โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วิฑูร วทัญญู

ดัชนี วิฑูร วทัญญู

วิฑูร วทัญญู เป็นนักจัดรายการวิทยุในอดีตของไทย มีชื่อเสียงในยุคทศวรรษ 1970 ถึง 1990 โดยเน้นเปิดเพลงแนวฮาร์ดร็อก จนถึงเฮฟวี่เมทัล ใช้สำนวนเรียกว่า "เฮฟวี่ ฮาร์ด ฮ็อต" โดยจัดทั้งคลื่นเอฟเอ็ม และเอเอ็ม ทำให้มีผู้ฟังรายการได้ทั่วประเทศไทย นอกจากนี้ยังทำนิตยสารเกี่ยวดนตรี ชื่อ ท็อป ทีน ทาเลนท์ วิฑูร วทัญญู จัดรายการวิทยุชื่อ "ท็อป ทีน ทาเลนท์" (Top Teen Talent) ทางสถานีวิทยุเอฟเอ็ม คู่กับสุทธิณาดา โลกวัฒน์ โดยนำเพลงแนวฮาร์ดร็อกมาแนะนำในรายการ ขณะที่ในยุคนั้นวงการเพลงของไทยนิยมเพลงสตริงคอมโบ วิฑูรจัดรายการด้วยน้ำเสียงเป็นเอกลักษณ์ เปิดรายการทุกครั้งด้วยเพลง Hoedown ของอีเมอร์สัน, เลค แอนด์ พาล์มเมอร์ และตั้งฉายาเป็นภาษาไทยให้กับวงร็อกต่างชาติ เช่น.

2 ความสัมพันธ์: กิตติ กาญจนสถิตย์ไทยร็อก

กิตติ กาญจนสถิตย์

กิตติ กาญจนสถิตย์ เจ้าของฉายา กิตติ กีตาร์ปืน นักกีตาร์ร็อก อดีตหัวหน้าวงคาไลโดสโคป ซึ่งมีเอกลักษณ์คือ ใช้กีตาร์ไฟฟ้าที่สั่งผลิตพิเศษเป็นรูปปืน กิตติเป็นนักกีต้าร์แนวร็อคเคยมีผลงานโซโลอัลบั้มของตนเอง นอกจากนี้ยังได้ก่อตั้งโรงเรียนสอนดนตรีโดยมีเพื่อนฝูงในวงการให้การสนับสนุน กิตติยังคงเล่นดนตรีแนวร็อคที่ตนเองชอบอยู่ที่พัทยาใต้.

ใหม่!!: วิฑูร วทัญญูและกิตติ กาญจนสถิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ไทยร็อก

ทยร็อก (Thai rock) เป็นดนตรีร็อกจากประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของดนตรีแนวสตริงและป๊อปร็อก ดนตรีร็อกเริ่มเข้ามาสู่ประเทศไทยในราวทศวรรษที่ 70 จากอิทธิพลชาติตะวันตกอย่างสหรัฐอเมริกา ผ่านสงครามเวียดนาม โดยแหลม มอริสัน นักดนตรีชาวอุดรธานีได้ตั้งวงดนตรีชื่อ วีไอพี ขึ้นมา เพื่อเล่นดนตรีแนวเฮฟวี่เมทัลและฮาร์ดร็อกให้กับเหล่าทหารอเมริกันในสถานบันเทิงยามค่ำคืนของอุดรธานี โดยมีจิมิ เฮนดริกซ์ และจิม มอร์ริสัน แห่งวงเดอะดอร์ส เป็นแบบอย่าง ก่อนที่จะมีนักดนตรีอีกหลายคนสร้างชื่อเสียงขึ้นมา เช่น กิตติ กาญจนสถิตย์, โอฬาร พรหมใจ หรือชัคกี้ ธัญญรัตน์ จุดกำเนิดของไทยร็อกเริ่มขึ้นในปลายทศวรรษที่ 70 โดยเริ่มจาก เนื้อกับหนัง ถือว่าเป็นวงดนตรีในแนวเฮฟวี่เมทัลและฮาร์ดร็อกวงแรกของไทย โดยมีวิฑูร วทัญญู เป็นผู้สนับสนุน ซึ่งยากมากที่จะหาผู้ที่ยอมรับฟังดนตรีร็อกในยุคนั้น เนื่องจากในขณะนั้นวงการดนตรีไทยเป็นยุคที่นิยมดนตรีป๊อปแบบใส ๆ เช่น ฟรุตตี้, เรนโบว์ ต่อมาในทศวรรษที่ 80 ดิ โอฬาร โปรเจ็คต์ วงดนตรีที่เล่นเพลงแนวเฮฟวี่เมทัล โดยปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์ และโอฬาร พรหมใจ ก็ได้รับความนิยมและยอมรับขึ้นมาจากอัลบั้ม "กุมภาพันธ์ 2528" ต่อมาเมื่อไทยเริ่มเข้าสู่ยุคของการพาณิชย์ เริ่มมีค่ายเพลงต่าง ๆ เกิดขึ้น ความสำเร็จของอัสนี-วสันต์ กับไมโคร ในสังกัดแกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ก็ช่วยให้ดนตรีร็อกได้รับความนิยมมากขึ้น รวมถึงในดนตรีแนวเพื่อชีวิตอย่าง คาราบาว ที่สร้างยอดขายได้มากกว่า 5 ล้านตลับ ก็ยังนำเอาดนตรีร็อกมาผสมผสานกับดนตรีรำวงจังหวะสามช่าแบบไทยอีกด้วย จวบจนช่วงต้นของทศวรรษที่ 90 ศิลปินหลายวง หลายคนในสังกัดอาร์เอส โปรโมชั่น เช่น ไฮ-ร็อก ที่ทำให้ดนตรีแนวเฮฟวี่เมทัลได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางมากขึ้น, หิน เหล็ก ไฟ ที่เมื่อออกผลงานชุดแรกก็สร้างยอดขายได้มากกว่าหนึ่งล้านตลับ, หรั่ง ร็อกเคสตร้า, อิทธิ พลางกูร, ธนพล อินทฤทธิ์, พิสุทธิ์ ทรัพย์วิจิตร ก็ประสบความสำเร็จอีกด้วย ในช่วงนี้ถือได้ว่าเป็นยุคทองของดนตรีร็อกแนวเฮฟวี่เมทัลของไทยอย่างแท้จริง โดยทั้งหมดได้รวมกันแสดงคอนเสิร์ต ช็อต ชาร์จ ช็อค ร็อก คอนเสิร์ต ที่มีจำนวนผู้ชมล้นหลามและจัดต่อเนื่องด้วยกันถึง 3 ครั้งในรอบ 3 ปี ในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 90 วงการดนตรีไทยได้เปลี่ยนความนิยมไป เมื่ออัลเทอร์เนทีฟและอินดี้ป็อป เริ่มเข้ามามีอิทธิพลและได้รับความนิยมขึ้นมาแทนที่เฮฟวี่เมทัล โมเดิร์นด็อก จากสังกัดเบเกอรี่มิวสิค ก็ได้สร้างปรากฏการณ์ของดนตรีในแนวนี้ขึ้นมาเป็นวงแรก ก่อนจะตามด้วยวงอื่นในแนวเดียวกัน เช่น วายน็อตเซเว่น, ฟลาย, แบล็คเฮด, สไมล์บัฟฟาโล่, นครินทร์ กิ่งศักดิ์ เป็นต้น นอกจากนี้แล้วดนตรีร็อกในแนวอื่นที่มิใช่อัลเทอร์เนทีฟก็ยังได้รับความนิยม เช่น โลโซ, วูล์ฟแพ็ค, ธรรพ์ณธร ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา, ลาบานูน, ไอน้ำ ในยุคปัจจุบัน ดนตรีร็อกไทยได้มีแนวดนตรีแบบใหม่เข้ามา เช่น แกลมเมทัล หรือ นูเมทัล มีหลายวงที่ได้รับความนิยม เช่น บิ๊กแอส, บอดี้แสลม แคลช,โปเตโต้, อีโบลา, เรโทรสเปกต์, สวีตมัลเล็ต, กะลา เป็นต้น วงดนตรีร็อคในเมืองไทยในยุคแรกไม่สามารถจัดเป็นทศวรรษได้ เนื่องจากกระแสความนิยมและการเปลี่ยนแปลงทางดนตรีก้าวกระโดดไปอย่างรวดเร็ว นอกนั้นยังมีวงดนตรีนอกกระแสหรือดนตรีใต้ดินอย่าง ดีเซมเบอร์, ดอนผีบิน หรือกล้วยไทย เป็นต้น.

ใหม่!!: วิฑูร วทัญญูและไทยร็อก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

วิฑูรย์ วทัญญู

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »