โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วิกิ

ดัชนี วิกิ

วิกิ หรือ วิกี (wiki) คือลักษณะของเว็บไซต์แบบหนึ่งที่อนุญาตให้ผู้ใช้ เพิ่มและแก้ไขเนื้อหาได้โดยง่าย ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นต้องมีการลงทะเบียนเพื่อแก้ไข ด้วยความง่ายในการแก้ไขและโต้ตอบ วิกิเว็บไซต์มักจะถูกนำมาใช้ในการร่วมเขียนบทความ คำว่า "วิกิ" นี่ยังสามารถหมายถึงวิกิซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นตัวซอฟต์แวร์รองรับการทำงานระบบนี้ หรือยังสามารถหมายถึงตัวเว็บไซต์เองที่นำระบบนี้มาใช้งาน ระบบวิกิที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ วิกิพีเดีย วิกิจะแตกต่างจากระบบการจัดการเนื้อหาอื่น ในส่วนของการโต้ตอบ ซึ่งเห็นได้จากระบบของกระดานสนทนาออนไลน์หรือบล็อก จะอนุญาตให้ผู้อื่นโต้ตอบโดยการส่งข้อความต่อท้าย และไม่สามารถมีส่วนร่วมในส่วนของเนื้อหาหลักได้.

34 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2538การทำงานร่วมโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยกิตฮับฐานความรู้มหาวิทยาลัยเพอร์ดูมูลนิธิวิกิมีเดียมีเดียวิกิรายชื่อสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลกรายชื่อตัวละครในเก็นโซซุยโคเด็นที่ปรากฏหลายภาควอร์ด คันนิงแฮมวิกิพีเดียวิกิลีกส์วิกิท่องเที่ยววิกิซอฟต์แวร์วิกิเมเนียวิเกียสมอลล์วิลล์ฮู่ต้งจิมมี เวลส์ดิอะเมซิ่งเรซเซ็นทรัลยุโรปคลังปัญญาไทยประสาทวิทยาศาสตร์ปัญญาประดิษฐ์นิวโรเล็กซ์โบมิสโฮมเพจโครงการห้องสมุดดนตรีนานาชาติโปรแกรมประยุกต์บนเว็บไมโครซอฟท์ไมเคิล โบเวนส์ไร้สาระนุกรมเอนซีโกลเปเดียลีเบรอูนีเบร์ซัลเอนเอสปาญอลHome of the Underdogs25 มีนาคม

พ.ศ. 2538

ทธศักราช 2538 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1995 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: วิกิและพ.ศ. 2538 · ดูเพิ่มเติม »

การทำงานร่วมโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย

การทำงานร่วมโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (computer supported cooperative work) หรือ ซีเอสซีดับเบิลยู เป็นระบบการทำงานช่วยให้ผู้ใช้งานทำงานร่วมกันได้โดยผ่านระบบคอมพิวเตอร์ และเครือข่าย อินเทอร์เน็ต ที่เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุด หรือเครือข่ายเล็กๆแบบ ระบบแลน ไปจนกระทั่งเครื่องโทรศัพท์มือถือ ก็มีส่วนช่วยในการทำงานได้ เช่น วิกิ หรือ กรุปแวร.

ใหม่!!: วิกิและการทำงานร่วมโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย · ดูเพิ่มเติม »

กิตฮับ

กิตฮับ (GitHub) เป็นเว็บที่ใช้กิตหรือพื้นที่เก็บข้อมูลการควบคุมเวอร์ชันและบริการพื้นที่บนอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีทั้งหมดของการแบ่งการควบคุมเวอร์ชันและการจัดการซอร์ซโค้ด (SCM) การทำงานของกิตเช่นเดียวกับการเพิ่มคุณสมบัติของตัวเอง โดยมีการควบคุมการเข้าถึงและหลายคุณสมบัติการทำงานร่วมกัน เช่น การติดตามข้อผิดพลาด, คำขอคุณลักษณะ, การจัดภารกิจ และวิกิสำหรับทุกโครงการ กิตฮับเสนอแผนพื้นที่เก็บทั้งแบบเอกชนและเสรีในบัญชีเดียวกัน ซึ่งมักใช้ในการเป็นเจ้าของงานโครงการซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ ณ เดือนเมษายน..

ใหม่!!: วิกิและกิตฮับ · ดูเพิ่มเติม »

ฐานความรู้

นความรู้ (knowledge base ย่อว่า KB หรือ kb) เป็นฐานข้อมูลชนิดพิเศษสำหรับการจัดการความรู้ ฐานความรู้เป็นแหล่งเก็บสารสนเทศที่มีวิธีการรวบรวม จัดการ แบ่งปัน สืบค้น และนำสารสนเทศมาใช้ให้เป็นประโยชน์ มันอาจเป็นฐานความรู้ที่เครื่องอ่านได้หรือตั้งใจให้มนุษย์ใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง.

ใหม่!!: วิกิและฐานความรู้ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเพอร์ดู

แครนเนิร์ต มหาวิทยาลัยเพอร์ดู (Purdue University) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาลโดยมีพื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเมือง เวสต์ลาเฟียตต์ ในรัฐอินดีแอนา ซึ่งอยู่เหนือแม่น้ำวอแบช เพอร์ดูมีชื่อเสียงในด้าน วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ บริหารธุรกิจ ภูมิสถาปัตยกรรม และการจัดการโรงแรม ในปี 2551 คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ถูกจัดอันดับที่ 10 ของประเทศ โดยวิศวกรรมอวกาศอยู่อันดับ 5 ขณะที่ด้านวิศวกรรมโยธาและวิศวกรรมเครื่องกล อยู่ที่อันดับ 7 ของประเทศ และในคณะวิทยาศาสตร์ เคมีวิเคราะห์คงอยู่ที่อันดับ 2 ในขณะที่ด้านสถิติศาสตร์ขึ้นมาเป็นอันดับ 10 และด้านระบบคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และด้านคณิตศาสตร์ประยุกต์ได้ถูกจัดอันดับอยู่ที่ 16, 18, 19, และ 19 ของประเทศตามลำดับ นักศึกษาในเพอร์ดูมีประมาณ 38,000 คน (ปี พ.ศ. 2551).

ใหม่!!: วิกิและมหาวิทยาลัยเพอร์ดู · ดูเพิ่มเติม »

มูลนิธิวิกิมีเดีย

ริษัทมูลนิธิวิกิมีเดีย (Wikimedia Foundation, Inc.; WMF) หรือ วิกิมีเดีย เป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไรและองค์กรการกุศลสัญชาติอเมริกัน มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ส่วนใหญ่เป็นที่รู้จักจากการเข้าร่วมในขบวนการวิกิมีเดีย และเป็นเจ้าของชื่อโดเมนอินเทอร์เน็ตของโครงการส่วนใหญ่ของขบวนการ เช่น วิกิพีเดีย มูลนิธินี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2546 โดยจิมมี เวลส์ เพื่อให้เป็นหนทางหนึ่งในการหาเงินทุนให้แก่วิกิพีเดียและโครงการพี่น้องด้วยวิธีการที่ไม่แสวงหาผลกำไร ณ พ.ศ. 2558 มูลนิธิมีพนักงานกว่า 280 คน และมีรายได้ประจำปีเกินกว่า 75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คริสโตเฟอร์ เฮนเนอร์ (Christophe Henner) ได้เป็นประธานคณะกรรมการบริษัท ส่วนแคทเทอรีน มาเฮอร์ (Katherine Maher) ได้เป็นกรรมการบริหารตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2559.

ใหม่!!: วิกิและมูลนิธิวิกิมีเดีย · ดูเพิ่มเติม »

มีเดียวิกิ

มีเดียวิกิ (MediaWiki) คือซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการข้อมูลในการทำเว็บไซต์ เป็นที่รู้จักดีในฐานะซอฟต์แวร์หลักสำหรับโครงการวิกิพีเดีย และโครงการในวิกิมีเดีย การทำงานของมีเดียวิกิโดยทำงานบนเซิร์ฟเวอร์เป็นหลัก โดยทำงานกับภาษาพีเอชพี และ MySQL โครงการวิกิพีเดียและโครงการอื่นในมูลนิธิวิกิมีเดีย ที่ปัจจุบันใช้งานมีเดียวิกิ ระยะ 3 ภายใต้ลิขสิทธิ์แบบ GFDL โดยซอฟต์แวร์ ถูกใช้ภายใต้ GPL.

ใหม่!!: วิกิและมีเดียวิกิ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลก

นอะกะชิไคเกียว ญี่ปุ่น มีช่วงกลางของสะพานยาวที่สุดในทุกๆ รูปแบบของสะพานแขวน สะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลก แสดงรายชื่อตามความยาวของช่วงกลาง (main span) ของสะพานเป็นหลัก (เช่น ความยาวของถนนระหว่างหอคอยของสะพาน) ความยาวของช่วงกลางหลักคือวิธีการทั่วไปส่วนใหญ่ในการเปรียบเทียบขนาดของสะพานแขวน ซึ่งมีความสัมพันธ์บ่อยครั้งกับความสูงของหอคอยและความซับซ้อนทางวิศวกรรม โดยเกี่ยวข้องกับการออกแบบและการก่อสร้างสะพานนั้น.

ใหม่!!: วิกิและรายชื่อสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลก · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตัวละครในเก็นโซซุยโคเด็นที่ปรากฏหลายภาค

ล็คนาร์ท เกิดและเติบโตที่หมู่บ้านรูนแห่งประตู แต่หมู่บ้านกลับถูกราชอาณาจักรฮาร์โมเนียโจมตี (เธอสูญเสียการมองเห็นจากการถูกโจมตีครั้งนั้น) เล็คนาร์ทและวินดี้จึง ได้ทำการแบ่งรูนแห่งประตูออกเป็นสองส่วน โดยทำการถือครองกันคนละส่วนและแยกกันหนีจากการถูกโจมตี วินดี้ทำการถือครองรูนแห่งประตูด้านหน้า ส่วนเล็คนาร์ททำการถือครองรูนแห่งประตูด้านหลัง เล็คนาร์ทได้รับลุคที่ ถูกทอดทิ้งจากราชอาณาจักรฮาร์โมเนียมาเลี้ยงดูและสอนการใช้เวทมนตร์ให้ ในสงครามรูนแห่งประตู เล็คนาร์ทได้ใช้พลังของรูนแห่งประตูด้านหลังร่วมมือกับรูนแห่งมังกรของโจ ชัวร์ทำการดึงกองทัพปีศาจกลับไปยังมิติเดิมได้สำเร็จ และทำให้วินดี้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้รูนแห่งประตูด้านหน้าหายสาบสูญไป เล็คนาร์ททำหน้าที่เป็นผู้ ควบคุมสมดุลแห่งสรรพสิ่งในจักรวาล และจะปรากฏตัวต่อหน้าเหล่าผู้กล้าต่างๆ ในเวลาที่สมควรและบอกถึงพลังอำนาจต่างๆ ของรูนที่ผู้กล้าเหล่านั้นถือครองอยู่ (หากเราสามารถหาเพื่อนได้ครบทั้ง 108 เล็คนาร์ทจะเข้ามาเปิดผนึกพลังสุดท้ายของรูนที่ผู้กล้าเหล่านั้นถือครอง อยู่) หมวดหมู่:เก็นโซซุยโคเด็น.

ใหม่!!: วิกิและรายชื่อตัวละครในเก็นโซซุยโคเด็นที่ปรากฏหลายภาค · ดูเพิ่มเติม »

วอร์ด คันนิงแฮม

วอร์ด คันนิงแฮม ผู้สร้างวิกิ เฮาวอร์ด จี.

ใหม่!!: วิกิและวอร์ด คันนิงแฮม · ดูเพิ่มเติม »

วิกิพีเดีย

วิกิพีเดีย (Wikipedia, หรือ) เป็นสารานุกรมเนื้อหาเสรีหลายภาษาบนเว็บไซต์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิวิกิมีเดีย องค์กรไม่แสวงผลกำไร เนื้อหากว่า 35 ล้านบทความ (เฉพาะวิกิพีเดียภาษาอังกฤษมีเนื้อหากว่า 4.9 ล้านบทความ) เกิดขึ้นจากการร่วมเขียนของอาสาสมัครทั่วโลก ทุกคนที่สามารถเข้าถึงวิกิพีเดียสามารถร่วมแก้ไขได้แทบทุกบทความได้อย่างเสรี โดยมีผู้เขียนประจำราว 100,000 คน จนถึงเดือนเมษายน..

ใหม่!!: วิกิและวิกิพีเดีย · ดูเพิ่มเติม »

วิกิลีกส์

วิกิลีกส์ (Wikileaks) เป็นเว็บไซต์ที่นำข้อมูลเอกสารของรัฐบาลและบริษัท ซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเผยแพร่ เพื่อการกล่าวหาได้ โดยไม่ถูกผลกระทบทางลบกลับจากองค์กรเหล่านั้น เว็บไซต์วิกิลีกส์อ้างว่าการส่งข้อความต่าง ๆ นั้นจะไม่สามารถถูกติดตามได้ ไม่ว่าจากใครก็ตาม เว็บไซต์ทำงานโดยใช้รุ่นดัดแปลงของซอฟต์แวร์มีเดียวิก.

ใหม่!!: วิกิและวิกิลีกส์ · ดูเพิ่มเติม »

วิกิท่องเที่ยว

วิกิท่องเที่ยว (Wikivoyage) เป็นคู่มือท่องเที่ยวออนไลน์สำหรับแหล่งท่องเที่ยวและหัวข้อท่องเที่ยวที่เขียนโดยอาสาสมัคร ชื่อของโครงการนี้ในภาษาอังกฤษประกอบด้วย "Wiki" และ "Voyage" คำภาษาฝรังเศสที่หมายถึงการท่องเที่ยว การเดินทาง.

ใหม่!!: วิกิและวิกิท่องเที่ยว · ดูเพิ่มเติม »

วิกิซอฟต์แวร์

วิกิซอฟต์แวร์ (Wiki software) เป็นซอฟต์แวร์เพื่อความร่วมมือชนิดหนึ่งบนระบบ วิกิ โดยประมวลผลบน เว็บเซิร์ฟเวอร์ การจัดเก็บเนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการความสัมพันธ์ของฐานข้อมูล แม้ว่าบางครั้งการใช้เครื่องมือจะถูกจัดเก็บในรูปของไฟล์แทน ระบบการทำงานแบบวิกิถูกคิดขึ้นโดย วอร์ด คันนิงแฮม (Ward Cunningham) ในปี ค.ศ. 1995 โดยแนวคิดของวิกินั้นจะให้ความสัมพันธ์อย่างเรียบง่าย และมีเครื่องมือซึ่งง่ายต่อการใช้งานดูแลและปรับปรุงระบบ ระบบวิกิธรรมดาจะแตกต่างกับระบบวิกิที่ซับซ้อน ในด้านของเนื้อหาค่าใช้จ่ายของโครงการ ที่ใช้งานระบบที่มีสมรรถภาพสูง เช่น Drupal หรือ WebGUI วิกิซอฟต์แวร์ สามารถอธิบาย ส่วนประกอบทั้งหมดที่โปรแกรมต้องการในการทำงานของวิกิ อาจจะประกอบด้วยเว็บเซิร์ฟเวอร์ เช่น อแพชี (Apache) ในส่วนเพิ่มเติมของ วิกิเอนจิน (Wiki engine) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของวิกิ ในบางกรณี เช่น ProjectForum หรือ วิกิเซิร์ฟเวอร์ การทำงานของเว็บเซิร์ฟเวอร์และวิกิเอนจิน จะโยงความสัมพันธ์เข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียวด้วยระบบการจัดการและควบคุม ซึ่งง่ายต่อการติดตั้ง วิกิซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของโอเพนซอร์ส ซึ่งสามารถเผยแพร่ต่อสาธารณะภายใต้ลิขสิทธิ์ของ GPL ตัวอย่างเช่นโครงการใหญ่อย่าง มีเดียวิกิ (ระบบของวิกิพีเดีย) และ TWiki ซอฟต์แวร์จะถูกพัฒนาด้วยจากหลายบุคคลร่วมกัน วิกิจำนวนมากมีมาตรฐานการวัดคุณภาพสูง การเขียนโปรแกรมประยุกต์ จะถูกอนุญาตให้โปรแกรมเมอร์พัฒนาลักษณะเด่นใหม่ๆตามความต้องการ วิกิซอฟต์แวร์ บางตัวถูกกำหนดให้ใช้งานการร่วมมือกันทำงาน แต่การจัดการจะขึ้นอยู่กับการใช้งาน ข่าวสารตัวอย่างเช่น AcroWiki สำหรับ ปาล์มโอเอส (PalmOS) และ ConnectedText และ wikidPad สำหรับ วินโดว.

ใหม่!!: วิกิและวิกิซอฟต์แวร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิกิเมเนีย

วิกิเมเนีย (Wikimania) เป็นการประชุมวิชาการระดับนานาชาติประจำปีสำหรับผู้ใช้ของโครงการวิกิที่ดำเนินการโดยมูลนิธิวิกิมีเดีย (ประกอบด้วยวิกิพีเดียและโครงการพี่น้องอื่น ๆ) หัวข้อการนำเสนอและการอภิปรายประกอบด้วยโครงการมูลนิธิวิกิมีเดีย, วิกิอื่น ๆ, ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ, ความรู้และเนื้อหาเสรี และสังคมที่แตกต่างรวมถึงเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อเหล่านี้.

ใหม่!!: วิกิและวิกิเมเนีย · ดูเพิ่มเติม »

วิเกีย

วิเกีย (Wikia หรือชื่อเดิม วิกิซิตีส์ Wikicities) คือเว็บไซต์ที่ให้บริการฟรีการใช้งานของระบบวิกิ คล้ายคลึงกับวิกิพีเดียก่อตั้งโดย จิมมี เวลส์ (ผู้ก่อตั้งวิกิพีเดีย) และ แองเจลา บีสลีย์ (Angela Beesley) ในปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) และบริหารงานโดยบริษัทวิเกีย เว็บโฮสต์ติงฟรีซึ่งคล้ายคลึงกับ จีโอซิตีส์ (Geocities) ที่เป็นเว็บโฮสท์ให้บริการสร้างโฮมเพจฟรี วิกิซีตีส์ให้บริการฟรีสำหรับผู้เขียนและผู้อ่าน โดยได้รับรายได้หลักจากการเก็บค่าโฆษณา ที่แสดงผลในเว็บนั้น ผู้ใช้สามารถขอวิเกียเป็นชื่อของกลุ่มตัวเองได้โดยทำเรื่องร้องขอ ผ่านทางผู้ดูแลระบบ โดยการกำหนดขอบเขตของโครงการ ผลประโยชน์ต่อบุคคลอื่น และผู้ร่วมงาน โดยเมื่อโครงการผ่านการยอมรับจากผู้ดูแลระบบแล้ว สามารถเปิดใช้งานและสามารถเขียนเพิ่มเติมได้ทันที โดยลิขสิทธิ์ของงานเขียนทั้งหมดภายในวิเกียกำหนดให้เป็นลิขสิทธิ์แบบเสรีในแบบ GFDL ซึ่งทางผู้ก่อตั้งกลุ่มย่อยต้องยอมรับการที่จะขอเสนอเปิดโครงการนั้น เนื้อหาบางส่วนไม่สามารถนำมาใช้ในระบบวิเกียซึ่งมีกล่าวไว้ในนโยบายของเว็บไซต์ได้แก่ การเปิดวิเกีย ช่วยกันสร้างสังคมเกี่ยวกับ ยาเสพย์ติด เหล้า บุหรี่ การพนัน และสิ่งผิดกฎหมายต่างๆ วิเกียใช้โปรแกรมชื่อว่ามีเดียวิกิทำงานบนเซิร์ฟเวอร์ ลีนุกซ์ ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ได้มีโครงการวิกิ ครบ 100 โครงการในวิเกีย โดยในปัจจุบัน (สิงหาคม 2548) มีโครงการวิกิประมาณ 500 โครงการ ภาษาหลักที่ใช้วิเกีย ขึ้นอยู่กับทางผู้จัดตั้งแต่ละโครงการย่อยเป็นคนตัดสิน โดยการติดต่อกับส่วนกลางใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก.

ใหม่!!: วิกิและวิเกีย · ดูเพิ่มเติม »

สมอลล์วิลล์

มอลวิลล์ ผจญภัยหนุ่มน้อยซูเปอร์แมน เป็นละครชุดทางโทรทัศน์ ผลิตโดย นักเขียนบทและผู้อำนวยการสร้าง แอลเฟร็ด กัฟและไมล์ส มิลล่าร์ โดยมีพื้นฐานจากการ์ตูนเรื่อง ซูเปอร์แมน ตัวละครจากสำนักพิมพ์ ดีซีคอมิกส์ ซึ่งสร้างโดย เจอร์รี ชีเกล และ โจ ชูสเตอร์ สมอลวิลล์ ออกอากาศครั้งแรกทางสถานีโทรทัศน์ The WB ในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2544 โดยทำลายสถิติผู้ชมสูงสุดตลอดกาลของตอนแรกในละครของสถานี โดยมีผู้ชมกว่า 8.4 ล้านคนในตอนแรกทั่วสหรัฐอเมริกา ซึ่งมากกว่าละครเรื่อง Charmed ที่ทำสถิติไว้ที่ 7.7 ล้านคน ซึ่งละครสมอลล์วิลล์ก็ยังรักษาสถิติละครอันดับ 1 ของช่อง The WB ไว้ตลอดจนกระทั่งสิ้นสถานี และได้ออกอากาศต่อที่ช่อง The CW โดยยังเป็นละครที่ได้รับความนิยมสูงเสมอมา ถึงแม้จะถูกย้ายเวลาไปอยู่คืนวันศุกร์ซึ่งถือเป็น "คืนมรณะ" สำหรับวงการโทรทัศน์อเมริกา แต่จำนวนคนดูก็ยังมากกว่าละครที่ฉายในวันปกติเสมอ สมอลล์วิลล์ ออกอากาศตอนสุดท้ายในคืนวันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม 2554 ด้วยตอนพิเศษ 2 ชั่วโมงทางสถานีโทรทัศน์ The CW หลังจากออกอากาศมา 10 ปีกับ 218 ตอนและ 2 สถานีโทรทัศน์ Smallville กลายเป็นละคร Sci-fi ที่ออกอากาศต่อเนื่องยาวนานที่สุดในสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน ทำลายสถิติเดิมของ Stargate SG-1 ที่เคยทำไว้ก่อนหน้านี้.

ใหม่!!: วิกิและสมอลล์วิลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮู่ต้ง

ู่ต้ง (互动在线,, Hudong) เป็นเครือข่ายสังคมแสวงหาผลกำไรในจีน รวมทั้งเว็บไซต์สารานุกรม/ข่าวภาษาจีนที่ใหญ่ที่สุดของโลก แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ใหม่โดยเสรี เป็นเว็บไซต์วิกิขนาดใหญ่ที่สุดของจีน โดยมีการโฆษณาที่ได้รับค่าตอบแทน, 10 December 2007 มีบทความมากกว่า 5 ล้านบทความและอาสาสมัครมากกว่า 2.5 ล้านคน จนถึงเดือนกุมภาพัน..

ใหม่!!: วิกิและฮู่ต้ง · ดูเพิ่มเติม »

จิมมี เวลส์

มมี ดอนอล "จิมโบ" เวลส์ (Jimmy Donal "Jimbo" Wales) เกิดวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2509 เป็นผู้ประกอบการด้านอินเทอร์เน็ตชาวอเมริกัน และเป็นผู้ก่อตั้งวิกิพีเดีย ซึ่งเป็นสารานุกรมเนื้อหาเสรีบนอินเทอร์เน็ตที่เปิดให้ทุกคนร่วมมือกันแก้ไขได้.

ใหม่!!: วิกิและจิมมี เวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ดิอะเมซิ่งเรซเซ็นทรัลยุโรป

อะเมซิง เรซ เซ็นทรัล ยุโรป (The Amazing Race Central Europe) เป็นรายการเรียลลิตี้เกมส์โชว์ทางโทรทัศน์ที่สร้างจากเรียลลิตี้โชว์ของสหรัฐอเมริกาชื่อดังที่ชื่อ ดิ อะเมซิ่ง เรซ รายการนี้ผลิตโดยเอเอ็กซ์เอ็น ยุโรป ที่มีบริษัท โซนี่ พิคเจอร์ เอ็นเตอร์เทเมน อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นบริษัทแม่ เช่นเดียวกันกับ ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย โดยการแข่งขันจะแบ่งเป็นทีมละสองคน ออกเดินทางรอบโลกเพื่อแข่งขันกับทีมอื่นๆ โดยพยายามเดินทางให้ถึงจุดหมายในแต่ละรอบให้ได้เร็วที่สุด และระหว่างเดินทางจะต้องทำภารกิจแต่ละรอบที่มอบหมายให้สำเร็จ การแข่งขันเดินทางไปในหลายประเทศ ใช้พาหนะในการเดินทางหลากหลาย เช่น เครื่องบิน, แท็กซี่, รถเช่า, รถไฟ, รถประจำทาง, เรือ ทำการรับสมัครวันสุดท้ายวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2548 การเดินทางส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศ สาธารณรัฐเช็ค, โปแลนด์, สโลวาเกีย, ฮังการี, โรมาเนีย และ บัลแกเรีย โดยผู้ชนะจะได้รับเงินรางวัล 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับกฎกติกาส่วนใหญ่จะนำมาจาก ดิ อะเมซิ่ง เรซ เวอร์ชันอเมริกา ทั้งหมด แต่ขีดจำกัดอายุขั้นต่ำของผู้เข้าแข่งขันลดลงเหลืออายุ 18 ปีขึ้นไป เมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 มีการประกาศออกมาจากทางเอเอ็กซ์เอ็นว่า การคัดตัวผู้เข้าแข่งขันนั้นได้สิ้นสุดลงแล้ว และรายการมีกำหนดจะออกอากาศในเร็ว ๆ นี้อย่างไรก็ดีในเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2550 ได้มีการถอดเว็บไซต์ของรายการเนื่องจากรายการอาจถูกยกเลิก รวมถึงมีการถอดผังรายการที่มีรายการนี้อยู่ด้วย และเมื่อเดือน กรกฎาคม..

ใหม่!!: วิกิและดิอะเมซิ่งเรซเซ็นทรัลยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

คลังปัญญาไทย

ลังปัญญาไทย เป็นเว็บไซต์สร้างสารานุกรมออนไลน์ ที่ผู้อ่านสามารถร่วมเขียนเนื้อหาได้ โดยจะเป็นโครงการพัฒนาแหล่งความรู้ภาษาไทย โดยอาศัยสื่ออินเทอร์เน็ต เปิดตัวทางสื่อมวลชนในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2549 โดยในวันเปิดตัวนั้น ถึงแม้ว่าหน้าเว็บแรกของคลังปัญญาไทยประกาศว่ามีส่วนสารานุกรมต่อยอด แต่ยังไม่มีการเปิดใช้งานในส่วนของสารานุกรมต่อยอด (ส่วนวิกิ) โดยข้อมูลหลักเก็บไว้ในส่วนเนื้อหาที่ไม่อนุญาตให้ผู้อื่นแก้ไขตามที่ออกมาในข่าว และต่อมาในวันที่ 4..

ใหม่!!: วิกิและคลังปัญญาไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทวิทยาศาสตร์

ประสาทวิทยาศาสตร์ (Neuroscience) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ โครงสร้าง (neuroanatomy), หน้าที่, การเจริญเติบโต (neural development), พันธุศาสตร์, ชีวเคมี, สรีรวิทยา, เภสัชวิทยา และพยาธิวิทยาของระบบประสาท นอกจากนี้การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและการเรียนรู้ยังถือว่าเป็นสาขาของประสาทวิทยาอีกด้วย การศึกษาทางชีววิทยาของสมองของมนุษย์มีเนื้อหาเกี่ยวโยงกันของสาขาวิชาต่าง ๆ ในหลายระดับ มีตั้งแต่ระดับโมเลกุลไปจนถึงระดับเซลล์ (นิวรอน) ซึ่งมีทั้งระดับการทำงานของกลุ่มของนิวรอนจำนวนน้อย เช่น ในคอลัมน์ของสมองส่วนคอร์เทกซ์ (cortical columns) ไปจนถึงระดับการทำงานของระบบต่าง ๆ ในสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบประสาทการมองเห็น และไปจนถึงระดับการทำงานของระบบขนาดใหญ่ เช่น การทำงานของสมองส่วนซีรีบรัลคอร์เทกซ์ หรือ ซีรีเบลลัม และการทำงานของสมองทั้งหมด ระดับสูงสุดของการศึกษาวิชาประสาทวิทยา คือ การนำวิธีการศึกษาทางประสาทวิทยาไปรวมกับการศึกษาทางปริชานประสาทวิทยาศาสตร์ หรือประสาทวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการรับรู้ (cognitive neuroscience) อันเป็นสาขาวิชาที่พัฒนามาจากวิชา จิตวิทยาการรับรู้ (cognitive psychology) แต่ปัจจุบันได้แยกออกมาเป็นสาขาวิชาหนึ่ง ปริชานประสาทวิทยาศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่ทำให้เราเข้าใจการทำงานของจิตใจ (mind) และการมีสติ (consciousness) จากเหตุมายังผล ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาทางวิชาจิตวิทยาอันเป็นการศึกษาจากผลมายังเหตุ นักวิทยาศาสตร์บางท่านเชื่อว่าปริชานประสาทวิทยาศาสตร์สามารถอธิบายสิ่งต่าง ๆ เพิ่มเติมจากการศึกษาทางจิตวิทยา และบางทีอาจจะดีกว่าจนกระทั่งมาแทนที่ความรู้ทางจิตวิทยาที่เชื่อกันมาได้ หัวข้อการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับวิชาประสาทวิทยาศาสตร์ อาทิเช่น.

ใหม่!!: วิกิและประสาทวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปัญญาประดิษฐ์

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ เอไอ (AI) หมายถึงความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมเป็นหลัก แต่ยังรวมถึงศาสตร์ในด้านอื่น ๆ อย่างจิตวิทยา ปรัชญา หรือชีววิทยา ซึ่งสาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการคิด การกระทำ การให้เหตุผล การปรับตัว หรือการอนุมาน และการทำงานของสมอง แม้ว่าดังเดิมนั้นเป็นสาขาหลักในวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่แนวคิดหลาย ๆ อย่างในศาสตร์นี้ได้มาจากการปรับปรุงเพิ่มเติมจากศาสตร์อื่นๆ เช่น.

ใหม่!!: วิกิและปัญญาประดิษฐ์ · ดูเพิ่มเติม »

นิวโรเล็กซ์

นิวโรเล็กซ์ (NeuroLex) เป็นพจนานุกรมพลวัตของข้อคิดต่าง ๆ ทางประสาทวิทยาศาสตร์ อยู่ในรูปแบบของ semantic wiki (วิกิแบบกำหนดความหมาย) โดยใช้ระบบของ Semantic MediaWiki เป็นโปรเจ็กต์สนับสนุนโดย Neuroscience Information Framework (ตัวย่อ NIF แปลว่า โครงข่ายข้อมูลประสาทวิทยาศาสตร์).

ใหม่!!: วิกิและนิวโรเล็กซ์ · ดูเพิ่มเติม »

โบมิส

มิส เป็นบริษัทดอตคอม ก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: วิกิและโบมิส · ดูเพิ่มเติม »

โฮมเพจ

มเพจ (home page) หมายถึง เว็บเพจหน้าแรกที่ปรากฏของแต่ละเว็บไซต.

ใหม่!!: วิกิและโฮมเพจ · ดูเพิ่มเติม »

โครงการห้องสมุดดนตรีนานาชาติ

รงการห้องสมุดดนตรีนานาชาติ (International Music Score Library Project มีชื่อย่อว่า IMSLP) มีอีกชื่อหนึ่งว่า ห้องสมุดดนตรีเปตรุชชี (Petrucci Music Library) ตั้งตามชื่อของออตตาเวียโน เปตรุชชี (ค.ศ. 1466 – 1539) ผู้จัดพิมพ์โน้ตดนตรีชาวอิตาลี เป็นโครงการจัดตั้งห้องสมุดดนตรีออนไลน์ เพื่อเผยแพร่โน้ตดนตรีที่เป็นสาธารณสมบัติในรูปแบบวิกิ เว็บไซต์เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกุมภาพัน..

ใหม่!!: วิกิและโครงการห้องสมุดดนตรีนานาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ

ในวิศวกรรมซอฟต์แวร์ โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ หรือเรียกโดยทับศัพท์ว่า เว็บแอปพลิเคชัน (web application) คือโปรแกรมประยุกต์ที่เข้าถึงด้วยโปรแกรมค้นดูเว็บผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างอินเทอร์เน็ตหรืออินทราเน็ต เว็บแอปพลิเคชันเป็นที่นิยมเนื่องจากความสามารถในการอัปเดตและดูแล โดยไม่ต้องแจกจ่ายและติดตั้งบนเครื่องผู้ใช้ ตัวอย่างเว็บแอปพลิเคชันได้แก่ เว็บเมล การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การประมูลออนไลน์ กระดานสนทนา บล็อก วิก.

ใหม่!!: วิกิและโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครซอฟท์

มโครซอฟท์ (Microsoft) เป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ของโลก มีฐานการผลิตอยู่ที่เมืองเรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา โดยผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ที่มีกำลังการตลาดมากที่สุดคือ ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และ ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ จุดเริ่มต้นของบริษัทคือการพัฒนาและออกจำหน่ายตัวแปลภาษาเบสิก สำหรับเครื่องแอทแอร์ 8800 หลังจากนี้น ไมโครซอฟท์เริ่มมีอิทธิพลต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ภายในบ้าน โดยการออกระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ดอสเมื่อช่วงกลางยุค 1980 ในสายการผลิตของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ โดยได้รับความนิยมจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี นักวิจารณ์ผู้หนึ่งกล่าวถึงเป้าหมายแรกของไมโครซอฟท์ว่า ไมโครซอฟท์ได้เริ่มครอบงำตลาดซอฟต์แวร์อื่นๆ โดยไมโครซอฟท์มีกิจการอื่นๆ ของตัวเองเช่น MSNBC (ดำเนินธุรกิจเคเบิลทีวี), เอ็มเอสเอ็น (ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต),และเอ็นคาร์ทาร์ (ดำเนินธุรกิจสารานุกรมออนไลน์) บริษัทยังดำเนินกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์อีกด้วย เช่น เมาส์ และอุปกรณ์ความบันเทิงต่าง ๆ เช่น Xbox, Xbox 360, Xbox One, ซูน และ เอ็มเอสเอ็น ทีวี.

ใหม่!!: วิกิและไมโครซอฟท์ · ดูเพิ่มเติม »

ไมเคิล โบเวนส์

มิเชล บาวเวนส์ (Michel Bauwens; เกิด 21 มีนาคม ค.ศ. 1958) เป็นนักปรัชญาและนักทฤษฎีเสมอภาคชาวเบลเยียม ไมเคิลเป็นผู้บุกเบิกอินเทอร์เน็ตในประเทศเบลเยียม เคยทำงานเป็นที่ปรึกษาทางด้านอินเทอร์เน็ต, เคยเป็นนักวิเคราะห์สารสนเทศให้กับ หน่วยงานสารสนเทศของสหรัฐอเมริกา (United States Information Agency), เคยเป็นผู้จัดการสารสนเทศให้กับบริติช ปิโตรเลียม (ที่ที่เขาสร้างหนึ่งในศูนย์สารสนเทศเสมือนแห่งแรกขึ้น) และเป็นอดีตบรรณาธิการบริหารของนิตยสารภาษาดัชต์ เวฟ (Wave) ซึ่งเป็นนิตยสารเกี่ยวกับสังคมดิจิทัลเล่มแรกของยุโรป เขาเคยสร้างภาพยนตร์โทรทัศน์ความยาว 3 ชั่วโมง ที่ชื่อว่า เทคโนคาลิปส์ (TechnoCalyps) เป็นหนังแนวปรัชญาเกี่ยวกับเทคโนโลยีและจุดจบของมนุษย์ และได้ร่วมเขียนหนังสือภาษาฝรั่งเศสสองเล่มในหัวข้อ มานุษยวิทยาของสังคมดิจิตอล งานเขียนที่มีชื่อเสียงชิ้นหนึ่งของเขาคือ Peer to Peer and Human Evolution เขาเคยอาศัยอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย ที่ซึ่งเขาได้ก่อตั้งมูลนิธิทางเลือก P2P (Foundation for P2P Alternatives) นอกจากนี้เขายังได้สอนวิชามานุษยวิทยาของสังคมดิจิตอล สำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษาที่ ไอเชค เซนต์หลุยส์ ที่เมืองบรัซเซล ประเทศเบลเยียม (ICHEC/St. Louis in Brussels) และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องที่มหาวิทยาลัยพายัพและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันเขาเป็นอาจารย์อยู่ที่วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และทำงานกับ Asian Foresight Institute.

ใหม่!!: วิกิและไมเคิล โบเวนส์ · ดูเพิ่มเติม »

ไร้สาระนุกรม

ร้สาระนุกรม หรือ อันไซโคลพีเดีย (Uncyclopedia) เป็นเว็บไซต์ที่เลียนแบบสารานุกรมที่ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โดยเก็บรวบรวมเรื่องขำขันล้อเลียนสารานุกรมวิกิพีเดีย ก่อตั้งเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2548 โดย โจนาธาน หวง (Jonathan Huang) ไร้สาระนุกรมเก็บข้อมูลไว้สองที่คือที่ วิเกีย ที่เป็นโฮสต์ให้บริการซอฟต์แวร์วิกิ เช่นในไร้สาระนุกรมภาษาอังกฤษ, ไร้สาระนุกรมภาษาสเปน, ไร้สาระนุกรมภาษาฝรั่งเศส เป็นต้น และที่ Carlb ได้แก่ไร้สาระนุกรมภาษาไทย, ไร้สาระนุกรมภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น รวมแล้วมากกว่า 75 ภาษา ปัจจุบันไร้สาระนุกรมภาษาอังกฤษมีเนื้อหาประมาณ 30,000 บทความ สำหรับไร้สาระนุกรมภาษาไทยนั้น ได้รับการก่อตั้งในวันที่ 4 มกราคม..

ใหม่!!: วิกิและไร้สาระนุกรม · ดูเพิ่มเติม »

เอนซีโกลเปเดียลีเบรอูนีเบร์ซัลเอนเอสปาญอล

ับหน้าจอของเอนซีโกลเปเดียลีเบร 1 เมษายน พ.ศ. 2549 เอนซีโกลเปเดียลีเบรอูนีเบร์ซัลเอนเอสปาญอล (Enciclopedia Libre Universal en Español) เป็นสารานุกรมวิกิภาษาสเปน ซึ่งอนุญาตให้เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู เว็บดังกล่าวใช้ซอฟต์แวร์มีเดียวิกิ ถือกำเนิดขึ้นโดยแยกสาขาออกมาจากวิกิพีเดียภาษาสเปน.

ใหม่!!: วิกิและเอนซีโกลเปเดียลีเบรอูนีเบร์ซัลเอนเอสปาญอล · ดูเพิ่มเติม »

Home of the Underdogs

Home of the Underdogs (HotU) เป็นเว็บไซต์รวบรวม abandonware หรือซอฟต์แวร์ที่ไม่มีผู้พัฒนา/จัดจำหน่ายอีกต่อไปแล้ว ดำเนินงานโดย สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการชาวไทย เจ้าของเว็บไซต์ "" ในเว็บไซต์มีซอฟต์แวร์และคู่มือให้ดาวน์โหลดจำนวนมาก โดยเน้นไปที่ซอฟต์แวร์เกมที่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จด้านยอดขายนัก รวมทั้งเกมที่ดี แต่ไม่ค่อยมีคนรู้จัก โดยมีรีวิวเกมมากกว่า 5,300 เกม เว็บไซต์นี้เปิดให้บริการตั้งแต่เดือนกันยายน 2541และก็กลายเป็นเว็บไซต์รวบรวม abandonware ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในอินเทอร์เน็ต เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2552 เว็บไซต์ HotU ได้ปิดตัวลงไปเนื่องจากทางผู้ให้บริการเว็บโฮสล้มละลาย แต่ก็มีความพยายามในการฟื้นฟูเว็บไซต์นี้ขึ้นมาอีกครั้ง โดยมีเป้าหมายสร้างเว็บแบบวิกิเพื่อให้ผู้อ่านสามารถร่วมปรับปรุงเนื้อหาได้ ปัจจุบันได้มีเว็บที่สร้างขึ้นเพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของ HotU หลายแห่ง ซึ่งสร้างขึ้นโดยอดีตผู้ใช้ของเว็บ HotU ต้นตำรับ ซึ่งเว็บไซต์เหล่านี้ถูกสร้างขึ้นโดยเป็นอิสระจากกัน และคุณสฤณีไม่ได้เข้าไปร่วมสร้างด้วยอีกต่อไป เพราะเจ้าตัวได้หันไปทำงานทางวิชาการแทน.

ใหม่!!: วิกิและHome of the Underdogs · ดูเพิ่มเติม »

25 มีนาคม

วันที่ 25 มีนาคม เป็นวันที่ 84 ของปี (วันที่ 85 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 281 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: วิกิและ25 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Wikiระบบวิกิ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »