โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สมาคมผู้คงแก่เรียน

ดัชนี สมาคมผู้คงแก่เรียน

มาคมนักปราชญ์ (learned societies) หรือ สมาคมผู้รู้ หมายถึงสมาคมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและยกระดับวิชาความรู้ในสาขาวิชาการต่างๆ โดยสมาชิกภาพอาจเปิดให้บุคคลทั่วไปเป็นได้ หรืออาจจำกัดเฉพาะผู้มีคุณสมบัติตามกำหนด ดังเช่นสมาคมนักปราชญ์ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศต่างๆ เช่น แอกคาเดอเมีย เดอิ ลินเซอิ (en:Accademia dei Lincei ก่อตั้ง พ.ศ. 2146 ตรงกับรัชสม้ยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช), อแคเดมี ฟรังเซส์ (en:Académie Française ก่อตั้ง พ.ศ. 2178 ตรงกับรัชสม้ยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง), ราชสมาคมแห่งลอนดอน (ก่อตั้ง พ.ศ. 2203 ตรงกับรัชสม้ยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช), โซดาลิทาส ลิทเทอรารุม วิสตูลานา (en:Sodalitas Litterarum Vistulana ก่อตั้ง พ.ศ. 2031 ตรงกับปลายรัชสม้ยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ) เป็นต้น สมาคมนักปราชญ์เกือบทั้งหมดเป็นองค์การไม่แสวงกำไร กิจกรรมทั่วๆ ไป รวมถึงการจัดประชุมทางวิชาการเพื่อการนำเสนอและการอภิปรายผลงานค้นคว้าวิจัยใหม่ๆ และตีพิมพ์หรือให้การอุปถัมภ์วารสารวิชาการของสาขานั้นๆ บางสมาคมทำหน้าที่เป็นองค์การวิชาชีพ เพื่อกำกับดูแลกิจกรรมของสมาชิกเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันของมวลสมาชิก สมาคมนักปราชญ์มีความสำคัญยิ่งในทางสังคมวิทยาวิทยาศาสตร์ การรวมกันก่อตั้งกันเป็นรูปสมาคมนับเป็นก้าวสำคัญที่จะก่อให้เกิดสาขาวิชาหรือแขนงวิชาใหม่ๆ ขึ้น สมาคมนักปราชญ์อาจมีลักษณะของวัตถุประสงค์เป็นแบบทั่วไปที่กว้าง เช่น สมาคมเพื่อความก้าวหน้าแห่งวิทยาศาสตร์อเมริกัน (en:American Association for the Advancement of Science ก่อตั้ง พ.ศ. 2391 ตรงกับปลายรัชสม้ยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4) หรืออาจมีวัตถุประสงค์ที่จำเพาะเจาะจง เช่น สมาคมภาษาสมัยใหม่ (en: Modern Language Association) สมาคมนักปราชญ์เกือบทั้งหมดจะเป็นสมาคมแห่งประเทศที่มีสมาคมสาขาในประเทศ (แม้บางสมาคมอาจมีสาขาในประเทศอื่น) หรืออาจเป็นสมาคมนานาชาติ เช่น สหพันธ์สมาคมห้องสมุดนานาชาติ (en:International Federation of Library Associations) ในกรณีหลังนี้มักมีสมาคมสาขาในประเทศต่างๆ สมาคมนักปราชญ์ในระดับท้องถิ่นก็มีเช่นกัน เช่น สมาคมการแพทย์แมสซาชูเซตส์ ซึ่งตีพิมพ์วารสารการแพทย์แห่งนิวอิงแลนด์ที่มีชื่อเสียง.

4 ความสัมพันธ์: ราชสมาคมแห่งลอนดอนรายการสาขาวิชาสภาปกครองโรมันคริส ฮันเตอร์ (นักเคมี)

ราชสมาคมแห่งลอนดอน

นที่ตั้งของราชสมาคมแห่งลอนดอน ราชสมาคมแห่งลอนดอน (Royal Society หรือชื่อเต็มว่า The Royal Society of London for the Improvement of Natural Knowledge) เป็นสมาคมนักปราชญ์ทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ รวมถึง คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ในวิศวกรรม และวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีความเป็นไปได้ว่าเป็นสมาคมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงอยู่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน..

ใหม่!!: สมาคมผู้คงแก่เรียนและราชสมาคมแห่งลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

รายการสาขาวิชา

รายชื่อสาขาวิชา หรือ สาขาการศึกษา (Field of study) หมายถึงสาขาความรู้ หรือ การวิจัยที่เปิดสอนในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย คำว่า สาขาวิชา ได้รับการนิยามและยอมรับโดย วารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย และโดยสมาคมผู้รู้ (learned societies) และโดยภาควิชาหรือคณะวิชาที่บุคคลผู้อยู่ในสาขาวิชานั้นๆ สังกัด โดยปกติ สาขาการศึกษาต่างๆ มักมีสาขาย่อยหรือแขนงวิชาแตกออกไป เส้นแบ่งระหว่างสาขาย่อยมักยังมีความคลุมเครือและมีกฎเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจน ในยุโรปสมัยกลางซึ่งขณะนั้นยังมีการแบ่งคณะวิชาออกเป็น 4 คณะหรือสายวิชา ได้แก่เทววิทยา การแพทย์ ธรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ และศิลปะ โดยคณะวิชาหลังมีสถานะไม่สูงเท่า 3 สาขาแรก การแบ่งสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสมัยนั้นมีรากสืบทอดมาจากขบวนการแยกอาณาจักรออกจากศาสนจักร (Secularization) ของมหาวิทยาลัยซึ่งเกิดขึ้นราวสมัยกลาง-ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณ พ.ศ. 2390 - พ.ศ. 2440) โดยได้เพิ่มวิชาภาษาศาสตร์ที่ไม่ใช่คลาสสิก วรรณคดี และวิชาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาและวิศวกรรมศาสตร์เสริมเข้าไปในหลักสูตรแบบประเพณีโบราณ ในต้นคริสต์ศตวรรษ ที่ 20 (ประมาณ พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2475) ได้มีการเพิ่มสาขาวิชาใหม่ๆ เช่น การศึกษา สังคมวิทยา และจิตวิทยา ในมหาวิทยาลัยต่างๆ และในช่วงประมาณ พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2523) ได้เกิดปรากฏการณ์ "การระเบิด" ของสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เน้นเนื้อหาเฉพาะเจาะจง เช่น สื่อศึกษา สตรีศึกษา และชนผิวดำศึกษา สาขาใหม่ๆ เหล่านี้จัดขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับอาชีพและวิชาชีพต่างๆ เช่น การพยาบาล การจัดการโรงพยาบาล การราชทัณฑ์ และหลังสุดก็ได้เห็นสาขาวิชาที่เป็นลักษณะ "สหสาขาวิชา" เช่น ชีวเคมี และ ธรณีฟิสิกส์เกิดเพิ่มขึ้นและได้รับการยอมรับว่าสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ได้ช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้กว้างขวางขึ้น เครื่องหมายดอกจัน * แสดงเป็นหมายเหตุว่าสาขาวิชานั้นยังเป็นที่ถกเถียงถึงสถานภาพว่าควรนับไว้ในสายวิชาใด เช่น วิชามานุษยวิทยา และวิชาภาษาศาสตร์ควรจัดไว้ในกลุ่มสังคมศาสตร์ หรือ มนุษยศาสตร์ เป็นที่สังเกตได้ว่าบางท่าน โดยเฉพาะนักทฤษฎีวิจารณ์มักให้ความสำคัญในการบ่งชี้การจัดกลุ่มที่เข้มงวดในทุกสายวิชา รวมทั้งความชัดเจนของโครงสร้างของแนวคิดโดยรวมของแต่ละวิชาซึ่งยังเป็นถกเถียงได้มากสำหรับบางคน.

ใหม่!!: สมาคมผู้คงแก่เรียนและรายการสาขาวิชา · ดูเพิ่มเติม »

