โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สมาคมมักซ์พลังค์

ดัชนี สมาคมมักซ์พลังค์

มาคมมักซ์พลังค์ (Max Planck Society) หรือชื่อเต็มคือ สมาคมมักซ์พลังค์เพื่อความก้าวหน้าแห่งศาสตร์ (Max-Planck-Gesellschaft zur Förderung der Wissenschaften e. V.) หรือโดยย่อว่า MPG เป็นองค์กรวิจัยอิสระไม่แสวงกำไรของเยอรมนี ได้รับทุนจากรัฐบาลสหพันธ์และรัฐบาลรัฐ สมาคมมักซ์พลังค์มีชื่อเสียงเป็นผู้นำระดับโลกในฐานะองค์กรวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ใน..

11 ความสัมพันธ์: มักซ์ พลังค์สมาคมฟรอนโฮเฟอร์สถาบันมักซ์พลังค์เพื่อการวิจัยระบบสุริยะสถาบันมักซ์พลังค์เพื่อดาราศาสตร์วิทยุออทโท ฮานอดอล์ฟ บูเทนันต์ปรากฏการณ์โลกร้อนแพร์ วิกทอร์ เอดมันไลโกไฮเดิลแบร์คเบอร์ลิน

มักซ์ พลังค์

มักซ์ คาร์ล แอนสท์ ลุดวิจ พลังค์ เป็นนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ผู้บุกเบิกการศึกษาทฤษฎีควอนตัม อันเป็นส่วนสำคัญในการศึกษาฟิสิกส์สมัยใหม่ แม้ในชีวิตตอนแรกของเขาจะดูราบรื่น โดยเขามีความสามารถทั้งทางดนตรีและฟิสิกส์ แต่เขากลับเดินไปในเส้นทางแห่งนักฟิสิกส์ทฤษฎี จนเขาได้ตั้งทฤษฎีทางฟิสิกส์ที่สำคัญต่อฟิสิกส์สมัยใหม่ นั่นคือ กฎการแผ่รังสีของวัตถุดำของพลังค์ รวมถึงค่าคงตัวของพลังค์ ซึ่งนับว่าขาดไม่ได้เลยสำหรับการศึกษากลศาสตร์ควอนตัม ทว่าบั้นปลายกลับเต็มไปด้วยความสิ้นหวังจากภัยสงคราม เขาต้องสูญเสียภรรยาคนแรก และบุตรที่เกิดกับภรรยาคนแรกไปทั้งหมด จนเหลือเพียงตัวเขา ภรรยาคนที่สอง และบุตรชายที่เกิดกับภรรยาคนที่สองเพียงคนเดียว ถึงกระนั้น พลังค์ก็ยังไม่ออกจากประเทศเยอรมนีอันเป็นบ้านเกิดของเขาไปยังดินแดนอื่น พลังค์ได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ประจำปี..

ใหม่!!: สมาคมมักซ์พลังค์และมักซ์ พลังค์ · ดูเพิ่มเติม »

สมาคมฟรอนโฮเฟอร์

มาคมฟรอนโฮเฟอร์ (Fraunhofer-Gesellschaft) เป็นองค์กรวิจัยของประเทศเยอรมนี มีสถาบัน 58 แห่งกระจายทั่วประเทศ แต่ละแห่งเน้นในสาขาวิทยาศาสตร์ "ประยุกต์" ต่าง ๆ กัน (ตรงข้ามกับ สมาคมมักซ์ พลังค์ ซึ่งโดยมากจะทำด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน) สมาคมจ้างงานมากกว่า 12,500 ตำแหน่ง โดยส่วนใหญ่เป็นนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร และมีงบวิจัยปีละประมาณ 1.2 พันล้านยูโร งบประมาณพื้นฐานบางส่วนของสมาคมมาจากทางรัฐ แต่ประมาณสองในสามของงบประมาณนั้นได้มาจากสัญญาจ้างงาน ทั้งที่เป็นโครงการที่สนับสนุนโดยรัฐบาล หรือโดยอุตสาหกรรม สมาคมตั้งชื่อตาม โยเซฟ ฟอน ฟรอนโฮเฟอร์ (Joseph von Fraunhofer) ซึ่ง, ในฐานะที่เขาเป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และนักวิสาหกิจ, เป็นตัวอย่างชั้นเยี่ยมของเป้าหมายของสมาคม.

ใหม่!!: สมาคมมักซ์พลังค์และสมาคมฟรอนโฮเฟอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันมักซ์พลังค์เพื่อการวิจัยระบบสุริยะ

ันมักซ์พลังค์เพื่อการวิจัยระบบสุริยะ (Max Planck Institute for Solar System Research) หรือย่อว่า MPS เป็นสถาบันวิจัยด้านดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ปัจจุบันตั้งอยู่ในเมืองเกิททิงเงิน ประเทศเยอรมนี สถาบันนี้ก่อตั้งในปี..

ใหม่!!: สมาคมมักซ์พลังค์และสถาบันมักซ์พลังค์เพื่อการวิจัยระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันมักซ์พลังค์เพื่อดาราศาสตร์วิทยุ

ันมักซ์พลังค์เพื่อดาราศาสตร์วิทยุ (Max Planck Institute for Radio Astronomy) เป็นสถาบันวิจัยด้านดาราศาสตร์วิทยุ ตั้งอยู่ในเมืองบอนน์ ประเทศเยอรมนี ถือเป็นหนึ่งใน 80 สถาบันที่สังกัดสมาคมมักซ์พลังค์ เดิมทีสถาบันนี้มีฐานะเป็นคณะหนึ่งของมหาวิทยาลัยบอนน์ ก่อนที่จะแยกตัวออกมาเป็นสถาบันในภายหลัง สถาบันนี้มีกล้องโทรทัศน์วิทยุแอฟเฟ็ลส์แบร์ค (Effelsberg) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 100 เมตรในความดูแล ซึ่งเป็นกล้องโทรทัศน์วิทยุขนาดใหญ่ที่สุดของโลก.

ใหม่!!: สมาคมมักซ์พลังค์และสถาบันมักซ์พลังค์เพื่อดาราศาสตร์วิทยุ · ดูเพิ่มเติม »

ออทโท ฮาน

ออทโท ฮาน (Otto Hahn) เป็นนักเคมีชาวเยอรมัน เขาเป็นผู้บุกเบิกสาขากัมมันตภาพรังสีและรังสีเคมี และได้รับการยอมรับนับถือเป็น "บิดาแห่งเคมีนิวเคลียร์" เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี..

ใหม่!!: สมาคมมักซ์พลังค์และออทโท ฮาน · ดูเพิ่มเติม »

อดอล์ฟ บูเทนันต์

อดอล์ฟ ฟรีดริช โยฮันน์ บูเทนันต์ (Adolf Friedrich Johann Butenandt; 24 มีนาคม ค.ศ. 1903 – 18 มกราคม ค.ศ. 1995) เป็นนักชีวเคมีชาวเยอรมัน เกิดที่ใกล้เมืองเบรเมอร์ฮาเฟิน เป็นบุตรของออทโท หลุยส์ มักซ์ บูเทนันต์และวิลเฮล์มินา ทอมฟอห์ด บูเทนันต์ เรียนที่มหาวิทยาลัยมาร์บูร์กและมหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน บูเทนันต์มีโอกาสได้เรียนกับอดอล์ฟ วินเดาส์ นักเคมีรางวัลโนเบลที่มหาวิทยาลัยทือบิงเงิน หลังเรียนจบ บูเทนันต์เป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยทือบิงเงินและดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเทคนิกดานซิก ในปี..

ใหม่!!: สมาคมมักซ์พลังค์และอดอล์ฟ บูเทนันต์ · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์โลกร้อน

ผิดปรกติของอุณหภูมิเฉลี่ยที่ผิวโลกที่เพิ่มขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2403–2549 เทียบกับอุณหภูมิระหว่าง พ.ศ. 2504–2533 ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิผิวพื้นที่ผิดปกติที่เทียบกับอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่างปี พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2551 ปรากฏการณ์โลกร้อน หมายถึงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกและน้ำในมหาสมุทรตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 และมีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา นับถึง พ.ศ. 2548 อากาศใกล้ผิวดินทั่วโลกโดยเฉลี่ยมีค่าสูงขึ้น 0.74 ± 0.18 องศาเซลเซียส ซึ่งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ของสหประชาชาติได้สรุปไว้ว่า “จากการสังเกตการณ์การเพิ่มอุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกที่เกิดขึ้นตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ประมาณตั้งแต่ พ.ศ. 2490) ค่อนข้างแน่ชัดว่าเกิดจากการเพิ่มความเข้มของแก๊สเรือนกระจกที่เกิดขึ้นโดยกิจกรรมของมนุษย์ที่เป็นผลในรูปของปรากฏการณ์เรือนกระจก” ปรากฏการณ์ธรรมชาติบางอย่าง เช่น ความผันแปรของการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์และการระเบิดของภูเขาไฟ อาจส่งผลเพียงเล็กน้อยต่อการเพิ่มอุณหภูมิในช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมจนถึง พ.ศ. 2490 และมีผลเพียงเล็กน้อยต่อการลดอุณหภูมิหลังจากปี 2490 เป็นต้นมา ข้อสรุปพื้นฐานดังกล่าวนี้ได้รับการรับรองโดยสมาคมและสถาบันการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 30 แห่ง รวมทั้งราชสมาคมทางวิทยาศาสตร์ระดับชาติที่สำคัญของประเทศอุตสาหกรรมต่าง ๆ แม้นักวิทยาศาสตร์บางคนจะมีความเห็นโต้แย้งกับข้อสรุปของ IPCC อยู่บ้าง แต่เสียงส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศของโลกโดยตรงเห็นด้วยกับข้อสรุปนี้ แบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศที่สรุปโดย IPCC บ่งชี้ว่าอุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยที่ผิวโลกจะเพิ่มขึ้น 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 21 (พ.ศ. 2544–2643) ค่าตัวเลขดังกล่าวได้มาจากการจำลองสถานการณ์แบบต่าง ๆ ของการแผ่ขยายแก๊สเรือนกระจกในอนาคต รวมถึงการจำลองค่าความไวภูมิอากาศอีกหลากหลายรูปแบบ แม้การศึกษาเกือบทั้งหมดจะมุ่งไปที่ช่วงเวลาถึงเพียงปี..

ใหม่!!: สมาคมมักซ์พลังค์และปรากฏการณ์โลกร้อน · ดูเพิ่มเติม »

แพร์ วิกทอร์ เอดมัน

แพร์ วิกทอร์ เอดมัน (Pehr Victor Edman; 14 เมษายน ค.ศ. 1916 – 19 มีนาคม ค.ศ. 1977) เป็นนักชีวเคมีชาวสวีเดน เกิดที่กรุงสตอกโฮล์ม เป็นบุตรของวิกทอร์และอัลบา เอดมัน เรียนวิชาแพทย์ที่สถาบันแคโรลินสกา ต่อมาเอดมันถูกเกณฑ์เข้ากองทัพสวีเดนในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หลังสงคราม เอดมันกลับไปเรียนปริญญาเอกที่สถาบันแคโรลินสกา ในปี..

ใหม่!!: สมาคมมักซ์พลังค์และแพร์ วิกทอร์ เอดมัน · ดูเพิ่มเติม »

ไลโก

หอสังเกตการณ์คลื่นความโน้มถ่วงโดยใช้อินเตอร์เฟอโรมิเตอร์ชนิดเลเซอร์ (Laser Interferometer Gravitational-Wave Observatory) หรือเรียกโดยย่อว่า ไลโก (LIGO) เป็นโครงการทดลองทางฟิสิกส์ขนาดใหญ่เพื่อสังเกตการณ์คลื่นความโน้มถ่วง ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2535 โดยคิป ธอร์น และโรนัลด์ เดรเวอร์ แห่งสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย และเรนเนอร์ ไวส์ แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลก ภายใต้การบริหารงานโดยองค์กรความร่วมมือวิทยาศาสตร์ไลโก เพื่อสังเกตการณ์และวิเคราะห์ผลจากข้อมูลที่ได้เพื่อใช้คลื่นความโน้มถ่วงนี้ในทางดาราศาสตร์ ไลโกได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสภาสนับสนุนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสหราชอาณาจักร สมาคมมักซ์พลังค์แห่งเยอรมนี และสภาวิจัยแห่งออสเตรเลี.

ใหม่!!: สมาคมมักซ์พลังค์และไลโก · ดูเพิ่มเติม »

ไฮเดิลแบร์ค

ลแบร์ค (Heidelberg) เป็นเมืองในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค ประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่บนแม่น้ำเน็คคาร์ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ เมืองไฮเดิลแบร์คตั้งอยู่ทางทิศใต้ของนครแฟรงก์เฟิร์ตไปราว 78 กิโลเมตร ไฮเดิลแบร์คเป็นเมืองใหญ่อันดับห้าในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค มหาวิทยาลัยไฮเดิลแบร์คซึ่งสถาปนาขึ้นในปี..

ใหม่!!: สมาคมมักซ์พลังค์และไฮเดิลแบร์ค · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์ลิน

อร์ลิน (แบร์ลีน) เป็นเมืองหลวงและรัฐหนึ่งในสิบหกรัฐสหพันธ์ของประเทศเยอรมนี มีประชากร 3.4 ล้านคนในเขตเมือง มากที่สุดในเยอรมนี และมากเป็นอันดับสองในสหภาพยุโรป เป็นศูนย์กลางของเขตนครหลวงเบอร์ลิน-บรานเดนบูร์ก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี มีประชากรในเขตนครหลวงรวม 1คนจาก 1ชาติ มากเป็นอันดับเก้าในสหภาพยุโรป, Eurostat.

ใหม่!!: สมาคมมักซ์พลังค์และเบอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Max Planck Societyสมาคมมักซ์ พลังค์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »