เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

สภากรรมการองคมนตรี

ดัชนี สภากรรมการองคมนตรี

กรรมการองคมนตรี เป็นคณะที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแต่งตั้งองคมนตรี จำนวน 40 คน ตั้งเป็น สภากรรมการองคมนตรี ทำหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมาย ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งองคมนตรี ขึ้นใหม่ทุกปีในวันที่ 4 เมษายน เนื่องในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ในขณะที่กฎหมายกำหนดให้องคมนตรี ดำรงตำแหน่งจนถึงสิ้นรัชกาล และมีกำหนดหลังจากนั้นอีก 6 เดือน เมื่อสิ้นรัชกาลจึงมีองคมนตรีมากถึง 233 คน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาขึ้นสามคณะ ประกอบด้วย อภิรัฐมนตรีสภา เสนาบดีสภา และ สภากรรมการองคมนตรี โดยอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติองคมนตรี พุทธศักราช ๒๔๗๐ ซึ่งทรงตราขึ้นมาใช้บังคับแทน พระราชบัญญัติปรีวีเคาน์ซิล พุทธศักราช ๒๔๑๗ ประกอบด้วยกรรมการองคมนตรีจำนวน 40 คน ซึ่งจะทรงตั้งจากองคมนตรี มีหน้าที่ประชุมปรึกษาหารือ ถวายความเห็นเกี่ยวกับสวัสดิภาพแห่งบ้านเมืองและประชาชน โดยกำหนดให้กรรมการองคมนตรี อยู่ในตำแหน่งได้ครั้งละ 3 ปี หลังจากนั้นอาจจะทรงแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งซ้ำอีกก็ได้ สภากรรมการองคมนตรี ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีทั้งสิ้น 2 ชุด คือ ชุดที่หนึ่ง ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 2 กันยายน 2470 - 31 มีนาคม 2474 และชุดที่สอง ตั้งแต่ 1 เมษายน 2474 - 31 มีนาคม 2476 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.

สารบัญ

  1. 7 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล)รายนามศิษย์เก่าจากโรงเรียนอัสสัมชัญความเคลื่อนไหวสู่การปฏิวัติสยามคณะองคมนตรีไทยเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 — 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 7 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 น.

ดู สภากรรมการองคมนตรีและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)

ตราจารย์วิสามัญ มหาอำมาตย์ตรี พระยามานวราชเสวี (นามเดิม ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) (18 กันยายน พ.ศ. 2433 - 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527) อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 9 เป็นเวลา 15 ปี อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา อดีตอธิบดีกรมอัยการ เลขาธิการเนติบัณฑิตยสภา อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตสมาชิกสภากรรมการองคมนตรีในรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรีและองคมนตรีในรัชกาลที่ 9 และศาสตราจารย์วิสามัญแห่งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง.

ดู สภากรรมการองคมนตรีและพระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)

พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล)

ันเอก พระยาศรีวิสารวาจา (นามเดิม เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล: 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439 – 23 มีนาคม พ.ศ. 2511) อดีตอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, อดีตปลัดทูลฉลอง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นหนึ่งในผู้ร่างกฎหมายที่จะนำมาใช้เป็นรัฐธรรมนูญถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวร่วมกับเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ และนายเรมอนต์ บี สตีเวนส์ ซึ่งทรงมีกำหนดที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญในวันสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.

ดู สภากรรมการองคมนตรีและพระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล)

รายนามศิษย์เก่าจากโรงเรียนอัสสัมชัญ

รายนามศิษย์เก่าจากโรงเรียนอัสสัมชัญ เป็นการรวบรวมรายชื่อบุคคลที่จบการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ ซอยเจริญกรุง 40 ถนนเจริญกรุง เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันสถาปนาโรงเรียนอย่างเป็นทางการในวันที่ 16 กุมภาพัน..

ดู สภากรรมการองคมนตรีและรายนามศิษย์เก่าจากโรงเรียนอัสสัมชัญ

ความเคลื่อนไหวสู่การปฏิวัติสยาม

วามคิดและความเคลื่อนไหวที่จะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของราชอาณาจักรสยาม จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นประชาธิปไตยนั้น มีมาตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อประมาณ ร..

ดู สภากรรมการองคมนตรีและความเคลื่อนไหวสู่การปฏิวัติสยาม

คณะองคมนตรีไทย

ณะองคมนตรีในประเทศไทย คือกลุ่มบุคคลที่ให้คำปรึกษาแก่พระมหากษัตริย์ โดยในอดีตเคยใช้ชื่อ ปรีวีเคาน์ซิล (สภาที่ปฤกษาในพระองค์), องคมนตรีสภา, และ สภากรรมการองคมนตรี ตามลำดับ ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นชื่อปัจจุบัน.

ดู สภากรรมการองคมนตรีและคณะองคมนตรีไทย

เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)

มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) (30 ตุลาคม พ.ศ. 2428 - 25 กันยายน พ.ศ. 2519) ป.., ม.ป.., ม.ว.ม., ร..ม. (ศ.) ขุนนาง 5 แผ่นดิน อดีตประธานศาลฎีกา เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีหลายกระทรวง เคยดำรงตำแหน่ง ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี ประธานองคมนตรี และเป็นคนสุดท้ายที่ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าพระยา ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ มีบทบาทในคณะรัฐมนตรีหลายคณะ โดยดำรงตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข และ กระทรวงการคลัง ภายหลังพ้นภารกิจทางการเมืองแล้ว ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี และเคยดำรงตำแหน่ง ประธานองคมนตรี ในรัชกาลที่ 9 นอกจากได้รับราชการและทำงานด้านการเมือง เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศยังมีความสำคัญกับวงการประกันชีวิตของไทย โดยเมื่อ ปี..

ดู สภากรรมการองคมนตรีและเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา)

หรือที่รู้จักกันในชื่อ กรรมการองคมนตรี