โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศิลาแลง

ดัชนี ศิลาแลง

การตัดอิฐจากศิลาแลง ในประเทศอินเดีย thumb ศิลาแลง หรือ แม่รัง เป็นวัสดุในธรรมชาติอย่างหนึ่ง มีลักษณะคล้ายกับหิน สีแดง ส้ม หรือน้ำตาลเข้ม มีรูพรุนทั่วไป นับเป็นวัสดุที่มีความสำคัญในการก่อสร้างในอดีต เนื่องจากมีความอ่อนนุ่มและมีความแข็งพอสมควร.

40 ความสัมพันธ์: พระปรางค์สามยอดกลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิรายชื่อคำขวัญประจำจังหวัดวัดบางพลับวัดพระบรมธาตุวรวิหารวัดพระสี่อิริยาบถวัดพระธาตุบังพวนวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหารวัดพระธาตุเชิงชุมวัดพระแท่นศิลาอาสน์วัดกำแพงแลงวัดมหาธาตุวรวิหาร (จังหวัดราชบุรี)วัดศรีชุม (จังหวัดสุโขทัย)วัดโชติทายการามวัดโพธารามมหาวิหารวัดโกรกกรากวัดเชียงมั่นศิลปะทวารวดีสถาปัตยกรรมไทยหลวงพ่อดำ วัดสระทะเลอำเภอบรบืออำเภออรัญประเทศอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ทวารวดีทัชมาฮาลที่ราบสูงโคราชปราสาทบากองปราสาทบ้านสนม (ปราสาทวัดธาตุ)ปราสาทพระขรรค์ปราสาทสด๊กก๊อกธมปราสาทขอมปราสาทตาควายปราสาทตาเมือนปราสาทตาเมือนธมปราสาทตาเมือนโต๊ดปราสาทเมืองต่ำปรางค์กู่ จังหวัดชัยภูมิNepenthes mindanaoensis

พระปรางค์สามยอด

ระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี เป็นโบราณสถานและ แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดลพบุรี ลักษณะเป็นปราสาทขอมในศิลปะบายน (พ.ศ. 1720 - 1773) โครงสร้างเป็นศิลาแลงประดับปูนปั้น สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ครองราชย์ พ.ศ. 1724 - ประมาณ 1757) เพื่อเป็นพุทธสถานในลัทธิวัชรยานประจำเมืองละโว้หรือลพบุรี ซึ่งในขณะนั้นเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรขอม แต่เดิมภายในปราสาทประธานประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง ปราสาททิศใต้ประดิษฐานรูปพระโลเกศวร (พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร) สี่กร และปราสาททิศเหนือประดิษฐานรูปพระนางปรัชญาปารมิตาสองกร พระปรางค์สามยอดในอดีต (ด้านทิศตะวันออก).

ใหม่!!: ศิลาแลงและพระปรางค์สามยอด · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิ

กลุ่มปราสาทตาเมือนตั้งอยู่ในช่องเขาตาเมือน (หรือช่องเขาตาเมียง) เทือกเขาพนมดงรัก ในเขตบ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ 8 ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทที่รวมกลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วยปราสาทหินสามหลัง เรียงลำดับจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก คือ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือน มาเป็นอุทยานประวัติศาสตร์กลุ่มปราสาทตาเมือน และกำลังพิจารณาปราสาทกลุ่มราชมรรคาเป็นมรดกโลก ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนธมด้านปราสาทบริวาร 2 หลัง ปราสาทตาเมือนธม ตั้งอยู่ในช่องเขาตาเมือน (หรือช่องเขาตาเมียง) เทือกเขาพนมดงรัก ในเขตบ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ 8 ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วยปราสาทหินสามหลัง เรียงลำดับจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก คือ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือน และและสมาชิกใหม่คือปราสาทศีขรภูมิ, ปราสาทตาคว.

ใหม่!!: ศิลาแลงและกลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อคำขวัญประจำจังหวัด

ำขวัญประจำจังหวัด เป็นคำขวัญที่แต่ละจังหวัดในประเทศไทยแต่งขึ้น เพื่อบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ ความภาคภูมิใจ และความโดดเด่นที่มีอยู่ในจังหวัดนั้น ๆ มักเป็นคำคล้องจองสั้น ๆ เพื่อให้จดจำง่าย นอกจากคำขวัญประจำจังหวัดแล้ว ปัจจุบันยังมีการแต่งคำขวัญประจำท้องถิ่นในส่วนย่อยลงไปอีก เช่น คำขวัญประจำอำเภอ คำขวัญประจำเขต (ในกรุงเทพมหานคร) เป็นต้น คำขวัญประจำจังหวัด แยกตามภาคได้ดังนี้.

ใหม่!!: ศิลาแลงและรายชื่อคำขวัญประจำจังหวัด · ดูเพิ่มเติม »

วัดบางพลับ

งพลับ หมวดหมู่:อำเภอบางคนที หมวดหมู่:โบราณสถานในจังหวัดสมุทรสงคราม วัดบางพลับ ตั้งอยู่ที่หมู่ ๔ ตำบลบางพรม อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๑๓ ตอนพิเศษ ๕๐ ง วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๓๙ เป็นวัดเก่าที่ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างแต่สันนิษฐานว่าสร้าง ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและแสดงให้เห็นว่าเป็นวัดที่เคยรุ่งเรืองมาในอดีต อย่างไรก็ตามวัดนี้มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ สงครามค่ายบางกุ้ง คือ เป็นวัดที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลองตรงข้ามค่ายบางกุ้ง เคยเป็นที่พักของกองทัพไทย สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ในการยกทัพมารบกับพม่า เดิมชื่อว่า บ้านพักทัพ ต่อมาเปลี่ยนเป็นบางพลับ มีโบราณสถานโบราณวัตถุที่มีคุณค่า ที่พอจะวินิจฉัยว่าเป็นวัดเก่าแก่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน ได้แก.

ใหม่!!: ศิลาแลงและวัดบางพลับ · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระบรมธาตุวรวิหาร

วัดพระบรมธาตุ ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา หมู่ 6 ตำบลชัยนาท อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท เป็นพระอารามหลวง ชั้นโท เป็นวัดเก่า สร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ตั้งอยู่ที่บ้านท้ายเมือง ตำบลชัยนาท อำเภอเมืองชัยนาท อยู่ห่างจากตัวเมืองชัยนาท 4 กม.

ใหม่!!: ศิลาแลงและวัดพระบรมธาตุวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระสี่อิริยาบถ

300px วัดพระสี่อิริยาบถ เป็นวัดตั้งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อยู่ถัดจากวัดพระนอนไปทางทิศเหนือในแนวกำแพงวัด ติดต่อกันถึงวัดพระสี่อิริยาบถ หรือที่เรียกกันเป็นสามัญว่าวัดพระยืน วัดนี้มีบ่อน้ำและที่อาบน้ำอยู่หน้าวัดเช่นเดียวกับวัดพระนอน กำแพงวัด เป็นศิลาแลงปักตั้งล้อม 4 ด้าน มีทางเข้าปูด้วยศิลาแลง มีศาลาโถงปลูกคร่อมทางเดินเป็นศาลากว้าง 6 เมตร ยาว 11 เมตร เป็นเสา 4 แถว 5 ห้อง ต่อจากศาลาหน้าวัดมีประตูเข้าไปในบริเวณวัดแล้วถึงฐานศิลาแลงใหญ่ ยกฐานสูงประมาณ 2 เมตร มีเสาลูกกรงเป็นศิลาแลงเหลี่ยมและมีทับหลังลูกกรงเตี้ย ๆ สูงประมาณ 60 เซนติเมตร อยู่โดยรอบ ฐานนี้มีบันไดขึ้นด้านหน้า 2 บันได ด้านข้าง 2 บันไดและด้านหลังอีก 2 บันได บนฐานวิหารกว้าง 17 เมตร ยาว 29 เมตร ย่อมุขเด็จทั้งหน้าและหลัง เสาวิหารที่อยู่บนฐานเป็นเสา 4 แถว 5 ห้อง 2 แถว หน้าและหลัง 2 ห้อง รวม 7 ห้อง ที่ฐานชุกชี มีรอยตั้งพระพุทธรูปนั่งด้านหลังวิหารมีบันไดลงติดต่อกับมณฑปพระอิริยาบถ โดยรอบมณฑปกำแพงแก้วเตี้ย ๆ เหลือแต่ฐาน มีประตูเข้าด้านข้าง 2 ข้าง และด้านหลังมณฑปกว้าง 29 เมตร เป็นมณฑปสี่หน้า ด้านหน้ามีพระพุทธรูปปางลีลา ด้านข้างเหนือมีพระพุทธรูปนั่ง พระพุทธรูปปูนปั้นทั้ง 3 ด้าน ที่กล่าวมาแล้วชำรุดเหลือซากพอเป็นรอยให้ดูรู้ว่าเป็นพระพุทธรูปเท่านั้น แต่ก็เป็นหลักฐานที่แสดงให้รู้ว่า เป็นพระพุทธศิลปแบบสุโขทัยสกุลช่างกำแพงเพชร ซึ่งหาดูได้ยาก.

ใหม่!!: ศิลาแลงและวัดพระสี่อิริยาบถ · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระธาตุบังพวน

ระธาตุบังพวน จังหวัดหนองคาย วัดพระธาตุบังพวน เป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่ที่ 172 หมู่ 3 ตำบลพระธาตุบังพวน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคายสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย พระธาตุบังพวนมีเนื้อที่ 102 ไร่ เจดีย์พระธาตุบังพวน เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม สร้างด้วยศิลาแลง อิฐดินเผา พ.ศ. 2210 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา โบราณวัตถุภายในวัดพระธาตุบังพวน ได้แก่ พระพุทธรูปใหญ่ 1 องค์ พระปางนาคปรก 1 องค์ ศิลาจารึก 1 หลัก พระธาตุบังพวน พระปรางค์ 3 องค์ เจดีย์เล็ก 7 องค์ เพื่อให้รู้ที่มาที่ไปของพระธาตุบังพวน ตามปรากฏในตำนานอุรังคธาตุ กล่าวว่า พระยาสุวรรณพิงคานเจ้าเมืองหนองหาน สกลนคร พระคำแดง เจ้าเมืองหนองหานน้อย อุดรธานี และพระยาจุลณีพรหมทัติ เจ้าเมืองจุลณี (ลาวเหนือ แคว้นสิบสองจุไทย) พระยาอินทปัตถนคร เจ้าเมืองอินทปัตถนคร (เขมร) และพระยานันทเสน เจ้าเมืองศรีโคตรบูรณ์หลวง กษัตริย์ทั้ง ๕ พระองค์ได้ทรงอุปถัมภ์พระมหกัสสปะเถระ พร้อมด้วย พระอรหันต์อีก ๕๐๐ก่อสร้างพระธาตุพนมจนเสร็จแล้วและได้บรรลุอรหันต์ในเวลาต่อมา กษัตริย์ทั้ง ๕ จึงออกเดินทางไปอินเดีย เพื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจำนวน ๔๕ องค์ มาประดิษฐานไว้ในสถานที่ ๔ แห่ง ได้แก.

ใหม่!!: ศิลาแลงและวัดพระธาตุบังพวน · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร (180px) เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหารราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม 55, ตอน 0 ง, 8 สิงหาคม 2481, หน้า 1476 ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 28 ไร่ 3 งาน 26 ตารางว.

ใหม่!!: ศิลาแลงและวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระธาตุเชิงชุม

ระธาตุเชิงชุม วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ริมหนองหาน ถนนเจริญเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร จะมีงานมนัสการพระธาตุประจำปี เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 11 ค่ำ ถึง 15 ค่ำ เดือนยี.

ใหม่!!: ศิลาแลงและวัดพระธาตุเชิงชุม · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระแท่นศิลาอาสน์

วัดพระแท่นศิลาอาสน์ เดิมชื่อ วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ที่บนเนินเขาเต่า บ้านพระแท่น ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ติดกับวัดพระยืนพุทธบาทยุคล ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก บนเนินเขาลูกเดียวกันแต่คนละยอด วัดพระแท่นศิลาอาสน์เป็นวัดโบราณ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ใดสร้าง และสร้างแต่เมื่อใด ในศิลาจารึกครั้งกรุงสุโขทัยไม่ปรากฏข้อความกล่าวถึงพระแท่นศิลาอาสน์ แต่เพิ่งมีปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดาร ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระองค์ได้เสด็จนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ เมื่อปี พ.ศ. 2283 ได้แสดงว่าพระแท่นศิลาอาสน์ได้มีมาก่อนหน้านี้แล้ว จนเป็นที่เคารพสักการะของคนทั่วไปอย่างกว้างขวาง และทางราชการได้นำพระแท่นศิลาอาสน์ไปประดิษฐานไว้ในตราประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แสดงถึงความศรัทธาเลื่อมใสและความสำคัญขององค์พระแท่นศิลาอาสน์ได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันวัดพระแท่นศิลาอาสน์ ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี สังกัดธรรมยุตินิกาย เมื่อปี พ.ศ. 2549.

ใหม่!!: ศิลาแลงและวัดพระแท่นศิลาอาสน์ · ดูเพิ่มเติม »

วัดกำแพงแลง

วัดกำแพงแลง หรือ วัดเทพปราสาทศิลาแลง ตั้งอยู่ในเขตตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี อยู่ห่างแม่น้ำเพชรบุรีมาทางตะวันออกประมาณ 1 กิโลเมตร ชื่อดั้งเดิมไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัด สำหรับชื่อที่เรียกกันว่า “กำแพงแลง” นั้นคงเป็นชื่อที่ผู้คนในสมัยหลังเรียกกันตามลักษณะที่พบเห็น เนื่องจากภายในวัดมีปราสาทเขมรก่อด้วยศิลาแลงและมีกำแพงศิลาแลงล้อมรอบ จากลักษณะดังกล่าวจึงเป็นที่มาของชื่อวัดนี้ว่า "กำแพงแลง" หมายถึงกำแพงวัดที่ก่อด้วยศิลาแลงนั่นเอง ลักษณะทางกายภาพวัดแห่งนี้แบ่งออกเป็น 2 พื้นที่ คือ พื้นที่สำหรับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และพื้นที่สำหรับการทำสังฆกรรมโดยทั่วไป ส่วนของโบราณสถานจะอยู่ในพื้นที่สำหรับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยมีเขตของกำแพงศิลาแลงกั้น ส่วนพื้นที่ทำสังฆกรรมอยู่นอกเขตกำแพงศิลาแลง.

ใหม่!!: ศิลาแลงและวัดกำแพงแลง · ดูเพิ่มเติม »

วัดมหาธาตุวรวิหาร (จังหวัดราชบุรี)

วัดมหาธาตุวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สร้างตั้งแต่สมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งเขมร อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ถนนเขางู ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ตั้งอยู่เกือบใจกลางเมืองราชบุรี ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำแม่กลอง เดิมเรียกว่า "วัดหน้าพระธาตุ" "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ" มีพระปรางค์ก่อด้วยศิลาแลงสูง 12 วา ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังที่พระปรางค์ เป็นวัดที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ปัจจุบันมีพระธรรมปัญญาภรณ์ (ไพบูลย์ ชินวํโส ป.ธ.๗) เจ้าคณะจังหวัดราชบุรี เป็นเจ้าอาว.

ใหม่!!: ศิลาแลงและวัดมหาธาตุวรวิหาร (จังหวัดราชบุรี) · ดูเพิ่มเติม »

วัดศรีชุม (จังหวัดสุโขทัย)

ระอจนะ วัดศรีชุม เป็นที่เลื่องลือว่ามีเอกลักษณ์และมนต์เสนห์เฉพาะตัว วัดศรีชุม เป็นโบราณสถานในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ตัววัดเป็นโบราณสถานตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ นอกกำแพงเมืองวัดนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์ใหญ่ซึ่งมีนามว่า "พระอจนะ" องค์พระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ในมณฑป พระพุทธอจนะ เป็นที่เลื่องลือถึงความศักดิ์สิทธิ์และมีมนต์เสน่ห์และเอกลักษณ์ชวนให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมและสักการะอย่างไม่ขาดสาย ในปัจจุบันทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ไม่ห่างจากตัวโบราณสถานนัก มีวัดสร้างใหม่มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษา ใช้ชื่อว่าวัดศรีชุมเช่นเดียวกัน.

ใหม่!!: ศิลาแลงและวัดศรีชุม (จังหวัดสุโขทัย) · ดูเพิ่มเติม »

วัดโชติทายการาม

วัดโชติทายการาม เป็นวัดในพระพุทธศาสนาเถรวาท สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 3 หมู่ที่ 1 ต.ดำเนินสะดวก อ.ดำเนินสะดวก.

ใหม่!!: ศิลาแลงและวัดโชติทายการาม · ดูเพิ่มเติม »

วัดโพธารามมหาวิหาร

วัดโพธารามมหาวิหาร พระอารามหลวง เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ (เดิมชื่อวัดเจดีย์เจ็ดยอด หรือ วัดเจ็ดยอด) ตั้งอยู่ที่ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 1998 พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์องค์ที่ 11 แห่งราชวงศ์มังราย ทรงสร้างวัดโพธารามมหาวิหาร สร้างด้วยศิลาแลงประดับลวดลายปูนปั้น เป็นเจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย ในปี พ.ศ. 2020 วัดโพธารามมหาวิหาร เป็นสถานที่สังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 8 ของโลก ปัจจุบันเจดีย์เจ็ดยอดหักพังไปเกือบหม.

ใหม่!!: ศิลาแลงและวัดโพธารามมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดโกรกกราก

วัดโกรกกราก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ตำบลโกรกกราก อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เป็นวัดเก่าแก่อายุเกือบ 200 ปี เริ่มมีปรากฏชื่อวัดครั้งแรกเมื่อเรือพระที่นั่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จอดเทียบท่าวัดโกรกกรากเมื่อครั้งเสด็จประพาสต้นจากบางปะอินไปเพชรบุรี สิ่งที่น่าสนใจของวัดโกรกกรากคือพระประธานในอุโบสถนอกจากจะมีพุทธลักษณะงดงามแล้ว ยังแปลกไปจากพระพุทธรูปที่พบเห็นทั่วไป คือสวมแว่นดำ.

ใหม่!!: ศิลาแลงและวัดโกรกกราก · ดูเพิ่มเติม »

วัดเชียงมั่น

วัดเชียงมั่น วัดเชียงมั่น (120px) เป็นวัดที่ตั้งอยู่ถนนราชภาคิไนย ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีพระเสตังคมณี(พระแก้วขาว)และพระศิลาซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางปราบช้างนาฬาคีรี ประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ปรากฏในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่และพงศาวดารโยนก หลังจากที่พญางำเมือง พญาร่วง และพญามังรายทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ในปี..

ใหม่!!: ศิลาแลงและวัดเชียงมั่น · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะทวารวดี

ระพุทธรูปปางแสดงธรรมที่พระปฐมเจดีย์ อาณาจักรทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) เป็นของชนชาติมอญ ละโว้ มีศูนย์กลางอยู่บริเวณจังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี อำเภออู่ทอง และกินพื้นที่ไปจนถึงภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงหนือ แถบ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดปราจีนบุรี และขึ้นไปถึงทางเหนือ จังหวัดลำพูน มีศิลปะเป็นของตนเอง.

ใหม่!!: ศิลาแลงและศิลปะทวารวดี · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมไทย

ระตำหนักทับขวัญ ใน พระราชวังสนามจันทร์ มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบเรือนไทยภาคกลาง สถาปัตยกรรมไทย หมายถึงศิลปะการก่อสร้างของไทย อันได้แก่ อาคาร บ้านเรือน โบสถ์ วิหาร วัง สถูป และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ มีลักษณะแตกต่างกันไปตามภูมิศาสตร์ และคตินิยม สถาปัตยกรรมไทย มีมานานตั้งแต่ที่คนไทยเริ่มตั้งถิ่นฐาน เป็นเวลาร่วม 4000 ปี บรรพบุรุษไทยได้พัฒนาและปรับปรุงรูปแบบสถาปัตยกรรมอันเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ สภาพภูมิประเทศ โดยเพิ่มเติมใส่เอกลักษณ์ความเป็นไทยเข้าไป ซึ่งนับเป็นการแสดงออกความสามารถของบรรพบุรุษไทย สามารถแบ่งยุคได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ สถาปัตยกรรมไทยสมัยประวัติศาสตร์ และ สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร.

ใหม่!!: ศิลาแลงและสถาปัตยกรรมไทย · ดูเพิ่มเติม »

หลวงพ่อดำ วัดสระทะเล

ระพุทธใบกริชจักราฟ้า สุริยะนาท มหาพุฒาจารย์เจ้า ผ่องอรุณอรุโณทัย ดาระดาษน้ำฟ้า บวรนาทธิราชเจ้า หรือ "หลวงพ่อดำ วัดสระทะเล" เป็นพระพุทธรูปสำคัญของชาวอำเภอไพศาลี ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารจักราฟ้า อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ กรมศิลปากรได้สันนิษฐานว่า หลวงพ่อดำ วัดสระทะเล น่าจะสร้างขึ้นในสมัย กรุงสุโขทัย และมีอายุประมาณ 700 ปีเลยมาแล้ว และด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อดำทำให้เป็นที่กล่าวขานไปทั่ว ชาวบ้านในชุมชนให้ความศรัทธาหลวงพ่อดำอย่างเต็มเปี่ยม ในความศักดิ์สิทธิ์ใครมากราบไหว้ขออะไรก็จะได้สิ่งนั้น สมความปรารถนา ทุกวันจึงมีชาวบ้านพากันมารำวงแก้บนรอบพระพุทธรูปหลวงพ่อดำอยู่เป็นประจำ วัดสระทะเลก็มีโรงละครรับจ้างรำถวายแก้บนด้วยเช่นกันสถานที่ประดิษฐานหลวงพ่อดำ มิได้เป็นอุโบสถเหมือนวัดอื่น เป็นเพียงอาคารสีขาวเปิดโล่ง มีชื่อว่า "จักราฟ้าวรวิหาร".

ใหม่!!: ศิลาแลงและหลวงพ่อดำ วัดสระทะเล · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอบรบือ

รบือ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม เป็นอำเภอที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของจังหวัดมหาสารคาม รองจากอำเภอโกสุมพิสัย และมีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของจังหวัดรองจากอำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอโกสุมพิสัยและอำเภอวาปีปทุม.

ใหม่!!: ศิลาแลงและอำเภอบรบือ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภออรัญประเทศ

อรัญประเทศ เป็นอำเภอชายแดนทางด้านตะวันออกของประเทศไทย มีแนวชายแดนติดต่อกับประเทศกัมพูชา เดิมเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดกบินทร์บุรี ภายหลังถูกยุบรวมกับจังหวัดปราจีนบุรี (เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2468) ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสระแก้วซึ่งเป็นจังหวัดที่ตั้งขึ้นมาใหม่ภายหลัง (เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536).

ใหม่!!: ศิลาแลงและอำเภออรัญประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ในเขตตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ไม่ไกลจากจังหวัดสุโขทัยเท่าใดนัก ลักษณะของศิลปะและสถาปัตยกรรมในอุทยานแห่งนี้เป็นศิลปะแบบเดียวกับที่ปรากฏในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย มีโบราณสถานที่สวยงามและขนาดใหญ่มากมาย หลายแห่งในอดีตเมืองกำแพงเพชรถือเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทั.

ใหม่!!: ศิลาแลงและอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ หินแกะสลัก ศิลาจารึกหิน ปรางค์สองพี่น้อง อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เป็นโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบูรณ์ อุทยานมีพื้นที่ครอบคลุมโบราณสถานในเมืองเก่าศรีเทพ ศรีเทพเป็นเมืองโบราณที่อยู่ในท้องที่อำเภอศรีเทพ เดิมมีชื่อว่า "เมืองอภัยสาลี" ถูกค้นพบเมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จไปตรวจราชการมณฑลเพชรบูรณ์ และได้ทรงเรียกเมืองนี้เสียใหม่ว่า "เมืองศรีเทพ" เมื่อปี พ.ศ. 2447-2448 เมืองโบราณศรีเทพนี้มีลักษณะเป็นเมืองซ้อนเมืองขนาดใหญ่ ที่ตั้งของเมืองอยู่ในชุมทาง ที่สามารถติดต่อกับภาคอื่น ๆ ได้สะดวก ดังนั้นจึงได้รับอิทธิพลทางศิลปวัฒนธรรมจากอาณาจักรข้างเคียง มาผสมผสาน เช่น ศิลปะทวารวดี ศิลปะขอม เป็นต้น เมืองศรีเทพสร้างขึ้นในยุคของขอมเรืองอำนาจ ซึ่งคาดว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี โดยดูจากหลักฐานทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และวัฒนธรรมที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีความเจริญสูงสุดทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม สันนิษฐานว่าเจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 ถึงพุทธศตวรรษที่ 16 อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพได้รับรางวัล Thailand Tourism Award ประจำปี 2543 2 รางวัลคือ รางวัลประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโบราณสถานยอดเยี่ยมและรางวัลสื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ด้านอินเทอร์เน็ตดีเด่น.

ใหม่!!: ศิลาแลงและอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์

ปรางค์ประธาน โบราณสถานหมายเลข 1 อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ เป็นหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแควน้อยทางทิศเหนือในเขตตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี แวดล้อมด้วยทิวเขาเป็นแนวยาวอยู่โดยรอบ ลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กำแพงเมืองก่อด้วยศิลาแลง กว้างประมาณ 800 เมตร หมายถึงส่วนกว้างของเมือง ยาวประมาณ 850 เมตร และกำแพงสูง 7 เมตร มีประตูเข้าออก 4 ด้าน มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ภายในเมืองมีสระน้ำ 6 สร.

ใหม่!!: ศิลาแลงและอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ · ดูเพิ่มเติม »

ทวารวดี

ทวารวดี เป็นคำภาษาสันสกฤต เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 1427 โดยนายแซมมวล บีล (Samuel Beel) ได้แปลงมาจากคำว่า โถโลโปตี้ (Tolopoti) ที่มีอ้างอยู่ในบันทึกของภิกษุจีนจิ้นฮง (Hiuantsang) ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 กล่าวว่า โถโลโปตี เป็นชื่อของอาณาจักรหนึ่งตั้งอยู่ระหว่างอาณาจักรศรีเกษตร และอาณาจักรอิศานปุระ และเขาได้สรุปด้วยว่าอาณาจักรนี้เดิมตั้งอยู่ในดินแดนประเทศไทย(สยาม)ปัจจุบัน และยังสันนิษฐานคำอื่นๆที่มีสำเนียงคล้ายกันเช่น จวนโลโปติ (Tchouanlopoti) หรือ เชอโฮโปติ (Chohopoti) ว่าคืออาณาจักรทวารวดีด้วย ต่อมาความคิดเห็นนี้ได้มีผู้รู้หลายท่านศึกษาต่อและให้การยอมรับเช่น นายเอดัวร์ ชาวาน (Edourd Chavannes) และ นายตากากุสุ (Takakusu) ผู้แปลจดหมายเหตุการเดินทางของภิกษุอี้จิงในปี พ.ศ. 2439 และ นายโปล เปลลิโอต์ (Paul Pelliot) ผู้ขยายความอาณาจักรทวารวดีเพิ่มอีกว่ามีประชาชนเป็นชาวมอญในปี พ.ศ. 2447 เป็นต้น ดังนั้นบรรดาเมืองโบราณรวมทั้งโบราณวัตถุสถานต่างๆที่พบมากมายโดยเฉพาะในบริเวณลุ่มน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งแต่เดิมไม่สามารถจัดกลุ่มได้ว่าเป็นของขอมหรือของไทย แต่มีลักษณะคล้ายกับศิลปะอินเดียสมัยราชวงศ์คุปตะ - หลังคุปตะ ราวพุทธศตวรรษที่ 9-13 ที่พันตรีลูเนต์ เดอ ลาจองกีเยร์ (Lunet de Lajonguiere) เรียกว่า กลุ่มอิทธิพลอินเดียแต่ไม่ใช่ขอม จึงถูกนำมาสัมพันธ์กลายเป็นเรื่องเดียวกัน โดยศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ (พ.ศ. 2468) และสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (พ.ศ. 2469) เป็นกลุ่มบุคคลแรกที่กำหนดเรียกชื่อดินแดนที่เมืองโบราณเหล่านี้ตั้งอยู่ รวมทั้งงานศิลปกรรมที่พบนั้นว่าคือดินแดนแห่งอาณาจักรทวารวดี และศิลปะแบบทวารวดี โดยใช้เหตุผลของตำแหน่งที่ตั้งอาณาจักรตามบันทึกจีนกับอายุของบันทึก และอายุของงานศิลปกรรมที่ตรงกัน อาณาจักรทวารวดีจึงกลายเป็นอาณาจักรแรกในดินแดนไทย กำหนดอายุตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 ลงมาถึงพุทธศตวรรษที่ 16 อาณาจักรทวารวดี เป็นที่น่าเชื่อถือขึ้นอีกเมื่อพบเหรียญเงิน 2 เหรียญ มีจารึกภาษาสันสกฤตอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 จากเมืองนครปฐมโบราณ มีข้อความว่า ศรีทวารวดีศวรปุณยะ ซึ่งแปลได้ว่า บุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวารวดี หรือ บุญของผู้เป็นเจ้าแห่งศรีทวารวดี หรือ พระเจ้าศรีทวารวดีผู้มีบุญอันประเสริฐ อาณาจักรทวารวดีจึงเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่ามีอยู่จริง และยังเชื่อกันอีกด้วยว่าเมืองนครปฐมโบราณน่าจะเป็นศูนย์กลางหรือเมืองหลวงของอาณาจักร (แต่ปัจจุบันพบเหรียญลักษณะคล้ายกันอีก 2 เหรียญ ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และที่อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ความสำคัญของเมืองนครปฐมจึงเปลี่ยนไป) แต่ขณะเดียวกันนักวิชาการบางท่านก็เชื่อว่าอำเภออู่ทอง หรืออาจเป็นจังหวัดลพบุรี ที่น่าจะเป็นเมืองหลวงมากกว่ากัน.

ใหม่!!: ศิลาแลงและทวารวดี · ดูเพิ่มเติม »

ทัชมาฮาล

ทัชมาฮาล (ภาษาฮินดี: ताजमहल, ตาช มฮัล รากศัพท์เดิมมาจากภาษาอาหรับ ตาจญ์ (มงกุฎ) และ มะฮัล (สถาน) (ภาษาอาหรับ: تاج محل) เป็นอนุสรณ์สถาน ตั้งอยู่ในเมืองอัครา ประเทศอินเดีย นับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม.

ใหม่!!: ศิลาแลงและทัชมาฮาล · ดูเพิ่มเติม »

ที่ราบสูงโคราช

Map of Korat-Basin. ที่ราบสูงโคราชคือที่ราบสูงที่มีพื้นที่ครอบคลุมส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ชื่อของที่ราบสูงโคราชนี้มีที่มาจากชื่อของจังหวัดนครราชสีมาหรือโคราชซึ่งเป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดในบนที่ราบสูงนี้.

ใหม่!!: ศิลาแลงและที่ราบสูงโคราช · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทบากอง

ปราสาทบากอง ปราสาทบากอง (ប្រាសាទបាគង) เป็นปราสาทหินในกลุ่มปราสาทโลเลย นับเป็นปราสาทในยุคแรกๆ ของอาณาจักรขอม เป็นวัดประจำรัชกาลของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 บากองเป็นวัดบนเขาแห่งแรกๆที่สำคัญ ลักษณะทางสถาปัตยกรรม มีโครงสร้างหลักเป็นศิลาแลง และตกแต่งด้วยหินทราย ยอดทรงปิรามิด 5 ชั้น จำลองรูปเขาพระสุเมรุ เพื่อสักการะพระศิวะ มีขนาดกว้างราว 700 ม. ยาว 900 ม. ล้อมด้วยคูชั้นนอกลึก 3 ม. ล้อมพื้นที่ราว 15 เฮกเตอร์ และคูชั้นใน ขนาดกว้าง 300 ม. ยาว 400 ม. ซึ่งปัจจุบันตื้นเขิน คงเหลือเพียงขั้นบันได ศูนย์กลางของปราสาทเป็นปิรามิด ขนาด 120 ม. ยาว 160 ม. ประติมากรรมที่สำคัญในปราสาทนี้คือสิงโตที่เฝ้าบันไดทางขึ้น, ประติมากรรมช้าง ที่หันหน้าออกไปยังปราสาทแม่บุญตะวันออก, รูปสลักนูนต่ำรูปอสูร และรูปสลักเทวทัศลอยตัวที่มุม.

ใหม่!!: ศิลาแลงและปราสาทบากอง · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทบ้านสนม (ปราสาทวัดธาตุ)

ปราสาทบ้านสนม หรือ ปราสาทวัดธาตุ เป็นปราสาทตั้งอยู่ในวัดธาตุ บ้านสนม อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ คาดว่าสร้างสมัยอาณาจักรขอมเรืองอำนาจประมาณ พ.ศ. 1800 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน พระองค์โปรดให้สร้างที่พักคนเดินทาง และสร้างอโรคยาศาล หรือสถานพยาบาลขึ้นในชุมชนต่าง ๆ มากมาย ปราสาทแห่งนี้มีขนาดโดยประมาณ กว้าง 20 เมตร ยาว 25 เมตร สูงประมาณ 5 เมตร สร้างด้วยศิลาแลงและหินทราย อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม เดิมมีต้นไม้ขนาดใหญ่ ประมาณ 2 - 3 โอบ จำนวนมาก ได้แก่ ประดู่ ตะแบก ยาง ตะคร้อ ตาเสือ คำไก่ ซึ่งปราสาทหลังนี้มองจากทุ่งนา นอกบ้านเห็นเด่นชัด บริเวณรอบ ๆ ปราสาทมีสระน้ำเรียงรายทั้งสี่ด้าน ในบริเวณวัด ในบริเวณปราสาท ทางวัดได้รื้อปราสาทลง และก่อสร้างอุโบสถแทน เมื่อ..

ใหม่!!: ศิลาแลงและปราสาทบ้านสนม (ปราสาทวัดธาตุ) · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทพระขรรค์

ต้นไม้ใหญ่ที่ขึ้นคลุมอาคารปราสาทพระขรรค์ แบบจากทีมงานอนุรักษ์อาคารปราสาทพระขรรค์ แสดงการทรุดตัวของปราสาท รูปสลักนูนต่ำที่ถูกแก้ไขจากรูปพระพุทธเป็นรูปฤๅษี ปราสาทพระขรรค์ (ប្រាសាទព្រះខ័ន ปราสาทเปรี๊ยะคัน) สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1734 เป็นปราสาทหินในยุคท้าย ๆ ของอาณาจักรเขมร เป็นพุทธสถานสมัยบายน พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างอุทิศถวายแด่พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2 ซึ่งเป็นพระราชบิดา ปรากฏเจดีย์ทรงระฆังคว่ำขนาดเล็กจำหลักด้วยศิลาทรายตั้งอยู่ภายในปราสาทองค์หนึ่ง ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่เก็บอัฐิของพระราชบิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ปราสาทพระขรรค์เป็นศาสนสถานที่ล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง ตัวอาคารมีลักษณะเด่นที่การก่อสร้างด้วยศิลา 2 ชั้น โดยใช้เสาหินทรายกลมขนาดใหญ่รับน้ำหนักโครงสร้างและคาน ที่บานประตูแต่ละปราสาท มีรูปสลักอสูรเป็นคู่ๆ ยืนถือกระบองเสมือนคอยพิทักษ์ดูแลศาสนสถานแห่งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ภาพพระพุทธรูปมักถูกทำลายหรือแก้ไข คงเหลือแต่ภาพจำหลักนูนต่ำของฤๅษี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาพฤๅษีกำลังนั่งบำเพ็ญพรตในท่า "โยคาสนะ" (นั่งชันเข่าและไขว้เท้า) สลักอยู่ตามผนังหรือเสาภายใต้ซุ้มเรือนแก้ว นอกจากนี้ จารึกที่ปราสาทพระขรรค์ยังกล่าวถึงการสร้าง "ธรรมศาลา" (ที่พักคนเดินทาง) และ "อโรคยศาล" (โรงพยาบาล) ตามเส้นทางจากนครธมไปยังเมืองต่าง ๆ รอบราชอาณาจักร และจารึกยังกล่าวถึงการสร้างรูปเคารพ เพื่อประดิษฐานยังหัวเมืองต่างๆ ซึ่งแสดงถึงความใส่ใจในทุกข์สุขของราษฎรและความศรัทธาในศาสนาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7.

ใหม่!!: ศิลาแลงและปราสาทพระขรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทสด๊กก๊อกธม

ปราสาทสด๊กก๊อกธม ปราสาทสด๊กก๊อกธม หรือ ปราสาทสด็อกก็อกธม เป็นปราสาทขอม เป็นโบราณสถานที่ใหญ่และสำคัญของจังหวัดสระแก้ว ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่บ้านหนองเสม็ด หมู่ที่ 9 ตำบลโคกสูง อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว อยู่ห่างจากอำเภออรัญประเทศไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 35 กิโลเมตร อยู่ห่างจากอำเภอตาพระยามาทางทิศใต้ประมาณ 15 กิโลเมตร จัดเป็นปราสาทหินขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกของประเทศไทย ปราสาทสด๊กก๊อกธมสร้างขึ้นด้วยหินศิลาแลง ตามลักษณะศิลปะขอมแบบคลัง-บาปวน สร้างเสร็จในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ในสมัยพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 (Udayadityavarman II) ในบริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาท มีคำจารึกเป็นภาษาสันสกฤต ความยาว 340 บรรทัด ระบุความเป็นมาของการก่อสร้างปราสาทแห่งนี้ สิ่งที่มีคุณค่าและสำคัญยิ่งของปราสาทสด๊กก๊อกธม คือ การพบหลักศิลาจารึกสด๊กก๊อกธม (หลักที่ 2)ซึ่งจดบันทึกเรื่องราว ประวัติศาสตร์ของชนชาติขอมเป็นช่วงระยะเวลานานถึง 200 ปี นับจากรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1345-1393) กษัตริย์ผู้สถาปนาอาณาจักรเมืองพระนคร (Angkor) และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบเทวราช ในจารึกได้กล่าวถึงกษัตริย์อีกหลายพระองค์ จนถึงสมัยพระเจ้าอุทยาทิตยวรมันที่ 2.

ใหม่!!: ศิลาแลงและปราสาทสด๊กก๊อกธม · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทขอม

ปราสาทเขมร หรือ ปราสาทขอม เป็นศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ ที่สร้างขึ้นโดยอาณาจักรเขมร ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เป็นต้นมา พบมากในประเทศกัมพูชา และในเขตอีสานใต้ของประเทศไทย ปราสาทขอมก่อสร้างด้วยวัสดุอิฐ หินทราย และศิลาแลง ด้วยศิลปะเขมร ในประเทศไทยมีปราสาทขอมในที่ราบสูงอีสานทั้งสิ้น ๑๕๕ แห่งได้แก่ จังหวัดนครราชสีมาจำนวน ๓๗ แห่งแล้ว จังหวัดบุรีรัมย์อีก ๕๐ แห่ง จังหวัดสุรินทร์มีอยู่จำนวน ๓๑ แห่ง จังหวัดชัยภูมิ ๖ แห่ง จังหวัดร้อยเอ็ด ๑๔ แห่ง จังหวัดศรีสะเกษ ๑๑ แห่ง และจังหวัดอุบลราชธานีอีก ๖ แห่ง ส่วนมากมักถูกทำลายเหลือเพียงบางส่วน.

ใหม่!!: ศิลาแลงและปราสาทขอม · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทตาควาย

ปราสาทตาควาย หรือปราสาทตาวาย หรือในภาษาเขมรเรียกว่า ปราสาทกรอเบย (ប្រាសាទ​តា​ក្របី​ บฺราสาท​ตา​กฺรบี​) ตั้งอยู่บริเวณช่องตาควาย ในเขตบ้านไทยนิยมพัฒนา หมู่ 17 ตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทหินศิลาแลง ตั้งทางด้านทิศตะวันออกของปราสาทตาเมือนธม ห่างไปประมาณ 12 กิโลเมตร ปราสาทตาควายตั้งอยู่บนสันเขาห่างจากหน้าผาสูงประมาณ 10 เมตร ของเทือกเขาพนมดงรัก เป็นปราสาทจตุรมุข ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ผังของปราสาทเป็นรูปกากบาท ส่วนฐานต่ำ ส่วนล่างสุดก่อด้วยศิลาแลง ส่วนบนก่อด้วยศิลาทรายทั้งหมด หลังคาห้องครรภคฤหะ ก่อเป็นทรงพุ่มยอดปรางค์ ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป 5 ชั้น ส่วนหลังคามุขก่อเป็นรูปประทุน จรดหน้าบันทั้ง 4 ด้าน ภายในห้องมีประติมากรรม ลักษณะคล้ายสวายยัมภูวลึงค์ 1 ชิ้น นักประวัติศาสตร์คาดการณ์จากรูปทรงของตัวปราสาท ว่าปราสาทนี้น่าจะสร้างในช่วงปลายสมัยนครวัด ต่อตอนต้นสมัยบายน ระหว่างรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ปราสาทตาวายตั้งอยู่บนพื้นที่ค่อนข้างห่างไกล ต้องเดินเท้าเป็นระยะ 3-4 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ศิลาแลงและปราสาทตาควาย · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทตาเมือน

ปราสาทตาเมือน ปราสาทตาเมือน (Prasat Ta Muen, Prasat Ta Moen) หรือ ปราสาทบายกรีม ตั้งอยู่ในช่องเขาตาเมือน (หรือช่องเขาตาเมียง) เทือกเขาพนมดงรัก ในเขตบ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ 8 ตำบลบ้านตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทขนาดเล็กที่สุดในอุทยานประวัติศาสตร์กลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วยปราสาทหินสามหลัง เรียงลำดับจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก คือ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือน ปราสาทตาเมือน อย่ห่างจากปราสาทตาเมือนโต๊ด ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 390 เมตร เป็นปราสาทที่เล็กที่สุด ก่อด้วยศิลาแลง มีลักษณะเป็นห้องยาว เชื่อว่าเป็นธรรมศาลา หรือที่พักสำหรับคนเดินทาง.

ใหม่!!: ศิลาแลงและปราสาทตาเมือน · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทตาเมือนธม

ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนธม (ប្រាសាទតាមាន់ធំ. ตาม็วนธม - ตาไก่ใหญ่) ตั้งอยู่ในช่องเขาตาเมือน (หรือช่องเขาตาเมียง) เทือกเขาพนมดงรัก ในเขตบ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ 8 ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในอุทยานประวัติศาสตร์กลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วยปราสาทหินสามหลังเรียงลำดับจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก คือ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือน ปราสาทตาเมือนธม เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่ม (ธม เป็นภาษาเขมร แปลว่า ใหญ่) ตัวปราสาทอยู่บนเนินเขาสร้างคร่อมโขดหินธรรมชาติที่ศักดิ์สิทธิ์ในรูปของสยัมภูศิวลึงค์ และเป็นที่สำหรับประกอบพิธีกรรม ตัวปราสาทตาเมือนธม หันหน้าไปทางทิศใต้ ผิดแผกจากแห่งอื่นซึ่งมักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก รับกับเส้นทางที่มาจากเขมรต่ำผ่านมาทางช่องทางตาเมือนนี้ ปราสาทตาเมือนธมประกอบด้วยปราสาทประธาน มีอาคารอื่น คือปรางค์ก่อด้วยหินทรายสองหลัง อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงเหนือของปราสาทประธาน มีบรรณาลัยศิลาแลงสองหลัง และนอกระเบียงคดทางทิศเหนือ มีสระน้ำขนาดเล็กสองสระ ปราสาทแห่งนี้อยู่ใกล้เขตชายแดนเขมรมากที่สุด การเที่ยวชมจึงควรอยู่เฉพาะภายในเขตปราสาทเท่านั้น ไม่ควรเดินออกไปไกลจากแนวต้นไม้รอบปราสาทเพราะพื้นที่นี้ยังไม่ปลอดภัยนัก.

ใหม่!!: ศิลาแลงและปราสาทตาเมือนธม · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทตาเมือนโต๊ด

ปราสาทตาเมือนโต๊ด ปราสาทตาเมือนโต๊ด (​ប្រាសាទតាមាន់តូច. ตาม็วนโตจ - ตาไก่เล็ก) ตั้งอยู่ในช่องเขาตาเมือน (หรือช่องเขาตาเมียง) เทือกเขาพนมดงรัก ในเขตบ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ 8 ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทหลังหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์กลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วยปราสาทหินสามหลัง เรียงลำดับจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก คือ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือน ปราสาทตาเมือนโต๊ดอยู่ห่างจากปราสาทตาเมือนธมไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 750 เมตร และอยู่ห่างจากปราสาทตาเมือนไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 390 เมตร ก่อด้วยศิลาแลง มีกำแพงล้อมรอบและมีสระน้ำขนาดเล็กอยู่ทางทิศเหนือหนึ่งสระ เชื่อกันว่าปราสาทแห่งนี้เป็นอโรคยศาลหรือสถานรักษาพยาบาลของชุมชนหรือตามรายทางที่เป็นเส้นทางคมนาคม ซึ่งนิยมสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7.

ใหม่!!: ศิลาแลงและปราสาทตาเมือนโต๊ด · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทเมืองต่ำ

ปราสาทเมืองต่ำ เป็นหนึ่งในกลุ่มปราสาทมรรคโค เป็นศาสนสถานที่สร้างตามคติความเชื่อทางศาสนาฮินดู สันนิษฐานว่าสร้างขึ้น เพื่อถวายพระศิวะ มีลักษณะเป็นศาสนสถานประจำเมืองหรือประจำชุมชน ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดปราสาทบูรพาราม ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ คำว่า เมืองต่ำ ไม่ใช่ชื่อดั้งเดิม แต่เป็นชื่อที่ชาวพื้นเมืองเรียกโบราณสถานแห่งนี้ เพราะปราสาทแห่งนี้ตั้งอยู่บนพื้นราบ ส่วนปราสาทพนมรุ้งตั้งอยู่บนเชิงเขา ซึ่งทั้งปราสาทเมืองต่ำและปราสาทพนมรุ้งอยู่ไม่ห่างกันมาก คือห่างกันเพียง 8 กิโลเมตร นอกจากนี้ วัสดุส่วนหนึ่งจากโบราณสถาน และโบราณวัตถุ ของปราสาทเมืองต่ำ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงนำมาเป็นส่วนประกอบในการทำพระเครื่อง ที่เรียกว่า "พระสมเด็จจิตรลดา" อีกด้วย ปราสาทเมืองต่ำ เป็นศาสนาสถาน ศิลปะขอมแบบบาปวน อายุประมาณ..

ใหม่!!: ศิลาแลงและปราสาทเมืองต่ำ · ดูเพิ่มเติม »

ปรางค์กู่ จังหวัดชัยภูมิ

ระปรางค์กู่ เป็นโบราณสถาน ตั้งอยู่ที่ ถนนบรรณาการ บ้านหนองบัว ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ มีฐานสี่เหลี่ยม สร้างด้วยศิลาแลง วางซ้อนกันจากฐานถึงยอด ภายในบรรจุพระพุทธรูปดินเผา เชื่อกันว่าเป็นอโรยาศาล (โรงพยาบาล) ในสมัยก่อน.

ใหม่!!: ศิลาแลงและปรางค์กู่ จังหวัดชัยภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

Nepenthes mindanaoensis

Nepenthes mindanaoensis มาจากภาษาละติน Mindanao เกาะฟิลิปปินส์ -ensis แปลว่า "จาก" เป็นพืชถิ่นเดียวบนเนินเขาศิลาแลงบนเกาะมินดาเนาในประเทศฟิลิปปินส์ เป็นญาติใกล้ชิดกับ N. alata.

ใหม่!!: ศิลาแลงและNepenthes mindanaoensis · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Laterite

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »