โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค

ดัชนี ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค

ูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค (Regional Specialized Meteorological Center, ย่อว่า RSMC) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการเผยแพร่ข้อมูล คำแนะนำ และคำเตือนทางอุตุนิยมวิทยาในภูมิภาคที่ตนเองตั้งอยู่ ได้รับการยอมรับโดยความเห็นพ้องที่องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกในฐานะส่วนหนึ่งของหน่วยงานการเฝ้าระวังสภาพอากาศโลก.

8 ความสัมพันธ์: พายุหมุนเขตร้อนพายุไต้ฝุ่นทุเรียนฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2558ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2559ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2560ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้ พ.ศ. 2558–2559แอ่งพายุหมุนเขตร้อนไต้ฝุ่น

พายุหมุนเขตร้อน

รนแบนด์โดยรอบ, และลักษณะของพายุหมุนเขตร้อน ที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากอวกาศ พายุหมุนเขตร้อน คือ ระบบพายุที่พัฒนามาจากศูนย์กลางของหย่อมความกดอากาศต่ำ, ลมแรง และการจัดเกลียวของพายุฝนฟ้าคะนอง ทั้งนี้ขึ้นกับสถานที่และความรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณเขตร้อนของโลก ซึ่งมีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น พายุเฮอร์ริเคน, พายุโซนร้อน, พายุไซโคลน, พายุดีเปรสชันเขตร้อน และพายุไซโคลนอย่างง่าย โดยทั่วไปรูปแบบพายุหมุนเขตร้อนจะมีขนาดใหญ่ขึ้นกับความสัมพันธ์กับน้ำอุ่น โดยพายุจะได้รับพลังงานผ่านการระเหยของน้ำบริเวณพื้นผิวมหาสมุทร ซึ่งในที่สุดน้ำเหล่านั้นจะควบแน่นอีกครั้งและเข้าไปอยู่ในกลุ่มเมฆและฝน เมื่ออากาศชื้นและความเย็นอิ่มตัว ซึ่งแหล่งพลังงานนี้จะแตกต่างกับพายุหมุนละติจูดกลาง ตัวอย่างเช่น นอร์อิสเทิร์น และพายุลมยุโรป ซึ่งได้รับพลังพลักดันหลักจากความแตกต่างของอุณหภูมิในแนวนอน โดยลมหมุนวนรอบอย่างรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนนั้นเป็นผลมาจากการอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม ซึ่งเกิดจากสภาวะการหมุนรอบตัวเองของโลก ขณะที่อากาศไหลเข้ามาสู่แกนกลางของการหมุน ผลที่ตามมา คือ พายุมักไม่ค่อยเกิดขึ้นภายใน 5° จากศูนย์สูตร พายุหมุนเขตร้อนโดยทั่วไปเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 100 - 4,000 กิโลเมตร คำว่า พายุหมุน (หรือไซโคลน) หมายถึง พายุหมุนตามธรรมชาติ ซึ่งลมจะพัดหมุนทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ และจะพัดหมุนตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้ ซึ่งทิศทางตรงข้ามการของการไหลเวียนลม เป็นผลมาจากคอริโอลิส ส่วนคำว่า เขตร้อน หมายถึง แหล่งกำเนิดของพายุทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นรูปแบบพิเศษของทะเลในเขตร้อน นอกจากลมแรงและฝนตก พายุหมุนเขตร้อนมีความสามารถในการสร้างคลื่นสูง และก่อให้เกิดความเสียหายจากน้ำขึ้นจากพายุ และทอร์นาโด ซึ่งมักจะลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงที่พายุอยู่บนแผ่นดิน เนื่องจากถูกตัดขาดจากแหล่งพลังงานหลักของมัน จากเหตุผลนี้ ทำให้บริเวณชายฝั่งทะเล มักมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายจากพายุหมุนเขตร้อนมากกว่า เมื่อเทียบกับในแผ่นดิน อย่างไรก็ตามในแผ่นดินเองก็เกิดความเสียหายได้จากน้ำท่วมบนแผ่นดิน จากฝนตกหนัก และน้ำขึ้นจากพายุสามารถก่อให้เกิดน้ำท่วมบนแผ่นดินได้กว้างถึง 40 กิโลเมตร จากชายฝั่งทะเล แม้ว่าพายุหมุนเขตร้อนจะส่งผลกระทบต่อประชากรมนุษย์มหาศาล แต่พายุยังสามารถช่วยบรรเทาภาวะภัยแล้งได้ พวกมันยังพาพลังงานความร้อนออกไปจากเขตร้อน ข้ามผ่านไปยังละติจูดในเขตอบอุ่น ซึ่งอาจมีบทบาทสำคัญในการปรับเปลี่ยนสภาวะภูมิอากาศในระดับภูมิภาคและระดับโลก.

ใหม่!!: ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคและพายุหมุนเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

พายุไต้ฝุ่นทุเรียน

ต้ฝุ่นทุเรียน (ชื่อสากล: 0621, JTWC ตั้งชื่อ: 24W, ให้ชื่อ Typhoon Reming โดย PAGASA และบ้างครั้งเรียกซูเปอร์ไต้ฝุ่นทุเรียน) เป็นพายุที่รุนแรงมาก ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากในประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นเหตุให้มีประชาชนหลายหมู่บ้านเสียชีวิตเป็นจำนวนมากจากโคลนถล่มที่ภูเขาไฟมายอน ตามศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น ไต้ฝุ่นทุเรียนเป็นดีเปรสชั่นในเขตร้อนลำดับที่ 24, พายุเขตร้อนลำดับที่ 23, ไต้ฝุ่นลำดับที่ 14 และซูเปอร์ไต้ฝุ่นลำดับที่ 7 ของฤดูไต้ฝุ่นเขตแปซิฟิกปี..

ใหม่!!: ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคและพายุไต้ฝุ่นทุเรียน · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2558

ูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดี..

ใหม่!!: ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคและฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2558 · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2559

ูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดี..

ใหม่!!: ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคและฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2559 · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2560

ูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดี..

ใหม่!!: ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคและฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2560 · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้ พ.ศ. 2558–2559

ูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้..

ใหม่!!: ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคและฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้ พ.ศ. 2558–2559 · ดูเพิ่มเติม »

แอ่งพายุหมุนเขตร้อน

thumb ตามธรรมเนียม พายุหมุนเขตร้อนจะก่อตัวขึ้นแยกกันภายในทั้งหมดเจ็ดแอ่ง ซึ่งประกอบไปด้วย มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ, ด้านตะวันออกและตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ, ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก, ด้านตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงใต้ของมหาสมุทรอินเดีย และด้านเหนือของมหาสมุทรอินเดีย (ทะเลอาหรับ และ อ่าวเบงกอล) ซึ่งในเจ็ดแอ่งนี้ มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกมีการกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนบ่อยที่สุด และด้านเหนือของมหาสมุทรอินเดียมีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนน้อยที่สุด ค่าเฉลี่ยของพายุหมุนเขตร้อน ที่มีความรุนแรงในระดับมากกว่าพายุโซนร้อน ทั่วโลกอยู่ที่ 86 ลูก ในจำนวนนี้ 47 ลูก มีความรุนแรงเป็นถึงพายุเฮอร์ริเคน/พายุไต้ฝุ่น และอีก 20 ลูก มีความรุนแรงเป็นถึงพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรง (อย่างน้อยมีความรุนแรงอยู่ในระดับ 3).

ใหม่!!: ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคและแอ่งพายุหมุนเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

ไต้ฝุ่น

ต้ฝุ่นสามลูกขณะหมุนอยู่เหนือมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันตกเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2549 พายุไต้ฝุ่น เป็นพายุหมุนเขตร้อนความเร็วลมสูงสุด ซึ่งก่อตัวขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกระหว่าง 180° กับ 100° ตะวันออก ซึ่งภูมิภาคนี้ถูกตั้งชื่อว่า "แอ่งแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ" สำหรับจุดประสงค์เกี่ยวกับองค์กร มหาสมุทรแปซฟิกตอนเหนือถูกแบ่งออกเป็นสามเขต ได้แก่ ทางตะวันออก (ทวีปอเมริกาเหนือจนถึงลองติจูด 140° ตะวันตก) ตอนกลาง (140° ตะวันตกถึง 180°) และทางตะวันตก (180° ถึง 100° ตะวันออก) ปรากฏการณ์พายุแบบเดียวกันที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือทางตะวันออกจะถูกเรียกว่า เฮอร์ริเคน และพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนที่ไปยังมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกจะถูกเรียกว่า ไต้ฝุ่น ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค (RSMC) ซึ่งมีหน้าที่พยากรณ์การเกิดพายุหมุนเขตร้อนตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น และศูนย์เตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนอื่น ๆ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกตั้งอยู่ในโฮโนลูลู (ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น) ฟิลิปปินส์และฮ่องกง ขณะที่ RSMC ตั้งชื่อในแต่ละระบบ ตัวรายชื่อหลักนั้นเป็นความร่วมมือกันระหว่าง 18 ประเทศ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ซึ่งประเทศเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นทุกปี ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ พายุไต้ฝุ่นไม่มีการกำหนดฤดูกาลอย่างเป็นทางการ เพราะพายุไต้ฝุ่นก่อตัวขึ้นตลอดทั้งปี เช่นเดียวกับพายุหมุนเขตร้อนทั่วไป ปัจจัยที่ทำให้พายุไต้ฝุ่นก่อตัวและมีความเร็วเพิ่มขึ้นนั้นมีหกประการ ได้แก่ อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่อุ่นเพียงพอ ความไม่แน่นอนของสภาพอากาศ ระดับความชื้นสัมพัทธ์สูงในชั้นโทรโพสเฟียร์ระดับล่างถึงกลาง แรงโคริโอลิสที่มากพอที่จะสร้างศูนย์ความดันอากาศต่ำ การรบกวนหรือจุดรวมระดับต่ำที่มีอยู่แล้ว และวินเชียร์แนวดิ่งต่ำ พายุไต้ฝุ่นส่วนมากก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายนและเดือนพฤศจิกายน ขณะที่พายุหมุ่นเขตร้อนก่อตัวขึ้นอย่างน้อยก็ระหว่างเดือนธันวาคมและพฤษภาคม โดยเฉลี่ยแล้ว มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือเป็นบริเวณที่เกิดพายุหมุนเขตร้อนบ่อยครั้งที่สุดและรุนแรงที่สุดในโลก เช่นเดียวกับแอ่งอื่น ๆ พายุจะถูกนำทางโดยลิ่มความกดอากาศสูงเหนือเขตร้อนไปทางตะวันตกหรือตะวันตกเฉยงเหนือ โดยมีบางลูกที่ย้อนกลับมาใกล้ทางตะวันออกของญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการขึ้นฝั่ง จีนและญี่ปุ่นได้รับผลกระทบน้อยกว่าบ้าง พายุไต้ฝุ่นที่สร้างความเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ได้พัดเข้าถล่มจีน ทางตอนใต้ของจีนมีบันทึกผลกระทบของพายุไต้ฝุ่นที่ยาวนานที่สุด ซึ่งสามารถย้อนหลังไปได้นับพันปีผ่านเอกสารในหอจดหมายเหตุ ไต้หวันเคยประสบกับพายุไต้ฝุ่นที่เปียกที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมาในแอ่งพายุหมุนเขตร้อนแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ.

ใหม่!!: ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคและไต้ฝุ่น · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ศูนย์กลางอุตุนิยมวิทยากำหนดขอบเขตส่วนภูมิภาค

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »