โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วิกฤตการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3

ดัชนี วิกฤตการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3

ักรวรรดิที่ถูกแบ่งแยกในปี ค.ศ. 271: จักรวรรดิกอลสีเขียว, จักรวรรดิพาลมิรีนสีเหลือง และจักรวรรดิโรมันสีแดง วิกฤติการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3 (Discrimen Tertii Saeculi, Crisis of the Third Century) หรืออนาธิปไตยทางทหาร (Military Anarchy หรือวิกฤติการณ์จักรวรรดิ (Imperial Crisis; ค.ศ. 235–284) เป็นช่วงระยะเวลาที่จักรวรรดิโรมันประสบวิกฤติการณ์ที่แทบจะนำความสิ้นสุดมาสู่จักรวรรดิจากปัญหาหลายอย่างรวมกันที่รวมทั้งการรุกรานของศัตรู, สงครามกลางเมือง, โรคระบาด, และความตกต่ำทางเศรษฐกิจ วิกฤติการณ์เริ่มด้วยการลอบสังหารของจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ เซเวรัส โดยทหารของพระองค์เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของห้าสิบปีของความปั่นป่วนที่ในระหว่างนั้นก็มีผู้อ้างตนเป็นจักรพรรดิถึง 20 ถึง 25 คน ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นนายพลผู้มีชื่อเสียงของกองทัพโรมันที่เข้ายึดอำนาจทั้งหมดหรือบางส่วนของจักรวรรดิ เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 258 ถึงปี ค.ศ. 260 จักรวรรดิโรมันก็แบ่งออกเป็นสามส่วน: จักรวรรดิกอล ที่รวมทั้งจังหวัดโรมันแห่งกอล, บริเตน และฮิสปาเนีย (Hispania); และจักรวรรดิพาลไมรีน ที่รวมทั้งจังหวัดทางตะวันออกของซีเรีย, ปาเลสไตน์ และเอกิบตัส (Aegyptus) สองจักรวรรดิแยกตัวออกจากจักรวรรดิโรมันที่มีศูนย์กลางอยู่ในอิตาลี วิกฤติการณ์ยุติลงด้วยการขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิไดโอคลีเชียน.

11 ความสัมพันธ์: ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานอิตาเลีย (จักรวรรดิโรมัน)จักรพรรดิมักซิมินุส ทรากส์จักรพรรดิดิออเกลติอานุสจักรพรรดิแซเวรุส อาแล็กซันแดร์จักรวรรดิพาลไมรีนจตุราธิปไตยปลายสมัยโบราณเภสัชกรรมสมัยกลางเสามาร์กุส เอาเรลิอุส20 พฤศจิกายน

ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน

ลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน (Migration Period art) เป็นงานศิลปะของกลุ่มชนเจอร์มานิคระหว่างสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรป ระหว่าง ค.ศ. 300 จนถึง ค.ศ. 900 ที่รวมทั้งศิลปะของกลุ่มชนเจอร์มานิคเองบนภาคพื้นยุโรป และ “ศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอน” หรือ “ศิลปะเกาะ” ซึ่งเป็นศิลปะผสานระหว่างศิลปะของชาวแองโกล-แซ็กซอน และ ชาวเคลต์บนหมู่เกาะบริติช ลักษณะของศิลปะก็ครอบคลุมหลายลักษณะตั้งแต่ “ลักษณะพหุรงค์” และ “ลายรูปสัตว์” ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานเป็นสมัยประวัติศาสตร์ศิลปะที่สำคัญของศิลปะยุคกลาง.

ใหม่!!: วิกฤตการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3และศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน · ดูเพิ่มเติม »

อิตาเลีย (จักรวรรดิโรมัน)

วนหนึ่งของ “แผนที่พิวทินเจอริอานา” (Tabula Peutingeriana) ซึ่งเป็นแผนที่โรมันจากคริสต์ศตวรรษที่ 4 ที่แสดงดินแดนอิตาลีตอนใต้ อิตาเลีย หรือ โรมันอิตาเลีย (Italia) ภายใต้สาธารณรัฐโรมันและต่อมาจักรวรรดิโรมันคือชื่อของคาบสมุทรอิตาลี.

ใหม่!!: วิกฤตการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3และอิตาเลีย (จักรวรรดิโรมัน) · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิมักซิมินุส ทรากส์

ักรพรรดิมักซิมินุส ทรากส์ หรือ กาลิอัส ลูลิอัส เวรัส มักซิมินุส หรือ จักรพรรดิมักซิมินุสที่ 1 (Maximinus Thrax; ชื่อเต็ม: Gaius Iulius Verus Maximinus) (ราว ค.ศ. 173 – ค.ศ. 238) มักซิมินุส ทรากส์เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมัน ผู้ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ เซเวรัสเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 235 จนเสด็จสวรรคตใน ค.ศ. 238 มักซิมินุสได้รับการบรรยายโดยแหล่งข้อมูลโบราณหลายแหล่งว่าเป็นบาร์บาเรียนคนแรกที่ได้แต่งสีม่วงจักรพรรดิ และเป็นพระจักรพรรดิที่ไม่เคยเข้ามายังกรุงโรม และเป็นจักรพรรดิองค์แรกที่เรียกว่า “จักรพรรดิจากทหาร” (barracks emperor) ของคริสต์ศตวรรษที่ 3 มักซิมินุสเป็นจักรพรรดิองค์แรกของสมัยที่เรียกว่า “ยุควิกฤติการณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 3” (Crisis of the Third Century).

ใหม่!!: วิกฤตการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3และจักรพรรดิมักซิมินุส ทรากส์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิดิออเกลติอานุส

ออเกลติอานุส (Gaius Aurelius Valerius Diocletianus; ภาษาอังกฤษ: Diocletian; ภาษากรีก: Διοκλής) (ราว 22 ธันวาคม ค.ศ. 244 - เสียชีวิต 3 ธันวาคม ค.ศ. 311) เมื่อแรกเกิดชื่อ “ไดโอคลีส” และรู้จักกันว่า “ดิออเกลติอานุส”เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมัน 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 284 ถึงวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 286 ด้วยพระองค์เอง และระหว่างวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 286 ถึงวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 305 ในฐานะออกัสตัสแห่งตะวันออก และร่วมกับแม็กซิเมียนในฐานะออกัสตัสแห่งตะวันตก ดิออเกลติอานุสเป็นจักรพรรดิที่เป็นผู้ยุติเหตุการณ์ที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่า วิกฤติการณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 3 ที่เกิดขึ้นระหว่างปี..

ใหม่!!: วิกฤตการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3และจักรพรรดิดิออเกลติอานุส · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิแซเวรุส อาแล็กซันแดร์

ักรพรรดิแซเวรุส อาแล็กซันแดร์ หรือ มาร์คัส ออเรลิอัส แซเวรุส อาแล็กซันแดร์ (Alexander Severus; ชื่อเต็ม: Marcus Aurelius Severus Alexander) (1 ตุลาคม ค.ศ. 208 – 18 มีนาคม ค.ศ. 235) แซเวรุส อาแล็กซันแดร์เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันของราชวงศ์เซเวอรัน ผู้ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากจักรพรรดิเอลากาบาลัสผู้ถูกลอบสังหารในปี ค.ศ. 222 จนเสด็จสวรรคตโดยการถูกลอบสังหารเช่นกันเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 235 ที่เป็นการเริ่มยุคประวัติศาสตร์โรมันที่เรียกว่ายุควิกฤติการณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 3 (Crisis of the Third Century) ที่ยาวนานเกือบห้าสิบปีเมื่อจักรวรรดิโรมันต้องเผชิญกับสงครามกลางเมือง, ภาวะความวุ่นวายทางเศรษฐกิจ, การปฏิวัติในบริเวณต่างๆ ในจักรวรรดิ และอันตรายจากภายนอกที่แทบจะทำให้จักรวรรดิเกือบล่มสลาย แซเวรุส อาแล็กซันแดร์ทรงเป็นทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงของจักรพรรดิเอลากาบาลัสผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องกัน เอลากาบาลัสและพระมารดาทรงถูกลอบสังหารและโยนร่างลงไปในแม่น้ำไทเบอร์โดยฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์เพราะทรงเป็นจักรพรรดิผู้ไม่ทรงเป็นที่นิยมเท่าใดนัก เอลากาบาลัสและแซเวรุส อาแล็กซันแดร์เป็นหลานของจูเลีย เมซา (Julia Maesa) ผู้มีอิทธิพลและมีอำนาจผู้ที่เป็นผู้จัดการให้เอลากาบาลัสขึ้นเป็นจักรพรรดิโดยกองทหารกอลลิคที่ 3 รัชสมัยของแซเวรุส อาแล็กซันแดร์เริ่มต้นด้วยการเป็นสมัยที่อุดมสมบูรณ์และสงบสุข ทางด้านความขัดแย้งทางการทหารในการต่อต้านการลุกฮือของจักรวรรดิซาสซานิด (Sassanid Empire) รายงานผลไม่เป็นที่ทราบแน่นอนแต่อันตรายทางด้านซาสซานิดก็ยุติลง แต่เมื่อมาถึงการรณรงค์ต่อต้านชนเจอร์มานิคในเจอร์มาเนียแซเวรุส อาแล็กซันแดร์ก็สร้างศัตรูกับกองทหารของพระองค์เองโดยการทรงพยายามหาวิธีเจรจาปรองดองและติดสินบนฝ่ายเจอร์มาเนีย กองทหารจึงสังหารพระองค์ แซเวรุส อาแล็กซันแดร์ทรงเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์เซเวอรัน และของประวัติศาสตร์โรมันสมัยที่เรียกว่า “จักรวรรดิโรมันสมัยแรก” (Principate).

ใหม่!!: วิกฤตการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3และจักรพรรดิแซเวรุส อาแล็กซันแดร์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิพาลไมรีน

ักรวรรดิพาลไมรีน (Imperium Palmyrenum Palmyrene Empire) เป็นจักรวรรดิที่แยกตัวออกจากจักรวรรดิโรมันระหว่างวิกฤติการณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 3 ที่ประกอบด้วยจังหวัดโรมัน ซีเรีย, ซีเรียปาเลสตินา, โรมัน และบริเวณส่วนใหญ่ของอานาโตเลีย โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ พาลไมรา พาลไมรีนรุ่งเรืองระหว่างปี ค.ศ. 260 จนถึงปี ค.ศ. 273 จักรวรรดิพาลไมรีนมีพระราชินีเซโนเบียเป็นผู้ปกครองในนามของพระราชโอรสวาบาลลาธัส (Vaballathus).

ใหม่!!: วิกฤตการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3และจักรวรรดิพาลไมรีน · ดูเพิ่มเติม »

จตุราธิปไตย

รทอเรียนของกอล, อิตาลี, อิลลิคัม และโอเรียน (ตะวันออก) ซึ่งเป็นการแบ่งตามแนวอิทธิพลการปกครองของผู้นำทั้งสี่คน แต่ในปี ค.ศ. 395 เพรทอเรียนแห่งอิลลิคัมทางตะวันตกที่รวมทั้งเซอร์มิอัมก็ถูกผนวกเข้ากับเพรทอเรียนแห่งอิตาลี จตุราธิปไตย หรือ สมัยสี่จักรพรรดิ (Tetrarchy) คำว่า “Tetrarchy” มาจากภาษากรีกที่แปลว่า “การนำโดยผู้นำสี่คน” โดยทั่วไปแล้วหมายถึงรัฐบาลที่แบ่งอำนาจการปกครองระหว่างบุคคลสี่คน แต่มักจะหมายถึงระบบจตุราธิปไตยที่ก่อตั้งโดยจักรพรรดิไดโอคลีเชียนในปี ค.ศ. 293 หลังจากที่สมัยวิกฤติการณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 3 ยุติลงและความมั่นคงของจักรวรรดิโรมันได้รับการรื้อฟื้นขึ้นอีกครั้ง ระบบจตุราธิปไตยใช้ในการปกครองจักรวรรดิต่อมาจนถึงราว..

ใหม่!!: วิกฤตการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3และจตุราธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

ปลายสมัยโบราณ

ราณตอนปลาย (Late Antiquity) เป็นสมัยประวัติศาสตร์ที่ใช้โดยนักประวัติศาสตร์ในการบรรยายช่วงเวลาที่เปลี่ยนจากยุคโบราณคลาสสิกไปเป็นยุคกลางทั้งบนแผ่นดินใหญ่ยุโรปและบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน ของเขตของสมัยยังคงเป็นเรื่องที่โต้แย้งกันอยู่ แต่นักประวัติศาสตร์คนสำคัญปีเตอร์ บราวน์เสนอว่าเป็นช่วงเวลาระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 2 ถึง ที่ 8 โดยทั่วไปแล้วก็อาจจะเทียบได้กับช่วงเวลาตั้งแต่การสิ้นสุดของวิกฤติการณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 3 (ค.ศ. 235-ค.ศ. 284) ของจักรวรรดิโรมัน ไปจนถึงการจัดระบบบริหารของจักรวรรดิโรมันตะวันออกภายใต้การนำของจักรพรรดิเฮราคลิอัส และการพิชิตดินแดนโดยมุสลิมในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันประสบกับความเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ทั้งทางด้านสังคม, วัฒนธรรม และ ระบบการปกครองที่เริ่มขึ้นในรัชสมัยของจักรพรรดิไดโอคลีเชียนผู้ทรงเป็นผู้เริ่มการแบ่งจักรวรรดิออกเป็นสองส่วนคือจักรวรรดิโรมันตะวันออกและจักรวรรดิโรมันตะวันตกที่ปกครองโดยพระจักรพรรดิหลายพระองค์ เริ่มด้วยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 เมื่อจักรวรรดิถูกเปลี่ยนเป็นจักรวรรดิคริสเตียน และการก่อตั้งคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง การโยกย้ายถิ่นฐานของกลุ่มชนเจอร์มานิคต่อมาก็บั่นทอนเสถียรภาพของจักรวรรดิยิ่งขึ้นไปอีก ที่ในที่สุดก็นำไปสู่การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในปี ค.ศ. 476 และมาแทนที่ด้วยระบอบพระมหากษัตริย์ของชนเจอร์มานิค หรือ “ระบอบพระมหากษัตริย์ของอนารยชน” ผลก็คือการผสานระหว่างวัฒนธรรมกรีก-โรมัน เจอร์มานิค และ คริสเตียนที่กลายมาเป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมของยุโรปตะวันตก การสูญเสียประชากร, ความรู้ทางเทคโนโลยี และ มาตรฐานความเป็นอยู่ของยุโรปตะวันตกในยุคนี้เป็นลักษณะของสถานภาพที่เรียกว่า “การล่มสลายของสังคม” (Societal collapse) โดยนักเขียนตั้งแต่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยามาจนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ จากความเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นและการขาดหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของยุโรปตะวันตกในช่วงนี้โดยเฉพาะ ในช่วงระหว่างการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกมาจนถึงยุคกลาง ทำให้ได้ชื่อว่าเป็น “ยุคมืด” ที่มาแทนที่ด้วยคำว่า “ยุคโบราณตอนปลาย”.

ใหม่!!: วิกฤตการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3และปลายสมัยโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชกรรมสมัยกลาง

ัชกรรมสมัยกลาง เป็นยุคทางเภสัชกรรมในสมัยกลางของยุโรป ภายหลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกต่ออนารยชนเผ่าเยอรมันนั้น บริเวณประเทศอิตาลีได้แปรสภาพกลายเป็นสนามรบจากการุกรานของศัตรูและการแพร่ระบาดของโรคติดต่อทางผิวหนัง ประชากรล้มตายเป็นจำนวนมาก นับเป็นสถานการณ์อันไม่ส่งเสริมต่อการใฝ่หาความรู้ใหม่ของนักวิทยาศาสตร์หรือนักปราชญ์ทั่วไป ประชากรส่วนมากหันไปพึ่งบทบาททางศาสนาเป็นการทดแทน จนทำให้นักบวชของคริสต์ศาสนามีบทบาททางการรักษาโดยฝาแฝด Damian ซึ่งเป็นนักบวชชาวอาหรับได้รับบาดเจ็บจากการถูกทำร้ายในสงครามกลางเมืองสมัยจักรพรรดิไดโอคลีเชียนในราวคริสต์ศตวรรษที่ 3 พวกเขาจึงหันไปอัปถัมภ์ผู้ป่วยด้วยความรู้ทางการแพทย์และเภสัชกรรมในหลายเมืองทั่วศาสนาจักร ในภายหลังได้มีนักบวชคนอื่นๆมาร่วมช่วยเหลืออีกด้วย อย่างไรก็ดีฝาแฝด Damian ก็ยังคงเป็นตัวแทนของเภสัชกรที่คุ้มครองผู้ป่วยยิ่งกว่าการบริการ.

ใหม่!!: วิกฤตการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3และเภสัชกรรมสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

เสามาร์กุส เอาเรลิอุส

มาร์กุส เอาเรลิอุส (Columna Centenaria Divorum Marci et Faustinae, Colonna di Marco Aurelio, Column of Marcus Aurelius) เป็นคอลัมน์ดอริคที่ประกอบด้วยลายสลักภาพนูนเป็นเกลียวรอบลำเสาที่สร้างขึ้นเป็นเกียรติแก่จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสตามแบบเสาไตรยานุส เสามาร์กุส เอาเรลิอุสยังคงตั้งอยู่ที่ตั้งดั้งเดิมที่จัตุรัสโคลอนนาก่อนหน้าวังคีกีในกรุงโรมในประเทศอิตาลี.

ใหม่!!: วิกฤตการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3และเสามาร์กุส เอาเรลิอุส · ดูเพิ่มเติม »

20 พฤศจิกายน

วันที่ 20 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 324 ของปี (วันที่ 325 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 41 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: วิกฤตการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3และ20 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Crisis of the 3rd CenturyCrisis of the Third Centuryยุควิกฤติการณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 3วิกฤติการณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 3วิกฤติการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »