โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วากยสัมพันธ์

ดัชนี วากยสัมพันธ์

ในทางภาษาศาสตร์ วากยสัมพันธ์ (อังกฤษ: syntax) หมายถึง การศึกษาว่าด้วยกฎของความสัมพันธ์ของแบบแผนองค์ประกอบของประโยคในภาษา อันเป็นส่วนหนึ่งของหลักไวยกรณ์ของภาษา ในภาษาไทย "วากยสัมพันธ์" เป็นส่วนหนึ่งของหลักไวยกรณ์ไทยที่กำหนดขึ้นเป็นหนึ่งในแบบแผนหรือไวยกรณ์ของภาษาไทย ซึ่งประกอบด้วย 4 แบบแผนหลัก ได้แก่ อักขรวิธี ซึ่งศึกษาว่าด้วยอักษร, วจีวิภาค ศึกษาว่าด้วยคำ, วากยสัมพันธ์ ศึกษาว่าด้วยความสัมพันธ์ของคำในประโยค, และ ฉันทลักษณ์ คือ กฎเกณฑ์ของการเขียนภาษาในรูปแบบต่างๆ วากยสัมพันธ์ ยังเป็นชื่อตำราไวยากรณ์ไทยว่าด้วยประโยค และความเกี่ยวข้องของส่วนต่างๆ ในประโยค การศึกษากฎหรือความสัมพันธ์ของภาษาอย่างเป็นแบบแผน ที่ควบคุมการเรียงคำเป็นวลี และวลีเป็นปร.

31 ความสัมพันธ์: บริเวณเวอร์นิเกฟังก์ชัน (คณิตศาสตร์)ฟีลิปโป ตอมมาโซ มารีเนตตีพระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)การแปลด้วยเครื่องภาษามาลากาซีภาษาศาสตร์ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบภาษาสเปนภาษาซิมูลาภาษาซีภาษาไทยภาษาเกาหลียุคหินกลาง (แอฟริกา)รายการสาขาวิชาร้อยแก้ววิทยาศาสตร์วิทยาหน่วยคำวจีวิภาควงศัพท์สายอักขระคลังต้นไม้ความผิดพลาดทางวากยสัมพันธ์ความผิดพลาดทางตรรกะคำนามนอสตราเดมัสนิพจน์ (คณิตศาสตร์)โยสท์ กิพเพิร์ทไวยากรณ์Priming

บริเวณเวอร์นิเก

ริเวณเวอร์นิเก (Wernicke's area) เป็นบริเวณของซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ในสมองของมนุษย์ อยู่ด้านหลังของลอนสมองซุพีเรียร์เทมพอรัล (superior temporal gyrus) ล้อมรอบคอร์เท็กซ์ของระบบรับเสียง (auditory cortex) บนร่องด้านข้างหรือร่องซิลเวียน อาจเรียกบริเวณนี้ว่าส่วนท้ายของบริเวณโบรดมันน์ 22 และในคนส่วนใหญ่บริเวณนี้จะอยู่ในสมองซีกซ้าย ซึ่งทำหน้าที่เฉพาะในด้านทักษะทางภาษา การอุดตันของหลอดเลือดแดงมิดเดิลซีรีบรัล (middle cerebral artery) ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอาจทำให้บริเวณนี้ทำหน้าที่ได้ผิดปกติ ชื่อของบริเวณเวอร์นิเกมาจากชื่อของ คาร์ล เวอร์นิเก นักประสาทวิทยาและจิตแพทย์ชาวเยอรมัน ซึ่งค้นพบว่าการทำลายในบริเวณนี้ทำให้เกิดภาวะเสียการสื่อความ (aphasia) ซึ่งเรียกว่า Wernicke's aphasia หรือ receptive aphasia ในปี..

ใหม่!!: วากยสัมพันธ์และบริเวณเวอร์นิเก · ดูเพิ่มเติม »

ฟังก์ชัน (คณิตศาสตร์)

ในคณิตศาสตร์ ฟังก์ชัน คือ ความสัมพันธ์ จากเซตหนึ่งที่เรียกว่าโดเมน ไปยังอีกเซตหนึ่งที่เรียกว่าโคโดเมน (บางครั้งคำว่าเรนจ์อาจถูกใช้แทน แต่เรนจ์นั้นมีความหมายอื่นด้วย "โคโดเมน" จึงเป็นที่นิยมมากกว่า เพราะไม่กำกวม) โดยที่สมาชิกตัวหน้าไม่ซ้ำกัน ความคิดรวบยอดของฟังก์ชันนี้เป็นพื้นฐานของทุกสาขาของคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เชิงปริมาณ.

ใหม่!!: วากยสัมพันธ์และฟังก์ชัน (คณิตศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ฟีลิปโป ตอมมาโซ มารีเนตตี

ฟิลิปโป ตอมมาโซ เอมิลิโอ มาริเนตติ (Filippo Tommaso Emilio Marinetti) (22 ธันวาคม 1876 – 2 ธันวาคม 1944) เป็นนักเขียนและกวีชาวอิตาลี เขาเป็นที่จดจำในฐานะผู้ก่อตั้งกลุ่มเคลื่อนไหวทางศิลปะในกระแสฟิวเจอริสม์ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยการเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอิตาลี มาริเนตติ ได้รับการศึกษาจากนักบวชคณะเยซูอิตในอะเล็กซานเดรีย ก่อนที่จะย้ายมาศึกษาวิชากฎหมายที่ปารีส ในปี 1893 และสำเร็จการศึกษาในปี 1899 อย่างไรก็ตาม มาริเนตติตัดสินใจที่จะเป็นนักเขียนแทนที่จะเป็นทนายความ โดยงานเขียนของเขานั้นมีอิทธิพลต่อความคิดของศิลปินอิตาลีในช่วงเวลานั้นเป็นอย่างมาก และเขายังเป็นหนึ่งในผู้ที่ให้การสนับสนุนพรรคสันนิบาตการต่อสู้แห่งอิตาลี (Fasci Italiani di Combattimento) ของเบนิโต มุสโสลินีอีกด้ว.

ใหม่!!: วากยสัมพันธ์และฟีลิปโป ตอมมาโซ มารีเนตตี · ดูเพิ่มเติม »

พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)

อำมาตย์เอก พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) (10 พฤษภาคม พ.ศ. 2422 - 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2484) เป็นนักเขียน ผู้เชี่ยวชาญทางภาษาไทย ท่านใช้นามปากกาหลายนาม ที่รู้จักกันแพร่หลาย คือ "อ.น.ก.", "อุนิกา", "อนึก คำชูชีพ" และเป็นผู้ริเริ่มคำทักทายคำว่า "สวัสดี" และยังเป็นผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาทางการแพทย์หรือที่เรียกว่าอาจารย์ใหญ่ เป็นท่านแรกของประเทศไทย โดยกล่าวว่า "ฉันเป็นครู ตายแล้วขอเป็นครูต่อไป".

ใหม่!!: วากยสัมพันธ์และพระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) · ดูเพิ่มเติม »

การแปลด้วยเครื่อง

มเหลี่ยมของโวกัวส์แสดงระดับสถาปัตยกรรมทางภาษาศาสตร์ในการแปลด้วยเครื่อง การแปลด้วยเครื่อง (MT; machine translation) เป็นศาสตร์ย่อยของภาษาศาสตร์เชิงคำนวณที่เกี่ยวกับการใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์แปลข้อความหรือคำพูดภาษาธรรมชาติภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น การใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์แปลข้อความภาษาไทย ไปเป็นภาษาอังกฤษ เป็นต้น ในระดับพื้นฐาน การแปลด้วยเครื่องทำได้โดยการแทนที่คำในภาษาหนึ่งด้วยคำในอีกภาษาหนึ่ง (การแปลคำต่อคำ) อย่างไรก็ตามการแปลภาษาโดยใช้การแทนที่คำอย่างง่ายไม่เพียงพอต่อการแปลภาษาให้ถูกต้อง เพราะภาษามีความคลุมเครือ ยกตัวอย่างเช่น คำว่า bank ในภาษาอังกฤษมีความเป็นไปได้ที่จะแปลเป็นคำภาษาไทย ได้ทั้งคำว่า "ธนาคาร" และ "ตลิ่ง" เป็นต้น นอกจากนั้นภาษายังแตกต่างกันในเรื่องสำนวนและไวยากรณ์ ยกตัวอย่างเช่น "il fait froid" ในภาษาฝรั่งเศส แปลว่า "อากาศหนาว" ในภาษาไทย แต่ถ้าหากแปลคำต่อคำจะแปลว่า "มันทำหนาว" เป็นต้น เนื่องจากการแปลด้วยการแทนที่คำอย่างง่ายมีข้อจำกัด จึงมีการใช้เทคนิคการแปลด้วยเครื่องต่างๆ เช่น การเรียนรู้การแปลอัตโนมัติจากคลังข้อความขนาน และการวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์ เป็นต้น ขั้นตอนในการแปลภาษาสามารถแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก.

ใหม่!!: วากยสัมพันธ์และการแปลด้วยเครื่อง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามาลากาซี

ษามาลากาซี (Malagasy หรือ Malgache ในภาษาฝรั่งเศส) เป็นภาษาราชการของประเทศมาดากัสการ.

ใหม่!!: วากยสัมพันธ์และภาษามาลากาซี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาศาสตร์

ษาศาสตร์ (linguistics) คือ การศึกษาเกี่ยวกับภาษามนุษย์ ผู้ที่ศึกษาในด้านนี้เรียกว่า นักภาษาศาสตร.

ใหม่!!: วากยสัมพันธ์และภาษาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์

ษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ หรือ ภาษาศาสตร์เชิงคำนวณ (computational linguistics) เป็นสหวิทยาการที่ว่าด้วยการสร้างแบบจำลองเชิงตรรกะของภาษาธรรมชาติ จากมุมมองในเชิงคำนวณ แบบจำลองนี้ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในสาขาในสาขาหนึ่งของภาษาศาสตร์ เดิมทีเดียว นักภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์มักจะเป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเชี่ยวชาญในด้านการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language) แต่งานวิจัยในช่วงหลัง ได้แสดงให้เห็นว่า ภาษานั้นซับซ้อนเกินกว่าที่คาดคิดไว้ ดังนั้นกลุ่มศึกษาภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์จึงกลายสภาพเป็นกลุ่มสหวิทยาการไป โดยจะต้องมีอย่างน้อยหนึ่งคนที่เป็นนักภาษาศาสตร์​ (นั่นคือ ฝึกฝนมาทางด้านภาษาศาสตร์โดยเฉพาะ) ส่วนคนอื่น ๆ อาจจะเชี่ยวชาญในสาขา วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ปัญญาประดิษฐ์ จิตวิทยาปริชาน (en:cognitive psychology) ตรรกวิทยา และอื่น.

ใหม่!!: วากยสัมพันธ์และภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ

ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ (comparative linguistics) หรือ นิรุกติศาสตร์เปรียบเทียบ (comparative philology) เป็นสาขาหนึ่งของภาษาศาสตร์เชิงประวัติ มุ่งที่จะศึกษาความเกี่ยวเนื่องของภาษาโบราณ เช่น ภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน อันมีภาษาต่าง ๆ ได้แก่ กรีก ละติน สันสกฤต อเวสตะ บาลี ฮิตไทต์ เปอร์เซียโบราณ ฯลฯ เนื้อหาสาระจะศึกษาประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการของภาษาตระกูลอินโดยุโรปที่ไปแตกกิ่งแขนงในรูปภาษาต่าง ๆ ดังกล่าว แต่ภาษาเหล่านี้ยังมีระบบเสียง (phonology) ระบบหน่วยคำ (morphology) และระบบวากยสัมพันธ์ (syntax) ที่ละม้ายกันมาก ความละม้ายกันนี้ มีผู้ตั้งทฤษฎีต่าง ๆ ขึ้นมามากมาย ซึ่งแต่ละทฤษฎีล้วนแต่ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อกันอย่างแนบแน่น ทำให้ความเชื่อที่ว่าภาษาต่าง ๆ เหล่านี้มาจากต้นตอเดียวกันแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ในประเทศไทย ผู้บุกเบิกงานนิรุกติศาสตร์เปรียบเทียบ และผลิตงานวิชาการทางนี้ออกมาบ้าง ได้แก่ เสฐียรโกเศศ (พระยาอนุมานราชธน) และกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ปัจจุบันมีการศึกษาด้านนี้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาษาในตระกูลไท มอญ-เขมร ส่วย กูย เป็นต้น หมวดหมู่:ภาษาศาสตร์.

ใหม่!!: วากยสัมพันธ์และภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสเปน

ษาสเปน (Spanish; สเปน: español) หรือ ภาษาคาสตีล (Castilian; สเปน: castellano) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาไอบีเรียนโรมานซ์ หนึ่งในภาษาทางการ 6 ภาษาขององค์การสหประชาชาติ และภาษาที่มีผู้พูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในโลกรองจากภาษาจีนกลาง รวมทั้งยังเป็นภาษาราชการขององค์การระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจและการเมืองที่สำคัญอีกหลายองค์การอีกด้วย เช่น สหภาพยุโรป สหภาพแอฟริกา องค์การรัฐอเมริกา องค์การรัฐไอบีเรียอเมริกา ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ และสหภาพชาติอเมริกาใต้ เป็นต้น มีผู้พูดภาษาสเปนเป็นภาษาที่หนึ่งและภาษาที่สองเป็นจำนวนระหว่าง 450-500 ล้านคนEl País.

ใหม่!!: วากยสัมพันธ์และภาษาสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซิมูลา

ษาซิมูลา (Simula) เป็นชื่อเรียกรวมของภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2 ภาษาคือ ภาษาซิมูลา 1 (Simula 1) และภาษาซิมูลา 67 (Simula 67) ภาษาโปรแกรมดังกล่าวนี้ได้เริ่มพัฒนาขึ้นประมาณปี..

ใหม่!!: วากยสัมพันธ์และภาษาซิมูลา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซี

ษาซี (C) เป็นภาษาโปรแกรมสำหรับวัตถุประสงค์ทั่วไป เริ่มพัฒนาขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2512-2516 (ค.ศ. 1969-1973) โดยเดนนิส ริชชี่ (Denis Retchie) ที่เอทีแอนด์ทีเบลล์แล็บส์ (AT&T Bell Labs) ภาษาซีเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นในการเขียนโปรแกรมและมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้างและอนุญาตให้มีขอบข่ายตัวแปร (scope) และการเรียกซ้ำ (recursion) ในขณะที่ระบบชนิดตัวแปรอพลวัตก็ช่วยป้องกันการดำเนินการที่ไม่ตั้งใจหลายอย่าง เหมือนกับภาษาโปรแกรมเชิงคำสั่งส่วนใหญ่ในแบบแผนของภาษาอัลกอล การออกแบบของภาษาซีมีคอนสตรักต์ (construct) ที่โยงกับชุดคำสั่งเครื่องทั่วไปได้อย่างพอเพียง จึงทำให้ยังมีการใช้ในโปรแกรมประยุกต์ซึ่งแต่ก่อนลงรหัสเป็นภาษาแอสเซมบลี คือซอฟต์แวร์ระบบอันโดดเด่นอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ยูนิกซ์ ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดตลอดกาล และตัวแปลโปรแกรมของภาษาซีมีให้ใช้งานได้สำหรับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เป็นส่วนมาก ภาษาหลายภาษาในยุคหลังได้หยิบยืมภาษาซีไปใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างเช่น ภาษาดี ภาษาโก ภาษารัสต์ ภาษาจาวา จาวาสคริปต์ ภาษาลิมโบ ภาษาแอลพีซี ภาษาซีชาร์ป ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี ภาษาเพิร์ล ภาษาพีเอชพี ภาษาไพทอน ภาษาเวอริล็อก (ภาษาพรรณนาฮาร์ดแวร์) และซีเชลล์ของยูนิกซ์ ภาษาเหล่านี้ได้ดึงโครงสร้างการควบคุมและคุณลักษณะพื้นฐานอื่น ๆ มาจากภาษาซี ส่วนใหญ่มีวากยสัมพันธ์คล้ายคลึงกับภาษาซีเป็นอย่างมากโดยรวม (ยกเว้นภาษาไพทอนที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง) และตั้งใจที่จะผสานนิพจน์และข้อความสั่งที่จำแนกได้ของวากยสัมพันธ์ของภาษาซี ด้วยระบบชนิดตัวแปร ตัวแบบข้อมูล และอรรถศาสตร์ที่อาจแตกต่างกันโดยมูลฐาน ภาษาซีพลัสพลัสและภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีเดิมเกิดขึ้นในฐานะตัวแปลโปรแกรมที่สร้างรหัสภาษาซี ปัจจุบันภาษาซีพลัสพลัสแทบจะเป็นเซตใหญ่ของภาษาซี ในขณะที่ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีก็เป็นเซตใหญ่อันเคร่งครัดของภาษาซี ก่อนที่จะมีมาตรฐานภาษาซีอย่างเป็นทางการ ผู้ใช้และผู้พัฒนาต่างก็เชื่อถือในข้อกำหนดอย่างไม่เป็นทางการในหนังสือที่เขียนโดยเดนนิส ริตชี และไบรอัน เคอร์นิกัน (Brian Kernighan) ภาษาซีรุ่นนั้นจึงเรียกกันโดยทั่วไปว่า ภาษาเคแอนด์อาร์ซี (K&R C) ต่อม..

ใหม่!!: วากยสัมพันธ์และภาษาซี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: วากยสัมพันธ์และภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเกาหลี

ษาเกาหลี (한국어 หรือ 조선말, ดูในส่วนชื่อ) เป็นภาษาที่ส่วนใหญ่พูดใน ประเทศเกาหลีใต้ และ ประเทศเกาหลีเหนือ ซึ่งใช้เป็นภาษาราชการ และมีคนชนเผ่าเกาหลีที่อาศัยอยู่ในประเทศจีนพูดโดยทั่วไป(ในจังหวัดปกครองตนเองชนชาติเกาหลีเหยียนเปียน มณฑลจี๋หลิน ซึ่งมีพรมแดนติดกับเกาหลีเหนือ) ทั่วโลกมีคนพูดภาษาเกาหลี 78 ล้านคน รวมถึงกลุ่มคนในอดีตสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา แคนาดา บราซิล ญี่ปุ่น และเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีผู้พูดใน ฟิลิปปินส์ ด้วย การจัดตระกูลของภาษาเกาหลีไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แต่คนส่วนมากมักจะถือเป็นภาษาเอกเทศ นักภาษาศาสตร์บางคนได้จัดกลุ่มให้อยู่ใน ตระกูลภาษาอัลไตอิกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากภาษาเกาหลีมีวจีวิภาคแบบภาษาคำติดต่อ ส่วนวากยสัมพันธ์หรือโครงสร้างประโยคนั้น เป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา (SOV) อักษรเกาหลี เรียกว่าอักษรฮันกึล ใช้แทนเสียงของแต่ละพยางค์ นอกจากนี้ใช้ยังตัวอักขระแบบจีนเรียกว่าอักษรฮันจา ในการเขียนด้วย ในขณะที่คำศัพท์ที่ใช้กันส่วนใหญ่เป็นคำภาษาเกาหลีแท้ โดยที่มีคำศัพท์มากกว่า 50% มาจากภาษาจีนทั้งทางตรงและทางอ้อม.

ใหม่!!: วากยสัมพันธ์และภาษาเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

ยุคหินกลาง (แอฟริกา)

ในสาขาบรรพมานุษยวิทยาและชีววิทยาวิวัฒนาการเป็นต้น ยุคหินกลาง (Middle Stone Age ตัวย่อ MSA) เป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์ของแอฟริการะหว่างยุคหินต้น (Early Stone Age) และยุคหินหลัง ๆ (Later Stone Age) โดยทั่วไปพิจารณาว่าเริ่มประมาณ 280,000 ปีก่อนและยุติประมาณ 50,000-25,000 ปีก่อน จุดเริ่มต้นของเครื่องมือหินแบบ MSA อาจเริ่มตั้งแต่ 550,000-500,000 ปีก่อน และดังนั้น นักวิจัยบางคนพิจารณาว่านั่นเป็นจุดเริ่มต้นของ MSA MSA บ่อยครั้งเข้าใจผิดว่าเท่ากับยุคหินเก่ากลาง (Middle Paleolithic) ของยุโรป เพราะมีระยะเวลาเกือบเหมือนกัน แต่ยุคหินเก่ากลางของยุโรปสัมพันธ์กับสปีชีส์มนุษย์ที่ต่างกัน ซึ่งก็คือ ''Homo neanderthalensis'' เปรียบเทียบกับแอฟริกาที่ไม่มีมนุษย์สปีชีส์นี้ในช่วง MSA นอกจากนั้นแล้ว งานโบราณคดีในแอฟริกายังได้ให้หลักฐานเป็นจำนวนมากที่แสดงว่า พฤติกรรมและลักษณะทางประชานของมนุษย์ปัจจุบันได้เริ่มพัฒนาขึ้นในแอฟริกาช่วง MSA ก่อนกว่าที่พบในยุโรปช่วงยุคหินเก่ากลางอย่างมาก อนึ่ง ราชบัณฑิตยสถานแปลคำว่า Mesolithic period (12,000-7,000 ปีก่อนในยุโรป และ 22,000-11,500 ปีก่อนในลิแวนต์) ว่า "ยุคหินกลาง" ซึ่งอาจซ้ำกับคำแปลของ Middle Stone Age (280,000-25,000 ปีก่อนในแอฟริกา) ได้เหมือนกัน แต่ให้สังเกตว่าคำแต่ละคำหมายเอาสิ่งที่ต่างกันแทบสิ้นเชิง MSA สัมพันธ์กับทั้งมนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน (anatomically modern humans) สปีชีส์ Homo sapiens และกับมนุษย์โบราณ (archaic Homo sapiens) ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่า Homo helmei ด้วย หลักฐานที่เป็นรูปธรรมยุคต้น ๆ ของ MSA มาจากโบราณสถานต่าง ๆ ใน Gademotta Formation ในเอธิโอเปีย, หมวดหินแคปธิวริน (Kapthurin Formation) ในประเทศเคนยา และ Kathu Pan ในแอฟริกาใต้ เครื่องมือยุคหินกลางแอฟริกา (MSA) จากถ้ำบลอมโบส์ แอฟริกาใต้.

ใหม่!!: วากยสัมพันธ์และยุคหินกลาง (แอฟริกา) · ดูเพิ่มเติม »

รายการสาขาวิชา

รายชื่อสาขาวิชา หรือ สาขาการศึกษา (Field of study) หมายถึงสาขาความรู้ หรือ การวิจัยที่เปิดสอนในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย คำว่า สาขาวิชา ได้รับการนิยามและยอมรับโดย วารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย และโดยสมาคมผู้รู้ (learned societies) และโดยภาควิชาหรือคณะวิชาที่บุคคลผู้อยู่ในสาขาวิชานั้นๆ สังกัด โดยปกติ สาขาการศึกษาต่างๆ มักมีสาขาย่อยหรือแขนงวิชาแตกออกไป เส้นแบ่งระหว่างสาขาย่อยมักยังมีความคลุมเครือและมีกฎเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจน ในยุโรปสมัยกลางซึ่งขณะนั้นยังมีการแบ่งคณะวิชาออกเป็น 4 คณะหรือสายวิชา ได้แก่เทววิทยา การแพทย์ ธรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ และศิลปะ โดยคณะวิชาหลังมีสถานะไม่สูงเท่า 3 สาขาแรก การแบ่งสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสมัยนั้นมีรากสืบทอดมาจากขบวนการแยกอาณาจักรออกจากศาสนจักร (Secularization) ของมหาวิทยาลัยซึ่งเกิดขึ้นราวสมัยกลาง-ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณ พ.ศ. 2390 - พ.ศ. 2440) โดยได้เพิ่มวิชาภาษาศาสตร์ที่ไม่ใช่คลาสสิก วรรณคดี และวิชาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาและวิศวกรรมศาสตร์เสริมเข้าไปในหลักสูตรแบบประเพณีโบราณ ในต้นคริสต์ศตวรรษ ที่ 20 (ประมาณ พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2475) ได้มีการเพิ่มสาขาวิชาใหม่ๆ เช่น การศึกษา สังคมวิทยา และจิตวิทยา ในมหาวิทยาลัยต่างๆ และในช่วงประมาณ พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2523) ได้เกิดปรากฏการณ์ "การระเบิด" ของสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เน้นเนื้อหาเฉพาะเจาะจง เช่น สื่อศึกษา สตรีศึกษา และชนผิวดำศึกษา สาขาใหม่ๆ เหล่านี้จัดขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับอาชีพและวิชาชีพต่างๆ เช่น การพยาบาล การจัดการโรงพยาบาล การราชทัณฑ์ และหลังสุดก็ได้เห็นสาขาวิชาที่เป็นลักษณะ "สหสาขาวิชา" เช่น ชีวเคมี และ ธรณีฟิสิกส์เกิดเพิ่มขึ้นและได้รับการยอมรับว่าสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ได้ช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้กว้างขวางขึ้น เครื่องหมายดอกจัน * แสดงเป็นหมายเหตุว่าสาขาวิชานั้นยังเป็นที่ถกเถียงถึงสถานภาพว่าควรนับไว้ในสายวิชาใด เช่น วิชามานุษยวิทยา และวิชาภาษาศาสตร์ควรจัดไว้ในกลุ่มสังคมศาสตร์ หรือ มนุษยศาสตร์ เป็นที่สังเกตได้ว่าบางท่าน โดยเฉพาะนักทฤษฎีวิจารณ์มักให้ความสำคัญในการบ่งชี้การจัดกลุ่มที่เข้มงวดในทุกสายวิชา รวมทั้งความชัดเจนของโครงสร้างของแนวคิดโดยรวมของแต่ละวิชาซึ่งยังเป็นถกเถียงได้มากสำหรับบางคน.

ใหม่!!: วากยสัมพันธ์และรายการสาขาวิชา · ดูเพิ่มเติม »

ร้อยแก้ว

ร้อยแก้ว เป็นภาษารูปแบบหนึ่งซึ่งใช้โครงสร้างไวยากรณ์ปกติและการไหลของถ้อยคำอย่างเป็นธรรมชาติ แทนที่จะใช้โครงสร้างเป็นจังหวะดังในกวีนิพนธ์ แม้จะมีการถกเถียงเชิงวิจารณ์ต่อการสร้างร้อยแก้ว แต่ด้วยความเรียบง่ายและโครงสร้างที่นิยามอย่างหลวม ทำให้ร้อยแก้วถูกนำมาใช้ในบทสนทนาเป็นส่วนใหญ่ วจนิพนธ์ข้อเท็จจริง ตลอดจนการเขียนเฉพาะเรื่องและบันเทิงคดี ร้อยแก้วเป็นรูปแบบภาษาที่ใช้กันสามัญ เช่น ในวรรณกรรม หนังสือพิมพ์ นิตยสาร สารานุกรม การแพร่สัญญาณทางสื่อต่างๆ หนังสือทางประวัติศาสตร์และปรัชญา กฎหมาย และการสื่อสารอีกหลายรูปแบบ หมวดหมู่:วรรณกรรม.

ใหม่!!: วากยสัมพันธ์และร้อยแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ คำว่า "วิทยาศาสตร์" มักถูกใช้เพื่อแทนคำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษ แต่ถ้าจะกล่าวให้ตรงความหมายแล้ว เราใช้คำว่า "วิทยาศาสตร์" เพื่อหมายถึง "Exact science" ซึ่งไม่รวมสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์เอาไว้ แม้ว่าสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์จะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน การแบ่งแยกดังกล่าวมีขึ้นเนื่องจากความแตกต่างในด้านเนื้อหาและธรรมชาติของการศึกษา มิใช่เรื่องของความจริงหรือความถูกต้องแต่อย่างใด คำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษจะมีความหมายเทียบเท่ากับคำว่า "ศาสตร์" หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป.

ใหม่!!: วากยสัมพันธ์และวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาหน่วยคำ

วิทยาหน่วยคำ (morphology) เป็นสาขาหนึ่งของภาษาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างภายในของคำ โดยที่โดยทั่วไปแล้วคำถูกยอมรับว่าเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในวากยสัมพันธ์ และเป็นที่ชัดเจนว่าในภาษาส่วนมาก มีกฎที่ใช้อธิบายความสัมพันธ์ของคำแต่ละคำกับคำอื่น ๆ.

ใหม่!!: วากยสัมพันธ์และวิทยาหน่วยคำ · ดูเพิ่มเติม »

วจีวิภาค

วจีวิภาค (ละติน: pars orationis, part of speech) ในทางไวยากรณ์ หมายถึงประเภทของคำในทางภาษาศาสตร์ ซึ่งโดยทั่วไปนิยามโดยลักษณะวากยสัมพันธ์หรือหน่วยคำของคำที่กล่าวถึง แทบทุกภาษามีคำชนิดนามและกริยา แต่นอกเหนือจากนี้ จะมีแตกต่างกันไปในแต่ละภาษา ตัวอย่างเช่น ภาษาญี่ปุ่นมีคำคุณศัพท์สามชนิด ขณะที่ภาษาอังกฤษมีชนิดเดียว ภาษาจีน เกาหลีและญี่ปุ่นมีลักษณนาม ขณะที่ภาษาทางยุโรปไม่มี.

ใหม่!!: วากยสัมพันธ์และวจีวิภาค · ดูเพิ่มเติม »

วงศัพท์

ำศัพท์ ของบุคคล หมายถึงกลุ่มของคำในภาษาหนึ่ง ๆ อันเป็นที่คุ้นเคยต่อบุคคลนั้น วงศัพท์โดยปกติจะพัฒนาเพิ่มขึ้นตามอายุ และทำหน้าที่เป็นเครื่องมือพื้นฐานและมีประโยชน์ เพื่อการสื่อสารตและการเรียนรู้ การได้วงศัพท์ที่กว้างขวางเป็นความท้าทายยิ่งใหญ่ที่สุดในการเรียนรู้ภาษาที่สอง.

ใหม่!!: วากยสัมพันธ์และวงศัพท์ · ดูเพิ่มเติม »

สายอักขระ

ในการเขียนโปรแกรม สายอักขระ หรือ ข้อความ หรือ สตริง (string) คือลำดับของอักขระที่อาจจะเป็น literal หรือตัวแปรก็ได้ สำหรับในกรณีที่เป็นตัวแปร ส่วนใหญ่สายอักขระก็จะสามารถเปลี่ยนอักขระในตัวของมันได้ ในบางภาษาโปรแกรมสายอักขระสามารถเปลี่ยนความยาวของสายอักขระได้ด้วย ในขณะที่บางภาษาจะกำหนดให้ความยาวของสายอักขระคงที่ห้ามเปลี่ยนแปลงหลังการประกาศตัวแปร โดยทั่วไปแล้วจะเข้าใจกันโดยปริยายว่าสายอักขระอิมพลีเมนต์มาจากแถวลำดับของอักขร.

ใหม่!!: วากยสัมพันธ์และสายอักขระ · ดูเพิ่มเติม »

คลังต้นไม้

ลังต้นไม้ (treebank) คือคลังข้อความที่ในแต่ละประโยคได้กำกับโครงสร้างวากยสัมพันธ์ โครงสร้างวากยสัมพันธ์มักจะแทนด้วยโครงสร้างต้นไม้ ซึ่งเป็นที่มาของคำว่าคลังต้น คลังต้นไม้สามารถใช้ในการศึกษาปรากฏการณ์ทางวากยสัมพันธ์ในภาษาศาสตร์เชิงคำนวณ หรือใช้ฝึกสอนและทดสอบโปรแกรมแจงประโยค คลังต้นไม้มักจะสร้างบนคลังประโยคที่ได้กำกับชนิดของคำไว้แล้ว ในลักษณะเดียวกันคลังต้นไม้ก็สามารถใช้เป็นฐานในการกำกับข้อมูลทางความหมายหรือข้อมูลทางภาษาศาสตร์อื่นๆ คลังต้นไม้สามารถสร้างนักภาษาศาสตร์โดยไม่ใช้เครื่องช่วยกำกับ หรืออาจจะสร้างแบบกึ่งอัตโนมัติโดยใช้โปรแกรมแจงประโยคช่วยกำกับและนักภาษาศาสตร์จึงทำการตรวจสอบและแก้ไขผลที่ได้จากการแจงประโยคก็ได้ คลังต้นไม้สามารถสร้างโดยมีพื้นฐานบนทฤษฎีที่แตกต่างกัน เช่น (ใช้ทฤษฎี HPSG) แต่ส่วนมากแล้วการสร้างคลังต้นไม้มักจะพยายามให้ขึ้นอยู่กับทฤษฎีน้อยที่สุด (ใช้ได้กับหลายๆ ทฤษฎี) อย่างไรก็ตามคลังต้นไม้ก็ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่คลังต้นไม้แบบโครงสร้างวลี (ตัวอย่างเช่น) และ คลังต้นไม้แบบโครงสร้างดีเพนเดนซี (ตัวอย่างเช่น). โครงสร้างวากยสัมพันธ์ในคลังต้นไม้สามารถแทนได้หลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น การครอบวงเล็บอย่างง่ายบนไฟล์ข้อความ ดังเช่นในตัวอย่างต่อไปนี้ของ.

ใหม่!!: วากยสัมพันธ์และคลังต้นไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ความผิดพลาดทางวากยสัมพันธ์

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ ความผิดพลาดทางวากยสัมพันธ์ คือความผิดพลาดเชิงวากยสัมพันธ์ของโค้ดที่เขียนในภาษาโปรแกรมใด ๆ หรืออาจกล่าวว่าเป็นความผิดพลาดในการเขียนลำดับของอักขระและสัญลักษณ์ภายใต้กฎของภาษาโปรแกรมนั้น สำหรับภาษาเชิงคอมไพล์ (compiled language) ความผิดพลาดทางวากยสัมพันธ์จะแสดงออกมาเมื่อมีการคอมไพล์โปรแกรมโดยคอมไพเลอร์ และตราบใดที่ความผิดพลาดทางวากยสัมพันธ์ยังไม่ได้แก้ไขก็จะไม่สามารถดำเนินการคอมไพล์โค้ดมาเป็นโปรแกรมได้ แต่สำหรับภาษาเชิงแปลคำสั่ง (interpreted language) ความผิดพลาดทางวากยสัมพันธ์บางอย่างจะแสดงออกมาก็ต่อเมื่อโปรแกรมทำงานจนถึงคำสั่งที่มีปัญหา (run-time) ในบางบริบท อาจจะตีความ "ความผิดพลาดทางวากยสัมพันธ์" ให้ครอบคลุมไปถึงเรื่องอื่น ๆ นอกจากการเขียนโปรแกรมก็ได้ เช่น เมื่อมีการป้อนคำสั่งเข้าเครื่องคิดเลข หากมีข้อผิดพลาดในข้อมูลนำเข้า เช่น วงเล็บเปิดกับวงเล็บปิดจับคู่กันไม่ถูกต้อง ก็อาจได้รับข้อความเตือนออกมาว่าเกิดความผิดพลาดทางวากยสัมพันธ์ ตัวอย่างโค้ดภาษาซีพลัสพลัส (ตัวอย่างของภาษาเชิงคอมไพล์) ที่มีความผิดพลาดทางวากยสัมพันธ์ เช่น.

ใหม่!!: วากยสัมพันธ์และความผิดพลาดทางวากยสัมพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

ความผิดพลาดทางตรรกะ

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ ความผิดพลาดทางตรรกะ เป็นบั๊กในโปรแกรมที่ทำให้โปรแกรมทำงานผิดพลาด ส่งผลให้ได้ผลลัพธ์ที่ผิดพลาด หรือผลลัพธ์อาจจะถูกต้องแต่มีการใช้ทรัพยากรเกินความจำเป็น หรืออาจเกิดเหตุการณ์ที่เลวร้ายกว่า เช่นโปรแกรมเกิดข้อผิดพลาดจนแครชและจบการทำงานลงทันที ความผิดพลาดทางตรรกะสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งภาษาเชิงคอมไพล์และภาษาเชิงแปลคำสั่ง สิ่งที่แตกต่างระหว่างความผิดพลาดทางตรรกะกับความผิดพลาดทางวากยสัมพันธ์คือโปรแกรมที่มีความผิดพลาดทางตรรกะยังถือว่าเป็นโปรแกรมที่สมบูรณ์ เนื่องจากโปรแกรมนี้ถูกต้องในเชิงวากยสัมพันธ์หมด จึงสามารถทำงานได้ (แต่ผิดพลาด) ในขณะที่หากเกิดความผิดพลาดทางวากยสัมพันธ์ ถ้าเป็นภาษาเชิงคอมไพล์ก็จะไม่สามารถเป็นโปรแกรมได้เลยเนื่องจากเกิดความผิดพลาดจากการคอมไพล์ หรือหากเป็นภาษาเชิงแปลคำสั่งก็จะพบว่าโปรแกรมจะหยุดการทำงานจากการพบข้อผิดพลาดระหว่างการทำงานอย่างแน่นอน ซึ่งทำให้ไม่ได้รับการพิจารณาเป็นโปรแกรมได้ สิ่งเดียวที่บ่งชี้ถึงความผิดพลาดทางตรรกะก็คือโปรแกรมมีข้อผิดพลาด ได้แก่ โปรแกรมให้ผลลัพธ์ผิด ใช้เวลาหรือหน่วยความจำมากกว่าที่คาดไว้ และโปรแกรมหยุดการทำงานจากการเกิดข้อผิดพล.

ใหม่!!: วากยสัมพันธ์และความผิดพลาดทางตรรกะ · ดูเพิ่มเติม »

คำนาม

ำนาม คือคำที่ทำหน้าที่เป็นชื่อของสิ่งของใด ๆ หรือชุดของสิ่งของใด ๆ เช่น สิ่งมีชีวิต วัตถุ สถานที่ การกระทำ คุณสมบัติ สถานะ หรือแนวคิด ในทางภาษาศาสตร์ คำนามเป็นหนึ่งในวจีวิภาคแบบเปิดที่สมาชิกสามารถเป็นคำหลักในประธานของอนุประโยค กรรมของกริยา หรือกรรมของบุพบท หมวดหมู่คำศัพท์ (วจีวิภาค) ถูกนิยามในทางที่ว่าสมาชิกจะอยู่รวมกับนิพจน์ชนิดอื่น ๆ กฎทางวากยสัมพันธ์ของคำนามจะแตกต่างกันระหว่างภาษาต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ คำนามคือคำที่สามารถมาพร้อมกับคำนำหน้านาม (article) และคำคุณศัพท์กำหนดลักษณะ (attributive adjective) และสามารถทำหน้าที่เป็นคำหลัก (head) ของนามวลี.

ใหม่!!: วากยสัมพันธ์และคำนาม · ดูเพิ่มเติม »

นอสตราเดมัส

นอสตราเดมัส ไทยมักเรียก นอสตราดามุส (Nostradamus) ชื่อจริงว่า มีแชล เดอ นอสทร์ดาม (Michel de Nostredame; เกิด 14 หรือ 21 ธันวาคม 1503 แล้วแต่แหล่งข้อมูล;Most eyewitnesses to his original epitaph (including his son Caesar and historian Honoré Bouche) indicate 21 December, but a few (including his secretary Chavigny) suggest 14th. The inscription on his present tombstone evidently follows Chavigny. No conclusive explanation for the discrepancy has so far been discovered. See Guinard, Patrice, ตาย 2 กรกฎาคม 1566) เป็นชาวฝรั่งเศสซึ่งเป็นเภสัชกร (apothecary) และหมอดูที่มีชื่อเสียง เพราะเผยแพร่ชุดคำทำนายซึ่งเลื่องชื่อที่สุดในโลกหลายชุด โดยเฉพาะ เลพรอเฟซี (Les Propheties) ที่พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 1555 เมื่อเผยแพร่หนังสือชุดดังกล่าวแล้ว นอสตราเดมัสก็ได้รับความสนใจจากสำนักพิมพ์ใหญ่หลายแห่ง พร้อมกิตติศัพท์ว่า สามารถทำนายทายทักเหตุการณ์สำคัญหลายเรื่องในโลก แหล่งข้อมูลทางวิชาการส่วนใหญ่ถือกันว่า การอ้างว่า เหตุการณ์ในโลกสัมพันธ์กับโคลงทำนายของนอสตราเดมัสนั้น เป็นผลมาจากการตีความหรือแปลความที่ผิดพลาด ซึ่งบางครั้งปรากฏว่า ตั้งใจให้ผิดพลาด มิฉะนั้น ก็เป็นเรื่องมโนสาเร่ถึงขนาดที่ไม่อาจถือเอาโคลงเหล่านั้นเป็นพยานหลักฐานว่า นอสตราเดมัสมีอำนาจพยากรณ์อย่างแท้จริง อย่างไรก็ดี นักวิจารณ์จำนวนหนึ่งก็ประสบความสำเร็จในการตีความอย่างเสรีโดยใช้วิธี "พลิกแพลง" ถ้อยคำในโคลงเพื่อระบุเหตุการณ์อันเห็นได้ชัดว่า ใกล้จะมาถึงอยู่แล้ว เช่น ในปี 1867 หลุยส์-มีแชล เลอ เปอเลอตีเย (Louis-Michel le Peletier) ใช้กลวิธีดังกล่าวทำนายล่วงหน้า 3 ปีว่าจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 จะทรงมีชัยหรือปราชัยในสงครามฝรั่งเศส–ปรัสเซีย แม้เลอ เปอเลอตีเย จะยอมรับว่า ตนไม่สามารถบอกได้จริงว่า จะทรงมีชัยหรือปราชัย และเหตุการณ์จะเกิดขึ้นเมื่อใดก็ตาม.

ใหม่!!: วากยสัมพันธ์และนอสตราเดมัส · ดูเพิ่มเติม »

นิพจน์ (คณิตศาสตร์)

นิพจน์ ในทางคณิตศาสตร์ หมายถึงการผสมผสานสัญลักษณ์ต่าง ๆ เป็นจำนวนจำกัด ซึ่งจัดรูปแบบไว้อย่างดีโดยอิงตามกฎที่ขึ้นอยู่กับบริบท สัญลักษณ์ต่าง ๆ เหล่านี้สามารถเป็นจำนวน (ค่าคงตัว) ตัวแปร การดำเนินการ ฟังก์ชัน หรือสัญลักษณ์อื่น ๆ ทางคณิตศาสตร์ รวมทั้งเครื่องหมายวรรคตอน สัญลักษณ์สำหรับจัดกลุ่ม และสัญลักษณ์เชิงวากยสัมพันธ์ การใช้นิพจน์มีพิสัยตั้งแต่แบบเรียบง่ายเช่น ไปจนถึงแบบซับซ้อนมาก ๆ เช่น สายอักขระของสัญลักษณ์ที่ขัดต่อกฎวากยสัมพันธ์ ไม่ถือว่าจัดรูปแบบไว้อย่างดีและไม่ใช่นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ที่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น กลุ่มของสัญลักษณ์นี้ไม่ถือว่าเป็นนิพจน์ทางคณิตศาสตร์ เป็นแค่สัญลักษณ์ที่ผสมปนเปอย่างไร้ความหม.

ใหม่!!: วากยสัมพันธ์และนิพจน์ (คณิตศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

โยสท์ กิพเพิร์ท

ท์ กิพเพิร์ท โยสท์ กิพเพิร์ท (Jost Gippert) (เกิดวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1956 ที่ วินซ-นีเดอร์เวนิเกิร์น, ขณะนี้คือเมือง ฮัททิงเงน ประเทศเยอรมนี) เป็นนักภาษาศาสตร์ชาวเยอรมัน นักวิชาการภาษาคอเคซัส และศาสตราจารย์วิชาภาษาศาสตร์เปรียบเทียบของคณะภาษาศาสตร์เชิงประสบการณ์ (Empirical Linguistics) มหาวิทยาลัย เกอเธ่ แฟรงก์เฟิร์ต/ไมน์ (Goethe University of Frankfurt) นอกจากนั้นยังมีผลงานทางวิชาการเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: วากยสัมพันธ์และโยสท์ กิพเพิร์ท · ดูเพิ่มเติม »

ไวยากรณ์

วยากรณ์ (Grammar) คือ การศึกษากฎเกณฑ์ของภาษา ซึ่งรวมถึง เสียง คำศัพท์ ประโยค และส่วนประกอบอื่นๆ เช่น การประสมคำ และการตีความ คำว่าไวยากรณ์ยังหมายถึงคุณลักษณะเชิงนามธรรมของตำราที่นำเสนอกฎเหล่านี้ด้วย สำหรับคำว่า หลักภาษา แม้จะมีความหมายเดียวกันกับคำวำไวยากรณ์ แต่จะใช้เรียกกับภาษาไทยและภาษาไทยใต้เท่านั้น การศึกษาทฤษฎีทางไวยากรณ์เป็นที่สนใจของนักปรัชญา, นักมานุษยวิทยา นักจิตวิทยา และนักวิเคราะห์ทางวรรณกรรมมาหลายศตวรรษ ทุกวันนี้ ไวยากรณ์เป็นสาขาหนึ่งในวิชาภาษาศาสตร์ แต่ยังคงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสาขาอื่นๆ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว พัฒนาการของทฤษฎีไวยากรณ์นั้นมีผลเพียงเล็กน้อยแต่ตัวเนื้อหาของไวยากรณ์ในสถานศึกษาทั่วไป สำหรับคนส่วนใหญ่ มักจะเข้าใจว่าไวยากรณ์หมายถึงกฎที่เราจะต้องทราบ เพื่อจะพูด หรือ เขียนได้อย่างถูกต้อง.

ใหม่!!: วากยสัมพันธ์และไวยากรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

Priming

Priming (หมายความว่า การเตรียมการรับรู้) เป็นปรากฏการณ์เกี่ยวกับความจำโดยปริยายที่การเปิดรับเอาสิ่งเร้าอย่างหนึ่งมีผลต่อการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอีกอย่างหนึ่ง ผลการทดลองที่มีอิทธิพลของเดวิด ไมเออร์ และรอเจอร์ ชวาเนเวลด์ท ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 มีผลให้เกิดงานวิจัยต่าง ๆ มากมายเกี่ยวกับ priming ผลงานดั้งเดิมของพวกเขาแสดงว่า เราตัดสินใจได้เร็วกว่าว่า อักษรติด ๆ กันนั้นเป็นคำ ๆ หนึ่ง ถ้าคำนั้นตามหลังคำที่เกี่ยวข้องกันโดยความหมายหรือโดยความสัมพันธ์ ยกตัวอย่างเช่น เราสามารถกำหนดคำว่า "นางพยาบาล" ถ้าตามคำว่า "นายแพทย์" ได้เร็วกว่าถ้าตามคำว่า "ขนมปัง" งานการทดลองหลายงาน สนับสนุนทฤษฎีว่า การเกิดการทำงานทางประสาทที่กระจายไปเกี่ยวกับคำที่มีความเกี่ยวข้องกัน เป็นคำอธิบายที่ดีที่สุดสำหรับความง่ายขึ้นที่เห็นในแบบการทดลองที่ให้กำหนดว่าเป็นศัพท์หรือไม่เป็นศัพท์ (lexical decision task).

ใหม่!!: วากยสัมพันธ์และPriming · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Syntax

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »