สารบัญ
7 ความสัมพันธ์: พระมัญชุศรีโพธิสัตว์กุณฑลิมหามยุรีรายนามพระโพธิสัตว์อจละขบวนการห้าดาว ไดเรนเจอร์ไตรโลกยวิชยะ
พระมัญชุศรีโพธิสัตว์
ระมัญชุศรีโพธิสัตว์ (मञ्जुश्री Mañjuśrī; 文殊 Wénshū หรือ 文殊師利菩薩 Wénshūshili Púsà; もんじゅ Monju; འཇམ་དཔལ་དབྱངས། Jampelyang; मंजुश्री Manjushree) เป็นพระโพธิสัตว์ในกลุ่มตถาคตโคตรของพระไวโรจนพุทธะ ชื่อของท่านแปลว่า แสงอันอ่อนหวานหรืออ่อนโยน เป็นพระโพธิสัตว์ที่มีผู้นับถือในทิเบตรองลงมาจากพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ชื่อของท่านมีปรากฏในพระสูตรต่างๆมากมาย เช่น สัทธรรมปุณฑรีกสูตร ถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์ฝ่ายปัญญาและมีหน้าที่คุ้มครองนักปราชญ.
ดู วิทยาราชและพระมัญชุศรีโพธิสัตว์
กุณฑลิ
กุณฑลิวิทยาราช หรือ อมฤตกุณฑลิน ภาษาจีนเรียกว่า จวินถูลี่ หมิงหวาง (軍荼利明王) ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่าว กุนดะริ เมียวโอ (軍荼利明王) เป็นหนึ่งในห้าวิทยาราช ตามคติพุทธศาสนามหายาน เป็นผู้ถือน้ำอมฤต อันเป็นน้ำทิพย์แห่งความเป็นอมตะ กุณฑลิถือเป็นนิรมาณกายของพระรัตนสัมภวพุทธะ ในมณฑลของวัชรยาน กุณฑลิจะประทับอยู่ทางทิศใต้ รูปลักษณ์มีหลากหลาย ทั้งแบบ 2 พักตร์และ 4 กร แบบ 4 พักตร์ และ 8 กร เป็นต้น เรือนกายเป็นสีน้ำเงิน เนตรเป็นสีแดง มือทั้ง 2 ข้างถืออสรพิษ มือข้างหนึ่งถือหอก ข้างหนึ่งถือไม้เท้า และจักร เป็นต้น พักตรทั้ง 4 เป็นอุปมาหมายถึงการทำลายกิเลสทั้ง 4 ประการ คือ อาตมมานะ (เย่อหยิ่ง) อาตมทฤษฏิ (ความเห็นผิด) อาตมโมหะ (ความหลงผิด) และอาตมสเนหะ (การหลงรักตัวเอง) มนต์ประจำองค์ของกุณฑลิคือ "โอม อมฤเต หูมฺ ผฏฺ".
มหามยุรี
ระมหามยุรีโพธิสัตว์ พระมหามยุรี (孔雀明王; Mahamayuri) เป็นวิทยาราชองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นที่นับถือในศาสนาพุทธนิกายมหายานในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มักมีรูปลักษณ์เป็นที่สังเกตได้ง่าย โดยปรากฏเป็นเทวดาประทับบนนกยูง มีตำนานปรากฏในธารณีชื่อมหามยุรีวิทยาราชามหาธารณี.
รายนามพระโพธิสัตว์
ระโพธิสัตว์ คือบุคคลที่บำเพ็ญบารมีเพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต พระโพธิสัตว์สำคัญตามความเชื่อของศาสนาพุทธนิกายมหายานมีดังนี้ พระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์ พระจันทรประภาโพธิสัตว์ และพระสุริยประภาโพธิสัตว์ พระจุนทีโพธิสัตว์ พระนางตารา พระนาคารชุนะ พระปัทมสัมภวะ พระนางปรัชญาปารมิตา พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ นางวสุธระ พระวัชรปาณีโพธิสัตว์ พระศรีอริยเมตไตรย พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระอากาศครรภโพธิสัตว.
ดู วิทยาราชและรายนามพระโพธิสัตว์
อจละ
ฟุโดเมียวโอ (อจลนาถ) ที่โอะคุโนะอิน เขาโคยะ จังหวัดเฮียวโงะ ประเทศญี่ปุ่น อจละ (अचल; อ่านว่า /อะ-จะ-ละ/, 不動明王; Bùdòng Míngwáng) เป็นวิทยราชองค์หนึ่งในศาสนาพุทธฝ่ายวัชรยาน หรือนิกายชินงนของศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น เป็นสัญลักษณ์ของผู้ทำลายสิ่งลวงตาและปกป้องพุทธศาสนา รูปลักษณ์ของอจละแสดงถึงการอยู่นิ่ง การไม่เคลื่อนที่ ในขณะที่เกิดอารมณ์โกรธ ช่วยเหลือเหล่ามนุษย์ เป็นสัญลักษณ์ของการควบคุมตนเอง ตามนัยของคำว่า "อจละ" ในภาษาสันสกฤต ซึ่งแปลว่า "ไม่เคลื่อนไหว" ถือเป็นเทพเจ้าที่ทำงานให้กับพระไวโรจนพุทธะ อจละนับเป็นวิทยราชซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางที่สุดในบรรดาวิทยราชทั้งห้าผู้สถิตในครรภโกษธาตุ นามอื่นๆ ของอจละในภาษาสันสกฤตได้แก่ "อจลวิทยราช", "อจลนาถ", "อารยาจลนาถ" และ "จัณฑมหาโรศนะ" รูปลักษณ์ของอจละในภาพวาดหรือตามรูปปั้น มีลักษณะเป็นรูปบุคคลถือดาบซึ่งมีปลายด้ามเป็นรูปวัชระในมือขวา ใช้การในปราบสิ่งชั่วร้าย มือซ้ายถือเชือกเพื่อการจับมัดสิ่งชั่วร้าย ด้านหลังล้อมรอบด้วยเปลวไฟเป็นประภามณฑล และมักปรากฏในท่ายืนหรือนั่งบนหินแสดงถึงการไม่เคลื่อนไหว ทรงผมมัดเป็นเปียอยู่เจ็ดปมและปลายผมวางบนไหล่ซ้าย เป็นสัญลักษณ์ของผู้รับใช้พระพุทธเจ้า ที่มุมปากมีเขี้ยวสองข้าง ด้านหนึ่งชี้ลงแสดงถึงการปฏิบัติตัวบนโลก และข้างหนึ่งชี้ขึ้นแสดงถึงการค้นหาความจริง.
ขบวนการห้าดาว ไดเรนเจอร์
วนการห้าดาว ไดเรนเจอร์ เป็นภาพยนตร์แนวโทคุซัทสึ ประเภท ขบวนการนักสู้ ลำดับที่ 17 ผลิตโดย โตเอ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ ทีวีฮาซาฮี โดยออกอากาศครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ.
ดู วิทยาราชและขบวนการห้าดาว ไดเรนเจอร์
ไตรโลกยวิชยะ
ตรโลกยวิชยะ วิทยาราชประจำทิศตะวันออก ไตรโลกยวิชยะ (त्रैलोक्यविजय ไตรโลกฺยวิชย,, 降三世明王 เจี่ยงซานซื่อหมิงหวัง) เป็นหนึ่งในวิทยาราชทั้งห้าตามความเชื่อของศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน (ในญี่ปุ่นเป็นที่นับถือในนิกายชินงน ซึ่งเป็นแขนงย่อยหนึ่งของวัชรยาน) สถิดอยู่ ณ ทิศตะวันออกของครรภโกษธาตุ ทำหน้าที่เป็นผู้คุ้มครองของพระอักโษภยพุทธะ พระธยานิพุทธะแห่งทิศตะวันออก บางตำราถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง โดยเป็นพระโพธิสัตว์เอกเทศมิได้จัดอยู่ในสกุลของพระธยานิพุทธะองค์ใด นามของไตรโลกยวิชยะ มีความหมายโดยศัพท์ว่า "ผู้ชนะโลกทั้งสาม".
หรือที่รู้จักกันในชื่อ วิทยราช明王