โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศาสนจักร

ดัชนี ศาสนจักร

นจักร คือ อำนาจปกครองทางศาสนา เรียกคู่กับ "อาณาจักร" คืออำนาจปกครองทางบ้านเมือง.

12 ความสัมพันธ์: พระเจริญราชเดช (อุ่น ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม)การตัดขาดจากศาสนามิชชันนารีมุขมณฑลสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2อธิการอดัม สมิธจักรพรรดิสันตะปาปานิยมคริสต์ความแตกแยกเหตุการณ์แดรฟุสเอกอัครสมณทูต

พระเจริญราชเดช (อุ่น ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม)

มหาอำมาตย์ตรี พระเจริญราชเดช (อุ่น ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม) (พ.ศ. ๒๔๐๑ - พ.ศ. ๒๔๖๑) กรมการพิเศษเมืองมหาสารคาม มณฑลร้อยเอ็จและที่ปรึกษาราชการเมืองมหาสารคาม อดีตเจ้าเมืองวาปีปทุมคนสุดท้าย (องค์ที่ ๒) อดีตเจ้าเมืองมหาสารคามคนสุดท้าย (องค์ที่ ๔) อีกทั้งเคยดำรงตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการเมืองมหาสารคาม ผู้ว่าราชการเมืองมหาสารคามท่านแรก นายอำเภอวาปีปทุมท่านแรก รวมถึงมีศักดิ์เป็นบุตรเขยและหลานลุงของพระเจริญราชเดชวรเชษฐ์มหาขัติยพงศ์ (กวด) เจ้าเมืองมหาสารคามคนแรก อนึ่ง พระเจริญราชเดช (อุ่น) เป็นต้นสกุลและได้รับพระราชทานนามสกุล ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม ซึ่งเป็นหนึ่งในสกุลหัวเมืองอีสานที่มีชื่อเสียงของประเทศไท.

ใหม่!!: ศาสนจักรและพระเจริญราชเดช (อุ่น ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม) · ดูเพิ่มเติม »

การตัดขาดจากศาสนา

การตัดขาดจากศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเททพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 204 (excommunication) คือการตำหนิโทษทางศาสนา เพื่อขับไล่บุคคลหนึ่งให้พ้นจากการเป็นสมาชิกของศาสนจักร คำว่า excommunication หมายถึง การไม่ร่วมสมานฉันท์ (communion).

ใหม่!!: ศาสนจักรและการตัดขาดจากศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

มิชชันนารี

มิชชันนารีคาทอลิกคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสกำลังอำลาญาติพี่น้อง ก่อนออกเดินทางไปเผยแผ่ศาสนาคริสต์ยังดินแดนตะวันออกไกล มิชชันนารี (missionary) คือ สมาชิกองค์การทางศาสนา ที่ถูกส่งไปยังต่างแดนเพื่อทำการประกาศข่าวดีและรับใช้พระผู้เป็นเจ้าหรือศาสนจักร ในงานด้านการศึกษา การรู้หนังสือ ความยุติธรรมทางสังคม สาธารณสุข และการพัฒนาเศรษฐกิจThomas Hale 'On Being a Missionary' 2003, William Carey Library Pub, ISBN 0-87808-255-7 คำว่า "มิชชัน" มาจากภาษาละติน missionem ซึ่งแปลว่า การส่งออกไป มิชชันนารีมักทำงานรวมกันเป็นองค์กรเรียกว่า มิชชัน (โปรเตสแตนต์) หรือ มิสซัง (โรมันคาทอลิก) และเรียกสำนักงานของมิชชันนารีว่า ศูนย์มิชชัน (โปรเตสแตนต์) หรือ สำนักมิสซัง (โรมันคาทอลิก).

ใหม่!!: ศาสนจักรและมิชชันนารี · ดูเพิ่มเติม »

มุขมณฑล

มุขมณฑลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 139 (diocese) คริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกเรียกว่า สังฆมณฑล ในประเทศไทยกรมการศาสนาเรียกว่า เขตมิสซังกรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6 เป็นเขตการปกครองของคริสตจักรซึ่งมีมุขนายกเป็นประมุข แต่ละมุขมณฑลจะแบ่งออกเป็นเขตแพริช ในกรณีที่เป็นมุขมณฑลขนาดใหญ่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากกว่ามุขมณฑลอื่นที่อยู่รอบ ๆ มุขมณฑลนั้นจะถูกยกสถานะขึ้นเป็นอัครมุขมณฑล โดยมีอัครมุขนายกเป็นประมุข อัครมุขนายกมีสถานะเป็นมุขนายกมหานคร มีอำนาจสูงกว่ามุขนายกปริมุขมณฑลซึ่งเป็นมุขนายกประจำมุขมณฑลอื่น ๆ ในภาคคริสตจักรเดียวกัน โครงสร้างการปกครองคริสตจักรแบบนี้เรียกว่า การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล มุขมณฑลยังอาจหมายถึง เขตมุขนายก (bishopric) หรือ อิปิสโคปัลซี (Episcopal see) แต่คำว่าอิปิสโคปัลซีมักใช้หมายถึงอาณาเขตที่ปกครองโดยบิชอป ขณะที่ bishopric อาจหมายถึงตำแหน่งบิชอปก็ได้.

ใหม่!!: ศาสนจักรและมุขมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2

มเด็จพระสันตะปาปา นักบุญจอห์น ปอลที่ 2 มีพระนามเดิมว่า การอล ยูแซฟ วอยตือวา (ในภาษาโปแลนด์) เกิดเมื่อ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1920 ที่หมู่บ้านวาดอวิตแซ ใกล้เมืองกรากุฟ ประเทศโปแลนด์ บิดาเป็นทหารมียศเป็นจ่าทหารและเกษียณราชการแล้ว มารดาเสียชีวิต เมื่อคาโรลยังเป็นเด็ก ท่านเป็นเด็กที่มีพรสวรรค์พิเศษ ชอบการกีฬาเป็นอันมาก ท่านยังชอบบทกวีและการแสดงละคร หลังจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 1 คณะพระคาร์ดินัลทั่วโลกก็มีมติเลือกให้พระคาร์ดินัลการอล วอยตือวา ประมุขแห่งอัครมุขมณฑลกรากุฟ ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 58 พรรษา ขึ้นเป็นประมุขแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1978 นับเป็นพระสันตะปาปาองค์ที่ 264 ที่สืบตำแหน่งต่อจากนักบุญซีโมนเปโตรอัครทูต สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 เป็นประมุขของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลก เป็นพระสันตะปาปาที่ไม่ใช่ชาวอิตาเลียนองค์แรกในรอบ 455 ปี และเป็นพระสันตะปาปาองค์แรกที่เป็นชาวโปแลนด์ รวมทั้งยังเป็นพระสันตะปาปาที่ได้รับเลือกขณะที่มีอายุน้อยที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20 อีกด้วย พระองค์เป็นพระสันตะปาปาที่สำคัญที่สุดองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน พระองค์ทรงเดินทางรอบโลกเพื่อเยี่ยมเยียนคริสตชนมากกว่าพระสันตะปาปาองค์ใด ๆ ในอดีตที่ผ่านมา ทรงต่อต้านกระแสทุนนิยมที่ไร้ขอบเขต การกดขี่ทางการเมือง ยืนกรานในการต่อต้านการทำแท้ง และปกป้องวิถีทางของศาสนจักรในเรื่องเพศของมนุษย์ ปัจจุบัน พระองค์ท่านได้รับการประกาศเป็นนักบุญโดยสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 2014 ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร กรุงโรม.

ใหม่!!: ศาสนจักรและสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

อธิการ

อธิการ (authority; superior) มาจากคำในภาษาบาลี "อธิการ" (adhikāra, ออกเสียงว่า "อะธิการะ") แปลว่าเจ้าหน้าที่ การหมายใจ หรือความดี ในภาษาไทยปัจจุบันใช้คำนี้หมายถึงผู้มีอำนาจในด้านการปกครอง พบทั้งในศาสนจักร และการทหาร.

ใหม่!!: ศาสนจักรและอธิการ · ดูเพิ่มเติม »

อดัม สมิธ

อดัม สมิธ (Adam Smith) นักปรัชญาศีลธรรม และ นักเศรษฐศาสตร์การเมืองผู้บุกเบิกชาวสกอตแลนด์ อดัม สมิธ เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการกำหนดแนวคิดเศรษฐศาสตร์แนวตลาดเสรี เป็นบุคคลสำคัญในขบวนการที่เป็นที่รู้จักในชื่อว่า "ยุคสว่างของสกอตแลนด์" (Scottish Enlightenment) โดยเป็นที่รู้จักในฐานะผู้แต่งศาสตรนิพนธ์2 เรื่องคือ ทฤษฎีว่าด้วยศีลธรรมเร้าอารมณ์ (พ.ศ. 2302).

ใหม่!!: ศาสนจักรและอดัม สมิธ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิสันตะปาปานิยม

ักรพรรดิสันตะปาปานิยม (Caesaropapism) คือแนวคิดที่ต้องการรวมอำนาจฝ่ายอาณาจักรให้เข้ากับ (หรือเหนือกว่า) อำนาจฝ่ายศาสนจักร โดยเฉพาะในแบบของการเชื่อมคริสตจักรกับฝ่ายรัฐบาล “จักรพรรดิสันตะปาปานิยม” เป็นระบบการปกครองที่ตรงกันข้ามกับ “เทวาธิปไตย” ที่หมายถึงระบบการปกครองทางโลกและทางศาสนาที่มีนักบวชถืออำนาจเป็นประมุข ประเทศที่ใช้ระบบจักรพรรดิสันตะปาปานิยมในปัจจุบันก็ได้แก่สหราชอาณาจักรที่พระมหากษัตริย์อังกฤษเป็นทั้งประมุขทางการปกครองบ้านเมืองและเป็นประมุขสูงสุดของคริสตจักรแห่งอังกฤษด้วยในขณะเดียวกัน.

ใหม่!!: ศาสนจักรและจักรพรรดิสันตะปาปานิยม · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์

ริสต์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ศาสนจักรและคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ความแตกแยก

วามแตกแยก (Schism) อาจหมายถึง; ฝ่ายศาสนจักร.

ใหม่!!: ศาสนจักรและความแตกแยก · ดูเพิ่มเติม »

เหตุการณ์แดรฟุส

ันทึกข้อมูลบอร์เดอโร จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์แดรฟุส เหตุการณ์แดรฟุส (Affaire Dreyfus) คือ วิกฤตการณ์ทางการเมืองและสังคมในสมัยสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ของฝรั่งเศส ซึ่งเริ่มขึ้นใน พ.ศ. 2437 และดำเนินต่อเนื่องกันไปจนถึง พ.ศ. 2449 เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างสถาบันหลักทางการปกครองและสังคมฝรั่งเศสซึ่งเริ่มตั้งแต่การปฏิวัติฝรั่งเศส พ.ศ. 2332 ปรากฏเด่นชัดอีกครั้ง และกลายเป็นปัญหาล่อแหลมต่อการดำรงอยู่ของระบบการปกครองแบบสาธารณรัฐ ทั้งยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางการเมืองและสังคมของฝรั่งเศสในเวลาต่อม.

ใหม่!!: ศาสนจักรและเหตุการณ์แดรฟุส · ดูเพิ่มเติม »

เอกอัครสมณทูต

อาร์ชบิชอป โจวันนี ดานีเอลโล (Giovanni d’Aniello) อดีตเอกอัครสมณทูตวาติกันประจำประเทศไทย กัมพูชา พม่า และลาวhttp://haab.catholic.or.th/photo/ambassador/jovanne.html แต่งตั้งสมณทูตองค์ใหม่ เอกอัครสมณทูต (nuncio; apostolic nuncio) เรียกโดยย่อว่าพระสมณทูต.

ใหม่!!: ศาสนจักรและเอกอัครสมณทูต · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »