โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วิสรรชนีย์

ดัชนี วิสรรชนีย์

วิสรรชนีย์ หรือ นมนางทั้งคู่ (ะ) ใช้เป็นสระ อะ เมื่ออยู่หลังพยัญชนะต้น และใช้ประสมสระ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ และ อัวะ อนึ่ง คำว่า "ประวิสรรชนีย์" เป็นคำกริยา หมายถึง ใส่เครื่องหมายวิสรรชนีย์ นี้ (ประ หมายถึง ทำเป็นจุดๆ) วิสรรชนีย์เป็นเครื่องหมายที่มีใช้ในตระกูลอักษรพราหมี ตั้งแต่หลังสมัยพระเจ้าอโศก (ในราวราชวงศ์กษัตรปะ) โดยมีลักษณะเป็นเครื่องหมายวงกลมขนาดเล็กสองวง คล้ายเครื่องหมาย: (colon) คำว่า "วิสรรชนีย์" มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤต "วิสรฺชนีย" (ในสมัยหลังนิยมเรียกว่า วิสรฺค) หมายถึงเครื่องหมายที่ใช้เพื่อแทนเสียงลมหายใจมาก โดยวางไว้หลังสระ เช่น "दुःख, रामः" เมื่อถ่ายทอดเป็นอักษรไทย นิยมใช้เครื่องหมาย "ะ" เป็น "ทุะข, รามะ" เป็นต้น สำหรับระบบการเขียน IAST ใช้ "ḥ", ระบบ Harvard-Kyoto ใช้ H, และอักษรเทวนาครีใช้ "ः".

6 ความสัมพันธ์: การเขียนคำทับศัพท์ภาษาบาลีอักษรรัญชนาอักษรไทยอักษรเขมรประเทศเกาหลีโคมูตร

การเขียนคำทับศัพท์ภาษาบาลี

การเขียนคำทับศัพท์ภาษาบาลี สำหรับใช้ในการเขียนอักษรไทยนั้นมีระบบที่ค่อนข้างชัดเจน อาจมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาตั้งแต่สมัยโบราณ ปัจจุบัน (พ.ศ. 2549) ราชบัณฑิตยสถานยังไม่ได้วางหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาบาลี แต่ในบรรดาชาวไทยที่รู้ภาษาบาลี จะยึดธรรมเนียมการทับศัพท์ที่สืบทอดต่อๆ กันมา จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นมาตรฐานไปแล้ว.

ใหม่!!: วิสรรชนีย์และการเขียนคำทับศัพท์ภาษาบาลี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรรัญชนา

อักษรรัญชนา หรือกูติลา หรือลันต์ซา เป็นอักษรที่พัฒนามาจากอักษรพราหมี เมื่อราว พ.ศ. 1600 และใช้มาจนถึงราว พ.ศ. 2500 ในอินเดียและเนปาล ชาวทิเบตเรียกอักษรนี้ว่าลันต์ซา ใช้เขียนภาษาสันสกฤตก่อนจะแปลเป็นภาษาทิเบต ชาวทิเบตเลิกใช้อักษรนี้เมื่อถูกจีนยึดครอง นอกจากนี้ มีการใช้อักษรนี้ในหมู่ชาวพุทธในจีน มองโกเลีย และญี่ปุ่น.

ใหม่!!: วิสรรชนีย์และอักษรรัญชนา · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไทย

อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน.

ใหม่!!: วิสรรชนีย์และอักษรไทย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเขมร

ตัวอย่างอักษรเขมรสองแบบ อักษรเขมร (អក្សរខ្មែរ)​ ​คือรูปอักษรที่ดัดแปลงมาจากอักษรหลังปัลลวะ (ราว พ.ศ. 1200-1400) ซึ่งเป็นอักษรที่พัฒนามาจากอักษรปัลลวะ (ราว พ.ศ. 1100-1200) อีกต่อหนึ่ง อักษรปัลลวะนี้ เป็นอักษรที่มาจากอินเดียตอนใต้ ซึ่งเป็นชุดอักษรที่มีกำเนิดมาจากอักษรพราหมี ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (ราว พุทธศตวรรษที่ 3) จารึกอักษรเขมรเก่าสุด พบที่ปราสาทโบเร็.ตาแก้ว ทางใต้ของพนมเปญ อายุราว..

ใหม่!!: วิสรรชนีย์และอักษรเขมร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเกาหลี

แผนที่ประเทศเกาหลีก่อนที่จะถูกแบ่งออกเป็นเกาหลีเหนือและ เกาหลีใต้ ธงรวมเกาหลี ธงสัญลักษณ์ร่วมสำหรับเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ในการแข่งขันกีฬานานาชาตินับตั้งแต่ ค.ศ. 1994 ประเทศเกาหลี (한국 หรือ 조선, ฮันกุก หรือ โชซ็อน) เป็นอดีตประเทศ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรเกาหลี ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเกาหลีถูกแบ่งออกเป็นประเทศเกาหลีเหนือและประเทศเกาหลีใต้.

ใหม่!!: วิสรรชนีย์และประเทศเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

โคมูตร

มูตร (โค-มูด) หรือ เยี่ยววัว (๛) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนไทยโบราณ ใช้เมื่อเติมท้ายเมื่อจบบทหรือจบเล่ม พบได้ในหนังสือ หรือบทกลอนรุ่นเก่า ถ้าใช้คู่กับอังคั่นคู่และวิสรรชนีย์ จะเป็น อังคั่นวิสรรชนีย์โคมูตร (๚ะ๛) ซึ่งหมายถึงจบบริบูรณ์ โคมูตรไม่มีปรากฏบนแป้นพิมพ์ภาษาไทย แต่มีอยู่ในรหัสอักขระ TIS 620 ที่ 0xFB (251) และรหัสยูนิโคดที่ U+0E5B.

ใหม่!!: วิสรรชนีย์และโคมูตร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

วิสรรคสระอะประวิสรรชนีย์นมนางทั้งคู่

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »