เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

วิวัฒนาการ

ดัชนี วิวัฒนาการ

ในด้านชีววิทยา วิวัฒนาการ (Evolution) คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก โดยอาศัยยีนเป็นตัวกลางในการส่งผ่านลักษณะทางพันธุกรรม อันเป็นพื้นฐานของการเกิดวิวัฒนาการ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในประชากรเพื่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมเมื่อสิ่งมีชีวิตให้กำเนิดลูกหลานย่อมเกิดลักษณะใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะเดิม โดยลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ประการหนึ่ง เกิดจากกระบวนการกลายพันธุ์ของยีน และอีกประการหนึ่ง เกิดจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างประชากร และระหว่างสปีชีส์ ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สิ่งมีชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นจะผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนยีน อันก่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมที่หลากหลายในสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อความแตกต่างทางพันธุกรรมเกิดขึ้น จนเกิดความแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นลักษณะที่แตกต่างกัน กลไกในการเกิดวิวัฒนาการแบ่งได้ 2 กลไก กลไกหนึ่งคือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) อันเป็นกระบวนการคัดเลือกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมที่จะอยู่รอด และสืบพันธุ์จนได้ลักษณะที่เหมาะสมที่สุด และลักษณะที่ไม่เหมาะสมจะเหลือน้อยลง กลไกนี้เกิดขึ้นเพื่อคัดเลือกลักษณะของประชากรที่เกิดประโยชน์ในการสืบพันธุ์สูงสุด เมื่อสิ่งมีชีวิตหลายรุ่นได้ผ่านพ้นไป ก็จะเกิดกระบวนการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม กลไกที่สองในการขับเคลื่อนกระบวนการวิวัฒนาการคือการแปรผันทางพันธุกรรม (genetic drift) อันเป็นกระบวนการอิสระจากการคัดเลือกความถี่ของยีนประชากรแบบสุ่ม การแปรผันทางพันธุกรรมเป็นผลมาจากการอยู่รอด และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต แม้ว่าการแปรผันทางพันธุกรรมในแต่ละรุ่นนั้นจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ลักษณะเหล่านี้จะสะสมจากรุ่นสู่รุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยในสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเวลาผ่านไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในลักษณะของสิ่งมีชีวิต กระบวนการดังกล่าวเมื่อถึงจุดสูงสุดจะทำให้กำเนิดสปีชีส์ชนิดใหม่ แม้กระนั้น ความคล้ายคลึงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตมีข้อเสนอที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการสืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษ (หรือยีนพูลของบรรพบุรุษ) เมื่อผ่านกระบวนการนี้จะก่อให้เกิดความหลากหลายมากขึ้นทีละเล็กละน้อย เอกสารหลักฐานทางชีววิทยาวิวัฒนาการชี้ให้เห็นว่ากระบวนการวิวิฒนาการเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ทฤษฎีอยู่ในช่วงของการทดลอง และพัฒนาในสาเหตดังกล่าว การศึกษาซากฟอสซิล และความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตทำให้นักวิทยาศาสตร์ช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่เชื่อว่าสปีชีส์มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดในระยะเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กระบวนการที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นปริศนาต่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป จนกระทั่งปี พ.ศ.

สารบัญ

  1. 234 ความสัมพันธ์: Anterior cingulate cortexชมูบรรพบุรุษชั้นพอลิพลาโคฟอราชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไคชั้นไบวาลเวียชาลส์ ดาร์วินชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับชีววิทยาชีววิทยาวิวัฒนาการชีวิตบทนำพันธุศาสตร์พ.ศ. 2379พ.ศ. 2540พระผู้สร้างพันธุศาสตร์พิสัยการได้ยินกรรมพันธุ์กระต่ายกะโหลกศีรษะกะโหลกศีรษะมนุษย์กะเทย (ชีววิทยา)กายวิภาคศาสตร์การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จการกลายเป็นกระดูกการรับรู้รสการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศการสืบเชื้อสายร่วมกันการอุทธรณ์โดยผลการจัดการทรัพยากรมนุษย์การถ่ายโอนสัญญาณการคัดเลือกโดยธรรมชาติการปรับตัวการปรับตัว (ชีววิทยา)การปรับตัว (นิเวศวิทยา)การปรับตัวไม่ดีการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยงการแผ่ปรับตัวการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกการโทรศัพท์ภาพการเกิดสปีชีส์การเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจงการเปลี่ยนแปลงทางโครงกระดูกของมนุษย์เนื่องจากการเดินด้วยสองเท้ากาลานุกรมวิวัฒนาการมนุษย์มหาวิทยาลัยเอดินบะระมานุษยวิทยากายภาพมนุษย์ชวามนุษย์กลายพันธุ์มนุษย์โบราณยุคพาลีโอจีน... ขยายดัชนี (184 มากกว่า) »

Anterior cingulate cortex

ษาอังกฤษว่า anterior cingulate cortex (ตัวย่อ ACC) หมายถึงส่วนหน้าของเปลือกสมองส่วน cingulate cortex ซึ่งมีรูปคล้ายกับ "คอเสื้อ" ที่ล้อมส่วนหน้าของใยประสาทเชื่อมซีกสมองที่เรียกว่า corpus callosum ประกอบด้วยบริเวณบรอดมันน์ 24, 32, และ 33 ทำหน้าที่ต่าง ๆ มากมายเป็นส่วนของระบบประสาทอิสระ (autonomic nervous system) รวมทั้งควบคุมความดันเลือดและอัตราหัวใจเต้น เป็นต้น และยังทำหน้าที่ทางประชานเกี่ยวกับเหตุผลต่าง ๆ เช่น reward anticipation (ผ่านกระบวนการ classical conditioning) การตัดสินใจ การเห็นใจผู้อื่น การควบคุมความอยาก (impulse control) และการควบคุมอารมณ์ความรู้สึก ภาพ MRI แบ่งซ้ายขวา (sagittal) ส่วนเน้นสี แสดงตำแหน่งของ anterior cingulate cortex.

ดู วิวัฒนาการและAnterior cingulate cortex

ชมู

มู (shmoo; shmoon, shmoos (พหูพจน์)) เป็นตัวการ์ตูนรูปร่างคล้ายพินโบว์ลิ่งที่มีขาสั้น ๆ สร้างโดย อัล แคป (Al Capp; พ.ศ. 2452–2522) ตัวละครปรากฎครั้งแรกในการ์ตูนเรื่อง แอบเนอร์น้อย (Li'l Abner) เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม..

ดู วิวัฒนาการและชมู

บรรพบุรุษ

รรพบุรุษ คือ บิดาหรือมารดา หรือบิดาหรือมารดาของบรรพบุรุษ (คือ ปู่ย่าตายาย ทวด เทียด ขึ้นไป) บรรพบุรุษคือ "บุคคลใดซึ่งผู้หนึ่งสืบเชื้อสายมา ในทางกฎหมาย คือ บุคคลที่ยกมรดกให้" ปัจเจกบุคคลสองคนมีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมหากผู้หนึ่งเป็นบรรพบุรุษของอีกผู้หนึ่ง หรือแต่ก่อนมีบรรพบุรุษร่วมกัน ในทฤษฎีวิวัฒนาการ สปีชีส์ซึ่งมีบรรพบุรุษทางวิวัฒนาการร่วมเรียกว่า ผู้สืบเชื้อสายร่วม (common descent) ทว่า มโนทัศน์นี้ไม่ใช้กับแบคทีเรียหรือสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่สามารถถ่ายทอดยีนในแนวราบ หากสมมติว่าบรรพบุรุษของทุกคนบนโลกไม่มีความเกี่ยวข้องกัน โดยปัจเจกบุคคลมีบรรพบุรุษ 2n คนในชั่วคนที่ n ก่อนหน้าเขา และมีบรรพบุรุษทั้งสิ้นประมาณ 2g+1 คนใน g ชั่วคนก่อนหน้าเขา ทว่า ในทางปฏิบัติชัดเจนว่าบรรพบุรุษมนุษย์ส่วนใหญ่ (และสปีชีส์อื่นทั้งหมด) มีความสัมพันธ์กันแบบทวีคูณ พิจารณา n.

ดู วิวัฒนาการและบรรพบุรุษ

ชั้นพอลิพลาโคฟอรา

ระวังสับสนกับ: ลิ้นทะเล ชั้นพอลิพลาโคฟอรา (ชั้น: Polyplacophora) เป็นมอลลัสคาชั้นหนึ่ง มีชื่อเรียกในชื่อสามัญว่า ลิ่นทะเล หรือ หอยแปดเกล็ด (Chiton) อาศัยอยู่ในทะเล จัดเป็นมอลลัสคาจำพวกหนึ่งที่มีลักษณะแตกต่างไปจากมอลลัสคาชั้นอื่น ๆ กล่าวคือ แทนที่จะเปลือกหรือฝาเดียวหรือสองฝา แต่กลับมีมากถึง 7-8 ชิ้น ที่แยกออกจากกันแต่ก็ยึดเข้าไว้ด้วยกันทางด้านบนลำตัวเหมือนชุดเกราะ มีวิวัฒนาการที่ต้องแนบลำตัวดัดไปตามพื้นผิวแข็งขรุขระใต้ทะเลเพื่อแทะเล็มสาหร่ายทะเลและพืชทะเลที่เจริญเติบโตบนหิน ขณะที่ในบางชนิดก็ดักซุ่มรอกินเหยื่อตัวเล็ก ๆ ที่เคลื่อนผ่านไปมา ชั้นพอลิพลาโคฟอรานั้นวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษที่มีอายุยาวนานกว่า 500 ล้านปี โดยที่ในปัจจุบัน ก็มิได้เปลี่ยนแปลงรูปร่างไปจากเดิมมากน้อยเท่าไหร่นัก โดยมีลำตัวเป็นวงรีคล้ายรูปไข่ มักพบอาศัยอยู่ตามโขดหินตามริมชายฝั่ง ปัจจุบันนี้พบแล้วทั้งหมด 900-1,000 ชนิด โดยศัพท์คำว่า "Polyplacophora" นั้น แปลได้ว่า "ผู้มีหลายเกล็ด".

ดู วิวัฒนาการและชั้นพอลิพลาโคฟอรา

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค

ั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค (ชั้นย่อย: Elasmobranchii) เป็นชั้นย่อยของปลาในชั้นปลากระดูกอ่อน เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ปลาในชั้นนี้มีวิวัฒนาการมาจากยุคดีโวเนียนยุคต้น (เมื่อ 400 ล้านปีก่อน) จนถึงปัจจุบัน ลักษณะสำคัญของปลาในชั้นนี้คือ ไม่มีถุงลมช่วยในการว่ายน้ำ มีช่องเหงือกทั้งหมด 5-7 คู่เปิดออกสู่ภายนอกเพื่อใช้ในการหายใจ ครีบหลังแข็งมีเกล็ดแบบสาก มีฟันที่แข็งแรงหลายชุดในปาก ปากอยู่ต่ำลงมาทางด้านท้อง มีขากรรไกรที่ไม่เชื่อมติดกับกะโหลก และเมื่อเจริญเติบโตขึ้นกระดูกอ่อนจะแทนที่ด้วยกระดูกสันหลัง รูจมูกทั้ง 2 ข้างไม่ทะลุเข้าช่องปาก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมอง 10 คู่ มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศด้วยการปฏิสนธิภายใน โดยที่ออกลูกเป็นตัว ตัวอ่อนเจริญในท่อรังไข่ เพศผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นแท่ง 1 คู่ซึ่งวิวัฒนาการมาจากครีบ อยู่บริเวณกระดูกเชิงกราน บริเวณครีบท้อง ใช้สำหรับผสมพันธุ์และปล่อยอสุจิ ขณะที่เพศเมียจะมีช่องคลอด เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก.

ดู วิวัฒนาการและชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค

ชั้นไบวาลเวีย

ั้นไบวาลเวีย (ชั้น: Bivalvia) เป็นมอลลัสคาชั้นหนึ่ง ที่ยังคงสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน โดยวิวัฒนาการให้อาศัยอยู่ได้ทั้งในทะเลและน้ำจืด มีชื่อเรียกในภาษาสามัญว่า หอยฝาคู่ หรือ หอยสองฝา หรือ หอยเปลือกคู่ หรือ หอบกาบคู.

ดู วิวัฒนาการและชั้นไบวาลเวีย

ชาลส์ ดาร์วิน

ลส์ โรเบิร์ต ดาร์วิน (Charles Robert Darwin FRS; 12 กุมภาพันธ์ 1809 – 19 เมษายน 1882) เป็นนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้ทำการปฏิวัติความเชื่อเดิม ๆ เกี่ยวกับที่มาของสิ่งมีชีวิต และเสนอทฤษฎีซึ่งเป็นทั้งรากฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ และหลักการพื้นฐานของกลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) เขาตีพิมพ์ข้อเสนอของเขาในปี..

ดู วิวัฒนาการและชาลส์ ดาร์วิน

ชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับ

ันเดรดเกรตเตสต์บริทันส์ หรือ ชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับ (100 Greatest Britons) คือรายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศในปี..

ดู วิวัฒนาการและชาวบริติชผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับ

ชีววิทยา

ีววิทยา (Biology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล.

ดู วิวัฒนาการและชีววิทยา

ชีววิทยาวิวัฒนาการ

ีววิทยาวิวัฒนาการ (Evolutionary biology) เป็นสาขาย่อยของชีววิทยาที่ศึกษากระบวนการวิวัฒนาการที่ได้สร้างความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตบนโลก เริ่มตั้งแต่สิ่งมีชีวิตที่เป็นบรรพบุรุษร่วมเดียวกัน กระบวนการนี้รวมทั้ง การคัดเลือกโดยธรรมชาติ การสืบเชื้อสายร่วมกัน และการเกิดสปีชีส์ สาขานี้พัฒนามาจากการศึกษาที่นักชีววิทยาชาวอังกฤษ เซอร์ จูเลียน ฮักซ์ลีย์ เรียกว่า modern evolutionary synthesis (ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930) ซึ่งก็เป็นความรู้จากสาขาอื่น ๆ ทางชีววิทยาที่มีอยู่แล้วแต่ยังไม่ได้นำมารวมกันเป็นต้นว่าพันธุศาสตร์ นิเวศวิทยา systematics และบรรพชีวินวิทยา งานวิจัยในปัจจุบันได้ขยายรวมสถาปัตยกรรมทางพันธุกรรมในการปรับตัว, วิวัฒนาการเชิงโมเลกุล (molecular evolution), และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการวิวัฒนาการรวมทั้งการคัดเลือกทางเพศ การเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง และชีวภูมิศาสตร์ ส่วนสาขาที่ใหม่กว่าคือ ชีววิทยาพัฒนาการเชิงวิวัฒนาการ (evolutionary developmental biology, evo-devo) จะศึกษาว่าปัจจัยอะไรเป็นตัวควบคุมพัฒนาการของตัวอ่อน และดังนั้นจึงเป็นสาขาวิชาที่สังเคราะห์และรวมชีววิทยาการเจริญ (developmental biology) และสาขาอื่น ๆ ที่สังเคราะห์ความรู้ทางวิวัฒนาการต่าง.

ดู วิวัฒนาการและชีววิทยาวิวัฒนาการ

ชีวิต

ีวิต คือสถานะที่แยกสิ่งมีชีวิตหรืออินทรีย์ออกจากสิ่งไม่มีชีวิตหรืออนินทรีย์และสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว สิ่งมีชีวิตเติบโตผ่านกระบวนการสันดาป การสืบพันธุ์และ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อม สิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดสามารถพบได้ในชีวมณฑลของโลก ส่วนประกอบทั่วไปของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ - พืช สัตว์ เห็ดรา โพรทิสต์ อาร์เคีย และ แบคทีเรีย - คือ เซลล์ที่มีส่วนของน้ำและคาร์บอนเป็นหลัก และ เซลล์แหล่านี้ถูกเรียบเรียงอย่างซับซ้อนตามข้อมูลจากหน่วยพันธุกรรม สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการสันดาป เพิ่มความสามารถในการเจริญเติบโต ตอบสนองต่อสิ่งรอบตัว และ มีการปรับตัวและวิวัฒนาการโดยการผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาติ สิ่งที่มีคุณสมบัติเหล่านี้เท่านั้นที่ถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ชีวิต คือ หน่วยที่ต้องใช้พลังงาน มีคุณสมบัติทั้งกายภาพและชีวภาพดังต่อไปนี้.

ดู วิวัฒนาการและชีวิต

บทนำพันธุศาสตร์

ันธุศาสตร์คือวิชาที่ว่าด้วยพันธุกรรม (ยีน) และการทำงานของพันธุกรรม ซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถถ่ายทอดลักษณะต่างๆ จากรุ่นสู่รุ่นได้ เช่น เด็กมักมีหน้าตาเหมือนพ่อแม่ เนื่องจากได้รับพันธุกรรมมาจากพ่อแม่ วิชาพันธุศาสตร์จะพยายามค้นหาว่าลักษณะใดบ้างที่มีการถ่ายทอด และการถ่ายทอดลักษณะนั้นๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร ลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตจะถูกเรียกว่า "trait" ลักษณะบางอย่างแสดงออกเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ เช่น สีตา ความสูง น้ำหนัก ลักษณะบางอย่างมองเห็นไม่ได้หรือเห็นได้อย่างเช่นหมู่เลือดหรือความต้านทานโรค ลักษณะบางอย่างอาจเป็นผลจากการมีปฏิสัมพันธ์อย่างซับซ้อนระหว่างยีนและสิ่งแวดล้อม เช่น การเกิดมะเร็งหรือโรคหัวใจมีผลจากทั้งยีนและการปฏิบัติตัว เป็นต้น ยีนประกอบด้วยโมเลกุลขนาดยาวที่เรียกว่าดีเอ็นเอ ซึ่งมีการคัดลอกและถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น โมเลกุลดีเอ็นเอประกอบด้วยหน่วยย่อยมาต่อกันเป็นสายยาว ลำดับของหน่วยย่อยนี้เก็บข้อมูลทางพันธุกรรมเอาไว้ คล้ายกับที่ตัวอักษรแต่ละตัวมาเรียงกันและเก็บข้อมูลเอาไว้ในรูปของประโยค "ภาษา" ที่ดีเอ็นเอใช้เรียกว่ารหัสพันธุกรรม รหัสนี้จะถูกถอดรหัสโดยกลไกทางพันธุกรรมเพื่อ "อ่าน" ข้อมูลที่เก็บเอาไว้ในยีนในรูปของโคดอนที่แต่ละโคดอนประกอบด้วยรหัส 3 ตัว ข้อมูลเหล่านี้จะถูกทำไปใช้สร้างเป็นสิ่งมีชีวิต ข้อมูลในยีนยีนหนึ่งของสิ่งมีชีวิตหนึ่งๆ อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกันในสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ แต่ละตัว ยีนที่แตกต่างกันอาจให้ข้อมูลออกมาแตกต่างกันได้ โดยเรียกยีนหนึ่งๆ ในรูปแบบหนึ่งๆ ว่าอัลลีล ตัวอย่างเช่น อัลลีลหนึ่งของยีนที่ควบคุมสีผมสามารถสั่งให้ร่างกายสร้างเม็ดสีมากๆ ทำให้ผมมีสีดำ ในขณะที่อัลลีลอีกแบบหนึ่งของยีนเดียวกันอาจให้ข้อมูลที่แตกต่างออกไป ทำให้ไม่สามารถสร้างเม็ดสีได้ดีเท่า ผมจึงมีสีเทา เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงแบบสุ่มที่เกิดขึ้นในยีนเรียกว่าการกลายพันธุ์ และอาจทำให้เกิดอัลลีลใหม่ได้ การกลายพันธุ์อาจทำให้เกิดลักษณะใหม่ๆ ขึ้นมา เช่นอัลลีลผมสีดำอาจกลายพันธุ์ทำให้เกิดเป็นอัลลีลผมสีเทาได้ การเกิดลักษณะใหม่ขึ้นได้เช่นนี้เป็นส่วนสำคัญในการเกิดวิวัฒนาการ.

ดู วิวัฒนาการและบทนำพันธุศาสตร์

พ.ศ. 2379

ทธศักราช 2379 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1836 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ดู วิวัฒนาการและพ.ศ. 2379

พ.ศ. 2540

ทธศักราช 2540 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1997 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ดู วิวัฒนาการและพ.ศ. 2540

พระผู้สร้าง

ระยาห์เวห์ทรงสร้างอาดัม พระผู้สร้าง (Creator) หมายถึง พระเป็นเจ้า (ตามความเชื่อแบบเอกเทวนิยม) หรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ (ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม) ที่มีอำนาจบันดาลให้โลก (ทั้งเอกภพและจักรวาล) เกิดขึ้น.

ดู วิวัฒนาการและพระผู้สร้าง

พันธุศาสตร์

ีเอ็นเอเป็นโมเลกุลพื้นฐานของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ดีเอ็นเอแต่ละสายประกอบขึ้นจากสายโซ่นิวคลีโอไทด์จับคู่กันรอบกึ่งกลางกลายเป็นโครงสร้างที่ดูเหมือนบันไดซึ่งบิดเป็นเกลียว พันธุศาสตร์ (genetics) เป็นอีกสาขาหนึ่งของชีววิทยา ศึกษาเกี่ยวกับยีน การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม และความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต พันธุศาสตร์ว่าด้วยโครงสร้างเชิงโมเลกุลและหน้าที่ของยีน พฤติกรรมของยีนในบริบทของเซลล์สิ่งมีชีวิต (เช่น ความเด่นและอีพิเจเนติกส์) แบบแผนของการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น การกระจายของยีน ความแตกต่างทางพันธุกรรมและการเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต (เช่นการศึกษาหาความสัมพันธ์ของยีนตลอดทั่วทั้งจีโนม) เมื่อถือว่ายีนเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด พันธุศาสตร์จึงเป็นวิชาที่นำไปใช้ได้กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งไวรัส แบคทีเรีย พืช สัตว์ และมนุษย์ (เวชพันธุศาสตร์) ได้มีการสังเกตมาแต่โบราณแล้วว่าสิ่งมีชีวิตมีการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเป็นความรู้ที่มนุษย์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ด้วยวิธีการคัดเลือกพันธุ์ อย่างไรก็ดี ความรู้พันธุศาสตร์สมัยใหม่ที่ว่าด้วยการพยายามทำความเข้าใจกระบวนการการถ่ายทอดลักษณะเช่นนี้เพิ่งเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเกรเกอร์ เมนเดล แม้เขาไม่สามารถศึกษาเจาะลึกไปถึงกระบวนการทางกายภาพของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม แต่ก็ค้นพบว่าลักษณะที่ถ่ายทอดนั้นมีแบบแผนจำเพาะ กำหนดได้ด้วยหน่วยพันธุกรรม ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า ยีน ยีนคือส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอซึ่งเป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดเชื่อมต่อกันเป็นสายยาว ลำดับนิวคลีโอไทด์สี่ชนิดนี้คือข้อมูลทางพันธุกรรมที่ถูกเก็บและมีการถ่ายทอดในสิ่งมีชีวิต ดีเอ็นเอตามธรรมชาติอยู่ในรูปเกลียวคู่ โดยนิวคลีโอไทด์บนแต่ละสายจะเป็นคู่สมซึ่งกันและกันกับนิวคลีโอไทด์บนสายดีเอ็นเออีกสายหนึ่ง แต่ละสายทำหน้าที่เป็นแม่แบบในการสร้างสายคู่ขึ้นมาได้ใหม่ นี่คือกระบวนการทางกายภาพที่ทำให้ยีนสามารถจำลองตัวเอง และถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้ ลำดับของนิวคลีโอไทด์ในยีนจะถูกแปลออกมาเป็นสายของกรดอะมิโน ประกอบกันเป็นโปรตีน ซึ่งลำดับของกรดอะมิโนที่มาประกอบกันเป็นโปรตีนนั้นถ่ายทอดออกมาจากลำดับของนิวคลีโอไทด์บนดีเอ็นเอ ความสัมพันธ์ระหว่างลำดับของนิวคลีโอไทด์และลำดับของกรดอะมิโนนี้เรียกว่ารหัสพันธุกรรม กรดอะมิโนแต่ละชนิดที่ประกอบขึ้นมาเป็นโปรตีนช่วยกำหนดว่าสายโซ่ของกรดอะมิโนนั้นจะพับม้วนเกิดเป็นโครงสร้างสามมิติอย่างไร โครงสร้างสามมิตินี้กำหนดหน้าที่ของโปรตีนนั้น ๆ ซึ่งโปรตีนมีหน้าที่ในกระบวนการเกือบทั้งหมดของเซลล์สิ่งมีชีวิต การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับดีเอ็นเอในยีนยีนหนึ่ง อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลำดับกรดอะมิโนในโปรตีน เปลี่ยนโครงสร้างโปรตีน เปลี่ยนการทำหน้าที่ของโปรตีน ซึ่งอาจส่งผลต่อเซลล์และสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ได้อย่างมาก แม้พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตจะมีบทบาทมากในการกำหนดลักษณะและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต แต่ผลสุดท้ายแล้วตัวตนของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ เป็นผลที่ได้จากการผสมผสานกันระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ประสบ ตัวอย่างเช่น ขนาดของสิ่งมีชีวิตไม่ได้ถูกกำหนดโดยยีนเพียงอย่างเดียว แต่ได้รับผลจากอาหารและสุขภาพของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ด้วย เป็นต้น.

ดู วิวัฒนาการและพันธุศาสตร์

พิสัยการได้ยิน

ัยการได้ยิน (Hearing range) หมายถึงพิสัยความถี่เสียงที่มนุษย์หรือสัตว์อื่น ๆ ได้ยิน แม้ก็อาจหมายถึงระดับความดังเสียงได้ด้วยเหมือนกัน มนุษย์ปกติจะได้ยินในพิสัยความถี่ 20-20,000 เฮิรตซ์ (Hz) แต่ก็จะต่างไปตามบุคคลพอสมควรโดยเฉพาะเสียงความถี่สูง และการสูญความไวเสียงความถี่สูงอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามอายุก็เป็นเรื่องปกติ ความไวต่อความถี่ต่าง ๆ แม้ในบุคคลก็ยังไม่เท่ากันอีกด้วย (ดูหัวข้อ เส้นชั้นความดังเสียงเท่า) มีสัตว์หลายอย่างที่สามารถได้ยินเสียงเกินพิสัยของมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น โลมาและค้างคาวสามารถได้ยินเสียงสูงจนถึง 100,000 Hz ช้างสามารถได้ยินเสียงต่ำจนถึง 14-16 Hz ในขณะที่วาฬบางชนิดสามารถได้ยินเสียงต่ำในน้ำจนถึง 7 Hz.

ดู วิวัฒนาการและพิสัยการได้ยิน

กรรมพันธุ์

กรรมพัน.

ดู วิวัฒนาการและกรรมพันธุ์

กระต่าย

กระต่ายสายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ดวอฟ ซึ่งเป็นกระต่ายสายพันธุ์เล็ก และนิยมเป็นสัตว์เลี้ยงกันมากที่สุดชนิดหนึ่ง กระต่าย (Rabbit) เป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับกระต่าย (Lagomorpha) ในวงศ์ Leporidae กระต่ายแม้จะมีฟันแทะเหมือนกับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) แต่ถูกจัดออกมาเป็นอันดับต่างหาก เนื่องมีจำนวนฟันที่ไม่เท่ากัน เพราะกระต่ายมีฟันแทะที่ขากรรไกรบน 2 แถว เรียงซ้อนกันแถวละ 2 ซี่ ฟันกรามบนข้างละ 6 ซี่ และฟันกรามล่างข้างละ 5 ซี่ เมื่อเวลาเคี้ยวอาหาร กระต่ายจะใช้ฟันทั้ง 2 ด้านเคี้ยวสลับกันไป ต่างจากสัตว์ฟันแทะโดยทั่วไปที่เคี้ยวเคลื่อนหน้าเคลื่อนหลัง ซึ่งสามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า (1\tfrac, C\tfrac, P\tfrac, M\tfrac) X 2.

ดู วิวัฒนาการและกระต่าย

กะโหลกศีรษะ

วาดแสดงมุมมองจากทางด้านหน้าของกะโหลกศีรษะของมนุษย์ กะโหลกศีรษะ เป็นโครงสร้างของกระดูกที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างที่สำคัญของส่วนศีรษะในสัตว์ในกลุ่มเครนิเอต (Craniate) หรือสัตว์ที่มีกะโหลกศีรษะ ซึ่งรวมทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด กะโหลกศีรษะทำหน้าที่ปกป้องสมองซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบประสาท รวมทั้งเป็นโครงร่างที่ค้ำจุนอวัยวะรับสัมผัสต่างๆ ทั้งตา หู จมูก และลิ้น และยังทำหน้าที่เป็นทางเข้าของทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ การศึกษาเกี่ยวกับกะโหลกศีรษะมีประโยชน์อย่างมากหลายประการ โดยเฉพาะการศึกษาในเชิงกายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบระหว่างสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ด้านบรรพชีวินวิทยาและความเข้าใจถึงลำดับทางวิวัฒนาการ นอกจากนี้การศึกษาลงไปเฉพาะกะโหลกศีรษะมนุษย์ก็มีประโยชน์อย่างมากในการศึกษาด้านนิติเวชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ รวมทั้งมานุษยวิทยาและโบราณคดี.

ดู วิวัฒนาการและกะโหลกศีรษะ

กะโหลกศีรษะมนุษย์

กะโหลกศีรษะมนุษย์ เป็นโครงสร้างของกระดูกที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างที่สำคัญศีรษะของมนุษย์ กะโหลกศีรษะทำหน้าที่ปกป้องสมองซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบประสาท รวมทั้งเป็นโครงร่างที่ค้ำจุนอวัยวะรับสัมผัสต่างๆ ทั้งตา หู จมูก และลิ้น และยังทำหน้าที่เป็นทางเข้าของทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ เมื่อแรกเกิดกะโหลกศีรษะจะประกอบด้วยกระดูกหลายชิ้นซึ่งเมื่อเจริญเติบโตขึ้นกระดูกเหล่านี้จะเกิดการสร้างเนื้อกระดูกและเชื่อมรวมกัน แม้ว่ากะโหลกศีรษะจะเป็นโครงสร้างที่มีความแข็งแรงก็ตาม การกระทบกระเทือนที่ศีรษะอย่างแรงก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตและพิการได้ ทั้งจากการบาดเจ็บจากเนื้อสมองโดยตรง การตกเลือดในสมอง และการติดเชื้อ การศึกษาเกี่ยวกับกะโหลกศีรษะของมนุษย์มีประโยชน์อย่างมากในการศึกษาด้านมานุษยวิทยาและโบราณคดี ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญทางบรรพชีวินวิทยา และยังช่วยให้เข้าใจถึงลำดับทางวิวัฒนาการ นอกจากนี้ในทางนิติเวชศาสตร์ กะโหลกศีรษะยังมีความสำคัญในการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลและการแยกความแตกต่างระหว่างเพศชายและหญิง ซึ่งมีประโยชน์ในการสืบสวนสอบสวนคดีอีกด้ว.

ดู วิวัฒนาการและกะโหลกศีรษะมนุษย์

กะเทย (ชีววิทยา)

หอยทาก ''Helix aspersa'' ขณะกำลังผสมพันธุ์กัน ''Hylocereus undatus'' ต้นไม้ที่เป็นกะเทยในดอกเดียวมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย Hermaphroditus บุตรแห่งเทพเจ้ากรีก Hermes และ Aphrodite ต้นกำเนิดของคำ "hermaphrodite" กะเทย (hermaphrodite) ในทางชีววิทยา หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่มีอวัยวะสืบพันธุ์ของทั้งเพศหญิงและเพศชายอยู่ในตัวเดียวกัน หรือมีอวัยวะเพศแบบก่ำกึ่งบอกไม่ได้แน่ว่าเป็นผู้หญิงหรือชาย หรือบางอวัยวะเป็นชาย บางอวัยวะเป็นหญิง กะเทยพบได้ในสิ่งมีชีวิตทั่วไปในอัตราที่แตกต่างกัน ในคนพบกะเทยได้เป็นส่วนน้อยแต่ในพืชและสัตว์หลายชนิดเป็นกะเทยทั้งหมดหรือเป็นกะเทยเป็นส่วนใหญ่ ในพืชการการผสมพันธุ์จะเกิดในดอกเดียวกัน ต้นเดียวกัน หรือข้ามต้นก็ได้ สัตว์ที่มีกำเนิดเป็นกะเทย เช่น ไส้เดือน หอยทาก ปลาบางชนิด ไส้เดือนแต่ละตัวมีทั้งอวัยวะเพศตัวผู้และตัวเมีย เวลาผสมพันธุ์ต้องผสมกับอีกตัวหนึ่ง โดยที่แต่ละตัวเป็นทั้งตัวผู้และตัวเมียพร้อมกัน อย่างไรก็ดีด้วยเหตุผลทางวิวัฒนาการสิ่งมีชีวิตมักมีกลไกป้องกันมิให้เกิดการปฏิสนธิในตนเอง (self-fertilization).

ดู วิวัฒนาการและกะเทย (ชีววิทยา)

กายวิภาคศาสตร์

หัวใจและปอดของมนุษย์ ภาพจากหนังสือ ''Gray's Anatomy'' กายวิภาคศาสตร์ (anatomia, มาจาก ἀνατέμνειν ana: การแยก และ temnein: การตัดเปิด) เป็นแขนงหนึ่งของวิชาชีววิทยา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต คำนี้หมายรวมถึงกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (human anatomy), กายวิภาคศาสตร์สัตว์ (animal anatomy หรือ zootomy) และกายวิภาคศาสตร์พืช (plant anatomy หรือ phytotomy) ในบางแง่มุมกายวิภาคศาสตร์ก็มีความเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับวิชาคัพภวิทยา (embryology), กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ (comparative anatomy) และคัพภวิทยาเปรียบเทียบ (phylogenetics หรือ comparative embryology) โดยมีรากฐานเดียวกันคือวิวัฒนาการ (evolution) กายวิภาคศาสตร์สามารถแบ่งออกได้เป็นมหกายวิภาคศาสตร์ (gross anatomy หรือ macroscopic anatomy) และจุลกายวิภาคศาสตร์ (microscopic anatomy) มหกายวิภาคศาสตร์ เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จุลกายวิภาคศาสตร์เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคขนาดเล็กซึ่งต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ มิญชวิทยา (histology) ซึ่งเป็นการศึกษาโครงสร้างของเนื้อเยื่อ และวิทยาเซลล์ (cytology) ซึ่งเป็นการศึกษาเซลล์ กายวิภาคศาสตร์มีประวัติศาสตร์เป็นเวลายาวนาน มีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่ของอวัยวะและโครงสร้างต่างๆ ของร่างกายอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกันกับวิธีการศึกษาที่พัฒนาอย่างรวดเร็วตั้งแต่การศึกษาจากสัตว์ไปจนถึงการชำแหละ (dissect) ศพมนุษย์ จนกระทั่งพัฒนาเทคนิคที่อาศัยเทคโนโลยีที่ซับซ้อนในศตวรรษที่ 20 วิชากายวิภาคศาสตร์นั้นต่างจากพยาธิกายวิภาค (anatomical pathology หรือ morbid anatomy) หรือจุลพยาธิวิทยา (histopathology) ซึ่งเป็นการศึกษาลักษณะทางมหภาคและจุลภาคของอวัยวะที่เป็นโร.

ดู วิวัฒนาการและกายวิภาคศาสตร์

การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ

สมมติฐานว่า "หงส์ทั้งหมดมีสีขาว" จะพิสูจน์ว่าจริงได้อย่างไร? พิสูจน์ว่าเท็จได้หรือไม่? การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ หรือ การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ (falsifiability, refutability) ของประพจน์ (บทความ, ข้อเสนอ) ของสมมติฐาน หรือของทฤษฎี ก็คือความเป็นไปได้โดยธรรมชาติที่จะพิสูจน์ว่ามันเป็นเท็จได้ ประพจน์เรียกว่า "พิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้" ถ้าเป็นไปได้ที่จะทำการสังเกตการณ์หรือให้เหตุผลที่คัดค้านลบล้างประพจน์นั้นได้ ยกตัวอย่างเช่น เพราะปัญหาของการอุปนัย (วิธีการใช้เหตุผลที่ดำเนินจากส่วนย่อยไปหาส่วนรวม) ไม่ว่าจะมีจำนวนการสังเกตการณ์เท่าไร ก็จะไม่สามารถพิสูจน์การกล่าวโดยทั่วไปได้ว่า "หงส์ทั้งหมดมีสีขาว" แต่ว่า มันเป็นไปได้โดยตรรกะหรือโดยเหตุผลที่จะพิสูจน์ว่าเท็จ เพียงโดยสังเกตเห็นหงส์ดำตัวเดียว ดังนั้น คำว่า "พิสูจน์ว่าเท็จได้" บางที่ใช้เป็นไวพจน์ของคำว่า "ตรวจสอบได้" (testability) แต่ว่าก็มีบางประพจน์ เช่น "ฝนมันจะตกที่นี่อีกล้านปี" ที่พิสูจน์ว่าเท็จได้โดยหลัก แต่ว่าทำไม่ได้โดยปฏิบัติ เรื่องการพิสูจน์ว่าเท็จได้กลายเป็นจุดสนใจเพราะคตินิยมทางญาณวิทยาที่เรียกว่า "falsificationism" (คตินิยมพิสูจน์ว่าเท็จ) ของนักปรัชญาวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ-อเมริกัน.

ดู วิวัฒนาการและการพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ

การกลายเป็นกระดูก

การกลายเป็นกระดูก หรือ การสร้างกระดูก เป็นกระบวนการสร้างเนื้อกระดูก โดยที่เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เช่นกระดูกอ่อนเปลี่ยนแปลงไปเป็นกระดูกหรือเนื้อเยื่อที่คล้ายกระดูก เนื้อเยื่อที่เกิดกระบวนการกลายเป็นกระดูกจะมีหลอดเลือดยื่นเข้าไปข้างใน หลอดเลือดเหล่านี้จะนำแร่ธาตุ เช่นแคลเซียม และเข้ามาในเนื้อเยื่อเพื่อให้เกิดการสร้างเนื้อกระดูกแข็ง การสร้างกระดูกเป็นกระบวนการที่เป็นพลวัต คือมีกระบวนการสร้างและสลายทดแทนกันอยู่ตลอด โดยมีเซลล์ออสติโอบลาสต์ (osteoblast) ทำหน้าที่พาเอาแร่ธาตุเข้ามา และมีออสติโอคลาสต์ (osteoclast) ทำหน้าที่สลายเนื้อกระดูก กระบวนการดังกล่าวนี้เรียกว่า กระบวนการก่อรูปกระดูก (bone remodeling) ซึ่งจะเกิดขึ้นตลอดช่วงชีวิต.

ดู วิวัฒนาการและการกลายเป็นกระดูก

การรับรู้รส

ตุ่มรับรส (Taste bud) รส หรือ รสชาติ (Taste, gustatory perception, gustation) เป็นเรื่องเกี่ยวกับประสาทสัมผัสหนึ่งในห้า (นับตามโบราณ) โดยเป็นความรู้สึกที่ได้จากระบบรู้รส (gustatory system) รสเป็นความรู้สึกที่ได้เมื่อสารในปากก่อปฏิกิริยาเคมีกับเซลล์รับรส (taste receptor cell) ที่อยู่ในตุ่มรับรส (taste bud) ในช่องปากโดยมากที่ลิ้น รสพร้อม ๆ กับกลิ่น และการกระตุ้นที่ประสาทไทรเจมินัล (ซึ่งทำให้รู้เนื้ออาหาร ความเจ็บปวด และอุณหภูมิ) จะเป็นตัวกำหนดความอร่อยของอาหารหรือสารอื่น ๆ กล่าวอีกอย่างก็คือ ระบบรู้รสจะตรวจจับโมเลกุลอาหารและเครื่องดื่มเป็นต้น โดยมากที่ละลายในน้ำหรือไขมันได้ ซึ่งเมื่อรวมกับข้อมูลจากระบบรู้กลิ่นและระบบรับความรู้สึกทางกาย จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของสารอาหาร ปริมาณ และความปลอดภัยของสิ่งที่เข้ามาในปาก มีรสชาติหลัก ๆ 5 อย่างคือ หวาน เปรี้ยว เค็ม ขม และอุมะมิ ซึ่งรู้ผ่านวิถีประสาทที่แยกจากกัน ส่วนการรับรู้รสแบบผสมอาจเกิดขึ้นที่เปลือกสมองส่วนการรู้รสโดยประมวลข้อมูลที่ได้ในเบื้องต้นจากหน่วยรับรสหลัก ๆ การรับรู้รสจะเริ่มตั้งแต่สารที่มีรสทำปฏิกิริยากับน้ำลายซึ่งท่วมตุ่มรับรสที่อยู่บนโครงสร้างต่าง ๆ เช่นปุ่มลิ้น ทำให้โมเลกุลรสมีโอกาสทำปฏิกิริยากับหน่วยรับรสที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรสซึ่งอยู่รวมตัวกันที่ตุ่มรับรส รสหวาน อุมะมิ และขม จะเริ่มจากการจับกันของโมเลกุลกับ G protein-coupled receptors ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์รับรส ส่วนความเค็มและความหวานจะรู้ได้เมื่อโลหะแอลคาไลหรือไอออนไฮโดรเจน (ตามลำดับ) ไหลเข้าไปในเซลล์รับรส ในที่สุดเซลล์รับรสก็จะลดขั้วแล้วส่งสัญญาณกลิ่นผ่านใยประสาทรับความรู้สึกไปยังระบบประสาทกลาง สมองก็จะประมวลผลข้อมูลรสซึ่งในที่สุดก็ทำให้รู้รส รสพื้นฐานจะมีส่วนต่อความรู้สึกอร่อยของอาหารในปาก ปัจจัยอื่น ๆ รวมทั้งกลิ่น ที่ตรวจจับโดยเยื่อบุผิวรับกลิ่นในจมูก, เนื้ออาหาร ที่ตรวจจับโดยตัวรับแรงกล และประสาทกล้ามเนื้อต่าง ๆ เป็นต้น, อุณหภูมิที่ตรวจจับโดยปลายประสาทรับร้อน, ความเย็น (เช่นที่ได้จากเมนทอล) กับรสเผ็สที่ได้จากตัวรับรู้สารเคมี, รูปลักษณ์ที่ปรากฏของอาหาร ที่เห็นได้ผ่านเซลล์รับแสงในจอตา, และสภาพทางจิตใจเอง เพราะเรารู้ทั้งรสที่เป็นอันตรายและมีประโยชน์ รสพื้นฐานทั้งหมดสามารถจัดเป็นไม่น่าพอใจ (aversive) หรือทำให้อยากอาหาร (appetitive) ความขมช่วยเตือนว่าอาจมีพิษ ในขณะที่ความหวานช่วยระบุอาหารที่สมบูรณ์ด้วยพลังงาน สำหรับมนุษย์ การรู้รสจะเริ่มลดลงราว ๆ อายุ 50 ปี เพราะการเสียปุ่มลิ้นและการผลิตน้ำลายที่น้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุมักทานรสจัดขึ้นเทียบกับเด็ก เช่น ต้องเติมเกลือ เติมพริกเป็นต้น ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อผู้มีความดันโลหิตสูงหรือมีปัญหาธำรงดุลอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย มนุษย์สามารถรู้รสแบบผิดปกติเพราะเป็นโรค dysgeusia สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดไม่ได้รู้รสได้เหมือน ๆ กัน สัตว์ฟันแทะบางชนิดสามารถรู้รสแป้ง (ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถ) แมวไม่สามารถรู้รสหวาน และสัตว์กินเนื้อหลายอย่างรวมทั้งหมาไฮยีน่า ปลาโลมา และสิงโตทะเลต่างก็ได้เสียการรู้รสชาติอาจถึง 4 อย่างจาก 5 อย่างที่บรรพบุรุษของพวกมันรู้.

ดู วิวัฒนาการและการรับรู้รส

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction) คือการสืบพันธุ์ที่ต้องมีการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ (สเปิร์ม) และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (ไข่) แล้วเกิดออกมาเป็นไซโกตและเจริญมาเป็นเอมบริโอในเวลาต่อม.

ดู วิวัฒนาการและการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

การสืบเชื้อสายร่วมกัน

ในสาขาชีววิทยาวิวัฒนาการ การสืบเชื้อสายร่วมกัน หรือ การสืบสกุลร่วมกัน (Common descent) เป็นทฤษฎีที่อธิบายว่ากลุ่มสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ ได้มีบรรพบุรุษร่วมกันใกล้สุด (most recent common ancestor, MRCA) อย่างไร มีหลักฐานว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลกสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษร่วมกัน และในปี 2559 นักวิทยาศาสตร์ก็ได้ระบุยีน 355 ตัวจากบรรพบุรุษร่วมกันของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลก สิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กันจะมีบรรพบุรุษร่วมกันในช่วงการเกิดสปีชีส์ ที่สปีชีส์ต่าง ๆ จะกำเนิดจากกลุ่มบรรพบุรุษเดียวกัน โดยกลุ่มที่มีบรรพบุรุษร่วมกันใกล้กันกว่า ก็จะเป็นญาติใกล้ชิดกันมากกว่า และสิ่งมีชีวิตที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งหมดก็ได้มีบรรพบุรุษร่วมกันที่เรียกว่า บรรพบุรุษร่วมที่ใกล้กันที่สุดของสิ่งมีชีวิตบนโลก (LUCA) ซึ่งมีชีวิตประมาณ 3,900 ล้านปีก่อน (โดยโลกเกิดเมื่อ 4,450 ล้านปี ± 1% ก่อน) หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของสิ่งมีชีวิตบนโลก 2 ชิ้นก็คือ.

ดู วิวัฒนาการและการสืบเชื้อสายร่วมกัน

การอุทธรณ์โดยผล

การอุทธรณ์โดยผล"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ appeal ว่า "การอุทธรณ์" (Appeal to consequences, argumentum ad consequentiam, คำละตินแปลว่า การให้เหตุผลโดยผลที่จะเกิดขึ้น) เป็นการให้เหตุผลที่สรุปว่าสมมติฐาน (โดยทั่ว ๆ ไปเป็นความเชื่อ) เป็นจริงหรือไม่จริง อาศัยเพียงว่าประเด็นที่ตั้งขึ้นจะนำไปสู่ผลที่น่าพึงใจหรือไม่น่าพึงใจ การให้เหตุผลเช่นนี้อาศัย การอุทธรณ์โดยอารมณ์ (appeal to emotion) และเป็นเหตุผลวิบัติชนิดหนึ่ง เพราะว่า ความน่าพึงใจของผลไม่ได้ทำให้เหตุผลนั้นเป็นจริง นอกจากนั้นแล้ว เพราะมีการจำแนกว่า ผลนั้นน่าพึงใจหรือไม่น่าพึงใจ การให้เหตุผลเช่นนี้จะมีมุมมองที่เป็นอัตวิสัยโดยธรรมชาติ คือเป็นจริงสำหรับบางบุคคลเท่านั้น (เทียบกับเหตุผลที่ควรจะเป็นปรวิสัย คือเป็นความจริงกับทุก ๆ คน).

ดู วิวัฒนาการและการอุทธรณ์โดยผล

การจัดการทรัพยากรมนุษย์

การจัดการทรัพยากรมนุษย์ หรือ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ การใช้กลยุทธ์เชิงรุกที่มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดในองค์กร นั่นคือบุคคลที่ทำงานทั้งกรณีที่ทำงานรวมกันและกรณีที่ทำงานคนเดียวเพื่อบรรลุเป้าหมายในการประกอบธุรกิจใดๆ กลยุทธ์ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์นั้นจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปตามเวลาและสถานการณ์ จึงต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้ในธุรกิจหลากหลายประเภทและขนาดจึงมีแผนกหรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์โดยเฉพาะ ซึ่งขนาดของแผนกหรือหน่วยงานนั้น จะมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจเองรวมถึงความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ด้วยว่าสำคัญยิ่งยวดมากน้อยเพียงใด การจัดการทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นทั้งทฤษฎีในเชิงวิชาการและแบบปฏิบัติในธุรกิจที่ศึกษาวิธีการบริหารแรงงานทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัต.

ดู วิวัฒนาการและการจัดการทรัพยากรมนุษย์

การถ่ายโอนสัญญาณ

วิถีการถ่ายโอนสัญญาณหลัก ๆ (แบบทำให้ง่าย) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในเซลล์ การถ่ายโอนสัญญาณ หรือ การแปรสัญญาณ (signal transduction) เป็นกระบวนการทางเคมีหรือทางกายภาพโดยเป็นลำดับการทำงาน/ลำดับเหตุการณ์ในระดับโมเลกุล ที่โมเลกุลส่งสัญญาณ (ปกติฮอร์โมนหรือสารสื่อประสาท) จะเริ่มการทำงาน/ก่อสภาพกัมมันต์ของหน่วยรับ ซึ่งในที่สุดมีผลให้เซลล์ตอบสนองหรือเปลี่ยนการทำงาน โปรตีนที่ตรวจจับสิ่งเร้าโดยทั่วไปจะเรียกว่า หน่วยรับ (receptor) แม้ในบางที่ก็จะใช้คำว่า sensor ด้วย ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการจับของลิแกนด์กับหน่วยรับ (คือการพบสัญญาณ) จะก่อลำดับการส่งสัญญาณ (signaling cascade) ซึ่งเป็นลำดับเหตุการณ์ทางเคมีชีวภาพตามวิถีการส่งสัญญาณ (signaling pathway) เมื่อวิถีการส่งสัญญาณมากกว่าหนึ่งมีปฏิสัมพันธ์กับกันและกัน นี่ก็จะกลายเป็นเครือข่าย เป็นการประสานการตอบสนองของเซลล์ บ่อยครั้งโดยเป็นการส่งสัญญาณแบบร่วมกัน ในระดับโมเลกุล การตอบสนองเช่นนี้รวม.

ดู วิวัฒนาการและการถ่ายโอนสัญญาณ

การคัดเลือกโดยธรรมชาติ

Modern biology began in the nineteenth century with Charles Darwin's work on natural selection. การคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) เป็นขบวนการแบบค่อยเป็นค่อยไปและไม่สุ่ม ซึ่งลักษณะทางชีววิทยาจะพบมากขึ้นหรือน้อยลงในประชากรเป็นหน้าที่ของการสืบพันธุ์แตกต่างกันของผู้ให้กำเนิด มันเป็นกลไกสำคัญของวิวัฒนาการ คำว่า "การคัดเลือกโดยธรรมชาติ" นั้น ถูกทำให้แพร่หลายโดย ชาลส์ ดาร์วิน ผู้ตั้งใจให้เทียบได้กับการคัดเลือกโดยมนุษย์ (artificial selection) หรือที่ปัจจุบันเรียกว่า การคัดเลือกพันธุ์ (selective breeding) การแปรผันเกิดขึ้นในประชากรสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ซึ่งบางส่วนเกิดขึ้นเพราะการกลายพันธุ์สุ่มในจีโนมของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง และการกลายพันธุ์นั้นถูกส่งต่อไปยังลูกหลาน ตลอดชีวิตของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ จีโนมของสิ่งมีชีวิตนั้นจะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมซึ่งทำให้ลักษณะมีการแปรผัน (varient) สิ่งแวดล้อมของจีโนม ได้แก่ ชีววิทยาโมเลกุลในเซลล์ เซลล์อื่น สิ่งมีชีวิตอื่น ประชากร สปีชีส์ เช่นเดียวกับสิ่งแวดล้อมอชีวนะ สิ่งมี่ชีวิตที่มีลักษณะแปรผันบางอย่างอาจมีชีวิตรอดและสืบพันธุ์ได้มากกว่าสิ่งมีชีวิตที่มีการแปรผันแบบอื่น ฉะนั้น ประชากรจึงเกิดวิวัฒนาการ ตัวอย่างเช่น ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการสืบพันธุ์เองก็สำคัญเช่นกัน และเป็นประเด็นที่ชาลส์ ดาร์วินบุกเบิกในความคิดการคัดเลือกทางเพศของเขา การคัดเลือกโดยธรรมชาติมีผลต่อฟีโนไทป์ หรือคุณลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่สังเกตได้ แต่พื้นฐานทางพันธุกรรมซึ่งสืบทอดได้ของฟีโนไทป์ใด ๆ ที่ให้ข้อได้เปรียบในการสืบพันธุ์จะกลายมาปรากฏมากขึ้นในประชากร (ดูที่ ความถี่แอลลีล) เมื่อเวลาผ่านไป ขบวนการนี้สามารถส่งผลให้ประชากรมีความพิเศษในระบบนิเวศ และอาจลงเอยด้วยการถือกำเนิดขึ้นของสปีชีส์ใหม่ หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า การคัดเลือกโดยธรรมชาติเป็นขบวนการที่สำคัญ แม้จะมิใช่ขบวนการเดียว ซึ่งทำให้วิวัฒนาการเกิดขึ้นในประชากรสิ่งมีชีวิต ในการคัดเลือกโดยธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมเสมือนเป็นตะแกรงที่การแปรผันบางอย่างเท่านั้นที่ผ่านไปได้.

ดู วิวัฒนาการและการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

การปรับตัว

การปรับตัว (adaptation) อาจหมายถึง.

ดู วิวัฒนาการและการปรับตัว

การปรับตัว (ชีววิทยา)

ในชีววิทยา คำว่า การปรับตัว (adaptation, adaptive trait) มีความหมาย 3 อย่างที่เกี่ยวข้องกัน คือ.

ดู วิวัฒนาการและการปรับตัว (ชีววิทยา)

การปรับตัว (นิเวศวิทยา)

ในสาขานิเวศวิทยาเชิงพฤติกรรม (behavioral ecology) พฤติกรรมปรับตัว (adaptive behavior) หรือ การปรับตัว เป็นพฤติกรรมที่ส่งผลโดยตรงหรือโดยอ้อมกับการรอดชีวิตหรือความสำเร็จในการสืบพันธุ์ของสัตว์ และดังนั้นจึงอยู่ใต้อิทธิพลของการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น การมีความลำเอียงต่อญาติพี่น้องในพฤติกรรมเพื่อประโยน์ผู้อื่น (altruistic behavior), การเลือกสัตว์ตัวผู้ที่เหมาะ (fit) ที่สุดโดยสัตว์ตัวเมียซึ่งเป็นการคัดเลือกทางเพศ (sexual selection), การป้องกันอาณาเขต (territory), หรือการป้องกันกลุ่มสัตว์ตัวเมีย (harem) ของตน ในนัยตรงกันข้าม พฤติกรรมไม่ปรับตัว (non-adaptive behavior) เป็นพฤติกรรมหรือลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) ที่มีผลร้ายต่อการอยู่รอดหรือความสำเร็จในการสืบพันธุ์ของสัตว์ ซึ่งอาจจะรวมทั้งพฤติกรรมเพื่อประโยน์ผู้อื่นที่ไม่มีความลำเอียงเพื่อญาติพี่น้อง การรับลูกของผู้ไม่ใช่ญาติมาเลี้ยง และความเป็นรองในสังคมที่มีการจัดความเป็นใหญ่ความเป็นรอง (dominance hierarchy) โดยสามัญ การปรับตัว (Adaptation) หมายถึงคำตอบหรือการแก้ปัญหาทางวิวัฒนาการ ต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการรอดชีวิตและการสืบพันธ์ ซึ่งเป็นปัญหาที่หมุนเวียนมาใหม่ไม่จบสิ้น ความแตกต่างในระหว่างบุคคลเกิดจากทั้งพฤติกรรมปรับตัวที่สืบทอดทางพันธุกรรมได้และสืบทอดไม่ได้ มีหลักฐานว่า พฤติกรรมทั้งสองมีอิทธิพลต่อวิวัฒนาการของพฤติกรรมปรับตัวของสปีชีส์ แม้ว่า จะมีประเด็นต่าง ๆ รวมทั้ง.

ดู วิวัฒนาการและการปรับตัว (นิเวศวิทยา)

การปรับตัวไม่ดี

การปรับตัวไม่ดี (maladaptation) เป็นลักษณะทางพันธุกรรม (trait) ที่/หรือว่าได้กลายเป็นมีโทษมากกว่ามีคุณ เทียบกับการปรับตัว (adaptation) ที่มีคุณมากกว่ามีโทษ สิ่งมีชีวิตทุกหน่วย ตั้งแต่แบคทีเรียจนถึงมนุษย์มีทั้งลักษณะที่ปรับตัวดีและไม่ดี โดยเหมือนกับการปรับตัวที่ดี การปรับตัวไม่ดีอาจเกิดขึ้นในระยะเวลาระดับธรณีกาล หรือแม้แต่ภายในช่วงอายุหนึ่งของสัตว์หรือกลุ่มสัตว์ มันอาจเป็นการปรับตัว ที่แม้จะสมเหตุสมผลในช่วงเวลานั้น ได้มีความเหมาะสมที่ลดลง ๆ และกลายมาเป็นปัญหาโดยตนเองเมื่อเวลาผ่านไปเรื่อย ๆ นี่เป็นเพราะว่าเป็นไปได้เมื่อเวลาผ่านไป ที่การปรับตัวที่ดีอย่างหนึ่ง จะกลายเป็นลักษณะที่ไม่เหมาะสมโดยการคัดเลือก หรือกลายมาเป็นการทำงานผิดปกติมากกว่าเป็นการปรับตัวที่ดี ให้สังเกตว่าแนวคิดในเรื่องนี้ ตามที่เริ่มกล่าวถึงในคริสต์ศตวรรษที่ 19 อาศัยมุมมองที่ผิดพลาดของทฤษฎีวิวัฒนาการ คือเชื่อกันว่า การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตมีแนวโน้มตามธรรมชาติที่จะเสื่อมลงแล้วกลายเป็นการปรับตัวที่ไม่ดี แล้วในที่สุดก็จะสร้างความพิการถ้าไม่คัดออกจากกรรมพันธุ์ แต่ความจริงแล้ว ประโยชน์ที่ได้จากการปรับตัวอย่างหนึ่งน้อยครั้งมากที่จะเป็นตัวตัดสินการอยู่รอดโดยตนเอง แต่ว่าเป็นสิ่งที่ดุลกับการปรับตัวที่เสริมกันและต่อต้านกันอื่น ๆ ซึ่งต่อ ๆ มาจะไม่สามารถเปลี่ยนโดยไม่มีผลต่อการปรับตัวอย่างอื่น ๆ ได้ หรือกล่าวอีกอย่างก็คือ ปกติแล้วจะไม่สามารถได้ประโยชน์จากการปรับตัวที่ดี โดยไม่มีราคาเป็นการปรับตัวที่ไม่ดี ลองพิจารณาตัวอย่างที่ดูง่าย ๆ คือ ปรากฏแล้วว่ามันยากมากที่สัตว์จะวิวัฒนาการการหายใจได้ทั้งในน้ำและบนบก และการปรับตัวให้หายใจได้ดีกว่าในที่หนึ่งก็จะทำให้แย่ลงในอีกที่หนึ่ง.

ดู วิวัฒนาการและการปรับตัวไม่ดี

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง (หรือ การทำให้เชื่อง) หรือ การปรับตัวเป็นไม้เลี้ยง (domestication, domesticus) เป็นทฤษฎีวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันระหว่างพืชหรือสัตว์ กับมนุษย์ผู้มีอิทธิพลในการดูแลรักษาและการสืบพันธุ์ของพวกมัน เป็นกระบวนการที่ประชากรสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมผ่านรุ่นโดยการคัดเลือกพันธุ์ (selective breeding) เพื่อเน้นลักษณะสืบสายพันธุ์ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ โดยมีผลพลอยได้เป็นความเคยชินของสิ่งมีชีวิตต่อการพึ่งมนุษย์ ทำให้พวกมันสูญเสียความสามารถในการดำรงชีวิตอยู่ตามธรรมชาติ ชาลส์ ดาร์วินเข้าใจถึงลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จำนวนไม่มากจำนวนหนึ่ง ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงต่างจากบรรพบุรุษพันธุ์ป่า เขายังเป็นบุคคลแรกที่เข้าใจความแตกต่างระหว่างการคัดเลือกพันธุ์แบบตั้งใจ ที่มนุษย์เลือกลักษณะสืบสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตโดยตรงเพื่อจะได้ลักษณะตามที่ต้องการ กับการคัดเลือกที่ไม่ได้ตั้งใจ ที่ลักษณะมีวิวัฒนาการไปตามการคัดเลือกโดยธรรมชาติ หรือตามการคัดเลือกอื่น ๆ สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงจะต่างจากสิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าทางพันธุกรรม และในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ก็ยังมีความแตกต่างกันระหว่างลักษณะสืบสายพันธุ์ที่นักวิจัยเชื่อว่า จำเป็นในระยะต้น ๆ ของกระบวนการปรับนำมาเลี้ยง (domestication trait) และลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อ ๆ มาหลังจากที่สิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าและพันธุ์เลี้ยงได้แยกออกจากกันแล้ว (improvement trait) คือลักษณะที่จำเป็นโดยทั่วไปมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงทั้งหมด และเป็นลักษณะที่คัดเลือกในระยะต้น ๆ ของกระบวนการ ในขณะที่ลักษณะที่พัฒนาต่อ ๆ มาจะมีอยู่ในบางพวกของสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ถึงแม้ว่าอาจจะมีแน่นอนในพันธุ์ (breed) ใดพันธุ์หนึ่งโดยเฉพาะ หรือในกลุ่มประชากรในพื้นที่โดยเฉพาะ การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง (domestication) ไม่ควรสับสนกับการทำสัตว์ให้เชื่อง (taming) เพราะว่า การทำให้เชื่องเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของสัตว์ป่า ให้กลัวมนุษย์น้อยลงและยอมรับการมีมนุษย์อยู่ใกล้ ๆ ได้ แต่ว่าการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง เป็นการเปลี่ยนพันธุกรรมของสัตว์พันธุ์ที่นำมาเลี้ยงอย่างถาวร เป็นการเปลี่ยนความรู้สึกของสัตว์ต่อมนุษย์โดยกรรมพันธุ์ สุนัขเป็นสิ่งมีชีวิตแรกที่ปรับนำมาเลี้ยง และแพร่หลายไปทั่วทวีปยูเรเชียก่อนการสิ้นสุดสมัยไพลสโตซีน ก่อนการเกิดขึ้นของเกษตรกรรม และก่อนการนำสัตว์อื่น ๆ ต่อ ๆ มามาเลี้ยง ข้อมูลทั้งทางโบราณคดีและทางพันธุกรรมแสดงนัยว่า การแลกเปลี่ยนยีน (gene flow) ที่เป็นไปทั้งสองทางระหว่างสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงกับพันธุ์ป่า เช่น ลา ม้า อูฐทั้งพันธุ์โลกเก่าและโลกใหม่ แพะ แกะ และหมู เป็นเรื่องสามัญ และเพราะความสำคัญของการนำสิ่งมีชีวิตมาเลี้ยงต่อมนุษย์ และคุณค่าของมันโดยเป็นแบบจำลองของกระบวนการวิวัฒนาการและของการเปลี่ยนแปลงทางประชากร การศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ จึงดึงดูดความสนใจของนักวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ รวมทั้งโบราณคดี บรรพชีวินวิทยา มานุษยวิทยา พฤกษศาสตร์ สัตววิทยา พันธุศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมสาขาต่าง ๆ สุนัขและแกะเป็นสิ่งมีชีวิตพันธุ์แรก ๆ ที่มนุษย์ปรับนำมาเลี้ยง.

ดู วิวัฒนาการและการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง

การแผ่ปรับตัว

ในชีววิทยาวิวัฒนาการ การแผ่ปรับตัว (adaptive radiation) เป็นกระบวนการที่สิ่งมีชีวิตเกิดความหลากหลายอย่างรวดเร็วจากสปีชีส์บรรพบุรุษเดียว กลายเป็นรูปแบบต่าง ๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะเมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปทำให้เกิดทรัพยากร เกิดอุปสรรค หรือเกิดวิถีการดำรงชีวิตที่เป็นไปได้ใหม่ ๆ กระบวนการจะเป็นเหตุการเกิดสปีชีส์และการปรับตัวทางฟีโนไทป์ของสปีชีส์หลากหลาย ที่กลายมีรูปร่างสัณฐานและสรีรภาพที่ต่างกัน โดยเริ่มจากบรรพบุรุษเดียวกันเร็ว ๆ นี้ ตัวอย่างหนึ่งก็คือนกสปีชีส์ต่าง ๆ ในวงศ์ย่อย Carduelinae (Hawaiian honeycreepers) ที่พบในหมู่เกาะฮาวาย คือผ่านกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ นกได้ปรับตัวอย่างรวดเร็วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ จนมีรูปร่างสัณฐานที่หลากหลาย มีงานวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับกระบวนการนี้เพราะมันมีผลที่น่าทึ่งใจต่อความหลากหลายของประชากรสิ่งมีชีวิต แต่ก็ยังต้องมีงานวิจัยต่อ ๆ ไปเพื่อให้เข้าใจอย่างสมบูรณ์ถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการ การศึกษาทั้งทางทฤษฎีและทางหลักฐานต่างก็มีประโยชน์ด้วยกันทั้งสอง แม้แต่ละอย่างก็มีข้อเสียเหมือนกัน และเพื่อให้ได้ความรู้มากที่สุด วิธีการศึกษาทั้งสองแบบต้องนำมารวมกัน.

ดู วิวัฒนาการและการแผ่ปรับตัว

การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก

การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ illusion ว่า "การลวงตา, การแปลสิ่งเร้าผิด, มายา, ภาวะลวงตา" (Positive illusions) เป็นทัศนคติเชิงบวกไม่สมจริง ที่มีต่อตนเองหรือต่อบุคคลที่ใกล้ชิด เป็นการแปลสิ่งเร้าผิดในรูปแบบของการหลอกลวงตนเอง (self-deception) หรือการยกย่องตนเอง (self-enhancement) ที่ทำให้รู้สึกดี ดำรงรักษาความเคารพตน (self-esteem) หรือช่วยกำจัดความไม่สบายใจอย่างน้อยก็ในช่วงเวลาสั้น ๆ มีรูปแบบใหญ่ ๆ 3 อย่างคือ ความเหนือกว่าเทียม (illusory superiority) ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี (optimism bias) และการแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ (illusion of control) ส่วนคำภาษาอังกฤษว่า "positive illusions" เกิดใช้เป็นครั้งแรกในงานปี 1988 ของเทย์เลอร์และบราวน์ โดยมีการกล่าวถึงภายหลังว่า "แบบจำลองสุขภาพจิตปี 1988 ของเทย์เลอร์และบราวน์ยืนยันว่า การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกบางอย่างแพร่หลายเป็นอย่างสูงในความคิดปกติ และเป็นตัวพยากรณ์ค่าเกณฑ์ที่ปกติสัมพันธ์กับสุขภาพจิตที่ดี" มีข้อถกเถียงที่ยังไม่ยุติว่า บุคคลแสดงปรากฏการณ์นี้อย่างสม่ำเสมอในขอบเขตแค่ไหน และปรากฏการณ์นี้มีประโยชน์อะไรกับบุคคลเหล่านั้น.

ดู วิวัฒนาการและการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก

การโทรศัพท์ภาพ

นหูหนวกกำลังโทรศัพท์ภาพในที่ทำงานเพื่อสื่อสารกับผู้ฟังในลอนดอน การโทรศัพท์ภาพ (Videotelephony หรือ Video Calling) เป็นเทคโนโลยีโทรคมนาคมสำหรับการรับและส่งสัญญาณเสียงวิดีโอโดยผู้ใช้ที่อยู่ในสถานที่ที่แตกต่างกันสำหรับการสื่อสารระหว่างผู้คนในแบบเรียลไทม์ ปัจจุบัน การโทรศัพท์ภาพเริ่มมีบทบาทมากในรัฐบาลของหลายประเทศ, การแพทย์, การศึกษา, ธุรกิจ และการข่าว และยังเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้พิการทางเสียง ที่จะสามารถใช้ภาษามือ ในการสื่อสาร โดยในปัจจุบันก็ได้มีซอฟต์แวร์ในลักษณะเช่นนี้อยู่มากมายสำหรับผู้คนทั่วไปได้ใช้งาน ไม่ว่าจะในคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือโทรศัพท์มือถือ อาทิ วินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์, สไกป์ หรือการเฟสไทม์ ในอุปกรณ์ไอโอเอส ซึ่งส่วนมากจะเป็นการส่งสัญญาณผ่านอินเทอร์เน็ต.

ดู วิวัฒนาการและการโทรศัพท์ภาพ

การเกิดสปีชีส์

การเกิดสปีชีส์ หรือ การเกิดชนิด (Speciation) เป็นกระบวนการทางวิวัฒนาการที่กลุ่มประชากรสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการเป็นสปีชีส์ต่าง ๆ กัน นักชีววิทยาชาวอเมริกันออเรเตอร์ เอฟ คุ๊ก (Orator F.

ดู วิวัฒนาการและการเกิดสปีชีส์

การเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง

ร์วินให้เป็น '''ทฤษฎีวิวัฒนาการสังเคราะห์แบบปัจจุบัน''' (Modern evolutionary synthesis) การเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง (Genetic drift, allelic drift, Sewall Wright effect) เป็นการเปลี่ยนความถี่รูปแบบยีน (คือ อัลลีล) ในกลุ่มประชากรเพราะการชักตัวอย่างอัลลีลแบบสุ่มของสิ่งมีชีวิต คือ อัลลีลที่พบในสิ่งมีชีวิตรุ่นลูก จะเป็นตัวอย่างของอัลลีลที่ชักมาจากพ่อแม่ โดยความสุ่มจะมีบทบาทกำหนดว่า สิ่งมีชีวิตรุ่นลูกนั้น ๆ จะรอดชีวิตแล้วสืบพันธุ์ต่อไปหรือไม่ ส่วน ความถี่อัลลีล (allele frequency) ก็คืออัตราที่ยีนหนึ่ง ๆ จะมีรูปแบบเดียวกันในกลุ่มประชากร การเปลี่ยนความถี่ยีนอาจทำให้อัลลีลหายไปโดยสิ้นเชิงและลดความแตกต่างของยีน (genetic variation) เมื่ออัลลีลมีก๊อปปี้น้อย ผลของการเปลี่ยนความถี่จะมีกำลังกว่า และเมื่อมีก๊อปปี้มาก ผลก็จะน้อยกว่า ในคริสต์ทศวรรษที่ 20 มีการอภิปรายอย่างจริงจังว่า การคัดเลือกโดยธรรมชาติสำคัญเทียบกับกระบวนการที่เป็นกลาง ๆ รวมทั้งการเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจงแค่ไหน.

ดู วิวัฒนาการและการเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง

การเปลี่ยนแปลงทางโครงกระดูกของมนุษย์เนื่องจากการเดินด้วยสองเท้า

ท้ามนุษย์ วิวัฒนาการของการเดินด้วยสองเท้า (bipedalism) ในมนุษย์เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ ซึ่งนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานของโครงกระดูกมนุษย์ รวมทั้งโครงสร้างและขนาดของเท้า ขนาดและรูปร่างของสะโพก ความยาวของขา และรูปร่างและทิศทางของกระดูกสันหลัง มีทฤษฎีต่าง ๆ หลายอย่างเกี่ยวกับเหตุทางวิวัฒนาการต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้.

ดู วิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงทางโครงกระดูกของมนุษย์เนื่องจากการเดินด้วยสองเท้า

กาลานุกรมวิวัฒนาการมนุษย์

แสดงต้นไม้บรรพชีวินวิทยาของสัตว์มีกระดูกสันหลังทำใน ปี ค.ศ. 1879 (ของ Ernst Haeckel) ประวัติวิวัฒนาการของสปีชีส์ต่าง ๆ ได้รับการพรรณนาว่าเป็นต้นไม้วิวัฒนาการชาติพันธุ์ โดยมีสาขาต่าง ๆ มากมายแยกออกจากลำต้นต้นเดียว แม้ว่าข้อมูลที่ใช้สร้างต้นไม้นี้จะล้าสมัยแล้ว แต่ก็ยังแสดงหลักการบางอย่างที่ต้นไม้ที่ทำขึ้นในปัจจุบันอาจจะทำให้เห็นได้ไม่ชัดเจน "พุ่มไม้" ด้านบนขวาสุดเป็นพวกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรวมทั้งมนุษย์ กาลานุกรมวิวัฒนาการมนุษย์ (timeline of human evolution) แสดงเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ในกระบวนการวิวัฒนาการของมนุษย์และของบรรพบุรุษมนุษย์ ซึ่งรวมคำอธิบายสั้น ๆ เกี่ยวกับสัตว์บางประเภท บางสปีชีส์ หรือบางสกุล ซึ่งอาจจะเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ บทความไม่มุ่งจะแสดงกำเนิดของชีวิตซึ่งกล่าวไว้ในบทความกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต แต่มุ่งจะแสดงสายพันธุ์ที่เป็นไปได้สายหนึ่งที่ดำเนินมาเป็นมนุษย์ ข้อมูลของบทความมาจากการศึกษาในบรรพชีวินวิทยา ชีววิทยาพัฒนาการ (developmental biology) สัณฐานวิทยา และจากข้อมูลทางกายวิภาคและพันธุศาสตร์ การศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการมนุษย์เป็นส่วนสำคัญของมานุษยวิท.

ดู วิวัฒนาการและกาลานุกรมวิวัฒนาการมนุษย์

มหาวิทยาลัยเอดินบะระ

ตึกโอลด์คอลเลจ ที่ตั้งของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอดินบะระ (The University of Edinburgh; Universitas Academica Edinburgensis) ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1583 เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่อันดับ 4 ของสกอตแลนด์ ถัดจาก มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูวส์ (ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ.

ดู วิวัฒนาการและมหาวิทยาลัยเอดินบะระ

มานุษยวิทยากายภาพ

เปรียบเทียบกะโหลกศีณษะไพรเมท มานุษยวิทยากายภาพ คือ สาขาวิชาศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการ พันธุกรรม การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ไพรเมทวิทยา และ วิวัฒนาการของมนุษย์ หมวดหมู่:มานุษยวิทยา.

ดู วิวัฒนาการและมานุษยวิทยากายภาพ

มนุษย์ชวา

วาดกะโหลก มนุษย์ชวา มนุษย์ชวา (Java Man) เป็นชื่อตั้งตามฟอสซิลที่ขุดพบในปี 1891 โดยศัลยแพทย์ชาวดัตช์ที่ชื่อ เออแฌน ดูว์บัว เมื่อปี..

ดู วิวัฒนาการและมนุษย์ชวา

มนุษย์กลายพันธุ์

สิ่งมีชีวิตกลายพันธุ์ หรือ มิวแทนท์ (mutant) ซึ่งก่อนหน้านั้นนักพันธุศาสตร์ เรียกว่า"อสูรกาย" ("monster") คือสิ่งมีชีวิตที่มีความเฉพาะเจาะจงของลักษณะทางพันธุกรรม มีอวัยวะพิเศษ หรือมียีนส์ที่แปลกไป โดยพัฒนาหรือส่งผลจากการวิวัฒนาการ หรือการกลายพันธุ์ซึ่งเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ เชิงโครงสร้างภายในดีเอ็นเอของยีนส์ หรือสายพันธุกรรม ส่งผลให้เกิดบุคลิกลักษณะใหม่ ๆ หรือไม่เคยพบเห็นในรุ่นพ่อแม่ ในเชิงชีวภาพหรือลักษณะเฉพาะตัว บุคลิกใหม่ ๆ ที่กลายพันธุ์มาอาจจะยังเป็นปกติหรือไม่ปกติก็ได้ อาจจะไม่ส่งผลเชิงบวกหรือส่งผลในแง่ดี แต่มักจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางพันธุกรรมเสียมากกว่า โดยมากการกลายพันธุ์ของยีนส์เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และเป็นขั้นตอนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตรูปแบบหนึ่ง ในมนุษย์จะเรียกว่ามนุษย์กลายพันธุ์ มีนักวิทยาศาสตร์ และนักพันธุศาสตร์หลายคนเชื่อว่า การกลายพันธุ์ของมนุษย์ เริ่มเกิดขึ้นมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 และเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา สาเหตุของการกลายพันธุ์มีอยู่หลากหลายปัจจัย โดยมาก จะสรุปเอาว่า เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของโลกเป็นพื้นฐานหลัก ประกอบกับที่มนุษย์ได้พัฒนาเทคโนโลยี ทั้งทางการแพทย์ เคมี ชีวภาพ ซึ่งส่งผมข้างเคียงต่อพันธุกรรมมนุษย์ การผลิตยา และให้ยาในปัจจุบัน ที่มีอยู่อย่างแพร่หลาย การใช้ยาบำรุง อาหารสำเร็จรูป อาหารเสริม อันส่งผลต่อระบบเซลล์ ตลอดรายละเอียดด้านพันธุศาสตร์ของมนุษย์ อันส่งผลสู่รุ่นต่อไปในการสืบพันธุ์มนุษย์ การกลายพันธุ์ที่พบบ่อยมากที่สุดคือ มนุษย์เริ่มมีการตั้งครรภ์บุตรจำนวนได้มากกว่า 1-2 สองคน หรือที่เรียกว่า "แฝด" ปัจจุบัน ค้นพบว่า มนุษย์สามารถตั้งครรภ์ และให้กำเนิดบุตร ได้มากถึง 8 ชีวิต ซึ่งนับว่าเป็นการแบ่งแยกเซลล์ ในการสืบพันธุ์ หลังการปฏิสนธิของอสุจิ และรังไข่ ซึ่งโดยมาจะแยกเซลล์ไม่มากถึง 9 เซลล์เช่นนี้ ต่อมาเป็นการกลายพันทางด้านจิต เชื่อว่า มนุษย์ทั้งเพศชายและหญิงในปัจจุบัน พบความเบี่ยงเบนทางเพศสูงกว่าในอดีตอย่างมาก ซึ่งถือเป็นการกลายพันธุ์ด้านของเหลวภายในร่างกาย หรือฮอโมนที่กำหนดการรับรู้ต่างๆ ของมนุษย์ การเติบโตของสมองซีกซ้ายและขวา ซึ่งมีส่วนในการตระหนักรับรู้เพศของบุคคล ก็รับผลกระทบด้านการกลายพันธุ์เช่นกัน ในกลุ่มจำนวนน้อย แต่เป็นกลุ่มที่มีการกลายพันธุ์สูงสุด และยังไม่เป็นที่ยอมรับ แต่ยังคงมีนักวิทยาศาสตร์ และนักพันธุศาสตร์จำนวนหนึ่ง พยายามค้นหาทฤษฎี และหลักฐานมายืนยันความเชื่อ ที่ว่า การกลายพันธุ์ยังส่งผลถึงยีนส์ (จิโนม) มนุษย์ ให้มีความสามารถ (Ability) ที่สูงขึ้นกว่าในวิวัฒนาการในอดีต โดยส่งผลต่อประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ การสัมผัส การรับรส การได้กลิ่น การมองเห็น และการได้ยิน ซึ่งมีการเพิ่มความสามารถมากขึ้น หรือที่เรียกกันว่า "สัมผัสที่หก" โดยแยกออกได้หลายกลุ่ม โดยจะแยกตามสิ่งที่พบได้มากที่สุดดังนี้ - การมองเห็นที่ดีกว่าคนทั่วไป เช่น มองเห็นของบางอย่างที่อยู่ไกลมากๆได้ มองเห็นรังสีต่างๆได้ - การได้ยินในสิ่งที่บุคคลทั่วไปไม่สามารถได้ยินได้ เช่น คลื่นวิทยุ สัญญาณต่าง ๆ ซึ่งบางครั้งส่งผลต่อจิตใจ ทำให้ต้องมีการบำบัดต่อไป - การสัมผัส หรือประสาทสัมผัสรวดเร็วสูงกว่าคนปกติ เช่น ความว่องไวต่อสิ่งเร้าที่จะเข้ามาถึงตัวไวกว่าผู้อื่น - พละกำลัง ณ ที่นี้หมายถึง มีกำลังวังชาสูงกว่าคนปกติ พบมากในกลุ่มอาชญากร และผู้ชาย เพราะการกลายพันธุ์นี้ ส่งผลต่อความก้าวร้าวด้วย - ความสามารถที่ถูกจัดอยู่ในความเชื่องมงาย ความสามารถนี้ เป็นที่ยอมรับน้อยที่สุด อาทิเช่น เห็นเหตุการณ์ล่วงหน้า (มิใช่เดจาวู) ทั้งนี้ การกลายพันธุ์ของมนุษย์ ยังถูกนำไปสร้างเป็นนวนิยายวิทยาศาสตร์ ภาพยนตร์เรื่องสั้น และเรื่องยาว อาทิ X-Men, Heroes เป็นต้น ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์ และนักพันธุศาสตร์จำนวนไม่มาก มีความเชื่อเรื่องนี้ และพยายามหาหลักฐานมายืนยันอีกด้วย นักพันธุศาสตร์กลุ่มหนึ่ง เคยอ้างว่าพบเด็กชายวัย 13 ปี ที่สามารถเคลื่อนย้ายสิ่งของได้ด้วยจิต ต่อมาเขาฆ่าตัวตายในวัน 17 เนื่องจากไม่สามารถควบคุมพลังที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของเขาได้ และเกิดความกลัวอย่างสุดขีด หรือจะเป็นเด็กสาววัยรุ่นคนหนึ่ง ที่ได้ยินเสียงความถี่ของคลื่นวิทยุ และสัญญาณโทรศัพท์ตลอดเวลา ซึ่งปัจจุบันเธอสูญเสียการได้ยินไปแล้ว อีกราย เป็นเด็กชายทารก ที่ทางกลุ่มตั้งชื่อการกลายพันธุ์ประเภทนี้ว่า Regeneration หรือ Heal ซึ่งเป็นกลุ่มมนุษย์กลายพันธุ์ที่มีเซลล์ที่แข็งแรง ทำให้พวกเขารักษาตัวเองได้เร็วกว่าบุคคลทั่วไป เช่น หากพวกเขาได้รับบาดเจ็บจากมีดบาด คนปกติอาจใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ กว่าแผลของพวกเขาจะหายเป็นปกติ แต่มนุษย์กลายพันธุ์กลุ่มนี้อาจหายได้ภายในเวลาไม่ถึง 3 วัน และไม่ทิ้งรอยแผลเป็น หรือผมยาวเร็วกว่าคนทั่วไป หรือไม่ว่าจะเป็นการที่มีอายุยืนยาว หรือไม่ค่อยมีโรคภัยเท่าผู้อื่น หรือสามารถอยู่รอดได้ ในที่ที่มีโรคระบาดโดยตนเองมีภูมิคุ้มกันที่เหลือเชื่อ เป็นต้น แต่ถึงอย่างไร ก็ยังไม่มีการให้ความสนใจ ในการกลายพันธุ์แบบเหนือธรรมชาติเช่นนี้นัก จึงยังคงไม่มีการศึกษาหรือเผยแพร่ข้อมูลอย่างกว้างขวาง กระนั้น การกลายพันธุ์แบบเหนือธรรมชาติ ก็ยังคงไม่มีให้พบเห็นมากนัก จะพบเห็นได้มาก ก็แต่การกลายพันธุ์ทั่ว ๆ ไป ไม่ว่าจะเป็น นิ้วเกิน หรืออวัยวะส่วนอื่นเกิน, บุคคลระบุเพศไม่ได้ (ไม่มีอวัยวะเพศ), มนุษย์เผือก, ผู้หญิงขนดก, ชาย-หญิงที่ร่างกายปกคลุมไปด้วยขน (Ware wolf),ตาสองสี, ผิวทนต่อความร้อน หรือไฟ, มีภูมิคุ้มกันแต่กำเนิด, เด็กหน้าแก่ และอื่นๆ อีกมากมาย ที่กล่าวมานั้นจริงหรือไม่จริง หมวดหมู่:พันธุศาสตร์คลาสสิก หมวดหมู่:ชีววิทยาวิวัฒนาการ หมวดหมู่:พันธุศาสตร์.

ดู วิวัฒนาการและมนุษย์กลายพันธุ์

มนุษย์โบราณ

กะโหลกดึกดำบรรพ์ของ ''Homo rhodesiensis'' ที่เรียกว่า "Broken Hill Cranium" มีอายุถ้าไม่ 130,000 ปีก่อน (โดยใช้วิธี amino acid racemization determination) ก็ 800,000-600,000 ปีก่อน (คือในช่วงอายุเดียวกับ ''Homo erectus'') สายพันธุ์มนุษย์สกุล Homo หลายชนิดสามารถจัดเข้าในหมวดกว้าง ๆ คือ มนุษย์โบราณ (archaic human) เริ่มตั้งแต่ 600,000 ปีก่อน ซึ่งปกติจะรวม Homo neanderthalensis (300,000-28,000 ปีก่อน) Homo rhodesiensis (400,000-125,000 ปีก่อน), Homo heidelbergensis (600,000-250,000 ปีก่อน), และอาจรวม Homo antecessor โดยมนุษย์กลุ่มไหนจะจัดเป็น "มนุษย์โบราณ" ขึ้นอยู่กับนิยามต่าง ๆ ของผู้เขียน เป็นหมวดหมู่ที่ใช้เปรียบเทียบกับ มนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน/มนุษย์ปัจจุบัน (anatomically modern humans) มีสมมติฐานว่า มนุษย์ปัจจุบันได้วิวัฒนาการมาจากมนุษยโบราณ ซึ่งก็วิวัฒนาการมาจาก Homo erectus บางครั้ง มนุษย์โบราณจะรวมเข้าในสปีชีส์ "Homo sapiens" เพราะขนาดสมองใกล้เคียงกัน คือ มีขนาดสมองเฉลี่ยที่ระหว่าง 1,200-1,400 ซม3 ซึ่งคาบเกี่ยวกับพิสัยขนาดสมองของมนุษย์ปัจจุบัน แต่มนุษย์โบราณจะต่างจากมนุษย์ปัจจุบันโดยมีกะโหลกศีรษะหนา สันคิ้วเหนือตาที่เด่น และไม่มีคางเด่นเท่ามนุษย์ปัจจุบัน มนุษย์ปัจจุบันปรากฏขึ้นประมาณ 300,000 ปีก่อน และหลังจาก 70,000 ปีก่อน ก็เริ่มจะแทนที่มนุษย์โบราณในที่ต่าง ๆ แต่มนุษย์สกุล Homo ที่ "ไม่ปัจจุบัน" ก็คงอยู่รอดจนกระทั่ง 30,000 ปีก่อน และอาจจนถึง 10,000 ปีก่อน อย่างไรก็ดี ตามงานศึกษาทางพันธุกรรมปี 2555 มนุษย์ปัจจุบันอาจจะได้ผสมพันธุ์กับมนุษย์โบราณ "อย่างน้อยสองกลุ่ม" คือ นีแอนเดอร์ทาลและมนุษย์กลุ่ม Denisovan ส่วนงานศึกษาอื่น ๆ ตั้งความสงสัยว่า การผสมพันธุ์อาจไม่ใช่เหตุที่มนุษย์ปัจจุบันมียีนร่วมกับมนุษย์โบราณ แล้วชี้ไปที่การมีบรรพบุรุษร่วมกันเมื่อ 500,000-800,000 ปีก่อน งานศึกษาปี 2555 ยังเสนอมนุษย์อีกกลุ่มที่อาจมีชีวิตอยู่จนกระทั่ง 11,500 ปีก่อน คือกลุ่มมนุษย์ Red Deer Cave people ในจีน ดร.

ดู วิวัฒนาการและมนุษย์โบราณ

ยุคพาลีโอจีน

รีเทเชียส←ยุคพาลีโอจีน→ยุคนีโอจีน ยุคพาลีโอจีนแบ่งเป็น 3 สมัย คือ สมัยพาลีโอซีน,สมัยอีโอซีน,สมัยโอลิโกซีน ยุคพาลีโอจีน (Paleogene) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก อยู่ระหว่าง 65.5 ± 0.3 ถึง 23.03 ± 0.05 ล้านปีมาแล้ว และเป็นยุคแรกของมหายุคซีโนโซอิก ยุคนี้กินเวลาประมาณ 42 ล้านปี เป็นยุคที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็ก มีรูปแบบเรียบง่ายได้วิวัฒนาการเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ที่ซับซ้อน หลังเหตุการณ์การสูญพันธุ์ในยุคครีเทเชียส-เทอร์เชียรีในปลายยุคครีเทเชียส นกมีการวิวัฒนาการสู่รูปแบบในปัจจุบันในยุคนี้เช่นกัน.

ดู วิวัฒนาการและยุคพาลีโอจีน

ยุคหินเก่า

ชาวพาลีโออินเดียน (Paleo-Indians) กำลังล่า Glyptodon ที่ถูกล่าจนศูนย์พันธุ์สองพันปีหลังมุษย์มาถึงอเมริกาใต้ Cave of Altamira and Paleolithic Cave Art of Northern Spain ยุคหินเก่า (Paleolithic) เป็น ช่วงเวลาก่อนประวัติศาสตร์ของมนุษย์ มีจุดเด่นอยู่ที่การพัฒนาเครื่องมือหินยุคแรกเริ่ม และครอบคลุมประมาณ 95% ของเทคโนโลยีก่อนประวัติศาสตร์ของมนุษย์ เริ่มตั้งแต่การใช้เครื่องมือหินครั้งแรก คาดว่าโดย ''Homo habilis'' เมื่อ 2.6 ล้านปีก่อน จนถึงปลายสมัยไพลสโตซีนประมาณ 10,000 ปีก่อนปัจจุบันToth, Nicholas; Schick, Kathy (2007).

ดู วิวัฒนาการและยุคหินเก่า

ยีน

รโมโซมคือสายดีเอ็นเอที่พันประกอบขึ้นเป็นรูปร่าง ยีนคือส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอที่ถอดรหัสออกมาเพื่อทำหน้าที่ ยีนสมมติในภาพนี้ประกอบขึ้นจากแค่สี่สิบคู่เบส ซึ่งยีนจริงๆ จะมีจำนวนคู่เบสมากกว่านี้ ยีน, จีน หรือ สิ่งสืบต่อพันธุกรรม (gene) คือลำดับดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอที่สามารถถอดรหัสออกมาเป็นโมเลกุลหนึ่งๆ ที่สามารถทำหน้าที่ได้ โดยปกติแล้วดีเอ็นเอจะถูกถอดรหัสออกมาเป็นอาร์เอ็รนเอ แล้วอาร์เอ็นเอนั้นอาจทำหน้าที่ได้เองโดยตรง หรือเป็นแบบให้กับขั้นตอนการแปลรหัส ซึ่งเป็นการสร้างโปรตีนเพื่อทำหน้าที่ต่อไปก็ได้ การถ่ายทอดยีนไปยังทายาทของสิ่งมีชีวิตเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการส่งต่อลักษณะไปยังรุ่นถัดไป ยีนต่างๆ เหล่านี้ประกอบกันขึ้นเป็นลำดับดีเอ็นเอเรียกว่าจีโนทัยป์หรือลักษณะพันธุกรรม ซึ่งเมื่อประกอบกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและการเจริญเติบโตแล้วจะเป็นตัวกำหนดฟีโนทัยป์หรือลักษณะปรากฏ ลักษณะทางชีวภาพหลายๆ อย่างถูกกำหนดโดยยีนหลายยีน บางอย่างถูกกำหนดโดยปฏิสัมพันธ์ระหว่างยีนกับสิ่งแวดล้อม ลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างอาจปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น สีตา จำนวนแขนขา และบางอย่างก็ไม่ปรากฏให้เห็น เช่น หมู่เลือด ความเสี่ยงของการเกิดโรค รวมถึงกระบวนการทางชีวเคมีนับพันที่เป็นพื้นฐานของชีวิต ยีนอาจเกิดการกลายพันธุ์สะสมในลำดับพันธุกรรมได้ ทำให้เกิดความแตกต่างของการแสดงออกในกลุ่มประชากร เรียกว่าแต่ละรูปแบบที่แตกต่างนี้ว่า อัลลีล แต่ละอัลลีลของยีนยีนหนึ่งจะถอดรหัสออกมาเป็นโปรตีนที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อย ทำให้เกิดลักษณะปรากฏทางฟีโนทัยป์ที่แตกต่างกันไป ในระดับคนทั่วไปเมื่อพูดถึงการมียีน เช่น มียีนที่ดี มียีนสีผมน้ำตาล มักหมายถึงการมีอัลลีลที่แตกต่างของยีนยีนหนึ่ง ยีนเหล่านี้จะผ่านกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติเพื่อให้เกิดการอยู่รอดของอัลลีลที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้เกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ยีนเป็นส่วนหนึ่งของโครโมโซมที่ถอดรหัสได้เป็นสายพอลิเพปไทด์หนึ่งสายที่ทำงานได้ (single functional polypeptide) หรือได้เป็นอาร์เอ็นเอ ยีนประกอบด้วยส่วนที่สามารถถอดรหัสเป็นอาร์เอ็นเอได้ เรียกว่า exon และบริเวณที่ไม่สามารถถอดรหัสได้ เรียกว่า intron.

ดู วิวัฒนาการและยีน

ยีนเห็นแก่ตัว

ีนเห็นแก่ตัว (The Selfish Gene) เป็นหนังสือเรื่องวิวัฒนาการเขียนโดย ริชาร์ด ดอว์กินส์ พิมพ์ในปี 2519 และแปลเป็นภาษาไทยครั้งแรกโดย เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ในปี 2559 ตั้งอยู่บนทฤษฎีหลักการของหนังสือเล่มแรกของจอร์จ ซี.

ดู วิวัฒนาการและยีนเห็นแก่ตัว

รอยนูนสมองกลีบขมับด้านล่าง

รอยนูนกลีบขมับส่วนล่าง (Inferior temporal gyrus, gyrus temporalis inferior) เป็นรอยนูนสมองที่ อยู่ใต้รอยนูนกลีบขมับส่วนกลาง (middle temporal gyrus), อยู่ข้างหน้ารอยนูนกลีบท้ายทอยส่วนล่าง (inferior occipital gyrus), และแผ่ขยายไปทางผิวด้านข้างของสมองกลีบขมับลงไปจรด inferior sulcus เป็นศูนย์ประมวลผลข้อมูลการเห็นในระดับสูงโดยเป็นส่วนสุดท้ายของทางสัญญาณด้านล่าง (ventral stream) มีหน้าที่เป็นตัวแทนของลักษณะที่ซับซ้อนของวัตถุที่เห็น และอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับรู้ใบหน้า กับการรู้จำวัตถุ (object recognition) ต่าง ๆ และกับการรู้จำตัวเลข (number recognition) รอยนูนกลีบขมับส่วนล่างเป็นส่วนล่างของสมองกลีบขมับ อยู่ใต้ร่องกลีบขมับกลาง (central temporal sulcus) สมองส่วนนี้ (ซึ่งเป็นส่วนของคอร์เทกซ์กลีบขมับส่วนล่าง) ทำหน้าที่แปลผลตัวกระตุ้นทางตา เป็นการรู้จำวัตถุ (object recognition) ที่เห็นทางตา และเป็นส่วนสุดท้ายของทางสัญญาณด้านล่างของระบบการเห็น (ดังที่แสดงไว้ในงานวิจัยเร็ว ๆ นี้) "คอร์เทกซ์กลีบขมับส่วนล่าง" (inferior temporal cortex ตัวย่อ ITC) ในมนุษย์เป็นส่วนเดียวกับ "รอยนูนกลีบขมับส่วนกลาง" (เขตบร็อดแมนน์ 21) รวมกับ "รอยนูนกลีบขมับส่วนล่าง" (เขตบร็อดแมนน์ 20) โดยที่ไม่เหมือนกับไพรเมตประเภทอื่น ๆ สมองเขตนี้แปลผลตัวกระตุ้นทางตาที่ปรากฏในลานสายตา ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเก็บและการเรียกคืนความทรงจำเกี่ยวกับวัตถุนั้น เพื่อประโยชน์ในการระบุวัตถุนั้น ทำหน้าแปลผลและรับรู้ข้อมูลที่เกิดจากตัวกระตุ้นทางตาที่ผ่านการแปลผลจากเขตสายตา V1, V2, V3, และ V4 ที่อยู่ในสมองกลีบท้ายทอย มาแล้ว คือทำหน้าที่แปลผลข้อมูลสีและรูปร่างของวัตถุที่อยู่ในลานสายตา (ซึ่งเป็นข้อมูลจากเขตสายตาก่อน ๆ) แล้วให้ข้อมูลว่าวัตถุที่เห็นนั้นคืออะไร ซึ่งก็คือการระบุวัตถุโดยใช้สีและรูปร่าง โดยเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้ประมวลแล้วกับข้อมูลความจำที่เก็บไว้เพื่อที่จะระบุวัตถุนั้น สมองเขตนี้ไม่ใช่มีความสำคัญในเรื่องเป็นส่วนของการแปลผลข้อมูลทางตาเพื่อการรู้จำวัตถุเท่านั้น แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแปลผลแบบง่าย ๆ อย่างอื่นของวัตถุในลานสายตา มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้และความเข้าใจทางปริภูมิของวัตถุที่อยู่รอบ ๆ ตัว และเป็นส่วนที่มีเซลล์ประสาทเดี่ยว ๆ ที่ทำหน้าที่โดยเฉพาะซึ่งอาจจะอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างคอร์เทกซ์นี้กับระบบความจำ.

ดู วิวัฒนาการและรอยนูนสมองกลีบขมับด้านล่าง

ระบบการทรงตัว

ห้องหูชั้นใน (labyrinth of the inner ear) ของหูด้านขวา ประกอบด้วย '''คอเคลีย''' (cochlea) เป็นอวัยวะปลายประสาทของระบบการได้ยิน ส่วนอวัยวะรับความรู้สึกของระบบการทรงตัวรวมทั้ง '''หลอดกึ่งวงกลม''' (semicircular ducts) ซึ่งทำหน้าที่รับรู้การเคลื่อนไหวแบบหมุน (คือความเร่งเชิงมุม) '''saccule''' และ '''utricle''' ทำหน้าที่รับรู้ความเร่งเชิงเส้น คอเคลียและ vestibular system ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยมาก ระบบการทรงตัว (vestibular system) เป็นระบบรับความรู้สึกที่ให้ข้อมูลสำคัญที่สุดเกี่ยวกับการกำหนดรู้การทรงตัว (equilibrioception หรือ sense of balance) และการรู้ทิศทางของร่างกายภายในปริภูมิ (spatial orientation) ระบบการทรงตัวพร้อมกับคอเคลียซึ่งเป็นส่วนของระบบการได้ยิน เป็นส่วนประกอบของห้องหูชั้นใน (labyrinth of the inner ear) สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยมาก เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายมีทั้งแบบหมุนและแบบเลื่อน ระบบการทรงตัวจึงมีส่วนประกอบสองอย่างเหมือนกัน คือ ระบบหลอดกึ่งวงกลม (semicircular canal) ซึ่งบอกการเคลื่อนไหวแบบหมุน และระบบ otoliths ซึ่งบอกความเร่งในแนวเส้น ระบบการทรงตัวโดยหลักจะส่งข้อมูลไปยังโครงสร้างประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของตา เช่นการเคลื่อนไหวแบบ vestibulo-ocular reflex ซึ่งจำเป็นในการเห็นที่ชัดเจน และไปยังกล้ามเนื้อที่ทำให้สามารถทรงตัวไว้ได้ ระบบการทรงตัวมีบทบาทในเรื่อง.

ดู วิวัฒนาการและระบบการทรงตัว

ระบบการได้ยิน

ระบบการได้ยิน (auditory system) เป็นระบบรับความรู้สึก/ระบบประสาทสัมผัส ซึ่งรวมทั้งอวัยวะการฟังคือหู และระบบประสาทเกี่ยวกับการฟัง กายวิภาคของหู แม้ว่าช่องหูจะยาวเกินสัดส่วนในรูป.

ดู วิวัฒนาการและระบบการได้ยิน

ระบบรู้กลิ่น

ระบบรู้กลิ่น หรือ ระบบรับกลิ่น (olfactory system) เป็นส่วนของระบบรับความรู้สึกที่ใช้เพื่อรับกลิ่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์เลื้อยคลานโดยมากจะมีทั้งระบบรับกลิ่นหลัก (main olfactory system) และระบบรับกลิ่นเสริม (accessory olfactory system) ระบบหลักจะรับกลิ่นจากอากาศ ส่วนระบบเสริมจะรับกลิ่นที่เป็นน้ำ ประสาทสัมผัสเกี่ยวกับกลิ่นและรสชาติ บ่อยครั้งเรียกรวมกันว่าระบบรับรู้สารเคมี (chemosensory system) เพราะทั้งสองให้ข้อมูลแก่สมองเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีของสิ่งเร้าผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การถ่ายโอนความรู้สึก (transduction) กลิ่นช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารและแหล่งอาหาร เกี่ยวกับความสุขหรืออันตรายที่อาจได้จากอาหาร เกี่ยวกับอันตรายที่สารอื่น ๆ ในสิ่งแวดล้อมอาจมี ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ผู้อื่น และสัตว์ชนิดอื่น ๆ กลิ่นมีผลทางสรีรภาพโดยเริ่มกระบวนการย่อยอาหารและการใช้พลังงาน มีบทบาทในการสืบพันธุ์ การป้องกันตัว และพฤติกรรมเกี่ยวกับอาหาร ในสัตว์บางชนิด มีบทบาทสำคัญทางสังคมเพราะตรวจจับฟีโรโมนซึ่งมีผลทางสรีรภาพและพฤติกรรม ในทางวิวัฒนาการแล้ว ระบบรับกลิ่นเป็นประสาทสัมผัสที่เก่าแก่ที่สุด แม้จะเป็นระบบที่เข้าใจน้อยที่สุดในบรรดาประสาทสัมผัสทั้งหมด ระบบรับกลิ่นจะอาศัยหน่วยรับกลิ่น (olfactory receptor) ซึ่งเป็นโปรตีนหน่วยรับความรู้สึกแบบ G protein coupled receptor (GPCR) และอาศัยกระบวนการส่งสัญญาณทางเคมีที่เกิดตามลำดับภายในเซลล์ซึ่งเรียกว่า second messenger system เพื่อถ่ายโอนข้อมูลกลิ่นเป็นกระแสประสาท หน่วยรับกลิ่นจะแสดงออกอยู่ที่เซลล์ประสาทรับกลิ่นในเยื่อรับกลิ่นในโพรงจมูก เมื่อหน่วยรับกลิ่นต่าง ๆ ทำงานในระดับที่สมควร เซลล์ประสาทก็จะสร้างศักยะงานส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ของระบบประสาทกลางเริ่มตั้งแต่ป่องรับกลิ่น ซึ่งก็จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเป็นต้นของสัตว์ นักเคมีเกี่ยวกับกลิ่นก็ประเมินว่า มนุษย์อาจสามารถแยกแยะกลิ่นระเหยได้ถึง 10,000 รูปแบบ โดยที่ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับของหอมอาจแยกแยะกลิ่นได้ถึง 5,000 ชนิด และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับไวน์อาจแยกแยะส่วนผสมได้ถึง 100 อย่าง โดยสามารถรู้กลิ่นต่าง ๆ ในระดับความเข้มข้นต่าง ๆ กัน เช่น สามารถรู้สารกลิ่นหลักของพริกชี้ฟ้า คือ 2-isobutyl-3-methoxypyrazine ในอากาศที่มีความเข้มข้น 0.01 นาโนโมล ซึ่งประมาณเท่ากับ 1 โมเลกุลต่อ 1,000 ล้านโมเลกุลของอากาศ สามารถรู้กลิ่นเอทานอลที่ความเข้มข้น 2 มิลลิโมล และสามารถรู้กลิ่นโครงสร้างทางเคมีที่ต่างกันเล็กน้อยในระดับโมเลกุล เช่น กลิ่นของ D-carvone จะต่างจากของ L-carvone โดยมีกลิ่นเหมือนกับเทียนตากบและมินต์ตามลำดับ ถึงกระนั้น การได้กลิ่นก็พิจารณาว่าเป็นประสาทสัมผัสที่แย่ที่สุดอย่างหนึ่งในมนุษย์ โดยมีสัตว์อื่น ๆ ที่รู้กลิ่นได้ดีกว่า เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเกินกว่าครึ่ง ซึ่งอาจเป็นเพราะมนุษย์มีประเภทหน่วยรับกลิ่นที่น้อยกว่า และมีเขตในสมองส่วนหน้าที่อุทิศให้กับการแปลผลข้อมูลกลิ่นที่เล็กกว่าโดยเปรียบเที.

ดู วิวัฒนาการและระบบรู้กลิ่น

รายชื่อตัวละครในโค้ด กีอัส ภาคการปฏิวัติของลูลูช

รายชื่อตัวละครในการ์ตูนญี่ปุ่น เรื่อง โค้ด กีอัส ภาคการปฏิวัติของลูลู.

ดู วิวัฒนาการและรายชื่อตัวละครในโค้ด กีอัส ภาคการปฏิวัติของลูลูช

รายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้

การจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้เป็นระบบการจำแนกห้องสมุดประกอบด้วย 10 หมวดใหญ่ (class) แต่ละหมวดใหญ่แบ่งเป็นสิบหมวดย่อย (division) แต่ละหมวดย่อยมีสิบหมู่ย่อย (section) ตัวอย่างเช่น หมวดใหญ่ 600 ("เทคโนโลยี") มีหมวดย่อย 630 ("เกษตรกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง") ซึ่งมีหมู่ย่อย 636 ("การเลี้ยงสัตว์") ในทางปฏิบัติ มีทั้งหมด 99 จาก 100 หมวดย่อยและ 908 จาก 1000 หมู่ย่อย เนื่องจากบางส่วนเลิกใช้แล้วหรือยังไม่กำหน.

ดู วิวัฒนาการและรายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย นี้แก้ความเชื่อและความเข้าใจผิด ๆ ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยมีแหล่งอ้างอิงที่ได้กำหนดความเข้าใจผิดคู่กับความจริงแต่ละอย่างแล้ว ให้สังเกตว่า แต่ละรายการเขียนโดยเป็นการแก้ไข และอาจไม่ได้กล่าวถึงความเข้าใจผิดเองตรง.

ดู วิวัฒนาการและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

ริชาร์ด ดอว์กินส์

ริชาร์ด ดอว์กินส์ ริชาร์ด ดอว์กินส์ (Richard Dawkins) นักชีววิทยาและนักเขียนชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง มีชื่อเต็มว่า คลินตัน ริชาร์ด ดอว์กินส์ (Clinton Richard Dawkins) เกิดเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ.

ดู วิวัฒนาการและริชาร์ด ดอว์กินส์

ลวดลายในธรรมชาติ

รอยริ้วคลื่นปรากฏบนพื้นผิวครั้งแล้วครั้งเล่าเมื่อมีสภาวะที่เหมาะสม ลวดลายของเวลล์คามิเลียน (veiled chameleon) หรือ ''Chamaeleo calyptratus'' ซึ่งวิวัฒนาการมาเพื่ออำพราง และเพื่อบอกอารมณ์ และสถานะทางการผสมพันธุ์ ลวดลายในธรรมชาติ คือ รูปแบบที่มีความสม่ำเสมออย่างชัดเจนซึ่งพบได้ในโลกธรรมชาติ ลวดลายเหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ในบริบทที่ต่างกัน และบางครั้งสามารถถูกกำหนดรูปแบบโดยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ลวดลายทางธรรมชาติ ได้แก่ ความสมมาตร ต้นไม้ เกลียว ลำน้ำโค้งตวัด คลื่น โฟม เทสเซลเลชัน รอยแตก และ รอยริ้ว นักปรัชญากรีกได้ศึกษาลวดลายเช่นเดียวกัน โดยมีเพลโต พีทาโกรัส และเอมเพโดคลีส พยายามจะอธิบายอันดับในธรรมชาติ การเข้าใจเรื่องลวดลายซึ่งมองเห็นได้นั้นได้รับการพัฒนาตามกาลเวลา  ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักฟิสิกส์ชาวเบลเยี่ยม โยเซป พลาโตได้ทำการทดลองกับฟิล์มฟองสบู่ทำให้เขาได้วางเกณฑ์แนวความคิดของพื้นผิวที่น้อยที่สุด นักชีววิทยาและศิลปินชาวเยอรมัน แอร์นสต์ เฮคเคล ได้วาดรูปสัตว์น้ำกว่าร้อยชนิดเพื่อให้ความสำคัญเรื่องความสมมาตร นักชีววิทยาชาวสก๊อต D'Arcy Thompson ริเริ่มการศึกษาลวดลายในทั้งในพืชและสัตว์และแสดงให้เห็นว่าสามารถใช้สมการง่าย ๆ เพื่ออธิบายการโตแบบวงก้นหอยได้ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ แอลัน ทัวริง ทำนายกลไกของการเกิดสัณฐานซึ่งทำให้เกิดลายจุดและรอยริ้ว นักชีววิทยาชาวฮังการี Aristid Lindenmayer และนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสอเมริกัน เบอนัว มานดัลบรอ แสดงว่าคณิตศาสตร์ของแฟร็กทัลสามารถสร้างลวดลายในการเจริญเติบโตของพืช คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และ เคมี สามารถอธิบายลวดลายในธรรมชาติในระดับที่ต่างกัน ลวดลายในสิ่งมีชีวิตอธิบายได้โดยวิธีทางชีววิทยาด้านการคัดเลือกโดยธรรมชาติ และ การคัดเลือกทางเพศ การศึกษาของการเกิดลวดลายแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์เพื่อจำลองลวดลายในแบบต่าง ๆ .

ดู วิวัฒนาการและลวดลายในธรรมชาติ

ลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง

ในสาขาจิตวิทยา ลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง (Big Five personality traits) หรือ แบบจำลองมีปัจจัย 5 อย่าง (five factor model ตัวย่อ FFM) เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับมิติหรือปัจจัยใหญ่ ๆ 5 อย่างที่ใช้อธิบายบุคลิกภาพและสภาพทางจิตใจของมนุษย์ โดยมีนิยามของปัจจัย 5 อย่างว.

ดู วิวัฒนาการและลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง

ลำดับสงวน

accessdate.

ดู วิวัฒนาการและลำดับสงวน

ลิสแซมฟิเบีย

ลิสแซมฟิเบีย (ชั้นย่อย: Lissamphibia) เป็นชั้นย่อยของสัตว์มีกระดูกสันหลังในชั้นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibia) โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lissamphibia จากการศึกษาทางด้ายภายวิภาคศาสตร์และระดับโมเลกุลพบว่า ลิสแซมฟิเบียเป็นวิวัฒนาการเดี่ยวแยกจากสัตว์สี่เท้ากลุ่มอื่นที่ดำรงชีวิตและสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนปัจจุบัน กล่าวคือ เมื่อระยะเวลาราว 30 ล้านปีมาแล้ว ที่ได้มีสัตว์สี่เท้าถือกำเนิดขึ้นมา เป็นช่วงปลายยุคคาร์บอนิเฟอรัส ซึ่งช่วงนี้มีความสำคัญมากกับวิวัฒนาการของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำกลุ่มแรก รวมทั้งวิวัฒนาการของสัตว์กลุ่มแอมนิโอต เนื่องจากในช่วงนี้หลักฐานทางซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์สี่ขาหลายกลุ่มปะปนกัน เช่น เทมโนสปอนเดิล, แอนธราโคซอร์, แอมนิโอตกลุ่มแรก เป็นต้น ปัจจุบัน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำทั้งหมดที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ต่างก็เป็นลิสแซมฟิเบียทั้งหมด คือ Anura, Caudata และGymnophiona และเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในยุคพาลีโอโซอิกตอนปลายอีกด้ว.

ดู วิวัฒนาการและลิสแซมฟิเบีย

ลิง

แสม (''Macaca fascicularis'') ลิงที่คุ้นเคยและพบได้บ่อยที่สุดในประเทศไทย อาจพบได้ถึงในชุมชนเมืองhttp://1081009.tourismthailand.org/trip/dcp?id.

ดู วิวัฒนาการและลิง

ลิงแม็กแคก

ลิงแม็กแคก (Macaques) เป็นสกุลของวงศ์ลิงโลกเก่า (Cercopithecidae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Macaca (/แม็ก-คา-คา/) ลิงในสกุลนี้ มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปแอฟริกาตอนเหนือจนถึงเอเชีย เป็นลิงที่พบได้อย่างกว้างขวาง มีนิ้วมือที่วิวัฒนาการใช้หยิบจับสิ่งต่าง ๆ ได้ดี มีกระพุ้งแก้มที่สามารถใช้เก็บอาหารได้ กินอาหารได้หลากหลาย ทั้งเนื้อสัตว์และพืช บางชนิดมีหางยาว ขณะที่บางชนิดมีหางขนาดสั้น มีพฤติกรรมทางสังคมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง มีโครงสร้างทางสังคมที่สลับซับซ้อนและมีลำดับอาวุโส โดยปกติแล้ว ลิงตัวผู้ที่มีอาวุโสที่สุดหรือมีขนาดตัวใหญ่ที่สุดในฝูงจะเป็นจ่าฝูง ลิงตัวใดที่มีลำดับอาวุโสน้อยกว่าถ้าได้กินอาหารก่อนลิงที่มีอาวุโสมากกว่า ลิงที่อาวุโสมากกว่าอาจแย่งอาหารจากลิงที่อาวุโสน้อยกว่าขณะกำลังจะหยิบเข้าปากได้เลย ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานไว้ทั้งสิ้น 23 ชนิด (บางข้อมูลจำแนกไว้ 16) โดยมี 6 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย ซึ่งนับเป็นลิงทั้งหมดที่พบได้ในประเทศไทย คือ ลิงแสม (M.

ดู วิวัฒนาการและลิงแม็กแคก

ลิงโลกใหม่

ลิงโลกใหม่ (New world monkey) เป็นอันดับย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับไพรเมต (Primates) หรือ อันดับวานร จำนวนมากหนึ่ง ใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Platyrrhini ลิงที่อยู่ในวงศ์ใหญ่นี้ มีลักษณะโดยรวม คือ มีขนาดลำตัวที่เล็กกว่าลิงโลกเก่า (Cercopithecidae) มีฟันกราม 3 ซี่ มีหางยาว ใช้ในการเกาะเกี่ยวต้นไม้ได้เป็นอย่างดี และมีรูจมูกชิดกัน ลักษณะของจมูกแบน ซึ่งคำว่า "rhinth" นั้นเป็นภาษาละตินแปลว่า "จมูก" อันเนื่องจากลักษณะของลิงโลกใหม่จะมีโพรงจมูก และรูจมูกจะอยู่ออกไปทางด้านข้าง พบกระจายพันธุ์ในซีกโลกที่เรียกว่า "โลกใหม่" คือ ทวีปที่เพิ่งถูกค้นพบ ได้แก่ อเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ ลิงโลกใหม่ นับได้ว่ามีสายวิวัฒนาการเป็นของตัวเอง ซึ่งแยกไปจากลิงโลกเก่าและไพรเมตจำพวกอื่น ๆ มีพฤติกรรมหากินและอาศัยอยู่บนต้นไม้เป็นหลัก ในหลายชนิด อาจมีรูปร่างไม่คล้ายลิงที่คุ้นเคย แต่คล้ายกับสัตว์อย่างอื่นมากกว่า เช่น กระรอก ลิงที่อยู่ในวงศ์ลิงโลกใหม่นั้น อาทิ ลิงสไปเดอร์, ลิงมาโมเซท, ลิงฮาวเลอร์, ลิงไลออนทามาริน เป็นต้น ซึ่งลิงโลกใหม่ ยังสามารถแยกออกเป็นวงศ์ต่าง ๆ ได้อีก 5 วงศ คือ.

ดู วิวัฒนาการและลิงโลกใหม่

ลู่ตูง

ลู่ตูง (Lutung) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับวานร (Primates) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Trachypithecus จัดอยู่ในจำพวกค่าง ในวงศ์ลิงโลกเก่า (Cercopithecidae) โดยชื่อสามัญคำว่า "Lutung" มาจากภาษามลายู เนื่องจากมีความแตกต่างจากค่างสกุลที่พบในอนุทวีปอินเดี.

ดู วิวัฒนาการและลู่ตูง

ลี สโมลิน

ลี สโมลิน, ที่ ฮาวาร์ด ลี สโมลิน(Lee Smolin) เกิดเมื่อ 6 มิถุนายน..

ดู วิวัฒนาการและลี สโมลิน

ลีเมอร์หนู

ลีเมอร์หนู (Mouse lemur) เป็นไพรเมตขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ในกลุ่มลีเมอร์ จัดอยู่ในสกุล Microcebus จัดเป็นลีเมอร์ที่มีขนาดเล็กที่สุด และถือเป็นไพรเมตที่มีขนาดเล็กที่สุดจำพวกหนึ่ง ลีเมอร์หนู มีรูปร่างลักษณะแตกต่างไปจากลีเมอร์ทั่วไป โดยจะเหมือนลิงลมหรือกาเลโกมากกว่า จากการศึกษาทางพันธุกรรม โดยศึกษาจากดีเอ็นเอพบว่า ลีเมอร์หนูเป็นลีเมอร์ที่มีความเก่าแก่ที่สุด โดยเชื่อว่าเป็นลีเมอร์ชนิดแรกที่เดินทางผืนแผ่นดินใหญ่แอฟริกามายังเกาะมาดากัสการ์เมื่อแรกกำเนิดเกาะเมื่อกว่า 80-60 ล้านปีก่อน โดยอาศัยเกาะมากับวัสดุหรือท่อนไม้ลอยน้ำมา ในรูปแบบของการจำศีล เพราะระยะทางห่างไกล เชื่อว่ามีลีเมอร์มาถึงเกาะมาดากัสการ์ครั้งแรกเพียง 12 ตัว และมีปริมาณตัวเมียเพียง 2 ตัวเท่านั้น ก่อนที่จะวิวัฒนาการให้มีความหลากหลายในเวลาต่อมา ซึ่งลีเมอร์หนูแทบจะไม่ได้เปลี่ยนรูปร่างไปเลยจากเมื่อ 80 ล้านปีก่อน โดยมีขนาดลำตัวรวมทั้งส่วนหางยาวน้อยกว่า 27 เซนติเมตร (11 นิ้ว) ซึ่งสามารถเอามาวางไว้บนฝ่ามือมนุษย์ได้ มีใบหูและดวงตากลมโตขนาดใหญ่เหมือนกาเลโก เป็นลีเมอร์เพียงไม่กี่ชนิดที่หากินในเวลากลางคืน โดยกินอาหารขนาดเล็ก ๆ เช่น แมลง, แมง รวมถึงส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ดอกไม้, ผลไม้ และรวมถึงน้ำต้อย และยางไม้ของต้นไม้ใหญ่ด้วย นับได้ว่าลีเมอร์หนูเป็นสัตว์อีกจำพวกหนึ่งที่มีส่วนช่วยในการผสมเกสรของพืช นอกจากนี้แล้ว ลีเมอร์หนูยังถือได้ว่าเป็นไพรเมตเพียงจำพวกเดียวที่มีการจำศีล โดยจะจำศีลตรงกับช่วงฤดูร้อนของเกาะมาดากัสการ์ ซึ่งเป็นช่วงที่อากาศแห้งแล้ง ฝนไม่ตก ซึ่งตรงกับช่วงกลางปีของทุกปี ก่อนจะถึงฤดูการจำศีล คือ ตอนปลายของฤดูฝน ลีเมอร์หนูจะเร่งกินอาหารเพื่อสะสมพลังงานไว้ในร่างกาย ตามขาและหาง ก่อนที่จะจำศีลในโพรงไม้นานถึง 3-4 เดือน ด้วยการอยู่นิ่ง ๆ เคลื่อนไหวน้อยที่สุดเพื่อสงวนพลังงาน ระดับแมตาบอลิสซึมลดต่ำ อุณหภูมิในร่างกายลดต่ำ ซึ่งเรียกว่า ทอร์พอร์ ก่อนที่จะตื่นขึ้นมาอีกครั้งในช่วงปลายปี ซึ่งตรงกับปลายเดือนพฤศจิกายน และจะเร่งเพิ่มน้ำหนักเพื่อชดเชยพลังงานที่สูญเสีย ก่อนที่ในเดือนธันวาคม ลีเมอร์หนูจะผสมพันธุ์และออกลูก ด้วยการส่งเสียงร้องในรูปแบบคลื่นเสียงความถี่สูงที่หูมนุษย์ไม่ได้ยิน แบบเดียวกับค้างคาว ในการเรียกหาคู่ ซึ่งแต่ละชนิดก็จะมีเสียงที่แตกต่างกันออกไป ลีเมอร์หนูตัวเมียจะให้กำเนิดลูกในช่วงนี้ ลูกลีเมอร์หนูจะพึ่งพาแม่เป็นระยะเวลานาน 8 สัปดาห์ ก่อนที่จะเติบโตพอที่จะแยกตัวออกไป เดิมลีเมอร์ถูกจัดให้มีเพียงแค่ชนิดเดียวหรือ 2 ชนิด เพราะมีรูปลักษณ์แทบไม่ต่างกันในแต่ละชนิด เนื่องจากเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน ที่ทัศนวิสัยไม่อาจมองอะไรได้ชัด จึงไม่มีความจำเป็นในเรื่องความแตกต่างของรูปร่างภายนอก แต่ปัจจุบันจากการศึกษาในระดับดีเอ็นเอพบว่ามีมากถึง 19 ชนิด หรืออาจมากกว่า Madagascar, "Mutant Planet" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต.

ดู วิวัฒนาการและลีเมอร์หนู

วัฒนธรรม

วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และ ความเหมาะสม แต่ถ้าเป็นในวิชาหน้าที่พลเมืองจะแปลว่าสิ่งที่มนุษย์ เปลี่ยนแปลงเพื่อความเจริญงอกงาม และสืบต่อกันมา วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่น วัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น แต่นักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปมักกล่าวถึงวัฒนธรรมว่า มิได้เป็นเพียงสินค้าบริโภค แต่หมายรวมถึงกระบวนการในการผลิตสินค้าและการให้ความหมายแก่สินค้านั้น ๆ ด้วย ทั้งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวการปฏิบัติที่ทำให้วัตถุและกระบวนการผลิตหลอมรวมอยู่ด้วยกัน ในสายตาของนักมานุษยวิทยาจึงรวมไปถึงเทคโนโลยี ศิลปะ วิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรม วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ อาจได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอ.

ดู วิวัฒนาการและวัฒนธรรม

วิวัฒนาการชาติพันธุ์

ในชีววิทยา วิวัฒนาการชาติพันธุ์ (phylogenetics จากคำกรีก φυλή, φῦλον - phylon, phylon.

ดู วิวัฒนาการและวิวัฒนาการชาติพันธุ์

วิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

วิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (evolution of mammalian auditory ossicles) เป็นเหตุการณ์ทางวิวัฒนาการที่มีหลักฐานยืนยันดีที่สุด และสำคัญที่สุด เหตุการณ์หนึ่ง โดยมีทั้งซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ (transitional fossil) จำนวนมากและตัวอย่างที่เยี่ยมของกระบวนการ exaptation คือการเปลี่ยนจุดประสงค์ของโครงสร้างที่มีอยู่แล้วในระหว่างวิวัฒนาการ ในสัตว์เลื้อยคลาน แก้วหูจะเชื่อมกับหูชั้นในผ่านกระดูกท่อนเดียว คือ columella ในขณะที่ขากรรไกรล่างและบนจะมีกระดูกหลายท่อนที่ไม่พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คือ ในช่วงวิวัฒนาการของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กระดูกชิ้นหนึ่งของขากรรไกรล่างและบน (articular และ quadrate) หมดประโยชน์โดยเป็นข้อต่อ และเกิดนำไปใช้ใหม่ในหูชั้นกลาง ไปเป็นตัวเชื่อมกับกระดูกโกลนที่มีอยู่แล้ว รวมกันกลายเป็นโซ่กระดูกสามท่อน (โดยเรียกรวมกันว่ากระดูกหู) ซึ่งถ่ายทอดเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า และดังนั้นช่วยให้ได้ยินได้ดีกว่า ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กระดูกหูสามท่อนนี้เรียกว่า กระดูกค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลน ตามลำดับ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์ปีกยังต่างจากสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ เพราะมีคอเคลียที่วิวัฒนาการเกิดขึ้น หลักฐานว่า กระดูกค้อนและกระดูกทั่งมีกำเนิดเดียวกัน (homologous) กับกระดูก articular และ quadrate ของสัตว์เลื้อยคลานเบื้องต้นมาจากคัพภวิทยา แล้วต่อมา การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพมากมายก็ได้ยืนยันข้อสรุปนี้ โดยให้ประวัติการเปลี่ยนสภาพอย่างละเอียด ส่วนวิวัฒนาการของกระดูกโกลนจาก hyomandibula เป็นเหตุการณ์ต่างหากที่เกิดขึ้นก่อน.

ดู วิวัฒนาการและวิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

วิวัฒนาการของการเห็นสี

การเห็นสี (Color vision) หรือการเห็นเป็นสี เป็นการปรับตัวเพื่อรับรู้สิ่งเร้าทางตา เพื่อให้สามารถแยกแยะแสงโดยขึ้นกับองค์ประกอบทางความยาวคลื่นของมัน การเห็นสีจำเป็นต้องมีโปรตีนอ็อปซิน (opsin) ต่างหาก ๆ ที่ดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่นแสงต่าง ๆ กัน โดยสัตว์ในแต่ละกลุ่ม ๆ จะมีอ็อปซินต่างหาก ๆ จำนวนไม่เท่ากัน เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยมากรวมทั้งสุนัขจะเห็นภาพสีด้วยเซลล์ 2 ชนิด (dichromacy) แต่ไพรเมตจำนวนหนึ่งรวมทั้งมนุษย์ ก็สามารถเห็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ชนิด (trichromacy) จึงทำให้สัตว์กลุ่มต่าง ๆ มองเห็นเป็นสีได้ดีไม่เท่ากัน.

ดู วิวัฒนาการและวิวัฒนาการของการเห็นสี

วิวัฒนาการของการเห็นเป็นสีในไพรเมต

วิวัฒนาการของการเห็นเป็นสีในไพรเมต (evolution of color vision in primates) เป็นเหตุการณ์พิเศษในบรรดาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในเคลดยูเธอเรีย แม้บรรพบุรุษสัตว์มีกระดูกสันหลังของไพรเมตจะเห็นเป็นสีด้วยเซลล์รูปกรวยในจอตา 4 ประเภท (tetrachromacy) แต่บรรพบุรุษที่เป็นสัตว์เลือดอุ่นหากินกลางคืนต่อมา ก็ได้เสียเซลล์รูปกรวย 2 ประเภทไปในยุคไดโนเสาร์ ดังนั้น ปลาใน Infraclass "Teleostei" สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์ปีกล้วนแต่เห็นภาพสีด้วยเซลล์รูปกรวย 4 ประเภท ในขณะที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด ยกเว้นไพรเมตและสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องบางชนิด ล้วนแต่เห็นเป็นสีด้วยเซลล์รูปกรวยเพียง 2 ประเภท (dichromacy) ไพรเมตเห็นภาพสีด้วยเซลล์รูปกรวย 3 ประเภท (Trichromacy) ที่ตอบสนองสูงสุดต่อคลื่นแสงสีม่วง (คลื่นสั้น S) สีเขียว (คลื่นกลาง M) และสีเหลือง-เขียว (คลื่นยาว L) โดยมีโปรตีนอ็อปซิน (Opsin) เป็นสารรงควัตถุไวแสง (photopigment) หลักในตา และลำดับ/โครงสร้างของอ็อปซินจะเป็นตัวกำหนดความไวสี/สเปกตรัมต่าง ๆ ของเซลล์รูปกรวย แต่ก็ไม่ใช่ว่า ไพรเมตทั้งหมดจะสามารถเห็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ประเภท ลิงวงศ์ใหญ่ "catarrhinni" ซึ่งรวมลิงโลกเก่าและเอป ปกติจะเห็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ประเภท คือทั้งตัวผู้ตัวเมียมีอ็อปซิน 3 ประเภทที่ไวต่อความยาวคลื่นแสงแบบสั้น กลาง และยาว ส่วนในสปีชีส์เกือบทั้งหมดของลิงโลกใหม่ ตัวผู้ทั้งหมดและตัวเมียพันธุ์แท้ จะเห็นภาพสีด้วยเซลล์เพียง 2 ประเภท และตัวเมียพันธุ์ผสม จะเห็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ประเภท ซึ่งเป็นภาวะที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า allelic/polymorphic trichromacy (การเห็นภาพสีด้วยเซลล์รูปกรวย 3 ประเภทเหตุอัลลีลหรือภาวะพหุสัณฐาน) ในบรรดาลิงโลกใหม่ ลิงสกุล Alouatta (Howler monkey) ปกติจะเห็นภาพสีด้วยเซลล์ 3 ประเภท.

ดู วิวัฒนาการและวิวัฒนาการของการเห็นเป็นสีในไพรเมต

วิวัฒนาการของมนุษย์

''Homo sapiens sapiens'' ชาวอาข่าในประเทศไทย วิวัฒนาการของมนุษย์ (Human evolution) เป็นกระบวนการวิวัฒนาการที่นำไปสู่การปรากฏขึ้นของ "มนุษย์ปัจจุบัน" (modern human มีนามตามอนุกรมวิธานว่า Homo sapiens หรือ Homo sapiens sapiens) ซึ่งแม้ว่าจริง ๆ แล้วจะเริ่มต้นตั้งแต่บรรพบุรุษแรกของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด แต่บทความนี้ครอบคลุมเพียงแค่ประวัติวิวัฒนาการของสัตว์อันดับวานร (primate) โดยเฉพาะของสกุล โฮโม (Homo) และการปรากฏขึ้นของมนุษย์สปีชีส์ Homo sapiens ที่จัดเป็นสัตว์วงศ์ลิงใหญ่เท่านั้น การศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการมนุษย์นั้นต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายสาขา รวมทั้งมานุษยวิทยาเชิงกายภาพ (หรือ มานุษยวิทยาเชิงชีวภาพ), วานรวิทยา, โบราณคดี, บรรพชีวินวิทยา, พฤติกรรมวิทยา, ภาษาศาสตร์, จิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการ (evolutionary psychology), คัพภวิทยา และพันธุศาสตร์ กระบวนการวิวัฒนาการเป็นความเปลี่ยนแปลงของลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตผ่านหลายชั่วยุคชีวิต เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความหลายหลากกับสิ่งมีชีวิตในทุกระดับชั้น รวมทั้งระดับสปีชีส์ ระดับสิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิต และแม้กระทั่งโครงสร้างระดับโมเลกุลเช่นดีเอ็นเอและโปรตีน สิ่งมีชีวิตทั้งหมดในโลกสืบสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกันที่มีชีวิตประมาณ 3.8 พันล้านปีก่อน การเกิดสปีชีส์ใหม่ ๆ และการแยกสายพันธุ์ออกจากกันของสิ่งมีชีวิต สามารถอนุมานได้จากลักษณะสืบสายพันธุ์ทางสัณฐานและทางเคมีชีวภาพ หรือโดยลำดับดีเอ็นเอที่มีร่วมกัน คือ ลักษณะสืบสายพันธุ์และลำดับดีเอ็นเอที่มีกำเนิดเดียวกัน จะมีความคล้ายคลึงกันระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันเร็ว ๆ นี้มากกว่าระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันมานานแล้ว ดังนั้นความคล้ายคลึงกันและความแตกต่างกันจึงสามารถใช้สร้างแบบของต้นไม้สายพันธุ์สิ่งมีชีวิต ที่แสดงความสัมพันธ์เชิงญาติ โดยใช้สิ่งมีชีวิตที่ยังมีอยู่หรือใช้ซากดึกดำบรรพ์เป็นหลักฐานข้อมูล รูปแบบความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในโลกเปลี่ยนแปลงไปเพราะการเกิดขึ้นของสปีชีส์ใหม่ ๆ และการสูญพันธุ์ไปของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ งานวิจัยต่าง ๆ ทางพันธุศาสตร์แสดงว่า สัตว์อันดับวานรรวมทั้งมนุษย์แยกออกจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทอื่น ๆ เมื่อประมาณ โดยมีซากดึกดำบรรพ์ปรากฏเป็นครั้งแรกสุดเมื่อประมาณ ส่วนลิงวงศ์ชะนี (Hylobatidae) แยกสายพันธุ์ออกจากสายพันธุ์วงศ์ลิงใหญ่ (Hominidae) รวมทั้งมนุษย์ ซึ่งเป็นวงศ์หนึ่ง ๆ ของสัตว์อันดับวานรนั้น เมื่อ แล้วลิงวงศ์ Ponginae (ลิงอุรังอุตัง) ก็แยกออกจากสายพันธุ์เมื่อประมาณ จากนั้น การเดินด้วยสองเท้า (bipedalism) ซึ่งเป็นการปรับตัวพื้นฐานที่สุดของสัตว์เผ่า Hominini ซึ่งเป็นสายพันธุ์ของมนุษย์ที่ลิงชิมแปนซีได้แยกออกไปแล้ว ก็เริ่มปรากฏในสัตว์สองเท้าแรกสุดในสกุล Sahelanthropus หรือ Orrorin โดยมีสกุล Ardipithecus ซึ่งเป็นสัตว์สองเท้าที่มีหลักฐานชัดเจนกว่า ตามมาทีหลัง ส่วนลิงกอริลลาและลิงชิมแปนซีแยกออกจากสายพันธุ์ในช่วงเวลาใกล้ ๆ กัน คือลิงกอริลลาเมื่อ และลิงชิมแปนซีเมื่อ โดยอาจจะมี Sahelanthropus เป็นบรรพบุรุษสุดท้ายร่วมกันระหว่างชิมแปนซีและมนุษย์ สัตว์สองเท้ายุคเริ่มต้นเหล่านี้ในที่สุดก็วิวัฒนาการมาเป็นเผ่า hominini เผ่าย่อย Australopithecina (australopithecine ปกติรวมสกุล Australopithecus, Paranthropus, และในบางที่ Ardipithecus) ที่ และหลังจากนั้นจึงเป็นเผ่าย่อย Hominina ซึ่งรวมเอามนุษย์สกุล โฮโม เท่านั้น มนุษย์สกุลโฮโมที่มีหลักฐานยืนยันพวกแรกที่สุดเป็นสปีชีส์ Homo habilis ซึ่งเกิดขึ้นประมาณ โดยเชื่อกันว่า สืบสายพันธุ์มาจาก homonin ในสกุล Australopithecus เป็นสปีชีส์แรก ๆ ที่มีหลักฐานชัดเจนว่าใช้เครื่องมือหิน และการปรับตัวของสายพันธุ์มนุษย์อีกอย่างหนึ่งคือ การขยายขนาดของสมอง (encephalization) ก็ได้เริ่มขึ้นที่มนุษย์ยุคต้นนี้ ซึ่งมีขนาดสมองที่ประมาณ 610 ซม3 คือมีขนาดใหญ่กว่าของลิงชิมแปนซีเล็กน้อย (ระหว่าง 300-500 ซม3) มีนักวิทยาศาสตร์ที่เสนอว่า นี้อยู่ในช่วงเวลาที่ยีนมนุษย์ประเภท SRGAP2 มีจำนวนเป็นสองเท่าเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาของสมองกลีบหน้าได้รวดเร็วกว่าในสัตว์อื่น ๆ ต่อมา มนุษย์สปีชีส์ Homo erectus/ergaster ก็เกิดขึ้นในช่วงประมาณ ที่มีปริมาตรกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของลิงชิมแปนซีคือ 850 ซม3 การขยายขนาดของสมองเช่นนี้เทียบเท่ากับมีเซลล์ประสาทเพิ่มขึ้น 125,000 เซลล์ทุกชั่วยุคคน สปีชีส์นี้เชื่อว่าเป็นพวกแรก ๆ ที่สามารถควบคุมไฟ และใช้เครื่องมือหินที่มีเทคโนโลยีที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เป็นมนุษย์สกุล Homo พวกแรกที่อพยพออกไปตั้งถิ่นฐานทั่วทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย และทวีปยุโรป อาจเริ่มตั้งแต่ ดังนั้น การวิวัฒนาการของสายพันธุ์มนุษย์ก่อนหน้านี้ล้วนเป็นไปในแอฟริกาเท่านั้น ส่วนกลุ่มมนุษย์โบราณที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Archaic humans ก็เกิดวิวัฒนาการขึ้นต่อมาประมาณ 600,000 ปีก่อน สืบสายพันธุ์มาจาก H.

ดู วิวัฒนาการและวิวัฒนาการของมนุษย์

วิวัฒนาการของคอเคลีย

ำว่า คอเคลีย มาจากคำภาษาละตินที่แปลว่า "หอยโข่ง/หอยทาก, เปลือก, หรือเกลียว" ซึ่งก็มาจากคำกรีก คือ kohlias ส่วนคำปัจจุบันที่หมายถึง หูชั้นในรูปหอยโข่ง พึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 คอเคลียของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะมีอวัยวะของคอร์ติ ซึ่งมีเซลล์ขนที่แปลแรงสั่นที่วิ่งไปในน้ำที่ล้อมรอบ ให้เป็นกระแสไฟฟ้าที่ส่งไปยังสมองเพื่อประมวลเสียง ส่วนอวัยวะที่มีรูปเป็นหอยโข่งประมาณว่าเกิดในต้นยุคครีเทเชียสราว ๆ 120 ล้านปีก่อน นอกจากนั้นแล้ว เส้นประสาทที่วิ่งไปยังคอเคลียก็เกิดในยุคครีเทเชียสเหมือนกัน วิวัฒนาการของคอเคลียในมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญทางวิทยาศาสตร์เพราะว่าดำรงเป็นหลักฐานได้ดีในซากดึกดำบรรพ์ ในศตวรรษที่ผ่านมา ทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักชีววิทยาเชิงวิวัฒนาการ และนักบรรพชีวินวิทยา ได้พยายามพัฒนาเทคนิคใหม่ ๆ เพื่อข้ามอุปสรรคในการทำงานกับวัตถุโบราณที่บอบบาง ในอดีต นักวิทยาศาสตร์จำกัดมากในการตรวจดูตัวอย่างโดยไม่ทำให้เสียหาย แต่ในปัจจุบัน เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ระดับไมโคร (micro-CT scanning) ช่วยให้สามารถแยกแยะซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์จากซากตกตะกอนอื่น ๆ และเทคโนโลยีรังสีเอกซ์ ก็ช่วยให้ตรวจสมรรถภาพการได้ยินของสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วได้ และช่วยสร้างความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับทั้งบรรพบุรุษมนุษย์และสัตว์อื่น ๆ ที่อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน.

ดู วิวัฒนาการและวิวัฒนาการของคอเคลีย

วงศ์กระต่าย

วงศ์กระต่าย (Hare, Rabbit) เป็นวงศ์ของสัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับกระต่าย (Lagomorpha) ในวงศ์ Leporidae สัตว์ที่อยู่ในวงศ์นี้แม้จะมีฟันแทะเหมือนกับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) แต่ถูกจัดออกมาเป็นอันดับต่างหาก เนื่องมีจำนวนฟันที่ไม่เท่ากัน เพราะกระต่ายมีฟันแทะที่ขากรรไกรบน 2 แถว เรียงซ้อนกันแถวละ 2 ซี่ ฟันกรามบนข้างละ 6 ซี่ และฟันกรามล่างข้างละ 5 ซี่ เมื่อเวลาเคี้ยวอาหาร กระต่ายจะใช้ฟันทั้ง 2 ด้านเคี้ยวสลับกันไป ต่างจากสัตว์ฟันแทะโดยทั่วไปที่เคี้ยวเคลื่อนหน้าเคลื่อนหลัง ซึ่งสามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า (1\tfrac,C\tfrac,P\tfrac,M\tfrac) X 2.

ดู วิวัฒนาการและวงศ์กระต่าย

วงศ์วัวและควาย

วงศ์วัวและควาย เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในอันดับสัตว์กีบคู่ (Artiodactyla) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bovidae จัดเป็นสัตว์กินพืช ลักษณะเด่นของสัตว์ในวงศ์นี้ จะมีเขาที่ไม่มีการแตกกิ่ง ไม่มีการหลุดหรือเปลี่ยนในตลอดช่วงอายุขัย มีกระเพาะอาหารแบ่งเป็น 4 ห้องหรือ 4 ส่วน และมีการหมักย่อย โดยการหมักของกระเพาะอาหารจะอาศัยแบคทีเรียในท่อทางเดินอาหาร โดยส่วนใหญ่ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ในกระเพาะอาหารจะอยู่ที่ 6.7+0.5 มีถุงน้ำดี นอกจากนั้นสัตว์ในตระกูลนี้สามารถสำรอก อาหารออกมาจากกระเพาะหมัก เพื่อทำการเคี้ยวใหม่ได้ ที่เรียกว่า "เคี้ยวเอื้อง" ลูกที่เกิดใหม่จะใช้เวลาไม่นานในการเดินและวิ่งได้ อันเนื่องจากการวิวัฒนาการเพื่อให้เอาตัวรอดจากสัตว์กินเนื้อที่เป็นผู้ล่าในห่วงโซ่อาหาร สัตว์ที่อยู่ในวงศ์นี้ เป็นสัตว์ที่มนุษย์คุ้นเคยและผูกพันอย่างดีในฐานะเป็นสัตว์เศรษฐกิจและปศุสัตว์ ได้แก่ วัว, ควาย, แพะ, แกะ เป็นต้น สำหรับสัตว์ป่า มีการกระจายพันธุ์ไปในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นทวีปออสเตรเลีย ในแอฟริกาและบางส่วนของทวีปเอเชีย จะมีบางชนิดที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับกวาง (Cervidae) เช่น อิมพาลาหรือแอนทีโลป แต่ความเป็นจริงแล้วเป็นสัตว์ในวงศ์นี้.

ดู วิวัฒนาการและวงศ์วัวและควาย

วงศ์วานวิวัฒนาการ

ในทางชีววิทยา วงศ์วานวิวัฒนาการ (Phylogenetics) (Greek: φυλή, φῦλον - phylé, phylon.

ดู วิวัฒนาการและวงศ์วานวิวัฒนาการ

วงศ์ทัวทารา

วงศ์ทัวทารา (Tuatara) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับทัวทารา (Rhynchocephalia) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sphenodontidae ลักษณะทั่วไปของสัตว์เลื้อยคลานในวงศ์นี้ คือ มีลำตัวป้อม หัวและหางมีขนาดใหญ่ ฟันมีขนาดค่อนข้างใหญ่และมีรูปร่างแตกต่างกัน โดยมีฟันเขี้ยวอยู่ที่ส่วนนห้าสุดของกระดูกแมคซิลลาและกระดูกเดนทารี นอกจากนั้นยังมีฟันที่กระดูกพาลาทีนอีกด้วย ซึ่งลักษณะเช่นนี้จะไม่พบในกิ้งก่า ตัวฟันเกาะติดกับพื้นผิวกระดูกโดยตรง กะโหลกมีช่องเปิดบริเวณขมับ 2 ช่องแต่ยังคงมีกระดูกเทมเพอรัล ไม่มีกระดูกในชั้นหนัง ไม่มีแผ่นแก้วหู ทางด้านท้ายของช่องทวารร่วมมีถุงขนาดเล็กหนึ่งคู่ซึ่งเป็นโครงสร้างที่จะวิวัฒนาการไปเป็นถุงพีนิสคู่ในสัตว์เลื้อยคลานอันดับ Squamata สามารถปล่อยหางหลุดจากลำตัวได้ เป็นสัตว์ที่ประชากรส่วนใหญ่ในวงศ์สูญพันธุ์หมดไปแล้ว ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ปัจจุบันเหลือเพียง 2 ชนิด ใน 1 สกุลเท่านั้น ที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ ซึ่งจะพบได้เฉพาะในนิวซีแลนด์เท่านั้น.

ดู วิวัฒนาการและวงศ์ทัวทารา

วงศ์ปลากระเบนหางสั้น

วงศ์ปลากระเบนหางสั้น (Freshwater stingray, River stingray, Short-tail stingray) เป็นปลากระเบนวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Potamotrygonidae โดยคำว่า "Potamotrygon" เป็นภาษากรีก (Ποταμός; potamos) แปลว่า "แม่น้ำ" และภาษากรีกคำว่า "trygon" แปลว่า "ปลากระเบน" พบกระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาใต้ มีรูปร่างกลมคล้ายจานข้าวหรือแผ่นซีดี หางมีขนาดสั้นเมื่อเทียบกับปลากระเบนในวงศ์อื่น ๆ พบทั้งหมด 4 สกุล ในหลายชนิด (ดูในเนื้อหาข้างล่าง) บางชนิดหางสั้นมากจนดูขัดกับขนาดลำตัว เช่น ชนิด Paratrygon aiereba มีขนาดแตกต่างออกไปตามชนิด ตั้งแต่มีขนาดไม่เกิน 2 ฟุต เช่น ชนิด Potamotrygon hystrix ไปจนถึงขนาดหนึ่งเมตร เช่น P.

ดู วิวัฒนาการและวงศ์ปลากระเบนหางสั้น

วงศ์ปลาโรนัน

ปลาโรนัน (Guitarfishes) ปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ Rhinobatidae มีรูปร่างคล้ายปลาฉลามแต่มีส่วนหัวแบนแหลมเหมือนปลากระเบน ซึ่งเป็นรอยต่อของวิวัฒนาการจากปลาฉลามมาถึงปลากระเบน โดยวิวัฒนาการมาตั้งแต่ยุคจูราสสิกตอนต้น พบในเขตน้ำอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก ทั้งทวีปอเมริกาเหนือ, ทวีปแอฟริกา, เอเชีย และออสเตรเลียทางตอนเหนือ.

ดู วิวัฒนาการและวงศ์ปลาโรนัน

วงศ์ปูเสฉวนบก

วงศ์ปูเสฉวนบก (Land hermit crab; วงศ์: Coenobitidae) เป็นวงศ์ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกอาร์โธพอด ในไฟลัมย่อยครัสตาเชียน วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coenobitidae จัดเป็นปูเสฉวนจำพวกที่อาศัยอยู่แต่เฉพาะบนบกที่ใกล้กับชายฝั่งหรือชายทะเลเท่านั้น ไม่อาจจะอาศัยอยู่ในน้ำได้ มิฉะนั้นจะจมน้ำตายได้ เนื่องจากได้วิวัฒนาการตัวเองให้อาศัยและหายใจได้เฉพาะบนบกเท่านั้น แต่กระนั้นปูเสฉวนบกก็ยังต้องการแคลเซียมและเกลือแร่จากน้ำทะเลอยู่ดี มีทั้งหมด 17 ชนิด แบ่งออกเป็น 2 สกุล คือ.

ดู วิวัฒนาการและวงศ์ปูเสฉวนบก

วงศ์นกปักษาสวรรค์

นกปักษาสวรรค์ หรือ นกการเวก หรือ นกวายุภักษ์ (Bird-of-paradise) เป็นวงศ์ของนกเกาะคอนวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Paradisaeidae เป็นนกที่มีสีสันสวยงามมาก โดยเฉพาะในตัวผู้จะมีขนตามตัวสีสันฉูดฉาดสวยงาม ขนหางเหยียดยาวเป็นเส้นโค้งอ่อนช้อย หรือม้วนเป็นรูปร่างแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิด จุดมุ่งหมายเพื่อดึงดูดตัวเมียที่มีความงามด้อยกว่า หรือบางกรณีก็เกิดพึงพอใจในตัวเมียต่างชนิดให้เข้ามาผสมพันธุ์ด้วย ขณะที่ตัวผู้บางชนิดจะเต้นไปบนพื้นดินเพื่อเกี้ยวพาราสีตัวเมีย นกปักษาสวรรค์กินลูกไม้ หรือแมลงบริเวณแหล่งอาศัยเป็นอาหาร นกปักษาสวรรค์ไม่ได้เป็นนกที่อยู่รวมกันเป็นฝูง หากแต่มักจะอยู่ตามลำพังตัวเดียว แต่ตัวผู้ทุกชนิดจะสนใจแต่เรื่องหาคู่ โดยจะเกี้ยวพาราสีตัวเมียเสมอ ๆ ตัวผู้จะมีพฤติกรรมผสมพันธุ์กับตัวเมียตัวเดิมตลอดช่วงของการเกี้ยวพาราสี หรือจะผสมพันธุ์ฺกับตัวเมียหลายตัว หรืออาจจะเป็นตัวเมียตัวเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีกในช่วงเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ ขณะที่ตัวเมียจะไม่มีปัญหา เนื่องจากตัวเมียจะเป็นฝ่ายที่เลือกตัวผู้จากลีลาการเต้นเกี้ยวพาราสี โดยจะใช้เวลาหลายชั่วโมงในแต่ละวันเพื่อมองเฟ้นหาตัวผู้ที่เหมาะสม ซึ่งถือเป็นการคัดเลือกทางเพศที่มีมาตั้งแต่อดีต อีกทั้งยังมีการผสมข้ามสายพันธุ์จนได้เป็นนกพันทางอีกด้วย นกปักษาสวรรค์ กระจายพันธุ์อยู่ในป่าดิบชื้นของนิวกินี, หมู่เกาะโมลุกกะในอินโดนีเซีย และบางส่วนของออสเตรเลีย แบ่งออกได้เป็น 14 สกุล ประมาณ 40 ชนิด โดยกว่าครึ่งอยู่ในนิวกินี (บางข้อมูลจัดให้มี 15 สกุล) การศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่านกปักษาสวรรค์มีวิวัฒนาการเป็นของตัวเองมานานกว่า 24 ล้านปี จนมีความหลากหลายและความงามอย่างในปัจจุบัน วิวัฒนาการดังกล่าวเป็นการเดินทางทางชีววิทยาอันยาวนานกว่าจะแยกออกจากนกในวงศ์ใกล้เคียงกันที่สุด คือ อีกา (Corvidae) ซึ่งเป็นนกที่รู้จักเป็นอย่างดีว่าไม่สวย ในอดีต ขนของนกปักษาสวรรค์ถือเป็นเครื่องบรรณาการหรือสินค้ามีค่ามานานกว่า 2,000 ปี ขนนกใช้แทนเงินได้ การล่าจึงเกิดขึ้นอาจนับตั้งแต่การเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในถิ่นที่อยู่ของนกในวงศ์นี้ และได้กลายมาเป็นที่ต้องการของนักสะสมชาวยุโรป ภายหลังนกปักษาสวรรค์ตัวแรกเดินทางจากดินแดนหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิกไปพร้อมกับกองเรือของเฟอร์ดินันท์ แมกเจลเลน และเทียบท่าสเปนเมื่อปี ค.ศ.

ดู วิวัฒนาการและวงศ์นกปักษาสวรรค์

วงศ์เม่นโลกใหม่

ม่นโลกใหม่ (New world porcupine, วงศ์: Erethizontidae) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) จำพวกเม่น ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Erethizontidae เม่นโลกใหม่มีสายการวิวัฒนาการเป็นของตัวเอง จึงมีลักษณะโดยทั่วไปแตกต่างจากเม่นในวงศ์เม่นโลกเก่า (Hystricidae) คือ เม่นโลกใหม่จะมีความยาวลำตัวที่สั้นกว่า คือ มีความยาวประมาณ 1 ฟุต มีส่วนหางยาวกว่า หนามแหลมตามลำตัวซึ่งเป็นเส้นขน มีความสั้นกว่า และซ่อนอยู่ใต้เส้นขนอ่อนตลอดทั้งลำตัว สามารถใช้หางนี้เกาะเกี่ยวต้นไม้ได้ มีพฤติกรรมการหากินบนต้นไม้เป็นหลัก โดยกินอาหารหลักได้แก่ ใบไม้และยอดไม้อ่อน ๆ หรือเปลือกไม้เป็นอาหาร นอกจากนี้แล้วยังกินแมลงได้อีกด้วย ลูกวัยอ่อนสามารถปีนต้นไม้ได้ตั้งแต่เกิดมาได้เพียง 2 วัน และอายุได้ราว 10 วัน ก็สามารถหาใบไม้กินเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาแม่ มีฟันที่เขียนเป็นสูตรได้ว่า พบกระจายพันธุ์ในป่าฝนของซีกโลกใหม่ คือ ทวีปอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้.

ดู วิวัฒนาการและวงศ์เม่นโลกใหม่

วงศ์เหี้ย

วงศ์เหี้ย (Monitor lizard, Goanna) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับ Squamata ใช้ชื่อวงศ์ว่า Varanidae (/วา-รา-นิ-ดี้/).

ดู วิวัฒนาการและวงศ์เหี้ย

ศาสนาพุทธกับทฤษฎีวิวัฒนาการ

นื่องจากไม่มีหลักสำคัญทางพุทธศาสนาที่ค้านกับทฤษฎีวิวัฒนาการ ชาวพุทธเป็นจำนวนมากยอมรับหลักวิทยาศาสตร์ข้อนี้ได้ แต่คำถามเกี่ยวกับความที่โลก (เอกภพ) มีที่สุดหรือไม่มีที่สุด เที่ยงหรือไม่เที่ยง โดยทั่วไปเป็นปัญหาในปัญหา 10 อย่างที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ เพราะไม่เป็นประโยชน์ต่อข้อปฏิบัติให้ถึงมรรคผลนิพพาน เพราะเหตุนั้น ชาวพุทธบางพวกไม่ใส่ใจในปัญหาเหล่านี้ว่ามีประโยชน์เพื่อการพ้นทุกข์ทั้งของตนและผู้อื่น ส่วนองค์ทะไลลามะทรงปฏิเสธวิวัฒนาการที่มาจากการคัดเลือกโดยธรรมชาติว่า ซึ่งเป็นคำกล่าวที่มีนักวิชาการอธิบายว่า องค์ทะไลลามะได้ตรัสเช่นนี้ก็เพราะว่า การเวียนว่ายตายเกิดนั้นเป็นผลของกรรม ตามหลักของศาสนาพุท.

ดู วิวัฒนาการและศาสนาพุทธกับทฤษฎีวิวัฒนาการ

ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์

มีการเสนอเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ว่า ศาสนาพุทธนั้นเข้ากับวิทยาศาสตร์ได้ ทำให้ศาสนาพุทธได้กลายเป็นประเด็นหนึ่งในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและวิทยาศาสตร์ มีการอ้างว่า คำสอนทั้งทางปรัชญาทั้งทางจิตวิทยาในศาสนาพุทธ มีส่วนที่เหมือนกันกับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์และทางปรัชญา ยกตัวอย่างเช่น ศาสนาพุทธสนับสนุนให้ทำการตรวจสอบธรรมชาติอย่างเป็นกลาง ๆ แนวคิดที่นิยมบางอย่าง เชื่อมคำสอนศาสนาพุทธกับทฤษฎีวิวัฒนาการ ทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม และทฤษฎีจักรวาลวิทยา แต่ว่า นักวิทยาศาตร์โดยมาก เห็นความแตกต่างระหว่างคำสอนทางศาสนาและเกี่ยวกับอภิปรัชญาของศาสนาพุทธ กับระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ ในปี..

ดู วิวัฒนาการและศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์

สกุลชิมแปนซี

กุลชิมแปนซี (Chimpanzee, Bonobo, Chimp) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีวิวัฒนาการสูง ใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด ในอันดับวานร เป็นลิงไม่มีหาง ใช้ชื่อสกุลว่า่ Pan มีถิ่นที่อยู่ในแถบทวีปแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกากลางระดับเส้นศูนย์สูตร ตัวผู้จะหนักราว 110 ปอนด์ มีส่วนสูงเฉลี่ย 5 ฟุต ส่วนตัวเมียหนักราว 88 ปอนด์และสูงเฉลี่ย 4 ฟุต สามารถปีนป่ายต้นไม้ได้เป็นอย่างดี แต่ชอบที่จะหากินและอาศัยอยู่้บนพื้นดินมากกว่า ขนตามลำตัวสั้นสีน้ำตาลดำหรือเทาเข้ม แต่ที่มือและเท้าไม่มีขน รวมทั้งบริเวณใบหน้าและใบหู มีลักษณะเด่น คือ ไม่มีดั้งจมูก ขากรรไกรค่อนข้างยื่นออกมา มีฟันกรามที่พัฒนาใช้การได้ดี มีปริมาตรสมองราว 400 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีโครโมโซมจำนวน 24 คู่ และมีดีเอ็นเอร่วมกับมนุษย์ถึงร้อยละ 99.4 เนื่องจากมีบรรพบุรุษร่วมกันมา แต่ได้แยกวิวัฒนาการออกจากกันเมื่อราว 5-6 ล้านปีก่อน มีพฤติกรรมกินพืชเป็นอาหารหลัก โดยปกติเป็นสัตว์ที่รักสงบ แต่ก็มีบางครั้งที่ตัวผู้จะมีพฤติกรรมดุร้าย มักยกพวกเข้าโจมตีกัน และยังมีพฤติกรรมล่าลิงชนิดอื่น ได้แก่ ลิงโลกเก่ากินเป็นอาหารอีกด้วย เป็นสัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นครอบครัว มีความสัมพันธ์เป็นเครือญาติกัน โดยมีตัวผู้เป็นจ่าฝูง ออกลูกครั้งละเพียง 1 ตัว อายุขัยโดยเฉลี่ย 40 ปี เป็นสัตว์ที่มีความเฉลียวฉลาด มีการแสดงออกทางอารมณ์คล้ายคลึงและใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด รวมทั้งกล้ามเนื้อและสรีระ ทั้งนี้เพราะระบบกล้ามเนื้อของมนุษย์และชิมแปนซีนั้นคล้ายกันมาก แต่ถึงอย่างนั้นเมื่อเปรียบเทียบกันต่อหน่วยน้ำหนักแล้ว ชิมแปนซีมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงกว่ามนุษย์ 2-3 เท่า โดยมีการศึกษาพบว่า ชิมแปนซีมีความทรงจำดีัเสียยิ่งกว่ามนุษย์ที่เป็นผู้ใหญ่เสียอีก และจดจำคำศัพท์ของมนุษย์ได้ถึง 125 คำ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ.

ดู วิวัฒนาการและสกุลชิมแปนซี

สกุลปลาไบเคอร์

กุลปลาไบเคอร์ หรือ สกุลปลาบิเชียร์ (Bichir, Dinosaur eel) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดกระดูกแข็งสกุลหนึ่ง ในชื่อสกุลว่า Polypterus อยู่ในวงศ์ปลาไบเคอร์ (Polypteridae) จัดเป็นปลาที่มีวิวัฒนาการเป็นของตัวเอง ต่างจากปลากระดูกแข็งในวงศ์อื่น ๆ มีรูปร่างคลัยกับงูหรือกิ้งก่า ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานมากกว่าจะเป็นปลา มีเกล็ดขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจนเป็นแบบกานอยด์ หรือเกล็ดแบบสาก และสามารถหายใจได้โดยผ่านถุงลมแทนที่จะใช้ซี่กรองเหงือกเหมือนปลาในวงศ์อื่น ๆ มีครีบทุกครีบที่แข็งแรงและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งใช้ในการเคลื่อนที่ใต้น้ำได้เป็นอย่างดี โดยมักจะหากินใต้น้ำ ในเวลากลางคืน กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทวีปแอฟริกาทั้งแหล่งน้ำจืด และบริเวณที่เป็นน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำ ปลาไบเคอร์ ชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ ปลาไบเคอร์ยักษ์ (Polypterus endlicheri congicus) ซึ่งเป็นชนิดย่อยของปลาไบเคอร์คองโก (P.

ดู วิวัฒนาการและสกุลปลาไบเคอร์

สกุลเสือไฟ

กุลเสือไฟ (Golden cat) เป็นสกุลของสัตว์กินเนื้อจำพวกเสือขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Catopuma ในวงศ์เสือและแมว (Felidae) ลักษณะโดยทั่วไปของเสือในสกุลนี้ คือ จะมีขนสีเดียวตลอดทั้งตัว คือ สีแดงหรือสีส้ม ในขณะที่ส่วนหัวจะมีลวดลายสีเข้มเป็นเอกลักษณ์ พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ จนถึงเกาะบอร์เนียว ปัจจุบันมีการแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด โดยทั้ง 2 ชนิดนี้ถูกแยกออกจากกันชัดเจนจากการวิเคราะห์ทางพันธุกรรม โดยทั้ง 2 ชนิดนี้ถูกแยกออกจากกันเมื่อ 4.9-5.3 ล้านปีมาแล้ว โดยชนิดที่พบบนเกาะบอร์เนียววิวัฒนาการตัวเองแยกออกมาก่อน โดยมีญาติใกล้ชิดที่สุด คือ แมวลายหินอ่อน ซึ่งอยู่ในสกุล Pardofelis ซึ่งแยกออกมาต่างหากเมื่อ 9.4 ล้านปีก่อน.

ดู วิวัฒนาการและสกุลเสือไฟ

สภาวะเห็นทั้งบอด

วะเห็นทั้งบอด หรือ การเห็นทั้งบอด หรือ เห็นทั้งบอด หรือ บลายน์ดไซต์ (blindsight) เป็นความสามารถในการตอบสนองต่อตัวกระตุ้นทางตา ของผู้ที่มีความบอดเหตุสมอง (cortical blindness) ที่เนื่องมาจากรอยโรคในคอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐม ทั้ง ๆ ที่ผู้นั้นไม่สามารถจะเห็นตัวกระตุ้นนั้น งานวิจัยของสภาวะเห็นทั้งบอดโดยมาก ได้ทำกับคนไข้ที่มีภาวะบอดของลานสายตาเพียงข้างเดียว หลังจากที่คอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐมของคนไข้ถูกทำลายแล้วเพราะโรคหรือเหตุอย่างอื่น คือ นักวิจัยจะให้คนไข้ตรวจจับ หาตำแหน่ง และแยกแยะตัวกระตุ้นทางตาที่แสดงให้กับลานสายตาข้างที่คนไข้มองไม่เห็น โดยบอกให้คนไข้เดา และแม้ว่าคนไข้จะมองไม่เห็นตัวกระตุ้นนั้นจริง ๆ งานวิจัยกลับแสดงถึงความแม่นยำของการเดาในระดับหนึ่งที่น่าประหลาดใจ ความสามารถในการเดาด้วยความแม่นยำที่สูงกว่าความบังเอิญ ถึงลักษณะบางอย่างของตัวกระตุ้นทางตา เช่นตำแหน่ง หรือว่าชนิดของความเคลื่อนไหว ทั้ง ๆ ที่ไม่มีการรับรู้ในตัวกระตุ้นโดยประการทั้งปวง เรียกว่า สภาวะเห็นทั้งบอดแบบ 1 ส่วนสภาวะเห็นทั้งบอดแบบ 2 เป็นแบบที่คนไข้อ้างว่า รู้สึกว่ามีอะไรบางอย่างที่เปลี่ยนไปในลานสายตาข้างที่มองไม่เห็น ตัวอย่างเช่น การเคลื่อนไหว แต่ว่าไม่ใช่โดยการมองเห็นสิ่งเร้าทางตา สภาวะเห็นทั้งบอดท้าทายความเชื่อที่แพร่หลายว่า สิ่งเร้าต้องปรากฏต่อการรับรู้ จึงจะสามารถมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมได้ ปรากฏการณ์นี้แสดงว่า พฤติกรรมของเราสามารถเปลี่ยนไปเพราะข้อมูลการรับรู้ ที่ "เรา" ไม่ได้รับรู้ด้วยเลย สภาวะนี้สามารถพิจารณาว่าเป็นสภาวะตรงกันข้ามกันกับภาวะเสียสำนึกความพิการที่รู้จักกันว่า Anton-Babinski syndrome ที่คนไข้เสียการเห็นอย่างบริบูรณ์ แต่กลับการกุเหตุความจำเสื่อม (confabulation) ว่าเห็น.

ดู วิวัฒนาการและสภาวะเห็นทั้งบอด

สมองใหญ่

ทเลนเซฟาลอน (Telencephalon) เป็นส่วนของสมองส่วนหน้า เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ของสมองซึ่งทำหน้าที่หลากหลาย อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ซีรีบรัม (Cerebrum) หรือ สมองใหญ่ ในทางเทคนิค เทเลนเซฟาลอนหมายถึงซีรีบรัล เฮมิสเฟียร์ (cerebral hemispheres) และโครงสร้างเล็กๆ อื่นๆ ภายในสมอง สมองส่วนนี้เป็นส่วนที่อยู่หน้าสุดในการแบ่งส่วนของสมองในเอ็มบริโอ เจริญมาจากโปรเซนเซฟาลอน.

ดู วิวัฒนาการและสมองใหญ่

สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12

มเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 (Pius Papa XII) พระสันตะปาปาพระองค์ที่ 260 พระประมุขแห่งนครรัฐวาติกัน ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม ค.ศ.

ดู วิวัฒนาการและสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

ัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibians) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้น Amphibia อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก มีลักษณะเฉพาะ คือ ผิวหนังมีต่อมเมือกทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นตลอดเวลา ผิวหนังเปียกลื่นอยู่เสมอ ไม่มีเกล็ดตัวไม่แห้งหรือไม่มีขน หายใจด้วยเหงือก, ปอด, ผิวหนัง หรือผิวในปากในคอ โดยชั้นผิวหนังนั้นมีลักษณะพิเศษสามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เนื่องจากมีโครงข่ายหลอดเลือดฝอยจำนวนมาก เพื่อใช้ในการหายใจ สืบพันธุ์โดยการผสมพันธุ์ภายนอกลำตัว สืบพันธุ์เมื่ออายุ 2–3 ปี ออกลูกเป็นไข่อยู่ในน้ำ ไม่มีเปลือก วางไข่เป็นกลุ่มในน้ำมีสารเป็นวุ้นหุ้ม ลูกอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างคล้ายปลาเรียกว่า "ลูกอ๊อด" อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วมีปอดหายใจ ขึ้นบกได้ แต่ต้องอยู่ใกล้น้ำ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทั้งภายนอกและภายในอย่างสิ้นเชิง ไปตามวงจรชีวิต ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนรูปร่างอาศัยอยู่บนบก หายใจด้วยปอดหรือผิวหนัง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งในช่วงระหว่างฤดูหนาวถึงฤดูร้อน ส่วนใหญ่จะขุดรูจำศีล เพื่อหนีความแห้งแล้ง มิให้ผิวหนังแห้ง ถ้าผิวหนังแห้งจะหายใจไม่ได้และตายในที่สุด เพราะก๊าชจากอากาศต้องละลายไปกับน้ำเมือกที่ผิวหนัง แล้วจึงแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต ระยะนี้จะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้า ๆ นิวต์และซาลามานเดอร์ก็เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหมือนกัน แต่แตกตางกันตรงที่นิวต์และซาลามานเดอร์จะยังคงหางของมันไว้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกถือเป็นสัตว์เลือดเย็นเช่นเดียวกับสัตว์พวกปลา หรือแมลง หรือสัตว์เลื้อยคลาน ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานสัตว์ในชั้นแล้วกว่า 6,500 ชน.

ดู วิวัฒนาการและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ดู วิวัฒนาการและสัตว์ปีก

สิ่งมีชีวิต

งมีชีวิต จะมีคุณลักษณะ (properties) ที่ไม่พบในสิ่งไม่มีชีวิต อันได้แก่ความสามารถในการใช้สสารและพลังงานเป็นสำคัญ ซึ่งได้รับถ่ายทอดจากบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตแรกเริ่ม อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตเริ่มแรกหรือบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตซึ่งถือกำเนิดมาบนโลกกว่า 4 พันล้านปี เมื่อผ่านการวิวัฒนาการและการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลา ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตเป็นจำนวนมากดังที่ปรากฏในปัจจุบัน.

ดู วิวัฒนาการและสิ่งมีชีวิต

สิ่งมีชีวิตตัวแบบ

''Escherichia coli'' เป็นสิ่งมีชีวิตตัวแบบที่เป็นโพรแคริโอตและแบคทีเรียแกรมลบ แมลงวันทองเป็นสัตว์ทดลองที่ใช้มากที่สุดชนิดหนึ่ง ''Saccharomyces cerevisiae'' เป็นโพรแคริโอตตัวแบบที่ใช้ศึกษามากที่สุดในอณูชีววิทยาและชีววิทยาของเซลล์ สิ่งมีชีวิตตัวแบบ หรือ สิ่งมีชีวิตแบบจำลอง (model organism) เป็นสปีชีส์สิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์ ที่ใช้อย่างกว้างขวางในการศึกษาเพื่อเข้าใจปรากฏการณ์ทางชีววิทยาต่าง ๆ โดยคาดหวังว่า สิ่งที่ค้นพบในแบบจำลองจะช่วยให้เข้าใจธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ สิ่งมีชีวิตแบบจำลองจะเป็นแบบยังมีชีวิตอยู่ และได้ใช้อย่างกว้างขวางในงานวิจัยโรคมนุษย์ที่การทดลองในมนุษย์เป็นไปไม่ได้หรือไม่ถูกจริยธรรม กลยุทธ์นี่ใช้ได้ก็เพราะสิ่งมีชีวิตทั้งหมดสืบเชื้อสายร่วมกันจากบรรพบุรุษเดียวกัน โดยได้อนุรักษ์วิถีเมแทบอลิซึม วิถีพัฒนาการ และกระบวนการอื่น ๆ ทางพันธุกรรมตลอดวิวัฒนาการ แม้การศึกษาสิ่งมีชีวิตตัวแบบจะให้ข้อมูลที่ดี แต่ก็ต้องระวังเมื่อประยุกต์ใช้กับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในการวิจัยโรคมนุษย์ สิ่งมีชีวิตตัวแบบจะทำให้เข้าใจกระบวนการของโรคดีขึ้นโดยไม่ต้องเสี่ยงทำอันตรายแก่มนุษย์ สปีชีส์ที่เลือกปกติจะผ่านเกณฑ์ความสมมูลทางอนุกรมวิธาน (taxonomic equivalency) บางอย่างกับมนุษย์ คือสัตว์จะมีปฏิกิริยาทางสรีรภาพต่อโรคหรือต่อการรักษา ในรูปแบบที่คล้าย ๆ กับของมนุษย์ ถึงแม้จะไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่า กระบวนการทางชีววิทยาที่พบในสัตว์ตัวแบบจะเป็นอย่างเดียวกันในมนุษย์ แต่วิธีการรักษาและยาจำนวนมากที่ใช้ในโรคมนุษย์ ก็ได้พัฒนาอาศัยแนวคิดที่ได้จากสัตว์ตัวแบบเป็นบางส่วน มีแบบจำลองโรค 3 ประเภทหลัก ๆ คือ homologous (กำเนิดเดียวกัน), isomorphic (สมสัณฐาน) และ predictive (พยากรณ์) สัตว์จำลองแบบกำเนิดเดียวกันจะมีเหตุโรค อาการ และการรักษาเหมือนกับของมนุษย์ที่มีโรค สัตว์จำลองแบบสมสัณฐานจะมีอาการและการรักษาเหมือนกัน สัตว์จำลองแบบพยากรณ์จะมีสภาพเพียงแค่บางอย่างที่คล้ายกับมนุษย์ผู้มีโรค แต่ก็มีประโยชน์ในการคาดหมายกลไกต่าง ๆ เกี่ยวกับโร.

ดู วิวัฒนาการและสิ่งมีชีวิตตัวแบบ

สิ่งมีชีวิตนอกโลก

นหุ่นยนต์รถสำรวจคิวริออซิตี้โรเวอร์) มนุษย์ต่างดาวในจินตนาการของคนส่วนใหญ่ มนุษย์ต่างดาว (alien) เป็นสิ่งที่เชื่อว่าอาจมีอยู่จริงแต่ยังไม่มีข้อพิสูจน์ ลักษณะเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่นอกโลก ซึ่งในความคิดของคนส่วนใหญ่ มักจะวาดภาพ มนุษย์ต่างดาว ลักษณะคล้ายคนแต่ ตัวเขียว หัวโต ตาโต เคยมาเยือนโลกโดยมากับ จานบิน สิ่งมีชีวิตนอกโลก (extraterrestrial life) (จากคำภาษาละติน: extra และ terrestris) ถูกกำหนดให้เป็นชีวิตที่ไม่ได้เกิดจากโลก มันมักจะหมายถึง สิ่งมีชีวิตนอกโลก หรือเรียกเพียงว่า มนุษย์ต่างดาว (หรือมนุษย์ต่างดาวในอวกาศเพื่อให้แตกต่างจากคำจำกัดความอื่น ๆ ของมนุษย์ต่างภิภพหรือมนุษย์ต่างดาว) รูปแบบชีวิตเหล่านี้ตามสมมติฐานของชีวิตช่วงระยะเริ่มจากสิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรียขั้นพื้นฐานเหมือนสิ่งมีชีวิตที่เรียบง่ายไปไกลจนถึงขั้นที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเกินกว่าสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า มนุษย์ ความเป็นไปได้ว่ายังอาจจะมีไวรัส (viruses) ที่มีการดำรงชีวิตอยู่แบบสิ่งมีชีวิตนอกโลก (extraterrestrially) ได้รับการเสนอขึ้น การพัฒนาและการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับชีวิตต่างดาวที่เป็นที่รู้จักกันในนามของวิชาที่เรียกว่า "ชีววิทยานอกโลก" หรือ "ชีวดาราศาสตร์" ("exobiology" or "astrobiology") แม้ว่าวิชาชีวดาราศาสตร์จะยังคงพิจารณาถึงชีวิตที่เกิดขึ้นที่เป็นขั้นพื้นฐานบนโลกที่ใช้ในบริบททางดาราศาสตร์อยู่ก็ตาม นักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดว่าชีวิตนอกโลกเป็นสิ่งที่มีความเป็นไปได้ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานโดยตรงในการดำรงอยู่ของมัน นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 ได้มีการค้นหาอย่างต่อเนื่องสำหรับสัญญาณของชีวิตนอกโลก, จากวิทยุที่ใช้ในการตรวจจับสัญญาณต่างดาวที่มีความเป็นไปได้, ไปจนถึงกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ในการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบที่มีศักยภาพเพียงพอสำหรับเป็นสถานที่เอื้ออาศัยสำหรับสภาพชีวิตที่อาจสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้มันก็ยังมีบทบาทที่สำคัญต่องานเขียนทางด้านเกี่ยวกับนิยายวิทยาศาสตร์ (science fiction) อีกด้วย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา, ผลงานทางด้านนิยายวิทยาศาสตร์, โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมของฮอลลีวู้ด, ได้ช่วยเพิ่มทวีความสนใจให้มากขึ้นของประชาชนในความเป็นไปได้เกี่ยวกับชีวิตนอกโลก บางส่วนสนับสนุนให้ใช้วิธีการเชิงรุกสำหรับในความพยายามและได้รับการติดต่อกับสิ่งมีชีวิตจากห้วงอวกาศ, ในขณะที่อีกบางส่วน ยืนยันว่ามันก็อาจจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์เราชาวโลกเราได้สำหรับในการที่จะกระตือรือร้นเรียกร้องความสนใจจากมนุษย์ต่างดาว ในอดีตที่ผ่านมา, ความขัดแย้งกันระหว่างวัฒนธรรมที่เจริญและคนพื้นเมืองนั้นก็ยังไม่ได้เป็นไปด้วยดี.

ดู วิวัฒนาการและสิ่งมีชีวิตนอกโลก

สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น

รองเท้านารีปีกแมลงปอ หรือ รองเท้านารีสุขะกูล (''Paphiopedilum sukhakulii'') เป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่นที่พบได้เฉพาะภูเขาหินทรายในป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 1,000-1,500 เมตร ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเท่านั้น''กล้วยไม้เมืองไทย'', รศ.ดร.

ดู วิวัฒนาการและสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น

หมึก (สัตว์)

หมึก หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาหมึก เป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดใหญ่ เคลื่อนที่ได้รวดเร็ว และว่องไว มีหนวดรอบปาก 4-5 คู่ บนหนวดมีปุ่มดูดเรียงเป็นแถว มีหน้าที่จับเหยื่อป้อนเข้าปาก เป็นสัตว์ที่มีอยู่ในไฟลัมมอลลัสกา ชั้นเซฟาโลพอดซึ่งเป็นชั้นของสัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนิ่ม ชั้นย่อย Coleoidea ต่างจากกลุ่มสัตว์ที่ใกล้เคียงกันคือ Nautiloidea ซึ่งมีเปลือกแข็งห่อหุ้มภายนอกร่างกาย แต่หมึกส่วนใหญ่กลับมีกระดูกหรือเปลือกอยู่ภายในเพื่อใช้ประโยชน์ในการเป็นทุ่นหรือพยุงร่างกาย ซึ่งเรียกว่า ลิ้นทะเล ยังมีบางชนิดที่ไม่มีกระดูก แต่มีกระดูกอ่อนทดแทนเพื่อใช้ในการพยุงโครงสร้างร่างกาย คำว่า Cephalopoda ซึ่งเป็นชื่อชั้นที่ใช้เรียกหมึก มาจากภาษากรีกแปลรวมกันว่า "สัตว์หัว-เท้า" (head-footed animals) เนื่องจากหมึกเป็นสัตว์ที่ไม่มีแขนขา เพียงแต่มีระยางค์ยื่นออกจากจากรอบ ๆ บริเวณปากเรียกว่า หนวด เท่านั้นเอง หมึกวิวัฒนาการมาจากมอลลัสกา ในปลายยุคแคมเบรียน หรือราว 500 ล้านปีก่อน แต่กระนั้นหมึกและหอยในยุคปัจจุบันนี้ ก็ยังมีระบบทางร่างกายหลายอย่างเหมือนกัน กล่าวคือ ระบบทางเดินอาหาร, ปาก, ฟัน และกล้ามเนื้อแบบแมนเทิล ปัจจุบัน ได้มีการค้นพบหมึกแล้วว่า 1,000 ชนิด ชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ หมึกมหึมา (Mesonychoteuthis hamiltoni) ซึ่งเป็นหมึกในอันดับหมึกกล้วย อาศัยอยู่ในห้วงน้ำลึกของมหาสมุทรแอตแลนติก อาจยาวได้ถึง 14 เมตร นับเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย และเล็กที่สุดมีขนาดไม่เกิน 1 เซนติเมตรด้วยซ้ำ เช่น หมึกในวงศ์ Idiosepiidae เป็นต้น หมึกมีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการใช้เป็นอาหารมาช้านาน ในแทบทุกวัฒนธรรม หมึกถือเป็นสัตว์ทะเลที่ใช้ปรุงเป็นอาหาร ซึ่งสามารถปรุงสุดได้ทั้งสดและตากแห้ง เช่น ในอาหารไทย เช่น หมึกผัดกะเพรา หรือ หมึกย่าง เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ โดยเฉพาะลิ้นทะเล ซึ่งมีแคลเซียมเป็นจำนวนมาก จึงนิยมให้นกหรือสัตว์ปีกกินเพื่อเพิ่มแคลเซียมในร่างกาย นอกจากนี้แล้ว หมึกยังมักถูกอ้างอิงถึงในวรรณกรรมประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะหมึกยักษ์หรือหมึกที่มีขนาดใหญ่ เช่น โจมตีใส่เรือดำน้ำนอติลุสของกัปตันนีโม ในนวนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง Twenty Thousand Leagues Under the Sea เป็นต้น สำหรับหมึกที่พบในน่านน้ำไทย ได้แก่ หมึกกระดองลายเสือ (Sepia pharaonis), หมึกกล้วย (Photololigo duvauceli), หมึกหอม (Sepioteuthis lessoniana), หมึกสายราชา (Octopus rex) เป็นต้น เลือดปลาหมึกมีสีน้ำเงิน.

ดู วิวัฒนาการและหมึก (สัตว์)

หม้อข้าวหม้อแกงลิง

ทความนี้เป็นบทความสำหรับชื่อวงศ์ และสกุล หม้อข้าวหม้อแกงลิง (nepenthes; ชื่อสามัญ: tropical pitcher plants หรือ monkey cups) (nə'pεnθiːz / มาจากภาษากรีก: ne.

ดู วิวัฒนาการและหม้อข้าวหม้อแกงลิง

หลุยส์ ลีกคี

หลุยส์ ซีมอร์ บาเซตต์ ลีกคี (Louis Seymour Bazett Leakey; 7 สิงหาคม ค.ศ. 1903 - 1 ตุลาคม ค.ศ. 1972) นักบรรพชีวินวิทยาและธรรมชาติวิทยาชาวเคนยา ผู้มีส่วนสำคัญในการศึกษาวิวัฒนาการของมนุษย์จากการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของเอป เป็นกำลังสำคัญในการก่อตั้งองค์กรเพื่อวิจัย และพิทักษ์สัตว์ป่าในแอฟริกา หลุยส์ ลีกคี เกิดในครอบครัวมิชชันนารีชาวอังกฤษที่อาศัยอยู่ในกรุงไนโรบี ประเทศเคนยา จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ แล้วเริ่มงานเป็นหมอสอนศาสนา ก่อนจะหันมาศึกษางานด้านโบราณคดี มานุษยวิทยา และบรรพชีวินวิท.

ดู วิวัฒนาการและหลุยส์ ลีกคี

หอยงวงช้าง

ำหรับหอยงวงช้างที่นิยมนำมารับประทาน ดูที่: หอยกูอีดั๊ก หอยงวงช้าง เป็นมอลลัสคาในชั้นเซฟาโลพอด จัดอยู่ในอันดับย่อย Nautilina จัดเป็นมอลลัสคาที่มีวิวัฒนาการค่อนข้างสูง เป็นสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิตอยู่บนโลกนี้แล้วกว่า 350 ล้านปี จัดอยู่ในชั้นเซฟาโลพอด อันเป็นชั้นเดียวกับปลาหมึก ในชั้นย่อยนอติลอยด์ จัดเป็นนอติลอยด์เพียงกลุ่มเดียวเท่าที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ถือได้ว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตจำพวกหนึ่งก็ว่าได้.

ดู วิวัฒนาการและหอยงวงช้าง

หูชั้นกลาง

หูชั้นกลาง (middle ear, auris media) คือหูส่วนที่อยู่หลังแก้วหู แต่ก่อนช่องรูปไข่ (oval window) ของหูชั้นใน ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หูชั้นกลางจะมีกระดูกหู (ossicles) เล็ก ๆ 3 ท่อน ซึ่งถ่ายโอนแรงสั่นที่แก้วหูไปเป็นคลื่นภายในหูชั้นใน ช่องในหูชั้นกลางเรียกว่า โพรงหูส่วนกลาง (tympanic cavity) โดยมีท่อยูสเตเชียน เชื่อมกับคอหอยส่วนจมูก (nasopharynx) ท่อยูสเตเชียนจะช่วยรักษาดุลความดันระหว่างหูชั้นกลางและคอ หน้าที่หลักของหูชั้นกลางก็คือถ่ายโอนพลังงานเสียงจากคลื่นในอากาศไปเป็นคลื่นในน้ำและในเยื่อของหูชั้นในรูปหอยโข่ง (คอเคลีย).

ดู วิวัฒนาการและหูชั้นกลาง

หูชั้นในรูปหอยโข่ง

หูชั้นในรูปหอยโข่ง หรือ อวัยวะรูปหอยโข่ง หรือ คอเคลีย (cochlea,, จาก κοχλίας, kōhlias, แปลว่า หมุนเป็นวงก้นหอย หรือเปลือกหอยทาก) เป็นอวัยวะรับเสียงในหูชั้นใน เป็นช่องกลวงมีรูปร่างเป็นก้นหอยโข่งอยู่ในกระดูกห้องหูชั้นใน (bony labyrinth) โดยในมนุษย์จะหมุน 2.5 ครั้งรอบ ๆ แกนที่เรียกว่า modiolus และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 9 มม.

ดู วิวัฒนาการและหูชั้นในรูปหอยโข่ง

หน่วยรับรส

หน่วยรับรส (taste receptor) เป็นหน่วยรับความรู้สึกประเภทหนึ่ง อยู่ที่เยื่อหุ้มเซลล์รับรส และอำนวยให้รู้รส เมื่ออาหารหรือสารอื่น ๆ เข้ามาในปาก โมเลกุลของอาหารที่ละลายอยู่ในน้ำลายจะจับกับหน่วยรับรสในช่องปากและในที่อื่น ๆ ซึ่งก่อปฏิกิริยาภายในเซลล์ และในที่สุดทำให้เซลล์หลั่งสารสื่อประสาท อำนวยให้เกิดกระแสประสาทส่งไปยังสมอง แล้วทำให้รู้รส ระบบรับรสมีหน้าที่หลักเกี่ยวกับสารอาหาร มนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสามารถรับรู้รสหลัก ๆ ได้ 5 อย่างคือ รสเค็ม เปรี้ยว หวาน ขม และอุมะมิ หน่วยรับรสสามารถแบ่งออกเป็นแบบทั่ว ๆ ไปสองหมู่คือ.

ดู วิวัฒนาการและหน่วยรับรส

อวัยวะของคอร์ติ

อวัยวะของคอร์ติ (organ of Corti, spiral organ) เป็นอวัยวะรับรู้เสียงที่อยู่ในหูชั้นในรูปหอยโข่ง (หรือคอเคลีย) ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีแถบเซลล์เยื่อบุผิวที่ไม่เหมือนกันตลอดแถบ ทำให้สามารถถ่ายโอนเสียงต่าง ๆ ให้เป็นสัญญาณประสาทต่าง ๆ โดยเกิดผ่านแรงสั่นสะเทือนที่ทำให้น้ำในคอเคลียและเซลล์ขนในอวัยวะของคอร์ติไหว นักกายวิภาคชาวอิตาลี น.

ดู วิวัฒนาการและอวัยวะของคอร์ติ

อัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ

อัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ''' อัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ (Alfred Russel Wallace; พ.ศ. 2366 — 2456) นักธรรมชาติวิทยา นักภูมิศาสตร์ นักมานุษยวิทยาและนักชีววิทยาชาวอังกฤษ เกิดที่ อัสค์ มอนมัธไชร์ เวลส์ตะวันออกเฉียงใต้ วอลเลซได้เดินทางเก็บตัวอย่างพืชพรรณแถบแอมะซอนเมื่อ..

ดู วิวัฒนาการและอัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ

อันดับกระแต

ฟันของกระแต กระแต (1920.) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กอันดับหนึ่ง ใช้ชื่ออันดับว่า Scandentia กระแต มีลักษณะโดยรวมคล้ายกับกระรอก ซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) รวมทั้งมีพฤติกรรมความเป็นอยู่ที่คล้ายกัน หากแต่กระแตมีปากยื่นยาวกว่ากระรอก มีฟันเล็กหลายซี่ ไม่ได้เป็นฟันแทะ แบ่งออกเป็นฟันตัด 4 ซี่ ที่ขากรรไกรบน และ 6 ซี่ที่ขากรรไกรล่าง สามรถเขียนเป็นสูตรได้ว่า จึงไม่สามารถที่จะกัดแทะผลไม้หรือไม้เปลือกแข็งอย่างกระรอกได้ และมีนิ้วที่ขาคู่หน้า 5 นิ้ว ที่เจริญและใช้ในการหยิบจับได้ดี เหมือนเช่นสัตว์ในอันดับไพรเมต (Primate) หรืออันดับวานร กระแตมีขนปกลุมลำตัวสีเขียวหรือสีน้ำตาลเหมือนกระรอก มีหางยาวประมาณ 12-19 เซนติเมตร กระแต นั้นหากินทั้งบนพื้นดิน โคนต้นไม้ และบนต้นไม้ กินได้ทั้งพืช และสัตว์เล็ก ๆ อย่าง แมลง หรือหนอน เป็นอาหาร โดยมากจะหากินในเวลากลางคืน และอาศัยอยู่ตามลำพังเพียงตัวเดียว แต่บางครั้งก็พบอยู่ด้วยกัน 2-3 ตัว เป็นฝูงเล็ก ๆ ออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว โดยที่ก็ตกเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่กว่า เช่น ชะมด หรืออีเห็น, แมวป่า หรือนกล่าเหยื่อ อย่าง เหยี่ยว หรืออินทรี ด้วย กระแต กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในป่าทวีปเอเชียแถบเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์ มีทั้งหมด 19 ชนิด 5 สกุล แบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ (ดูในตาราง) พบในประเทศไทย 5 ชนิด คือ กระแตเหนือ (Tupaia belangeri) และกระแตใต้ หรือกระแตธรรมดา (T.

ดู วิวัฒนาการและอันดับกระแต

อันดับกิ้งก่าและงู

อันดับกิ้งก่าและงู (Lizard and Snake) เป็นอันดับของสัตว์เลื้อยคลานที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ ใช้ชื่อว่า Squamata (/สะ-ควอ-มา-ตา/) นับเป็นอันดับที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดและพบได้หลากหลายกว้างขวางมากที่สุด โดยอันดับนี้แบ่งได้เป็น 2 อันดับย่อย คือ Lacertilia หรือ อันดับย่อยกิ้งก่า กับ Serpentes หรือ อันดับย่อยงู การที่รวมสัตว์เลื้อยคลานทั้ง 2 ประเภทนี้ไว้ด้วยกัน เหตุเพราะมีโครงสร้างบางอย่างที่ร่วมกันถึง 70 ประการ โดยงูนั้นมีวิวัฒนาการมาจากกิ้งก่าในวงศ์ Amphisbaenidae ที่มีการลดรูปของขา นอกจากนั้นแล้วยังมีกล้ามเนื้อ, กระดูก, กะโหลก, อวัยวะถ่ายอสุจิที่เป็นถุงพีนิสคู่ แต่มีความแตกต่างกันทางด้านสรีระ พฤติกรรม และการทำงานของโครงสร้างอวัยวะ ทั้งกิ้งก่าและงูมีเกล็ดปกคลุมลำตัว โดยมีปริมาณ ลักษณะ และจำนวนที่ปกคลุมอวัยวะแต่ละส่วนแตกต่างกันตามลักษณะทางอนุกรมวิธาน กิ้งก่าบางชนิดมีกระดูกในชั้นหนังซ้อนอยู่ใต้เกล็ดซึ่งไม่มีในงู พื้นผิวลำตัวของกิ้งก่ามีต่อมผิวหนังไม่มากแต่บริเวณด้านหน้าช่องเปิดทวารร่วมและทางด้านในของต้นขาหลังของกิ้งก่าหลายชนิดมีต่อมผิวหนังค่อนข้างมาก ซึ่งสังเคราะห์สารเคมีเพื่อใช้ในการกำหนดอาณาเขตและหน้าที่ประการต่าง ๆ ซึ่งจำนวนต่อมดังกล่าวนี้อีกทั้งตำแหน่งที่ตั้งแตกต่างกันระหว่างเพศ โดยตัวผู้จะมีมากกว่าและใหญ่กว่า ซึ่งต่อมดังกล่าวนี้ยังใช้เป็นลักษณะในการจำแนกประเภทอีกด้วย กิ้งก่าและงูหลายชนิดสามารถปล่อยท่อนหางให้หลุดจากลำตัวเพื่อหนีเอาตัวรอดจากศัตรูได้ เช่น ในวงศ์จิ้งเหลน (Scincidae) บางตัวอาจหลุดได้หลายครั้งในช่วงชีวิต เหตุที่หลุดและงอกใหม่ได้เนื่องจากลักษณะการเรียงตัวของกล้ามเนื้อกับเนื้อเยื่อที่เกี่ยวพันซึ่งอาจมีตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่ง เมื่อหางหลุดไปแล้วอาจงอกขึ้นมาใหม่สั้นกว่าเดิมหรือใช้เวลานานกว่าจะเท่าเดิม เพราะมีแกนเป็นแท่งกระดูกอ่อนทดแทนปล้องของกระดูกสันหลังแทน แต่ส่วนของงูแล้วเมื่อหลุดไปแล้วไม่อาจงอกใหม่ได้ กิ้งก่าในหลายวงศ์ ได้ลดรูปของขาลงจนหดเล็กสั้นจนดูเหมือนไม่มีขา รวมทั้งนิ้วด้วย เพื่อเป็นประโยชน์ในการอาศัยอยู่ในโพรงดิน เช่น จิ้งเหลนด้วง เป็นต้น อวัยวะถ่ายอสุจิของตัวผู้ของกิ้งก่าและงูจะมีลักษณะเป็นถุงพีนิสอยู่ทางด้านท้ายของช่องเปิดทวารร่วม พื้นผิวด้นนอกจะเป็นร่องเพื่อใช้เป็นเส้นทางในการลำเลียงตัวอสุจิเข้าสู่ช่องทวารร่วมของตัวเมียขณะผสมพันธุ์ ซึ่งถุงนี้มีลักษณะเป็นหนามและเป็นสันซึ่งอยู่ทางด้านหน้าของถุง ซึ่งลักษณะรูปร่างและหนามของถุงนี้จะแตกต่างกันไปตามวงศ์ เช่น กิ้งก่าในวงศ์เหี้ย (Varanidae) มีแท่งกระดูกอยู่ภายในถุงเพื่อเสริมให้มั่นคงขณะผสมพันธุ์ ขณะเดียวกันในตัวเมียก็มีกระดูกดังกล่าว แต่มีขนาดเล็กมาก ขยายพันธุ์ได้ด้วยการวางไข่และตกลูกเป็นตัว ซึ่งปริมาณและจำนวนที่ออกมาแตกต่างกันไปตามวงศ์, สกุล และชนิด แต่ในส่วนของกิ้งก่าแล้วมีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่ตกลูกเป็นตัว อีกทั้งยังมีบางส่วนที่เกิดได้โดยไม่ผ่านการผสมพันธุ์ด้วย เช่น ในวงศ์เหี้ย, Leiolepidinae หรือ แย้ หรืองูในวงศ์ Typhlopidae.

ดู วิวัฒนาการและอันดับกิ้งก่าและงู

อันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง

ัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง หรือ สัตว์มีถุงหน้าท้อง (อันดับ: Marsupialia; Marsupial) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับหนึ่ง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นอันดับต่าง ๆ ได้อีกจำนวนหนึ่ง (ดูในตาราง) สัตว์ในอันดับนี้ มีความแตกต่างและหลากหลายในแง่ของรูปร่าง ลักษณะ และขนาดเป็นอย่างมาก แต่มีลักษณะเด่นที่มีความเหมือนกันประการหนึ่ง คือ จะออกลูกเป็นตัว โดยตัวเมียมีถุงหน้าท้อง ตัวอ่อนของสัตว์ในอันดับนี้เจริญเติบโตในมดลูกในช่วงระยะเวลาสั้น มีสะดือและสายรกด้วย แล้วจะคลานย้ายมาอยู่ในถุงหน้าท้องดูดกินนมจากแม่ ก่อนจะเจริญเติบโตในถุงหน้าท้องหรือกระเป๋าหน้าท้องนี้จนโต บางครั้งเมื่อยังโตไม่เต็มที่ จะเข้า-ออกระหว่างข้างออกกับกระเป๋าหน้าท้องเป็นปกติ ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ที่เป็นที่รู้จักดี ได้แก่ จิงโจ้, โคอาลา, โอพอสซัม, ชูการ์ไกลเดอร์, วอมแบต, แทสเมเนียนเดวิล เป็นต้น ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ล้วนแต่จะพบเฉพาะในทวีปออสเตรเลียและบางส่วนของนิวกินี และพบในบางส่วนของทวีปอเมริกา ทั้งอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ หลายชนิดก็สูญพันธุ์ไปแล้ว เช่น หมาป่าแทสมาเนีย (Thylacinus cynocephalus) หรือไดโปรโตดอน (Diprotodon spp.) เป็นต้น โดยคำว่า Marsupialia นั้นมาจากภาษาละติน แปลว่า "กระเป๋า หรือ ถุง".

ดู วิวัฒนาการและอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง

อันดับอาร์ดวาร์ก

อันดับอาร์ดวาร์ก (Aardvark; อันดับ: Tubulidentata) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tubulidentata (/ทู-บู-ลิ-เดน-ทา-ทา/) มีอยู่เพียงวงศ์เดียวเท่านั้น คือ Orycteropodidae มีรูปร่างโดยรวมคล้ายกับสัตว์ในอันดับ Cingulata หรืออาร์มาดิลโล แต่ที่จริงแล้วเป็นสัตว์ที่มีสายวิวัฒนาการแยกกันโดยชัดเจน โดยคำว่า "Tubulidentata" แปลว่า "มีฟันเป็นท่อ" อันเนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีจมูกและปากยาวเหมือนท่อ มีฟันลักษณะเป็นรูปหกเหลี่ยมฝังตัวอยู่ด้านในของปาก ลักษณะเหมือนหมุดที่แบนราบ จำนวน 20 ซี่ และเคลือบไว้ด้วยเคลือบรากฟัน ซึ่งเป็นสารปกติที่อยู่ในฟัน เป็นสัตว์ที่หากินแมลงตามพื้นดินเป็นอาหาร เป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดมาจากในยุคไมโอซีน ซึ่งปัจจุบันได้สูญพันธุ์กันไปหมดแล้วในยุคไพลโอซีน เหลือเพียงแค่ชนิดเดียวเท่านั้นที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ คือ อาร์ดวาร์ก (Orycteropus afer) พบในแอฟริก.

ดู วิวัฒนาการและอันดับอาร์ดวาร์ก

อันดับจระเข้

อันดับจระเข้ (Crocodile, Gharial, Alligator, Caiman) เป็นอันดับของสัตว์เลื้อยคลานโบราณที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crocodilia หรือ Crocodylia ที่รู้จักกันดีในชื่อของ "จระเข้" โดยอันดับนี้ปรากฏขึ้นมาบนโลกมาตั้งแต่ยุคครีเตเชียส (84 ล้านปีมาแล้ว) จนถึงปัจจุบัน เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ มีแผ่นแข็งและหนาปกคลุมลำตัวคล้ายเกล็ด แผ่นแข็งที่ปกคลุมลำตัวด้านหลังมีกระดูกชิ้นใหญ่อยู่ในชั้นหนังซึ่งในหลายชนิดมีกระดูกในชั้นหนังทางด้านท้องด้วย แผ่นแข็งของวงศ์ Crocodylidae และวงศ์ Gavialidae มีแอ่งทำหน้าที่รับรู้ความรู้สึกสัมผัสได้ ส่วนของปลายหัวยื่นยาวและมีฟันอยู่ในแอ่งของขากรรไกร ตามีแผ่นหนังโปร่งใสคลุมทับขณะดำน้ำ หางมีขนาดใหญ่ ขามีขนาดใหญ่แต่สั้นและแข็งแรงและมีแผ่นหนังเรียกว่าพังผืดยิดติดระหว่างนิ้ว ใช้ในการว่ายน้ำ ในวงศ์ Crocodylidae และวงศ์ Gavialidae มีต่อมขจัดเกลืออยู่บนลิ้น เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำ แบ่งออกได้เป็น 3 วงศ์ (ดูในตาราง) ปัจจุบันพบทั้งหมด 25 ชนิด แต่ในบางข้อมูลอาจจัดให้อยู่ในวงศ์เดียวกันหมด แต่แบ่งออกมาเป็นวงศ์ย่อย โดยเฉพาะความสัมพันธ์กันระห่างสกุล Tomistoma กับ สกุล Gavialis เพราะการวิเคราะห์ทางกายภาคจัดว่า Tomistoma นั้นอยู่ในวงศ์ Crocodylidae แต่การวิเคราะห์ทางโมเลกุล พบว่าใกล้เคียงกับสกุล Gavialis ที่อยู่ในวงศ์ Gavialidae มากกว่า (ในบางข้อมูลอาจจะยังจัดให้อยู่ในวงศ์ Crocodylidae) เป็นสัตว์กินเนื้อ ที่หากินในน้ำเป็นหลัก จึงมีสภาพของร่างกายใช้ชีวิตได้ดีเมื่ออยู่ในน้ำ กล่าวคือ ช่องเปิดจมูกอยู่ทางด้านบนตรงส่วนปลายสุดของส่วนหัวที่ยื่นยาวและช่องเปิดจมูกมีแผ่นลิ้นปิดได้อยู่ใต้น้ำ อุ้งปากมีเพดานปากทุติยภูมิเจริญขึ้นมาจึงแยกปากออกจากโพรงจมูกได้สมบูรณ์ โพรงจมูกทางด้านท้ายสุดของเพดานปากทุติยภูมิมีแผ่นลิ้นปิดเช่นเดียวกัน ซึ่งทำให้สามารถหายใจได้เมื่ออยู่ในน้ำขณะที่คาบอาหารอยู่ นอกจากนี้แล้วยังมีแผ่นเยื่อแบ่งแยกช่องอกออกจากช่องท้องซึ่งแผ่นเยื่อนี้ทำหน้าที่เหมือนกะบังลมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแต่เจริญจากเนื้อเยื่อที่ต่างกัน ปอดจึงมีถุงลมที่เจริญกว่าปอดของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับอื่น การแลกเปลี่ยนก๊าซจึงมีประสิทธิภาพสูงกว่า หัวใจมี 4 ห้องและมีลักษณะโครงสร้างคล้ายคลึงกับหัวใจของสัตว์ปีก ซึ่งเป็นสัตว์ในชั้นที่วิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานจำพวกไดโนเสาร์เช่นกัน แต่การปะปนกันของเลือดยังคงเกิดขึ้นบ้างทางช่องตรงตำแหน่งที่หลอดเลือดแดงซีสทีมิกซ้ายและหลอดเลือดแดงซิสทีมิกขวาทอดข้ามกัน และสามารถควบคุมการไหลเวียนของเลือดให้ไปเฉพาะสมองได้ขณะดำน้ำ ขณะอยู่บนบกแม้ไม่คล่องเท่าอยู่ในน้ำ แต่ก็เดินหรือวิ่งได้ดี โดยจะใช้ขายกลำตัวขึ้น และมีรายงานว่า จระเข้น้ำจืดออสเตรเลีย (Crocodylus johnsoni) สามารถกระโดดเมื่ออยู่บนบกได้ด้วย ภาพของสัตว์ในอันดับจระเข้ชนิดต่าง ๆ เมื่อเทียบกับมนุษย์ (สีแดง & สีส้ม-สูญพันธุ์ไปแล้ว) ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ในดินหรือทรายริมตลิ่งที่ปะปนด้วยพืชจำพวกหญ้าหรือวัชพืชต่าง ๆ ปกคลุม หรือในบางพื้นที่อาจวางไข่ในแหล่งน้ำหรือพื้นที่เปิดโล่ง ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแลไข่จนกระทั่งฟักออกมา ซึ่งมีความรักและผูกพันต่อลูกมาก ซึ่งเป็นลักษณะการดูแลลูกของสัตว์ในอันดับอาร์โคซอร์ เช่นเดียวกับสัตว์ปีกและไดโนเสาร์ การกำหนดเพศของตัวอ่อนขึ้นอยู่กับปัจจัยทางอุณหภูมิ อาหารส่วนมากเป็นสัตว์น้ำ แต่ก็อาจจะกินสัตว์อย่างอื่นหรือแม้กระทั่งสัตว์ที่ใหญ่กว่าได้ โดยมีมักหากินในเวลากลางคืน โดยลากลงไปในน้ำและใช้วิธีกดให้เหยื่อจมน้ำตายก่อนแล้วจึงกิน นับเป็นสัตว์กินเนื้อที่มีประสิทธิภาพในการล่าเหยื่อสูงมากจำพวกหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก และพบได้จนถึงแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม เช่น ปากแม่น้ำหรือป่าโกงกาง แม้ส่วนใหญ่จะอาศัยและหากินในน้ำจืดเป็นหลักก็ตาม.

ดู วิวัฒนาการและอันดับจระเข้

อันดับปลาลิ้นกระดูก

อันดับปลาลิ้นกระดูก (อังกฤษ: Bony tongues fish) เป็นอันดับของปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่งที่มีวิวัฒนาการไม่ต่างจากปลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์มากนัก ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Osteoglossiformes (/ออส-ที-โอ-ฟอร์-เมส/) จากฟอสซิลอายุกว่า 60 ล้านปี ที่ค้นพบในทวีปอเมริกาเหนือ บรรพบุรุษของปลาในอันดับนี้มีขนาดใหญ่ ยาวกว่า 14 ฟุต มีลักษณะพิเศษคือ บริเวณส่วนหัวและลิ้นเป็นกระดูกแข็ง อันเป็นที่มาของชื่อ ทั้งหมดเป็นปลาน้ำจืด ไม่พบในทะเล เป็นปลากินเนื้อ มีการกระจายพันธุ์ทั่วโลกในเขตร้อนและเขตอบอุ่น พบทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียใต้, ทวีปแอฟริกา, ทวีปอเมริกาใต้, ทวีปออสเตรเลี.

ดู วิวัฒนาการและอันดับปลาลิ้นกระดูก

อันดับปลาคาราซิน

อันดับปลาคาราซิน (Characins) หรือ อันดับปลาตะเพียนกินเนื้อ เป็นอันดับปลาน้ำจืดวงศ์หนึ่งที่พบในทวีปอเมริกาเหนือจรดถึงทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกา โดยใช้ชื่ออันดับว่า Characiformes สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็นหลายวงศ์ โดยมี วงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) เป็นวงศ์หลักที่มีจำนวนสมาชิกมาก หลายชนิดเป็นปลาที่รู้จักดี เช่น ปลาปิรันย่า, ปลาเปคู หรือ ปลาขนาดเล็ก ที่เป็นปลาสวยงาม เช่น ปลานีออน เป็นต้น ซึ่งปลาในขนาดเล็กในอันดับนี้มักถูกเรียกชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า "เตตร้า" (Tetra) จุดเด่นของปลาในอันดับนี้ คือ มีครีบไขมัน ซึ่งเป็นครีบขนาดเล็กที่เป็นร่องรอยเหลือจากวิวัฒนาการในอดีตหลงเหลืออยู่ ที่ปัจจุบันนี้ไม่ได้ใช้งานแล้ว ปรากฏอยู่ระหว่างครีบหลังก่อนถึงต้นครีบหาง วงศ์ในอันดับปลาคาราซินมีตามนี้.

ดู วิวัฒนาการและอันดับปลาคาราซิน

อันดับปลาซีกเดียว

อันดับปลาซีกเดียว (Flatfish) ปลากระดูกแข็งในกลุ่มปลาที่มีก้านครีบ พบได้ทั้งทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด ในภาษาไทยมักเรียกปลาในอันดับนี้รวม ๆ กัน เช่น "ลิ้นหมา", "ซีกเดียว", "ยอดม่วง", "ลิ้นเสือ", "ลิ้นควาย", "ใบไม้" หรือ "จักรผาน" เป็นต้น โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pleuronectiformes.

ดู วิวัฒนาการและอันดับปลาซีกเดียว

อันดับไฮแรกซ์

อันดับไฮแรกซ์ (Hyraxes, Dassies "Hyracoidea" in Grzimek's Animal Life Encyclopedia, Vol.) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กอันดับหนึ่ง ที่เรียกชื่อสามัญว่า ไฮแรกซ์ หรือ ตัวไฮแรกซ์ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hyracoidea (/ไฮ-รา-คอย-เดีย/).

ดู วิวัฒนาการและอันดับไฮแรกซ์

อาร์เอพีดี

การทดลองเทคนิคอาร์เอพีดี อาร์เอพีดี (random amplification of polymorphic DNA, ย่อได้ว่า RAPD อาจอ่านได้ว่า "เรปิด" (rapid)) เป็นวิธีตรวจลายพิมพ์ดีเอ็นเอโดยใช้เทคนิคพีซีอาร์ แบบหนึ่งที่ไม่จำเป็นต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับลำดับเบสของดีเอ็นเอเป้าหมาย เนื่องจากไพรเมอร์ที่ใช้ไม่จำเพาะเจาะจงกับดีเอ็นเอบริเวณใด (arbitrary primer) วิธีการนี้มีการเรียกชื่อแบบอื่นได้อีก เช่น arbitrarily primed PCR (AP-PCR), DNA amplification fingerprinting (DAF) หรือ multiple arbitrary amplicon profiling (MAAP) ซึ่งแต่ละวิธีที่เรียกนี้มีข้อแตกต่างกันบ้าง คือ ขนาดของไพรเมอร์ที่ใช้ แต่หลักการไม่แตกต่างกัน คือ ใช้ไพรเมอร์ที่มีขนาดสั้นเพียงชนิดเดียวเพื่อเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอแบบสุ่ม มีนักวิจัยบางกลุ่มใช้ไพรเมอร์ 2 ชนิดพร้อมกัน ซึ่งก็ใช้ได้เช่นเดียวกัน แต่ที่นิยมคือ ใช้ไพรเมอร์เพียงชนิดเดียวและใช้วิธีแบบที่เรียกว่าอาร์เอพีดี คิดค้นขึ้นโดย วิลเลียมส์ และคณะในปี ค.ศ.

ดู วิวัฒนาการและอาร์เอพีดี

อิกัวนาสีชมพู

อิกัวนาสีชมพู, อิกัวนาบกสีชมพูกาลาปาโกส หรือ อิกัวนากาลาปาโกสสีกุหลาบ (Pink iguana, Galápagos pink land iguana, Galapagos rosy iguana) สัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่งจำพวกกิ้งก่า ในวงศ์อิกัวนา (Iguanidae) อิกัวนาสีชมพูเป็นอิกัวนาจำพวกอิกัวนาบกชนิดหนึ่ง มีความยาวเต็มที่ประมาณ 1 เมตร และน้ำหนักราว 12 กิโลกรัม เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นที่พบได้ที่หมู่เกาะกาลาปาโกสเท่านั้น เป็นอิกัวนาที่ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี..

ดู วิวัฒนาการและอิกัวนาสีชมพู

อุปมาเทียม

อุปมาเทียม (false analogy) เป็นเหตุผลวิบัติโดยอุปมาที่ผิดพล.

ดู วิวัฒนาการและอุปมาเทียม

อคติที่เกิดจากการเลือกตัวอย่าง

อคติที่เกิดจากการเลือกตัวอย่าง หรือ ความเอนเอียงโดยการคัดเลือก"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ selection ว่า "การคัดเลือก, การเลือกสรร, และการเลือกหา" (Selection bias) คือความผิดพลาดทางสถิติ เนื่องมาจากวิธีการเลือกตัวอย่างหรือกลุ่มตัวอย่างในงานศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ที่โดยเฉพาะหมายถึงการคัดเลือกบุคคล กลุ่ม หรือข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์ โดยที่ไม่มีการสุ่ม (randomization) ที่สมควร และดังนั้นจึงทำให้ตัวอย่างที่ชัก ไม่สามารถเป็นตัวแทนประชากรที่ต้องการจะวิเคราะห์ ตัวอย่างเช่น.

ดู วิวัฒนาการและอคติที่เกิดจากการเลือกตัวอย่าง

อนุกรมวิธาน

อนุกรมวิธานวิทยา (อังกฤษ: Taxonomy) เป็นการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ตามสายวิวัฒนาการ อนุกรมวิธานเป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ ในการศึกษาอนุกรมวิธานจะมีศัพท์ที่ใช้เรียกแตกต่างกันออกไป ถ้าหากการศึกษาเป็นไปในทางรวบรวมตัวอย่าง (specimen) บิดาแห่งอนุกรมวิธานวิทยา คือ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน.

ดู วิวัฒนาการและอนุกรมวิธาน

ฮือโค เดอ ฟรีส

ือโค มารี เดอ ฟรีส (Hugo Marie de Vries) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวดัตช์และถือเป็นนักพันธุศาสตร์คนแรก ๆ ของโลก เป็นที่รู้จักจากการเสนอแนวคิดว่าด้วยยีน การค้นพบกฎการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมซ้ำอีกครั้งในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1890 โดยไม่รู้จักผลงานของเกรเกอร์ เมนเดล มาก่อน การเสนอใช้คำว่าการกลายพันธุ์ (mutation) และการพัฒนาทฤษฎีการกลายพันธุ์ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการ.

ดู วิวัฒนาการและฮือโค เดอ ฟรีส

ผีเสื้อ (แมลง)

ผีเสื้อ (ภาษาไทยถิ่นเหนือ: แมงก่ำเบ้อ) เป็นแมลงทุกชนิดในอันดับเลพิดอปเทรา (Lepidoptera) มีวงชีวิตเริ่มแรกตั้งแต่ระยะไข่ ระยะหนอน ระยะดักแด้ ตราบจนระยะการเปลี่ยนสัณฐานเข้าสู่ระยะการโตเต็มวัยที่มีปีกหลากสีต้องตาผู้คน ในทางกีฏวิทยาการจัดจำแนกแมลงกลุ่มนี้จะใช้เส้นปีกในการจัดจำแนก.

ดู วิวัฒนาการและผีเสื้อ (แมลง)

จอร์จ ดับเบิลยู. บุช

รืออากาศโท จอร์จ วอล์กเกอร์ บุช (George Walker Bush) เกิดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) เป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนที่ 43 บุชสังกัดพรรครีพับลิกัน และเกิดในตระกูลบุชซึ่งเป็นตระกูลนักการเมืองตระกูลใหญ่ของสหรัฐอเมริกา โดยพ่อของเขาคือ จอร์จ บุช ประธานาธิบดีคนที่ 41 และน้องชายเขา เจบ บุช เป็นอดีตผู้ว่าการมลรัฐฟลอริดา ก่อนเริ่มเล่นการเมือง จอร์จ ดับเบิลยู บุชเป็นนักธุรกิจบ่อน้ำมัน และเป็นเจ้าของทีมเบสบอล เทกซัส เรนเจอร์ (Texas Rangers) เขาเริ่มเล่นการเมืองระดับท้องถิ่นโดยเป็นผู้ว่าการรัฐเทกซัสคนที่ 46 ชนะการเสนอชื่อลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรครีพับลิกัน และชนะการเลือกตั้งต่อรองประธานาธิบดี อัล กอร์ใน พ.ศ.

ดู วิวัฒนาการและจอร์จ ดับเบิลยู. บุช

จอตา

ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง เรตินา หรือ จอตา"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" หรือ จอประสาทตา (retina, พหูพจน์: retinae, จากคำว่า rēte แปลว่า ตาข่าย) เป็นเนื้อเยื่อมีลักษณะเป็นชั้น ๆ ที่ไวแสง บุอยู่บนผิวด้านในของดวงตา การมองเห็นภาพต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นได้โดยอาศัยเซลล์ที่อยู่บนเรตินา เป็นตัวรับและแปลสัญญาณแสงให้กลายเป็นสัญญาณประสาทหรือกระแสประสาท ส่งขึ้นไปแปลผลยังสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำให้เราสามารถมองเห็นภาพต่างๆได้ คือ กลไกรับแสงของตาฉายภาพของโลกภายนอกลงบนเรตินา (ผ่านกระจกตาและเลนส์) ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับฟิลม์ในกล้องถ่ายรูป แสงที่ตกลงบนเรตินาก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทางเคมีและไฟฟ้าที่เป็นไปตามลำดับ ซึ่งนำไปสู่การส่งสัญญาณประสาทโดยที่สุด ซึ่งดำเนินไปยังศูนย์ประมวลผลทางตาต่าง ๆ ในสมองผ่านเส้นประสาทตา ในสัตว์มีกระดูกสันหลังในช่วงพัฒนาการของเอ็มบริโอ ทั้งเรตินาทั้งเส้นประสาทตามีกำเนิดเป็นส่วนหนึ่งของสมอง ดังนั้น เรตินาจึงได้รับพิจารณาว่าเป็นส่วนของระบบประสาทกลาง (CNS) และจริง ๆ แล้วเป็นเนื้อเยื่อของสมอง"Sensory Reception: Human Vision: Structure and function of the Human Eye" vol.

ดู วิวัฒนาการและจอตา

จามรี

มรี (Yak, Grunting ox; як; 犛牛; พินอิน: Máoniú; มองโกล: Сарлаг; ฮินดี: याक) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์วัวและควาย (Bovidae).

ดู วิวัฒนาการและจามรี

จิงโจ้

งโจ้ (Kangaroo) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องในตัวเมียสำหรับแพร่ขยายพันธุ์และเป็นที่อยู่อาศัยของลูกอ่อน นับเป็นสัตว์ในประเภทนี้ที่มีขนาดใหญ่ และเป็นสัตว์ประจำท้องถิ่นของออสเตรเลีย จิงโจ้นั้นจัดออกได้เป็นหลากหลายประเภท ในหลายวงศ์, หลายสกุล แต่ทั้งหมดจัดอยู่ในอันดับ Macropodiformes หรือที่เรียกในชื่อสามัญว่า "แมคโครพอด" (Macropod) ที่หมายถึง "ตีนใหญ่" แต่ทั้งหมดก็มีรูปร่างคล้ายกัน (แต่โดยปกติแล้ว จิงโจ้จะหมายถึงแมคโครพอดที่อยู่ในสกุล Macropus) คือ มีขาหลังที่ยาวแข็งแกร่ง ทรงพลัง ใช้ในการกระโดด และมีส่วนหางที่แข็งแรง ใช้ในการทรงตัว และใช้ในการกร.

ดู วิวัฒนาการและจิงโจ้

จิตพยาธิวิทยาสัตว์

ตพยาธิวิทยาสัตว์ (Animal psychopathology) เป็นการศึกษาโรคจิตและพฤติกรรมในสัตว์ที่ไม่ใช่มนุษย์ โดยประวัติแล้ว ศาสตร์มักจะเอามนุษย์เป็นศูนย์ (มานุษยประมาณนิยม) เมื่อศึกษาจิตพยาธิวิทยาในสัตว์เพื่อใช้เป็นแบบจำลองสำหรับโรคจิตในมนุษย์ แต่จากมุมมองทางวิวัฒนาการ จิตพยาธิของสัตว์จะพิจารณาได้อย่างเหมาะสมกว่าว่า เป็นพฤติกรรมที่ไม่ปรับตัว (non-adaptive) เพราะความพิการทางความรู้คิด ความพิการทางอารมณ์ หรือความทุกข์บางอย่าง บทความนี้แสดงจิตพยาธิสัตว์จำนวนหนึ่งแต่ไม่สมบูรณ.

ดู วิวัฒนาการและจิตพยาธิวิทยาสัตว์

จิตวิทยาเชิงบวก

ตวิทยาเชิงบวก (Positive psychology) เป็นสาขาย่อยใหม่ของจิตวิทยาที่ใช้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์และการแทรกแซงที่มีประสิทธิผล เพื่อช่วยให้บุคคลมีชีวิตที่น่าพอใจ โดยสร้างความเจริญก้าวหน้าสำหรับบุคคล ครอบครัว และชุมชน และค้นหาเสริมสร้างอัจฉริยภาพกับความสามารถเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุขมากยิ่งขึ้น ศาสตร์นี้เพ่งความสนใจไปที่การพัฒนาตนเองแทนที่การรักษาโรค ซึ่งมักจะเป็นจุดสนใจของจิตวิทยาสาขาอื่น ๆ เป็นวิทยาการที่ค่อนข้างใหม่ งานประชุมครั้งแรกเกี่ยวกับศาสตร์นี้เกิดขึ้นเมื่อปี..

ดู วิวัฒนาการและจิตวิทยาเชิงบวก

ธรณีวิทยา

The Blue Marble: ภาพนี้เป็นภาพถ่ายของโลก เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1972 ที่ถ่ายโดยแฮร์ริสสัน ชมิตต์ (Harrison Schmitt) นักธรณีวิทยาคนแรกที่ร่วมเดินทางไปกับยานอวกาศอะพอลโล 17 (Apollo 17) ที่เดินทางไปยังดวงจันทร์ ธรณีวิทยา, ธรณีศาสตร์ (Geology จากγη- (''เก-'', โลก) และ λογος (''ลอกอส'', ถ้อยคำ หรือ เหตุผล).) เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโลก สสารต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของโลก เช่น แร่ หิน ดินและน้ำ รวมทั้งกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ตั้งแต่กำเนิดโลกจนถึงปัจจุบัน เป็นการศึกษาทั้งในระดับโครงสร้าง ส่วนประกอบทางกายภาพ เคมี และชีววิทยา ทำให้รู้ถึงประวัติความเป็นมา และสภาวะแวดล้อมในอดีตจนถึงปัจจุบัน ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิว วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนรูปแบบ และวิธีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนอีกด้วย นักธรณีวิทยาศึกษาพบว่าโลกมีอายุประมาณ 4,500 ล้านปี (4.5x109 ปี) และเห็นตรงกันว่าเปลือกโลกแยกออกเป็นหลายแผ่น เรียกว่าแผ่นเปลือกโลก แต่ละแผ่นเคลื่อนที่อยู่เหนือเนื้อโลกหรือแมนเทิลที่มีสภาวะกึ่งหลอมเหลว เรียกกระบวนการนี้ว่าการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก นอกจากนี้ นักธรณีวิทยายังทำหน้าที่ระบุตำแหน่งและจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แหล่งหิน แหล่งแร่ แหล่งปิโตรเลียมเช่น น้ำมันและถ่านหิน รวมทั้งโลหะอย่างเหล็ก ทองแดง และยูเรเนียม วิชาธรณีวิทยา มีความเกี่ยวข้องกับหลากหลายสาขาวิชา เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ มีการบูรณการความรู้จากหลากหลายวิชา เพื่อวิเคราะห์หาคำตอบเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลก โดยสามารถแบ่งออกเป็นหลากหลายสาขาวิชา เช่น ธรณีวิทยากายภาพ (Physical Geology) ธรณีวิทยาโครงสร้าง (Structural Geology) ธรณีวิทยาแปรสัณฐาน (Geotectonics, Tectonics) ตะกอนวิทยา (Sedimentology) ธรณีสัณฐานวิทยา (Geomorphology) ธรณีเคมี (Geochemistry) ธรณีฟิสิกส์ (Geophysics) ธรณีอุทกวิทยา (Geohydrology) บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) เป็นต้น '''การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก''' วิชาธรณีวิทยานอกโลก ศึกษาองค์ประกอบทางธรณีวิทยาของวัตถุในระบบสุริยะ อย่างไรก็ตาม ยังมีศัพท์เฉพาะอื่น ๆ ที่ใช้เรียกธรณีวิทยานอกโลก เช่น "ศศิวิทยา" (selenology) ศึกษาธรณีวิทยาบนดวงจันทร์, areology ศึกษาธรณีวิทยาบนดาวอังคาร เป็นต้น วิชาธรณีวิทยา สามารถตอบปัญหาต่างๆ มากมาย ที่เกี่ยวข้องกับ วิวัฒนาการของโลก ดาวเคราะห์ และ จักรวาล ธรณีพิบัติภัย ภูเขาไฟ แผ่นดินไหว รอยเลื่อน สึนามิ อุทกภัย น้ำท่วม น้ำหลาก การกัดเซาะ ดินถล่ม หลุมยุบ ภูเขา แม่น้ำ ทะเล มหาสมุทร ทะเลทราย ไดโนเสาร์ ซากดึกดำบรรพ์หรือบรรพชีวินหรือฟอสซิล บั้งไฟพญานาค ไม้กลายเป็นหิน ถ่านหิน น้ำมัน ปิโตรเลียม เชื้อเพลิง แหล่งแร่ เหล็กไหล อุลกมณี โลกศาสตร.

ดู วิวัฒนาการและธรณีวิทยา

ทฤษฎีการกำเนิดจักรวาล

ทฤษฎีการกำเนิดจักรวาล (cosmogony; cosmogeny) หมายถึงทฤษฎีใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับที่มาของของตัวตนหรือต้นกำเนิดของจักรวาล หรือต้นตอของความเชื่อเกี่ยวกับความเป็นจริงในกำเนิดของจักรวาล คือ cosmogony มาจากภาษากรีก κοσμογονία หรือ κοσμογενία ที่กลายมาจาก κόσμος ที่แปลว่า cosmos ในบริบทเฉพาะทางวิทยาศาสตร์อวกาศและดาราศาสตร์ ทฤษฎีการกำเนิดจักรวาลหมายถึงทฤษฎีว่าด้วยกำเนิดของระบบสุริยะและการศึกษาเกี่ยวกับระบบสุริยะ เช่น ทฤษฎีเนบิวลาสุริยะ เป็นต้น ทฤษฎีการกำเนิดจักรวาลสามารถแยกแตกต่างออกจากวิชาจักรวาลวิทยา (Cosmology) ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับจักรวาลโดยรวมและเกี่ยวกับเรื่องราวตัวตนที่เป็นมาโดยตลอดของจักรวาลซึ่งโดยทางเทคนิคจะไม่แตะโดยตรงกับต้นตอแท้ ๆ ของจักรวาล อย่างไรก็ดี ก็ยังมีความคลุมเครือระหว่างระหว่างคำทั้งสองนี้อยู่บ้าง เช่น วิชาจักรวาลวิทยา ถกเถียงไปทางด้าน เทววิทยา ที่เกี่ยวข้องกับการมีตัวตนของพระเจ้ามากกว่าความคิดเกี่ยวกับจักรวาล ในเชิงปฏิบัติก็ยังคงมีความแตกต่างในความคิดทางวิทยาศาสตร์ระหว่าง "ทฤษฎีการกำเนิดจักรวาล" และ "จักรวาลวิทยา" จักรวาลวิทยากายภาพ เป็นวิทยาศาสตร์ที่พยายามอธิบายถึงการสังเกตการณ์ทั้งหมดที่อยู่ในข่ายของวิวัฒนาการและลักษณะของจักรวาลโดยรวม คำถามที่ว่าทำไมจักรวาลจึงมีพฤติกรรมเป็นไปดังพรรณาไว้โดยนักฟิสิกส์และนักจักรวาลวิทยาว่าเป็นวิชานอกวิทยาศาสตร์ (extra-scientific) แม้จะมีการการอนุมานหลาย ๆ ด้าน จากมุมมองที่รวมถึงการประมาณค่านอกช่วงในทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่จะไม่ทดสอบความคิดเชิงระบอบ เชิงปรัชญาหรือทางศาสนา ความพยายามที่จะสร้าง "ทฤษฎีการกำเนิดจักรวาล" เชิงธรรมชาตินิยมขึ้นอยู่กับข้อจำกัดที่แตกต่างกัน 2 ประการ ข้อแรกตั้งอยู่บนพื้นฐานของปรัชญาทางวิทยาศาสตร์และข้อจำกัดทางญาณวิทยาในวิทยาศาสตร์เอง โดยเฉพาะกับข้อห่วงใยที่การสอบสวนเชิงวิทยาศาสตร์จะตั้งคำถามว่า "ทำไม" จักรวาลจึงมีอยู่ได้ อีกข้อหนึ่งที่ค่อนมาทางปัญหาเชิงปฏิบัติคือ การไม่มีรูปจำลองทางกายภาพที่สามารถอธิบาย "ขณะแรกสุด" ของการเกิดจักรวาล ที่เรียกว่าพลังค์ไทม์ (Planck time) ได้เพราะการขาดทฤษฎีที่คงเส้นคงวา ว่าด้วยแรงโน้มถ่วงควอนตัม^~^.

ดู วิวัฒนาการและทฤษฎีการกำเนิดจักรวาล

ทฤษฎีของลามาร์ก

ทฤษฎีของลามาร์ก (Lamarkism, Lamarckian inheritance) คือแนวคิดที่ว่าสิ่งมีชีวิตสามารถถ่ายทอดลักษณะที่ได้รับมาใหม่ไปยั่งรุ่นลูกได้ ตั้งชื่อตามนักชีววิทยาชาวฝรั่งเศส Jean-Baptiste Lamarck ขณะที่ Charles Darwin เสนอแนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการโดยการคัดเลือกจากธรรมชาติลงในหนังสือ On the Origin of Species ดาร์วินก็ยังไม่ตัดแนวคิดนี้ โดยเรียกว่า การถ่ายทอดโดยการใช้และไม่ใช้ (use and disuse inheritance) แต่ปฏิเสธแง่มุมอื่นของทฤษฎี ต่อมาเมื่อพันธุศาสตร์แบบเมนเดลพัฒนามากขึ้น ทำให้แนวคิดว่าด้วยการถ่ายทอดลักษณะที่ได้รับมาใหม่ถูกเลิกเชื่อไป หมวดหมู่:ทฤษฎีชีววิทยา.

ดู วิวัฒนาการและทฤษฎีของลามาร์ก

ทฤษฎีความผูกพัน

ำหรับทั้งทารกและเด็กหัดเดิน "เป้าหมาย" ของระบบความผูกพันโดยพฤติกรรมก็เพื่ออยู่ใกล้ ๆ กับคนที่ผูกพัน ปกติเป็นพ่อแม่ ทฤษฎีความผูกพัน (Attachment theory) หรือ ทฤษฎีความผูกพันทางอารมณ์ เป็นแบบจำลองทางจิตวิทยาเพื่อกำหนดพลศาสตร์ของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ทั้งในระยะยาวระยะสั้น แต่ว่า "ทฤษฎีความผูกพันไม่ได้ตั้งเป็นทฤษฎีทั่วไปของความสัมพันธ์ (แต่) ใช้กล่าวถึงด้าน ๆ หนึ่งเพียงเท่านั้น" คือ การตอบสนองของมนุษย์ภายในสัมพันธภาพเมื่อเจ็บ ถูกพรากจากคนรัก หรือว่ารู้สึกอันตราย โดยพื้นฐานแล้ว ทารกอาจผูกพันกับคนเลี้ยงคนไหนก็ได้ แต่ว่า คุณลักษณะของความสัมพันธ์กับ/ของแต่ละคนจะแตกต่างกัน ในทารก ความผูกพันโดยเป็นส่วนของระบบแรงจูงใจและพฤติกรรมจะสั่งการให้เด็กเข้าไปอยู่ใกล้ชิดกับคนดูแลที่คุ้นเคยเมื่อตกใจ โดยคาดหวังว่าจะได้การคุ้มครองและการปลอบใจ บิดาของทฤษฎีผู้เป็นนักจิตวิทยาทรงอิทธิพลชาวอังกฤษจอห์น โบลบี้ เชื่อว่า ความโน้มเอียงของทารกวานร (รวมทั้งมนุษย์) ที่จะผูกพันกับคนเลี้ยงที่คุ้นเคย เป็นผลของความกดดันทางวิวัฒนาการ เพราะว่าพฤติกรรมผูกพันอำนวยให้รอดชีวิตเมื่อเผชิญกับอันตรายเช่นการถูกล่าหรือต้องเผชิญกับสิ่งแวดล้อม หลักสำคัญที่สุดของทฤษฎีก็คือว่า ทารกจำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์กับคนเลี้ยงหลักอย่างน้อยหนึ่งคนเพื่อให้เกิดพัฒนาการทางสังคมและทางอารมณ์ได้อย่างสำเร็จ โดยเฉพาะการเรียนรู้เพื่อควบคุมอารมณ์ตนเองอย่างมีประสิทธิผล พ่อหรือคนอื่น ๆ มีโอกาสกลายเป็นผู้ผูกพันหลักถ้าให้การดูแลเด็กและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่สมควรโดยมากที่สุด เมื่อมีคนดูแลที่ไวความรู้สึกและตอบสนองต่อเด็ก ทารกจะอาศัยคนดูแลเป็น "เสาหลัก" เมื่อสำรวจสิ่งแวดล้อม ควรจะเข้าใจว่า "แม้คนดูแลที่ไวความรู้สึกจะรู้ใจถูกก็ประมาณแค่ 50% เพราะการสื่อสารอาจจะไม่ลงรอยกัน ไม่สมกัน บางครั้งพ่อแม่ก็อาจรู้สึกเหนื่อยหรือสนใจเรื่องอื่นอยู่ มีโทรศัพท์ที่ต้องรับหรืออาหารเช้าที่จะต้องทำ กล่าวอีกอย่างก็คือ ปฏิสัมพันธ์ที่เข้ากันอย่างดีอาจเสียไปได้อย่างบ่อยครั้ง แต่ลักษณะของคนดูแลที่ไวความรู้สึกคนแท้ก็คือ ความเสียหายนั้นจะได้การบริหารหรือซ่อมแซม" ความผูกพันระหว่างทารกกับผู้ดูแลเกิดขึ้นแม้เมื่อคนดูแลไม่ไวความรู้สึกและไม่ตอบสนองต่อเด็ก ซึ่งทำให้มีผลตามมาหลายอย่าง คือ ทารกจะไม่สามารถออกจากความสัมพันธ์กับคนดูแลที่ไว้ใจไม่ได้หรือไม่ไวความรู้สึก ทารกจะต้องบริหารเองเท่าที่ทำได้ภายในความสัมพันธ์เช่นนี้ โดยอาศัยเกณฑ์วิธีสถานการณ์แปลก (Strange situation) งานวิจัยของนักจิตวิทยาพัฒนาการชาวอังกฤษ ดร.

ดู วิวัฒนาการและทฤษฎีความผูกพัน

ทฤษฎีเอ็นโดซิมไบโอติก

Electron micrograph of a mitochondrion showing its mitochondrial matrix and membranes ทฤษฎีเอนโดซิมไบโอติก (endosymbiotic theory) หรือซิมไบโอเจเนซิส (symbiogenesis) เป็นทฤษฎีทางวิวัฒนาการทฤษฎีหนึ่งที่อธิบายที่มาของเซลล์ยูคาริโอตว่ามาจากเซลล์โปรคาริโอต ทฤษฎีนี้เสนอว่า ออร์กาเนลล์สำคัญๆ ในเซลล์ยูคาริโอต มาจากซิมไบโอซิสของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่เคยแยกกันอยู่มาก่อน ตามทฤษฎีนี้ ไมโตคอนเดรีย, พลาสทิด (เช่น คลอโรพลาสท์) และอาจรวมถึงออร์กาเนลล์อื่นๆ ล้วนเคยเป็นแบคทีเรียที่มีชีวิตเป็นอิสระ และถูกควบรวมเข้ามาในเซลล์ใหญ่ในฐานะเอนโดซิมไบออนท์ เมื่อราวหนึ่งพันห้าร้อยล้านปีก่อน มีหลักฐานทางโมเลกุลและชีวเคมีที่ชี้นำว่าไมโตคอนเดรียนั้นเคยเป็นโปรตีโอแบคทีเรีย และคลอโรพลาสท์เคยเป็นไซยาโนแบคทีเรีย หมวดหมู่:ชีววิทยาวิวัฒนาการ.

ดู วิวัฒนาการและทฤษฎีเอ็นโดซิมไบโอติก

ทาร์เซียร์

วีดีโอคลิปทาร์เซียร์ไม่ทราบชนิด ทาร์เซียร์ (tarsier) หรือ มามัก (mamag) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กในอันดับไพรเมตที่วิวัฒนาการมาจากยุคไอโอซีนจนมาถึงยุคปัจจุบัน ที่มีรูปร่างลักษณะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมมากนัก มีเพียงวงศ์เดียว คือ Tarsiidae และสกุลเดียวเท่านั้น คือ Tarsius.

ดู วิวัฒนาการและทาร์เซียร์

ขั้นตอนวิธีเชิงวิวัฒนาการ

ในศาสตร์ของปัญญาประดิษฐ์ นั้น ขั้นตอนวิธีเชิงวิวัฒนาการ (evolutionary algorithm) เป็นหนึ่งในเรื่องของการคำนวณเชิงวิวัฒนาการ (evolutionary computation) ที่ใช้ฐานประชากรโดยทั่วไปของขั้นตอนวิธีแบบเมตาฮิวริสติกที่เหมาะสมที่สุด (metaheuristic optimization algorithm) โดยขั้นตอนวิธีเชิงวิวัฒนาการนั้น ใช้กระบวนการที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการวิวัฒนาการทางชีววิทยา อันได้แก่ การสืบพันธุ์ (reproduction) การกลายพันธุ์ (mutation) การแลกเปลี่ยนยีน (recombination) และการคัดเลือก (selection) โดยจะมีผลเฉลยที่สามารถเลือกได้ (candidate solution) แทนประชากร และฟังก์ชันคุณภาพ (quality function) ในการคัดเลือกประชากรที่เหมาะสมตามสภาพแวดล้อมที่กำหนดไว้ ขึ้นตอนวิธีเชิงวิวัฒนาการนี้มักจะใช้ได้ดีสำหรับการหาผลเฉลยของปัญหาในทุกๆ ด้าน เนื่องจากสามารถพัฒนาผลเฉลยที่มีไปยังผลเฉลยที่ถูกต้องได้อย่างรวดเร็ว ทำให้มันประสบความสำเร็จในหลายๆ ด้านของปัญหา เช่น วิศวกรรม ศิลปกรรม ชีวภาพ เศรษฐศาสตร์ การตลาด พันธุศาสตร์ การค้นคว้าวิจัย การออกแบบหุ่นยนต์ วิทยาศาสตร์ด้านสังคม ฟิสิกส์ รัฐศาสตร์ และ เคมี นอกจากการใช้งานด้านคณิตศาสตร์แล้ว ขั้นตอนวิธีและการคำนวณเชิงวิวัฒนาการยังถูกใช้เป็นข่ายงานในการทดลองในเรื่องการตรวจสอบความสมเหตุสมผลในทฤษฎีที่เกี่ยวกับการวิวัฒนาการและการคัดเลือกทางธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข่ายของงานที่เกี่ยวข้องกับชีวประดิษฐ์ (artificial life).

ดู วิวัฒนาการและขั้นตอนวิธีเชิงวิวัฒนาการ

ขา

แผนภาพของขาแมลง ขา เป็นส่วนหนึ่งในร่างกายของสัตว์ที่รองรับน้ำหนักทั้งหมด อยู่ระหว่างข้อเท้าและสะโพก ใช้ในการเคลื่อนที่ ปลายสุดของขามักเป็นโครงสร้างที่พัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงเป็นโครงสร้างอื่นที่รับน้ำหนักของสัตว์บนพื้น (ดู เท้า) รยางค์ล่าง (lower limb) ของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีสองขา (bipedal vertebrate) มักจะเป็นขาของสัตว์นั้นๆ ส่วนรยางค์บน (upper limb) มักจะเป็นแขนหรือปีก จำนวนขาของสัตว์มักเป็นจำนวนคู่ นักอนุกรมวิธานอาจจัดสัตว์ออกเป็นกลุ่มตามจำนวน.

ดู วิวัฒนาการและขา

ดอนหอยหลอด

ริเวณดอนใน ดอนหอยหลอดตอนน้ำขึ้น ดอนหอยหลอด เป็นสันดอนตั้งอยู่ปากแม่น้ำแม่กลอง มีอาณาบริเวณกว้างประมาณ 3 กิโลเมตร ยาว 5 กิโลเมตร ใน ตำบลบางจะเกร็ง ตำบลแหลมใหญ่ ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นสถานที่ที่พบหอยหลอดจำนวนมาก เกิดจากการตกตะกอนของดินปนทราย (ชาวบ้านเรียกว่า “ทรายขี้เป็ด”).

ดู วิวัฒนาการและดอนหอยหลอด

ดังเคิลออสเตียส

ังเคิลออสเตียส (Dunkleosteus) เป็นสกุลของปลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ปัจจุบันนี้สูญพันธุ์ไปแล้วสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Dunkleosteus (มาจาก "(เดวิด) Dunkle" + osteus (οστεος, ภาษากรีก: กระดูก); หมายถึง "กระดูกของดังเคิล" ซึ่งตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ เดวิด ดังเคิล ภัณฑารักษ์แห่งพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาคลีฟแลนด์) ดังเคิลออสเตียส เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่อาศัยอยู่ในปลายยุคดีโวเนียน (380-360 ล้านปีมาแล้ว) จัดเป็นปลาที่มีขากรรไกรที่เป็นปลานักล่ากินเนื้อขนาดใหญ่ที่เป็นเสมือนคู่แข่งตัวฉกาจของปลาฉลามในยุคต้นของการวิวัฒนาการเลยทีเดียว ดังเคิลออสเตียส ถือเป็นสกุลของปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่อยู่ในอันดับ Arthrodira รูปลักษณ์ภายนอกของปลาสกุลนี้แลดูดุดันน่ากลัวมาก ที่เห็นเด่นชัดสุดคงเป็นแผ่นขากรรไกรแข็งแรง ยืดหยุ่นได้ดี ไม่มีฟันแต่ที่ขอบปากมีลักษณะแหลมคล้ายเขี้ยวทั้งด้านบนและล่าง ทำให้เป็นเหมือนจะงอยปากไว้งับเหยื่อโดยไม่ต้องใช้ฟัน ในขณะที่มีลำตัวตัวยาว 3-9 เมตร และหนักได้ถึง 3.6-4 ตัน และมีโครงสร้างประกอบด้วยเกล็ดอย่างหนาและแข็งเสมือนชุดเกราะ มีทั้งหมด 7 ชนิด และเป็นชนิดที่เพิ่งได้รับการอนุกรมวิธานไปเมื่อปี ค.ศ.

ดู วิวัฒนาการและดังเคิลออสเตียส

ดาวตะกร้า

วตะกร้า (Basket star) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเลจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในอันดับย่อย Euryalina เป็นสัตว์ทะเลที่มีวิวัฒนาการน้อยที่สุดในกลุ่มสัตว์ไฟลัมเอไคโนดอร์มาทา (Echinodermata) โดยถือกำเนิดมาจากยุคคอร์บอนิฟอรัส มีลักษณะคล้ายดาวเปราะ ทั่วไปอาศัยอยู่ตามพื้นทะเล มีแขนหลายแขน มีอายุยืนเต็มที่ได้ถึง 35 ปี และมีน้ำหนัก 5 กิโลกรัม เหมือนกับสัตว์จำพวกอื่นในไฟลัมเดียวกัน คือ แลกเปลี่ยนแก๊สและระบบไหลเวียนโลหิตตามท่อลำเลียง เป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในไฟลัมเอไคโนดอร์มาทา ซึ่งชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ Gorgonocephalus stimpsoni มีความยาวได้ถึง 70 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำตัว 14 เซนติเมตร แบ่งออกได้เป็น 4 วงศ์ คือ.

ดู วิวัฒนาการและดาวตะกร้า

ดูน (นวนิยาย)

หน้าปก ดูน ฉบับพิมพ์ครั้งแรก ภูเขาทรายในออริกอน ที่เป็นแรงบันดาลใจให้แฟรงค์ เฮอร์เบิร์ตเขียนนวนิยาย ดูน ดูน (Dune) เป็นนิยายวิทยาศาสตร์โดยแฟรงค์ เฮอร์เบิร์ต ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ..

ดู วิวัฒนาการและดูน (นวนิยาย)

ความกลัว

ม่แน่นอน สีหน้าแสดงความกลัว จากหนังสือ ''The Expression of the Emotions in Man and Animals'' ของชาลส์ ดาร์วิน ความกลัว เป็นอารมณ์ที่เกิดจากการรับรู้ภัยคุกคามของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสมองและการทำงานของอวัยวะ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในที่สุด เช่น การวิ่งหนี การหลบซ่อน หรือการช็อคจากเหตุการณ์ที่ทำร้ายจิตใจ ความกลัวอาจเป็นการตอบสนองต่อตัวกระตุ้นที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบัน หรือในอนาคต ซึ่งรับรู้ว่าเป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพหรือชีวิต สถานภาพ อำนาจ ความปลอดภัย หรือความมั่งคั่ง หรือสิ่งมีค่าใด ๆ การตอบสนองความกลัวเกิดขึ้นได้จากการรับรู้อันตรายที่นำไปสู่การเผชิญหน้าหรือการหลบหนีจากภัยคุกคาม ซึ่งในกรณีความกลัวสุดโต่ง อาจทำให้ช็อคหรือชาได้ ในมนุษย์และสัตว์ ความกลัวเกิดขึ้นจากกระบวนการประชานและเรียนรู้ ดังนั้นความกลัวจึงสามารถประเมินได้ว่ามีเหตุผลหรือเหมาะสม และไม่มีเหตุผลหรือไม่เหมาะสม ความกลัวที่ไม่มีเหตุผลเรียกว่า โรคกลัว (phobia) นักจิตวิทยาหลายคน เช่น จอห์น บี.

ดู วิวัฒนาการและความกลัว

ความภูมิใจแห่งตน

ในสังคมวิทยาและจิตวิทยา ความภูมิใจในตน หรือ ความภูมิใจแห่งตน หรือ การเคารพตนเอง หรือ การเห็นคุณค่าในตัวเอง (self-esteem) เป็นการประเมินคุณค่าตนเองโดยทั่วไปที่เป็นอัตวิสัยและอยู่ในใจ เป็นทั้งการตัดสินและทัศนคติต่อตนเอง ความภูมิใจในตนอาจรวมความเชื่อ (เช่น ฉันเก่ง ฉันมีคุณค่า) และอารมณ์ความรู้สึก เช่น การได้ชัยชนะ ความซึมเศร้า ความภูมิใจ และความอับอาย หนังสือปี 2550 ให้คำนิยามว่า "ความภูมิใจในตนเป็นการประเมินในเชิงบวกหรือเชิงลบเกี่ยวกับตัวเอง คือ เรารู้สึกกับตัวเองอย่างไร" เป็นแนวคิดทางจิตวิทยา (psychological construct) ที่น่าสนใจเพราะว่านักวิจัยเชื่อว่ามันเป็นตัวพยากรณ์ที่ทรงอิทธิพลต่อผลบางอย่าง เช่น การเรียนเก่งS.

ดู วิวัฒนาการและความภูมิใจแห่งตน

ความสำเร็จในการสืบพันธุ์

ตัวอสุจิกำลังผสมเชื้อกับไข่ในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในการสืบพันธุ์ ความสำเร็จในการสืบพันธุ์ (Reproductive success) คือการสืบทอดยีนไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นต่อไป โดยที่รุ่นต่อไปก็สามารถสืบทอดยีนเหล่านั้นต่อไปได้ด้วย นี่ไม่ใช่เพียงแค่จำนวนของลูกที่สิ่งมีชีวิตนั้นมี แต่รวมโอกาสความสำเร็จในการสืบพันธุ์ที่ลูกของสิ่งมีชีวิตนั้นมีด้วย ทำให้การเลือกคู่ (ซึ่งเป็นส่วนของการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ) เป็นปัจจัยสำคัญ เป็นแนวคิดที่ทำความเหมาะสมให้เป็นกุญแจหลักอย่างหนึ่งในทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติและวิวัฒนาการ.

ดู วิวัฒนาการและความสำเร็จในการสืบพันธุ์

ความหลากหลายทางวัฒนธรรม

วามหลากหลายทางวัฒนธรรม (cultural diversity) เป็นความเชื่อที่ค่อนข้างตรงกันในหมู่นักมานุษยวิทยาว่ามนุษย์มีกำเนิดในทวีปแอฟริกาเมื่อประมาณ 2 ล้านมาแล้ว จากนั้นได้เริ่มกระจายตัวไปทั่วโลก ประสบความสำเร็จในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพการณ์ที่แตกต่างหลากหลาย และบ่อยครั้งที่ต้องประสบกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากภัยพิบัติร้ายแรงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศทั้งในระดับพื้นถิ่นและระดับทั่วโลก สังคมที่แยกจากห่างกันที่เกิดขึ้นในที่ต่างๆ ของโลกมีความแตกต่างกันชัดเจน และความแตกต่างกันระหว่างวัฒนธรรมยังคงมีความต่อเนื่องสืบมาถึงปัจจุบัน แม้ความแตกต่างทางวัฒนธรรมหรือเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมระหว่างหมู่ชนจะยังคงมีอยู่ เช่นความแตกต่างทางภาษา การแต่งกายและประเพณีก็ตาม แต่ในความแตกต่างที่หลากหลายในสังคมต่างๆ ก็ยังปรากฏให้เห็นความคล้ายในตัวของสังคมที่หลากหลาย คือแนวคิดทางศีลธรรมและวิธีที่กลุ่มชนในสังคมมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โจ เนลสันจากแสตมฟอร์ด เวอร์จิเนียเป็นผู้ทำให้วลี "วัฒนธรรมและความหลากหลาย" เป็นที่รู้จักแพร่หลายในช่วงที่เขาอยู่ในแอฟริกา เป็นที่ถกเถียงกันว่าความแตกต่างเหล่านี้เป็นเพียงสิ่งมนุษย์สร้างที่เกิดขึ้นตามธรรมดาอยู่แล้วตามรูปแบบของการย้ายถิ่นของมนุษย์ไปในที่ต่างๆ หรือว่านี่คือตัวการที่เป็นหัวใจของของการสืบสายพันธ์ในช่วงวิวัฒนาการที่ทำให้สายพันธุ์ของมนุษย์ประสบความสำเร็จมากกว่าสัตว์พันธุ์อื่นๆ ด้วยการเทียบเทียบแนวกับ "ความหลากหลายทางชีวภาพ" ที่เชื่อกันว่ามีความสำคัญยิ่งยวดต่อการมีชีวิตรอดในระยะยาวของทุกชีวิตบนโลก ความหลากหลายทางวัฒนธรรมย่อมมีความสำคัญยิ่งต่อการอยู่รอดในระยะยาวของมวลมนุษยชาติด้วย นั่นคือ การอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นถิ่นไว้ย่อมมีความสำคัญเท่าๆ กันกับกับการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์และระบบนิเวศเพื่อให้สิ่งมีชีวิตบนโลกโดยรวมอยู่ได้ บทอภิปรายนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากหลายฝ่ายด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน ประการแรก เช่นเดียวกับความน่าเชื่อของการวิวัฒนาการตามธรรมชาติของมนุษย์ ความสำคัญของความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่เป็นสิ่งทำให้มนุษย์อยู่รอดได้ยังคงเป็นสมมุติฐานที่ยังไม่ได้รับการทดสอบซึ่งอาจไม่มีความชอบธรรมทางจรรยาบรรณที่จะอนุรักษ์ "สังคมที่ยังพัฒนาน้อย" ไว้เพราะอาจเป็นการห้ามผู้คนในสังคมนั้นไม่ให้ได้รับประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการแพทย์ที่สร้างความสะดวกสบายและสวัสดิภาพแก่ "สังคมพัฒนาแล้ว" ประการสุดท้าย มีชนหลายหมู่โดยเฉพาะที่หมู่ชนมีความเชื่อทางศาสนาอย่างแรงกล้า ที่เชื่อว่าศาสนานั้นคือสิ่งที่ให้คุณประโยชน์ที่ดีที่สุดแก่ตัวบุคคลและมวลมนุษย์โดยรวม ดังนั้นจึงควรมุ่งติดอยู่กับรูปแบบการดำรงชีวิตเพียงแบบเดียวที่หมู่ชนนั้นๆ เห็นว่าถูกต้องที่สุด ตัวอย่างเช่น องค์การสอนศาสนา "ฟันดาเมนทอลลิสต์อีแวนเจลิสต์" เช่น "นิวไทรบ์มิสชัน" ซึ่งทำงานอย่างแข็งขันเพื่อลดความหลากหลายทางวัฒนธรรมโดยการเลือกสังคมชนเผ่าที่อยู่ห่างไกล จับพวกชนเผ่าเหล่านั้นเข้ารีตกับความเชื่อของพวกเขาเองแล้วโน้มนำให้ชนเผ่าเหล่านั้นปรับเปลี่ยนรูปแบบสังคมของตนเองตามหลักการของพวกเขาเอง การแจงนับความหลากหลายทางวัฒนธรรมนับเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่ตัวบ่งชี้ที่นับได้ว่าใช้ได้ดีตัวหนึ่งคือการนับจำนวนภาษาที่ใช้พูดในภูมิภาคนั้น หรือในโลกโดยรวม วิธีการนี้ จะช่วยให้มองเห็นระยะของการถดถอยที่รวดเร็วขึ้นในความหลากหลายทางวัฒนธรรมของโลก งานวิจัยที่ทำเมื่อช่วงทศวรรษ 1990 (พ.ศ.

ดู วิวัฒนาการและความหลากหลายทางวัฒนธรรม

ความผันแปรได้ทางพันธุกรรม

การเปลี่ยนแปรทางพันธุกรรม หรือ ความผันแปรทางพันธุกรรม หรือ ความผันแปรได้ทางพันธุกรรม (Genetic variability, จากคำว่า vary + liable - เปลี่ยนได้) เป็นสมรรถภาพของระบบชีวภาพไม่ว่าจะที่ระดับสิ่งมีชีวิตหรือที่กลุ่มประชากร ในการเปลี่ยนไปตามกาลเวลา มูลฐานของความผันแปรได้ทางพันธุกรรมก็คือความแตกต่างทางพันธุกรรมของระบบชีวภาพในระดับต่าง ๆ ความผันแปรได้ทางพันธุกรรมอาจนิยามได้ด้วยว่า เป็นค่าความโน้มเอียงที่จีโนไทป์แต่ละชนิด ๆ ในกลุ่มประชากรจะแตกต่างกัน โดยต่างจากความหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic diversity) ซึ่งเป็นจำนวนความแตกต่างที่พบในกลุ่มประชากร ความผันแปรได้ของลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จึงหมายถึงค่าความโน้มเอียงที่ลักษณะจะต่าง ๆ กันเป็นการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมและต่อปัจจัยทางพันธุกรรมอื่น ๆ ความผันแปรได้ของยีนในกลุ่มประชากรสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) เพราะถ้าไม่สามารถผันแปรได้ กลุ่มสิ่งมีชีวิตก็จะมีปัญหาปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม และดังนั้น จะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ความผันแปรได้เป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการวิวัฒนาการ เพราะมีผลต่อการตอบสนองของสิ่งมีชีวิตต่อความกดดันทางสิ่งแวดล้อม และดังนั้น สิ่งมีชีวิตจึงสามารถรอดชีวิตได้ต่าง ๆ กันในกลุ่มประชากรหนึ่ง ๆ เนื่องจากธรรมชาติจะคัดเลือกความต่างซึ่งเหมาะสมที่สุด ความผันแปรได้ยังเป็นมูลฐานของความเสี่ยงต่อโรคและความไวพิษ/ยาที่ต่าง ๆ กันในสิ่งมีชีวิต ซึ่งเพิ่มความสนใจในเรื่องการแพทย์แบบปรับเฉพาะบุคคล (personalized medicine) โดยเนื่องกับโครงการจีโนมมนุษย์ และความพยายามเพื่อสร้างแผนที่กำหนดขอบเขตความแตกต่างทางพันธุกรรมของมนุษย์ เช่น ในโครงการ International Hapmap homologous recombination เป็นเหตุเกิดความผันแปรได้ทางพันธุกรรมที่สำคัญ polyploidy จะเพิ่มความผันแปรได้ทางพันธุกรรม การกลายพันธุ์เปลี่ยนแพรเซี่ยงไฮ้ให้มีดอกสีต่างกัน.

ดู วิวัฒนาการและความผันแปรได้ทางพันธุกรรม

ความผิดปกติทางอารมณ์

วามผิดปกติทางอารมณ์ หรือ โรคอารมณ์แปรปรวน (Mood disorder) เป็นกลุ่มโรคในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM) ที่ปัญหาทางอารมณ์ (mood) สันนิษฐานว่าเป็นอาการหลักของโรค ส่วนในบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (ICD) เป็นกลุ่มที่เรียกว่า mood (affective) disorders ซึ่งแปลได้อย่างเดียวกัน จิตแพทย์ชาวอังกฤษเสนอหมวดโรคที่ครอบคลุมเรียกว่า affective disorder ในปี..

ดู วิวัฒนาการและความผิดปกติทางอารมณ์

ความจำชัดแจ้ง

ประเภทและกิจหน้าที่ของความจำในวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ "ความจำชัดแจ้ง" (Explicit memory) หรือบางครั้งเรียกว่า "ความจำเชิงประกาศ" (Declarative memory) เป็นประเภทหนึ่งของความจำระยะยาวสองอย่างในมนุษย์ ความจำชัดแจ้งหมายถึงความจำที่สามารถระลึกได้ใต้อำนาจจิตใจเช่นความจริงและความรู้ต่าง ๆ ดังนั้น การระลึกถึงประสบการณ์ในอดีตหรือข้อมูลอื่น ๆ โดยตั้งใจและประกอบด้วยความรู้สึกตัวว่ากำลังระลึกถึงความจำ จึงเป็นการระลึกถึงความจำชัดแจ้ง มนุษย์มีการจำได้แบบชัดแจ้งตลอดทั้งวัน เช่นจำเวลานัดได้ หรือจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้วหลายปีได้ ส่วนความจำที่คู่กันก็คือ "ความจำโดยปริยาย" (implicit memory) หรือ "ความจำเชิงไม่ประกาศ" (non-declarative memory) หรือ "ความจำเชิงกระบวนวิธี" (procedural memory) ซึ่งหมายถึงความจำที่ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจเช่นทักษะต่าง ๆ (ตัวอย่างเช่น ทักษะในการขี่จักรยาน) การเข้าถึงความจำโดยปริยายไม่ประกอบด้วยความรู้สึกตัว ไม่ใช่เป็นการระลึกได้ด้วยความตั้งใจ ให้เทียบกับการระลึกถึงความจำชัดแจ้งซึ่งเป็นการระลึกได้พร้อมด้วยความรู้สึกตัว ตัวอย่างเช่น การระลึกถึงการหัดขับรถชั่วโมงหนึ่งได้เป็นตัวอย่างของการจำได้แบบชัดแจ้ง ส่วนทักษะการขับรถที่พัฒนาขึ้นเพราะการหัดขับรถนั้นเป็นตัวอย่างของการจำได้โดยปริยาย ส่วนความจำชัดแจ้งยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทอีก คือ.

ดู วิวัฒนาการและความจำชัดแจ้ง

ความจำอาศัยเหตุการณ์

วามจำอาศัยเหตุการณ์ (episodic memory) เป็นความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวประวัติของตนเอง (รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับวันเวลา สถานที่ อารมณ์ความรู้สึกที่มี และเรื่องที่เกี่ยวข้องกันอื่น ๆ) ที่สามารถระลึกได้ภายใต้อำนาจจิตใจและนำมากล่าวได้อย่างชัดแจ้ง เป็นความจำรวมประสบการณ์ต่าง ๆ ของตนในอดีต แต่ละเหตุการณ์เกิดขึ้นที่วันเวลาหนึ่ง ๆ และในสถานที่หนึ่ง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราระลึกถึงงานเลี้ยง (หรือการทำบุญ) วันเกิดเมื่ออายุ 6 ขวบได้ นี่เป็นความจำอาศัยเหตุการณ์ เป็นความจำที่ยังให้เราสามารถเดินทางกลับไปในกาลเวลา (ในใจ) เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่วันเวลานั้น ๆ และสถานที่นั้น ๆ ความจำอาศัยความหมาย (semantic memory) และความจำอาศัยเหตุการณ์รวมกันจัดอยู่ในประเภทความจำชัดแจ้ง (explicit memory) หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความจำเชิงประกาศ (declarative memory) ซึ่งเป็นหนึ่งในสองประเภทหลัก ๆ ของความจำ (โดยอีกประเภทหนึ่งเป็นความจำโดยปริยาย) นักจิตวิทยาชาวแคนาดาชื่อว่าเอ็นเด็ล ทัลวิง ได้บัญญัติคำว่า "Episodic Memory" ไว้ในปี..

ดู วิวัฒนาการและความจำอาศัยเหตุการณ์

ความน่ารัก

การเปลี่ยนสัดส่วนต่าง ๆ ของศีรษะและใบหน้า (โดยเฉพาะขนาดขากรรไกรบนโดยเปรียบเทียบกับขากรรไกรล่าง) ตามอายุ "มนุษย์ชอบใจสัตว์ที่มีลักษณะคล้าย ๆ เด็ก คือมีตาใหญ่ กะโหลกศีรษะที่ป่องออก คางที่ไม่ยื่นออก (คอลัมน์ซ้าย) ส่วนสัตว์ที่มีตาเล็ก ปากจมูกยาว (คอลัมน์ขวา) ไม่ทำให้เกิดปฏิกิริยาเช่นเดียวกัน" --ค็อนแรด ลอเร็นซ์ ความน่ารัก (cuteness) เป็นคำบ่งความรู้สึกที่ใช้แสดงความน่าพึงใจ/ความน่าดูน่าชมที่มักจะเกี่ยวข้องกับความเยาว์วัยและรูปร่างหน้าตา และยังเป็นคำบัญญัติทางวิทยาศาสตร์และแบบวิเคราะห์ในพฤติกรรมวิทยาอีกด้วย นักวิทยาศาสตร์ที่ใช้คำนี้เป็นคนแรก (ชาวออสเตรียชื่อว่าค็อนแรด ลอเร็นซ์) ได้เสนอความคิดในเรื่องแผนภาพทารก (baby schema, Kindchenschema) ซึ่งเป็นลักษณะทางใบหน้าและร่างกาย ที่ทำให้สัตว์หนึ่ง ๆ ปรากฏว่า "น่ารัก" และกระตุ้นให้ผู้อื่นช่วยดูแลรักษาสัตว์นั้น ๆ คำนี้สามารถใช้ในการชมบุคคลและสิ่งของที่น่าดูน่าชมหรือมีเสน่ห์ อีกอย่างหนึ่ง ความน่ารัก เป็นความสวยงามประเภทหนึ่งที่มีลักษณะละเอียดอ่อนและดึงดูดใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็ก ความน่ารักมักจะเกิดจากส่วนประกอบของสิ่งที่มีลักษณะคล้ายทารกหรือมีขนาดใกล้เคียงกับทารก และมักจะมีส่วนประกอบของความขี้เล่น ความเปราะบาง และการช่วยเหลือตัวเองไม่ได้รวมอยู่ด้วย เด็กเล็ก ๆ และสัตว์ในวัยเยาว์มักจะมีการกล่าวถึงในลักษณะความน่ารัก ในขณะเดียวกันสัตว์ใหญ่บางประเภทเช่นแพนด้ายักษ์ ก็ยังมีการกล่าวถึงความน่ารัก เนื่องจากลักษณะที่คล้ายคลึงกับทารก และมีสัดส่วนหัวขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดร่างกาย เทียบกับสัตว์ชนิดอื่น ในประเทศญี่ปุ่น ความน่ารักได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม จะเห็นได้ว่าในสื่อต่าง ๆ เสื้อผ้า อาหาร ของเล่น หรือของใช้ส่วนตัว มักจะมีภาพแสดงความน่ารักออกมา หรือแม้แต่หน่วยงานรัฐบาล การทหารก็ยังมีภาพแสดงความน่ารักออกมา ในขณะที่ไม่มีใช้กันในประเทศอื่นโดยถือว่าเป็นความไม่เหมาะสม ความน่ารักในปัจจุบันได้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการตลาดของบริษัทขายของ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศญี่ปุ่น โดยได้กลายเป็นจุดขายที่สำคัญ ตัวอย่างเช่นในสินค้า เฮลโล คิตตี้ หรือ โปเกมอน หรือแม้แต่ในวัฒนธรรมตะวันตก เช่น หมีพูห์ หรือ มิกกี้เม.

ดู วิวัฒนาการและความน่ารัก

ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก

10.1126/science.1177265 ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก (global catastrophic risk) เป็นเหตุการณ์สมมุติในอนาคต ที่อาจทำความเสียหายต่อมนุษย์อย่างรุนแรงทั่วโลก เหตุการณ์บางอย่างอาจทำลาย หรือทำความเสียหายแก่ อารยธรรมที่มีในปัจจุบัน หรือเหตุการณ์ที่รุนแรงกว่านั้น อาจทำให้มวลมนุษย์สูญพันธุ์ ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นความเสี่ยงต่อการอยู่รอดของมนุษย์ (existential risk) ภัยพิบัติตามธรรมชาติ เช่น การระเบิดของซูเปอร์ภูเขาไฟ และการวิ่งชนโลกของดาวเคราะห์น้อย จะเป็นความเสี่ยงในระดับนี้ถ้ารุนแรงเพียงพอ เหตุการณ์ที่มนุษย์เป็นเหตุ ก็อาจจะเป็นความเสี่ยงต่อการอยู่รอดของสัตว์ฉลาดต่าง ๆ ของโลก เช่น ปรากฏการณ์โลกร้อน สงครามนิวเคลียร์ หรือการก่อการร้ายชีวภาพ สถาบันอนาคตของมนุษยชาติ (Future of Humanity Institute) ที่เป็นส่วนของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เชื่อว่า การสูญพันธุ์ของมนุษย์ น่าจะมีเหตุมาจากมนุษย์เอง มากกว่าจากเหตุการณ์ทางธรรมชาติ แต่ว่า เป็นเรื่องยากลำบากที่จะศึกษาการสูญพันธุ์ของมนุษย์ เพราะไม่เคยมีเหตุการณ์นี้จริง ๆ แม้นี่จะไม่ได้หมายความว่า จะไม่เกิดขึ้นในอนาคต แต่ว่า การสร้างแบบจำลองของความเสี่ยงต่อความอยู่รอด เป็นเรื่องยาก โดยส่วนหนึ่งเพราะผู้ศึกษามีความเอนเอียงจากการอยู่รอด คือมีความคิดผิดพลาดที่พุ่งความสนใจไปในสิ่งที่อยู่รอด จนทำให้เหตุผลไม่ตรงกับความจริง.

ดู วิวัฒนาการและความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก

ความเหมาะสม

วามเหมาะสม หรือ ค่าความเหมาะสม (Fitness, มักเขียนเป็น w ในสูตรพันธุศาสตร์ประชากร) เป็นแนวคิดหลักอย่างหนึ่งในทฤษฎีวิวัฒนาการ ในสิ่งแวดล้อมหนึ่ง ๆ จะกำหนดโดยลักษณะทางพันธุกรรม (genotype) หรือลักษณะปรากฏ (phenotype) ก็ได้ ในกรณีแม้ทั้งสอง สามารถอธิบายได้โดยสามัญว่า เป็นความสามารถที่จะรอดชีวิตและสืบพันธุ์ได้ และมีค่าเป็น การให้ยีนของตนโดยเฉลี่ย เป็นส่วนของยีนทั้งหมดในประชากร (gene pool) รุ่นต่อไป โดยเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะทางพันธุกรรมหรือลักษณะปรากฏ เช่นนั้น ๆ กล่าวอีกอย่างคือ ถ้าความแตกต่างของอัลลีลที่พบในยีนหนึ่ง ๆ มีผลต่อความเหมาะสม ความถี่ของอัลลีลนั้นก็จะเปลี่ยนไปตามรุ่น คือ อัลลีลที่เหมาะสมมากกว่าจะมีความถี่สูงกว่า เป็นอัลลีลที่สามัญกว่าในกลุ่มประชากร กระบวนการนี้เรียกว่า การคัดเลือกโดยธรรมชาติ ศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "Darwinian fitness" มักจะใช้หมายถึงความเหมาะสมที่ว่านี้ โดยแตกต่างจากคำว่า "physical fitness" ซึ่งหมายถึงความแข็งแรงของร่างกาย ความเหมาะสมของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ จะปรากฏทางลักษณะปรากฏ โดยมีอิทธิพลทั้งจากสิ่งแวดล้อมและจากยีน และความเหมาะสมของลักษณะปรากฏนั้น ๆ จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม ดังนั้น สิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิตที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกัน อาจจะมีความเหมาะสมไม่เท่ากัน (เพราะอาจมีสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมือนกัน) และเพราะว่า ค่าความเหมาะสมของลักษณะทางพันธุกรรมนั้น ๆ เป็นค่าเฉลี่ย ดังนั้น ก็จะเป็นค่าสะท้อนความสำเร็จทางการสืบพันธุ์ ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่มีลักษณะทางพันธุกรรมนั้น ๆ ในสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ ส่วนคำว่า "Inclusive fitness" (ความเหมาะสมโดยรวม) ต่างจากความเหมาะสมโดยบุคคล เพราะรวมเอาความสามารถของอัลลีลในแต่ละบุคคล ที่ส่งเสริมการอยู่รอดและการสืบพันธุ์ของบุคคลอื่น ๆ นอกจากตน ที่มีอัลลีลนั้นเหมือนกัน ให้เหนือกว่าสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่มีอัลลีลคนละอย่าง กลไกของความเหมาะสมโดยรวมอย่างหนึ่งก็คือ kin selection (การคัดเลือกโดยญาติ).

ดู วิวัฒนาการและความเหมาะสม

ความเห็นพ้องทางวิทยาศาสตร์

วามเห็นพ้องทางวิทยาศาสตร์ (Scientific consensus) หรือ มติส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ เป็นข้อตัดสิน จุดยืน และความเห็น โดยรวม ๆ ของชุมชนนักวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง คำว่า มติส่วนใหญ่ หมายถึงการเห็นพ้องกันโดยทั่ว ๆ ไป ไม่ใช่ความเป็นเอกฉันท์ นักวิทยาศาสตร์จะถึงมติส่วนใหญ่ได้ก็ต้องอาศัยงานประชุม กระบวนการตีพิมพ์ (เช่นหนังสือหรือวารสารวิทยาศาสตร์) การทำงานทดลองซ้ำ (ที่ได้ผลอย่างเดียวกันโดยผู้อื่น) และกระบวนการทบทวนระดับเดียวกัน ซึ่งรวมกันมีผลเป็นสถานการณ์ที่นักวิทยาศาสตร์ในสาขานั้น บ่อยครั้งสามารถรู้ได้ว่าอะไรเป็นมติส่วนใหญ่ แต่การบอกบุคคลอื่น ๆ นอกสาขาว่า มีมติส่วนใหญ่ อาจจะเป็นเรื่องยาก เพราะว่า การอภิปรายที่เป็นเรื่องธรรมดาของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ อาจจะปรากฏต่อบุคคลภายนอกว่าเป็นการต่อสู้กัน บางครั้ง จะมีสถาบันวิทยาศาสตร์ที่พิมพ์คำแถลงการณ์เกี่ยวกับจุดยืน เพื่อที่จะสื่อสารใจความสำคัญเกี่ยวกับประเด็นใดประเด็นหนึ่ง จากบุคคลภายในไปยังกลุ่มบุคคลภายนอก ในกรณีที่ไม่มีข้อโต้เถียงกันมากในประเด็นใต้การศึกษา การถึงมติส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างตรงไปตรงมา อาจจะมีการอ้างถึงมติส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ในการอภิปรายทั่วไปหรือทางการเมือง เกี่ยวกับประเด็นที่ยังเป็นเรื่องโต้เถียงยังไม่ยุติในมวลชน แต่ความจริงไม่ใช่เรื่องที่ยังตกลงกันไม่ได้ในหมู่นักวิทยาศาสตร์ เช่นประเด็นเรื่องวิวัฒนาการ หรือเรื่องการฉีดวัคซีนรวมแบบ MMR ที่ไม่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ รวมทั้งออทิซึม หรือเรื่องโลกร้อน.

ดู วิวัฒนาการและความเห็นพ้องทางวิทยาศาสตร์

คิกออฟ

กออฟ เป็นหนังสือพิมพ์รายวันในประเทศไทย นำเสนอข่าวกีฬาต่างประเทศ และในประเทศ ตลอดจนข้อมูลอัตราต่อรองการแข่งขันกีฬาทั่วโลก จากบริษัทรับพนันระดับโลกหลายแห่งด้ว.

ดู วิวัฒนาการและคิกออฟ

งูพิษ

วาดงูสมิงทะเลปากเหลือง (''Laticauda colubrina'') ซึ่งเป็นงูที่มีพิษร้ายแรงเป็นอันดับ 5 ของโลก และเป็นเพียงชนิดเดียวที่เป็นงูทะเล งูพิษ คืองูที่มีพิษใช้สำหรับป้องกันตัวจากการถูกคุกคามหรือใช้ล่าเหยื่อ ซึ่งมีฤทธิ์ร้ายแรงแตกต่างออกไปตามชนิด, วงศ์ และสกุล ซึ่งร้ายแรงที่สุดสามารถฆ่าสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่กว่าให้ตายได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที พิษของงูจะอยู่ที่บริเวณต่อมน้ำพิษ ในบริเวณฟันเขี้ยว ซึ่งใช้ผลิตน้ำพิษ ซึ่งลักษณะของต่อมน้ำพิษและโครงสร้างจะเกี่ยวข้องในการอนุกรมวิธานจำแนกชนิดของงู น้ำพิษของงูนั้นเป็นสารประกอบเชิงซ้อนของโปรตีนและสารเคมีประเภทอื่น น้ำพิษในแต่ละชนิดเป็นสารประกอบต่างกันและมีน้ำหนักโมเลกุลต่างกันมาก และเป็นกรณีที่ไม่สามารถอธิบายวิวัฒนาการของน้ำพิษได้ชัดเจน รวมทั้งยากต่อการวินิจฉัยประเภทน้ำพิษและการรักษาเมื่อถูกกัด น้ำพิษของงูนั้นแตกต่างกันตั้งแต่เป็นสารประกอบโมเลกุลเล็กของเพปไทด์ที่มีกรดอะมิโนไม่กี่ชนิดไปจนถึงสารประกอบประเภทเอนไซม์ที่เป็นโมเลกุลเชิงซ้อน หรือเป็นสารประเภทโปรตีนที่ไม่ใช่เอนไซม์และมีน้ำหนักโมเลกุลมาก น้ำพิษของูจำแนกตามลักษณะโครงสร้างของเคมีและผลทางสรีรวิทยาที่เกิดขึ้น เช่น Hemolysin และ Hemorrhagin ทำลายเนื้อเยื่อบุผนังของหลอดเลือดและเซลล์เม็ดเลือดแดง Myotoxin ทำลายกล้ามเนื้อกระดูก Neurotoxin มีผลต่อจุดประสานของเซลล์ประสาทหรือตรงรอยต่อระหว่างกล้ามเนื้อกับแขนงประสาท เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วน้ำพิษของงูในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) มีผลต่อประบบประสาทและน้ำพิษของงูในวงศ์งูหางกระดิ่ง (Viperidae) มีผลต่อระบบไหลเวียนและเซลล์เม็ดเลือดแดง อย่างไรก็ตามน้ำพิษของงูทั้ง 2 วงศ์นี้อาจส่งผลต่อทั้ง 2 ระบบก็ได้ โดยทั่วไปแล้วความรุนแรงของพิษงูจะพิจารณาจาก 2 ปัจจัย คือ ความเข้มข้นของพิษ ซึ่งดูจากค่า Lethal Dose 50 (LD50) ที่ได้จากการทดลอง ฉีดพิษงูในระดับความเข้มข้นต่าง ๆ เข้าไปในเส้นเลือดดำของหนูทดลอง จนถึงระดับที่ทำให้หนูทดลองตายไปครึ่งหนึ่ง โดยค่า LD50 น้อย หมายถึง "พิษรุนแรง" ส่วนอีกปัจจัยคือ ปริมาณของพิษที่งูปล่อยออกมา นอกจากปริมาณพิษจะแตกต่างกันในงูแต่ละชนิดแล้ว ในการกัด งูก็ไม่ได้ปล่อยพิษออกมา เท่ากันทุกครั้ง เนื่องจากการสร้างพิษใหม่ต้องใช้เวลา การปล่อยพิษพร่ำเพรื่อจะทำให้พลาดโอกาสสำคัญในการล่าเหยื่อ หรือเสียท่าพลาดพลั้งให้ศัตรูได้ ในบางครั้งเมื่องูพิษกัดก็อาจจะไม่ได้มีการปล่อยพิษเลยก็ได้ และถึงแม้ว่างูจะถูกตัดคอเหลือแต่ส่วนหัวของงูยังมีชีวิตอยู่อีกเป็นชั่วโมงและสามารถกัดและพ่นพิษได้เช่นกัน สกุล ''Crotalus'' แสดงให้เห็นถึงฟันเขี้ยวขนาดใหญ.

ดู วิวัฒนาการและงูพิษ

งูจงอาง

งูจงอาง (King Cobra) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นงูพิษขนาดใหญ่ โดยทั่วไปมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 3.5 - 4.5 เมตร จัดเป็นงูพิษที่มีขนาดยาวที่สุดในโลก ซึ่งตัวที่ยาวเป็นสถิติโลกมีความยาวถึง 5.67 เมตร เป็นงูจงอางไทยลำตัวสีชมพู ถูกยิงได้ที่จังหวัดนครศรีธรรมร..

ดู วิวัฒนาการและงูจงอาง

งูทะเล

งูทะเล เป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกสัตว์เลื้อยคลานจำพวกงู ที่อาศัยและดำรงชีวิตอยู่ในทะเลตลอดชีวิต ไม่เคยขึ้นมาบนบกเลย ยกเว้นการผสมพันธุ์และวางไข่ในบางชนิด งูทะเลเป็นงูที่อยู่ในวงศ์ย่อย Hydrophiinae และ Laticaudinae งูทะเลทุกชนิดอาศัยอยู่ในทะเลหรือปากแม่น้ำชายฝั่งหมด ยกเว้น ชนิด Hydrophis semperi และ Laticauda crokeri เท่านั้น ที่พบอาศัยอยู่ในทะเลสาบน้ำจืดในประเทศฟิลิปปิน.

ดู วิวัฒนาการและงูทะเล

งูไทปัน

งูไทปัน (Taipan) เป็นสกุลของงูในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Oxyuranus เป็นงูที่ได้รับการจัดอันดับให้เป็นงูกลุ่มที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก มีลำตัวยาวโดยประมาณ 2-3.6 เมตร ลักษณะลำตัวมีสีน้ำตาลปนดำ มักอาศัยอยู่ตามซอกหินในทะเลทรายของประเทศออสเตรเลี.

ดู วิวัฒนาการและงูไทปัน

ตระกูลของภาษา

ตระกูลภาษาต่างๆทั่วโลก ภาษาส่วนใหญ่สามารถจะจำแนกให้อยู่ในตระกูลของภาษา (ซึ่งจะเรียกว่า "กลุ่มภาษา" ในบทความนี้) กลุ่มภาษาที่มีการจัดกลุ่มอย่างชัดเจน จะเป็นหน่วยทางวิวัฒนาการ กล่าวคือ ทุกสมาชิกจะสืบทอดมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน ส่วนใหญ่แล้ว ภาษาบรรพบุรุษมักจะไม่เป็นที่รู้จักโดยตรง เนื่องจากภาษาส่วนใหญ่จะมีประวัติของการเขียนสั้นมาก อย่างไรก็ดี เป็นไปได้ที่จะค้นพบคุณสมบัติต่าง ๆ ของภาษาบรรพบุรุษโดยใช้วิธีการเปรียบเทียบ (comparative method) -- เป็นวิธีการสร้างใหม่ที่คิดโดย นักภาษาศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชื่อ เอากุสต์ ชไลเกอร์ ซึ่งสามารถแสดงถึงสถานภาพของกลุ่มภาษาของกลุ่มจำนวนมากที่จะได้กล่าวถึงต่อไป ตระกูลของภาษาสามารถแบ่งย่อยเป็นหน่วยที่เล็กลงไปอีก ซึ่งมักจะเรียกหน่วยย่อยว่า "สาขา" (เนื่องจากประวัติของกลุ่มภาษามักจะเขียนเป็นแผนผังต้นไม้) บรรพบุรุษของกลุ่มภาษา (หรือสาขาของภาษา) เรียกว่า "protolanguage" เช่น protolanguage ของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนที่สร้างใหม่เรียกว่า โปรโต-อินโด-ยูโรเปียน (Proto-Indo-European, ไม่เป็นที่รู้จักจากการเขียน เนื่องจากพูดกันในสมัยที่ก่อนจะมีการประดิษฐ์การเขียนขึ้น) ในบางกรณี สามารถจะระบุ protolanguage ได้เป็นภาษาที่รู้จักในสมัยประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุนี้ ภาษาย่อยตามมณฑลชนบทต่าง ๆ ของภาษาละติน ("Vulgar Latin") ทำให้เกิดตระกูลภาษาโรมานซ์ปัจจุบัน ฉะนั้น ภาษาโปรโต-โรมานซ์จะค่อนข้างเหมือนกับภาษาละติน (ถ้าไม่ใช่ภาษาละตินที่นักเขียนคลาสสิกใช้เขียน) และภาษาย่อยของภาษานอร์สโบราณ (Old Norse) เป็น protolanguage ของภาษานอร์เวย์, ภาษาสวีเดน, ภาษาเดนมาร์ก และภาษาไอซ์แลนด์ ภาษาที่ไม่สามารถจัดได้อย่างแน่นอนลงไปในกลุ่มภาษาใด ๆ เรียกว่า ภาษาโดดเดี่ยว (language isolate).

ดู วิวัฒนาการและตระกูลของภาษา

ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ

ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ (transitional fossil) เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่เหลืออยู่ของสิ่งมีชีวิตใดก็ได้ ที่มีลักษณะสืบสายพันธุ์ซึ่งทั้งกลุ่มสิ่งมีชีวิตบรรพบุรุษของมันและกลุ่มลูกหลานของมันมีร่วมกัน ซึ่งเป็นหลักฐานที่สำคัญเป็นเศษ ในกรณีที่กลุ่มลูกหลานมีกายวิภาคและการดำรงชีวิตที่ต่างกันอย่างมากจากกลุ่มบรรพบุรุษ ซากดึกดำบรรพ์เช่นนี้เป็นเครื่องเตือนใจว่า การแบ่งหน่วยอนุกรมวิธานเป็นอะไรที่มนุษย์สร้างขึ้นในภายหลัง แล้วกำหนดใส่สิ่งมีชีวิตที่มีมาก่อนและมีความแตกต่างแบบต่อเนื่อง ปกติจะไม่มีทางรู้ได้ว่า ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพหนึ่ง ๆ อยู่ใกล้จุดที่สิ่งมีชีวิตกลุ่มต่าง ๆ วิวัฒนาการเบนออกจากกันแค่ไหน เพราะบันทึกซากดึกดำบรรพ์ไม่สมบูรณ์ ดังนั้น จึงไม่สามารถสมมุติได้ว่า สิ่งมีชีวิตช่วงเปลี่ยนสภาพหนึ่งเป็นบรรพบุรุษโดยตรงของกลุ่มสิ่งมีชีวิตต่อ ๆ มา แม้นักวิทยาศาสตร์อาจจะใช้มันเป็นแบบของบรรพบุรุษ ในปี..

ดู วิวัฒนาการและซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ

ซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต

ซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต หรือ ฟอสซิลที่มีชีวิต (Living fossil) หมายถึงสิ่งมีชีวิตใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ ฟังไจ หรือสาหร่าย ที่ยังคงโครงสร้างร่างกายหรือสรีระแบบบรรพบุรุษดั้งเดิมที่เคยมีชีวิตอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้ ซึ่งตรวจสอบได้จากการนำไปเปรียบเทียบกับซากดึกดำบรรพ์ (fossil) หรือมีการเปลี่ยนแปลงไปน้อยมาก จะถูกจัดว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิต โดยบุคคลแรกที่ใช้ศัพท์คำนี้ คือ ชาลส์ ดาร์วิน ที่กล่าวไว้ในหนังสือ The Origin of Species ที่ว่าถึงทฤษฎีวิวัฒนาการของตนเอง ตอนหนึ่งได้พูดถึงตุ่นปากเป็ด และปลาปอดเอาไว้ว่า โดยชนิดของซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุด และมีความฮือฮามากเมื่อถูกค้นพบ คือ ปลาซีลาแคนท์ ที่ถูกค้นพบเมื่อปลายปี..

ดู วิวัฒนาการและซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต

ซูเปอร์เทสเตอร์

ซูเปอร์เทสเตอร์ ให้ใช้ศัพท์ต่างประเทศของคำว่า super และ taster แทนคำไทยได้, วิธีถอดอักษรโรมันเป็นไทยของราชบัณฑิตยสถานจะเขียนว่า "ซุปเป้อร์เท้สเต้อร์" (supertaster แปลอย่างหนึ่งได้ว่า สุดยอดคนชิมอาหาร) เป็นบุคคลผู้ที่สามารถรับรสของสิ่งที่อยู่ที่ลิ้น ในระดับที่เข้มข้นมากกว่าคนอื่นโดยเฉลี่ย ในประชากรทั้งหมด ผู้หญิง 35% และผู้ชาย 15% เป็นซูเปอร์เทสเตอร์ และมีโอกาสที่จะสืบเชื้อสายมาจากคนเอเซีย คนอัฟริกา และคนอเมริกาใต้มากกว่าคนเชื้อชาติอื่น ๆ BBC เหตุของระดับการตอบสนองที่สูงขึ้นเช่นนี้ยังไม่ชัดเจน ถึงแม้จะเชื่อกันว่า มีเหตุเกี่ยวข้องกับการมียีน TAS2R38 ซึ่งทำให้สามารถรับรสของสาร PropylthiouracilPropylthiouracil เป็นยาที่แปลงมาจากสาร Thiouracil ใช้ในการรักษาโรคไทรอยด์รวมทั้งโรคคอพอกตาโปนโดยลดฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ และ PhenylthiocarbamidePhenylthiocarbamide หรือเรียกว่า phenylthiourea เป็นสารประกอบประเภท organosulfur thiourea มีวงแหวนแบบ phenyl เป็นสารมีคุณสมบัติพิเศษที่มีรสชาติอาจจะเป็นขมมากหรือไม่มีรสอะไรเลย ขึ้นอยู่กับยีนของผู้ลิ้มรส ได้ และโดยส่วนหนึ่ง มีเหตุจากมีปุ่มรูปดอกเห็ด (fungiform papillae ที่ประกอบด้วยเซลล์รับรส) บนลิ้นที่มากกว่าปกติ การได้เปรียบของความสามารถนี้ในวิวัฒนาการไม่ใชัดเจน ในสิ่งแวดล้อมบางประเภท การตอบสนองทางรสชาติในระดับที่สูงขึ้น โดยเฉพาะต่อรสขม อาจจะเป็นความได้เปรียบที่สำคัญใช้ในการหลีกเลี่ยงสารแอลคาลอยด์ที่อาจเป็นพิษในพืช แต่ในสิ่งแวดล้อมอื่น การตอบสนองในระดับที่สูงขึ้นอาจจะจำกัดอาหารที่ทานแล้วรู้สึกอร่อย fungiform papillae ที่ลิ้นปรากฏเพราะสีอาหารสีน้ำเงิน คำนี้บัญญัติโดยนักจิตวิทยาเชิงทดลองชื่อว่า ลินดา บาร์โทชัก ซึ่งทำงานวิจัยเป็นอาชีพเป็นเวลานานเกี่ยวกับความแตกต่างในยีนของการรับรู้รส ในต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1990 ดร.

ดู วิวัฒนาการและซูเปอร์เทสเตอร์

ประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์

Koch 2004, Figure 1.1 ''The Neuronal Correlates of Consciousness'' p. 16. ประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์ (neural correlates of consciousness, ตัวย่อ NCC) คือเซตที่เล็กที่สุดของปรากฏการณ์ในเซลล์ประสาท และการประกอบกันของเซลล์ประสาทพอที่จะให้เกิดอารมณ์ที่รับรู้ (conscious percept) นักวิทยาศาสตร์ประสาทใช้วิธีการทดลองเป็นหลักเพื่อที่จะค้นพบประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์ เซตได้รับการกำหนดให้เล็กที่สุดเพราะว่า ถ้าสมองเป็นเพียงธรรมชาติเดียวที่ก่อให้เกิดการรับรู้อารมณ์ สิ่งที่จะต้องสืบหาก็คือ ส่วนไหนของสมองเป็นส่วนสำคัญให้เกิดการรู้อารมณ.

ดู วิวัฒนาการและประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์

ประเทศนิวซีแลนด์

นิวซีแลนด์ (New Zealand; มาวรี: Aotearoa หมายถึง "ดินแดนแห่งเมฆยาวสีขาว" หรือ Niu Tirenio ซึ่งเป็นการทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะใหญ่ 2 เกาะ รวมถึงเกาะเล็ก ๆ จำนวนหนึ่ง ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนตะวันตกเฉียงใต้ - นิวซีแลนด์มีเมืองหลวงชื่อเวลลิงตัน นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ห่างไกลจากประเทศอื่น ๆ มากที่สุด ประเทศที่อยู่ใกล้ที่สุดคือประเทศออสเตรเลีย ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะใหญ่ 2,000 กิโลเมตร โดยที่มี ทะเลแทสมันกั้นกลาง ดินแดนเดียวที่อยู่ทางใต้คือทวีปแอนตาร์กติกา และทางเหนือคือนิวแคลิโดเนีย ฟิจิ และตองกา นิวซีแลนด์ได้กลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษด้วยสนธิสัญญาไวตางี (Treaty of Waitangi) เมื่อปี พ.ศ.

ดู วิวัฒนาการและประเทศนิวซีแลนด์

ปลา

ปลา (อังกฤษ: Fish) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอ.

ดู วิวัฒนาการและปลา

ปลากระเบนแมนตา

ปลากระเบนแมนตา หรือ ปลากระเบนราหู (Manta rays) เป็นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง จัดเป็นปลากระเบนที่ใหญ่ที่สุดในโลก อาจมีความกว้างช่วงปีก (ครีบหู) ได้ถึง 6.7 เมตร หรือ 22 ฟุต มีน้ำหนักได้ถึง 1,350 กิโลกรัม หรือ 3,000 ปอนด์ อาศัยอยู่ในน่านน้ำเขตร้อนทั่วโลก โดยเฉพาะรอบ ๆ แนวปะการัง จัดอยู่ในสกุล Manta (เป็นภาษาสเปนแปลว่า "ผ้าห่ม") ในวงศ์ปลากระเบนนก (Myliobatidae) เดิมทีแล้ว ปลากระเบนแมนตาถูกจัดอยู่ในวงศ์ Mobulidae แต่ในปัจจุบันรวมอยู่ในวงศ์ปลากระเบนนก โดยทั่วไปปลากระเบนแมนตาจะมีหลังสีดำและท้องสีขาว แต่อาจพบตัวที่มีหลังสีฟ้าได้บ้าง ตาอยู่บริเวณข้างหัว และต่างจากปลากระเบนทั่วไป ปากอยู่ทางด้านหน้าของหัว มีช่องเหงือก 5 คู่ เหมือนปลากระเบนทั่วไป ครีบหูพัฒนาเป็น ติ่งลักษณะคล้ายเขา หรือที่เรียกว่าครีบหัว อยู่บริเวณด้านหน้าของหัวแบน ๆ ครีบดังกล่าวเจริญขึ้นในช่วงตัวอ่อน เลื่อนมาอยู่รอบปาก ทำให้เป็นหนึ่งในสัตว์มีกระดูกสันหลังมีขากรรไกร ที่มีรยางค์พิเศษอันเป็นที่รู้จักมากที่สุดชนิดหนึ่ง (อีกชนิดคือ เต่าหก ((Manouria emys)) โดยเขาที่อ่อนนุ่มนี้มีไว้สำหรับโบกพัดเอาน้ำเข้าปาก เพื่อกินแพลงก์ตอน และเพื่อจะฮุบน้ำจำนวนมากต้องว่ายอ้าปากและพัดอาหารเข้าปากอยู่เสมอ ปลากระเบนแมนตาเคยหาอาหารตามพื้นท้องทะเลมาก่อน ก่อนที่จะวิวัฒนาการมาเป็นกรองกินแพลงก์ตอนตามทะเลเปิดในปัจจุบัน ทำให้สามารถเจริญเติบโตได้จนมีขนาดใหญ่มากกว่าปลากระเบนชนิดอื่น ๆ ลักษณะการกรองกินทำให้ฟันลดขนาดลงเป็นซี่เล็ก ๆ ส่วนใหญ่แอบอยู่ใต้ผิว คล้ายกับปลากระเบนทั่วไป มีหางเป็นเส้นยาว แต่หากปราศจากเงี่ยงที่ส่วนหาง และเกล็ดแหลมหุ้มลำตัวก็มีขนาดเล็กลง แทนที่ด้วยเมือกหนาหุ้มร่างกาย ส่วนท่อน้ำออกมีขนาดเล็กและไม่ทำหน้าที่ น้ำทั้งหมดไหลเข้าสู่ปากแทน เพื่อการว่ายน้ำที่ดี ปลากระเบนแมนตาวิวัฒนาการรูปร่างร่างกายให้เป็นสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด และมีการพัฒนาครีบให้คล้ายปีกสำหรับโบยบินในท้องทะเล ขนาดตัวยักษ์ใหญ่และความเร็วชนิดใกล้เคียงจรวด ทำให้ปลากระเบนแมนตามีศัตรูตามธรรมชาติน้อยมาก โดยที่ศัตรูของปลากระเบนแมนตาในน่านน้ำไทยกลุ่มเดียว คือวาฬเพชรฆาต (Orcinus orca) และวาฬเพชรฆาตเทียม (Pseudorca crassidens) แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานแน่นอน โดยปกติแล้วกินแพลงก์ตอน, ตัวอ่อนปลา และสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ทั่วไปโดยการกรองน้ำที่ไหลเข้าสู่ปากโดยใช้ซี่เหงือก ซึ่งเรียกว่า แรม-เจ็ต (Ram-jet) ปลากระเบนแมนตา เดิมถูกจัดเป็นเพียงปลาชนิดเดียว และปัจจุบันถูกจำแนกออกเป็น 2 ชนิด เมื่อไม่นานมานี้ ได้แก.

ดู วิวัฒนาการและปลากระเบนแมนตา

ปลากัดป่ามหาชัย

ปลากัดป่ามหาชัย หรือ ปลากัดมหาชัย (Mahachai betta) เป็นปลาน้ำจืดจำพวกปลากัดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae).

ดู วิวัฒนาการและปลากัดป่ามหาชัย

ปลามีเกราะ

ปลามีเกราะ หรือ ปลาหุ้มเกราะ (Armored fish) เป็นปลายุคก่อนประวัติศาสตร์ในชั้น Placodermi หรือ Placoderm ซึ่งปัจจุบันสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว บรรพบุรุษของปลาถือกำเนิดขึ้นมาในยุคออร์โดวิเชียน (500 ล้านปีก่อน) โดยวิวัฒนาการมาจากสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า แอมฟิออกซัส ที่มีกระดูกอ่อนเป็นกระดูกแกนหลักในร่างกาย และกลายมาเป็นปลาปากกลมที่ไม่มีขากรรไกร หลังจากนั้นก็กลายมาเป็นปลาที่มีเกล็ดแข็งเหมือนเกราะหนาหุ้มตัว จากนั้นในยุคดีโวเนียน (360 ล้านปีก่อน) จึงเป็นปลาที่มีเกล็ดหุ้มร่างกายอย่างหนาแน่นคล้ายชุดเกราะ มีขากรรไกร ก็คือ ปลามีเกราะปรากฏขึ้นมา โดยแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ ๆ คือ เกราะบริเวณส่วนหัว และเกราะบริเวณลำตัว ปลามีเกราะมีกระจายพันธุ์แพร่หลายทั้งในน้ำจืดและทะเล แบ่งออกได้เป็นอันดับต่าง ๆ ถึง 10 อันดับ (ดูในตาราง) ปลามีเกราะแพร่พันธุ์ด้วยการแพร่พันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยออกเป็นไข่ แต่ก็มีบางจำพวกที่ค้นพบว่าคลอดลูกเป็นตัวด้วย โดยปลามีเกราะขนาดใหญ่ที่สุด คือ ดังเคิลออสเตียส ที่มีส่วนหัวและริมฝีปากที่แหลมคมขนาดใหญ่ใช้แทนฟัน มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 10 เมตร มีน้ำหนักได้ถึง 3.6-4 ตัน.

ดู วิวัฒนาการและปลามีเกราะ

ปลาริชาร์ด ดอว์กินส์

ปลาริชาร์ด ดอว์กินส์ (Richard Dawkins fish) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Dawkinsia (/ดอว์-กิน-เซีย-อา/) โดยเป็นสกุลที่ได้รับการอนุกรมวิธานขึ้นเมื่อ ปี ค.ศ.

ดู วิวัฒนาการและปลาริชาร์ด ดอว์กินส์

ปลาทะเลลึก

ปลาไหลกัลเปอร์หนึ่งในปลาน้ำลึกรูปร่างประหลาด ปลาทะเลลึก (Deep sea fish) คือปลาที่พบได้ในทะเลลึกและแสงแดดส่องไม่ถึงจากการสำรวจปลาทะเลลึกนั้นจะมีจำนวนคิดเป็น 2% จากสายพันธ์และสิ่งมีชีวิตในทะเลทั้งหมดโดยพวกมันจะอาศัยอยู่ในก้นสมุทรที่มืดมิด โดยทั่วไปปลาทะเลลึกจะพบอยู่ได้ตั้งแต่ความลึก 1,000-4,000 เมตรหรือบางชนิดอาจอยู่ได้ลึกถึง 4,000-6,000 เมตร ปลาที่เรืองแสงได้ส่วนใหญ่จะพบในระดับความลึกประมาณ 200-1,000 เมตร ระดับความลึกที่มีออกซิเจนน้อยมากจะอยู่ที่ระดับ 700-1,000 เมตรแต่ก็ขึ้นอยู่กับสถานที่นั้นด้วยว่ามีแหล่งผลิตออกซิเจนหรือไม่ ซึ่งจากความลึกของสถานที่แห่งนั้นมีทั้งความมืดมิดและหนาวเย็นถึง 3 องศาเซลเซียสจนถึง -1.8 องศาเซลเซียส อีกทั้งยังมีแรงกดดันของน้ำจำนวนมหาสารขนาดความดันระหว่าง 20 ถึง 1,000 เท่าของบรรยากาศ (ระหว่าง 2 ถึง 100 megapascals)จึงเป็นสถานที่ ๆ ยากต่อการสำรวจ ปลาทะเลลึกนั้นจะมีการปรับตัวให้ใช้พลังงานน้อยลง ขนาดเล็กลง มีปากและกระเพาะขนาดใหญ่ มีการเรืองแสงเพื่อหลอกล่อเหยือซึ่งแตกต่างจากปลาผิวน้ำแต่ถึงอย่างนั้นโครงสร้างทางกายภาพเช่นการหายใจ ขับน้ำ การหายใจยังคงเหมือนปลาทะเลแต่จะมีการวิวัฒนาการแปลก ๆ เพื่อให้พวกมันสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้แต่ถึงอย่างนั้นทะเลลึกก็ยังมี่แหล่งอาหารจากปล่องแบบน้ำร้อนและซากสัตย์จากทะเลด้านบน.

ดู วิวัฒนาการและปลาทะเลลึก

ปลาที่มีครีบเป็นพู่

ปลาที่มีครีบเป็นพู่ หรือ ปลาครีบเป็นพู่ (Lobe-finned fishes) เป็นปลาที่อยู่ในชั้นใหญ่ Sarcopterygii (มาจากภาษากรีกคำว่า σαρξ (sarx), "เนื้อ" และ πτερυξ (pteryx), "ครีบ") หรือในบางครั้งอาจใช้ชื่อว่า Crossopterygii (แปลว่า "Fringe-finned fish", มาจากภาษากรีก κροσσός krossos, "ชายขอบ") เป็นปลาที่มีลักษณะแตกต่างจากปลาในชั้นอื่น ๆ คือ มีเกล็ดเป็นแบบ Cosmoid มีลักษณะเฉพาะ คือ ครีบที่บริเวณหน้าอกวิวัฒนาการจากครีบธรรมดา ๆ มาเป็นเสมือนอวัยวะที่ใช้เคลื่อนไหวได้เหมือนการเดินในน้ำ โดยลักษณะของครีบจะเป็นพู่เนื้อหรือเนื้อเยื่อ มีความแข็งแรงมาก โดยมีแกนกระดูก จึงเป็นเสมือนรอยต่อของการวิวัฒนาการของปลาซึ่งเป็นสัตว์น้ำอาศัยอยู่ในน้ำได้อย่างเดียว ขึ้นมาอยู่บนบกกลายเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำก่อนจะวิวัฒนาการเป็นสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ในชั้นอื่น ๆ ต่อไป ปลาที่มีครีบเป็นพู่ ถือกำเนิดมาในยุคซิลูเรียนตอนปลาย (418 ล้านปีก่อน) ในทะเลและค่อยคืบคลานสู่แหล่งน้ำจืดที่มีลักษณะเป็นหนองหรือคลองบึง สันนิษฐานว่าการที่พัฒนาเช่นนี้ คงเป็นเพราะต้องการหนีจากปลาที่เป็นปลากินเนื้อขนาดใหญ่ที่ครองพื้นที่ทะเลในขณะนั้น เช่น ดังเคิลออสเตียส เป็นต้น ปัจจุบัน ปลาในชั้นนี้ได้สูญพันธุ์หมดแล้ว คงเหลือไว้เพียง 2 จำพวกเท่านั้น คือ ปลาซีลาแคนท์ ที่ครั้งหนึ่งเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว กับปลาปอด ที่กลายมาเป็นปลาน้ำจืดอย่างถาวร และได้มีพัฒนาถุงลมที่ใช้ในการว่ายน้ำและทรงตัวเหมือนปลาทั่วไป กลายเป็นอวัยวะที่ใช้ในการหายใจคล้ายกับปอดของสัตว์บก สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เป็นอย่างดี จึงทำให้อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่คุณภาพน้ำแย่ มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้.

ดู วิวัฒนาการและปลาที่มีครีบเป็นพู่

ปลาฉลามหัวค้อนยาว

ปลาฉลามหัวค้อนยาว (Winghead shark ชื่อวิทยาศาสตร์ Eusphyra blochii) คือสปีชีส์ในกลุ่มปลาฉลามหัวค้อนและเป็นส่วนหนึ่งในวงศ์ปลาฉลามหัวค้อน มีความยาวของลำตัวได้ถึง 1.9 เมตร มีสีน้ำตาลหรือสีดำ มีรูปร่างเพรียวบางและมีครีบหลังในรูปเคียวด้ามยาว ชื่อของฉลามชนิดนี้มาจากลักษณะส่วนหัวรูปค้อนที่มีขนาดใหญ่มากเรียกว่า cephalofoil ซึ่งมีความกว้างได้มากถึงครึ่งหนึ่งของความยาวลำตัว การใช้งานจากโครงสร้างลำตัวเช่นนี้ไม่ปรากฏชัดเจนแต่อาจเกี่ยวกับระบบประสาทสัมผัสของฉลาม ช่องว่างระหว่างตาทั้งสองข้างช่วยให้ฉลามมองด้วยระบบการเห็นภาพจากสองตาได้ดีเยี่ยม ส่วนรูจมูกที่ยาวมากนั้นอาจช่วยให้ฉลามตรวจจับและติดตามกลิ่นในน้ำได้ดียิ่งขึ้น ส่วนหัว cephalofoil ยังมีพื้นสัมผัสที่มีขนาดใหญ่สำหรับรูเปิดที่มีชื่อว่าampullae of Lorenziniและเส้นข้างลำตัวซึ่งส่งผลดีต่อความสามารถในการตรวจจับกระแสไฟฟ้าและการตรวจจับพลังงาน ปลาฉลามหัวค้อนยาวอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งน้ำตื้นของทะเลอินโด-แปซิฟิกตะวันตก โดยออกหาอาหารกลุ่มปลากระดูกแข็ง สัตว์พวกกุ้งกั้งปูและสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ฉลามหัวค้อนยาวออกลูกเป็นตัวโดยตัวอ่อนจะได้รับอาหารผ่านทางสายที่เชื่อมรก ตัวเมียจะตกลูกคราวละ 6-25 ตัว ขึ้นอยู่กับพื้นที่อาศัย ช่วงเวลาตกลูกมักเกิดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายนหลังจากระยะเวลาตั้งครรภ์นาน 8-11 เดือน ฉลามที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์นี้ มักจะถูกล่าเพื่อเป็นอาหาร สำหรับเนื้อปลา ครีบ น้ำมันตับปลาและปลาป่น สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติได้ประเมินสถานะเป็นสิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องจากจำนวนของฉลามที่ลดลงเนื่องมาจากการถูกล่าหาประโยชน์ที่มากเกินไป.

ดู วิวัฒนาการและปลาฉลามหัวค้อนยาว

ปลาโนรีเทวรูป

ปลาโนรีเทวรูป หรือ ปลาผีเสื้อเทวรูป (Moorish idol) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zanclus cornutus จัดอยู่ในวงศ์ Zanclidae (มาจากภาษากรีกคำว่า zagkios หมายถึง ทแยง) และถือเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์นี้ และสกุล Zanclus ปลาโนรีเทวรูป มีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) มาก โดยเฉพาะกับปลาโนรี (Heniochus spp.) ซึ่งในอดีตเคยถูกจัดให้อยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่ปัจจุบันได้มีการแยกออกมา แต่ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นผลมาจากการวิวัฒนาการที่มีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งปลาโนรีเทวรูปมีความใกล้เคียงกับปลาการ์ตูน (Amphiprioninae) หรือปลาสินสมุทร (Pomacanthidae) มากกว่า มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาโนรีครีบยาว (H.

ดู วิวัฒนาการและปลาโนรีเทวรูป

ปลาไบเคอร์

ปลาไบเคอร์ หรือ ปลาบิเชียร์ (Bichir) ซึ่งเป็นชื่อที่นิยมเรียกกันในประเทศไทย เป็นปลากระดูกแข็งในอันดับ Polypteriformes จัดเป็นปลาน้ำจืดที่มีโครงร่างแตกต่างไปจากปลากระดูกแข็งและปลากระดูกอ่อนทั่วไป โดยเป็นปลาที่มีพัฒนาการมาจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ คือ ในส่วนของกระดูกแข็งนั้นพบว่ามีกระดูกอ่อนเป็นจำนวนมาก มีช่องน้ำออก 1 คู่ และภายในลำไส้มีลักษณะขดเป็นเกลียว ซึ่งจะเป็นลักษณะเฉพาะของปลาในกลุ่มฉลามและกระเบน ทั้งยังมีเหงือกแบบพิเศษอยู่หลังตาแต่ละข้าง เกล็ดเป็นแบบกานอยด์ ซึ่งเป็นเกล็ดที่พบในปลามีกระดูกสันหลังในยุคแรก มีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมรูปว่าวและมีส่วนยื่นรับกับข้อต่อ ระหว่างเกล็ดแต่ละชิ้น ซึ่งปัจจุบันจะพบปลาที่มีลักษณะเช่นนี้ ได้แก่ ปลาในอันดับปลาเข็ม, ปลาฉลามปากเป็ดและปลาสเตอร์เจียน เป็นต้น หัวมีขนาดเล็กแต่กว้าง ช่วงลำตัวรวมกับส่วนอก ลำตัวมีลักษณะเรียวยาวคล้ายกับงูมากกว่าจะเหมือนปลาทั่วไป ส่วนอกนั้น มีครีบที่ค่อนข้างแข็งแรง มีลักษณะเป็นฐานพูเนื้อคลุมด้วยเกล็ด คอยช่วยยึดเส้นครีบทั้งหลายที่แผ่ออกมาเป็นแฉก ๆ เหมือนจานพังผืด ซึ่งช่วยในการเคลื่อนไหวในพื้นน้ำเหมือนกับการเดินคล้ายกับปลาซีลาแคนท์ ในส่วนท้องจะมีถุงลม 2 ถุง ช่วยในการหายใจทำหน้าที่คล้ายกับปอด ถุงลมด้านซ้ายมีการพัฒนาน้อยกว่าด้านขวา เช่นเดียวกับปลาปอด ตั้งอยู่บริเวณช่องท้องโดยยึดติดกับหลอดอาหาร โดยที่ทำงานร่วมกับเหงือก ทำให้สามารถอยู่โดยปราศจากน้ำได้เป็นเวลาหลายชั่วโมงมีท่อจมูก สำหรับดมกลิ่น 2 ท่อ เนื่องจากเป็นปลาที่สายตาไม่ดี ต้องใช้การดมกลิ่นในการหาอาหาร ส่วนหลังจะมีชุดครีบ ประกอบไปด้วย 5-18 ครีบ ซึ่งรวมกันเป็นครีบหลัง แต่ละครีบนั้นจะมีแกนครีบเดี่ยว 1 แกน รองรับด้วยพังผืดเล็ก ๆ ในแต่ละครีบ ครีบหางมีลักษณะกลมใหญ่ปลายแหลม นับได้ว่าปลาไบเคอร์เป็นรอยต่อที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการจากปลาขึ้นมาจากน้ำมาใช้ชีวิตอยู่บกอีกจำพวกหนึ่ง ซึ่งในช่วงฤดูแล้งหรือฤดูร้อน ที่แหล่งน้ำที่อยู่อาศัยเหือดแห้ง ปลาไบเคอร์สามารถที่จะขุดรูเข้าไปจำศีลในใต้พื้นดินเพื่อรอให้ถึงฤดูฝน เช่นเดียวกับปลาปอ.

ดู วิวัฒนาการและปลาไบเคอร์

ปลาไม่มีขากรรไกร

ปลาไม่มีขากรรไกร (Jawless fish) เป็นปลาที่อยู่ในชั้นใหญ่ Agnatha (กรีก: ไม่มีขากรรไกร) เป็นปลาในชั้นหนึ่ง ที่แตกต่างไปจากปลากระดูกแข็ง หรือ ปลากระดูกอ่อน ซึ่งเป็นปลาส่วนใหญ่ที่พบได้ทั่วไปและเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี โดยปลาในชั้นนี้จะไม่มีกรามหรือขากรรไกร แต่จะมีปากแบบวงกลมและมีฟันแหลมคมจำนวนมากอยู่รอบ ๆ ใช้สำหรับดูดเลือดและเนื้อเยื่อของปลาชนิดอื่นกินเป็นอาหาร มีลำตัวยาวเหมือนปลาไหล มีโครงสร้างของกระดูกเป็นกระดูกอ่อน พบได้ทั้งน้ำจืดและทะเล บรรพบุรุษของปลาไม่มีขากรรไกร วิวัฒนาการมาจากปลาในชั้นออสตราโคเดิร์มซึ่งสูญพันธ์ไปแล้ว ฟอสซิลที่ถูกค้นพบครั้งล่าสุด พบว่า มีอายุกว่า 500 ล้านปีมาแล้ว และฟอสซิลที่ถูกค้นพบนั้นมีความสลับซับซ้อนมาก จึงเป็นที่น่าคาดการได้ว่า ออสตราโคเดิร์ม เก่าแก่มาก และน่าจะสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ปลาไม่มีขากรรไกร สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ Petromyzontida และ Myxini ซึ่งในปัจจุบัน กลุ่ม Petromyzontida มีเหลืออยู่เพียงประเภทเดียว คือ ปลาแลมป์เพรย์ ส่วน Myxini ก็เหลือเพียงประเภทเดียวเช่นกัน คือ แฮคฟ.

ดู วิวัฒนาการและปลาไม่มีขากรรไกร

ปูมะพร้าว

ปูมะพร้าวขณะอยู่บนพื้น ปูมะพร้าว (Coconut crab; ชื่อวิทยาศาสตร์: Birgus latro) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมอาร์โธรพอด เป็นสัตว์ที่วิวัฒนาการมาจากปูเสฉวน และเป็นสัตว์ขาปล้องขนาดใหญ่ที่สุดที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน กิตติศัพท์ที่ว่าปูมะพร้าวสามารถเจาะลูกมะพร้าวด้วยก้ามอันทรงพลังนั้นเป็นที่รู้จักกันดี ในบางครั้งปูมะพร้าวถูกเรียกว่า ปูปล้น หรือ ปาล์มขโมย (เยอรมัน: Palmendieb) ทั้งนี้เนื่องจากปูมะพร้าวมักจะขโมยข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านที่ส่องประกาย อย่างเช่น หม้อ หรือถ้วยสแตนเลส บางคนเรียกปูมะพร้าวว่า ปูเสฉวนบก แต่อันที่จริงนอกจากปูมะพร้าวแล้ว ยังมีปูชนิดอื่นอีกที่จัดได้ว่าเป็นปูเสฉวนบกเช่นกัน นอกจากนี้ ปูมะพร้าวอาจมีชื่อเรียกต่างกันไปอีกในแต่ละที่ เช่น ที่เกาะกวม เรียกปูมะพร้าวว่า อายูยู.

ดู วิวัฒนาการและปูมะพร้าว

ปูเยติ

นื่องจากปูเยติถูกค้นพบได้ไม่นานนักข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปูชนิดนี้จึงมีอยู่อย่างจำกัด โดยนักวิทยาศาสตร์ นักสำรวจ นักวิจัย ล้วนแล้วแต่ตั้งคำถามเกี่ยวกับปูชนิดนี้ค่อนข้างมากไม่ว่าจะเป็น.

ดู วิวัฒนาการและปูเยติ

ปีศาจสปาเกตตีลอยฟ้า

''Touched by His Noodly Appendage'' ภาพล้อเลียน ''The Creation of Adam'' อันมีชื่อเสียงของมีเกลันเจโล กิจกรรมของลัทธิพาสตาฟาเรียนในกรุงวอชิงตัน ปีศาจสปาเกตตีลอยฟ้าประดิษฐ์ด้วยมือ ป้ายชื่อทหารสหรัฐอเมริกา ระบุศาสนา "Atheist/FSM" ปีศาจสปาเกตตีลอยฟ้า (Flying Spaghetti Monster หรือมักเรียกโดยย่อว่า FSM) เป็นพระเจ้าตามความเชื่อของ ศาสนจักรปีศาจสปาเกตตีลอยฟ้า หรือ ลัทธิพาสตาฟาเรียน ซึ่งเป็นศาสนาเชิงล้อเลียนที่ก่อตั้งโดยบ็อบบี เฮนเดอร์สัน เพื่อต่อต้านมติของคณะกรรมการการศึกษาของรัฐแคนซัส ที่บังคับให้โรงเรียนในสังกัดสอนทฤษฎีผู้สร้างอันชาญฉลาดควบคู่ไปกับทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วินในวิชาชีววิทยา เฮนเดอร์สันเขียนจดหมายเปิดผนึกถึงคณะกรรมการฯ มีใจความว่า เขาเชื่อว่าโลกและจักรวาลถูกสร้างโดยพระเจ้าที่มีรูปร่างคล้ายสปาเกตตีและลูกชิ้นสองก้อน ซึ่งเขาเรียกว่า "ปีศาจสปาเกตตีลอยฟ้า" และเรียกร้องให้โรงเรียนในรัฐแคนซัสสอนทฤษฎีการสร้างโลกของเขาเช่นกันเพื่อความเท่าเทียมกัน เช่นเดียวกับการที่ทางคณะกรรมการฯ ได้กล่าวไว้ว่าการเรียนการสอนระหว่างทฤษฎีวิวัฒนาการและทฤษฎีผู้สร้างอันชาญฉลาดควรจะมีความเท่าเทียมกัน ซึ่งโดยนัยแล้ว เขาแสดงให้เห็นว่าทฤษฏีผู้สร้างอันชาญฉลาดเป็นเรื่องไร้สาระ ไม่ผิดกับปีศาจสปาเกตตีลอยฟ้าเลย หลังจากเฮนเดอร์สันเผยแพร่จดหมายดังกล่าวบนเว็บไซต์ของเขา FSM ได้กลายเป็นปรากฏการณ์ทางอินเทอร์เน็ตและเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อต้านการสอนทฤษฎีผู้สร้างอันชาญฉลาดในโรงเรียนของรัฐ "ความเชื่อ" ของพาสตาฟาเรียนล้วนล้อเลียนมากจากแนวความเชื่อในศาสนาเกี่ยวกับผู้สร้างโลก ความเชื่อเหล่านี้เผยแผ่ในเว็บไซต์ของเฮนเดอร์สัน Church of the Flying Spaghetti Monster ซึ่งเขาถือเป็นผู้ประกาศพระวรสาร และใน The Gospel of the Flying Spaghetti Monster เขียนโดยเฮนเดอร์สันและตีพิมพ์ใน..

ดู วิวัฒนาการและปีศาจสปาเกตตีลอยฟ้า

นกกีวี

นกกีวี (Kiwi) เป็นนกจำพวกหนึ่งที่บินไม่ได้ มีลักษณะที่แปลกไปจากนกอื่น ๆ ด้วยมีวิวัฒนาการเป็นของตัวเองอย่างชัดเจน เป็นนกออกหากินเวลากลางคืน มีถิ่นกำเนิดในธรรมชาติอยู่ในนิวซีแลนด์เท่านั้น นกกีวีจัดอยู่ในสกุล Apteryx ในวงศ์ Apterygidae.

ดู วิวัฒนาการและนกกีวี

นกนางแอ่นแม่น้ำ

นกนางแอ่นแม่น้ำ หรือ นกนางแอ่นเทียม (river martins) เป็นสกุลนกนางแอ่นในวงศ์ย่อย Pseudochelidoninae ที่อยู่ในวงศ์นกนางแอ่น (Hirundinidae) ประกอบไปด้วย 2 สปีชีส์คือ นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา (Pseudochelidon eurystomina) ที่พบในสาธารณรัฐคองโกและประเทศกาบอง และนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (Pseudochelidon sirintarae) ที่พบในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวในโลก เป็นนกนางแอ่นขนาดกลาง มีขนส่วนใหญ่เป็นสีดำ บินจับแมลงกินเป็นอาหาร พวกมันดูเหมือนจะใช้ชีวิตอยู่บนพื้นมากกว่านกนางแอ่นชนิดอื่น อาจเดินมากกว่าเกาะคอน และนกนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรอาจหากินในเวลากลางคืน นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาทำรังบนตลิ่งทรายริมแม่น้ำโดยการขุดโพรงลงไป ส่วนแหล่งผสมพันธุ์วางไข่ของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรยังไม่ทราบ เมื่อมีการค้นพบนกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกาครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 กุสทัฟ ฮาร์ทเลาบ์ (Gustav Hartlaub) คิดว่ามันเป็นนกตะขาบและผู้แต่งหลังจากนั้นก็จัดวางมันอยู่ในวงศ์ของตนเองหรืออยู่ในวงศ์นกแอ่นพง จากการศึกษาทางกายวิภาคพบว่ามันเป็นญาติใกล้ชิดกับนกในวงศ์นกนางแอ่น แต่มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างคือมีขาและเท้าแข็งแรงและมีปากอวบ สิ่งเหล่านี้แสดงว่าควรแยกมันออกเป็นวงศ์ย่อยต่างหาก นกนางแอ่นแม่น้ำทั้งสองชนิดจัดอยู่ในสกุลเดียวกันคือสกุล Pseudochelidon เพราะทั้งสองมีโครงสร้างที่คล้ายกัน แต่ บรูก เสนอว่านกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรควรแยกออกเป็นสกุล Eurochelidon นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกามีการกระจายพันธุ์ในวงแคบในหลายพื้นที่แต่สถานะภาพที่แท้จริงยังไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง ส่วนนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรค้นพบในปี..

ดู วิวัฒนาการและนกนางแอ่นแม่น้ำ

นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา

นกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา หรือ นกนางแอ่นเทียมคองโก (African River Martin) เป็นนกจับคอนหนึ่งในสองชนิดของวงศ์ย่อยนกนางแอ่นแม่น้ำในวงศ์นกนางแอ่น (Hirundinidae) เป็นนกขนาดกลาง มีขนสีดำ ตาสีแดง ปากอวบกว้างสีส้ม-แดง หางเหลี่ยม โครงสร้างต่างจากนกนางแอ่นชนิดอื่นคือ มีเท้าและขาแข็งแรง มีการเสนอให้แยกนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรที่พบในเอเชียที่เป็นนกสกุลเดียวกันออกเป็นอีกวงศ์ย่อย มีการกระจายพันธุ์ตามแม่น้ำคองโกและสาขารวมถึงแม่น้ำอูบองชี (Ubangi) ด้วย มันทำรังในโพรงบนตลิ่งทราย มีการกระจายพันธุ์ในวงจำกัดแม้จะถูกจับไปเป็นอาหารโดยคนในพื้นที่ มันเป็นนกอพยพ ในฤดูหนาวจะอพยพไปที่ราบชายฝั่งทางใต้ของประเทศกาบองและสาธารณรัฐคองโก แต่นกหลายตัวก็ยังคงผสมพันธุ์วางไข่ในเขตหนาวเย็น นกนางแอ่นชนิดนี้บินจับแมลงกินเป็นอาหาร และเดินบนพื้นมากกว่าจะเกาะคอน สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติจัดสถานะการอนุรักษ์เป็นยังไม่มีข้อมูล (DD) เพราะไม่มีข้อมูลของจำนวนประชากร.

ดู วิวัฒนาการและนกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกา

นกแสก (สกุล)

นกแสก (Barn-owl, Masked owl) เป็นสกุลของนกล่าเหยื่อกลุ่มหนึ่งในหากินในเวลากลางคืน ใช้ชื่อสกุลว่า Tyto (มาจากภาษากรีกคำว่า τυτο หมายถึง "นกเค้าแมว") ในวงศ์ย่อย Tytoninae ในวงศ์ใหญ่ Tytonidae เป็นสกุลที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดของวงศ์นี้ มักมีขนสีเข้มด้านหลังมากกว่าด้านหน้า โดยจะเป็นสีส้มและสีน้ำตาล ขนด้านหน้าสีซีดกว่าจากด้านหลังและมีจุดด่างดำซึ่งจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิด มีลักษณะเด่น คือ มีใบหน้าที่เรียบแบนรูปหัวใจ และไม่มีกระจุกขนที่เหนือตาเหมือนใบหูเหมือนนกเค้าแมวจำพวกอื่น ๆ อีกทั้งยังมีรูปร่างที่ใหญ่กว่าด้วย เป็นนกเค้าแมวที่มีการวิวัฒนาการและปรับตัวให้อาศัยอยู่ได้ในหลากหลายภูมิประเทศ ทั้งในป่าและชุมชนเมือง พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกมุมโลก ยกเว้นบริเวณขั้วโลก ในบางพื้นที่ เช่น บนเกาะมีบางชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้ว และชนิดที่พบในบางพื้นที่ เช่น เมดิเตอร์เรเนียนและแคริบเบียนจะมีขนาดใหญ่กว.

ดู วิวัฒนาการและนกแสก (สกุล)

นกเกาะคอน

นกเกาะคอน หรือ นกจับคอน (Passerine, Perching bird) เป็นอันดับของนกอันดับหนึ่ง ในกลุ่มนกขากรรไกรแบบใหม่ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Passeriformes (โดยมีที่มาจาก Passer domesticus ซึ่งเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ของนกกระจอกใหญ่ และนกในสกุล Passer ที่เป็นนกขนาดเล็กที่ใกล้เคียงกัน) นกในอันดับนี้มีลักษณะทั่วไปทางกายภาค คือ เป็นนกที่มีวิวัฒนาการเพื่ออาศัยและหากินบนต้นไม้เป็นหลัก นิ้วตีนมีทั้งหมด 4 นิ้ว ทุกนิ้วเจริญดีและอยู่ในระนาบเดียวกัน จึงเหมาะแก่การจับหรือเกาะเกี่ยวกับกิ่งไม้หรือต้นไม้ในป่าประเภทต่าง ๆ แต่ไม่เหมาะสำหรับการเดินบนพื้นดิน ดังนั้นเมื่อเมื่อลงดินจะได้วิธีก้าวกระโดด โดยมากแล้วจะเป็นนกที่มีลำตัวขนาดเล็ก ปัจจุบัน นักปักษีวิทยาได้แบ่งอันดับนี้เป็นอันดับย่อย 3 อันดับ (ดูในตาราง-บางข้อมูลจัดให้มี 2) โดยพิจารณาจากกล้ามเนื้อควบคุมกล่องเสียงที่อยู่ในลำคอ โดยบางอันดับย่อยจะมีกล้ามเนื้อนี้เพียง 2 คู่ ซึ่งยังเป็นลักษณะของนกในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ทำให้เสียงร้องไม่ไพเราะนัก แต่บางอันดับย่อยมีมากกว่า คือมี 4 คู่ ทำให้มีเสียงร้องที่ไพเราะกว่า นกในอันดับนี้มีมากกว่า 100 วงศ์ (ราว 110 วงศ์) ประมาณ 5,400 ชนิด ทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยที่มีการค้นพบนกแล้วราว 1,000 ชนิด แบ่งเป็นนกในอันดับต่าง ๆ 16 อันดับ ใน 70 วงศ์ นกที่อยู่ในอันดับนี้นับว่ามากกว่าครึ่ง ได้แก.

ดู วิวัฒนาการและนกเกาะคอน

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร หรือ นกนางแอ่นตาพอง (White-eyed River-Martin, ชื่อวิทยาศาสตร์: Pseudochelidon sirintarae หรือ Eurochelidon sirintarae) เป็นนกจับคอนหนึ่งในสองชนิดของสกุลนกนางแอ่นแม่น้ำในวงศ์นกนางแอ่น พบบริเวณบึงบอระเพ็ดในช่วงฤดูหนาวเพียงแห่งเดียวในโลก แต่อาจสูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ปี..

ดู วิวัฒนาการและนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

นักล่า-เก็บของป่า

นักล่า-รวบรวมพืชผล (hunter-gatherer) หมายถึงมนุษย์ในสังคมที่ได้อาหารส่วนมากหรือทั้งหมด จากการเก็บพืชในป่าหรือล่าสัตว์ป่า เปรียบเทียบกับสังคมเกษตร ที่โดยหลักพึ่งพืชสัตว์พันธุ์ที่ปรับนำมาเลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร การหากินวิธีนี้เป็นการปรับตัวแบบแรกและที่ยืนยงที่สุดของคน โดยเป็นวิธีหากินใน 90 เปอร์เซนต์ของประวัติศาสตร์มนุษย์ แต่ว่าหลังจากการเกิดขึ้นของสังคมเกษตรกรรมโดยมากในโลก สังคมเกษตรและสังคมเลี้ยงสัตว์ก็ได้แทนที่หรือพิชิตสังคมนักล่า-รวบรวมพืชผล โดยมีกลุ่มที่จัดเป็นนักล่า-รวบรวมพืชผลเหลือเพียงไม่กี่สังคมในปัจจุบัน และหลายกลุ่มจริง ๆ ก็มีการปลูกพืชสวนและเลี้ยงสัตว์ควบคู่ไปด้ว.

ดู วิวัฒนาการและนักล่า-เก็บของป่า

นักคณิตศาสตร์

นักคณิตศาสตร์ (mathematician) คือบุคคลที่ศึกษาและ ทำงานวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร.

ดู วิวัฒนาการและนักคณิตศาสตร์

แฟรงค์ เฮอร์เบิร์ต

แฟรงคลิน แพทริค เฮอร์เบิร์ต (8 ตุลาคม ค.ศ. 1920 - 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1986) นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงชาวอเมริกัน ผลงานเขียนของเฮอร์เบิร์ตที่ได้รับการยอมรับ คือ นวนิยายเรื่อง ดูน (Dune) ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ..

ดู วิวัฒนาการและแฟรงค์ เฮอร์เบิร์ต

แพริโดเลีย

รูปถ่ายจากดาวเทียมของที่ราบสูงไซโดเนียบนดาวอังคาร ซึ่งบางครั้งเรียกว่า "Face on Mars (ใบหน้าบนดาวอังคาร)" ส่วนรูปที่ถ่ายมาจากมุมอื่น ๆ จะไม่สามารถเห็นภาพลวงตานี้ แพริโดเลีย หรือ แพไรโดเลีย (Pareidolia) เป็นปรากฏการณ์ทางจิต ที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้สิ่งเร้าเช่นภาพหรือเสียงที่ไม่ชัดเจนและไม่มีรูปแบบ (คือบังเอิญ สุ่ม) ว่ามีความหมายมีความสำคัญ เป็นการรับรู้แบบหนึ่งของ apophenia ซึ่งเป็นการเห็นรูปแบบหรือความสัมพันธ์กันในข้อมูลสุ่มที่ไม่มีความหมาย ตัวอย่างที่สามัญอย่างหนึ่งคือการเห็นรูปสัตว์หรือใบหน้าในก้อนเมฆ ชายบนดวงจันทร์ กระต่ายบนดวงจันทร์ และการได้ยินข้อความที่ซ่อนไว้บนแผ่นเสียงไวนิลที่เล่นย้อนทาง คำว่า Pareidolia มาจากคำในภาษากรีกว่า para- (παρά, แปลว่า "ข้าง ๆ, ไปเป็นหน้ากระดาน, แทนที่") ซึ่งในที่นี้หมายถึงอะไรที่บกพร่อง ผิดพลาด หรือเกิดขึ้นแทนที่ และคำนามว่า eidōlon (εἴδωλον แปลว่า "ภาพ, รูปร่าง, สัณฐาน") ซึ่งมีความหมายเป็นส่วนย่อยของคำว่า eidos.

ดู วิวัฒนาการและแพริโดเลีย

แกนประสาทนำออก

แกนประสาท หรือ แอกซอน หรือ ใยประสาท (axon มาจากภาษากรีกคำว่า ἄξων คือ áxōn แปลว่า แกน) เป็นเส้นใยเรียวยาวที่ยื่นออกจากเซลล์ประสาทหรือนิวรอน และปกติจะส่งกระแสประสาทหรือคำสั่งออกจากตัวเซลล์เพื่อสื่อสารกับเซลล์อื่น ๆ หน้าที่ของมันก็เพื่อส่งข้อมูลไปยังนิวรอน กล้ามเนื้อ และต่อมต่าง ๆ ในเซลล์ประสาทรับความรู้สึกบางอย่างซึ่งมีรูปร่างเป็น pseudounipolar neuron (เซลล์ประสาทขั้วเดียวเทียม) เช่นที่รับความรู้สึกสัมผัสและอุณหภูมิ กระแสประสาทจะวิ่งไปตามแอกซอนจากส่วนปลายเข้าไปยังตัวเซลล์ แล้วก็จะวิ่งออกจากตัวเซลล์ไปยังไขสันหลังตามสาขาอีกสาขาของแอกซอนเดียวกัน ความผิดปกติของแอกซอนอาจเป็นเหตุให้เกิดความผิดปกติทางประสาทซึ่งมีผลต่อทั้งเซลล์ประสาทในส่วนนอกและส่วนกลาง ใยประสาทสามารถจัดเป็นสามหมวดคือ ใยประสาทกลุ่มเอเด็ลตา (A delta) กลุ่มบี (B) และกลุ่มซี (C) โดยกลุ่มเอและบีจะมีปลอกไมอีลินในขณะที่กลุ่มซีจะไร้ปลอก แอกซอนเป็นส่วนยื่นที่ประกอบด้วยโพรโทพลาสซึมอย่างหนึ่งในสองอย่างที่ยื่นออกจากตัวเซลล์ประสาท ส่วนยื่นอีกอย่างเรียกว่า ใยประสาทนำเข้า/เดนไดรต์ (dendrite) แอกซอนจะต่างจากเดนไดรต์หลายอย่าง รวมทั้งรูปร่าง (เดนไดรต์มักจะเรียวลงเทียบกับแอกซอนที่จะคงขนาด) ความยาว (เดนไดรต์มักจะจำกัดอยู่ในปริภูมิเล็ก ๆ รอบ ๆ ตัวเซลล์ ในขณะที่แอกซอนอาจยาวกว่ามาก) และหน้าที่ (เดนไดรต์เป็นส่วนรับสัญญาณในขณะที่แอกซอนจะเป็นส่วนส่งสัญญาณ) แต่ลักษณะที่ว่านี้ทั้งหมดล้วนแต่มีข้อยกเว้น แอกซอนจะหุ้มด้วยเยื่อที่เรียกว่า axolemma ไซโทพลาซึมของแอกซอนมีชื่อโดยเฉพาะว่าแอกโซพลาซึม (axoplasm) ส่วนสุดของแอกซอนที่แตกเป็นสาขา ๆ เรียกว่า telodendron/telodendria ส่วนสุดของ telodendron ซึ่งป่องเรียกว่าปลายแอกซอน (axon terminal) ซึ่งเชื่อมกับ dendron หรือตัวเซลล์ของนิวรอนอีกตัวหนึ่ง จุดเชื่อที่ว่านี้เรียกว่าจุดประสานประสาท/ไซแนปส์ นิวรอนบางอย่างไม่มีแอกซอนและจะส่งสัญญาณผ่านเดนไดรต์ ไม่มีนิวรอนใด ๆ ที่มีแอกซอนมากกว่าหนึ่งอัน แต่ในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นแมลงและปลิง แอกซอนบางครั้งจะมีส่วนต่าง ๆ ที่ทำงานแทบเป็นอิสระต่อกันและกัน แอกซอนโดยมากจะแตกสาขา และในบางกรณีจะมีสาขาจำนวนมหาศาล แอกซอนจะเชื่อมกับเซลล์อื่น ๆ โดยปกติกับนิวรอนอื่น ๆ แต่บางครั้งก็เชื่อมกับกล้ามเนื้อหรือเซลล์ต่อม ผ่านจุดต่อที่เรียกว่า จุดประสานประสาท/ไซแนปส์ ที่ไซแนปส์ เยื่อหุ้มเซลล์ของแอกซอนจะเข้าไปเกือบชิดกับเยื่อหุ้มของเซลล์เป้าหมาย และโครงสร้างพิเศษระดับโมเลกุลจะเป็นตัวส่งสัญญาณไฟฟ้าหรือเคมี-ไฟฟ้าข้ามช่อง ยังมีไซแนปส์ในระหว่างอื่น ๆ ของแอกซอนซึ่งไม่ใช่ส่วนปลาย โดยเรียกว่า en passant synapse หรือ in passing synapse ไซแนปส์อื่น ๆ จะอยู่ที่ปลายสาขาต่าง ๆ ของแอกซอน แอกซอนหนึ่งใยพร้อมกับสาขาทั้งหมดรวม ๆ กัน อาจเชื่อมกับส่วนต่าง ๆ ในสมองและมีจุดเชื่อมคือไซแนปส์เป็นพัน.

ดู วิวัฒนาการและแกนประสาทนำออก

แย้กะเทย

แย้กะเทย (Nhông cát trinh sản) เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกแย้ชนิดใหม่ของโลก มีความสามารถพิเศษที่สามารถสืบพันธุ์ได้เองโดยไม่ต้องพึ่งตัวผู้ โดยที่จะสืบพันธุ์ด้วยวิธีการโคลนตัวเอง ด้วยการผลิตไข่เอง ซึ่งสัตว์เลื้อยคลานที่จะทำแบบนี้ได้มีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น และตัวอ่อนที่ฟักจากไข่ของแย้ชนิดนี้ ได้ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของตัวแม่อย่างครบถ้วน ทำให้มีลักษณะเหมือนกันทุกอย่าง นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถอธิบายได้ว่า เพราะเหตุใดแย้ชนิดนี้มีวิวัฒนาการผิดไปจากธรรมชาติ และยังไม่ทราบเช่นกันว่า แย้ชนิดนี้มีวิวัฒนาการมานานเท่าไร และพ่อของแย้ตัวเมียตัวแรกมาจากไหนและหายไปไหน จึงได้แต่สันนิษฐานว่าแย้กะเทยที่พบอาจจะเป็นพันธุ์ผสมของแย้เพศผู้กับเพศเมียต่างสายกัน ทำให้พวกมันกลายเป็นหมัน และในครั้งหนึ่งสภาพทางภูมิศาสตร์ที่แห้งแล้ง อาจจะทำให้มันเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ จึงต้องดิ้นรนวิวัฒนาการ หาทางสืบเผ่าพันธุ์ตามธรรมชาติด้วยการโคลน แต่สำหรับชาวเวียดนามแล้วรู้จักและรับประทานแย้ชนิดนี้มานานแล้ว โดยพบได้ในเมนูอาหารในร้านอาหารบริเวณที่พบ โดยถิ่นที่อาศัยของแย้ชนิดใหม่นี้ คือ เขตสงวนธรรมชาติบิ่ญเจิว-เฟื้อกบื๋ว (Bình Châu-Phước Bửu) ในจังหวัดบ่าเสียะ-หวุงเต่าทางภาคใต้ของเวียดนาม ซึ่งเป็นป่าพุ่มไม้เตี้ย ๆ กับดินทรายชายฝั่งทะเล.

ดู วิวัฒนาการและแย้กะเทย

แรดอินเดีย

แรดอินเดีย จัดเป็นแรด 1 ใน 3 สายพันธุ์ที่พบได้ในทวีปเอเชีย และเป็นสายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดที่พบในทวีปแห่งนี้.

ดู วิวัฒนาการและแรดอินเดีย

แร้ง

แร้งสีน้ำตาล (''Gyps indicus'') แร้ง หรือ อีแร้งบรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

ดู วิวัฒนาการและแร้ง

แนวคิดวิวัฒนาการเกี่ยวกับความซึมเศร้า

แนวคิดวิวัฒนาการเกี่ยวกับความซึมเศร้า (Evolutionary approaches to depression) เป็นความพยายามของนักจิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการที่จะใช้ทฤษฎีวิวัฒนาการเพื่อเข้าใจปัญหาของความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) คือ แม้ว่าความซึมเศร้าจะพิจารณาว่าเป็นการทำหน้าที่ผิดปกติของร่างกาย แต่ว่า มันไม่ได้เพิ่มขึ้นตามอายุเหมือนกับความผิดปกติทางกายอื่นมักจะเป็น ดังนั้น นักวิจัยบางพวกจึงสันนิษฐานว่า ความผิดปกติมีรากฐานทางวิวัฒนาการ เหมือนกับทฤษฎีทางวิวัฒนาการของโรคอื่น ๆ รวมทั้งโรคจิตเภทและโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว แต่ว่าจิตวิทยาและจิตเวชโดยทั่วไปไม่ยอมรับคำอธิบายทางวิวัฒนาการของพฤติกรรม และดังนั้น คำอธิบายต่อไปนี้จึงเป็นเรื่องขัดแย้ง.

ดู วิวัฒนาการและแนวคิดวิวัฒนาการเกี่ยวกับความซึมเศร้า

โบโนโบ

นโบ หรือ ชิมแปนซีแคระ (Bonobo, Dwarf chimpanzee, Pygmy chimpanzee).

ดู วิวัฒนาการและโบโนโบ

โพรทิสต์

รทิสต์ (protist มาจากคำในภาษากรีกว่า protiston แปลว่า สิ่งแรกสุด) หมายถึงจุลชีพยูแคริโอตหลากหลายกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง ในอดีตกลุ่มโพรทิสต์มีสถานะเป็นอาณาจักร โพรทิสตา (Protista) ซึ่งรวมสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่ไม่สามารถจัดประเภทลงอาณาจักรอื่นได้เลย ซึ่งต่อมาก็ถูกคัดค้านในอนุกรมวิธานสมัยใหม่ มันอาจพิจารณาได้ว่าเป็นการรวมกลุ่มอย่างหลวม ๆ ของสิ่งมีชีวิต 30-40 ไฟลัมที่ผสมผสานกันต่าง ๆ นานาในเรื่องภาวะโภชนาการ กลไกของการเคลื่อนไหวเอง ผนังที่ห่อหุ้มเซลล์ และวงจรชีวิต คำศัพท์ โพรทิสตา ถูกใช้เป็นครั้งแรกโดย แอร์นสท์ เฮคเคิล (Ernst Haeckel) เมื่อ..

ดู วิวัฒนาการและโพรทิสต์

โรควิตกกังวล

รควิตกกังวล (Anxiety disorders) เป็นกลุ่มความผิดปกติทางจิตกำหนดโดยความวิตกกังวลและความกลัว ความวิตกกังวล (anxiety) เป็นความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคตและความกลัว (fear) เป็นปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน --> ความรู้สึกเช่นนี้อาจทำให้เกิดอาการทางกาย เช่น หัวใจเต้นเร็วและตัวสั่น --> มีโรควิตกกังวลหลายอย่าง รวมทั้งโรควิตกกังวลไปทั่ว (GAD), โรคกลัว (phobia) ที่เฉพาะเจาะจง, โรคกลัวการเข้าสังคม (social anxiety disorder), โรควิตกกังวลเมื่อต้องแยก (separation anxiety disorder), โรคกลัวที่ชุมชน (agoraphobia), และโรคตื่นตระหนก (panic disorder) --> โดยโรคจะต่าง ๆ กันตามอาการ --> แต่คนไข้มักจะมีโรควิตกกังวลมากกว่าหนึ่งชนิด โรคมีปัจจัยจากกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม ปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งประวัติถูกทารุณกรรมในวัยเด็ก ประวัติความผิดปกติทางจิตในครอบครัว และความยากจน --> โรคมักเกิดร่วมกับความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า (MDD) ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (PD) และการเสพสารเสพติด (substance use disorder) เพื่อจะวินิจฉัยว่าเป็นโรค จะต้องมีอาการอย่างน้อย 6 เดือน มีความวิตกกังวลเกินเหตุ และมีปัญหาในการดำเนินชีวิต แต่ก็มีปัญหาทางจิตเวชและทางแพทย์อื่น ๆ ที่อาจมีอาการคล้าย ๆ กันรวมทั้งอาการไฮเปอร์ไทรอยด์, โรคหัวใจ, การเสพกาเฟอีน แอลกอฮอล์ และกัญชา, และการขาดยา (withdrawal) บางประเภท ถ้าไม่รักษา โรคมักจะไม่หาย การรักษารวมทั้งการเปลี่ยนสไตล์ชีวิต จิตบำบัด และการทานยา --> จิตบำบัดมักจะเป็นรูปแบบหนึ่งของการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) ยาเช่นยาแก้ซึมเศร้าหรือเบต้า บล็อกเกอร์ อาจช่วยให้อาการดีขึ้น คนประมาณ 12% มีโรคทุก ๆ ปี โดยเกิดในหญิงมากกว่าชาย 2 เท่า และทั่วไปเริ่มก่อนอายุ 25 ปี ประเภทโรคที่สามัญที่สุดคือโรคกลัวที่เฉพาะเจาะจงซึ่งเกิดในคน 12% และโรคกลัวการเข้าสังคม (SAD) ซึ่งเกิดในคน 10% ในช่วงหนึ่งในชีวิต --> โดยเกิดกับบุคคลอายุ 15-35 ปีมากที่สุด และเกิดขึ้นน้อยหลังถึงอายุ 55 ปี --> อัตราการเกิดดูจะสูงกว่าในสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป สีหน้าของบุคคลที่มีความวิตกกังวลเรื้อรัง.

ดู วิวัฒนาการและโรควิตกกังวล

โรคซึมเศร้า

รคซึมเศร้า (major depressive disorder ตัวย่อ MDD) เป็นความผิดปกติทางจิตซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดอารมณ์ซึมเศร้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ในแทบทุกสถานการณ์ มักเกิดร่วมกับการขาดความภูมิใจแห่งตน การเสียความสนใจในกิจกรรมที่ปกติทำให้เพลิดเพลินใจ อาการไร้เรี่ยวแรง และอาการปวดซึ่งไม่มีสาเหตุชัดเจน ผู้ป่วยอาจมีอาการหลงผิดหรือมีอาการประสาทหลอน ผู้ป่วยบางรายมีช่วงเวลาที่มีอารมณ์ซึมเศร้าห่างกันเป็นปี ๆ ส่วนบางรายอาจมีอาการตลอดเวลา โรคซึมเศร้าสามารถส่งผลกระทบในแง่ลบให้แก่ผู้ป่วยในหลาย ๆ เรื่อง เช่น ชีวิตส่วนตัว ชีวิตในที่ทำงานหรือโรงเรียน ตลอดจนการหลับ อุปนิสัยการกิน และสุขภาพโดยทั่วไป ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าผู้ใหญ่ประมาณ 2–7% เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย และประมาณ 60% ของผู้ฆ่าตัวตายกลุ่มนี้มีโรคซึมเศร้าร่วมกับความผิดปกติทางอารมณ์ชนิดอื่น คำว่า ความซึมเศร้า สามารถใช้ได้หลายทาง คือ มักใช้เพื่อหมายถึงกลุ่มอาการนี้ แต่อาจหมายถึงความผิดปกติทางจิตอื่นหรือหมายถึงเพียงภาวะซึมเศร้าก็ได้ โรคซึมเศร้าเป็นภาวะทำให้พิการ (disabling) ซึ่งมีผลเสียต่อครอบครัว งานหรือชีวิตโรงเรียน นิสัยการหลับและกิน และสุขภาพโดยรวมของบุคคล ในสหรัฐอเมริกา ราว 3.4% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าฆ่าตัวตาย และมากถึง 60% ของผู้ที่ฆ่าตัวตายนั้นมีภาวะซึมเศร้าหรือความผิดปกติทางอารมณ์อย่างอื่น ในประเทศไทย โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางจิตที่พบมากที่สุด (3.7% ที่เข้าถึงบริการ) เป็นโรคที่สร้างภาระโรค (DALY) สูงสุด 10 อันดับแรกโดยเป็นอันดับ 1 ในหญิง และอันดับ 4 ในชาย การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าอาศัยประสบการณ์ที่รายงานของบุคคลและการทดสอบสภาพจิต ไม่มีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการสำหรับโรคซึมเศร้า ทว่า แพทย์อาจส่งตรวจเพื่อแยกภาวะทางกายซึ่งสามารถก่อให้เกิดอาการคล้ายกันออก ควรแยกโรคซึมเศร้าจากความเศร้าซึ่งเป็นธรรมดาของชีวิตและไม่รุนแรงเท่า มีการตั้งชื่อ อธิบาย และจัดกลุ่มอาการซึมเศร้าว่าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตปี 2523 ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน คณะทำงานบริการป้องกันสหรัฐ (USPSTF) แนะนำให้คัดกรองโรคซึมเศร้าในบุคคลอายุมากกว่า 12 ปี แต่บทปฏิทัศน์คอเครนก่อนหน้านี้ไม่พบหลักฐานเพียงพอสำหรับการคัดกรองโรค โดยทั่วไป โรคซึมเศร้ารักษาได้ด้วยจิตบำบัดและยาแก้ซึมเศร้า ดูเหมือนยาจะมีประสิทธิภาพ แต่ฤทธิ์อาจสำคัญเฉพาะในผู้ที่ซึมเศร้ารุนแรงมาก ๆ เท่านั้น ไม่ชัดเจนว่ายาส่งผลต่อความเสี่ยงการฆ่าตัวตายหรือไม่ ชนิดของจิตบำบัดที่ใช้มีการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy) และการบำบัดระหว่างบุคคล หากมาตรการอื่นไม่เป็นผล อาจทดลองให้การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (ECT) อาจจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยที่มีควมเสี่ยงทำร้ายตนเองเข้าโรงพยาบาลแม้บางทีอาจขัดต่อความประสงค์ของบุคคล ความเข้าใจถึงธรรมชาติและสาเหตุของความซึมเศร้าได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะยังไม่สมบูรณ์และยังมีประเด็นมากมายที่ยังต้องวิจัย เหตุที่เสนอรวมทั้งเป็นปัญหาทางจิต ทางจิต-สังคม ทางกรรมพันธุ์ ทางวิวัฒนาการ และปัจจัยอื่น ๆ ทางชีวภาพ การใช้สารเสพติดเป็นเวลานานอาจเป็นเหตุหรือทำอาการเศร้าซึมให้แย่ลง การบำบัดทางจิตอาศัยทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับบุคลิกภาพ การสื่อสารระหว่างบุคคล และการเรียนรู้ ทฤษฎีทางชีววิทยามักจะพุ่งความสนใจไปที่สารสื่อประสาทแบบโมโนอะมีน คือ เซโรโทนิน นอร์เอพิเนฟริน และโดพามีน ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติในสมองและช่วยการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท.

ดู วิวัฒนาการและโรคซึมเศร้า

โลก (ดาวเคราะห์)

ลก (Earth) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สามจากดวงอาทิตย์ และเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์เพียงหนึ่งเดียวที่ทราบว่ามีสิ่งมีชีวิต จากการวัดอายุด้วยกัมมันตรังสีและแหล่งหลักฐานอื่นได้ความว่าโลกกำเนิดเมื่อประมาณ 4,500 ล้านปีก่อน โลกมีอันตรกิริยะเชิงโน้มถ่วงกับวัตถุอื่นในอวกาศโดยเฉพาะดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งเป็นดาวบริวารถาวรหนึ่งเดียวของโลก โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365.26 วัน เรียกว่า ปี ซึ่งระหว่างนั้นโลกโคจรรอบแกนตัวเองประมาณ 366.26 รอบ แกนหมุนของโลกเอียงทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ บนผิวโลก อันตรกิริยาความโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์ก่อให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร ทำให้การหมุนบนแกนของโลกมีเสถียรภาพ และค่อย ๆ ชะลอการหมุนของโลก โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นสูงสุดในระบบสุริยะและใหญ่สุดในดาวเคราะห์คล้ายโลก 4 ดวง ธรณีภาคของโลกแบ่งออกได้เป็นหลาย ๆ ส่วน เรียกว่าแผ่นธรณีภาค ซึ่งย้ายที่ตัดผ่านพื้นผิวตลอดเวลาหลายล้านปี ร้อยละ 71 ของพื้นผิวโลกปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาสมุทร อีกร้อยละ 29 ที่เหลือเป็นแผ่นดินประกอบด้วยทวีปและเกาะซึ่งมีะเลสาบ แม่น้ำและแลห่งน้ำอื่นจำนวนมากกอปรเป็นอุทกภาค บริเวณขั้วโลกทั้งสองปกคลุมด้วยน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก และน้ำแข็งทะเลของแพน้ำแข็งขั้วโลก บริเวณภายในของโลกยังคงมีความเคลื่อนไหวโดยมีแก่นชั้นในซึ่งเป็นเหล็กในสถานะของแข็ง มีแก่นเหลวชั้นนอกซึ่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก และชั้นแมนเทิลพาความร้อนที่ขับเคลื่อนการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค ภายในพันล้านปีแรก สิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้นในมหาสมุทรและเริ่มส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศและผิวดาว เกื้อหนุนให้เกิดการแพร่ขยายของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ออกซิเจนเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช้ออกซิเจน หลักฐานธรณีวิทยาบางส่วนชี้ว่าชีวิตอาจกำเนิดขึ้นเร็วสุด 4.1 พันล้านปีก่อน นับแต่นั้นตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะ คุณสมบัติทางกายภาพของโลก และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาของโลกประกอบกันทำให้สิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการและแพร่พันธุ์ได้ Early edition, published online before print.

ดู วิวัฒนาการและโลก (ดาวเคราะห์)

โลมาแม่น้ำ

ำหรับโลมาน้ำจืดชนิดอื่น ดูที่: โลมาน้ำจืด โลมาแม่น้ำ หรือ โลมาน้ำจืด (River dolphin, Freshwater dolphin) เป็นวงศ์ใหญ่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลุ่มหนึ่ง ในอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) ในกลุ่มโลมา ใช้ชื่อวงศ์ใหญ่ว่า Platanistoidea ซึ่งแยกออกเป็นวงศ์ต่าง ๆ ได้อีก นับเป็นสัตว์เพียงจำพวกเดียวในอันดับวาฬและโลมานี้เท่านั้นที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดได้อย่างแท้จริง โลมาแม่น้ำ มีลักษณะส่วนใหญ่เหมือนกับโลมาทั่วไป หรือโลมาทะเล มีความยาวเต็มที่ประมาณ 2.4 เมตร (8 ฟุต) มีสีลำตัวหลากหลายตั้งแต่ ชมพู, ขาว, เหลือง, น้ำตาล และดำ Rice, D.

ดู วิวัฒนาการและโลมาแม่น้ำ

โครงกระดูกแกน

แผนภาพแสดงโครงกระดูกแกน โครงกระดูกแกน (axial skeleton) เป็นชุดของกระดูกที่ประกอบด้วยกระดูกในร่างกายมนุษย์จำนวน 80 ชิ้นในศีรษะและลำตัวของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่ กะโหลกศีรษะมนุษย์ (human skull), กระดูกหูในหูชั้นกลาง (ossicles), กระดูกไฮออยด์ (hyoid bone) ในลำคอ, หน้าอก และกระดูกสันหลัง โครงกระดูกแกนและโครงกระดูกรยางค์รวมกันเป็นโครงกระดูกมนุษ.

ดู วิวัฒนาการและโครงกระดูกแกน

โปเกมอน

ปเกมอน หรือในชื่อเต็มว่า พ็อกเก็ต มอนสเตอส์ เป็นสื่อแฟรนไชส์ที่จัดพิมพ์และเป็นของนินเทนโดบริษัทวิดีโอเกมสัญชาติญี่ปุ่นและสร้างโดยซะโตะชิ ทะจิริ เมื่อปี..

ดู วิวัฒนาการและโปเกมอน

ไฟลัม

ฟลัม (phylum) เป็นขั้นอนุกรมวิธานขั้นหนึ่งในการจำแนกสัตว์ในทางวิทยาศาสตร์ (ในทางพืชนิยมใช้คำว่า ส่วน แทนไฟลัม ไฟลัมถือเป็นการจัดกลุ่มในขั้นสูงที่สุดแยกตามสายวิวัฒนาการ แต่บางครั้งก็มีการรวมไฟลัมเป็นไฟลัมใหญ่ (superphylum) อีกทีหนึ่ง เช่น สัตว์ที่มีการลอกคราบในการเจริญเติบโต (Echdysozoa) ประกอบด้วยสัตว์มีเปลือกแข็งและหนอนตัวกลม และ สัตว์ที่มีช่องปากเกิดภายหลังช่องทวาร (Deuterostomia) ประกอบด้วยปลาดาวและสัตว์มีแกนสันหลัง ไฟลัมของสัตว์ที่รู้จักกันมากที่สุด ได้แก่ มอลลัสกา, ฟองน้ำ, ไนดาเรีย, หนอนตัวแบน, นีมาโทดา, หนอนปล้อง, สัตว์ขาปล้อง, เอคคิโนเดอร์มาทา และสัตว์มีแกนสันหลัง (ซึ่งมนุษย์อยู่ในไฟลัมนี้) ถึงแม้ว่าจะมีไฟลัมทั้งหมดประมาณ 35 ไฟล่า (หน่วยของไฟลัม) ไฟลัมที่กล่าวทั้ง 9 ตัวนี้ครอบคลุมสปีชีส์ส่วนใหญ่ และทุกไฟลัมยกเว้นหนอนกำมะหยี่ ต่างก็มีสมาชิกอาศัยในมหาสมุทร.

ดู วิวัฒนาการและไฟลัม

เฟอร์ริติน

ฟอร์ริติน (Ferritin) เป็นโปรตีนในเซลล์ทั่วไปที่สะสมธาตุเหล็กและปล่อยมันอย่างเป็นระบบ โปรตีนนี้มีในสิ่งมีชีวิตเกือบทั้งหมด รวมทั้งสาหร่าย แบคทีเรีย พืชชั้นสูง และสัตว์ ในมนุษย์ มันมีหน้าที่เป็นสารบัฟเฟอร์เพื่อไม่ให้ขาดเหล็กหรือมีเหล็กเกิน และพบในเนื้อเยื่อโดยมากในรูปแบบของโปรตีนในไซโตซอล (ในไซโทพลาซึมของเซลล์) แต่ก็มีส่วนหนึ่งที่อยู่ในเลือดโดยทำหน้าที่เป็นตัวขนส่งธาตุเหล็ก ระดับเฟอร์ริตินในเลือดยังเป็นตัวชี้ทางชีวภาพ (biomarker) ของปริมาณธาตุเหล็กที่สะสมในร่างกาย และดังนั้น จึงสามารถตรวจสอบเพื่อวินิจฉัยภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก (iron-deficiency anemia) เฟอร์ริตินเป็นคอมเพล็กซ์โปรตีนรูปทรงกลมที่มีหน่วยย่อย 24 หน่วยและเป็น "โปรตีนเก็บธาตุเหล็กในเซลล์" หลักทั้งในโพรแคริโอตและยูแคริโอต โดยเก็บเหล็กในรูปแบบที่ละลายน้ำได้และไม่มีพิษ ส่วนเฟอร์ริตินที่ไม่รวมเข้ากับธาตุเหล็กก็จะเรียกว่า apoferritin.

ดู วิวัฒนาการและเฟอร์ริติน

เยื่อกั้นหูชั้นใน

ื่อกั้นหูชั้นใน หรือ เยื่อฐาน (Basilar membrane) ภายในหูชั้นในรูปหอยโข่ง (คอเคลีย) เป็นโครงสร้างแข็ง ๆ ที่แยกท่อสองท่อซึ่งเต็มไปด้วยน้ำ ซึ่งก็คือช่อง scala media และ scala tympani (ดูรูป) และวิ่งไปตามก้นหอยของคอเคลี.

ดู วิวัฒนาการและเยื่อกั้นหูชั้นใน

เสือ

ือ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ฟิลิดีซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมวโดยชนิดที่เรียกว่าเสือมักมีขนาดลำตัวค่อนข้างใหญ่กว่าและอาศัยอยู่ภายในป่า ขนาดของลำตัวประมาณ 168 - 227 เซนติเมตรและหนักประมาณ 180 - 245 กิโลกรัม รูม่านตากลม เป็นสัตว์กินเนื้อกลุ่มหนึ่ง มีลักษณะและรูปร่างรวมทั้งพฤติกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ แตกต่างจากสัตว์ในกลุ่มอื่น หากินเวลากลางคืน มีถิ่นกำเนิดในป่า เสือส่วนใหญ่ยังคงมีความสามารถในการปีนป่ายต้นไม้ ซึ่งยกเว้นเสือชีต้า เสือทุกชนิดมีกรามที่สั้นและแข็งแรง มีเขี้ยว 2 คู่สำหรับกัดเหยื่อ ทั่วทั้งโลกมีสัตว์ที่อยู่ในวงศ์เสือและแมวประมาณ 37 ชนิด ซึ่งรวมทั้งแมวบ้านด้วย เสือจัดเป็นสัตว์นักล่าที่มีความสง่างามในตัวเอง โดยเฉพาะเสือขนาดใหญ่ที่แลดูน่าเกรงขราม ไม่ว่าจะเป็นเสือโคร่งหรือเสือดาว ผู้ที่พบเห็นเสือในครั้งแรกย่อมเกิดความประทับใจในความสง่างาม แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดความหวาดหวั่นเกรงขามในพละกำลังและอำนาจภายในตัวของพวกมัน เสือจึงได้รับการยกย่องให้เป็นราชาแห่งสัตว์ปา และเป็นจ้าวแห่งนักล่าอย่างแท้จริง เสือ จ้าวแห่งนักล่า, ศลิษา สถาปรวัฒน์, ดร.อลัน ราบิโนวิทซ์, สำนักพิมพ์สารคดี, 2538, หน้า 14 ปัจจุบันจำนวนของเสือในประเทศไทยลดจำนวนลงเป็นอย่างมากในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี เสือกลับถูกล่า ป่าภายในประเทศถูกทำลายเป็นอย่างมาก สภาพธรรมชาติในพื้นที่ต่าง ๆ ถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของมนุษย์เอง ทุกวันนี้ปริมาณของเสือที่จัดอยู่ในลำดับสุดท้ายของห่วงโซ่อาหารถือเป็นสิ่งจำเป็น เพราะการสูญสิ้นหรือลดจำนวนลงอย่างมากของเสือซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อ จะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างและระบบนิเวศทั้งหมด การลดจำนวนอย่างรวดเร็วของเสือเพียงหนึ่งหรือสองชนิดในประเทศไทย ทำให้ปริมาณของสัตว์กินพืชเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้ธรรมชาติเสียความสมดุลในที.

ดู วิวัฒนาการและเสือ

เหยี่ยว

หยี่ยว หรือ อีเหยี่ยวบรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

ดู วิวัฒนาการและเหยี่ยว

เอป

อป หรือ ลิงไม่มีหาง (Ape) เป็นไพรเมตที่อยู่ในวงศ์ใหญ่ Hominoidea ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 2 วงศ์ เอป คือ ลิงที่ไม่มีหาง มีแขนที่ยาวกว่าลิงในวงศ์อื่น ๆ มีนิ้วที่ใช้ในการหยิบจับและใช้ประโยชน์คล้ายคลึงกับมนุษย์มากกว่าสัตว์ในอันดับลิงใด ๆ สามารถเดินตัวตรงได้ สันนิษฐานว่าเอปนั้นวิวัฒนาการมาจากลิงโลกเก่า เอปในปัจจุบันมีเพียง 4 จำพวกเท่านั้น พบในทวีปแอฟริกา และเอเชียแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ชิมแปนซี, กอริลลา, อุรังอุตัง และชะนี จากการศึกษาสารพันธุกรรมพบว่า กอริลล่าและชิมแปนซีมีความใกล้ชิดทางสายวิวัฒนาการกับมนุษย์มากกว่าเอปที่พบในทวีปเอเชีย ซึ่งได้แก่ ชะนีและอุรังอุตัง ซึ่งมีจำนวนโครโมโซม 48 อัน ในขณะที่มนุษย์มี 46 อัน โดยเฉพาะชิมแปนซีนั้น มีหมู่โลหิตแบ่งได้เป็น A, B, O เช่นเดียวกับมนุษย์ และจากหลักฐานทางชีววิทยาระดับโมเลกุลพบว่าดีเอ็นเอของมนุษย์มีความคล้ายกันกับชิมแปนซีถึงร้อยละ 98.4 นอกจากนี้แล้วจากหลักฐานดังกล่าวยังทำให้สันนิษฐานได้ว่าบรรพบุรุษของมนุษย์ วิวัฒนาการแยกจากลิงไม่มีหางเมื่อประมาณ 7.5-4 ล้านปีที่ผ่านมา ซึ่งลิงไม่มีหางจัดได้ว่าเป็นสัตว์ที่มีความเฉลียวฉลาดมากกว่าสัตว์จำพวกใด ๆ ในโลก.

ดู วิวัฒนาการและเอป

เทสโทสเตอโรน

ทสโทสเตอโรน (Testosterone) เป็นฮอร์โมนหลักในกลุ่มฮอร์โมนเพศชายและสเตอรอยด์การสร้าง (anabolic steroid) ประเภทหนึ่งที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังโดยมาก มีบทบาทสำคัญในพัฒนาการของเนื้อเยื่อในระบบสืบพันธุ์ชาย เช่น อัณฑะและต่อมลูกหมาก ตลอดจนส่งเสริมลักษณะเฉพาะทางเพศทุติยภูมิ เช่น การเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อกับกระดูก และการเกิดขนตัว นอกจากนั้นแล้ว ฮอร์โมนยังเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ต่อสุขภาพและความอยู่เป็นสุข ตลอดจนป้องกันโรคกระดูกพรุน ระดับฮอร์โมนที่ไม่พอในชาย อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่าง ๆ เช่น ความอ่อนแอและการเสียกระดูก ฮอร์โมนอาจใช้เพื่อรักษาอวัยวะเพศชายทำงานไม่พอ (male hypogonadism) และมะเร็งเต้านมบางชนิด เนื่องจากระดับฮอร์โมนจะลดลงเรื่อย ๆ ตามอายุ แพทย์บางครั้งจะให้ฮอร์โมนสังเคราะห์กับชายสูงอายุเพื่อแก้ปัญหาการขาด เทสโทสเตอโรนเป็นสเตอรอยด์ในกลุ่ม androstane ที่มีกลุ่มคีโทนและไฮดรอกซิลที่ตำแหน่ง 3 และ 17 ตามลำดับ ซึ่งสามารถสังเคราะห์จากคอเลสเตอรอลในหลายขั้นตอน และตับจะเปลี่ยนมันเป็นเมแทบอไลต์ที่ไม่มีฤทธิ์ ฮอร์โมนสามารถเข้ายึดและออกฤทธิ์ต่อตัวรับแอนโดรเจน (androgen receptor) ในนิวเคลียสของเซลล์ ในมนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลังโดยมาก อัณฑะเป็นอวัยวะที่หลั่งฮอร์โมนในชาย และรังไข่ในหญิงแม้ในระดับที่ต่ำกว่า ต่อมหมวกไตก็หลั่งฮอร์โมนแม้เล็กน้อยด้วย โดยเฉลี่ย ในชายผู้ใหญ่ ระดับเทสโทสเตอโรนจะอยู่ที่ 7-8 เท่าของหญิงผู้ใหญ่ เพราะฮอร์โมนมีเมแทบอลิซึมที่สูงกว่าในชาย การผลิตแต่ละวันจะมากกว่าหญิงประมาณ 20 เท่า หญิงยังไวต่อฮอร์โมนมากกว่าชายอีกด้ว.

ดู วิวัฒนาการและเทสโทสเตอโรน

เทโรพอด

ทโรพอด (Theropods) เป็นไดโนเสาร์พวกซอริสเซียน(สะโพกกิ้งก่า) เทโรพอดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือสไปโนซอรัส ที่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา และเล็กที่สุดคือไมโครแรปเตอร์ ที่พบในประเทศจีน นอกจากนี้เทโรพอดยังเป็นไดโนเสาร์พวกที่เก่าแก่ที่สุดในโลกด้วย โดยพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดคืออีโอแร็พเตอร์ ที่อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ เมื่อ 229 ล้านปีก่อน เทโรพอดชนิดแรกที่ค้นพบคือเมกะโลซอรัส โดยพวกเทอราพอดนี้มีญาติคือซอโรพอด เทโรพอดส่วนใหญ่จะเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ แต่ก็มีพันธุ์ที่เป็นไดโนเสาร์กินพืชอย่างเทอริสิโนซอรัส เทโรพอดมีชีวิตอยู่เมื่อ 229-65 ล้านปีก่อน มีพันธุ์ที่มีชื่อเสียงหลายพันธุ์เช่นไทรันโนซอรัส อัลโลซอรัส ไจกันโนโทซอรัส คาร์โนทอรัส หรือสไปโนซอรั.

ดู วิวัฒนาการและเทโรพอด

เคลด

แผนภาพวิวัฒนาการชาติพันธุ์ (Cladogram) หรือพงศาวลีของกลุ่มสิ่งมีชีวิต โดยลำต้น (เส้นตั้ง) ที่ฐานแต่ละฐานจะเป็นบรรพบุรุษร่วมกันสุดท้ายของสิ่งมีชีวิตที่เป็นลูกหลานภายในพุ่มไม้ที่อยู่เหนือลำต้นนั้น ๆ กลุ่มย่อยสีน้ำเงินและสีแดง (ซ้ายและขวาสุด) เรียกว่า clade เพราะเป็นกลุ่ม "จากชาติพันธุ์เดียว" (monophyletic) โดยแต่ละกลุ่มจะมีบรรพบุรุษร่วมกันที่ฐาน ส่วนกลุ่มย่อยสีเขียวไม่เรียกว่า clade เพราะเป็นกลุ่ม paraphyletic และไม่รวมเอากลุ่มย่อยสีน้ำเงินแม้จะสืบทอดมาจากบรรพบุรุษร่วมกันซึ่งอยู่ที่ฐานของกลุ่มสีเขียว เคลด (clade จาก κλάδος, klados แปลว่า "สาขา") เป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่รวมเอาบรรพบุรุษที่มีร่วมกันและลูกหลานของมันทั้งหมด โดยแสดงเป็น "สาขา" เดียวจากต้นไม้ชีวิต บรรพบุรุษร่วมกันอาจเป็นสิ่งมีชีวิตหนึ่งหน่วย กลุ่มประชากร สปีชีส์ (ไม่ว่าจะสูญพันธุ์ไปแล้วหรือยังมีอยู่) เป็นต้น จนไปถึงระดับอาณาจักร เคลดเป็นโครงสร้างซ้อนใน คือจะมีเคลดภายในเคลดเพราะสาขาใหญ่หนึ่ง ๆ จะแยกออกเป็นสาขาย่อย ๆ การแยกออกจะสะท้อนให้เห็นถึงประวัติวิวัฒนาการ เพราะแสดงกลุ่มประชากรที่แยกจากกันแล้ววิวัฒนาการแยกกันต่างหาก ๆ เคลดจะมาจากชาติพันธุ์เดียว (monophyletic) ในทศวรรษ 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา วิธีการศึกษาแบบแคลดิสติกส์ (คือใช้แนวคิดแบบเคลด) ได้ปฏิวัติการจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิต และได้แสดงความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการที่น่าทึ่งใจระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ โดยมีผลเป็นนักอนุกรมวิธานพยายามหลีกเลี่ยงการให้ชื่อกับหน่วยที่ไม่ใช่เคลด คือหน่วยที่ไม่ได้มาจากชาติพันธุ์เดียว (monophyletic).

ดู วิวัฒนาการและเคลด

เตตราโครมาซี

ีที่เซลล์รูปกรวยของนกรับได้ (ในตัวอย่างนี้ เป็นของวงศ์นกกระติ๊ด) ซึ่งขยายการเห็นสีของนกไปในช่วงความถี่แสงอัลตราไวโอเลตFigure data, uncorrected absorbance curve fits, from Hart NS, Partridge JC, Bennett ATD and Cuthill IC (2000) Visual pigments, cone oil droplets and ocular media in four species of estrildid finch.

ดู วิวัฒนาการและเตตราโครมาซี

เต่ายักษ์กาลาปาโกส

ต่ายักษ์กาลาปาโกส หรือ เต่ากาลาปาโกส (Galápagos tortoise, Galápagos giant tortoise) สัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จำพวกเต่า จัดเป็นเต่าบกชนิดหนึ่ง นับเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีลักษณะเด่น คือ กระดองหนา มีสีเทาเข้มจนถึงสีดำ มีคอที่ยาวมากเพื่อใช้ในการหาอาหาร หัวมีขนาดเล็ก ตัวผู้มีกระดองยาว 122 เซนติเมตร น้ำหนักได้ถึง 250 กิโลกรัม ตัวเมียจะตัวเล็กกว่า กระดองยาว 91 เซนติเมตร น้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 159 กิโลกรัม วางไข่ประมาณ 9-25 ฟอง ไข่จะฟักในอุณหภูมิประมาณ 35-40 องศาเซลเซียส แต่จะเหลือลูกเต่าไม่ถึงครึ่งที่มีชีวิตรอดจากการวางไข่แต่ละครั้ง ชอบอาศัยในที่พุ่มไม้เตี้ย ในบึง และเนินทรายชายฝั่ง และมีอายุยืนได้นานมากกว่า 100 ปี หรือเกือบ ๆ 200 ปี เต่ายักษ์กาลาปาโกส เป็นเต่าที่กินพืชเป็นอาหาร โดยสามารถกินพืชที่ขึ้นที่แห้งแล้งชนิดต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย รวมถึงพืชที่มีหนามแหลมอย่างกระบองเพชรด้วย และจากการศึกษาจากนักวิทยาศาสตร์พบว่าเมื่อถึงฤดูแล้งที่สภาพอาหารเหือดแห้ง เต่ายักษ์กาลาปาโกสสามารถปรับตัวให้หัวใจเต้นเพียงครั้งละ 1 ครั้งต่อ 1 นาทีได้ด้วย เพื่อประหยัดพลังงานในการเผาผลาญอาหาร และในช่วงฤดูผสมพันธุ์ จากการติดเครื่องติดตามดาวเทียมพบว่า เต่ายักษ์กาลาปาโกสมีพื้นที่อพยพ 6 ไมล์ จากยอดภูเขาไฟอัลเซโด มาจนถึงระดับน้ำทะเล เพื่อผสมพันธุ์ ซึ่งบางตัวอาจใช้เวลาเดินทางนานถึง 2 เดือน หน้า 100, Close Encounters.

ดู วิวัฒนาการและเต่ายักษ์กาลาปาโกส

เต่าทะเล

ต่าทะเล (Sea turtle) เป็นเต่าที่อยู่ในวงศ์ใหญ่ Chelonioidea ซึ่งวิวัฒนาการจนสามารถอาศัยอยู่ได้ในทะเลตลอดเวลา โดยจะไม่ขึ้นมาบนบกเลย นอกจากการวางไข่ของตัวเมียเท่านั้น.

ดู วิวัฒนาการและเต่าทะเล

เปลือกสมอง

ปลือกสมอง"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑"หรือ ส่วนนอกของสมองใหญ่ หรือ คอร์เทกซ์สมองใหญ่"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ cerebral ว่า "-สมองใหญ่" หรือ "-สมอง" หรือ เซรีบรัลคอร์เทกซ์ หรือบางครั้งเรียกสั้น ๆ เพียงแค่ว่า คอร์เทกซ์ (แต่คำว่า คอร์เทกซ์ สามารถหมายถึงส่วนย่อยส่วนหนึ่ง ๆ ในเปลือกสมองด้วย) (Cerebral cortex, cortex, Cortex cerebri) เป็นชั้นเนื้อเยื่อเซลล์ประสาทชั้นนอกสุดของซีรีบรัม (หรือเรียกว่าเทเลนฟาลอน) ที่เป็นส่วนของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลังบางพวก เป็นส่วนที่ปกคลุมทั้งซีรีบรัมทั้งซีรีเบลลัม มีอยู่ทั้งซีกซ้ายซีกขวาของสมอง เปลือกสมองมีบทบาทสำคัญในระบบความจำ ความใส่ใจ ความตระหนัก (awareness) ความคิด ภาษา และการรับรู้ (consciousness) เปลือกสมองมี 6 ชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเซลล์ประสาทต่าง ๆ กัน และการเชื่อมต่อกับสมองส่วนอื่น ๆ ที่ไม่เหมือนกัน เปลือกสมองของมนุษย์มีความหนา 2-4 มิลลิเมตร ในสมองดอง เปลือกสมองมีสีเทา ดังนั้น จึงมีชื่อว่าเนื้อเทา มีสีดังนั้นก็เพราะประกอบด้วยเซลล์ประสาทและแอกซอนที่ไม่มีปลอกไมอีลิน เปรียบเทียบกับเนื้อขาว (white matter) ที่อยู่ใต้เนื้อเทา ซึ่งประกอบด้วยแอกซอนที่โดยมากมีปลอกไมอีลิน ที่เชื่อมโยงกับเซลล์ประสาทในเขตต่าง ๆ ของเปลือกสมองและในเขตอื่น ๆ ของระบบประสาทกลาง ผิวของเปลือกสมองดำรงอยู่เป็นส่วนพับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ จนกระทั่งว่า ผิวเปลือกสมองของมนุษย์มากกว่าสองในสามส่วน อยู่ใต้ช่องที่เรียกว่า "ร่อง" (sulci) ส่วนใหม่ที่สุดของเปลือกสมองตามวิวัฒนาการชาติพันธุ์ ก็คือ คอร์เทกซ์ใหม่ (neocortex) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไอโซคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้น 6 ชั้น ส่วนที่เก่าแก่ที่สุดก็คือฮิปโปแคมปัส หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาร์คิคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้น 3 ชั้นเป็นอย่างมาก และแบ่งเขตออกเป็นฟิลด์ย่อยของฮิปโปแคมปัส (Hippocampal subfields) เซลล์ในชั้นต่าง ๆ ของเปลือกสมองเชื่อมต่อกันเป็นแนวตั้ง รวมตัวกันเป็นวงจรประสาทขนาดเล็กที่เรียกว่า "คอลัมน์ในคอร์เทกซ์" (cortical columns) เขตต่าง ๆ ในคอร์เทกซ์ใหม่ สามารถแบ่งออกเป็นเขตต่าง ๆ ที่เรียกว่า เขตบร็อดแมนน์ (Brodmann areas) แต่ละเขตมีลักษณะต่าง ๆ กันเป็นต้นว่า ความหนา ชนิดของเซลล์โดยมาก และตัวบ่งชี้สารเคมีประสาท (neurochemical markers).

ดู วิวัฒนาการและเปลือกสมอง

Cotard delusion

Cotard delusion (อาการหลงผิดกอตาร์) หรือ Cotard's syndrome (กลุ่มอาการกอตาร์) หรือ Walking Corpse Syndrome (กลุ่มอาการศพเดินได้) เป็นโรคทางจิตหาได้ยากที่คนไข้มีอาการหลงผิดว่าตนเองตายแล้ว (ไม่ว่าจะโดยอุปมาหรือจริง ๆ) หรือไม่มีอยู่จริง ๆ หรือกำลังเปื่อยเน่าอยู่ หรือได้สูญเสียเลือดหรืออวัยวะภายในไป หรือบางครั้งในกรณีที่มีน้อย อาจจะมีการหลงผิดว่ามีชีวิตเป็นอมต.

ดู วิวัฒนาการและCotard delusion

Evolution

Evolution อาจจะหมายถึง.

ดู วิวัฒนาการและEvolution

Executive functions

Executive functions (แปลว่า หน้าที่บริหาร ตัวย่อ EF) สามารถนิยามได้ว่า "เป็นทักษะที่จำเป็นในการทำกิจที่มีเป้าหมาย มีจุดมุ่งหมาย" เป็นคำครอบคลุมที่ใช้กล่าวถึงกระบวนการทางประชานที่ควบคุมและจัดการกระบวนการทางประชานอื่น ๆ Elliott R (2003).

ดู วิวัฒนาการและExecutive functions

Homo erectus

ม อีเร็กตัส (แปลว่า "มนุษย์ที่ยืนตรง" มาจากคำกริยาในภาษาละตินว่า ērigere ซึ่งแปลว่า ตั้งให้ตรง) เป็นสปีชีส์ของมนุษย์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ที่มีชีวิตอยู่เกือบทั้งสมัยไพลสโตซีน โดยมีหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ที่เก่าแก่ที่สุดประมาณ และหลักฐานที่ใหม่ที่สุดที่ 27,000 ปีก่อน เป็นสกุลที่เกิดในแอฟริกาและได้ย้ายถิ่นฐานกระจายไปจนถึงจอร์เจีย อินเดีย ลังกา จีน และเกาะชวาChauhan, Parth R.

ดู วิวัฒนาการและHomo erectus

Jardin des Plantes

แผนที่ของสวนพฤกษศาสตร์ ปารีส The Grande Galerie de l'Évolution, สร้างโดนสถาปนิก Louis-Jules André. ภายในของ Grande Galerie de l'évolution. แปลนของสวนพฤกษศาสตร์ ปารีส จากปีค.ศ.

ดู วิวัฒนาการและJardin des Plantes

Lateral geniculate nucleus

Lateral geniculate nucleus (ตัวย่อ LGN แปลว่า นิวเคลียสงอคล้ายเข่าด้านข้าง) เป็นศูนย์ถ่ายทอดสัญญาณประสาทหลักจากจอตา ไปยังระบบประสาทกลาง อยู่ในส่วนทาลามัสของสมอง และยังมีส่วนอื่นที่เรียกว่า medial geniculate nucleus ซึ่งเป็นส่วนที่มีหน้าที่คล้ายกันแต่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณเกี่ยวกับเสียง LGN รับสัญญาณโดยตรงจาก.

ดู วิวัฒนาการและLateral geniculate nucleus

Nepenthes rajah

Nepenthes rajah (มาจากภาษามลายู: rajah.

ดู วิวัฒนาการและNepenthes rajah

Neuroticism

ในการศึกษาทางจิตวิทยา Neuroticism เป็นลักษณะบุคลิกภาพ (personality trait) ที่แสดงออกเป็นความวิตกกังวล ความหวาดกลัว การมีอารมณ์แปรปรวน ความกลุ้มใจ ความอิจฉาริษยา ความขัดข้องใจ และความเหงา คือมีอารมณ์ไม่เสถียร บุคคลที่ได้คะแนนสูงในลักษณะบุคลิกภาพนี้ จะมีโอกาสสูงกว่าโดยเฉลี่ยที่จะประสบกับอารมณ์เชิงลบต่าง ๆ เช่น ความวิตกกังวล ความหวาดกลัว ความอิจฉาริษยา ความรู้สึกผิด และความซึมเศร้า จะมีปฏิกิริยาที่แย่กว่าต่อสิ่งที่ก่อความเครียด และมีโอกาสสูงกว่าที่จะเห็นเหตุการณ์ปกติธรรมดาว่าเป็นภัย และความขัดข้องใจเล็ก ๆ น้อย ๆ ว่าเป็นเรื่องยากถึงให้สิ้นหวัง บ่อยครั้งจะมีความรู้สึกสำนึกตนหรือประหม่ามากเกินไป และขี้อาย และอาจจะมีปัญหาห้ามอารมณ์ชั่ววูบและผัดผ่อนการสนองความต้องการ ลักษณะบุคลิกภาพเช่นนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อความผิดปกติทางจิต (mental disorder) หลายอย่างที่สามัญที่สุด รวมทั้งภาวะซึมเศร้า โรคกลัว โรคตื่นตระหนก (panic disorder) โรควิตกกังวลอื่น ๆ และการติดสารเสพติด ซึ่งเป็นอาการที่เคยวินิจฉัยว่าเป็นโรคประสาท (neurosis).

ดู วิวัฒนาการและNeuroticism

Retinal bipolar cell

retinal bipolar cell เป็นส่วนของจอประสาทตา อยู่ระหว่างเซลล์รับแสง (คือเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวย) กับ retinal ganglion cell (เรียกสั้น ๆ ว่า ganglion cell หรือ RGC) มีหน้าที่ส่งข้อมูลจากเซลล์รับแสงไปยัง ganglion cell ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม มักจะเรียกสั้น ๆ ว่า bipolar cell ในบทความที่กล่าวถึงเซลล์ในเรตินาเช่นบทความนี้.

ดู วิวัฒนาการและRetinal bipolar cell

Sarracenia

Sarracenia เป็นสกุลของพืชที่ประกอบไปด้วย 8 - 11 ชนิด มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ เป็นสกุลที่อยู่ในวงศ์ Sarraceniaceae ที่บรรจุไปด้วยสกุลญาติใกล้ชิดอย่าง Darlingtonia และ Heliamphora Sarracenia เป็นสกุลของพืชกินสัตว์มีถิ่นกำเนิดแถบชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก, รัฐเทกซัส, บริเวณเกรตเลกส์และตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศแคนาดา ซึ่งสปีชีส์ส่วนใหญ่จะอยู่ในทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา (ยกเว้น S.

ดู วิวัฒนาการและSarracenia

Superior colliculus

optic tectum หรือเรียกสั้น ๆ ได้ว่า tectum เป็นโครงสร้างคู่ที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในสมองส่วนกลางของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โครงสร้างนี้มักจะเรียกกันว่า superior colliculus (ตัวย่อ SC) เป็นโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นชั้น ๆ แม้ว่าจำนวนชั้นจะแตกต่างกันไปในสัตว์สปีชีส์ต่าง ๆ ชั้นนอก ๆ มีหน้าที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัส และรับข้อมูลมาจากทั้งตาและระบบรับความรู้สึกอื่น ๆ ส่วนชั้นที่ลึก ๆ ลงไปมีหน้าที่เกี่ยวกับการสั่งการ (motor) มีความสามารถในการเริ่มการเคลื่อนไหวของตาและเริ่มการตอบสนองในระบบอื่น ๆ ส่วนชั้นในระหว่างกลางมีนิวรอนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัสหลายทาง และเกี่ยวกับการสั่งการด้วย หน้าที่ทั่ว ๆ ไปของเทคตัมก็คือ ชี้ทางการตอบสนองทางพฤติกรรมไปยังตำแหน่งต่าง ๆ โดยมีกายเป็นศูนย์กลาง ชั้นแต่ละชั้นของเทตตัมมีแผนที่ภูมิลักษณ์ของโลกรอบตัวที่ใช้พิกัดแบบ retinotopy และการทำงานของนิวรอนจุดหนึ่งในแผนที่ทำให้เกิดการตอบสนองทางพฤติกรรมตรงตำแหน่งในปริภูมิที่สัมพันธ์กับจุดในแผนที่นั้น ในไพรเมต งานศึกษาเรื่องของ SC โดยมากเป็นไปเกี่ยวกับการควบคุมการทอดสายต.

ดู วิวัฒนาการและSuperior colliculus

The China Study

หนังสือ The China Study (แปลว่า งานวิจัยในเมืองจีน, พิมพ์ปี ค.ศ. 2005) มีผู้เขียน 2 คนคือ.

ดู วิวัฒนาการและThe China Study

10 กรกฎาคม

วันที่ 10 กรกฎาคม เป็นวันที่ 191 ของปี (วันที่ 192 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 174 วันในปีนั้น.

ดู วิวัฒนาการและ10 กรกฎาคม

15 กันยายน

วันที่ 15 ก.. เป็นวันที่ 258 ของปี (วันที่ 259 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 107 วันในปีนั้น.

ดู วิวัฒนาการและ15 กันยายน

18 มิถุนายน

วันที่ 18 มิถุนายน เป็นวันที่ 169 ของปี (วันที่ 170 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 196 วันในปีนั้น.

ดู วิวัฒนาการและ18 มิถุนายน

2 ตุลาคม

วันที่ 2 ตุลาคม เป็นวันที่ 275 ของปี (วันที่ 276 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 90 วันในปีนั้น.

ดู วิวัฒนาการและ2 ตุลาคม

หรือที่รู้จักกันในชื่อ ทฤษฎีวิวัฒนาการ

ยุคหินเก่ายีนยีนเห็นแก่ตัวรอยนูนสมองกลีบขมับด้านล่างระบบการทรงตัวระบบการได้ยินระบบรู้กลิ่นรายชื่อตัวละครในโค้ด กีอัส ภาคการปฏิวัติของลูลูชรายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยริชาร์ด ดอว์กินส์ลวดลายในธรรมชาติลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่างลำดับสงวนลิสแซมฟิเบียลิงลิงแม็กแคกลิงโลกใหม่ลู่ตูงลี สโมลินลีเมอร์หนูวัฒนธรรมวิวัฒนาการชาติพันธุ์วิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมวิวัฒนาการของการเห็นสีวิวัฒนาการของการเห็นเป็นสีในไพรเมตวิวัฒนาการของมนุษย์วิวัฒนาการของคอเคลียวงศ์กระต่ายวงศ์วัวและควายวงศ์วานวิวัฒนาการวงศ์ทัวทาราวงศ์ปลากระเบนหางสั้นวงศ์ปลาโรนันวงศ์ปูเสฉวนบกวงศ์นกปักษาสวรรค์วงศ์เม่นโลกใหม่วงศ์เหี้ยศาสนาพุทธกับทฤษฎีวิวัฒนาการศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์สกุลชิมแปนซีสกุลปลาไบเคอร์สกุลเสือไฟสภาวะเห็นทั้งบอดสมองใหญ่สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกสัตว์ปีกสิ่งมีชีวิตสิ่งมีชีวิตตัวแบบสิ่งมีชีวิตนอกโลกสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นหมึก (สัตว์)หม้อข้าวหม้อแกงลิงหลุยส์ ลีกคีหอยงวงช้างหูชั้นกลางหูชั้นในรูปหอยโข่งหน่วยรับรสอวัยวะของคอร์ติอัลเฟรด รัสเซล วอลเลซอันดับกระแตอันดับกิ้งก่าและงูอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องอันดับอาร์ดวาร์กอันดับจระเข้อันดับปลาลิ้นกระดูกอันดับปลาคาราซินอันดับปลาซีกเดียวอันดับไฮแรกซ์อาร์เอพีดีอิกัวนาสีชมพูอุปมาเทียมอคติที่เกิดจากการเลือกตัวอย่างอนุกรมวิธานฮือโค เดอ ฟรีสผีเสื้อ (แมลง)จอร์จ ดับเบิลยู. บุชจอตาจามรีจิงโจ้จิตพยาธิวิทยาสัตว์จิตวิทยาเชิงบวกธรณีวิทยาทฤษฎีการกำเนิดจักรวาลทฤษฎีของลามาร์กทฤษฎีความผูกพันทฤษฎีเอ็นโดซิมไบโอติกทาร์เซียร์ขั้นตอนวิธีเชิงวิวัฒนาการขาดอนหอยหลอดดังเคิลออสเตียสดาวตะกร้าดูน (นวนิยาย)ความกลัวความภูมิใจแห่งตนความสำเร็จในการสืบพันธุ์ความหลากหลายทางวัฒนธรรมความผันแปรได้ทางพันธุกรรมความผิดปกติทางอารมณ์ความจำชัดแจ้งความจำอาศัยเหตุการณ์ความน่ารักความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลกความเหมาะสมความเห็นพ้องทางวิทยาศาสตร์คิกออฟงูพิษงูจงอางงูทะเลงูไทปันตระกูลของภาษาซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตซูเปอร์เทสเตอร์ประสาทสัมพันธ์แห่งการรับรู้อารมณ์ประเทศนิวซีแลนด์ปลาปลากระเบนแมนตาปลากัดป่ามหาชัยปลามีเกราะปลาริชาร์ด ดอว์กินส์ปลาทะเลลึกปลาที่มีครีบเป็นพู่ปลาฉลามหัวค้อนยาวปลาโนรีเทวรูปปลาไบเคอร์ปลาไม่มีขากรรไกรปูมะพร้าวปูเยติปีศาจสปาเกตตีลอยฟ้านกกีวีนกนางแอ่นแม่น้ำนกนางแอ่นแม่น้ำแอฟริกานกแสก (สกุล)นกเกาะคอนนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรนักล่า-เก็บของป่านักคณิตศาสตร์แฟรงค์ เฮอร์เบิร์ตแพริโดเลียแกนประสาทนำออกแย้กะเทยแรดอินเดียแร้งแนวคิดวิวัฒนาการเกี่ยวกับความซึมเศร้าโบโนโบโพรทิสต์โรควิตกกังวลโรคซึมเศร้าโลก (ดาวเคราะห์)โลมาแม่น้ำโครงกระดูกแกนโปเกมอนไฟลัมเฟอร์ริตินเยื่อกั้นหูชั้นในเสือเหยี่ยวเอปเทสโทสเตอโรนเทโรพอดเคลดเตตราโครมาซีเต่ายักษ์กาลาปาโกสเต่าทะเลเปลือกสมองCotard delusionEvolutionExecutive functionsHomo erectusJardin des PlantesLateral geniculate nucleusNepenthes rajahNeuroticismRetinal bipolar cellSarraceniaSuperior colliculusThe China Study10 กรกฎาคม15 กันยายน18 มิถุนายน2 ตุลาคม