โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดัชนี ส

ส (เสือ) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 40 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ษ (ฤๅษี) และก่อนหน้า ห (หีบ) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรสูง ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า "ส เสือ" อักษร ส เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /s/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/ กรณีทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ ใช้แทนเสียง /s/ หรือ /z/ ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะสะกด หมวดหมู่:อักษรไทย.

10 ความสัมพันธ์: ภาษาไทยมาตรารายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก (ส)โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ตไตรยางศ์เสือเสียงกัก ปุ่มเหงือก ไม่ก้องเสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: สและภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

มาตรา

"มาตรา" สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: สและมาตรา · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก (ส)

ต่อไปนี้เป็นรายชื่อของบุคคลในประวัติศาสตร์จีนในยุคสามก๊กที่มีชื่อขึ้นต้นด้วยตัวอักษร ส รายชื่อนี้แสดงชื่อตามสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ชื่อในภาษาจีนกลาง ชื่อในอักษรโรมัน และชื่อเขียนเป็นตัวอักษรจีน กรณีเป็นชื่อบุคคลที่ไม่ปรากฏในสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) จะแสดงเฉพาะชื่อในภาษาจีนกลาง ชื่อในอักษรโรมัน และชื่อเขียนเป็นตัวอักษรจีน.

ใหม่!!: สและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก (ส) · ดูเพิ่มเติม »

ษ (ฤๅษี) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 39 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ศ (ศาลา) และก่อนหน้า ส (เสือ) ออกเสียงอย่าง ส (เสือ) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรสูง ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ษ ฤๅษี” (บางคนก็เรียกว่า ษ บอ เนื่องจากมีรูปร่างคล้าย บ) อักษร ษ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /s/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/ หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: สและษ · ดูเพิ่มเติม »

ห (หีบ) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 41 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ส (เสือ) และก่อนหน้า ฬ (จุฬา) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรสูง ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ห หีบ” อักษร ห เป็นพยัญชนะต้น ให้เสียง /h/ แต่ไม่ใช้เป็นพยัญชนะสะกด ถึงแม้เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี ห ก็จะไม่ออกเสียง แต่จะออกเสียงเป็นพยัญชนะตัวถัดไปแทน เช่น พราหมณ์ (พราม) พรัหมา (พรัม-มา) เป็นต้น ห สามารถใช้เป็นอักษรนำสำหรับพยัญชนะเหล่านี้ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ เพื่อให้สามารถผันวรรณยุกต์ได้ครบ 5 เสียง หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: สและห · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต

รงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต (Srinagarindra the Princess Mother School, Phuket) เดิมมีชื่อคือโรงเรียนภูเก็ตพิทยาคม เป็นโรงเรียนที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ต่อมาในปี..

ใหม่!!: สและโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต · ดูเพิ่มเติม »

ไตรยางศ์

ตรยางศ์ หรือ อักษรสามหมู่ คือระบบการจัดหมวดหมู่อักษรไทย (เฉพาะรูปพยัญชนะ) ตามลักษณะการผันวรรณยุกต์ ของพยัญชนะแต่ละหมวด เนื่องจากพยัญชนะไทย เมื่อกำกับด้วยวรรณยุกต์หนึ่งๆ แล้วจะมีเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน การจัดหมวดพยัญชนะ ทำให้การเรียนภาษาไทยง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงเชื่อว่า ในชั้นแรกนั้น การแบ่งหมวดหมู่พยัญชนะน่าจะทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการแต่งตำราสอนภาษาไทยแก่นักเรียน คำว่า ไตรยางศ์ มาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า ตฺรย (ไตร) ซึ่งแปลว่า สาม รวมกับ อํศ (องศ์) ซึ่งแปลว่า ส่วน ดังนั้น ไตรยางศ์ จึงแปลรวมกันได้ว่าว่า สามส่วน.

ใหม่!!: สและไตรยางศ์ · ดูเพิ่มเติม »

เสือ

ือ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ฟิลิดีซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมวโดยชนิดที่เรียกว่าเสือมักมีขนาดลำตัวค่อนข้างใหญ่กว่าและอาศัยอยู่ภายในป่า ขนาดของลำตัวประมาณ 168 - 227 เซนติเมตรและหนักประมาณ 180 - 245 กิโลกรัม รูม่านตากลม เป็นสัตว์กินเนื้อกลุ่มหนึ่ง มีลักษณะและรูปร่างรวมทั้งพฤติกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ แตกต่างจากสัตว์ในกลุ่มอื่น หากินเวลากลางคืน มีถิ่นกำเนิดในป่า เสือส่วนใหญ่ยังคงมีความสามารถในการปีนป่ายต้นไม้ ซึ่งยกเว้นเสือชีต้า เสือทุกชนิดมีกรามที่สั้นและแข็งแรง มีเขี้ยว 2 คู่สำหรับกัดเหยื่อ ทั่วทั้งโลกมีสัตว์ที่อยู่ในวงศ์เสือและแมวประมาณ 37 ชนิด ซึ่งรวมทั้งแมวบ้านด้วย เสือจัดเป็นสัตว์นักล่าที่มีความสง่างามในตัวเอง โดยเฉพาะเสือขนาดใหญ่ที่แลดูน่าเกรงขราม ไม่ว่าจะเป็นเสือโคร่งหรือเสือดาว ผู้ที่พบเห็นเสือในครั้งแรกย่อมเกิดความประทับใจในความสง่างาม แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดความหวาดหวั่นเกรงขามในพละกำลังและอำนาจภายในตัวของพวกมัน เสือจึงได้รับการยกย่องให้เป็นราชาแห่งสัตว์ปา และเป็นจ้าวแห่งนักล่าอย่างแท้จริง เสือ จ้าวแห่งนักล่า, ศลิษา สถาปรวัฒน์, ดร.อลัน ราบิโนวิทซ์, สำนักพิมพ์สารคดี, 2538, หน้า 14 ปัจจุบันจำนวนของเสือในประเทศไทยลดจำนวนลงเป็นอย่างมากในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี เสือกลับถูกล่า ป่าภายในประเทศถูกทำลายเป็นอย่างมาก สภาพธรรมชาติในพื้นที่ต่าง ๆ ถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของมนุษย์เอง ทุกวันนี้ปริมาณของเสือที่จัดอยู่ในลำดับสุดท้ายของห่วงโซ่อาหารถือเป็นสิ่งจำเป็น เพราะการสูญสิ้นหรือลดจำนวนลงอย่างมากของเสือซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อ จะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างและระบบนิเวศทั้งหมด การลดจำนวนอย่างรวดเร็วของเสือเพียงหนึ่งหรือสองชนิดในประเทศไทย ทำให้ปริมาณของสัตว์กินพืชเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้ธรรมชาติเสียความสมดุลในที.

ใหม่!!: สและเสือ · ดูเพิ่มเติม »

เสียงกัก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง

เสียงกัก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง (voiceless alveolar plosive) เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ t เสียงนี้มักจะปรากฏในหลายภาษาโดยทั่วไปในลักษณะธรรมดา คือ แต่ในภาษาไทยจะมีสองแบบคือแบบไม่พ่นลม และแบบพ่นลม ภาษาในอินเดียมักจะแบ่งออกเป็นสองแบบเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่นภาษาฮินดี ภาษาที่ไม่มีเสียงนี้คือ ภาษาฮาวาย (นอกเขตนีอิเฮา) ในภาษาไทย เสียงนี้เมื่ออยู่ในตำแหน่งที่ต่างกันของพยางค์จะแทนได้ด้วยอักษรแทนด้วยอักษรที่แตกต่างกัน เสียงแบบไม่พ่นลมจะแทนด้วย ฏ ต เมื่ออยู่ต้นพยางค์ แต่เมื่ออยู่ท้ายพยางค์จะแทนได้ด้วย จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส ส่วนเสียงแบบพ่นลมจะอยู่ได้เฉพาะตำแหน่งต้นพยางค์ และแทนได้ด้วยอักษร ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะในภาษาไทย.

ใหม่!!: สและเสียงกัก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง · ดูเพิ่มเติม »

เสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง

เสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ /s/ ในภาษาไทยจะสะกดด้วยตัวอักษร ซ ส ศ และ ษ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะในภาษาไทย.

ใหม่!!: สและเสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »