โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วิทยาการสารสนเทศ

ดัชนี วิทยาการสารสนเทศ

วิทยาการสารสนเทศ (information science) หรือ สารสนเทศศาสตร์ หรือ สารนิเทศศาสตร์ หรือ สนเทศศาสตร์ (informatics) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีสารสนเทศ ตั้งแต่การรับรู้, การทำความเข้าใจ, การวิเคราะห์, การสังเคราะห์, การเก็บ, การค้นคืน, การสื่อสาร สารสนเทศอย่างเป็นระบบ ในการศึกษาด้านวิทยาการสารสนเทศนั้น มีความจำเป็นต้องศึกษาวิชาในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ด้วยเนื่องจากใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำหรับประมวลผลสารสนเทศ วิทยาการสารสนเทศนั้นยังสนใจกระบวนความคิดและสารสนเทศในเชิงประยุกต์ด้วย เช่น เรื่องของสารสนเทศในสิ่งมีชีวิตในประชานศาสตร์ (cognitive science) ซึ่งศึกษากระบวนความคิดและการทำงานของสมองของสิ่งมีชีวิต ตัวอย่างการประยุกต์วิทยาการสารสนเทศ อื่น ๆ เช่น ชีวสารสนเทศศาสตร์ ในกรณีนี้คือการศึกษาสารสนเทศทางชีววิทยา หรือ การศึกษาด้านวิทยาการสารสนเทศที่เกี่ยวกับการส่งสารสนเทศไปยังผู้รับสารด้วย ซึ่งคือบางส่วนของนิเทศศาสตร.

23 ความสัมพันธ์: บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ชีววิทยาชีวสารสนเทศศาสตร์การเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจงภววิทยา (วิทยาการสารสนเทศ)มหาวิทยาลัยกลาสโกว์มหาวิทยาลัยเอดินบะระระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศรายชื่อสาขาการศึกษาระดับปริญญาเอก (สหรัฐอเมริกา)รายการสาขาวิชาวารสารศาสตร์เชิงคำนวณวิศวกรรมโทรคมนาคมวิทยาการคอมพิวเตอร์วิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ประยุกต์สารสนเทศสารสนเทศการลงทุนสารสนเทศการแพทย์สารสนเทศศาสตร์สังคมทฤษฎีสารสนเทศคาเรน สปาร์ค โจนส์เวชสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ

บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์

รรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ (Library and information science: LIS) เป็นการศึกษาเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดเก็บ สิ่งพิมพ์, ข้อมูล, และสื่อ ทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด รวมไปถึงการเรียนรู้ทางวิชาการ ในแง่ของทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ ว่าผู้ใช้ใช้ระบบห้องสมุดและระบบการเรียนรู้อื่น ๆ อย่างไร เป้าหมายหลักของ งานวิจัยด้านบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ มุ่งไปที่การจัดการองค์ความรู้ เพื่อการดึงข้อมูลมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาจรวมถึงหัวข้ออันได้แก่ การได้มา, การสร้างรายการชื่อ, การจัดหมวดหมู่, การเก็บรักษา, และ การดูแลข้อมูลและทรัพยากรห้องสมุด การศึกษาอีกแขนงหนึ่ง ที่ศึกษาเรื่องใกล้เคียงกัน แต่ได้พัฒนาไปอีกทาง คือ การศึกษาโครงสร้างของข้อมูล และ ทฤษฎีข้อมูล (Information Theory) ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงคณิตศาสตร์ เกี่ยวกับแนวคิดของข้อมูลสารสนเท.

ใหม่!!: วิทยาการสารสนเทศและบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ชีววิทยา

ีววิทยา (Biology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล.

ใหม่!!: วิทยาการสารสนเทศและชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ชีวสารสนเทศศาสตร์

การทำความเข้าใจข้อมูลดีเอ็นเอ (ในภาพ) จำนวนมหาศาล จากโครงการจัดลำดับรหัสพันธุกรรมนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาที่ชีวสารสนเทศศาสตร์เผชิญ ชีวสารสนเทศศาสตร์ หรือ ชีววิทยาเชิงคำนวณ (Bioinformatics หรือ Computational Biology) เป็นสาขาที่ใช้ความรู้จากคณิตศาสตร์ประยุกต์, สถิติศาสตร์, สารสนเทศศาสตร์, และวิทยาการคอมพิวเตอร์ เพื่อแก้ปัญหาทางชีววิท.

ใหม่!!: วิทยาการสารสนเทศและชีวสารสนเทศศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง

ร์วินให้เป็น '''ทฤษฎีวิวัฒนาการสังเคราะห์แบบปัจจุบัน''' (Modern evolutionary synthesis) การเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง (Genetic drift, allelic drift, Sewall Wright effect) เป็นการเปลี่ยนความถี่รูปแบบยีน (คือ อัลลีล) ในกลุ่มประชากรเพราะการชักตัวอย่างอัลลีลแบบสุ่มของสิ่งมีชีวิต คือ อัลลีลที่พบในสิ่งมีชีวิตรุ่นลูก จะเป็นตัวอย่างของอัลลีลที่ชักมาจากพ่อแม่ โดยความสุ่มจะมีบทบาทกำหนดว่า สิ่งมีชีวิตรุ่นลูกนั้น ๆ จะรอดชีวิตแล้วสืบพันธุ์ต่อไปหรือไม่ ส่วน ความถี่อัลลีล (allele frequency) ก็คืออัตราที่ยีนหนึ่ง ๆ จะมีรูปแบบเดียวกันในกลุ่มประชากร การเปลี่ยนความถี่ยีนอาจทำให้อัลลีลหายไปโดยสิ้นเชิงและลดความแตกต่างของยีน (genetic variation) เมื่ออัลลีลมีก๊อปปี้น้อย ผลของการเปลี่ยนความถี่จะมีกำลังกว่า และเมื่อมีก๊อปปี้มาก ผลก็จะน้อยกว่า ในคริสต์ทศวรรษที่ 20 มีการอภิปรายอย่างจริงจังว่า การคัดเลือกโดยธรรมชาติสำคัญเทียบกับกระบวนการที่เป็นกลาง ๆ รวมทั้งการเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจงแค่ไหน.

ใหม่!!: วิทยาการสารสนเทศและการเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง · ดูเพิ่มเติม »

ภววิทยา (วิทยาการสารสนเทศ)

ววิทยา (ontology information science) ในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิทยาการสารสนเทศ หมายถึง วิธีการบรรยายขอบเขตแนวคิดที่สนใจ หรือข้อกำหนดที่เกี่ยวกับแนวคิด โดยภววิทยาเป็นการสร้างโครงสร้างฐานความรู้หรือขอบเขตใดขอบเขตหนึ่งซึ่งมีแนวคิดและความเข้าใจตรงกันและใช้ในการนิยามตัวแบบ (model) ภายในขอบเขตขององค์ความรู้เพื่ออธิบายสิ่งที่เราสนใจ (domain) ให้ได้ใจความและถูกต้อง.

ใหม่!!: วิทยาการสารสนเทศและภววิทยา (วิทยาการสารสนเทศ) · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยกลาสโกว์

มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ (อังกฤษ: The University of Glasgow; ละติน: Universitatis Glasguensis) ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1451 เป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในสามมหาวิทยาลัยในเมืองกลาสโกว์ สกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร มีชื่อเสียงในด้านการสอนและการวิจัย และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยโบราณของสก็อตแลนด์ และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดในสหราชอาณาจักร มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ถูกก่อตั้งขึ้นอาณัติจากพระสันตปาปานิโคลัสที่ห้าโดยพระประสงค์ของพระเจ้าเจมส์ที่สอง เพื่อให้สก็อตแลนด์มีมหาวิทยาลัยสองแห่งเช่นเดียวกันกับอังกฤษที่มีอ็อกซฟอร์ดและเคมบริดจ์ ซึ่งทำให้กลาสโกว์เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดอันดับสี่ในสหราชอาณาจักร และยังเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับเงินบริจาคมากเป็นอันดับสี่ในบริเทนรองจากอ็อกซฟอร์ด เคมบริดจ์ และเอดินเบอระ อีกด้วย มหาวิทยาลัยกลาสโกว์นั้นมีสัดส่วนนักเรียนต่างชาติค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ โดยประมาณครึ่งหนึ่งเป็นคนในกลาสโกว์เอง อีก 40% เป็นนักเรียนจากเมืองต่างๆภายใน UK มีเพียงประมาณ 13 เปอร์เซ็นต์ที่มาจากต่างชาติ มหาวิทยาลัยกลาสโกว์นั้นได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของ UK มาหลายศตวรรษ เช่นเดียวกับเอดินเบอระและเซนต์แอนดรูส์ กลาสโกว์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกใน UK ที่ก่อตั้งภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ และ ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยนอกเขตลอนดอนที่มีคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร เมืองกลาสโกว์นั้นมีอัตราส่วนวิศวกรต่อประชากรสูงมากเป็นอันดับสามของโลก มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ได้ให้กำเนิดนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกเป็นจำนวนมาก อาทิ ลอร์ดเคลวิน – หนึ่งในผู้พัฒนากฎข้อสองของเทอร์โมไดนามิคส์ และภายหลังได้รับเกียรติให้นำชื่อไปให้เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิเคลวิน เจมส์ วัตต์ – ผู้พัฒนากลจักรไอน้ำจนก่อให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมของสหราชอาณาจักร จอห์น โลกี แบรด – ผู้ประดิษฐ์โทรทัศน์ โจเซฟ ลิสเตอร์ – หนึ่งในผู้ริเริ่มการผ่าตัดแบบสมัยใหม่ และ โจเซฟ แบลค – นักเคมีที่มีผลงานมากมายรวมไปถึงการค้นพบก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ฯลฯ มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ยังมีชื่อเสียงทางด้านสังคมศาสตร์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าด้านวิศวกรรมศาสตร์เลยแม้แต่น้อย กลาสโกว์นั้นถือได้ว่าเป็นจุดกำเนิดของยุคแสงสว่างอย่างแท้จริง ศาสตราจารย์ฟรานซิส ฮัทชิสัน แห่งมหาวิทยาลัยกลาสโกว์เป็นผู้ริเริ่มทฤษฎีอรรถประโยชน์ (Utilitarian principle) ซึ่งเป็นหนึ่งในทฤษฎีพื้นฐานภายใต้เศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิก (Classical Economics) อดัม สมิธ ศิษย์เก่าที่โด่งดังที่สุดของมหาวิทยาลัยกลาสโกว์นั้นได้ผสมผสานทฤษฎีนี้ผนวกกับแนวคิดของเดวิด ฮูม (นักปรัชญาชาวเอดินเบอระ) ก่อให้เกิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ เศรษฐศาสตร์การเมือง และทฤษฎีการค้าเสรี ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของโลกอย่างมหาศาลมาจนถึงยุคปัจจุบัน.

ใหม่!!: วิทยาการสารสนเทศและมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเอดินบะระ

ตึกโอลด์คอลเลจ ที่ตั้งของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอดินบะระ (The University of Edinburgh; Universitas Academica Edinburgensis) ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1583 เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่อันดับ 4 ของสกอตแลนด์ ถัดจาก มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูวส์ (ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1410) มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ (ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1451) และ มหาวิทยาลัยอเบอร์ดีน (ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1495) มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในด้านการสอนและการวิจัย ตั้งอยู่ที่เมืองเอดินบะระ สกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร เอดินบะระเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยโบราณของสกอตแลนด์ และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงที่สุดในสหราชอาณาจักร เอดินบะระเป็นสมาชิกของกลุ่มรัสเซล (Russell Group) ซึ่งเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัยของสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ยังเป็นมหาวิทยาลัยเดียวของสกอตแลนด์ (และมหาวิทยาลัยเดียวในสหราชอาณาจักร นอกเหนือจาก เคมบริดจ์ และอ๊อกซฟอร์ด) ที่เป็นสมาชิกของ Coimbra Group และ LERU สองกลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำของยุโรป และยังเป็นสมาชิกของเครือข่ายมหาวิทยาลัยวิจัย Universitas 21 อีกด้วย ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 มหาวิทยาลัยเอดินบะระได้กลายเป็นศูนย์กลางของยุครู้แจ้งของยุโรป (European Enlightenment) และกลายเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่สำคัญที่สุดของทวีปยุโรป.

ใหม่!!: วิทยาการสารสนเทศและมหาวิทยาลัยเอดินบะระ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ

ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Support Systems) หรือเรียกโดยย่อว่า (IT Support Systems) หมายถึง ระบบที่นำมาใช้ในการสนับสนุนสารสนเทศที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูง.

ใหม่!!: วิทยาการสารสนเทศและระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสาขาการศึกษาระดับปริญญาเอก (สหรัฐอเมริกา)

รายชื่อสาขาการศึกษาระดับปริญญาเอก (List of fields of doctoral studies) นี้จัดทำขึ้นโดย "ศูนย์วิจัยความเห็นแห่งชาติ" (Opinion Research Center หรือ NORC) ที่ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกาจากการสำรวจปริญญาเอกที่มีผู้จบการศึกษารายปี โดยจัดทำให้กับมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ และหน่วยงานของรัฐบาลกลางอีกหลายหน่วยงานในสหรัฐฯ ทั้งหมดนี้คือสายวิชาการศึกษาระดับปริญญาเอกที่เน้นการวิจัยที่มุ่งสู่ปริญญาดุษฎีบัณฑิตปรัชญา (Doctor of Philosophy หรือ Ph.D.) และการศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Education Ed.D 1หรือ D.Ed) ที่เปิดสอนในสหรัฐฯ ซึ่งในปีการศึกษา 2547-2548 พบว่าร้อยละ 90.3 ของปริญญาเอกที่เน้นการวิจัยจำนวน 43,354 ปริญญาในสหรัฐฯ ปริญญาเป็น Ph.D. และร้อยละ 7.0 เป็น Ed.D. การศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาวิชาชีพ (professional doctorates) เช่น แพทยศาสตร์ (Doctor of Medicine - M.D.) และปริญญาเอกด้านกฎหมาย (Juris Doctor - J.D.) ไม่นับรวมในรายชื่อนี้.

ใหม่!!: วิทยาการสารสนเทศและรายชื่อสาขาการศึกษาระดับปริญญาเอก (สหรัฐอเมริกา) · ดูเพิ่มเติม »

รายการสาขาวิชา

รายชื่อสาขาวิชา หรือ สาขาการศึกษา (Field of study) หมายถึงสาขาความรู้ หรือ การวิจัยที่เปิดสอนในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย คำว่า สาขาวิชา ได้รับการนิยามและยอมรับโดย วารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย และโดยสมาคมผู้รู้ (learned societies) และโดยภาควิชาหรือคณะวิชาที่บุคคลผู้อยู่ในสาขาวิชานั้นๆ สังกัด โดยปกติ สาขาการศึกษาต่างๆ มักมีสาขาย่อยหรือแขนงวิชาแตกออกไป เส้นแบ่งระหว่างสาขาย่อยมักยังมีความคลุมเครือและมีกฎเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจน ในยุโรปสมัยกลางซึ่งขณะนั้นยังมีการแบ่งคณะวิชาออกเป็น 4 คณะหรือสายวิชา ได้แก่เทววิทยา การแพทย์ ธรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ และศิลปะ โดยคณะวิชาหลังมีสถานะไม่สูงเท่า 3 สาขาแรก การแบ่งสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสมัยนั้นมีรากสืบทอดมาจากขบวนการแยกอาณาจักรออกจากศาสนจักร (Secularization) ของมหาวิทยาลัยซึ่งเกิดขึ้นราวสมัยกลาง-ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณ พ.ศ. 2390 - พ.ศ. 2440) โดยได้เพิ่มวิชาภาษาศาสตร์ที่ไม่ใช่คลาสสิก วรรณคดี และวิชาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาและวิศวกรรมศาสตร์เสริมเข้าไปในหลักสูตรแบบประเพณีโบราณ ในต้นคริสต์ศตวรรษ ที่ 20 (ประมาณ พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2475) ได้มีการเพิ่มสาขาวิชาใหม่ๆ เช่น การศึกษา สังคมวิทยา และจิตวิทยา ในมหาวิทยาลัยต่างๆ และในช่วงประมาณ พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2523) ได้เกิดปรากฏการณ์ "การระเบิด" ของสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เน้นเนื้อหาเฉพาะเจาะจง เช่น สื่อศึกษา สตรีศึกษา และชนผิวดำศึกษา สาขาใหม่ๆ เหล่านี้จัดขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับอาชีพและวิชาชีพต่างๆ เช่น การพยาบาล การจัดการโรงพยาบาล การราชทัณฑ์ และหลังสุดก็ได้เห็นสาขาวิชาที่เป็นลักษณะ "สหสาขาวิชา" เช่น ชีวเคมี และ ธรณีฟิสิกส์เกิดเพิ่มขึ้นและได้รับการยอมรับว่าสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ได้ช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้กว้างขวางขึ้น เครื่องหมายดอกจัน * แสดงเป็นหมายเหตุว่าสาขาวิชานั้นยังเป็นที่ถกเถียงถึงสถานภาพว่าควรนับไว้ในสายวิชาใด เช่น วิชามานุษยวิทยา และวิชาภาษาศาสตร์ควรจัดไว้ในกลุ่มสังคมศาสตร์ หรือ มนุษยศาสตร์ เป็นที่สังเกตได้ว่าบางท่าน โดยเฉพาะนักทฤษฎีวิจารณ์มักให้ความสำคัญในการบ่งชี้การจัดกลุ่มที่เข้มงวดในทุกสายวิชา รวมทั้งความชัดเจนของโครงสร้างของแนวคิดโดยรวมของแต่ละวิชาซึ่งยังเป็นถกเถียงได้มากสำหรับบางคน.

ใหม่!!: วิทยาการสารสนเทศและรายการสาขาวิชา · ดูเพิ่มเติม »

วารสารศาสตร์เชิงคำนวณ

วารสารศาสตร์เชิงคำนวณ สามารถนิยามได้ว่าเป็นการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อกิจกรรมทางวารสารศาสตร์ เช่น การรวบรวมข้อมูล การจัดระเบียบข้อมูล การทำความเข้าใจข้อมูล การสื่อสารและแพร่กระจายข้อมูลข่าวสาร โดยรักษาคุณค่าของวารสารศาสตร์ เช่น ความเป็นธรรม ความแม่นยำ และภววิสัย สาขาดังกล่าวได้ดึงเอาแง่มุมเทคนิคต่าง ๆ จากวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งรวมถึงปัญญาประดิษฐ์, การวิเคราะห์เนื้อหา (การประมวลผลภาษาธรรมชาติ, คอมพิวเตอร์วิทัศน์, การได้ยิน), การสร้างภาพ, การทำให้เป็นลักษณะส่วนบุคคล, และระบบแนะนำ รวมไปถึงแง่มุมจากการใช้คอมพิวเตอร์เชิงสังคมและสารสนเทศศาสตร.

ใหม่!!: วิทยาการสารสนเทศและวารสารศาสตร์เชิงคำนวณ · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกรรมโทรคมนาคม

วเทียมวงโคจรต่ำที่ไคยัน วิศวกรรมโทรคมนาคม (Telecommunications engineering) เป็นวิชาการด้านวิศวกรรมที่เกิดจากการรวบรวมองค์ความรู้ทางวิศวกรรมไฟฟ้า และ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์เพื่อเสริมสร้างระบบการสื่อสารโทรคมนาคมที่เป็นองค์ความรู้เฉพาะทาง.

ใหม่!!: วิทยาการสารสนเทศและวิศวกรรมโทรคมนาคม · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาการคอมพิวเตอร์

วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computer science) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าทฤษฎีการคำนวณสำหรับคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และ เครือข่าย ซึ่งวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยหลายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับนามธรรม หรือความคิดเชิงทฤษฎี เช่น การวิเคราะห์และสังเคราะห์ขั้นตอนวิธี ไปจนถึงระดับรูปธรรม เช่น ทฤษฎีภาษาโปรแกรม ทฤษฎีการพัฒนาซอฟต์แวร์ ทฤษฎีฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และ ทฤษฎีเครือข่าย ในแง่ของศาสตร์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้น วิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นหนึ่งในห้าสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วย สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือวิทยาศาสตรคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร และ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือ ระบบสารสนเทศทางธุรก.

ใหม่!!: วิทยาการสารสนเทศและวิทยาการคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ คำว่า "วิทยาศาสตร์" มักถูกใช้เพื่อแทนคำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษ แต่ถ้าจะกล่าวให้ตรงความหมายแล้ว เราใช้คำว่า "วิทยาศาสตร์" เพื่อหมายถึง "Exact science" ซึ่งไม่รวมสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์เอาไว้ แม้ว่าสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์จะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน การแบ่งแยกดังกล่าวมีขึ้นเนื่องจากความแตกต่างในด้านเนื้อหาและธรรมชาติของการศึกษา มิใช่เรื่องของความจริงหรือความถูกต้องแต่อย่างใด คำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษจะมีความหมายเทียบเท่ากับคำว่า "ศาสตร์" หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป.

ใหม่!!: วิทยาการสารสนเทศและวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์ประยุกต์

วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (อังกฤษ: applied science) คือสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ที่นำความรู้จากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติไปใช้กับปัญหาในทางปฏิบัติ สาขาวิชาต่างของวิศวกรรมศาสตร์เป็นตัวอย่างของวิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์มีความสำคัญสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ และในด้านอุตสาหกรรมเรียกวิทยาศาสตร์ประยุกต์ว่า การวิจัยและพัฒนา (research & development) มีนักวิทยาศาสตร์ดังนี้ 1.ทอมัส อัลวา เอดิสัน 2.ไมเคิล ฟาราเดย์ 3.หลุยส์ ปาสเตอร์ 4.พี่น้องตระกูลไรต์ 5.กาลิเลโอ กาลิเลอี.

ใหม่!!: วิทยาการสารสนเทศและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ · ดูเพิ่มเติม »

สารสนเทศ

รสนเทศ (information) เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการ และการเข้าประเภทข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมาย ปัจจุบันผู้คนพูดเกี่ยวกับยุคสารสนเทศว่าเป็นยุคที่นำไปสู่ยุคแห่งองค์ปัญญา นำไปสู่สังคมอุดมปัญญา หรือสังคมแห่งสารสนเทศ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่าเมื่อพูดถึงสารสนเทศ เป็นคำที่เกี่ยวข้องในศาสตร์สองสาขา คือ วิทยาการสารสนเทศ และ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งคำว่า "สารสนเทศ" ก็ถูกใช้บ่อยในความหมายที่หลากหลายและกว้างขวางออกไป และมีการนำไปใช้ในส่วนของ เทคโนโลยีสารสนเทศ และ การประมวลผลสารสนเทศ สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ สารสนเทศ จึงหมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้ สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เช่น อาจจะมีการกำหนดให้ผู้ใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้ ข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุม กำหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือการกระทำกับข้อมูลว่าจะกระทำได้โดยใครบ้าง นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยไม่ได้ตั้งใจ การจัดเก็บข้อมูลที่ดี จะต้องมีการกำหนดรูปแบบของข้อมูลให้มีลักษณะง่ายต่อการจัดเก็บ และมีรูปแบบเดียวกันอย่างมีระบบ ข้อมูลแต่ละชุดควรมีความหมายและมีความเป็นอิสระในตัวเอง นอกจากนี้ไม่ควรมีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนเพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่เก็บข้อมูล.

ใหม่!!: วิทยาการสารสนเทศและสารสนเทศ · ดูเพิ่มเติม »

สารสนเทศการลงทุน

รสนเทศการลงทุน (Investment Informatics) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าทฤษฎีการคำนวณสำหรับคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีการประมวลผลสารสนเทศ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการลงทุน เช่น ตลาดหลักทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ และกองทุนรวม.

ใหม่!!: วิทยาการสารสนเทศและสารสนเทศการลงทุน · ดูเพิ่มเติม »

สารสนเทศการแพทย์

รสนเทศการแพทย์ (Medical Informatics) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าทฤษฎีการคำนวณสำหรับคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และ เครือข่าย ซึ่งวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยหลายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับนามธรรม หรือความคิดเชิงทฤษฎี เช่น การวิเคราะห์และสังเคราะห์ขั้นตอนวิธี ไปจนถึงระดับรูปธรรม เช่น ทฤษฎีภาษาโปรแกรม ทฤษฎีการพัฒนาซอฟต์แวร์ ทฤษฎีฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และ ทฤษฎีเครือข่าย รวมทั้งการศึกษาศาสตร์ทางด้านการแพทย์ด้ว.

ใหม่!!: วิทยาการสารสนเทศและสารสนเทศการแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

สารสนเทศศาสตร์สังคม

รสนเทศศาสตร์สังคม (Social informatics) เป็นการศึกษาเครื่องมือการสื่อสารและสารสนเทศในบริบทวัฒนธรรมและสถาบัน หรือการศึกษาแบบสหวิทยาการของการออกแบบ การใช้ และผลที่ตามมาจากเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งคำนึงถึงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีเหล่านั้นกับบริบททางสถาบันและทางวัฒนธรม ด้วยความเป็นสหวิทยาการของมัน สารสนเทศศาสตร์สังคมเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเชิงเศรษฐกิจสังคม ที่พิเคราะห์วิถีที่สิ่งประดิษฐ์ทางเทคโนโลยีและบริบททางสังคมของมนุษย์นั้นได้ร่วมกันสถาปนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งมวลขึ้นม.

ใหม่!!: วิทยาการสารสนเทศและสารสนเทศศาสตร์สังคม · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีสารสนเทศ

ทฤษฎีสารสนเทศ (information theory) เป็นสาขาหนึ่งใน ทฤษฎีความน่าจะเป็น และคณิตศาสตร์เชิงสถิติ ขอบข่ายเนื้อหาของทฤษฎีนี้จะเกี่ยวข้องกับสารสนเทศ, เอนโทรปีของสารสนเทศ, ระบบการสื่อสาร, การส่งข้อมูล, ทฤษฎีอัตราการบิดเบือน, วิทยาการเข้ารหัสลับ, สัดส่วนสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน, การบีบอัดข้อมูล, การแก้ความผิดพลาด และหัวข้ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง คำแปลที่ตามราชบัณฑิต คือ "ทฤษฎีสารสนเทศ" นี้ มาจากคำว่า "information theory" ซึ่งคำว่า information เป็นคำเดียวกันกับที่หมายถึง สารสนเทศ แต่เนื่องจากความหมายของ information theory นั้นจะเกี่ยวเนื่องกับ เนื้อความในแง่ของสัญญาณ จึงอาจจะใช้คำว่า ทฤษฎีข้อมูล แทนความหมายของสารสนเทศ ที่เป็นในแง่ของเนื้อหาข่าวสาร และ สื่อตัวกลาง หรือสื่อบันทึกในบางกรณี ตัวอย่างของการนำทฤษฎีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ ได้แก่ ZIP Files, เครื่องเล่นเอ็มพีสาม, อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงดีเอสแอล, อุปกรณ์สื่อสารไร้สาย อาทิ โทรศัพท์มือถือ วิทยุสื่อสาร, เครื่องเล่นซีดี และการศึกษาเกี่ยวกับหลุมดำ เป็นต้น.

ใหม่!!: วิทยาการสารสนเทศและทฤษฎีสารสนเทศ · ดูเพิ่มเติม »

คาเรน สปาร์ค โจนส์

รน สปาร์ค โจนส์ คาเรน สปาร์ค โจนส์ (Karen Spärck Jones FBA) (26 สิงหาคม พ.ศ. 2478 – 4 เมษายน พ.ศ. 2550) เป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชาวอังกฤษ เธอเป็นผู้บุกเบิกสาขาสารสนเทศศาสตร์ คาเรน สปาร์ค โจนส์ เกิดในเมืองฮัดเดอร์สฟิลด์ ยอร์กเชียร์ อังกฤษ พ่อของเธอคือ Owen Jones อาจารย์เคมี และแม่ของเธอคือ Ida Spärck ชาวนอร์เวย์ซึ่งย้ายมาอยู่สหราชอาณาจักรในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง.

ใหม่!!: วิทยาการสารสนเทศและคาเรน สปาร์ค โจนส์ · ดูเพิ่มเติม »

เวชสารสนเทศ

วชสารสนเทศ (อังกฤษ: medical informatics) เป็นการประยุกต์สารนิเทศศาสตร์ เวชศาสตร์ และสาธารณ.

ใหม่!!: วิทยาการสารสนเทศและเวชสารสนเทศ · ดูเพิ่มเติม »

เทคโนโลยีสารสนเทศ

ทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (information technology: IT) คือการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่อจัดเก็บ ค้นหา ส่งผ่าน และจัดดำเนินการข้อมูล ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับธุรกิจหนึ่งหรือองค์การอื่น ๆ ศัพท์นี้โดยปกติก็ใช้แทนความหมายของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และยังรวมไปถึงเทคโนโลยีการกระจายสารสนเทศอย่างอื่นด้วย เช่นโทรทัศน์และโทรศัพท์ อุตสาหกรรมหลายอย่างเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างเช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ อินเทอร์เน็ต อุปกรณ์โทรคมนาคม การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และบริการทางคอมพิวเตอร.

ใหม่!!: วิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

InformaticsInformation ScienceInformation sciencesวิทยาศาสตร์สารสนเทศสารสนเทศศาสตร์สารนิเทศศาสตร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »