โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศาสนาอียิปต์โบราณ

ดัชนี ศาสนาอียิปต์โบราณ

thumb เทพปกรณัมแห่งไอยคุปต์ หรือ ศาสนาของชาวไอยคุปต์ (อียิปต์โบราณ) คือศาสนาหรือความเชื่อในรูปแบบพหุเทวนิยม ของชาวอียิปต์โบราณ เมื่อกว่า 3,000 ปีที่แล้ว โดยจะนับถือเทพเจ้าหลายองค์ด้วยกัน ที่สำคัญๆ ได้แก่ เทพรา เทพโอสิริส เทพโฮรุส เทพอานูบิส เทวีไอสิส เทวีเสลเคต อิมโฮเตป อาเมนโฮเตป เป็นต้น หมวดหมู่:อียิปต์โบราณ หมวดหมู่:เทพปกรณัม หมวดหมู่:เทพเจ้าอียิปต์โบราณ.

47 ความสัมพันธ์: พระเจ้าอียิปต์โบราณมัทเอมวีอารา (เทพ)ราชินีเมอร์เอสอังค์ที่ 1รายการสาขาวิชาราโฮเทป (พระราชโอรสในฟาโรห์สเนฟรู)ศาสดาศาสนาอะนูบิสอังค์ฮาฟอังค์เอสเอ็นอามุนอังค์เซนเปปิที่ 1อังค์เซนเปปิที่ 3อังค์เซนเปปิที่ 4อาโมส (พระมเหสีในทุตโมสที่หนึ่ง)อาโมส-ซิทคามอสอาโมส-เฮนุททาเมฮูอาโมส-เนเฟอร์ทาริอาโฮเทปที่ 1อาโฮเทปที่ 2อิมโฮเทปอิเนนัค-อินติอียิปต์โบราณฮอรัสฮอรัส (มาร์เวลคอมิกส์)ทูตสวรรค์คาเนเฟอร์ซาทิอาห์นครศักดิ์สิทธิ์โอไซริสไอพุตที่ 2ไอยคุปต์ไออาไออาเรตไอซิสไอเซทไอเนนิเฮเทปเฮเอสที่ 1เฮเตเฟอร์เรสที่ 2เธียอาเทพปกรณัมอียิปต์เคเนมเนเฟอร์เฮตดเจดที่ 1เตติสฮอร์ริเซอร์เค็ตเซนเซเนบเนเฟรูที่ 2เนเฟอร์ติติ

พระเจ้าอียิปต์โบราณ

ระเจ้าอียิปต์โบราณเป็นเทพและเทพีซึ่งได้รับการบูชาในอียิปต์โบราณ ความเชื่อและพิธีกรรมแวดล้อมพระเจ้าเหล่านี้เป็นแก่นของศาสนาอียิปต์โบราณ ซึ่งถือกำเนิดขึ้นในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ช่วงใดช่วงหนึ่ง พระเจ้าเป็นสัญลักษณ์ของพลังและปรากฏการณ์ธรรมชาติ และชาวอียิปต์สนับสนุนและระงับสิ่งเหล่านี้ผ่านของถวายและพิธีกรรมเพื่อที่พลังเหล่านี้จะยังคงดำเนินต่อไปตามมะอาท (maat) หรือระเบียบสวรรค์ หลังการสถาปนารัฐอียิปต์เมื่อราว 3100 ปีก่อน..

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและพระเจ้าอียิปต์โบราณ · ดูเพิ่มเติม »

มัทเอมวีอา

มัทเอมวีอา (บางครั้งพระนามเขียนว่า มัทเอมวียา, มัทเอมมูยา หรือ มันเอมเยยา) เป็นพระมเหสีพระองค์ที่สองของฟาโรห์ทุตโมสที่สี่ ซึ่งเป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์ในราชวงศ์ที่สิบแปดและพระราชมารดาของฟาโรห์อเมนโฮเตปที่สาม พระนาม มัทเอมวีอา หมายถึง "เทพีมัทเกิดในเปลือกไม้ศักดิ์สิทธิ์".

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและมัทเอมวีอา · ดูเพิ่มเติม »

รา (เทพ)

145px รา (Ra) หรือ เร (Re) หรือ อาเมน-รา (Amen-Ra) หรือ อามอน-รา (Amon-Ra) คือ เทพแห่งดวงอาทิตย์ในตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์ของอียิปต์ โบราณสัญลักษณ์ของเทพราคือวงกลมหนุนอยู่บนเรือ แต่ส่วนมากมักเป็นมนุษย์ พระเศียรเป็นนกเหยี่ยว เชื่อว่าถือกำเนิดมาจากแม่น้ำแห่งเทพนุน กายล้อมรอบด้วยกลีบดอกบัว ทุกวันเมื่อเข้าสู่ราตรีกาล เทพราจะกลับมาบรรทมในดอกบัวนี้ สัญลักษณ์ของพระองค์เป็นนกศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่า นกเบนนู (Bennu bird) เกาะที่ยอดพีระมิด ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งแสงอาทิตย์ เทพราเป็นดั่งบิดาแห่งมวลมนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลาย ทรงสร้างเทพชู เทพแห่งลม เทพีเตฟนุต เทวีแห่งสายฝน เทพเกบ เทพแห่งปฐพี เทพีนัต เทวีแห่งท้องฟ้าและ เทพฮาปี เทพแห่งแม่น้ำนิลนาม เทพรามีหลายพระนามด้วยกันคือ ในตอนเช้ามักถูกเรียกว่า เฆปรี (Khepri) หรือ เฆเปรา (Khepera) เรียกว่าราในตอนกลางวัน และตุม (Tum) หรืออาตุม (Atum) ในตอนเย็น เทพรา จะเสด็จออกจากเมืองเฮลีโอโปลิสพร้อมกับเหล่าเทพเจ้า โดยใช้เรือสุริยันเป็นยานพาหนะ เพื่อตรวจเยื่ยมราษฎรในแคว้นทั้ง 12 แคว้น ทำให้เกิดแสงอาทิตย์ตลอด 12 ชั่วโมงใน 1 วัน และในเวลากลางคืนพระองค์จะท่องไปในแดนมตภพดูอัตจากฝั่งตะวันตกไปฝั่งตะวันออก และมีตำนานเกี่ยวกับเทพราอีกมากมาย แต่ก่อนเทพราจะมีเฉพาะฟาโรห์เท่านั้นที่สักการะได้.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและรา (เทพ) · ดูเพิ่มเติม »

ราชินีเมอร์เอสอังค์ที่ 1

มอร์เอสอังค์ที่่ 1 (แปลว่า "เธอรักชีวิต") เป็นพระมเหสีของกษัตริย์โบราณของอียิปต์และเป็นพระชนนีของฟาโรห์สเนฟรู พระองค์อาจจะเป็นพระมเหสีของฟาโรห์ฮูนิ ฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่ 3.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและราชินีเมอร์เอสอังค์ที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

รายการสาขาวิชา

รายชื่อสาขาวิชา หรือ สาขาการศึกษา (Field of study) หมายถึงสาขาความรู้ หรือ การวิจัยที่เปิดสอนในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย คำว่า สาขาวิชา ได้รับการนิยามและยอมรับโดย วารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย และโดยสมาคมผู้รู้ (learned societies) และโดยภาควิชาหรือคณะวิชาที่บุคคลผู้อยู่ในสาขาวิชานั้นๆ สังกัด โดยปกติ สาขาการศึกษาต่างๆ มักมีสาขาย่อยหรือแขนงวิชาแตกออกไป เส้นแบ่งระหว่างสาขาย่อยมักยังมีความคลุมเครือและมีกฎเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจน ในยุโรปสมัยกลางซึ่งขณะนั้นยังมีการแบ่งคณะวิชาออกเป็น 4 คณะหรือสายวิชา ได้แก่เทววิทยา การแพทย์ ธรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ และศิลปะ โดยคณะวิชาหลังมีสถานะไม่สูงเท่า 3 สาขาแรก การแบ่งสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสมัยนั้นมีรากสืบทอดมาจากขบวนการแยกอาณาจักรออกจากศาสนจักร (Secularization) ของมหาวิทยาลัยซึ่งเกิดขึ้นราวสมัยกลาง-ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณ พ.ศ. 2390 - พ.ศ. 2440) โดยได้เพิ่มวิชาภาษาศาสตร์ที่ไม่ใช่คลาสสิก วรรณคดี และวิชาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาและวิศวกรรมศาสตร์เสริมเข้าไปในหลักสูตรแบบประเพณีโบราณ ในต้นคริสต์ศตวรรษ ที่ 20 (ประมาณ พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2475) ได้มีการเพิ่มสาขาวิชาใหม่ๆ เช่น การศึกษา สังคมวิทยา และจิตวิทยา ในมหาวิทยาลัยต่างๆ และในช่วงประมาณ พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2523) ได้เกิดปรากฏการณ์ "การระเบิด" ของสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เน้นเนื้อหาเฉพาะเจาะจง เช่น สื่อศึกษา สตรีศึกษา และชนผิวดำศึกษา สาขาใหม่ๆ เหล่านี้จัดขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับอาชีพและวิชาชีพต่างๆ เช่น การพยาบาล การจัดการโรงพยาบาล การราชทัณฑ์ และหลังสุดก็ได้เห็นสาขาวิชาที่เป็นลักษณะ "สหสาขาวิชา" เช่น ชีวเคมี และ ธรณีฟิสิกส์เกิดเพิ่มขึ้นและได้รับการยอมรับว่าสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ได้ช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้กว้างขวางขึ้น เครื่องหมายดอกจัน * แสดงเป็นหมายเหตุว่าสาขาวิชานั้นยังเป็นที่ถกเถียงถึงสถานภาพว่าควรนับไว้ในสายวิชาใด เช่น วิชามานุษยวิทยา และวิชาภาษาศาสตร์ควรจัดไว้ในกลุ่มสังคมศาสตร์ หรือ มนุษยศาสตร์ เป็นที่สังเกตได้ว่าบางท่าน โดยเฉพาะนักทฤษฎีวิจารณ์มักให้ความสำคัญในการบ่งชี้การจัดกลุ่มที่เข้มงวดในทุกสายวิชา รวมทั้งความชัดเจนของโครงสร้างของแนวคิดโดยรวมของแต่ละวิชาซึ่งยังเป็นถกเถียงได้มากสำหรับบางคน.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและรายการสาขาวิชา · ดูเพิ่มเติม »

ราโฮเทป (พระราชโอรสในฟาโรห์สเนฟรู)

ราโฮเทป เป็นเจ้าชายแห่งอียิปต์โบราณในสมัยราชวงศ์ที่สี่ พระองค์อาจจะเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์สเนฟรู กับพระมเหสีพระองค์แรกของพระองค์ แม้ว่า ดร.ซาฮี ฮาวาสส์ มีข้อคิดเห็นว่าพระบิดาของพระองค์ คือ ฟาโรห์ฮูนิ ราโฮเทป (R 'htp) หมายถึง "ความพึงพอใจแห่งรา" รา เป็นพระเจ้าของดวงอาทิตย์ โฮเทป หมายถึง "ความพึงพอใจ" (ความหมายอีกอย่างคือ 'ความสงบแห่งรา', 'ความสำราญใจแห่งรา').

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและราโฮเทป (พระราชโอรสในฟาโรห์สเนฟรู) · ดูเพิ่มเติม »

ศาสดา

ือผู้ก่อตั้งศาสนา หรือผู้คิดค้น ริเริ่มในการนำคำสอนไปเผยแผ่ เช่น พระพุทธศาสนามีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา ศาสนายูดาห์มีโมเสสเป็นศาสดา เป็นต้น.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและศาสดา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนา

ัญลักษณ์ของศาสนาต่าง ๆ ภาพศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลก ศาสนา (Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิดและสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ หลายศาสนามีการบรรยาย สัญลักษณ์และประวัติศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเจตนาอธิบายความหมายของชีวิต และ/หรืออธิบายกำเนิดชีวิตหรือเอกภพ จากความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับจักรวาลและธรรมชาติมนุษย์ คนได้รับศีลธรรม จริยศาสตร์ กฎหมายศาสนาหรือวิถีชีวิตลำดับก่อน บางการประมาณว่า มีศาสนาราว 4,200 ศาสนาในโลก นอกจากนี้ ยังมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ ซึ่งเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสน.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

อะนูบิส

ทพอะนูบิส อะนูบิส หรือ อะนิวบิส (Anubis) คือหนึ่งในเทพของ ตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและอะนูบิส · ดูเพิ่มเติม »

อังค์ฮาฟ

อังค์ฮาฟ เป็นเจ้าชายชาวอียิปต์และทำหน้าที่เป็นหัวหน้าและผู้ควบคุมงานให้แก่ฟาโรห์คูฟู ผู้เป็นพระเชษฐาพระองค์หนึ่งของอังค์ฮาฟ พระองค์มีชีวิตอยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 4 ของราชอาณาจักรอียิปต์ ราวประมาณ 2613 ถึง 2494 ปีก่อนคริสตกาล อังค์ฮาฟเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์สเนฟรูกับพระมเหสีไม่ทราบพระนาม หลุมฝังพระศพของอังค์ฮาฟอยู่ในมาสตาบาในกีซา อังค์ฮาฟได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเฮเตเฟเรส A ซึ่งพระราชธิดาพระองค์โตของฟาโรห์สเนฟรูกับพระนางเฮเตเฟอร์เรสที่ 1 และเป็นพระขนิษฐานต่างมารดาของอังค์ฮาฟ ทั้งสองพระองค์ก็มีพระราชธิดาด้วยกัน 1 พระอง.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและอังค์ฮาฟ · ดูเพิ่มเติม »

อังค์เอสเอ็นอามุน

อังค์เอสเอ็นอามุน เป็นมเหสีของตุตันคาเมนแห่งราชวงศ์ที่ 18 ของอียิปต์โบราณ พระนางมีพระนามเดิมว่า อังค์เอสเอ็นปาเตน เป็นพระธิดาของเนเฟอร์ติติ กับ ฟาโรห์อเคนาเตน.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและอังค์เอสเอ็นอามุน · ดูเพิ่มเติม »

อังค์เซนเปปิที่ 1

'อังค์เซนเปปิที่ 1 เป็นมเหสีในช่วงราชวงศ์ที่หกของอียิปต์ อังค์เซนเปปิที่ 1 เป็นลูกสาวของเนเบ็ต อัครมหาเสนาบดีเพศหญิงและสามีของเธอ คุย น้องสาวของอังค์เซนเปปิที่ 1 คืออังค์เซนเปปิที่ 2 และพี่ชายของเธอเป็นอัครมหาเสนาบดีนามว่า ดเจอู.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและอังค์เซนเปปิที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

อังค์เซนเปปิที่ 3

อังค์เซนเปปิที่ 3 เป็นราชินีอียิปต์โบราณของราชวงศ์ที่หก เธอได้รับการตั้งชื่อตามคุณยายของเธอ อังค์เซนเปปิที่ 1 และ อังค์เซนเปปิที่ 2 เป็นลูกสาวของเมเรนเรที่ 1 และเธอกลายเป็นภรรยาของเปปิที่ 2.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและอังค์เซนเปปิที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

อังค์เซนเปปิที่ 4

อังค์เซนเปปิที่ 4 เป็นพระมเหสีของฟาโรห์อียิปต์โบราณ เป็นพระมเหสีของฟาโรห์เปปิที่ 2 เนเฟอร์กาเร ของราชวงศ์ที่หก พระองค์เป็นมารดาของฟาโรห์ฟาโรห์เนเฟอร์เคาเรที่ 2.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและอังค์เซนเปปิที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

อาโมส (พระมเหสีในทุตโมสที่หนึ่ง)

อาโมส เป็นพระราชินีแห่งอียิปต์โบราณในสมัยราชวงศ์ที่สิบแปด พระองค์เป็นพระราชินีของฟาโรห์อันดับที่สามของราชวงศ์ฟาโรห์ทุตโมสที่หนึ่งและเป็นพระราชมารดาของพระราชินีและฟาโรห์แฮตเชปซุต ชื่อของพระองค์หมายถึง "ผู้ที่เกิดจากดวงจันทร์".

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและอาโมส (พระมเหสีในทุตโมสที่หนึ่ง) · ดูเพิ่มเติม »

อาโมส-ซิทคามอส

อาห์โมส-ซิทคาโมส หรือ ซิทกาโมส เป็นเจ้าหญิงและพระราชินีในช่วงปลายราชวงศ์ที่สิบเจ็ดและต้นราชวงศ์ที่สิบแปดของอียิปต์โบราณ จากพระนามของพระองค์ พระองค์น่าจะเป็นพระราชธิดาของฟาโรห์คาโม.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและอาโมส-ซิทคามอส · ดูเพิ่มเติม »

อาโมส-เฮนุททาเมฮู

อาโมส-เฮนุททาเมฮู (พระนามมีความหมายว่า "ดวงจันทร์แห่งผู้หญิงในเมืองอียิปต์ล่าง") เป็นเจ้าหญิงและพระราชินีแห่งราชวงศ์ที่สิบเจ็.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและอาโมส-เฮนุททาเมฮู · ดูเพิ่มเติม »

อาโมส-เนเฟอร์ทาริ

อาโมส-เนเฟอร์ทาริ เป็นพระราชินีพระองค์แรกแห่งราชวงศ์ที่สิบแปด พระองค์เป็นพระราชธิดาของฟาโรห์ทาโอที่สองกับพระนางอาโฮเทปที่ 1 และเป็นพระขนิษฐาและพระมเหสีของฟาโรห์อาโมสที่หนึ่ง พระองค์เป็นพระราชมารดาของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่หนึ่ง และทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เมื่อพระองค์ยังทรงพระเยาว.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและอาโมส-เนเฟอร์ทาริ · ดูเพิ่มเติม »

อาโฮเทปที่ 1

อาโฮเทปที่ 1 เป็นพระราชินีแห่งอียิปต์โบราณที่อาศัยอยู่เมื่อประมาณ 1560-1530 ปีก่อนคริสตกาล ในช่วงปลายของราชวงศ์ที่สิบเจ็ดของอียิปต์ พระองค์เป็นพระราชธิดาของสมเด็จพระราชินีเตติสฮอร์ริ กับ ฟาโรห์ทาโอที่หนึ่ง และอาจเป็นน้องสาวและมเหสีของฟาโรห์ทาโอที่สอง พระนางอาโฮเทปที่ 1 มีชีวิตที่ยาวนานและมีอิทธิพลต่ออียิปต์โบราณมาก.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและอาโฮเทปที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

อาโฮเทปที่ 2

อาโฮเทปที่ 2 เป็นพระราชินีแห่งอียิปต์โบราณและเป็นพระมเหสีของฟาโรห์คาโม.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและอาโฮเทปที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

อิมโฮเทป

อิมโฮเทป อิมโฮเทป (Imhotep) เป็นหนึ่งในมนุษย์เทพของ ตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและอิมโฮเทป · ดูเพิ่มเติม »

อิเนนัค-อินติ

อิเนนัค หรือเรียกว่า อินติ เป็นมเหสีอียิปต์โบราณภรรยาของฟาโรห์เปปิที่ 1 ของราชวงศ์ที่ 6.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและอิเนนัค-อินติ · ดูเพิ่มเติม »

อียิปต์โบราณ

มมฟิสและสุสานโบราณ อียิปต์โบราณ หรือ ไอยคุปต์ เป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางจนถึงปากแม่น้ำไนล์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์โบราณเริ่มขึ้นประมาณ 3150 ปีก่อนคริตศักราช โดยการรวมอำนาจทางการเมืองของอียิปต์ตอนเหนือและตอนใต้ ภายใต้ฟาโรห์องค์แรกแห่งอียิปต์ และมีการพัฒนาอารยธรรมเรื่อยมากว่า 5,000 ปี ประวัติของอียิปต์โบราณปรากฏขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือที่รู้จักกันว่า "ราชอาณาจักร" มีการแบ่งยุคสมัยของอียิปต์โบราณเป็นราชอาณาจักร ส่วนมากแบ่งตามราชวงศ์ที่ขึ้นมาปกครอง จนกระทั่งราชอาณาจักรสุดท้าย หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า "ราชอาณาจักรกลาง" อารยธรรมอียิปต์อยู่ในช่วงที่มีการพัฒนาที่ยมาก และส่วนมากลดลง ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันที่อียิปต์ชนพ่ายต่อการทำสงครามจากชาติอื่น ดังเช่นชาวอัสซีเรียและเปอร์เซีย จนกระทั่งเมื่อ 332 ปีก่อนคริสตศักราช ก็เป็นการสิ้นสุดอารยธรรมอียิปต์โบราณลง เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสามารถยึดครองอียิปต์ และจัดอียิปต์เป็นเพียงจังหวัดหนึ่งในจักรวรรดิมาซิโดเนีย อารยธรรมอียิปต์พัฒนาการมาจากสภาพของลุ่มแม่น้ำไนล์ การควบคุมระบบชลประทาน, การควบคุมการผลิตพืชผลทางการเกษตร พร้อมกับพัฒนาอารยธรรมทางสังคม และวัฒนธรรม พื้นที่ของอียิปต์นั้นล้อมรอบด้วยทะเลทรายเสมือนปราการป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอก นอกจากนี้ยังมีการทำเหมืองแร่ และอียิปต์ยังเป็นชนชาติแรกๆที่มีการพัฒนาการด้วยการเขียน ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้,การบริหารอียิปต์เน้นไปทางสิ่งปลูกสร้าง และการเกษตรกรรม พร้อมกันนั้นก็มีการพัฒนาการทางทหารของอียิปต์ที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่ราชอาณาจักร โดยประชาชนจะให้ความเคารพกษัตริย์หรือฟาโรห์เสมือนหนึ่งเทพเจ้า ฟาโรห์มีอำนาจและโหดร้ายมาก ทำให้การบริหารราชการบ้านเมืองและการควบคุมอำนาจนั้นทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชาวอียิปต์โบราณไม่ได้เป็นเพียงแต่นักเกษตรกรรม และนักสร้างสรรค์อารยธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นนักคิด, นักปรัชญา ได้มาซึ่งความรู้ในศาสตร์ต่างๆมากมายตลอดการพัฒนาอารยธรรมกว่า 4,000 ปี ทั้งในด้านคณิตศาสตร์, เทคนิคการสร้างพีระมิด, วัด, โอเบลิสก์, ตัวอักษร และเทคนิคโลยีด้านกระจก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาประสิทธิภาพทางด้านการแพทย์, ระบบชลประทานและการเกษตรกรรม อียิปต์ทิ้งมรดกสุดท้ายแก่อนุชนรุ่นหลังไว้คือศิลปะ และสถาปัตยกรรม ซึ่งถูกคัดลอกนำไปใช้ทั่วโลก อนุสรณ์สถานที่ต่างๆในอียิปต์ต่างดึงดูดนักท่องเที่ยว นักประพันธ์กว่าหลายศตวรรษที่ผ่านมา ปัจจุบันมีการค้นพบวัตถุใหม่ๆในอียิปต์มากมายซึ่งกำลังตรวจสอบถึงประวัติความเป็นมา เพื่อเป็นหลักฐานให้แก่อารยธรรมอียิปต์ และเป็นหลักฐานแก่อารยธรรมของโลกต่อไป.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและอียิปต์โบราณ · ดูเพิ่มเติม »

ฮอรัส

ทพฮอรัส เทพฮอรัส (Horus) คือหนึ่งในเทพของ ตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์ ผู้เป็นพระโอรสของเทพโอซีริส และเทวีไอซิสและเป็นพระสวามีของแฮธอร์ ทรงเป็นเทพที่เกิดจากการรวมกันของเทพนกเหยี่ยวและเทพแห่งแสงสว่าง มีพระเนตรขวาเป็นดวงอาทิตย์ พระเนตรซ้ายเป็นดวงจันทร์ และ คนอียิปต์โบราณมีความเชื่อว่าการเกิดกลางวันกลางคืนนั้นเกิดจากการบินรอบโลกของเทพฮอรัส สัญลักษณ์ของเทพฮอรัสคือเป็นมนุษย์ที่มีศีรษะเป็นนกเหยี่ยว ทรงสวมมงกุฎสองชั้นหรือแกะสลักเป็นรูปวงสุริยะมีปีกอยู่ที่รั้ววิหารประจำพระองค์ หรือคือนกเหยี่ยวกำลังบินอยู่เหนือการสู้รบของฟาโรห์ ที่อุ้งเล็บมีแส้แห่งความจงรักภักดีและแหวนแห่งความเป็นนิรันดร์อยู่ เทพฮอรัสมีพระนามมากมายตามท้องที่ที่สักการะและความเชื่อ เช่น เทพฮาโรเอริส (Haroeris) ฮอรัส เบฮ์เดตี (Horus Behdety) ฮาราเคต ฮาร์มาฆิส (Harmakhis) และ ฮาร์สีเอสิส (Harsiesis).

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและฮอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ฮอรัส (มาร์เวลคอมิกส์)

'''ฮอรัส''' ตัวละครจากมาร์เวลคอมิกส์ ฮอรัส (Horus) เป็นตัวละครในมาร์เวลคอมิกส์ โดยมีต้นแบบมาจากเทพฮอรัสของตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและฮอรัส (มาร์เวลคอมิกส์) · ดูเพิ่มเติม »

ทูตสวรรค์

''บทเพลงของทูตสวรรค์'' โดย บูเกอโร, 1825–1905. ทูตสวรรค์ หรือ เทวทูต (angel) คือชาวสวรรค์จำพวกหนึ่งตามความเชื่อทางศาสนาและในเทพปกรณัมต่าง ๆ โดยมีหน้าที่เป็นผู้แจ้งข่าวสารจากสวรรค์มายังโลก บ้างก็ทำหน้าที่อารักขา แนะนำ หรือมอบหมายภารกิจแก่มนุษย์ คำนี้แปลมาจากคำว่า ἄγγελος ในภาษากรีก ซึ่งตรงกับคำว่า מלאך (มลัก) ในคัมภีร์ฮีบรู (ทานัค) และเป็นคำเดียวกับคำว่า ملائكة (มลาอิกะฮ์) ที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน ศัพท์เดิมในภาษาฮีบรูและภาษากรีกนี้แปลว่า ผู้แจ้งข่าว ซึ่งอาจเป็นมนุษย์ (ทั้งผู้เผยพระวจนะ ปุโรหิต และคนสามัญ) หรืออมนุษย์ก็ได้แล้วแต่บริบทในคัมภีร์ ที่เป็นอมนุษย์นั้นเป็นได้ทั้ง ผู้แจ้งข่าวจากพระเจ้า ลักษณะเฉพาะด้านของพระเจ้า (เช่น กฎจักรวาล) หรือแม้แต่พระเป็นเจ้าเองที่ทรงเป็นผู้แจ้งข่าว (theophanic angel) คำว่า "ทูตสวรรค์" ยังถูกใช้หมายถึงวิญญาณในศาสนาอื่น ๆ ด้วย นอกจากการแจ้งข่าวแล้ว ทูตสวรรค์ยังมีหน้าที่ปกป้องและนำทางมนุษย์ รวมถึงปฏิบัติหน้าที่ตามที่พระเจ้ามอบหมายให้สำเร็จลุล่วง เทววิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับทูตสวรรค์เรียกว่า “วิทยาการทูตสวรรค์” (angelology) ในงานศิลปะทูตสวรรค์มักปรากฏภาพเป็นชายมีปีก ซึ่งอาจมาจากหนังสือวิวรณ์เรื่องสัตว์สี่ตัว (4:6-8) และคัมภีร์ฮีบรูเรื่องเครูบและเสราฟิม แต่คัมภีร์ไบเบิลระบุว่าเครูบและเสราฟิมมีปีก ไม่เคยกล่าวถึงทูตสวรรค์ว่ามีปีกด้ว.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและทูตสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

คาเนเฟอร์

นเฟอร์ ("ความงามของวิญญาณ") เป็นเจ้าชายแห่งอียิปต์โบราณ พระองค์มีชีวิตอยู่ในราชวงศ์ที่ 4 หรือต้นราชวงศ์ที่ 5 ของยุคราชอาณาจักรเก่า และเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์สเนฟรูAidan Dodson, Dyan Hilton: The Complete Royal Families of Ancient Egypt. The American University in Cairo Press, Kairo 2004,, p. 52–61.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและคาเนเฟอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ซาทิอาห์

ซาทิอาห์ (หรือพระนาม ซิทิอาห์ มีความหมายว่า "ลูกสาวของดวงจันทร์") เป็นพระราชินีแห่งอียิปต์โบราณ พระองค์เป็นพระมเหสีของทุตโมสที่สาม.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและซาทิอาห์ · ดูเพิ่มเติม »

นครศักดิ์สิทธิ์

นครศักดิ์สิทธิ์ (holy city) เป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางที่มีประวัติศาสตร์ทางศาสนาและความเชื่อ ส่วนใหญ่จะมีที่สำคัญอยู่อย่างน้อยหนึ่งแห่ง (มักจะเป็นสิ่งที่สำคัญต่อศาสนา เช่น สิ่งปลูกสร้าง, รูปปั้น, ความเชื่อ ฯลฯ) ซึ่งทำให้เกิดการจาริกแสวงบุญ เมืองศักดิ์สิทธิ์เป็น เมืองที่มีสัญลักษณ์ ทีเกี่ยวข้องกับศาสนาและความเชื่อ.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและนครศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

โอไซริส

อไซริส (Osiris; Ὄσιρις) เป็นเทพอียิปต์ซึ่งมักได้รับการระบุว่า เป็นเทพแห่งชีวิตหลังความตาย เทพแห่งนรก และเทพแห่งวิญญาณ เดิมทีเชื่อกันว่า เป็นบุรุษเพศ มีกายสีเขียว มีมัสสุดังฟาโรห์ กายเบื้องล่างพันผ้าห่อศพไว้ ฉลองมงกุฏประดับขนนกกระจอกเทศสองข้าง หัตถ์ทั้งสองถือตะขอกับไม้หวดข้าว ถือกันมาระยะหนึ่งว่า โอไซริสเป็นโอรสของเก็บ (Geb) เทพผืนดิน กับนัต (Nut) เทพีท้องฟ้า ทั้งเป็นเชษฐภาดาและภัสดาของไอซิส (Isis) มีโอรสด้วยกันหนึ่งองค์เมื่อสิ้นชนม์ไปแล้ว คือ ฮอรัส (Horus) โอไซริสยังเกี่ยวเนื่องกับสมญาที่ว่า "เค็นที-อาเมนทีอู" (Khenti-Amentiu) แปลว่า ที่สุดแห่งชาวตะวันตก ซึ่งหมายถึง การได้ปกครองนรกภูมิ โอไซริสในฐานะมัจจุราชนั้นบางทีได้รับการเรียกขานว่า "เจ้าชีวิต" (king of the living) เพราะชาวอียิปต์โบราณถือว่า วิญญาณที่ได้รับเซ่นสรวงบูชานั้นเป็น "สิ่งมีชีวิต" (living one) โอไซริสปรากฏเป็นครั้งแรกในช่วงกลางราชวงศ์ที่ห้าแห่งอียิปต์ แต่น่าเชื่อว่า ได้รับการเคารพบูชามาก่อนหน้านั้นแล้ว นอกจากนี้ สมญา "เค็นที-อาเมนทีอู" ยังปรากฏย้อนหลังไปถึงราชวงศ์ที่หนึ่งโดยเป็นสมัญญาสำหรับพระมหากษัตริย์ด้วย เรื่องราวเกี่ยวกับโอไซริสนั้นส่วนใหญ่ได้มาจากการกล่าวถึงในตำราพีระมิด (Pyramid Texts) ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อปลายราชวงศ์ที่ห้า ตลอดจนเอกสารในชั้นหลัง ๆ เช่น ศิลาชาบากา (Shabaka Stone) และคัมภีร์เรื่อง การชิงชัยระหว่างฮอรัสกับเซท (Contending of Horus and Seth) รวมถึงการพรรณนาในงานเขียนของปรัชญาเมธีกรีกหลายคน เช่น พลูตาร์ก (Plutarch) และดีโอโอรัส ซีกูลัส (Diodorus Siculus) ในนรกภูมิ ถือว่า โอไซริสเป็นตุลาการผู้เปี่ยมเมตตา ทั้งยังทำหน้าที่แทนนรกในการบันดาลให้เกิดสรรพชีวิต รวมถึง การแตกหน่อก่อผลของพืชผัก และการสร้างน้ำท่วมเพื่อความอุดมสมบูรณ์ริมฝั่งไนล์ นอกจากนี้ โอไซริสยังได้ชื่อว่าเป็น "กามเทพ" "พระผู้ปราศศัตรูและทรงเยาว์วัยตลอดกาล"The Oxford Guide: Essential Guide to Egyptian Mythology, Edited by Donald B. Redford, p302-307, Berkley, 2003, ISBN 0-425-19096-X และ "เจ้าแห่งความสงัด" พระเจ้าแผ่นดินอียิปต์จะทรงเป็นส่วนหนึ่งของโอไซริสเมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว เชื่อกันว่า เมื่อสิ้นพระชนม์ โอไซริสจะสถิตอยู่ในพระวิญญาณ และพระวิญญาณที่มีโอไซริสเป็นส่วนหนึ่งนี้จะดำรงอยู่ชั่วกัลปาวสานหลังผ่านพิธีกรรมทางไสยเวทบางประการ ครั้นถึงช่วงอาณาจักรใหม่ ความเชื่อเปลี่ยนไปว่า ใช่แต่พระเจ้าแผ่นดินเท่านั้นที่จะเข้ารวมกับโอไซริสในโลกหลังความตาย บุคคลธรรมดาสามัญทั้งหลายก็ด้วย แต่ต้องผ่านพิธีกรรมทำนองเดียวกัน ไอโซริสได้รับการนับถือเป็นมัจจุราชมาจนศาสนาอียิปต์โบราณระงับไปในช่วงคริสตกาล.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและโอไซริส · ดูเพิ่มเติม »

ไอพุตที่ 2

อพุตที่ 2 เป็นมเหสีของฟาโรห์อียิปต์โบราณของราชวงศ์ที่หก และยังเป็นน้องสาวและมเหสีของฟาโรห์เปปิที่ 2 เนเฟอร์กาเร.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและไอพุตที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

ไอยคุปต์

ำหรับเทพที่เกี่ยวข้องกับอียิปต์โบราณ ดูที่ ตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์ ไอยคุปต์ เป็นคำศัพท์ที่คนไทยใช้เรียก อียิปต์สมัยโบราณ มีความหมายรวมถึง ชนชาติ ภาษา และวัฒนธรรม กล่าวโดยย่อคือ ใช้ทั้งในฐานะของคำนามและคุณศัพท์ ส่วนอียิปต์หลังยุคฟาโรห์ นิยมใช้คำว่า "อียิปต์" ตามปกต.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและไอยคุปต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไออา

ออาห์ มีความหมายว่า "ดวงจันทร์" เป็นมารดาของฟาโรห์และเป็นพระราชินีแห่งอียิปต์โบราณ เมื่อ 2060 ปีก่อนคริสตกาลในช่วงราชวงศ์ที่สิบเอ็ด (2134-1991 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นธิดาของฟาโรห์อินโยเตฟที่หนึ่งและเป็นมารดาของฟาโรห์เมนทูโฮเตปที่สอง และพระองค์เป็นพระมเหสีของฟาโรห์อินโยเตฟที่สาม.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและไออา · ดูเพิ่มเติม »

ไออาเรต

ออาเรต เป็นพระราชินีในช่วงราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอาณาจักรอียิปต์โบราณ.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและไออาเรต · ดูเพิ่มเติม »

ไอซิส

ทวีไอสิส (Isis) เทพแห่งอียิปต์ ถือเป็นหนึ่งในเทพของตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์ บางตำรากล่าวไว้ว่า เทวีไอซิส(Isis) เป็นธิดาของเทพและเทพีนุต แต่บางตำรากลับบอกว่า เทพีไอซิสเป็นธิดาของเทพรากับเทพีนุต(หรือ เทพีนัต) ตามที่จะขอกล่าวถึงดังต่อไปนี้ ต้นกำเนิดของเทวีไอซิสเริ่มขึ้นหลังจากที่เทพราได้อภิเษกกับเทพีนุตแล้ว เทพรามีความปรารถนาอย่างยิ่งที่จะได้โอรสธิดา แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานวันเข้า เทพีนุตก็ไม่ทรงครรภ์เสียที ทำให้เทพราทรงพิโรธ และลงมือสาปให้เทพีนุตไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีกเลย เทพีนุตทรงเสียใจเป็นอย่างมาก จึงนำเรื่องนี้ไปปรึกษากับเทพธอทผู้ทรงความรอบรู้ ซึ่งเดิมทีแล้วเทพธอทได้ตกหลุมรักเทพีนุตมาโดยตลอด เทพธอทให้คำแนะนำพร้อมยื่นข้อเสนอแก่เทพีนุตว่า หากพระองค์สามารถมีโอรสธิดาให้เทพราได้ พระนางจะต้องมอบความรักให้แก่เทพธอท เทพีนุตตอบตกลงในคำนั้น เทพธอทจึงได้ไปท้าพนันกับเทพคอนชูผู้เป็นเทพพระจันทร์ซึ่งรักการพนันเป็นชีวิตจิตใจ เทพธอททำทีแสร้งเดินหมากกันกับเทพคอนชูจนหลงลืมวันคืน ซึ่งเทพคอนชูไม่ทันรู้เล่ห์กล จึงเปล่งแสงอยู่ตลอดเวลาจนกระทั่งแสงมีมากพอเท่ากับแสงจากพระอาทิตย์จำนวน 5 วัน เทพธอทจึงยกเลิกการเล่นหมากกับเทพคอนชู หลังจากนั้นเป็นต้นมา แสงจากเทพคอนชูจึงมีไม่มากเพียงพอ ทำให้เทพคอนชูจำเป็นต้องลดแสงลงบ้างในเวลาตอนกลางคืน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของข้างขึ้นข้างแรมในปัจจุบันนั่นเอง ตั้งแต่นั้นมา เทพธอทก็นำแสงที่นอกเหนือจากแสงอาทิตย์ของเทพรา มาสร้างเป็นวันจำนวน 5 วัน ซึ่งเพียงพอที่จะทำให้เทพีนุตตั้งครรถ์ได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เทพีนุตให้กำเนิดเหล่าเทพเทพีจำนวน 5 องค์ อันได้แก่ 1.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและไอซิส · ดูเพิ่มเติม »

ไอเซท

อเซท (หรือพระนาม ไอซิส) เป็นพระราชินีแห่งราชวงศ์ที่สิบแปดของอียิปต์โบราณและพระองค์ได้รับการตั้งพระนามตามเทพีไอซิส พระองค์เป็นพระมเหสีรองของฟาโรห์ทุตโมสที่สองDodson & Hilton, p.131.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและไอเซท · ดูเพิ่มเติม »

ไอเนนิ

อเนนิ (หรือ ไออิน, อินนิ) เป็นพระราชินีแห่งอียิปต์โบราณที่อาศัยอยู่ในช่วงราชวงศ์สิบสาม (เมื่อประมาณ 1,700 ปีก่อนคริสตกาล) ยังเป็นที่รู้จักจากสคารับทั้งหมด 21 ตัว และความประทับตราจากเคอร์ม.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและไอเนนิ · ดูเพิ่มเติม »

เฮเทปเฮเอสที่ 1

ทปเฮเอสที่ 1 เป็นพระราชินีแห่งอียิปต์โบราณในช่วงราชวงศ์ที่สี่ของราชอาณาจักรอียิปต์ และเป็นพระมเหสีในฟาโรห์สเนฟรู.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและเฮเทปเฮเอสที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

เฮเตเฟอร์เรสที่ 2

ตเฟอร์เรสที่สอง เป็นสมเด็จพระราชินีและพระมเหสีแห่งอียิปต์โบราณในช่วงระยะเวลาของราชวงศ์ที่สี่แห่งอียิปต์โบราณ.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและเฮเตเฟอร์เรสที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

เธียอา

ทีอา หรือ เทียอา เป็นพระราชินีแห่งอียิปต์โบราณในช่วงราชวงศ์ที่สิบแปดของอียิปต์โบราณ พระองค์เป็นพระมเหสีของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่สอง และเป็นพระราชมารดาของฟาโรห์ทุตโมสที่สี่, p.140.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและเธียอา · ดูเพิ่มเติม »

เทพปกรณัมอียิปต์

ทพปกรณัมอียิปต์เป็นหมู่ตำนานจากอียิปต์โบราณ ซึ่งอธิบายการกระทำของพระเจ้าอียิปต์เป็นวิธีการเข้าใจโลก ความเชื่อซึ่งตำนานเหล่านี้แสดงเป็นส่วนสำคัญของศาสนาอียิปต์โบราณ ความเชื่อปรากฏบ่อยครั้งในงานเขียนและศิลปะอียิปต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องสั้นและในวัตถุทางศาสนา เช่น เพลงสวดสรรเสริญ ข้อความพิธีกรรม ข้อความพิธีศพ และการตกแต่งเทวสถาน แหล่งข้อมูลเหล่านี้มักไม่ค่อยมีการบรรยายตำนานอย่างสมบูรณ์ และมักอธิบายเฉพาะส่วนสั้น.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและเทพปกรณัมอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

เคเนมเนเฟอร์เฮตดเจดที่ 1

นมเนเฟอร์เฮตดเจดที่ 1 เวเรต เป็นพระราชินีแห่งอียิปต์โบราณของราชวงศ์ที่ 12 เป็นพระมเหสีของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 และเป็นพระมารดาของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและเคเนมเนเฟอร์เฮตดเจดที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

เตติสฮอร์ริ

ตติสฮอร์ริ เป็นพระราชินีของอียิปต์โบราณในช่วงปลายราชวงศ์ที่ 17 และต้นราชวงศ์ที่ 18.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและเตติสฮอร์ริ · ดูเพิ่มเติม »

เซอร์เค็ต

thumb เซอร์เค็ต (Serket) เป็นหนึ่งในเทพของ ตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์ เทวีแมงป่อง มีชื่อเสียงขึ้นมาโดยราชาแมงป่อง กษัตริยก่อนราชวงศ์ พระนางเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ เพราะพระนางเป็นหนึ่งในเทวีผู้พิทักษ์ต้นน้ำทั้งสี่แห่งแม่น้ำนิล หน้าที่ของเทวีเซอร์เค็ตคือ เป็นคนเฝ้างูอาโปฟิส ศัตรูของเทพราที่ถูกมัดและขังไว้ใต้พิภพ พระนางเป็นชายาของเทพเนเฆบคาอู (Nekhebkau) เทพแห่งงูใหญ่ มีแขนเป็นมนุษย์ ซึ่งบางครั้งก็ถือว่าเป็นหนึ่งในเหล่าปีศาจซึ่งอาศัยอยู่ใต้โลก กล่าวกันว่าเทวีเซอร์เค็ตถูกมัดด้วยโซ่จนสวรรคต แต่พระสวามีของเธอบางครั้งก็เป็นเทพที่ดี คอยให้อาหารแก่วิญญาณของผู้ตาย ถ้าในกรณีนี้ เทวีเซอร์เค็ตก็เป็นเทวีที่ดีด้วย โดยปกติแล้วเทวีเซอร์เค็ตจะช่วยเทวีไอสิสทำพิธีศพเทพโอสิริสและเป็นผู้ช่วยคอยดูแลเทพโฮรุส พระนางจะประทับยืนอยู่กับเทวีอีสิสตรงปลายโลงศพ และเป็นเทพ 1 ใน 4 ที่ประจำที่ไหเก็บเครื่องในมัมมี่ที่เก็บลำไส้ เทวีเซอร์เค็ตมีสัญลักษณ์เป็นมนุษย์ ศีรษะเป็นแมงป่อง หรือกายเป็นแมงป่อง ศีรษะเป็นมนุษย์ บางครั้งก็เป็นเช่นเดียวกับเทวีไอสิส หรือปกป้องผู้ตายด้วยปีกที่แขนของนาง.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและเซอร์เค็ต · ดูเพิ่มเติม »

เซนเซเนบ

ซนเซนเนบ (หรือเขียนได้อีกว่า เซนิเซเนบ) เป็นพระราชมารดาของฟาโรห์ทุตโมสที่หนึ่งแห่งราชวงศ์ที่สิบแปด พระนางเซนเซเนบ เป็นที่รู้จักเนื่องจากภาพสลักหมายเลข CG 34006 จาก Wadi Halfa ซึ่งพระองค์ได้แสดงคำสาบานด้วยความจงรักภักดีในฐานะพระราชมารดาของฟาโรห์ทุตโมสที่หนึ่งในพิธีราชาภิเษกของบุตรชายของพระองค์ ฟาโรห์ทุตโมสที่หนึ่ง ภาพสลักของพระนางเซนเซเนบ จากที่ฝังพระศพของฟาโรห์แฮตเชปซุตที่ Deir el-Bahri.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและเซนเซเนบ · ดูเพิ่มเติม »

เนเฟรูที่ 2

นเฟรูที่ 2 เป็นพระมเหสีและน้องสาวของฟาโรห์เมนทูโฮเตปที่สอง ผู้ปกครองในสมัยราชวงศ์ที่สิบเอ็ด เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและเนเฟรูที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

เนเฟอร์ติติ

รูปแกะสลักในท่ายืนของเนเฟอร์ติติจากเมืองอามาร์นา ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อียิปต์ แห่งกรุงเบอร์ลิน รูปแกะสลักของเนเฟอร์ติติกับ อาเคนาเตน และธิดาสามองค์ จากเมืองอามาร์นา ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อียิปต์ แห่งกรุงเบอร์ลิน เนเฟอร์ติติ (1370 - 1330 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นราชินีของฟาโรห์อาเมนโฮเทป ที่ 4 แห่งอียิปต์ (ภายหลังได้เปลี่ยนพระนามมาเป็นอาเคนาเทน) และพระมารดาสะใภ้ของฟาโรห์ตุตันคามุน กล่าวกันว่าเนเฟอร์ติติอาจเคยขึ้นครองบัลลังก์อียิปต์เป็นช่วงเวลาสั้นๆหลังจากพระสวามีสิ้นพระชนม์ และก่อนที่ฟาโรห์ตุตันคามุนจะเถลิงศิริราชสมบัติ แต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการ ชื่อของพระนางอาจแปลได้โดยสังเขปว่า โฉมงามผู้มาสู่ และยังพ้องกับคำเรียกเครื่องประดับชนิดหนึ่งที่เป็นลูกปัดทองคำรูปยาวรี ดังที่เราเห็นรูปปั้นของเธอสวมใส่อยู่เสมอ ลูกปัดชนิดนี้เรียกว่า ลูกปัด"เนเฟอร์" เนเฟอร์ติติโด่งดังจากรูปปั้นท่อนบน ที่ตอนนี้จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อียิปต์แห่งชาติเยอรมนีในนครเบอร์ลิน รูปปั้นดังกล่าวเป็นรูปที่ถูกทำเลียนแบบซ้ำมากที่สุดในบรรดาศิลปวัตถุของไอยคุปต์ สร้างขึ้นโดยประติมากร Djhutmose และถูกค้นพบในห้องทำงานศิลปะของเขา รูปปั้นท่อนบนนี้มีชื่อเสียงโด่งดังเนื่องจากเป็นตัวอย่างของความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของชาวอียิปต์โบราณเกี่ยวสัดส่วนขององค์ประกอบบนใบหน้า พระนางถูกเรียกขานมากมายหลายชื่อ ที่วิหารคาร์นัก มีศิลาจารึกที่ขานพระนางว่าเป็น 'ผู้สืบทอด' 'ที่สุดของผู้เป็นที่โปรดปราน' 'ผู้มีสเน่ห์' 'ผู้แผ่ความสุข' 'ชายาผู้อ่อนหวาน' 'ผู้เป็นที่รัก' 'ผู้ปลอบประโลมหัวใจขององค์ราชาในวัง' 'ผู้มีถ้อยคำอ่อนโยน' 'ชายาแห่งอียิปต์ตอนบนและอียิปต์ตอนล่าง' 'ชายาของกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่' 'ผู้ที่กษัตริย์ทรงรัก' 'สตรีแห่งดินแดนทั้งสอง' 'เนเฟอร์ติติ'.

ใหม่!!: ศาสนาอียิปต์โบราณและเนเฟอร์ติติ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ตำนานเทพเจ้าแห่งไอยคุปต์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »