โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สยามโมดอน

ดัชนี สยามโมดอน

มโมดอน นิ่มงามมิ (Siamodon nimngami) เป็นไดโนเสาร์ ออร์นิโธพอด กลุ่มที่เรียกว่า อิกัวโนดอนเทีย (Iguanodontia) พบชิ้นส่วนกระดูกขากรรไกรบนด้านซ้าย (PRC-4), ฟันจากขากรรไกรบนเดี่ยวๆ 1 ซี่ (PRC-5), และกระดูกส่วนสมองด้านท้ายทอย (PRC-6) จากแหล่งขุดค้นบ้านสะพานหิน ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยผู้ที่พบคือ นายวิทยา นิ่มงาม พบฟันและกระดูกไดโนเสาร์ ในหินกรวดมนปนปูน หมวดหินโคกกรวด ยุคครีตาเชียสตอนต้น มีอายุประมาณ 125 - 113 ล้านปีมาแล้ว สยามโมดอน นิ่มงามมิ มีลักษณะของกระดูกขากรรไกรบนเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ที่มียอดสามเหลี่ยมไม่สูงนัก ซึ่งมีความยาวทางด้านหน้าสามเหลี่ยม กับด้านหลังสามเหลี่ยมเกือบเท่าๆ กัน คือมีความยาวของขากรรไกรบน 230 มิลลิเมตร และมีความสูง 100 มิลลิเมตร, มีส่วนโป่งของพื้นผิวด้านในของขากรรไกรบน เป็นแนวยาวที่เด่นชัด, มีฟันของขากรรไกรบน ประมาณ 25 ซี่ ซึ่งมีสันอยู่ตรงกลางตามแนวยาวของฟันจำนวน 1 สันที่เด่นชัดมาก และบางทีอาจมีสันเล็กๆ บางๆ อยู่ด้านข้างของสันใหญ่ อีก 1 สัน หรืออาจไม่มีเลยก็ได้, ความยาวของฟันประมาณ 25 - 28 มิลลิเมตร และความกว้างของฟันประมาณ 14 - 17 มิลลิเมตร สยามโมดอน แตกต่างจากไดโนเสาร์พวกอิกัวโนดอนเทียแรกเริ่ม (basal iguanodontia) เช่น ไดโนเสาร์วงศ์ อิกัวโนดอน (Iguanodontids) ตรงที่มีลักษณะของ "ฟัน" ของขากรรไกรบน ที่ไม่เหมือนกัน โดยไดโนเสาร์วงศ์อิกัวโนดอน จะมีสันฟันไม่ได้อยู่ตรงกลางตามแนวยาวของฟัน และยังมีสันฟันเล็กๆ อยู่ด้านข้างอยู่อีกหลายๆ สัน นอกจากนี้ ยังมีลักษณะของส่วนยอดของขากรรไกรบน จะอยู่ในตำแหน่งที่คล้อยไปทางด้านหลังอีกด้วย สยามโมดอน แตกต่างจากไดโนเสาร์ วงศ์ฮาโดรซอร์ (Hadrosaurids) ตรงที่บริเวณการประสานต่อกัน ของกระดูกโหนกแก้ม (jugal) กับกระดูกขากรรไกรบน โดยมีส่วนยื่นของกระดูกโหนกแก้ม (jugal process) มีลักษณะเป็น "แถบแบน" ในขณะที่ไดโนเสาร์วงศ์ฮาโดรซอร์ จะมีลักษณะการขยายทางส่วนหน้าของกระดูกโหนกแก้ม และ อยู่เหลื่อมกันบริเวณรอยต่อของกระดูกขากรรไกรบน สยามโมดอน นิ่มงามมิ มีลักษณะของกระดูกขากรรไกรบนคล้ายคลึงกับไดโนเสาร์ โปรแบคโตรซอรัส (Probactrosaurus) จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยพิจารณาจากลักษณะที่มีส่วนยื่นของกระดูกโหนกแก้ม ที่เป็นแถบแบน เหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันครงที่ มีจำนวนฟันของกระดูกขากรรไกรบน ที่น้อยกว่า Probactrosaurus.

2 ความสัมพันธ์: รายชื่อไดโนเสาร์ไดโนเสาร์ในประเทศไทย

รายชื่อไดโนเสาร์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: สยามโมดอนและรายชื่อไดโนเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไดโนเสาร์ในประเทศไทย

นื่องจากไดโนเสาร์มีชีวิตอยู่ในช่วงมหายุคมีโซโซอิก ซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์จึงอยู่ในชั้นของหินตะกอนที่สะสมตัวกันในช่วงนี้ ซึ่งในประเทศไทย หินที่มีอายุดังกล่าวพบอยู่ทั่วไปในบริเวณที่ราบสูงโคราช และพบอยู่เป็นแห่งๆ ในภาคเหนือและภาคใต้ หินบริเวณที่ราบสูงโคราชนั้น เรียกว่า กลุ่มหินโคราช ซึ่งแบ่งออกเป็นหมวดหินย่อยๆ ได้อีก 6 หมวด คือ.

ใหม่!!: สยามโมดอนและไดโนเสาร์ในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »