เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

สกุลมะเมื่อย

ดัชนี สกุลมะเมื่อย

กุลมะเมื่อย (Gnetum) เป็นสกุลหนึ่งของกลุ่มพืชเมล็ดเปลือย ซึ่งมีวิวัฒนาการใกล้เคียงกับพืชดอกมากที่สุด ทุกชนิดในสกุลนี้พบเป็นพืชพื้นเมืองของอินโดนีเซีย ส่วนใหญ่เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ลักษณะเด่นของพืชสกุลนี้คือ กิ่งเป็นข้อและพองบวมามข้อ สตรอบิลัสทำหน้าที่คล้ายช่อดอก แยกเพศ เมล็ดของพืชกลุ่มนี้งอยากมาก ทำให้มีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ ในไทยพบ 8 ชนิดคือ เมื่อยดำ ปีแซ ผักเหมียง มะม่วย เมื่อยดูกหรือม่วยเลือด เมื่อยนก เมื่อย และเมื่อยนก พืชในสกุลนี้นิยมนำเมล็ดไปอบ ใช้ใบเป็นผัก บางชนิดเป็นยาสมุนไพร.

สารบัญ

  1. 6 ความสัมพันธ์: มะม่วยผักเหมียงเมื่อย (แก้ความกำกวม)เมื่อยขาวเมื่อยดูกเมื่อยเลื้อย

มะม่วย

มะม่วย เป็นพืชเมล็ดเปลือยในสกุลมะเมื่อย ลักษณะเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง สตรอบิลัสเกิดตามลำต้น ใบออกที่ยอด เมล็ดสุกแก่สีส้ม ติดเมล็ดช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ เมล็ดมักถูกหนอนแมลงเจาะทำลายเสียหายจนไม่สามารถงอกได้.

ดู สกุลมะเมื่อยและมะม่วย

ผักเหมียง

ผักเหมียง ผักเหลียง เป็นพืชเมล็ดเปลือยในสกุลมะเมื่อย ลักษณะเป็นไม้พุ่ม เมล็ดแก่สีส้ม ติดเมล็ดช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทางตะวันตกของหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก แพร่กระจายจากรัฐอัสสัมผ่านอินโดนีเซีย มาเลเซียไปจนถึงฟิลิปปินส์และฟีจี ในไทยพบทางภาคใต้ เช่น พบในจังหวัดพังงา ภูเก็ต ชื่อในภาษาต่าง ๆ ได้แก่ เมอลินโจ หรือ เบอลินโจ (ภาษาอินโดนีเซีย), บาโก (ภาษามลายู, ภาษาตากาล็อก), ปีแซ (ภาษามลายูปัตตานี), แด (ภาษากวาราแอ) และ Bét, Rau bép, Rau danh หรือ Gắm (ภาษาเวียดนาม).

ดู สกุลมะเมื่อยและผักเหมียง

เมื่อย (แก้ความกำกวม)

มื่อย อาจหมายถึง.

ดู สกุลมะเมื่อยและเมื่อย (แก้ความกำกวม)

เมื่อยขาว

มื่อยขาว หรือมะม่วย Markgr.

ดู สกุลมะเมื่อยและเมื่อยขาว

เมื่อยดูก

มื่อยดูก หรือ เมื่อยแดง() ชื่ออื่นๆได้แก่ เมื่อย ม่วย (นครราชสีมา ตราด) เมื่อยเลือด (หนองคาย) ม่วยแดง (อุบลราชธานี) กำแพงเพชรเจ็ดชั้น (กระบี่)เป็นพืชเมล็ดเปลือยในสกุลมะเมื่อย ลักษณะเป็น ไม้พุ่มรอเลื้อย เถาเป็นไม้เนื้อแข็ง คล้ายมะม่วย แต่ที่สตรอบิลัสจะมีขนสีน้ำตาลปกคลุมชัดเจน เปลือกเถาสีน้ำตาลอ่อน เมล็ดสุกแก่เป็นสีแดงคล้ำ ติดเมล็ดช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม เมื่อยดูกมีฤทธิ์เป็นยาสมุนไพร ใช้ เถา แก้เมื่อย ทำให้เส้นเอ็นหย่อน ทำให้จิตใจชุ่มชื่น ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ ลำต้น ดองเหล้าดื่ม แก้ปวดเมื่อย ผสมแก่นกัดลิ้น ลำต้นขมิ้นเครือ และลำต้นพรมคตต้มน้ำดื่ม แก้อัมพฤกษ์ อัมพาต ทางภาคใต้ใช้ ลำต้น ผสมลำต้นตีนเป็ดน้ำ หรือรากหมากหมก ลำต้นเถาเอ็นอ่อน และแก่นกันเกรา ต้มน้ำดื่ม บำรุงเส้นเอ็น ผสมสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม บำรุงโลหิตสตรี.

ดู สกุลมะเมื่อยและเมื่อยดูก

เมื่อยเลื้อย

มื่อยเลื้อย อยู่ในวงศ์ Gnetaceae ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประก์ ประเทศมาเลเซียนำทั้งต้นต้มในน้ำ ใช้ดื่มลดไข้ ชาวกะเหรี่ยงนำน้ำไหลออกมาจากเครือที่ถูกตัดใส่ในแผลไฟไหม้ทำให้แผลยุบลง.

ดู สกุลมะเมื่อยและเมื่อยเลื้อย

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Gnetum