โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น

ดัชนี ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น

ระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นโดยผ่านเกาหลี ในหนังสือประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นชื่อ นิฮงโชคิ ได้บันทึกไว้ว่า วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 1095 (ในยุคอาซึกะ) เป็นปีที่ 13 ของรัชกาลจักรพรรดิคินเม จักรพรรดิองค์ที่ 29 พระพุทธศาสนาได้เข้าสู่ญี่ปุ่น โดยพระเจ้าซองกษัตริย์อาณาจักรแพคเจส่งราชทูตมายังราชสำนักจักรพรรดิคินเม พร้อมด้วยพระพุทธรูป ธง คัมภีร์พุทธธรรม และพระราชสาสน์แสดงพระราชประสงค์ที่จะขอให้จักรพรรดิคินเมรับนับถือพระพุทธศาสนา จักรพรรดิคินเมทรงรับด้วยความพอพระทัย แม้จักมีการนับถือศาสนาพุทธในหมู่ชาวญี่ปุ่นอยู่ก่อนแล้ว โดยรับจากอินเดียผ่านจีนเข้ามายังญี่ปุ่นที่มีผู้นำมาถ่ายทอดจากแผ่นดินใหญ่ในช่วงก่อนต้นพุทธศตวรรษที่ 10 เพียงแต่ครั้งนี้เป็นการเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นอย่างเป็นหลักเป็นฐานที่ชัดเจนอยู่ในบันทึกนิฮงโชคิพงศาวดารญี่ปุ่นซึ่งเขียนโดยอาลักษณ์ พระพุทธศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของรากฐานในวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นมาร่วมสหัสวรรษ และในพันปีกว่านี้ชาวญี่ปุ่นยังได้เชื่อมโยงความเชื่อของพุทธศาสนาบางส่วนเข้าผสมผสานกับปรัชญาหลักคำสอนของศาสนาชินโตพื้นบ้าน เช่น ความเชื่อในเรื่องของพระโพธิสัตว์และทวยเทพในศาสนาพุทธ ซึ่งได้ผนวกเป็นเทพเจ้าที่ได้รับการเคารพนับถือในศาสนาชินโต ความเชื่อมโยงนี้ซึมซับจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของแกนรากทางวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นมาเนิ่นนานหลายศตวรรษ.

13 ความสัมพันธ์: ชาวญี่ปุ่นชาวรีวกีวชินโตพระสุรัสวดีรายชื่อตัวละครในอินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงินลังกาวตารสูตรศาสนาในประเทศญี่ปุ่นอจละความรักประเทศญี่ปุ่นนครศักดิ์สิทธิ์เบ็นไซเต็ง7

ชาวญี่ปุ่น

วญี่ปุ่น มีประมาณ 140-150 ล้านคนทั่วโลก เป็นกลุ่มคนที่อาศัยอยู่บนเกาะญี่ปุ่น"人類学的にはモンゴロイドの一。皮膚は黄色、虹彩は黒褐色、毛髪は黒色で直毛。言語は日本語。" และที่ต่างๆทั่วโลก เช่น ฮาวาย สหรัฐอเมริกา และแคนาดา ภาษาที่ใช้คือภาษาญี่ปุ่น ศาสนาที่สำคัญคือศาสนาพุทธ และลัทธิชินโต กลุ่มชาวญี่ปุ่นในปัจจุบัน ประกอบขึ้นด้วยกลุ่มบุคคลในอดีตได้แก่ชาวยามาโตะและชาวรีวกีว.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและชาวญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ชาวรีวกีว

รีวกีว (โอะกินะวะ: Ruuchuu minzuku) หรือ โอกินะวะ (โอะกินะวะ: Uchinaanchu) ปรากฏในเอกสารต้นกรุงรัตนโกสินทร์ว่า ลิชี่ว (ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์) หรือ ลิ่วขิ่ว (โคลงภาพคนต่างภาษา) เป็นชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บนหมู่เกาะรีวกีว ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างคีวชูกับไต้หวัน ซึ่งปัจจุบันคือที่ตั้งของจังหวัดโอะกินะวะและคะโงะชิมะของประเทศญี่ปุ่น ภาษาของพวกเขาจัดอยู่ในตระกูลภาษาย่อยรีวกีว หนึ่งในสองตระกูลภาษาย่อยของตระกูลภาษาญี่ปุ่น และถูกนับว่าเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาญี่ปุ่น ชาวรีวกีวไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นชนกลุ่มน้อยในญี่ปุ่น เนื่องจากเจ้าหน้าที่จากทางการนับว่าชาวรีวกีวเป็นกลุ่มย่อยของชาวญี่ปุ่น ทำนองเดียวกับชาวยะมะโตะและไอนุ กระนั้นถ้าหากว่าชาวรีวกีวเป็นชนกลุ่มน้อย ก็ถือเป็นชนกลุ่มน้อยที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น เพียงแค่จังหวัดโอะกินะวะก็มีชาวรีวกีวมากถึง 1.3 ล้านคนอาศัยอยู่ นอกจากนี้ยังมีชาวรีวกีวจำนวนไม่น้อยกว่า 600,000 คน อาศัยกระจายไปยังส่วนอื่น ทั้งภายในประเทศญี่ปุ่นเองและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก โดยมากจะอาศัยอยู่ในรัฐฮาวาย ผลการศึกษาด้านพันธุกรรมและมานุษยวิทยาพบว่าชาวรีวกีวมีความสัมพันธ์กับชาวไอนุเป็นพิเศษ และมีบรรพบุรุษร่วมกันช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นหรือยุคโจมง (10,000-1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ซึ่งอพยพมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนจะผสมข้ามเผ่าพันธุ์กับชาวยะมะโตะในยุคยะโยะอิ (1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 300) ซึ่งอพยพมาจากเอเชียตะวันออก (โดยเฉพาะจากจีนและคาบสมุทรเกาหลี) ชาวรีวกีวมีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง เช่น ความเชื่อ ศาสนา หรือแม้แต่อาหาร โดยมีการเพาะปลูกข้าวเพื่อบริโภคครั้งแรกราวศตวรรษที่ 12 ประชากรอาศัยอยู่ตามหมู่เกาะอย่างโดดเดี่ยวเป็นเวลาหลายศตวรรษ ราวศตวรรษที่ 14 ได้มีการรวมสามอาณาจักรเป็นรัฐเดียวคืออาณาจักรรีวกีว (ค.ศ. 1429–1879) ซึ่งโดดเด่นด้านการค้าทางทะเลและมีสถานะเป็นรัฐบรรณาการของจีนยุคราชวงศ์หมิงเป็นต้นมา กระทั่ง..

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและชาวรีวกีว · ดูเพิ่มเติม »

ชินโต

ทะริอิ ที่ ศาลเจ้าอิสึกุชิมะ สัญลักษณ์ที่สำคัญของชินโต ชินโต เป็นลัทธิตามความเชื่อเดิมของชาวญี่ปุ่น คำว่า ชินโต มาจากตัวอักษรจีน หรือคันจิ 2 ตัวรวมกัน คือ ชิน หมายถึงเทพเจ้า (ภาษาจีน: 神, พินอิน: shén, เสิน) และ โต หมายถึงวิถีทางหรือศาสตร์วิชา (ภาษาจีน: 道, พินอิน: dào, เต้า) หรือ เต๋า ในลัทธิเต๋านั่นเอง เมื่อรวมกันแล้ว จะหมายถึงศาสตร์แห่งเทพเจ้า หรือวิถีแห่งเทพเจ้า นั่นเอง ชินโตของญี่ปุ่นมีตำนานความเชื่อว่า เทพเจ้ามีมากมายนับไม่ถ้วน ทั้งในป่า บนภูเขา ทะเล แม่น้ำ ลำธาร ในสายลม แม้แต่ในบ้านเรือนและเรือกสวนไร่นาในธรรมชาติที่ที่มีความบริสุทธิ์ล้วนเป็นที่สถิตของเทพเจ้าได้ทั้งสิ้น จึงมีคำที่ว่า "เทพแปดล้านองค์" เป็นการรวมคำเพื่อแสดงว่ามีทวยเทพอยู่มากมาย ปัจจุบันนี้ ลัทธิชินโตถือให้เป็นลัทธิความเชื่อพื้นเมืองประจำประเทศญี่ปุ่น พิธีกรรมของลัทธิชินโตนี้มาจากวัฒนธรรมท้องถิ่นและธรรมเนียมปฏิบัติต่าง ๆ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่ก็ไม่ได้ถือเป็นพิธีกรรมอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งศาสนาพุทธ และ ลัทธิขงจื๊อ กับ ลัทธิเต๋า รวมทั้งภายหลัง ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ได้เริ่มให้เข้ามาในดินแดนญี่ปุ่น ตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 พิธีกรรมของลัทธิชินโตได้ถูกบันทึกและบัญญัติเป็นครั้งแรกในคัมภีร์โคะจิคิ และจดหมายเหตุนิฮงโชะกิ ในศตวรรษที่ 8 เพื่อตอบโต้ศาสนาที่มีระดับความพัฒนามากกว่าจากแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ตาม งานเขียนในยุคแรกๆก็ยังมิได้บ่งบอกว่าเป็น ลัทธิชินโต แต่งานเขียนในสมัยต่อมาก็ได้บ่งชี้อย่างชัดเจน พร้อมขนบธรรมเนียบของสังคมเกษตรกรรมและเทศกาลประจำปีเข้าไปด้วย รวมไปถึงความเชื่อเรื่องเทพปกรณัมและการกำเนิดโลกต่าง ๆ ซึ่งเล่าถึงต้นกำเนิดของชนชาติญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะหมายถึงเชื้อสายยะมะโตะ และอิสึโมะ ในสมัยนั้น พุทธศาสนาได้แพร่จากจีนเข้าสู่ญี่ปุ่น และมีผสมผสานความเชื่อดั้งเดิม อย่างเช่น ความเชื่อเรื่องเทพเจ้าในลัทธิชินโตและความเชื่อเรื่องพระโพธิสัตว์ในศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น ปัจจุบันนี้ ลัทธิชินโตถูกจัดให้เป็นลัทธิบูชาเทพเจ้าหลายองค์ หรือ พหุเทวนิยม และลัทธิบูชาภูตผีวิญญาณ ที่เน้นความบริสุทธิ์ของพิธีกรรมเป็นอย่างมาก รวมถึงยกย่องเกียรติและความมีตัวตนของเทพเจ้า ซึ่งมีทั้งเทพเจ้าที่มีมาจากการยกบุคคลให้เป็นเทพ หรือการบูชาธรรมชาติ และเทพเจ้ายังสามารถมีลูกได้ด้วย ลัทธิชินโตเป็นลัทธิที่ให้ความสำคัญกับพิธีกรรมทางศาสนาเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากเป็นวิธีที่จะทำให้ศาสนิกชนเข้าถึงและเป็นหนึ่งเดียวกับเทพเจ้าได้มากที่สุด ลัทธิชินโตยุคใหม่ไม่มีสถาบันที่ที่ยกตัวเป็นผู้ควบคุมส่วนกลาง มีเพียงแต่กลุ่มคนที่พยายามรักษาวิถีปฏิบัติของลัทธิชินโตมาตั้งแต่สมัยบรรพกาลจนถึงปัจจุบัน ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ชินโตได้ถูกยกเลิกจากการเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งในปัจจุบันชินโตเริ่มลดหายไปจากวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยที่ยังเห็นได้ในปัจจุบันได้แก่ โอมิคุจิ (การดึงฉลากเสี่ยงโชคในศาลเจ้าชินโต) และการเฉลิมฉลอง งานปีใหม่ญี่ปุ่น ที่มีจัดขึ้นตามศาลเจ้าชินโต.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและชินโต · ดูเพิ่มเติม »

พระสุรัสวดี

ระสุรัสวตี เทวีอักษรศาสตร์(ตราสัญลักษณ์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระสุรัสวดี หรือ พระสรัสวดี (सरस्वती สรสฺวตี) เป็นเทพสตรีในศาสนาฮินดู ทรงอุปถัมภ์ความรู้, ศิลปะ, ดนตรี, ปัญญา และการเรียนรู้Kinsley, David (1988).

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและพระสุรัสวดี · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตัวละครในอินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน

;ให้เสียงโดย: อากิโอะ โอสึกะ * อินุโยไค(犬妖怪 "Inu yōkai", Dog demons) สุนัขอสูร "อินุโยไค" คือวงศ์วานอสูรที่อยู่ลำดับบนของเผ่าพันธุ์อสูรซึ่งมีพลังอำนาจมากที่สุดเผ่าพันธุ์หนึ่ง อินุโยไคเป็นตระกูลอสูรที่มีความสามารถเหาะเหิน มีประสาทสัมผัสรับกลิ่นดีเยี่ยม การรักษาตนเองขั้นสูงและสามารถสร้างอาวุธจากพลังภายในร่างกายของตนเอง อินุไทโชเองใช้ประโยชน์จากพลังอสูรที่มีได้คุ้มค่าถึงขีดสุดขั้นหนึ่ง เช่น เล็บ เขี้ยว ใช้สังหารหรือผนึกศัตรู ใช้พลังสร้างเป็นอาวุธหรือสร้างขึ้นเป็น.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและรายชื่อตัวละครในอินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน · ดูเพิ่มเติม »

ลังกาวตารสูตร

ลังกาวตารสูตร (लंकावतारसूत्र Laṅkāvatāra Sūtra) เป็นพระสูตรเก่าแก่เล่มหนึ่งในนิกายมหายาน พระสูตรนี้ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎกภาษาบาลีของเถรวาท แต่งขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏ แต่ได้แปลเป็นภาษาจีนครั้งแรกราว..

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและลังกาวตารสูตร · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาในประเทศญี่ปุ่น

นาในประเทศญี่ปุ่น ถูกครอบงำโดยลัทธิชินโตเป็นหลักซึ่งเป็นลัทธิเก่าแก่ของชนชาติญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าศาสนาพุทธจะเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในญี่ปุ่นแต่พุทธสถานเกือบทั้งหมดในญี่ปุ่นก็ได้รับอิทธิพลจากลัทธิชินโตอยู่ไม่น้อย จากการสำรวจในปี..

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและศาสนาในประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

อจละ

ฟุโดเมียวโอ (อจลนาถ) ที่โอะคุโนะอิน เขาโคยะ จังหวัดเฮียวโงะ ประเทศญี่ปุ่น อจละ (अचल; อ่านว่า /อะ-จะ-ละ/, 不動明王; Bùdòng Míngwáng) เป็นวิทยราชองค์หนึ่งในศาสนาพุทธฝ่ายวัชรยาน หรือนิกายชินงนของศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น เป็นสัญลักษณ์ของผู้ทำลายสิ่งลวงตาและปกป้องพุทธศาสนา รูปลักษณ์ของอจละแสดงถึงการอยู่นิ่ง การไม่เคลื่อนที่ ในขณะที่เกิดอารมณ์โกรธ ช่วยเหลือเหล่ามนุษย์ เป็นสัญลักษณ์ของการควบคุมตนเอง ตามนัยของคำว่า "อจละ" ในภาษาสันสกฤต ซึ่งแปลว่า "ไม่เคลื่อนไหว" ถือเป็นเทพเจ้าที่ทำงานให้กับพระไวโรจนพุทธะ อจละนับเป็นวิทยราชซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางที่สุดในบรรดาวิทยราชทั้งห้าผู้สถิตในครรภโกษธาตุ นามอื่นๆ ของอจละในภาษาสันสกฤตได้แก่ "อจลวิทยราช", "อจลนาถ", "อารยาจลนาถ" และ "จัณฑมหาโรศนะ" รูปลักษณ์ของอจละในภาพวาดหรือตามรูปปั้น มีลักษณะเป็นรูปบุคคลถือดาบซึ่งมีปลายด้ามเป็นรูปวัชระในมือขวา ใช้การในปราบสิ่งชั่วร้าย มือซ้ายถือเชือกเพื่อการจับมัดสิ่งชั่วร้าย ด้านหลังล้อมรอบด้วยเปลวไฟเป็นประภามณฑล และมักปรากฏในท่ายืนหรือนั่งบนหินแสดงถึงการไม่เคลื่อนไหว ทรงผมมัดเป็นเปียอยู่เจ็ดปมและปลายผมวางบนไหล่ซ้าย เป็นสัญลักษณ์ของผู้รับใช้พระพุทธเจ้า ที่มุมปากมีเขี้ยวสองข้าง ด้านหนึ่งชี้ลงแสดงถึงการปฏิบัติตัวบนโลก และข้างหนึ่งชี้ขึ้นแสดงถึงการค้นหาความจริง.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและอจละ · ดูเพิ่มเติม »

ความรัก

วาดตัวอย่างคู่รัก โรมิโอกับจูเลียต ความรัก (Love) เป็นความรู้สึก สภาพและเจตคติต่าง ๆ ซึ่งมีตั้งแต่ความชอบระหว่างบุคคลหมายถึงอารมณ์การดึงดูดและความผูกพัน (attachment) ส่วนบุคคลอย่างแรงกล้าOxford Illustrated American Dictionary (1998) + Merriam-Webster Collegiate Dictionary (2000) ในบริบททางปรัชญา ความรักเป็นคุณธรรมแสดงออกซึ่งความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ และความเสน่หาทั้งหมดของมนุษย์ ความรักเป็นแก่นของหลายศาสนา อย่างเช่นในวลี "พระเจ้าเป็นความรัก" ของศาสนาคริสต์ หรืออากาเปในพระวรสารในสารบบ ความรักยังอาจอธิบายได้ว่าเป็นพฤติกรรมต่อตนเองหรือผู้อื่นซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานความเห็นอกเห็นใจ หรือความเสน่หา คำว่ารักสามารถหมายความถึงความรู้สึก สภาพทางอารมณ์และเจตคติต่าง ๆ ซึ่งอาจมีตั้งแต่ความพอใจทั่วไปจนถึงความดึงดูดระหว่างบุคคลอย่างรุนแรง แต่โดยเจาะจงแล้ว ความรักสามารถหมายถึงความต้องการอย่างเสน่หาและความสัมพันธ์ทางเพศ ซึ่งเป็นความหมายของความรักแบบโรแมนติก ความรักที่มีเพศเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นความหมายของอีรอส (คำภาษากรีกหมายถึงความรัก) ความใกล้ชิดทางอารมณ์ ซึ่งเป็นความหมายของความรักกับบุคคลในครอบครัว หรือรักบริสุทธิ์ที่นิยามมิตรภาพ หรือความรักแบบอุทิศตัวแบบในทางศาสนา (J. Mascaró, translator) ความหลากหลายของการใช้และความหมายของคำว่ารักนี้ ประกอบกับความรู้สึกอันซับซ้อนที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เป็นการยากที่จะนิยามความรักให้แน่นอน แม้จะเทียบกับสภาพอารมณ์อื่น ๆ แล้วก็ตาม วิทยาศาสตร์นิยามว่าสิ่งที่เข้าใจได้ว่าเป็นความรักนั้นเป็นสภาพที่มาจากวิวัฒนาการของสัญชาตญาณการเอาตัวรอด โดยพื้นฐานแล้วเพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกันเพื่อต่อต้านภัยคุกคามและเพื่อสนับสนุนความต่อเนื่องของสายพันธุ์ผ่านการสืบพันธุ์Helen Fisher.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและความรัก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

นครศักดิ์สิทธิ์

นครศักดิ์สิทธิ์ (holy city) เป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางที่มีประวัติศาสตร์ทางศาสนาและความเชื่อ ส่วนใหญ่จะมีที่สำคัญอยู่อย่างน้อยหนึ่งแห่ง (มักจะเป็นสิ่งที่สำคัญต่อศาสนา เช่น สิ่งปลูกสร้าง, รูปปั้น, ความเชื่อ ฯลฯ) ซึ่งทำให้เกิดการจาริกแสวงบุญ เมืองศักดิ์สิทธิ์เป็น เมืองที่มีสัญลักษณ์ ทีเกี่ยวข้องกับศาสนาและความเชื่อ.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและนครศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

เบ็นไซเต็ง

็นไซเต็ง หรือที่เรียกอย่างสั้นว่า เบ็นเต็ง เป็นเทพีองค์หนึ่งตามคติพุทธศาสนาแบบญี่ปุ่น เป็นเทพีองค์เดียวกับพระสรัสวดีของคติศาสนาพราหมณ์-ฮินดู คติการนับถือเบ็นไซเต็ง เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6-8 ผ่านการแปล สุวรรณประภาสสูตร (Suvarṇa-prabhāsa Sūtra; 金光明経) จากภาษาจีนสู่ญี่ปุ่น โดยเนื้อหาให้พระคัมภีร์ดังกล่าวมีเนื้อหาเกี่ยวกับเบ็นไซเต็ง และยังปรากฏใน สัทธรรมปุณฑรีกสูตร (Saddharma Puṇḍarīka Sūtra; 妙法蓮華経) ที่ปรากฏองค์พร้อมกับเครื่องดนตรีญี่ปุ่นดั้งเดิมที่เรียกว่า บิวะ (琵琶) ต่างกับพระสรัสวดีที่ถือ พิณ (วีณา) เบ็นไซเต็ง เป็นหนึ่งในเทพแห่งโชคลาภทั้งเจ็ด และเป็นเทพีแห่งกวี อักษรศาสตร์ นาฏกรรม และดนตรี เชื่อกันว่าผู้ใดนับถือเทวีพระองค์นี้ก็จะพบแสงสว่างแห่งปัญญา ในอดีตเกชะนิยมบูชาเบ็นไซเต็งเพราะเชื่อว่าจะทำให้มีความสามารถเชิงระบำรำฟ้อน ส่วนพวกตีนแมวและพวกย่องเบาเองก็นิยมบูชาเทวีพระองค์นี้เช่นกัน เพราะเชื่อว่าเบ็นไซเต็งจะดลบันดาลให้ภารกิจลุล่วงไปด้วยดี.

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและเบ็นไซเต็ง · ดูเพิ่มเติม »

7

7 (เจ็ด) เป็นจำนวนธรรมชาติที่อยู่ถัดจาก 6 (หก) และอยู่ก่อนหน้า 8 (แปด).

ใหม่!!: ศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นและ7 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่น

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »