สารบัญ
2 ความสัมพันธ์: หวายหวายกุ้งน้ำพราย
หวาย
ก้าอี้หวาย การทำเฟอร์นิเจอร์จากหวายในอินโดนีเซีย หวาย (Rattan palm) เป็นพืชที่อยู่ในเผ่าหวาย (Calameae) พบทั่วไปในเขตร้อนของทวีปแอฟริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสตราเลเชีย ทั่วโลกมีหวายเกือบ 600 ชนิด เฉพาะในประเทศไทย มีหวายเกือบ 60 ชนิด เช่น หวายโคก หวายดง หวายน้ำผึ้ง เป็นต้น ลักษณะโดยทั่วไปของหวายเป็นพันธุ์ไม้เลื้อยหรือไม้รอเลื้อยตระกูลปาล์ม ลำเถาชอบพันเกาะต้นไม้ใหญ่ มีกาบหุ้มต้น และมีหนามแหลม มีความเหนียว ใบเป็นรูปขนนกเล็กๆ ใบย่อยนั้นเรียวยาว มีสีเขียวสด ก้านใบหนึ่งๆ มีใบย่อยราว 60 - 80 คู่ ออกดอกเป็นช่อ สีขาวปนเหลือง ผลค่อนข้างกลม เปลือกเป็นเกล็ด ลูกอ่อนเปลือกสีเขียว เนื้อสีขาว ผลแก่เปลือกสีเหลือง เปลือกล่อน เนื้อแข็ง รสเปรี้ยวฝ.
หวายกุ้งน้ำพราย
หวายกุ้งน้ำพราย เป็นหวายกอขนาดใหญ่ ออกดอกครั้งเดียวแล้วตาย กาบหุ้มลำเมื่อสดมีสีเขียวอ่อนมีขุยสีน้ำตาล และมีสีน้ำตาลมีขุยสีเทาเมื่อแห้ง หนามขนาดใหญ่ค่อนข้างแน่น ผลกลมเมื่อแห้งมีสีน้ำตาลแดง ขอบเกล็ดหุ้มผลสีดำสลับกับริ้วสีเหลือง กระจายพันธุ์ในบอร์เนียว สุมาตรา คาบสมุทรมลายู ไปจนถึงภาคใต้ของไทย ใช้ผูกมัดหรือสานตะกร้าแบบหยาบๆ ใช้สานเครื่องมือดักปลาหรือกรงไก่ ยอดรับประทานได้และมีจำหน่ายในท้องตลาดในซาราวะก์ แต่ชนพื้นเมืองในคาบสมุทรมลายูเชื่อว่ามีพิษ.
ดู สกุลหวายกุ้งน้ำพรายและหวายกุ้งน้ำพราย
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Plectocomiopsis