โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สถาปัตยกรรมศาสตร์

ดัชนี สถาปัตยกรรมศาสตร์

ปัตยกรรมศาสตร์ เป็นการศึกษาสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานเทคนิควิทยาการทั้งทางวิทยาศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม เข้าด้วยกัน เพื่อตอบสนองความต้องการในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ในด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่อาศัย วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่นั้น สนองตอบในเชิงจิตวิทยา ซึ่งผู้ออกแบบต้องเข้าใจความต้องการในการใช้พื้นที่นั้น ๆ อย่างลึกซึ้งอันมีผลกับการออกแบบที่ดี และไม่ดี หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นศิลปวิทยาการ ในการออกแบบอาคารและสิ่งเกี่ยวเนื่อง เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้เหมาะสมในการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยครอบคลุมตั้งแต่ระดับมหัพภาค ถึงจุลภาค เช่น การวางผังชุมชน การออกแบบชุมชน ภูมิสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรูปแบบศิลปะ เรื่องของชุมชน เรื่องของพฤติกรรมมนุษย์ และเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย ถือเป็นศาสตร์ที่มีศาสตร์อื่นมาเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก จนยากที่จะสรุปลงไปได้ว่ามี ศาสตร์สาขาใดมาเกี่ยวข้องบ้าง.

73 ความสัมพันธ์: ชัชวาลย์ พริ้งพวงแก้วบ้านแถวฟิฟทีน ซีนเนอรี่พลภัคค์ วัชรพงศ์หิรัญกฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยามหาวิทยาลัยบอลล์สเตตมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลมหาวิทยาลัยวอชิงตันมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุลมหาวิทยาลัยออริกอนมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญมหาวิทยาลัยฮาวายมหาวิทยาลัยซินซินแนติมหาวิทยาลัยซีราคิวส์มหาวิทยาลัยแคนซัสสเตตมหาวิทยาลัยโอคลาโฮมามหาวิทยาลัยไอโอวาสเตตมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวายมหาวิทยาลัยเคนต์สเตตมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนียมติ ตั้งพานิชรายชื่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในสหรัฐอเมริการายชื่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในประเทศไทยรายชื่อคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมในประเทศไทยรตาพร ทิพย์มนตรีละอองฟองลามี่วอนทั้งโลกโขกหัวเธอวัยอลวนวิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาวินทร์ เลียววาริณศิริศิลป์ โชติวิจิตรสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)สถาบันเทคโนโลยีอิลลินอยส์สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในซูริกสถาปัตยกรรม (แก้ความกำกวม)สถาปนิกหม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรีหม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์อันดับมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาอิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์...ฮวงจุ้ย (ศาสตร์)ธราภา กงทองทิพย์สุดา ปทุมานนท์ดีไซน์อินเทลลิเจนซ์คลาวเดีย จักรพันธุ์ความทรงจำของฟาราห์ ปาห์ลาวีคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาคงเดช จาตุรันต์รัศมีปรียา ฉิมโฉมนารถ โพธิประสาทนิโคลัส เนโกรพอนตีน้ำป่าโทะโยะโอะ อิโตเรือนภะรตราชาเวทเขริกา โชติวิจิตรเดอะนิวสคูลเฉาเก๋อ ขยายดัชนี (23 มากกว่า) »

ชัชวาลย์ พริ้งพวงแก้ว

ัชวาลย์ พริ้งพวงแก้ว สถาปนิก ชัชวาลย์ พริ้งพวงแก้ว (7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482) สถาปนิกไทย สถาปนิกดีเด่นยกย่องโดยสมาคมสถาปนิกสยามฯ ในวาระที่สมาคมมีอายุครบ 60 ปี (พ.ศ. 2537) ศิษย์เก่าดีเด่นของแพรตต์อินสติติว อาจารย์ผู้บรรยายพิเศษในสถาบันออกแบบหลายแห่ง ผู้ก่อตั้งสำนักงานออกแบบสถาปัตยกรรมระดับนานาชาติขนาดใหญ่และดำเนินกิจการต่อเนื่องยาวนานที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย เป็นประธานกรรมการและผู้บริหารสูงสุดในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและองค์กรสาธารณกุศลหลายแห่ง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และชัชวาลย์ พริ้งพวงแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

บ้านแถว

อาคารรอบปลัสเดอโวฌในกรุงปารีส (ค.ศ. 1605–1612) บ้านแถวในเมืองควีนส์เฟร์รี สกอตแลนด์ บ้านแถว (terraced house, terrace house, row houses, linked houses) เป็นศัพท์ทางสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง หมายถึงที่อยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นปานกลางรูปแบบหนึ่ง มีลักษณะเป็นบ้านที่มีผนังเชื่อมต่อกัน โดยบ้านแต่ละหลังมักมีมากกว่าหนึ่งชั้น และมักมีโครงสร้างและการตกแต่งคล้ายคลึงกับบ้านหลังอื่นที่อยู่ติดกัน สิ่งปลูกสร้างประเภทนี้มีต้นกำเนิดในยุโรปช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 สิ่งปลูกสร้างแบบบ้านแถวสามารถพบได้ทั่วโลก แต่มีให้เห็นอยู่มากในยุโรปและลาตินอเมริกา และสามารถพบตัวอย่างที่หลากหลายในอเมริกาเหนือและออสเตรเลีย อาคารรอบจัตุรัสปลัสเดอโวฌ (Place des Vosges) ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นตัวอย่างหนึ่งของบ้านแถวยุคเริ่มแรก ในปัจจุบัน บ้านแถวทั้งที่มีมาแต่เดิมและที่สร้างเลียนแบบสถาปัตยกรรมยุคเก่าได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปรับพื้นที่ในใจกลางเมืองเพื่อให้คนนอกถิ่นที่มีฐานะดีเข้ามาอยู่อาศัยแทน (gentrification) โดยในบางครั้งก็ถูกนำไปเชื่อมโยงกับชั้นชนผู้ใช้แรงงานด้ว.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และบ้านแถว · ดูเพิ่มเติม »

ฟิฟทีน ซีนเนอรี่

ฟิฟทีน ซีนเนอรี่ เป็นวงดนตรีของไทยที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มนักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชานิเทศศิลป์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รุ่นที่ 15 ที่มีชื่อรุ่นว่า ฉาก ซึ่งพวกเขาได้นำมาตั้งเป็นชื่อวงว่า ฟิฟทีน ซีนเนอรี่ (15th Scenery) เพื่อเป็นการจดจำถึงตำนานและวีรกรรมในสมัยเรียน ซึ่งพวกเขาพักอยู่หอพักเดียวกัน และด้วยความหลงใหลในดนตรีเหมือนกัน พวกเขาจึงรวมตัวกันเล่นดนตรีกันแทบจะทุกวัน จนเลยเถิดถึงขั้นติด F ติดโปรกันไปบ้าง แต่สุดท้ายพวกเขาก็เอาตัวรอด เรียนจบกันมาได้ พร้อมกับมีรางวัลรองชนะเลิศการประกวดวงดนตรี ของมหาวิทยาลัยติดมือมาด้วย พวกเขาเล่นดนตรีมาหลายแนว เริ่มจากแนวหนัก ๆ แบบฮาร์ดคอร์ พอโตขึ้นมาเรื่อย ๆ จึงมาลงตัวที่แนวที่ฟังสบาย ๆ แบบอิเลคโทรป็อป ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากดนตรีป็อปทางฝั่งสแกนดิเนเวียน บวกกับจังหวะสนุกๆของดนตรีเต้นรำในยุค 80’s, 90’s อาทิพวก disco, baggy, synth pop แล้วเติมสีสันให้เมโลดี้ด้วยเสียงซินธิไซเซอร์ผสมกับเสียงร้องบางเบาสดใสฟังสบาย ๆ และจากตอนแรกที่นักร้องนำเป็นผู้ชาย ก็ลองเปลี่ยนแนวเป็นนักร้องผู้หญิง โดยพวกเขาได้ไปชักชวน เพ่ย เพื่อนร่วมรุ่น มาเป็นนักร้องนำ และก็มีงานเล่นคอนเสิร์ตตามงานคณะต่าง ๆ บ้างแต่ก็ไม่จริงจังเท่าไหร่ จวบจนเมื่อปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และฟิฟทีน ซีนเนอรี่ · ดูเพิ่มเติม »

พลภัคค์ วัชรพงศ์หิรัญ

“พลภัคค์ วัชรพงศ์หิรัญ” เดิมชื่อ “ณฐวัฒน์ วัชรพงศ์หิรัญ” และมีชื่อเล่นว่า “กบ”.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และพลภัคค์ วัชรพงศ์หิรัญ · ดูเพิ่มเติม »

กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา

อาคารใหม่สวนอัมพร อาคารศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้ (ฟาสาดเดิม) อาคารสำนักงานใหญ่การบินไทย ถนนวิภาวดีรังสิต เอ็มบีเคเซ็นเตอร์ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา (9 มกราคม พ.ศ. 2475 - 12 มกราคม พ.ศ. 2553) เป็นสถาปนิกชาวไทย นักธุรกิจ ผู้ก่อตั้งบริษัทคาซ่า อดีตคณะบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คนที่ 4 พ.ศ. 2517-2521),นักแสดง, นักบินสมัครเล่น, อดีตนักกีฬายิงปืนทีมชาติในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และกฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยบอลล์สเตต

หอนาฬิกาแชเฟอร์ มหาวิทยาลัยบอลล์สเตต มหาวิทยาลัยบอลล์สเตต (Ball State University) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมืองมันซี ในรัฐอินดีแอนา บอลล์เสตตก่อตั้งในปี พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) เนื้อที่ของมหาวิทยาลัยมีมากกว่า 1000 เอเคอร์ โดยมีนักศึกษามากกว่า 20,000 คน มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงในด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ ครุศาสตร์ มานุษยวิทยา และด้านอื่นๆ ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงได้แก่ เดวิด เลตเทอร์แมน พิธีกรทอล์กโชว์ และ จอห์น ชแนตเตอร์ ผู้ก่อตั้งธุรกิจพิซซาปาปา จอห์น มหาวิทยาลัยบอลล์สเตต ได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตไร้สายทั่วมหาวิทยาลัยมากที่สุดในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยบอลล์สเตต · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 1 ใน 5 แห่งแรกในประเทศไทยถูกสถาปนาขึ้นพร้อมกับ วิทยาลัยเกริก วิทยาลัยไทยสุริยะ วิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และวิทยาลัยพัฒนา เริ่มแรกนั้นได้รับการก่อตั้งในชื่อ “วิทยาลัยไทยเทคนิค” เมื่อปี พ.ศ. 2505 ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาลัยกรุงเทพ” และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “มหาวิทยาลัยกรุงเทพ” เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2527 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 18 ธันวาคม..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล

มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล (University of Liverpool) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐ ในสหราชอาณาจักรที่มีเปิดสอนในระบบที่อิงฐานการเรียนการสอนในห้องเรียนและบนพื้นฐานของการทำวิจัย ตั้งอยู่ในเมืองลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1881 ในรูปแบบของมหาวิทยาลัยวิทยาลัย (University College) โดยเปิดสอน 3 คณะ (Faculty) ที่ประกอบด้วยภาควิชา (Department) และสำนักวิชา (School) ต่างๆรวมแล้ว 35 สาขาวิชา มหาวิทยาลิเวอร์พูลเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความก้าวหน้าอย่างโดดเด่นในด้านนวัตกรรมงานวิจัย โดยเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มรัสเซล (Russell Group) ซึ่งเป็นกลุ่มของมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรที่ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยวิจัยขนาดใหญ่ใน 18 มหาวิทยาลัยจากสมาชิก 19 แห่ง ติด 20 อันดับแรกของประเทศในด้านงบวิจัย และเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มความร่วมมือด้านงานวิจัยของมหาวิทยาลัยในเขตภาคเหนือของสหราชอาณาจักรอีกด้วย มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในสหราชอาณาจักรที่สามารถสร้างมหาวิทยาลัยอิสระในประเทศจีนและเป็นมหาวิทยาลัยจีน-บริติชแห่งแรกของโลก เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลกที่เปิดสอนสาขาวิชาสมุทรศาสตร์ (Oceanography) การออกแบบเมือง (Civic Design) สถาปัตยกรรมศาสตร์ (Architecture) และชีวเคมี (Biochemistry) ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลมีเงินสนับสนุนรายปีกว่า 410 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง ซึ่งในจำนวนนี้ประกอบด้วบงบประมาณที่สนับสนุนด้านงานวิจัยถึง 150 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยวอชิงตัน

มหาวิทยาลัยวอชิงตัน (University of Washington) หรือรู้จักในชื่อ ยูดับ (UW) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่รัฐวอชิงตัน เป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในบริเวณชายฝั่งตะวันตกของประเทศ มหาวิทยาลัยวอชิงตันมี 3 วิทยาเขต โดยวิทยาเขตที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่เมืองซีแอทเทิล และวิทยาเขตอื่นอยู่ที่เมืองทาโคมา และโบเธลล์ มหาวิทยาลัยก่อตั้งเมื่อ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1861 มหาวิทยาลัยวอชิงตันมีชื่อเสียงอย่างมากในด้านการแพทย์และการพยาบาล และในด้านอื่น ๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยวอชิงตัน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยออริกอน

มหาวิทยาลัยออริกอน (University of Oregon) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาลของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ในเมืองยูจีน ในรัฐออริกอน มหาวิทยาลัยก่อตั้งในปี พ.ศ. 2419 (ค.ศ. 1876) ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2548) มีนักศึกษาประมาณ 20,000 คน สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยออริกอน คือ โดนัลด์ ดัคก์ ที่ทางมหาวิทยาลัยได้ตกลงกับวอลต์ดิสนีย์ไว้ และสีประจำมหาวิทยาลัยคือ สีเขียว และเหลือง มหาวิทยาลัยออริกอนได้รับการจัดอันดับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ โดยนิตยสารดีไซน์อินเทลลิเจนซ์ (ปี พ.ศ. 2548) ในอันดับที่ 11 และ 16 ของสหรัฐอเมริกา สำหรับในระดับปริญญาตรี และปริญญาโทตามอันดั.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยออริกอน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (Assumption University) หรือ เอแบค (ABAC) จัดอยู่ในเครือคณะภราดาเซนต์คาเบรียล มี 2 วิทยาเขตหลัก วิทยาเขตหัวหมาก ตั้งอยู่ที่ แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร วิทยาเขตสุวรรณภูมิ ตั้งอยู่ที่ ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ และ 2 ศูนย์การศึกษา city campus ในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ศูนย์การศึกษา ACC Campus มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยที่มีระบบการสอนหลักสูตรนานาชาติ และยังเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีจำนวนศาสตราจารย์มากที่สุดในประเทศไท.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยฮาวาย

The Royal Sala Thai John A. Burns School of Medicine UH 88 - Telescope มหาวิทยาลัยฮาวาย (University of Hawaii at Manoa) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐประจำรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1907 ทางมหาวิทยาลัยเปิดสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอกและปริญญาอาชีพในหลากหลายสาขา อาทิ แพทยศาสตร์, กฎหมาย, สถาปัตยกรรมศาสตร์, ศิลปศาสตร์, มานุษยวิทยา, การจัดการ, เศรษฐศาสตร์, ศึกษาศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์, รัฐศาสตร์, วรรณกรรม, ภาษาศาสตร์, วิทยาศาสตร์, การเกษตร, สังคมศาสตร์, สาธารณสุข และเภสัชศาสตร์ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยฮาวาย มีนักศึกษารวมทุกวิทยาเขตประมาณ 35,000คน โดยที่วิทยาเขตมานัว (Manoa) มีนักศึกษาประมาณ 20,000 คน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยฮาวาย · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยซินซินแนติ

มหาวิทยาลัยซินซินแนติ (University of Cincinnati) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาลของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมือง ซินซินแนติ ในรัฐโอไฮโอ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2362 (ค.ศ. 1819) ภายใต้ชื่อ วิทยาลัยซินซินแนติ และ วิทยาลัยแพทยศาสตร์โอไฮโอ ต่อมาได้ถูกรวมเข้าเป็นมหาวิทยาลัยซินซินแนติ ในปี พ.ศ. 2413 (ค.ศ. 1870) เหมือนในปัจจุบัน นักศึกษาในมหาวิทยาลัยมีประมาณ 35,000 คน (ข้อมูลปี พ.ศ. 2548) มหาวิทยาลัยซินซินแนติ มีชื่อเสียงในด้านในหลายคณะรวมถึง สถาปัตยกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในอันดับสูงสุดสหรัฐอเมริกา โดยนิตยสารดีไซน์อินเทลลิเจนซ์ นอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงทางด้าน ดนตรี นิติศาสตร์ และ แพทยศาสตร์ ซึ่งวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ ได้ถูกคิดค้นขึ้นในคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยซินซินแนติ แม็คมิคเกนฮอลล์ มหาวิทยาลัยซินซินแนต.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยซินซินแนติ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยซีราคิวส์

วอดของมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ มหาวิทยาลัยซีราคิวส์ (Syracuse University) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในเมืองซีราคิวส์ รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2375 (ค.ศ. 1832) มีนักศึกษาประมาณ 18,000 คน (พ.ศ. 2548) มหาวิทยาลัยซีราคิวส์มีชื่อเสียงในด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ และนอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงในด้านทีมบาสเกตบอลของมหาวิทยาลัย โดยเป็นแชมป์บาสเกตบอล ในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยแคนซัสสเตต

ห้องสมุดเฮล มหาวิทยาลัยแคนซัสสเตต มหาวิทยาลัยแคนซัสสเตต (Kansas State University) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาลของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมืองแมนแฮตตัน ในรัฐแคนซัส ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2406 (ค.ศ. 1863) ในปัจจุบัน มีนักศึกษาประมาณ 23,000 คน มหาวิทยาลัยแคนซัสสเตตได้รับการจัดอันดับในด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ในระดับปริญญาตรีในอันดับที่ 5 ของสหรัฐอเมริกา จากนิตยสารดีไซน์อินเทลลิเจนซ.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยแคนซัสสเตต · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยโอคลาโฮมา

กย์ลอร์ดฮอลล์ มหาวิทยาลัยโอคลาโฮมา (University of Oklahoma ย่อว่า OU) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐตั้งอยู่ที่เมืองนอร์มัน ในรัฐโอคลาโฮมา สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2433 (ค.ศ. 1890) โดยมีนักศึกษาประมาณ 30,000 คน (พ.ศ. 2548) มีคณาจารย์และนักวิจัย 2,000 คน นอกจากวิทยาเขตหลักในนอร์มัน มหาวิทยาลัยมีวิทยาเขตอยู่ในเมือง โอคลาโฮมาซิตี และ ทัลซา มหาวิทยาลัยโอคลาโฮมาประกอบด้วย 15 คณะ และมีชื่อเสียงในด้าน อุตุนิยม ธรณีวิทยา วิศวกรรมศาสตร์ปิโตรเลียม สถาปัตยกรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ และแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเปิดสอนในระดับปริญญาตรี 153 ภาควิชา ในระดับปริญญาโท 152 ภาควิชา และ 75 ภาควิชาในระดับปริญญาเอก นอกจากนี้ยังมีเปิดสอนในด้านอื่นสำหรับปริญญาประกาศนียบัตร นอกจากทางการสอนและการวิจัย มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงในด้านอย่างมากในด้านกีฬา โดยกีฬายิมนาสติกชนะระดับประเทศหลายครั้ง นอกจากนี้ทีมอเมริกันฟุตบอล เป็นทีมหนึ่งที่ประสบความสำเร็จสูง ทีมกีฬามหาวิทยาลัยใช้ชื่อว่า ซูนเนอร์ (Sooners).

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยโอคลาโฮมา · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต

หอพักโรเบิร์ต บริเวณริชาร์ดสันคอร์ต ในมหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต มหาวิทยาไอโอวาสเตต (Iowa State University ชื่อย่อ ISU) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐของสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2401 (ค.ศ. 1858) ตั้งอยู่ที่เมืองเอมส์ รัฐไอโอวา ไอโอวาสเตตเป็นที่รู้จักในด้านวิชา สัตวแพทยศาสตร์ เกษตรศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ สถิติศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ งานเฉลิมฉลองประจำปี คือ เทศกาลวีชา (VEISHEA) ทีมกีฬาประจำมหาวิทยาลัยคือ ไซโคลนส์ ซึ่งแข่งขันอยู่ในกลุ่มของบิ๊กทเวลฟ์ และไอโอว่าสเตตจัดเป็นหนึ่งในสิบมหาวิทยาลัยที่มีทัศนียภาพที่สวยที่สุดในสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2549 ไอโอวาสเตตมีนักศึกษาประมาณ 26,700 คน อาจารย์และนักวิจัย 1,750 คน การค้นพบที่ไอโอวาสเตต ได้แก่ F-distribution หรือ รู้จักในชื่อ Snedecor's F distribution โดย George W. Snedecor หนึ่งในสองของผู้คิดทฤษฎี นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบ เมย์แท็กบลูชีส และ เครื่องคำนวณดิจิตัลเครื่องแรก คอมพิวเตอร์ อตานาซอฟฟ์-เบอร์รี (ABC) ศิษย์เก่าและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยมีผู้ได้รับรางวัลโนเบล รางวัลพูลิตเซอร์ รวมถึงเหรียญทองกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน คณะที่ติดอันดับท็อป 10 ของประเทศตามในยูเอสนิวส์ประจำปี 2008 ได้แก่ สถิติศาสตร์ (อันดับ 7) และ เคมีอนินทรีย์ (อันดับ 10) ในปี 2551 นิตยสารฟอรบส์ได้จัดอันดับเมืองที่ฉลาดที่สุดในประเทศ เมืองเอมส์ที่ตั้งมหาวิทยาลัยได้ถูกจัดเป็นอันดับที่ 6 จากทั่วประเท.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย

นจามิน แฟรงคลิน ผู้สถาปนามหาวิทยาลัย รูปปั้นเบนจามิน แฟรงคลิน หน้า College Hall มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย (University of Pennsylvania) (โดยทั่วไปเรียกว่า เพน (Penn) หรือ ยูเพน (UPenn)) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมือง ฟิลาเดลเฟีย ในรัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2283 (ค.ศ. 1740) โดยนายเบนจามิน แฟรงคลิน ซึ่งนับว่าเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่เป็นอันดับ 4 ของสหรัฐอเมริกา และเป็นหนึ่งในสมาชิกไอวีลีก มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียได้รับการยอมรับให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐอเมริกาและของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีชื่อเสียงในด้าน การแพทย์ พาณิชยศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียนับว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เข้ายากและมีการแข่งขันสูงมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา หลักสูตรปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 4 ของประเทศ โดยนิตยสารยูเอสนิว (US News & World Report 2010) นอกจากนี้ วิทยาลัยและคณะต่างๆในระดับปริญญาโทและเอกส่วนใหญ่ก็ถูกจัดอยู่ใน Top 10 เกือบทั้งสิ้น ในปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2552) มีนักศึกษาประมาณ 24,599 คน และคณาจารกว่า 4,127 คน ในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (อังกฤษ: Kasetsart University; อักษรย่อ: มก.) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนหลักสูตรทางด้านการเกษตร ก่อตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 3 ของประเทศ เดิมเป็นโรงเรียนช่างไหมในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย

อย่าสับสนกับ มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียเทค มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย (University of Virginia หรือเรียกย่อๆว่า UVA หรือ U.Va.) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาลในสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งโดย โทมัส เจฟเฟอร์สัน ในเมืองชาร์ลอตส์วิลล์(Charlottesville) ในรัฐเวอร์จิเนีย ในปี พ.ศ. 2362 (ค.ศ. 1819) ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2548) มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียมีนักศึกษาประมาณ 18,000 คน มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียมีชื่อเสียงในด้าน กฎหมาย สถาปัตยกรรมศาสตร์ ปรัชญา ดาราศาสตร์ นอกจากนี้ในตัวมหาวิทยาลัยยังถูกกำหนดให้เป็นมรดกโลกโดยองค์กรยูเนสโกอีกด้ว.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล ก่อตั้งโดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในปี พ.ศ. 2502 ภายใต้ชื่อ "โรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือ" หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า "เทคนิคไทย-เยอรมัน" ก่อนจะยกฐานะในปี พ.ศ. 2507 เป็น "วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ" และเป็น "สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตพระนครเหนือ" ในปี พ.ศ. 2514 ต่อมาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าทั้งสามวิทยาเขตได้รับการยกฐานะเป็น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ,สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในปี พ.ศ. 2529 โดยมีอำนาจบริหารอิสระจากกัน ซึ่งในปัจจุบันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือแบ่งออกเป็น 3 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตกรุงเทพมหานคร เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร, วิทยาเขตปราจีนบุรี อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี และวิทยาเขตระยอง อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง เปิดทำการเรียนการสอนทั้งหมด 13 คณะ 2 วิทยาลัย 2 บัณฑิตวิทยาลัย ตั้งแต่ระดับประกาศณียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก ทั้งหลักสูตรภาษาไทย สองภาษา และนานาชาติ มีความโดดเด่นด้านวิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หรือ บางมด (อังกฤษ: King Mongkut's University of Technology Thonburi; อักษรย่อ: มจธ.) โดยเป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ และเป็น สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ตามประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 115 ตอนที่ 11 ก ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541 มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในด้าน วิศวกรรมศาสตร์, วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, สถาปัตยกรรมศาสตร์ เดิมชื่อ วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตามลำดับ ปัจจุบันเปิดสอนใน 8 คณะ, 1 สถาบัน, 1 บัณฑิตวิทยาลัย และ 1 บัณฑิตวิทยาลัยร่วม โดยมีทั้งหลักสูตรปกติ และนานาชาติ ในระดับปริญญาตรี, โท และเอก ซึ่งมี 3 วิทยาเขต และ 1 อาคาร คือ วิทยาเขตบางมด, วิทยาเขตบางขุนเทียน, วิทยาเขตราชบุรี และอาคารเคเอ็กซ์ คลองสาน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (Rajamangala University of Technology Srivijaya) เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในประเทศไทย แยกตัวออกมาจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เมื่อปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (Rajamangala University of Technology Thanyaburi) ได้รับการสถาปนาขึ้นในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เมื่อวันที่ 18 มกราคม..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย (อังกฤษ: Rajamangala University of Technology Tawan-ok: Uthenthawai Campus) ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 225 ถนนพญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีน้ำเงิน สีขาว คติพจน์ "ถ้าเรารักสมัครจิต ก็ต้องคิดสมัครมือ ถิ่นสีน้ำเงิน คือ ที่รวมรักสมัครคง".

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเคนต์สเตต

มหาวิทยาลัยเคนต์สเตต (Kent State University หรือ KSU หรือ Kent State) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่เน้นทางด้านการวิจัย ตั้อยู่ที่เมืองเค้นต์ รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยมีแปดวิทยาเขต ซึ่งทั้งหมดตั้งอยู่รอบเขตเมืองเมืองคลีฟแลนด์ และวิทยาเขตที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่เมืองเคนต์ มหาวิทยาลัยก่อตั้งเมื่อปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยเคนต์สเตต · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย

ตึกจอร์จฟินลีย์โบวาร์ด มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย ห้องสมุดโดฮีนี มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย (University of Southern California) หรือในชื่อว่า ยูเอสซี (USC) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่เก่าแก่สุดในรัฐแคลิฟอร์เนีย ตั้งอยู่ที่เมืองลอสแอนเจลิส ในรัฐแคลิฟอร์เนีย มหาวิทยาลัยก่อตั้งในปี พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) โดยเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีนักศึกษาต่างชาติมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดยในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย · ดูเพิ่มเติม »

มติ ตั้งพานิช

มติ ตั้งพานิช สถาปนิกชาวไทยและราชบัณฑิตทางด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ นายมติ เกิดเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 ในครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีน จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโทด้านสถาปัตยศาสตร์ จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (M.I.T.) ประเทศสหรัฐอเมริกา และหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน (ปรอ.) รุ่นที่ 2 เคยทำงานเป็นสถาปนิกอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่พักหนึ่ง ก่อนจะกลับมาสู่ประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2516 ได้ก่อตั้งบริษัทดีไซน์ ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด มีผลงานต่าง ๆ มากมาย เช่น ออกแบบสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์, ออกแบบสนามบินสุวรรณภูมิ, ออกแบบสปอร์ตคอมเพลกต์ สำหรับการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่เมืองทองธานี เป็นต้น และดำรงตำแหน่งนายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ 3 สมัยติดต่อกัน ก่อนที่จะลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคความหวังใหม่ โดยมีนโยบายสำคัญ คือ การสร้างถนนวงแหวนแก้ปัญหาการจราจร แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง จากนั้น ได้เป็นที่ปรึกษาของ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ในขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและนายกรัฐมนตรี นายมติ เป็นผู้จุดประการความคิดเรื่องการสร้างศูนย์ราชการแห่งใหม่ ขึ้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งต่อมา แนวความคิดนี้ได้กลายมาเป็นที่มาของ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 หรือที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ ที่ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ เช่นในปัจจุบัน ปัจจุบัน นายมติเป็นคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามประเมินผลราชการ ประจำกระทรวงยุติธรรม และเป็นนายกสภาสถาปนิก ในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ นายมติ ตั้งพานิช เป็นราชบัณฑิต ประเภทวิชาสถาปัตยกรรมศิลป์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม สำนักศิลปกรรม.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และมติ ตั้งพานิช · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา

รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในสหรัฐอเมริกาที่เปิดสอนวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จัดอันดับโดยนิตยสาร ดีไซน์อินเทลลิเจนซ์ ข้อมูลปี ค.ศ. 2005.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และรายชื่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในประเทศไทย

รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ที่เปิดสอนวิชาในกลุ่มสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภูมิสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ และการผังเมือง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และรายชื่อคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมในประเทศไทย

รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ที่เปิดสอนวิชาด้านคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม เป็นการศึกษาว่าด้วยวิชาทางวิชาชีพต่าง ๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ โดยมุ่งเน้นในการผลิตครูอาชีวศึกษา ครูอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของการศึกษาในสายอาชี.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และรายชื่อคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

รตาพร ทิพย์มนตรี

รตาพร ทิพย์มนตรี หรือ เบสท์ เป็นอดีตศิลปินเกิร์ลกรุปวงชิลลี่ไวท์ช็อค ในค่ายกามิกาเซ่ ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และรตาพร ทิพย์มนตรี · ดูเพิ่มเติม »

ละอองฟอง

ละอองฟอง (La Ong Fong) เป็นวงดนตรีของไทยที่แนวเพลงได้รับอิทธิพลจากเพลงแนวสวีดิชป็อป มีจุดเด่นที่ดนตรีที่สดใสที่เป็นการผสมผสานระหว่าง แจ๊ส ป็อป และร็อก และเสียงร้องที่ใสของนักร้อง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และละอองฟอง · ดูเพิ่มเติม »

ลามี่

ลโก้บนปากกาลามี่ ลามี่ (Lamy) เป็นยี่ห้อของปากกาจากประเทศเยอรมนี พัฒนาขึ้นโดย ยอเซฟ ลามี่ (Josef Lamy) ผู้ซึ่งเป็นนักทำปากการายแรกที่นำวัสดุพลาสติกสังเคราะห์เข้ามาใช้ในการผลิตส่วนห้อหุ้มปากกา ปัจจุบันบริษัทได้รับการบริหารโดยลูกของเขาคือ แมนเฟรด ลามี่ (Manfred Lamy).

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และลามี่ · ดูเพิ่มเติม »

วอนทั้งโลกโขกหัวเธอ

วอนทั้งโลกโขกหัวเธอ เป็นภาพยนตร์ไทย ออกฉายเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2539 กำกับโดย วัชระ ปานเอี่ยม นำแสดงโดย มาริษา สัมฤทธิสุข และพัสสน ศริน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และวอนทั้งโลกโขกหัวเธอ · ดูเพิ่มเติม »

วัยอลวน

วัยอลวน เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และวัยอลวน · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (CISAT) จัดตั้งขึ้นตามกฎกระทรวงเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 เพื่อรองรับการจัดการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา และระดับปริญญา และสร้างทรัพยากรบุคคลด้านวิศวกรรมสถาปัตยกรรมศาสตร์และ บริหารธุรกิจ ให้มีพื้นฐานทางการศึกษาที่ดี มีทักษะที่ถูกต้องและเพียงพอสำหรับป้อนสู่การศึกษาต่อระดับปริญญา ให้ได้บัณฑิตนักปฏิบัติตามปรัชญาของมหาวิทยาลัย ตลอดจนเปิดโอกาสให้เยาวชนที่มีความสามารถพิเศษทางวิศวกรรม สถาปัตยกรรมหรือบริหารธุรกิจ หรือมีความสามารถพิเศษในทางการประดิษฐ์ การคิด การออกแบบ ความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เข้าศึกษาต่อในสาขาที่ถนัด เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาและส่งเสริมงานทางด้านสายอาชีพได้อย่างมีประสิท.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และวิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา · ดูเพิ่มเติม »

วินทร์ เลียววาริณ

วินทร์ เลียววาริณ (ชื่อเกิด สมชัย เลี้ยววาริณ) เกิดปี พ.ศ. 2499 ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และวินทร์ เลียววาริณ · ดูเพิ่มเติม »

ศิริศิลป์ โชติวิจิตร

ริศิลป์ โชติวิจิตร (ชื่อเล่น: กวาง) เกิดเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2525 อดีตเป็นนักร้องนำของวง เอบีนอร์มัล และผ่านการประกวดนักร้องนำยอดเยี่ยมจากการประกวด Ac Music Contest มีผลงานเพลงกับเอบีนอร์มัลตั้งแต่ชุดอัลบั้ม ปกติ และร้องเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง แฟนฉัน ในปีถัดมา ปัจจุบันเป็นศิลปินเดี่ยว อีกทั้งยังเป็นนักแข่งรถยนต์และครูสอนดำน้ำ.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และศิริศิลป์ โชติวิจิตร · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สท. เป็นหน่วยงานของรัฐ ประเภทองค์การมหาชน จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีการจัดตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน)..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันเทคโนโลยีอิลลินอยส์

ตึกแม็คคอร์มิคก์ทริบิวน์แคมปัสเซนเตอร์ โดยมีรูปของ ลุดวิก มีส แวน เดอร์ โรห์ สถาปนิกผู้ออกแบบตึกในมหาวิทยาลัย เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ ส่วนขยายในสถาบันเทคโนโลยีอิลลินอยส์ (IIT) ภายในอาคารแคมปัสเซ็นเตอร์อีกหลังหนึ่งในบริเวณแม็คคอร์มิค ออกแบบโดยสถาปนิกเร็ม คูลฮาส สถาบันเทคโนโลยีอิลลินอยส์ (Illinois Institute of Technology, IIT) หรือรู้จักในชื่อ ไอไอที เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนตั้งอยู่ในเมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา มีชื่อเสียงในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ นิติศาสตร์ และบริหารธุรกิจ ไอไอทีก่อตั้งในปี พ.ศ. 2483 โดยการรวมสองสถาบันจาก สถาบันเทคโนโลยีอาร์เมอร์ (ก่อตั้ง พ.ศ. 2436) และสถาบันเทคโนโลยีลูวิส (ก่อตั้ง พ.ศ. 2438) ปัจจุบันไอไอทีมีนักศึกษาประมาณ 6,500 คน และอาจารย์ 580 คน (ข้อมูล พ.ศ. 2549) ไอไอทีมีหลายวิทยาเขต โดยสาขาวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์จะเรียนในบริเวณวิทยาเขตหลัก ส่วนสาขาบริหารธุรกิจและนิติศาสตร์จะเรียนในตัวเมืองชิคาโก จุดโดดเด่นภายในสถาบันคือ ตึกภายในถูกออกแบบสถาปนิกชื่อดังของโลก เช่นในยุคแรกๆได้แก่ ลุดวิก มีส แวน เดอร์ โรห์ และยุคต่อมา (ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา) ได้แก่ เร็ม คูลฮาส, เฮลมุต ยาห์น ในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และสถาบันเทคโนโลยีอิลลินอยส์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในซูริก

ันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในซูริก (Swiss Federal Institute of Technology in Zurich, ชื่อเต็มในภาษาเยอรมันคือ Eidgenössische Technische Hochschule Zürich โดยมีชื่อย่อที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ETH Zürich) เป็นมหาวิทยาลัยทางด้านวิทยาศาสตร์ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในซูริกเป็นมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงในระดับนานาชาติเป็นสมาชิกของ IDEA League และ International Alliance of Research Universities IARU.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และสถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในซูริก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรม (แก้ความกำกวม)

ปัตยกรรม อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรม (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

สถาปนิก

ร่างสถาปนิก กับงานออกแบบ สถาปนิก คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น สถาปก คำเก่าของคำว่าสถาปนิก ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้สร้าง, ผู้ก่อตั้ง ในเอกสารโบราณก่อนสมัยรัตนโกสินทร์เคยปรากฏคำ "สถาบก" หมายถึง การสร้าง หรือผู้สร้าง รางวัลที่น่ายกย่องของสถาปนิกที่รู้จักในฐานะผู้ก่อสร้างอาคารได้แก่ รางวัลพลิตซ์เกอร์ ซึ่งมักจะถูกเปรียบเทียบเหมือนกับ "รางวัลโนเบลในทางสถาปัตยกรรม".

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และสถาปนิก · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี

หม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี (26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2458 - 6 ธันวาคม พ.ศ. 2540) สถาปนิก ออกแบบสถาปัตยกรรมไทยมีความชำนาญในการออกแบบผูกลาย ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) ประจำปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และหม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ

ตราจารย์ หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ (9 พฤศจิกายน 2443 - 27 สิงหาคม 2524) พระโอรสองค์ที่ 20 ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ และเป็นองค์ที่ 3 ของหม่อมบุญ วรรวรรณ ณ อยุธยา สถาปนิกกรมรถไฟ ผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ อาจารย์พิเศษและต่อมาป็นอาจารย์ประจำและคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาปนิกรุ่นบุกเบิกผู้นำเอาเอกลักษณ์ไทยมาประยุกต์กับการออกแบบอาคารสมัยใหม่ ได้ทรงพัฒนาวัสดุก่อสร้างที่มีใช่ในท้องถิ่นให้เหมาะสม เช่นกระเบื้องปิดหัวจั่วกันผุ รวมทั้งการทดลองการใช้วัสดุพื้นถิ่นเช่นไม้ไผ่ ไม้ระแนงเสริมปูนฉาบซึ่งพบว่าใช้งานได้ดีในระดับเศรษฐกิจขณะนั้น.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และหม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ · ดูเพิ่มเติม »

อร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์

ันเอก อร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (24 สิงหาคม พ.ศ. 2463 - 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 อายุ 61 ปี) บุตรของพลเอก หลวงเสรีเริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์) อดีตแม่ทัพกองทัพพายัพ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ และกระทรวงพาณิชย์ ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม อธิบดีกรมรถไฟและผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทยตามลำดับ พันเอกอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ สมรสกับสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา พระเชษฐภคินีในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อ พ.ศ. 2487 นับเป็นพระเชษฐภาดา (พี่เขย) ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีธิดาคือ ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม (เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 ที่สวิตเซอร์แลนด์) พันเอกอร่าม รัตนกุล เป็นบุคคลเดียวที่โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดช อยู่ในรถยนต์พระที่นั่งขณะที่เกิดอุบัติเหตุรถชนกับรถบรรทุก ที่ทะเลสาบเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2491 และได้รับบาดเจ็บสาหัส เมื่อเดินทางกลับประเทศไทย พันเอกอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ได้รับราชการเป็นอาจารย์สอนหนังสือ เมื่อ..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และอร่าม รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา

อันดับมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา ได้มีการจัดโดยนิตยสารต่างๆ ภายในประเทศ เพื่อเป็นตัวแสดงให้เห็นถึง ประสิทธิภาพของมหาวิทยาลัยในขณะนั้น และรวมถึงเป็นข้อมูลสำหรับนักเรียนหรือนักศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อช่วยในการตัดสินใจ ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยกันอย่างจริงจัง และ อันดับมหาวิทยาลัยที่จัดนั้น ก็ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนต่อของนักศึกษา อัตราการสมัคร (admission rate) อัตราการเข้าเรียนจริง ๆ ของผู้ที่ได้รับการตอบรับแล้ว (yield rate) และการวางแผนพัฒนาของมหาวิทยาลัยต่างๆ สำหรับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดของสหรัฐอเมริกา คือ การจัดอันดับโดยนิตยสาร ยูเอสนิวส์แอนด์เวิลด์รีพอร์ต (US News and World Report) ซึ่งได้เริ่มการจัดอันดับ มหาวิทยาลัยในระดับปริญญาตรี (College) ในปี 2526 เป็นต้นมา โดยในชั้นแรก เป็นแค่คอลัมน์หนึ่งของนิตยสารเท่านั้น และ การจัดอันดับมหาวิทยาลัย ไม่ได้รับความสนใจมากนักต่อนักการศึกษา และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ แต่ต่อมาด้วยความนิยมที่มีมากขึ้น ทำให้ นิตยสาร USNews ได้รับความนิยมจากนักเรียนในการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัย แม้จะมีข้อผิดพลาด และได้รับการวิจารณ์จากนักการศึกษาอยู่เสมอ ๆ ในยุคแรก ๆ ภายหลังนิตยสารได้ใช้ผู้เชี่ยวชาญในด้านสถิติมาเป็นบรรณาธิการในด้านการจัดอันดับโดยเฉพาะ ต่อมาได้มีนิตยสารอื่น ๆ ทำการจัดทำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของสหรัฐ ฯ ออกมามากขึ้น เช่น สำหรับคณะบริหารธุรกิจ มีนิตยสาร เช่น นิตยสารบิซิเนสวีก(BusinessWeek), นิตยสารฟอรบส์ (Forbes) ซึ่งได้รับความนิยม ในสาขาปรัชญา ก็มี Gourmet Report แต่อย่างไรก็ได้ การจัดลำดับของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ นั้น มีความแตกต่างกันตามแต่อคติและการให้น้ำหนักของปัจจัยที่ใช้วัดคะแนน ตัวอย่างของความแตกต่าง อาทิ ในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และอันดับมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์

อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ เกิดวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 จบการศึกษาระดับมัธยมปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และระดับปริญญาตรีจาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประวัติการทำงานของคุณอิทธิสุนทรได้สร้างสรรค์ผลงานบันเทิงหลายชิ้นและเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชมทั่วไปมาโดยตลอด เริ่มต้นจากการเป็นผู้เขียนบทและร่วมแสดงในรายการเพชฌฆาตความเครียด เป็นโปรดิวเซอร์และผู้กำกับ ที่บริษัทเจเอสแอล ทำรายการพลิกล็อก, วิก 07, รายการละคร และมินิซีรี่ย์หลายเรื่อง เขียนหนังสือรวมเรื่องสั้น ชุด”เพียงความทรงจำเอาไว้เลย” และเขียนเพลงให้กับหลายศิลปิน อาทิ ระวิวรรณ จินดา, แอนนา โรจน์รุ่งฤกษ์, อังศนา ช้างเศวต, ไฮร๊อค, โคโคแจ๊ส ฯลฯ รวมทั้งเพลงประกอบรายการโทรทัศน์ และเพลงโฆษณา เป็นผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณา และภาพยนตร์ไทย ที่บริษัทกิมมิคไดเรคชั่น และบริษัทกิมมิคฟิล์ม โดยมีผลงานเขียนบทและกำกับภาพยนตร์เรื่อง “ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด” ละครโทรทัศน์เรื่อง “ปู่ครับ ผมรักพ่อ”, “พระจันทร์ลายกระต่าย” และประสบความสำเร็จอย่างสูงจากภาพยนตร์เรื่อง “โหมโรง” ด้วยผลงานภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จหลายเรื่อง และเป็นอีกผู้หนึ่งที่สร้างชื่อเสียงให้วงการภาพยนตร์ไทยเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ทำให้คุณอิทธิสุนทรได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย อาทิ รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้กำกับยอดเยี่ยม เขียนบทยอดเยี่ยม ชมรมวิจารณ์บันเทิง ปี 2536 จาก “ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด”, รางวัลภาพยนตร์ส่งเสริมเยาวชน ปี 2536 จาก “ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด”, รางวัลเมขลา ละครสร้างสรรค์ดีเด่น ปี 2542 จาก “พระจันทร์ลายกระต่าย”, รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้กำกับยอดเยี่ยม จากงานภาพยนตร์แห่งชาติ(สุพรรณหงส์) และชมรมวิจารณ์บันเทิง ปี 2547 จาก “โหมโรง”, รางวัลAudience Awards จาก Miami International Film Festival (2005) และ MAINE International Film Festival (2005) จาก “โหมโรง”.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และอิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮวงจุ้ย (ศาสตร์)

ฮวงจุ้ย (อังกฤษ: Feng Shui ตัวย่อ: 风水 ตัวเต็ม: 風水 พินอิน: fēngshuǐ เฟิงสุ่ย IPA: /fɤŋ ʂueɪ/) หมายถึง สภาวะแวดล้อม หรือการอยู่อาศัยให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ในคติของชาวจีน มีลักษณะใกล้เคียงสถาปัตยกรรมศาสตร์ คำว่า ฮวงจุ้ย มาจากคำว่า ลม(ฮวง)และ น้ำ(จุ้ย) ออกเสียงตามสำเนียง จีนแต้จิ๋ว ฮวงจุ้ย นี้อาศัยหลักการของการไหลเวียนของพลังงานบนผืนโลก (ชี่)โดยเปรียบให้เข้าใจได้ง่ายโดยการเปรียบเทียบกับธรรมชาติของไหลที่เรารู้จักกันดี ได้แก่ธรรมชาติของลมและธรรมชาติของน้ำ ซึ่งนักพยากรณ์ฮวงจุ้ยที่ดีต้องอ่านพลังงานของชี่ และ แหล่งที่มาของชี่ให้ออก เพื่อเสริมการนำเข้า / ทำลายการปิดกั้น ให้ชี่ที่ดีสามารถเข้าได้ และ ถ่ายเทชี่ที่เสีย / ปิดกั้นไม่ให้ชี่ที่เสียสามารถเข้าสู่สถานที่ที่เราอยู่ได้ ศาสตร์นี้มาจากประเทศจีน ดังนั้นผู้ที่ศึกษาและอาจารย์มักจะมีเครื่องรางที่มาจากจีนมาใช้ในการแก้ ความเป็นจริงแล้ว การสร้างสภาพแวดล้อมตามหลักฮวงจุ้ยนั้น ไม่เหมือนกันเลยในแต่ละเขตของโลก สภาพภูมิอากาศคนละอย่าง ในเรื่องของพิธีกรรมจีนจึงมีบทบาทกับฮวงจุ้ย กับทุกประเทศซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณากัน ในเมืองไทย บ้านเรือนไทยสมัยก่อนจัดว่าถูกหลักของการจัดฮวงจุ้ยที่ถูกต้องในสภาพอากาศนี้ สำหรับในปัจจุบันบ้านเรือนไทยอาจจะไม่เหมาะ เนื่องจากราคาสูง ดังนั้นสถาปนิกที่มีต้องปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรม การจัดตามหลักฮวงจุ้ยนั้นมีการจัดเพื่อการณ์หลายอย่างตามการใช้งานที่เจ้าของอย่างให้เป็น ดังนั้นพื้นที่(space)กับอารมณ์(mood)มีส่วนสำคัญกับงานฮวงจุ้ย อารมณ์ของคน มีส่วนกับดวงชะตา วันเดือนปีเกิด และดวงดาวรวมถึง หลักเชิง จิตวิทยา หมวดหมู่:สถาปัตยกรรม หมวดหมู่:วัฒนธรรมจีน หมวดหมู่:คำจีนแต้จิ๋ว หมวดหมู่:การทำนายดวงชะตา.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และฮวงจุ้ย (ศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ธราภา กงทอง

ราภา กงทอง เกิดเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2528 เป็นนักแสดง ชาวไทย เข้าสู่วงการบันเทิงจากการประกวด ดัชชี่บอย แอนด์ เกิร์ล 2008 ได้รับรางวัลชนะเลิศฝ่ายหญิง จากนั้นได้เซ็นสัญญาเป็นนักแสดงช่อง 7 มีละครเรื่องแรกกับบทบาทนางเอก รักสุดใจ (2551) ปัจจุบันหมดสัญญากับทางช่อง 7 และออกจากวงการบันเทิงไปทำอาชีพธุรกิจของครอบครัวและแต่งงานกับหนุ่มนอกวงการแล้ว.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และธราภา กงทอง · ดูเพิ่มเติม »

ทิพย์สุดา ปทุมานนท์

รศ.ดร.ทิพย์สุดา ปทุมานนท์ รองศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ปทุมานนท์ (2496 -) อาจารย์สังกัดภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเขียนหนังสือด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์หลายเล่ม ได้รับเลือกเป็น "อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติของ ปอมท.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และทิพย์สุดา ปทุมานนท์ · ดูเพิ่มเติม »

ดีไซน์อินเทลลิเจนซ์

ีไซน์อินเทลลิเจนซ์ ดีไซน์อินเทลลิเจนซ์ (DesignIntelligence) เป็นนิตยสารในสหรัฐอเมริกาในด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบ สำนักงานอยู่ที่เมืองนอร์ครอสส์ ในรัฐจอร์เจีย ดีไซน์อินเทลลิเจนซ์เป็นที่รู้จักใน การจัดอันดับมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาในด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ รวมถึงในสาขาย่อยด้าน มัณฑณศิลป์ และ ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และดีไซน์อินเทลลิเจนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

คลาวเดีย จักรพันธุ์

ลาวเดีย จักรพันธุ์ มัซเซ็ตติ เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522 เป็นนักแสดงและพิธีกรชาวไทย เป็นบุตรสาวคนเดียวของอัลโด มัซเซ็ตติ ชาวอิตาลี กับ หม่อมราชวงศ์จันทิรา จักรพันธุ์ เป็นหลานตาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ผู้มีพระปรีชาสามารถเป็นเลิศด้านการประพันธ์เพลง มารดาของเธอนั้นสำเร็จการศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ส่วนบิดาของเธอเองก็เป็นนักดนตรีที่มีความสามารถ คลาวเดียศึกษาระดับประถมที่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย จนถึงมัธยมศึกษาปีที่6 โดยได้ร่วมแสดงละคร เต้นรำ และร้องเพลงในงานของโรงเรียนเสมอ อีกทั้งคุณแม่เห็นแววจึงได้สนับสนุนให้เธอเรียนพิเศษทางด้านเปียโน ทฤษฎีการดนตรี นาฏศิลป์ไทย และนาฏศิลป์สากลประเภทต่าง ๆ เช่น บัลเล่ต์ แจ๊ซ แท็พ แร็พ ตลอดจนการขับร้องเพลงและการเดินแบบ จากสถาบันและครูต่าง ๆ จนเธอ ได้เริ่มออกแสดงต่อหน้าสาธารณชนทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2534 ขณะอายุ 12 ปี และนับตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา ชื่อเสียงของเธอก็เป็นที่รู้จักไม่ว่าจะมีผลงานโฆษณา ถ่ายแบบแฟชั่นในนิตยสาร แสดงแฟชั่นโชว์ แสดงภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ และเป็นพิธีกรในรายการต่าง ๆ ทางด้านการศึกษาคลาวเดียสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในหลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการทางวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันคลาวเดีย ได้สมรสแล้วกับอรรคพร วิจิตรานนท์ โดยได้รับพระราชทานน้ำสังข์จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2549 และได้เข้าสู่ประตูวิวาห์เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม โดยได้ทำพิธีหมั้นหมายกันไปในช่วงเช้า ควบด้วยจัดงานเลี้ยงฉลองสมรสพระราชทานในตอนค่ำ ณ ห้องแกรนด์ฮอลล์ โรงแรมพลาซ่าแอทธินี โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุทรงมาเป็นประธานพิธีมงคลสมรสพระราชทานครั้งนี้ แต่หลังจากแต่งงานได้ 3 ปีกว่าก็หย่าร้างกัน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และคลาวเดีย จักรพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

ความทรงจำของฟาราห์ ปาห์ลาวี

วามทรงจำของฟาราห์ ปาห์ลาวี (ISBN 1-4013-5961-2) เป็นผลงานการประพันธ์ของฟาราห์ ปาห์ลาวี อดีตพระจักรพรรดินีแห่งอิหร่าน ที่ได้รวบรวมเรื่องราวในความทรงจำของเธอตั้งแต่ยังเด็ก และเป็นนักศึกษาสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ เมื่ออายุ 21 ปี ชีวิตของเธอได้พลิกผันเมื่อได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี เธอจึงกลายเป็นจักรพรรดินีแห่งประเทศอิหร่าน แต่ต่อมาอีก 20 ปีให้หลัง ชีวิตของเธอก็เปลี่ยนแปลงอีกครั้งแต่เป็นชีวิตที่พลิกผันเหมือนฝันร้าย เมื่อระบอบราชาธิปไตยในอิหร่านล่มสลาย พระเจ้าชาห์และพระองค์ต้องเสด็จลี้ภัยไปตามประเทศต่างๆ จนพระสวามีได้เสด็จสวรรคตที่ประเทศอียิปต์ โดยการประพันธ์ของฟาราห์ ปาห์ลาวีชิ้นนี้ ได้เปิดเผยเรื่องราวความรักความผูกพันของเธอ ที่มีต่อพระราชสวามีและประเทศอิหร่านเป็นครั้งแรก และถือเป็นเรื่องราวการประพันธ์ของพระองค์ที่น่าประทับใจเป็นอย่างยิ่ง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และความทรงจำของฟาราห์ ปาห์ลาวี · ดูเพิ่มเติม »

คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

ณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็น 1 ใน 4 คณะที่จัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกของมหาวิทยาลัยฯ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา · ดูเพิ่มเติม »

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2544 ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ณ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร · ดูเพิ่มเติม »

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถือกำเนิดภายใต้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อันอุดมไปด้วยทรัพยากรทางวิชาการทางด้านนิเวศวิทยา สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงมุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตผู้รับผิดชอบในการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม และเมือง โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมผสานความต้องการของมนุษย์เข้ากับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน และเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

ณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งแรกของภาคใต้ ตั้งอยู่ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จังหวัดสงขลา เปิดทำการสอนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2513 (วิทยาลัยเทคนิคภาคใต้ /วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา/สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคใต้).

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย · ดูเพิ่มเติม »

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เริ่มก่อตั้งเมื่อปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม · ดูเพิ่มเติม »

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

ณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา (School of Architecture and Fine Art, University of Phayao) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2553 ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน ณ อำเภอเมืองพะเยา จังหวั.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา · ดูเพิ่มเติม »

คงเดช จาตุรันต์รัศมี

งเดช จาตุรันต์รัศมี เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง นักเขียนบท ผู้กำกับภาพยนตร์ นักร้องนำวงสี่เต่าเธอ ภายหลังหันมาเป็นผู้เขียนบทภาพยนตร์ และกำกับภาพยนตร์ คงเดช จาตุรันต์รัศมี จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เคยเป็นกอปปี้ไรท์เตอร์ในงานโฆษณา อ่านสปอตโฆษณาวิทยุ ทำเพลงโฆษณาและเพลงประกอบภาพยนตร์ เริ่มกำกับภาพยนตร์จากโครงการประกวดภาพยนตร์สั้น 'ส่งฝันสู่ฟิล์ม' ที่จัดขึ้นโดยนิตยสารซีเนแมก กำกับร่วมกับเกียรติ ศงสนันทน์ ที่เป็นเพื่อนตั้งแต่เรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียนสวนกุหล.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และคงเดช จาตุรันต์รัศมี · ดูเพิ่มเติม »

ปรียา ฉิมโฉม

ปรียา ฉิมโฉม (สกุลเดิม เทพหัสดิน ณ อยุธยา, 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550) นักผังเมืองและสถาปนิก ผู้บุกเบิกสำคัญผู้หนึ่งด้านการผังเมืองของประเทศไทย ตั้งแต่ครั้งยังเป็นกองผังเมืองจนถึงระดับกรมโดยได้เป็นผู้อำนวยการ (อธิบดี) คนที่ 3 ของสำนักผังเมือง (ปัจจุบันคือกรมโยธาธิการและผังเมือง) และนับเป็นอธิบดีหญิงคนแรกของกระทรวงมหาดไทย นางปรียา ฉิมโฉมเป็นนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่น ที่ 1 (พ.ศ. 2476).

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และปรียา ฉิมโฉม · ดูเพิ่มเติม »

นารถ โพธิประสาท

อาจารย์นารถ โพธิประสาท ภาพวาดโดยอาจารย์แสงอรุณ รัตกสิกร ตำราสถาปัตยกรรมภาษาไทยเล่มแรกแต่งโดยอาจารย์ นารถ โพธิประสาท พ.ศ. 2487 ภาพวาดอาจารย์นารถ โพธิประสาทในบั้นปลายชีวิต-ไม่ทราบชื่อผู้วาด อาจารย์นารถ โพธิประสาท (เกิด 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444 – 18 มิถุนายน พ.ศ. 2497) เป็นสถาปนิก อาจารย์ชาวไทย เขาคือผู้ก่อตั้งสถาบันการศึกษาด้านสถาปัตยกรรม ระดับปริญญาแห่งแรกของประเทศไทย ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและผู้ร่วมสถาปนาวิชาชีพสถาปัตยกรรมของประเทศ นารถยังเป็นผู้แต่งหนังสือ สถาปัตยกรรมในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นหนังสือที่รวบรวมข้อมูล ลักษณะ ที่มาที่ไป ข้อมูลรังวัดของสถาปัตยกรรมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงยุครัตนโกสินทร์ เป็นเล่มแรกๆ และถือเป็นหนังสือเรียนเล่มแรกของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกด้ว.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และนารถ โพธิประสาท · ดูเพิ่มเติม »

นิโคลัส เนโกรพอนตี

นิโคลัส เนโกรพอนตี นิโคลัส เนโกรพอนตี (Nicholas Negroponte, IPA) (เกิด ค.ศ. 1943) เป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์เชื้อสายกรีก-อเมริกัน และเป็นผู้ก่อตั้ง เอ็มไอทีมีเดียแล็บ (MIT Media Lab) ของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ นิโคลัสจบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ เมื่อ ค.ศ. 1966 และเป็นอาจารย์ที่นั่นนับตั้งแต่นั้น เขาก่อตั้งมีเดียแล็บเมื่อ ค.ศ. 1985 และเป็นผู้ร่วมลงทุนก่อตั้งนิตยสารไวรด์ (Wired) ในปี ค.ศ. 1992 เขายังเขียนคอลัมน์ลงในไวรด์ ระหว่างปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และนิโคลัส เนโกรพอนตี · ดูเพิ่มเติม »

น้ำป่า

้านจัดสรรชานเมืองอุตรดิตถ์ถูกน้ำป่าหลากท่วมฉับพลัน Bangkok Post น้ำป่า หรือ น้ำท่วมฉับพลัน (flash flood) คือน้ำท่วมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากในบริเวณที่ลุ่มต่ำ ในแม่น้ำ ลำธารหรือร่องน้ำที่เกิดจากฝนที่ตกหนักมากติดต่อกันหรือจากพายุฝนที่เกิดซ้ำที่เดิมหลายครั้ง น้ำป่าอาจเกิดจากที่สิ่งปลูกสร้างโดยมนุษย์ เช่น เขื่อนหรือฝายพังทล.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และน้ำป่า · ดูเพิ่มเติม »

โทะโยะโอะ อิโต

ตโย อิโตะ เป็นวิทยากรบรรยายในงาน CAADRIA 2006 ณ เมืองคุมะโมะโตะ ประเทศญี่ปุ่น โทะโยะโอะ อิโต (พ.ศ. 2484 –) หรือในชื่อ โตโย อิโต (Toyo Ito) เป็นชาวญี่ปุ่นซึ่งได้ชื่อว่าเป็น "หนึ่งในสุดยอดสถาปนิกที่มีพลังสร้างสรรค์และอิทธิพลในวงการสถาปัตยกรรมมากที่สุดคนหนึ่ง" อิโตโด่งดังจากการสร้างอาคารที่มีแนวคิดแหวกแนวสุดโต่ง โดยที่เขาพยายามจะหลอมโลกทางกายภาพกับจินตภาพเข้าด้วยกัน เขาเป็นผู้นำในการสร้างสถาปัตยกรรมที่มีความเป็น"เมืองแห่งจินตนาการ"ร่วมสมัย อิโตเป็นชาวญี่ปุ่น เกิดเมื่อ..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และโทะโยะโอะ อิโต · ดูเพิ่มเติม »

เรือนภะรตราชา

รือนภะรตราชา (พะ-รด-ราชา) เป็นที่อาศัยเก่าและอาคารเรียนเก่า ตั้งอยู่ที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝั่งสำนักงานอธิการบดี) ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อปี พ.ศ. 2540.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และเรือนภะรตราชา · ดูเพิ่มเติม »

เวท

วท อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และเวท · ดูเพิ่มเติม »

เขริกา โชติวิจิตร

ริกา โชติวิจิตร (ชื่อเดิม: ผุสชา โชติวิจิตร หรือ จินนรี โชติวิจิตร) เป็นศิลปินชาวไทย สังกัดกามิกาเซ่ นักเปียโน และนางแบบนิตยสารวัยรุ่น อดีตสมาชิก ชิลลี่ไวท์ช็อค และ สวีต ดี ต่อมาได้เป็นศิลปินเดี่ยวในค่ายกามิกาเซ่ ต่อมาได้เข้าร่วม Project Seven Days2 ปัจจุบันได้ลาออกจากสังกัดกามิกาเซ่เป็นที่เรียบร้อ.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และเขริกา โชติวิจิตร · ดูเพิ่มเติม »

เดอะนิวสคูล

ูเนียนสแควร์ จตุรัสที่มักถือว่าเป็นใจกลางของมหาวิทยาลัย เดอะนิวสคูล (The New School) เป็นมหาวิทยาลัยในนครนิวยอร์ก อาคารเกือบทั้งหมดตั้งอยู่ในย่านชุมชน Greenwich Village ตั้งแต่ก่อตั้งใน..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และเดอะนิวสคูล · ดูเพิ่มเติม »

เฉาเก๋อ

ฉาเก๋อ หรือ แกรี่ เฉา (Gary Cao) เกิดเมื่อ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1979 เป็นนักร้องและนักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงในไต้หวัน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมศาสตร์และเฉาเก๋อ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »