สารบัญ
30 ความสัมพันธ์: กรุป (คณิตศาสตร์)กอล์ฟการอุบัติการเรียงลำดับแบบแพนเค้กภูเขาไฟโกโตปักซีระบบพิกัดเชิงขั้วลวดลายในธรรมชาติวงศ์กุหลาบหนอนตัวแบนออร์บิทัลเชิงโมเลกุลผลิกศาสตร์จุดผลิตน้ำมันสูงสุดทรงยี่สิบหน้าทรงลูกบาศก์ทรงสามสิบหน้ารอมบิกปลายตัดทรงสิบสองหน้าทรงสิบสองหน้ารอมบิกปลายตัดทรงสิบหน้าทรงสี่หน้าทรงหกหน้าทรงห้าหน้าทรงแปดหน้าทรงเจ็ดหน้าทิเชียนความน่าจะเป็นเท่ากันนักเต้นประกอบโซเดียมคลอไรด์เมธีนามีนเดคะวาเนเดตเนื้อเพลง
กรุป (คณิตศาสตร์)
กรุป (group) ในพีชคณิตนามธรรม คือ เซตกับการดำเนินการทวิภาค เช่น การคูณหรือการบวก ซึ่งสอดคล้องกับสัจพจน์ ตัวอย่างเช่น เซตของจำนวนเต็มเป็นกรุปภายใต้การดำเนินการการบวก สาขาของคณิตที่ศึกษาเกี่ยวกับกรุปเรียกว่า ทฤษฎีกรุป ต้นกำเนิดของทฤษฎีกรุปนั้นย้อนกลับไปสู่ผลงานของเอวาริสต์ กาลัว (พ.ศ.
กอล์ฟ
ลูกกอล์ฟและหลุมกอล์ฟ กอล์ฟ คือกีฬาหรือเกมประเภทบอลชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้เล่นใช้ไม้หลายชนิดตีลูกบอลให้ลงหลุม จากกฎของกอล์ฟ ระบุว่า "กีฬากอล์ฟประกอบด้วยการเล่นลูกใดลูกหนึ่งด้วยไม้กอล์ฟจากแท่นตั้งทีไปลงหลุมโดยการสโตรคหนึ่งครั้งหรือหลายครั้งต่อเนื่องกันตามกฎข้อบังคับ" กอล์ฟเป็นหนึ่งในกีฬาประเภทบอลเพียงไม่กี่ชนิดที่ไม่มีอาณาเขตการเล่นที่แน่นอน (สนามกอล์ฟแต่ละแห่งสามารถมีรูปร่างและขนาดต่างกัน) ต้นกำเนิดของกอล์ฟนั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ระหว่างเนเธอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และจีน โดยมีการเล่นกอล์ฟมาแล้วอย่างน้อยห้าศตวรรษในหมู่เกาะบริเตน กอล์ฟในรูปแบบปัจจุบันได้มีการเล่นในสกอตแลนด์ตั้งแต่พ.ศ.
การอุบัติ
ในสาขาปรัชญา ทฤษฎีระบบ วิทยาศาสตร์ และศิลปะ การอุบัติ หรือ คุณสมบัติอุบัติ (emergence) เป็นกระบวนการที่สิ่งที่ใหญ่และซับซ้อนกว่า เกิดขึ้นอาศัยปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่เล็กและง่ายกว่า โดยสิ่งที่ใหญ่กว่าจะมีคุณสมบัติซึ่งสิ่งที่เล็กกว่าไม่มี การอุบัติเป็นหลักของทฤษฏีต่าง ๆ เกี่ยวกับระดับบูรณาการ (integrative level) และระบบซับซ้อน ยกตัวอย่างเช่น ปรากฏการณ์ของ "สิ่งมีชีวิต" ที่ศึกษาในสาขาชีววิทยา เป็นคุณสมบัติอุบัติของกระบวนการทางเคมีและทางจิตวิทยา เช่นเดียวกัน เศรษฐกิจและกฎหมายเป็นปรากฏการณ์ที่อุบัติจากปรากฏการณ์ทางจิตวิทยา ในปรัชญา การอุบัติมักใช้คำภาษาอังกฤษว่า "emergentism" และการอธิบายเรื่องนี้ทั้งหมด มักจะกล่าวถึงการลดทอนไม่ได้ทางญาณวิทยา (epistemic) หรือภววิทยา (ontological) ขององค์ต่าง ๆ ในระดับล่าง หมวดหมู่:การอุบัติ หมวดหมู่:ทฤษฎีระบบ หมวดหมู่:วิวัฒนาการ หมวดหมู่:ไซเบอร์เนติกส์ หมวดหมู่:มโนทัศน์ทางอภิปรัชญา หมวดหมู่:อภิปรัชญาของจิต หมวดหมู่:อภิปรัชญาของวิทยาศาสตร์ หมวดหมู่:ทฤษฎีความอลวน หมวดหมู่:มโนทัศน์ทางญาณวิทยา หมวดหมู่:มโนทัศน์ทางปรัชญา หมวดหมู่:ญาณวิทยา หมวดหมู่:ทวินิยมเรื่องใจกาย หมวดหมู่:ทวินิยม หมวดหมู่:อภิปรัชญาของจิต หมวดหมู่:ปรัชญาของจิต หมวดหมู่:อภิปรัชญา หมวดหมู่:อภิปรัชญาของวิทยาศาสตร์ หมวดหมู่:ปรัชญาวิทยาศาสตร์ หมวดหมู่:ทฤษฎีระบบซับซ้อน หมวดหมู่:ระบบ หมวดหมู่:ทฤษฎีระบบ.
การเรียงลำดับแบบแพนเค้ก
การเรียงลำดับแบบแพนเค้ก (Pancake sorting) เป็นการเรียงลำดับสำหรับปัญหาทางคณิตศาสตร์ การเรียงแถวอย่างเป็นระเบียบของแพนเค้กในการสั่งซื้อโดยการเรียงตามขนาด โดยแผ่นที่ใหญ่สุดจะอยู่ข้างล่าง แผ่นเล็กสุดอยู่ข้างบน เมื่อไม้พายสามารถแทรกที่จุดใดๆในกองนั้นและใช้ในการพลิกแพนเค้กทั้งหมด จำนวนแพนเค้กจึงจำเป็นสำหรับการกำหนดจำนวนขั้นต่ำในการกล่าวถึงปัญหานี้ ผู้ที่กล่าวถึงรูปแบบการเรียงนี้เป็นคนแรก คือ American geometer Jacob E.
ดู สมมาตรและการเรียงลำดับแบบแพนเค้ก
ภูเขาไฟโกโตปักซี
ูเขาไฟโกโตปักซี (Cotopaxi) ตั้งอยู่ในประเทศเอกวาดอร์ ห่างจากเมืองหลวงกีโตเพียง 48 กิโลเมตร บนเทือกเขาแอนดีส ภูเขาไฟโกโตปักซีเป็นภูเขาไฟที่ยังไม่ดับที่อยู่สูงที่สุดในโลก มีความสูงกว่า 5,896 เมตร ปากกรวยมีรูปร่างสมมาตรทุกด้านบนยอดเขามีหิมะปกคลุมตลอดปี ระเบิดครั้งสุดท้ายเมื่อปี..
ระบบพิกัดเชิงขั้ว
ในระบบพิกัดเชิงขั้วกับขั้ว ''O'' และแกนเชิงขั้ว ''L'' ในเส้นสีเขียว จุดกับพิกัดรัศมี 3 และพิกัดมุม 60 องศาหรือ (3,60°) ในเส้นสีฟ้า จุด (4,210°) ในทางคณิตศาสตร์ ระบบพิกัดเชิงขั้ว (polar coordinate system) คือระบบค่าพิกัดสองมิติในแต่ละจุดบนระนาบถูกกำหนดโดยระยะทางจากจุดตรึงและมุมจากทิศทางตรึง จุดตรึง (เหมือนจุดกำเนิดของระบบพิกัดคาร์ทีเซียน) เรียกว่าขั้ว, และลากรังสีจากขั้วเข้ากับทิศทางตรึงคือแกนเชิงขั้ว ระยะทางจากขั้วเรียกว่าพิกัดรัศมีหรือรัศมี และมุมคือพิกัดมุม, มุมเชิงขั้ว, หรือมุมท.
ลวดลายในธรรมชาติ
รอยริ้วคลื่นปรากฏบนพื้นผิวครั้งแล้วครั้งเล่าเมื่อมีสภาวะที่เหมาะสม ลวดลายของเวลล์คามิเลียน (veiled chameleon) หรือ ''Chamaeleo calyptratus'' ซึ่งวิวัฒนาการมาเพื่ออำพราง และเพื่อบอกอารมณ์ และสถานะทางการผสมพันธุ์ ลวดลายในธรรมชาติ คือ รูปแบบที่มีความสม่ำเสมออย่างชัดเจนซึ่งพบได้ในโลกธรรมชาติ ลวดลายเหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ในบริบทที่ต่างกัน และบางครั้งสามารถถูกกำหนดรูปแบบโดยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ลวดลายทางธรรมชาติ ได้แก่ ความสมมาตร ต้นไม้ เกลียว ลำน้ำโค้งตวัด คลื่น โฟม เทสเซลเลชัน รอยแตก และ รอยริ้ว นักปรัชญากรีกได้ศึกษาลวดลายเช่นเดียวกัน โดยมีเพลโต พีทาโกรัส และเอมเพโดคลีส พยายามจะอธิบายอันดับในธรรมชาติ การเข้าใจเรื่องลวดลายซึ่งมองเห็นได้นั้นได้รับการพัฒนาตามกาลเวลา ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักฟิสิกส์ชาวเบลเยี่ยม โยเซป พลาโตได้ทำการทดลองกับฟิล์มฟองสบู่ทำให้เขาได้วางเกณฑ์แนวความคิดของพื้นผิวที่น้อยที่สุด นักชีววิทยาและศิลปินชาวเยอรมัน แอร์นสต์ เฮคเคล ได้วาดรูปสัตว์น้ำกว่าร้อยชนิดเพื่อให้ความสำคัญเรื่องความสมมาตร นักชีววิทยาชาวสก๊อต D'Arcy Thompson ริเริ่มการศึกษาลวดลายในทั้งในพืชและสัตว์และแสดงให้เห็นว่าสามารถใช้สมการง่าย ๆ เพื่ออธิบายการโตแบบวงก้นหอยได้ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ แอลัน ทัวริง ทำนายกลไกของการเกิดสัณฐานซึ่งทำให้เกิดลายจุดและรอยริ้ว นักชีววิทยาชาวฮังการี Aristid Lindenmayer และนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสอเมริกัน เบอนัว มานดัลบรอ แสดงว่าคณิตศาสตร์ของแฟร็กทัลสามารถสร้างลวดลายในการเจริญเติบโตของพืช คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และ เคมี สามารถอธิบายลวดลายในธรรมชาติในระดับที่ต่างกัน ลวดลายในสิ่งมีชีวิตอธิบายได้โดยวิธีทางชีววิทยาด้านการคัดเลือกโดยธรรมชาติ และ การคัดเลือกทางเพศ การศึกษาของการเกิดลวดลายแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์เพื่อจำลองลวดลายในแบบต่าง ๆ .
วงศ์กุหลาบ
Rosaceae หรือ วงศ์กุหลาบ เป็นวงศ์ของพืช มีประมาณ 3000 ชนิด ใน 100 สกุล ชื่อวงศ์มาจากสกุล Rosa สกุลใหญ่สุดคือ Sorbus, Crataegus และ Cotoneaster.
หนอนตัวแบน
หนอนตัวแบน หรือ แพลทีเฮลมินธิส เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ลักษณะเด่นคือ เป็นไฟลัมแรกที่มีสมมาตรแบบซ้ายขวา ลำตัวแบนจากบนลงล่าง (dorso-ventrally) ลักษณะคล้ายริบบิ้น ผิวลำตัวอ่อนนิ่ม ยกเว้นพวกที่เป็นปรสิตจะมีคิวติเคิลหนา พบประมาณ 25000 ชนิด จัดอยู่ในสัตว์กลุ่มที่ไม่มีช่องว่างลำตัวที่แท้จริง (Accoelomate) กลุ่มใหญ่ที่สุด สามารถพบได้ทั้งในทะเล น้ำจืด บนบก ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตแบบปรสิต (parasitic) บางวงศ์ดำรงชีวิตอิสระ (free living) ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก และสั้น ยกเว้นพยาธิตัวตืด ขนาดและความยาวแตกต่างกันไปตามแต่ชนิด พบยาวที่สุดกว่า 20 เมตร.
ออร์บิทัลเชิงโมเลกุล
ออร์บิทัลเชิงโมเลกุล (Molecular Orbitals; MO) เป็นฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ที่อธิบายพฤติกรรมคล้ายคลื่นของอิเล็กตรอนในโมเลกุลโดยฟังก์ชันนี้มีความสำคัญในการคำนวณสมบัติทางเคมีและสมบัติทางกายภาพ อาทิ ความน่าจะเป็นที่จะพบอิเล็กตรอนในบริเวณต่างๆรอบโมเลกุล คำว่า "ออร์บิทัลเชิงโมเลกุล" ถูกนำใช้ครั้งแรกโดย โรเบิร์ต มัลลิเกน (Robert S.
ดู สมมาตรและออร์บิทัลเชิงโมเลกุล
ผลิกศาสตร์
ผลิกศาสตร์ (Crystallography) คือศาสตร์ที่ศึกษาการเรียงตัวของอะตอมในของแข็ง คำนี้ในการใช้งานเดิมจะหมายถึงศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับผลึก คำว่า ผลิก มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า ผลึก ก่อนที่จะมีพัฒนาการของผลิกศาสตร์ที่ใช้การเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ การศึกษาผลึกกระทำโดยใช้เรขาคณิตของผลึก โดยจะมีการวัดมุมของผลึกเทียบกับมุมอ้างอิงทางทฤษฎี และหาสมมาตรของผลึกนั้น ๆ ในปัจจุบันผลิกศาสตร์ใช้การวิเคราะห์รูปแบบของการเลี้ยวเบนที่เกิดจากการยิงลำแสงบางอย่างให้กับผลึกนั้น แม้ว่าลำแสงที่ใช้ไม่จำเป็นต้องเป็นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า แต่ตัวเลือกหลักมักเป็นรังสีเอ็กซ.
จุดผลิตน้ำมันสูงสุด
กราฟแสดงการผลิตน้ำมันโลก ทั้งข้อมูลตามประวัติและข้อมูลอนาคตตามที่คาดหมาย และตามที่เสนอโดยนักธรณีวิทยา ดร.
ดู สมมาตรและจุดผลิตน้ำมันสูงสุด
ทรงยี่สิบหน้า
ทรงยี่สิบหน้าปรกติ ทรงยี่สิบหน้า (icosahedron, พหูพจน์: -dra) เป็นคำทั่วไปที่ใช้เรียกทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่มี 20 หน้า ทรงยี่สิบหน้าอาจเป็นรูปทรงที่สมมาตรหรือไม่สมมาตรก็ได้ ทรงยี่สิบหน้าปรกติ (regular icosahedron) เป็นทรงหลายหน้าที่ประกอบด้วยหน้ารูปสามเหลี่ยมด้านเท่าทั้ง 20 หน้า มี 12 จุดยอด 30 ขอบ โดยที่ทุกจุดยอดจะล้อมรอบด้วยรูปสามเหลี่ยมจำนวน 5 หน้า ทรงนี้เป็นหนึ่งในทรงตันเพลโต (Platonic solid) และเมื่อกล่าวถึงทรงยี่สิบหน้าขึ้นมาลอยๆ จะมีความหมายโดยนัยเป็นทรงยี่สิบหน้าปรกติ สำหรับทรงยี่สิบหน้าปรกติ สามารถเรียกได้อีกอย่างว่า พีระมิดคู่ห้าเหลี่ยมไจโรอีลองเกต (gyroelongated pentagonal dipyramid).
ทรงลูกบาศก์
ทรงลูกบาศก์ ทรงลูกบาศก์ (cube) เป็นทรงหลายหน้า (polyhedron) เป็นรูปทรง 3 มิติ ที่ประกอบด้วยหน้ารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสทั้ง 6 หน้า โดยแต่ละจุดยอด (vertex) จะล้อมรอบด้วยหน้ารูปสี่เหลี่ยมเป็นจำนวน 3 หน้าทุกจุด ทรงนี้มี 8 จุดยอด 12 ขอบ และเป็นหนึ่งในทรงตันเพลโต (Platonic solid) ทรงลูกบาศก์เป็นทรงหลายหน้าที่คู่กันกับทรงแปดหน้า มีสมมาตรแบบทรงลูกบาศก์ (หรือเรียกว่าสมมาตรแบบทรงแปดหน้า Oh) ทรงลูกบาศก์คือรูปทรงไฮเพอร์คิวบ์ (hypercube) ที่อยู่บนสามมิติ ทรงลูกบาศก์สามารถเรียกได้ในชื่ออื่นๆ เช่น ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส, ปริซึมสี่เหลี่ยมจัตุรัส, ทรงหกหน้าปรกติ (regular hexahedron), เทรปโซฮีดรอนสามเหลี่ยม (trigonal trapezohedron) เป็นต้น.
ทรงสามสิบหน้ารอมบิกปลายตัด
ทรงสามสิบหน้ารอมบิกปลายตัด ทรงสามสิบหน้ารอมบิกปลายตัด (truncated rhombic triacontahedron) เป็นทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่ประกอบด้วยรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า 12 หน้า และหน้ารูปหกเหลี่ยมด้านเท่ามุมไม่เท่า 30 หน้า รวม 42 หน้า รูปทรงนี้มี 80 จุดยอด และ 120 ขอบ รูปทรงนี้เกิดจากการนำทรงสามสิบหน้ารอมบิก (rhombic triacontahedron) มาตัดปลายตรงจุดยอดที่มุมแหลมของหน้ารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่มาบรรจบกันเพียง 12 จุดยอด จนเกิดเป็นรูปห้าเหลี่ยม และหน้ารูปสี่เหลี่ยมนั้นก็จะกลายเป็นรูปหกเหลี่ยม หน้ารูปหกเหลี่ยมนั้นมีความยาวด้านเท่ากัน แต่มุมภายในไม่เท่ากัน และมีสมมาตรแบบพับครึ่ง มุมที่อยู่บนจุดยอด 6.6.6 จำนวน 2 มุม จะเท่ากับ cos−1 (−1/√5) ≈ 116.565° ส่วนอีก 4 มุมที่เหลือบนจุดยอด 5.6.6 จะเท่ากับ 121.717° โดยประมาณ รูปทรงนี้มีความคล้ายกับทรงยี่สิบหน้าปลายตัด (truncated icosahedron) เป็นอย่างมาก ซึ่งมีหน้ารูปห้าเหลี่ยม 12 รูปเท่ากัน แต่มีหน้ารูปหกเหลี่ยมเพียง 20 หน้า ไฟล์:Truncated rhombic triacontahedron.png|ทรงสามสิบหน้ารอมบิกปลายตัด ไฟล์:Truncated icosahedron.png|ทรงยี่สิบหน้าปลายตั.
ดู สมมาตรและทรงสามสิบหน้ารอมบิกปลายตัด
ทรงสิบสองหน้า
ทรงสิบสองหน้าปรกติ ทรงสิบสองหน้า (dodecahedron, พหูพจน์: -dra) เป็นคำทั่วไปที่ใช้เรียกทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่มี 12 หน้า ทรงสิบสองหน้าอาจเป็นรูปทรงที่สมมาตรหรือไม่สมมาตรก็ได้ ทรงสิบสองหน้าปรกติ (regular dodecahedron) เป็นทรงหลายหน้าที่ประกอบด้วยหน้ารูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า 12 หน้า มี 20 จุดยอด 30 ขอบ ทรงสิบสองหน้าปรกติ เป็นหนึ่งในทรงตันเพลโต (Platonic solid).
ทรงสิบสองหน้ารอมบิกปลายตัด
ทรงสิบสองหน้ารอมบิกปลายตัด ทรงสิบสองหน้ารอมบิกปลายตัด (truncated rhombic dodecahedron) เป็นทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่ประกอบด้วยรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 6 หน้า และหน้ารูปหกเหลี่ยมด้านเท่ามุมไม่เท่า 12 หน้า รวม 18 หน้า รูปทรงนี้มี 32 จุดยอด และ 48 ขอบ รูปทรงนี้เกิดจากการนำทรงสิบสองหน้ารอมบิก (rhombic dodecahedron) มาตัดปลายตรงจุดยอดที่มุมแหลมของหน้ารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่มาบรรจบกันเพียง 6 จุดยอด จนเกิดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส และหน้ารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนนั้นก็จะกลายเป็นรูปหกเหลี่ยม หน้ารูปหกเหลี่ยมนั้นมีความยาวด้านเท่ากัน แต่มุมภายในไม่เท่ากัน และมีสมมาตรแบบพับครึ่ง มุมที่อยู่บนจุดยอด 6.6.6 จำนวน 2 มุม จะเท่ากับ cos−1 (−1/3) ≈ 109.47° ส่วนอีก 4 มุมที่เหลือบนจุดยอด 4.6.6 จะเท่ากับ 125.26° โดยประมาณ รูปทรงนี้มีความคล้ายกับทรงแปดหน้าปลายตัด (truncated octahedron) เป็นอย่างมาก ซึ่งมีหน้ารูปสี่เหลี่ยม 6 รูปเท่ากัน แต่มีหน้ารูปหกเหลี่ยมเพียง 8 หน้า ไฟล์:Truncated rhombic dodecahedron2.png|ทรงสิบสองหน้ารอมบิกปลายตัด ไฟล์:Truncated octahedron.png|ทรงแปดหน้าปลายตั.
ดู สมมาตรและทรงสิบสองหน้ารอมบิกปลายตัด
ทรงสิบหน้า
ทรงสิบหน้า (decahedron, พหูพจน์: -dra) เป็นคำทั่วไปที่ใช้เรียกทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่มี 10 หน้า ทรงสิบหน้าอาจเป็นรูปทรงที่สมมาตรหรือไม่สมมาตรก็ได้ ตัวอย่างทรงสิบหน้าที่มีทุกหน้าเป็นรูปหลายเหลี่ยมปรกติ (regular polygon) เช่น.
ทรงสี่หน้า
ทรงสี่หน้าปรกติ ทรงสี่หน้า (tetrahedron, พหูพจน์: -dra) เป็นคำทั่วไปที่ใช้เรียกทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่มี 4 หน้า ทรงสี่หน้าอาจเป็นรูปทรงที่สมมาตรหรือไม่สมมาตรก็ได้ ทรงสี่หน้าปรกติ (regular tetrahedron) เป็นทรงหลายหน้าที่ประกอบด้วยหน้ารูปสามเหลี่ยมด้านเท่า 4 หน้า มี 4 จุดยอด 6 ขอบ ทรงสี่หน้าปรกติ เป็นหนึ่งในทรงตันเพลโต (Platonic solid) หรืออาจเรียกได้ว่าเป็น พีระมิดสามเหลี่ยม (triangular pyramid).
ทรงหกหน้า
ทรงหกหน้า (hexahedron, พหูพจน์: hexahedra) เป็นคำทั่วไปที่ใช้เรียกทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่มี 6 หน้า ทรงหกหน้าอาจเป็นรูปทรงที่สมมาตรหรือไม่สมมาตรก็ได้.
ทรงห้าหน้า
ทรงห้าหน้า (pentahedron, พหูพจน์: -dra) เป็นคำทั่วไปที่ใช้เรียกทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่มี 5 หน้า ทรงห้าหน้าอาจเป็นรูปทรงที่สมมาตรหรือไม่สมมาตรก็ได้ ตัวอย่างทรงห้าหน้าที่สามารถเป็นไปได้ เช่น.
ทรงแปดหน้า
ทรงแปดหน้าปรกติ ทรงแปดหน้า (octahedron, พหูพจน์: -dra) เป็นคำทั่วไปที่ใช้เรียกทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่มี 8 หน้า ทรงแปดหน้าอาจเป็นรูปทรงที่สมมาตรหรือไม่สมมาตรก็ได้ มีจำนวนจุดยอดและขอบที่ไม่แน่นอนและอาจมีมากที่สุดถึง 12 จุดยอด (vertex) และ 18 ขอบ (edge) ตัวอย่างรูปทรงเช่น.
ทรงเจ็ดหน้า
ทรงเจ็ดหน้า (heptahedron, พหูพจน์: -dra) เป็นคำทั่วไปที่ใช้เรียกทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่มี 7 หน้า ทรงเจ็ดหน้าอาจเป็นรูปทรงที่สมมาตรหรือไม่สมมาตรก็ได้ ตัวอย่างทรงเจ็ดหน้าที่สามารถเป็นไปได้ เช่น.
ทิเชียน
“ภาพเหมือน” (ราว ค.ศ. 1488) ภาพเหมือนดยุ๊คแห่งเวนิสมาร์คานโตนิโอ เทรวิซานิ (Marcantonio Trevisani) ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่บูดาเพช ประเทศฮังการี เทพดานาเอ” (Danaë) ภาพหนึ่งจากหลายภาพจากตำนานเทพที่ทิเชียนเขียน จ้างโดยพระเจ้าฟิลลิปที่ 2 แห่งสเปนใน ค.ศ.
ความน่าจะเป็นเท่ากัน
วามน่าจะเป็นเท่ากัน (equiprobability) คือมโนทัศน์ทางปรัชญาในทฤษฎีความน่าจะเป็น ที่ยอมให้กำหนดความน่าจะเป็นปริมาณเท่า ๆ กันแก่ผลที่จะออกมา เมื่อผลเหล่านั้นได้ถูกพิจารณาแล้วว่ามีความเป็นไปได้เท่ากัน (equipossibility) ในการรับรู้บางสิ่ง บทบัญญัติอันเป็นที่รู้จักดีที่สุดของกฎดังกล่าวคือ หลักแห่งความไม่แตกต่าง (principle of indifference) ของลาปลัส ซึ่งกล่าวไว้ว่า "เราไม่มีสารสนเทศอื่นใดนอกเหนือไปจาก" เหตุการณ์ไม่เกิดร่วมจำนวน N เหตุการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ เราจึงจัดการกำหนดความน่าจะเป็นของแต่ละเหตุการณ์เป็น การกำหนดความน่าจะเป็นแบบอัตวิสัยนี้ใช้เฉพาะในบางสถานการณ์อย่างเช่นการกลิ้งลูกเต๋าหรือการออกสลากกินแบ่ง เนื่องจากการทดลองเหล่านี้สนับสนุนโครงสร้างสมมาตร และสถานะความรู้ของผู้กำหนดจะต้องไม่เปลี่ยนแปลงโดยชัดแจ้งภายใต้สมมาตรนี้.
ดู สมมาตรและความน่าจะเป็นเท่ากัน
นักเต้นประกอบ
หางเครื่องในวงดนตรีลูกทุ่ง นักเต้นประกอบ คือนักเต้นหรือกลุ่มของนักเต้นที่เต้นรำพร้อมกับศิลปิน หรือเต้นรำเป็นฉากหลังในการแสดงทางดนตรีอย่างคอนเสิร์ตหรือมิวสิกวิดีโอ การเคลื่อนไหวของนักเต้นประกอบมักจะมีการจัดท่าเต้นให้สมมาตรกับศิลปินหรือเต้นพร้อมกันทั้งหมดโดยเข้ากับจังหวะของดนตรี ศิลปินนักร้องบางท่านเคยทำงานเป็นนักเต้นประกอบมาก่อนที่จะได้เป็นนักร้องในปัจจุบัน.
โซเดียมคลอไรด์
ซเดียมคลอไรด์ (Sodium chloride, สูตรเคมี: NaCl) มีชื่อที่เรียกทั่วไปดังนี้ เกลือแกง หรือ ฮาไลต์ เป็นสารประกอบเคมี โซเดียมคลอไรด์เป็นเกลือที่มีบทบาทต่อความเค็มของมหาสมุทร และของเหลวภายนอกเซลล์ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เป็นส่วนประกอบหลักในเกลือที่กินได้ มันถูกใช้อย่างกว้างขวางในการเป็นเครื่องปรุงรส และใช้ในการถนอมอาหาร.
เมธีนามีน
มธีนามีน หรือ เฮกซะเมทิลีนเตตรามีน (Methenamine หรือ Hexamethylenetetramine) เป็นสารประกอบอินทรีย์เฮเทอโรไซคลิก มีสูตรโครงสร้างคือ (CH2)6N4 ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ละลายได้ดีในน้ำและตัวทำละลายอินทรีย์ที่มีขั้ว โครงสร้างโมเลกุลมีลักษณะคล้ายกรงเหมือนกับอะดาแมนแทน เมธีนามีนถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการสังเคราะห์สารประกอบเคมีอื่น เช่น พลาสติก ยา สารเติมแต่งยาง สารนี้มีจุดระเหิด ณ สภาวะสุญญากาศที่ 280 องศาเซลเซียส เมธีนามีนเป็นสารที่ได้จากการเกิดปฏิกิริยาระหว่างงฟอร์มาลดีไฮด์กับแอมโมเนีย ถูกค้นพบโดยอเล็กซานเดอร์ บัทเลรอฟ เมื่อ..
เดคะวาเนเดต
รูปเหลี่ยมหลายหน้าแสดงโครงสร้างของเดคะวาเนเดต เดคะวาเนเดต (decavanadate) เป็นพอลิออกโซเมทัลเลต ที่ประกอบไปด้วยอะตอมของวาเนเดียมจำนวน 10 อะตอม มีสูตรทั่วไปเป็น 6− สามารถพบได้ในรูปของสารประกอบอนินทรีย์ประเภทเกลือ อาทิ โซเดียมเดคะวาเนเดต (Na6(H2O)n) แอมโมเนียมเดคะวาเนเดต ((NH4)6 ·6H2O) โพแทสเซียมเดคะวาเนเดต (K6·9H2O) เป็นต้น.
เนื้อเพลง
Play เนื้อเพลง หรือ เนื้อร้อง เป็นชุดของคำหลายคำที่รวมกันกลายเป็นเพลง ปกติจะแบ่งเป็นท่อน ๆ แบบร้อยกรอง และท่อนสร้อย เนื้อเพลงในระดับอุปรากรเรียกว่า ลิเบร็ตโต (libretto) ความหมายของเนื้อเพลงอาจชัดเจนหรือบอกเป็นนัย ๆ เนื้อเพลงบางเนื้อเพลงอาจมีความหมายเป็นนามธรรมจนไม่สามารถเข้าใจได้ และหากเป็นเช่นนั้น รายละเอียดของเนื้อเพลงจะให้ความสำคัญที่รูปแบบ การออกเสียง ความคล้องจอง และสมมาตรของสำนวน.