สภาปกครองโรมัน

ตราอาร์มของสันตะสำนัก สภาปกครองโรมันราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 405 (Curia Romana กูเรียโรมานา) เป็นองค์การปกครองของสันตะสำนัก ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารงานในคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั้งหมดร่วมกับพระสันตะปาปา คำว่า กูเรีย ในภาษาละตินแปลว่า ราชสำนัก ดังนั้น กูเรียโรมานา จึงแปลตามตัวอักษรว่า ราชสำนักโรม ซึ่งหมายถึงสำนักสันตะปาปา และมีหน้าที่ช่วยเหลือพระสันตะปาปาในการบริหารปกครองศาสนจักร จึงมีลักษณะคล้ายกับรัฐบาลในฝ่ายอาณาจักร และมีสมณะกระทรวงทำหน้าที่คล้ายกระทรวง สภาปกครองโรมันประกอบด้วยองค์กรในระดับต่าง ๆ ดังนี้;สำนักเลขาธิการแห่งรัฐวาติกัน สำนักเลขาธิการแห่งรัฐวาติกัน (The Secretariat of State) เป็นองค์กรที่เก่าแก่ที่สุดในสภาปกครองโรมัน ก่อตั้งมาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถือเป็นรัฐบาลของคริสตจักรโรมันคาทอลิก มีพระคาร์ดินัลเลขาธิการแห่งรัฐเป็นหัวหน้า มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับบทบาททางการเมืองและการทูตของสันตะสำนัก;สมณะกระทรวง สมณะกระทรวง (Congregations) เป็นองค์การปกครองส่วนกลางของคริสตจักรโรมันคาทอลิก มีสมณมนตรีซึ่งล้วนแต่มีสมณศักดิ์เป็นพระคาร์ดินัลเป็นหัวหน้า;ศาลชำนัญพิเศษ ศาลชำนัญพิเศษ (Tribunals) ของสันตะสำนักประกอบด้วย สมณทัณฑสถาน โรมันโรตา และศาลชำนัญพิเศษสูงสุดแห่งพระสมณนาม;สมณะทบวง สมณะทบวง (Pontifical Councils) คือกลุ่มตัวแทน ซึ่งรวมเป็นองค์กรขนาดกลางช่วยเหลือพระสันตะปาปาในการจัดการด้านต่าง ๆ แต่ละสมณะทบวงมีพระคาร์ดินัลหรืออัครมุขนายกเป็นประธาน;สมัชชามุขนายก สมัชชามุขนายก (Synod of Bishops) ก่อตั้งขึ้นสมัยสังคายนาวาติกันครั้งที่สอง ถือเป็นคณะที่ปรึกษาของพระสันตะปาปาในการตัดสินใจ สมาชิกของสมัชชาคัดเลือกมาจากมุขนายกจากภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก โดยมีพระสันตะปาปาดำรงตำแหน่งประธานสมัชชา;สำนักงาน สำนักงาน (Offices) มีอยู่ 3 สำนักงาน ทำหน้าที่ดูแลการเงินและทรัพย์สินของศาสนจักร;สมณะกรรมาธิการ สมณะกรรมาธิการ (Pontifical Commissions) คือคณะกรรมาธิการที่พระสันตะปาปาทรงแต่งตั้งขึ้นจากชาวคาทอลิกผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน;องครักษ์สวิส องครักษ์สวิส (Swiss Guard) เป็นทหารชาวสวิสที่ทำนหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้กับพระสันตะปาปาและศาสนพิธีต่าง ๆ;สำนักงานแรงงานแห่งสันตะสำนัก สำนักงานแรงงานแห่งสันตะสำนัก (Labour Office of the Apostolic See) เป็นหน่วยงานที่สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ทรงตั้งขึ้น มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องแรงงานสัมพันธ์ระหว่างสันตะสำนักกับเหล่าลูกจ้าง;สมณบัณฑิตยสถาน สมณบัณฑิตยสถาน (Pontifical Academies) เป็นสมาคมผู้คงแก่เรียนที่ก่อตั้งโดยสันตะสำนัก ปัจจุบันมีสมณบัณฑิตยสถานอยู่ทั้งสิ้น 11 แห่ง ตั้งอยู่ภายในนครรัฐวาติกัน กรุงโรม.

ใหม่!!: สมาคมผู้คงแก่เรียนและสภาปกครองโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

คริส ฮันเตอร์ (นักเคมี)

ริสโตเฟอร์ อเล็กซานเดอร์ ฮันเตอร์, เอฟอาร์เอส (Christopher Alexander Hunter, FRS; 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1965 —) เป็นนักเคมีและนักวิชาการชาวอังกฤษ ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: สมาคมผู้คงแก่เรียนและคริส ฮันเตอร์ (นักเคมี) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สมาคมผู้รู้สมาคมนักปราชญ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »