โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วิสุทธิมรรค

ดัชนี วิสุทธิมรรค

วิสุทธิมรรค (วิสุทฺธิมคฺค) เป็นคัมภีร์สำคัญคัมภีร์หนึ่ง ในพุทธศาสนานิกายเถรวาท ซึ่งได้รับการจัดลำดับความสำคัญเทียบเท่าชั้นอรรถกถา โดยมี พระพุทธโฆสะ ชาวอินเดีย เป็นผู้เรียบเรียงขึ้นในภาษาบาลี เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 10 มีเนื้อหาที่อธิบายเกี่ยวกับ ศีล สมาธิ และปัญญา ตามแนววิสุทธิ 7 ในปัจจุบัน คัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งในทางพุทธศาสนา ได้รับการยกย่องจากนักวิชาการด้านพุทธศาสนาในหลายประเทศเป็นจำนวนมาก และได้รับการบรรจุในหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย ระดับชั้นเปรียญธรรม ๘ ประโยค และเปรียญธรรม ๙ ปร.

19 ความสัมพันธ์: พระพุทธโฆสะญาณมหาสติปัฏฐานสูตรมาร (ศาสนาพุทธ)วิญญาณ (ศาสนาพุทธ)วิมุตติมรรควิสุทธิศาสนาพุทธในประเทศไทยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์สัมโมหวิโนทนีอภิธัมมาวตารอาชีวัฏฐมกศีลอนัตตาอนิจจังทุกข์ปกรณ์วิเสสปีติไตรลักษณ์เมตตา

พระพุทธโฆสะ

ระพุทธโฆสะ ในประเทศไทยมักเรียกว่า พระพุทธโฆษาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ในนิกายเถรวาทผู้มีชีวิตอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เป็นผู้แต่งคัมภีร์หลายเล่ม ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งรวบรวมแนวคำสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมเพื่อการหลุดพ้นจากทุกข์ การตีความคำสอนในพระพุทธศาสนาของท่านถือเป็นแนวคิดที่ใช้เป็นหลักในนิกายเถรวาทในปัจจุบัน ทั้งนักวิชาการตะวันตกและชาวพุทธเถรวาทต่างยอมรับว่าท่านเป็นอรรถกถาจารย์ที่สำคัญที่สุดในนิกายเถรวาท.

ใหม่!!: วิสุทธิมรรคและพระพุทธโฆสะ · ดูเพิ่มเติม »

ญาณ

ญาณ (ñāṇa; jñāna ชญาน) แปลว่า ความรู้ คือ ปรีชาหยั่งรู้ ปรีชากำหนดรู้ หรือ กำหนดรู้ได้ด้วยอำนาจการทำสมาธิและวิปัสสนา เรียกว่า วิชชา บ้าง ญาณ เป็นไวพจน์คำหนึ่งของปัญญา แต่มักใช้ในความหมายที่จำเพาะกว่า คือเป็นปัญญาที่ทำงานออกผลมาเป็นเรื่อง ๆ มองเห็นสิ่งนั้น ๆ หรือเรื่องนั้น ๆ ตามสภาวะจริง มีการกล่าวถึงญาณในหลายลักษณะ หรืออาจจัดแบ่งญาณได้เป็น ญาณ 3 (3 หมวด) และ ญาณ 16 (ในวิปัสสนาญาณ) ดังนี้.

ใหม่!!: วิสุทธิมรรคและญาณ · ดูเพิ่มเติม »

มหาสติปัฏฐานสูตร

ติปัฏฐานสูตร หรือ มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นพระสูตรสำคัญในพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่ชาวกุรุชนบท ชื่อว่ากัมมาสทัมมะ (ปัจจุบันอยู่ในกรุงนิวเดลี เมืองหลวงของประเทศอินเดีย) สติปัฏฐานสูตรหรือมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นหนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน มหาสติปัฏฐานสูตร เมื่อพิจารณาจากพระพุทธพจน์ตอนเริ่มพระสูตร อาจกล่าวได้ว่าหลักการในพระสูตรนี้ เป็นหลักแนวปฏิบัติตรงที่เน้นเฉพาะเพื่อการรู้แจ้ง คือให้มีสติพิจารณากำกับดูสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง โดยไม่ให้ถูกครอบงำไว้ด้วยอำนาจกิเลสต่าง ๆ โดยมีแนวปฏิบัติเป็นขั้นตอน 4 ระดับ คือ พิจารณากาย, ความรู้สึก (เวทนา), จิต, และธรรมที่เกิดในจิต.

ใหม่!!: วิสุทธิมรรคและมหาสติปัฏฐานสูตร · ดูเพิ่มเติม »

มาร (ศาสนาพุทธ)

ทวบุตรมารผจญพระพุทธเจ้า มาร (มาร; Mara มาจากรากศัพท์ มรฺ แปลว่า "ตาย" มารจึงแปลว่า "ผู้ทำให้ตาย") หมายถึง เทวดาจำพวกหนึ่ง มีใจบาปหยาบช้าคอยกีดกันไม่ให้ทำบุญ ในวรรณกรรมไทย "มาร" หมายถึง ยักษ์ ด้วย ในพระพุทธศาสนาใช้หมายถึง สิ่งใด ๆ ที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากคุณความดีหรือจากผลที่หมายอันประเสริฐ, สิ่งที่ล้างผลาญคุณความดี, ตัวการที่กำจัดหรือขัดขวางบุคคลมิให้บรรลุ ผลสำเร็จอันดีงาม, พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต),, พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม.

ใหม่!!: วิสุทธิมรรคและมาร (ศาสนาพุทธ) · ดูเพิ่มเติม »

วิญญาณ (ศาสนาพุทธ)

ในศาสนาพุทธ คำว่าวิญญาณ (viññāṇa; विज्ञान) ใช้หมายถึงพิชาน (consciousness) คือความรู้แจ้งอารมณ์ พระไตรปิฎกระบุว่าพระพุทธเจ้าทรงจำแนกวิญญาณออกเป็น 6 ประเภท ได้แก.

ใหม่!!: วิสุทธิมรรคและวิญญาณ (ศาสนาพุทธ) · ดูเพิ่มเติม »

วิมุตติมรรค

วิมุตติมรรค (วิมุตฺติมคฺค) เป็นหนังสือที่เผยแพร่ในภาษาอังกฤษ ชื่อ ‘The Path of Freedom’ ด้วยการแปลมาจากภาษาจีน ซึ่งนักภาษาและวรรณคดี เชื่อว่า เป็นตำราคำสอนของศาสนาพุทธนิกายเถรวาท เทียบเท่ากับตำราวิสุทธิมรรค ของท่านพุทธโฆษาจารย์ เพราะมีลักษณะแห่งการแสดงศัพท์ ด้วยลำดับขั้นตอนที่คล้ายคลึงกัน และสันนิษฐานว่า หนังสือวิมุตติมรรค เป็นตำราหนึ่งที่พระพุทธโฆษาจารย์ได้ศึกษาแล้ว ก่อนที่จะได้แสดงคำสอนในวิสุทธิมรรคไว้เป็นแ.

ใหม่!!: วิสุทธิมรรคและวิมุตติมรรค · ดูเพิ่มเติม »

วิสุทธิ

วิสุทธิ หมายถึง ความบริสุทธิ์ ความหมดจด ในศาสนาพุทธกล่าวถึง วิสุทธิ 7 ซึ่งหมายถึง ความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นไปตามลำดับ เป็นการชำระให้บริสุทธิ์ ด้วยการฝึกฝนตนเองที่เรียกว่าไตรสิกขา ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดมุ่งหมายคือนิพพาน มี 7 ขั้น คือ.

ใหม่!!: วิสุทธิมรรคและวิสุทธิ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธในประเทศไทย

ระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เมื่อประมาณ พ.ศ. 236 สมัยเดียวกันกับประเทศศรีลังกา ด้วยการส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ 9 สาย โดยการอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์อินเดีย ในขณะนั้นประเทศไทยรวมอยู่ในดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมิ ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวาง มีประเทศรวมกันอยู่ในดินแดนส่วนนี้ทั้ง 7 ประเทศในปัจจุบัน ได้แก่ ไทย พม่า ศรีลังกา ญวน กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ซึ่งสันนิษฐานว่ามีใจกลางอยู่ที่จังหวัดนครปฐมของไทย เนื่องจากได้พบโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่นพระปฐมเจดีย์ และรูปธรรมจักรกวางหมอบเป็นหลักฐานสำคัญ แต่พม่าก็สันนิษฐานว่ามีในกลางอยู่ที่เมืองสะเทิม ภาคใต้ของพม่า พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่สุวรรณภูมิในยุคนี้ นำโดยพระโสณะและพระอุตตระ พระเถระชาวอินเดีย เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนาในแถบนี้ จนเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ ตามยุคสมัยต่อไปนี้.

ใหม่!!: วิสุทธิมรรคและศาสนาพุทธในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

มเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นราชทินนามของสมเด็จพระราชาคณะรูปหนึ่ง ปัจจุบันพระราชทานเฉพาะแก่พระภิกษุฝ่ายมหานิก.

ใหม่!!: วิสุทธิมรรคและสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ · ดูเพิ่มเติม »

สัมโมหวิโนทนี

ัมโมหวิโนทนี เป็นคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในคัมภีร์วิภังค์ ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ 2 ในบรรดาพระอภิธรรมปิฎก 7 คัมภีร์ คือ ธัมมสังคณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมกและปัฏฐาน คัมภีร์นี้เป็นผลงานของพระพุทธโฆสะ หรือพระพุทธโฆสาจารย์แต่งขึ้นโดยอาศัยอรรถกถาภาษาสิงหลชื่อมหาปัจจรี.

ใหม่!!: วิสุทธิมรรคและสัมโมหวิโนทนี · ดูเพิ่มเติม »

อภิธัมมาวตาร

อภิธัมมาวตาร แปลว่า หยั่งลงสู่อภิธรรม หรือ หยั่งรู้เข้าใจในสรรพสิ่งทุกประการอย่างละเอียดที่สุด เป็นผลงานการเรียบเรียงของท่านพระพุทธัตตะ (พุทธัตตาจารย์) ชาวชมพูทวีป ผู้ชำนาญพระไตรปิฎก ซึ่งท่านได้เรียบเรียงขึ้นจากเนื้อหาในพระอภิธรรมปิฎก อรรถกถาของพระไตรปิฎกภาษาบาลีต่าง ๆ ทั้งที่สืบมาแต่ครั้งพุทธกาล และของอาจารย์ผู้ทรงจำพระไตรปิฎกที่มีชื่อเสียงมีความรู้มากในยุคก่อน..

ใหม่!!: วิสุทธิมรรคและอภิธัมมาวตาร · ดูเพิ่มเติม »

อาชีวัฏฐมกศีล

อาชีวัฏฐมกศีล แปลว่า ศีลมีอาชีวะเป็นอันดับที่ 8 ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคเรียกไว้อีกชื่อหนึ่งว่า อาทิพรหมจริยกะศีลโดยอธิบายว่าเพราะเป็นเบื้องต้นของมรรคพรหมจรรย์ซึ่งผู้ปฏิบัติพึงรักษาให้บริสุทธิ์ในเบื้องต้น สมด้วยพุทธดำรัสว่า "ปุพฺเพ ว โข ปนสฺส กายกมฺมํ วจีกมฺมํ อาชีโว สุปริสุทฺโธ โหติ" แปลว่า ด้วยว่า กายกรรม (3) วจีกรรม (4) อาชีวะ (1) ของเขาผู้นั้น บริสุทธิด้วยดี ตั้งแต่เริ่มต้นเลยทีเดียว อาชีวัฏฐมกศีลนิยมแพร่หลายในประเทศพม่า ในประเทศไทยไม่สู้นิยม เป็นศีลตามแนวอริยมรรคมีองค์ 8 และกุศลกรรมบถ 10 อาชีวัฏฐมกศีล คือศีลมีอาชีพเป็นที่ 8 คือ.

ใหม่!!: วิสุทธิมรรคและอาชีวัฏฐมกศีล · ดูเพิ่มเติม »

อนัตตา

อนัตตา (อนตฺตา) หรือ อนาตมัน (अनात्मन् อนาตฺมนฺ) แปลว่า ไม่มีอัตตา ไม่มีตัวตน ไม่ใช่อัตตา (หรืออาตมัน) ไม่ใช่ตัวตน หรือ สภาพที่บังคับบัญชาไม่ได้ อันเป็นธรรมชาติของสังขารและวิสังขาร.

ใหม่!!: วิสุทธิมรรคและอนัตตา · ดูเพิ่มเติม »

อนิจจัง

อนิจจัง (บาลี: อนิจฺจํ) แปลว่า ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่มั่นคง ไม่แน่นอน หรือ ตั้งอยู่ในสภาวะเดิมได้ยาก โดยทั่วไปหมายถึง สังขารธรรม อันได้แก่ ขันธ์ 5.

ใหม่!!: วิสุทธิมรรคและอนิจจัง · ดูเพิ่มเติม »

ทุกข์

ทุกข์ หรือ ทุกขัง (ทุกฺข) เป็นหลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา แปลว่าทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก โดยทั่วไปหมายถึง สังขารทั้งปวง อันได้แก่ ขันธ์ 5 ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองทุกข์ ในทางพระพุทธศาสนา การกำหนดทุกข์ถือเป็นกิจในอริยสัจ 4 ที่ชาวพุทธต้องทำเพื่อละและปล่อยวางในลำดับต่อไปในกิจทั้งสี่ในอริยสัจ อันได้แก่ รู้ทุกข์ เพื่อค้นหาสาเหตุในการดับทุกข์ (สมุทัย) แล้วจึงตั้งจุดมุ่งหมายในการดับทุกข์ (นิโรธ) และดำเนินตามเส้นทางสู่ความดับทุกข์ (มรรค) คือสละ ละ ปล่อยวาง ไม่ยึดติดในใจด้วยอำนาจกิเลส ทุกข์ จัดเป็นหนึ่งในชื่อเรียกที่เป็นไวพจน์ของขันธ์ซึ่งถูกใช้เป็นอย่างมากในพระไตรปิฎก.

ใหม่!!: วิสุทธิมรรคและทุกข์ · ดูเพิ่มเติม »

ปกรณ์วิเสส

ปกรณ์วิเสส เป็นคัมภีร์หรือหนังสือที่พิเศษ หรือแตกต่างไปจากคัมภีร์ทางพุทธศาสนาทั้งหลายที่มีอยู่เดิม ที่ไม่ได้แต่งอธิบายธรรมะตามคัมภีร์ใดคัมภีร์หนึ่งโดยเฉพาะอย่างอรรถกถา ฎีกาและอนุฎีกา หรือโยชนา แต่เป็นคัมภีร์หรือหนังสือที่พระคันถรจนาจารย์ได้รจนาขึ้น เพื่อแสดงความคิดเห็นอันเป็นภูมิรู้หรือภูมิธรรมของท่าน โดยศึกษาค้นคว้าและรวบรวมจากคัมภีร์ต่าง.

ใหม่!!: วิสุทธิมรรคและปกรณ์วิเสส · ดูเพิ่มเติม »

ปีติ

ปิติ (Pīti) หมายถึง ความอิ่มใจ ความดื่มด่ำ.

ใหม่!!: วิสุทธิมรรคและปีติ · ดูเพิ่มเติม »

ไตรลักษณ์

ตรลักษณ์ เป็นธรรมะที่ทำให้เป็นพระอริยะ (อริยกรธรรม) แปลว่า ลักษณะ 3 ประการ หมายถึงสามัญลักษณะ คือ กฎธรรมดาของสรรพสิ่งทั้งปวง อันได้แก่ อนิจจลักษณะ ลักษณะไม่เที่ยง มีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ทุกขลักษณะ ลักษณะทนอยู่ตลอดไปไม่ได้ ถูกบีบคั้นด้วยอำนาจของธรรมชาติทำให้ทุกสิ่งไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป และ อนัตตลักษณะ ลักษณะไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามต้องการได้ เช่น ไม่สามารถบังคับให้ชีวิตยั่งยืนอยู่ได้ตลอดไป ไม่สามารถบังคับจิตใจให้เป็นไปตามปรารถนา เป็นต้น.

ใหม่!!: วิสุทธิมรรคและไตรลักษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

เมตตา

ในศาสนาพุทธ เมตตา เป็นหลักธรรมหนึ่งในพรหมวิหาร 4 ซึ่งประกอบไปด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา โดยเป็นปัจจัยให้เกิดพรหมวิหารอื่นได้.

ใหม่!!: วิสุทธิมรรคและเมตตา · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »