สารบัญ
9 ความสัมพันธ์: กราฟระบุทิศทางการค้นหาแบบจำกัดความลึกวัฎจักรฮามิลตันส่วนประกอบที่เชื่อมกันแบบเข้มอภิธานศัพท์ทฤษฎีกราฟทฤษฎีบทห้าสีความต่อเนื่อง (ทฤษฎีกราฟ)ต้นไม้ (ทฤษฎีกราฟ)ปัญหาวิถีสั้นสุด
กราฟระบุทิศทาง
กราฟระบุทิศทาง ในทฤษฎีกราฟ กราฟระบุทิศทาง หรือ ไดกราฟ คือกราฟซึ่งเส้นเชื่อมมีทิศ กล่าวคือกราฟ G.
ดู วิถี (ทฤษฎีกราฟ)และกราฟระบุทิศทาง
การค้นหาแบบจำกัดความลึก
การค้นแบบจำกัดความลึก หรือ การค้นหาแบบจำกัดความลึก (depth limited search) เป็นขั้นตอนวิธีทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการหาปมบนกราฟซึ่งได้ปรับปรุงจากการค้นหาเชิงลึก (depth first search) เพื่อใช้ในงานค้นหากราฟ ที่ต้องการประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยขั้นตอนวิธีนี้ เป็นพื้นฐานของ Iterative deepening depth-first search ซึ่งเป็นขั้นตอนวิธีสำหรับการค้นหาสถานะ (state space search) ที่อาศัยการค้นหาเชิงลึกจำกัดแบบวนเพิ่มความลึกไปเรื่อยๆ เพื่อหาคำตอบที่ดีที.
ดู วิถี (ทฤษฎีกราฟ)และการค้นหาแบบจำกัดความลึก
วัฎจักรฮามิลตัน
A Hamiltonian cycle in a dodecahedron. Like all platonic solids, the dodecahedron is Hamiltonian. The Herschel graph is the smallest possible polyhedral graph that does not have a Hamiltonian cycle. ในการศึกษาทางด้านคณิตศาสตร์ของทฤษฎีกราฟ วัฏจักรฮามิลตันเป็นวิถีในกราฟมีทิศทางหรือกราฟไม่มีทิศทางที่ผ่านจุดยอดทุกจุดเพียงหนึ่งครั้ง วัฏจักรฮามิลตันเป็นวิถีฮามิลตันที่เป็นวัฏจักรนั่นเอง การพิจารณาว่ากราฟใดกราฟหนึ่งมีวัฎจักรฮามิลตันหรือไม่นั้นเป็นการแก้ไขปัญหาวิถีฮามิลตันซึ่งเป็นปัญหาเอ็นพีบริบูรณ์ วิถีฮามิลตันและวัฏจักรฮามิลตันได้รับการตั้งชื่อตามวิเลียม โรแวน ฮามิลตันผู้คิดค้นเกมไอโคเซียนซึ่งมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าปริศนาของฮามิลตัน ทั้งนี้เป็นปริศนาที่เกี่ยวข้องกับการหาวัฏจักรฮามิลตันในทุกๆด้านของรูปทรงสิบสองหน้า ฮามิลตันแก้ไขปัญหานี้โดยใช้แคลคูลัสไอโคเซียนซึ่งเป็นโครงสร้างทางพีชคิตที่มีพื้นฐานมาจากรากของหนึ่ง ผลเฉลยของปัญหานี้ไม่สามารถนำมาใช้กับกรณีทั่วไปอื่นๆได้ ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าชื่อกล่าวนี้มีชื่อของฮามิลตันเขามาเกี่ยวข้องแต่วัฏจักรฮามิลตันนี้ได้รับการศึกษามาก่อนหน้านี้จากโทมัส เคิร์กแมน.
ดู วิถี (ทฤษฎีกราฟ)และวัฎจักรฮามิลตัน
ส่วนประกอบที่เชื่อมกันแบบเข้ม
กราฟแสดงส่วนประกอบที่เชื่อมกันแบบเข้ม โดยในกราฟมีทั้งหมด 3 ส่วน ส่วนประกอบที่เชื่อมกันแบบเข้ม (Strongly Connected Component: SCC) คือ กราฟที่เชื่อมกันแบบเข้ม (Strongly Connected Graph) ซึ่งเป็นกราฟย่อยที่ใหญ่ที่สุดในกราฟใหญ่ หรือ กราฟย่อยใหญ่ที่สุดที่เป็นการเชื่อมกันแบบเข้ม.
ดู วิถี (ทฤษฎีกราฟ)และส่วนประกอบที่เชื่อมกันแบบเข้ม
อภิธานศัพท์ทฤษฎีกราฟ
ทฤษฎีกราฟเติบโตอย่างรวดเร็วในวงการวิจัยด้านคณิตศาสตร์ และมีคำศัพท์เฉพาะทางอยู่หลายคำ บทความนี้จะรวบรวมคำและความหมายของศัพท์ในทฤษฎีกราฟ.
ดู วิถี (ทฤษฎีกราฟ)และอภิธานศัพท์ทฤษฎีกราฟ
ทฤษฎีบทห้าสี
ทฤษฎีบทห้าสี (five color theorem) ในทางทฤษฎีกราฟ กล่าวว่า แผนที่สามารถระบายสีได้ด้วยสีไม่เกินห้าสี ที่จริงแล้วมันเป็นจริงโดยอัตโนมัติตามทฤษฎีบทสี่สีอยู่แล้ว แต่ทฤษฎีบทนี้มีความน่าสนใจตรงที่มันสามารถพิสูจน์ได้ง่ายกว่ามาก.
ดู วิถี (ทฤษฎีกราฟ)และทฤษฎีบทห้าสี
ความต่อเนื่อง (ทฤษฎีกราฟ)
ในคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ เรื่องทฤษฎีกราฟ ความต่อเนื่อง หรือ ความเชื่อมโยง (Connectivity) เป็นคุณสมบัติหนึ่งของกราฟ โดยกราฟต่อเนื่อง หรือ กราฟเชื่อมโยง (Connected graph) หมายความว่ากราฟไม่ขาดจากกัน กล่าวคือ สำหรับทุกๆสองจุดยอดใดๆ จะสามารถไปถึงกันได้ หรือก็คือมีวิถีระหว่างจุดยอดทั้งสอง ในขณะที่กราฟไม่ต่อเนื่อง หรือ กราฟไม่เชื่อมโยง (Unconnected graph) หมายความว่ากราฟนั้นขาดออกจากกัน กล่าวคือมีอย่างน้อยสองจุดยอด ที่ไม่สามารถไปถึงกันได้ หรือก็คือไม่มีวิถีระหว่างจุดยอดทั้งสองจุดนั้น ความต่อเนื่องของกราฟ ยังสามารถมองได้ในอีกแง่มุมหนึ่ง คือจำนวนของจุดยอดหรือเส้นเชื่อมที่น้อยที่สุด ที่ถ้าลบจุดยอดหรือเส้นเชื่อมเหล่านั้นทิ้งแล้ว กราฟดังกล่าวจะกลายเป็นกราฟไม่ต่อเนื่องDiestel, R.,, 2005, p 12.
ดู วิถี (ทฤษฎีกราฟ)และความต่อเนื่อง (ทฤษฎีกราฟ)
ต้นไม้ (ทฤษฎีกราฟ)
กราฟที่เป็นต้นไม้ ต้นไม้ คือ กราฟที่สองจุดยอดใดๆจะมีวิถีเดินทางถึงกันได้เพียงวิถีเดียว หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เป็นกราฟที่ไม่มีวัฏจักรแต่เป็นกราฟที่เชื่อมต่อกันหมด สำหรับกราฟที่ไม่เชื่อมต่อกันหมดเราเรียกว่า ป่า (forest).
ดู วิถี (ทฤษฎีกราฟ)และต้นไม้ (ทฤษฎีกราฟ)
ปัญหาวิถีสั้นสุด
วิถีสั้นสุดบนกราฟไม่ระบุทิศทางที่ไม่ถ่วงน้ำหนักระหว่างจุดยอด 6 กับ 1 คือ (6, 4, 5, 1) ในทฤษฎีกราฟ ปัญหาวิถีสั้นสุด (shortest path problem) เป็นปัญหาที่ต้องการหาวิถีสั้นสุดระหว่างจุดยอด 2 จุดภายในกราฟ กล่าวคือในวิถีสั้นสุดนั้น ผลรวมของน้ำหนักในเส้นเชื่อมแต่ละเส้นรวมกันแล้วน้อยที่สุดในบรรดาวิถีทั้งหมด ตัวอย่างปัญหานี้เช่นการหาวิธีเดินทางจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งในแผนที่ ในกรณีนี้ จุดยอดแทนด้วยสถานที่ต่างๆ ส่วนเส้นเชื่อมแทนด้วยถนนหรือเส้นทาง และน้ำหนักบนเส้นเชื่อมแทนด้วยเวลาในการเดินทางด้วยถนนหรือเส้นทางนั้น.