โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียม

ดัชนี สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียม

มเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียม (Mathilde, Reine des Belges; Mathilde, koningin der Belgen; พระราชสมภพ: 20 มกราคม ค.ศ. 1973) หรือพระนามเดิมว่า มาตีลด์ มารี คริสตียาน กีแลน ดูว์เดอแกม ดาโก (Mathilde Marie Christiane Ghislaine d'Udekem d'Acoz) สมเด็จพระราชินีในสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม มีเชื้อสายสืบแต่สกุลขุนนางของโปแลนด์ พระองค์เป็นพระราชินีพระองค์แรกที่ถือสัญชาติเบลเยียม ภายหลังจากการขึ้นครองราชย์ของพระราชสวามี.

18 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2516พ.ศ. 2542พ.ศ. 2544พระราชวังลาเคินพระราชสันตติวงศ์ในพระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์กรายพระนามพระราชอาคันตุกะในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์เบลเยียมสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียมสมเด็จพระราชินีเปาลาแห่งเบลเยียมซายาโกะ คุโรดะปฏิกิริยาต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเจ้าชายกาบรีแยลแห่งเบลเยียมเจ้าชายแอมานุแอลแห่งเบลเยียมเจ้าหญิงอะเลกซียาแห่งเนเธอร์แลนด์เจ้าหญิงอิซาเบลลาแห่งเดนมาร์กเจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ดัชเชสแห่งบราบันต์เจ้าหญิงเอเลออนอร์แห่งเบลเยียม20 มกราคม

พ.ศ. 2516

ทธศักราช 2516 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1973 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียมและพ.ศ. 2516 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2542

ทธศักราช 2542 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1999 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และสหประชาชาติกำหนดให้เป็น ปีสากลแห่งผู้สูงอายุและเป็นปีมหามงคลในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ (พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒).

ใหม่!!: สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียมและพ.ศ. 2542 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2544

ทธศักราช 2544 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2001 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียมและพ.ศ. 2544 · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังลาเคิน

ระราชวังลาเคิน หรือ ปราสาทลาเคิน (ดัตช์: Kasteel van Laken, ฝรั่งเศส: Château de Laeken, เยอรมัน: Schloss Laken) เป็นพระราชวังที่พำนักของพระราชวงศ์แห่งเบลเยียม ตั้งอยู่ในเขตกรุงบรัสเซลส์ ตั้งอยู่ห่างจากใจกลางเมืองประมาณ ในเขตลาเคิน พระราชวังนั้นประกอบด้วยสวนขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "Royal Domain of Laeken" ซึ่งสงวนมิให้บุคคลภายนอกเข้าเนื่องจากเป็นเขตพระราชฐานชั้นใน ในปัจจุบันพระราชวังแห่งนี้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป, สมเด็จพระราชินีมาตีลด์ และพระราชโอรสธิดา เจ้าหญิงเอลิซาเบธ ดัชเชสแห่งบราบันต์ เจ้าชายกาบรีแยลแห่งเบลเยียม เจ้าชายแอมานุแอลแห่งเบลเยียม เจ้าหญิงเอเลออนอร์แห่งเบลเยียม โดมกลางของกรีนเฮาส์หลวง.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียมและพระราชวังลาเคิน · ดูเพิ่มเติม »

พระราชสันตติวงศ์ในพระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก

มเด็จพระราชาธิบดีคริสเตียนที่ 9 เจ้าหญิงหลุยส์แห่งเฮสส์-คาสเซิล ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชาธิบดีคริสเตียนที่ 9 (Descendants of King Christian IX) เป็นเรื่องราวของการสืบสายพระโลหิตของพระราชโอรสและธิดาทั้งหมด 6 พระองค์ในสมเด็จพระราชาธิบดีคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก (8 เมษายน พ.ศ. 2361 - 29 มกราคม พ.ศ. 2449 เสวยราชสมบัติ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2406) โดยมีพระราชนัดดา 39 พระองค์ และพระราชปนัดดา (เหลน) 84 พระองค์ แต่ละพระองค์จึงเป็นทั้งพี่น้องกันหรือพระญาติชั้นที่หนึ่งซึ่งกันและกัน (first cousin) และด้วยการอภิเษกสมรสเข้าไปยังราชสำนักต่างๆ ของทวีปยุโรป พระองค์จึงทรงมีผลกระทบต่อโชคชะตาของราชวงศ์ยุโรปอย่างมาก โดยทรงเกี่ยวข้องทางสายพระโลหิตและการอภิเษกสมรสกับราชวงศ์อังกฤษ นอร์เวย์ เบลเยียม กรีซ โรมาเนีย ยูโกสลาเวีย สเปน และรัสเซีย จึงทำให้ทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า พระสัสสุระแห่งยุโรป (Father-in-Law of Europe) สมเด็จพระราชาธิบดีคริสเตียนที่ 9 ทรงครองราชบัลลังก์แห่งเดนมาร์กเป็นเวลานานเกือบ 50 ปี ในระหว่างปี..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียมและพระราชสันตติวงศ์ในพระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระราชอาคันตุกะในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขจำนวน 25 ประเทศจากทั้งสิ้น 29 ประเทศทั่วโลกตอบรับคำเชิญของรัฐบาลไทยที่จะมาร่วมราชพิธีอันเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในเดือนมิถุนายนปีดังกล่าว พระประมุขจาก 13 ประเทศเสด็จพระราชดำเนินมาด้วยพระองค์เอง 12 ประเทศทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้แทนพระองค์ให้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทน ครั้งนี้นับเป็นการชุมนุมของพระประมุขจากประเทศต่าง ๆ มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียมและรายพระนามพระราชอาคันตุกะในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์เบลเยียม

คู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์แห่งเบลเยียม จากราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา นับตั้งแต่สมเด็จพระราชาธิบดีเลโอโปลด์ที่ 1 จนถึงรัชกาลของสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 จะดำรงพระอิสริยยศที่ สมเด็จพระราชินี ทุกพระองค์ แต่ในรัชกาลของสมเด็จพระราชาธิบดีเลโอโปลด์ที่ 3 ได้อภิเษกสมรสครั้งที่สองกับลิเลียน บาเอลส์ ซึ่งเธอมิได้ดำรงตำแหน่งที่ สมเด็จพระราชินี หากแต่ดำรงพระอิสริยยศเป็น เจ้าหญิงแห่งเรธี (Princess of Réthy) บ หมวดหมู่:ราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียมและรายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์เบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม

มเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม (การออกเสียงภาษาอื่น: His Majesty King Philippe of the Belgians; Sa Majesté le Roi Philippe des Belges; Zijne Majesteit de Koning Filip der Belgen; Seine Majestät der König Philipp der Belgier, เสด็จพระราชสมภพ 15 เมษายน ค.ศ. 1960) เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 7 แห่งราชอาณาจักรเบลเยียม เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในอดีตสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 และสมเด็จพระราชินีเปาลาแห่งเบลเยียม ทรงสืบราชสมบัติขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 ภายหลังจากการสละราชสมบัติของสมเด็จพระราชบิดาอันเนื่องมาจากปัญหาพระพลานามัย โดยหลังจากการเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ จึงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น ดัชเชสแห่งบราบันท์ รัชทายาทพระองค์ต่อไปของเบลเยียม.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียมและสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีเปาลาแห่งเบลเยียม

มเด็จพระราชินีเปาลาแห่งเบลเยียม เป็นพระมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 แห่งเบลเยียม และเป็นสมเด็จพระราชชนนีในสมเด็จพระราชาธิบดีฟิลิป พระมหากษัตริย์แห่งชาวเบลเยียมพระองค์ปัจจุบัน.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียมและสมเด็จพระราชินีเปาลาแห่งเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

ซายาโกะ คุโรดะ

ซะยะโกะ คุโระดะ (18 เมษายน พ.ศ. 2512) หรือพระนามเดิม เจ้าหญิงซะยะโกะ เจ้าหญิงโนะริ เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะกับสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ ภายหลังได้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อเสกสมรสกับโยะชิกิ คุโระดะ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียมและซายาโกะ คุโรดะ · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิกิริยาต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 15.52 นาฬิกา ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช หลังการสวรรคต มีประเทศต่างๆและองค์การระดับนานาชาติส่งสาส์นแสดงความเสียใจเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียมและปฏิกิริยาต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายกาบรีแยลแห่งเบลเยียม

้าชายกาบรีแยลแห่งเบลเยียม (พระนามเต็ม: กาบรีแยล โบดวง ชาลส์ มารี, Gabriel Baudouin Charles Marie, Gabriël Boudewijn Karel Maria; ประสูติ: 20 สิงหาคม พ.ศ. 2546) เป็นพระราชทายาทพระองค์ที่สอง และเป็นพระราชโอรสพระองค์แรกในสมเด็จพระราชาธิบดีฟิลิปแห่งเบลเยียมกับสมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียม พระองค์ในปัจจุบันอยู่ในลำดับที่สองของการสืบราชสันตติวงศ์ พระองค์เป็นพระอนุชาของเจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ดัชเชสแห่งบราบันต์ ในขณะที่พระเชษฐภคินีนั้นได้เลื่อนอันดับเป็นอันดับแรกแห่งการสืบราชสันตติวงศ์ อันเนื่องมาจากการผ่านกฎหมายให้ถือสิทธิของบุตรหัวปีในการเป็นรัชทายาทในปีค.ศ.​ 1991 นอกจากดัชเชสแห่งบราบันต์แล้ว พระองค์ยังมีพระอนุชา คือ เจ้าชายแอมานุแอล และพระขนิษฐา คือ เจ้าหญิงเอเลออนอร์ พ่อและแม่ทูนหัวของพระองค์ได้แก่ เคานต์ชาลส์-อ็องรี ดูว์เดอแกม ดาโก ผู้เป็นพระปิตุลาฝ่ายพระชนนี และบารอนเนสมาเรีย คริสตินา วอน เฟรแบร์ก.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียมและเจ้าชายกาบรีแยลแห่งเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายแอมานุแอลแห่งเบลเยียม

้าชายแอมานุแอลแห่งเบลเยียม (พระนามเต็ม: แอมานุแอล เลโอโปลด์ ฟร็องซัว มารี, Emmanuel Léopold Guillaume François Marie; ประสูติ: 4 ตุลาคม พ.ศ. 2548) เป็นพระราชทายาทพระองค์ที่สาม และพระราชโอรสพระองค์รองในสมเด็จพระราชาธิบดีฟิลิปแห่งเบลเยียมกับสมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียม พระองค์ในปัจจุบันอยู่ในลำดับที่สามของการสืบราชสันตติวงศ์ ต่อจากพระเชษฐภคินี และพระเชษฐา คือ เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ดัชเชสแห่งบราบันต์ และเจ้าชายกาบรีแยลแห่งเบลเยียม พระองค์ทรงรับบัพติศมาเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียมและเจ้าชายแอมานุแอลแห่งเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงอะเลกซียาแห่งเนเธอร์แลนด์

้าหญิงอะเลกซียา ยูลียานา มาร์เซลา ลอเรนทีนแห่งเนเธอร์แลนด์, เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์-นัสเซา (Alexia Juliana Marcela Laurentien, Prinses der Nederlanden, Prinses van Oranje-Nassau; 26 มิถุนายน พ.ศ. 2548) เป็นพระราชธิดาพระองค์กลางในสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ กับสมเด็จพระราชินีแม็กซิมาแห่งเนเธอร์แลนด์ และอยู่ในลำดับที่สองของการสืบราชบัลลังก์เนเธอร์แลนด์ต่อจากภคินีคือ เจ้าหญิงแห่งออเรน.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียมและเจ้าหญิงอะเลกซียาแห่งเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงอิซาเบลลาแห่งเดนมาร์ก

้าหญิงอิซาเบลลา เฮนเรียตตา อิงกริด มาร์เกรเธอแห่งเดนมาร์ก, เคาน์เตสแห่งมงเปอซา (21 เมษายน พ.ศ. 2550) พระธิดาพระองค์แรกในเจ้าชายเฟรเดอริก มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก กับเจ้าหญิงแมรี มกุฎราชกุมารีแห่งเดนมาร์ก เป็นพระราชนัดดาองค์ที่สี่ และเป็นพระราชนัดดาหญิงพระองค์แรกในสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก ทั้งยังเป็นพระภาคิไนยในสมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ ทรงมีสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ลำดับที่สามต่อจากพระบิดาและพระเชษฐา คือ เจ้าชายคริสเตียน จนเมื่อพิธีบัพติศมา ได้มีการขนานพระนามโดยพระชนกชนนี และสื่อของเดนมาร์กว่า "Lillepigen" ซึ่งมีความหมายว่า เด็กหญิงตัวน้อยอันเป็นที่รักไคร.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียมและเจ้าหญิงอิซาเบลลาแห่งเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ดัชเชสแห่งบราบันต์

้าหญิงเอลีซาแบ็ต เตแรซ มารี เอแลน ดัชเชสแห่งบราบันต์ (Élisabeth Thérèse Marie Hélène, Elisabeth Theresia Maria Helena.; 25 ตุลาคม พ.ศ. 2544) เป็นรัชทายาทในราชบัลลังก์เบลเยียม เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชาธิบดีฟิลิปแห่งเบลเยียมและสมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียม มีพระอิสริยยศเป็น "ดัชเชสแห่งบราบันต์" หลังจากที่สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 แห่งเบลเยียม พระอัยกาธิราชของพระองค์ทรงสละราชสมบัติ โดยมีพระราชบิดาของพระองค์สืบราชสมบัติเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2013.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียมและเจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ดัชเชสแห่งบราบันต์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงเอเลออนอร์แห่งเบลเยียม

้าหญิงเอเลออนอร์แห่งเบลเยียม (พระนามเต็ม: เอเลออนอร์ ฟาบิโอลา วิกตอเรีย แอน มารี, Eléonore Fabiola Victoria Anne Marie; ประสูติ: 16 เมษายน พ.ศ. 2551) เป็นพระราชทายาทพระองค์ที่สี่ และพระราชธิดาพระองค์เล็กในสมเด็จพระราชาธิบดีฟิลิปแห่งเบลเยียมกับสมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียม ทรงเป็นพระราชนัดดาลำดับที่ 12 ในสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 กับสมเด็จพระราชินีเปาลา ในปัจจุบัน พระองค์ทรงอยู่ในลำดับที่สี่ของการสืบราชสันตติวงศ์ ต่อจากพระเชษฐภคินี และพระเชษฐา คือ เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ดัชเชสแห่งบราบันต์, เจ้าชายกาบรีแยลแห่งเบลเยียม และ เจ้าชายแอมานุแอลแห่งเบลเยียม พระองค์ทรงรับบัพติศมาเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียมและเจ้าหญิงเอเลออนอร์แห่งเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

20 มกราคม

วันที่ 20 มกราคม เป็นวันที่ 20 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 345 วันในปีนั้น (346 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียมและ20 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สมเด็จพระราชินีมาธิลด์แห่งเบลเยียมสมเด็จพระราชินีมาทิลด์แห่งเบลเยียมเจ้าหญิงมาทิลด์ ดัชเชสแห่งบราบันต์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »