โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วิหารคด

ดัชนี วิหารคด

วิหารคดที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร วิหารคด คือส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมพุทธศาสนสถาน มีลักษณะเป็นวิหารล้อมรอบลานด้านในของวิหารหลักและคดเป็นข้อศอกตรงมุม มีลักษณะเทียบได้กับ ระเบียงฉันนบถ ในสถาปัตยกรรมตะวันตก.

62 ความสัมพันธ์: ชายฝั่งอามาลฟีบาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเตพระปรางค์วัดมหาธาตุมหาวิหารซันตามาเรียโนเวลลามหาวิหารซันตาโกรเชมหาวิหารนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีมหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพงมุขโค้งด้านสกัดรายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหารวัดพระศรีรัตนศาสดารามวัดพระเมรุ (จังหวัดนครปฐม)สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษสถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตกสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์หอฉันหอประชุมนักบวชอารามฟงต์แนอารามมอนเตโอลีเวโตมัจโจเรอารามรัวโยมงอาสนวิหารอาสนวิหารบอร์โดอาสนวิหารบายอนอาสนวิหารกลอสเตอร์อาสนวิหารกาวายงอาสนวิหารกาออร์อาสนวิหารกูต็องส์อาสนวิหารมงเปอลีเยอาสนวิหารลิงคอล์นอาสนวิหารลูว์ซงอาสนวิหารลียงอาสนวิหารล็องกร์อาสนวิหารตูลอาสนวิหารซอลส์บรีอาสนวิหารนักบุญเปาโลอาสนวิหารนัวยงอาสนวิหารแคนเทอร์เบอรีอาสนวิหารแซ็งต์อาสนวิหารแปร์ปีญ็องอาสนวิหารโบแวอาสนวิหารเลอปุย-อ็อง-เวอแลอาสนวิหารเว็ลส์อาสนวิหารเดอรัมอาสนวิหารเซอแนซอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ผังอาสนวิหารจรมุข...จิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ทอมัส แบ็กกิตทำเนียบหัวเมืองงานฝังประดับแบบคอสมาติปาแลเดปัปนักพรตหญิงนครวัดแชร์โตซาดีซันมาร์ตีโนโรงเขียนหนังสือเพดานพัดเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์เตเรซาแห่งอาบีลา ขยายดัชนี (12 มากกว่า) »

ชายฝั่งอามาลฟี

ฝั่งอามัลฟี (Amalfi Coast; Costiera Amalfitana) เป็นชายฝั่งทางตอนใต้ของคาบสมุทรซอร์เรนตีเน (Sorrentine Peninsula) ของประเทศอิตาลี ที่เริ่มตั้งแต่โปซีตาโนทางตะวันตกไปถึงวิเอตริมาเรทางตะวันออก เมืองที่เรียงรายเป็นระยะ ๆ บนชายฝั่งอามัลฟีก็รวมทั้งวีเอตรีซุลมาเร, เชตารา, มาโยรี, มีโนรี, ราเวลโล, สกาลา, อาตรานี, อามัลฟี, กอนกาเดย์มารีนี, ฟูโรเร, ปรายาโน และโปซีตาโน ชายฝั่งอามัลฟีมีชื่อเสียงว่าเป็นชายฝั่งที่เป็น rugged terrain, มีทิวทัศน์ที่สวยงาม และเมืองที่งามเหมือนรูปถ่าย "ชายฝั่งอามัลฟี" ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกเมื่อปี..

ใหม่!!: วิหารคดและชายฝั่งอามาลฟี · ดูเพิ่มเติม »

บาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเต

นักบุญมินิอัสแห่งฟลอเรนซ์ทางขวาของพระเยซู โดยมีคำจารึกว่า: "S. MINIATUS REX ERMINIE" บาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเต (Basilica di San Miniato al Monte) เป็นบาซิลิกาที่ตั้งอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ทางตอนกลางของประเทศอิตาลี ตัวบาซิลิกาตั้งอยู่บนเนินที่สูงที่สุดของเมืองฟลอเรนซ์ บาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเตได้ชื่อว่าเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ในทัสเคนี บาซิลิกาตั้งอยู่ติดกับสำนักสงฆ์ลัทธิโอลิเวทันส์ที่จะมองเห็นเมื่อขึ้นบันไดไปยังบาซิลิกา นักบุญมินิอัสแห่งฟลอเรนซ์ หรือมินาส (Մինաս, Miniato) เดิมเป็นเจ้าชายชาวอาร์มีเนียผู้รับราชการเป็นทหารในกองทัพโรมันภายใต้จักรพรรดิเดซิอัส มินิอัสถูกประณามว่าเป็นผู้นับถือคริสต์ศาสนาหลังจากที่ไปเป็นนักพรต และถูกนำตัวมาปรากฏต่อหน้าจักรพรรดิ ผู้กำลังตั้งค่ายอยู่หน้าประตูเมืองฟลอเรนซ์ พระจักรพรรดิมีพระบรมราชโองการให้โยนมินิอัสให้สัตว์ป่ากินในสนามกีฬา แต่เมื่อปล่อยเสือดำเข้าไป เสือดำก็ไม่ยอมทำร้ายมินิอัส มินิอัสจึงถูกตัดหัวต่อหน้าพระจักรพรรดิ กล่าวกันว่ามินิอัสไม่ได้เสียชีวิตทันทีแต่ก้มลงยกหัวของตนขึ้นมา แล้วประคองหัวข้ามแม่น้ำอาร์โน จากนั้นก็เดินขึ้นเนินมอนส์ฟิโอเรนตินัสไปยังที่อาศัย ต่อมาก็ได้มีการสร้างสักการะสถานตรงจุดนี้ และเมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 ก็มีชาเปลขึ้นแล้ว การก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้เริ่มขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1013 โดยสังฆราชอาลิบรันโด โดยการอุปถัมภ์ของสมเด็จพระจักรพรรดิไฮนริคที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ บาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเตเริ่มด้วยการเป็นสำนักสงฆ์ของลัทธิเบ็นนาดิคติน จากนั้นก็เปลี่ยนมือไปเป็นของลัทธิคลูนี และในปี ค.ศ. 1373 ก็ตกไปเป็นของลัทธิโอลิเวตันผู้ซึ่งยังคงใช้คริสต์ศาสนสถานนี้อยู่ นักบวชของสำนักสงฆ์มีชื่อเสียงในการทำสุรา, น้ำผึ้ง และ ชาสมุนไพรที่ขายในร้านที่ตั้งอยู่ติดกับวัด ด้านหน้าวัดที่ทำด้วยหินอ่อนเป็นลวดลายเรขาคณิตอาจจะเริ่มทำขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: วิหารคดและบาซิลิกาซานมินิอาโตอัลมอนเต · ดูเพิ่มเติม »

พระปรางค์วัดมหาธาตุ

ระปรางค์วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองกระแซง อำเภอเมืองเพชรบุรี (อำเภอคลองกระแชง) สร้างมามากกว่า 1,900 ปี มีพระปรางค์ห้ายอด ล้อมรอบด้วยพระระเบียงคด ที่หน้าบันพระวิหารหลวงประดับลวดลายปูนปั้นศิลปะสมัยอยุธยา ใบเสมาคู่สมัยอยุธยาตอนปลาย ทำด้วยหินทรายแดง จำหลักลวดลายทั้งใบ ความสูงถึงยอดนภศูลประมาณ 55 เมตร รอบฐานยาว 120 เมตร.

ใหม่!!: วิหารคดและพระปรางค์วัดมหาธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารซันตามาเรียโนเวลลา

มหาวิหารซานตามาเรียโนเวลลา (ภาษาอังกฤษ: Basilica of Santa Maria Novella; ภาษาอิตาลี: Santa Maria Novella) เป็นวัดคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกตั้งอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบกอธิคและเรอเนซองส์ตอนต้น มหาวิหารซานตามาเรียโนเวลลามีงานจิตรกรรมฝาผนังสำคัญๆ ของจิตรกรผู้มีชื่อเสียงหลายคนของฟลอเรนซ์ เช่นงานในชาเปลทอร์นาบุโอนิ โดย โดเมนนิโค เกอร์ลันเดา, ในชาเปลสปาโยลิ หรืองานในระเบียงคดโดย เปาโล อูเชลโล และงานศิลปะชนิดอื่นๆ เช่นกางเขนของ ฟีลิปโป บรูเนลเลสกี.

ใหม่!!: วิหารคดและมหาวิหารซันตามาเรียโนเวลลา · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารซันตาโกรเช

้านหน้าบาซิลิกา ภายใน บาซิลิกาซานตาโครเช (ภาษาอิตาลี: Basilica di Santa Croce; ภาษาอังกฤษ: Basilica of the Holy Cross) เป็นวัดบาซิลิกาชั้นรองของนิกายโรมันคาทอลิกตั้งอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ที่ตั้งแต่เดิมเป็นที่ลุ่มนอกกำแพงเมืองฟลอเรนซ์ ภายในวัดเป็นที่เก็บศพคนสำคัญๆ ของอิตาลีเช่นไมเคิล แอนเจโล, กาลิเลโอ กาลิเลอี, และคนอื่นจึงเป็นที่รู้จักกันว่าเป็น “Pantheon of the Italian Glories” (จุดยอดของความเลิศของอิตาลี).

ใหม่!!: วิหารคดและมหาวิหารซันตาโกรเช · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี

มหาวิหารนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี (Basilica di San Francesco d'Assisi; Basilica of St.) ตั้งอยู่ที่เมืองอัสซีซี ประเทศอิตาลี เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกของคณะฟรันซิสกัน ซึ่งเป็นคณะนักบวชคาทอลิกที่นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีก่อตั้งขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13 ชั้นบนและชั้นล่างของมหาวิหารมองจากจัตุรัสเดลเลลอจเจ (Piazza delle Logge).

ใหม่!!: วิหารคดและมหาวิหารนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพง

้านหน้ามหาวิหาร มหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพง (Basilica di San Paolo fuori le Mura; Basilica of St Paul Outside the Walls/St Paul-without-the-Walls) เป็นหนึ่งในสี่มหาวิหารเอกหรือมหาวิหารสันตะปาปา อีกสามแห่งที่เหลือ ได้แก่ มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน มหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร และมหาวิหารนักบุญเปโตร.

ใหม่!!: วิหารคดและมหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพง · ดูเพิ่มเติม »

มุขโค้งด้านสกัด

ลักษณะโดยทั่วไปของมุขโค้งสมัยคริสเตียนตอนต้น/ไบแซนไทน์ที่เป็นโค้งครึ่งโดม มุขโค้งสามมุขด้านตะวันออกของบาซิลิกาซานตาจูเลียทางตอนเหนือของอิตาลี มุขด้านตะวันออกของแอบบีแซงต์อูน (Abbey church of Saint-Ouen) แสดงให้เห็น “ชาเปลดาวกระจาย”, รูออง มุขด้านตะวันออกของมหาวิหารมอนริอาเลในซิซิลีที่เต็มไปด้วยลวดลายตกแต่ง มุขโค้งด้านสกัด หรือ มุขตะวันออก (Apse หรือ Apsis) คือส่วนที่เป็นโค้งครึ่งวงกลมที่มีหลังคาครึ่งวงกลมหรือครึ่งโดมที่ยื่นออกมาจากสิ่งก่อสร้าง “มุขโค้งด้านสกัด” มาจากภาษาอังกฤษว่า “Apse” ที่มาจากภาษาละติน “absis” ที่แปลว่า “โค้ง” หรือ “เพดานโค้ง” ในสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์, สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ และ สถาปัตยกรรมกอธิคของแอบบี, มหาวิหาร และคริสต์ศาสนสถานอื่นๆ คำนี้หมายถึงมุขครึ่งวงกลมหรือหลายเหลี่ยมที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของสิ่งก่อสร้างที่ภายในเป็นที่ตั้งของแท่นบูชาเอก และไม่ว่าหลังคาจะเป็นทรงใด: ราบ, ลาด, โดม หรือครึ่งวงกลม.

ใหม่!!: วิหารคดและมุขโค้งด้านสกัด · ดูเพิ่มเติม »

รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด

ต่อไปนี้เป็น รายชื่อคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด เรียงลำดับตามตัวอักษรของ คำที่เขียนถูก ตามที่ปรากฏในพจนานุกรมภาษาไทยหรือตามประกาศของหน่วยงานราชการไทย หมายเหตุ: การเขียนสะกดคำในนี้เป็นกรณีทั่วไป แต่ในกรณีเฉพาะ เช่น เป็นวิสามานยนาม อาทิ เป็นชื่อบุคคล ชื่อสถานที่ หรือในทางร้อยกรอง สามารถเขียนสะกดคำแตกต่างได้.

ใหม่!!: วิหารคดและรายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร

วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 50 ถนนรักษ์นรกิจ หมู่ 3 ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พระบรมธาตุไชยาเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับเป็นปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเป็นหนึ่งในสามของ โบราณสถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาของภาคใต้ ได้แก่ พระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เจดีย์พระมหาธาตุวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช และพระพุทธไสยาสน์ในถ้ำคูหาภิมุข บริเวณวัดคูหาภิมุข จังหวัดยะลา วัดพระบรมธาตุไชยา เป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดพระบรมธาตุไชยา โรงเรียนสงฆ์ และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาต.

ใหม่!!: วิหารคดและวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ หมู่ 6 ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย สถานะของวัดในปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร สังกัดมหานิก.

ใหม่!!: วิหารคดและวัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นในพ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต พระคู่บ้านคู่เมืองของแผ่นดินสยามที่พบ ณ วัดป่าเยี้ยะ(ป่าไผ่) จังหวัดเชียงราย และเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาว.

ใหม่!!: วิหารคดและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระเมรุ (จังหวัดนครปฐม)

วัดพระเมรุ ตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม บริเวณสวนนันทอุทยาน ตำบลห้วยจรเข้ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ไปทางทิศใต้ 3 กิโลเมตร อยู่ติดกับตลาดปฐมมงคล.

ใหม่!!: วิหารคดและวัดพระเมรุ (จังหวัดนครปฐม) · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ

ท้องพระโรงเวสต์มินสเตอร์ที่เป็นเพดานแบบ “hammerbeam roof” ภาพจากคริสต์ศตวรรษที่ 18 สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ (English Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองขึ้นในอังกฤษระหว่างราวปี ค.ศ. 1180 ถึงราวปี ค.ศ. 1520 ลักษณะของสถาปัตยกรรมกอทิกของอังกฤษก็เช่นเดียวกับสถาปัตยกรรมกอทิกของส่วนอื่น ๆ ในยุโรป ที่บ่งลักษณะได้จากการใช้ซุ้มโค้งแหลม, เพดานโค้งแหลม, ค้ำยัน, หน้าต่างกว้างและสูง และหอหรือหลังคาที่เป็นยอดแหลม (spire) สถาปัตยกรรมกอทิกเข้ามาในอังกฤษจากฝรั่งเศส เมื่อองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีลักษณะที่เรียกว่า “กอทิก” ได้รับการสร้างรวมกันในวัดเดียวที่บาซิลิกาแซงต์เดอนีส์นอกกรุงปารีสเป็นครั้งแรกโดยแอบบ็อตซูแกร์ ที่ได้รับการสถาปนาในปี..

ใหม่!!: วิหารคดและสถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ

มหาวิหารเดอรัมเหนือแม่น้ำเวียร์ ด้านหน้ามหาวิหารเซนต์อัลบัน ปุ่มหินกลางหอประชุมนักบวชในมหาวิหารยอร์ก สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ (Architecture of the medieval cathedrals of England) เป็นช่วงระยะเวลาการก่อสร้างมหาวิหารที่เกิดขึ้นในอังกฤษระหว่าง ค.ศ. 1040 ถึงปี ค.ศ. 1540 กลุ่มสิ่งก่อสร้างยี่สิบห้าปีหลังที่ถือว่ามีเอกลักษณ์ของการก่อสร้างที่เป็นของอังกฤษแท้ แม้ว่าสิ่งก่อสร้างจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งก่อสร้างทั้งหมดต่างก็มีจุดประสงค์ร่วมกันเพียงจุดประสงค์เดียว ในการเป็นมหาวิหารอันเป็นสิ่งก่อสร้างที่เป็นศูนย์กลางของการบริหารมุขมณฑลและเป็นที่ตั้งของคาเทดราJohn Harvey, English Cathedrals แม้ว่าลักษณะของสิ่งก่อสร้างแต่ละสิ่งจะเป็นลักษณะอังกฤษแต่ก็เป็นลักษณะที่ต่าง ๆ กันออกไปทั้งความแตกต่างจากกันและกัน และความแตกต่างภายในมหาวิหารเดียวกัน ซึ่งเป็นลักษณะที่ต่างจากมหาวิหารสมัยกลางอื่น ๆ เช่นทางตอนเหนือของฝรั่งเศสที่มหาวิหารและแอบบีย์ใหญ่ ๆ เป็นสิ่งก่อสร้างสำหรับกลุ่มชนเดียวกัน และการสืบประวัติของลักษณะสถาปัตยกรรมก็สามารถทำได้โดยศึกษาจากสิ่งก่อสร้างหนึ่งไปยังสิ่งก่อสร้างถัดไปภายในกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่เป็นของอารามเดียวกันAlec Clifton-Taylor, ‘’The Cathedrals of England’’ สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจของมหาวิหารอังกฤษก็คือประวัติของสถาปัตยกรรมสมัยกลางทั้งสมัยสามารถที่จะบรรยายได้จากสิ่งก่อสร้างสิ่งเดียว ที่มักจะประกอบด้วยลักษณะสถาปัตยกรรมเด่น ๆ ของแต่ละยุคโดยไม่มีการพยายามแต่อย่างใดในการพยายามผสานลักษณะที่แตกต่างกันของแต่ละสมัยที่สร้างขึ้นมาก่อนหน้านั้น ฉะนั้นลำดับเหตุการณ์ของการก่อสร้างจากสมัยหนึ่งไปอีกสมัยหนึ่งในมหาวิหารเดียวกันจึงอาจจะย้อนกลับไปกลับมาภายในบริเวณต่างๆ ของสิ่งก่อสร้าง จะมีข้อยกเว้นอยู่ก็แต่มหาวิหารซอลสบรีที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมตระกูลเดียวที่กลมกลืนกันไปทั้งตัวสิ่งก่อสร้าง เพราะเป็นการสร้างรวดเดียวเสร็จBanister Fletcher, ‘’History of Architecture on the Comparative Method.’’.

ใหม่!!: วิหารคดและสถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก

อาสนวิหารโคโลญ, ประเทศเยอรมนี มีหอสูงที่สุดในโลก อาสนวิหารซอลสบรี (1220-1380) จากมุมตะวันออก มีหอสูงที่สุดในอังกฤษ อาสนวิหารเบอร์มิงแฮม (Birmingham Cathedral) อังกฤษ อาสนวิหารเกิร์ค (Gurk Dom) ออสเตรีย สถาปัตยกรรมการก่อสร้างอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก เป็นบทความที่บรรยายถึงลักษณะสิ่งก่อสร้างของอาสนวิหารทางคริสต์ศาสนา ที่รวมทั้งสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก อาสนวิหาร คือโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลมุขนายกตามที่กำหนดไว้ อาสนวิหารเป็นที่เป็นที่ตั้งของ “คาเทดรา” (bishop's cathedra) และเป็นสถานที่ทางคริสต์ศาสนาที่ใช้ในการนมัสการ (โดยเฉพาะสำหรับนิกายที่มีระบบฐานันดรการปกครองเช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ หรือแองกลิคัน) ขนาดของสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาสนวิหารไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตเสมอไป อาจจะมีขนาดเล็กอย่างเช่นอาสนวิหารอ๊อกซฟอร์ด หรือ อาสนวิหารเชอร์ที่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วอาสนวิหารมักจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดและเด่นที่สุดในท้องถิ่นที่ตั้งอยู.

ใหม่!!: วิหารคดและสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

มหาวิหารแซงต์ปิแยร์แห่งอองกูเล็ม ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ (Romanesque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 ไปจนถึงสมัยสถาปัตยกรรมกอธิคระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่อังกฤษจะเรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” ลักษณะเด่นๆของสถาปัตยกรรมยุคนี้คือความเทอะทะ เช่นความหนาของกำแพง ประตูหรือหลังคา/เพดานโค้งประทุน เพดานโค้งประทุนซ้อน การใช้โค้งซุ้มอาร์เคดในระหว่างช่วงเสาหนึ่ง ๆ และในแต่ละชั้นที่ต่างขนาดกันศิลป พีระศรี, ประวัติศาสตร์และแบบอย่างศิลปะ, (แปลและเรียบเรียงโดย เขียน ยิ้มศิริ) (กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์, 2512) เสาที่แน่นหนา หอใหญ่หนัก และ การตกแต่งรอบโค้ง (เช่น ซุ้มประตูหรืออาร์เคด (arcade)) ลักษณะตัวอาคารก็จะมีลักษณะเรียบ สมส่วนมองแล้วจะเป็นลักษณะที่ดูขึงขังและง่ายไม่ซับซ้อนเช่นสถาปัตยกรรมกอธิคที่ตามมา สถาปัตยกรรมจะพบทั่วไปในทวีปยุโรปไม่ว่าจะเป็นประเทศใดหรือไม่ว่าจะใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์จะพบในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิหารเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีบ้างที่ใช้ในการก่อสร้างปราสาทในสมัยนั้น คริสต์ศาสนสถานแบบโรมาเนสก์ยังคงมีหลงเหลืออยู่ และบางแห่งก็ยังใช้เป็นสถานที่สักการะตราบจนทุกวันนี้ Bannister Fletcher, “History of Architecture on the Comparative Method” (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมโดยการเปรียบเทียบ).

ใหม่!!: วิหารคดและสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ · ดูเพิ่มเติม »

หอฉัน

ทมาร์ในโปรตุเกส หอฉัน หรือ โรงอาหาร (Refectory หรือ frater house หรือ fratery) คือห้องกินข้าวของคริสต์ศาสนสถาน โดยเฉพาะของสำนักสงฆ์, โรงเรียนประจำ หรือสถาบันการศึกษา สถานที่ที่มักจะใช้กันบ่อยในปัจจุบันคือในสถาบันฝึกนักบวช “หอฉัน” มาจากภาษาอังกฤษว่า “Refectory” ที่แผลงมาจากภาษาละติน “reficere” ที่แปลว่าทำใหม่ ที่มาจากภาษาละตินตอนปลาย “refectorium” ที่แปลว่าสถานที่ที่บุคคลจะไปทำการฟื้นตัว.

ใหม่!!: วิหารคดและหอฉัน · ดูเพิ่มเติม »

หอประชุมนักบวช

หอประชุมนักบวชที่มหาวิหารลิงคอล์น ที่อังกฤษ แสดงให้เห็นค้ำยันแบบปีกรอบตัวอาคาร หอประชุมนักบวชที่มหาวิหารแคนเทอร์เบอรี ที่อังกฤษ หอประชุมนักบวช (Chapter house) คือสิ่งก่อสร้างหรือห้องที่ติดกับอาสนวิหารหรือโบสถ์หรืออาราม ซึ่งใช้เป็นที่ประชุมของนักบวช ถ้าหอประชุมนักบวชเป็นส่วนหนึ่งของอารามก็มักจะตั้งอยู่ทางตะวันออกของระเบียงฉันนบถ จะเป็นห้องโล่งใหญ่เพื่อให้พอเพียงกับนักพรตที่จำวัดอยู่ในอารามและมักจะตกแต่งอย่างสวยงาม ถ้าเป็นหอประชุมนักบวชเป็นสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์หรือสถาปัตยกรรมกอทิกทางเข้ามักจะเป็น façade เล็กและบนซุ้มโค้งเหนือประตูก็จะมีการตกแต่ง นักพรตในอารามจะประชุมในหอเพื่ออ่านหนังสือศาสนาที่เป็นบท หรือ “Chapter” ฉะนั้นหอประชุมนักบวชในภาษาอังกฤษจึงเรียกว่า “Chapter house” นอกจากอ่านหนังสือศาสนาแล้วก็ยังใช้เป็นที่ประชุมเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับกิจการของอาราม การประชุมมักทำกันตอนเช้าหลังจากพิธีมิสซา นักพรตจะนั่งเรียงติดผนังตามลำดับความสำคัญ เมื่อประชุมเสร็จก็จะสารภาพบาปต่อหน้าที่ประชุม หรือกล่าวประณามผู้ที่ทำผิดโดยไม่กล่าวนาม ระเบียงฉันนบถด้านที่จะสร้างหอประชุมนักบวชจะเป็นด้านที่สร้างก่อนและจะสร้างไม่นานหลังจากที่สร้างโครงสร้างของโบสถ์ ถ้าเป็นหอประชุมนักบวชของมหาวิหาร เคลอจีของมหาวิหารก็จะประชุมกันที่นี่ถ้าเป็นหอประชุมนักบวชของโบสถ์ ดีน Prebendries และนักพรตก็จะประชุมกันที่นี.

ใหม่!!: วิหารคดและหอประชุมนักบวช · ดูเพิ่มเติม »

อารามฟงต์แน

อารามฟงต์แน (Abbaye de Fontenay) เป็นแอบบีย์ของคณะซิสเตอร์เชียนที่สมบูรณ์และเก่าแก่ที่สุดของยุโรป ตั้งอยู่ไม่ไกลจากเมืองมงบาร์ ประเทศฝรั่งเศส อารามฟงต์แนก่อตั้งโดยนักบุญแบร์นาร์แห่งแกลร์โวในปี ค.ศ. 1118 เพียงสองสามปีหลังจากที่ออกจากอารามซีโต (Cîteaux Abbey) เพื่อไปก่อตั้งอารามแกลร์โว อารามตั้งอยู่ในป่าโปร่งขนาดย่อมราว 60 กิโลเมตรจากดีฌง (Dijon) และมารุ่งเรืองในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และ 13 แม้ว่าฟงต์แนได้รับการพิทักษ์จากพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสแต่ก็มาถูกปล้นระหว่างสงครามร้อยปีและสงครามศาสนาของฝรั่งเศส ต่อมาฟงต์แนก็เสื่อมโทรมลง ครัวอาราม (refectory) ถูกรื้อทิ้งในปี..

ใหม่!!: วิหารคดและอารามฟงต์แน · ดูเพิ่มเติม »

อารามมอนเตโอลีเวโตมัจโจเร

อารามมอนเตโอลีเวโตมัจโจเร (Abbazia territoriale di Monte Oliveto Maggiore, Monte Oliveto Maggiore) เป็นอารามประจำดินแดนของคณะเบเนดิกตินที่ตั้งอยู่ราวสิบกิโลเมตรทางใต้ของเมืองอาชีอาโนในประเทศอิตาลี กลุ่มสิ่งก่อสร้างของ ส่วนใหญ่สร้างด้วยอิฐสีแดงที่โดดเด่นจากภูมิทัศน์รอบข้างที่เป็นสีนวลเทาของดินทรายของบริเวณที่เรียกว่าแคว้นเกรเตเซเนซีซึ่งบริเวณตอนใต้ของเมืองซีเอนา อารามมอนเตโอลีเวโตมัจโจเรเป็นอารามแม่ของคณะโอลิเวตัน ซึ่งเป็นที่มาของชื่ออารามว่าเป็น “Monte Oliveto Maggiore” (อารามโอลีเวโตใหญ่) เพื่อให้ต่างจากอารามย่อยในฟลอเรนซ์, ซานจิมิยาโน, เนเปิลส์ และ อื่น.

ใหม่!!: วิหารคดและอารามมอนเตโอลีเวโตมัจโจเร · ดูเพิ่มเติม »

อารามรัวโยมง

อารามรัวโยมง (Abbaye de Royaumont, Royaumont Abbey) เป็นแอบบีย์ของคณะซิสเตอร์เชียน ตั้งอยู่ไม่ไกลจากเมืองอาเนียร์ซูว์รวซ (Asnières-sur-Oise) ในจังหวัดวาล-ดวซ แคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ ประเทศฝรั่งเศส ราว 30 กิโลเมตรเหนือกรุงปารีส อารามรัวโยมงสร้างระหว่างปี ค.ศ. 1228 ถึงปี ค.ศ. 1235 โดยการสนับสนุนของพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส เป็นที่ฝังพระศพของพระราชวงศ์ฝรั่งเศสหลายพระองค์ เช่น พระราชโอรสธิดาสามพระองค์ และพระราชนัดดาสองพระองค์ของพระเจ้าหลุยส์เอง อารามรัวโยมงถูกยุบเลิกในปี ค.ศ. 1791 ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส หินจากอารามถูกขนไปใช้สร้างโรงงานแต่ห้องเก็บเครื่องพิธี ระเบียงฉันนบถ และหอฉันไม่ได้รับความเสียหาย เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตระกูล Goüin ทำการซื้อแอบบี และในปี..

ใหม่!!: วิหารคดและอารามรัวโยมง · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหาร

อาสนวิหาร อาสนวิหารเซ็นต์บาร์บารา (St Barbara's church) เมือง Kutná Hora สาธารณรัฐเช็ก อาสนะบิชอปที่อาสนวิหารโวลเทอร์รา (Volterra Cathedral) ประเทศอิตาลี อาสนวิหาร (Cathedral; Cathédrale; Kathedrale/Dom; Cattedrale/Duomo) คือคริสต์ศาสนสถานประเภทหนึ่งที่คริสต์ศาสนิกชนใช้ทำการนมัสการพระเจ้า (โดยเฉพาะในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน อาสนวิหารจะเป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลซึ่งเป็นเขตปกครองของบิชอป คำว่าอาสนวิหารใช้ได้หลายความหมาย บางอาสนวิหารของคริสตจักรปฏิรูปที่สกอตแลนด์ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรแห่งสกอตแลนด์ยังใช้คำว่าเรียกตัวเองว่าอาสนวิหารอยู่ทั้งที่โบสถ์นั้นไม่มีตำแหน่งมุขนายกประจำ ฉะนั้นในบางกรณีคำว่าอาสนวิหารจึงใช้เรียกโบสถ์ที่ไม่ได้เป็นที่ตั้งอาสนะของบิชอปแต่มีลักษณะใหญ่โตน่าประทับใจ นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์จะไม่ใช้คำว่าอาสนวิหารแต่จะใช้คำว่าโบสถ์ใหญ่ (the great church) แต่เมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษก็จะใช้คำว่า “cathedral” เมื่อพูดถึงโบสถ์ใหญ่ นิกายออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์จะไม่มีอาสนวิหารอย่างที่ว่าแต่จะมีโบสถ์หลักเช่นโบสถ์เซนต์มาร์กที่ไคโรซึ่งก็เรียกกันว่า “cathedral” เช่นกัน อาสนวิหารหลายแห่งในทวีปยุโรปไม่เรียกตัวเองว่าอาสนวิหารแต่จะเรียกตัวเองว่า Minster หรือ Münster เช่น ที่เมืองยอร์ก หรือ ลิงคอล์น ในประเทศอังกฤษ แต่คนทั่วไปก็ยังเรียกทั้งสองแห่งนี้ว่า “อาสนวิหาร” ในประเทศเยอรมนี ทั้งสองคำนี้มีรากมาจากคำว่า monasterium ใน ภาษาละติน เพราะแต่เดิมอาสนวิหารเหล่านี้เคยอยู่ภายใต้การปกครองของแคนัน (canon) ที่อยู่ในชุมชนนั้นหรืออาจจะเคยเป็นแอบบีย์มาก่อนการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต.

ใหม่!!: วิหารคดและอาสนวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารบอร์โด

อาสนวิหารบอร์โด (Cathédrale de Bordeaux) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญอันดรูว์แห่งบอร์โด (Cathédrale Saint-André de Bordeaux) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของอัครมุขนายกประจำอัครมุขมณฑลบอร์โด ตั้งอยู่ที่เมืองบอร์โด จังหวัดฌีรงด์ แคว้นนูแวลากีแตน ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญอันดรูว์ และได้รับการเสกขึ้นเป็นอาสนวิหารเมื่อปีิ ค.ศ. 1096 โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 อาสนวิหารเป็นอาคารแบบสถาปัตยกรรมกอทิกแบบอ็องฌ์แว็งราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีจุดเด่นที่หอระฆังคู่ความสูง 85 เมตร ภายในยังเป็นสถานที่บรรจุเรลิกของนักบุญเลอง เดอ การ็องต็อง อดีตมุขนายกแห่งบายอนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9 และยังมีระเบียงคดซึ่งสร้างราว..

ใหม่!!: วิหารคดและอาสนวิหารบอร์โด · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารบายอน

อาสนวิหารบายอน (Cathédrale de Bayonne) มีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญมารีย์แห่งบายอน (Cathédrale Sainte-Marie de Bayonne) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลบายอน แล็สการ์ และออลอรง ตั้งอยู่ที่เมืองบายอน จังหวัดปีเรเน-อัตล็องติก แคว้นนูแวลากีแตน ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระนางมารีย์พรหมจารี อาสนวิหารเป็นอาคารแบบสถาปัตยกรรมกอทิก สันนิษฐานว่าเริ่มก่อสร้างราว ค.ศ. 1213 มีจุดเด่นที่หอระฆังคู่ความสูง 85 เมตร ภายในยังเป็นสถานที่บรรจุเรลิกของนักบุญเลอง เดอ การ็องต็อง อดีตมุขนายกแห่งบายอนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9 และยังมีระเบียงคดซึ่งสร้างราว..

ใหม่!!: วิหารคดและอาสนวิหารบายอน · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารกลอสเตอร์

วิวจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของอาสนวิหารกลอสเตอร์เมื่อปี ค.ศ. 1828 อาสนวิหารกลอสเตอร์ (Gloucester Cathedral) เป็นอาสนวิหารที่ตั้งอยู่ตอนเหนือของเมืองกลอสเตอร์ ประเทศอังกฤษ แต่เดิมเป็นแอบบีย์ที่อุทิศให้นักบุญเปโตร เมื่อราวปี..

ใหม่!!: วิหารคดและอาสนวิหารกลอสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารกาวายง

อาสนวิหารกาวายง (Cathédrale de Cavaillon) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระและนักบุญเวร็องแห่งกาวายง (Cathédrale Notre-Dame-et-Saint-Véran de Cavaillon) เป็นโบสถ์ประจำเขตแพริชและอดีตอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลกาวายงตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 จนกระทั่งถูกยุบรวมเข้ากับอัครมุขมณฑลอาวีญงตั้งแต่ ค.ศ. 1801 จนปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่เมืองกาวายง จังหวัดโวกลูซ ในแคว้นพรอว็องซาลป์โกตดาซูร์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้นักบุญเวร็องแห่งกาวายง (Saint Véran de Cavaillon) อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1840.

ใหม่!!: วิหารคดและอาสนวิหารกาวายง · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารกาออร์

อาสนวิหารกาออร์ (Cathédrale de Cahors) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งกาออร์ (Cathédrale Saint-Étienne de Cahors) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลกาออร์ ตั้งอยู่ที่เมืองกาออร์ จังหวัดล็อต แคว้นอ็อกซีตานี ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญสเทเฟน เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่แสดงให้เห็นถึงช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์กับสถาปัตยกรรมกอทิกได้อย่างดียิ่ง อาสนวิหารแห่งนี้ยังเป็นสถานที่บรรจุเรลิกสำคัญของพระเยซู ซึ่งเรียกว่า "Sainte Coiffe" ซึ่งเป็นหมวกผ้าคลุมศีรษะเพื่อใช้แต่งพระศพพระเยซูเมื่อตอนสิ้นพระชนม์ ซึ่งเรลิกชิ้นนี้ถูกนำกลับมาจากแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ โดยเฌโร เดอ การ์ดายัก อาสนวิหารแห่งกาออร์ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1862 รวมทั้งยังอยู่ในมรดกโลกโดยยูเนสโก โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางซานเตียโกเดกอมโปสเตลาในประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998.

ใหม่!!: วิหารคดและอาสนวิหารกาออร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารกูต็องส์

อาสนวิหารกูต็องส์ (Cathédrale de Coutances) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระแห่งกูต็องส์ (Cathédrale Notre-Dame de Coutances) เป็นอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งของมุขนายก ประจำมุขมณฑลกูต็องส์และอาวร็องช์ ตั้งอยู่ในเมืองกูต็องส์ จังหวัดม็องช์ ในแคว้นนอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระแม่มารี อาสนวิหารแห่งนี้สร้างขึ้นที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 90 เมตร ซึ่งเป็นจุดสนใจที่สำคัญของตัวเมืองกูต็องส์ อีกทั้งยังสามารถมองเห็นได้จากทะเลอีกด้วย ตามตำนานกล่าวว่าสามารถมองเห็นได้จากเกาะเจอร์ซีย์ ที่อยู่ห่างไปถึง 40 กิโลเมตร เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของอาคารที่อยู่ในระหว่างการเปลี่ยนผ่านทางสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์กับองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ใหม่กว่าตามแบบกอทิก จะพบว่าด้านข้างของบริเวณกลางโบสถ์และหอสูงซึ่งขนาบทั้งสองข้างของหน้าบันหลักนั้นยังเป็นโครงสร้างแบบโรมาเนสก์ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 11 ซึ่งยังเห็นได้ชัดเจนจากบริเวณชั้นบนของวิหารในเวลาเยี่ยมชม นอกจากนี้ยังประกอบด้วยยอดสูงถึงสองยอดบริเวณหน้าบันด้านหน้าวิหาร และหอรับแสง (tour-lanterne) ตรงกลางระหว่างหอสูงทั้งสอง และยังถือเป็นตัวอย่างที่สำคัญของสถาปัตยกรรมกอทิกนอร์มัน (gothique normand) ซึ่งโดดเด่นด้วยเส้นสายที่ตรงและสูงชะลูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแนวดิ่ง อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1862.

ใหม่!!: วิหารคดและอาสนวิหารกูต็องส์ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารมงเปอลีเย

อาสนวิหารมงเปอลีเย (Cathédrale de Montpellier) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งมงเปอลีเย (Cathédrale Saint-Pierre de Montpellier) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก เป็นที่วิหารประจำอัครมุขนายกแห่งอัครมุขมณฑลมงเปอลีเย ตั้งอยู่ในเขตเมืองเก่าของเมืองมงเปอลีเย จังหวัดเอโร แคว้นอ็อกซีตานี ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่อัครทูตสำคัญคือนักบุญเปโตร อาสนวิหารแห่งนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็นสถานที่ในแบบสถาปัตยกรรมกอทิกที่ใหญ่โตที่สุดในเมืองมงเปอลีเย และเป็นอาสนวิหารที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคล็องก์ด็อก-รูซียงอีกด้วย อาสนวิหารมงเปอลีเยได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1906.

ใหม่!!: วิหารคดและอาสนวิหารมงเปอลีเย · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารลิงคอล์น

้านหน้าแบบโรมาเนสก์ อาสนวิหารลิงคอล์น (อังกฤษ: Lincoln Cathedral) มีชื่อเป็นทางการว่า “The Cathedral Church of the Blessed Virgin Mary of Lincoln” หรือ “St.

ใหม่!!: วิหารคดและอาสนวิหารลิงคอล์น · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารลูว์ซง

อาสนวิหารลูว์ซง (Cathédrale de Luçon) หรือชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์แห่งลูว์ซง (Cathédrale Notre-Dame-de-l'Assomption de Luçon) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกและเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลลูว์ซง ตั้งอยู่ในเขตเมืองลูว์ซง จังหวัดว็องเด แคว้นเปอีเดอลาลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ อาสนวิหารแห่งนี้สร้างขึ้นในแบบกอทิก และยังมีองค์ประกอบบางส่วนในแบบโรมาเนสก์ รวมทั้งในยุคที่ใหม่กว่านั้น คือ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (หรือคลาสสิก) ซึ่งองค์ประกอบต่าง ๆ นี้ได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1906, ค.ศ. 1915 และของระดับแคว้นเมื่อปี ค.ศ. 1992.

ใหม่!!: วิหารคดและอาสนวิหารลูว์ซง · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารลียง

อาสนวิหารนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาและนักบุญสเทเฟนแห่งลียง (La Primatiale Saint-Jean-Baptiste-et-Saint-Étienne) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า อาสนวิหารนักบุญยอห์น (Cathédrale Saint-Jean) และ อาสนวิหารลียง (Cathédrale de Lyon) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกที่อยู่ในระดับสูงกว่าอาสนวิหารทั่วไปหรือที่เรียกว่า primatial cathedral เป็นที่ตั้งของอัครมุขนายกประจำอัครมุขมณฑลลียง โดยตามตำแหน่งแล้ว อัครมุขนายกแห่งลียงยังรั้งตำแหน่งผู้นำแห่งชาวกอลทั้งปวง (Primat des Gaules) อีกด้วย อาสนวิหารตั้งอยู่ในเขตเมืองเก่าของเมืองลียง จังหวัดโรน แคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่สองอัครทูตสำคัญ คือนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาและนักบุญสเทเฟน โดยแต่แรกอาสนวิหารนี้ตั้งใจสร้างเพื่ออุทิศให้แก่นักบุญสเทเฟน และให้เกียรติแก่ผู้ให้ศีลล้างบาปแก่พระองค์ด้วย นั่นคือนักบุญยอห์น จึงเป็นที่มาของชื่อทั้งสองของอาสนวิหารแห่งนี้ อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1862.

ใหม่!!: วิหารคดและอาสนวิหารลียง · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารล็องกร์

อาสนวิหารล็องกร์ (Cathédrale de Langres) หรือชื่อเต็มคือ อาสนวิหารนักบุญแมมมิสแห่งล็องกร์ (Cathédrale Saint-Mammès de Langres) เป็นอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิกอันเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลล็องกร์ ตั้งอยู่ที่เมืองล็องกร์ในจังหวัดโอต-มาร์น แคว้นกร็องแต็สต์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญแมมมิสแห่งไกซาเรอา มรณสักขีในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 3 ลักษณะเด่นของอาสนวิหารแห่งนี้อยู่ที่ความผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์แบบบูร์กอญกับสถาปัตยกรรมกอทิก อาทิ เพดานแบบโค้งสัน หน้าบันหลักทิศตะวันตกซึ่งสร้างขึ้นใหม่ในแบบสถาปัตยกรรมคลาสสิก อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1840.

ใหม่!!: วิหารคดและอาสนวิหารล็องกร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารตูล

อาสนวิหารตูล (Cathédrale de Toul) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งตูล (Cathédrale Saint-Étienne de Toul) เป็นอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิก สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญสเทเฟน (ปฐมมรณสักขี) ตั้งอยู่ในเขตเมืองเก่าของตูล จังหวัดเมอร์เตมอแซล ในแคว้นกร็องแต็สต์ ประเทศฝรั่งเศส เป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลน็องซี-ตูลร่วมกับอาสนวิหารแม่พระรับสารและนักบุญซีฌแบร์แห่งน็องซี อาสนวิหารแห่งนี้เป็นหนึ่งตัวอย่างของอาคารกอทิกที่สวยงามและสมบูรณ์ โดยเฉพาะหน้าบันทางเข้าทิศตะวันตก อีกทั้งยังเป็นงานสถาปัตยกรรมชิ้นเอกแบบกอทิกแบบฟล็องบัวย็องซึ่งรวมถึงระเบียงคดแบบกอทิก ซึ่งถือว่าเป็นระเบียงคดแห่งที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองในประเทศฝรั่งเศส นอกจากนั้นยังมีชาเปลแบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาอีก 2 แห่งด้วย อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1840 (รายชื่อครั้งที่ 1).

ใหม่!!: วิหารคดและอาสนวิหารตูล · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารซอลส์บรี

อาสนวิหารซอลส์บรี (Salisbury Cathedral) มีชื่อเป็นทางการว่า อาสนวิหารเซนต์แมรี (Cathedral of Saint Mary) เป็นอาสนวิหารนิกายอังกลิคันตั้งอยู่ที่เมืองซอลส์บรี มณฑลวิลท์เชอร์ในสหราชอาณาจักร เริ่มสร้างเมื่อ..

ใหม่!!: วิหารคดและอาสนวิหารซอลส์บรี · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารนักบุญเปาโล

“อาสนวิหารนักบุญเปาโลเดิม” ก่อน ค.ศ. 1561 ที่ยังมีมณฑป อาสนวิหารนักบุญเปาโล (St Paul's Cathedral) เป็นอาสนวิหารของคริสตจักรแห่งอังกฤษ และเป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งบิชอปแห่งลอนดอน สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแก่นักบุญเปาโลอัครทูต ตั้งอยู่ในนครลอนดอน ประเทศอังกฤษ อาสนวิหารที่เห็นในปัจจุบันสร้างเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 และเชื่อกันว่าเป็นอาสนวิหารที่ 5 ตั้งแต่สร้างอาสนวิหารกันมา ณ ที่ตั้งนี้แต่อาจจะสูงกว่านั้นถ้านับการบูรณะเข้าไปด้ว.

ใหม่!!: วิหารคดและอาสนวิหารนักบุญเปาโล · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารนัวยง

อาสนวิหารนัวยง (Cathédrale de Noyon) หรือชื่อทางการว่า อาสนวิหารแม่พระแห่งนัวยง (Cathédrale Notre-Dame de Noyon) ในอดีตเป็นอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิกของอดีตมุขมณฑลนัวยง ตั้งอยู่ที่เมืองนัวยงในจังหวัดอวซ แคว้นโอดฟร็องส์ ประเทศฝรั่งเศส อาสนวิหารนัวยงเดิมเป็นอาสนวิหารประจำตำแหน่งมุขนายกแห่งนัวยง ต่อมาถูกยุบรวมกับมุขมณฑลโบแวตามความตกลง ค.ศ. 1801 ในปัจจุบันจึงมีฐานะเป็นโบสถ์ประจำเขตในสังกัดมุขมณฑลโบแว ตัวอาสนวิหารสร้างบนสถานที่เดิมเป็นโบสถ์ที่ถูกเพลิงไหม้ไปในปี..

ใหม่!!: วิหารคดและอาสนวิหารนัวยง · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารแคนเทอร์เบอรี

อาสนวิหารแคนเทอร์เบอรี (Canterbury Cathedral) เป็นอาสนวิหารแองกลิคันตั้งอยู่ที่เมืองแคนเทอร์เบอรี ในสหราชอาณาจักร เป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี ซึ่งเป็นผู้นำคริสตจักรแห่งอังกฤษและผู้นำเชิงสัญลักษณ์ของแองกลิคันคอมมิวเนียน และเป็นที่ตั้งอาสนะของนักบุญออกัสติน (Chair of St. Augustine) ชื่อที่เรียกกันเป็นทางการของอาสนวิหารแคนเทอร์เบอรีคือ “อาสนวิหารและคริสตจักรมหานครของพระคริสต์ เมืองแคนเทอร์เบอร์รี” (Cathedral and Metropolitical Church of Christ at Canterbury).

ใหม่!!: วิหารคดและอาสนวิหารแคนเทอร์เบอรี · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารแซ็งต์

อาสนวิหารแซ็งต์ (Cathédrale de Saintes) หรือชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งแซ็งต์ (Cathédrale Saint-Pierre de Saintes) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกในฐานะของอาสนวิหารร่วม (co-cathedral) ประจำมุขมณฑลลารอแชลและแซ็งต์ ตั้งอยู่ในเขตเมืองแซ็งต์ จังหวัดชาร็องต์-มารีตีม ในแคว้นนูแวลากีแตน ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่อัครทูตนักบุญเปโตร อาสนวิหารแห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของมุขมณฑลแซ็งตงฌ์จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1802 ถูกยุบรวมเข้ากับมุขมณฑลลารอแชล จึงได้ถูกลดฐานะเป็นเพียงแค่โบสถ์ประจำเขต ซึ่งต่อมาได้ถูกยกฐานะอีกครั้งเป็นอาสนวิหารร่วมประจำมุขมณฑลลารอแชลและแซ็งต์ โดยสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 9 เมื่อ 22 มกราคม ค.ศ. 1852 อาสนวิหารแซ็ง-ปีแยร์แซ็งต์ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1862 และบริเวณวิหารคดได้รับการขึ้นทะเบียนเมื่อ 9 มิถุนายน ค.ศ. 1937.

ใหม่!!: วิหารคดและอาสนวิหารแซ็งต์ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารแปร์ปีญ็อง

อาสนวิหารแปร์ปีญ็อง (Cathédrale de Perpignan) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาแห่งแปร์ปีญ็อง (Cathédrale Saint-Jean-Baptiste de Perpignan; Catedral de Sant Joan Baptista de Perpinyà) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งอาสนะของมุขนายกประจำมุขมณฑลแปร์ปีญ็อง-แอลน์ ตั้งอยู่ในเขตเมืองแปร์ปีญ็อง จังหวัดปีเรเน-ออรีย็องตาล แคว้นอ็อกซีตานี ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้นักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมา ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอาสนวิหารจากการย้ายอาสนะของมุขนายกจากมุขมณฑลแอลน์ (เดิมอาสนะตั้งอยู่ที่อาสนวิหารแอลน์) มารวมอยู่ที่มุขมณฑลแปร์ปีญ็องเมื่อปี ค.ศ. 1602 ตามพระบัญชาของสมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 8 อาสนวิหารแปร์ปีญ็องได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1906.

ใหม่!!: วิหารคดและอาสนวิหารแปร์ปีญ็อง · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารโบแว

อาสนวิหารโบแว (Cathédrale de Beauvais) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งโบแว (Cathédrale Saint-Pierre de Beauvais) เป็นอาสนวิหารนิกายโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลโบแว นัวยง และซ็องลิส ตั้งอยู่ที่เมืองโบแว จังหวัดอวซ แคว้นโอดฟร็องส์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญเปโตร เป็นอาสนวิหารแบบกอธิกที่มีบริเวณร้องเพลงสวดที่สูงที่สุดในโลก (48.50 เมตร) อาสนวิหารแห่งนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็นสถานที่แบบสถาปัตยกรรมกอทิกแห่งหนึ่งที่แสดงถึงความสำเร็จสูงสุดและความกล้าหาญทางสถาปัตยกรรม โดยตัวอาคารมีเพียงแขนกางเขน (คริสต์ศตวรรษที่ 16) และบริเวณร้องเพลงสวด พร้อมทั้งมุขโค้งและชาเปลจำนวน 7 หลัง (คริสต์ศตวรรษที่ 13) ซึ่งสามารถเข้าถึงได้จากทางจรมุข นอกจากนี้ยังพบโบสถ์เล็กแบบสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์สร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 10 เรียกว่า "บาเซิฟวร์" (Basse Œuvre) ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะจนอยู่ในสภาพดีตั้งอยู่บริเวณที่จะเป็นที่ตั้งของบริเวณกลางโบสถ์อีกด้วย อาสนวิหารโบแวได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1840.

ใหม่!!: วิหารคดและอาสนวิหารโบแว · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารเลอปุย-อ็อง-เวอแล

อาสนวิหารเลอปุย-อ็อง-เวอแล (Cathédrale du Puy-en-Velay) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระรับสารแห่งเลอปุย-อ็อง-เวอแล (Cathédrale Notre-Dame-de-l'Annonciation du Puy-en-Velay) เป็นอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลเลอปุย-อ็อง-เวอแล ตั้งอยู่ที่เมืองเลอปุย-อ็อง-เวอแล จังหวัดโอต-ลัวร์ แคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่แม่พระรับสาร และยังได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นบาซิลิกาเมื่อปีค.ศ. 1856 โดยสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 9 อาสนวิหารเป็นอาคารแบบสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และศิลปะโรมาเนสก์ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในฝั่งตะวันตกของคริสตจักร และยังเป็นหนึ่งในสถานที่แสวงบุญของชาวคริสต์มาตั้งแต่สมัยก่อนจักรพรรดิชาร์เลอมาญ อาสนวิหารเลอปุย-อ็อง-เวอแลได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1862 รวมทั้งยังอยู่ในมรดกโลก โดยองค์การยูเนสโก โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางซานเตียโกเดกอมโปสเตลาในประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998.

ใหม่!!: วิหารคดและอาสนวิหารเลอปุย-อ็อง-เวอแล · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารเว็ลส์

อาสนวิหารเว็ลส์ โครงค้ำรูปกรรไกรที่มีชื่อเสียงของอาสนวิหาร อาสนวิหารเว็ลส์ (Wells Cathedral) มีชื่อทางการว่าอาสนวิหารเซนต์แอนดรูว์ เป็นอาสนวิหารตั้งอยู่ที่เมืองเว็ลส์ในเทศมณฑลซัมเมอร์เซตในสหราชอาณาจักร เป็นอาสนวิหารประจำตำแหน่งบิชอปแห่งบาธและเว็ลส์ เมืองเว็ลส์ที่เป็นนครอาสนวิหาร (Cathedral city) ที่มีขนาดเล็กเป็นที่สองของอังกฤษรองจากเมืองอาสนวิหารลอนดอน (City of London) ที่อยู่ภายในใจกลางกรุงลอนดอน ชื่อเมืองเวลล์ส มาจากคำว่า “wells” ที่แปลว่าน้ำพุธรรมชาติ บ่อน้ำพุนี้ใช้กันมาตั้งแต่สมัยโรมันและปัจจุบันก็ยังไหลอยู่ น้ำที่ไหลมาจากบ่อใช้ในการรดน้ำในสวนของบาทหลวงและเติมคูวังของบิชอป ถึงแม้ว่าสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่จะเป็นสถาปัตยกรรมกอทิกแต่ฐานเดิมของโบสถ์สร้างมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 โบสถ์แรกที่สร้างที่จุดนี้สร้างโดยพระเจ้าไอเนแห่งเวสเซ็กซ์ (Ine of Wessex) เมื่อปี..

ใหม่!!: วิหารคดและอาสนวิหารเว็ลส์ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารเดอรัม

อาสนวิหารเดอรัม คริสตจักรอาสนวิหารของพระคริสต์ พระนางมารีย์พรหมจารี และเซนต์คัธเบิร์ตแห่งเดอรัม (The Cathedral Church of Christ, Blessed Mary the Virgin and St Cuthbert of Durham) เรียกโดยย่อว่าอาสนวิหารเดอรัม เป็นอาสนวิหารแองกลิคัน ตั้งอยู่ที่เมืองเดอรัมใน สหราชอาณาจักร ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1093 มีชื่อเต็มว่า The Cathedral Church of Christ, Blessed Mary the Virgin and St Cuthbert of Durham ลักษณะโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นแบบโรมาเนสก์ มีหอคอยสูง 66 เมตร มีบันไดขึ้นทั้งหมด 325 ขั้น อาสนวิหารเป็นที่เก็บเรลิกของคัธเบิร์ตแห่งลินเดสฟาร์น (Cuthbert of Lindisfarne) นักบุญจากศตวรรษที่ 7 นอกจากนั้นยังเป็นที่เก็บศีรษะของนักบุญออสวอลด์แห่งนอร์ธัมเบรีย (St Oswald of Northumbria) และร่างของนักบุญบีด มุขนายกแห่งเดอรัมเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจมากมาจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตำแหน่งของมุขนายกแห่งเดอรัมถือว่ามีความสำคัญเป็นที่สี่ของคริสตจักรแห่งอังกฤษ แม้ในปัจจุบันก็ยังมีป้ายของมณฑลเดอรัมว่าเป็นดินแดนของ Prince Bishops อาสนวิหารได้รับเลือกโดยองค์การยูเนสโกให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก พร้อมกับปราสาทเดอรัมซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกันเหนือแม่น้ำเวียร์ (River Wear).

ใหม่!!: วิหารคดและอาสนวิหารเดอรัม · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารเซอแนซ

อาสนวิหารเซอแนซ (Cathédrale de Senez) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์แห่งเซอแนซ (Cathédrale Notre-Dame-de-l'Assomption de Senez) ในปัจจุบันมีฐานะเป็นโบสถ์ประจำเขตแพริช นิกายโรมันคาทอลิก ในอดีตเคยมีฐานะเป็นอาสนวิหารประจำมุขมณฑลเซอแนซซึ่งต่อมาได้ถูกยุบลงเป็นส่วนหนึ่งของมุขมณฑลดีญตั้งแต่ปี ค.ศ. 1801 เป็นต้นมา (ตามความตกลง ค.ศ. 1801) ตั้งอยู่ที่เมืองเซอแนซ จังหวัดอาลป์-เดอ-โอต-พรอว็องส์ ในแคว้นพรอว็องซาลป์โกตดาซูร์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่พระแม่มารีรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1910.

ใหม่!!: วิหารคดและอาสนวิหารเซอแนซ · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

ปราสาทพนมรุ้ง เมื่อมองจากทางขึ้นด้านหน้า ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือ ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นหนึ่งในปราสาทหินในกลุ่มราชมรรคา ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 (บ้านดอนหนองแหน) ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ลงมาทางทิศใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยโบราณสถานสำคัญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตรจากพื้นราบ (ประมาณ 350 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง) คำว่า พนมรุ้ง นั้น มาจากภาษาเขมร คำว่า วนํรุง แปลว่า ภูเขาใหญ่ ปัจจุบัน ปราสาทหินพนมรุ้งกำลังอยู่ในเกณฑ์กำลังพิจารณาเป็นมรดกโลก เช่นเดียวกับ ปราสาทหินในกลุ่มราชมรรคา ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นหนึ่งในปราสาทหินขอมของไทยที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ และถือเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของจังหวัดบุรีรัมย์ รวมถึงเป็นภาพพื้นหลังตราสัญลักษณ์ของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดอีกด้วย ตัวปราสาทหินพนมรุ้ง ความสวยงามของปราสาท.

ใหม่!!: วิหารคดและอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นนักการเมืองเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย หัวหน้าพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง..

ใหม่!!: วิหารคดและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ผังอาสนวิหาร

ผังของอาสนวิหารอาเมียง ที่ประเทศฝรั่งเศส แสดงให้เห็นเสาใหญ่รับน้ำหนักหอด้านหน้าวัด; แขนกางเขนสั้น; ชาเปล 7 ชาเปล ที่เรียกว่า “chevet” รอบมุขโค้งด้านสกัดออกมาจากจรมุข ผังอาสนวิหาร (Cathedral diagram, Cathedral plan, Cathedral floorplan) แสดงให้เห็นลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก แผนผังจะแสดงกำแพง แนวเสาทำให้เห็นโครงสร้าง เส้นสองเส้นบนกำแพงด้านนอกคือหน้าต่างกระจก เส้น x เป็นสัญลักษณ์สำหรับเพดานโค้ง ตามปกติผังของวัดทางคริสต์ศาสนาจะวางเหมือนการวางแผนที่ ด้านเหนืออยู่บน ด้านตะวันตกถือกันว่าเป็นด้านหน้าของวัด ด้านตะวันออกที่เป็นบริเวณที่ทำคริสต์ศาสนพิธีอยู่ทางขว.

ใหม่!!: วิหารคดและผังอาสนวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

จรมุข

รมุข (Ambulatory) “Ambulatory” มาจากภาษาลาตินกลาง “Ambulatorium” ที่แปลว่าสถานที่สำหรับการเดิน จากคำว่า “ambulare” ที่แปลว่าเดิน คือบริเวณภายในสิ่งก่อสร้างที่คลุมด้วยหลังคาในระเบียงคด หรือบางครั้งก็หมายถึงทางเดินของขบวนนักแสวงบุญรอบมุขตะวันออกของคริสต์ศาสนสถานที่เป็นมหาวิหารหรือวัดขนาดใหญ่ที่อยู่หลังแท่นบูชาเอก บางครั้งรอบทางเดินครึ่งวงกลมก็อาจจมีมุขโค้งด้านสกัดก็อาจจะมีชาเปลย่อยที่กระจายออกไปจากมุข ซึ่งทำให้ผู้เดินรอบแท่นบูชาเดินได้โดยไม่ต้องรบกวนนักบวชหรือผู้เข้าร่วมพิธีที่ทำพิธีอยู่ในชาเปลย่อย จรมุขมักจะปรากฏในคริสต์ศาสนสถานขนาดใหญ่โดยเฉพาะที่มีองควัตถุของนักบุญ เพื่อใช้เป็นที่สำหรับนักแสวงบุญจำนวนมากสามารถเดินเวียนมาสักการะวัตถุที่ต้องการได้.

ใหม่!!: วิหารคดและจรมุข · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์

วนหนึ่งของภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ ฉากหนุมานอมพลับพลา ตอนศึกไมยราพ จิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ เป็นภาพวาดบนฝาผนังเกี่ยวกับเรื่องราวในมหากาพย์วรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ อยู่บริเวณระเบียงคดรอบพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีจำนวนทั้งสิ้น 178 ห้อง สร้างขึ้นตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยมีการเขียนซ่อมแซมเพิ่มเติมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้บูรณะในโอกาสครบรอบ 100 ปีกรุงรัตนโกสินทร์ ในการนี้ได้ทรงพระนิพนธ์โคลงประกอบภาพไว้จำนวนแปดห้อง เป็นโคลง 224 บท.

ใหม่!!: วิหารคดและจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ · ดูเพิ่มเติม »

ทอมัส แบ็กกิต

นักบุญทอมัส แบ็กกิต (Thomas Becket) ต่อมารู้จักกันในชื่อ Thomas à Becket เป็นนักบุญและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ เกิดใน..

ใหม่!!: วิหารคดและทอมัส แบ็กกิต · ดูเพิ่มเติม »

ทำเนียบหัวเมือง

ทำเนียบหัวเมือง คือเขตการปกครองในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประเทศสยามมีหัวเมืองขึ้นอยู่ 474 หัวเมือง หลักฐานที่ได้จากจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ที่ได้จารึกไว้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้จารึกไว้ที่คอสอง เฉลียงพระเบียงล้อมพระอุโบสถทั้งสี่ด้าน หรืออีกอย่างหนึ่งก็คือระเบียงคด ได้เขียนภาพหัวเมืองขึ้นกรุงเทพมหานคร 474 หัวเมือง แต่ในปัจจุบันภาพดังกล่าวได้หายไปหมดแล้ว คงเหลือแต่จารึกที่บอกชื่อหัวเมืองเหล่านั้น กับเจ้าเมืองบางเมืองอยู่ราวครึ่งหนึ่ง ตรวจได้ศิลาจารึก 77 แผ่น ทำเนียบเมือง 194 เมือง แบ่งออกได้ดังนี้.

ใหม่!!: วิหารคดและทำเนียบหัวเมือง · ดูเพิ่มเติม »

งานฝังประดับแบบคอสมาติ

งานฝังประดับแบบคอสมาติ หรือ ลายคอสมาติ หรือ งานฝังประดับอเล็กซานดรินัม (Cosmatesque หรือ opus alexandrinum) เป็นลักษณะงานโมเสกบนพื้นที่เป็นลวดลายเรขาคณิตที่นิยมทำกันในยุคกลางในอิตาลี โดยเฉพาะในกรุงโรมและปริมณฑล ชื่อของลักษณะลวดลายมาจากชื่อ “คอสมาติ” ซึ่งเป็นตระกูลช่างหัตถกรรมหินอ่อนชั้นนำของกรุงโรมผู้สร้างงานในลักษณะดังกล่าว ลักษณะลวดลายเผยแพร่ไปทั่วยุโรปในการใช้ตกแต่งคริสต์ศาสนสถานระดับสูง เช่นในการตกแต่งแท่นบูชาเอกในแอบบีเวสต์มินสเตอร์ เป็นต้นที่ตกแต่งพื้นหินอ่อนเป็นลายคอสมาต.

ใหม่!!: วิหารคดและงานฝังประดับแบบคอสมาติ · ดูเพิ่มเติม »

ปาแลเดปัป

ปาแลเดปัปดาวีญง (Palais des papes d'Avignon, แปล: วังพระสันตะปาปาแห่งอาวีญง) เป็นพระราชวังพระสันตะปาปาที่ตั้งอยู่ที่อาวีญงในประเทศฝรั่งเศส เป็นสิ่งก่อสร้างของสถาปัตยกรรมกอทิกที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป ปาแลเดปัปได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโกในปี..

ใหม่!!: วิหารคดและปาแลเดปัป · ดูเพิ่มเติม »

นักพรตหญิง

นจักรออร์โธดอกซ์ นักพรตหญิง (nun) คือสตรีที่ปฏิญาณอุทิศตนใช้ชีวิตเพื่อศาสนา อาจจะถือวัตรคล้ายนักพรตที่เลือกสละทางโลกแล้วหันไปใช้ชีวิตกับการอธิษฐานและการเพ่งพินิจ อาศัยในอารามหรือคอนแวนต์ "นักพรตหญิง" พบได้ทั้งในศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ (ทั้งในคริสตจักรโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน) ศาสนาเชน และศาสนาเต๋า ในศาสนาคริสต์คำว่า "นักพรตหญิง" และ "ภคินี" ใช้แทนหรือสลับกันได้เพราะถือว่ามีความหมายเดียวกัน แต่ในบางกรณีก็ถูกจำแนกให้ต่างกันว่านักพรตหญิงคือนักบวชหญิงที่ใช้ชีวิตเป็นนักพรต อยู่แต่ภายในเขตพรต เน้นการเพ่งพินิจ การอธิษฐาน และการรำพึงธรรม ขณะที่ภคินีเป็นนักบวชหญิงที่เน้นนการอธิษฐาน การบริการผู้ยากไร้ เจ็บป่วย ยากจน และขาดการศึกษ.

ใหม่!!: วิหารคดและนักพรตหญิง · ดูเพิ่มเติม »

นครวัด

นครวัด (អង្គរវត្ត) เป็นหมู่ปราสาทในประเทศกัมพูชาและเป็นศาสนสถานที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยพื้นที่รวมกว่า 162.6 เฮกเตอร์ (1.6 ล้านตารางเมตร ซึ่งเท่ากับ 402 เอเคอร์) แรกเริ่มนั้นสร้างขึ้นเป็นเทวลัยในศาสนาฮินดูเพื่ออุทิศแด่พระวิษณุ ก่อนจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงกลายเป็นวัดในศาสนาพุทธในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 นครวัดสร้างขึ้นในช่วงต้นของคริสศตวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าสูรยวรรมันที่ 2 แห่งเมืองยโสธรปุระ (ในปัจจุบันคือเมืองพระนคร) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิเขมร สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นเทวลัยประจำรัฐและเป็นสุสานฝังพระศพ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงการนับถือในลัทธิไศวนิกายของกษัตริย์องค์ก่อนๆ เหตุเพราะนครวัดนั้นสร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระวิษณุแทนที่จะเป็นพระศิวะ และเนื่องจากเป็นปราสาทที่ได้รับการอนุรักษ์ดีที่สุดในบริเวณที่ตั้งโดยรอบ นครวัดจึงเป็นปราสาทเพียงแห่งเดียวที่ยังคงความเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่มีความสำคัญมาตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง โดยนครวัดถือจุดสูงสุดของรูปแบบการสร้างสถาปัตยกรรมเขมรแบบดั้งเดิม และได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา มีการปรากฏอยู่บนธงชาติ และได้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของประเทศกัมพูชาที่มีความสำคัญที่สุดในหมู่นักท่องเที่ยว นครวัดได้รวมเอาการวางผังพื้นฐานในสถาปัตยกรรมเขมรสองแบบมาใช้ประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่งก็ได้แก่ ผังการสร้างปราสาทให้เสมือนภูเขา (ปราสาทบนฐานชั้น) และการสร้างปราสาทแบบมีระเบียงคดที่มีภาพสลัก การสร้างปราสาทรูปแบบนี้ได้สื่อถึงเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นสถานที่ที่สถิตของเทพเทวัญในปกรณัมของศาสนาฮินดู ด้านนอกมีคูน้ำและกำแพงล้อม ความยาวรวมกว่า 3.6 กิโลเมตร โดยตัวปราสาทประกอบด้วยระเบียงคดสี่เหลี่ยมที่มีภาพสลักทั้งหมดสามชั้น แต่ละชั้นตั้งอยู่สูงกว่าชั้นล่าง ตรงกลางของปราสาทคือพระปรางค์ที่มีทั้งหมด 5 ยอด นครวัดมีความแตกต่างจากปราสาทในพระนครปราสาทอื่นๆ เนื่องจากมีการหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งนักวิชาการต่างก็มีความเห็นที่แตกต่างออกไปในเรื่องนัยยะของการสร้างในลักษณะนี้ นครวัดยังได้รับการยกย่องในด้านความงามและความกลมกลืนของตัวสถาปัตยกรรม อาทิ ภาพสลักนูนต่ำที่ใหญ่โต รวมถึงภาพเทวดาที่มีการตกแต่งตามผนังเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: วิหารคดและนครวัด · ดูเพิ่มเติม »

แชร์โตซาดีซันมาร์ตีโน

แชร์โตซาดีซันมาร์ตีโน (Certosa di San Martino) หรือชาร์เตอร์เฮาส์ (อาราม) แห่งเซนต์มาร์ติน (St.) เดิมเป็นอาราม ของคณะคาร์ทูเซียนในคริสตจักรโรมันคาทอลิกที่ตั้งอยู่ที่เมืองเนเปิลส์ทางตอนใต้ของประเทศอิตาลี แต่ในปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ อารามเป็นสิ่งก่อสร้างที่โดดเด่นอยู่บนเนินโวเมโรที่มองเห็นได้แต่ไกล และจากตัวสิ่งก่อสร้างก็จะเป็นทิวทัศน์ของอ่าว อารามนี้สร้างเสร็จและทำการเปิดใช้ในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีโจนที่ 1 แห่งเนเปิลส์ในปี ค.ศ. 1368 เป็นคริสต์ศาสนสถานที่อุทิศให้แก่นักบุญมาร์ตินแห่งทัวร์ ระหว่างครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 16 อารามก็ได้รับการขยายต่อเติม ต่อมาในปี ค.ศ. 1623 ก็ได้รับการขยายเพิ่มขึ้นในรูปทรงที่ใกล้เคียงกับที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสเมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 1800 อารามก็ถูกปิดลงตามคำสั่งของคณะ ในปัจจุบันตัวสิ่งก่อสร้างเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์สำหรับแสดงศิลปะของสมัยบูร์บองและสเปน และเป็นที่แสดงงานสะสมงานศิลปะ “ฉากการประสูติของพระเยซู” (Nativity scene หรือ presepe) ที่ถือว่าเป็นงานสะสมชุดที่ดีที่สุดชุดหนึ่งของโลก.

ใหม่!!: วิหารคดและแชร์โตซาดีซันมาร์ตีโน · ดูเพิ่มเติม »

โรงเขียนหนังสือ

ลจิตรกรรมโดย Jean Miélot จากปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15Christopher De Hamel, ''Scribes and Illuminators'', (Toronto: U Toronto Press, 1992), 36. เป็นภาพของนักเขียนที่กำลังทำงานรวบรวม “ปาฏิหาริย์แห่งโนเทรอดาม” ที่มีภาพนี้รวมอยู่ด้วย โรงเขียนหนังสือ หรือ โรงคัดหนังสือ (Scriptorium) แปลตรงตัวว่า “สถานที่สำหรับเขียนหนังสือ” มักจะใช้สำหรับห้องหรือโถงในสำนักสงฆ์ที่ใช้ในการก็อปปีหนังสือโดยนักคัด (scribe) ของสำนักสงฆ์ จากหลักฐานที่บันทึกไว้ และจากสิ่งก่อสร้างที่ยังคงมีให้เห็น หรือจากการขุดค้นทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่าตรงกันข้ามกับความเชื่อโดยทั่วไปว่าเป็นห้องที่มักจะมีในสำนักสงฆ์นั้นแทบจะไม่มีกันเท่าใดนัก การเขียนหรือคัดหนังสือในสำนักสงฆ์จึงมักจะทำกันในคอกเช่นคอกที่ลึกเข้าไปในผนังของระเบียงคดหรือในห้องเล็กที่เป็นที่พำนักของนักบวชเอง การพูดถึง “โรงเขียนหนังสือ” โดยนักวิชาการในปัจจุบันโดยทั่วไปมักจะหมายถึงการเขียนหรือผลิตงานของสำนักสงฆ์แทนที่จะกล่าวถึงโครงสร้างที่เป็น “โรงเขียน” จริงๆ “โรงเขียนหนังสือ” เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีสำหรับห้องสมุด ถ้าที่ใดมีห้องสมุดก็สรุปได้ว่าต้องมี “โรงเขียนหนังสือ” หรือ “โรงคัดหนังสือ” “โรงเขียนหนังสือ” ตามธรรมเนียมแล้วหมายถึงห้องที่กำหนดไว้ให้ใช้ในการเขียนหนังสือและก็คงจะมีอยู่ไม่นานนัก เมื่อผู้ใดหรือสถาบันใดต้องการจะคัดหนังสือสำหรับการสะสมในห้องสมุดก่อนที่จะมีการพิมพ์ เมื่อห้องสมุดมีหนังสือพอเพียงแล้วโรงเขียนก็ยุบเลิก เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ก็เกิดร้านบริการคัดหนังสือโดยฆราวาสขึ้น นักคัดอาชีพก็อาจจะมีห้องพิเศษที่ใช้ในการคัดหนังสือ แต่โดยทั่วไปแล้วก็อาจจะเป็นเพียงโต๊ะใกล้หน้าต่างในบ้านของตนเอง.

ใหม่!!: วิหารคดและโรงเขียนหนังสือ · ดูเพิ่มเติม »

เพดานพัด

นพัดในระเบียงคดที่มหาวิหารกลอสเตอร์ อังกฤษทำจากหินที่พบในท้องถิ่นเดิมสร้างเมื่อค.ศ. 1608 เพดานพัดที่มหาวิหารบาธ อังกฤษทำจากหินที่พบในท้องถิ่นเดิมสร้างเมื่อค.ศ. 1608 และบูรณะเมื่อราวค.ศ. 1860 ระหว่างสมัยวิคตอเรีย เพดานพัด (Fan vault) เป็นเพดานที่ใช้ในสถาปัตยกรรมกอธิคเพอร์เพ็นดิคิวลาร์ ซึ่งเป็นสมัยหนึ่งของสถาปัตยกรรมกอธิคอังกฤษซึ่งสันของเพดานแยกออกไปเป็นแฉกคล้ายรูปพัด ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่มีเฉพาะในอังกฤษ เพดานพัดพบครั้งแรกเมื่อประมาณปี..

ใหม่!!: วิหารคดและเพดานพัด · ดูเพิ่มเติม »

เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์

วสต์มินสเตอร์แอบบีย์ (Westminster Abbey) เดิมเป็นแอบบีย์ แต่ปัจจุบันเป็นโบสถ์ในนิกายแองกลิคันที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ในนครเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบสถาปัตยกรรมกอทิกเป็นส่วนใหญ่นอกจากหอคอยที่เป็นสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก เป็นสถานที่ประกอบพิธีราชาภิเษกและที่ฝังพระบรมศพพระมหากษัตริย์อังกฤษและพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ ระหว่างปี..

ใหม่!!: วิหารคดและเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เตเรซาแห่งอาบีลา

นักบุญเตเรซาแห่งอาบีลา (Santa Teresa de Ávila, นักบุญเทเรซา แห่งอาวีลา, นักบุญเทเรซา แห่งอาวีล.) หรือนักบุญเทเรซาแห่งพระเยซู (Santa Teresa de Jesús) เป็นนักพรตหญิงโรมันคาทอลิกชาวสเปน นักการปฏิรูปคาทอลิก ผู้ก่อตั้งคณะคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้า ได้รับการแต่งตั้งเป็นนักปราชญ์แห่งคริสตจักรในปี..

ใหม่!!: วิหารคดและเตเรซาแห่งอาบีลา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ระเบียงคดระเบียงฉันนบถเขตพรต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »