โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์

ดัชนี วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์

วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ เป็นสหวิทยาการอันประกอบด้วยองค์ความรู้หลากหลายสาขา วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ (Mechatronics Engineering) เป็นสหวิทยาการเชิงประยุกต์ ที่นำวิชาพื้นฐานหลักว่าด้วย วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมการควบคุมอัตโนมัติ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ มาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อการออกแบบและสร้างผลิตชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ เมื่อ เทคโนโลยี ก้าวหน้าขึ้น, สาขาย่อยของ วิศวกรรม ก็ขยายและพัฒนk จุดประสงค์ของแมคคาทรอนิกส์จึงเป็นกระบวนการออกแบบที่รวมเป็นหนึ่งเดียวของสาขาย่อยเหล่านี้ แต่เดิม แมคคาทรอนิกส์ได้รวมแค่แมคคานิกส์และอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น ดังนั้นคำว่าแมคคาทรอนิกส์จึงเป็นคำผสมของ แมคคา และ ทรอนิกส์; อย่างไรก็ตาม เมื่อระบบด้านเทคนิคมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ คำ ๆ นี้จึงถูกขยายความให้รวมถึงพื้นที่ทางเทคนิคมากยิ่งขึ้น คำว่า "แมคคาทรอนิกส์" มีจุดเริ่มต้นในภาษา Japanese-English และถูกริเริ่มโดยนาย Tetsuro Mori, วิศวกรจากบริษัท Yaskawa Electric Corporation คำนี้ถูกลงทะเบียนเป็น เครื่องหมายการค้า โดยบริษัทในญี่ปุ่นด้วยทะเบียนหมายเลข "46-32714" ในปี 1971 อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นบริษัทได้สละสิทธ์การใช้ในสาธารณะ คำนี้จึงขยายออกไปทั่วโลก ในปัจจุบันคำนี้ถูกแปลเป็นภาษาอื่นและได้รับการพิจารณาว่าเป็นคำสำคัญในอุตสาหกรรม มาตรฐานของฝรั่งเศส NF E 01-010 ให้คำนิยามต่อไปนี้: “ดำเนินการในจุดประสงค์เพื่อบูรณาการอย่างเสริมประสานกันของทฤษฎีกลไก, อิเล็กทรอนิกส์, ควบคุม, และวิทยาการคอมพิวเตอร์ภายในการออกแบบและการผลิตผลิตภัณฑ์, เพื่อที่จะปรับปรุงและ/หรือให้ประโยชน์สูงสุดของหน้าที่การทำงานของมัน" คนจำนวนมากปฏิบัติต่อ "แมคคาทรอนิกส์" เหมือนกับเป็นคำศัพท์เฉพาะที่ทันสมัยที่พ้องกับคำว่า "วิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกล" หุ่นยนต์เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการประยุกต์ใช้แมคคาทรอนิกส์ ตัวอย่างผลงานที่สร้างจากสาขาวิชานี้ได้แก่ “ระบบอัจฉริยะ” (Intelligent Systems) ซึ่งมีกลไกที่สามารถทำงานด้วยตัวเองโดยอัตโนมัติ ตามความต้องการที่กำหนดไว้ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำ ตัวอย่างของระบบที่มีระบบเมคคาทรอนิกส์เป็นส่วนประกอบ เช่น หุ่นยนต์อุตสาหกรรม หุ่นยนต์กู้ภัย และอาคารอัจฉริยะ เป็นต้น.

17 ความสัมพันธ์: การแข่งขันออกแบบหุ่นยนต์ระหว่างประเทศรายชื่อสาขาของวิศวกรรมศาสตร์รายการสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้าวิทยาการหุ่นยนต์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หุ่นยนต์หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ทฤษฎีระบบควบคุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังนาโอะ (หุ่นยนต์)โรโบคัพเอบียูโรบอตคอนเทสต์

การแข่งขันออกแบบหุ่นยนต์ระหว่างประเทศ

การแข่งขันออกแบบหุ่นยนต์ระหว่างประเทศ (International Design Robot Contest: IDC RoboCon) เป็นการแข่งขันหุ่นยนต์ที่เน้นการออกแบบหุ่นยนต์ให้สามารถแก้ปัญหาเฉพาะอย่างได้โดยใช้วัสดุและอุปกรณ์จำกัด เป็นการริเริ่มโดยสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียวและสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ การแข่งขันนี้จัดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นในปี..

ใหม่!!: วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์และการแข่งขันออกแบบหุ่นยนต์ระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสาขาของวิศวกรรมศาสตร์

ต่าง ๆ ของวิศวกรรมศาสตร์หรือที่เกี่ยวข้อง.

ใหม่!!: วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์และรายชื่อสาขาของวิศวกรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการสาขาวิชา

รายชื่อสาขาวิชา หรือ สาขาการศึกษา (Field of study) หมายถึงสาขาความรู้ หรือ การวิจัยที่เปิดสอนในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย คำว่า สาขาวิชา ได้รับการนิยามและยอมรับโดย วารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย และโดยสมาคมผู้รู้ (learned societies) และโดยภาควิชาหรือคณะวิชาที่บุคคลผู้อยู่ในสาขาวิชานั้นๆ สังกัด โดยปกติ สาขาการศึกษาต่างๆ มักมีสาขาย่อยหรือแขนงวิชาแตกออกไป เส้นแบ่งระหว่างสาขาย่อยมักยังมีความคลุมเครือและมีกฎเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจน ในยุโรปสมัยกลางซึ่งขณะนั้นยังมีการแบ่งคณะวิชาออกเป็น 4 คณะหรือสายวิชา ได้แก่เทววิทยา การแพทย์ ธรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ และศิลปะ โดยคณะวิชาหลังมีสถานะไม่สูงเท่า 3 สาขาแรก การแบ่งสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสมัยนั้นมีรากสืบทอดมาจากขบวนการแยกอาณาจักรออกจากศาสนจักร (Secularization) ของมหาวิทยาลัยซึ่งเกิดขึ้นราวสมัยกลาง-ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณ พ.ศ. 2390 - พ.ศ. 2440) โดยได้เพิ่มวิชาภาษาศาสตร์ที่ไม่ใช่คลาสสิก วรรณคดี และวิชาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาและวิศวกรรมศาสตร์เสริมเข้าไปในหลักสูตรแบบประเพณีโบราณ ในต้นคริสต์ศตวรรษ ที่ 20 (ประมาณ พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2475) ได้มีการเพิ่มสาขาวิชาใหม่ๆ เช่น การศึกษา สังคมวิทยา และจิตวิทยา ในมหาวิทยาลัยต่างๆ และในช่วงประมาณ พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2523) ได้เกิดปรากฏการณ์ "การระเบิด" ของสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เน้นเนื้อหาเฉพาะเจาะจง เช่น สื่อศึกษา สตรีศึกษา และชนผิวดำศึกษา สาขาใหม่ๆ เหล่านี้จัดขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับอาชีพและวิชาชีพต่างๆ เช่น การพยาบาล การจัดการโรงพยาบาล การราชทัณฑ์ และหลังสุดก็ได้เห็นสาขาวิชาที่เป็นลักษณะ "สหสาขาวิชา" เช่น ชีวเคมี และ ธรณีฟิสิกส์เกิดเพิ่มขึ้นและได้รับการยอมรับว่าสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ได้ช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้กว้างขวางขึ้น เครื่องหมายดอกจัน * แสดงเป็นหมายเหตุว่าสาขาวิชานั้นยังเป็นที่ถกเถียงถึงสถานภาพว่าควรนับไว้ในสายวิชาใด เช่น วิชามานุษยวิทยา และวิชาภาษาศาสตร์ควรจัดไว้ในกลุ่มสังคมศาสตร์ หรือ มนุษยศาสตร์ เป็นที่สังเกตได้ว่าบางท่าน โดยเฉพาะนักทฤษฎีวิจารณ์มักให้ความสำคัญในการบ่งชี้การจัดกลุ่มที่เข้มงวดในทุกสายวิชา รวมทั้งความชัดเจนของโครงสร้างของแนวคิดโดยรวมของแต่ละวิชาซึ่งยังเป็นถกเถียงได้มากสำหรับบางคน.

ใหม่!!: วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์และรายการสาขาวิชา · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกรรมศาสตร์

การจะออกแบบสร้างกังหันลมในทะเลต้องใช้ความรู้ทางวิศวกรรมในหลายๆสาขาประกอบเข้าด้วยกัน วิศวกรรมอาจจะหมายถึงพระวิศวกรรม วิศวกรรมศาสตร์ เป็นสาขาความรู้และวิชาชีพเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ประยุกตวิทยา (เทคโนโลยี), วิทยาศาสตร์และความรู้ทางคณิตศาสตร์เพื่อการใช้ประโยชน์จากกฎทางธรรมชาติและทรัพยากรทางกายภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด, เพื่อช่วยในการออกแบบและประยุกต์ใช้ วัสดุ, โครงสร้าง, เครื่องจักร, เครื่องมือ, ระบบ และ กระบวนการ เพื่อการตอบสนองต่อจุดประสงค์ที่ต้องการได้อย่างปลอดภัยและเชื่อถือได้ American Engineers' Council for Professional Development (ECPD, ซึ่งต่อมาคือ ABET) ได้ให้นิยามเกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์เอาไว้ดังนี้.

ใหม่!!: วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์และวิศวกรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกรรมไฟฟ้า

วิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering) เป็นสาขาที่ศึกษาทฤษฏีและการประยุกต์ใช้ ไฟฟ้า, คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ผู้ที่ประกอบวิชาชีพในสาขานี้เรียกว่า วิศวกรไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเป็นสาขาที่กว้างประกอบไปด้วยหลายสาขาย่อ.

ใหม่!!: วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์และวิศวกรรมไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาการหุ่นยนต์

ว์ มือหุ่นยนต์ วิทยาการหุ่นยนต์ เป็นศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบ การผลิต และการประยุกต์ใช้งานหุ่นยนต์ วิทยาการหุ่นยนต์เกี่ยวข้องกับ อิเล็กทรอนิกส์, กลศาสตร์, และ ซอฟต์แวร.

ใหม่!!: วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์และวิทยาการหุ่นยนต์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ก่อตั้งด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาลญี่ปุ่น โดยเน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งอยู่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (เอสไอไอที) เป็นสถาบันการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และการจัดการ สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์Nishino, Fumio and Taweep Chaisomphob, 1997,, Inauguration of the Institute's New Name 'Sirindhorn International Institute of Technology', Commemorative publication, pp.18-24.

ใหม่!!: วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์และสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

หุ่นยนต์

อาซีโม คือ android หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์ของบริษัทฮอนด้า ชนิดหนึ่งที่มีลักษณะโครงสร้างและรูปร่างแตกต่างกันและคล้ายคลึงกับมนุษย์ หุ่นยนต์ในแต่ละประเภทจะมีหน้าที่การทำงานในด้านต่าง ๆ ตามการควบคุมโดยตรงของมนุษย์ การควบคุมระบบต่าง ๆ ในการสั่งงานระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ สามารถทำได้โดยทางอ้อมและอัตโนมัติ โดยทั่วไปหุ่นยนต์ถูกสร้างขึ้นเพื่อสำหรับงานที่มีความยากลำบากเช่น งานสำรวจในพื้นที่บริเวณแคบหรืองานสำรวจดวงจันทร์ดาวเคราะห์ที่ไม่มีสิ่งมีชีวิต ปัจจุบันเทคโนโลยีของหุ่นยนต์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านอุตสาหกรรมการผลิต แตกต่างจากเมื่อก่อนที่หุ่นยนต์มักถูกนำไปใช้ ในงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันมีการนำหุ่นยนต์มาใช้งานมากขึ้น เช่น หุ่นยนต์ที่ใช้ในทางการแพทย์ หุ่นยนต์สำหรับงานสำรวจ หุ่นยนต์ที่ใช้งานในอวกาศ หรือแม้แต่หุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเล่นของมนุษย์ จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาให้หุ่นยนต์นั้นมีลักษณะที่คล้ายมนุษย์ เพื่อให้อาศัยอยู่ร่วมกันกับมนุษย์ ให้ได้ในชีวิตประจำวันได้ หุ่นยนต์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการใช้งาน คือ 1.หุ่นยนต์ชนิดที่ติดตั้งอยู่กับที่ (fixed robot) เป็นหุ่นยนต์ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนได้ด้วยตัวเอง มีลักษณะเป็นแขนกล สามารถขยับและเคลื่อนไหวได้เฉพาะแต่ละข้อต่อ ภายในตัวเองเท่านั้น มักนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่นโรงงานประกอบรถยนต์ 2.

ใหม่!!: วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์และหุ่นยนต์ · ดูเพิ่มเติม »

หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์

อาซิโม ของฮอนด้า ตัวอย่างหนึ่งของหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ (อังกฤษ: humanoid robot) คือหุ่นยนต์ที่ออกแบบขึ้นมาโดยมีพื้นฐานมาจากร่างกายมนุษย์ โดยทั่วไปแล้วหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์มีลำตัวพร้อมหัว สองแขน และสองขา แม้หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์บางรูปแบบจะจำลองเฉพาะบางส่วนของร่างกายเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ตัวแต่เอวขึ้นไป หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์บางตัวยังอาจมี 'ใบหน้า' พร้อม 'ตา' และ 'ปาก' อีกด้วย แอนดรอยด์ (android) คือหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ที่สร้างเลียนแบบมนุษย์เพศชาย และ gynoid คือหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ที่สร้างเลียนแบบมนุษย์เพศหญิง หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์เป็นหุ่นยนต์อัตโนมัติ เนื่องจากมันสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมหรือตัวมันเอง และยังคงทำงานต่อเพื่อบรรลุเป้าหมาย สิ่งนี้เป็นข้อแตกต่างหลักระหว่างฮิวแมนนอยด์และหุ่นยนต์ชนิดอื่น เช่นหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ที่ใช้ปฏิบัติภารกิจในสภาพแวดล้อมที่มีโครงสร้างชัดเจนมาก ในบริบทนี้ ความสามารถของหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์อาจรวมถึง แต่ไม่จำกัดแค่สิ่งเหล่านี้.

ใหม่!!: วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์และหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีระบบควบคุม

ระบบควบคุมมีความสำคัญอย่างมากในการปล่อยจรวดและยานอวกาศ ทฤษฎีระบบควบคุม (control theory) เป็นสาขาหนึ่งของคณิตศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ในที่นี้ การควบคุมหมายถึง การควบคุมระบบพลศาสตร์ ให้มีค่าเอาต์พุตที่ต้องการ โดยการป้อนค่าอินพุตที่เหมาะสมให้กับระบบ ตัวอย่างที่เห็นได้ทั่วไป เช่น ระบบควบคุมอุณหภูมิห้องของเครื่องปรับอากาศ หรือ แม้แต่ลูกลอยในโถส้วม ที่เปิดน้ำปิดน้ำโดยอัตโนมัติเมื่อน้ำหมดและน้ำเต็ม การควบคุมการขับเคลื่อนยานพาหนะ เช่น รถยนต์ ก็ถือเป็นการควบคุมชนิดหนึ่ง โดยผู้ขับขี่เป็นผู้ควบคุมทิศทางและความเร็ว ซึ่งระบบควบคุมประเภทที่ต้องมีคนเข้ามาเกี่ยวข้องนี้ถือว่าเป็น ระบบควบคุมไม่อัตโนมัติ (manual control) แต่ทฤษฎีระบบควบคุมจะครอบคลุมเฉพาะการวิเคราะห์และออกแบบ ระบบควบคุมอัตโนมัติ (automatic control) เท่านั้น เช่น ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ (cruise control) ระบบควบคุมยังอาจแบ่งออกได้เป็นระบบควบคุมวงเปิด (open-loop control) คือ ระบบควบคุมที่ไม่ได้ใช้สัญญาณจากเอาต์พุต มาบ่งชี้ถึงลักษณะการควบคุม ส่วนระบบควบคุมวงปิด (closed-loop control) หรือ ระบบป้อนกลับ (feedback control) นั้นจะใช้ค่าที่วัดจากเอาต์พุต มาคำนวณค่าการควบคุม นอกจากนี้ยังอาจแบ่งได้ตามคุณลักษณะของระบบ เช่น เป็นเชิงเส้น (linear) / ไม่เป็นเชิงเส้น (nonlinear), แปรเปลี่ยนตามเวลา (time-varying) / ไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลา (time-invariant) และเวลาต่อเนื่อง (Continuous time) / เวลาไม่ต่อเนื่อง (Discontinuous time).

ใหม่!!: วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์และทฤษฎีระบบควบคุม · ดูเพิ่มเติม »

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นหน่วยงานระดับคณะ ในสังกัด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เริ่มเปิดทำการเรียนการสอนเมื่อปี..

ใหม่!!: วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

ณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร.

ใหม่!!: วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง แต่เดิมเป็นเพียง"ศูนย์ฝึกโทรคมนาคมนนทบุรี" ก่อนจะยกฐานะเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็น 1 ใน 7 คณะของสถาบัน มีทั้งสิ้น 13 ภาควิชา ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามสำนักหอสมุดกลาง และมีพื้นที่ติดกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร.

ใหม่!!: วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง · ดูเพิ่มเติม »

นาโอะ (หุ่นยนต์)

ตัวอย่างหุ่นยนต์นาโอะที่จอร์เจียเทค นาโอะ (Nao) เป็นหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ขนาดกลาง พัฒนาโดยบริษัท Aldebaran Robotics จากประเทศฝรั่งเศส แม้ว่าจะมีการใช้นาโอะ (Academics Edition) ตามมหาวิทยาลัยและห้องทดลองหลายแห่งเพื่อจุดประสงค์ทางการวิจัย ในขณะนี้ยังไม่มีการวางจำหน่ายนาโอะตามท้องตลาดทั่วไปจนกว่าปลายปี..

ใหม่!!: วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์และนาโอะ (หุ่นยนต์) · ดูเพิ่มเติม »

โรโบคัพ

การแข่งขันโรโบคัพปี ค.ศ. 2004 ที่ลิสบอน ประเทศโปรตุเกส โรโบคัพ (Robocup) คือการแข่งขันหุ่นยนต์อัตโนมัติระดับนานาชาติ จุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาวิจัย ค้นคว้าและพัฒนาศาสตร์ทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (หุ่นยนต์) เริ่มจัดครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์และโรโบคัพ · ดูเพิ่มเติม »

เอบียูโรบอตคอนเทสต์

อบียูโรบอตคอนเทสต์ (อังกฤษ: ABU Robot Contest หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ABU Robocon) เป็นการการแข่งขันหุ่นยนต์ของนักเรียน นักศึกษาในระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยจะมีประเทศที่เป็นสมาชิกของเอบียูหมุนเวียนจัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพในทุกปี ซึ่งยังคงจัดการแข่งขันอยู่จนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์และเอบียูโรบอตคอนเทสต์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Mechatronicsวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์แมคคาทรอนิกส์เมคคาทรอนิกส์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »