โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วิทยาการอำพรางข้อมูล

ดัชนี วิทยาการอำพรางข้อมูล

ต้นไม้ที่มีการอำพรางข้อมูล ถ้าหากนำบิตอื่น ๆ ของ RGB ออกไปยกเว้น 2 บิตสุดท้ายของแต่ละสี ซึ่งภาพที่ได้จะเป็นโทนสีเกือบดำ แล้วเพิ่มความสว่าง 85 เท่า จึงจะปรากฏรูปภาพด้านล่าง ภาพแมวที่ถูกอำพรางเอาไว้ วิทยาการอำพรางข้อมูล (อังกฤษ: Steganography) หมายถึงศาสตร์ในการซ่อนข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักในการปกปิด ทำให้ดูเหมือนว่าไม่มีการซ่อนข้อมูลลับใด ๆ ในสื่อเป้าหมาย หากมองโดยผิวเผินแล้ว วิทยาการอำพรางข้อมูลมีลักษณะใกล้เคียงกับวิทยาการเข้ารหัสลับ (Cryptography) แต่ความแตกต่างของศาสตร์ทั้งสองคือ การเข้ารหัสมีจุดประสงค์ในการทำให้ข้อความไม่สามารถอ่านเข้าใจได้ แต่การอำพรางข้อมูลมีจุดประสงค์ในการซ่อนข้อมูล ทำให้คนทั่วไปไม่รู้ว่ามีการซ่อนข้อมูลลับอยู่ ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่สายลับมีการส่งจดหมายติดต่อไปยังหน่วยงานของตน สมมติจดหมายที่ถูกส่งไปนั้นถูกเปิดตรวจสอบระหว่างทาง หากข้อความถูกเข้ารหัสไว้ก็อาจก่อให้เกิดความสงสัยแก่ผู้ตรวจสอบว่า จดหมายนี้อาจมีข้อความที่เป็นความลับอยู่ แต่หากในจดหมายนั้นใช้วิธีการอำพรางข้อมูล ในการซ่อนข้อความแล้ว ข้อความในจดหมายนั้นก็เสมือนกับจดหมายทั่วไป ไม่มีสิ่งที่เป็นจุดน่าสงสั.

3 ความสัมพันธ์: ภาษาพีตรายการสาขาวิชาวิทยาการเข้ารหัสลับ

ภาษาพีต

ตัวอย่างโปรแกรมในภาษาพีต แสดงผลลัพธ์เป็นข้อความ "Piet" ภาษาพีต (Piet) คือภาษาโปรแกรมเชิงความลับที่ออกแบบโดยเดวิด มอร์แกน-มาร์ (David Morgan-Mar) โดยใช้ภาพบิตแมปซึ่งดูคล้ายศิลปะนามธรรมเป็นสื่อกลางสำหรับการเขียนโปรแกรม ภาษาพีต‌ได้รับการตั้งชื่อตามศิลปินชาวดัตช์ชื่อ พีต มอนดรีออน (Piet Mondrian) ผู้ซึ่งสร้างผลงานศิลปะนามธรรมด้วยเส้นและบล็อกสี่เหลี่ยม.

ใหม่!!: วิทยาการอำพรางข้อมูลและภาษาพีต · ดูเพิ่มเติม »

รายการสาขาวิชา

รายชื่อสาขาวิชา หรือ สาขาการศึกษา (Field of study) หมายถึงสาขาความรู้ หรือ การวิจัยที่เปิดสอนในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย คำว่า สาขาวิชา ได้รับการนิยามและยอมรับโดย วารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย และโดยสมาคมผู้รู้ (learned societies) และโดยภาควิชาหรือคณะวิชาที่บุคคลผู้อยู่ในสาขาวิชานั้นๆ สังกัด โดยปกติ สาขาการศึกษาต่างๆ มักมีสาขาย่อยหรือแขนงวิชาแตกออกไป เส้นแบ่งระหว่างสาขาย่อยมักยังมีความคลุมเครือและมีกฎเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจน ในยุโรปสมัยกลางซึ่งขณะนั้นยังมีการแบ่งคณะวิชาออกเป็น 4 คณะหรือสายวิชา ได้แก่เทววิทยา การแพทย์ ธรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ และศิลปะ โดยคณะวิชาหลังมีสถานะไม่สูงเท่า 3 สาขาแรก การแบ่งสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสมัยนั้นมีรากสืบทอดมาจากขบวนการแยกอาณาจักรออกจากศาสนจักร (Secularization) ของมหาวิทยาลัยซึ่งเกิดขึ้นราวสมัยกลาง-ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณ พ.ศ. 2390 - พ.ศ. 2440) โดยได้เพิ่มวิชาภาษาศาสตร์ที่ไม่ใช่คลาสสิก วรรณคดี และวิชาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาและวิศวกรรมศาสตร์เสริมเข้าไปในหลักสูตรแบบประเพณีโบราณ ในต้นคริสต์ศตวรรษ ที่ 20 (ประมาณ พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2475) ได้มีการเพิ่มสาขาวิชาใหม่ๆ เช่น การศึกษา สังคมวิทยา และจิตวิทยา ในมหาวิทยาลัยต่างๆ และในช่วงประมาณ พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2523) ได้เกิดปรากฏการณ์ "การระเบิด" ของสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เน้นเนื้อหาเฉพาะเจาะจง เช่น สื่อศึกษา สตรีศึกษา และชนผิวดำศึกษา สาขาใหม่ๆ เหล่านี้จัดขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับอาชีพและวิชาชีพต่างๆ เช่น การพยาบาล การจัดการโรงพยาบาล การราชทัณฑ์ และหลังสุดก็ได้เห็นสาขาวิชาที่เป็นลักษณะ "สหสาขาวิชา" เช่น ชีวเคมี และ ธรณีฟิสิกส์เกิดเพิ่มขึ้นและได้รับการยอมรับว่าสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ได้ช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้กว้างขวางขึ้น เครื่องหมายดอกจัน * แสดงเป็นหมายเหตุว่าสาขาวิชานั้นยังเป็นที่ถกเถียงถึงสถานภาพว่าควรนับไว้ในสายวิชาใด เช่น วิชามานุษยวิทยา และวิชาภาษาศาสตร์ควรจัดไว้ในกลุ่มสังคมศาสตร์ หรือ มนุษยศาสตร์ เป็นที่สังเกตได้ว่าบางท่าน โดยเฉพาะนักทฤษฎีวิจารณ์มักให้ความสำคัญในการบ่งชี้การจัดกลุ่มที่เข้มงวดในทุกสายวิชา รวมทั้งความชัดเจนของโครงสร้างของแนวคิดโดยรวมของแต่ละวิชาซึ่งยังเป็นถกเถียงได้มากสำหรับบางคน.

ใหม่!!: วิทยาการอำพรางข้อมูลและรายการสาขาวิชา · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาการเข้ารหัสลับ

วิทยาการเข้ารหัสลับ วิชาเกี่ยวกับการเข้ารหัสลับคือการแปลงข้อความปกติให้กลายเป็นข้อความลับ โดยข้อความลับคือข้อความที่ผู้อื่น นอกเหนือจากคู่สนทนาที่ต้องการ ไม่สามารถเข้าใจได้ มนุษย์ได้คิดค้นวิธีการรักษาความลับของเรามาตั้งนาน นับตั้งแต่สมัยจูเลียส ซีซาร์ จนกระทั่งถึงปัจจุบันที่ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยเข้ารหัสลับและถอดรหัสลับ การเข้ารหัสแบบซีซ่าร์ทำได้โดยการนำตัวอักษรที่อยู่ถัดไปอีกสองตำแหน่งมาแทนที่ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการเข้ารหัสคำว่า HELLO เราก็นำตัวอักษรที่ถัดจากตัว H ไปอีกสองตัวนั่นคือตัว J มาแทน ตัว E แทนด้วย G ตัว L แทนด้วย N ตัว O แทนด้วย Q ดังนั้นข้อความ HELLO จึงถูกแปลงให้เป็นคำว่า JGNNQ การเข้ารหัสลับแตกต่างกับวิทยาการอำพรางข้อมูล ข้อมูลที่ถูกอำพรางนั้นจะไม่ถูกเปลี่ยนแปลง ในขณะที่การเข้ารหัสลับจะเปลี่ยนแปลงข้อมูล วิทยาการเข้ารหัสลับสมัยใหม่ (Modern Cryptography) เป็นวิชาการที่ใช้แนวทางคณิตศาสตร์เพื่อแปลงข้อความปกติให้กลายเป็นข้อความลับ โดยให้เฉพาะคู่สนทนาที่ต้องการสามารถอ่านเข้าใจได้เท่านั้น ขั้นตอนวิธีของการเข้ารหัสลับสมัยใหม่ ได้แก่ Data Encryption Standard, Advanced Encryption Standard หรือ One-Time Padding ฯลฯ หลักการเบื้องต้นของการเข้ารหัสลับ ประการแรกคือ ขั้นตอนวิธีต้องเป็นที่รู้โดยทั่วไป และประการต่อมา รหัสจะต้องใหม่เสมอ.

ใหม่!!: วิทยาการอำพรางข้อมูลและวิทยาการเข้ารหัสลับ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Steganographyการอำพรางข้อมูล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »