โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สภาฐานันดร (ประเทศฝรั่งเศส)

ดัชนี สภาฐานันดร (ประเทศฝรั่งเศส)

นันดร (Etats Généraux; States-General/Estates-General) เป็นสภานิติบัญญัติในระบอบเก่าของราชอาณาจักรฝรั่งเศส ประกอบด้วยสามฐานันดรแห่งราชอาณาจักร (Three Estates of the Realm) คือ นักบวช (those who pray) ชนชั้นขุนนาง (those who fight) และสามัญชน (those who work) แต่ละฐานันดรมีการประชุมแยกกัน แต่เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการเรียกประชุมและยุบสภาฐานันดร กับทั้งสภาฐานันดรไม่มีอำนาจให้ความเห็นชอบพระราชโองการเกี่ยวกับภาษีอากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่มีอำนาจนิติบัญญัติเลย เพียงตั้งขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือของพระมหากษัตริย์เท่านั้น สภาฐานันดรจึงไม่มีอำนาจเป็นของตนอย่างแท้จริง เป็นข้อต่างจากรัฐสภาแห่งอังกฤษ สภาฐานันดรแห่งฝรั่งเศสเทียบได้กับสถาบันอื่น ๆ ในยุโรป เช่น สภาฐานันดรแห่งเนเธอร์แลนด์ รัฐสภาแห่งอังกฤษ สภาฐานันดรแห่งสกอตแลนด์ สภาฐานันดรแห่งสเปน สภานิติบัญญัติแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และสภานิติบัญญัติประจำรัฐในประเทศเยอรมนี.

10 ความสัมพันธ์: พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศสการประชุมสภาฐานันดร ค.ศ. 1789มงแต็สกีเยอระบอบเก่าราชอาณาจักรฝรั่งเศสรายชื่อสนธิสัญญาสี่สิบห้าองครักษ์สงครามวิปลาสฌ็อง ซีลแว็ง บายี

พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส (Louis XVI de France, หลุยส์แซซเดอฟร็องส์; 5 กันยายน ค.ศ. 1754 – 21 มกราคม ค.ศ. 1793) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสและนาวาร์ ในช่วงต้นของสมัยใหม่ พระบิดาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 คือ เจ้าชายหลุยส์ โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส ผู้เป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวและทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงในพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ซึ่งสิ้นพระชนม์ในปี..

ใหม่!!: สภาฐานันดร (ประเทศฝรั่งเศส)และพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส (Louis XVIII de France; หลุยส์ดีซุยต์เดอฟร็องส์; หลุยส์ สตานิสลาส กซาวีเย, 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1755 - 16 กันยายน ค.ศ. 1824) ซึ่งทรงเป็นที่รู้จักว่า "ผู้ปรารถนา" (le Désiré) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์บูร์บงผู้ครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสและนาวาร์ตั้งแต..

ใหม่!!: สภาฐานันดร (ประเทศฝรั่งเศส)และพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

การประชุมสภาฐานันดร ค.ศ. 1789

ีเปิดสมัยการประชุมสภาฐานันดร ณ พระราชวังแวร์ซาย กรุงปารีส 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1789 การประชุมสภาฐานันดร..

ใหม่!!: สภาฐานันดร (ประเทศฝรั่งเศส)และการประชุมสภาฐานันดร ค.ศ. 1789 · ดูเพิ่มเติม »

มงแต็สกีเยอ

ร์ล-หลุยส์ เดอ เซอกงดา บารอนแห่งลาแบรดและมงแต็สกีเยอ (Charles-Louis de Secondat, baron de La Brède et de Montesquieu) หรือรู้จักกันในชื่อ มงแต็สกีเยอ (Montesquieu) เป็นนักวิพากษ์สังคมและนักคิดทางการเมืองชาวฝรั่งเศสผู้มีชีวิตอยู่ในยุคเรืองปัญญา มีชื่อเสียงเกี่ยวกับทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจที่พูดถึงในการปกครองสมัยใหม่และใช้ในรัฐธรรมนูญในหลายประเทศ และเป็นผู้ที่ทำให้คำว่าระบบเจ้าขุนมูลนายและจักรวรรดิไบแซนไทน์ใช้กันอย่างแพร่หล.

ใหม่!!: สภาฐานันดร (ประเทศฝรั่งเศส)และมงแต็สกีเยอ · ดูเพิ่มเติม »

ระบอบเก่า

ระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในฐานะ “พระสุริยเทพ” ระบอบเก่า หรือ อองเซียงเรฌีม (Ancien Régime) โดยทั่วไปหมายถึงระบบแบบราชาธิปไตย อภิชนาธิปไตย สังคม และการเมืองที่ใช้ในฝรั่งเศสภายใต้ราชวงศ์วาลัวและราชวงศ์บูร์บงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึง 18 โครงสร้างทางการบริหารและทางการสังคมของระบอบเก่าเป็นผลมาจากระบบการบริหารของสถาบันพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสในสมัยกลางที่สิ้นสุดในการปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อ ค.ศ. 1789 ระบอบเก่าของประเทศอื่น ๆ ในยุโรปก็มีประวัติความเป็นมาคล้ายคลึงกัน แต่มีผลบั้นปลายที่แตกต่างกันบางประเทศก็สิ้นสุดลงด้วยระบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บางประเทศก็แตกแยกออกไปจากสงครามและการปฏิวัติ อำนาจระบอบเก่าอยู่บนพื้นฐานสามประการ ได้แก่ พระมหากษัตริย์ นักบวช และชนชั้นขุนนาง ฐานันดรแห่งราชอาณาจักร (Estates of the realm) ก็แบ่งออกเป็นสามเช่นกัน คือ ฐานันดรที่หนึ่ง (First Estate) คือนักบวชโรมันคาทอลิก, ฐานันดรที่สอง (Second Estate) คือชนชั้นขุนนาง และ ฐานันดรที่สาม (Third Estate) คือสามัญชน โดยทั่วไปแล้วระบอบเก่าหมายถึงระบอบการปกครองใดใดที่มีลักษณะตามที่กล่าวแล้ว ระบอบเก่ารักษาลักษณะหลายประการของระบบเจ้าขุนมูลนายที่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 8 โดยเฉพาะในการใช้อภิสิทธิ์ของขุนนางและชนชั้นเจ้านายที่สนับสนุนโดยปรัชญาเทวสิทธิราชย์ ความแตกต่างอยู่ตรงที่อำนาจการปกครองที่เคยเป็นของเจ้าครองนครต่างๆ มาก่อนกลายเป็นอำนาจของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เพิ่มมากขึ้น วลีนี้ใช้มาตั้งแต่ยุคเรืองปัญญา (พบในเอกสารครั้งแรกในภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1794) ในความหมายในทางลบ เช่นเดียวกับการใช้คำว่า ยุคมืด ที่กลายมาเรียกกันว่า สมัยกลาง แนวคิดของการใช้คำว่าระบอบเก่าเป็นการแฝงความหมายเป็นนัยยะว่าเป็นระบอบที่ไม่เหมาะสมในการปฏิบัติ และควรจะเปลี่ยนแปลงไปเป็น ระบอบใหม่ (New Order) คำว่า ระบอบเก่า คิดขึ้นโดยนักปฏิวัติฝรั่งเศสเพื่อเผยแพร่สร้างความเชื่อถือในเหตุผลของการปฏิวัติและทำลายชื่อเสียงของระบอบการปกครองที่เป็นอยู่ ซึ่งเป็นการใช้ในทางที่มีอคติในการบรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ สำหรับนักประพันธ์บางคนคำนี้เป็นคำที่ทำให้เกิดความรำลึกถึงเหตุการณ์บางอย่าง เช่นที่ตาล์ลีย์รองด์ (Talleyrand) กล่าวว่า: ภาษาสเปนใช้คำว่า “Antiguo Régimen” แต่แม้ว่าสเปนจะได้รับผลกระทบกระเทือนจากการปฏิวัติฝรั่งเศสและผลที่ตามต่อมาแต่ความเปลี่ยนแปลงในสเปนไม่รุนแรงเท่ากับการเปลี่ยนแปลงในฝรั่ง.

ใหม่!!: สภาฐานันดร (ประเทศฝรั่งเศส)และระบอบเก่า · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรฝรั่งเศส

ราชอาณาจักรฝรั่งเศส (Royaume de France) คือประเทศฝรั่งเศสในสมัยกลางและต้นสมัยใหม่ ก่อนที่จะเปลี่ยนการปกครองมาเป็นแบบสาธารณรัฐดังปัจจุบัน ถือเป็นรัฐที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดรัฐหนึ่งในยุโรป เป็นประเทศมหาอำนาจตั้งแต่ปลายสมัยกลางและสงครามร้อยปี และกลายเป็นจักรวรรดิที่แผ่ขยายอาณานิคมไปทั่วโลกแม้แต่ในทวีปอเมริกาเหนือ ราชอาณาจักรฝรั่งเศสมีต้นกำเนิดมาจากราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก ซึ่งเป็นรัฐด้านตะวันตกของจักรวรรดิการอแล็งเฌียงตามสนธิสัญญาแวร์เดิง และอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงจนถึงปี..

ใหม่!!: สภาฐานันดร (ประเทศฝรั่งเศส)และราชอาณาจักรฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสนธิสัญญา

การลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายในห้องกระจกของพระราชวังแวร์ซายในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919เพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รายชื่อสนธิสัญญา เป็นรายชื่อข้อตกลงทางประวัติศาสตร์ฉบับที่สำคัญ ระหว่างรัฐ กองทัพ รัฐบาล และกลุ่มชน.

ใหม่!!: สภาฐานันดร (ประเทศฝรั่งเศส)และรายชื่อสนธิสัญญา · ดูเพิ่มเติม »

สี่สิบห้าองครักษ์

ี่สิบห้าองครักษ์ (The forty-five guards) คือทหารองครักษ์จำนวนสี่สิบห้าคนที่ได้รับเลือกมาโดยฌอง หลุยส์ เดอ โนกาเรต์ เดอ ลา วาแลต ดยุคแห่งเอแปร์นง (Jean Louis de Nogaret de La Valette) เพื่อให้มาพิทักษ์พระเจ้าอองรีที่ 3 แห่งฝรั่งเศสระหว่างวิกฤติการณ์ของสงครามสามอองรี ทหารองครักษ์สี่สิบห้าคนที่ได้รับเลือกมาเป็นขุนนางชั้นรอง (บางคนมาจากกาสคอญ) ที่บ้างก็เป็นเจ้าของม้าเพียงตัวเดียวและแผ่นดินเพียงสองสามเอเคอร์สำหรับเลี้ยงตัวเอง เมื่อได้รับเลือกมาแล้วทหารองครักษ์ก็ได้ค่าจ้างอย่างสูงเป็นการแลกเปลี่ยนกับการรักษาความปลอดภัยให้แก่พระเจ้าอองรีที่ 3 ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงโดยการอยู่ยามครั้งละสิบห้าคน หลังจากที่สันนิบาตคาทอลิกทำการปฏิวัติในปารีส พระเจ้าอองรีก็จำต้องเสด็จหนีไปยังบลัวส์ ที่ทรงใช้เป็นที่ตั้งมั่นวางแผนยึดอำนาจคืนจากรัฐสภาทั่วไป โดยการให้ทหารองครักษ์สังหารอองรีที่ 1 ดยุคแห่งกีส เมื่อดยุคเดินทางมาเฝ้าพระเจ้าอองรีที่พระราชวังบลัวส์เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1588 และน้องชายหลุยส์ที่ 2 คาร์ดินัลแห่งกีสในวันต่อมา หลังจากที่พระเจ้าอองรีที่ 3 เองถูกลอบปลงพระชนม์โดยฌาคส์ เคลมงต์ (Jacques Clément) ราชบัลลังก์ฝรั่งเศสก็ตกไปเป็นของอองรีแห่งนาวาร์ กององครักษ์ก็ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้แก่พระองค์ต่อมาจนกระทั่งเสด็จสวรรคต ที่อาจจะเป็นการถูกลอบปลงพระชนม์ เรื่องราวของกององครักษ์นี้เป็นแรงบันดาลใจให้อาแล็กซ็องดร์ ดูว์มาเขียนนิยาย The Forty-Five Guardsmen ในปี..

ใหม่!!: สภาฐานันดร (ประเทศฝรั่งเศส)และสี่สิบห้าองครักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามวิปลาส

แผนที่อาณาจักรหลวง, อาณาจักรดยุคอิสระ และอาณาจักรลอร์ดต่างๆ ใน ค.ศ. 1477 ไม่นานก่อนที่จะเกิด “สงครามวิปลาส” สงครามวิปลาส (guerre folle, Mad War หรือ War of the Public Weal) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นในยุคกลางที่เป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มขุนนางผู้ครองนครกับราชบัลลังก์ฝรั่งเศส สงครามเกิดขึ้นในสมัยการปกครองในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของแอนน์แห่งฝรั่งเศส (Anne of France) ในช่วงหลังจากการเสด็จสวรรคตของ พระเจ้าหลุยส์ที่ 11 จนถึงช่วงเวลาก่อนหน้าที่พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 จะทรงบรรลุนิติภาวะ (ระหว่างปี ค.ศ. 1485 จนถึง ค.ศ. 1488) ผู้นำของกลุ่มขุนนางก็ได้แก่หลุยส์ที่ 2 ดยุคแห่งออร์เลอองส์ ผู้เป็นพระญาติของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 (ผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส); ฟรองซัวส์ที่ 2 แห่งบริตานี; เรอเนที่ 2 ดยุคแห่งลอร์แรน; อแลง ดาลเบรต์ (Alain d'Albret); ฌอง เดอ ชาลอง, เจ้าชายแห่งออเรนจ์; เคานท์ชาร์ลส์แห่งอองกูเลม และผู้สนับสนุนอื่นๆ การปฏิวัติต่อต้านอำนาจของราชบัลลังก์ฝรั่งเศสนี้ได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศที่เป็นศัตรูของฝรั่งเศสที่รวมทั้งอังกฤษ สเปน และออสเตรีย ผลหลักของสงครามคือการผนวกบริตานีเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรฝรั่ง.

ใหม่!!: สภาฐานันดร (ประเทศฝรั่งเศส)และสงครามวิปลาส · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง ซีลแว็ง บายี

็อง ซีลแว็ง บายี (Jean Sylvain Bailly) เป็นนักดาราศาสตร์, นักคณิตศาสตร์, สมาชิกฟรีเมสัน และเป็นผู้นำทางการเมืองในช่วงสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส เขาเป็นนายกเทศมนตรีกรุงปารีสระหว่าง..

ใหม่!!: สภาฐานันดร (ประเทศฝรั่งเศส)และฌ็อง ซีลแว็ง บายี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Estates General (France)Estates-General of FranceFrench Estates-GeneralFrench States-GeneralÉtats Générauxรัฐสภาสามัญแห่งฝรั่งเศสรัฐสภาทั่วไปแห่งฝรั่งเศสสภาฐานันดรแห่งฝรั่งเศส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »