โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สมัยอีโอซีน

ดัชนี สมัยอีโอซีน

''Basilosaurus'' ''Prorastomus'', an early sirenian สมัยอีโอซีน (Eocene) เป็นสมัยหนึ่งของยุคพาลีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 56 ถึง 33.9 ล้านปีก่อนถึงปัจจุบัน สมัยอีโอซีนเป็นสมัยที่สองของยุคพาลีโอจีน ซึ่งเป็นยุคแรกของมหายุคซีโนโซอิก สมัยอีโอซีนต่อมาจากสมัยพาลีโอซีนและตามด้วยสมัยโอลิโกซีน ชื่อ Eocene มาจากกรีกโบราณἠώς (ēṓs, "รุ่งอรุณ") และκαινός (kainós, "ใหม่") และหมายถึง "รุ่งอรุณ" ของสัตว์สมัยใหม่ที่ปรากฏในช่วงยุคนี้.

68 ความสัมพันธ์: บรอนโตเทอเรียมบีเวอร์พะยูนพาคิเซทัสกระรอกมะพร้าวยุคพาลีโอจีนยูอินตาเทอเรียมวาฬวาฬบาลีนวาฬมีฟันวงศ์ชะมดและอีเห็นวงศ์กระต่ายวงศ์ม้าวงศ์ย่อยหอยมือเสือวงศ์ปลากดวงศ์ปลาลิ้นหมาตาข้างขวาวงศ์ปลาสากวงศ์ปลาหมูกระโดงสูงวงศ์ปลาหลังเขียววงศ์ปลาหูช้างวงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจวงศ์ปลาดาบลาววงศ์ปลาตูหนาวงศ์ปลาฉลามครีบดำวงศ์ปลาแป้นวงศ์เหยี่ยวและอินทรีสมัยพาลีโอซีนสมเสร็จสัตว์กินเนื้อหมีอันดับบ่างอันดับพะยูนอันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้องอันดับสัตว์กีบคู่อันดับปลาโรนันอันดับนกกระสาอันดับนกแก้วอันดับไก่อันดับไฮแรกซ์อันดับเหยี่ยวอันดับเฮดจ์ฮอกจระเข้ธรณีกาลทาร์เซียร์ตุ่นซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพปลากระเบนไฟฟ้าปลากุแลปลามง...ปลาหมอทะเล (สกุล)ปลาผมนางปลาขี้ตังปลาขี้ตังเบ็ดปลาดาบลาวยาวปลาตกเบ็ดปลาตะเกียงปลาฉลามเสือปลาฉนากจะงอยปากแคบปลาปักเป้าหนามทุเรียนปลาเฮร์ริงน้ำจืดนกเกาะคอนแมงมุมกระโดดโรติเฟอร์เสือเต่าคอยาวDiaphusEntelodont ขยายดัชนี (18 มากกว่า) »

บรอนโตเทอเรียม

รอนโตเทอเรียม (Brontotherium มีความหมายว่าสัตว์แห่งสายฟ้า) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกีบคี่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วสกุลหนึ่งในวงศ์ Brontotheriidae ซึ่งเป็นวงศ์ของสัตว์กินหญ้าที่คล้ายแรดและมีความเกี่ยวพันกับม้า สกุลนี้ได้รับการค้นพบในแถบทวีปอเมริกาเหนือในช่วงปลายของยุค Eocene ซากที่เหลือของบรอนโตเทอเรียมได้รับการค้นพบในบริเวณรัฐเซาท์ดาโคตาและเนวาดา ในอดีต ชนเผ่าซุกซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองของอเมริกันได้ค้นพบบรอนโตเทอเรียมจากการมาของพายุฝน และเชื่อว่าเมื่อใดที่พวกมันวิ่งอยู่เหนือก้อนเมฆจะทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง และได้เรียกพวกมันว่าม้าแห่งสายฟ้า กระดูกที่ค้นพบโดยชนเผ่าซุกนั้นเป็นกระดูกของฝูงบรอนโตเทอเรียมที่ตายจากการระเบิดของภูเขาไฟในบริเวณเทือกเขาร็อกกีซึ่งยังมีพลังอยู่และปะทุตัวบ่อยในขณะนั้น ตาม Mihlbachler et al.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและบรอนโตเทอเรียม · ดูเพิ่มเติม »

บีเวอร์

รงกระดูกของบีเวอร์ บีเวอร์ (beaver) เป็นสัตว์กินพืชเลี้ยงลูกด้วยนมจัดเป็นสัตว์ฟันแทะชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับหนูยักษ์ พวกมันมีอยู่ด้วยกันสองสายพันธุ์คือ พันธุ์ยูเรเชียน (Eurasian beaver ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Castor fiber) กับพันธุ์อเมริกาเหนือ (North American beaver ชื่อทางวิทยาศาสตร์ก็คือ Castor Canadensis) ถึงแม้จะมีขนาดและรูปร่างหน้าตาที่คล้ายคลึงกัน แต่ทั้งสองสายพันธุ์แยกขาดจากกันตั้งแต่เมื่อ 24,000 ปีที่แล้ว พวกมันจึงไม่สามารถผสมพันธุ์กันเองได้อีก บีเวอร์มีขนาดตัวที่ใหญ่ตัวโตเต็มวัยจะมีขนาดใหญ่พอ ๆ กับเด็กอายุ 8 ขวบ ตัวผู้สามารถมีน้ำหนักได้มากกว่า 25 กิโลกรัมส่วนตัวเมียอาจมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ในช่วงอายุเท่ากัน นอกจากนี้บีเวอร์มีอายุยืนยาวได้ถึง 24 ปี พวกมันยังมีอีกสายพันธุ์หนึ่งในอดีตคือสายพันธุ์บีเวอร์ยักษ์ (Giant beaver ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Castor ohioensis) ที่สูญพันธุ์ไปเมื่อประมาณ 10,000 ปีก่อน พวกมันส่วนมากอาศัยอยู่ในบริเวณซีกโลกเหนือมีจำนวนประชากรในแถบอเมริกาเหนือมากกว่า 60 ล้านตัว แต่เมื่อปี..

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและบีเวอร์ · ดูเพิ่มเติม »

พะยูน

ูน เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดเดียวที่เป็นสัตว์น้ำ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเลเขตอบอุ่น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dugong dugon อยู่ในอันดับพะยูน (Sirenia).

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและพะยูน · ดูเพิ่มเติม »

พาคิเซทัส

พาคิเซทัส (Pakicetus) เป็นวาฬชนิดแรกๆของโลก อาศัยอยู่เมื่อ 50 ล้านปีมาแล้วประมาณยุคเทอร์เชียรี ยาวประมาณ 2 เมตร ใช้ชีวิตอยู่บนบกและในน้ำ เป็นวาฬพวกแรกๆที่รู้จัก รูปร่างตอนอยู่บนบกจะมีรูปร่างคล้ายหมาป่า เขาเชื่อกันว่ามันคือ ปลาวาฬที่วิ่งเดินได้ ชื่อของมันมาจากสถานที่มันถูกค้นพบคือ ปากีสถาน thumbnail หมวดหมู่:วาฬ หมวดหมู่:สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมยุคก่อนประวัติศาสตร์ในทวีปเอเชีย หมวดหมู่:สัตว์ที่พบในประเทศปากีสถาน.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและพาคิเซทัส · ดูเพิ่มเติม »

กระรอก

กระรอก(Squirrel, ภาษาไทยถิ่นเหนือ: ฮอก) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีขนาดลำตัวเล็ก ขนปุยปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย นัยน์ตากลมดำ หางเป็นพวงฟู จัดอยู่ในประเภทสัตว์ฟันแทะ ในวงศ์ Sciuridae.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและกระรอก · ดูเพิ่มเติม »

มะพร้าว

มะพร้าว เป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลปาล์ม มะพร้าว เป็นพืชซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้ในหลายทาง เช่น น้ำและเนื้อมะพร้าวอ่อนใช้รับประทาน เนื้อในผลแก่นำไปขูดและคั้นทำกะทิ กะลานำไปประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ ฯลฯ นอกจากนี้มะพร้าวจัดเป็นพรรณไม้มงคลชนิดหนึ่ง ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ได้กำหนดให้ปลูกมะพร้าวไว้ทางทิศตะวันออกของบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและมะพร้าว · ดูเพิ่มเติม »

ยุคพาลีโอจีน

รีเทเชียส←ยุคพาลีโอจีน→ยุคนีโอจีน ยุคพาลีโอจีนแบ่งเป็น 3 สมัย คือ สมัยพาลีโอซีน,สมัยอีโอซีน,สมัยโอลิโกซีน ยุคพาลีโอจีน (Paleogene) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก อยู่ระหว่าง 65.5 ± 0.3 ถึง 23.03 ± 0.05 ล้านปีมาแล้ว และเป็นยุคแรกของมหายุคซีโนโซอิก ยุคนี้กินเวลาประมาณ 42 ล้านปี เป็นยุคที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็ก มีรูปแบบเรียบง่ายได้วิวัฒนาการเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ที่ซับซ้อน หลังเหตุการณ์การสูญพันธุ์ในยุคครีเทเชียส-เทอร์เชียรีในปลายยุคครีเทเชียส นกมีการวิวัฒนาการสู่รูปแบบในปัจจุบันในยุคนี้เช่นกัน.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและยุคพาลีโอจีน · ดูเพิ่มเติม »

ยูอินตาเทอเรียม

ูอินตาเทอเรียม (อังกฤษ:Uintatherium) ตัวใหญ่เท่าแรด กินพืชเป็นอาหาร อาศัยอยู่ในยุคเทอเชียรีเมื่อประมาณ 40 ล้านปีมาแล้ว ฟอสซิลของมันค้นพบที่แม่น้ำยูอินทา รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา ทำให้มันได้ชื่อว่ายูอินตาเทอเรียม ยาวประมาณ 3.5 เมตร และสูงประมาณ 3 เมตร รูปร่างของมันเหมือนแรด แต่ที่จริงแล้วมันเป็นญาติห่างๆของม้.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและยูอินตาเทอเรียม · ดูเพิ่มเติม »

วาฬ

การพ่นน้ำของวาฬเพชฌฆาต (''Orcinus orca'') ครีบหางของวาฬหลังค่อม ซึ่งวาฬแต่ละตัวและมีลักษณะของครีบและหางแตกต่างกันออก ใช้เป็นสิ่งสำคัญในการจำแนก ตัวอย่างเสียงร้องของวาฬ วาฬ หรือที่นิยมเรียกกันติดปากว่า "ปลาวาฬ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่อาศัยอยู่แต่เฉพาะในทะเลหรือมหาสมุทร เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายปลา คือ รูปร่างเพรียวยาว มีครีบและมีหางเหมือนปลา แต่หางของวาฬจะเป็นไปในลักษณะแนวนอน มิใช่แนวตั้งเหมือนปลา วาฬมิใช่ปลา แต่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีสายรก ที่จัดอยู่ในอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) บรรพบุรุษของวาฬ เป็นสัตว์กินเนื้อบนบกมี 4 ขา ในยุคพาลีโอจีน เมื่อประมาณ 65 ล้านปีก่อน มีชื่อว่า "มีโซนิก" จากนั้นก็วิวัฒนาการเริ่มใช้ชีวิตแบบสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำภายในเวลาเพียง 10 ล้านปีต่อมาในยุคอีโอซีน หรือเมื่อประมาณ 55 ล้านปีก่อน โดยจากสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจากนั้นขาหลังก็ค่อยหดและเล็กลงจนต่อมาเมื่อประมาณ 24-26 ล้านปี ก่อนกระดูกและข้อต่อก็หดเล็กลงจนไม่มีโผล่ออกมาให้เห็น แต่ในปัจจุบันกระดูกส่วนของขาหลังก็ยังคงมีอยู่โดยเป็นอวัยวะภายในที่มีขนาดเล็ก และทำหน้าที่เพียงเป็นที่ยึดติดของอวัยวะสืบพันธุ์เท่านั้น วาฬ เป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ นับเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แม้จะอาศัยอยู่แต่เฉพาะในทะเล มีรูปร่างคล้ายปลา แต่มิใช่ปลา ด้วยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แม้จะไม่มีขนปกคลุมลำตัวเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับอื่น ๆ แต่วาฬจะรักษาความอบอุ่นในร่างกายด้วยไขมันในชั้นใต้ผิวหนัง วาฬ เป็นสัตว์ที่หายใจด้วยปอด เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับอื่น ๆ วาฬสามารถกลั้นหายใจใต้น้ำได้นานนับชั่วโมง (โดยเฉลี่ยประมาณ 20 นาที) ด้วยการเก็บออกซิเจนปริมาณมากไว้ในปอด เมื่อใช้ออกซิเจนหมด วาฬจะขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำเพื่อปล่อยลมหายใจออก ซึ่งขณะที่ปล่อยลมหายใจออกนั้นจะมีไอน้ำและฝอยน้ำพ่นออกมาจากอวัยวะพิเศษที่อยู่ตรงส่วนหัวเป็นรูกลม ๆ เหมือนน้ำพุด้วย เพราะวาฬมีกล้ามเนื้อพิเศษปิดรูจมูกไว้แน่นเพื่อกันไม่ให้น้ำเข้าไปจมูกซึ่งเป็นอวัยวะที่ติดต่อกับปอดโดยตรง ส่วนปากนั้นไม่มีทางติดต่อกับปอดและจมูกเลย ทั้งนี้เพื่อจะกันไม่ให้น้ำเข้าสู่ปอดในขณะที่ดำน้ำ ในวาฬขนาดใหญ่อย่าง วาฬสีน้ำเงิน สามารถพ่นน้ำได้สูงถึง 9 เมตร วาฬ อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกของวาฬจะกินนมจากเต้านมของแม่เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป เต้านมของวาฬมี 1 คู่ อยู่ในร่องท้องของวาฬตัวเมีย ขณะที่กินนมลูกวาฬจะว่ายน้ำเคียงข้างไปพร้อมกับแม่ จึงจำเป็นต้องใช้เวลาให้น้อยที่สุด โดยเพียงแค่จ่อปากที่หัวนม แม่วาฬจะปล่อยน้ำนมเข้าปากลูก เป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพียงแค่ไม่กี่วินาทีเท่านั้น เมื่อลูกวาฬคลอดออกมาใหม่ ๆ จะพุ่งตัวขึ้นผิวน้ำเพื่อหายใจทันที แม่วาฬจะช่วยดันลูกขึ้นสู่ผิวน้ำด้วยส่วนหัว และขณะที่แม่วาฬคลอดลูกนั้น วาฬตัวอื่น ๆ ในฝูง โดยเฉพาะวาฬตัวเมียจะช่วยกันปกป้องแม่และลูกวาฬมิให้ได้รับอันตราย ลูกวาฬเมื่อแรกเกิดจะมีลำตัวประมาณร้อยละ 40 ของแม่วาฬ และในบางชนิดจะมีขนติดตัวมาด้วยในช่วงแนวปากบนเมื่อแรกเกิด และจะหายไปเมื่อโตขึ้น วาฬ เป็นสัตว์ที่มีนัยน์ตาขนาดเล็ก จึงไม่ได้ใช้ประสาทการมองเห็นเท่าใดนัก อีกทั้งระบบประสาทการรับกลิ่นก็ไม่มีประสิทธิภาพที่ดีด้วย หากแต่วาฬจะใช้ระบบการรับฟังเสียงเป็นประสาทสัมผัสเป็นหลัก คล้ายกับระบบโซนาร์ หรือเอคโคโลเคชั่น ที่ส่งคลื่นเสียงไปกระทบกับวัตถุต่าง ๆ แล้วสะท้อนกลับมาสู่ประสาทหูของวาฬเพื่อคำนวณระยะทางและขนาดของวัตถุ นอกจากนี้แล้ววาฬยังใช้เสียงต่าง ๆ ในการติดต่อสื่อสารกันในฝูงและในกลุ่มเดียวกัน สามารถร้องได้ด้วยเสียงต่าง ๆ กันมากมาย มีการศึกษาจากนักวิชาการพบว่า วาฬหลังค่อมสามารถส่งเสียงต่าง ๆ ได้มากถึง 34 ประเภท เหมือนกับการร้องเพลง และก้องกังวาลไปไกลนับเป็นร้อย ๆ กิโลเมตร และอยู่ได้นานถึงชั่วโมง และในการศึกษาวาฬนั้น ผู้ศึกษาจะสังเกตจากครีบหางและรอยแผลต่าง ๆ บนลำตัวซึ่งจะแตกต่างกันออกไปเป็นลักษณะเฉพาะ วาฬ เป็นสัตว์ที่มนุษย์รู้จักและผูกพันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในอดีตเคยมีความเชื่อว่าวาฬเป็นปลา เช่น นักปราชญ์อย่างอริสโตเติล แต่ในปี ค.ศ. 1693 จอห์น เรย์ นักชีววิทยาชาวอังกฤษเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ตระหนักว่าวาฬเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มิใช่ปลา ด้วยมีการคลอดลูกเป็นตัว และมีระยะเวลาตั้งท้องนานกว่าปี เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ทั่วไป วาฬเป็นสัตว์ที่มนุษย์นิยมล่าเพื่อนำเนื้อ, หนัง, บาลีน, ฟัน, กระดูก รวมทั้งน้ำมันและไขมันในชั้นผิวหนังในการอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ จนกระทั่งถึงในปี ค.ศ. 1966 ประชากรวาฬลดลงเหลือเพียง 12,000 ตัวเท่านั้น จึงมีกฎหมายและการอนุรักษ์วาฬขึ้นมาอย่างจริงจัง.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและวาฬ · ดูเพิ่มเติม »

วาฬบาลีน

ลีน การกินอาหารของวาฬหลังค่อม ซึ่งเห็นบาลีนสีเขียวอยู่ในปาก วาฬบาลีน หรือ วาฬกรองกิน หรือ วาฬไม่มีฟัน (Baleen whales, Toothless whales) เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในทะเล ในอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) อันได้แก่ วาฬ และโลมา ซึ่งวาฬบาลีนถูกจัดอยู่ในอันดับย่อย Mysticeti (/มิส-ติ-เซ-เตส/) วาฬ ที่อยู่ในกลุ่มวาฬบาลีน มีลักษณะเด่น คือ เป็นวาฬที่มีขนาดใหญ่ ในปากจะไม่มีฟันเป็นซี่ ๆ เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับอื่น ๆ แต่จะมีมีฟันเหมือนขนแปรงสีฟันหรือซี่หวี่ขนาดใหญ่ ซึ่งห้อยลงมาจากขากรรไกรด้านบน ขนแปรงนี้จะเติบโตด้วยกันเป็นกลุ่มที่เรียกว่า "บาลีน" ใช้สำหรับกรองอาหารจากน้ำทะเล จึงกินได้แต่เฉพาะสัตว์ทะเลขนาดเล็ก ๆ เช่น แพลงก์ตอนชนิดต่าง ๆ, เคย และปลาขนาดเล็ก เช่น ปลาแฮร์ริ่ง, ปลากะตัก, ปลาซาร์ดีน เป็นต้น ดังนั้นการกินอาหารของวาฬบาลีน จะใช้วิธีกลืนน้ำทะเลเข้าไปในปากเป็นจำนวนมาก แล้วจะหุบปากแล้วยกลิ้นขึ้นเป็นการบังคับให้น้ำออกมาจากปาก โดยผ่านบาลีน ที่ทำหน้าที่เหมือนหวี่กรองปล่อยให้น้ำออกไป แต่อาหารยังติดอยู่ในปากของวาฬ แล้ววาฬจะกลืนอาหารลงไป โดยวัน ๆ หนึ่งจะกินอาหารได้เป็นจำนวนมาก คิดเป็นน้ำหนักเป็นตัน เช่น วาฬสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นวาฬบาลีนชนิดหนึ่ง และเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกด้วย จะกินแพลงก์ตอนมากถึง 4,000 กิโลกรัม (8,800 ปอนด์) ต่อวัน (คิดเป็นน้ำหนักเท่ากับพิซซาจำนวน 12,000 ชิ้น) วาฬบาลีน เป็นวาฬที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง เมื่อเวลาหากินจะช่วยกันหาอาหาร โดยรวมตัวกันด้วยการทำให้ผิวน้ำเป็นฟองเพื่อไล่ต้อนอาหาร ซึ่งเป็นฝูงปลาเล็ก ๆ ให้สับสน อีกทั้งยังเป็นนักเดินทางในท้องทะเลและมหาสมุทร ส่วนใหญ่อพยพเป็นระยะทางไกล ๆ ทุกปี จากทะเลที่มีอุณหภูมิอบอุ่นซึ่งเป็นที่ ๆ ผสมพันธุ์และคลอดลูกไปยังทะเลที่เย็นกว่า ซึ่งเป็นที่ ๆ จะหาอาหาร โดยวาฬสีเทานับเป็นวาฬที่อพยพเป็นระยะทางไกลที่สุด จากประเทศเม็กซิโกถึงอาร์กติกแถบขั้วโลกเหนือ รวมระยะทางไปกลับประมาณ 20,000 กิโลเมตร (12, 500 ไมล์) วาฬบาลีน ในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็นทั้งหมด 4 วงศ์ 15 ชนิด แต่ก็มีหลายชนิดและหลายสกุลที่สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (ที่สูญพันธุ์แล้วจะใส่เครื่องหมาย † ไว้ข้างหน้า) แต่จากการศึกษาจากซากดึกดำบรรพ์ พบว่าบรรพบุรุษของวาฬบาลีนเป็นวาฬมีฟันที่มีชื่อว่า Janjucetus มีอายุอยู่ในราว 25 ล้านปีก่อน และเชื่อว่าอาจจะเป็นสัตว์ดุร้ายและทรงพลังมากในการล่าเหยื่อและกินอาหารด้วย เนื่องจากลักษณะของฟันมีความแหลมคม ไม่เหมือนกับของแมวน้ำรวมถึงไม่เหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกอื่นในยุคสมัยเดียวกัน แต่มีลักษณะคล้ายกับฟันของสิงโตในยุคปัจจุบันมากกว.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและวาฬบาลีน · ดูเพิ่มเติม »

วาฬมีฟัน

ฟันของวาฬสเปิร์ม ซึ่งเป็นวาฬมีฟันที่มีขนาดใหญ่ที่สุด วาฬมีฟัน (Toothed whales) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในน้ำทั้งทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืดบ้างบางส่วน เป็นอันดับย่อยของอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) ใช้ชื่ออันดับย่อยว่า Odonceti (/โอ-ดอน-โต-เซ-เตส/) วาฬมีฟันนั้นประกอบไปด้วยวาฬและโลมา เป็นสัตว์กินเนื้อ ด้วยการไล่ล่าสัตว์น้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร เช่น ปลา รวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลบางจำพวก เช่น สิงโตทะเล หรือแมวน้ำ ได้ในบางชนิด ขณะที่บางชนิดกินสัตว์มีเปลือกแข็งอย่าง หอย หรือครัสเตเชียน ได้ด้วย มีขนาดลำตัวเล็กกว่าวาฬไม่มีฟันมาก วาฬมีฟัน บางชนิดมีฟันเพียง 2-3 ซี่ แต่ส่วนมากจะมีฟันแข็งแรงเรียงเป็นแถวทั้งขากรรไกรบนและล่าง โดยวาฬมีฟันที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ วาฬสเปิร์ม ที่มีความยาวได้ถึง 60 ฟุต มีรูปร่างคล้ายลูกอ๊อดขนาดใหญ่ มีหัวเป็นสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่มากที่ภายในมีไขมันและน้ำมันอยู่เป็นจำนวนมาก วาฬสเปิร์มสามารถดำน้ำได้ลึกและกินหมึกเป็นอาหาร โดยเฉพาะอย่างหมึกยักษ์ ขณะที่วาฬมีฟันที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ โลมาลาพลาตา อาศัยอยู่ตามแถบชายฝั่ง, ปากแม่น้ำ ของทวีปอเมริกาใต้ฝั่งแอตแลนติก ที่มีความยาวเต็มที่ไม่ถึง 2 เมตร นับเป็นสัตว์ในอันดับนี้ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกด้วย วาฬเพชฌฆาต หรือวาฬออร์กา นับเป็นวาฬมีฟันที่มีลำตัวยาวประมาณ 30 ฟุต เป็นวาฬที่มีศักยภาพในการไล่ล่าสูง โดยจะทำการล่าเป็นฝูงและสามัคคีกัน ซึ่งวาฬเพชฌฆาตนอกจากจะล่าปลาขนาดเล็กกินเป็นอาหารด้วยแล้ว ยังอาจจะกินปลาขนาดใหญ่และเป็นอันตรายอย่าง ปลาฉลามขาว รวมถึงสัตว์เลือดอุ่นทะเล เช่น นกทะเล, นกเพนกวิน, แมวน้ำ, สิงโตทะเล หรือแม้แต่วาฬหรือโลมาด้วยกันเป็นอาหารได้ด้วยวาฬและโลมา หน้า 37-42, "สัตว์สวยป่างาม" (ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล, สิงหาคม 2518) วาฬีมีฟันชนิดหนึ่ง คือ นาร์วาล เป็นวาฬที่อาศัยอยู่เป็นฝูงเฉพาะมหาสมุทรอาร์กติกในแถบขั้วโลกเหนือ มีลักษณะเฉพาะ คือ มีฟันที่แปลก วาฬนาร์วาลจะมีฟัน 2 ซี่เมื่อแรกเกิด แต่นาร์วาลตัวผู้เมื่อเจริญเติบโตขึ้นฟันข้างซ้ายจะยาวไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งกลายเป็นสิ่งที่แหลมยาวเหมือนงาช้างหรือเขาสัตว์ ลักษณะม้วนเป็นเกลียวที่ยาวได้ถึง 3 เมตร (10 ฟุต) เหมือนยูนิคอร์น ในเทพปกรณัมกรีก ซึ่งนาร์วาลจะใช้เขาแหลมนี้ในการเจาะเซาะน้ำแข็งในการว่ายน้ำ รวมถึงใช้ต่อสู้ป้องกันตัวและแย่งชิงตัวเมียด้วย ซึ่งตัวเมียจะมีเขานี้เพียงสั้น ๆ รวมถึงใช้ขุดหาอาหารตามพื้นน้ำเป็นอาหาร ส่วนใหญ่ได้แก่ ปลาลิ้นหมา และครัสเตเชียน และหอยต่าง ๆ มนุษย์จะใช้ประโยชน์จากวาฬมีฟันด้วยการใช้ฟันและเขี้ยวแกะสลักมาแต่โบราณ นับเป็นของหายาก ล้ำค่า ขณะที่เขาของนาร์วาล ในอดีตมีความเชื่อว่าเป็นเขาของยูนิคอร์นจริง ๆ ถือเป็นของล้ำค่าและเป็นเครื่องประดับที่มีร.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและวาฬมีฟัน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ชะมดและอีเห็น

มดและอีเห็น เป็นสัตว์จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับสัตว์กินเนื้อจำพวกหนึ่ง.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและวงศ์ชะมดและอีเห็น · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กระต่าย

วงศ์กระต่าย (Hare, Rabbit) เป็นวงศ์ของสัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับกระต่าย (Lagomorpha) ในวงศ์ Leporidae สัตว์ที่อยู่ในวงศ์นี้แม้จะมีฟันแทะเหมือนกับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) แต่ถูกจัดออกมาเป็นอันดับต่างหาก เนื่องมีจำนวนฟันที่ไม่เท่ากัน เพราะกระต่ายมีฟันแทะที่ขากรรไกรบน 2 แถว เรียงซ้อนกันแถวละ 2 ซี่ ฟันกรามบนข้างละ 6 ซี่ และฟันกรามล่างข้างละ 5 ซี่ เมื่อเวลาเคี้ยวอาหาร กระต่ายจะใช้ฟันทั้ง 2 ด้านเคี้ยวสลับกันไป ต่างจากสัตว์ฟันแทะโดยทั่วไปที่เคี้ยวเคลื่อนหน้าเคลื่อนหลัง ซึ่งสามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า (1\tfrac,C\tfrac,P\tfrac,M\tfrac) X 2.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและวงศ์กระต่าย · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ม้า

วงศ์ม้า เป็นวงศ์ของม้าและสัตว์ที่เกี่ยวข้องในระบบอนุกรมวิธาน ใช้ชื่อวงศ์ว่า Equidae ในวงศ์นี้ประกอบไปด้วยม้า, ลา และม้าลาย ส่วนสปีชีส์ที่เหลือเป็นซากดึกดำบรรพ์ สปีชีส์ที่ยังมีอยู่ในปัจจุบันล้วนอยู่ในสกุล Equus วงศ์ม้าจัดอยู่ในอันดับ Perissodactyla ร่วมกับสมเสร็จและแร.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและวงศ์ม้า · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยหอยมือเสือ

วงศ์ย่อยหอยมือเสือ (Giant clam; วงศ์ย่อย: Tridacninae) เป็นวงศ์ย่อยของหอยสองฝา ในวงศ์ใหญ่ Cardiidae ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tridacninae เป็นหอยสองฝาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แบ่งออกได้เป็น 2 สกุล 9 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและวงศ์ย่อยหอยมือเสือ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากด

วงศ์ปลากด (Naked catfishes, Bagrid catfishes) เป็นปลาหนังไม่มีเกล็ด ในวงศ์ Bagridae (/บา-กริ-ดี้/) มีส่วนหัวค่อนข้างแบนราบ แต่ลำตัวแบนข้างไปทางด้านท้าย ปากกว้างอยู่ที่ปลายสุดของจะงอยปาก มีฟันซี่เล็กแหลมขึ้นเป็นแถวบนขากรรไกรและเพดาน มีหนวด 4 คู่ โดยคู่ที่อยู่ตรงริมฝีปากยาวที่สุด ครีบหลังและครีบอกเป็นก้านแข็ง หรือเรียกว่า เงี่ยง ครีบไขมันค่อนข้างยาว ครีบหางเว้าลึก ในตัวผู้มักมีติ่งเล็กๆ ที่ช่องก้น มีการกระจายพันธุ์ตามแหล่งน้ำจืดไปจนถึงน้ำกร่อยตั้งแต่ทวีปแอฟริกา, อนุทวีปอินเดีย, เอเชียอาคเนย์ ไปจนถึงหมู่เกาะซุนดา พบประมาณ 200 ชนิด สำหรับในประเทศไทย จัดเป็นปลาหนังวงศ์ที่พบมากชนิดที่สุดของไทย โดยพบมากกว่า 25 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ มีนิสัยดุร้ายก้าวร้าว มีพฤติกรรมมักกบดานอยู่กับพื้นนิ่ง ๆ ถ้าไม่พบอาหารหรือล่าเหยื่อจะไม่เคลื่อนไหว กินอาหารได้หลากหลาย ตั้งแต่แมลง, ปลา, กุ้ง, ซากพืชซากสัตว์เน่าเปื่อย เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ นิยมนำมาบริโภคบ่อย ปลาในวงศ์นี้ มีชื่อสามัญในภาษาไทยมักเรียกรวม ๆ กันว่า "ปลากด" ในปลาขนาดใหญ่ และ "ปลาแขยง" (ปลาลูกแหยง ในภาษาใต้) หรือ "ปลามังกง" ในปลาขนาดเล็ก โดยมีสกุลที่ใหญ่ที่สุดคือสกุล Rita ที่พบได้ในประเทศอินเดียและแม่น้ำสาละวินที่เมื่อโตเต็มที่อาจใหญ่ได้ถึง 2 เมตร.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและวงศ์ปลากด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาลิ้นหมาตาข้างขวา

วงศ์ปลาลิ้นหมาตาข้างขวา หรือ วงศ์ปลาแฮลิบัต (Righteye flounder, Halibut, Dab) เป็นปลากระดูกแข็งในอันดับปลาซีกเดียว (Pleuronectiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Pleuronectidae ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในทะเล มีบางชนิดเท่านั้นที่อาศัยอยู่ในน้ำกร่อย และชนิดที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดจะหาได้ยากมาก แพร่กระจายในมหาสมุทรอาร์กติก, แอตแลนติก, อินเดีย และแปซิฟิก ตาทั้งสองข้างโดยปกติอยู่ด้านขวา ครีบไม่มีก้านครีบ ครีบหลังและครีบทวารยาวและต่อเนื่องกัน โดยที่ครีบหลังจะยาวเลยส่วนหัวไป ถุงลมที่ช่วยในการว่ายน้ำจะหายไปเมื่อปลาโตขึ้น เม็ดสีด้านที่หงายขึ้นจะสามารถปรับเปลี่ยนผิวหนังให้เข้ากับสภาพพื้นใต้น้ำได้ดี ปลาในวงศ์นี้จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอันดับนี้ เป็นปลาที่มักพบอาศัยในน้ำลึก อาจจะพบได้ลึกถึง 2,000 เมตร (6,600 ฟุต) พบทั้งหมดประมาณ 101 ชนิด ใน 41 สกุล 8 วงศ์ย่อย (ดูในตาราง-ขณะที่บางข้อมูลจะแบ่งเพียงแค่ 5) โดยชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ปลาแอตแลนติกแฮลิบัต (Hippoglossus hippoglossus) ที่ใหญ่ได้กว่าถึง 2-4.7 เมตร โดยคำว่า Pleuronectidae ที่ใช้เป็นชื่อวงศ์นั้น มาจากภาษากรีก คำว่า πλευρά (pleura) หมายถึง "ด้านข้าง" และ νηκτόν (nekton) หมายถึง "ว่ายน้ำ".

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและวงศ์ปลาลิ้นหมาตาข้างขวา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาสาก

วงศ์ปลาสาก หรือ วงศ์ปลาน้ำดอกไม้ (Barracuda, Seapike) วงศ์ปลากระดูกแข็งน้ำเค็มวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sphyraenidae มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวค่อนข้างกลมยาว หัวแหลม ปากกว้าง กรามล่างยื่นยาวกว่ากรามบน มีฟันแหลมคมแข็งแรง ตาโต เกล็ดเล็กบางขอบเรียบ มีครีบหลัง 2 ตอน พื้นลำตัวมีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด ทั้งสีน้ำตาลอมเหลือง หรือลายบั้งขวางลำตัวเป็นท่อน ๆ หรือแต้มจุด แต่โดยมากมักเป็นสีฟ้าเทา ครีบหางเป็นแฉกรูปตัววี (V) มีขนาดความยาวตั้งแต่ 30-180 เซนติเมตร อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่บางครั้งอาจถึง 1,000 ตัว เป็นปลาที่มีความว่องไวปราดเปรียว ไล่ล่าฝูงปลาชนิดต่าง ๆ กินเป็นอาหาร นับเป็นผู้ล่าอันดับต้น ๆ ของห่วงโซ่ชีวิตในทะเลจำพวกหนึ่ง เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็ก จะอาศัยอยู่รวมกับฝูงปลาอย่างอื่น อาทิ ปลากะตัก ตามกองหินหรือแนวปะการังใต้น้ำ หรือตามปากแม่น้่ำ ที่เป็นแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำจืด ปลาสาก สามารถทำอันตรายต่อมนุษย์ได้ เช่นเดียวกับปลาฉลาม ด้วยการกัดจากกรามและฟันที่แข็งแรง สามารถงับปลาอื่นที่เป็นอาหารให้ขาดสองท่อนได้จากการงับเพียงครั้งเดียว ที่สหรัฐอเมริกามีกรณีที่ปลากระโดดขึ้นมาจากน้ำงับแขนของเด็กผู้หญิงวัย 14 ปีที่นั่งอยู่บนเรือ เป็นแผลฉกรรจ์ต้องเย็บไปทั้งสิ้น 51 เข็ม แต่ไม่เคยมีรายงานว่าทำอันตรายได้ถึงแก่ชีวิต ปลาสาก เป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ ด้วยนิยมบริโภคและซื้อขายกันในตลาดสด และนิยมตกเป็นเกมกีฬา สามารถแบ่งออกเป็นชนิดได้ทั้งหมด 26 ชนิด ในสกุลเดียว กระจายพันธุ์ในเขตร้อนของมหาสมุทรอินเดีย และแปซิฟิก ในทวีปอเมริกาพบได้ตั้งแต่บราซิลไปจนถึงฟลอร.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและวงศ์ปลาสาก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาหมูกระโดงสูง

วงศ์ปลาหมูกระโดงสูง (Sucker, Chinese sucker, American sucker) เป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดกระดูกแข็ง ในอันดับปลาตะเพียน (Cypriformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Catostomidae (มาจากภาษากรีก คำว่า "kata" หมายถึง "ล่าง" และ "stoma" หมายถึง "ปาก") มีลักษณะโดยรวมคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) หรือ วงศ์ปลาสร้อยน้ำผึ้ง (Gyrinocheilidae) ที่อยู่ในอันดับเดียวกัน มีลักษณะร่วม คือ มี ปากอยู่ด้านล่างของส่วนหัว ริมฝีปากหนา มีความแตกต่างไปจากปลาวงศ์อื่นในอันดับเดียวกัน คือ มีแถวฟันในคอหอยเพียงแถวเดียวเท่านั้น มีความยาวเต็มที่ประมาณ 60-90 เซนติเมตร แต่ส่วนใหญ่จะมีความยาวน้อยกว่านั้น เป็นปลาที่หากินตามพื้นท้องน้ำ โดยหากินอาหารจำพวก ตะไคร่น้ำหรือสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น หนอนแดง, ไส้เดือนน้ำ, กุ้ง หรือ แมลงน้ำต่าง ๆ เป็นต้น พบกระจายพันธุ์ส่วนมากในทวีปอเมริกาเหนือ และพบบางส่วนในประเทศจีน แบ่งออกได้เป็น 13 สกุล 68 ชนิด มีหลายชนิด หลายสกุลที่สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและวงศ์ปลาหมูกระโดงสูง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาหลังเขียว

วงศ์ปลาหลังเขียว (วงศ์: Clupeidae) เป็นปลากระดูกแข็งในอันดับปลาหลังเขียว (Clupeiformes) โดยมากปลาในวงศ์นี้ เป็นปลาทะเล นิยมทำเป็นปลากระป๋อง เช่น ปลาซาร์ดีน (Sardina pilchardus) เป็นต้น แต่ก็มีหลายชนิดที่เป็นปลาน้ำจืด เช่น ปลาซิวแก้ว (Clupeichthys aesarnensis), ปลาหมากผาง หรือ ปลามงโกรยน้ำจืด (Tenualosa thibaudeaui) เป็นต้น ปลาวงศ์นี้มีลักษณะสำคัญคือ ลำตัวค่อนข้างแบนข้าง ริมฝีปากบนเป็นแผ่นกระดูกบาง ๆ มีฟันซี่เล็กละเอียด หรืออาจไม่มีเลยในบางชนิด มีเกล็ดบางแบบขอบเรียบ ปกคลุมทั่วตัว ครีบมีขนาดเล็กไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหางมักเว้าลึก ส่วนมากมักมีเกล็ดที่ด้านท้องเป็นสันคม ลำตัวมักเป็นสีเงินแวววาว และด้านหลังเป็นสีเขียวเรื่อ จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญในภาษาไทย โดยมากกินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร แบ่งออกเป็นวงศ์ย่อย ๆ ได้อีก 5 วงศ์ (ดูในตาราง) ในขณะที่ภาษาอังกฤษจะเรียกปลาในวงศ์นี้รวม ๆ กันว่า ปลาเฮร์ริง, ปลาแชด หรือปลาซาร์ดีน เป็นต้น ขณะที่ในภาษาไทยจะเรียกรวม ๆ กันว่า ปลากุแล, ปลากุแลกล้วย, ปลาอกแล, ปลาหมากผาง, ปลาตะลุมพุก, ปลามงโกรย หรือปลาหลังเขียว เป็นต้น.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและวงศ์ปลาหลังเขียว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาหูช้าง

วงศ์ปลาหูช้าง หรือ วงศ์ปลาค้างคาว หรือ วงศ์ปลาคลุด (Batfish, Spadefish) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ephippidae ในอันดับปลากะพง (Perciformes) มีลักษณะทั่วไป ลำตัวแบนทรงกลมหรือเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ด้านข้างลำตัวแบนข้างมาก เกล็ดมีขนาดเล็กหรือปานกลางเป็นแบบสาก หัวมีขนาดเล็ก ปากมีขนาดเล็ก ยืดหดไม่ได้ อาจมีครีบสันหลังหรือไม่มีก็ได้ ครีบหูสั้นและกลม กระดูกซับออคิวลาร์ เชลฟ์ กว้างหรือแคบ ครีบหางมีทั้งแบบกลมและแยกเป็นแฉก เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์ในทะเลเขตร้อนและอบอุ่น พบทั้งในมหาสมุทรแอตแลนติก, แปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 70 เซนติเมตร โดยจะอาศัยอยู่ตามแนวปะการังหรือกองหินใต้น้ำ มีพฤติกรรมอาศัยอยู่เป็นฝูงหรือเป็นคู่ ลูกปลาวัยอ่อนจะเลี้ยงตัวในบริเวณที่เป็นน้ำกร่อยหรือน้ำจืด เช่น ปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน โดยมีสีสันแตกต่างจากปลาวัยโต และมีครีบต่าง ๆ ยาวกว่าด้วย เพื่อตบตาสัตว์นักล่าขนาดใหญ่กว่า นิยมตกกันเป็นเกมกีฬาในแถบแอตแลนติก ในน่านน้ำไทยพบ 2 ชนิด คือ ปลาหูช้างยาว (Platax teira) และปลาหูช้างกลม (P. orbicularis) โดยปกติแล้วจะไม่ถือเป็นปลาเศรษฐกิจ แต่ก็ใช้รับประทานกันได้ และนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม และเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในบางชนิด ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานไว้ทั้งหมด 8 สกุล (ดูในตาราง) ราว 18 ชน.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและวงศ์ปลาหูช้าง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจ

วงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจ หรือ วงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้ปลอม (False pipefish, Ghost pipefish, Tubemouth fish) เป็นวงศ์ของปลาทะเลกระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลาจิ้มฟันจระเข้และม้าน้ำ (Syngnathiformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Solenostomidae (มาจากภาษากรีกคำว่า solen หมายถึง ท่อ, หลอด หรือช่องทาง กับ στομα (stoma) หมายถึง ปาก) มีรูปร่างโดยรวม คือ เหมือนกับปลาจิ้มฟันจระเข้ขนาดเล็ก คือมีลำตัวยาวเหมือนกิ่งไม้ ปากยาวเป็นท่อ แต่มีความแตกต่างกัน คือ มีครีบที่พัฒนาให้มีขนาดกว้างใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดของลำตัว เป็นครีบที่โดดเด่นทั้งครีบข้างลำตัว, ครีบหลัง, ครีบหาง และยังมีครีบพิเศษ คือ ครีบใต้ท้องที่ม้าน้ำและปลาจิ้มฟันจระเข้ทั่วไปไม่มี ซึ่งครีบขนาดใหญ่นี้สามารถจะหุบเก็บแนบกับลำตัว หรือคลี่กางให้กว้างใหญ่ได้คล้ายกับพัด ที่เมื่อคลี่กางครีบสุดตัวแล้วจะแลดูสวยงาม นอกจากนี้แล้วยังมีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่น คือ ตลอดทั่วทั้งตัวมีติ่งเนื้อหรือสีสันที่กลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อม สำหรับการพรางตัวได้เป็นอย่างดี Orr, J.W. & Pietsch, T.W. (1998).

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและวงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้ปีศาจ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาดาบลาว

วามหมายอื่น: สำหรับปลาชนิดอื่นที่เป็นปลาน้ำจืด ดูได้ที่ ปลาฝักพร้า วงศ์ปลาดาบลาว (Wolf herring) เป็นปลากระดูกแข็งในอันดับปลาหลังเขียว (Clupeiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Chirocentridae มีรูปร่างโดยรวม คือ ปากเชิดขึ้น มีฟันแหลมคมมาก ลำตัวเพรียวยาว แบนข้าง ท้องเป็นสันแหลม แนวสันหลังและสันท้องตรงเกือบขนานกัน ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางหาง ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก เกล็ดมีขนาดเล็กและบาง ด้านหลังลำตัวสีน้ำเงิน ด้านข้างและท้องสีขาวเงิน มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 1 เมตร กระจายพันธุ์ในมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก การจำแนก มีอยู่เพียงสกุลเดียวเท่านั้น คือ Chirocentrus มีอยู่ 2 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและวงศ์ปลาดาบลาว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาตูหนา

วงศ์ปลาตูหนา (True eel, Freshwater eel) เป็นวงศ์ของปลาในชั้นปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Anguillidae (/แอน-กิล-ลิ-ดี้/) โดยมาจากภาษาลาตินว่า "Ae" หมายถึง ปลาไหล ซึ่งปลาวงศ์นี้มักจะถูกเรียกรวมกันว่า ปลาตูหนา มีทั้งหมด 1 สกุล คือ Anguilla และมีทั้งหมด 15 ชนิด กระจายทั่วชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกและแปซิฟิกจนถึงออสเตรเลีย พบในประเทศไทยประมาณ 3–4 ชนิด ปลาวงศ์นี้มีฟันคม ปากกว้าง เขี้ยวเล็กละเอียดบนขากรรไกรเป็นร้อย ๆ ซี่ จมูกมีรูเล็ก ๆ เหมือนหลอด 2 ข้าง ใช้สำหรับดมกลิ่นเพื่อนำทางและหาอาหาร ซึ่งปลาตูหนามีประสิทธิภาพในการดมกลิ่นได้ดีกว่าปลาฉลามเสียอีก ครีบอกเป็นรูปกลมรี ครีบหลังยาวติดต่อกับครีบหางที่มนและครีบก้นที่ยาว ลำตัวดูภายนอกเหมือนไม่มีเกล็ด มีเมือกลื่นปกคลุมทั้งตัว แต่แท้จริงมีเกล็ดขนาดเล็กมากเรียงซ้อนฝังอยู่ใต้ผิวหนัง โดยไม่มีเส้นข้างลำตัว เลือดและน้ำเหลืองของปลาตูหนามีพิษ ซึ่งอาจฆ่าสุนัขให้ตายได้ เป็นปลานักล่า สามารถจับกุ้ง, ปู หรือสัตว์เปลือกแข็ง รวมทั้งปลาต่าง ๆ กิน มักอาศัยในแหล่งน้ำใส มีตอไม้, โพรงไม้ หรือซอกหินอยู่มาก อาจขุดรูอยู่ก็ได้ นอกจากบริเวณปากแม่น้ำแล้ว ยังเคยพบไกลถึงลำธารน้ำตกบนภูเขาอีกด้วย เป็นปลาที่มีวงจรชีวิตแบบ ปลาสองน้ำ คือออกไปวางไข่ในทะเลลึก ปลาวัยอ่อนจึงอพยพกลับมาเลี้ยงตัวที่ชายฝั่งหรือป่าชายเลนก่อนเข้ามาเติบโตในน้ำจืดที่ไกลจากทะเลนับร้อย ๆ กิโลเมตร ลูกปลามีตัวใส เรียวยาวดูคล้ายวุ้นเส้น โดยปกติแล้วเป็นปลาที่มีนิสัยรักสงบ แต่จะดุร้ายมากเมื่อถูกจับได้ มีรายงานว่าปลาบางตัวมีอายุมากได้ถึง 105 ปี และอาจยาวได้ถึง 8 ฟุต ในทะเลสาบน้ำจืดที่นิวซีแลนด์พบบางตัวมีน้ำหนักมากกว่า 100 ปอนด์Flesh Ripper, "River Monsters".

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและวงศ์ปลาตูหนา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาฉลามครีบดำ

วงศ์ปลาฉลามครีบดำ (Requim shark, Whaler shark) เป็นวงศ์ของปลากระดูกอ่อนจำพวกปลาฉลามวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Carcharhinidae อยู่ในอันดับปลาฉลามครีบดำ (Carcharhiniformes) มีรูปร่างโดยรวม คือ เพรียวยาวเป็นทรงกระสวย ครีบหลังมีสองตอน โดยเฉพาะครีบหลังตอนแรกมีลักษณะแหลมสูง ดูเด่น ไม่มีหนามแข็งหน้าครีบหลัง มีช่องเปิดเหงือกห้าช่องอยู่ทางด้านข้างของส่วนหัว ส่วนใหญ่มีช่องรับน้ำขนาดเล็กอยู่หลังตา ตามีทรงกลม ปากเป็นรูปสามเหลี่ยมโค้ง ภายในมีฟันแหลมคมอยู่จำนวนมาก เป็นปลาที่มีความว่องไวปราดเปรียวมาก เป็นปลาที่ล่าเหยื่อและหากินบริเวณกลางน้ำและผิวน้ำในบางครั้ง โดยปกติแล้ว จะกินปลาชนิดอื่นเป็นอาหาร โดยอาศัยโครงสร้างฟันที่แหลมคม ประกอบกับการว่ายน้ำที่คล่องแคล่วและรวดเร็วขณะโจม แต่บางชนิดอาจมีพฤติกรรมโจมตีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล เช่น แมวน้ำ หรือสิงโตทะเล เป็นอาหารได้ด้วย จมูกมีความไวมากสำหรับการได้กลิ่น โดยเฉพาะกลิ่นคาวเลือดและได้ยินเสียงได้ไกลถึง 2 กิโลเมตร ในบางสกุลจะมีพฤติกรรมอย่รวมกันเป็นฝูง ออกลูกเป็นตัว จะอาศัยหากินในทะเลเปิดทั่วโลกในเขตอบอุ่นและเขตร้อน ในบางครั้งอาจเข้าหากินได้ใกล้ชายฝั่งหรือบริเวณที่เป็นน้ำจืดหรือน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน เช่น ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus), ปลาฉลามหัวบาตร (C. leucas) และปลาฉลามแม่น้ำ (Glyphis spp.) ซึ่งเป็นปลาฉลามเพียงจำพวกเดียวแท้ ๆ ในกลุ่มปลาฉลามที่อาศัยและเติบโตในน้ำจืดสนิท มีทั้งหมด 12 สกุล ประมาณ 57 ชนิด โดยชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ปลาฉลามเสือ (Galeocerdo cuvier) ที่ยาวได้ถึง 7 เมตร.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและวงศ์ปลาฉลามครีบดำ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาแป้น

ระวังสับสนกับปลาวงศ์อื่น ดูที่: วงศ์ปลาแป้นแก้ว ระวังสับสนกับปลาวงศ์อื่น ดูที่: วงศ์ปลาดอกหมาก ปลาแป้น (Ponyfish, Slipmouth, Slimy; วงศ์: Leiognathidae) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Leiognathidae ในอันดับปลากะพง (Perciformes) เป็นปลาขนาดเล็ก ลำตัวค่อนข้างสั้น มีเกล็ดแบบสาก ปากเล็กยืดหดได้มากจนดูคล้ายเป็นท่อ ครีบหลังมีอันเดียวมีก้านครีบแข็ง 8-11 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 3-5 ครีบหางเว้า มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงในชายฝั่งใกล้แหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำจืด พบทั้งหมด 3 สกุล 24 ชนิด เป็นปลาเศรษฐก.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและวงศ์ปลาแป้น · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เหยี่ยวและอินทรี

วงศ์เหยี่ยวและอินทรี (วงศ์: Accipitridae) เป็นหนึ่งในสองวงศ์หลักของอันดับ Accipitriformes (นกล่าเหยื่อในเวลากลางวัน) นกในวงศ์มีขนาดเล็กถึงใหญ่ มีปากเป็นตะขอแข็งแรง มีสัณฐานต่างกันไปตามอาหารการกิน เหยื่อเป็นตั้งแต่แมลงถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลาง บางชนิดกินซากสัตว์ และสองสามชนิดกินผลไม้เป็นอาหาร วงศ์เหยี่ยวและอินทรีสามารถพบได้ทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา บางชนิดพบได้บนหมู่เกาะ และบางชนิดเป็นนกอพยพ นกในวงศ์นี้ ประกอบไปด้วย เหยี่ยวนกเขา, อินทรี, เหยี่ยวรุ้ง, เหยี่ยวไคต์ และ แร้งโลกเก่า, เหยี่ยวออสเปรนั้นโดยปกติแล้วจะถูกวางไว้ในอีกวงศ์ (Pandionidae) รวมถึง นกเลขานุการ (Sagittariidae), และ แร้งโลกใหม่ที่ปัจจุบันได้รับการพิจารณาเป็นวงศ์และอันดับที่แยกออกไป ข้อมูลแคริโอไทป์แสดงว่า การวิเคราะห์เหยี่ยวและนกอินทรีจนบัดนี้เป็นกลุ่มจากชาติพันธุ์เดียวที่แยกกันอย่างเด่นชัด แต่ถึงกระนั้นกลุ่มนี้ควรพิจารณาวงศ์ของอันดับเหยี่ยวปีกแหลมหรือหลายอันดับแยกออกมาเป็นของตัวเอง.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและวงศ์เหยี่ยวและอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

สมัยพาลีโอซีน

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสมัยพาลีโอซีน สมัยพาลีโอซีน (Paleocene)พาลีโอซีนเป็นสมัยหนึ่งของยุคพาลีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 66 ถึง 56 ล้านปีก่อนถึงปัจจุบัน สมัยไพลโอซีนเป็นสมัยแรกสุดของยุคพาลีโอจีน ซึ่งเป็นยุคแรกของมหายุคซีโนโซอิก สมัยพาลีโอซีนต่อมาจากยุคครีเทเชียสและตามด้วยสมัยอีโอซีน ชื่อสมัยไพลโอซีนมาจากรีกโบราณซึ่งหมายถึง เก่า(παλαιός, palaios) "ใหม่" (καινός, kainos).

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและสมัยพาลีโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

สมเสร็จ

กีบเท้าของสมเสร็จมลายู (ขวา) เท้าหน้ามี 4 กีบ, (ซ้าย) เท้าหลังมี 3 กีบ) ปฏิกิริยาอ้าปากสูดกลิ่น สมเสร็จ (Tapir) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมกินพืชขนาดใหญ่ เป็นสัตว์มีหน้าตาประหลาด มีลักษณะของสัตว์หลายชนิดผสมอยู่ในตัวเดียวกัน มีจมูกที่ยื่นยาวออกมาคล้ายงวงของช้าง ลำตัวคล้ายหมูที่มีขายาว หางสั้นคล้ายหมีและมีกีบเท้าคล้ายแรด อาศัยในป่าทึบในแถบอเมริกาใต้, อเมริกากลาง, และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทั้งหมดสี่ชนิด คือ สมเสร็จอเมริกาใต้, สมเสร็จมลายู, สมเสร็จอเมริกากลาง และสมเสร็จภูเขา ทั้งสี่ชนิดถูกจัดสถานะเป็นใกล้สูญพันธุ์หรือเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ สมเสร็จเป็นญาติใกล้ชิดกับสัตว์กีบคี่อื่น ได้แก่ ม้า และแร.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและสมเสร็จ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์กินเนื้อ

ัตว์กินเนื้อ หรือ คาร์นิวอรา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Order Carnivora) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หมายถึงสัตว์ที่กินเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก ไม่ว่าเนื้อสัตว์นั้นจะมาจากสัตว์ที่มีชีวิตอยู่หรือว่าตายแล้ว สัตว์บางชนิดจำเป็นที่จะต้องกินเนื้อเพื่อความอยู่รอด อันเนื่องมาจากพันธุกรรม เราเรียกสัตว์ในกลุ่มนี้ว่า "true carnivore" (สัตว์กินเนื้อแท้) หรือ "obligate carnivores" (สัตว์กินเนื้อโดยบังคับ) สัตว์ในกลุ่มนี้อาจกินพืชผักหรืออาหารชนิดอื่นได้ แต่มันจะต้องกินเนื้อเพื่อเป็นแหล่งสารอาหารหลักของมัน กายวิภาคของสัตว์ในกลุ่มนี้ ทำให้มันไม่สามารถย่อยอาหารจำพวกพืชได้อย่างมีประสิท.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและสัตว์กินเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

หมี

หมี จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กินเนื้อ จัดอยู่ในวงศ์ Ursidae ออกลูกเป็นตัว ตาและใบหูกลมเล็ก ริมฝีปากยื่นแยกห่างออกจากเหงือก สามารถยืนและเดินด้วยขาหลังได้ ประสาทการดมกลิ่นดีกว่าประสาทตาและหู กินได้ทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและหมี · ดูเพิ่มเติม »

อันดับบ่าง

อันดับบ่าง (Colugo, Flying lemur) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในชั้นย่อยยูเทอเรีย (Eutheria) อันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dermoptera (/เดอ-มอป-เทอ-รา/ แปลว่า "ปีกหนัง") และถือเป็นอันดับที่อยู่ถัดมาจากอันดับโพรซีเมียน (Prosimian) ถือว่า บ่างเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใกล้เคียงกับสัตว์ในอันดับไพรเมต อันได้แก่ ทาร์เซีย, ลิงและเอป ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ด้วย และเชื่อกันว่า บ่างเป็นต้นบรรพบุรุษของค้างคาว ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียงจำพวกเดียวที่บินได้ ซึ่งอยู่ในอันดับ Chiroptera ด้วย ลักษณะของสัตว์ในอันดับนี้ คือ มีรูปร่างคล้ายกับกระรอกบินหรือค้างคาวหรือลีเมอร์ แต่มีจุดเด่น คือ มีแผ่นหนังบาง ๆ ที่เชื่อมติดกันระหว่างคอ, ขาหน้า, ขาหลัง และหาง รวมถึงนิ้วทุกนิ้วอีกด้วย โดยที่ไม่มีหัวแม่มือ ซึ่งเมื่อกางออกจะเป็นแผ่นคล้ายว่าว ทำให้สามารถร่อนถลาได้เหมือนกระรอกบินหรือชูการ์ไกลเดอร์ ซึ่งเป็นสัตว์ต่างอันดับกัน บ่าง เป็นสัตว์ที่มีดวงตากลมโตสีแดง ส่วนจมูกและใบหน้าแหลม รวมทั้งมีสีขนที่เลอะ เพื่อแฝงตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ทำให้แลดูน่าเกลียดน่ากลัว แต่เป็นสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร ได้แก่ ยอดไม้, ดอกไม้ รวมถึงแมลง และลูกไม้เนื้ออ่อน เป็นอาหาร มีฟันที่เขียนเป็นสูตรได้ว่า มีส่วนหางที่สั้น มีเล็บที่นิ้วที่แหลมคมใช้สำหรับในการปีนต้นไม้และเกาะเกี่ยวกับกิ่งไม้ รวมถึงสามารถห้อยหัวลงมาได้เหมือนค้างคาว บ่างจะหากินในเวลากลางคืนหรือโพล้เพล้ ส่วนในเวลากลางวันจะนอนหลับอยู่ตามโพรงไม้หรือคอมะพร้าว บ่าง ออกลูกครั้งละ 1 ตัว เนื่องจากแม่บ่างสามารถรับน้ำหนักได้เพียงแค่นี้ ลูกบ่างจะเกาะติดกับหน้าอกแม่ดูดนมจากเต้านมแม่ซึ่งมี 2 คู่ แม้แต่เมื่อหากินหรือระหว่างร่อน ใช้เวลาโตเต็มที่ประมาณ 2-3 ปี บ่างแรกเกิดมักมีการพัฒนาไม่มากนักคล้ายสัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้อง (Marsupialia) แม่บ่างจะเลี้ยงลูกไว้โดยให้เกาะที่ท้อง เวลาเกาะอยู่กับต้นไม้ โดยใช้ผังผืดระหว่างขาช่วงล่างสุดห่อคล้ายร่มหรือถุงเหมือนสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง ในช่วงที่แม่บ่างเลี้ยงลูกจะยังไม่มีลูกใหม่ จนกว่าลูกตัวเดิมจะแยกตัวออกไปหากินเอง ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี แม่บ่างจะเลียฉี่และมูลของลูก ขณะที่ลูกบ่างจะกินมูลของแม่ด้วย ซึ่งภายในมีแบคทีเรียที่ช่วยในการย่อยอาหารซึ่งได้แก่ พืช ส่วนต่าง ๆ แต่พฤติกรรมการผสมพันธุ์ยังไม่เป็นที่ทราบอย่างแน่ชัดบ่าง, "สีสันสัตว์โลก สเปเชี่ยล", สารคดีทางช่อง 9: 17 ธันวาคม 2556 บ่างอาศัยอยู่ในป่าดิบที่มีความอุดมสมบูรณ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ใน 2 สกุล และมีอีก 1 สกุล ซึ่งมี 2 ชนิด ที่ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและอันดับบ่าง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับพะยูน

อันดับพะยูน เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่อันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sirenia เดิมที สัตว์ในอันดับนี้ถูกจัดให้อยู่ในอันดับเดียวกับอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) ด้วยเห็นว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเล และมีรูปร่างคล้ายคลึงกัน แต่ต่อมาในปี ค.ศ. 1816 อ็องรี มารี ดูว์ครอแต เดอ แบล็งวีล นักสัตววิทยาชาวฝรั่งเศส เป็นบุคคลแรกที่ทำการแยกความแตกต่างระหว่างพะยูนกับโลมาและวาฬ ออกจากกันและจัดพะยูนเข้าไว้ในกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีกีบในอันดับ Sirenia โดยนับว่าพะยูนมีบรรพบุรุษร่วมกันกับช้างมาก่อน คือ Paenungulata รวมถึงการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ของพะยูนสกุล Eotheroides ที่พบในประเทศอียิปต์ พบว่ามีลักษณะบางอย่างเหมือนและใกล้เคียงกันกับ Moeritherium ซึ่งเป็นต้นตระกูลของช้างยุคอีโอซีนตอนต้น (ประมาณ 40 ล้านปีมาแล้ว) Eotheroides เป็นสัตว์มี 4 ขา มีฟันครบและอาศัยอยู่ในน้ำ ต่อมามีวิวัฒนาการเพื่อให้อาศัยอยู่ในน้ำได้ดีขึ้น โดยที่ขาหลังจะลดขนาดลงและหายไปในที่สุด ส่วนขาหน้าจะเปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะคล้ายใบพายเพื่อให้เหมาะสมกับการว่ายน้ำ จากนั้นก็มีวิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ จนกลายมาเป็นพะยูนในปัจจุบัน อีกทั้ง แอนสท์ แฮคเคิล นักชีววิทยาชาวเยอรมันได้วิจัยเมื่อประมาณ 100 ปีก่อน โดยพบว่าตัวอ่อนของสัตว์ทั้งสองนี้มีโครงสร้างทางสรีระที่คล้ายกันมากจนในอดีตเมื่อ 40 ล้านปีก่อน ช้างและพะยูนมีต้นตระกูลร่วมกัน ถึงวันนี้มันก็ยังมีงวงและจมูกที่ใช้หายใจเหมือนกัน มีพฤติกรรมสืบพันธุ์ที่คล้ายคลึงกัน และเลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนกัน ปัจจุบัน พะยูนได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 วงศ์ คือ Dugongidae และTrichechidae แบ่งได้เป็น 2 สกุล 4 ชนิด กระจายพันธุ์ไปในทะเลและแม่น้ำสายใหญ่ในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก กินอาหารจำพวก หญ้าทะเล, สาหร่ายและตะไคร่น้ำ เป็นอาหาร โดยพะยูนชนิดที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา คือ วัวทะเลชเตลเลอร์ (Hydrodamalis gigas) ที่อยู่ในวงศ์ Dugongidae ที่มีความยาวถึง 7 เมตร แต่ปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปแล้วเมื่อราว 300 ปีก่อน โดยคำว่า "Sirenia" นั้นมาจากคำว่า "ไซเรน" ซึ่งเป็นอสูรกายที่อาศัยอยู่ในทะเลในเทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและอันดับพะยูน · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง

ัตว์เคี้ยวเอื้อง (ruminant) เป็นอันดับย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กีบคู่ (Artiodactyla) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ruminantia สัตว์เคี้ยวเอื้องประกอบไปด้วยสัตว์ส่วนใหญ่ในอันดับนี้ ได้แก่ วัว, ควาย, แพะ, แกะ, กวาง และแอนทิโลป ลักษณะร่วมของสัตว์เคี้ยวเอื้อง ก็คือ มี กระเพาะ 4 ห้อง ที่เมื่อกินอาหารไปแล้ว คือ หญ้า คายออกมาเคี้ยวอย่างช้า ๆ อีกครั้งในเวลากลางคืน ก่อนจะถูกนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยกระเพาะของสัตว์เคี้ยวเอื้องจะแบ่งออกเป็น 4 ห้อง คือ Rumen (ผ้าขี้ริ้ว), Reticulum (รังผึ้ง), Omasum (สามสิบกลีบ) และ Abomasum (กระเพาะแท้ หรือกระเพาะจริง).

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและอันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสัตว์กีบคู่

อันดับสัตว์กีบคู่ เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artiodactyla (/อา-ทิ-โอ-แดค-ทิ-ล่า/) มีลักษณะเด่น คือ มีนิ้วเท้าที่เป็นกีบที่เป็นคู่ แตกต่างไปจากสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์กีบคี่ (Perissodactyla) ซึ่งมีกีบนิ้วเท้าเป็นจำนวนคี่ ทั้งสองอันดับล้วนแต่เป็นสัตว์กินพืช ที่จะกินพืชลักษณะแตกต่างกันออกไปตามสกุลและวงศ์ หรือชนิด กระจายพันธุ์ออกไปในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นโอเชียเนีย ปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 10 วงศ์ ราว 220 ชนิด โดยแบ่งออกได้เป็น 3 อันดับย่อย โดยแบ่งตามลักษณะของกระเพาะอาหาร โดยแบ่งออกเป็นห้อง ๆ หรือส่วน คือ.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและอันดับสัตว์กีบคู่ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาโรนัน

อันดับปลาโรนัน (อันดับ: Rajiformes, Skate, guitarfish) เป็นอันดับย่อยของอันดับ Batoidea ซึ่งจัดอยู่ในชั้นปลากระดูกอ่อน ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีลักษณะโดยรวมที่แตกต่างไปจากปลาในอันดับ Batoidea อันดับอื่น คือ มีครีบอกที่ใหญ่กว่า แผ่ขยายมากกว่า และอยู่ใกล้กับส่วนหัวซึ่งแบนราบอย่างเห็นได้ชัด มีตาอยู่บนด้านบนของหัว และซี่เหงือกอยู่ด้านล่างเหมือนปลากระเบนทั่วไป มีฟันใช้สำหรับบดอาหาร จำพวก ครัสเตเชียนและหอยชนิดต่าง ๆ ส่วนใหญ่เมื่อให้กำเนิดลูก ตัวอ่อนจะพัฒนาในแคปซูลที่มีรูปร่างเหมือนเขาสัตว์ ที่ถูกเรียก "กระเป๋านางเงือก" (Mermaid's purse) ซึ่งปลาที่อยู่ในอันดับนี้ที่เป็นรู้จักเป็นอย่างดี คือ ปลาโรนัน และ ปลาโรนิน รวมถึงปลากระบาง ซึ่งอันดับนี้เคยรวมเป็นอันดับเดียวกับ อันดับปลากระเบน คือ ปลากระเบนทั่วไป และ Pristiformes หรือปลาฉนากมาก่อนด้วย โดยคำว่า Rajiformes นั้น มาจากภาษาลาตินคำว่า "raja" ที่หมายถึง ปลากระเบน กับคำว่า "forma" ที่หมายถึง แหลมคม.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและอันดับปลาโรนัน · ดูเพิ่มเติม »

อันดับนกกระสา

อันดับนกกระสา (Bittern, Ibis, Heron, Spoonbill, Stork) เป็นอันดับของนกจำพวกนกน้ำอันดับหนึ่ง ใช้ชื่ออันดับว่า Ciconiiformes ประกอบด้วยนกน้ำตั้งแต่ขนาดเล็กถึงกลาง และขนาดใหญ่ มีลักษณะเด่น คือ ขายาว ปากใหญ่ ได้แก่ นกกระสา, นกยาง, นกปากห่าง มีวิวัฒนาการเพื่อการดำรงชีวิตตามพื้นหาดทรายชายเลนและท้องทุ่งชายน้ำ พบกำเนิดในตอนปลายสมัยอีโอซีนถึงปัจจุบัน แบ่งออกได้เป็นวงศ์ต่าง ๆ ได้ 5 วงศ์ (ดูในตาราง) ในประเทศไทยพบ 3 วงศ์ 36 ชนิด เดิมเคยมีวงศ์ในอันดับนี้มากกว่านี้ อาทิ นกปากซ่อม แต่ปัจจุบันแบ่งออกมาต่างหาก.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและอันดับนกกระสา · ดูเพิ่มเติม »

อันดับนกแก้ว

นกแก้ว หรือ นกปากขอ (ภาษาไทยถิ่นเหนือ: นกแล) เป็นอันดับของนกอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Psittaciformes เป็นนกที่มีความแตกต่างกันมากทางสรีระ คือมีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงใหญ่ (19-100 เซนติเมตร) มีหัวกลมโต ลำตัวมีขนอุยปกคลุมหนาแน่น ขนมีแกนขนรอง ต่อมน้ำมันมีลักษณะเป็นพุ่มขน ผิวหนังค่อนข้างหนา มีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากนกอันดับอื่น ๆ คือ จะงอยปากที่สั้นหนา และทรวดทรงงอเป็นตะขอหุ้มปากล่าง มีความคมและแข็งแรง อันเป็นที่ของชื่อสามัญ ใช้สำหรับกัดแทะอาหารและช่วยในการปีนป่าย เช่นเดียวกับกรงเล็บ รูจมูกไม่ทะลุถึงกัน สันปากบนหนาหยาบและแข็งทื่อ ขนปลายปีกมี 10 เส้น ขนกลางปีกมี 8-14 เส้น ไม่มีขนกลางปีกเส้นที่ 5 ขนหางมี 12-14 เส้น หน้าแข้งสั้นกว่าความยาวของนิ้วที่ยาวที่สุด แข้งปกคลุมด้วยเกล็ดชนิดเกล็ดร่างแห นิ้วมีการจัดเรียงแบบนิ้วคู่สลับกัน คือ เหยียดไปข้างหน้า 2 นิ้ว (นิ้วที่ 2 และ 3) และเหยียดไปข้างหลัง 2 นิ้ว (นิ้วที่ 1 และนิ้วที่ 4) ซึ่งนิ้วที่ 4 สามารถหมุนไปข้างหน้าได้ เป็นนกที่อาศัยและหากินบนต้นไม้ กินผลไม้และเมล็ดพืช บินได้ดีและบินได้เร็ว พบอาศัยอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูง ทำรังตามโพรงต้นไม้ ไข่สีขาว ลักษณะทรงกลม วางไข่ครั้งละ 2-6 ฟอง ลูกนกแรกเกิดมีสภาพเป็นลูกอ่อนเดินไม่ได้ พบกระจายพันธุ์ตามเขตร้อนทั่วโลก ในบางชนิดมีอายุยืนได้ถึง 50 ปี โดยเฉพาะนกแก้วชนิดที่มีขนาดใหญ่ และจากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่า นกแก้วขนาดใหญ่มีความเฉลียวฉลาดเทียบเท่ากับเด็กอายุ 4 ขวบPets 101: Pet Guide, สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: พฤหัสบดีที่ 3 มกราคม 2556 เป็นนกที่มนุษย์รู้จักกันเป็นอย่างดี เนื่องด้วยนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงที่สามารถฝึกหัดให้เลียนเสียงตามแบบภาษามนุษย์ในภาษาต่าง ๆ ได้ ประกอบกับมีสีสันต่าง ๆ สวยงามตามชนิด ซึ่งนกแก้วไม่มีกล่องเสียง แต่การส่งเสียงมาจากกล้ามเนื้อถุงลมและแผ่นเนื้อเยื่อ เมื่ออวัยวะส่วนนี้เกิดการสั่นสะเทือน จึงเปล่งเสียงออกมาได้ แบ่งออกได้ราว 360 ชนิด ใน 80 สกุล ในประเทศไทยพบเพียงวงศ์เดียว คือ Psittacidae หรือนกแก้วแท้ พบทั้งหมด 7 ชนิด ใน 3 สกุล อาทิ นกแขกเต้า (Psittacula alexandri), นกแก้วโม่ง (P. eupatria) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม มีนกเพียงชนิดเดียวในอันดับนี้ที่บินไม่ได้ และหากินในเวลากลางคืนด้วย คือ นกแก้วคาคาโป (Strigops habroptila) ที่พบเฉพาะบนเกาะนิวซีแลนด์เท่านั้น โดยเป็นนกรูปร่างใหญ่ บินไม่ได้ นอกจากจะหากินในเวลากลางคืนแล้ว ยังมีเสียงร้องประหลาดที่คล้ายกบหรืออึ่งอ่างอีกด้วย ปัจจุบันมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์มากแล้ว.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและอันดับนกแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

อันดับไก่

อันดับไก่ เป็นอันดับของสัตว์ปีกอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Galliformes สัตว์ปีกหรือนกในนี้มีขนาดลำตัวตั้งแต่เล็กมากจนถึงใหญ่มาก ตั้งแต่ 12 – 223 เซนติเมตร จะงอยปากสั้น ปลายปากทู่ จะงอยปากบนโค้งเล็กน้อย รูจมูกไม่ทะลุถึงกัน ขาใหญ่ แข้งปกคลุมด้วยเกล็ดแบบเกล็ดซ่อน นิ้วหลังอยู่ในระดับเดียวกับนิ้วหน้า เล็บทู่ ปากสั้น ปลายปากมนและเว้าเข้าข้างใน ขนปลายปากแข็งและโค้ง มี 10 เส้น และมีขนกลางปากเส้นที่ 5 ขนหางมี 8 – 32 เส้น ขนแต่ละเส้นมีแกนขนรอง ตัวเต็มวัยลำตัวมีขนอุยปกคลุมห่าง ๆ ต่อมน้ำมันเป็นพุ่มขน แต่บางชนิดก็ไม่เป็นพุ่มขน มีพฤติกรรมเป็นนกที่คุยเขี่ยหาอาหารตามพื้นดิน อาศัยตามต้นไม้ อาหารได้แก่ เมล็ดธัญพืช ผลไม้ เมล็ดพืช แมลง และสัตว์ขนาดเล็ก ทำรังตามพื้นดินหรือกิ่งไม้ วางไข่คราวละ 1 – 20 ฟอง ไข่มีสีเนื้อหรือสีขาว อาจมีลายจุด ลูกอ่อนในระยะแรกเกิดมีขนอุยปกคลุมเต็มลำตัว สามารถเดินตามพ่อแม่ไปหาอาหารได้ทันทีหลังจากขนแห้ง.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและอันดับไก่ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับไฮแรกซ์

อันดับไฮแรกซ์ (Hyraxes, Dassies "Hyracoidea" in Grzimek's Animal Life Encyclopedia, Vol.) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กอันดับหนึ่ง ที่เรียกชื่อสามัญว่า ไฮแรกซ์ หรือ ตัวไฮแรกซ์ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hyracoidea (/ไฮ-รา-คอย-เดีย/).

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและอันดับไฮแรกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับเหยี่ยว

อันดับเหยี่ยว (Accipitriformes) เป็นอันดับที่ประกอบด้วยนกล่าเหยื่อเวลากลางวันส่วนมาก เช่น เหยี่ยวนกเขา, อินทรี และ แร้ง มีประมาณ 225 ชนิด ในอดีตจะรวมเหยี่ยวในอันดับ Falconiformes แต่ผู้แต่งบางคนแยกมาไว้ในอันดับ Accipitriformes การศึกษา DNA ในปัจจุบันแสดงว่า เหยี่ยวปีกแหลมไม่ได้เป็นญาติใกล้ชิดกับนกในอันดับ Accipitriformes แต่ใกล้ชิดกับนกแก้วและนกเกาะคอน ตั้งแต่การแบ่งแยก (แต่ก็ไม่ได้วางเหยี่ยวถัดจากนกแก้วหรือนกเกาะคอน) ได้รับการยอมรับโดยคณะกรรมการการการจัดแบ่งประเภทอเมริกาใต้แห่งสมาคมนักปักษีวิทยาแห่งอเมริกา (American Ornithologists' Union) (SACC), คณะกรรมการการจัดแบ่งประเภทอเมริกาเหนือ (NACC), และ การประชุมปักษีนานาชาติ (IOC) บนพื้นฐานของ DNA และการจัดประเภทของ NACC และ IOC ได้จัดแร้งโลกใหม่ใน Accipitriformes, ขณะที่ SACC ได้จัดแร้งโลกใหม่อยู่ในอันดับอื่น การจัดวางแร้งโลกใหม่นั้นยังคงเป็นปัญหามาตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 1990.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและอันดับเหยี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

อันดับเฮดจ์ฮอก

อันดับเฮดจ์ฮอก (Hedgehog, Gymnure, อันดับ: Erinaceomorpha) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Erinaceomorpha เป็นอันดับที่แยกตัวออกมาจากอันดับสัตว์กินแมลง (Insectivora) ลักษณะโดยรวมของสัตว์ที่อยู่ในอันดับนี้ เป็นสัตว์ขนาดเล็ก กินแมลงเป็นอาหาร มีทั้งออกหากินในเวลากลางวัน และออกหากินในเวลากลางคืน อาศัยอยู่บนพื้นและบนต้นไม้ ยืนด้วยฝ่าเท้า มีสมองส่วนรับกลิ่นเจริญดี แต่สายตาไม่ดี นอกจากกินแมลงแล้วยังอาจจะยังกินสัตว์ขนาดเล็กกว่าหรือพืชและผลไม้เป็นอาหาร จำแนกออกได้เพียงวงศ์เดียว คือ Erinaceidae 10 สกุล (ดูในตาราง) 24 ชนิด โดยที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ เฮดจ์ฮอก (Erinaceinae) ซึ่งเป็นสัตว์ขนาดเล็กมีขนที่เป็นหนามแข็งขนาดเล็กคล้ายเม่นซึ่งอยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคยุโรป สำหรับในประเทศไทยพบ 2 เท่านั้น คือ หนูเหม็น (Echinosorex gymnurus) หรือสาโท ที่มีลักษณะคล้ายหนูแต่มีขนาดใหญ่กว่า และมีกลิ่นตัวเหม็นอย่างรุนแรงคล้ายกับกลิ่นของแอมโมเนีย และหนูผีหางหมู (Hylomys suillus).

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและอันดับเฮดจ์ฮอก · ดูเพิ่มเติม »

จระเข้

ระเข้ (Crocodile, อีสาน: แข้) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ ใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Crocodylidae อยู่ในอันดับจระเข้ (Crocodilia) มีลักษณะโดยรวมคือ ส่วนปลายของหัวแผ่กว้างหรือเรียวยาว ขากรรไกรยาวและกว้าง เมื่อหุบปากแล้วจะเห็นฟันซี่ที่ 4 ของขากรรไกรล่างเนื่องจากขอบปากบนตรงตำแหน่งนี้เป็นรอยหยักเว้า ส่วนปลายของขากรรไกรล่างข้างซ้ายและข้างขวาเชื่อมต่อกันเป็นพื้นที่แคบ กระดูกเอนโทพเทอรีกอยด์อยู่ชัดกับแถวของฟันที่กระดูกแมคซิลลา กระดูกพาลามีนมีก้านชิ้นสั้นอยู่ทางด้านหน้าและไม่ถึงช่องในเบ้าตา พื้นผิวด้านบนของลิ้นไม่มีสารเคอราติน ต่อมขจัดเกลือบนลิ้นมีขนาดใหญ่ มีก้อนเนื้อที่ปลายปากนูนสูงที่ช่องเปิดรูจมูกเรียกว่า "ก้อนขี้หมา" หรือ "หัวขี้หมา" ซึ่งจะแตกต่างออกไปตามชนิดและเพศหรือขนาด โคนหางเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่และแข็งแรงเรียกว่า "บ้องตัน" ใช้ในการฟาดเพื่อป้องกันตัว หางแบนยาวใช้โบกว่ายน้ำ จระเข้ ถือเป็นสัตว์ที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาาหร เนื่องจากเป็นสัตว์ผู้ล่ากินเนื้อขนาดใหญ่ ที่ไม่มีศัตรูตามธรรมชาติ ยกเว้นจระเข้ในวัยอ่อน ที่ตกเป็นอาหารของสัตว์ขนาดใหญ่กว่าชนิดต่าง ๆ ได้ จระเข้ตัวโตเต็มวัยจะมีพฤติกรรมกินอาหารแบบหมุนตัว กล่าว คือ เมื่อจับเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ขณะอยู่ใต้น้ำและต้องการกินเหยื่อจะใช้ปากงับไว้และหมุนตัวเองเพื่อฉีกเนื้อเหยื่อออกเป็นชิ้น ส่วนเหยื่อที่มีขนาดเล็กถูกบดให้แหลกด้วยลิ้นขนาดใหญ่โดยใช้ลิ้นดันเหยื่ออัดแน่นกับเพดานของอุ้งปาก นอกจากนี้แล้วจระเข้ยังกลืนก้อนกรวดหรือก้อนหินเข้าไปในกระเพาะเพื่อช่วยในการบดอาหารด้วย แบ่งออกได้เป็น 3 สกุล 14 ชนิด พบได้ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนของทุกทวีปทั่วโลก นับว่ามีจำนวนสมาชิกมากและหลากหลายที่สุดของอันดับจระเข้ที่ยังพบคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ มักอาศัยบริเวณป่าริมน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำ เพราะหากินในน้ำเป็นหลัก บางชนิดหรือบางพื้นที่อาจพบได้ในแหล่งน้ำกร่อยหรือป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำใกล้ทะเล ในประเทศไทยพบ 3 ชนิด คือ จระเข้บึง หรือ จระเข้น้ำจืด (Crocodylus siamensis), อ้ายเคี่ยม หรือ จระเข้น้ำเค็ม (C. porosus) และ จระเข้ปากกระทุงเหว หรือ ตะโขง (Tomistoma schlegelii) ซึ่งมิได้ถูกจัดอยู่ในวงศ์นี้.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและจระเข้ · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีกาล

รณีกาล (Geologic Time) ตามความหมายทางธรณีวิทยานั้น เป็นชื่อเรียกของระยะช่วงเวลา ซึ่งได้แบ่งลงมาเป็น บรมยุค (Eon) มหายุค (Era) ยุค (Period) สมัย (Epoch) และช่วงอายุ (Age) ตามลำดับ มาตราเวลาทางธรณีวิทยา ใช้โดยนักธรณีวิทยา หรือนักวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เพื่ออธิบายเวลาที่จุดต่างๆ และอธิบายความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีตของประวัติของโลก ตัวอย่างของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดมาตราเวลาทางธรณีวิทยา มี International Commission on Stratigraphy กำหนดชื่อของเวลาและคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง (stratigraphy เป็นการศึกษาธรณีวิทยาในเรื่องชั้นต่างๆของโลก เช่นเปลือกโลก/ผิวโลกและชั้นอื่นๆใต้ผิวโลกลงไป), US Geological Survey กำหนดสีมาตรฐานของเวลาทางธรณีวิทยาที่ห้วงเวลาต่างๆ จากวิธีการหาเวลาในอดีตโดยการวัดการสลายของกัมมันตภาพรังสี (radiometric dating) พบว่าโลกมีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและธรณีกาล · ดูเพิ่มเติม »

ทาร์เซียร์

วีดีโอคลิปทาร์เซียร์ไม่ทราบชนิด ทาร์เซียร์ (tarsier) หรือ มามัก (mamag) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กในอันดับไพรเมตที่วิวัฒนาการมาจากยุคไอโอซีนจนมาถึงยุคปัจจุบัน ที่มีรูปร่างลักษณะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมมากนัก มีเพียงวงศ์เดียว คือ Tarsiidae และสกุลเดียวเท่านั้น คือ Tarsius.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและทาร์เซียร์ · ดูเพิ่มเติม »

ตุ่น

ำหรับ ติ่ง ที่เป็นความหมายสแลงดูที่ ติ่งหู ตุ่น หรือ ติ่ง (Moles) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมวงศ์หนึ่ง ในอันดับตุ่น (Soricomorpha) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Talpidae ซึ่งครั้งหนึ่ง (หรือบางข้อมูล) จะจัดให้ตุ่นอยู่ในอันดับสัตว์กินแมลง (Insectivora) ตุ่น มีลักษณะคล้ายหนูตะเภาตัวอ้วน ๆ ซึ่งเป็นสัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) แต่ทว่าตุ่นมีอันดับแยกออกมาเองต่างหาก ซึ่งใกล้เคียงกับหนูผี (Soricidae) มากกว่า มีขนอ่อนนุ่ม สีคล้ำอย่างสีเทาหรือสีดำ ตลอดทั้งลำตัว ซึ่งขนนี้มีคุณลักษณะพิเศษที่สามารถบิดไปในทิศทางใดก็ได้ แตกต่างจากสัตว์ประเภทอื่น ๆ ส่วนหางสั้น ตุ่นอาศัยในโพรงใต้ดินตลอดเวลา จะไม่ขึ้นมาบนพื้นดิน หากไม่จำเป็น ดังนั้นจึงมีหูและตาเล็กมาก เพราะแทบไม่ได้ใช้ประโยชน์ และถูกเก็บซ่อนอยู่ใต้ขน เพื่อป้องกันมิให้ดินเข้าเวลาขุดดิน ในบางชนิดจะมีหนังพิเศษปิดเหนือตาด้วย ขาคู่หน้าของตุ่นซ่อนอยู่ใต้ขน ซึ่งจะยื่นออกมาแต่ส่วนปลายเป็นข้อมือที่มีเล็บที่แข็งแรง 5 เล็บ ซึ่งใช้ในการขุดโพรงดิน แต่จะใช้เดินบนพื้นดินไม่ได้เลย หากตุ่นขึ้นมาบนดินจะทำได้เพียงแค่คืบคลาน ในโพรงใต้ดินของตุ่น มีทางยาวมาก โดยมักจะขุดให้ลึกไปจากผิวดินราว 3 นิ้วครึ่งถึงครึ่งฟุต เป็นทางยาวขนานไปกับผิวดิน และลึกจากหน้าดินราวหนึ่งฟุตก็มีอีกโพรงหนึ่งเป็นคู่ขนานด้วยเช่นกัน ซึ่งทั้งสองสายนี้เชื่อมไว้ด้วยทางเชื่อมเล็ก ๆ ในแนวตามจุดต่าง ๆ เป็นระยะ ๆ แต่ในบางจุดอาจมีแนวดิ่งลึกลงไปถึง 4 ฟุต ผนังโพรงราบเรียบสม่ำเสมอกัน ที่ปลายสุดของโพรงจะใช้เป็นที่กลับตัว ซึ่งมีความกว้างเพียงขนาดเท่าตัวของตุ่น ดินที่ขุดขึ้นทำโพรงนั้นจะถูกอัดไปตามผนังโพรงเพื่อให้แน่นและแข็งแรง แต่บางส่วนก็จะถูกดันขึ้นไปเหนือพื้นดิน เห็นเป็นเนิน ๆ ซึ่งเรียกในภาษาไทยว่า "โขย" ตุ่น กินอาหารหลัก คือ ไส้เดือนดิน และก็สามารถกินอาหารอื่นได้ เช่น หนอน, หอยทาก และพืชประเภทหัว เช่น มัน หรือ แห้ว หลายชนิด ในวันหนึ่ง ๆ ตุ่นสามารถที่จะกินอาหารได้เท่ากับน้ำหนักตัว จึงเป็นสัตว์ที่ไม่อาจอดอาหารได้นาน ในฤดูแล้งที่อาหารขาดแคลน ตุ่นสามารถจะสะสมอาหารเป็นเสบียงได้ ในโพรงดินส่วนที่เป็นห้องเก็บอาหาร โดยมีรายงานว่า ตุ่นบางตัวเก็บหนอนไว้ในห้องเก็บอาหารนับร้อยตัว โดยที่หัวของหนอนเหล่านี้ถูกกัดจนหัวขาดแล้ว แต่ยังไม่ตาย ไม่อาจจะหนีไปไหนได้ ตามปกติ ตุ่นเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ลำพัง นอกจากในฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้ต้องต่อสู้แย่งชิงตัวเมียเสียก่อน ตัวเมียจะเป็นฝ่ายสร้างรั งขนาดลูกรักบี้ที่บุด้วยใบไม้และฟางหรือกิ่งไม้เล็ก ๆ โดยจะอยู่ลึกจากหน้าดินประมาณ 2 ฟุต หรือตื้นกว่านั้น มีทางแยกออกจากรังหลายทาง เพื่อที่จะเข้าออกได้หลายทาง เพื่อความสะดวกและปลอดภัย ซึ่งรังของตุ่นจะสะอาดสะอ้านอยู่เสมอ ตุ่นมักจะมีลูกครอกละ 2-7 ตัว ลูกอ่อนที่เกิดใหม่จะยังไม่ลืมตา และขนจะเริ่มงอกเมื่อมีอายุได้สัก 10 วัน และลืมตาในเวลาต่อมา และจะออกจากรังเมื่อมีอายุได้ราว 5 สัปดาห์ มีอายุขัยโดยเฉลี่ยประมาณ 3 ปี ตุ่นกระจายพันธุ์ไปในทุกพื้นที่ทั่วโลก ยกเว้นในเขตขั้วโลกและโอเชียเนีย สามารถแบ่งออกได้เป็น 17 สกุล และ 3 วงศ์ย่อย (ดูในตาราง) พบประมาณ 44 ชนิด ซึ่งบางชนิดมีขนสีทอง บางชนิดมีส่วนหางยาว บางชนิดที่จมูกมีเส้นขนเป็นอวัยวะรับสัมผัสเป็นเส้น ๆ 22 เส้น ลักษณะคล้ายดาว และมีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่บนดินและว่ายน้ำได้เก่งอีกด้วย ขณะที่บางชนิดก็สามารถปีนต้นไม้ได้ และอาศัยอยู่เป็นฝูง สำหรับในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียว คือ ตุ่นโคลส (Euroscaptor klossi).

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและตุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ

ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ (transitional fossil) เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่เหลืออยู่ของสิ่งมีชีวิตใดก็ได้ ที่มีลักษณะสืบสายพันธุ์ซึ่งทั้งกลุ่มสิ่งมีชีวิตบรรพบุรุษของมันและกลุ่มลูกหลานของมันมีร่วมกัน ซึ่งเป็นหลักฐานที่สำคัญเป็นเศษ ในกรณีที่กลุ่มลูกหลานมีกายวิภาคและการดำรงชีวิตที่ต่างกันอย่างมากจากกลุ่มบรรพบุรุษ ซากดึกดำบรรพ์เช่นนี้เป็นเครื่องเตือนใจว่า การแบ่งหน่วยอนุกรมวิธานเป็นอะไรที่มนุษย์สร้างขึ้นในภายหลัง แล้วกำหนดใส่สิ่งมีชีวิตที่มีมาก่อนและมีความแตกต่างแบบต่อเนื่อง ปกติจะไม่มีทางรู้ได้ว่า ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพหนึ่ง ๆ อยู่ใกล้จุดที่สิ่งมีชีวิตกลุ่มต่าง ๆ วิวัฒนาการเบนออกจากกันแค่ไหน เพราะบันทึกซากดึกดำบรรพ์ไม่สมบูรณ์ ดังนั้น จึงไม่สามารถสมมุติได้ว่า สิ่งมีชีวิตช่วงเปลี่ยนสภาพหนึ่งเป็นบรรพบุรุษโดยตรงของกลุ่มสิ่งมีชีวิตต่อ ๆ มา แม้นักวิทยาศาสตร์อาจจะใช้มันเป็นแบบของบรรพบุรุษ ในปี..

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนไฟฟ้า

ปลากระเบนไฟฟ้า (Electric rays, Numbfishes, Coffin rays, Sleeper rays, Crampfishes) เป็นปลากระเบนที่มีรูปร่างกลม จัดอยู่ในอันดับ Torpediniformes และมีอวัยวะคู่หนึ่งที่สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้ ซึ่งประกอบไปด้วยเซลล์รูปหกเหลี่ยมเรียงซ้อนกันเป็นกลุ่ม ตั้งอยู่ทางด้านข้างของตาถัดไปถึงครีบอก ภายในมีสารเป็นเมือกคล้ายวุ้น ทำหน้าที่ในการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยความแรงมีตั้งแต่ระดับต่ำเพียง 8 โวลต์ไปจนถึง 220 โวลต์ ขึ้นอยู่กับชนิด กระแสไฟฟ้านี้ใช้เพื่อทำให้เหยื่อสลบหรือฆ่าเหยื่อ ปลากระเบนไฟฟ้าทั้งหมดมีรูปร่างแบนกลม ตามีขนาดเล็กมาก (มีอยู่ 4 ชนิดที่ตาบอด) ส่วนหางพัฒนาอย่างสมบูรณ์แข็งแรง และไม่มีเงี่ยงหางแหลมคมเหมือนปลากระเบนในอันดับอื่น มีลำตัวหนาและอ่อนนุ่ม มีครีบหลัง 2 ตอน หรือไม่มีเลย ปลากระเบนไฟฟ้ามีทั้งหมด 4 วงศ์ (ดูในตาราง) ประกอบด้วย 69 ชนิด 11 สกุล โดยทั้งหมดพบในทะเล พบในบริเวณอบอุ่นในเขตร้อนของมหาสมุทรแอตแลนติก, แปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย ปลากระเบนไฟฟ้ามักหมกตัวอยู่ใต้พื้นทราย สามารถทำอันตรายต่อมนุษย์ได้หากเหยียบไปถูกเข้า ซึ่งอาจทำให้เกิดเกิดอาการชาและจมน้ำเสียชีวิตได้ อวัยวะสร้างกระแสไฟฟ้าคู่ ปลากระเบนไฟฟ้าในภาษาไทยมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ปลาเสียว" โดยชนิดที่พบได้ในน่านน้ำไทย เช่น ปลากระเบนไฟฟ้าหลังเรียบ (Temera hardwickii), ปลากระเบนไฟฟ้าสีน้ำตาล (Narcine brunnea), N. indica และ Narke dipterygia ส่วนชนิดที่พบได้ในต่างประเทศและเป็นที่รู้จักดีได้แก่ ปลากระเบนไฟฟ้าแปซิฟิก (Torpedo californica), ปลากระเบนไฟฟ้าตาบอด (Typhlonarke aysoni) เป็นต้น.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและปลากระเบนไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลากุแล

ปลากุแล หรือ ปลาหลังเขียว เป็นสกุลของปลาทะเลขนาดเล็กสกุล Sardinella (/ซาร์ดิแน็ลลา/) ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) จัดเป็นปลาซาร์ดีนหรือปลาเฮร์ริงอีกจำพวกหนึ่ง มีลักษณะสัณฐานทั่วไปคล้ายกับปลาในสกุล Herklotsichthys คือ ลำตัวแบนข้างมาก สันท้องแหลม เกล็ดบางหลุดง่าย เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปากเล็กเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กมาก ซี่เหงือกมีจำนวนมาก ไม่มีก้านครีบแข็งหรือเงี่ยง ลำตัวสีเงิน เฉพาะด้านหลังสีน้ำเงินเข้ม บนลำตัวที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกมักมีแต้มสีดำคล้ำหนึ่งจุด ครีบหลัง และครีบหางสีดำคล้ำอมเหลือง แต่ทว่ามีรูปร่างที่ยาวกว่า นอกจากนี้แล้ว ปลากุแลยังเป็นปลาที่มีวิวัฒนาการมาจากปลาในสกุล Harengula ที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน โดยมีลักษณะแทบจะแยกกันไม่ออก โดยมีความต่างกันที่เกล็ดเท่านั้น จัดเป็นปลาผิวน้ำ ที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ลูกปลาขนาดเล็กอาจอยู่รวมใกล้ชายฝั่งทะเล, ปากแม่น้ำ หรือลากูนได้ พบกระจายพันธุ์ในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่น ทั้งมหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย, ทะเลเมดิเตอเรเนียน และมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ และในธรรมชาติยังเป็นปลาที่เป็นอาหารสำคัญของวาฬบาลีน เช่น วาฬบรูดาอีกด้วย เหมือนปลาในสกุลอื่นในวงศ์เดียวกันหรือใกล้เคียง.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและปลากุแล · ดูเพิ่มเติม »

ปลามง

ปลามง หรือ ปลากะมง หรือ ปลาม่ง (Jacks, Trevallies, Kingfishes) เป็นสกุลของปลาทะเลกระดูกแข็งสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Caranx (/คา-แรงก์/) จัดเป็นปลาที่มีขนาดกลางและใหญ่ในวงศ์นี้ มีลักษณะโดยรวม คือ ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หน้าครีบก้นมีหนามแข็ง 2 อันพับได้ คอดหางแคบ เกล็ดบนเส้นข้างตัวมีขนาดใหญ่ เป็นเหลี่ยมแข็งโดยเฉพาะที่บริเวณคอดหาง ส่วนหัวสั้นทู่ มีสีลำตัวเป็นสีขาวและสีเงิน อยู่รวมกันเป็นฝูง เป็นปลาที่กินเนื้อ ได้แก่ ปลาชนิดอื่น ๆ และสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร มีทั้งหมด 18 ชนิด (ดูในตาราง) โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลากะมงพร้าว (C. ignobilis) ที่มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 1.4 เมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่น บางครั้งอาจเข้าหามากินในแหล่งน้ำกร่อย นิยมตกเป็นเกมกีฬา และใช้เนื้อในการบริโภคเป็นอาหาร ซึ่งปลาในสกุลนี้ ยังมีชื่อเรียกอื่น อีก เช่น "ปลากะม่ง", "ปลาสีกุน" หรือ "ปลาหางกิ่ว" ซึ่งเป็นการเรียกทับซ้อนกับปลาสกุลอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกันนี้ด้ว.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและปลามง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอทะเล (สกุล)

ปลาหมอทะเล (Epinephelus) เป็นสกุลของปลาทะเลจำพวกหนึ่งในวงศ์ Serranidae นับเป็นปลาขนาดใหญ่ มีรูปร่างโดยรวม คือ ร่างยาวอ้วนป้อม แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดมีขนาดเล็ก สีตามตัวและครีบเป็นดอกดวง แต้ม หรือบั้ง ฉูดฉาดหรือคล้ำทึบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาด พบอาศัยอยู่ตามบริเวณแนวปะการัง โขดหินใกล้ชายฝั่งหรือเกาะ บางครั้งอาจพบว่ายเข้ามาหากินบริเวณปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อยได้ด้วย ปลาหมอทะเลกระจายพันธุ์ในทะเลและมหาสมุทรเขตอบอุ่นทั่วโลก ทั้ง มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรอินเดีย มีจำนวนสมาชิกในสกุลนี้ราว 99 ชนิด นับว่ามากที่สุดในวงศ์นี้ โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลาหมอทะเล (E. lanceolatus) ที่ใหญ่ที่สุดได้เกือบ 3 เมตร และหนักได้ราว 200 กิโลกรัม สำหรับในภาษาไทยจะคุ้นเคยเรียกชื่อปลาในสกุลนี้เป็นอย่างดีในชื่อ "ปลาเก๋า" หรือ "ปลากะรัง".

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและปลาหมอทะเล (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาผมนาง

ำหรับปลาผมนางอีกสกุลหนึ่ง ดูที่: ปลาจุยจินขาว และปลาสีกุนครีบยาว ปลาผมนาง หรือ ปลาโฉมนาง หรือ ปลาโฉมงาม (Cobblerfishes, Cockfishes, Threadfishes, Diamond trevallies, Pompanos) เป็นปลาทะเลสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Alectis จัดอยู่ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) มีรูปร่างทั่วไป คือ ลำตัวสั้น กว้าง แบนข้างมาก คอดหางเล็ก เว้นแต่ที่ส่วนท้ายของเส้นข้างตัว โดยเฉพาะ บริเวณคอดหางเกล็ดอ่อนจะขยายใหญ่เป็นสันแข็งที่ปลายหาง มีกระดูกอ่อนลักษณะเป็นเกล็ดแข็ง 2 อัน โผล่อยู่หน้าครีบก้น ที่สำคัญคือ ต่างก็มีก้านครีบหลังตอนที่ 2 และครีบก้นที่เป็นเส้นยาวมาก ลำตัวผิวหนังสีเงิน เฉพาะใกล้สันหลัง เป็นสีฟ้าอมเทา ในระยะที่เป็นปลาขนาดเล็กจะมีลายพาดขวางเป็นบั้งสีเทาอยู่หลายแถบ เส้นครีบที่เป็นลายยาวมีสีคลํ้าหรือดำคล้ายเส้นผม เรียกว่า "ไอ้เปี๊ยะ" อันเป็นที่มาของชื่อ สันนิษฐานว่าคงเป็นการทำตัวเลียนแบบแมงกะพรุนหน้า ๐๙๖–๐๙๗, ปลาโฉมงาม.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและปลาผมนาง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาขี้ตัง

ปลาขี้ตัง หรือ ปลาตะกรับ (Scats) เป็นปลาน้ำเค็มสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะกรับ (Scatophagidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Scatophagus (/สะ-แคท-โท-ฟา-กัส/) มีรูปร่างคล้ายปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) คือ รูปร่างกลมและแบนข้างมาก แต่จะงอยปากไม่ยื่นยาว ปากเล็ก ครีบหลังมีก้านครีบแข็งแหลมคม รวมถึงก้านครีบก้น ซึ่งก้านครีบดังกล่าวมีสารพิษ ที่อาจตำหรือแทงถูกมือของผู้ที่จับต้องได้ แต่ทว่าก็ก่อให้เกิดพิษน้อยมาก จำแนกออกได้เป็น 2 ชน.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและปลาขี้ตัง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาขี้ตังเบ็ด

ปลาขี้ตังเบ็ด หรือ ปลาเซอร์เจี้ยน (Lancetfish, Surgeonfish, Tang) เป็นปลาทะเลกลุ่มหนึ่ง ในสกุล Acanthurus (/อะ-แคน-ทู-รัส/) ในวงศ์ปลาขี้ตังเบ็ด (Acanthuridae) เป็นปลาที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดในวงศ์นี้ จัดเป็นสกุลต้นแบบของวงศ์นี้ โดยรวมแล้วมีขนาดกว่าสกุลอื่น ๆ มักกินสาหร่ายเส้นใยเป็นอาหาร มักอาศัยรวมกันเป็นฝูงใหญ่ บางครั้งจะว่ายรวมตัวกันกับปลาในวงศ์อื่น เช่น วงศ์ปลานกแก้ว (Scaridae) พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแนวปะการัง ของทะเลและมหาสมุทรแถบอินโด-แปซิฟิก มีขนาดตั้งแต่ 15-50 เซนติเมตร (5.9-19.7 นิ้ว) เป็นปลาที่มีสีสันหรือลวดลายสดใสสวยงาม จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยมีชื่อเรียกเฉพาะในวงการว่า "ปลาแทงค์" นอกจากนี้แล้ว ปลาในสกุลนี้ บริเวณโคนหางยังมีหนามแหลมที่เมื่อสัมผัสกับมือเปล่า ๆ ทำให้เกิดบาดแผลได้ และหนามดังกล่าวยังมีพิษ พิษของปลาขี้ตังเบ็ดมีฤทธิ์คล้ายกับพิษของกลุ่มปลากะรังหัวโขนหรือปลาสิงโต แต่มีความรุนแรงน้อยกว.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและปลาขี้ตังเบ็ด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดาบลาวยาว

ปลาดาบลาวยาว (Dorab wolf-herring) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในอันดับปลาหลังเขียว (Clupeiformes) จัดเป็นปลาดาบลาวชนิดหนึ่ง มีลำตัวเรียวยาวและมีทรวดทรงแบนมาก ปากมีลักษณะเฉียงขึ้นข้างบน มีฟันเขี้ยวคู่หน้าใหญ่และคมมากเขี้ยวคู่นี้จะยื่นเลยริมฝีปาก ครีบหางเว้าลึกครีบหลังมีรอยแต้มสีดำลำตัวสีน้ำเงินเข้มปนเหลือง ท้องเป็นสันคม มีความยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร และยาวที่สุด 100 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ตามปากอ่าว, ชายทะเล หรือพื้นที่ ๆ เป็นน้ำกร่อย ตั้งแต่ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออกจนถึงหมู่เกาะโซโลมอน, ทะเลแดง, ทะเลญี่ปุ่น, ตอนเหนือและตอนใต้ของออสเตรเลีย รวมถึงตองกา ในน่านน้ำไทยพบทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาที่ล่าเหยื่อบนผิวน้ำกินเป็นอาหาร เช่น ลูกปลาขนาดเล็กและกุ้งขนาดเล็ก จัดเป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง FAO, Species Fact Sheet.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและปลาดาบลาวยาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตกเบ็ด

ปลาตกเบ็ด (anglerfish) หรือ ปลาแองเกลอร์ คือปลาทะเลลึกอยู่ในชั้นปลากระดูกแข็งซึ่งชื่อของมันตั้งมาจากวิธีการล่าเหยื่อของมันซึ่งคำว่า แองเกลอร์ (Angler) นั้นมีความหมายว่า ผู้ตกปลา พวกมันมีสายพันธุ์มากกว่า 200 ชนิดซึ่ง พวกมันสามารถพบได้ทั่วโลกตรงบริเวณที่เป็นไหล่ทวีปจนถึงทะเลลึกส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกและแอนตาร์กติกและยังอาศัยอยู่ในบริเวณน้ำเขตร้อนตื้นๆด้วย พวกมันมีจุดเด่นตรงที่พวกมันมีติ่งเนื่อเรืองแสงที่คล้ายเบ็ดตกปลาซึ่งเอาไว้ใช่ในการล่อเหยือและมันยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือกรณีเพศสัณฐานของปรสิตเพศชายที่จะรวมตัวกันกับตัวเมี.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและปลาตกเบ็ด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะเกียง

ปลาตะเกียง (μυκτήρmyktḗr)เป็นปลาทะเลลึกเล็กมีจำนวน 246 ชนิดใน 33 สกุลและพบได้ในมหาสมุทรทั่วโลกพวกมันถูกตั้งชื่อตามความสามารถในการเรืองแสงของมัน จากการสุ่มตัวอย่างตรวจสอบปลาให้ทะเลลึกนั้นพบว่ามันมีจำนวนมากถึง 65% ของสายพันธุ์ปลาทะเลลึกทั้งหมด หรือก็คือมันเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่กระจายพันธุ์นอยู่อย่างแพร่หลายและมีประชากรมากที่สุดและยังมีบทบาททางนิเวศวิทยาที่สำคัญอย่างมากในฐานะของเหยื่อของสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ เช่นหมึกกล้วยและเพนกวินราชาถึงแม้ว่ามันจะมีสายพันธุ์และจำนวนที่เยอะแต่กลับมีการทำประมงปลาชนิดนี้แค่ที่อ่าวโอมานและแอฟริกาใต้เท่านั้น.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและปลาตะเกียง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามเสือ

ปลาฉลามเสือ (Tiger shark) ปลากระดูกอ่อนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จำพวกฉลาม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Galeocerdo cuvier ในวงศ์ Carcharhinidae เป็นปลาเพียงชนิดเดียวในสกุล Galeocerdo.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและปลาฉลามเสือ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉนากจะงอยปากแคบ

ปลาฉนากจะงอยปากแคบ (Knifetooth sawfish, Pointed sawfish) ปลากระดูกอ่อนชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาฉนาก (Pristidae) จัดเป็นปลาฉนากเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Anoxypristis โดยมาจากภาษากรีก oxy (οξυ) หมายถึง "คม", pristis (πρίστης) หมายถึง "เลื่อย" และ custidata มาจากภาษาละตินคำว่า cuspidatus หมายถึง "จุด" มีรูปร่างเหมือนปลาฉนากทั่วไป แต่มีรูปร่างเพรียวกว่า ส่วนหัวแคบกว่า สีลำตัวเป็นสีน้ำตาลหรือสีเทา จะงอยปากแคบกว่าปลาฉนากจะงอยปากกว้าง (Pristis microdon) และมีจำนวนซี่ฟันมากกว่า คือ มีจำนวน 23-35 คู่ ขนาดโตเต็มที่ราว 4 เมตร เป็นปลาฉนากอีกชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดได้ พบตามชายฝั่งของทะเลอินโด-แปซิฟิก, ทะเลแดง, อ่าวเปอร์เซีย, ปาปัวนิวกินี, ออสเตรเลียทางตอนเหนือ, ญี่ปุ่นตอนใต้ รวมถึงปากแม่น้ำขนาดใหญ่ในประเทศไทยด้วย ปลาฉนากจะงอยปากแคบ จัดเป็นปลาที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤตตามบัญชีของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN).

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและปลาฉนากจะงอยปากแคบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปักเป้าหนามทุเรียน

ปลาปักเป้าหนามทุเรียน (Porcupinefishes, Balloonfishes) เป็นสกุลของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาปักเป้า (Tetraodontiformes) ในวงศ์ปลาปักเป้าฟัน 2 ซี่ (Diodontidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Diodon (/ได-โอ-ดอน/) ปลาปักเป้าหนามทุเรียนนั้น มีรูปร่างคล้ายปลาปักเป้าทั่วไป แต่มีรูปร่างเพรียวยาว หนังหยาบหนา และมีหนามแข็งชี้ไปข้างท้ายลำตัวตลอดทั้งตัว ซึ่งหนามนี้จะตั้งแข็งตรงเมื่อพองตัวกลมคล้ายลูกบอล เพื่อใช้ในการป้องตัวตัวเองจากนักล่าขนาดใหญ่กว่าในธรรมชาติ เช่น ปลาฉลาม ครีบหางเป็นทรงกลม มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร มีลักษณะเด่น คือ มีฟันที่แหลมคมจำนวน 2 ซี่ภายในช่องปากใช้สำหรับขบกัดสัตว์มีเปลือกต่าง ๆ เป็นอาหาร เช่น กุ้ง, ปู, หอยฝาเดี่ยว หรือหอยสองฝา เป็นต้น ปลาปักเป้าหนามทุเรียนมีลักษณะแตกต่างไปจากปลาปักเป้าสกุลอื่นในวงศ์เดียวกัน คือ ลักษณะของหนามบนลำตัว มีทั้งหมด 5 ชนิด (ดูในเนื้อหา) กระจายพันธุ์ไปในทะเลและมหาสมุทรต่าง ๆ ทั่วโลก เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามตามบ้านหรือในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ และนิยมนำมาสตัฟฟ์เป็นเครื่องประดับโดยเฉพาะเมื่อยามพองตัว แต่ถือเป็นปลาที่มีอันตราย หากได้รับประทานเข้าไป เนื่องจากมีสารพิษชนิด เตโตรโดท็อกซิน และซิกัวเตราอย่างรุนแรง.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและปลาปักเป้าหนามทุเรียน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเฮร์ริงน้ำจืด

ปลาเฮร์ริงน้ำจืด (publisher) เป็นกลุ่มปลาขนาดเล็กกลุ่มหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Pellonulinae ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) เป็นปลาหลังเขียวหรือปลาเฮร์ริงจำพวกหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยทั่วโลก บางสกุลและบางชนิดได้สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและปลาเฮร์ริงน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

นกเกาะคอน

นกเกาะคอน หรือ นกจับคอน (Passerine, Perching bird) เป็นอันดับของนกอันดับหนึ่ง ในกลุ่มนกขากรรไกรแบบใหม่ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Passeriformes (โดยมีที่มาจาก Passer domesticus ซึ่งเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ของนกกระจอกใหญ่ และนกในสกุล Passer ที่เป็นนกขนาดเล็กที่ใกล้เคียงกัน) นกในอันดับนี้มีลักษณะทั่วไปทางกายภาค คือ เป็นนกที่มีวิวัฒนาการเพื่ออาศัยและหากินบนต้นไม้เป็นหลัก นิ้วตีนมีทั้งหมด 4 นิ้ว ทุกนิ้วเจริญดีและอยู่ในระนาบเดียวกัน จึงเหมาะแก่การจับหรือเกาะเกี่ยวกับกิ่งไม้หรือต้นไม้ในป่าประเภทต่าง ๆ แต่ไม่เหมาะสำหรับการเดินบนพื้นดิน ดังนั้นเมื่อเมื่อลงดินจะได้วิธีก้าวกระโดด โดยมากแล้วจะเป็นนกที่มีลำตัวขนาดเล็ก ปัจจุบัน นักปักษีวิทยาได้แบ่งอันดับนี้เป็นอันดับย่อย 3 อันดับ (ดูในตาราง-บางข้อมูลจัดให้มี 2) โดยพิจารณาจากกล้ามเนื้อควบคุมกล่องเสียงที่อยู่ในลำคอ โดยบางอันดับย่อยจะมีกล้ามเนื้อนี้เพียง 2 คู่ ซึ่งยังเป็นลักษณะของนกในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ทำให้เสียงร้องไม่ไพเราะนัก แต่บางอันดับย่อยมีมากกว่า คือมี 4 คู่ ทำให้มีเสียงร้องที่ไพเราะกว่า นกในอันดับนี้มีมากกว่า 100 วงศ์ (ราว 110 วงศ์) ประมาณ 5,400 ชนิด ทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยที่มีการค้นพบนกแล้วราว 1,000 ชนิด แบ่งเป็นนกในอันดับต่าง ๆ 16 อันดับ ใน 70 วงศ์ นกที่อยู่ในอันดับนี้นับว่ามากกว่าครึ่ง ได้แก.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและนกเกาะคอน · ดูเพิ่มเติม »

แมงมุมกระโดด

แมงมุมกระโดด (Jumping spiders) เป็นแมงมุมกลุ่มหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Salticidae ซึ่งถือว่าเป็นวงศ์ของแมงมุมที่มีจำนวนประชากรมากที่สุด ด้วยมีจำนวนชนิดมากกว่า 5,000 ชนิด และแบ่งออกเป็นสกุลต่าง ๆ มากกว่า 500 สกุล นับเป็นร้อยละ 13 ของแมงมุมทั้งหมด แมงมุมกระโดด โดยทั่วไปเป็นแมงมุมที่มีขนาดเล็ก สามารถพบเห็นได้ทั่วทุกหนแห่ง เช่น ในสวนหลังบ้าน หรือแม้แต่ภายในบ้านเรือนทั่วไป เป็นแมงมุมที่ออกหากินในเวลากลางวัน และกลับเข้ารังพักผ่อนในยามกลางคืน เมื่อพระอาทิตย์ตกดิน มีความสามารถที่จะกระโดดได้ไกลถึง 10–15 เท่าของความยาวลำตัว แมงมุมกระโดดโดยทั่วไปจะล่าแมลงขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ กินเป็นอาหาร เ้ช่น แมลงวัน จนได้อีกชื่อหนึ่งว่า "เสือแมลงวัน" แต่ก็สามารถที่จะล่าเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าลำตัวเองได้เช่นกัน แมงมุมกระโดดมีความเร็วต้นประมาณ 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งถ้าหากมีขนาดเทียบเท่ากับเสือชีตาห์ ซึ่งเป็นสัตว์นักล่าเหยื่อแห่งทุ่งหญ้าแอฟริกา เท่ากับว่าแมงมุมกระโดดจะทำความเร็วต้นได้สูงถึง 270 กิโลเมตร/ชั่วโมง เลยทีเดียว นอกจากนี้แล้ว ยังถูกจัดให้เป็นแมงมุมที่มีระบบสายตาดีที่สุดในบรรดาแมงมุมทั้งหมดอีกด้วย ซึ่งเป็นผลมาจากการวิวัฒนาการอันเป็นขั้นสูงสุดของสัตว์ประเภทแมงมุม แมงมุมกระโดดสามารถที่จะมองเห็นวัตถุเป็นภา่พด้วยดวงตาที่กลมโตคู่หน้า ในขณะที่แมงมุมทั่วไปสามาราถเห็นได้เพียงแค่เงามืด หรือแสงสว่าง หรือดีที่สุดก็เห็นเป็นเงาที่พร่ามัวเท่านั้น ส่วนแมงมุมกระโดดมีตาที่มีปฏิกิริยาไวต่อวัตถที่เคลื่อนไหวมาก อีกทั้งยังมีตาอีก 3 คู่ รายล้อมส่วนหัวอีกด้วย จึงสามารถทำให้มองเห็นได้รอบท.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและแมงมุมกระโดด · ดูเพิ่มเติม »

โรติเฟอร์

รติเฟอร์ที่อยู่เป็นโคโลนี โรติเฟอร์ (Rotifer) เป็นชื่อสามัญของสัตว์ใน ไฟลัมโรติเฟอรา (Rotifera) ซึ่งเป็นกลุ่มของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีชื่อสามัญว่าโรติเฟอร์ ส่วนหัวมีขนเซลล์เรียงกันเป็นแผงเรียกว่าโคโรนา มีการพัดโบกของซิเลียดูคล้ายวงล้อหมุน สมมาตรครึ่งซีก มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้นในระยะเอ็มบริโอ มีระบบอวัยวะแบบสัตว์ชั้นสูง มีซีลอมไม่แท้ มีระบบทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ (Complete digestive tract) เป็นพวกแรก ลำตัวยาว โปร่งใส ถ้ามีสีจะมีสีสดใส มีตาเดี่ยวทำหน้าที่รับแสง ระบบสืบพันธุ์แยกเพศกัน ตัวผู้เล็กกว่าตัวเมียเสมอ บางชนิดมีสารเคลือบผิวหนา คล้ายเป็นเกราะ และมีหนามด้วย เรียกโครงสร้างนี้ว่า ลอริกา มีเท้าสำหรับยึดเกาะ บริเวณคอหอยมีอวัยวะคล้ายฟันเรียกว่า แมสแตกซ์ (Mastax) ตัวอย่างของสัตว์ในไฟลัมนี้ ได้แก่ไรหมุนหรือหนอนจักร มักอยู่กับพืชน้ำในน้ำจืด หรือมอสในน้ำเค็ม หากินอิสระ บางชนิดเป็นปรสิตบนเหงือกของสัตว์จำพวกกุ้ง-กั้ง-ปู โรติเฟอร์ที่มีเท้าจะเคลื่อนที่ไปตามพื้นท้องน้ำโดยใช้โคโรนาและเท้าคืบคลาน โรติเฟอร์ที่เป็นแพลงก์ตอนใช้โคโรนาเคลื่อนที่เพียงอย่างเดียว โคโรนาทำหน้าที่พัดอาหารเข้าปาก ใช้แมสแตกซ์บดเคี้ยว แล้วจึงส่งเข้าสู่กระเพาะอาหาร การผสมพันธุ์เป็นแบบปฏิสนธิภายใน เมื่อประชากรน้อย โรติเฟอร์จะสร้างไข่ที่เป็นดิพลอยด์ ซึ่งจะฟักเป็นตัวเมียทั้งหมด จนมีประชากรมากจึงจะสร้างไข่แบบแฮพลอยด์ ที่จะฟักเป็นตัวผู้และตัวเมีย ซึ่งเมื่อเป็นตัวเต็มวัยจึงจะผสมพันธุ์กัน ไข่ของโรติเฟอร์ที่เกิดจากการปฏิสนธิมีผนังหนา ทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี โรติเฟอร์บางชนิดอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่นบนมอสหรือทรายได้นาน 3-4 ปี โดยไม่มีการผสมพัน.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและโรติเฟอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เสือ

ือ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ฟิลิดีซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมวโดยชนิดที่เรียกว่าเสือมักมีขนาดลำตัวค่อนข้างใหญ่กว่าและอาศัยอยู่ภายในป่า ขนาดของลำตัวประมาณ 168 - 227 เซนติเมตรและหนักประมาณ 180 - 245 กิโลกรัม รูม่านตากลม เป็นสัตว์กินเนื้อกลุ่มหนึ่ง มีลักษณะและรูปร่างรวมทั้งพฤติกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ แตกต่างจากสัตว์ในกลุ่มอื่น หากินเวลากลางคืน มีถิ่นกำเนิดในป่า เสือส่วนใหญ่ยังคงมีความสามารถในการปีนป่ายต้นไม้ ซึ่งยกเว้นเสือชีต้า เสือทุกชนิดมีกรามที่สั้นและแข็งแรง มีเขี้ยว 2 คู่สำหรับกัดเหยื่อ ทั่วทั้งโลกมีสัตว์ที่อยู่ในวงศ์เสือและแมวประมาณ 37 ชนิด ซึ่งรวมทั้งแมวบ้านด้วย เสือจัดเป็นสัตว์นักล่าที่มีความสง่างามในตัวเอง โดยเฉพาะเสือขนาดใหญ่ที่แลดูน่าเกรงขราม ไม่ว่าจะเป็นเสือโคร่งหรือเสือดาว ผู้ที่พบเห็นเสือในครั้งแรกย่อมเกิดความประทับใจในความสง่างาม แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดความหวาดหวั่นเกรงขามในพละกำลังและอำนาจภายในตัวของพวกมัน เสือจึงได้รับการยกย่องให้เป็นราชาแห่งสัตว์ปา และเป็นจ้าวแห่งนักล่าอย่างแท้จริง เสือ จ้าวแห่งนักล่า, ศลิษา สถาปรวัฒน์, ดร.อลัน ราบิโนวิทซ์, สำนักพิมพ์สารคดี, 2538, หน้า 14 ปัจจุบันจำนวนของเสือในประเทศไทยลดจำนวนลงเป็นอย่างมากในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี เสือกลับถูกล่า ป่าภายในประเทศถูกทำลายเป็นอย่างมาก สภาพธรรมชาติในพื้นที่ต่าง ๆ ถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของมนุษย์เอง ทุกวันนี้ปริมาณของเสือที่จัดอยู่ในลำดับสุดท้ายของห่วงโซ่อาหารถือเป็นสิ่งจำเป็น เพราะการสูญสิ้นหรือลดจำนวนลงอย่างมากของเสือซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อ จะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างและระบบนิเวศทั้งหมด การลดจำนวนอย่างรวดเร็วของเสือเพียงหนึ่งหรือสองชนิดในประเทศไทย ทำให้ปริมาณของสัตว์กินพืชเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้ธรรมชาติเสียความสมดุลในที.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและเสือ · ดูเพิ่มเติม »

เต่าคอยาว

ต่าคอยาว หรือ เต่าคองู (Long-necked turtles, Snake-necked turtles) เป็นสกุลของเต่าน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในวงศ์เต่าคองู (Chelidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chelodina มีลักษณะทั่วไปกระดองแบนราบ นิ้วตีนทุกนิ้วมีผังพืดเชื่อมติดกัน เล็บยาว มีส่วนคอเรียวเล็ก ยืดหดได้ หัวมีขนาดเล็ก ดวงตากลมโต เป็นเต่าที่อาศัยและหากินในน้ำเป็นหลัก พบในแหล่งน้ำที่มีกระแสน้ำไม่แรงหรือแหล่งน้ำนิ่ง บางชนิดพบในแหล่งน้ำกร่อย บางชนิดในฤดูแล้งจะมีพฤติกรรมจำศีลด้วยการซ่อนตัวอยู่ใต้โคลน บางชนิดวางไข่ในน้ำ ซึ่งจัดว่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่วางไข่ในน้ำ มีขนาดกระดองประมาณ 15 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในตอนใต้ของปาปัวนิวกินี และออสเตรเลีย พบทั้งหมด 11 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและเต่าคอยาว · ดูเพิ่มเติม »

Diaphus

Diaphus เป็นประเภทของปลาตะเกียงและเป็นที่รู้จักมากที่สุด It is the most species rich lanternfish genus.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและDiaphus · ดูเพิ่มเติม »

Entelodont

Entelodont (มีสมญานามในหมู่นักวิทยาศาสตร์อเมริกันว่า หมูนรก - Hell pig หรือ หมูคนเหล็ก - Terminator pig) เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกินทั้งพืชและสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว มีความสัมพันธ์อย่างห่างๆกับหมูและสัตว์กีบเท้าคู่ไม่เคี้ยวเอื้องในปัจจุบันชนิดอื่นๆ มีถิ่นอาศัยอยู่ทั่วป่าในเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ระหว่างสมัยโอลิโกซีนและต้นสมัยไมโอซีน เมื่อ 45 ถึง 25 ล้านปีก่อน ขนาดใหญ่ที่สุดสูง 2.1 เมตร สมองมีขนาดเท่ากับกำปั้น กินพืชและเนื้อที่เน่าเปื่อยเป็นอาหาร.

ใหม่!!: สมัยอีโอซีนและEntelodont · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Eocene

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »