สารบัญ
76 ความสัมพันธ์: ATC รหัส AATC รหัส V06ชาขาวชีวสังเคราะห์บีตรูตพืชดัดแปรพันธุกรรมกรดแพนโทเทนิกกรดโฟลิกกล้วยหอมการย่อยอาหารการวิเคราะห์อาหารการหมักดองการหมักเชิงอุตสาหกรรมกิมจิกุ้งเรดบีมอลต์มาริโอ (ตัวละคร)ยาระบายอย่างอ่อนรายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์รางวัลโนเบลสาขาเคมีวะกะเมะวิถีเมแทบอลิซึมวิตามินบี12วิตามินเคสารประกอบอินทรีย์สาหร่ายวุ้นหอยนางรมหน่วยสากลอะโบมาซัมอันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้องอาการล้าเรื้อรังอาหารอาหารขยะอาหารปลาสวยงามอาหารแมวอาหารเสริมผลิตภัณฑ์ประมงจุดภาพชัดเสื่อมทาลัสซีเมียทุพภิกขภัยข้าวกล้องคริสตียาน ไอก์มันคลอโร(ไพริดีน)โคบาโลซิมความอดอยากคะน้าเม็กซิโกคาร์นิทีนคาสิมีร์ ฟังค์ตับปลา... ขยายดัชนี (26 มากกว่า) »
ATC รหัส A
กลุ่ม ATC รหัส A ทางเดินอาหารและเมแทบอลิซึม (Alimentary tract and metabolism) ของระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์ (Anatomical Therapeutic Chemical Classification System).
ATC รหัส V06
วนของ ระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์ (Anatomical Therapeutic Chemical Classification System) V อื่นๆ (Various).
ชาขาว
อดชาขาว ชาขาว เป็นชาชนิดหนึ่ง ผลิตจากตูมและยอดอ่อนของต้นชา แหล่งเพาะปลูกชาขาวที่มีชื่อเสียงอยู่ที่มณฑลฝูเจี้ยน ทางตอนใต้ของประเทศจีน กรรมวิธีผลิตชาขาวเริ่มจากการเลือกเก็บยอดอ่อนชาในช่วงฤดูใบไม้ผลิ จากนั้นนำยอดชาที่เก็บได้มาผ่านกระบวนการทำแห้งในระยะเวลาที่รวดเร็ว ด้วยวิธีธรรมชาติโดยอาศัย ลม แสงแดด หรือความร้อนซึ่งจะแตกต่างจากกรรมวิธีผลิตชาประเภทอื่น ๆ (ชาเขียว ชาดำ ชาแดง ชาอู่หลง) ที่ผ่านกระบวนการทำแห้งด้วยความร้อนหรือไอน้ำและผ่านกระบวนการหมักสำหรับชาบางประเภท ทำให้ปริมาณสารต่อต้านอนุมูลอิสระและคุณค่าทางโภชนาการของชาขาวยังคงไว้ได้มาก รวมทั้งกลิ่นและรสชาติของชาขาวที่ยังคงความสดชื่นและนุ่มนวล ชาขาวจึงเป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพสูง.
ชีวสังเคราะห์
ีวสังเคราะห์ (Biosynthesis) เป็นการผลิตสารประกอบเคมีจากรีเอเจนต์ (reagent) ชีวสังเคราะห์ ไม่เหมือนการสังเคราะห์ทางเคมี (chemical synthesis) เพราะเกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตและถูกเร่งปฏิกิริยาโดยเอ็นไซม์ และมันเป็นส่วนสำคัญของเมแทบอลิซึม.
บีตรูต
ีตรูต หรือชื่ออื่นเช่น ผักกาดฝรั่ง ผักกาดแดง เป็นหัวพืชหรือรากที่สะสมอาหารที่อยู่ใต้ดิน เป็นพืชเมืองหนาวและเป็นผักเพื่อสุขภาพ มีวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระหลายชน.
พืชดัดแปรพันธุกรรม
ืชดัดแปรพันธุกรรม คือพืชที่ผ่านกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม เพื่อให้มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะที่จำเพาะเจาะจงตามต้องการ เช่น มีความต้านทานต่อแมลงศัตรูพืช คงทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมหรือมีการเพิ่มขึ้นของจำนวนสารโภชนาการหรือชีวโมเลกุลบางชนิด เช่น วิตามิน โปรตีน ไขมัน เป็นต้น พืชดัดแปรพันธุกรรมถือเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอ (GMOs – Genetically Modified Organisms) ประเภทหนึ่ง เช่น สตอเบอรี่ เมื่อนำสตอเบอรี่มาตัดต่อพันธุกรรมแล้ว จะส่งผลให้สตอเบอรี่ มีผลดังนี้ 1.
ดู วิตามินและพืชดัดแปรพันธุกรรม
กรดแพนโทเทนิก
กรดแพนโทเทนิก (pantothenic acid) หรือ วิตามินบี5 (vitamin B5) เป็นวิตามินชนิดที่ละลายในน้ำได้ ในการสร้างความเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยสร้างเซลล์ใหม่และช่วยบำรุงระบบประสาท ร่างกายมนุษย์ต้องการวิตามินบี5 อย่างน้อย 200 มิลลิกรัม.
กรดโฟลิก
ฟเลต หรืออีกรูปแบบหนึ่งที่รู้จักคือ กรดโฟลิก และ วิตามินบี9 (folate, folic acid, vitamin B9) เป็นวิตามินบีชนิดหนึ่ง มีปริมาณที่แนะนำต่อวันอยู่ที่ 400 ไมโครกรัม และมักใช้เป็นอาหารเสริมในช่วงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (NTDs) ในทารก (ซึ่งรวมการไม่มีสมองใหญ่ สมองโป่ง กระดูกสันหลังโหว่) --> และยังใช้รักษาภาวะเลือดจางจากการขาดกรดโฟลิก กว่า 50 ประเทศเสริมกรดโฟลิกในอาหารเพื่อเป็นมาตรการลดอัตรา NTDs ในประชากร การเสริมกรดโฟลิกในอาหารเป็นประจำสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจเล็กน้อย เป็นวิตามินที่สามารถใช้ทานหรือฉีดก็ได้ ยาไม่มีผลข้างเคียงที่สามัญ ยังไม่ชัดเจนว่าการทานในขนาดสูงเป็นระยะเวลายาวนานมีปัญหาหรือไม่ แต่การใช้ขนาดสูงสามารถอำพรางการขาดวิตามินบี12ได้ --> โฟเลตเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เพื่อผลิต DNA RNA และกระบวนการสร้างและย่อยสลายกรดอะมิโนซึ่งจำเป็นต่อการแบ่งเซลล์ เนื่องจากมนุษย์ไม่สามารถสร้างกรดโฟลิก ดังนั้นจำต้องได้จากอาหาร การไม่ได้โฟเลตเพียงพอก็จะทำให้เกิดภาวะขาดโฟเลต --> ซึ่งอาจมีผลเป็นภาวะเลือดจางที่มีเม็ดเลือดขนาดใหญ่ (megaloblastic) เป็นจำนวนน้อย --> อาการอาจรวมความล้า หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่ทัน แผลบนลิ้นไม่หาย สีผิวหรือผมเปลี่ยน --> การขาดในช่วงตั้งครรภ์เบื้องต้นเชื่อว่าเป็นเหตุของภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (NTDs) ในทารกเกินครึ่ง การขาดในเด็กอาจเกิดภายในเดือนเดียวที่ทานอาหารไม่ดี ในผู้ใหญ่ระดับโฟเลตทั้งหมดในร่างกายอยู่ที่ระหว่าง 10,000-30,000 ไมโครกรัม (µg) โดยมีระดับในเลือดเกิน 7 nmol/L (3 ng/mL) กรดนี้ค้นพบในระหว่างปี..
กล้วยหอม
กล้วยหอม เป็นไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ เช่น กล้วยหอมจันท์ กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว โดยกล้วยหอมเขียวหรือกล้วยหอมคาเวนดิชเป็นกล้วยหอมที่นิยมปลูกกันโดยทั่วไป จัดเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารครบถ้วนตามหลักทางโภชนาการ เช่น มีวิตามิน ใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย มีสารแทนนิน ซึ่งช่วยยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ Escherichia coli เป็นต้น กล้วยหอมถูกจัดเป็นผลไม้เมืองร้อน สามารถปลูกได้เกือบทุกประเทศที่มีภูมิอากาศร้อนชื้นหลายแห่ง สำหรับประเทศไทย สามารถปลูกกล้วยหอมได้ทั่วทุก.
การย่อยอาหาร
การย่อยอาหาร (digestion) เป็นการสลายโมเลกุลอาหารที่ไม่ละลายน้ำขนาดใหญ่เป็นโมเลกุลอาหารละลายน้ำขนาดเล็กเพื่อให้สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่น้ำเลือดได้ ในสิ่งมีชีวิตบางชนิด สสารขนาดเล็กกว่าเหล่านี้ถูกดูดซึมผ่านลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือด การย่อยอาหารเป็นแคแทบอลิซึมรูปแบบหนึ่งซึ่งแบ่งวิธีการสลายอาหารออกได้เป็นสองวิธี คือ การย่อยอาหารเชิงกลและการย่อยอาหารเชิงเคมี คำว่า การย่อยอาหารเชิงกล หมายถึง การสลายเชิงกายภาพของชิ้นอาหารขนาดใหญ่เป็นชิ้นเล็ก ๆ ซึ่งทำให้เอ็นไซม์ย่อยอาหารเข้าถึงได้ต่อไป ในการย่อยอาหารเชิงเคมี เอ็นไซม์จะสลายอาหารเป็นโมเลกุลขนาดเล็กซึ่งร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ ในระบบย่อยอาหารของมนุษย์ อาหารเข้าสู่ปากและการย่อยอาหารเชิงกลเริ่มต้นด้วยการเคี้ยว ซึ่งเป็นการย่อยอาหารเชิงกลรูปแบบหนึ่ง และการสัมผัสทำให้เปียกของน้ำลาย น้ำลายซึ่งเป็นของเหลวที่หลั่งจากต่อมน้ำลาย มีเอ็นไซม์อะไมเลสของน้ำลาย ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่เริ่มการย่อยแป้งในอาหาร น้ำลายยังมีเมือกที่หล่อลื่นอาหาร และไฮโดรเจนคาร์บอเนตซึ่งทำให้ภาวะ pH เหมาะสม (ด่าง) สำหรับการทำงานของอะไมเลส หลังการเคี้ยวและการย่อยแป้งดำเนินไป อาหารจะอยู่ในรูปของก้อนแขวนลอยขนาดเล็กทรงกลม เรียก โบลัส (bolus) จากนั้นจะเคลื่อนลงตามหลอดอาหารเข้าสู่กระเพาะอาหารด้วยการทำงานของการบีบรูด (peristalsis) น้ำย่อยกระเพาะอาหารในกระเพาะอาหารเริ่มการย่อยโปรตีน น้ำย่อยกระเพาะอาหารประกอบด้วยกรดไฮโดรคลอริกและเพพซินเป็นหลัก เนื่องจากสารเคมีสองตัวนี้อาจสร้างความเสียหายต่อผนังกระเพาะอาหารได้ กระเพาะอาหารจึงมีการหลั่งเมือก ทำให้เกิดชั้นซึ่งทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันฤทธิ์กัดกร่อนของสารเคมีทั้งสอง ขณะเดียวกับที่เกิดการย่อยโปรตีน เกิดการคลุกเคล้าเชิงกลโดยการบีบรูด ซึ่งเป็นระลอกการบีบตัวของกล้ามเนื้อที่เคลื่อนตามผนังกระเพาะอาหาร ทำให้ก้อนอาหารคลุกเคล้ากับเอ็นไซม์ย่อยเพิ่ม หลังเวลาผ่านไประยะหนึ่ง ของเหลวหนาที่เกิดขึ้นเรียก ไคม์ (chyme) เมื่อลิ้นหูรูดกระเพาะส่วนปลายเปิด ไคม์เข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) ซึ่งมีการคลุกเคล้ากับเอ็นไซม์ย่อยจากตับอ่อนและน้ำดีจากตับ และผ่านสู่ลำไส้เล็ก ซึ่งการย่อยอาหารเกิดขึ้นต่อ เมื่อไคม์ถูกย่อยอย่างสมบูรณ์แล้ว จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด การดูดซึมสารอาหาร 95% เกิดในลำไส้เล็ก น้ำและแร่ธาตุถูกดูดซึมกลับเข้าสู่เลือดในลำไส้ใหญ่ ซึ่งมี pH เป็นกรดเล็กน้อยประมาณ 5.6 ~ 6.9 วิตามินบางตัว เช่น ไบโอตินและวิตามินเค ซึ่งผลิตจากแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ก็ถูกดูดซึมเข้าสู่เลือดในลำไส้ใหญ่เช่นกัน ส่วนของเสียถูกำจัดออกจากไส้ตรงระหว่างการถ่ายอุจจาร.
การวิเคราะห์อาหาร
การวิเคราะห์อาหาร คือ การวิเคราะห์หรือทดสอบ องค์ประกอบของอาหารเพื่อดูคุณค่าทางโภชนาการ เช่น ปริมาณโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเตรต (แป้งและน้ำตาล) พลังงาน เกลือแร่ แร่ธาตุ วิตามิน รวมทั้ง การปนเปื้อนจากสารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลง สารปฏิชีวนะ และจากจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโร.
ดู วิตามินและการวิเคราะห์อาหาร
การหมักดอง
การหมักดอง หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารพวกคาร์โบไฮเดรทในอาหารให้กลายเป็นสารประกอบอื่น เช่น แอลกอฮอล์ คาร์บอนไดออกไซด์ กรดน้ำส้ม กรดแล็กติก โดยมีจุลินทรีย์เป็นตัวการทำให้เกิดปฏิกิร.
การหมักเชิงอุตสาหกรรม
การหมักเชิงอุตสาหกรรม (Industrial fermentation) เป็นการหมักจุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรียและเห็ดรา ที่ทำโดยตั้งใจเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ ที่สามารถใช้เป็นอาหารหรือเพื่อประโยชน์อื่น ๆ ในอุตสาหกรรม สารเคมีที่มีขายทั่วไปบางอย่าง เช่น กรดน้ำส้ม กรดซิตริก และเอทานอล ล้วนผลิตโดยวิธีการหมัก ความช้าเร็วของกระบวนการหมักขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของจุลินทรีย์ เซลล์ องค์ประกอบของเซลล์ เอนไซม์ รวมทั้งอุณหภูมิและค่ากรด และสำหรับการหมักบางชนิด ออกซิเจน กระบวนการสกัดผลิตภัณฑ์ออกมา บ่อยครั้งต้องเพิ่มความเข้มข้นของสารละลายที่เจือจางนั้น เอนไซม์ที่ผลิตขายทั้งหมด เช่น lipase, invertase, และ rennet จะทำโดยการหมักที่ใช้จุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรม ในบางกรณี มวลชีวภาพของจุลินทรีย์นั่นแหละเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ยีสต์ขนมอบ (Saccharomyces cerevisiae) และแบคทีเรียที่เปลี่ยนแล็กโทสเป็นกรดแล็กติกที่ใช้ในการผลิตชีส โดยทั่วไปแล้ว สามารถแบ่งการหมักได้ออกเป็น 4 จำพวก คือ.
ดู วิตามินและการหมักเชิงอุตสาหกรรม
กิมจิ
กิมจิผักกาดขาว กิมจิ (คิมชี) มีข้อสันนิษฐานกันว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า "ชิมเช" ที่แปลว่าผักดองเค็ม กิมจิเป็นอาหารเกาหลีประเภทผักดองที่อาศัยภูมิปัญญาก้นครัวของชาวเกาหลี ด้วยการหมักพริกสีแดงและผักต่างๆ โดยทั่วไปจะเป็นผักกาดขาว ชาวเกาหลีนิยมรับประทานกิมจิเกือบทุกมื้อ และยังนำไปปรุงเป็นส่วนประกอบอาหารอีกหลายอย่าง เช่น ข้าวต้ม ข้าวสวย ซุป ข้าวผัด สตู บะหมี่ จนถึงพิซซาและเบอร์เกอร์ ปัจจุบันกิมจิมีมากกว่า 187 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีรสเผ็ด เปรี้ยว และมีกลิ่นฉุน แม้ปัจจุบันมีบริษัทอาหารผลิตกิมจิสำเร็จรูปหรือแบบสดขายตามห้างสรรพสินค้าก็ตาม แต่ชาวเกาหลีก็ยังนิยมทำกิมจิกินเองที่บ้าน ใส่เกลือ พริก.
กุ้งเรดบี
กุ้งเรดบี (Redbee shrimp) เป็นครัสเตเชียนในกลุ่มกุ้ง จัดอยู่ในสกุล Caridina เป็นกุ้งแคระในตระกูลกุ้งบี เป็นสัตว์น้ำจืด (ไม่มีในแหล่งน้ำธรรมชาติถูกพัฒนาสายพันธุ์โดยมนุษย์) หายใจด้วยเหงือก ลำตัวยาว เปลือกแบ่งเป็นปล้อง ๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงหางนั้นมี 8 ปล้อง กรีมีลักษณะแหลมชี้ไปข้างหน้า ก้ามและขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี 10 ขา สามารถแบ่งขากุ้งเรดบีออกเป็น 2 ส่วน คือ ขาที่ใช้ในการเดินจะมีทั้งหมด 5 คู่ แต่ขาคู่แรกนั้นเป็นก้ามที่ใช้ในการหยิบจับอาหารและ ส่วนของครีบว่ายน้ำ จะมีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ ซึ่งจะค่อยโบกเอาน้ำที่มีออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายเพื่อหายใจและเพื่อประโยชน์ในการพัดอ๊อกซิเจนไปใช้ในการฟักไข่ที่อยู่ใต้ท้อง รวมทั้งที่ใต้ครีบว่ายน้ำนั้นยังใช้เป็นที่อุ้มไข่ที่ถูกรับการปฏิสนธิแล้วเพื่อรอเวลาในการฟักเป็นลูกกุ้งตัวน้อยส่วนเหงือกของกุ้งเรดบีนั้นลักษณะคล้ายขนนกอยู่ใกล้บริเวณปากเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการระบบหายใจกล่าวคือเป็นทางผ่านของน้ำเพื่อให้น้ำไหลผ่านเข้าช่องเหงือก อุปนิสัยโดยปกติกุ้งเรดบีชอบหลบซ่อนตัวอยู่อย่างเงียบ ๆ ตามพื้นน้ำหรือซอกหลืบในมุมมืด ๆ มักจะออกหากินในเวลากลางคืน ส่วนในธรรมชาตินั้น กุ้งเรดบี (กุ้งบี) กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร เช่น ซากพืช ซากสัตว์ ลูกปลาขนาดเล็กที่พึ่งเกิดอ่อนแอ ไส้เดือนน้ำและกุ้งด้วยกันเอง รวมไปถึงสัตว์หน้าดินขนาดเล็กชนิดอื่น ๆ และซากสัตว์ที่เน่าเปื่อ.
มอลต์
ร์เลย์มอลต์ โดยจะเห็นหน่อสีขาว มอลต์ (malt) ได้มาจากข้าวบาเลย์ ซึ่งเป็นธัญพืชที่นิยมปลูกในประเทศ ที่มีภูมิภาคเย็น จะมีการปลูกกันมาก ในประเทศทางทวีปยุโรป เช่น เยอรมนี ออสเตรีย อังกฤษ เดนมาร์ก และออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยมีการนำ สายพันธุ์ ข้าวบาร์เลย์เข้ามาปลูกในแถบ ภาคเหนือ ซึ่งมีภูมิอากาศเย็น ข้าวมอลต์ มีรสชาติ สี และกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นที่นิยมของผู้บริโภคและมีคุณค่าทางโภชนาการสูงซึ่งเกิดจากสารอาหารชนิดต่างๆ ที่สร้างสะสมอยู่ในเมล็ดข้าวระหว่างการงอก ข้าวมอลต์สามารถจำหน่ายในรูปข้าวกล้องมอลต์ พร้อมหุงรับประทานหรือนำไปใช้เป็นวัตถุดิบผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ อาทิ เบียร์ วิสกี้ โจ๊กข้าวมอลต์ ผงชงดื่มเพื่อสุขภาพ เครื่องดื่มมอลต์ สกัดเข้มข้น น้ำมอลต์สกัด เป็นต้น.
มาริโอ (ตัวละคร)
มาริโอ เป็นตัวละครจากวิดีโอเกมและการ์ตูนมาริโอ และเป็นสัญลักษณ์ของบริษัทเกมนินเทนโด สร้างโดยนักออกแบบวิดีโอเกมชื่อ ชิเงรุ มิยาโมโตะ หลังจากได้เป็นสัญลักษณ์นำโชคให้กับบริษัทและเป็นตัวเอกของเกมชุดแล้ว มาริโอได้ปรากฏตัวในวิดีโอเกมต่าง ๆ กว่า 200 เกม มาริโอถูกออกแบบให้เป็นช่างประปาชาวอิตาลีร่างอ้วนเตี้ย อาศัยอยู่ในอาณาจักรเห็ด มีภารกิจคือการช่วยชีวิตเจ้าหญิงพีชจากเต่าวายร้ายชื่อบาวเซอร์ มาริโอมีน้องชายชื่อ ลุยจิ นอกจากนี้เขายังปรากฏในวิดีโอเกมแนวอื่น ๆ เช่น แนวรถแข่ง เช่นเกมชุด มาริโอคาร์ต (Mario Kart) เกมแนวกีฬา เช่นเกมชุด มาริโอเทนนิส และ มาริโอกอล์ฟ เกมแนวสวมบทบาทของนินเทนโด เช่นเกมชุด เปเปอร์มาริโอ และ ซูเปอร์มาริโออาร์พีจี และเกมเพื่อการศึกษา เช่น มาริโออิซมิสซิง! และมาริโอสไทม์แมตชีน แฟรนไชส์มาริโอยังได้ต่อยอดไปยังสื่อต่าง ๆ มากมาย เช่น รายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ หนังสือการ์ตูน และสินค้ามีลิขสิทธิ์ต่าง ๆ อีกด้วย ผู้พากย์เสียงเขาคือชาลส์ มาร์ทิเนต พากย์ตั้งแต่ปี..
ยาระบายอย่างอ่อน
ระบาย (Laxative) เป็นตำรับยาที่กำจัดกากอาหาร (defecation) หรืออุจจาระ (feces) ออกจากร่างกาย ยาระบายส่วนใหญ่จะใช้รักษาโรคท้องผูก (constipation) โดยการกระตุ้น หล่อลื่น และสร้างปริมาณอุจจาระ ยาระบายแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้.
รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด
ต่อไปนี้เป็น รายชื่อคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด เรียงลำดับตามตัวอักษรของ คำที่เขียนถูก ตามที่ปรากฏในพจนานุกรมภาษาไทยหรือตามประกาศของหน่วยงานราชการไทย หมายเหตุ: การเขียนสะกดคำในนี้เป็นกรณีทั่วไป แต่ในกรณีเฉพาะ เช่น เป็นวิสามานยนาม อาทิ เป็นชื่อบุคคล ชื่อสถานที่ หรือในทางร้อยกรอง สามารถเขียนสะกดคำแตกต่างได้.
ดู วิตามินและรายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด
รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์
หรียญรางวัลโนเบล รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ (Nobelpriset i fysiologi eller medicin, Nobel Prize in Physiology or Medicine) จัดโดยมูลนิธิโนเบล มีการมอบทุกปีให้แก่การค้นพบที่โดดเด่นในสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิตและแพทยศาสตร์ รางวัลโนเบลสาขาดังกล่าวเป็นหนึ่งในห้าสาขา ริเริ่มในปี..
ดู วิตามินและรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์
รางวัลโนเบลสาขาเคมี
หรียญรางวัลโนเบล รางวัลโนเบลสาขาเคมี (Nobelpriset i kemi, Nobel Prize in Chemistry) เป็นรางวัลมอบโดยราชบัณฑิตยสถานด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดนเป็นประจำทุกปีแก่นักวิทยาศาสตร์ในสาขาต่างๆ ของเคมี รางวัลนี้เป็นหนึ่งในห้ารางวัลโนเบลซึ่งก่อตั้งจากความประสงค์ของอัลเฟรด โนเบลใน..
ดู วิตามินและรางวัลโนเบลสาขาเคมี
วะกะเมะ
หร่ายวะกะเมะ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Undaria pinnatifida เป็นผักทะเลหรือสาหร่ายทะเลกินได้ที่พบในประเทศญี่ปุ่น มีรสหวานละเอียดและมักเสิร์ฟในซุปและสลัด โดยเกษตรกรชาวญี่ปุ่นปลูกสาหรายชนิดนี้มาตั้งแต่ยุคนาร.
วิถีเมแทบอลิซึม
ในทางชีวเคมี วิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) เป็นชุดของปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์ ในแต่ละวิถี สารเคมีหลักจะเกิดปฏิกิริยาเคมีและเปลี่ยนไปเป็นสารอื่น โดยมีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา และมักต้องอาศัยแร่ธาตุ วิตามินและโคแฟกเตอร์อื่น ๆ จึงจะดำเนินไปอย่างเหมาะสม เพราะมีสารเคมีจำนวนมาก ("เมแทบอไลต์") เข้ามาเกี่ยวข้อง วิถีเมแทบอลิซึมจึงอาจค่อนข้างซับซ้อน ยิ่งไปกว่านั้น วิถีซึ่งแตกต่างกันจำนวนมากเกิดร่วมกันในเซลล์ หมู่วิถีนี้เรียกว่า เครือข่ายเมแทบอลิซึม วิถีเมแทบอลิซึมสำคัญต่อการรักษาภาวะธำรงดุล (homeostasis) ในสิ่งมีชีวิต วิถีแคแทบอลิซึมและแอแนบอลิซึมมักทำงานพึ่งพาอาศัยกันเพื่อสร้างโมเลกุลชีวภาพใหม่เป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย วิถีเมแทบอลิซึมเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสารตั้งต้นทีละขั้นเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ผลิตภัณฑ์ที่ได้มานั้นสามารถนำไปใช้ได้สามทาง คือ.
วิตามินบี12
วงแหวง corrin ที่เป็นโครงสร้างประกอบของวิตามิน methylcobalamin (ดังที่แสดง) เป็นรูปแบบของวิตามินบี12 อย่างหนึ่ง แต่ก็ยังคล้ายกับรูปแบบอื่น ๆ ของวิตามิน ปรากฏเป็นผลึกสีแดงซึ่งละลายน้ำเป็นสีแดงเข้ม วิตามินบี12 (12, cobalamin) เป็นวิตามินละลายน้ำได้ที่เป็นกุญแจสำคัญในการทำงานเป็นปกติของสมองกับระบบประสาท และการสร้างเม็ดเลือดแดง เป็นรูปแบบหนึ่งของวิตามินบี 8 อย่าง ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเมแทบอลิซึมในเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายมนุษย์ โดยมีผลเฉพาะต่อการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ เมแทบอลิซึมของกรดไขมันและกรดอะมิโน ไม่มีเห็ดรา พืช หรือสัตว์ (รวมทั้งมนุษย์) ที่สามารถสร้างวิตามินบี12ได้ มีแต่สิ่งมีชีวิตประเภทแบคทีเรียและอาร์เคียที่มีเอนไซม์เพื่อสังเคราะห์มันได้ แหล่งของวิตามินที่ได้พิสูจน์แล้วเป็นผลิตภัณฑ์สัตว์รวมทั้งเนื้อ ปลา ผลิตภัณฑ์นม และอาหารเสริม แต่ก็มีงานวิจัยที่แสดงว่า ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่มาจากสัตว์บางอย่างอาจเป็นแหล่งธรรมชาติของวิตามินได้ เพราะอยู่ร่วมกับแบคทีเรีย (bacterial symbiosis) วิตามินบี12 เป็นวิตามินที่ใหญ่ที่สุด มีโครงสร้างซับซ้อนที่สุด และสามารถสังเคราะห์โดยหมักแบคทีเรีย (bacterial fermentation-synthesis) แล้วใช้เสริมอาหารและเป็นวิตามินเสริม วิตามินบี12 เป็นกลุ่มสารประกอบที่มีโครงสร้างเคมีเกี่ยวข้องกัน (หรือที่เรียกว่า vitamer) ซึ่งมีฤทธิ์ทางชีวภาพ และมีธาตุโคบอลต์ (Co) ที่ไม่สามัญทางเคมี-ชีวภาพ อยู่ตรงกลางวงแหวนเชิงระนาบแบบ tetra-pyrrole ที่เรียกว่าวงแหวน corrin (ดูรูป) ซึ่งสามารถผลิตได้โดยแบคทีเรีย hydroxocobalamin แต่ร่างกายสามารถแปรรูปแบบวิตามินไปในแบบต่าง ๆ ได้ วิตามินค้นพบโดยความสัมพันธ์ของมันกับโรคภาวะเลือดจางเหตุขาดวิตามินบี12 (pernicious anemia) ซึ่งเป็นโรคภูมิต้านตนเอง และมีผลทำลายเซลล์ผนัง (parietal cell) ที่มีหน้าที่หลั่งไกลโคโปรตีน คือ intrinsic factor ในกระเพาะอาหาร เซลล์เหล่านี้ยังมีหน้าที่หลั่งกรดย่อยอาหารในกระเพาะอีกด้วย เพราะว่า intrinsic factor จำเป็นต่อการดูดซึมวิตามินตามปกติ การขาดโปรตีนนี้เพราะโรค จึงทำให้ขาดวิตามินบี12 ยังมีรูปแบบการขาดวิตามินแบบเบากว่าอื่น ๆ ที่ผลติดตามทางชีวเคมีก็ปรากฏชัดแล้ว.
วิตามินเค
วิตามิน K1 (phylloquinone). วิตามิน K2 (menaquinone) วิตามินเค เป็นวิตามินในกลุ่มที่ละลายได้ดีในไขมัน รูปแบบที่พบในธรรมชาติ มี 2 รูปแบบ ได้แก่ วิตามินเค I (Vitamin K I) หรือ ฟิลโลควิโนน (phylloquinone) เป็นรูปแบบที่พบในพืชและสัตว์ และ วิตามินเค II (Vitamin K II) หรือ เมนาควิโนน (menaquinone) เป็นรูปแบบที่พบในเนื้อเยื่อตับ และยังสามารถสร้างได้โดยแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในร่างกาย สำหรับวิตามินเค III (Vitamin K III) หรือ เมนาไดโอน (menadione) นั้น เป็นโมเลกุลที่สังเคราะห์ขึ้น ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็น เมนาควิโนน โดยตั.
สารประกอบอินทรีย์
มีเทนเป็นหนึ่งในสารประกอบอินทรีย์ที่เรียบง่ายที่สุด สารประกอบอินทรีย์ หมายถึง สารประกอบเคมีที่อยู่ในสถานะใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ที่ประกอบด้วยโมเลกุลคาร์บอน ยกเว้นสารประกอบบางชนิดที่ไม่จัดว่าเป็นสารประกอบอินทรีย์แม้ว่าจะมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบก็ตาม ตัวอย่างเช่น สารประกอบคาร์ไบน์, คาร์บอเนต, ออกไซด์ของคาร์บอนและไซยาไนด์ เช่นเดียวกับอัญรูปของคาร์บอน อย่างเช่น เพชรและแกรไฟต์ ซึ่งถูกจัดเป็นสารประกอบอนินทรีย์ ความแตกต่างระหว่างสารประกอบคาร์บอนที่เป็นสารประกอบ "อินทรีย์" และ "อนินทรีย์" นั้น ถึงแม้ว่า "จะมีประโยชน์ในการจัดระเบียบวิชาเคมีอย่างกว้างขวาง...
ดู วิตามินและสารประกอบอินทรีย์
สาหร่ายวุ้น
หร่ายวุ้น อยู่ในกลุ่ม Red algae มีตั้งแต่สีดำแดง,สีแดง,สีน้ำตาล,สีน้ำตาลแดง,สีชมพู,สีม่วงเข้ม,สีม่วงแดง,สีเทา,สีเขียว,สีเหลือง หรือใส เกือบทุกชนิดสามารถรับประทานได้ หรือนำมาสกัดวุ้น จึงรวมเรียกว่า สาหร่ายวุ้น มีชื่อพื้นเมืองว่า สาหร่ายผมนาง (Gracilaria fisheri) และชื่อสามัญว่า สาหร่ายวุ้น.
หอยนางรม
หอยนางรม หอยนางรมกำลังอ้าปากกินแพลงตอนใต้น้ำ หอยนางรม หรือ หอยอีรมบรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.
หน่วยสากล
หน่วยสากล (International unit) เป็นหน่วยวัดการออกฤทธิ์ของสสารซึ่งกำหนดโดยองค์การอนามัยโลก เพื่อวัดค่ามาตรฐานประสิทธิภาพของยาหรือวิตามิน เมื่อยาหรือวิตามินเหล่านั้นเข้าสู่ร่างกายและเกิดการแตกตัวขึ้นภายในร่างกาย ทั้งนี้ยาและวิตามินแต่ละตัวจะมีประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกัน.
อะโบมาซัม
ระบบย่อยอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง – กระเพาะอะโบมาซัมอยู่ล่างสุด อะโบมาซัม หรือ กระเพาะแท้ (abomasum หรือ maw, rennet-bag, reed tripe) เป็นกระเพาะอาหารลำดับที่ 4 และเป็นกระเพาะอาหารที่แท้จริงของสัตว์เคี้ยวเอื้อง ซึ่งสัตว์เคี้ยวเอื้องเป็นสัตว์ที่มีกระเพาะขนาดใหญ่มีความจุของกระเพาะมากเนื่องมาจากอาหารที่กินส่วนใหญ่เป็นพืช อาหารสัตว์หรืออาหารที่มีลักษณะหยาบ เช่น หญ้า ใบไม้ กิ่งไม้เล็ก ๆ รำหยาบ ฟาง เมล็ดธัญพืชทั้งเปลือก เป็นต้น ทำให้กระเพาะอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้องแบ่งออกเป็น 4 ส่วน เรียงตามลำดับดังนี้ รูเมน (rumen) เรติคิวลัม (reticulum) โอมาซัม (omasum) และ อะโบมาซัม (abomasum) คำว่า "อะโบมาซัม" มาจากภาษาละตินใหม่ ถูกนำมาใช้ในภาษาอังกฤษครั้งแรกในปี ค.ศ.
อันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง
ัตว์เคี้ยวเอื้อง (ruminant) เป็นอันดับย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กีบคู่ (Artiodactyla) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ruminantia สัตว์เคี้ยวเอื้องประกอบไปด้วยสัตว์ส่วนใหญ่ในอันดับนี้ ได้แก่ วัว, ควาย, แพะ, แกะ, กวาง และแอนทิโลป ลักษณะร่วมของสัตว์เคี้ยวเอื้อง ก็คือ มี กระเพาะ 4 ห้อง ที่เมื่อกินอาหารไปแล้ว คือ หญ้า คายออกมาเคี้ยวอย่างช้า ๆ อีกครั้งในเวลากลางคืน ก่อนจะถูกนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยกระเพาะของสัตว์เคี้ยวเอื้องจะแบ่งออกเป็น 4 ห้อง คือ Rumen (ผ้าขี้ริ้ว), Reticulum (รังผึ้ง), Omasum (สามสิบกลีบ) และ Abomasum (กระเพาะแท้ หรือกระเพาะจริง).
ดู วิตามินและอันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง
อาการล้าเรื้อรัง
อาการล้าเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome, CFS) คือกลุ่มอาการอิดโรยเรื้อรังที่ยังไม่ทราบสาเหตุ มีความผิดปกติหลากหลายระบบทั่วร่างกาย ทั้งทางกายภาพ (physical) ทางจิตและจิตประสาท (neuropsychological) มีอาการอิดโรย เหนื่อยล้า อ่อนแรง เป็นหลัก อีกทั้งมีอาการไม่เฉพาะเจาะจงอีกมากมายหลายอย่าง จากการศึกษารายงานทางการแพทย์ย้อนหลัง พบว่ามีรายงานโรคที่น่าจะเข้าได้กับกลุ่มอาการที่ปัจจุบันเรียกว่า chronic fatigue syndrome มานานกว่า 3 ศตวรรษแล้ว โดยถูกวินิจฉัยเป็นโรคต่างๆ เช่น.
อาหาร
อาหาร หมายถึงสิ่งที่รับประทานเข้าไป ซึ่งบริโภคเพื่อเสริมโภชนาการให้แก่ร่างกาย อาหารมักมาจากพืชหรือสัตว์ และมีสารอาหารสำคัญ เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน วิตามิน หรือแร่ธาตุ สิ่งมีชีวิตย่อยและดูดซึมสสารที่เป็นอาหารเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปสร้างพลังงาน คงชีวิต และ/หรือ กระตุ้นการเจริญเติบโต ในอดีต มนุษย์ได้มาซึ่งอาหารด้วยสองวิธีการ คือ การล่าสัตว์และเก็บเกี่ยว (hunting and gathering) และเกษตรกรรม ปัจจุบัน พลังงานจากอาหารส่วนใหญ่ที่ประชากรโลกบริโภคนั้นผลิตจากอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทข้ามชาติซึ่งใช้เกษตรประณีต และอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตของระบบให้ได้มากที่สุด สมาคมระหว่างประเทศเพื่อคุ้มครองอาหาร สถาบันทรัพยากรโลก โครงการอาหารโลก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ และสภาข้อมูลอาหารระหว่างประเทศเป็นหน่วยงานเฝ้าสังเกตความปลอดภัยของอาหารและความมั่นคงทางอาหาร องค์การทั้งหลายนี้จัดการกับประเด็นปัญหาอย่างความยั่งยืน ความหลากหลายทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เศรษฐศาสตร์สารอาหาร การเติบโตของประชากร ทรัพยากรน้ำ และการเข้าถึงอาหาร สิทธิในการได้รับอาหารเป็นสิทธิมนุษยชนซึ่งกำหนดขึ้นจากกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) โดยตระหนักถึง "สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพอย่างพอเพียง รวมทั้งอาหารที่เพียงพอ" เช่นเดียวกับ "สิทธิขั้นพื้นฐานที่จะปลอดจากความหิวโหย".
อาหารขยะ
อาหารขยะ (junk food) เป็นคำใช้กับอาหารที่มีแคลอรีจากน้ำตาลหรือไขมันสูง โดยมีโปรตีน วิตามินหรือเกลือแร่ต่ำ การใช้คำนี้ส่อว่า อาหารนั้น ๆ มี "คุณค่าทางโภชนาการ" ต่ำและมีไขมัน น้ำตาล เกลือและแคลอรีมากเกิน แม้ถูกตีตราว่าเป็น "ขยะ" แต่อาหารเหล่านี้ปกติไม่มีผลต่อสุขภาพในทันที และโดยรวมแล้วปลอดภัยเมื่อรวมกับอาหารที่มีสมดุลดี ทว่า ความกังวลเกี่ยวกับผลเสียต่อสุขภาพอันเกิดจาการบริโภคอาหารที่เน้น "อาหารขยะ" อย่างหนักส่งผลให้มีการรณรงค์สร้างความตระหนักทางสาธารณสุข และการจำกัดการโฆษณาและการขายอาหารขยะในหลายประเท.
อาหารปลาสวยงาม
ลักษณะอาหารปลาประเภทต่าง ๆ อาหารปลาสวยงาม เป็นอาหารสำเร็จรูปที่แปรรูปจากวัตถดิบประเภทต่าง ๆ สำหรับการเลี้ยงปลาสวยงาม ซึ่งไม่นับรวมถึงอาหารสด อันได้แก่ ไรทะเล ไรแดง ลูกน้ำ กุ้งฝอย ปลาเหยื่อขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ หรือแมลง อาหารปลา สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ อาหารสำหรับปลากินพืช และอาหารสำหรับปลากินเนื้อ โดยมีสารอาหารประเภทต่าง ๆ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร เหล็ก ไขมัน รวมถึงปริมาณของความชื้น บรรจุในปริมาณที่แตกต่างกัน โดยที่อาหารสำหรับปลากินเนื้อนั้น จะมีโปรตีนผสมอยู่คิดเป็นร้อยละ 25-30 สูงกว่าปลาประเภทกินพืช ในขณะที่ปลากินพืช ในบางยี่ห้ออาจมีส่วนผสมของสาหร่ายสไปรูลีนาเพื่อช่วยในการเร่งสีของปลา และยังแตกต่างกันไปตามประเภทลักษณะการหากินของปลาหรือสัตว์น้ำแต่ละชนิดอีกด้ว.
อาหารแมว
แมวกำลังกินอาหารแมวชนิดเม็ด อาหารแมว คืออาหารที่ผลิตหรือปรุงแต่งขึ้นให้แมวกิน แมวมีความต้องการสารอาหารเฉพาะทาง ในกระบวนการผลิตนั้น สารอาหารบางอย่าง เช่น วิตามินหลายชนิด และกรดอะมิโน ลดคุณภาพได้จากอุณหภูมิ ความดัน และการปรุงแต่งด้วยสารเคมี ดังนั้นสารอาหารนี้จึงถูกเพิ่มหลังผลิตเสร็จเพื่อไม่ให้แมวขาดสารอาหาร | Perry T.
อาหารเสริม
อาหารเสริมหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีเจตนาให้สารอาหารที่อาจบริโภคในปริมาณที่ไม่เพียงพอ โดยทั่วไปเข้าใจกันว่าอาหารเสริมมีวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร กรดไขมันหรือกรดอะมิโน ตลอดจนสารอื่น ทางการสหรัฐนิยามอาหารเสริมว่าเป็นอาหาร แต่ที่อื่นอาจจำแนกเป็นยาหรือผลิตภัณฑ์อื่น มีอาหารเสริมกว่า 50,000 อย่าง ประชากรผู้ใหญ่สหรัฐกว่าครึ่ง (53-55%) บริโภคอาหารเสริมโดยที่ใช้มากที่สุดคือ วิตามินรวม ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มิได้เจตนาใช้ป้องกันหรือรักษาโรคใด ๆและในบางกรณีก็เป็นอันตรายตามข้อมูลของสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐ สำหรับผู้ที่ไม่สามารถบริโภคอาหารสมดุลได้ สำนักงานดังกล่าวว่าอาหารเสริมบางอย่าง "อาจมีคุณ" ควรหลีกเลี่ยงอาหารเสริมส่วนใหญ่ และปกติบุคคลไม่ควรกินสารอาหารรองยกเว้นบุคคลที่มีการขาดแสดงชัดเจน บุคคลควรปรึกษาแพทย์ก่อน มีข้อยกเว้นคือ วิตามินดี ซึ่งมีการแนะนำในประเทศนอร์ดิก เนื่องจากมีแสงแดดน้อ.
ผลิตภัณฑ์ประมง
ปลาหลังเขียวในน้ำมันบรรจุกระป๋อง หนึ่งในผลิตภัณฑ์ประมงประเภทอาหาร ผลิตภัณฑ์ประมง (Fishery Products) หมายถึง.
จุดภาพชัดเสื่อม
ัดเสื่อม (macular degeneration) หรือ จุดภาพชัดเสื่อมเนื่องกับอายุ (age-related macular degeneration ตัวย่อ AMD, ARMD) เป็นโรคที่ทำให้มองไม่ชัดหรือมองไม่เห็นที่กลางลานสายตา เริ่มแรกสุดบ่อยครั้งจะไม่มีอาการอะไร ๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป บางคนจะมองเห็นแย่ลงเรื่อย ๆ ที่ตาข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง แม้จะไม่ทำให้ตาบอดโดยสิ้นเชิง การมองไม่เห็นในส่วนกลางก็จะทำให้กิจกรรมในชีวิตต่าง ๆ ทำได้ยากรวมทั้งจำหน้าคน ขับรถ อ่านหนังสือเป็นต้น การเห็นภาพหลอนอาจเกิดขึ้นโดยไม่ใช่เป็นส่วนของโรคจิต จุดภาพชัดเสื่อมปกติจะเกิดกับคนสูงอายุ ปัจจัยทางพันธุกรรมและการสูบบุหรี่ก็มีผลด้วย เป็นอาการเนื่องกับความเสียหายต่อจุดภาพชัด (macula) ที่จอตา การวินิจฉัยทำได้ด้วยการตรวจตา ความรุนแรงของอาการจะแบ่งออกเป็นระยะต้น ระยะกลาง และระยะปลาย ระยะปลายยังแบ่งออกเป็นแบบแห้ง (dry) และแบบเปียก (wet) โดยคนไข้ 90% จะเป็นแบบแห้ง การป้องกันรวมทั้งการออกกำลังกาย ทานอาหารให้ถูกสุขภาพ และไม่สูบบุหรี่ วิตามินต่อต้านอนุมูลอิสระและแร่ธาตุดูเหมือนจะไม่ช่วยป้องกัน ไม่มีวิธีแก้หรือรักษาการเห็นที่สูญไปแล้ว ในรูปแบบเปียก การฉีดยาแบบ anti-VEGF (Anti-vascular endothelial growth factor) เข้าที่ตา หรือการรักษาอื่น ๆ ที่สามัญน้อยกว่ารวมทั้งการยิงเลเซอร์ (laser coagulation) หรือ photodynamic therapy อาจช่วยให้ตาเสื่อมช้าลง อาหารเสริมรวมทั้งวิตามินและแร่ธาตุสำหรับคนไข้ที่มีโรคอาจช่วยชะลอความเสื่อมด้วย ในปี 2015 โรคนี้มีผลต่อคนไข้ 6.2 ล้านคนทั่วโลก ในปี 2013 มันเป็นเหตุให้ตาบอดเป็นอันดับสี่หลังต้อกระจก การเกิดก่อนกำหนด และต้อหิน มันเกิดบ่อยที่สุดในผู้มีอายุเกิน 50 ปีในสหรัฐอเมริกา และเป็นเหตุเสียการเห็นซึ่งสามัญที่สุดในคนกลุ่มอายุนี้ คนประมาณ 0.4% ระหว่างอายุ 50-60 ปีมีโรคนี้ เทียบกับ 0.7% ของคนอายุ 60-70 ปี, 2.3% ของคนอายุ 70-80 ปี, และ 12% ของคนอายุเกิน 80 ปี.
ทาลัสซีเมีย
รคเลือดจางทาลัสซีเมีย (thalassaemia) เป็นโรคเลือดจางที่มีสาเหตุมาจากมีความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้มีการสร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดผิดปกติ จึงทำให้เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าปกติ แตกง่าย ถูกทำลายง่าย ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จึงมีเลือดจาง โรคนี้พบได้ทั้งหญิงและชายปริมาณเท่า ๆ กัน ถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่ทางพันธุกรรมพบได้ทั่วโลก และพบมากในประเทศไทยด้วยเช่นกัน ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคนี้ร้อยละ 1 และพบผู้ที่เป็นพาหะนำโรคถึงร้อยละ 30-40 คือประมาณ 20-25 ล้านคน เมื่อพาหะแต่งงานกันและพบยีนผิดปกติร่วมกัน ก็อาจมีลูกที่เกิดโรคนี้ได้ ซึ่งประมาณการณ์ว่าจะมีคนไทยเป็นมากถึง 500,000 คน โรคนี้ทำให้เกิดโลหิตจางโดยเป็นกรรมพันธุ์ของการสร้างเฮโมโกลบิน ซึ่งมีสีแดงและนำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายส่วนต่าง.
ทุพภิกขภัย
ทุพภิกขภัย (famine) คือสภาวะของการขาดแคลนอาหารอย่างกว้างขวางซึ่งอาจใช้กับสภาวะที่เกิดในสัตว์ชนิดใดก็ได้ วิกฤติการณ์ดังกล่าวมักจะตามมาด้วยสภาวะทุพโภชนาการ, การอดอยาก, โรคระบาด และการเพิ่มจำนวนการเสียชีวิต องค์ประกอบสำคัญในการบรรเทาสภาวะทุพภิกขภัยก็ได้แก่การแจกจ่ายสารอาหารรอง เช่นวิตามินและ แร่ธาตุจากซองอาหารบำบัดที่ประกอบด้วยสารเสริมอาหาร หรือให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโดยตรงhttp://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,1914655, 00.html Can one pill tame the illness no one wants to talk about? ประเภทการบรรเทาสภาวะทุพภิกขภัยแบบหนึ่งการให้เงินหรือให้ตั๋วแก่ผู้ที่อดอยากเพื่อนำไปซื้อหรือแลกเปลี่ยนเป็นอาหารจากเกษตรกรท้องถิ่น แทนที่จะนำทุนไปซื้ออาหารจากประเทศผู้บริจาค กฎหมายมักต้องระบุ เพราะเป็นการเสียเงินค่าขนส่ง การแก้ปัญหาความขาดแคลนระยะยาวก็ทำได้โดยการลงทุนในการเกษตรกรรมแบบใหม่ในภูมิภาคที่ยังไม่มีระบบดังกล่าว เช่นการใช้ปุ๋ย และสร้างระบบการชลประทานอันวิธีสำคัญที่ใช้ในการกำจัดความหิวโหยในประเทศพัฒนาแล้ว แต่กฎของธนาคารโลกจำกัดการให้ทุนช่วยเหลือเกษตรกร และการใช้ปุ๋ยก็ได้รับการต่อต้านจากนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบางกลุ่มเพราะมีผลตามมาอย่างคาดไม่ถึง คือ ปริมาณน้ำและถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ลดลงhttp://www.theatlantic.com/issues/97jan/borlaug/borlaug.htm Forgotten benefactor of humanity.
ข้าวกล้อง
ข้าวกล้อง ข้าวกล้อง, ข้าวซ้อม, ข้าวซ้อมมือ คือเมล็ดข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสีหรือผ่านการขัดสีแค่บางส่วน ข้าวกล้องมีรสชาติมันปานกลางและมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าข้าวสาร (ข้าวขาว) ข้าวทุกประเภทอาทิ ข้าวเมล็ดยาว ข้าวเมล็ดสั้น ข้าวเหนียว สามารถทำเป็นข้าวกล้องได้ทั้งสิ้น ข้าวกล้องและข้าวสารมีปริมาณพลังงาน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีนใกล้เคียงกัน แต่ต่างกันที่กระบวนการผลิตและคุณสมบัติทางโภชนาการอื่น เมื่อเปลือกของเมล็ดข้าวเปลือกถูกกะเทาะออกจะได้ข้าวกล้อง ถ้าต้องการได้ข้าวสาร ผิวของเมล็ดข้าวอีกชั้นหนึ่งคือเยื่อหุ้มเมล็ดและจมูกข้าวจะถูกขัดสีออกไป ซึ่งทำให้วิตามินและสารอาหารอื่น ๆ ลดลงเช่น วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี6 ธาตุเหล็ก และแมกนีเซียม แต่ข้าวกล้องนั้นมีระยะในการเก็บรักษาน้อย เพราะเกิดความชื้นง่ายจึงทำให้เกิดเชื้อรา หมวดหมู่:ข้าว.
คริสตียาน ไอก์มัน
ริสตียาน ไอก์มัน (11 สิงหาคม พ.ศ. 2401 (1858) — 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 (1930)) เป็นแพทย์และนักพยาธิวิทยาชาวดัตช์ ผู้แสดงให้เห็นว่าโรคเหน็บชาเกิดจากการขาดสารอาหารและนำไปสู่การค้นพบวิตามิน ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ พ.ศ.
ดู วิตามินและคริสตียาน ไอก์มัน
คลอโร(ไพริดีน)โคบาโลซิม
ลอโร(ไพริดีน)โคบาโลซิม (Chloro(pyridine)cobaloxime) เป็นสารประกอบโคออร์ดิเนชันที่มีส่วนผสมของ CoIII กึ่งกลางด้วยโคออร์ดิเนชันแปดด้าน ได้รับการพิจารณาเป็นสารประกอบรูปแบบของ vitamin B12 ในการศึกษาคุณสมบัติ และกลไกการออกฤทธิ์ของวิตามิน เป็นระดับเชิงซ้อนของ bis(dimethylglyoximato)cobalt(III) ที่มีลิแกนด์แตกต่างตามแนวแกน ที่เรียกว่า โคบาโลซิม.
ดู วิตามินและคลอโร(ไพริดีน)โคบาโลซิม
ความอดอยาก
วามอดอยาก (Starvation) คือภาวะการลดการบริโภคไวตามิน, สารอาหาร และ พลังงานอย่างต่ำลงอย่างผิดปกติ ความอดอยากเป็นรูปแบบที่รุนแรงที่สุดของทุพโภชนาการ ความอดอยากเป็นระยะเวลานานของมนุษย์อาจจะเป็นสร้างความเสียหายให้แก่อวัยวะภายในร่างกายอย่างเป็นการถาวร และผลสุดท้ายก็จะเสียชีวิต องค์การอนามัยโลกว่า ความหิวเป็นศัตรูสำคัญที่สุดของสาธารณสุขของโลก The Starvelings นอกจากนั้นก็ยังกล่าวว่า ทุพโภชนาการเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กเสียชีวิตมากที่สุด คิดเป็นราวครึ่งหนึ่งของจำนวนการเสียชีวิตทั้งหมด ส่วนองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่าความอดอยากมีผลต่อประชากรกว่า 1,000 ล้านคนทั่วโลกในขณะนี้.
คะน้าเม็กซิโก
ตามัลที่ผสมใบคะน้าเม็กซิโก จากรัฐตาบัสโก คะน้าเม็กซิโก, ผักโขมต้น หรือ ชายา (chaya) เป็นไม้พุ่มหลายปีชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์เดียวกับยางพาราและสบู่ดำ เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดในคาบสมุทรยูกาตันของประเทศเม็กซิโก มีลำต้นอวบน้ำซึ่งจะคายน้ำยางขาวออกมาเมื่อถูกตัด ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่ โตเร็ว สามารถสูงได้ถึง 6 เมตร แต่มักถูกลิดกิ่งก้านออกให้สูงประมาณ 2 เมตรเพื่อให้เด็ดใบมาใช้ประโยชน์ง่ายขึ้น ใบกว้าง มีแฉกตั้งแต่ 3 แฉกขึ้นไป คะน้าเม็กซิโกเป็นผักกินใบยอดนิยมชนิดหนึ่งในตำรับอาหารเม็กซิโก กัวเตมาลา และอเมริกากลาง (บริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากตำรับอาหารมายา) คะน้าเม็กซิโกเป็นแหล่งที่ดีของโปรตีน, วิตามิน, แคลเซียม, โพแทสเซียม และเหล็ก และยังเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ของสารต้านอนุมูลอิสระ ที่จริงแล้ว ใบคะน้าเม็กซิโกยังมีระดับสารอาหารสูงกว่าผักใบเขียวชนิดใด ๆ ที่ปลูกบนดินถึง 2-3 เท่าอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ใบคะน้าเม็กซิโกดิบนั้นมีพิษเนื่องจากมีสารกลูโคไซด์ซึ่งจะปลดปล่อยสารพิษจำพวกไซยาไนด์ออกมา จึงจำเป็นต้องทำให้สุกก่อนรับประทาน โดยใช้เวลาประมาณ 15 นาทีในการทำให้สุกเพื่อลดฤทธิ์ของสารที่เป็นพิษให้อยู่ในระดับปลอดภัย การต้มในภาชนะอะลูมิเนียมอาจทำให้น้ำต้มเป็นพิษและก่อให้เกิดอาการท้องร่วงได้ คะน้าเม็กซิโกสามารถนำไปปรุงอาหารได้หลายอย่าง วิธีปรุงดั้งเดิมอย่างหนึ่งในเม็กซิโกและอเมริกากลางจะนำใบไปแช่น้ำแล้วต้มไฟอ่อนประมาณ 20 นาที จากนั้นเสิร์ฟกับน้ำมันหรือเนย นอกจากนี้ยังมีการนำใบที่หั่นและทำให้สุกแล้วไปคลุกข้าวรับประทานกับอาหารรสจัด, นวดผสมกับมันฝรั่งบดแล้วทอด, นวดผสมกับแป้งข้าวโพดแล้วจี่เป็นตอร์ตียาหรือนึ่งเป็นตามัล, ผสมกับมะเขือเทศ หัวหอม ผักชี และพริกหั่นลูกเต๋าทำเป็นเครื่องจิ้ม หรือนำใบอ่อนและยอดอ่อนที่หนานุ่มไปต้มแล้วปรุงรับประทานอย่างผักโขม เป็นต้น.
คาร์นิทีน
ร์นิทีน เป็นสารประกอบจตุรภูมิของแอมโมเนียมที่สังเคราะห์ได้จากกรดอะมิโนสองชนิดคือ ไลซีนและเมธไทโอนีน ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตคาร์นิทีนจะลำเลียงกรดไขมันจากไซโตซอลเข้าสู่ไมโทคอนเดรียระหว่างการสลายของลิพิด (ไขมัน) เพื่อใช้ในการเผาผลาญพลังงาน คาร์นิทีนถูกใช้เป็นอาหารเสริมกันอย่างกว้างขวาง เดิมคาร์นิทีนพบว่าเป็นปัจจัยในการเจริญเติบโตของหนอนนกและมีอยู่บนฉลากวิตามินบี คาร์นิทีนมีอยู่ 2 stereoisomers: Active form คือ L-carnitine ขณะที่ inactive form คือ D-carnitine.
คาสิมีร์ ฟังค์
คาซิเมียซ ฟังค์ (Kazimierz Funk) หรือ คาสิมีร์ ฟังค์ (Casimir Funk) (23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2427 - 19 มกราคม พ.ศ. 2510) เป็นนักชีวเคมีชาวโปแลนด์ เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดเกี่ยวกับวิตามินเป็นคนแรก หมวดหมู่:นักเคมีชาวโปแลนด์ หมวดหมู่:บุคคลจากวอร์ซอ.
ตับ
ตับ (liver) เป็นอวัยวะสำคัญที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์บางชนิด ในร่างกายมนุษย์ อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม มีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการกำจัดพิษในเมแทบอไลท์ (metabolites) (สารที่ได้จากขบวนการเมแทบอลิซึม) การสังเคราะห์โปรตีน และการผลิตสารชีวเคมีต่างๆที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ถ้าตับล้มเหลว หน้าที่ของตับไม่สามารถทดแทนได้ในระยะยาว โดยที่เทคนิคการฟอกตับ (liver dialysis) อาจช่วยได้ในระยะสั้น ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมแทบอลิซึมหลายประการในร่างกาย เช่นการควบคุมปริมาณไกลโคเจนสะสม การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง การสังเคราะห์พลาสมาโปรตีน การผลิตฮอร์โมน และการกำจัดพิษ ตับยังเป็นต่อมช่วยย่อยอาหารโดยผลิตน้ำดีซึ่งเป็นสารประกอบอัลคาไลน์ช่วยย่อยอาหารผลิตโดยขบวนการผสมกับไขมัน (emulsification of lipids) ถุงนํ้าดีจะใช้เป็นที่เก็บน้ำดีนี้ ถุงน้ำดีมีลักษณะเป็นถุงอยู่ใต้ตับ ก่อนอาหารถุงน้ำดีจะป่องมีขนาดเท่าผลลูกแพร์เล็กเต็มไปด้วยน้ำดี หลังอาหาร น้ำดีจะถูกนำไปใช้หมด ถุงน้ำดีจะแฟบ เนื้อเยื่อของตับมีความเป็นพิเศษอย่างมาก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย hepatocytes ที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีปริมาณสูง รวมทั้งการสังเคราะห์และการแตกตัวของโมเลกุลที่ซับซ้อนขนาดเล็กที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตปกติ หน้าที่การทำงานทั้งหมดอาจแตกต่างกันไป แต่ในตำราประมาณว่ามีจำนวนประมาณ 500 อย่าง.
ปลา
ปลา (อังกฤษ: Fish) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอ.
ปัจจัยสี่
ปัจจัยสี่ เป็นสิ่งที่มนุษย์จำเป็นต่อการดำรงชีวิต โดยไม่ต้องพึ่งสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่นคอมพิวเตอร์ รถยนต์ ไฟฟ้า โทรศัพท์ เป็นต้น โดยปัจจัยทั้งสี่อย่างนี้มนุษย์ไม่สามารถขาดได้ เพราะเมื่อขาดแล้วอาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิต ปัจจัยสี่ประกอบไปด้วย 4 ปัจจัยดังต่อไปนี้.
น้ำผึ้ง
น้ำผึ้ง น้ำผึ้ง เป็นอาหารหวานที่ผึ้งผลิตโดยใช้น้ำต้อยจากดอกไม้ น้ำผึ้งมักหมายถึงชนิดที่ผลิตโดยผึ้งน้ำหวานในสายพันธุ์ Apis เนื่องจาก เป็นผึ้งเก็บน้ำหวานให้คุณภาพสูง และสามารถเลี้ยงระบบกล่องได้ น้ำผึ้งมีประวัติการบริโภคของมนุษย์มายาวนาน และถูกใช้เป็นสารให้ความหวานในอาหารและเครื่องดื่มหลายชนิด น้ำผึ้งยังมีบทบาทในศาสนาและสัญลักษณ์นิยม รสชาติของน้ำผึ้งแตกต่างกันตามน้ำต้อยที่มา และมีน้ำผึ้งหลายชนิดและเกรดที่สามารถหาได้.
น้ำดี
น้ำดี (bile or gall) เป็นของเหลวสีเหลืองหรือเขียว มีรสขม หลั่งออกมาจากเซลล์ตับ (hepatocyte) ที่อยู่ในตับของสัตว์มีกระดูกสันหลังเกือบทุกชนิด ในสัตว์หลายชนิด น้ำดีจะถูกเก็บไว้ที่ถุงน้ำดีในระหว่างมื้ออาหาร และเมื่อมีการรับประทานอาหารน้ำดีจะถูกปล่อยออกมาเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) ที่ซึ่งน้ำดีจะไปทำหน้าที่ช่วยในการย่อยอาหารจำพวกล.
น้ำตา
กายวิภาคของอวัยวะอันเกี่ยวข้องกับน้ำตาBreak a) ต่อมน้ำตาBreak b) จุดน้ำตาชั้นบนBreak c) ท่อทางเดินน้ำตาชั้นบนBreak d) ถุงน้ำตาBreak e) จุดน้ำตาชั้นล่างBreak f) ท่อทางเดินน้ำตาชั้นล่างBreak g) คลองท่อน้ำตา น้ำตา เกิดจากการหลั่งน้ำตา (Lacrimation หรือ lachrymation) ที่มีหน้าที่ทำความสะอาดและหล่อลื่นดวงตาเพื่อตอบสนองต่ออาการระคายเคืองตา น้ำตาที่เกิดจากการร้องไห้มีผลมาจากความรู้สึกรุนแรงภายใน เช่น ความโศกเศร้า ความปิติยินดี อารมณ์ ความกลัวเกรง หรือความยินดี การหัวเราะและการหาวก็สามารถทำให้เกิดน้ำตาได้.
น้ำเต้าหู้
น้ำเต้าหู้ น้ำเต้าหู้ หรือ นมถั่วเหลือง เป็นเครื่องดื่มซึ่งทำจากการบดถั่วเหลืองและนำไปต้มกรองจนเจือจางลง อาจปรุงด้วยน้ำตาลและอื่น ๆ รับประทานได้ทันที นิยมรับประทานเป็นมื้อเช้าคู่กับปาท่องโก๋ หรือทำเป็นน้ำเต้าหู้ทรงเครื่องโดยใส่สาคู ลูกเดือย ข้าวบาร์เลย์ ถั่วแดง วุ้น หรือธัญพืชชนิดอื่น ๆ ตามชอ.
แก้วมังกร
อกแก้วมังกร แก้วมังกร (อังกฤษ: Dragon fruit)(สกุล Hylocereus) อยู่ในวงศ์ Cactaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับตะบองเพชร มีพื้นเพดั้งเดิมอยู่ในอเมริกากลาง เข้ามาในเอเชียที่เวียดนามก่อน โดยบาทหลวงชาวฝรั่งเศสเมื่อประมาณ 100 ปีมาแล้ว โดยปลูกมากตามแนวชายฝั่งทะเลตะวันออกจากเมืองญาตรังไปจนถึงไซ่ง่อนนิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน.
โมเลกุลชีวภาพ
รงสร้างสามมิติของไมโอโกลบิน แสดงเกลียวแอลฟาที่เน้นสี โปรตีนนี้เป็นตัวแรกที่โครงสร้างได้รับการอธิบายโดยผลิกศาสตร์รังสีเอ็กซ์ (X-ray crystallography) โดย Max Perutz และ John Kendrew ใน ค.ศ.
โรคลมชัก
รคลมชัก หรือ โรคลมบ้าหมู (epilepsy มีรากศัพท์จากἐπιλαμβάνειν หมายถึง ยึด ครอบครอง หรือ ทำให้เจ็บป่วย) เป็นกลุ่มโรคทางประสาทวิทยาซึ่งถูกจำกัดความโดยอาการชักอันมีต้นเหตุจากการทำงานอย่างสอดคล้องกันมากเกินไปของเซลล์ประสาท ระยะเวลาและความรุนแรงของโรคลมชักสามารถมีได้ตั้งแต่แบบสั้นๆและแทบไม่มีอาการ ไปจนถึงอาการสั่นอย่างรุนแรงเป็นเวลานานๆ อาการชักดังกล่าวสามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บทางร่างกายเช่น กระดูกหัก ลักษณะสำคัญของโรคลมชักคืออาการชักจะเกิดขึ้นซ้ำๆโดยไม่มีสิ่งเร้าหรือกระตุ้น อาการชักซึ่งเกิดจากสิ่งเร้าอย่างใดหนึ่งอย่างชัดเจน (เช่น ภาวะขาดเหล้า) จะไม่ถือว่าเป็นโรคลมชัก ผู้ป่วยโรคลมชักในบางประเทศมักถูกตีตราจากสังคมเนื่องจากอาการที่แสดงออกมา โรคลมชักในผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด อย่างไรก็ดีโรคลมชักสามารถเกิดขึ้นหากผู้ป่วยได้รับการบาดเจ็บทางสมอง เป็นโรคหลอดเลือดสมอง มีเนื้องอกในสมอง หรือ ได้รับการติดเชื้อทางสมอง ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า อิพิเลปโตเจเนซิส ความผิดปกติของพันธุกรรมมีส่วนเชื่อมโยงกับโรคลมชักในสัดส่วนเพียงเล็กน้อย การชักจากโรคลมชักเป็นผลจากการทำงานที่ผิดปกติหรือมากเกินไปของเซลล์เปลือกสมอง การวินิจฉัยมักจะทำโดยการตัดภาวะอื่นๆซึ่งอาจทำให้เกิดอาการที่คล้ายคลึงกันออกไปก่อน เช่น เป็นลม นอกจากนี้การวินิจฉัยยังรวมไปถึงการพิจารณาว่ามีสาเหตุอื่นๆของการชักหรือไม่ เช่น การขาดแอลกอฮอล์ หรือ ความผิดปกติของปริมาณอิเล็กโตรไลต์ในเลือด ซึ่งอาจทำได้โดยการตรวจสมองผ่านการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก และ การตรวจเลือด บ่อยครั้งโรคลมชักสามารถได้รับการยืนยันด้วยการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง แต่ผลการตรวจที่ปกติก็ไม่ได้ทำให้แพทย์สามารถตัดโรคดังกล่าวออกไปได้ ประมาณ 70% ของผู้ป่วยโรคลมชักสามารถควบคุมอาการของโรคได้ด้วยยา ซึ่งบ่อยครั้งตัวเลือกที่ให้ผลการควบคุมอาการดีมีราคาถูก ในกรณีที่อาการชักของผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยา อาจพิจารณาการผ่าตัด การกระตุ้นระบบประสาท และ การเปลี่ยนอาหารได้เป็นกรณีไป โรคลมชักมิได้คงอยู่ตลอดไปในผู้ป่วยทุกราย มีผุ้ป่วยหลายรายที่อาการดีขึ้นจนถึงขั้นไม่ต้องใช้ยา ข้อมูลในปี..
โรคอัลไซเมอร์
รคอัลซไฮเมอร์ หรือ โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease หรือ AD) เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด โรคนี้ค้นพบเมื่อ พ.ศ.
โปเม่ สารพันเมนูสูตรลับจอมเวท
ปเม่ สารพันเมนูสูตรลับจอมเวท เป็นหนังสือการ์ตูนความรู้ของประเทศไทยที่ได้รับการแนะนำผ่านสื่อมวลชน โดยแทรกเรื่องราวการทำอาหาร, โภชนาการ และความเป็นมาของอาหาร ปัจจุบัน มี 3 ซีรีส์ คือ "โปเม่ สารพันเมนูสูตรลับจอมเวท", "โปเม่ สารพันเมนูสูตรลับจอมเวท คอร์ส 2"และ"โปเม่ แก๊งกุ๊กรั่ว ครัวจอมเวท".
ดู วิตามินและโปเม่ สารพันเมนูสูตรลับจอมเวท
ไบโอติน
อติน (biotin) หรือ วิตามินเอช (vitamin H) หรือ วิตามินบี7 (vitamin B7) เป็นวิตามินในกลุ่มวิตามินบีซึ่งสามารถละลายน้ำได้, วันที่สืบค้น 17 เมษายน 2559 จาก www.health.haijai.com.
ไลฟ์ (การ์ตูนญี่ปุ่น)
ลฟ์ (Life) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นแนววัยรุ่นผู้หญิง ที่เขียนโดย เคย์โกะ ซึเอโนบุ ซึ่งเคยสร้างผลงานเป็นที่รู้จักมาก่อนอย่างเรื่อง Vitamin และ Happy Tomorrow การ์ตูนไลฟ์นั้นสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาหลาย ๆ อย่างในสังคมญี่ปุ่นที่เป็นที่ถกเถียงกัน เช่น การทำร้ายตัวเอง การกรีดร่างกาย การข่มขืน การฆ่าตัวตาย และการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสม ไลฟ์ ได้รับรางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยมของสำนักพิมพ์โคดันฉะ สาขาการ์ตูนผู้หญิง ครั้งที่ 30 ในปี พ.ศ.
ดู วิตามินและไลฟ์ (การ์ตูนญี่ปุ่น)
ไทอามีน
ทอามีน หรือ ไทอามิน (thiamine, thiamin) หรือ วิตามินบี1 (vitamin B1) เป็นวิตามินที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ต้องรับประทานอาหารหรืออาหารเสริม เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำได้ มีคุณสมบัติพิเศษคือไม่มีพิษตกค้าง ถ้ามีมากเกินไป ร่างกายจะขับออกมาทันที.
ไข่ (อาหาร)
ทางซ้ายคือไข่ไก่ ซึ่งโดยทั่วไปได้ใช้ในการกินมากที่สุดโดยมนุษย์ และทางขวาคือไข่นกกระทาสองฟอง ที่สุนัขจิ้งจอกมักนำมากินเป็นอาหาร สัตว์ว่าตัวเมียหลายสปีชีส์วางไข่ รวมทั้งนก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และปลา และอาจเป็นอาหารที่มนุษย์ชาติรับประทานมานับสหัสวรรษ ไข่นกและสัตว์เลื้อยคลานประกอบด้วยเปลือกไข่ที่ทำหน้าที่ปกป้องอันตรายต่อไข่, ไข่ขาวและไข่แดง รวมกันอยู่ภายในเยื่อบาง ๆ หลายชั้น ไข่สัตว์ที่นิยมรับประทานกันมีไก่ เป็ด นกกระทา ปลาและคาเวียร์ แต่มนุษย์นิยมรับประทานไข่ไก่มากที่สุด และทิ้งช่วงห่างไข่สัตว์อื่นอยู่มาก ไข่แดงและไข่ทั้งฟองมีปริมาณโปรตีนและโคลีนอยู่มาก และพบใช้บ่อยในการครัว เนื่องจากโปรตีนที่มีอยู่ กระทรวงการเกษตรสหรัฐอเมริกาจึงจัดประเภทไข่ว่าเป็น เนื้อสัตว์ ในพีระมิดอาหาร อย่างไรก็ดี แม้ไข่จะมีคุณค่าทางโภชนาการ แต่ก็มีแนวโน้มก่อปัญหาสุขภาพบางอย่างเกิดขึ้นจากคุณภาพ การเก็บ และการเกิดการแพ้ในผู้ที่มีอาการแพ้ ไก่และสิ่งมีชีวิตวางไข่อื่น ๆ เก็บเลี้ยงอย่างกว้างขวางทั่วโลก และการผลิตไข่ไก่จำนวนมากเป็นอุตสาหกรรมระดับโลก มีปัญหาในอุปสงค์และความคาดหมายที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค เช่นเดียวกับการถกเถียงกันในปัจจุบันเกี่ยวกับวิธีการผลิตจำนวนมาก โดยสหภาพยุโรปวางแผนห้ามการเลี้ยงแบบแบตเตอรี (battery farming) หลัง..
เฟรเดอริก กาวแลนด์ ฮ็อปกินส์
ซอร์ เฟรเดอริก กาวแลนด์ ฮ็อปกินส์ (Frederick Gowland Hopkins; 20 มิถุนายน ค.ศ. 1861 – 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1947) เป็นนักชีวเคมีชาวอังกฤษ เป็นหนึ่งในผู้ค้นพบวิตามินและค้นพบทริปโตเฟนในปี..
ดู วิตามินและเฟรเดอริก กาวแลนด์ ฮ็อปกินส์
เพาล์ คาร์เรอร์
ล์ คาร์เรอร์ (Paul Karrer; 21 เมษายน ค.ศ. 1889 – 18 มิถุนายน ค.ศ. 1971) เป็นนักเคมีชาวสวิส เกิดที่กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย เป็นบุตรของเพาล์ คาร์เรอร์ และยูลิเยอ คาร์เรอร์ ต่อมาครอบครัวย้ายมาอาศัยในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ คาร์เรอร์เรียนเคมีที่มหาวิทยาลัยซูริก หลังเรียนจบ คาร์เรอร์ทำงานเป็นผู้ช่วย ก่อนจะดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านเคมีและผู้อำนวยการสถาบันเคมีอินทรีย์ของมหาวิทยาลัยซูริก คาร์เรอร์มีผลงานที่สำคัญคือการศึกษาสารกลุ่มแคโรทีนอยด์และชี้ให้เห็นว่าบางส่วนสามารถแปรสภาพเป็นวิตามินเอได้เมื่อเข้าสู่ร่างกาย การศึกษานี้นำไปสู่การระบุโครงสร้างของบีตา-แคโรทีน หลังจากนั้นคาร์เรอร์ได้ศึกษาโครงสร้างของกรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี), วิตามินบี2 และวิตามินอี ในปี..
เกลือแร่
กลือแร่ (Dietary mineral) มีบทบาทและหน้าที่สำคัญใน ร่างกายหลายอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย เป็นองค์ประกอบของ เซลล์เนื้อเยื่อและเส้นประสาท เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ ฮอร์โมน และวิตามิน นอกจากนี้ เกลือแร่ยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อในทุกอวัยวะ จากความสำคัญและหน้าที่ ดังกล่าวนั้น จะเห็นว่า เกลือแร่เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญยิ่งต่อร่างกาย ซึ่งร่างกายต้องได้ รับเพียงพอ ร่างกายจึงจะเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่และแข็งแรง อาหารทั่วไปที่เป็นแหล่งของเกลือแร่ทั้งชนิดหลักและชนิดปริมาณน้อยแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดของอาหาร ตัวอย่าง เกลือแร่ที่มีความสำคัญต่อร่างกายประกอบด้วย แคลเซียม ฟอสฟอรัส ไอโอดีน เหล็ก แมกนีเซียม สังกะสี ทองแดง และโพแทสเซียม ร่างกายมีเกลือแร่ 4% ของน้ำหนักร่างกายทั้งหมด เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการมีดังต่อไปนี้.
เภสัชกรรมคลินิก
ัชกรรมคลินิก (อังกฤษ:Clinical Pharmacy) เป็นกลุ่มวิชาที่ว่าด้วยเรื่องการใช้ยา และศึกษาผลข้างเคียงจากการใช้ยาซึ่งรายละเอียดของวิชาดังต่อไปนี้.
เภสัชเวท
ัชเวท (Pharmacognosy) เป็นศาสตร์ทางเภสัชศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับยาอันมีที่มาจากแหล่งธรรมชาติ เภสัชเวทสมาคมแห่งสหรัฐอเมริกาได้ให้คำจำกัดความของเภสัชเวทไว้ว่า "เป็นการศึกษาลักษณะทางกายภาพ, เคมี, ชีวเคมี และคุณสมบัติทางชีวภาพของยา, สารที่นำมาใช้เป็นยาที่มีที่มาจากธรรมชาติ และการวิจัยค้นพบยาใหม่จากแหล่งธรรมชาติ" สมุนไพรที่นำมาใช้เป็นยาได้ภายหลังผ่านกระบวนการทางเภสัชกรรมเราเรียกว่า "เครื่องยา" โดยมีการจัดจำแนกตามคุณสมบัติของเครื่องยาตามวิธีการของศาสตร์ต่างๆ อาทิ เภสัชวิทยา, กลุ่มสารเคมี, การเรียงลำดับตามตัวอักษรละตินและภาษาอังกฤษ เป็นต้น เภสัชเวทเป็นหนึ่งในศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดศาสตร์หนึ่งของทางการแพทย์ และนับเป็นต้นกำเนิดของวิชาเภสัชศาสตร์ ในสมัยโบราณมีการใช้ยาจากธรรมชาติในการบำบัดรักษาเสียทั้งสิ้น ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมซึ่งนำมาสู่การสังเคราะห์ยาจากสารเคมีทดแทนวิธีการทางธรรมชาติ อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันมีความนิยมการใช้ยาสมุนไพรมากขึ้น ทำให้เภสัชเวทเป็นอีกศาสตร์หนึ่งที่ได้รับการส่งเสริมในปัจจุบัน เภสัชเวทยังครอบคลุมไปถึงการประยุกต์ใช้ทางการแพทย์เช่น ไฟเบอร์, ยาง ในการศัลยกรรมรักษา และการใช้เพื่อควบคุมภูมิคุ้มกันในร่างกาย รวมถึงการใช้เป็นสารปรุงแต่งทางเภสัชกรรม, เครื่องสำอาง.
เมลานิน
รเมลานิน (Melanin) หรือเม็ดสีสร้างจากเซลล์ผิวหนังที่เรียกว่าเมลาโนไซต์ (melanocyte) เป็นเซลล์ที่เจริญมาจากเซลล์ระบบประสาทซึ่งแทรกตัวอยู่ในชั้นหนังกำพร้าส่วนล่างสุด โดยเซลล์เมลาโนไซต์หนึ่งเซลล์จะแตกแขนงเป็นร่างแหเล็กๆ ยื่นไปสัมผัสเซลล์ผิวหนังประมาณ 35 เซลล์ เมลาโนไซต์จะสร้างสารเมลานินบรรจุในแคปซูลเรียกว่าเมลาโนโซม เมื่อสร้างเสร็จจะส่งไปตามร่างแหเข้าสู่เซลล์ผิวหนัง สารเมลานินสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชน.
เมแทบอลิซึม
กระบวนการสร้างและสลาย หรือ เมแทบอลิซึม (metabolism) มาจากภาษากรีก μεταβολή ("metabolē") มีความหมายว่า "เปลี่ยนแปลง" เป็นกลุ่มปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อค้ำจุนชีวิต วัตถุประสงค์หลักสามประการของเมแทบอลิซึม ได้แก่ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานในการดำเนินกระบวนการของเซลล์ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน ลิพิด กรดนิวคลิอิกและคาร์โบไฮเดรตบางชนิด และการขจัดของเสียไนโตรเจน ปฏิกิริยาเหล่านี้มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเติบโตและเจริญพันธุ์ คงไว้ซึ่งโครงสร้างและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม "เมแทบอลิซึม" ยังสามารถหมายถึง ผลรวมของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดที่เกิดในสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการย่อยและการขนส่งสสารเข้าสู่เซลล์และระหว่างเซลล์ กลุ่มปฏิกิริยาเหล่านี้เรียกว่า เมแทบอลิซึมสารอินเทอร์มีเดียต (intermediary หรือ intermediate metabolism) โดยปกติ เมแทบอลิซึมแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ แคแทบอลิซึม (catabolism) ที่เป็นการสลายสสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น การสลายกลูโคสให้เป็นไพรูเวต เพื่อให้ได้พลังงานในการหายใจระดับเซลล์ และแอแนบอลิซึม (anabolism) ที่หมายถึงการสร้างส่วนประกอบของเซลล์ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ทั้งนี้ การเกิดแคแทบอลิซึมส่วนใหญ่มักมีการปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนการเกิดแอแนบอลิซึมนั้นจะมีการใช้พลังงานเพื่อเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเคมีของเมแทบอลิซึมถูกจัดอยู่ในวิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) ซึ่งสารเคมีชนิดหนึ่งๆ จะถูกเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนจนกลายเป็นสารชนิดอื่น โดยอาศัยการเข้าทำปฏิกิริยาของใช้เอนไซม์หลายชนิด ทั้งนี้ เอนไซม์ชนิดต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดเมแทบอลิซึม เพราะเอนไซม์จะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านั้น โดยการเข้าจับกับปฏิกิริยาที่เกิดเองได้ (spontaneous process) อยู่แล้วในร่างกาย และหลังการเกิดปฏิกิริยาจะมีปลดปล่อยพลังงานออกมา พลังงานที่เกิดขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาเคมีอื่นของสิ่งมีชีวิตที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้เองหากปราศจากพลังงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า เอนไซม์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เอนไซม์ยังทำหน้าที่ควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมในกระบวนการการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมของเซลล์หรือสัญญาณจากเซลล์อื่น ระบบเมแทบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตจะเป็นตัวกำหนดว่า สารใดที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นพิษสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น โปรคาริโอตบางชนิดใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสารอาหาร ทว่าแก๊สดังกล่าวกลับเป็นสารที่ก่อให้เกิดพิษแก่สัตว์ ทั้งนี้ ความเร็วของเมแทบอลิซึม หรืออัตราเมแทบอลิกนั้น ส่งผลต่อปริมาณอาหารที่สิ่งมีชีวิตต้องการ รวมไปถึงวิธีที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะได้อาหารมาด้วย คุณลักษณะที่โดดเด่นของเมแทบอลิซึม คือ ความคล้ายคลึงกันของวิถีเมแทบอลิซึมและส่วนประกอบพื้นฐาน แม้จะในสปีชีส์ที่ต่างกันมากก็ตาม ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกที่ทราบกันดีว่าเป็นสารตัวกลางในวัฏจักรเครปส์นั้นพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีการศึกษาในปัจจุบัน ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างแบคทีเรีย Escherichia coli ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ขนาดใหญ่อย่างช้าง ความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดใจของวิถีเมแทบอลิซึมเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจเป็นผลเนื่องมาจากวิถีเมแทบอลิซึมที่ปรากฏขึ้นในช่วงแรกของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการ และสืบมาจนถึงปัจจุบันเพราะประสิทธิผลของกระบวนการนี้.
เห็ดร่างแห
ห็ดร่างแห (Phallus indusiatus') หรือ เห็ดเยื่อไผ่ มีเขตกระจายพันธุ์ทั่วทุกภาคของประเทศไทย มักขึ้นเป็นดอกเดี่ยวบนพื้นดินที่มีใบไม้เน่าเปื่อยผุพัง พบมากในช่วงฤดูฝน ลักษณะเด่นอันเป็นที่มาของขื่อคือ ที่ใต้หมวกดอกเห็ดมีเยื่อบางๆ คล้ายร่างแหกางห้อยลงมาคลุมก้านดอก ดูคล้ายสุ่มร่างแห ยามที่โดนลม สุ่มนี้จะพัดแกว่งไกวราวกับสตรีใส่กระโปรงลูกไม้เต้นระบำอยู่ เป็นที่มาของชื่อ Dancing mushroom อีกชื่อหนึ่ง.
เอนไซม์
TIM. Factor D enzyme crystal prevents the immune system from inappropriately running out of control. เอนไซม์ (อังกฤษ: enzyme) เป็นโปรตีน 99 เปอร์เซนต์ เป็น ส่วนใหญ่ ที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมี เป็นคำในภาษากรีก ένζυμο หรือ énsymo ซึ่งมาจาก én ("ที่" หรือ "ใน") และ simo (":en:leaven" หรือ ":en:yeast") เอนไซม์มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต เพราะว่าปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่ในเซลล์จะเกิดช้ามาก หรือถ้าไม่มีเอนไซม์อาจทำให้ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยากลายเป็นสารเคมีชนิดอื่น ซึ่งถ้าขาดเอนไซม์ระบบการทำงานของเซลล์จะผิดปกติ (malfunction) เช่น.
D
D (ตัวใหญ่:D ตัวเล็ก:d) เป็นอักษรละตินลำดับที่ 4.
ดู วิตามินและD
ICD-10 บทที่ 4: โรคของต่อมไร้ท่อ โภชนาการ และเมตะบอลิซึม
ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..
ดู วิตามินและICD-10 บทที่ 4: โรคของต่อมไร้ท่อ โภชนาการ และเมตะบอลิซึม
K
K (ตัวใหญ่:k ตัวเล็ก:k) เป็นอักษรละติน นับเป็นอักษรตัวที่ 11 ของอักษรในภาษาอังกฤษ.
ดู วิตามินและK
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Vitamin