ดอยสุเทพ) ช่วงตั้งแต่ประตูเมืองเชียงใหม่ ถึงสวนสัตว์เชียงใหม่เรียกว่า ถนนห้วยแก้ว แต่ช่วงอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยถึงดอยสุเทพเรียกว่า ถนนทางขึ้นดอยสุเทพ หรือ ถนนศรีวิชัย ปัจจุบันมีลักษณะเป็นถนนผิวจราจรแอสฟัลต์คอนกรีต ขนาด 4 ช่องจราจรสวนทาง ขึ้นไปบนภูเขาที่สูงชัน ผ่านดอยสุเทพ จนถึงพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ระยะทางที่อยู่ในความควบคุมของแขวงการทางเชียงใหม่ที่ 2 สำนักทางหลวงที่ 1 (เชียงใหม่) รวม 16.277 กิโลเมตร สำหรับผู้ริเริ่มก่อสร้างถนนทางขึ้นสู่ดอยสุเทพคือ ครูบาศรีวิชัย ได้กำหนดฤกษ์ที่จะลงมือขุดจอบแรกสำหรับการสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพในวันที่ 9 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1004 · ดูเพิ่มเติม »

ตำบลสุเทพ

ตำบลสุเทพ เป็นตำบลในอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของเขตเมืองเชียงใหม่ รวมถึงดอยสุเทพ อันเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลปกครองโดยเทศบาลตำบลสุเทพ และส่วนที่เหลืออยู่ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ สถานที่สำคัญในตำบล ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วัดพระธาตุดอยสุเทพ สวนสัตว์เชียงใหม่ เป็นต้น.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และตำบลสุเทพ · ดูเพิ่มเติม »

ตุลาคม พ.ศ. 2546

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และตุลาคม พ.ศ. 2546 · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนลายแมลงวัน

ปลากระเบนลายแมลงวัน หรือ ปลากระเบนลายเสือ หรือ ปลากระเบนเสือดาว (Reticulate whipray, Honeycomb whipray) เป็นปลากระเบนชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Himantura uarnak อยู่ในวงศ์ Dasyatidae มีรูปร่างเหมือนกับปลาชนิดอื่นที่อยู่ในสกุล Himantura เช่นเดียวกัน มีจุดเด่นอยู่ที่ลวดลายของลำตัวด้านบนที่เป็นจุดดำบนสีพื้นสีเหลืองหรือสีน้ำตาลที่เหมือนกับลายของเสือดาว จะงอยปากแหลม ขณะที่ปลายังเล็กอยู่ ลวดลายเหล่านี้จะแตกออกเป็นแขนงเหมือนลายของตาข่าย และจะงอยปากไม่แหลมเหมือนปลาที่โต ขอบครีบทั้งสองข้างป้าน มีขนาดโตเต็มที่กว้างได้ถึง 2 เมตร น้ำหนักเต็มที่ได้ถึง 200 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์ในชายฝั่งตามแนวปะการังของอินโด-แปซิฟิก ชายฝั่งของแอฟริกาตะวันออก,แอฟริกาใต้ ทะเลแดง อ่าวเปอร์เซีย อ่าวไทย และออสเตรเลีย บางครั้งอาจเข้ามาหากินในบริเวณปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อยได้อีกด้วย สามารถดำน้ำได้ลึกถึง 50 เมตร ปลากระเบนลายแมลงวันนี้ ถือเป็นต้นแบบของปลาในสกุล Himantura โดยถือเป็นปลาที่ทำให้นักมีนวิทยาทำการแยกสกุลออกจากปลาในสกุล Pastinachus (ซึ่งในขณะนั้นยังคงใช้ชื่อสกุลว่า Raja) เป็นปลากระเบนอีกชนิดหนึ่งที่มีความสวยงาม จึงทำให้นิยมเลี้ยงกันในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ อาทิ สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำสวนสัตว์เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ หรือ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำดาวน์ทาวน์ โคโลราโด ในเดนเวอร์ รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา เป็นต้น.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และปลากระเบนลายแมลงวัน · ดูเพิ่มเติม »

นกกระเรียนมงกุฎเทา

thumb นกกระเรียนมงกุฎเทา หรือ นกกระเรียนหงอนพู่ (Grey crowned crane) เป็นนกในวงศ์นกกระเรียน พบในทุ่งหญ้าสะวันนาในทวีปแอฟริกาทางใต้ของทะเลทรายซาฮารา ทำรังในพื้นที่เปียกชื้น ไม่ใช่นกอ.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และนกกระเรียนมงกุฎเทา · ดูเพิ่มเติม »

นกสาลิกาเขียว

นกสาลิกาเขียว (Common green magpie) เป็นนกชนิดหนึ่งในวงศ์นกกา (Corvidae) มีขนาด 38 ​เซนติ​เมตร มีปากหนาสี​แดงสด วงรอบตาสี​แดง​และมี​แถบสีดำคาด​เหมือนหน้ากาก บริ​เวณกระหม่อมสี​เขียวอม​เหลือง ลำตัวด้านบนสี​เขียวสด ​ใต้ท้องสี​เขียวอ่อน ช่วงปีกตรงหัว​ไหล่​เป็นสี​เขียว ปลายปีก​เป็นสี​แดง​เข้ม ​และตอน​ในของขนกลางปีกมี​แถบสีดำสลับขาว ขาสี​แดงสด ​ใต้หางมีสีดำสลับขาว ​และส่วนปลายหางจะ​เป็นสีขาว ร้องดัง “กวีก.ก..กวีก..ก..ก....” กระจายพันธุ์ในเทือกเขาหิมาลัยในตอนเหนือของภาคตะวันออกของประเทศอินเดียไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านภาคกลางของประเทศไทย มาเลเซีย ถึงเกาะสุมาตราและทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว ในป่าไม่ผลัดใบ ป่า​เบญจพรรณ นกหากินเป็นคู่หรือเป็นฝูงตามต้นไม้และพื้นดิน กินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง, สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็ก ลูกนก และไข่เป็นอาหาร ทำรังอยู่ตามง่าม​ไม้ รัง​ทำจากกิ่ง​ไม้ ​ใบ​ไม้​แห้ง ​และ​ใบ​ไผ่ วางซ้อนกัน​และสาน​ไปมา​เป็นรูปลักษณะถ้วยตื้นๆ ตรงกลางมีกิ่ง​ไม้​เล็กวางรองอีกชั้น ออก​ไข่ครั้งละ 4 - 6 ฟอง.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และนกสาลิกาเขียว · ดูเพิ่มเติม »

นิลกาย

นิลกาย (Nilgai, Blue bull; নীলগাই; नीलगाय) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ในวงศ์วัวและควาย (Bovidae) จัดเป็นเพียงสัตว์ชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Boselaphus มีรูปร่างลักษณะคล้ายวัวผสมกับม้า ตัวผู้มีลักษณะเด่น ที่ สีลำตัวเมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเข้มขึ้นเรื่อย ๆ หรือสีเทาปนดำ อันเป็นที่มาของชื่อ ถือเป็นแอนทีโลปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย โดยมีส่วนสูงวัดถึงไหล่ประมาณ 1.2–1.5 เมตร และยาว 1.8–2 เมตร หางยาว 40–45 เซนติเมตร ตัวเต็มวัยมีน้ำหนักประมาณ 120–140 กิโลกรัม ลำตัวใหญ่ แต่มีขาเล็กเรียว ตัวผู้มีเขาเล็ก ๆ โค้งไปข้างหน้าเล็กน้อย ยาวประมาณ 21-25 เซนติเมตร มีขนแข็งยาวขึ้นจากส่วนหัวไล่ไปถึงกลางหลังทั้งสองเพศ ขณะที่ตัวเมียมีสีออกน้ำตาลแดง นิลกาย เป็นสัตว์ที่มีถิ่นกระจายพันธุ์ในราบตอนเหนือของอินเดียและทางภาคตะวันออกของปากีสถาน ชอบอยู่ตามที่ราบและเนินเขาที่มีไม้พุ่มเตี้ยมากกว่าอยู่ในป่าทึบ นิลกายเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 18 เดือน ซึ่งหลังผสมพันธุ์แล้ว มีระยะเวลาตั้งท้องประมาณ 8 เดือน ออกลูกคราวละ 2 ตัวหรือมากได้ถึง 3 ตัว น้ำหนักตัวเมื่อเกิดใหม่ราว 13–16 กิโลกรัม มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 21 ปี นิลกายเป็นสัตว์ที่ออกหากินในเวลากลางวัน และพักผ่อนในเวลากลางคืนเหมือนสัตว์ในวงศ์เดียวกันชนิดอื่น ๆ แต่กินอาหารหลากหลายกว่า เพราะกินทั้งต้นไม้, ใบหญ้า, ใบไม้ และผลไม้ทั่วไป นอกจากนี้ยังมีความสามารถพิเศษ คือ สามารถอดน้ำได้หลายวันโดยไม่มีน้ำดื่ม แต่มักจะอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ โดยส่วนใหญ่จะอยู่กันเป็นกลุ่มประมาณ 15 ตัว บางกลุ่มอาจมีถึง 20 ตัว ยกเว้นตัวที่อายุมากแล้วมักจะปลีกตัวไปอยู่ตามลำพัง และจะรวมตัวกันอีกทีก็ในช่วงฤดูหนาว ซึ่งอาจจะมีจำนวนถึง 30–100 ตัว ปัจจุบัน นิลกายพบจำนวนมากในที่ สวนลุมพินีวัน อันเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า และเชื่อว่าเป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ด้วย เป็นสัตว์ที่เชื่อว่าหากใครได้พบเห็น จะพบกับความเป็นสิริมงคล แต่นิลกายก็ถือเป็นสัตว์ที่รบกวนกินพืชผลของเกษตรกรเสียหายได้ครั้งละเป็นจำนวนมาก ทางการอินเดียจึงอนุญาตให้ล่าสัตว์ชนิดนี้ได้อย่างถูกกฎหมาย ขณะที่อีกไม่น้อยถูกรถชน นอกจากนี้ยังต้องขาดแคลนที่อยู่ซึ่งเป็นผลมาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นทุกวัน และมีศัตรูตามธรรมชาติอีกอย่างคือเสือและสิงโต ทำให้ปัจจุบันเหลือปริมาณ นิลกายอยู่ไม่มากแล้ว ในอินเดียมีประมาณ 100,000 ตัวเท่านั้น ส่วนที่รัฐเทกซัสในสหรัฐอเมริกาถูกนำไปเลี้ยงในสวนสัตว์บ้าง ในธรรมชาติบ้าง ช่วงทศวรรษ 1920 เหลือปริมาณนิลกายประมาณ 1,500 ตัว สำหรับในประเทศไทย นิลกายมีอยู่ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ ซึ่งได้ตกลูกในไทยมาแล้วถึง 4 ตัว นอกจากนี้แล้วยังเป็นสัตว์ที่มีความใกล้เคียงกับซาวลา (Pseudoryx nghetinhensis) ที่พบในป่าทึบของเวียดนามอีกด้ว.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และนิลกาย · ดูเพิ่มเติม »

แพนด้ายักษ์

แพนด้ายักษ์ (Giant panda) หรือที่นิยมเรียกว่า แพนด้า (Panda เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์หมี (Ursidae) ถิ่นอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน อาหารโปรดของแพนด้ายักษ์คือใบไผ่ นอกนั้นจะเป็นหญ้าชนิดอื่น ๆ ลักษณะเฉพาะของแพนด้ายักษ์คือมีขนสีดำรอบดวงตา, ใบหู, บ่า และขาทั้งสี่ข้าง ส่วนอื่นประกอบด้วยขนสีขาว.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และแพนด้ายักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

แรดอินเดีย

แรดอินเดีย จัดเป็นแรด 1 ใน 3 สายพันธุ์ที่พบได้ในทวีปเอเชีย และเป็นสายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดที่พบในทวีปแห่งนี้.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และแรดอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

โมโนเรลสวนสัตว์เชียงใหม่

มโนเรลสวนสัตว์เชียงใหม่ เป็นรถรางเดี่ยวทางสั้นสำหรับโดยสารและอำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้าชมสวนสัตว์เชียงใหม่ เปิดบริการแก่นักท่องเที่ยวตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม..

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และโมโนเรลสวนสัตว์เชียงใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

ไฮแรกซ์หิน

แรกซ์หิน (Rock hyrax, Cape hyrax, Rock rabbit, Dassie) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในอันดับไฮแรกซ์ (Hyracoidea) และวงศ์ Procaviidae จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Procavia มีรูปร่างคล้ายหนูตัวใหญ่ ๆ หรือกระต่าย มีหางสั้น มีขนหนานุ่มสีน้ำตาลเพื่อควบคุมอุณหภูมิร่างกาย เมื่อโตเต็มที่มีขนาดลำตัวตั้งแต่ 30–70 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 2–5 กิโลกรัม กินพืชเป็นอาหาร ทั้ง ใบไม้, หญ้า และเมล็ดพืชชนิดต่าง ๆ และสามารถกินพืชที่มีหนามและมีพิษได้ด้วย ไฮแรกซ์หินพบทั่วไปในทวีปแอฟริกา ในหลากหลายภุมิประเทศทั้งทะเลทราย, ป่าฝน และป่าสน และพบไปถึงบางส่วนในตะวันออกกลาง เช่น ซาอุดิอาระเบีย, โอมาน มีระยะเวลาตั้งท้องนาน 7–8 เดือน ออกลูกได้ครั้งละ 1–2 ตัว อายุ 5 เดือนจึงหย่านม มีอายุเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ประมาณ 17–18 เดือน อาศัยอยู่เป็นฝูงหรือครอบครัวเล็ก ๆ โดยมีตัวผู้ 1 ตัว เป็นผู้นำ และตัวเมียหลายตัว มีพฤติกรรมปีนป่ายโขดหิน และอาศัยอยู่ในโพรงหินหรือถ้ำขนาดเล็ก อันเป็นที่มาของชื่อ ชอบที่จะนอนอาบแดดในเวลาเช้า ก่อนจะออกหาอาหาร กับถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ ไฮแรกซ์หิน เป็นสัตว์ที่มีความตื่นตัวระแวดระวังภัยสูง เนื่องด้วยเป็นสัตว์ที่ตกเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่เสมอ ๆ รวมถึงนกล่าเหยื่อด้วย เช่น เหยี่ยวหรืออินทรี แต่เป็นสัตว์ที่ไม่ตื่นกลัวมนุษย์ มักจะเข้ามาหาอาหารในชุมชนของมนุษย์อยู่เสมอ ๆ ในประเทศไทย มีไฮแรกซ์หินแสดงที่สวนสัตว์เชียงใหม.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และไฮแรกซ์หิน · ดูเพิ่มเติม »

เก้งธรรมดา

ก้งธรรมดา หรือ อีเก้ง หรือ ฟาน หรือที่นิยมเรียกกันว่า เก้ง (Indian muntjac, Common barking deer, Red muntjac) เป็นเก้งชนิดหนึ่ง นับเป็นเก้งชนิดที่รู้จักและมีถิ่นกระจายพันธุ์กว้างขวางที่สุด มีส่วนหลังโก่งเล็กน้อย ลำตัวสีน้ำตาลแดง ด้านใต้ซีดและอมเทาเล็กน้อย หางด้านบนสีน้ำตาลเข้ม ด้านล่างสีขาว เก้งตัวผู้มีเขาสั้น ฐานเขาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกะโหลกยื่นยาวขึ้นไปเป็นแท่ง มีขนปกคลุม และมีขนสีดำขึ้นตามแนวเขาจนดูเป็นรูปตัววีเมื่อมองด้านหน้าตรง ส่วนปลายเขาสั้น แต่เป็นง่ามเล็ก ๆ แค่สองง่าม ไม่แตกเป็นกิ่งก้านแบบกวาง ผลัดเขาปีละครั้ง ส่วนตัวเมียไม่มีเขาและฐานเขา แต่บนหน้าก็มีขนรูปตัววีเหมือนกัน เก้งตัวที่อายุมากผู้มีเขี้ยวยาวแหลมโค้งโผล่พ้นขากรรไกรออกมา เวลาเดินจะยกขาสูงทุกย่างก้าว หากินได้ทั้งกลางวันและกลางคืน แต่ส่วนใหญ่จะพบตอนเย็นหรือหัวค่ำ และตอนเช้ามืดจนถึงช่วงสาย อดน้ำไม่เก่ง จึงมักอยู่ไม่ไกลจากแหล่งน้ำ อาหารหลักได้แก่ยอดไม้, หน่ออ่อน, ใบไม้, ผลไม้ และรวมถึงเปลือกไม้ด้วย ไม่ค่อยกินหญ้า พบแพร่กระจายพันธุ์ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ ศรีลังกา, อินเดีย, จีนตอนใต้, พม่า, ไทย, ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะชวา, เกาะบอร์เนียว, เกาะไหหลำ และหมู่เกาะซุนดา มีฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม ตกลูกต้นฤดูฝนพอดี ปกติตกลูกครั้งละหนึ่งตัว ตั้งท้องนานราว 6 เดือน ออกลูกตามใต้พุ่มไม้ ลูกเก้งมีจุดสีขาวตามตัว เมื่ออายุได้ราว 6 เดือน จุดสีขาวนั้นจึงค่อยจางหายไป เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ได้เมื่ออายุได้ 18 เดือน อายุขัยประมาณ 15 ปี ในประเทศไทย ถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และเก้งธรรมดา · ดูเพิ่มเติม »

เวียงเจ็ดลิน

วียงเจ็ดลิน (80px) เป็นเวียง (เมือง) ขนาดเล็ก ตั้งอยู่บริเวณเชิงดอยสุเทพทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองเชียงใหม่ เป็นเวียงที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ล้านนาภาพถ่ายทางอากาศของเวียงเจ็ดลิน คำว่า ลิน หมายถึง รางริน และ คำว่า “เจ็ดลิน” ก็หมายความถึง รางรินทั้งเจ็ด แต่จะหมายถึง มีรางรินอยู่ 7 แห่ง หรือว่า มีรางรินอยู่ทั้งหมด 7 ราง ก็จะต้องค้นหาหลักฐานกันต่อไป แต่บางตำราสันนิษฐานว่าในเวียงดังกล่าว มีแม่น้ำ หรือคลองส่งน้ำจำนวน 7.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และเวียงเจ็ดลิน · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่งขาว

วามหมายอื่น ดูที่: เสือขาว เสือโคร่งขาวชนิดย่อย เสือโคร่งเบงกอล ในสวนสัตว์สิงคโปร์ เสือโคร่งขาวชนิดย่อย เสือโคร่งไซบีเรีย เสือโคร่งขาว (White tiger) เป็นลักษณะพิเศษประการหนึ่งของเสือโคร่ง ที่เป็นโดยมากในชนิดย่อย เสือโคร่งเบงกอล โดยมีรูปร่างลักษณะเหมือนกับเสือโคร่งเบงกอลทุกประการ เพียงแต่มีลักษณะเด่น คือ แต่มีขนพื้นสีขาวและลายสีน้ำตาลเข้ม ม่านตาสีฟ้า จมูกสีชมพูและสีขาวครีม ซึ่งเกิดจากการผิดปกติของยีน โดยมิใช่สัตว์เผือกโดยแท้จริง (Albino) แต่เป็นอาการผิดปกติที่ผิวหนังมีจำนวนเม็ดสีน้อย ที่เรียกว่า "ภาวะด่าง" (Leucism) เสือโคร่งขาวเบงกอล ตัวแรกที่มีประวัติบันทึกไว้ในธรรมชาติ พบที่ประเทศอินเดีย ในรอบ 100 ปี พบเพียง 12 ตัวเท่านั้น ปัจจุบันพบได้น้อยมากในธรรมชาติ และด้วยความโดดเด่นในสีผิวจึงนิยมแสดงไว้ตามสวนสัตว์ต่าง ๆ มีการนำไปเพาะเลี้ยงในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา จนมีแพร่ขยายพันธุ์ออกลูกในที่เลี้ยง ปัจจุบันมีเสือโคร่งขาวประมาณ 200 ตัว ส่วนใหญ่อยู่ตามสวนสัตว์ต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยด้วย นอกจากนี้แล้ว เสือโคร่งขาวเบงกอล ยังเป็นสัตว์เลี้ยงของบุคคลระดับมหาเศรษฐีด้วย เช่น ไมค์ ไทสัน อดีตแชมป์โลกมวยสากลในรุ่นเฮฟวี่เวทชาวอเมริกัน เป็นต้น.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และเสือโคร่งขาว · ดูเพิ่มเติม »

เทศบาลนครเชียงใหม่

ียงใหม่ (40px) เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และเป็นเมืองวัฒนธรรมที่สำคัญที่สุดในภาคเหนือของประเทศไทย เป็นเมืองศูนย์กลางของจังหวัดเชียงใหม่ และเป็นอดีตนครหลวงแห่งอาณาจักรล้านนา ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือเป็นระยะทาง มีแม่น้ำปิงไหลผ่านเมือง และตั้งอยู่ท่ามกลางภูเขาที่สูงที่สุดของประเทศ เขตเทศบาลมีพื้นที่ 40.22 ตารางกิโลเมตร โดยครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอเมืองเชียงใหม่ ในแง่ของจำนวนประชากรของเทศบาลนครเชียงใหม่ซึ่งมีประมาณ 130,000 คน ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง นับว่าเป็นเทศบาลที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทย รองจากเทศบาลนครนนทบุรี เทศบาลนครปากเกร็ด และเทศบาลนครหาดใหญ่ นอกจากนี้ เทศบาลนครเชียงใหม่ยังเป็นเทศบาลนครแห่งแรกของประเทศไท.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และเทศบาลนครเชียงใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

12 ตุลาคม

วันที่ 12 ตุลาคม เป็นวันที่ 285 ของ.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และ12 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

27 พฤษภาคม

วันที่ 27 พฤษภาคม เป็นวันที่ 147 ของปี (วันที่ 148 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 218 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สวนสัตว์เชียงใหม่และ27 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »